The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Insect Ebook มีลายน้ำ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 62010211104, 2022-05-24 00:01:43

I

Insect Ebook มีลายน้ำ

คู่มืออิเล็กทรอนิกส์

อันดับ แมลง (เบื้องต้น)

CLASS INSECTA
ภายในสวนพฤกษศาสตร์ระยอง (เกาะกก)
ดารินทร์ วงค์สิน
ภานุวัตน์ แสงกล้า
วณิชชา โกศรียบุตร
แสงรวี ปะมาระตา
โสภิดา ศรีสุราช

คำนำ

คู่มืออิเล็กทรอนิกส์แมลง (เบื้องต้น) ภายในเกาะกก สวนพฤกษศาสตร์ระยอง จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลพื้น
ฐานการจัดจำแนกแมลงระดับอันดับ (Order) ของแมลงภายในเกาะกกสวนพฤกษศาสตร์ระยอง เนื่องจากลักษณะ
ของแมลงมีความแตกต่างกันตามชนิดและหน้าที่ รวมถึงถิ่นที่อยู่อาศัย การทำความเข้าใจอาจทำได้ยากสำหรับผู้ที่
เพิ่งพบเห็นเป็นครั้งแรก ซึ่งในพื้นที่ของสวนพฤกษศาสตร์ระยองนั้น มีความสำคัญเพราะเป็นพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตไว้มากมาย ผู้จัดทำจึงได้รวบรวมแมลงที่พบในเกาะกกสวนพฤกษศาสตร์ระยอง พบ
ทั้งสิ้น 10 อันดับ 90 หมายเลข เพื่อให้ผู้ที่ใช้คู่มือนี้สามารถเรียนรู้และเข้าใจถึงลักษณะเด่น และอันดับของแมลงได้

นอกจากนี้การจัดทำคู่มือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทำให้สะดวกต่อการพกพาและใช้งาน เพื่อส่งเสริมการ
เรียนรู้ด้านแมลงภายในสวนพฤกษศาสตร์ระยองอีกด้วย

ในท้ายที่สุดผู้จัดทำคาดว่าผู้ที่ได้ใช้คู่มือเล่มนี้อาจนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปใช้ต่อยอด ไม่ว่าจะเป็นการ
ใช้งานเชิงลึกทางด้านวิชาการ เช่น การศึกษาสัณฐานวิทยาของแมลง การศึกษาด้านอนุกรมวิธานเพื่อจัดจำแนก
กลุ่มแมลง หรืออาจจะใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป แต่น้อยที่สุดคือผู้ที่ได้ศึกษานั้นสามารถรู้จักและเข้าใจแมลงได้ดียิ่ง
ขึ้น รวมถึงทำให้การศึกษาและสำรวจธรรมชาติเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าที่ผ่านมา

คณะนิสิตฝึกประสบการณ์
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
27 พฤษภาคม 2565

กิตติกรรมประกาศ

การจัดทำคู่มืออิเล็กทรอนิกส์แมลง (เบื้องต้น) ภายในเกาะกก สวนพฤกษศาสตร์ระยอง สำเร็จลุล่วงไป
ด้วยดีเนื่องด้วยความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย คณะนิสิตฝึกประสบการณ์ จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
ขอกราบขอบพระคุณ หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์ระยอง ท่านวัชนะ บุญชัย ที่ให้การสนับสนุนให้โอกาสในการ
ศึกษาเรียนรู้ พร้อมทั้งได้กรุณาให้คำแนะนําเป็นแนวทางในการดําเนินงานตลอดจนความคิดเห็นต่าง ๆ ที่มี
ประโยชน์ต่อการฝึกประสบการณ์ทุกประการ

ขอขอบพระคุณ นางสาวณิชกานต์ นามวงค์ นางสาวลักษิกา รอดโพธิ์ทอง และนางสาวสุพัตรา เจริญเวช
ธรรม ที่กรุณาให้ข้อเสนอแนะ คอยช่วยเหลือในการแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่ดูแลอย่างดียิ่ง
มาโดยตลอด

