The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารคำสอนเล่มนี้ ผู้เขียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้สอนจริงในช่วงการทำงานเป็นอาจารย์ปีแรก ณ สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเริ่มเรียบเรียงและปรับปรุงมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เพื่อให้มีเนื้อหาครบถ้วนและกระชับมากยิ่งขึ้น พร้อมการจัดเรียงหัวข้อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ของกระบวนวิชาวิทยาแร่ (Mineralogy) รหัสประจำวิชา TE-042-102 เป็นรายวิชาบังคับพื้นฐานทางธรณีวิทยาของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ระดับปริญญาตรี ปี 2561 สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีน้ำหนักภาคบรรยาย 3 หน่วยกิต และปฏิบัติการ 1 หน่วยกิต รวมทั้งสิ้น 4 หน่วยกิต รายวิชานี้มีเนื้อหาครอบคลุมนิยามของแร่ สมบัติของแร่ทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทางแสง มีการเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานทางผลึกศาสตร์ให้สัมพันธ์กับทฤษฎีสมบัติทางแสงเพื่อบ่งชี้การศึกษาศิลาวรรณนาของแร่และหินประเภทต่างต่าง อีกทั้งยังมีการอธิบายเชิงลึกในมิติของการจำแนกกลุ่มแร่ซิลิเกต ซึ่งเป็นแร่ประกอบหินที่สำคัญและแร่อื่นที่เกี่ยวข้องทั้งลักษณะทางกายภาพ เคมี และคุณสมบัติทางแสงสำหรับการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบโพลาไรซ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Geo Sustainability Club, 2021-05-07 11:01:49

วิทยาแร่ (Mineralogy)

เอกสารคำสอนเล่มนี้ ผู้เขียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้สอนจริงในช่วงการทำงานเป็นอาจารย์ปีแรก ณ สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเริ่มเรียบเรียงและปรับปรุงมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เพื่อให้มีเนื้อหาครบถ้วนและกระชับมากยิ่งขึ้น พร้อมการจัดเรียงหัวข้อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ของกระบวนวิชาวิทยาแร่ (Mineralogy) รหัสประจำวิชา TE-042-102 เป็นรายวิชาบังคับพื้นฐานทางธรณีวิทยาของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ระดับปริญญาตรี ปี 2561 สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีน้ำหนักภาคบรรยาย 3 หน่วยกิต และปฏิบัติการ 1 หน่วยกิต รวมทั้งสิ้น 4 หน่วยกิต รายวิชานี้มีเนื้อหาครอบคลุมนิยามของแร่ สมบัติของแร่ทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทางแสง มีการเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานทางผลึกศาสตร์ให้สัมพันธ์กับทฤษฎีสมบัติทางแสงเพื่อบ่งชี้การศึกษาศิลาวรรณนาของแร่และหินประเภทต่างต่าง อีกทั้งยังมีการอธิบายเชิงลึกในมิติของการจำแนกกลุ่มแร่ซิลิเกต ซึ่งเป็นแร่ประกอบหินที่สำคัญและแร่อื่นที่เกี่ยวข้องทั้งลักษณะทางกายภาพ เคมี และคุณสมบัติทางแสงสำหรับการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบโพลาไรซ์

Keywords: mineral,geology,silicate,microscopy

เอกสารคำสอนวิชาวิทยาแร่ 141

ทัลก์เป็นแร่ที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำเมื่อศึกษาภายใต้กล้อง
จุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา รูปผลึกขนาดเล็กจนถึงละเอียด เป็นเกล็ดและเส้นใย ไม่แสดงสี (รูปท่ี
10.5) และปรากฏแนวแตกเรียบสมบูรณ์ 1 ทิศทางชัดเจนตามคุณสมบัติของไมกาบนหน้าผลึก
{001} ทัลกม์ ผี ลกึ เป็นแกนแสงคู่แบบลบ และมีคา่ ดชั นีหักเหของแสง 3 คา่ คือ nX = 1.538-1.554,
nY = 1.575-1.599, nZ = 1.575-1.602 ทัลก์มีค่าไบรีฟริงเจนซ์อยูใ่ นช่วง 0.03-0.05 จึงทำให้เห็นสี
แทรกสอดในลำดับที่ 3 ตามแผนภูมิมิเชล-ลีวี แสดงการมืดแบบขนาน ปรากฏการแฝดแบบปกติ
หรือแบบขนานบนระนาบ {100} มีค่ามุมระหวา่ งแกนแสง (2V) ระหวา่ ง 0-30 องศา

ทัลก์เป็นแร่ทุติยภูมิ(secondary mineral) เกิดขึ้นโดยการแปรเปลี่ยนสภาพของสาร
แมกนีเซียมซิลิเกต เช่น โอลิวีน ไพรอกซีน และแอมฟิโบล ทัลก์ที่เป็นวาไรตีหินสบู่เกิดในหินแปร
เกรดต่ำ ในลักษณะเป็นก้อนเนื้อแน่น ซึ่งอาจพบเป็นองค์ประกอบอยู่เกือบทั้งหมดของมวลหิน
นอกจากนี้ยังพบเป็นองค์ประกอบของหินชีสต์ เรียกว่า หินทัลก์ชีสต์ (Talc schist) แหล่งที่สำคัญ
เชน่ สหรฐั อเมริกา สำหรบั ประเทศไทยพบทอ่ี ตุ รดิตถ์

ทัลกแ์ ละหินสบ่สู ่วนใหญ่ใชท้ ำแปง้ ผัดหนา้ และแป้งโรยตวั ลกั ษณะที่เป็นผงใชผ้ สมสี เซรา
มิกส์ ยาง และยาฆา่ แมลง เครอื่ งมงุ หลังคา กระดาษ และการฉาบเบา้ หล่อ สามารถใช้เป็นวตั ถุ
ตกแต่งได้ เชน่ ใช้แกะสลักเป็นของช้ินเล็กๆ

รูปที่ 10.5 ผลึกทัลก์และภาพถ่ายทัลก์จากการแปรเปลี่ยนของแร่อื่นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ
(ดดั แปลงจาก microckscopic.ro/minerals/silicates/phyllosilicates)
10.3 กลุม่ ไมกา (Mica Group)

กลุ่มแร่ไมกาหรือแร่กลีบหิน (flaky minerals) ประกอบด้วย ปิรามิดฐานสามเหลี่ยมที่จบั
ตัวกันเป็นแผ่นซิลิเกด (sheet silicate) โดยแต่ละปิรามิดมีการใช้ออกซิเจนร่วมกับปิรามิดอื่นสาม
ตัว จึงเหลือออกซิเจนอีกตัวที่ยังไม่สมดุล จึงมีสูตรทั่วไปว่า (Si4O10)n-4 แร่ไมกาที่สำคัญไดแ้ ก่ ไบโอ
ไทต์ โฟลโกไพต์ และมัสโคไวต์ โดยโฟลโกไพต์เป็นปลายสายของไบโอไทต์ที่มี Mg ในโครงสร้าง
แทนที่ Fe แตไ่ บโอไทตจ์ ะมที ั้ง Mg และ Fe แทนท่กี ันได้ ดังแสดงในรูปท่ี 10.6

| ดร.วมิ ลทิพย์ สิงห์เถื่อน | สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

