The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนปฏิบัติราชการประจำปี2565 ศธจ.นธ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by zar8910, 2022-04-03 23:34:44

แผนปฏิบัติราชการประจำปี2565 ศธจ.นธ

แผนปฏิบัติราชการประจำปี2565 ศธจ.นธ

สว่ นท่ี 2

กรอบแนวคิดและความสอดคลอ้ งกบั แผน 3 ระดับ

รฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศกั ราช 2560

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมายหลักในการปกครองประเทศ
ได้กำหนดหมวดสำคัญๆ ท่ีเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
และการเข้ารบั บรกิ ารการศกึ ษาของประชาชน

หมวดหน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 50 (4) บุคคลมีหน้าท่ีเข้ารับการศึกษาอบรมในการ
ศกึ ษาภาคบังคบั

หมวดหน้าท่ีของรัฐ มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา
สิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้อง
ดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ เพื่อพัฒนาร่างกาย
จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชน
ได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมท้ังส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตและจัดให้มี
การร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ
โดยรัฐมีหน้าท่ีดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและ
ได้มาตรฐานสากล ทั้งน้ี ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ซ่ึงอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเก่ียวกับ
การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดำเนินการและ ตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการ
ศึกษาแห่งชาติดว้ ย การศกึ ษาทง้ั ปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรยี นให้เปน็ คนดี มีวินัย ภูมใิ จในชาติ มีความสามารถ
เชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ในการดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแล และพัฒนาก่อนเข้ ารับการศึกษาภาคบังคับ หรือ
ให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่างๆ และได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอด
ชวี ิต รัฐต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รบั การสนบั สนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศกึ ษาตามความ
ถนัดของตน ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรพั ย์เพ่ือลดความเหล่ือมล้ำในการศึกษา
และเพ่ือเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน
หรือใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษี รวมท้ังการให้ผู้บริจาคทรัพย์สินเข้ากองทุนได้รับประโยชน์ ในการ
ลดหย่อนภาษีด้วย ท้ังน้ีตามท่ีกฎหมายบัญญัติซึ่งกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องกำหนดให้การบริหาร
จัดการกองทนุ เปน็ อสิ ระและกำหนดให้มีการใช้จา่ ยเงนิ กองทนุ เพ่ือบรรลวุ ัตถปุ ระสงคด์ งั กล่าว

หมวดการปฏริ ูปประเทศ มาตรา 258 (จ) ให้ดำเนินการปฏริ ูปประเทศในด้านการศึกษาให้เกดิ ผล
ดงั ต่อไปน้ี

(1) เร่ิมดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ
เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้สมกับวัยโดย
ไม่เกบ็ คา่ ใชจ้ า่ ย

(2) ดำเนินการตรากฎหมายเพ่ือจัดตั้งกองทุนเพ่ือใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลด
ความเหล่ือมล้ำในการศึกษา และเพ่ือเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู ให้แล้วเสร็จ
ภายในหนึง่ ปีนบั ตัง้ แตว่ นั ประกาศใชร้ ัฐธรรมนญู น้ี

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 39

(3) ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์
ให้ได้ผมู้ ีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูมีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รบั ค่าตอบแทนท่ีเหมาะสม
กับความสามารถ และประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงาน
บคุ คลของผ้ปู ระกอบวชิ าชพี ครู

(4) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด
และปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานที่เก่ียวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยสอดคล้องกันทั้งใน
ระดบั ชาติ และระดบั พน้ื ท่ดี ังกลา่ ว

หมวดการปฏิรูปประเทศ มาตรา 261 ในการปฏิรูปตามมาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา
ให้มีคณะกรรมการที่มีความเป็นอิสระคณะหน่ึงท่ีคณะรัฐมนตรีแต่งต้ังดำเนินการศึกษาและจัดทำ
ข้อเสนอแนะและร่างกฎหมายท่ีเก่ียวข้องในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย เพ่ือเสนอคณะรัฐมนตรี
ดำเนนิ การ

ยทุ ธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ
เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างย่ังยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผน
ต่าง ๆ ให้สอดคลอ้ งและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกนั ไปสู่เป้าหมาย

วิสัยทัศน์ “ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งค่ัง ย่ังยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการ
พฒั นาตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง”

เป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจ
พัฒนาอยา่ งต่อเนือ่ ง สงั คมเปน็ ธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยงั่ ยนื ”

ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 6 ด้าน และภารกิจสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สนบั สนนุ ให้บรรลุเป้าหมายการพฒั นาทีส่ ำคญั ท้งั 6 ด้าน ดงั นี้

1) ยุทธศาสตรด์ ้านความม่ันคง
2) ยทุ ธศาสตรช์ าตดิ า้ นการสร้างความสามารถในการแขง่ ขัน
3) ยทุ ธศาสตรช์ าติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
4) ยุทธศาสตรช์ าติดา้ นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม
5) ยุทธศาสตร์ชาตดิ ้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เปน็ มิตรกับสิ่งแวดล้อม
6) ยุทธศาสตร์ชาตดิ า้ นการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบรหิ ารจดั การภาครฐั
การประเมนิ ผลการพัฒนาตามยทุ ธศาสตร์ชาติ
1) ความอย่ดู มี ีสุขของคนไทยและสังคมไทย
2) ขดี ความสามารถในการแข่งขนั การพัฒนาเศรษฐกจิ และการกระจายรายได้
3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
4) ความเทา่ เทยี มและความเสมอภาคของสงั คม
5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากร
ธรรมชาติ
6) ประสทิ ธภิ าพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครฐั

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั นราธวิ าส 40

แผนแม่บทภายใต้ยทุ ธศาสตรช์ าติ

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นแผนแม่บทเพื่อบรรลุเป้าหมายตามท่ีกำหนดไว้ใน
ยุทธศาสตร์ชาติ มีผลผูกพันต่อหน่วยงานของรัฐที่เก่ียวข้องจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น รวมทั้งการ
จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องสอดคลอ้ งกบั แผนแม่บทด้วย โดยแผนแม่บทภายใตย้ ุทธศาสตร์
ชาติ ประกอบด้วย 23 ประเด็น 62 แผนย่อย (ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เร่ือง การประกาศแผน
แม่บทภายใตย้ ุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ณ วันท่ี 18 เมษายน พ.ศ. 2562 ซ่ึงเก่ียวข้องกบั ภารกิจ
11 ประเด็น 18 แผนยอ่ ย

1) ประเด็นความม่ันคง ใน 2 แผนย่อย ได้แก่ 3.1 การรักษาความสงบภายใน
ประเทศ 3.2 การปอ้ งกันและแก้ไขปัญหาท่ีมีผลกระทบต่อความมัน่ คง

2) ประเด็นการต่างประเทศ ใน 1 แผนย่อย คือ 2.2 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและ
ความรว่ มมือเพือ่ การพฒั นาระหวา่ งประเทศ

10) ประเด็นการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม ใน 1 แผนย่อย คือ
3.1 การปลกู ฝัง คณุ ธรรม จริยธรรม คา่ นยิ ม และการเสริมสร้างจิตสาธารณะและการเป็นพลเมืองทด่ี ี

11) ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ใน 4 แผนย่อย ได้แก่
3.2 การพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย 3.3 การพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น
3.4 การพัฒนาและยกระดับศกั ยภาพวัยแรงงาน 3.5 การสง่ เสริมศกั ยภาพผ้สู ูงอายุ

12) ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ ใน 1 แผนย่อย ได้แก่ 3.1 การปฏิรูป
กระบวนการเรยี นรทู้ ีต่ อบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

17) ประเด็นความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม ใน 1 แผนย่อย คือ 3.1
การค้มุ ครองทางสังคมขัน้ พื้นฐานและหลักประกันทางเศรษฐกิจ สงั คม และสุขภาพ

18) ประเดน็ การเติบโตอย่างย่ังยนื ใน 1 แผนย่อย ไดแ้ ก่ 3.5 การยกระดบั กระบวน
ทศั นเ์ พือ่ กำหนดอนาคตประเทศ

20) ประเด็นการบรกิ ารประชาชนและประสิทธิภาพภาครฐั ใน 4 แผนย่อย ได้แก่ 3.1
การพัฒนาบริการประชาชน 3.2 การบริหารจัดการการเงินการคลัง 3.4 การพัฒนาระบบบริหารงาน
ภาครัฐ 3.5 การสร้างและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

21) ประเด็นการต่อตา้ นการทุจริตและประพฤตมิ ิชอบ ใน 1 แผนย่อย คอื 3.1 การ
ปอ้ งกันการทจุ รติ และประพฤตมิ ิชอบ

22) ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ใน 1 แผนย่อย คือ 3.1
การพฒั นากฎหมาย

23) ประเด็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ใน 1 แผนย่อย ได้แก่ 3.4 การวิจัย และ
พัฒนานวัตกรรมด้านองคค์ วามรูพ้ ้นื ฐาน

แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ อันเป็นผลมาจากสถานการณ์
โควิด-19 (พ.ศ. 2564-2565) และโครงการสำคัญเพ่ือบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท
ภายใตย้ ุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ มีเป้าหมายสำคัญ คือ “คนสามารถยัง
ชีพอยู่ได้มีงานทำ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง สร้างอาชีพและกระจาย รายได้สู่ท้องถิ่น
เศรษฐกิจประเทศฟ้ืนตัวเข้าสู่ภาวะปกติ และมีการวางรากฐาน เพ่ือรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ใหม”่ โดยการพัฒนาประเทศภายใต้แนวคดิ Resilience มมี ติ ิทต่ี อ้ งให้
ความสำคญั 3 ประการ ไดแ้ ก่

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวัดนราธวิ าส 41

การพร้อมรับ (Cope) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้ สภาวะ
วิกฤต ใหป้ ระเทศยังคงยืนหยดั และต้านทานความยากลำบาก

การปรับตัว (Adapt) หมายถึง การปรับทิศทางการพัฒนา รูปแบบ และแนวทาง ที่
ดำเนินการอยู่ ให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน และบริบทการพัฒนาประเทศที่
เปล่ียนแปลงไป

การเปล่ียนแปลงเพ่ือพร้อมเติบโตอย่างย่ังยืน (Transform) หมายถึง การ
เปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและปัจจัยพ้ืนฐาน เช่น กฎหมาย ระเบียบ นโยบาย และ สถาบัน ทั้งทาง
เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง ให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อ
ศกั ยภาพโดยรวมของประเทศ
โดยได้ระบุแนวทางการพัฒนาที่ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพ่ือเสริมสร้างศักยภาพในการฟ้ืนฟู และ
ขับเคลื่อนประเทศให้สามารถ “ล้มแล้ว ลุกไว หรือ Resilience” 4 แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย
1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ 2) การยกระดับขีดความสามารถ
ของประเทศเพ่ือรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ในระยะยาว 3) การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของ
คนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนและ 4) การพัฒนาประเทศการปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพ้ืนฐาน
เพ่อื สง่ เสรมิ การฟ้ืนฟูและพัฒนาประเทศ

ภารกจิ ในส่วนเกยี่ วขอ้ งกบั แนวทางการพฒั นาท่ี 1 และ 3 ดงั น้ี
1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local
Economy) เพื่อลดความเส่ียงในการพึ่งพาต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการกระจายความเจริญและโอกาส
ทางเศรษฐกิจไปยังระดับท้องถ่ิน ผ่านการส่งเสริมการจ้างงาน โดยเฉพาะในระดับพ้ืนท่ีและชุมชน
ร่วมกับการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ให้สามารถปรบั ตัวสู่ธุรกิจใหม่ที่มีแนวโน้มความต้องการมากขึ้นในอนาคต เพ่ือให้เศรษฐกิจฐานรากเป็น
กำลังหลกั ในการขบั เคล่ือนเศรษฐกจิ ของประเทศ
3. การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อน
การพัฒนาประเทศ (Human Capital) โดยการยกระดับและปรับทักษะแรงงานให้สนับสนุน
อุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายที่ประเทศไทยมีโอกาสและมีศักยภาพ ตลอดจนสอดคล้องกับความ
ตอ้ งการของตลาดแรงงานและโครงสร้างเศรษฐกิจท่ีปรับเปลี่ยนไป พร้อมท้ังเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ
จากภาวะวิกฤต และจัดสวัสดิการทางสังคมให้เหมาะสม เพียงพอกับความจำเป็นในการดำรงชีวิต
โดยเฉพาะในดา้ นรายไดแ้ ละสุขภาพ
โค ร ง ก า ร ส ำ คั ญ เพ่ื อ บ ร ร ลุ เป้ า ห ม า ย ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ ช า ติ แ ล ะ แ ผ น แ ม่ บ ท ภ า ย ใ ต้
ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการขับเคล่ือนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย
ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 เมื่อวันท่ี
5 พฤษภาคม 2563 ตามที่ สศช. เสนอ โดยมอบสว่ นราชการดำเนนิ การ ดงั นี้

สศช. และทุกส่วนราชการดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนท้ัง 4 แนวทาง
1) การมองเป้าหมายร่วมกันในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท

ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
2) การจัดทำโครงการสำคัญตามการวิเคราะห์ห่วงโซ่ความสัมพนั ธ์และช่องว่าง การ

พฒั นาตอ่ การบรรลเุ ป้าหมาย (xyz)
3) การจัดลำดับความเรง่ ด่วนของโครงการสำคญั

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 42

4) การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ใน
พระราชกฤษฎกี าวา่ ด้วยหลักเกณฑแ์ ละวิธีการบริหารจัดการบา้ นเมืองท่ีดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562

โครงการสำคัญ (รายการห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย : Value Chain Thailand) จำนวน
6 โครงการสำคัญ ประกอบด้วย

1) แผนแม่บทที่ 1 ประเดน็ ความมั่นคง
เปา้ หมายแผนแม่บทยอ่ ย/โครงการสำคญั ฯ ปี 2565
010102 คนไทยมีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ พร้อมธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของ

ชาติ สถาบนั ศาสนา เปน็ ท่ีเคารพยึดเหนี่ยวจติ ใจของคนไทยสูงขึ้น
1. โครงการสง่ เสรมิ กระบวนการเรยี นรู้และปลูกฝังแนวทางการจดั การความขดั แย้ง โดย

แนวทางสนั ติวิธี
2. โครงการส่งเสริมการพัฒนาโรงเรียนเอกชนในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จ

พระกนษิ ฐาธิราชเจา้ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ให้มีคุณภาพ
2) แผนแม่บทที่ 11 ประเด็นการพฒั นาศักยภาพคนตลอดชว่ งชีวติ
เป้าหมายแผนแมบ่ ทย่อย/โครงการสำคัญฯ ปี 2565
110301 วัยเรียน/วัยรุ่น มีความรู้และทักษะในศตวรรษท่ี 21 ครบถ้วน รู้จักคิด

วิเคราะห์ รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมือง มีความกล้าหาญ ทางจริยธรรม มีความสามารถ
ในการแกป้ ญั หา ปรับตัว สือ่ สาร และทำงานรว่ มกบั ผ้อู นื่ ได้อยา่ งมปี ระสทิ ธิผลตลอดชวี ิตดีขึ้น

1. โครงการพฒั นาหลักสูตรท่ีมีทักษะอาชีพสูงตามความต้องการตลาดแรงงาน
3) แผนแมบ่ ทท่ี 12 ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้

เป้าหมายแผนแม่บทย่อย/โครงการสำคญั ฯ ปี 2565
120101 คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะการเรียนรู้ และ
ทกั ษะท่จี ำเปน็ ของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถเขา้ ถงึ การเรียนรู้อยา่ งตอ่ เนือ่ งตลอดชวี ิตดีขึน้
1. โครงการพฒั นาหลักสูตรกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
2. โครงการส่งเสริมเวทีเพ่ือการจัดทำรปู แบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเน่ืองเชื่อมโยง
การศกึ ษาขัน้ พนื้ ทฐี่ านกบั อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
3. โครงการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรยี นการสอนสำหรบั ศตวรรษท่ี 21
แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ อันเป็นผลมาจากสถานการณ์
โควิด-19 (พ.ศ. 2564-2565)
แนวทางการพัฒนาท่ี 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ภายในประเทศ
1. โครงการส่งเสริมเวทีเพื่อการจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง
การศกึ ษาขั้นพืน้ ทฐี่ านกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
แนวทางการพัฒนาท่ี 3 การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลัง
หลักในการขบั เคล่ือนการพัฒนาประเทศ
1. โครงการพัฒนาหลักสูตรทีม่ ีทักษะอาชีพสงู ตามความต้องการตลาดแรงงาน
2. โครงการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั นราธวิ าส 43

แผนการปฏิรปู ประเทศ (ฉบับปรบั ปรงุ )

คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และได้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 จำนวน 13 ด้าน ได้แก่
1) ด้านการเมือง 2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3) ด้านกฎหมาย 4) ด้านกระบวนการยุติธรรม
5) ดา้ นเศรษฐกจิ 6) ดา้ นทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม 7) ด้านสาธารณสุข 8) ด้านส่ือสารมวลชน
เทคโนโลยีสารสนเทศ 9) ด้านสังคม 10) ด้านพลังงาน 11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ
ประพฤติ มิชอบ 12) ด้านการศึกษา และ 13) ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์

ความเกี่ยวข้องและสนับสนุนเป้าประสงค์แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) รวม
5 ด้าน ประกอบด้วย (2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (3) ด้านกฎหมาย (6) ด้านทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (12)
ด้านการศึกษา

2) แผนการปฏริ ปู ประเทศ (ฉบบั ปรับปรุง) ดา้ นการบรหิ ารราชการแผน่ ดิน
เป้าประสงค์ เพอ่ื ใหค้ วามสำคญั ในการเตรียมความพรอ้ มเผชญิ กับการเปลย่ี นแปลง ในทุก

มติ ิและรองรบั ผลกระทบของสถานการณ์ชีวติ วถิ ีใหม่ และทิศทางทีก่ ำหนดไว้ตามยุทธศาสตรช์ าติ
กิจกรรม Big Rock ด้านการบริหารราชการแผน่ ดิน ประกอบด้วย 5 กิจกรรมปฏริ ปู
สำนักงานปลดั กระทรวงศึกษาธิการเก่ียวข้องทงั้ 4 กิจกรรมปฏริ ปู
(1) ปรับเปลีย่ นรูปแบบการบริหารงานและการบริการภาครฐั ไปสรู่ ะบบดิจทิ ัล
(2) จัดโครงสร้างองค์กร และระบบงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว

และเปลีย่ นแปลงได้ตามสถานการณ์
(3) ปรับเปลี่ยนการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสู่ระบบเปิด เพื่อให้ได้มา

และรักษาไวซ้ ึง่ คนเกง่ ดี และมีความสามารถอย่างคลอ่ งตัว ตามหลักคุณธรรม
(4) สร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการในระดับพ้ืนที่ โดยการมีส่วนร่วมของ

ประชาชน
3) แผนการปฏริ ปู ประเทศ (ฉบบั ปรับปรงุ ) ดา้ นกฎหมาย
เป้าประสงค์ เพื่อให้เกิดผลอันพึงประสงค์ในการมีกฎหมายที่ดีและมีเพียงเท่าท่ี

จำเปน็ ตามหลักการของมาตรา 258 ค. ของรัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย
กิจกรรม Big Rock ด้านกฎหมาย ประกอบด้วย 5 กจิ กรรมปฏริ ูป
สำนกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ ารเก่ียวข้องกิจกรรมปฏิรูปท่ี 1
(1) มีกลไกยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายท่ีสร้างภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการ

ดำรงชวี ติ หรอื การประกอบอาชพี ของประชาชน เพ่ือขับเคลอ่ื นให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพและเปน็ รูปธรรม
6) แผนการปฏิรปู ประเทศ (ฉบบั ปรับปรุง) ด้านทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม
เป้าประสงค์ เพ่ือให้ทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อม ได้รับการดูแล รักษา และ

ฟ้ืนฟูอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและมีความสมบูรณ์ย่ังยืน เป็นฐานการพัฒนาประเทศ
ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ และการใช้
ประโยชน์ลดความขัดแย้งของการพัฒนาที่ใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติ บรรเทาผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมและลดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และมีระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และส่ิงแวดล้อมที่มีประสิทธิภ าพบ น พ้ืน ฐาน การมีส่ วน ร่วมของทุกภาคส่วน ตามแนวทางป ระช ารั ฐ

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 44

กจิ กรรม Big Rock ด้านทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม ประกอบด้วย 4 กิจกรรมปฏริ ปู
สำนกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการเกีย่ วข้องกิจกรรมปฏิรปู ที่ 2
(2) การบริหารจัดการเขตทางทะเลและชายฝง่ั รายจังหวดั (บรรจใุ นหลกั สูตรการศึกษาฯ)

11) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการป้องกันและปราบปราม
การทจุ รติ และประพฤตมิ ิชอบ

เป้าประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้มีการส่งเสริม สนับสนุน
และให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบ และให้มีมาตรการควบคุม กำกับ ติดตาม
การบ ริห ารจัดการของห น่ วยงาน ภ าครัฐและภ าคเอกช น โดยเฉพ าะการป ฏิ บั ติห น้ าท่ี
ด้วยความซ่ือสัตย์สุจริตของบุคลากรใช้ดุลยพินิจโดยสุจริต ภายใต้กรอบธรรมาภิบาลและการกำกับ
กิจการที่ดีอย่างแท้จริง รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภาครัฐให้ประชาชนสามารถเข้าถึง
และตรวจสอบได้และสนับสนุนแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนในการต่อต้านการทุจริตเพ่ือขจัดปัญหา
การทุจรติ ท่ีเกีย่ วข้องกับการติดตอ่ กับหน่วยงานภาครัฐ