ในท้ายนี้ขอขอบพระคุณพนักงานเจ้าหน้าที่สวนพฤกษศาสตร์ระยองทุกท่าน ที่คอยให้การสนับสนุนช่วย
เหลือ ให้คำแนะนํา ส่งเสริม และเป็นกําลังใจในการจัดทำหนังสือคู่มือทำให้ผู้ศึกษาได้รับความสะดวกใน การ
ดำเนินการ และสร้างชิ้นงานออกมาได้สำเร็จได้ในที่สุด ตลอดจนให้ประสบการณ์ที่นอกเหนือจากการเรียนรู้
ภายในห้องเรียนซึ่งเป็นความรู้ที่มีค่า ซึ่งสามารถนําไปใช้ต่อยอดในการดำเนินชีวิตได้ และที่ขาดไม่ได้ กราฟิก
สวย ๆ จากโปรแกรม Canva Pro ที่นำมาใช้ออกแบบในคู่มืออิเล็กทรอนิกส์แมลง (เบื้องต้น) นี้

คณะนิสิตฝึกประสบการณ์
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา


มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
27 พฤษภาคม 2565

สวนพฤกษศาสตร์ระยอง (เกาะกก) สารบัญ
สวนพฤกษศาสตร์ระยอง (เกาะกก)
พื้นที่ที่ทำการสำรวจ (เกาะกก) 1
แมลง 2
แมลงคืออะไร ? 4
คำแนะนำสำหรับผู้ใช้คู่มืออิเล็กทรอนิกส์ 5
อันดับของแมลงที่ทำการสำรวจ 7
Order Blattaria 8
Order Coleoptera 10
Order Diptera 12
Order Hemiptera 13
Order Hymenoptera 15
Order Isoptera 16
Order Lepidoptera 18
Order Mantodea 19
Order Odonata 21
Order Orthoptera 23
ร้อยละแมลงที่พบในเกาะกก 24
บรรณานุกรม 25
ประวัติผู้เขียน

สวนพฤกษศาสตร์ระยอง (เกาะกก)

สวนพฤกษศาสตร์ระยองเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติมีพื้นที่ประมาณ 831 ไร่ ตั้งอยู่ ตำบลชากพง
อำเภอแกลง จังหวัดระยอง การจัดทำคู่มืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ ได้ทำการเก็บตัวอย่างแมลงภายใน
สวนพฤกษศาสตร์ระยอง ได้เลือกบริเวณที่ทำการสำรวจ คือ เกาะกก แบ่งออกสำรวจเป็นฐาน 5
ฐาน ได้แก่ ฐานพืชกินแมลง ฐานสมุนไพร ฐานพะยอม ฐานป่าหวาย และฐานดินโป่ง โดยพื้นที่ดัง
กล่าวมีลักษณะ ดังนี้

แผนที่ภายในสวนพฤกษศาสตร์ระยองในบริเวณที่ทำการสำรวจ
ที่มาภาพ: ดัดแปลงจาก https://www.google.com/maps. (2565)

1. ฐานพืชกินแมลง (GPS: 12.65013°N, 101.54443°E)
2. ฐานสมุนไพร (GPS: 12.65013°N, 101.54443°E)
3. ฐานพะยอม (GPS: 12.65250°N, 101.54107°E)
4. ฐานป่าหวาย (GPS: 12.65443°N, 101.54133°E)
5. ฐานดินโป่ง (GPS: 12.65485°N, 101.54321°E)

1

พื้นที่ทำการสำรวจ (เกาะกก)

ฐานพืชกินแมลง (CARNIVOROUS PLANTS)

พื้นที่ติดกับแหล่งน้ำ มี เขนงนายพราน หรือ ต้นหม้อข้าวหม้อ
แกงลิง (Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce) ซึ่งเป็นพืช
กินสัตว์ และ ป่าต้นมะหวด (Lepisanthes rubiginosa
(Roxb). Leenh) ที่เป็นลักษณะเด่น

ฐานสมุนไพร (HERBAL PLANTS)