142 เอกสารคำสอนวชิ าวิทยาแร่

รปู ท่ี 10.6 โครงสร้างผลึกและสว่ นประกอบทางเคมีของโฟลโกไพต์และมัสโคไวต์
10.3.1 ไบโอไทต์
ไบโอไทต์มีรูปผลึกระบบโมโนคลินิก (Monoclinic system) เป็นแผ่นบางซ้อนกันจนหนา
รูปหกเหลี่ยม บางทีก็มีลักษณะกลมและเป็นเกล็ดขนนก อาจจะมีผลึก ขนาดเล็กมากและมีเนื้อ
สมานแน่น แนวแตกเรียบสมบูรณ์มากจนผลึกจะถูกลอกออกเป็นแผ่นบางได้ แผ่นแร่จะโค้งงอได้
และกลับที่เดิมได้ ความแข็ง 2 2.5 ตามมาตราส่วนความแข็งของโมห์ ความถ่วงจำเพาะในช่วง
2.76-3.1 แสดงประกายวาวแบบแก้วและแบบใยไหมหรือแบบมุก โปร่งใสและไม่มีสีเมื่อเป็นแผ่น
บาง สำหรับแร่ท่ซี อ้ นกนั หนาจะโปร่งแสงและมีสีตา่ งกนั คือ สีเหลือง น้ำตาล เขียว และแดง ปรากฏ
แนวแตกเรียบสมบูรณ์ 1 ทิศทางชัดเจนตามคุณสมบัติของไมกาบนหน้าผลึก {001} และมีความ
โปรง่ แสง (รปู ที่ 10.7)

รูปที่ 10.7 ผลึกและภาพถ่ายของไบโอไทต์ในหินแกรนิตภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก
microckscopic.ro/minerals/silicates/phyllosilicates/biotite-thin-section)

ไบโอไทต์เป็นแร่ที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงปานกลางจึงทำให้เห็นรีลีฟปานกลางเมื่อศึกษา
ภายใต้กล้องจุลทรรศนแ์ บบแสงธรรมดา รูปผลึกรูปหกเหลี่ยม บางทีก็มีลักษณะกลมและเป็นเกล็ด

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สงิ หเ์ ถอื่ น | สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวชิ าวิทยาแร่ 143

แสดงสีน้ำตาลและการเปลี่ยนสี (รูปที่ 10.7) และปรากฏแนวแตกเรียบสมบูรณ์ 1 ทิศทางชัดเจน
ตามคณุ สมบัติของไมกาบนหนา้ ผลึก {001} ไบโอไทต์มผี ลกึ เปน็ แกนแสงคแู่ บบลบ และมคี ่าดัชนีหัก
เหของแสง 3 ค่า คือ nX = 1.522-1.625, nY = 1.548-1.696, nZ = 1.549-1.696 ไบโอไทต์มคี ่าไบ
รีฟรงิ เจนซอ์ ยู่ในช่วง 0.028-0.08 จึงทำใหเ้ หน็ สแี ทรกสอดในลำดบั ที่ 3 ตามแผนภมู ิมิเชล-ลีวี แสดง
การมืดแบบขนานและการมืดไมส่ นิทแบบตานก (bird's eye structure) ปรากฏการแฝดแบบปกติ
หรือแบบขนานบนระนาบ {100} มคี า่ มุมระหวา่ งแกนแสง (2V) ระหวา่ ง 0-25 องศา

ไบโอไทตเ์ ปน็ แร่ทีป่ ระกอบหินสำคัญตวั หน่งึ พบในหนิ อัคนจี ำพวกหินแกรนิต ไซอไี นต์ หิน
เพกมาไทต์ นอกจากน้ยี ังพบในหนิ แปรพวกไนสแ์ ละชสิ ต์ ในประเทศไทยพบทีน่ ครศรธี รรมราช และ
ในแหล่งหินแกรนิต เพกมาไทต์ทั่วประเทศ เป็นตัวแร่สำคัญทีพ่ บเสมอในทรายทั่วไปทำใหด้ ูวาววบั
สำหรบั ประโยชนใ์ ช้ทำเปน็ ฉนวนไฟฟ้า ทำเป็นวัตถุโปรง่ ใสในการทำตะเกียงและ เตา เศษของไมกา
ที่เหลือจากการทำฉนวนจะถูกนำมาใช้ทำกระดาษ ปิดฝาผนงั ทำให้ผนังมีความแวววาวข้ึน ใช้ผสม
กับนำ้ มนั ทำเปน็ ตัวหลอ่ ลน่ื เปน็ ตวั นำความรอ้ นท่ีเลวจงึ ใช้ทำวัตถุทนไฟ

10.3.2 มสั โคไวต์
มัสโคไวต์เป็นอีกหนึ่งแร่สำคัญในกลุ่มไมกา ที่มีระบบผลึกหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic
system) รปู ผลกึ ทัว่ ไปมักเป็นรูปแท่งปริซึมแบน (tabular) การเกาะกลุ่มกันของผลึกมักอยู่รวมกัน
เป็นแผ่นซอ้ นกนั มีเคา้ โครงคลา้ ยกับฟอร์มของหกเหลี่ยมหรือหกเหลีย่ มเทียม (psedohexagonal)
มัสโคไวต์มีสตู รทางเคมีคอื KAl2(AlSi3O10)(OH)2 (รปู ท่ี 10.6) ความถ่วงจำเพาะ 2.77 – 2.88 แสดง
สีขาว เทา เงิน ขาวอมน้ำตาล และขาวอมเขียว (รูปที่ 10.8) ความแข็ง 2 – 2.5 ตามมาตราส่วน
ความแข็งของโมห์ ประกายคล้ายแก้ว (vitreous) ปรากฏแนวแตกเรียบสมบูรณ์ 1 ทิศทางชัดเจน
ตามคุณสมบัตขิ องไมกาบนหนา้ ผลึก {001} มีคณุ สมบตั ิโปร่งใสถึงโปร่งแสง

รปู ท่ี 10.8 ผลึกและภาพถา่ ยของมัสโคไวตใ์ นหินเพกมาไทต์ภายใตก้ ล้องจุลทรรศนฯ์ (ดดั แปลงจาก
microckscopic.ro/minerals/silicates/phyllosilicates/biotite-thin-section)

| ดร.วมิ ลทิพย์ สิงห์เถ่อื น | สาขาวชิ าเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

144 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

มัสโคไวต์เป็นแร่ที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำถึงปานกลางจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำถึงปานกลาง
เมอ่ื ศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา รูปผลึกรปู หกเหลีย่ ม บางทกี ็มีลักษณะกลมและ
เป็นเกล็ด ไม่แสดงสี (รูปที่ 10.7) และปรากฏแนวแตกเรยี บสมบรู ณ์ 1 ทศิ ทางชดั เจนตามคุณสมบัติ
ของไมกาบนหนา้ ผลกึ {001}

มัสโคไวต์มีผลกึ เป็นแกนแสงคูแ่ บบลบ และมีค่าดัชนีหักเหของแสง 3 ค่า คือ nX = 1.552-
1.576, nY = 1.582-1.615, nZ = 1.587-1.618 มัสโคไวต์มีค่าไบรีฟริงเจนซ์อยู่ในช่วง 0.036-
0.049 จึงทำใหเ้ หน็ สแี ทรกสอดในลำดับที่ 3 ตามแผนภูมมิ เิ ชล-ลีวี แสดงการมดื แบบขนานและการ
มืดไม่สนิทแบบตานก (bird's eye structure) ปรากฏการแฝดแบบปกติหรือแบบขนานบนระนาบ
{100} มีคา่ มมุ ระหวา่ งแกนแสง (2V) ระหวา่ ง 28-47 องศา