กิจกรรม Big Rock ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ประกอบด้วย 5 กจิ กรรมปฏริ ปู

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวข้องกจิ กรรมปฏิรูปที่ 4
(4) พัฒนาระบบราชการไทยใหโ้ ปรง่ ใส ไร้ผลประโยชน์
12) แผนการปฏริ ูปประเทศ (ฉบับปรับปรงุ ) ด้านการศึกษา
เป้าประสงค์ เพื่อยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการ
ศึกษา มุ่งความเป็นเลิศและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ปรับปรุงระบบการศึกษา
ให้มีประสิทธิภาพในการใช้ทรพั ยากร เพ่ิมความคล่องตัวในการรองรับความหลากหลายของการจัดการ ศึกษา
และสร้างเสรมิ ธรรมภบิ าล ซ่ึงครอบคลมุ การปฏิรูปการเรยี นรู้ตลอดชีวติ
ความสอดคล้องของการปฏิรปู ประเทศด้านการศกึ ษากบั ยุทธศาสตร์ชาติ
1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ข้อ 4.2 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ข้อ 4.3 ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ท่ีตอบสนองต่อการ
เปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่ 21 ข้อ 4.4 การตระหนกั ถงึ พหุปัญญาของมนษุ ย์ทห่ี ลากหลาย
2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ข้อ 4.1 การ
ลดความเหล่ือมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ ข้อ 4.2 การกระจายศูนย์กลางความเจริญ
ทางเศรษฐกจิ สงั คม และเทคโนโลยี ข้อ 4.3 การเสรมิ สร้างพลงั ทางสังคม
ความสอดคล้องของการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษากับแผนแม่บทภายใต้
ยทุ ธศาสตรช์ าติ
1. แผนแม่บทภายใตย้ ุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอด ช่วงชวี ิต
1.1 เด็กเกิดอย่างมีคุณ ภาพ มีพัฒ นาการสมวัย สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณ ภาพ มากขึ้น
1.2 วัยเรียน/วัยรุ่น มีความรู้ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ครบถ้วน รู้จักคิด วิเคราะห์ รักการเรียนรู้
มีสำนึกพลเมือง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และ
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลตลอดชีวิตดีขึ้ น 1.3 แรงงานมีศักยภาพในการ
เพมิ่ ผลผลิต มีทักษะอาชีพสูง ตระหนักในความสำคัญทจี่ ะพฒั นาตนเองให้เต็มศกั ยภาพ สามารถปรับตัว
และเรียนรู้สิ่งใหม่ตามพลวัตของโครงสร้างอาชีพและความต้องการของตลาดแรงงานเพ่ิมขึ้น 1.4 มีคน
ไท ยท่ี มี ค วาม สาม ารถแ ละผู้ เชี่ยวช าญ ต่ างป ระเท ศเข้าม าท ำวิท ยาศาสต ร์ เท คโน โลยี
และนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้น 1.5 ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตท่ีดี มีความมั่นคงในชีวิต มี

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 45

ทักษะการดำรงชีวิต เรียนรู้พัฒนาตลอดชีวิต มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคม
เพมิ่ ขึ้น

2. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ 2.1 คนไทย
ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะการเรียนรู้และทักษะท่ีจ้าเป็นของโลกศตวรรษ
ที่ 21 สามารถเขา้ ถงึ การเรียนรู้อย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิตดขี น้ึ

3. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นพลังทางสังคม 3.1 ประชากรไทย
มีการเตรยี มการกอ่ นยามสูงอายเุ พอื่ ให้สูงวยั อยา่ งมีคุณภาพเพ่ิมขน้ึ

กจิ กรรม Big Rock ดา้ นการศึกษา
ประกอบดว้ ย 5 กจิ กรรมปฏิรปู โดยเกีย่ วขอ้ งกับกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 - 3
กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับ
ปฐมวยั (หนว่ ยรบั ผดิ ชอบหลกั : กองทุนเพือ่ ความเสมอภาคทางการศึกษา)
กิจกรรมปฏิรปู ท่ี 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสูก่ ารเรียนรูฐ้ านสมรรถนะ เพ่ือ
ตอบสนองการเปล่ยี นแปลงในศตวรรษที่ 21 (หน่วยรบั ผิดชอบหลัก : กระทรวงศกึ ษาธิการ)
กิจกรรมปฏิรูปท่ี 3 การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากร
ทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน (หน่วยรับผิดชอบหลัก : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจยั และนวตั กรรม)
ความเกี่ยวข้องและสนบั สนุน ในขนั้ ตอนของกิจกรรมปฏริ ปู ที่ 1, 2 และ 3 ดงั น้ี
กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาต้ังแต่ระดับ
ปฐมวยั (กองทนุ เพอ่ื ความเสมอภาคทางการศึกษา)
ขั้นตอนการดำเนินการปฏริ ูป
1. การพัฒนาเครื่องมือและระบบบูรณาการทำงานเพ่ือสนบั สนุนการดำเนนิ การปฏิรูป
2. การสนับสนุนนวัตกรรมการป้องกัน (Prevention) และการแก้ไข (Correction)
ปญั หาเด็กและเยาวชนออกจากระบบการศึกษาตง้ั แต่ระดับปฐมวัย เพ่ือลดความเหลอ่ื มลำ้ ทางการศกึ ษา
3. การสนบั สนนุ กลไกการดำเนนิ งานในระดบั พ้ืนที่และตน้ สังกดั
4. การติดตามความคืบหนา้ และการระดมการมีสว่ นร่วมของสังคม
กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
เพ่อื ตอบสนองการเปลยี่ นแปลงในศตวรรษท่ี 21 (กระทรวงศึกษาธกิ าร)
ขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูป
1. ปรบั แนวทางการจัดการเรยี นรู้ทุกระดับ
2. พัฒนาครูใหม้ ศี ักยภาพในการออกแบบการเรียนรู้
3. ปรบั ปรุงระบบการวัดผลและประเมนิ ผล
4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้กับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ
ทัง้ ภายในและภายนอกโรงเรยี น
5. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ประชุมหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ติดตาม
ความคืบหนา้ ในการดำเนินการ
กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากร
ทางการศึกษาใหม้ คี ุณภาพมาตรฐาน (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตั กรรม)
ขัน้ ตอนการดำเนินการปฏิรูป
2) ด้านกลไกและระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสายสามัญศึกษาและ
สายอาชีวศกึ ษาให้มคี ณุ ภาพ ประสิทธภิ าพและมีความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 46

ข้ันตอนท่ี 1 การศึกษาวิเคราะห์และกำหนดสมรรถนะและการพัฒนามาตรฐานและ
ตัวช้ีวัดสมรรถนะครแู ละบุคลากรทางการศึกษา

ข้ันตอนท่ี 2 การศึกษาวิเคราะห์และกำหนดสมรรถนะและการพัฒนามาตรฐานและ
ตัวชี้วัดสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศกึ ษา
ตามความตอ้ งการจำเป็น

ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาและพัฒนาระบบ/รูปแบบการนิเทศ การติดตามช่วยเหลือ ครู
และการพฒั นาสมรรถนะศกึ ษานเิ ทศกต์ ามความตอ้ งการจำเป็น

ขั้นตอนที่ 4 การส่งเสริม สนับสนุนระบบกลไกให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีการพัฒนาอย่างต่อเน่ือง โดยเฉพาะการติดตามช่วยเหลือครูใหม่ ครูที่ไม่มีวุฒิทางการศึกษา
ครูที่มีความรู้ ความสามารถและมีคุณลักษณะไม่เพียงพอกับการปฏิบัติงานในหน้าท่ี ครูและสถานศึกษา
ในท้องถิ่นยากจน ห่างไกลและทุรกันดาร อาทิ การร่วมมือกับชุมชน (PLC&CPD: (Professional
Learning Community & Continuous Professional Development) ก า ร ศ ึก ษ า อ บ ร ม
และแพลตฟอร์มกระบวนการจดั การเรียนรกู้ ารบริหารการศึกษาและการนิเทศการศึกษา

ขั้นตอนที่ 5 การปรับปรุงระบบการประเมินการปฏิบัติงานและสมรรถนะ
วิชาชีพครู

ขั้นตอนท่ี 6 การพัฒนาระบบกลไกในการเล่ือนวิทยฐานะที่ได้รับการปรับปรุง
ใหม่และการคงวทิ ยฐานะของครู โดยนำผลการประเมินวิทยฐานะไปเป็นส่วนสำคัญในการประเมินและ
การปรบั ปรุงคา่ ตอบแทนทีเ่ หมาะสม

แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบับท่สี ิบสอง (พ.ศ.2560-2564)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ีสิบสอง (พ.ศ.2560-2564) สำหรับใช้เป็นแผนพฒั นาประเทศไทยใน
ระยะ 5 ปี ซึ่งเป็นการแปลงยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
เพ่ือเตรียมความพร้อมและวางรากฐานในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
มีความมนั่ คง มั่งค่ัง ยัง่ ยืน ด้วยการพัฒนาตามปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์การพัฒนา 9 ยุทธศาสตร์ โดยมี 5 ยุทธศาสตร์ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ
พ .ศ .2 56 1 -2 5 80 แ ล ะอีก 4 ยุท ธ ศ าส ต ร์ที่เป ็น ป ัจ จัย ส นับ ส นุน ได้แ ก่ ยุท ธ ศ าส ต ร์ที ่
1) การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ยุทธศาสตร์ท่ี 2) การสร้างความเป็นธรรม
ลดความเหล่ือมล้ำในสังคม ยุทธศาสตร์ท่ี 4) การเติบโตท่ีเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่าง
ย่ังยืน ยุทธศาสตร์ที่ 5) การเสริมสร้างความม่ันคงแห่งชาติเพ่ือการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นค่ังและ
ย่ังยืน ยุทธศาสตร์ที่ 6) การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาล
ในสังคมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 7) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์ที่ 8) การ
พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ท่ี 9) การพัฒนาภาค เมือง และพ้ืนที่
เศรษฐกิจ 10) ความรว่ มมือระหวา่ งประเทศเพื่อการพัฒนา

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 47

นโยบายและแผนระดบั ชาติวา่ ดว้ ยความมนั่ คงแห่งชาติ (พ.ศ.2562-2565)

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2562 เพ่ือเป็น
แผนหลักของชาติที่เป็นกรอบทิศทางการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับย้ัง
ภัยคุกคาม เพ่ือธำรงไว้ซ่ึงความมั่นคงแห่งชาติ รวม 7 กรอบแนวคิด 16 นโยบาย 19 แผน มีส่วน
เกี่ยวข้อง รวม 7 นโยบาย 6 แผน ได้แก่นโยบายท่ี 1) เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สอดรับด้วย แผนท่ี 3)
แผนการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นโยบายท่ี 2) สร้างความเป็นธรรม ความปรองดอง และความ
สมานฉนั ท์ในชาติ สอดรับด้วยแผนท่ี 6) แผนการสร้างความสามัคคีปรองดอง นโยบายท่ี 3) ป้องกันและ
แก้ไขการก่อเหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สอดรับด้วย แผนที่ 7) แผนการป้องกันและแก้ไข
ปัญหาการก่อเหตุรุนแรงในพื้นท่ีจังหวัดชายแดนภาคใต้ นโยบายที่ 5) สร้างเสริมศักยภาพการป้องกัน
และแก้ไขปญั หาภยั คุกคามขา้ มชาติ และนโยบายท่ี 8) เสริมสร้างความเขม้ แข็งและภูมิคมุ้ กันความม่ันคง
ภายใน สอดรับด้วยแผนที่ 10) แผนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด นโยบายท่ี 9) เสรมิ สรา้ งความ
ม่ันคงของชาติจากภัยการทุจริต สอดรับด้วยแผนที่ 11) แผนการเสริมสร้างความม่ันคงของชาติ
จากภัยทุจริต และนโยบายท่ี 10) เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สอดรับด้วยแผนที่ 15) แผน
การป้องกนั และแกไ้ ขปัญหาความมนั่ คงทางไซเบอร์

เปา้ หมายการพฒั นาทยี่ ัง่ ยนื (Sustainable Development Goals: SDGs)

การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly -
UNGA) เม่ือวันที่ 25 กันยายน 2558 ผู้นำประเทศสมาชิกสหประชาชาติและปร ะเทศไทย
รวม 193 ประเทศ ได้ลงนามรับรองเปา้ หมายการพฒั นาทีย่ ่ังยืน (Sustainable Development Goals;
SDGs) ทดแทนเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals ; MDGs) ซึ่ง
ห ม ดอายุลงใน ปี 2558 เป้ าห ม ายการพั ฒ น าที่ ย่ังยืน จะถูกใช้เป็ น เคร่ืองกำห น ด ทิ ศท าง
การพัฒนาทั้งของประเทศไทยและของโลกจนถึงปี ค.ศ.2030 (พ.ศ.2573) ครอบคลุมระยะเวลา
15 ปี ท่ีประกอบด้วย 17 เป้าหมาย (Goal) 169 เป้าประสงค์ (Target) ครอบคลุมประเด็นการพัฒนา
ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล อันเป็นสามเสาหลักของการพัฒนาที่ย่ังยืน
โดยมีเป้าหมายสูงสดุ เพ่อื ขจดั ความยากจน ลดความเหลอ่ื มล้ำ โดยไมท่ ้ิงใครไว้เบ้อื งหลัง ไมท่ ำลายแหล่ง

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั นราธวิ าส 48

ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รวมท้ังให้ความสำคัญมากย่ิงขึ้นต่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนซึ่งจะต้อง
ร่วมขบั เคลือ่ นการพฒั นาทย่ี ่งั ยืน

ป ระเท ศไท ย ได้ กำห น ด กล ไก การขั บ เค ล่ื อ น เป้ าห ม าย การพั ฒ น าท่ี ยั่ งยื น ใน รู ป แ บ บ
คณะกรรมการ โดยมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน ดังน้ี (มติท่ีป ระชุมคณะกรรมการ
เพ่ือการพฒั นาที่ยงั่ ยืน : กพย. เมอื่ วันท่ี 19 ธันวาคม 2562)

1. เหน็ ชอบหลกั การร่างแผนการขบั เคลื่อน SDGs สำหรับประเทศไทยตามที่ สศช. เสนอ
2. มอบหมายให้ สศช. ดำเนินงานตามแผนขับเคล่ือนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับ
ประเทศไทยรว่ มกับหน่วยงานตา่ ง ๆ
3. เห็นชอบให้ยกเลิกการดำเนินงานต่าง ๆ ตามที่คณะอนุกรรมการต่าง ๆ ภายใต้
คณะกรรมการเพอ่ื การพัฒนาทย่ี ั่งยืนทีไ่ ด้เคยมีขอ้ ส่งั การหรอื เคยมีมติ
4. ปรบั การดำเนนิ งานให้สอดคลอ้ งกับร่างแผนการขับเคล่ือนฯ
รา่ ง แผนการขบั เคล่ือนการพัฒนาที่ยั่งยนื ของประเทศไทย ประกอบดว้ ย
1. การสรา้ งการตระหนักรู้
2. การเช่ือมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับท่ี 2
และแผนระดับที่ 3 ของประเทศ
3. กลไกการขบั เคลื่อนเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยืน

3.1 คณะกรรมการเพ่ือการพัฒนาทย่ี ่ังยืน (กพย.) เป็นกลไกหลักในการขับเคล่ือน ระดับชาติ
เชิงนโยบาย (นายกรัฐมนตรี : ประธาน ปลัดกระทรวง ผู้แทนส่วนราชการ และหน่วยงานต่าง ๆ : กรรมการ
สำนักงานสภาพฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ (สศช.) : เลขานุการ)

3.2 คณะอนุกรรมการเพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นกลไกในการแปลงนโยบาย
และยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท่ีย่ังยืนของประเทศไทยสู่การปฏิบัติอย่างบูรณาการ รวม 4 คณะ
ประกอบดว้ ย

3.2.1 คณะอนกุ รรมการขับเคลอื่ นเป้าหมายการพฒั นาท่ยี ง่ั ยนื
3.2.2 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาท่ีย่ังยืนตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกจิ พอเพยี ง
3.2.3 คณะอนกุ รรมการติดตามและประเมนิ ผลการพฒั นาท่ีย่งั ยืน
3.2.4 คณะอนกุ รรมการการประเมนิ สงิ่ แวดล้อมระดบั ยุทธศาสตร์
4. การจัดทำโครงการ/การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการ
ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ ด้วยหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal
Relationship: XYZ)
5. ภาคีการพัฒนา (ภาคธุรกิจเอกชน ภาควชิ าการ ภาคประชาสังคม ภาคภาคีเพื่อการพัฒนา
ระหวา่ งประเทศ)
กพย. ได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงาน
หลักการขบั เคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ั่งยนื
1. รายเป้าหมายหลัก (Goal) เป้าหมายการพัฒนาท่ีย่ังยืน เป้าหมายท่ี 4 สร้างหลัก ประกันว่า
ทุ ก ค น มี ก ารศึ ก ษ าท่ี มี คุ ณ ภ าพ อ ย่ างค รอ บ ค ลุ ม แ ล ะ เท่ าเที ย ม แ ล ะ ส นั บ ส นุ น โอ ก าส
ในการเรียนร้ตู ลอดชีวติ
2. รายเป้าหมายยอ่ ย (Target) ท่ี 4.1/4.2/4.4/4.5/4.6/4.7/4.A/4.C

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 49

เป้าหมายย่อย 4.1 : สรา้ งหลักประกันวา่ เด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษา
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาท่ีมีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการ
เรียนทีม่ ปี ระสิทธิผล ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายยอ่ ย 4.2 : สร้างหลักประกนั ว่าเด็กชายและเดก็ หญิงทุกคนเข้าถงึ การพฒั นา การ
ดแู ล และการจัดการศึกษาระดับกอ่ นประถมศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยท่ีมีคณุ ภาพ เพื่อให้เด็กเหล่าน้ันมี
ความพร้อมสำหรบั การศึกษาระดบั ประถมศึกษา ภายในปี 2573

เป้าหมายย่อย 4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะท่ีเก่ียวข้อง รวมถึงทักษะ
ทางด้านเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการภายในปี
2573

เป้าหมายย่อย 4.5 ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษาและสร้างหลักประกัน
ว่ากลุ่มท่ีเปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพ้ืนเมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับ อย่าง
เทา่ เทยี ม ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าประสงค์ท่ี 4.6 สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ในสัดส่วนสูง
ทัง้ ชายและหญงิ สามารถอา่ นออกเขียนได้และคำนวณได้ ภายในปี 2573

เป้าประสงค์ที่ 4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะ
ที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างย่ังยืน
และการมีวิถีชีวิตท่ียั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรม
แห่งความสงบสุข และไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความนิยมในความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของวฒั นธรรมตอ่ การพฒั นาทย่ี ั่งยนื ภายในปี 2573

เป้าประสงค์ท่ี 4.A สร้างและยกระดับอุปกรณ์และเคร่ืองมือทางการศึกษาที่อ่อนไหวต่อ
เด็ก ผู้พิการ และเพศภาวะ และให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง
ครอบคลุมและมีประสทิ ธผิ ลสำหรบั ทุกคน

เป้าประสงค์ท่ี 4.C เพิ่มจำนวนครูท่ีมีคุณวุฒิ รวมถึงการดำเนินการผ่านทาง
ความร่วมมือระหว่างประเทศในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนา
น้อยท่สี ุดและรฐั กำลงั พัฒนาทีเ่ ป็นเกาะขนาดเลก็ ภายในปี 2573

ภารกิจของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส มีส่วนเกี่ยวข้องกับเป้าหมาย
การพัฒนาท่ียั่งยืน รายเป้าหมายหลัก (Goal) ที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ
อย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทุกรายเป้าหมายย่อย
(Target) ที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลกั การขับเคลื่อนเป้าหมาย
การพฒั นาทีย่ ่งั ยืน

แผนการศกึ ษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579)

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 เป็นแผนท่ีวางกรอบเป้าหมายและทิศทาง
การจัดการศึกษาของประเทศ โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอ
ภาค ในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาท่ีมีประสิทธิภาพ พัฒนาคน ให้มี
สมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ แนวคิด
การจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลกั สำคัญในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย หลักการ
จัดการศึกษาเพ่ือปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพ่ือความเท่าเทียมและท่ัวถึง
(Inclusive Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการ
มีส่วนร่วมของสังคม (All For Education) อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 50

Development Goals : SDGs 2030) ประเด็นภายในประเทศ (Local Issues) อาทิ คุณภาพของคน
ช่วงวัย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหล่ือมล้ำของการกระจายรายได้และ
วิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำยุทธศาสตร์ชาติมาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทำแผนการศึกษา
แห่งชาติ โดยมสี าระสำคัญ ดังนี้

วสิ ัยทัศน์ : คนไทยทุกคนได้รบั การศึกษาและเรียนรตู้ ลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต
อย่างเปน็ สุข สอดคล้องกับหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง และการเปล่ียนแปลงของโลก ศตวรรษท่ี 21