เป็นป่ารกมีพืชสมุนไพรที่พบมาก คือ ต้นชะมวง (Garcinia cowa
Roxb. ex Choisy) กะอวม (Acronychia pedunculate (L.)
Miq.) และยางน่องเถา (Strophanthus caudatus (L.) Kurz)

ฐานพะยอม (SHOREA)

มีลักษณะเป็นพื้นที่โล่งและติดกับแหล่งน้ำ ลักษณะเด่นของ
พื้นที่นี้ คือ มีต้นพะยอม (Shorea talura Roxb.) ยืนต้น
เด่นซึ่งพบได้โดยรอบบริเวณ

ฐานป่าหวาย (RATTAN)

มีลักษณะเป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปี มีพันธุ์ไม้
หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่ ลักษณะเด่นของพื้นที่
นี้ คือ ต้นหวาย (Calamus sp.) มักชอบเลื้อยพันต้นไม้
อื่นเพื่อยึดเกาะมิให้ลำต้นล้มลง (ธงชัย, 2561)

ฐานดินโป่ง (SALT LICK)

มีลักษณะป่าค่อนข้างราบ เป็นบริเวณที่ได้รับแร่ธาตุจาก
การกัดเซาะ พังทลายของดินจากที่สูงลงมาสะสมไว้ ซึ่ง
สัตว์มักจะใช้ปากขุดลงไปเพื่อกินดิน ปกติเจาะลึกไม่เกิน
1 เมตร จะพบตามน้ำหรือในห้วยที่เป็นที่ราบในฤดูฝน
อาจมีน้ำท่วมขังอยู่ (บุษบง, 2552)

2

แมลง
(INSECT)

แมลงคืออะไร ?

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีลำตัว
และขา แบ่งเป็นปล้องเรียงติดต่อกัน ลำตัวทั้งซีกซ้าย

และซีกขวาจะมีลักษณะสมมาตร (Bilateral

symmetry) และแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ หัว (Head)
อก (Thorax) และท้อง (Abdomen) แมลงจัดอยู่ใน

Phylum Arthropod : Class Insecta ที่มีความ

หลากหลายที่สุดในโลก แมลงมีการดัดแปลง

โครงสร้างและอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพ
แวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวให้มีขนาดเล็กเพื่อลดการ
แก่งแย่งด้านอาหารและที่อยู่อาศัย
(วัฒนา ศักดิ์ชูวงษ์, 2554)

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแมลง ส่วนหัว (Head)

แมลงมีขาทั้งหมด 6 ขา หรือ 3 คู่ มีหนวด 1 คู่ ส่วนอก (Thorax)
ไว้รับสัมผัส ตัวเต็มวัยแบ่งเป็น 3 ส่วนชัดเจน ดังนี้ ส่วนท้อง (Abdomen)

ส่วนหัว (Head) ส่วนอก

(Thorax)
ประกอบด้วยหนวด 1 คู่ ตา และปาก
หนวด (Antennae) 1 คู่ ขา (Legs) มี 3 คู่
ส่วนอก (Thorax)
ส่วนหัว
ส่วนท้อง

แบ่งเป็นสามปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่
(Head) (Abdomen)
ปล้องที่ 2 และ 3 มีปีกปล้องละ 1 คู่

ส่วนท้อง (Abdomen)

ประกอบด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ และอวัยวะวางไข่

(ที่มา : สุรางค์ เธียรหิรัญ, 2559)

4

คำแนะนำสำหรับผู้ใช้คู่มืออิเล็กทรอนิกส์

ส่วนนี้รวบรวบแมลงชนิดต่าง ๆ ที่พบในสวนพฤกษศาสตร์ระยอง
จำนวน 10 อันดับ 90 หมายเลข เรียงตามลำดับตัวอักษร A-Z
ประกอบด้วย ชื่ออันดับ ภาพแมลง และหมายเลขตัวอย่างที่จำแนก

(1)

(1) ชื่ออันดับ
(2) หมายเลขตัวอย่างที่


จำแนก
(3) ภาพแมลง
(2)
(4) จำนวนตัวอย่างที่พบ

(3)