มัสโคไวต์ในหินชิสต์นี้บางทีจะพบแร่เป็นเส้นใยขนาดเล็ก มีความวาวแบบใยไหม ซึ่งไม่ใช่
คุณสมบัติที่แท้จริงของมันเรียกว่าเซอริไซต์ ซึ่งเกิดจากการแปรเปลี่ยน (alteration) ของ
เฟลด์สปาร์ อาจเกิดจากการผุสลายของแร่อื่นได้ เช่น โทแพซ ไคยาไนต์ สปอดูมีน แอนดาลูไซต์
และสแคโพไลต์ (รูปที่ 10.9) ผลึกของมัสโคไวต์ในหินแกรนิตและเพกมาไทต์จะมีขนาดใหญ่และ
มกั จะเกิดอยู่รว่ มกับควอรตซ์และเฟลดส์ ปาร์ ทวั รม์ าลีน เบริล การเ์ นต อะพาไทต์ และฟลอู อไรต์

รูปที่ 10.9 ผลึกและภาพถ่ายของเซอริไซต์ในหินแกรนิตภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก
microckscopic.ro/minerals/silicates/phyllosilicates/biotite-thin-section)
10.4 กล่มุ คลอไรต์ (Chlorite Group)

คลอไรต์เป็นแร่ที่เกดิ อย่างแพร่หลายทั้งในขนาดมหภาคและขนาดของดนิ เหนยี ว ซึ่งเป็นซิ
ลิเกตอะลูมิเนียมไฮดรัสจับโครงสร้างร่วมกับแมกนีเซียมและเหล็ก คลอไรต์มีโครงสร้างชั้นซิลิเกต
คล้ายกับในไมกาที่มีองค์ประกอบใกล้เคียง (Mg,Fe,Al)3(Si,Al)4O10(OH)2 และมีสารเชื่อมพันธะ
ระหว่างชั้นคล้ายบรูไซต์ (interlayers brucite like) ที่มีองค์ประกอบใกล้ (Mg,Fe,Al)3(OH)6
องค์ประกอบโดยรวมคือ (Mg,Fe,Al)6(Si,Al)4O10(OH)8 แสดงสีขาวและสีขาว ความแข็ง 2 – 2.5
ตามมาตราสว่ นความแขง็ ของโมห์

| ดร.วิมลทิพย์ สงิ ห์เถอื่ น | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวชิ าวทิ ยาแร่ 145

คลอไรต์เป็นแร่ที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำถึงปานกลางจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำถึงปานกลาง
เม่อื ศึกษาภายใต้กล้องจลุ ทรรศน์แบบแสงธรรมดา รูปผลึกรปู หกเหลี่ยม บางทีก็มีลักษณะกลมและ
เป็นเกล็ด ไมแ่ สดงสี (รูปท่ี 10.7) และปรากฏแนวแตกเรยี บสมบูรณ์ 1 ทิศทางชดั เจนตามคณุ สมบัติ
ของไมกาบนหนา้ ผลึก {001} คลอไรต์มผี ลึกเป็นแกนแสงคูแ่ บบลบและบวก มีคา่ ดชั นหี กั เหของแสง
3 ค่า คือ nX = 1.55-1.67, nY = 1.55-1.69, nZ = 1.655-1.663 คลอไรต์มีค่าไบรีฟริงเจนซ์อยู่
ในช่วง 0.000-0.015 จึงทำให้เห็นสีแทรกสอดในลำดับที่ 1 สีน้ำเงินครามผิดปกติ (anomalous
blue) ตามแผนภูมิมิเชล-ลีวี แสดงการมืดแบบขนาน มีค่ามุมระหว่างแกนแสง (2V) แคบถึงปาน
กลางทร่ี ะหวา่ ง 0-60 องศา

คลอไรต์มีลักษณะเฉพาะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของแร่ธาตุอื่น พวกนี้เป็นแร่ที่ก่อตัว
เป็นหินทั่วไปในตะกอนที่จับตัวเป็นก้อน และในหินอัคนีที่แปรเปลี่ยนโดยสายน้ำแร่ร้อน คลอไรต์
เป็นองค์ประกอบทส่ี ำคัญและแพร่หลายของหินแปรจำพวกกรนี ชสิ ต์หรอื คลอไรต์ชีสต์

รูปที่ 10.10 ผลึกและภาพถ่ายของคลอไรต์ในหินแปรภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก
www.alexstrekeisen.it/english/meta/chlorite.php)

คำถามท้ายบท

1. จงอธิบายการจำแนกแร่ฟิลโลซิลเิ กตด้วยองค์ประกอบทางเคมี
2. หากเราตอ้ งการศึกษาและจำแนกแร่ดนิ อุปกรณ์หรอื เคร่อื งมอื ชนดิ ใดเหมาะสมทีส่ ุด
3. จงอธิบายวธิ ีการจำแนกไมกาภายใตก้ ลอ้ งจุลทรรศนแ์ บบโพลาไรซ์
4. หากนำหินแกบโบรและหินแกรนติ ที่มกี ารแปรเปลี่ยนสงู มาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศนฯ์

เราจะพบแรฟ่ ิลโลซลิ ิเกตตวั ใดบ้าง

| ดร.วิมลทิพย์ สงิ หเ์ ถื่อน | สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

146 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สงิ ห์เถ่ือน | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่ 147



บทท่ี 11 แรเ่ ทคโทซิลเิ กต

Chapter 11 Tectosilicates

| ดร.วิมลทิพย์ สิงหเ์ ถื่อน | สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

148 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สงิ ห์เถ่ือน | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่ 149

บทท่ี 11 แร่เทคโทซิลเิ กต

กลุ่มเทคโทซิลิเกต (Tectosilicates group) เป็นกลุ่มแร่ที่มีโครงสร้างที่แข็งแรงมากที่สุด
ในบรรดากลุ่มแร่ซิลิเกต ประกอบด้วยซิลิกอนเตตระฮีดรอนมาเกาะติดกันทุกทิศทาง ใช้อะตอม
ออกซิเจนรวมกนั หมดจนกระทัง่ ประจุลบและประจุบวกสมดุลกัน อัตราส่วน Si:O เป็น 1:2 ได้สูตร
โมเลกุลเป็น SiO2 โครงสร้างคล้ายรูปตาข่าย Si มักถูกแทนที่เป็นบางส่วนด้วย Al+3 ภายใน
โครงสร้างในอัตราสว่ น Si:Al เป็น 1:1 หรือ 1:3 ทำใหส้ ตู รเปล่ียนเป็น (AlSiO4) -1 หรอื (AlSi3O8) -1

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มแร่เทคโทซิลิเกต มักใส่ไม่มีสีหรือมีสีขาว สีเทาจาง ในกรณีไม่มี
มลทิน และมคี วามถ่วงจำเพาะต่ำ ซึ่งเป็นผลจากโครงสร้างภายใน แร่เทคโทซลิ เิ กตมมี ากมายหลาย
ชนดิ มากกว่ากลุม่ ซลิ ิเกตแบบอนื่ ๆ และเป็นแร่ประกอบหินที่สำคัญมาก ไดแ้ ก่