วัตถปุ ระสงค์
1. เพ่อื พัฒนาระบบและกระบวนการจดั การศึกษาท่ีมคี ุณภาพและมปี ระสิทธิภาพ
2. เพ่ือพัฒ นาคนไทยให้เป็นพลเมือ งดี มีคุณ ลักษณ ะ ทักษะและสมรรถนะ
ที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และ
ยุทธศาสตร์ชาติ
3. เพ่ือพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี
และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
4. เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศท่ีมีรายได้ปานกลางและความเหลื่อมล้ำ
ภายในประเทศลดลง
ยุทธศาสตร์แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์
ทเี่ กยี่ วขอ้ ง ดังนี้
ยทุ ธศาสตร์ที่ 1 การจดั การศึกษาเพื่อความมนั่ คงของสังคมและประเทศชาติ
เป้าหมาย 1) คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครอง ระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2) คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
จังห วัด ช าย แ ด น ภ า ค ใต้แ ล ะ พื ้น ที ่พ ิเศ ษ ได้รับ ก า ร ศึก ษ า แ ล ะ เรีย น รู้อ ย่า งมีคุณ ภ า พ
3) คนทกุ ช่วงวยั ได้รับการศึกษา การดูแลและปอ้ งกันจากภัยคุกคามในชวี ิตรูปแบบใหม่
แนวทางการพัฒนา 1) พัฒนาการจัดการศึกษาเพ่ือเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของ
ชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2) ยกระดับคุณภาพและ
ส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) ยกระดับ
คุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่พิเศษ (พ้ืนท่ีสูง พ้ืนที่ตามแนวตะเข็บ
ชายแดนและพื้นท่ีเกาะแก่ง ชายฝ่ังทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเช้ือชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ
และแรงงานต่างด้าว) 4) พัฒนาการจัดการศึกษาเพ่ือการจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคามใน
รูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติภัยจาก
โรคอบุ ตั ิใหม่ ภัยจากไซเบอร์ เปน็ ต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้าง
ขีดความสามารถในการแขง่ ขนั ของประเทศ
เป้าหมาย 1) กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการ
ของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2) สถาบันการศึกษาและหน่วยงาน
ที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน 3) การวิจัยและพัฒนา
เพื่อสรา้ งองคค์ วามรู้และนวตั กรรมที่สรา้ งผลผลติ และมูลคา่ เพม่ิ ทางเศรษฐกิจ
แนวทางการพั ฒนา 1) ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรง
ตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2) ส่งเสริมการผลิตและ
พัฒนา กำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน 3) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
เพอ่ื สร้างองคค์ วามร้แู ละนวัตกรรมทสี่ รา้ งผลผลิตและมลู ค่าเพ่มิ ทางเศรษฐกิจ

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 51

ยุทธศาสตร์ท่ี 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสรา้ งสังคมแห่งการเรยี นรู้
เป้าหมาย 1) ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทยและทักษะ
และคุณ ลักษณ ะที่จำเป็นในศตวรรษท่ี 21 2) คนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ความสามารถ
และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ
3) สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรได้อย่างมี
คุณภาพและมาตรฐาน 4) แหล่งเรียนรู้ ส่ือตำราเรียน นวัตกรรมและส่ือการเรียนรู้มีคุณภาพ
และมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานท่ี 5) ระบบและกลไก
การวัด การติดตามและประเมินผลมีประสิทธิภาพ 6) ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการ
ศึกษาได้มาตรฐานระดับสากล 7) ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะ
ตามมาตรฐาน
แนวทางการพฒั นา 1) ส่งเสริม สนับสนุนใหค้ นทุกชว่ งวัยมที กั ษะ ความรู้ ความสามารถ และ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสม เต็มตามศักยภาพในแต่ละช่วงวัย 2) ส่งเสริมและพัฒนาแหล่ง
เรียนรู้ สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึง
แหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ 3) สร้างเสริมและปรับเปล่ียนค่านิยมของคนไทยให้มีวินัย
จติ สาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 4) พัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัดและประเมินผล
ผ้เู รียนใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพ 5) พัฒนาคลังข้อมูล สือ่ และนวัตกรรมการเรียนร้ทู ี่มีคุณภาพและมาตรฐาน 6)
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 7) พัฒนาคุณภาพครู
อาจารย์ และบุคลากรทางการศกึ ษา
ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการ ศกึ ษา
เป้าหมาย 1) ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษา
ท่ีมีคุณภาพ 2) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
3) ระบบข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาท่ีครอบคลุม ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน เพ่ือการวาง
แผนการบรหิ ารจดั การศึกษา การตดิ ตามประเมนิ และรายงานผล
แนวทางการพัฒนา 1) เพ่ิมโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาท่ีมี
คุณภาพ 2) พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย 3) พัฒนาฐานข้อมูล
ดา้ นการศึกษาที่มมี าตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงได้
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณ ภาพชีวิตที่เป็นมิตร
กับสง่ิ แวดล้อม
เป้าหมาย 1) คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรมและนำ
แนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 2) หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้
ท่ีสง่ เสรมิ คุณภาพชวี ิตที่เป็นมิตรกับสง่ิ แวดล้อม คุณธรรม จรยิ ธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 3) การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริม
คณุ ภาพชวี ิตทเ่ี ปน็ มิตรกับส่ิงแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา 1) ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์ส่ิงแวดล้อม
มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนิน
ชีวิต 2) ส่งเสริมและพัฒ นาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้
ตา่ ง ๆ ท่เี กย่ี วข้องกับการสร้างเสริมคณุ ภาพชวี ิตทีเ่ ปน็ มิตรกบั สงิ่ แวดลอ้ ม 3) พฒั นาองคค์ วามรู้ งานวจิ ัย
และนวัตกรรม ด้านการสร้างเสรมิ คณุ ภาพชีวิตทเ่ี ปน็ มิตรกับสงิ่ แวดลอ้ ม

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 52

ยุทธศาสตรท์ ่ี 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบรหิ ารจัดการศึกษา
เป้าหมาย 1) โครงสร้าง บทบาทและระบบการบริหารจัดการการศึกษามีความคล่องตัว
ชั ด เจ น แ ล ะ ส าม ารถ ต รว จ ส อ บ ได้ 2 ) ระบ บ ก ารบ ริห ารจั ด ก ารศึ ก ษ ามี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
และประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 3) ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วม
ในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและพ้ืนที่ 4) กฎหมายและรูปแบบ
การบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษารองรับลักษณะที่แตกต่างกันของผู้เรียน สถานศึกษา
และความต้องการกำลังแรงงานของประเทศ 5) ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็ม
ตามศักยภาพ
แนวทางการพฒั นา 1) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา 2) เพิ่มประสิทธิภาพการ
บริหารจัดการสถานศึกษา 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
4) ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบการเงินเพ่ือการศึกษาท่ีส่งผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพการจัด
การศึกษา 5) พัฒนาระบบบริหารงานบคุ คลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศกึ ษา

นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยทุ ธ์ จันทร์โอชา นายกรฐั มนตรี)

น า ย ก รั ฐ ม น ต รี ได้ แ ถ ล ง น โย บ า ย ข อ ง ค ณ ะ รั ฐ ม น ต รี ต่ อ ส ภ า นิ ติ บั ญ ญั ติ แ ห่ ง ช า ติ
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 รวม 12 นโยบายหลัก และ 12 นโยบายเร่งด่วน ซึ่งเกี่ยวข้อง รวม
11 นโยบายหลัก 5 นโยบายเร่งดว่ น ดังนี้

นโยบายหลักท่ี 1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ นโยบายหลักที่ 2 การ
สร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ และความสงบสุขของประเทศ นโยบายหลัก
ที่ 3 การทำนุบำรงุ ศาสนา ศิลปะและวฒั นธรรม (3.2 ปลูกฝังค่านิยมและวฒั นธรรมทีด่ ี ทง้ั ด้านคณุ ธรรม
จริยธรรม กตัญ ญู ความซื่อสัตย์ การมีวิ นัย เคารพ กฎ ห มาย มีจิตสาธารณ ะและการมี
ส่วนร่วมทำประโยชน์ให้ประเทศและการเป็นพลเมืองดี) นโยบายหลักท่ี 4 การสร้างบทบาทของไทย
ในเวทีโลก (4.2 สร้างความเป็นปึกแผ่นของอาเซียน) นโยบายหลักที่ 5 การพัฒนาเศรษฐกิจ
และความสามารถในการแข่งขันของไทย (5.3 พัฒนาภาคเกษตร 5.4 พัฒนาภาคการท่องเที่ยว)
นโยบายหลักที่ 6 การพัฒนาพ้ืนที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค (6.1 ส่งเสริมพื้นท่ี
เศรษฐกิจพิเศษเพื่อเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเอเชีย 6.2 ส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนาเมือง
อจั ฉริยะน่าอยู่ท่ัวประเทศ) นโยบายหลักท่ี 8 การปฏริ ูปกระบวนการเรยี นรู้และการพัฒนาศักยภาพของ
คนไทยทุกช่วงวัย (8.1 ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย 8.2 พัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่ 8.5 วิจัย
และพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ 8.6 ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ
ทุกช่วงวัย 8.7 จัดทําระบบปริญญาชุมชนและการจัดอบรมหลักสูตรระยะส้ัน) นโยบายหลักท่ี 9 การ
พฒั นาระบบสาธารณสุขและหลักประกนั ทางสงั คม (9.4 สรา้ งหลักประกันทางสังคม) นโยบายหลักที่ 10
การฟ้ืนฟูทรัพยากรธรรมชาตแิ ละการรกั ษาส่งิ แวดล้อมเพ่ือสร้างการเติบโตอย่างยงั่ ยนื นโยบายหลักที่ 11
การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ นโยบายหลักท่ี 12 การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติ
มชิ อบ และกระบวนการยตุ ธิ รรม

นโยบายเร่งด่วนที่ 6 การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต นโยบาย
เร่งด่วนที่ 7 การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 นโยบายเร่งด่วนท่ี 8 การแก้ไขปัญหาทุจริต
และประพฤติมิชอบในวงราชการ นโยบายเร่งด่วนที่ 9 การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขใน
พนื้ ทชี่ ายแดนภาคใต้ นโยบายเร่งด่วนที่ 10 การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 53

นโยบายการจัดการศกึ ษากระทรวงศกึ ษาธกิ าร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565

หลักการตามนโยบาย ประจำปงี บประมาณ พ.ศ.2564 - 2565

1. สร้าง “TRUST” หรือ “ความเชื่อมั่น ไว้วางใจ” ให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างย่ิงเด็ก

และผู้ปกครอง โดยทุกหน่วยงานสามารถทจ่ี ะเป็นหลกั หรอื เป็นทีพ่ ง่ึ ได้

T (Transparency) หมายถงึ ความโปรง่ ใส

R (Responsibility) หมายถงึ ความรบั ผิดชอบ

U (Unity) หมายถึง ความเป็นอนั หนึง่ อันเดียว

S (Student-Centricity) หมายถงึ ผเู้ รยี นเปน็ เป้าหมายแหง่ การพัฒนา

T (Technology) หมายถงึ เทคโนโลยี

2. ให้ทุกหน่วยงานนำรูปแบบการทำงาน “MOE ONE TEAM” หรือ “การทำงาน

รว่ มกันเปน็ หน่ึงเดียวของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร” และนำ “TRUST” ซงึ่ เป็นรูปแบบในการทำงานที่จะทำ

ให้ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เรียน และประชาชน กลับมาให้ความไว้วางใจในการทำงาน

ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นส่วนเสริมในเร่ืองความโปร่งใส ทั้งในเชิงกระบวนการทำงานและ

กระบวนการตรวจสอบจากภาคสว่ นต่าง ๆ

3. สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนดำเนินการตามภารกิจด้วยความรับผิดชอบต่อ

ตนเององค์กร ประชาชน และประเทศชาติ ให้ความสำคญั กับการประสานความร่วมมือจากทกุ ภาคส่วน

โดยผ่านกลไกการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพ

การศึกษา

ดังนั้น จึงกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ

พ.ศ. 2564 - 2565 ดังนี้

นโยบายการจดั การศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565
1. การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ให้ทันสมัย และทันการ
เปล่ียนแปลงของโลกในศตวรรษท่ี 21 โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกระดับการศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและ
คุณลักษณะทเี่ หมาะสมกับบรบิ ทสงั คมไทย
2. การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและอาจารย์ในระดับการศึกษาข้ัน
พน้ื ฐานและอาชีวศกึ ษาใหม้ สี มรรถนะทางภาษาและดิจิทัล เพือ่ ให้ครูและอาจารยไ์ ด้รับการพัฒนาให้มี
สมรรถนะท้ังด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยภาษาและดิจิทัล สามารถปรบั วธิ ีการเรียนการสอนและการใช้สื่อ
ทนั สมยั และมีความรับผิดชอบตอ่ ผลลพั ธ์ทางการศกึ ษาท่เี กดิ กับผเู้ รียน
3. การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ
(NDLP) และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน เพ่ือให้มีหน่วยงานรับผิดชอบพัฒนา
แพลตฟอร์มการเรียนรดู้ ้วยดิจิทัลแห่งชาติ ท่ีสามารถนำไปใชใ้ นกระบวนการจดั การเรียนรู้ท่ีทนั สมัยและ
เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างกวา้ งขวางผ่านระบบออนไลน์ และการนำฐานข้อมูลกลางทางการศึกษามาใช้
ประโยชน์ในการพฒั นาประสิทธิภาพการบริหารและการจดั การศกึ ษา
4. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา โดยการส่งเสริม
สนับสนุนสถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การกระจายอำนาจการบริหารและการจัด
การศึกษาโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่ได้รับการปรับปรุง
เพื่อกำหนดให้มีระบบบริหารและการจัดการ รวมถึงการจัดโครงสร้างหน่วยงานให้เอื้อต่อการจัดการ

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 54

เรียนการสอนให้มีคุณภาพ สถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การบริหารและการจัด
การศกึ ษาโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน มีระบบการบรหิ ารงานบคุ คลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

5. การปรับระบบการประเมินผลการศึกษาและการประกันคุณภาพ พร้อมจัด
ทดสอบวัดความรู้ และทักษะท่ีจำเป็นในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาทั้งสายวิชาการและสาย
วิชาชีพ เพื่อให้ระบบการประเมินผลการศึกษาทุกระดับและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้รับ
การปรับปรุงให้ทันสมยั ตอบสนองผลลัพธ์ทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

6. การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรให้ท่ัวถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการ
ระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากความร่วมมือทุกภาคส่วน เพ่ือให้การจัดสรรทรัพยากรทางการ
ศึกษามีความเป็นธรรมและสร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการศึกษาท่ีมีคุณภาพทัดเทียมกลุ่มอื่น
ๆ กระจายทรพั ยากรทง้ั บุคลากรทางการศึกษา งบประมาณและส่อื เทคโนโลยีได้อย่างทวั่ ถึง

7. การนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ National Qualifications Framework (NQF)
และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน ASEAN Qualifications Reference Framework (AQRF) สู่
การปฏิบัติ เป็นการผลิตและการพัฒนากำลังคนเพ่ือการพัฒนาประเทศ โดยใช้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ
เช่ือมโยงระบบการศึกษาและการอาชีพ โดยใช้กลไกการเทียบโอนประสบการณ์ด้วยธนาคารหน่วยกิต
และการจดั ทำมาตรฐานอาชีพในสาขาท่สี ามารถอา้ งอิงอาเซยี นได้

8. การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพ่ือ
พัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย เพ่ือเป็นการขับเคลื่อนแผน
บูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามพระราชบัญญตั ิการพฒั นาเดก็ ปฐมวยั พ.ศ. 2562 สกู่ ารปฏิบัติเป็น
รูปธรรม โดยหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องนำไปเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
และมีการติดตามความกา้ วหน้าเปน็ ระยะ

9. การศึกษาเพ่ืออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เพ่ือให้ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาและอาชีวศึกษามีอาชีพและรายได้ท่ีเหมาะสมกับการดำรงชีพและ
คุณภาพชีวิตท่ีดี มสี ว่ นช่วยเพม่ิ ขีดความสามารถในการแข่งขนั ในเวทีโลกได้

10. การพลิกโฉมระบบการศึกษาไทยด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยที ี่ทันสมัย
มาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษา เพ่ือให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งนำนวัตกรรมและ
เทคโนโลยที ่ที นั สมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาผา่ นระบบดจิ ิทัล

11. การเพ่ิมโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
ทางการศึกษา และผู้เรียนท่ีมีความต้องการจำเป็นพิเศษ เพ่ือเพ่ิมโอกาสและการเข้าถึงการศึกษา
ทีม่ คี ณุ ภาพของกล่มุ ผูด้ ้อยโอกาสทางการศึกษา และผเู้ รียนทม่ี ีความตอ้ งการจำเปน็ พิเศษ

12. การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย โดยยึดหลักการเรียนรู้
ตลอดชีวิตและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเก่ียวข้อง เพื่อเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาท่ีมี
คณุ ภาพของกลุ่มผ้ดู อ้ ยโอกาสทางการศึกษาและผู้เรยี นท่ีมีความต้องการจำเป็นพิเศษ

นโยบายระยะเร่งดว่ น (Quick Win)
1. ความปลอดภยั ของผู้เรียน โดยจัดให้มรี ูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแล
ชว่ ยเหลือนักเรยี น เพื่อให้ผู้เรยี นเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มคี วามสุข และได้รับการปกป้องค้มุ ครอง
ความปลอดภัยท้ังด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแล
ตนเองจากภยั อันตรายตา่ ง ๆ ทา่ มกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม
2. หลักสูตรฐานสมรรถนะ มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ท่ีหลากหลายโดยยึด
ความสามารถของผู้เรยี นเป็นหลกั และพัฒนาผู้เรียนใหเ้ กิดสมรรถนะท่ีตอ้ งการ

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 55

3. ฐานข้อมูล Big Data มุ่งพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและไม่ซ้ำซ้อน
เพ่ือให้ได้ข้อมูลภาพรวมการศึกษาของประเทศที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และ
สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแทจ้ รงิ

4. ขับเคล่ือนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีว ศึกษา (Excellent Center)
สนับสนนุ การดำเนนิ งานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชวี ศกึ ษา (Excellent Center) ตามความเป็น
เลศิ ของแต่ละสถานศึกษาและตามบรบิ ทของพืน้ ท่ี สอดคล้องกับความตอ้ งการของประเทศทัง้ ในปัจจุบัน
และอนาคต ตลอดจนมีการจดั การเรยี นการสอนด้วยเครอื่ งมอื ท่ที ันสมัย สอดคลอ้ งกบั เทคโนโลยีปัจจบุ ัน

5. พัฒนาทักษะทางอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของ
ผู้เรียน เพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ท่ีเหมาะสม และเพ่ิมขีดความสามารถในการ
แขง่ ขันของประเทศ

6. การศึกษาตลอดชีวิต การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัยให้มี
คุณภาพและมาตรฐาน ประชาชนในแต่ละช่วงวัยได้รับการศึกษาตามความต้องการอย่างมีมาตรฐาน
เหมาะสมและเต็มตามศักยภาพต้ังแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา และพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมเพ่ือเตรียม
ความพร้อมในการเขา้ สสู่ งั คมผู้สูงวยั

7. การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ส่งเสริมการจัด
การศึกษาให้ผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตใน
สังคมอย่างมีเกียรติ ศักด์ิศรีเท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม สามารถช่วยเหลือตนเอง และมีส่วนร่วมในการ
พฒั นาประเทศ

นโยบายและจดุ เนน้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
1. การจดั การศึกษาเพ่ือความปลอดภยั

1.1 เร่งสร้างสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อเพ่ิมความเช่ือม่ันของสังคม และป้องกันจากภัย
คุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ และภัยอ่ืน ๆ โดยมีการวางมาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครู
และบุคลากรในสถานศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดโครงการโรงเรียน Sandbox : Safety zone in school
(SSS) หรือ การจัดกิจกรรม Safety School Success จัดให้มีการฉีดวัคซีนเพ่ือป้องกันโรคติดต่อ การ
จัดการความรนุ แรงเกี่ยวกับรา่ งกาย จติ ใจ และเพศ เปน็ ต้น

1.2 เร่งพัฒนาบรรจุตัวชี้วัดเร่ืองความปลอดภัยให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของ
สถานศกึ ษาและหนว่ ยงานทุกระดบั

1.3 เร่งพัฒนาให้มีหน่วยงานด้านความปลอดภัยท่ีมีโครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง
อยา่ งชดั เจนในทุกส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธกิ าร

2. การยกระดับคณุ ภาพการศกึ ษา
2.1 เร่งจัดทำและพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ)

โดยรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยความเหมาะสมความเป็นไปได้และ
ทดลองใชก้ ่อนการประกาศใช้หลกั สูตรฯ ในเดอื นเมษายน พ.ศ. 2565

2.2 จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้น
กระบวนการเรียนรู้แบบถักทอความรู้ ทักษะคุณลักษณะผู้เรียนเข้าด้วยกันด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
(Active Learning) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเรียนรู้อย่างมีความสุข และพัฒนาความเป็น
มนุษยท์ ีส่ มบูรณ์ รวมท้งั การพัฒนาระบบการวดั และประเมินผลเชิงสมรรถนะ

2.3 พัฒนาช่องทางการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลายและมีแพลตฟอร์ม
การเรียนรู้อัจฉรยิ ะท่ีรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอนคุณภาพสูง และการ

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 56

ประเมินและพัฒนาผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning) สำหรับ
ผู้เรยี นทุกชว่ งวยั

2.4 มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าท่ีพลเมืองและศีลธรรม
ให้มีความทันสมัยสอดรับกับวิถีใหม่ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
ของทอ้ งถน่ิ และการเสริมสรา้ งวิถีชวี ิตของความเปน็ พลเมืองท่เี ข้มแข็ง

2.5 ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ให้กับผู้เรียน โดย
บูรณาการการทำงานรว่ มกับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง เช่น กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ธนาคารกรงุ ศรี
อยุธยา ธนาคารออมสิน ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการสถานศึกษาส่งเสริมวินัยการออมกับ กอช.
โครงการธนาคารโรงเรยี น และการเผยแพรส่ ือ่ แอนเิ มชนั รอบรูเ้ รอื่ งเงิน