(4)

การแยกหมวดหมู่ของแมลงในชั้น Insecta นั้นสามารถจัดตามลำดับ กลุ่ม
หรือหมวดหมู่เป็นลำดับขั้นได้ (วัฒนชัย, 2561) ดังนี้

Class Insecta
Subclass (ลงท้ายด้วย -ota)
Infraclass (ลงท้ายด้วย -ptera)
Division (ลงท้ายด้วย -ota)
Suborder (ลงท้ายด้วย -pteroidea)
Order (ลงท้ายด้วย -ptera, -ura, -odea, ยกเว้น Archeongatha, Odonata)

5

อันดับของแมลง
ที่ทำการสำรวจ

Order Blattaria 1

อันดับ แมลงสาบ (Cockroach)
ลักษณะลำตัวแบนเป็นรูปไข่ ปากแบบ
กัดกิน ส่วนหัวถูก pronotum ปิดอยู่
หนวดยาวแบบเส้นด้าย ปีกเป็นแบบทึบ
บางชนิดไม่มีปีก และบริเวณปลายส่วน
ท้องมีแพนหาง 1 คู่ (วัฒนชัย, 2561)

ในการสำรวจอันดับนี้พบ 3 หมายเลข

2

3

ลักษณะเด่น : ลำตัวแบนคล้ายรูปไข่

(ที่มา : David Whiting, 2017)

7

Order Coleoptera
4

อันดับ ด้วง แมลงปีกแข็ง (Beetles)
เป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก
ปากแบบกัดกิน ส่วนมากอกปล้องแรกจะใหญ่
และเห็นชัดเจน ปีกหน้าแข็ง ไม่มีเส้นปีก
ปีกคู่หลังขนาดใหญ่เป็นแผ่นบางใส
(วัฒนชัย, 2561)

ในการสำรวจอันดับนี้พบ 15 หมายเลข

56

7

9

10 8

8

Order Coleoptera (ต่อ)

11 12

13

16 15

14

17 18

ลักษณะเด่น : ปีกคู่นอกเป็นมัน เรียบแข็ง ปีกคู่ในบางใส

(ที่มา : David Whiting, 2017)

9

Order Diptera

19

อันดับ แมลงวัน (Flies) ส่วนหัวสามารถ
เคลื่อนไหวได้ดี มีตารวมขนาดใหญ่ ตาเดี่ยวมี
3 ตา ปีกคู่หน้าบางใส ปีกคู่หลังลดรูปไปเป็น
รูปกระบองเล็ก ๆ ช่วยในการทรงตัวขณะบิน
เรียกว่า Halteres (วัฒนชัย, 2561)

ในการสำรวจอันดับนี้พบ 12 หมายเลข

21
20

22
23

24

10

Order Diptera (ต่อ)

25

26

27

28 29

30

ลักษณะเด่น : มีปีกที่เห็นได้ชัดเพียง 1 คู่ ปีกบางใส

(ที่มา : David Whiting, 2017)

11

Order Hemiptera

31 อันดับ มวน จั๊กจั่น (Bugs, Apids)
32 ส่วนมากปากยาวเรียวคล้ายเข็ม
ปากแบบเจาะดูด หนวดมีหลายแบบ
(วัฒนชัย, 2561)

ในการสำรวจอันดับนี้พบ 5 หมายเลข

33 34

35

Triangle

ลักษณะเด่น : ด้านหลังเป็นรูปสามเหลี่ยม
(Triangle) เมื่อมองจากด้านบน

(ที่มา : David Whiting, 2017)

12

Order Hymenoptera 36

อันดับ ผึ้ง ต่อ แตน มด (Bees, Wasps, Ants) 37
ลำตัวเรียว ยาว และบริเวณรอยต่อระหว่างส่วนอกกับ
ส่วนท้อง ส่วนมากมักจะเว้าคล้ายเอว บางชนิดไม่มีเอว
ตารวมมีพัฒนาการที่ดีมากปากแบบกัดกิน และกัดเลีย
ซึ่งสามารถดูดของเหลวได้ ปีกแบบบางใสทั้งปีกบน
และปีกล่างมีตะขอช่วยยึดที่มุมปีกขณะบิน
(วัฒนชัย, 2561)