1) กล่มุ โพแทสเซียมเฟลดส์ ปาร์ (K-feldspar) มีสูตรเคมีเหมือนกันคือ KAlSi3O8 แตม่ ีโครงสร้าง
และคุณสมบัติทางกายและทางแสงที่แตกต่างกัน ได้แก่ ไมโครไคลน์ (Microcline) ออร์โธ
เคลส (Orthoclase) ซานดิ ีน (Sanidine) และอะนอรโ์ ธเคลส (Anorthoclase)

2) กลุ่มแพลจิโอเคลส (Plagioclase)

3) กลมุ่ ซลิ กิ า (SiO2) ไดแ้ ก่ ควอตซ์ ทรดิ ไี มต์ โคอีไซต์ ครสิ โตแบไรต์ สตโิ ชไวต์

4) กลมุ่ เฟลด์สปาทอยด์ (Feldspatoid Group)

ลไู ซต์ (Leucite) KAlSi2O6

เนฟิลนี (Nepheline) (Na,K)AlSiO4
โซดาไลต์ (Sodalite) Na8(AlSiO4)6Cl2

ลาซไู รต์ (Lazurite) (Na,Ca)8(AlSiO4)6(SO4,S,Cl)2

5) กลุ่มซโี อไลต์ (Zeolite Group)

นาโตรไลต์ (Natrolite) Na2Al2Si3O10•2H2O

ชบาไซต์ (Chabazite) CaAl2Si4O12•6H2O

สตลิ ไบต์ (Stilbite) NaCa2Al5Si13O36•17H2O

6) กลุ่มสแคโพไลต์ (Scapolite Group)

มาเรยี ไลต์ (Marialite) Na4(AlSi3O8)3(Cl2,CO3,SO4)

เมยโอไนต์ (Meionite) Na4(Al2Si2O8)3(Cl2CO3,SO4)

| ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถอ่ื น | สาขาวชิ าเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

150 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

11.1 กลุ่มโพแทสเซยี มเฟลดส์ ปาร์ (K-feldspar)
เฟลดส์ ปาร์ (Feldspar) หรือ แร่ฟนั ม้า เป็นแร่ประกอบหินท่ีพบมากถึง 50-60 % ของหิน

บนเปลือกโลก จัดเป็นแร่ตระกูลใหญ่ที่มสี ว่ นประกอบสุดท้ายหลากหลายมาก เฟลด์สปาร์เป็นแร่ที่
มีปริมาณธาตุอัลคาไลด์สูง ทำให้หลอมตัวที่อุณหภูมิต่ำจึงทำหน้าที่เป็นฟลักซ์ทำให้เกิดเน้ือแก้วยึด
เหนี่ยวเนื้อ ทำให้เกิดความแกร่งและความโปร่งใสของชิ้นงาน นอกจากนี้ยังหาได้ง่ายในธรรมชาติ
จดั เปน็ กลุ่มได้ 2 กลุ่มตามชนดิ ของส่วน โพแทสเซยี มเฟลดส์ ปาร์ มีปริมาณ K2O อย่ไู ม่น้อยกว่า 8
% โซเดียมเฟลด์สปาร์ มีปริมาณ Na2O ไม่น้อยกว่า 7 % เฟลด์สปาร์ผสม มีปริมาณ K2O < 8 %
และ Na2O < 7 % แร่กลุ่มนี้ประกอบด้วยไมโครไคลน์ ออร์โธเคลส ซานิดีส และอะนอร์โธเคลส มี
โครงสร้างและคุณสมบัติทางกายและทางแสงที่แตกต่างกัน แต่ส่วนประกอบทางเคมี KAlSi3O8
เหมือนกันยกเวน้ อะนอร์โธเคลส NaAlSi3O8

รูปที่ 11.1 แผนภาพสามเหลี่ยมจำแนกอัลคาไลน์เฟลด์สปาร์ (ดัดแปลงจาก Panchuk, 2018;
Klein & Hurlbut, 1993)

โพแทสเซยี มเฟลด์สปาร์มรี ะบบผลึกในระบบหนง่ึ แกนเอียง (Monoclinic system) ยกเว้น
ออร์โธเคลสที่อยู่ในระบบสามแกนเอียง (Triclinic system) แร่กลุ่มนี้มีความแข็ง 6 - 6.5 ตาม
มาตราสว่ นความแขง็ ของโมห์ ความถ่วงจำเพาะ 2.55 - 2.76 มกั เกิดเปน็ แทง่ แสดงสไี ด้หลากหลาย
ทั้งสีขาว สเี ทา สเี หลืองจาง สชี มพู และสเี ทาเขม้ และ ประกายแกว้ และมีคุณสมบัตโิ ปร่งใสถึงโปร่ง
แสง แสดงแนวแตกเรบี บสองทศิ ทางชดั เจน อีกทั้งยังแสดงการแฝดและการเล่นแสงและเหลอื บแสง

| ดร.วมิ ลทิพย์ สงิ หเ์ ถอ่ื น | สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวชิ าวิทยาแร่ 151

อัญมณีที่อยู่ในกลุ่มคือ 1) แอมะซอนไนต์ (Amazonite) ที่เป็นไมโครไคลน์ แสดงสีเขียว
อ่อนปนเหลืองหรือเขียวอมฟ้า มักแสดงแนวเส้นสีขาวเล็ก ๆ ตัดกันเป็นตาข่ายและมีการเหลือบ
แสงเล็กน้อย 2) มูนสโตน (Moonstone) หรือมุกดาหารไม่มีสี มีลักษณะเหลือบแสงสีขาวไปจนถึง
เหลืองออ่ นหรือฟ้าอมเทา เคลอื่ นไปมาบนผวิ อัญมณที ่ีเจยี ระไนหลงั เบย้ี เกดิ จากการรบกวนกันของ
แสงที่สะท้อนจากโครงสร้างภายในที่มี ออร์โทเคลส (Orthoclase) มีสีเหลืองอ่อน และแอลไบต์
(Albite) เป็นช้นั บางมากสลบั กนั อยู่

โดยทั่วไปมีความต้องการโพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ในอุตสาหกรรมเซรามิกมากกว่าโซเดียม
เฟลด์สปาร์ ทง้ั น้เี พราะโพแทสเซียมเฟลด์สปาร์เมื่อหลอมแลว้ ได้ความหนืดสูงกว่าและเปลี่ยนแปลง
ลดลงเล็กน้อย เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น จึงเป็นผลให้รูปทรงของชิ้นงานอยู่ตัวไม่บิดเบี้ยวในช่วงการเผา
โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า จำเป็นต้องใช้โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์เกรดสูง เพราะต้องการ
คุณสมบตั ิความเป็นฉนวนไฟฟ้า (โพแทสเซยี มเฟลด์สปารม์ ีความนำไฟฟา้ ต่ำ)

แร่เทคโทซลิ เิ กตเป็นชดุ แร่ท่ีตกึ ผลึกในลำดับชุดท้ายตามชุดปฏิกิรยิ าโบเวน จึงทำให้ได้เห็น
การเกิดร่วมกันของแรเ่ ฟลด์สปาร์และซิลิกาดังแสดงในรูปที่ 11.2 อีกทั้งยังสามารถมีการแทนทีก่ นั
ได้ของโซเดยี มและโพแทสเซยี มในอลั คาไลนเ์ ฟลด์สปาร์