2.6 พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะส้ัน แบบโมดูล (Modular
System) ท่ีมีการบูรณาการวิชาสามัญและวิชาชีพในชุดวิชาอาชีพเดียวกัน เชื่อมโยงการจัดการ
อาชีวศึกษาท้งั ในระบบ นอกระบบ และระบบทวิภาคี รวมทงั้ การจดั การเรยี นรแู้ บบตอ่ เนอื่ ง (Block Course)
เพ่ือสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาอย่าง
เข้มขน้ เพ่ือการมงี านทำ

2.7 ศึกษาวิจัย ถอดบทเรียนความสำเร็จในการจัดและพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน
สถานศกึ ษาของสถานศกึ ษาในพื้นท่ีนวตั กรรมการศึกษา ของพืน้ ท่ีนวัตกรรมการศึกษา เพื่อเป็นแนวทาง
ให้หนว่ ยงาน สถานศกึ ษา และผ้เู ก่ียวข้องนำไปประยกุ ตใ์ ชใ้ หเ้ หมาะสม

3. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเทา่ เทียมทางการศกึ ษาทุกช่วงวัย
3.1 ดำเนินการสำรวจและตดิ ตามเดก็ ตกหล่นและเด็กออกกลางคัน เพื่อนำเข้าสู่ระบบ

การศกึ ษาโดยเฉพาะการศึกษาภาคบงั คบั
3.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุต้ังแต่ 3 ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบ

การศึกษาเพอ่ื รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีคุณภาพ ตามศักยภาพ ตามวัยและต่อเนื่องอยา่ งเป็นระบบ
โดยบรู ณาการรว่ มงานกบั ทกุ หนว่ ยงานทเี่ กี่ยวขอ้ ง

3.3 มุ่งแก้ปัญหาคนพิการในวัยเรียนที่ไม่ได้รับการศึกษาเข้าสู่ระบบการศึกษา โดย
กำหนดตำแหนง่ (ปักหมดุ ) บา้ นเด็กพกิ ารทัว่ ประเทศ

3.4 ให้ความช่วยเหลือโรงเรียนห่างไกลกันดารได้มีโอกาสเรียนรู้ในยุคโควิด โดยการสร้างความ
พรอ้ ม ในด้านดจิ ทิ ัลและด้านอน่ื ๆ

3.5 ส่งเสริม และสนับสนนุ ความร่วมมือการจัดการศกึ ษารว่ มกับหน่วยงาน องค์กรทั้ง
ภาครัฐ เอกชน ชุมชน องค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นและสถาบนั สงั คมอนื่

4. การศกึ ษาเพือ่ พฒั นาทักษะอาชีพและเพิม่ ขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั
4.1 ขับเคลื่อนศูนย์ความเปน็ เลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) และส่งเสริมการผลิต

กำลังคนทตี่ อบโจทย์การพัฒนาประเทศ
4.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมอาชีพท่ีสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ

โดยการ Re-skill, Up-skill ,New skill เพ่ือให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาในระดับท่ีสูงข้ึน พร้อมทั้ง
สร้างช่องทางอาชีพในรูปแบบท่ีหลากหลายให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้สูงอายุ
ทม่ี คี วามสนใจ โดยมีการบรู ณาการความรว่ มมือระหว่างหน่วยงานทีเ่ ก่ยี วข้อง

4.3 จัดต้ังศูนย์ให้คำปรึกษาการจัดต้ังธุรกิจ (ศูนย์ Start up) ภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพ
และการเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา เพ่ือการส่งเสริม และ
พัฒนาผู้ประกอบการด้านอาชีพทั้งผู้เรียนอาชีวศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยเช่ือมโยงกับ กศน. และสถาน
ประกอบการทง้ั ภาครฐั และเอกชนท่ีสอดคล้องกับการประกอบอาชีพในวถิ ชี ีวติ รปู แบบใหม่

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 57

4.4 พัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อสนับสนุนช่างพันธ์ุ R อาชีวะซ่อมท่ัวไทย โดยการ
นำร่องผ่านการให้บริการของศูนย์ซ่อมสร้างเพ่ือชุมชน (Fix it Center) จำนวน 100 ศูนย์ ให้ครอบคลุมการ
ใหบ้ รกิ ารแก่ประชาชน

5. การส่งเสริมสนับสนุนวชิ าชพี ครูและบุคลากรทางการศึกษา
5.1 พัฒนาหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ Performance Appraisal (PA) โดย

ใช้ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศกึ ษา ระบบ Digital
Performance Appraisal (DPA)

5.2 พัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการจัดทำกรอบระดับสมรรถนะ
ดิจิทัล (Digital Competency) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน และ
ระดับอาชีวศกึ ษา

5.3 ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาท้ังระบบ ควบคู่กับการให้
ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินยั ด้านการเงนิ และการออม

6. การพฒั นาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดจิ ิทัล
6.1 พัฒนาระบบสารสนเทศโดยใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศท่ีทันสมยั ในการจัดระบบทะเบียน

ประวัติของขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศกึ ษาอิเล็กทรอนิกส์
6.2 ปรับปรุงแนวทางการจัดสรรเงินค่าเคร่ืองแบบนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน

ผ่านแอปพลเิ คชนั “เป๋าตัง” ของกรมบัญชกี ลางไปยังผปู้ กครองโดยตรง
7. การขบั เคล่ือนกฎหมายการศกึ ษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ
จัดทำกฎ หมายลำดับรองและแผนการศึกษาแห่งชาติเพ่ือรองรับพระราช บัญ ญั ติ

การศกึ ษาแหง่ ชาติควบคู่กบั การสรา้ งการรบั รู้ใหก้ บั ประชาชนได้รับทราบอย่างทวั่ ถงึ

แผนปฏิบตั ริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดสาระสำคัญของแผนปฏบิ ัติราชการประจำปี งบประมาณ
พ.ศ.2565 ดงั นี้

วิสัยทศั น์
“พัฒนาผู้เรียนทุกช่วงวัยให้มีคุณธรรม มีทักษะท่ีจำเป็นในศตวรรษท่ี 21 มีทักษะอาชีพ

และมีทักษะการเรยี นร้อู ย่างต่อเนื่องตลอดชวี ติ ตามความสามารถของพหุปญั ญา”
พันธกจิ
1. ยกระดบั คุณภาพของการจัดการศึกษาให้มมี าตรฐาน
2. ลดความเหลือ่ มล้ำทางการศกึ ษา
3. มุง่ ความเป็นเลศิ และสร้างขดี ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการการศึกษาให้มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร

เพิม่ ความคลอ่ งตวั ในการรองรับความหลากหลายของการจดั การศึกษา และสรา้ งเสรมิ ธรรมาภิบาล
เปา้ ประสงคร์ วม
1. ผู้เรียนมที กั ษะท่จี ำเป็นในศตวรรษที่ 21 สอดคลอ้ งกบั มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ
2. ผู้เรียนได้รับการปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเก่ียวกับความม่ันคง และรู้เท่าทันต่อ

ภยั คกุ คามรูปแบบใหม่
3. ผูเ้ รยี นปฐมวัยมีพัฒนาการท่สี มวัย
4. ครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษามคี ุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวดั นราธวิ าส 58

5. ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
และเหมาะสมกับชว่ งวัย

6. มีการพัฒนาระบบฐานขอ้ มูลพหุปญั ญาของผูเ้ รยี น
7. กำลงั คนมที กั ษะอาชีพ สมรรถนะ สอดคล้องกบั ความตอ้ งการของตลาด แรงงาน
8. องคค์ วามรู้ สิ่งประดิษฐ์ งานวจิ ัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์
ในเชิงเศรษฐกจิ และสงั คม
9. ระบบบรหิ ารจัดการการศึกษามปี ระสิทธภิ าพตามหลักธรรมาภิบาล สามารถสนับสนุน
การจัดการศกึ ษาทห่ี ลากหลายในระดับพื้นที่ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
ประเด็นยุทธศาสตร์
1. พัฒนาหลกั สูตร กระบวนการจดั การเรยี นรู้ การวดั และประเมินผล (7 แผนงาน)
2. พฒั นาครู บคุ ลากรทางการศึกษา และบคุ ลากรผปู้ ฏบิ ัตงิ านทุกระดบั (5 แผนงาน)
3. เพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
(5 แผนงาน)
4. ส่งเสริมระบบเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั เพื่อการศกึ ษา (5 แผนงาน)
5. ผลติ กำลังคน รวมท้ังงานวจิ ยั ท่ีสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ (7 แผนงาน)
6. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการ ศึกษา
(6 แผนงาน)

แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานปลัดกระทรวงศกึ ษาธกิ าร

สำนักงานปลดั กระทรวงศึกษาธกิ าร ไดก้ ำหนดสาระสำคัญของแผนปฏบิ ัตริ าชการ
ประจำปงี บประมาณ พ.ศ.2565 ดงั น้ี

1. วสิ ัยทศั น์
การบริหารและจัดการศึกษาแบบบูรณ าการมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนได้รับ
การเรียนรูต้ ลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและมที กั ษะที่จำเป็นในศตวรรษท่ี 21
2. พนั ธกิจ
2.1 ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารและจัดการศึกษาแบบบูรณาการทุกระดับ
ทุกพ้นื ทอ่ี ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผเู้ รียน
2.2 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ
การศกึ ษาตามอธั ยาศัยใหส้ อดคล้องกับทกั ษะท่ีจำเป็นในศตวรรษที่ 21
2.3 ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษา
อยา่ งทวั่ ถึง ตามศักยภาพของผู้เรยี น เพอ่ื ลดความเหลอื่ มล้ำทางการศกึ ษา
2.4 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลและพัฒนาสมรรถนะ
ขอ งข้าราช ก าร ค รู แ ล ะบ ุค ล าก รท างก ารศึก ษ าที ่ส่งผ ล ต่อ ก ารพ ัฒ น าท ัก ษ ะที ่จ ำเป ็น
ของผเู้ รียนในศตวรรษที่ 21

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 59

3. ค่านยิ ม TEAMWINS
T = Teamwork การทำงานเป็นทีม
E = Equality of Work ความเสมอภาคในการทำงาน
A = Accountability ความรับผิดชอบ
M = Morality and Integrity การมศี ีลธรรมและมีความซื่อสัตย์
W = Willful ความมุง่ มั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ
I = Improvement การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
N = Network and Communication การเปน็ เครอื ขา่ ยท่มี ปี ฏิสมั พันธ์
ที่ดตี อ่ กนั
S = Service Mind การมจี ิตมุ่งบรกิ าร

4. เปา้ ประสงคร์ วม
4.1 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีการบริหารและการจัดการศึกษา
แบบบูรณาการตามหลักธรรมาภบิ าล
4.2 ผู้เรียนมีการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ และมีทักษะที่จำเป็น
ในศตวรรษที่ 21
4.3 ผู้เรียนไดร้ ับโอกาสเขา้ ถึงการศกึ ษาท่มี ีคุณภาพอยา่ งท่ัวถึงและเสมอภาค
4.4 ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะการปฏิบตั ิงานในศตวรรษท่ี 21

แผนพัฒนาภาคใตช้ ายแดน พ.ศ. 2560 – 2565 ฉบับทบทวน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค มี 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน โดยที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้รับ
งบประมาณในแผนงานบรู ณาการพ้นื ท่รี ะดับภาคในส่วนของภาคใตช้ ายแดน ดงั นี้

ทศิ ทางการพัฒนาภาคใตช้ ายแดน
ภาคใต้ชายแดนพ่ึงพิงภาคการเกษตร โดยมีพืชเศรษฐกิจหลัก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
และไม้ผล ซึ่งยังใช้รูปแบบการผลิตแบบดั้งเดิม และมีรูปแบบขั้นต้นเพื่อการส่งออก ทำให้ได้รับ
ผลกระทบจากความผันผวนของราคา นอกจากน้ันภาพลักษณ์ความไม่ปลอดภัยจากเหตุการณ์ความ
ไม่สงบ ส่งผลต่อภาวะการค้าและการลงทุน อยา่ งไรก็ดี ภาคใต้ชายแดนเป็นแหล่งทำการประมงท่ีสำคัญ
ของประเทศ เน่ืองจากมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และมีแหล่งท่องเที่ยวท่ีสวยงาม รวมทั้งมีพ้ืนท่ี
อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และเมืองชายแดน มีจุดที่ตั้งท่ีได้เปรียบในการเชื่อมโยงการพัฒนาระหว่าง
พ้ืนที่ภาคใต้และมาเลเซียรวมท้ังสิงคโปร์ ประกอบกับปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างดำเนินโครงการเมือง
ตน้ แบบ “สามเหล่ยี มมั่นคง มั่งค่งั ยง่ั ยืน” เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร อำเภอนองจิก การพัฒนาการ
ค้าและการท่องเที่ยว อำเภอสุไหงโก-ลก และอำเภอเบตงเพื่อสร้างงาน และรายได้ให้กับประชาชน
ควบคู่ไปกับการพัฒนาเพ่ือสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคม
พหุวัฒนธรรม
เปา้ หมายเชงิ ยทุ ธศาสตร์
“เป็นแหล่งผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปท่ีสำคัญของประเทศ และ
เป็นเมืองชายแดนเชื่อมโยงการค้าและการท่องเท่ียวกับพื้นท่ีภาคใต้และการพัฒนาเศรษฐกิจของ
มาเลเซยี และสงิ คโปร์ ชุมชนมคี วามเข้มแขง็ อย่รู ่วมกนั อย่างสนั ติสขุ ภายใตส้ ังคมพหวุ ฒั นธรรม”

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 60

ยทุ ธศาสตรก์ ารพัฒนา
1. พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร เพ่ือสร้างความม่ันคง
ใหก้ ับภาคการผลิต
2. พัฒนาเมืองสุไหงโก-ลกและเมืองเบตงให้เป็นเมืองการค้าและเมืองท่องเที่ยวชายแดน
และพัฒนาเมอื งยะลาให้เป็นเมอื งน่าอยู่และศนู ย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ชายแดน
3. เสรมิ สรา้ งความเข้มแขง็ ใหก้ ับชมุ ชน

แผนพฒั นาด้านการศึกษาระดับภาคและกลมุ่ จงั หวดั ภาคใต้ชายแดน (พ.ศ.2563-2565)

วสิ ัยทศั น์
สร้างคนดี พัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ อยู่ในสังคม

พหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข
พนั ธกิจ
1. เสริมสร้างความมั่นคงแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และปลูกฝัง พัฒนา

คณุ ธรรม จรยิ ธรรมอยา่ งต่อเนอื่ ง
2. พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับสู่มาตรฐานสากล การผลิตและพฒั นากำลังคนท่มี ี

คุณภาพสตู่ ลาดงาน
3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการในพ้ืนท่ีให้มีประสิทธิภาพ

ตามหลกั ธรรมาภบิ าล
4. ขับเคล่ือนการศึกษาในระดับภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัด โดยการอำนวยการ

ส่งเสริม สนับสนุน และพั ฒ น าการศึกษาแบบร่วมมือแ ละบู รณ าการหน่วยงานในสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพยี งและการพัฒนาการศึกษาในศตวรรษท่ี 21

ประเด็นยทุ ธศาสตรก์ ารพัฒนาด้านการศึกษา
1. พฒั นาการจดั การศกึ ษาเพ่อื เสริมสร้างความมั่นคง
2. พัฒนากำลงั คน สง่ เสรมิ การวิจยั ยกระดับสมรรถนะในการแขง่ ขัน
3. พัฒนาศกั ยภาพคนทกุ ช่วงวยั และสร้างสงั คมแหง่ การเรียนรู้
4. สรา้ งโอกาสและความเสมอภาคทางการศกึ ษา
5. จัดการศึกษาเพอื่ เสรมิ สรา้ งคณุ ภาพชวี ติ ที่เป็นมติ รกับสงิ่ แวดลอ้ ม
6. พฒั นาระบบบรหิ ารจัดการศกึ ษาให้มีประสิทธภิ าพ

เปา้ ประสงค์
1. ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยึดมั่นสถาบันชาติ ศาสนา และ

พระมหากษัตริย์ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมือง มีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ในสังคมพหวุ ัฒนธรรม รวมถงึ พฒั นาคุณภาพการศึกษาเพือ่ เสรมิ สรา้ งความม่นั คง

2. กำลังคนมีคณุ ภาพ มที ักษะที่จำเป็นตอ่ การประกอบอาชีพและมีสมรรถนะตรงความ
ต้องการของตลาดงาน เปน็ ฐานรองรบั การขับเคลอ่ื นประเทศไทย 4.0

3. ประชาชนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษาท่ีมีคุณภาพ มีทักษะท่ีสำคัญต่อการดำรงชีวิต
ในศตวรรษ ที่ 21 สูส่ ังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. ประชาชนไดร้ บั โอกาสทางการศกึ ษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทยี ม

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 61

5. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตท่ีดี เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม พึ่งพาตนเองได้บนพ้ืนฐาน
หลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง

6. หนว่ ยงานทางการศึกษาในพ้ืนทภี่ าคใตช้ ายแดนมีกลไกในการบรูณาการขับเคลื่อน
การศกึ ษาท่ีมีประสิทธภิ าพและประสทิ ธิผล

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ.2565)

1. วิสยั ทัศน์จงั หวดั นราธวิ าส
“เศรษฐกจิ มั่นคง การค้าเฟ่อื งฟู นราน่าอยู่ มุ่งสู่สันติสขุ อย่างยั่งยืน”

2. พนั ธกจิ (Mission)
1) พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ ภาคการเกษตร การค้า การลงทุน

การบริการ การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมให้เข้มแข็งและย่ังยืนบนพ้ืนฐานเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้กระแส
โลกาภวิ ัฒน์

2) ยกระดับคุณภาพชวี ติ ของประชาชน ลดความเหลอื่ มลำ้ เติมความเทา่ เทียม และความ
เขา้ ใจในความแตกตา่ งภายใต้สงั คมพหวุ ฒั นธรรม

3) เสริมสร้างความม่ันคงของทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ให้มีความอุดม
สมบูรณ์ และเปน็ หลักประกนั ในการพัฒนาของจังหวัดในทุกมติ ิ

4) สร้างความเช่ือม่ันด้านความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินแก่ประชาชนและ
เจ้าหน้าท่ขี องรัฐท่ีปฏิบัตงิ านในพนื้ ที่

5) พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ และบริการให้มีคุณภาพ ทันสมัย สู่ภาครัฐ
ดจิ ิทัล และประสทิ ธิภาพตามหลกั ธรรมาภิบาล

3. เปา้ ประสงคร์ วม (Ultimate Goal)
1) เศรษฐกิจเติบโตอยา่ งมีเสถียรภาพ มูลค่าผลติ ภณั ฑ์มวลรวมของจงั หวัดนราธิวาส

มมี ูลค่าเพิม่ ข้นึ เติบโตไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 2
2) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตท่ีดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความม่ันคง

ในชีวิตปัญหาความยากจนครัวเรือนยากจนท่ีมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ.สามารถพ่ึงตนเองได้
เพมิ่ ขึ้นรอ้ ยละ 1.51 ตอ่ ปี

4. ประเดน็ ยุทธศาสตร์
1) เสริมสร้างความม่ันคงทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการค้า

ชายแดน
2) ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชาชนบนพ้ืนฐาน

หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
3) จัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ ใช้ประโยชน์อยา่ งยั่งยืนและมี

สง่ิ แวดลอ้ มทด่ี ี
4) เสริมสร้างสันติสุขและความมั่นคงภายในพ้ืนท่ีแบบมี ส่วนร่วม อย่างเข้าใจ

เขา้ ถงึ และพฒั นา

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 62

นโยบาย จุดเน้น และตัวชี้วัดการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาจังหวัดนราธิวาส
ตามนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ โดยผ่านกลไกของคณะกรรมการ
ศึกษาธิการจงั หวดั นราธวิ าส ประจำปกี ารศึกษา 2563 - 2565

นโยบาย
1. การพัฒนาและเสรมิ สร้างศักยภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา
2. การพัฒนาการศึกษาเพ่ือส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และทักษะชีวิตในสังคม

พหวุ ัฒนธรรม
3. การสร้างสมรรถนะด้านอาชพี และภาษารองรับตลาดแรงงาน
4. การยกระดับคุณภาพ โอกาสทางการศึกษา และสร้างสงั คมแห่งการเรียนรูต้ ลอดชวี ติ
5. การเสริมสรา้ งคณุ ภาพชวี ติ ทเ่ี ป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม
6. การบรหิ ารเชงิ บูรณาการ สร้างการรบั รอู้ ยา่ งต่อเนื่อง และเปน็ ระบบ

จดุ เน้น
1. ผู้เรยี นมีความสามารถอา่ นออก เขยี นได้ ตามระดับการศึกษา
2. ผ้เู รียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และเข้าถึงการศึกษาทุกประเภทอย่างทั่วถึงและ

เท่าเทยี ม
4. ผูเ้ รยี นมที ักษะอาชีพ และความสามารถทางภาษาต่างประเทศสูต่ ลาดแรงงาน
5. ผเู้ รยี นมีทักษะชวี ิต มีภูมิคุ้มกันในการป้องกันตนเอง มีจิตอาสา และใช้ชีวิตอย่าง

มีความสุขในสงั คมพหวุ ฒั นธรรม
6. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและ

การวัดผลประเมินผล
7. ครแู ละบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะดา้ นเทคโนโลยีดจิ ทิ ัล นวัตกรรมทางการศึกษา

และภาษาอังกฤษในการยกระดับคณุ ภาพการจดั การเรียนรู้
8. สถานศึกษามีภูมิทัศน์ แหล่งเรียนรู้ท่ีเสริมสร้างคุณภาพชีวิตท่ีดีและเป็นมิตรกับ

สง่ิ แวดลอ้ ม
9. หน่วยงานการศึกษา สถานศึกษามีการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ และดำเนนิ การ

ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั นราธวิ าส 63

คา่ เป้าหมายของตัวช้ีวดั การดำเนินงานพัฒนาการศึกษาจงั หวดั นราธิวาส ตามนโยบาย

และจดุ เน้นของกระทรวงศึกษาธกิ าร โดยผา่ นกลไกของคณะกรรมการศึกษาธิการจงั หวัดนราธิวาส

ประจำปีการศกึ ษา 2563 - 2565

ที่ นโยบาย จดุ เน้น ตัวช้ีวดั คา่ หนว่ ยงาน
เป้าหมาย ทร่ี ับผิดชอบ

ด้านผเู้ รียน

จดุ เนน้ ท่ี 1 ผเู้ รยี นมคี วามสามารถอา่ นออก เขียนได้ ตามระดบั การศึกษา

1 รอ้ ยละของผ้เู รยี นที่มีความสามารถด้านการอา่ นในระดับพอใชข้ ึ้นไป 75 ทกุ สงั กัด
2 ร้อยละของผูเ้ รยี นท่ีมคี วามสามารถดา้ นการเขยี นในระดบั พอใชข้ ึ้นไป 75

จุดเน้นท่ี 2 ผู้เรยี นมีทักษะการคดิ วเิ คราะห์ และมคี ุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์

3 รอ้ ยละของผู้เรียนมีทกั ษะการคิดวิเคราะห์ 70

4 ร้อยละของผูเ้ รียนมีคุณลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์ตามหลักสตู รการศกึ ษาในระดับ 75 ทุกสังกัด
ดขี ้นึ ไป

จุดเน้นที่ 3 ผเู้ รียนมคี ุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และเขา้ ถึงการศึกษาทุกประเภทอยา่ งทั่วถึงและ

เท่าเทยี ม

5 รอ้ ยละของเด็กปฐมวยั มีพฒั นาการด้านรา่ งกาย อารมณ์ สงั คมและสตปิ ัญญา 80 สพฐ., สช.,
ที่สมดลุ เหมาะสมกับวยั อปท., ตชด.