ในการสำรวจอันดับนี้พบ 17 หมายเลข

38

39

40 43

42

44
41

13

Order Hymenoptera (ต่อ)

45

46

47

49 48

51 52

50

ลักษณะเด่น : หนวดแบบข้อศอก (geniculate)

ฐานหนวดมีลักษณะยาวกว่าปล้องอื่น ๆ ซึ่งงอเป็นรูปข้อศอก

หนวดแบบข้อศอก (geniculate)

(ที่มา : วัฒนชัย, 2561)

ฐานหนวด}

14

Order Isoptera

อันดับ ปลวก (Termites) มีลำตัวอ่อนนุ่ม
ส่วนมากหนวดเป็นแบบสร้อยลูกปัด ปกติ
จะไม่มีปีก จะพบปีกในวรรณะสืบพันธุ์ และ
จะสลัดทิ้งหลังการจับคู่ผสมพันธุ์ เป็นแมลง
สังคม มีการแบ่งวรรณะชัดเจน คือ วรรณะ

53 สืบพันธุ์ วรรณะงาน และวรรณะทหาร

(วัฒนชัย, 2561)
ในการสำรวจอันดับนี้พบ 4 หมายเลข

54

55

56

ลักษณะเด่น : หนวดเป็นแบบสร้อยลูกปัด (moniliform)

มีลักษณะแต่ละปล้องค่อนข้างกลม มองดูคล้ายลูกปัด
(ที่มา : David Whiting, 2017)

15

Order Lepidoptera

57

อันดับ ผีเสื้อ (Moths, Butterflies)
ลำตัวและปีกทั้งสองคู่ถูกปกคลุมไปด้วยขน

ตารวมขนาดใหญ่ ปากแบบดูดกิน
หนวดมีหลายแบบ (วัฒนชัย, 2561)

ในการสำรวจอันดับนี้พบ 11 หมายเลข

58

59

60
61

62

16

Order Lepidoptera (ต่อ)

63 64

65

66

67

ลักษณะเด่น : หนวดเป็นแบบกระบอง (clavate)

ลักษณะค่อย ๆ ขยายใหญ่ไปทางปลาย

(ที่มา : วัฒนา ศักดิ์ชูวงษ์, 2554)

17

Order Mantodea

อันดับ ตั๊กแตนตำข้าว (Mantis) ส่วนหัวเป็น
รูปสามเหลี่ยม ปากงุ้มลงไปด้านล่าง มีตารวม
ขนาดใหญ่ ส่วนอกยาว ขาหน้าเป็นขาแบบ
หนีบจับ ใช้สำหรับจับเหยื่อเป็นอาหาร
(วัฒนชัย, 2561)

ในการสำรวจอันดับนี้พบ 2 หมายเลข

68
femur
tibia
69
}

tibia
} } }femur
}
tibia } }femur
ลักษณะเด่น : ขาเป็นแบบขาหนีบ (grasping legs)
femur } ลักษณะขาคู่หน้าส่วนของ femur และ tibia ขยายใหญ่
แข็งแรง มีหนามเรียงเป็นแถวใช้หนีบจับเหยื่อ
tibia (ที่มา : วัฒนชัย, 2561)

18

Order Odonata

อันดับ แมลงปอ (Dragonflies, Damselflies)
มีส่วนหัวใหญ่มองเห็นได้ชัดเจน ตารวมมีขนาดใหญ่
ตาเดี่ยวมี 3 ตา ปากแบบกัดกินมีกราม (Mandible)
70 เห็นได้ชัดเจน หนวดสั้นแบบเส้นขน ส่วนอกเป็นสันนูน
กว่าส่วนหัวและท้อง ปีกทั้งสองคู่บางใส ส่วนท้องเป็น
รูปทรงกระบอกเรียวยาว แต่ค่อนข้างแบน ปล้องท้อง
เห็นได้ชัดประมาณ 10 ปล้อง (วัฒนชัย, 2561)