รูปที่ 11.2 แผนภาพการเกิดร่วมกันของแร่อัลคาไลน์เฟลด์สปาร์และกลุ่มแร่ซิลิกา (ดัดแปลงจาก
www.serc.carleton.edu/research_education/equilibria/binary_diagrams.html)

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สงิ หเ์ ถอ่ื น | สาขาวชิ าเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

152 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

แร่กลุ่มน้ีมีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำเมื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์
แบบแสงธรรมดา ค่าดัชนีหักเหของแสง 3 ค่า คือ nX = 1.514-1.526, nY = 1.518-1.530, nZ =
1.521-1.533 มักแสดงรปู ผลกึ แบบแท่งหรือแผ่นหนาที่ไมแ่ สดงสี (รูปที่ 11.3) และปรากฏแนวแตก
เรยี บสมบูรณ์ 2 ทิศทางใน {001} และ {010} โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์มีผลึกเป็นแกนแสงคู่แบบลบ
มีค่าไบรีฟริงเจนซ์อยู่ในช่วง 0.005-0.008 จึงทำให้เห็นสีแทรกสอดต่ำในลำดับที่ 1 สีขาวเทา ตาม
แผนภมู ิมเิ ชล-ลีวี การจำแนกแร่อัลคาไลนเ์ ฟลด์สปาร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์สามารถจำแนกได้จาก
การแฝดและการกำเนิดดังแสดงในรูปที่ 11.3 และ 11.4 ไมโครไคลน์ แสดงการแฝดแบบตาราง
(grid twin) พบในหินอัคนีสีจางแทรกซอนพวกแกรนิตและเพกมาไทต์ อาจพบในหินแปรเกรดสูงท่ี
หินเดิมเป็นเพไลต์ อะนอร์โธเคลส แสดงการแฝดแบบตาราง พบในหินภูเขาไฟสีจาง ออร์โธเคลส
แสดงการแฝดอย่างง่าย (simple twin) ผลึกออร์โทเคลสมักมีผลึกโซเดียมแพลจิโอเคลส เกิดร่วม
อยู่ด้วยในรูปแบบเพอร์ไทต์ (perthite) เนื่องมาจากการแยกออกจากกัน (exsolution) ของ
ส่วนประกอบทางเคมีภายใต้โซลวัส (solvus curve) ผลึกโซเดียมแพลจิโอเคลสจะเป็นรูปร้ิว
(lamellae/guest/daughter) โดยวางตัวขวางแท่งออร์โทเคลส (host/parent) พบในหินอัคนีสี
จางแทรกซอนพวกแกรนิตและเพกมาไทต์ อาจพบในหินแปรเกรดสูงที่หินเดิมเป็นเพไลต์ ซานิดีส
แสดงการแฝดอย่างง่าย พบเป็นแรด่ อกในหนิ ภูเขาไฟสีจางถึงสีปานกลาง

รูปที่ 11.3 ภาพถ่ายออร์โธเคลสในหินแกรนิตภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก
microckscopic.ro/minerals/silicates/tectosilicates/microcline-thin-section)

รูปที่ 11.4 ภาพถ่ายไมโครไคลน์ในหินไดออไรต์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก
microckscopic.ro/minerals/silicates/tectosilicates/ orthoclase-thin-section)

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สงิ ห์เถือ่ น | สาขาวชิ าเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวชิ าวทิ ยาแร่ 153

11.2 กลมุ่ แพลจโิ อเคลส (Plagioclase)

แพลจิโอเคลสจะเกิดในลักษณะที่เรียกว่าสารละลายของแข็ง (Solid solution) แพลจิโอ
เคลสมีการแทนที่ของโซเดียม (Na) และ แคลเซียม (Ca) ในโครงสร้างผลึกที่อุณหภูมิที่แตกต่างกนั
ดังแสดงในรูปที่ 11.5 และสามารถจำแนกออกเป็น 6 กลุ่มตามสัดส่วนของแคลเซียมและโซเดียม
หรอื ปรมิ าณอะนอร์ไทต์ (Anorthite (An) - content) โดยที่ An-content = (Ca/Na+Ca)*100

อะนอรไ์ ทต์ (anorthite) CaAl2Si2O8 มปี ริมาณอะนอรไ์ ทต์ 90 - 100
มีปริมาณอะนอรไ์ ทต์ 70 - 90
ไบทาวไนต์ (bytownite) (Ca,Na)(Si,Al)4O8 มีปริมาณอะนอรไ์ ทต์ 50 - 70
มีปรมิ าณอะนอร์ไทต์ 30 - 50
แลบราดอไลต์ (labradolite) (Ca,Na)(Si,Al)4O8 มีปรมิ าณอะนอร์ไทต์ 10 - 30
มปี ริมาณอะนอรไ์ ทต์ 0 - 10
แอนดีซนิ (andesine) (Ca,Na)(Si,Al)4O8

โอลิโกเคลส (oligoclase) (Ca,Na)(Si,Al)4O8

แอลไบต์ (albite) NaAlSi3O8

แพลจิโอเคลสมีรูปผลึกระบบไทรคลินิก (Triclinic system) อาจจะเกิดเป็นผลึกแฝด ตรง
ผิวหนา้ ผลกึ หนา้ หนงึ่ หรือทั้งหน้าตรงข้าม จะมรี อ่ งขนานถี่ (striation) เห็นได้ชดั มากมาย มีท้ังชนิด
เน้ือสมานแนน่ หรือเกิดเปน็ มวลเมลด็ ในหนิ อัคนี แนวแตกเรยี บ 2 แนวเอยี งทำมมุ กัน ความแข็งของ
แพลจิโอเคลสคอื 6 ตามมาตราส่วนความแข็งของโมห์ ความถว่ งจำเพาะของแอลไบต์คือ 2.62 และ
จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีแคลเซียมสูง ซึ่งความถ่วงจำเพาะของอะนอร์ไทต์จะสูงที่สุด 2.76 สีอาจเป็นสีขาว
เทา เขยี ว เหลือง แดงเขม้ หรอื ไม่แสดงสี วาวคลา้ ยแก้วและคล้ายมุก เนือ้ ผลกึ มีลกั ษณะโปร่งใสถึง
โปรง่ แสง อาจจะเล่นสไี ดด้ ้วยโดยเฉพาะแพลจิโอเคลสชนิดแลบราโดไรตแ์ ละแอนดีซีน

รูปท่ี 11.5 แผนภาพแสดงการเกดิ แพลจิโอเคลสระหวา่ งสัดส่วนของอะนอร์ไทต์และแอลไบต์

| ดร.วมิ ลทิพย์ สงิ หเ์ ถื่อน | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

154 เอกสารคำสอนวชิ าวิทยาแร่

แพลจิโอเคลสมีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำเมื่อศึกษาภายใต้กล้อง
จุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา ค่าดัชนีหักเหของแสง 3 ค่า คือ nX = 1.527-1.577, nY = 1.531-
1.585, nZ = 1.534-1.590 มักแสดงรูปผลึกแบบแท่งหรือแผ่นหนาที่ไม่แสดงสี (รูปที่ 11.6) และ
ปรากฏแนวแตกเรียบสมบูรณ์ 2 ทิศทางใน {001} และ {010} แพลจิโอเคลสมีผลึกเป็นแกนแสงคู่
แบบบวกและลบ มีค่าไบรีฟริงเจนซ์อยู่ในช่วง 0.007-0.013 จึงทำให้เห็นสีแทรกสอดต่ำในลำดับที่
1 สีขาวเทา ตามแผนภูมิมเิ ชล-ลวี ี แพลจโิ อเคลสมกั แสดงหนา้ ผลึกบางหนา้ และแสดงการแฝดแบบ
ซ้ำซ้อน (polysynthetic twin) ผลึกแฝดเหล่านี้มีมุมมืดที่สัมพันธ์กับส่วนประกอบทางเคมี โดยมี
มุมมืดแปรผันตามปริมาณของแคลเซียม แพลจิโอเคลสที่มีปริมาณของแคลเซียมสูงจะมีมุมมืดสูง
ดังแสดงในรูปที่ 11.7