6 รอ้ ยละของคะแนนเฉล่ียของผลการทดสอบตามมาตรฐานระดับชาติ

(1) RT ระดบั ช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 1 สพฐ.,สช.,

(2) NT ระดับชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ 3 อปท.ตชด.

(3) O - NET ระดบั ชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ 6 สพฐ.,สช.,
(4) O - NET ระดบั ช้ันมัธยมศกึ ษาปีท่ี 3
(5) O - NET ระดบั ชัน้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี 6 อปท.ตชด.
(6) N - NET ระดบั ประถมศึกษา
(7) N - NET ระดับ มัธยมศึกษาตอนตน้ เพม่ิ ขน้ึ
(8) N - NET ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย
รอ้ ยละ กศน.
3

(9) V - NET ระดบั ประกาศนียบตั รวชิ าชีพ สอศ.
(10) V - NET ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชพี ช้ันสูง

(11) I - NET ระดบั อิสลามศึกษาตอนตน้

(12) I - NET ระดบั อสิ ลามศึกษาตอนกลาง สพฐ. สช.

(13) I - NET ระดับอสิ ลามศึกษาตอนปลาย

7 ร้อยละของประชากรวยั เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษา 80

8 ร้อยละของผู้เรียนที่มีความบกพร่องได้รับการพัฒนาทักษะการเตรียมความพร้อม 80 ทุกสงั กดั
9 รอ้ ยละของผ้เู รียนท่ีมคี วามสามารถพิเศษไดร้ บั การพฒั นาทักษะการเตรยี ม 80

ความพร้อม

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจังหวดั นราธวิ าส 64

ท่ี นโยบาย จดุ เนน้ ตัวชี้วัด คา่ หน่วยงาน
เปา้ หมาย ทร่ี ับผิดชอบ

10 ร้อยละของผเู้ รยี นท่ีมีความสามารถพิเศษทางดา้ นวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี 70

จดุ เนน้ ที่ 4 ผเู้ รยี นมีทกั ษะอาชพี และความสามารถทางภาษาต่างประเทศสู่ตลาดแรงงาน

11 ร้อยละของผเู้ รยี นมีความสามารถทางภาษาตา่ งประเทศ (ภาษาอังกฤษ ภาษา 70 ทุกสังกัด
มลายกู ลางและภาษาจีน ฯลฯ)

12 รอ้ ยละของผู้เรียนมีทกั ษะอาชีพสู่การมงี านทำ 70

13 ร้อยละของครูอาชวี ศกึ ษาไดร้ ับการพฒั นาความสามารถในดา้ นวชิ าชพี 70 สอศ.

14 รอ้ ยละของสถานศึกษาที่มีการฝึกทักษะอาชีพให้แกน่ ักเรียน นกั ศกึ ษา ประชาชน 70 ทุกสงั กดั

15 รอ้ ยละความพงึ พอใจของสถานประกอบการต่อผูจ้ บการศกึ ษา 70 สอศ.

จดุ เน้นที่ 5 ผู้เรียนมีทักษะชีวิต มภี ูมิคุ้มกนั ในการป้องกันตนเอง มจี ิตอาสา และใช้ชีวิตอย่างมี

ความสุข ในสังคมพหุวัฒนธรรม

16 ร้อยละของผเู้ รยี นที่มภี มู คิ มุ้ กันในการปอ้ งกันตนเองสามารถใชช้ ีวติ อยา่ งมี 80 ทุกสงั กดั
ความสุขในสงั คมพหวุ ัฒนธรรม

17 รอ้ ยละของผู้เรียนมจี ติ อาสา 90

ด้านครู

จดุ เน้นท่ี 6 ครูและบุคลากรทางการศึกษามคี วามรูค้ วามสามารถในการจัด การเรียนการสอนและการ

วัดผลประเมินผล

18 รอ้ ยละของครูปฐมวยั มีการจัดประสบการณ์ทห่ี ลากหลาย 80 สพฐ., สช.,
อปท., ตชด.

19 รอ้ ยละของครูทจี่ ัดการเรียนรู้ท่ีส่งเสรมิ ทักษะในศตวรรษท่ี 21 80

20 ร้อยละของครทู ่ีมีการวดั และประเมินผลการเรียนร้ทู หี่ ลากหลาย 80 ทุกสังกัด

21 รอ้ ยละของครูทีไ่ ด้รับการนิเทศภายในสถานศึกษา 80

จุดเน้นที่ 7 ครูและบคุ ลากรทางการศกึ ษามสี มรรถนะด้านเทคโนโลยีดจิ ทิ ัล นวตั กรรมทางการศกึ ษา

และภาษาอังกฤษในการยกระดับคณุ ภาพการจัดการเรียนรู้

22 ร้อยละของครู และบุคลากรทางการศึกษามคี วามรู้ และทักษะในการใช้ 80
เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรยี นรู้

23 รอ้ ยละของครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสามารถในการใช้ 50 ทุกสังกัด
ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร

24 ร้อยละของครแู ละบุคลากรทางการศึกษามีนวัตกรรมทางการศึกษาหรือ 70
ผลการปฏิบัตงิ านทเ่ี ปน็ เลศิ ด้านวิทยาศาสตรใ์ นการพัฒนาการจดั การเรียนรู้

ด้านบรหิ ารจัดการ

จุดเนน้ ท่ี 8 สถานศกึ ษามีภูมทิ ัศน์ แหล่งเรียนรทู้ ีเ่ สริมสร้างคุณภาพชีวติ ที่ดีและเปน็ มิตรกับสิง่ แวดล้อม

25 รอ้ ยละของสถานศึกษาท่ีจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง 80 ทุกสงั กัด

และพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจังหวัดนราธวิ าส 65

ท่ี นโยบาย จดุ เนน้ ตวั ชี้วดั คา่ หน่วยงาน
เปา้ หมาย ท่รี บั ผดิ ชอบ

26 ร้อยละของสถานศกึ ษามภี มู ิทัศน์ท่เี สรมิ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นมติ รกับ 80
สิ่งแวดลอ้ ม

27 รอ้ ยละของสถานศกึ ษามีแหลง่ เรยี นร้ทู เ่ี อ้ือต่อการจัดการเรียนรู้ 80

จดุ เน้นที่ 9 หนว่ ยงานการศึกษา สถานศึกษามีการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ และดำเนนิ การตาม

นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

28 ร้อยละของหน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษามีการบรหิ ารเชงิ บูรณาการและ 80
มีสว่ นร่วมทุกภาคส่วน

29 รอ้ ยละของหน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษามีการดำเนินงานตามนโยบาย 80 ทุกสงั กดั
ของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร

30 รอ้ ยละของหน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาสร้างการรบั รู้ต่อผมู้ สี ่วนเก่ียวข้อง 80

อำนาจหนา้ ทีแ่ ละความรับผดิ ชอบของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั นราธวิ าส

ตามคาํ สง่ั หวั หน้าคณะรกั ษาความสงบแห่งชาติ ท่ี 19/2560 ส่ัง ณ วันท่ี 3 เมษายน 2560
เรื่อง การปฏิรปู การศึกษาในภมู ิภาคของกระทรวงศกึ ษาธิการ กำหนดให้จัดต้ังสำนกั งานศึกษาธิการภาค
และสำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัด โดยมีรายละเอียดดงั นี้

ข้ อ 1 1 ให้ มี ส ำนั ก งาน ศึ ก ษ าธิก ารจั งห วัด สั งกั ด ส ำนั ก งาน ป ลั ด ก ระ ท รว ง
กระทรวงศึกษาธิการ เพ่ือปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเก่ียวกับการบริหารและการจัด
การศึกษาตามท่ีกฎหมายกำหนดการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ของ
สว่ นราชการตา่ งๆ ที่มอบหมาย และให้มีอำนาจหนา้ ที่ ในเขตจงั หวดั ดังต่อไปนี้

(1) รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. อกศจ. คณ ะอนุก รรมการบริหารราชการ
เชิงยุทธศาสตร์ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน
รวมทง้ั ปฏิบตั งิ านราชการ ทเ่ี ป็นไปตามอำนาจและหน้าท่ีของ กศจ. และตามท่ี กศจ. มอบหมาย

(2) จดั ทำแผนพัฒนาการศกึ ษาและแผนปฏบิ ัตกิ าร
(3) สั่งการ กำกับ ดูแล เร่งรดั ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัตงิ านของสว่ นราชการหรือ
หน่วยงานและสถานศกึ ษาในสังกัดกระทรวงศกึ ษาธกิ ารใหเ้ ปน็ ไปตามนโยบายของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
(4) จัดระบบ ส่งเสริม และประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
เพอ่ื การศกึ ษา
(5) ส่งเสริมและสนับสนุนการศกึ ษาเพื่อคนพิการ ผู้ดอ้ ยโอกาส และผ้มู คี วามสามารถพิเศษ
(6) ดำเนินงานเก่ียวกับการบริหารงานบคุ คลของขา้ ราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา
(7) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเก่ียวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนว
การศึกษาทกุ ระดบั และทกุ ประเภท รวมท้งั ตดิ ตามและประเมินผลระบบบริหารและการจดั การศกึ ษา
(8) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของ
สว่ นราชการ หรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสงั กัดกระทรวงศึกษาธิการ
(9) สง่ เสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกฬี าเพ่อื การศึกษา
(10) ส่งเสริม สนับสนนุ และดำเนินการเกย่ี วกบั การจดั การศึกษาเอกชน

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 66

(11) ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามท่ีได้รับมอบหมาย
รวมท้ังปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานต่าง ๆ
ในจังหวัด

สำนักงานศึกษาธิการจงั หวัดนราธวิ าส มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังน้ี
1. กลมุ่ อำนวยการ

1.1 รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน รวมทั้ง
ปฏบิ ัติงานราชการทเ่ี ป็นไปตามอำนาจและหนา้ ทีข่ อง กศจ. และตามท่ี กศจ. มอบหมาย

1.2 ปฏิบัติภารกิจเก่ียวกับราชการประจำท่ัวไปของกระทรวงศึกษาธิการและ
ประสานงานต่างๆ ในระดับจังหวัด

1.3 ดำเนนิ งานเกย่ี วกบั งานบริหารทัว่ ไป
1.4 ดำเนินงานเก่ยี วกับงานบริหารการเงิน บัญชี และพสั ดุ
1.5 ดำเนนิ งานเกย่ี วกบั ระบบบริหารงานและการควบคุมภายใน
1.6 ดำเนินงานเก่ียวกับงานประชาสัมพันธ์เผยแพรก่ ิจกรรมและผลงานของสำนักงาน
ศึกษาธิการจังหวัดและหนว่ ยงานทางการศึกษาในพ้นื ทร่ี ับผดิ ชอบ
1.7 ดำเนนิ งานเกย่ี วกับอาคารสถานท่ี สง่ิ แวดลอ้ มและยานพาหนะ
1.8 ดำเนินงานเกย่ี วกับงานบริหารงานบคุ คลของสำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวดั
1.9 ดำเนินงานเกี่ยวกบั งานพฒั นาองคก์ ร
1.10 ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำท่ัวไปของกระทรวงศึกษาธิการและ
ประสานงานต่างๆ ในระดับจังหวัด
1.11 ปฏิบัตงิ านร่วมกับหรอื สนับสนุนการปฏิบัตงิ านของหนว่ ยงานอื่นทีเ่ กยี่ วข้องหรือ
ทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย
2. กลุ่มบริหารงานบุคคล
2.1 รับผิดชอบงานธุรการของ อกศจ. และคณะทำงานท่ีเก่ียวข้องรวมทั้งปฏิบัติงาน
ราชการ ที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าท่ีของ อกศจ. และตามท่ี อกศจ. มอบหมาย
2.2 เสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่ง การเกล่ียอัตรากำลัง
ใหส้ อดคล้องกบั นโยบายการบริหารงานบคุ คล ระเบียบ หลักเกณฑแ์ ละวธิ ีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด
2.3 เสนอแนะเก่ียวกับการพิจารณาวิทยฐานะ ความดีความชอบ การเสริมสร้างขวัญ
กำลังใจ การยกย่องเชดิ ชูเกยี รติ และสิทธปิ ระโยชน์อ่ืนของขา้ ราชการและบคุ ลากรทางการศึกษา
2.4 เสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาการเสริมสร้างและการ
ปกปอ้ งคมุ้ ครองระบบคุณธรรมของขา้ ราชการและบุคลากรทางการศึกษา
2.5 เสนอแนะเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งต้ังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เช่น การบรรจุและแตง่ ตงั้ ผู้สอบแขง่ ขันไดห้ รือผไู้ ด้รบั การคัดเลือก การย้าย การโอน การเปล่ียนตำแหน่ง
และการเลอื่ นตำแหน่ง การบรรจุกลบั เข้าราชการ เป็นตน้
2.6 พิจารณาเสนอความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาใน
หนว่ ยงานการศึกษาและขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศกึ ษาในสังกัด
2.7 เสริมสร้างขวัญกำลังใจ การยกย่องเชิดชูเกียรติและสิทธิประโยชน์อื่นของ
ข้าราชการ และบุคลากรทางการศึกษา
2.8 ดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของ
ขา้ ราชการและบคุ ลากรทางการศึกษา

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 67

2.9 จัดทำแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในหน่วยงานการศกึ ษาในพน้ื ท่รี บั ผดิ ชอบ

2.10 จัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในพ้ืนที่
รบั ผิดชอบ

2.11 จัดทำมาตรฐานคุณภาพงาน กำหนดภาระงานข้ันตำ่ และเกณฑ์การประเมินผล
งานสำหรับขา้ ราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษาในพน้ื ที่รบั ผดิ ชอบ

2.12 ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานการบริหารงานบุคคล
เสนอ อกศจ. เพ่อื เสนอ ก.ค.ศ.

2.13 ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มี
ความเปน็ เลิศทางวิชาการและวชิ าชพี

2.14 ดำเนินการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน ข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และประชาชนผ่านระบบศูนย์บริการแบบ
เบ็ดเสร็จ

2.15 ดแู ลและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรฐานวิชาชีพ
และจรรยาบรรณของวิชาชีพท่ีคุรุสภากำหนด รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริม ยกย่องและพัฒนา
วชิ าชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชพี

2.16 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนบั สนนุ การปฏิบัติงานของหน่วยงานอ่ืนทเ่ี กีย่ วข้องหรือ
ทไี่ ด้รบั มอบหมาย

3. กลมุ่ นโยบายและแผน
3.1 ร่วมรับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการเก่ียวกับการพัฒนาการศึกษาและ

คณะทางานท่ีเกี่ยวข้อง รวมท้ังปฏิบัติงานราชการท่ีเป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ คณะกรรมการ
ศึกษาธิการจังหวดั และตามท่ี คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดมอบหมายร่วมกับกลมุ่ พัฒนาการศกึ ษา

3.2 จัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษาในจังหวัดท่ีสอดคล้องกับ
ยทุ ธศาสตร์ชาติ

3.3 จดั ทำแผนพัฒนาการศกึ ษาของจังหวัดและแผนปฏิบตั กิ ารของจังหวดั
3.4 จัดทำแผนปฏิบัติราชการของสานักงานศึกษาธิการจังหวัด รวมทั้งการติดตามและ
รายงานผลการปฏบิ ัติราชการของสำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวดั
3.5 วิเคราะห์การจัดต้ังงบประมาณของส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
ศึกษาธกิ ารในจังหวดั
3.6 จัดระบบ ส่งเสริมและประสานงานระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษา
ท่ีครอบคลุม ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันเพื่อการวางแผน การบริหารจัดการศึกษา การติดตาม ประเมิน
และรายงานผล
3.7 ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ
3.8 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นท่ีเก่ียวข้องหรือ
ไดร้ บั มอบหมาย
4. กลุ่มพฒั นาการศกึ ษา
4.1 รับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาและ
คณะทำงานที่เก่ียวข้อง รวมทั้งปฏิบัติงานราชการท่ีเป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามท่ี
กศจ. มอบหมาย ร่วมกับกลมุ่ นโยบายและแผน
4.2 ส่งดำเนนิ การเกย่ี วกบั การจดั ตงั้ ยุบ รวม เลิกและโอนสถานศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 68

4.3 จดั ระบบส่งเสริมและประสานงานเครือข่ายข้อมลู สารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
เพ่ือการศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพ่ือการศึกษาและระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ท่ีมีประสิทธิภาพ
และสามารถให้บริการได้โดยสะดวก รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์
และรูเ้ ท่าทันการเปล่ียนแปลง

4.4 ส่งเสริม สนับสนนุ การศกึ ษาเพือ่ คนพิการ ผูด้ อ้ ยโอกาสและผู้มคี วามสามารถพิเศษ
ประสาน สง่ เสริม สนบั สนุนและดำเนินการวจิ ยั และพัฒนาเพ่ือสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม การศกึ ษา

4.5 สง่ เสริม สนับสนนุ กิจกรรมพฒั นาผู้เรียน ครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา
4.6 จัดระบบประสาน สนับสนุน ช่วยเหลือ และการรายงานเหตุภัยพิบัติและภาวะ
วกิ ฤติทางการศกึ ษาในจังหวัด
4.7 ส่งเสริม สนับสนุนและดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ในสถานศึกษา
4.8 ส่งเสริมและประสานงานทางศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพ่ือ
การศกึ ษา
4.9 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ประสานและ
ส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน
การจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการและสถาบันสังคมอ่ืนที่จัดการศึกษา เพ่ือสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่า
เทยี มกนั ทางสังคม
4.10 สง่ เสรมิ และพัฒนาการจดั การศึกษาเฉพาะกิจ เฉพาะกลมุ่ และเฉพาะพ้นื ท่ี
4.11 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เก่ียวข้องหรือ
ทไ่ี ด้รับมอบหมาย
5. กลมุ่ นิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผล
5.1 รับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์และ
คณะทำงานท่ีเก่ียวข้อง รวมทั้งปฏิบัติงานราชการท่ีเป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามท่ี
กศจ. มอบหมาย
5.2 ขับเคลื่อน ประสานงาน เร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการ
บริหารจดั การศกึ ษาของหนว่ ยงานทางการศกึ ษาในสงั กัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นท่รี ับผดิ ชอบ
5.3 ส่งเสริม สนับสนุนและดำเนินการเก่ียวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศและ
แนะแนวการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท รวมท้ังติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัด
การศึกษา
5.4 ประสานและสนับสนุนการตรวจสอบราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
5.5 ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพ่ือสนับสนุนการตรวจราชการ จัดทำแผน
การรองรับการตรวจราชการและดำเนินการเก่ียวกับการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรว ง
ในการตรวจราชการ ติดตามและประเมินผลตามนโยบายและแผนการตรวจราชการของกระทรวง
5.6 ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้
แหล่งเรยี นรแู้ ละสื่อการเรยี นรู้ตา่ งๆ ที่เก่ยี วขอ้ งกับการเสริมสรา้ งคุณภาพชวี ิตทเ่ี ปน็ มติ รกบั สิง่ แวดล้อม
5.7 สั่งการ กำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือ
หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด ให้เป็นไปตามนโยบายของ
กระทรวงศึกษาธิการและยทุ ธศาสตรช์ าติ