ในการสำรวจอันดับนี้พบ 9 หมายเลข

71

72

74
73

19

Order Odonata (ต่อ)

75

76

77
78

ลักษณะเด่น : มีตาใหญ่มาก ลำตัวเรียวยาวเหมือนเข็ม

(ที่มา : David Whiting, 2017)

ปากแบบกัดกิน

20

Order Orthoptera

79

อันดับ ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงกะชอน
(Grasshopperds, Cricketers, Mole Crickets)
ลักษณะลำตัวยาว ตารวมเจริญดี ปากแบบกัดกิน
ส่วนมาก Protonum เป็นแผ่นแข็งขนาดใหญ่ โค้งนูน
คล้ายโล่ห์ บางกลุ่มขาหลังมีขนาดใหญ่ พัฒนาไปเป็น
ขาแบบกระโดด บางพวกพัฒนาขาหน้าเป็นแบบขุด
ปลายส่วนท้องมีแพนหาง (วัฒนชัย, 2561)

ในการสำรวจอันดับนี้พบ 12 หมายเลข

80
81
Protonum

82 84

83

21

Order Orthoptera (ต่อ)

85 86

Protonum

87 88

90

89

ลักษณะเด่น : ปีกด้านหน้ามีลายคล้ายตาข่าย
ปีกด้านหลังบางใส กว้างเหมือนพัด ขาหลังมี
ขนาดใหญ่ใช้สำหรับกระโดด

(ที่มา : David Whiting, 2017)
22

ร้อยละแมลงที่พบในเกาะกก

จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างแมลง ทั้ง 5 ฐานใน

พื้นที่เกาะกก สวนพฤกษศาสตร์ระยอง พบแมลง

จํานวน 10 อันดับ (Order) 90 หมายเลข ฐานพืช

กินแมลงพบมากที่สุด (24%) รองลงมา ฐาน

สมุนไพร (22%) ฐานดินโป่ง (21%) ฐานพะยอม

(18%) และพบน้อยที่สุด คือ ฐานป่าหวาย (15%)

ดินโป่ ง พืชกินแมลง
21% 24%

ป่ าหวาย
15%

สมุนไพร
22%

พะยอม
18%

ร้อยละแมลงที่พบในเกาะกก สวนพฤกษศาสตร์ระยอง

23

บรรณานุกรม

ธงชัย พุ่มพวง (2561). หวาย พืชดั้งเดิมที่น่าส่งเสริมเป็นรายได้บนที่สูง. สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2565,
จาก https://www.technologychaoban.com

บุษบง กาญจนสาขา (2552). แนวทางการจัดทําโป่งเทียม. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สํานักอนุรักษ์สัตว์ป่า
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

วัฒนชัย ตาเสน. (2561). เทคนิคการสํารวจและวิจัยด้านกีฏวิทยาป่าไม้เบื้องต้น. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วัฒนา ศักดิ์ชูวงษ์. (2554). คู่มือการสํารวจความหลากหลายแมลง. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: สํานัก
วิจัย

การอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
สุรางค์ เธียรหิรัญ. (2559). คู่มือการเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพด้านแมลง. (พิมพ์ครั้งที่1).

กรุงเทพฯ: สํานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกใรพระบรมราชูปถัมภ์
Google maps. (2565). สวนพฤกษศาสตร์ระยอง. สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2565, จาก

https://www.google. com/maps.
David W. (2017). CMG gardenNotes #315 Key 2 - Key to Insects Order. สืบค้นวันที่ 19

พฤษภาคม 2565, จาก https://extension.colostate.edu

24

E-mail: [email protected]

ประวัติผู้เขียน

ดารินทร์ วงค์สิน

E-mail : [email protected]

ภานุวัตน์ แสงกล้า

E-mail : [email protected]

วณิชชา โกศรียบุตร

E-mail : [email protected]

แสงรวี ปะมาระตา

E-mail : [email protected]

โสภิดา ศรีสุราช

E-mail : [email protected]

25


Click to View FlipBook Version