รูปที่ 11.6 ภาพถ่ายแพลจิโอเคลสแสดงการแฝดแบบซ้ำซ้อนภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลง
จาก microckscopic.ro/minerals/silicates/tectosilicates/plagioclase-thin-section)

รูปที่ 11.7 แผนภาพแสดงมุมมืดที่สัมพันธ์กับส่วนประกอบทางเคมีของแพลจิโอเคลส (ดัดแปลง
จาก www.unouda.tk/16560/michel-levy-chart.html/michel-levy-chart-3)

| ดร.วิมลทิพย์ สิงหเ์ ถอื่ น | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวิชาวิทยาแร่ 155

โซเดียมแพลจิโอเคลสที่ติดอยูก่ ับแอลคาไลเฟลด์สปาร์อาจมกี ารทำปฏิกริ ิยากนั แล้วมีเศษ
ซลิ กิ า (SiO2) หลงเหลอื อยู่ กลายเปน็ รว้ิ ควอตซร์ ูปตัวหนอน (หลายตวั ) ฝังตัวอยู่ในบริเวณขอบของ
ผลึกแพลจโิ อเคลส (myrmekithic texture) รปู ผลึกแฝดของแพลกจิโอเคลสอาจตอบสนองต่อแรง
ที่มากระทำต่อหิน ทำให้เกิดการโค้งงอ (folded twin) หรือมีการหักงอ (kink band) ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กบั สภาวะพลาสติกของหินและแร่ แพลจิโอเคลสในหินแกรนิตอาจมีปรมิ าณอนอร์ไทต์อยู่ในช่วง 5-
30 หรืออยู่ในช่วงแอลไบต์ถึงโอลโิ กเคลส ส่วนแอนดซี ินอยู่ในหินแอนดีไซตห์ รือหินไดออไรต์ แพลจิ
โอเคลสตั้งแต่แลบราดอไลต์ขึ้นไปอยู่ในหินแกบโบร และหินอัลตราเมฟิก ตามลำดับ อีกทั้งยัง
สามารถพบเป็นแร่ประกอบหินในหินแปรและหินช้ันได้อีกดว้ ย แพลจิโอเคลสจะมีการเปล่ียนสภาพ
เปน็ แร่ดิน เซอรไิ ซต์ เอพิโดต คลอไรต์ แคลไซต์ หรอื พัมเพลลิไอต์

แพลจิโอเคลสถูกใชป้ ระโยชน์น้อยกว่าโพแทชเซียมเฟลด์สปาร์ แอลไบต์ใชใ้ นอุตสาหกรรม
เคร่ืองเคลือบดินเผาเช่นเดียวกบั ออรโ์ ธเคลส แลบราโดไรต์ถูกนำมาขัดทำหนิ ประดับเพราะเล่นสีได้
ชนิดที่แสดงคุณสมบัติคล้ายโอปอล์ (Opalescence) สามารถนำมาเจียระไนเป็นพลอยประดับได้
เช่น แอลไบต์ชนิดดีเจียระไนได้สวยงาม เรียกว่า มูนสโตน (Moonstone) โอลิโกเคลสที่มีฮีมาไทต์
อยใู่ นตัวของมันมองคลา้ ยเกล็ดสที อง เรยี กว่า อะเวนจรู นี โอลโิ กเคลส หรือทรายทอง (Sunstone)
11.3 กลมุ่ ซิลกิ า (SiO2)

ซิลิกอนไดออกไซด์หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ซิลิกา นั่นคือสารประกอบระหว่างออกไซด์
และซิลิกอนรวมตวั กันเป็นสูตรทางเคมคี ือ SiO2 และเปน็ ท่รี ู้กันต้ังแตส่ มัยโบราณถึงความแข็งแกร่ง
ของมัน ซิลิกาเป็นสารประกอบที่มีจำนวนมากโดยทั่วไปบนเปลือกโลก มักพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ
อาจในรูปของควอตซ์ แต่สามารถเกิดเป็นแร่อื่นได้แบบพหุผลึก (polymorph) ได้ที่อุณหภูมิและ
ความดนั แตกตา่ งกนั เชน่ ควอตซ์ ทริดีไมต์ โคอีไซต์ ครสิ โตแบไรต์ สติโชไวต์ ดังแสดงในรปู ที่ 11.8

รปู ที่ 11.8 แผนภาพแสดงการเกดิ พหผุ ลึกของซิลิกาที่อณุ หภมู ิและความดนั แตกต่างกัน (ซา้ ย) และ
คณุ สมบัตขิ องพหุผลกึ ซิลิกาแตล่ ะชนดิ (ขวา)

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สิงหเ์ ถอื่ น | สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

156 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

ในบรรดาแร่ซิลกิ าทั้งหมด ควอตซ์หรือ "แร่เขี้ยวหนุมาน" เป็นแร่ทีพ่ บมากทีส่ ดุ ในโลกเปน็
อันดับที่สองรองจากเฟลด์สปาร์ ควอตซ์เป็นแร่ในระบบผลึกสามแกนราบ (Hexagonal system)
ควอตซม์ ีทั้งโปรง่ ใสจนถึงทึบแสงแลมมี ากมายแทบจะทุกสีท้งั ขาว เทา ชมพู แดง ม่วง เหลือง เขยี ว
และไมแ่ สดงสี (รปู ที่ 11.9) ควอตซ์จงึ นยิ มในวงการอัญมณีและเครื่องประดบั ควอตซม์ ีคา่ ความแข็ง
ที่ 7 ตามมาตราส่วนความแข็งของโมห์ นอกจากนี้ควอตซ์ยังมีคุณสมบัติพิเศษคือมีไฟฟ้าที่เกิดจาก
การกดดันทางกลไกทีม่ ีตอ่ ผลกึ (piezoelectric) อกี ทง้ั ยงั แสดงการแตกคล้ายฝาหอย

รูปที่ 11.9 ผลึกควอตซ์ที่มีสีและชื่อเรียกแตกต่างกัน (ดัดแปลงจาก www.amazon.com/Jovivi-
Ornament-Crystals-Decoration-Figurine/dp/B07C8953G2)