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 69

5.8 จัดทำกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและกำหนดตัวช้ีวัดการดำเนินงานใน
ลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการใน
จังหวัด

5.9 ขับเคลื่อนระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา
5.10 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอ่ืนท่ีเก่ียวข้องหรือ
ท่ีได้รับมอบหมาย
6. กลมุ่ ลูกเสือ ยวุ กาชาด และกิจการนกั เรียน
6.1 ส่งเสริม สนับสนุนและดำเนินการและประสานเก่ียวกับกิจการลูกเสือ ยุวกาชาด
และกจิ การนกั เรยี น
6.2 ส่งเสริม สนับสนุน ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพ่ือการพัฒนานักเรียน นักศึกษาโดย
ผา่ นกระบวนการลกู เสอื และยุวกาชาด
6.3 ส่งเสริม สนับสนุนการน้อมนำพระราชปณิธาน พระราชกระแสด้านการศึกษา
และโครงการอนั เน่อื งมาจากพระราชดำรทิ ี่เกี่ยวกับการศึกษา
6.4 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาเพ่ือเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก
ของชาติ และความปรองดอง สมานฉันท์
6.5 สร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรมจริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกจิ พอเพียงสกู่ ารปฏบิ ตั ใิ นการดำเนนิ ชีวติ
6.6 สง่ เสรมิ การป้องกัน แกไ้ ข และค้มุ ครองความประพฤตนิ กั เรยี น นักศกึ ษา
6.7 ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอ่ืนที่เก่ียวข้องหรือ
ที่ได้รับมอบหมาย
7. หนว่ ยตรวจสอบภายใน
7.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของ
สว่ นราชการหรือหนว่ ยงานและสถานศกึ ษาในสงั กัดกระทรวงศึกษาธกิ ารในพ้ืนทรี่ ับผิดชอบ
7.2 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ
ที่ได้รบั มอบหมาย

โครงสรา้ งสำนักงานศกึ ษาธิการจังหวัดนราธิวาส

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 70

บุคลากรในสงั กัดสำนักงานศึกษาธิการจงั หวัดนราธวิ าส

ตำแหน่ง รวม เพศ ศาสนา
(คน) ชาย หญิง
ศกึ ษาธิการจงั หวัดนราธวิ าส 11 - รวม พทุ ธ อิสลาม รวม
รองศึกษาธกิ ารจงั หวดั นราธิวาส 11 - 1- 1 1
ศึกษานเิ ทศก์ 63 3 11 - 1
บคุ ลากรทางการศึกษา 38 (ค) 23 3 20 61 5 6
เจา้ หนา้ ทค่ี รุ สุ ภา 2- 2 24 10 13 23
ลูกจ้างชวั่ คราว 74 3 21 1 2
40 12 28 72 5 7
รวม 41 15 25 40

ข้อมลู ณ วันที่ 7 มกราคม 2565

การวเิ คราะหส์ ภาพแวดลอ้ ม

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาสและหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดนราธิวาส

ร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ สภาพท่ีเป็นโอกาส และอุปสรรคต่อการจัดการศึกษา และค้นหาสิ่งที่เป็น

จดุ แขง็ และจุดออ่ นในการจดั การศกึ ษา เพื่อหาแนวทางการจัดการศึกษาในอนาคตต่อไป โดยสรปุ ผลการ

วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ท่ีส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการศึกษา

ของจังหวัดนราธิวาส ดังนี้

สภาพแวดลอ้ มภายใน

จุดแข็ง : Strength จุดอ่อน : Weakness

1. ระบบการศกึ ษาท่ีจัดการเรียนการสอนควบคู่ท้งั 1. ผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นของนักเรยี นในภาพรวม

สามญั และศาสนา เชอื่ มโยงกับชุมชนเปน็ การสนอง ตำ่ ระดบั ประเทศ

ความตอ้ งการของชมุ ชน 2. นักเรียน เยาวชน ขาดทกั ษะการใช้ภาษาไทย

2. ผบู้ ริหาร ครแู ละบุคลากรทางการศึกษาส่วน เป็นอุปสรรคในการศึกษาต่อและแสวงหาความรู้

ใหญ่เปน็ คนในพนื้ ท่ีมีความเข้าใจบริบทของ พ้นื ท่ดี ี เพิ่มเติม

3. สถาบนั การศึกษาทุกระดับทุกประเภท กระจาย 3. มีครผู ู้สอนของรฐั และเอกชน รวมถึงครทู เี่ ปน็

ครอบคลุมทว่ั พื้นท่ี เปดิ โอกาส ให้ประชาชน พนกั งานราชการบางส่วนท่ีสอนไม่ตรงตามวฒุ ิและ

สามารถเลอื กศึกษา เรียนรตู้ ามศกั ยภาพและความ ไมจ่ บวิชาชพี ครู

ตอ้ งการ 4. บุคลากรทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

4. มแี หลง่ เรียนรู้ ทีห่ ลากหลาย ซง่ึ เอ้ือตอ่ การจัด ไมไ่ ด้รบั การพฒั นาอย่างท่ัวถงึ และตอ่ เน่ือง

การศกึ ษา 5. สถานศึกษาของรฐั และเอกชน มีอาคารเรียน

5. มคี วามหลากหลายของภมู ิปัญญาทอ้ งถน่ิ ทสี่ ง่ ผล อาคารประกอบ ส่อื เทคโนโลยีและอุปกรณ์การ

ต่อการจัดการเรียนรู้ของสังคมพหวุ ัฒนธรรม เรียนการสอนไม่เพียงพอ

6. หน่วยงานทางการศึกษามีการเชอ่ื มโยงและ 6. สถานศกึ ษาของรัฐและเอกชนมีการสง่ เสรมิ การ

บรู ณาการทางการศึกษาร่วมกันมากขนึ้ ใช้แหล่งเรยี นรูใ้ นพ้ืนที่น้อย

7. หนว่ ยงานทางการศึกษาทัง้ รัฐและเอกชนนำ

ผลงานวจิ ัยและนวัตกรรมมาใชป้ ระโยชน์ในการ

พฒั นาการศึกษาค่อนขา้ งน้อย

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 71

สภาพแวดล้อมภายนอก

โอกาส : Opportunities อุปสรรค : Threat

1.นโยบายของรัฐใหค้ วามสำคญั ในการแก้ปัญหา 1. นโยบายทางการศึกษามีการเปลย่ี นแปลงบอ่ ย

และสนับสนนุ งบประมาณ เนื่องจากเป็นเขตพฒั นา ส่งผลใหก้ ารพฒั นาการศกึ ษาขาดความต่อเนื่อง

พิเศษเฉพาะกจิ จงั หวดั ชายแดนภาคใต้ 2. หนว่ ยงานตน้ สงั กดั เปน็ ผู้กำหนดโครงการ

2.จังหวดั นราธิวาสไดร้ ับการประกาศให้เป็นเขต กจิ กรรมและงบประมาณมากเกนิ ไป ทำใหพ้ น้ื ท่ี

พฒั นาเศรษฐกจิ พิเศษ ไม่สามารถพัฒนาไดต้ ามความตอ้ งการ

3.ผู้จบการศึกษาดา้ นภาษา เชน่ ภาษาอาหรับ 4. ประชาชนส่วนใหญข่ องจงั หวัดมฐี านะยากจน

มลายกู ลาง และด้านศาสนาอิสลามมีจำนวนมาก เปน็ อปุ สรรคต่อการศึกษา

พร้อมท่จี ะเข้ามามสี ่วนร่วมในการจัดการศึกษา 5. ประชากรวยั แรงงานไมจ่ บการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน

4.สถาบนั การศึกษาทกุ ระดบั ในภมู ภิ าคอ่นื ๆ ให้ มีจำนวนมาก และไม่มีงานทำ

โอกาสนักเรยี น นกั ศกึ ษาในพื้นทีไ่ ดเ้ ข้าศกึ ษาต่อ 6. มกี ารแพรร่ ะบาดของยาเสพติดในหมู่เยาวชน

เป็นกรณีพเิ ศษ เกอื บทกุ พืน้ ที่

5.ประชาชนสว่ นใหญม่ พี ื้นฐานทางด้านภาษามลายู 7. ประชาชนในพน้ื ทใ่ี ห้ความสนใจส่งบุตรหลาน

ถ่ินทีส่ ามารถตอ่ ยอดพัฒนาสู่ภาษามลายูกลางใชใ้ น เข้าศึกษาในสายอาชพี ค่อนข้างนอ้ ย

การติดต่อสอ่ื สารในอาเซยี น 8. โรคอบุ ตั ใิ หม่ เชน่ covid-19 สง่ ผลต่อการ

จดั การเรียนการสอน

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวดั นราธวิ าส 72

แผนผงั ความเชอ่ื มโยงแผน 3 ระดับของประเทศ สู่แผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ

ระดับ 1 ยุทธศาสตร์ชาติ 1. ความมนั่ คง 2. การสรา้ งความสามารถ 3. การพฒั นาและเสรมิ เสรา้ งศักยภาพ
ในการแขง่ ขัน ทรัพยากรมนษุ ย์
(พ.ศ.2561 – 2580)

ระดับ 2 1.ประเดน็ ความม่นั คง (แผนย่อยท่ี 3.1) การ 23. การวจิ ยั และ 10.การปรบั เปลีย่ นค่านิยมและวัฒนธรรม (แผนยอ่ ยที่ 3.1) ปลกู ฝงั คุณ
และการเสริมสร้างจิตสาธารณะและการเปน็ พลเมอื งทด่ี ี 11. ศัก
แผนแม่บทภายใต้ รักษาความสงบภายในประเทศ (แผนยอ่ ยท่ี 3.2) พัฒนานวัตกรรม (แผนย่อยท่ี 3.2) การพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถงึ ปฐม
ยทุ ธศาสตรช์ าติ พัฒนาช่วงวัยเรยี น/วยั รนุ่ (แผนย่อยที่ 3.4) การพฒั นาและยกระด
(23 ประเดน็ การปอ้ งกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบตอ่ (แผนย่อยท่ี 3.4) ยอ่ ยท่ี 3.5) การส่งเสรมิ ศักยภาพผู้สูงอายุ 12. การพฒั นาการเรียนร
กระบวนการเรียนรทู้ ่ตี อบสนองต่อการเปล่ยี นแปลง ในศตวรรษ
พฒั นา) ความมั่นคง 2.ประเดน็ การตา่ งประเทศ (แผน การวิจยั และพัฒนา

ย่อยท่ี 3.2 ความร่วมมือเศรษฐกจิ และความ นวตั กรรมดา้ นองค์

รว่ มมอื เพอ่ื การพัฒนาระหวา่ งประเทศ ความรพู้ ้ืนฐาน

แผนแมบ่ ทเฉพาะกิจ 1. เศรษฐกจิ ฐานราก (แนวทางย่อย 3. ศักยภาพและคุณภาพชีวิต (แนวทางย่อ
(4 แนวทางหลัก) 1.3) ความเจริญเศรษฐกิจหัวเมอื งหลัก เรียนรู้

แผนปฏริ ปู ประเทศ 12. ดา้ นการศกึ ษา (1) โอกาสและความเสมอภาคระดับ 12. ด้านการศกึ ษา (2) จดั การเรียนการ
ฉบบั ปรบั ปรุง (Big rock ปฐมวัย : สนับสนุนนวตั กรรมการปอ้ งกันและแกไ้ ข สอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (3) พัฒนา
: BR) (8 ธ.ค. 2563) ปญั หาเด็กและเยาวชนออกจากระบบการศกึ ษาต้งั แต่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ระดบั ปฐมวยั (2) จัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐาน
(13 ดา้ น (62 Big Rock) สมรรถนะ (3) พฒั นาครูและบุคลากรทางการศกึ ษา

แผนพฒั นาฯ ฉบบั ที่ 12 5. การเสริมสรา้ งความม่ันคงแหง่ ชาติเพือ่ การ 1. การเสรมิ สรา้ งและพัฒนาศกั ยภาพทนุ มนุษย์ 1. การเสริมสรา้ งและ
(พ.ศ. 2560 - 2564) พัฒนาประเทศสคู่ วามมน่ั คงและย่ังยนื 7. การพฒั นาโครงการพ้นื ฐานและระบบโลจิ พฒั นาศักยภาพทุนมนษุ ย์
10. ความรว่ มมอื ระหวา่ งประเทศเพื่อการ สติกส์ 8. การพฒั นาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
(10 ยทุ ธศาสตร)์ พัฒนา วจิ ัย และนวัตกรรม

นโยบายและแผน 1. เสรมิ สร้างความม่ันคงของสถาบนั หลกั ของชาตแิ ละการปกครองระบอบ
ประชาธปิ ไตยอนั มพี ระมหากษตั รยิ ท์ รงเปน็ ประมุข 2. สร้างความเปน็ ธรรม
ระดบั ชาตวิ า่ ด้วยความ ความปรองดอง และความสมานฉนั ท์ในชาติ 3. ป้องกนั และแกไ้ ขการกอ่ เหตุ
ม่ันคงแหง่ ชาติ รุนแรงในจงั หวดั ชายแดนภาคใต้ 5. สรา้ งเสรมิ ศักยภาพการปอ้ งกันและแกไ้ ข
ปญั หาภัยคุกคามข้ามชาติ 8. เสริมสรา้ งความเข้มแข็งและภมู ิคมุ้ กันความ
(พ.ศ. 2562 - 2565) มัน่ คงภายใน 10. เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

(16 นโยบาย)

นโยบายรฐั บาล 1. การปกปอ้ งและเชิดชสู ถาบันพระมหากษตั ริย์ 5. การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการ 3. การทำนุบำรงุ ศาสนา ศ
แข่งขันของไทย วฒั นธรรม
(พลเอก ประยทุ ธ์ จันทร์ 2. การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัย
ของประเทศ และความสงบสุขของประเทศ 8. การปฏริ ปู กระบวนการเ
โอชา นายกรฐั มนตร)ี 4.การสรา้ งบทบาทของไทยในเวทีโลก พฒั นาศกั ยภาพของคนไทย
(12 นโยบายหลัก)

ระดบั 3 1. พัฒนาหลกั สูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมนิ ผล 3. เพิม่ โอกาสให้ผู้เรยี นทกุ ช่วงวยั เข้า
2. พฒั นาครู บุคลากรทางการศกึ ษาและบคุ ลากรผู้ปฏบิ ตั งิ านทุกระดับ 4. ส่งเสรมิ ระบบเทคโนโลยดี จิ ิทัลเพ่ือ
ยุทธศาสตรแ์ ผนปฏิบตั ิ
ราชการฯ ศธ. ปี 2565

ยุทธศาสตร์แผนปฏิบตั ริ าชการฯ 1. พัฒนาการจดั การศกึ ษาเพ่อื ความ 2. พฒั นากำลังคน การวจิ ัย เพ่ือสร้างความสามารถใน 3. พฒั นาและเ
มัน่ คง (สอดคลอ้ ง ยุทธ์ ศธ.ที่ 3) การแข่งขนั ของประเทศ (สอดคลอ้ ง ยุทธ์ ศธ.ที่ 5) มนุษย์ (สอดค
สป.ศธ. ปี 2565

ยุทธศาสตร์แผนปฏิบัตริ าชการฯ 1.การจดั การศกึ ษาเพื่อความมั่นคง 2. พัฒนาขีดความสามารถในการแขง่ ขนั 3. พัฒนาแล
ศธจ.นธ. ปี 2565 และการวิจยั

ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจังหวัดนราธวิ าส (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณทีไ่ ดร้ บั จัดสรร)

4. การสรา้ งโอกาสและความเสมอภาค 5. การสรา้ งการเติบโตบนคณุ ภาพชวี ติ 6. การปรับสมดุลและพฒั นาระบบการ
ทางสังคม ทเ่ี ปน็ มติ รตอ่ สง่ิ แวดล้อม บริหารจดั การภาครฐั

ณธรรม จริยธรรม ค่านิยม 17. ความเสมอภาคและ 18. การเติบโตอย่าง 20. การบริการประชาชนและประสิทธภิ าพภาครฐั (แผนย่อยที่ 3.1) การพัฒนา
บรกิ ารประชาชน (แผนย่อยท่ี 3.2) การบรหิ ารจดั การการเงินการคลัง (แผนยอ่ ยที่
กยภาพคนตลอดช่วงชีวิต หลกั ประกันทางสงั คม (แผน ย่ังยืน (แผนย่อยที่ 3.5) 3.4) การพฒั นาระบบบรหิ ารงานภาครัฐ (แผนย่อยที่ 3.5) การสรา้ งและพฒั นา
มวัย (แผนย่อยท่ี 3.3) การ ยอ่ ยท่ี 3.1) การคุ้มครองทาง การยกระดับกระบวน บุคลากรภาครัฐ
ทศั น์เพ่ือกำหนด 21. การตอ่ ต้านการทุจรติ และประพฤติมชิ อบ (แผนยอ่ ยที่ 3.1) การปอ้ งกันการทุจรติ และ
ดบั ศกั ยภาพวัยแรงงาน (แผน สงั คมข้นั พืน้ ฐานและ ประพฤติมิชอบ
รู้ (แผนย่อยที่ 3.1) การปฏิรูป หลกั ประกันทางเศรษฐกิจ สงั คม อนาคตประเทศ 22. กฎหมายและกระบวนการยตุ ธิ รรม (แผนยอ่ ยท่ี 3.1) การพฒั นากฎหมาย

ษท่ี 21 และสขุ ภาพ

ย 3.1 ทักษะและการ

12. ด้านการศกึ ษา (1) โอกาสและความ 6. ดา้ นทรพั ยากรธรรมชาติ 2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดนิ (1) ภาครฐั ดจิ ทิ ัล (2) โครงสรา้ งองคก์ รและระบบงาน
เสมอภาคระดับปฐมวัย : สนับสนุน และสิ่งแวดลอ้ ม (2) บริหาร ภาครัฐ (3) บริหารทรพั ยากรบุคคลระบบเปดิ (4) ความเข้มแข็งระดับพืน้ ทีแ่ บบมีส่วนรว่ ม (5)
นวัตกรรมการปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หาเด็ก จัดการชายฝั่งทะเลและ จดั ซื้อจัดจา้ งภาครัฐโปร่งใส 3. ด้านกฎหมาย (1) ปรบั ปรุงกฎหมายท่กี ระทบชวี ติ ประชาชน (3)
และเยาวชนออกจากระบบการศึกษาตง้ั แต่ ชายฝ่ังรายจงั หวัด (บรรจุใน เพม่ิ ประสิทธิภาพการบังคับใชก้ ฎหมาย 11.ด้านการป้องกนั และปราบปรามการทุจรติ และ
ระดบั ปฐมวัย ประพฤตมิ ชิ อบ (4) ระบบราชการโปร่งใส (5) มาตรการปอ้ งกนั ทจุ ริตเชงิ นโยบาย
หลักสตู รการศกึ ษาฯ)

2. การสรา้ งความเป็นธรรมและลดความ 4. การเติบโตที่เป็นมิตรกับ 6. การบรหิ ารจัดการในภาครฐั การป้องกนั การทจุ ริตประพฤตมิ ชิ อบและธรรมาภิ
เหล่อื มลำ้ ในสงั คม สิ่งแวดล้อมเพือ่ การพฒั นาอยา่ ง บาลในสังคมไทย
ยั่งยนื

9. เสรมิ สรา้ งความมน่ั คงของชาตจิ ากภยั การทจุ รติ

ศลิ ปะและ 9. การพฒั นาระบบ 10. การฟน้ื ฟูทรัพยากรธรรมา 11. การปฏิรปู การบริหารจดั การภาครัฐ
สาธารณสขุ และ ชาติและการรกั ษาส่ิงแวดล้อม 12. การปอ้ งกันและปราบปรามการทจุ ริตและประพฤตมิ ชิ อบและกระบวนการ
เรยี นรแู้ ละการ เพ่อื การสรา้ งการเตบิ โตทย่ี ั่งยนื ยตุ ิธรรม
ยทกุ ช่วงวยั หลักประกนั ทางสงั คม

าถงึ บรกิ ารทางการศกึ ษาอย่างตอ่ เนอื่ งตลอดชวี ติ 5. ผลิตกำลังคน รวมท้งั งานวจิ ยั ที่สอดคล้องกบั ความต้องการของประเทศ
อการศกึ ษา 6. ปรบั ปรุงระบบบรหิ ารจัดการและส่งเสริมใหท้ กุ ภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจดั การศกึ ษา

เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร 4. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทาง 3. พฒั นาและเสรมิ สร้างศกั ยภาพทรพั ยากร 5. พัฒนาระบบบรหิ ารจดั การใหม้ ี

คลอ้ ง ยุทธ์ ศธ.ท่ี 1, 2, 3, 4) การศกึ ษา (สอดคล้อง ยทุ ธ์ ศธ.ท่ี 3) มนษุ ย์ (สอดคล้อง ยทุ ธ์ ศธ.ท่ี 1) ประสทิ ธภิ าพ (สอดคลอ้ ง ยทุ ธ์ ศธ.ท่ี 4, 6)

ละเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพคน 4. จดั การศึกษาบนความหลากหลาย 5. พฒั นาประสิทธิภาพการบริหาร
ใหม้ ีคุณภาพ และเทา่ เทยี ม จดั การ

ส่วนที่ 3

สำระสำคัญของแผนปฏิบัติรำชกำร
ประจำปี งบประมำณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งำน

ศึกษำธิกำรจังหวัดนรำธิวำส

สว่ นท่ี 3

สาระสำคัญของแผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวดั นราธิวาส

วสิ ัยทศั น์ (Vision)

บริหารจัดการแบบบูรณาการ ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาในการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
ทักษะทีจ่ ำเป็นในศตวรรษที่ 21 และตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

พนั ธกิจ (Mission)