ลักษณะของผลึกทำให้ควอตซ์ถกู แบ่งออกเปน็ 3 ประเภท ได้แก่
1) แบบผลึกเดี่ยว Single Quartz หรือ Crystalline Quartz เป็นผลึกที่มีการเรียงตัวกัน
อย่างมีระเบียบ มีชื่อเรียกต่างกันไปตามสีที่พบ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต นาฬิกา,
เลนส์ และอปุ กรณ์ควบคุมความถ่ีของคลืน่ วิทยุ ท่ีร้จู กั และนิยมในท้องตลาดก็คือ ควอตซ์สีเหลอื ง ท่ี
เรยี กว่า ซิทรนี (Citrine) และสีมว่ งทีเ่ รียกว่า แอเมทสิ ต์ (Amethyst)
2) แบบ Microcrystalline ประกอบด้วยกลุ่มผลึกขนาดเล็กไม่สามารถมองเหน็ รูปผลึกได้
ด้วยตาเปล่า เช่น หนิ ตาเสอื (Tiger's eye) ทค่ี นไทยเรยี กว่า คดไมส้ ัก เป็นตน้
3) แบบ Cryptocrystalline Quartz หรอื ท่เี รียกวา่ คาลเซโดนี Chalcedony เป็นควอตซ์
ที่มีผลึกเล็กละเอียดรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ต่างจากแบบ Microcrystalline คือเป็นผลึกขนาด

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สงิ ห์เถือ่ น | สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่ 157

เล็กมารวมกัน ไม่ใช่กลุ่มผลึก มีลักษณะเล็กกว่ากลุ่มผลึกนั่นเอง เช่น เจสเปอร์ เลือดพระลักษณ์
(Bloodstone) และอาเกท เป็นตน้

ควอตซม์ ีคา่ ดัชนีหักเหของแสงตำ่ จึงทำให้เห็นรีลีฟตำ่ เมื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบ
แสงธรรมดา ควอตซม์ ผี ลึกแบบแกนแสงเด่ยี วแบบบวก และมีค่าดชั นีหักเหของแสง 2 คา่ คือ nO =
1.544 และ nE = 1.553 มักแสดงรูปผลึกแบบเม็ดที่ไม่แสดงสี (รูปที่ 11.10) ควอตซ์มีค่าไบรีฟริง
เจนซ์อยู่ในช่วง 0.009 จึงทำให้เห็นสีแทรกสอดต่ำในลำดับที่ 1 สีขาวเทา ตามแผนภูมิมิเชล-ลีวี
และแสดงการมดื แบบขนาน

รูปที่ 11.10 ภาพถ่ายควอตซ์ในหินแปรควอตไซต์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก
www.microckscopic.ro/minerals/silicates/tectosilicates/quartz-thin-section)

ทรดิ ีไมต์เปน็ แร่ในระบบผลึกสองแกนตา่ ง (Orthorhombic system) ชนิดแกนแสงคู่แบบ
บวกและมีค่าดัชนีหักเหของแสง 3 ค่า คือ nX = 1.468-1.482, nY = 1.470-1.484, nZ = 1.474-
1.486 เนื่องจากมีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำแบบลบเมื่อศึกษาภายใต้กล้อง
จุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา มักแสดงรูปผลึกแบบกึ่งหกเหลี่ยมและเกาะกลุ่มเป็นรัศมีที่ไม่แสดงสี
(รูปที่ 11.11) ทริดีไมต์มีค่าไบรีฟริงเจนซ์อยู่ในช่วง 0.002-0.004 จึงทำให้เห็นสีแทรกสอดต่ำใน
ลำดับที่ 1 ตามแผนภูมิมิเชล-ลีวี และแสดงการมืดแบบขนาน มีมุมระหว่างแกนแสงเท่ากับ 40-90
องศา แร่นจี้ ะเกดิ ในหนิ ภเู ขาไฟสีจางถึงปานกลางท่ีแกว้ ภเู ขาไฟ (Obsidian) เปล่ยี นกลับมาเป็นแร่

คริสโตแบไรต์เป็นแร่ในระบบผลึกสองแกนราบ (Tetragonal system) ที่ประกอบด้วย
แกนแสงเดี่ยวแบบลบ และมีค่าดัชนีหักเหของแสง 2 ค่า คือ no =1.486-1.488 และ nE = 1.482-
1.484 เนื่องจากมีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำแบบลบเมื่อศึกษาภายใต้กล้อง
จุลทรรศนแ์ บบแสงธรรมดา มักแสดงรปู ผลึกแบบกึง่ แปดเหลีย่ มและเกาะกลุ่มเป็นรศั มีรว่ มกบั โพแท
ซเซยี มเฟลดส์ ปาร์ ไม่แสดงสี (รปู ที่ 11.11) คริสโตแบไรต์มคี ่าไบรีฟริงเจนซอ์ ยใู่ นชว่ ง 0.002-0.004

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สงิ ห์เถื่อน | สาขาวชิ าเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

158 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

จึงทำใหเ้ ห็นสแี ทรกสอดตำ่ ในลำดบั ท่ี 1 ตามแผนภมู มิ เิ ชล-ลวี ี และแสดงการมดื แบบขนาน แร่ชนิด
น้จี ะเกดิ ในหินภูเขาไฟสีจางถงึ ปานกลางที่แก้วภเู ขาไฟ (Obsidian) เกดิ การเปลี่ยนกลบั มาเป็นแร่

รูปที่ 11.11 ภาพถ่ายทริดีไมต์ (ซ้าย) คริสโตแบไรต์ (ขวา) ในหินภูเขาไฟภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ
(ดัดแปลงจาก www.alexstrekeisen.it/english/vulc/spherulites.php)

ควอตซ์แบบปฐมภูมิตกผลึกเป็นลำดับหลังสุดเมื่อเทียบกับแพลจิโอเคลสและแอลคาไล
เฟลด์สปาร์ จึงเกิดขึ้นในช่องว่างระหว่างผลึกท่ีเกิดก่อน ทำให้ควอตซ์พัฒนารูปรา่ งตามช่องว่างที่มี
อยู่และมักเกิดเป็นกลุ่มแร่ (aggregate) ผลึกควอตซ์จึงเป็นแบบไม่แสดงหน้าผลึก (anhedral)
และมีรอยต่อระหว่างผลึกแบบเป็นรอยหยัก (consertal texture) ผลึกควอตซ์ปฐมภูมิตกผลึกใน
สิ่งแวดล้อมเดียวกับแร่ที่ตกผลึกก่อนจึงมีขนาดของผลึกเท่ากับแร่อื่นที่ตกผลึกในช่วงที่เย็นตัวมา
จากแมกมา นอกจากนย้ี ังสามารถพบควอตซ์ได้ในหนิ แปรและหินตะกอนเกือบทุกชนิด

ควอตซ์ทุติยภูมิเกิดข้ึนภายหลังมักมีขนาดของผลึกแตกต่างจากผลึกปฐมภมู ิ โดยเกิดได้ทง้ั
แบบผลึกเดี่ยวหรือกลุ่มผลึก ในกรณีที่เป็นกลุ่มควอตซ์จะมีรอยต่อระหว่างผลึกเรียบ โดยมีแนว
รอยต่อระหว่างผลึกควอตซ์ 3 ผลึกทำมุมกัน 120 องศา ควอตซ์เป็นแร่ที่อ่อนไหวต่อแรงเค้น ถ้า
หนิ แกรนติ ถกู แรงมากระทำมักทำให้ควอตซ์มีแกนผลึกบิดเบี้ยว ทำใหแ้ สดงการมืดแบบไม่พร้อมกัน
ทั้งผลึก (undulatory extinction; undulose quartz) หรือเกิดการตกผลึกใหม่ (recrystallize)
เปน็ ควอตซ์ทุตยิ ภูมิ ควอตซเ์ ปน็ แรท่ ีม่ เี สถยี รภาพของสว่ นประกอบในสภาวะบนพืน้ ผิวโลก ทำให้ไม่
เกิดการเปลี่ยนสภาพไปเป็นแร่อื่น