1. สง่ เสริม สนบั สนนุ การบรหิ ารและจดั การศึกษาแบบบูรณาการ ทุกระดับ เพ่ือความม่ันคง
2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับทักษะท่ีจำเป็น
ในศตวรรษท่ี 21 และหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
3. ส่งเสริม สนบั สนนุ การจัดการศึกษาทีส่ ่งเสรมิ คุณภาพชวี ติ ที่ดเี ปน็ มิตรกับส่ิงแวดล้อม
4. ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนทุกระดับได้รับการพัฒนา
การเรียนรอู้ ยา่ งเสมอภาค ท่ัวถึง
5. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการ ครูและบุคลากร
ทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

ค่านิยมรว่ มขององคก์ ร (Core Value)

NARAPEO = ประสานสัมพันธ์ รว่ มกันเปน็ หนึง่ เปน็ ที่พ่ึงการศกึ ษา
N = Network Team : สรา้ งเครอื ขา่ ย ทำงานเป็นทีม
A = Accountability : ความสำนึกรับผดิ ชอบตอ่ การปฏบิ ัตหิ น้าท่ี
R = Reseach : ผลิตงานวจิ ยั ทางการศกึ ษา
A = Approach : เข้าถึงบรกิ าร
P = Participation : การมสี ่วนรว่ ม
E = Education Excellence : มงุ่ ความเปน็ เลศิ ทางการศกึ ษา
O = Originality : เร่งสร้างส่งิ ใหม่ (กลา้ คดิ กลา้ ทำ พัฒนานวัตกรรมท่ี

สรา้ งสรรค)์

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 74

เป้าประสงค์

1. สำนักงานศึกษาธกิ ารจังหวัดนราธิวาส มกี ารบรหิ ารและจัดการศกึ ษาแบบบูรณาการ
2. ผู้เรยี นทกุ ระดบั ได้รบั การพัฒนาการเรียนรู้ทม่ี คี ณุ ภาพ และมีทักษะทจ่ี ำเป็นในศตวรรษ
ท่ี 21 สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
3. ผเู้ รียนได้รบั โอกาสเข้าถงึ การศึกษาท่ีมีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
4. ขา้ ราชการ ครูและบุคลากรทางการศกึ ษาท้ังภาครฐั และเอกชน มสี มรรถนะทสี่ ง่ ผลต่อ
การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษท่ี 21

ประเด็นยุทธศาสตร์

1. การจดั การศึกษาเพื่อความมน่ั คง
2. พฒั นาขดี ความสามารถในการแขง่ ขัน และการวิจัย
3. พฒั นาและเสริมสร้างศกั ยภาพคนให้มีคณุ ภาพ
4. จัดการศกึ ษาบนความหลากหลายและเท่าเทยี ม
5. พฒั นาประสทิ ธิภาพการบริหารจัดการ

เปา้ ประสงคต์ ามประเด็นยทุ ธศาสตร์

1. ผเู้ รยี นได้รับการส่งเสริมการจัดการศึกษาที่มคี ณุ ภาพ สอดคล้องกับการเสรมิ สร้างความ
มัน่ คงและพหวุ ัฒนธรรม

2. ผู้เรียน ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีสมรรถนะและความสามารถ
ในการแขง่ ขนั รองรบั ตลาดแรงงานและเขตพัฒนาพเิ ศษเฉพาะกิจจงั หวัดนราธวิ าส

3. ผู้เรียน มีสมรรถนะ ทกั ษะที่จำเป็นของผ้เู รียนในศตวรรษท่ี 21
4. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะท่ีส่งผลต่อการพัฒนาทักษะท่ีจำเป็น
ของผเู้ รียนในศตวรรษที่ 21
5. หน่วยงาน/สถานศึกษามีกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปรับเปลี่ยน
พฤตกิ รรม ใหเ้ ป็นมิตรกับส่งิ แวดล้อม
6. ผเู้ รยี นได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างท่วั ถึงและเทา่ เทียม
7. หน่วยงานมีระบบบริหารจัดการศึกษาท่ีมีประสิทธิภาพและมีการบูรณาการการจัด
การศกึ ษาทกุ ระดบั

ตัวชีว้ ดั เป้าประสงคต์ ามประเด็นยุทธศาสตร์ ค่าเป้าหมายและกลยทุ ธ์

ประเดน็ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจดั การศึกษาเพอื่ ความมน่ั คง

ตัวช้วี ัดเปา้ ประสงค์ ค่าเปา้ หมาย กลยุทธ์

เป้าประสงค์ ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับการเสริมสร้างความ

ม่ันคงและพหวุ ฒั นธรรม

1. รอ้ ยละของนักเรียนช้ัน ป.1 สามารถ ร้อยละ 75 1. เร่งพฒั นาคุณภาพการศึกษา และพัฒนา

อ่านออกเขยี นได้ กระบวนการเรียนการสอน ในพนื้ ท่จี งั หวัด

นราธิวาสให้เป็นไปตามมาตรฐาน

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 75

ตัวชีว้ ดั เป้าประสงค์ ค่าเปา้ หมาย กลยทุ ธ์

2. รอ้ ยละของผู้เรยี นในจังหวดั นราธิวาส ร้อยละ 80 2. พัฒนากระบวนการเรียนการสอนและจัด

ไดร้ บั การพัฒนาศักยภาพหรือทักษะ กจิ กรรมเสรมิ ทกั ษะพัฒนาผู้เรยี นในรูปแบบ

ดา้ นอาชีพ สามารถมีงานทำหรอื นำไป ทีห่ ลากหลาย สอดคล้องกบั พหุวัฒนธรรม

ประกอบอาชีพได้ 3. ส่งเสริมการพฒั นาผู้เรยี นให้ได้รับการ

3. ร้อยละของกลุ่มเปา้ หมายทีไ่ ด้รบั การ ร้อยละ 70 พฒั นาศักยภาพหรอื ทกั ษะด้านอาชพี
สามารถมงี านทำหรอื นำไปประกอบอาชีพได้
สร้างภมู คิ มุ้ กนั ในการป้องกนั ตนเองหรือ
4. ส่งเสรมิ และพฒั นาผู้เรยี นให้มคี ุณธรรม
ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่
จรยิ ธรรม ห่างไกลยาเสพติดด้วยวิธีการท่ี
4. ร้อยละของผู้เรียนมคี วามรู้ความเขา้ ใจ รอ้ ยละ 80 หลากหลายและเหมาะสม
ในพหวุ ัฒนธรรม และมีทักษะชีวิต 5. ส่งเสริม ให้สถานศึกษาทุกสงั กดั จดั
สามารถใช้ชวี ติ อย่างมีอย่างความสุข รอ้ ยละ 90 กิจกรรม สง่ เสรมิ การเรยี นรทู้ ่ีสะท้อนความรัก
ในสังคมพหุวัฒนธรรม ร้อยละ 80 และการธำรงรักษาสถาบนั หลักของชาติและ
ยึดมนั่ ในการปกครองระบอบประชาธปิ ไตย
5. ร้อยละของผู้เรยี นมีจติ อาสา รอ้ ยละ 100 อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเปน็ ประมุข
6. ส่งเสรมิ การพฒั นาผูเ้ รียนและบุคลากร
6. ร้อยละของหน่วยงานและสถานศกึ ษา ทางการศึกษา ให้มคี วามร้คู วามเขา้ ใจ
ทน่ี อ้ มนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ สามารถน้อมนำหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจ
พอเพยี ง และพระบรมราโชบายในหลวง พอเพียง และพระบรมราโชบายในหลวง
รชั กาลท่ี 10 มาใช้ในการจัดการเรียน รชั กาลท่ี 10 มาใช้ในชวี ิตประจำวัน
การสอน และการขับเคลื่อนในหนว่ ยงาน 7. สง่ เสรมิ ให้หนว่ ยงานทางการศึกษาและ
สถานศกึ ษาจัดกจิ กรรมส่งเสริมความรักและ
7. รอ้ ยละของหน่วยงานและสถานศึกษาที่ การธำรงรกั ษาสถาบนั ชาติ ยึดม่นั ในการ
จดั กจิ กรรมส่งเสริมความรักและการธำรง ปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอันมี
รกั ษาสถาบนั ชาติ ยึดมนั่ ในการปกครอง
ระบอบประชาธปิ ไตยอนั มี
พระมหากษัตรยิ ท์ รงเปน็ ประมุข

พระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุข

ประเด็นยุทธศาสตรท์ ่ี 2 พัฒนาขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั และการวจิ ัย

ตวั ชว้ี ดั เป้าประสงค์ คา่ เปา้ หมาย กลยทุ ธ์

เป้าประสงค์ ผู้เรียน ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีสมรรถนะและความสามารถ

ในการแข่งขัน รองรบั ตลาดแรงงานและเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวดั นราธวิ าส

8. รอ้ ยละของครแู ละบุคลากร รอ้ ยละ 50 1. ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร

ทางการศึกษามีความสามารถในการใช้ ทางการศึกษาให้มีความรู้และนำความรู้

ภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร ทกั ษะด้านภาษาตา่ งประเทศ ไปใชใ้ นการ

จัดการเรียน การสอนทเี่ หมาะสมในแต่ละ

ระดบั การศึกษา

9. ร้อยละของผลงานวิจัย เพ่ือสร้างความรู้ รอ้ ยละ 80 2. ส่งเสรมิ สนับสนุนใหห้ น่วยงานทางการ

ส่กู ารพัฒนาการศกึ ษาที่เผยแพร่ตอ่ ศกึ ษา ครู หรอื บคุ ลากรทางการศึกษา

สาธารณชน ในจงั หวัดนราธวิ าส มผี ลงานวจิ ัยและ

นวัตกรรมด้านการพฒั นาดา้ นการศึกษา

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 76

ตวั ช้วี ัดเป้าประสงค์ คา่ เปา้ หมาย กลยทุ ธ์
รอ้ ยละ 70
10. รอ้ ยละของผเู้ รียนมีความรู้ ทกั ษะ 3. สง่ เสริมการพฒั นาผ้เู รยี นให้มีความรู้
ทางด้านภาษา และอาชีพ ตามหลกั สูตร ทกั ษะทางด้านภาษาและอาชีพท่ีเหมาะสม
ท่เี หมาะสมในแตล่ ะระดับการศกึ ษา ในแต่ละระดับการศึกษา

ประเดน็ ยุทธศาสตร์ท่ี 3 พัฒนาและเสริมสรา้ งศกั ยภาพคน ให้มีคุณภาพ

ตัวชว้ี ดั เป้าประสงค์ ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์

เปา้ ประสงค์ ผเู้ รียน มสี มรรถนะ ทักษะท่ีจำเป็นของผเู้ รียนในศตวรรษท่ี 21

11. รอ้ ยละของคะแนนเฉลีย่ ผลการ รอ้ ยละ 3 1. เร่งพฒั นาคณุ ภาพการศึกษาให้เป็นไป
ทดสอบตามระดับชาติ เพ่ิมข้ึน ตามมาตรฐาน
(1) RT ระดับชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 1 2. ส่งเสริมการจดั การเรียนการสอนพัฒนา
(2) NT ระดบั ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 3 กระบวนการคิดอย่างเปน็ ระบบผา่ น
(3) O-NET ระดบั ช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 ประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบตั ิ
(4) O-NET ระดับชัน้ มธั ยมศึกษาปีที่ 3 3. ส่งเสริม พัฒนาทักษะการเรียนรู้ท่ีสมวัย
(5) O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทักษะอาชีพ และทักษะชีวติ ท่ีเท่าทนั และ
(6) N-NET ระดบั ประถมศึกษา สามารถอยูร่ ่วมในศตวรรษที่ 21
(7) N-NET ระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น 4. สง่ เสรมิ ใหโ้ รงเรียนเอกชนประเภทสามญั
(8) N-NET ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศึกษาได้รับการรบั รองการประเมนิ คุณภาพ
(9) V-NET ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ภายนอก
5. ส่งเสริมและพฒั นาผ้เู รียนให้มคี ุณธรรม
(10) V-NET ระดบั ประกาศนียบตั รวชิ าชพี ชน้ั สงู จริยธรรม รกั ความเป็นไทย ดว้ ยวธิ กี าร
ทห่ี ลากหลายและเหมาะสม
(11) I-NET ระดับอสิ ลามศึกษาตอนต้น
(12) I-NET ระดบั อสิ ลามศึกษาตอนกลาง

(13) I-NET ระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย

12. รอ้ ยละของเด็กปฐมวยั ท่มี ีพฒั นา รอ้ ยละ 80
การด้านรา่ งกาย อารมณ์ สังคม
และสติปัญญาทเ่ี หมาะสมวัย

13. ร้อยละของโรงเรียนเอกชนประเภท รอ้ ยละ 85
สามัญศึกษาท่ีไดร้ ับการรบั รองการ
ประเมนิ คุณภาพภายนอก

14. รอ้ ยละของผู้เรยี นที่มคี ณุ ธรรม ร้อยละ 90
จรยิ ธรรม ความเปน็ พลเมืองเพมิ่ ขน้ึ

15. ร้อยละของผู้เรยี นมีคุณลักษณะ ร้อยละ 80
อันพึงประสงค์ตามหลักสตู รการศกึ ษา
ทกุ ระดับอยู่ในระดับดีขน้ึ ไป

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 77

ตัวชว้ี ัดเปา้ ประสงค์ ค่าเป้าหมาย กลยทุ ธ์

เปา้ ประสงค์ ครูและบุคลากรทางการศึกษามสี มรรถนะที่ส่งผลต่อการพฒั นาทักษะที่จำเป็นของผู้เรยี น

ในศตวรรษท่ี 21

16. ร้อยละของครู คณาจารย์ และ รอ้ ยละ 80 1. ส่งเสริมการพฒั นาศักยภาพของครแู ละ

บคุ ลากรทางการศึกษาท่ีผ่านการอบรม บคุ ลากรทางการศึกษาด้วยรปู แบบวธิ ีการ

ในหลักสตู รตา่ งๆ ที่หลากหลาย

17. ร้อยละของครูทจ่ี ัดการเรียนรทู้ ี่ ร้อยละ 80 2.สง่ เสรมิ และพัฒนาทกั ษะการเรียนรู้
สง่ เสรมิ ทกั ษะในศตวรรษที่ 21 ตามระดบั ภาษาตา่ งประเทศ การใช้เทคโนโลยีดิจทิ ัล
การเรียนรู้ ด้วยวิธกี ารที่หลากหลาย และสมรรถนะท่จี ำเปน็ ของครูและบคุ ลากร

18. รอ้ ยละของครแู ละบุคลากรทางการ รอ้ ยละ 80 ทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21

ศึกษามคี วามรู้ และทักษะการใช้

เทคโนโลยีดจิ ิทลั ในการจัดการเรียนรู้

เปา้ ประสงค์ หน่วยงาน/สถานศกึ ษามกี ิจกรรมส่งเสรมิ คุณลักษณะอนั พงึ ประสงค์ ปรบั เปลย่ี นพฤตกิ รรม

ให้เป็นมติ รกับสิ่งแวดลอ้ ม

19. ร้อยละของหน่วยงาน/สถานศึกษาทีจ่ ัด รอ้ ยละ 100 1. ส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานและ

กจิ กรรมสง่ เสริมคุณลักษณะอันพงึ ประสงค์ สถานศึกษาจัดหลักสูตร/กิจกรรมที่เกี่ยวกบั

20. ร้อยละของหนว่ ยงาน/สถานศึกษาทีจ่ ัด รอ้ ยละ 100 การสร้างความตระหนักในเร่ืองการอนรุ ักษ์
หลักสตู ร/กิจกรรมทเี่ กีย่ วกบั การสร้างความ รอ้ ยละ 100 ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม
ตระหนักในเรื่องการอนรุ ักษ์ทรพั ยากร ร้อยละ 80 2. ส่งเสรมิ ใหผ้ ู้เรียนมีความตระหนักในเร่ือง
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สงิ่ แวดล้อม
21. ร้อยละของหน่วยงาน/สถานศึกษา 3. สง่ เสริม สนับสนุนให้หนว่ ยงานและ
ทจี่ ดั กิจกรรมท่เี กีย่ วกับการสร้างความ สถานศกึ ษา จัดกจิ กรรมทเ่ี ก่ยี วกบั การสร้าง
ตระหนักในเรื่องภัยพิบัติและสถานการณ์ ความตระหนักในเร่ืองภยั พบิ ัติและ
โลก สถานการณโ์ ลก

22. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีภูมิทศั น์ท่ี

เสรมิ สร้างคุณภาพชีวิตท่ดี ี และเป็นมิตรกับ

ส่งิ แวดล้อม

ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4 จัดการศึกษาบนความหลากหลายและเทา่ เทยี ม

ตวั ช้วี ัดเป้าประสงค์ ค่าเปา้ หมาย กลยทุ ธ์

เป้าประสงค์ ผเู้ รียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอยา่ งทว่ั ถึงและเท่าเทียม

23. ร้อยละของประชาชนกลุม่ เป้าหมายท่ี รอ้ ยละ 80 1. สง่ เสริมและสนบั สนนุ ประชากรวยั เรยี นใน
ลงทะเบียนเรียนในทกุ หลกั สตู ร/กิจกรรม จงั หวดั นราธิวาส ให้มีโอกาสเข้าถงึ บริการทาง
การศกึ ษาต่อเน่อื งเทียบกับเป้าหมาย ร้อยละ 80 การศกึ ษาด้วยทางเลอื กที่หลากหลาย
รอ้ ยละ 48 2. สง่ เสริมการจดั การศึกษาที่เขา้ ถึงแหล่ง
24. ร้อยละของผู้รับบรกิ ารแหล่งเรยี นรู้ เรียนรู้ท่ีสอดคล้องกบั ความสนใจ และวถิ ชี ีวติ
เทียบกบั เป้าหมาย ของผเู้ รยี นทุกกลุ่มเปา้ หมาย

25. ร้อยละของกำลังแรงงานที่สำเร็จ
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนตน้ ขึ้นไป

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 78

ตวั ชี้วัดเปา้ ประสงค์ คา่ เปา้ หมาย กลยทุ ธ์
รอ้ ยละ 70
26. รอ้ ยละของผผู้ า่ นการฝึกอบรม/พฒั นา 3. สง่ เสรมิ การพัฒนาผเู้ รียนให้มีความรู้ มที ักษะ
ทกั ษะอาชพี ระยะส้นั สามารถนำความรไู้ ป รอ้ ยละ 100 ทางดา้ นวชิ าการ และอาชีพท่เี หมาะสมในแตล่ ะ
ใชใ้ นการประกอบอาชพี หรือพัฒนางานได้ ระดับช้ัน

27. รอ้ ยละของประชากรวยั เรียนใน ร้อยละ 100
จังหวดั นราธวิ าส ได้รบั การศกึ ษา
ภาคบังคบั

28. ร้อยละของผ้เู รยี นในระบบและ
นอกระบบได้รับการบรกิ ารการศกึ ษา
ข้ันพ้ืนฐาน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาประสทิ ธิภาพการบรหิ ารจัดการ

ตวั ชีว้ ดั เปา้ ประสงค์ ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์

เป้าประสงค์ หน่วยงานมีระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและมีการบูรณาการการจัดการศึกษา

ทุกระดบั

29. ร้อยละของคะแนนการประเมินคุณธรรม ไม่นอ้ ยกว่า 1. ส่งเสรมิ การพฒั นาระบงานการบริหารงาน

และความโปร่งใสของการดำเนนิ งานของ ร้อยละ 85 บคุ คลของขา้ ราชการครแู ละบุคลากรทางการ

หน่วยงาน ศึกษาเพ่ือยกระดบั สมรรถนะการปฏบิ ัติงาน

30. ร้อยละความพึงพอใจของข้าราชการครู ร้อยละ 80 2. ส่งเสริม สนบั สนุนหน่วยงานทางการศึกษา
ใหม้ ีระบบบริหารจดั การตามหลกั ธรรมาภิบาล
และบุคลากรทางการศึกษาทม่ี ีต่อการบรหิ าร
3. ส่งเสรมิ ใหก้ ารบริหารงานบุคคลของ
งานบุคคลของสำนกั งานศึกษาธิการจังหวัด
สำนกั งาน ศึกษาธิการจังหวดั นราธิวาสมี
นราธวิ าส
4 องค์คณะ ประสิทธิภาพ
31. จำนวนองคค์ ณะบุคคลท่เี ข้ามามี 4. ส่งเสรมิ และบรู ณาการการมีส่วนรว่ มของ

สว่ นร่วมในการจดั /พัฒนา/สง่ เสรมิ การจดั ทกุ ภาคสว่ นในการจัดการศึกษา

การศึกษา 5. สง่ เสรมิ สนบั สนุนการบริหารจดั การศึกษา
ของหนว่ ยงานให้มีประสทิ ธภิ าพ
32. ร้อยละของหนว่ ยงานทางการศึกษา รอ้ ยละ 100 6. เสรมิ สรา้ งขวญั กำลังใจให้แกค่ รู และ
ท่ีมรี ะบบการบรหิ ารจดั การศึกษาท่ีมี 1 ฐานข้อมลู บคุ ลากรทางการศึกษา
ประสิทธภิ าพ 7. สง่ เสรมิ ระบบฐานข้อมูล ด้านการศึกษา
ของสำนักงานศึกษาธิการจงั หวดั นราธวิ าส
33. จำนวนระบบฐานข้อมลู ดา้ นการศึกษา ใหท้ นั สมัยและเป็นปจั จบุ ัน
ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวดั นราธิวาส 8. สง่ เสรมิ ให้มีการนำดจิ ิทัลมาประยกุ ต์ใช้
ได้รับการส่งเสริมใหท้ ันสมัยและเป็น
ปัจจุบนั

ในการบรหิ ารจดั การ

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั นราธวิ าส 79

วสิ ยั ทัศน์ แผนผังความเช่อื มโยงสาระสำคัญของแผนปฏบิ ัตริ าชการปร

บริหารจัดการแบบบรู ณาการ ผเู้ รยี นได้รบั โอกาสทางการศกึ ษาในการเรียนร

พนั ธกิจ 1. ส่งเสริม สนบั สนนุ การบรหิ าร 2. สง่ เสริม สนับสนนุ การพฒั นาคุณภาพการศกึ ษา 3.
และจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ใหส้ อดคลอ้ งกับทกั ษะท่จี ำเปน็ ในศตวรรษที่ 21 จดั กา
เปา้ ประสงค์ ทุกระดับเพ่อื ความม่นั คง และหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชีวติ ท
ประเดน็
ยุทธศาสตร์ 1. สำนกั งานศึกษาธิการจังหวดั นราธิวาส 2. ผูเ้ รียนทุกระดับไดร้ ับการพัฒนาการ
เปา้ ประสงค์ มกี ารบริหารและจัดการศกึ ษาแบบบรู ณาการ จำเปน็ ในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับห
ตามประเดน็
ยทุ ธศาสตร์ 1.การจัดการศึกษาเพ่อื ความม่ันคง 2. พัฒนาขีดความสามารถใน 3

กลยุทธ์ภายใต้ 1.ผเู้ รยี นได้รับการสง่ เสริมการจัดการศกึ ษาที่มี การแขง่ ขนั และการวิจยั 3. ผเู้ รีย
ประเดน็ 4.ครแู ล
ยทุ ธศาสตร์ คุณภาพ สอดคลอ้ งกบั การเสรมิ สรา้ งความมนั่ คง 2. ผเู้ รยี น ขา้ ราชการ ครแู ละ ทกั ษะท
และพหุวัฒนธรรม บุคลากรทางการศกึ ษามี 5.หน่วย
ปรบั เป
1.เรง่ พฒั นาคณุ ภาพการศึกษาและพฒั นา กระบวนการ สมรรถนะและความสามารถ
เรียนการสอน ในพ้ืนท่จี งั หวัดนราธวิ าสให้เป็นไปตาม ในการแขง่ ขนั รองรับ 1. เร่งพ
มาตรฐาน 2. ส่งเส
2.พัฒนากระบวนการเรยี นการสอนและจัดกจิ กรรมเสรมิ ตลาดแรงงานและเขตพฒั นา ระบบผ่า
ทกั ษะพัฒนาผู้เรยี นในรปู แบบท่ีหลากหลาย สอดคลอ้ ง พิเศษเฉพาะกิจจงั หวัด 3. ส่งเส
นราธิวาส ชวี ติ ท่ีเ
4. ส่งเส
กับพหุวัฒนธรรม 1. ส่งเสริมการพัฒนาครแู ละ การประ
5. สง่ เส
3.ส่งเสริมการพัฒนาผเู้ รียนให้ได้รับการพฒั นาศกั ยภาพ บคุ ลากรทางการศกึ ษาใหม้ ี ไทย ด้ว
หรือทักษะด้านอาชพี สามารถมีงานทำหรอื นำไป 6. ส่งเส
ความรู้และนำความร้ทู กั ษะด้าน ดว้ ยรปู
ประกอบอาชีพได้ 7.สง่ เสร
ภาษาตา่ งประเทศ ไปใช้ในการ เทคโนโ
4.สง่ เสริม และพัฒนาผู้เรียนใหม้ คี ุณธรรมจรยิ ธรรม จดั การเรยี นการสอนทีเ่ หมาะสม ทางการ
ห่างไกลยาเสพตดิ ดว้ ยวธิ ีการท่ีหลากหลายและเหมาะสม ในแต่ละระดบั การศึกษา 8. ส่งเส
5.สง่ เสรมิ ให้สถานศกึ ษาทุกสังกดั จัดกจิ กรรม สง่ เสรมิ การ 2. สง่ เสริมสนับสนุนให้ กิจกรรม
เรยี นรทู้ ่ีสะทอ้ นความรักและการธำรงรักษาสถาบันหลัก หนว่ ยงานทางการศกึ ษา ครู ทรัพยาก
ของชาติและยดึ ม่ันในการปกครองระบอบประชาธปิ ไตย หรอื บุคลากรทางการศึกษาใน 9. ส่งเส
อันมพี ระมหากษัตรยิ ท์ รงเป็นประมุข ทรัพยาก
จังหวัดนราธวิ าส มผี ลงานวจิ ยั 10. สง่ เ
6.สง่ เสริมการพัฒนาผู้เรยี นและบคุ ลากรทางการศกึ ษา และนวัตกรรมดา้ นการพัฒนา เกย่ี วกับ
ใหม้ คี วามรูค้ วามเข้าใจ สามารถนอ้ มนำหลักปรัชญาของ ดา้ นการศกึ ษา
เศรษฐกจิ พอเพียง และพระบรมราโชบายในหลวง
3. สง่ เสรมิ การพัฒนาผเู้ รียนให้มี
รัชกาลที่ 10 มาใช้ในชวี ติ ประจำวัน
ความรู้ ทักษะทางดา้ นภาษา
7. ส่งเสริมใหห้ น่วยงานทางการศกึ ษาและสถานศกึ ษาจดั และอาชพี ท่ีเหมาะสมในแต่ละ
กิจกรรมสง่ เสริมความรกั และการธำรงรกั ษาสถาบนั ชาติ ระดับการศึกษา
ยดึ มนั่ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี

พระมหากษตั รยิ ์ทรงเปน็ ประมุข

ระจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวดั นราธิวาส

รู้อยา่ งมคี ุณภาพ มที ักษะท่จี ำเป็นในศตวรรษท่ี 21 และตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง

สง่ เสรมิ สนบั สนนุ การ 4. สง่ เสริม สนับสนุนและสร้างโอกาสทาง 5. ส่งเสรมิ สนบั สนนุ การพัฒนาระบบ

ารศึกษาท่ีส่งเสริมคณุ ภาพ การศึกษาให้แก่ผู้เรียนทกุ ระดบั ได้รับการ บริหารงานบคุ คลของขา้ ราชการ ครูและ

ทด่ี เี ป็นมติ รกับส่ิงแวดลอ้ ม พฒั นาการเรียนรู้อยา่ งเสมอภาค ทั่วถึง บคุ ลากรทางการศึกษาท้งั ภาครัฐและ

เอกชน

รเรียนรูท้ ม่ี ีคุณภาพ และมีทกั ษะที่ 3. ผเู้ รียนไดร้ บั โอกาสเขา้ ถงึ การศกึ ษาที่ 4. ขา้ ราชการ ครแู ละบุคลากรทางการ
หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณภาพอยา่ งทั่วถงึ และเสมอภาค ศกึ ษาทง้ั ภาครัฐและเอกชน มีสมรรถนะท่ี
ส่งผลตอ่ การพฒั นาทักษะทีจ่ ำเป็นใน

3. พฒั นาและเสริมสร้างศักยภาพคนใหม้ ีคุณภาพ 4. จัดการศกึ ษาบน ศตวรรษที่ 21
ยนมีสมรรถนะ ทกั ษะทจี่ ำเปน็ ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ความหลากหลายและ 5. พัฒนาประสทิ ธภิ าพการบรหิ ารจดั การ
ละบุคลากรทางการศกึ ษามสี มรรถนะทีส่ ง่ ผลตอ่ การพัฒนา
ท่จี ำเป็นของผเู้ รียนในศตวรรษที่ 21 เทา่ เทยี ม 7. หนว่ ยงานมีระบบบริหารจัด
ยงาน/สถานมกี จิ กรรมส่งเสริมคณุ ลักษณะอันพงึ ประสงค์ การศึกษาทมี่ ีประสทิ ธิภาพและมกี าร
ปลย่ี นพฤตกิ รรมให้เป็นมิตรกบั สิ่งแวดล้อม 6. ผูเ้ รยี นไดร้ ับโอกาส บรู ณาการการจดั การศกึ ษาทุกระดบั
ทางการศึกษาอยา่ ง
ท่วั ถึงและเท่าเทยี ม

พฒั นาคุณภาพการศกึ ษาใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรฐาน 1. สง่ เสริมและ 1. สง่ เสรมิ การพฒั นาระบบริหารงาน
สรมิ การจดั การเรียนการสอนพฒั นากระบวนการคิดอย่างเป็น สนบั สนนุ ประชากรวยั บคุ คลสำหรับขา้ ราชการครูและ
เรยี นในจังหวัด บคุ ลากรทางการศึกษา
านประสบการณต์ รงจากการลงมือปฏบิ ตั ิ นราธวิ าส ใหม้ โี อกาส 2. ส่งเสริม สนบั สนนุ หนว่ ยงานทาง
สริม พัฒนาทกั ษะการเรียนร้ทู สี่ มวัย ทักษะอาชพี และทกั ษะ เขา้ ถึงบริการทาง การศกึ ษาใหม้ ีระบบบริหารจดั การตาม
เท่าทันและสามารถอยู่ร่วมในศตวรรษท่ี 21 การศกึ ษาดว้ ย หลักธรรมาภบิ าล
ทางเลือกที่หลากหลาย 3. ส่งเสริมใหก้ ารบริหารงานบุคคลของ
สริมให้โรงเรยี นเอกชนประเภทสามัญศกึ ษาได้รบั การรับรอง 2. สง่ เสริมการจัด สำนักงาน ศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธิวาสมี
ะเมนิ คณุ ภาพภายนอก การศึกษาที่เขา้ ถึง ประสิทธภิ าพ
สรมิ และพฒั นาผู้เรยี นให้มคี ณุ ธรรม จริยธรรม รักความเปน็ แหลง่ เรียนรู้ท่ี 4. สง่ เสรมิ และบรู ณาการการมีส่วนรว่ ม
วยวิธีการท่หี ลากหลายและเหมาะสม สอดคลอ้ งกับความ ของทุกภาคสว่ นในการจัดการศกึ ษา
สรมิ การพัฒนาศักยภาพของครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา สนใจ และวถิ ชี ีวิตของ 5. สง่ เสริม สนบั สนุนการบรหิ ารจดั
ปแบบวธิ ีการที่หลากหลาย ผ้เู รยี นทุก การศึกษาของหน่วยงานใหม้ ีประสิทธภิ าพ
กลมุ่ เปา้ หมาย 6. เสริมสรา้ งขวัญ กำลังใจใหแ้ กค่ รู และ
รมิ และพฒั นาทกั ษะการเรยี นรูภ้ าษาตา่ งประเทศ การใช้ 3. สง่ เสรมิ การพัฒนา บุคลากรทางการศกึ ษา
โลยดี ิจทิ ลั และสมรรถนะท่จี ำเป็นของครแู ละบคุ ลากร ผู้เรยี นใหม้ คี วามรู้ มี 7. ส่งเสรมิ ระบบฐานข้อมลู ดา้ นการศึกษา
รศกึ ษาในศตวรรษที่ 21 ทกั ษะทางดา้ นวิชาการ ของสำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัดนราธวิ าส
และอาชพี ท่เี หมาะสมใน ใหท้ ันสมยั และเป็นปัจจุบัน
สริม สนบั สนนุ ใหห้ น่วยงานและสถานศกึ ษาจดั หลกั สตู ร/ แตล่ ะระดับช้นั 8. สง่ เสรมิ ใหม้ กี ารนำดจิ ทิ ลั มาประยกุ ตใ์ ช้
มที่เก่ยี วกบั การสร้างความตระหนักในเร่ืองการอนุรักษ์ ในการบรหิ ารจัดการ
กรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม
สริม ให้ผเู้ รยี นมีความตระหนักในเรื่องการอนรุ ักษ์

กรธรรมชาติและส่ิงแวดลอ้ ม
เสรมิ สนับสนุนให้หน่วยงานและสถานศึกษา จดั กจิ กรรมที่
บการสร้างความตระหนกั ในเร่ืองภยั พบิ ตั แิ ละสถานการณ์โลก

ส่วนท่ี 4

โครงกำร/งบประมำณ

สว่ นที่ 4

โครงการ/งบประมาณ

แผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ที่ รายการ งบประมาณที่ โอนจดั สรร งบประมาณ

ได้รบั จดั สรรทงั้ ปี คร้ังท่ี 1 ทั้งส้นิ

แผนงานยทุ ธศาสตร์เพอื่ สนบั สนนุ ดา้ นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรพั ยากรมนษุ ย์

โครงการขับเคลือ่ นการพฒั นาการศกึ ษาทยี่ ัง่ ยนื

กิจกรรมการขับเคลอื่ นการปฏริ ูปการศกึ ษาในส่วนภูมิภาค

1 งบดำเนนิ งาน

1.คา่ ตอบแทนใชส้ อยและวสั ดุ

1.1 คา่ ใชจ้ ่ายในการประชมุ ภายใน 60,000 20,000 20,000

สำนักงาน

1.2 คา่ ใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ 80,000 30,000 30,000

1.3 คา่ วัสดุ (กรณีไม่มโี ครงการรองรับ) 320,000 130,000 130,000

1.4 คา่ ใช้จา่ ยงานพธิ ีการวันสำคญั 30,000 8,000 8,000

1.5 ค่าซ่อมแซมครุภณั ฑส์ ำนักงาน 30,000 15,000 15,000

1.6 ค่าวัสดเุ ชือ้ เพลงิ และหล่อลื่น 120,000 60,000 60,000

1.7 สำรองจา่ ย เพื่อจ่ายรายการทจ่ี ำเปน็ 73,000 15,000 15,000

เรง่ ดว่ น

1.8 คา่ ตอบแทนจา้ งเหมาบริการ 780,000 390,000 1,170,000

1.9 ค่าจา้ งถา่ ยเอกสาร 66,000 33,000 33,000
50,000 - -
1.10 ค่าใชจ้ า่ ยในการพัฒนาบุคลากร
(กรณีไมม่ ีโครงการ/งบประมาณรองรบั ) 1,609,000 701,000 701,000

รวมคา่ ตอบแทนใชส้ อยและวัสดุ 392,000 196,000 196,000
2. ค่าสาธารณปู โภค
2.1 คา่ สาธารณปู โภค (คา่ ไฟฟา้ ค่าประปา 392,000 196,000 196,000
คา่ โทรศพั ท์ คา่ ไปรษณยี ์)
297,000 148,500 148,500
รวมคา่ สาธารณูปโภค 297,000 148,500 148,500
3. ค่าเชา่ รถยนต์ (รถตสู้ ำนกั งาน) 2,298,000 1,045,500 1,045,500
3.1 ค่าเชา่ รถตู้
30,300 30,300 30,300
รวมค่าเชา่ รถยนต์
รวมงบดำเงินงาน
2 งบรายจา่ ยอ่นื

1. คา่ ใชจ้ า่ ยโครงการจดั ทำแผนพัฒนา
การศกึ ษาจงั หวดั

แผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจงั หวัดนราธวิ าส 81

ท่ี รายการ งบประมาณท่ี โอนจัดสรร งบประมาณ

ไดร้ ับจดั สรรทง้ั ปี ครั้งท่ี 1 ทั้งสิน้

2. คา่ ใชจ้ า่ ยโครงการเสริมสร้างศักยภาพ 40,000 40,000 40,000

บุคลากรของสำนักงานศึกษาธกิ ารจังหวดั

3. ค่าใช้จ่ายโครงการขบั เคลอ่ื นการ 90,900 45,450 45,450

ยกระดบั คณุ ภาพการศึกษาและ

ประสิทธภิ าพการศึกษาจงั หวัดโดยผ่าน

กลไกของ กศจ.

รวมงบรายจ่ายอืน่ 161,200 115,750 115,750

รวมงบดำเนินงานทง้ั สน้ิ 2,459,200 1,161,250 1,161,250

แผนงานยุทธศาสตร์เพือ่ สนบั สนุนด้านการพฒั นาและเสรมิ สร้างศกั ยภาพทรัพยากรมนุษย์

โครงการขบั เคลอ่ื นการพฒั นาการศกึ ษาทย่ี ่ังยืน

กิจกรรมการขบั เคลือ่ นนโยบายดา้ นการศกึ ษา

1 งบรายจา่ ยอืน่

1. ค่าใช้จา่ ยโครงการ Innovation For 107,000 64,200 64,200

Thai Education (IFTE) นวัตกรรม

การศึกษาเพ่อื พัฒนาการศกึ ษา

2. ค่าใช้จา่ ยโครงการส่งเสริมเวทีและ 72,000 39,600 39,600

ประชาคมเพอ่ื การจัดทำรูปแบบและ

แนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชอื่ มโยง

การศึกษาขน้ั พ้นื ฐานกับอาชวี ศกึ ษาและ

อดุ มศึกษา

3. คา่ ใช้จา่ ยโครงการขับเคลอ่ื นพนื้ ที่ 800,680 360,306 440,374

นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดตาม พรบ.

พน้ื ท่ีนวัตกรรการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒

4. คา่ ใช้จ่ายโครงการขบั เคล่ือนการ 48,000 28,800 28,800

พฒั นาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดบั

พน้ื ท่ี

5. คา่ ใชจ้ ่ายโครงการสรา้ งและส่งเสรมิ 236,950 152,950 152,950

ความเปน็ พลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาท

ดา้ นการศึกษาสกู่ ารปฏบิ ตั ิ

รวมทั้งสิ้น 1,264,630 645,856 725,924

แผนงานพน้ื ฐานด้านการพัฒนาและเสรมิ สร้างศักยภาพมนุษย์

ผลผลติ หนว่ ยงานในสังกดั กระทรวงศกึ ษาธิการไดร้ ับการบริการเทคโนโลยีทางการศกึ ษา

กิจกรรมเสริมสรา้ งและพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

1 งบดำเนินงาน

1. ค่าสาธารณูปโภค (ค่าบริการสือ่ สาร 154,080 77,040 77,040

โทรคมนาคม)

รวมท้ังส้ิน 154,080 77,040 77,040

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 82

ที่ รายการ งบประมาณที่ โอนจดั สรร งบประมาณ

ไดร้ ับจดั สรรทงั้ ปี ครั้งที่ 1 ทง้ั สิ้น

แผนงานพน้ื ฐานด้านการพฒั นาและเสรมิ สรา้ งศักยภาพคน

ผลผลติ มาตรฐานบรหิ ารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศกึ ษา

กจิ กรรมพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและสง่ เสริมพัฒนาขา้ ราชการและบุคลากรทางการ
ศกึ ษา

1 งบดำเนินงาน

1. คา่ ใช้จา่ ยในการประชุม กศจ./อกศจ. 200,000 200,000 200,000

รวมท้ังสน้ิ 200,000 200,000 200,000

แผนงานพ้ืนฐานด้านการพฒั นาและเสริมสรา้ งศกั ยภาพทรพั ยากรมนษุ ย์

ผลผลติ ผทู้ ีไ่ ด้รับการส่งเสริม และพฒั นาคณุ ธรรม จริยธรรม

กิจกรรมลกู เสือ ยุวกาชาด และกจิ การนกั เรยี น

1 งบรายจา่ ยอ่ืน

2. ค่าใชจ้ า่ ยโครงการ ศธ.จิตอาสาบำเพ็ญ 23,500 23,500 23,500
ประโยชน์

3. ค่าใชจ้ ่ายโครงการส่งเสริมการจัดงาน 40,000 40,000 40,000
วนั คล้ายวนั สถาปนายุวกาชาดไทย (99 ปี
ยุวกาชาดไทย)

2 งบเงินอดุ หนุน

3. ค่าใช้จา่ ยโครงการนิเทศการจัดกจิ กรรม 10,000 10,000 10,000
ยุวกาชาดในสถานศึกษา

3 งบดำเนินงาน

1. ค่าใชจ้ ่ายรายการผูกพันค่าเชา่ รถยนต์ 236,040 118,020 118,020
191,520
(ศูนย์เสมารกั ษ์)

รวมท้ังส้ิน 309,540 191,520

แผนงานพื้นฐานดา้ นการพัฒนาและเสริมสรา้ งศกั ยภาพทรัพยากรมนษุ ย์

ผลผลติ นโยบายและแผนด้านการศึกษา

กิจกรรมการดำเนนิ งานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์

1 งบรายจ่ายอืน่

1. ค่าใช้จา่ ยโครงการขบั เคลื่อนการดำเนนิ งาน 15,000 15,000 15,000
สวนพฤกศาสตร์โรงเรียนในโครงการอนรุ ักษ์ 15,000 15,000 15,000
พนั ธุกรรมพชื อันเนอ่ื งมาจากพระราชดำรฯิ

รวมท้ังสิน้

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจังหวดั นราธวิ าส 83

ท่ี รายการ งบประมาณที่ โอนจดั สรร งบประมาณ

ไดร้ บั จัดสรรทง้ั ปี ครัง้ ท่ี 1 ท้งั สนิ้

แผนงานบุคลากรภาครฐั

โครงการค่าใชจ้ ่ายบุคลากรภาครัฐ ยกระดบั คณุ ภาพการศกึ ษาและการเรยี นร้ตู ลอดชีวิต

กจิ กรรมบุคลากรภาครัฐสำนกั งานปลัดกระทรวงศกึ ษาธกิ าร

1 งบดำเนนิ งาน

1. คา่ เช่าบ้าน 712,900 712,900 712,900

รวมท้ังส้นิ 712,900 712,900 712,900

รวมงบประมาณที่ได้รบั การจัดสรรทั้งสน้ิ 5,115,350 3,003,566 3,003,566

ขอ้ มูล ณ วนั ที่ 29 ธันวาคม 2564

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวดั นราธวิ าส 84


Click to View FlipBook Version