แร่ควอตซ์ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ กันมากมาย เช่น ควอตซ์สีม่วง ควอตซ์สี
ชมพู ควอตซ์สคี วนั ไฟ แกว้ ตาเสอื อะเวนจรู ีน คารเ์ นเลยี น อะเกต และโอนกิ ซ์ ใชเ้ ปน็ รัตนชาติและ
หินประดับ ควอตซ์ที่อยู่ในรูปของทรายถูกนำมาใช้ผสมทำคอนกรีต ทำครก ใช้เป็น flux และวัสดุ
สำหรับขัดสี (abrasive) ในอุตสาหกรรมแก้วและอิฐ ควอตซ์ที่เป็นผงใช้ทำเครื่องเคลือบ
(porcelain) เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องหิน เครื่องลายคราม และการผลิตพาร์ตแลนด์ซีเมนต์
และยงั ใชผ้ ลติ กระดาษทราย สบู่ และเติมลงไปในไม้ (wood filter) สำหรับควอตไซต์และหินทราย
ถูกใช้เป็นหินก่อสร้าง และทำอิฐปูทางเท้า นอกจากจะใช้เป็นรัตนชาติ และใช้ในอุตสาหกรรมอ่ืน

| ดร.วมิ ลทิพย์ สงิ ห์เถ่ือน | สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

เอกสารคำสอนวชิ าวทิ ยาแร่ 159

แล้ว ควอตซ์ยังถูกนำไปใชท้ ำเครื่องมอื วทิ ยาศาสตรแ์ ละเคร่อื งมือทางแสงอีกด้วย โดยนำไปทำเลนส์
และปริซึม และด้วยความโปร่งใสต่อแสงอลั ตราไวโอเลตทำให้ควอตซ์เหมาะท่ีจะนำมาทำเป็นเลนส์
ของกล้องจุลทรรศน์อีกด้วย การมีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นในควอตซ์ (เช่นเดียวกับทัวร์มาลีน) จึงถูก
นำมาใช้ควบคุมความถค่ี ลื่นวิทยุ ควบคมุ ความเทีย่ งตรงของนาฬิกากันน้ำที่เรียกว่า นาฬกิ าควอตซ์
11.4 กล่มุ เฟลดส์ ปาทอยด์ (Feldspatoid Group)

เฟลด์สปาทอยด์เป็นแร่เฟลด์สปาร์ที่เป็นสารละลายที่ไม่อิ่มตัวด้วยซิลิกา (under
saturated silica) มีโครงสร้าง ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติต่างจากเฟลด์สปาร์ แร่กลุ่มนี้
มักเกิดในหินอัคนีจำพวกอัลคาไลน์สูงและไม่พบในหินที่มีควอตซ์หลัก ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มแร่ท่ี
คอ่ นข้างหายากในธรรมชาติ แร่ทีส่ ำคญั และพบได้มากที่สุดในกลมุ่ น้ีคือลวิ ไซต์และเนฟิลนี

ลูไซต์ (Leucite) มีสูตรเคมีทั่วไปคือ KAlSi2O6 จัดเป็นกลุ่มซิลิกาไม่อิ่มตัวที่ประกอบด้วย
โพแทสเซยี มและอลมู ิเนียม ทัว่ ไปมีรูปผลกึ แบบของลูกบาศก์หรอื ก่ึงลูกบาศก์ ลไู ซตเ์ ป็นแร่ในระบบ
สองแกนราบ (Tetragonal system) ผลึกมีลักษณะที่ซับซ้อนมาก ส่วนมากผลึกมีสีขาวหรือสีเทา
(รูปที่ 11.12) มีความโปร่งใสและเหมือนแก้ว ความแข็ง 5.5 ตามมาตราส่วนความแข็งของโมห์
ความถว่ งจำเพาะ 2.47 เนื่องจากสีและรูปแบบของผลกึ จงึ เป็นทร่ี ้จู กั กนั ในยุคแรกวา่ 'โกเมนสขี าว'

รูปที่ 11.12 ผลึกและภาพถ่ายภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ ของลูไซต์ในหินอัคนีสีเข้ม (ดัดแปลงจาก
www.microckscopic.ro/minerals/silicates/tectosilicates/leucite-thin-section)

ลูไซต์มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำแบบลบเมื่อศึกษาภายใต้กล้อง
จลุ ทรรศนแ์ บบแสงธรรมดา เนอ่ื งจากมคี ่าดัชนีหกั เหของแสง 2 ค่า คอื nO = 1.508-1.511 และ nE
= 1.509-1.511 ลูไซต์มีผลึกแบบแกนแสงเดีย่ วแบบบวก มักแสดงรูปผลึกแบบเม็ดที่ไม่แสดงสี (รูป
ท่ี 11.12) ควอตซม์ ีคา่ ไบรีฟริงเจนซ์อยูใ่ นช่วง 0.001 จึงทำให้เห็นสีแทรกสอดตำ่ ในลำดบั ที่ 1 สีเทา
ตามแผนภูมิมิเชล-ลีวี และแสดงการมืดแบบขนาน บางผลึกแสดงลักษณะมืดคล้ายไอโซทรอปิก
แสดงการแฝดแบบตาราง (รปู ที่ 11.12) ลูไซตเ์ กดิ ในหินอัคนีสเี ข้มทมี่ ีโพแทซเซียมสูง

| ดร.วิมลทิพย์ สงิ หเ์ ถอื่ น | สาขาวชิ าเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

160 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

เนฟิลีน (Nepheline) มีสูตรเคมีทั่วไปคือ (Na,K)AlSiO4 ที่ซิลิกาและอะลูมินาต่ำกว่าปกติ
ผลึกเนฟิลีนเป็นผลึกที่หายากและอยู่ในระบบสามแกนราบ (Hexagonal system) โดยปกติจะมี
รูปแบบสั้น ปริซึมหกเหลี่ยมไปตามแนวฐานผลึก ความไม่สมมาตรที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมชาติ
สามารถเห็นได้ชัดเจน ยังสามารถพบในเนื้อที่แน่นเม็ดเล็กที่รวมตัวกันและแสดงสีขาว เหลือง เทา
เขยี ว และแดง ความแข็ง 5.5 – 6 ตามมาตราสว่ นความแข็งของโมห์ ความถว่ งจำเพาะ 2.56-2.66
มักโปร่งแสงที่มปี ระกายแบบไขและแกว้

เนฟิลีนมีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำแบบลบเมื่อศึกษาภายใต้กล้อง
จลุ ทรรศนแ์ บบแสงธรรมดา เนอื่ งจากมคี ่าดชั นีหกั เหของแสง 2 คา่ คือ nO = 1.529-1.546 และ nE
= 1.526-1.544 เนฟิลนี มผี ลึกแบบแกนแสงเด่ยี วแบบลบ มกั แสดงรปู ผลึกแบบเมด็ ท่ีไมแ่ สดงสี (รูป
ที่ 11.13) เนฟิลีนมีค่าไบรีฟริงเจนซ์อยู่ในช่วง 0.003-0.005 จึงทำให้เห็นสีแทรกสอดต่ำในลำดับท่ี
1 สีเทา ตามแผนภูมิมิเชล-ลีวี และแสดงการมืดแบบขนาน (รูปที่ 11.13) เนฟิลีนเกิดในหินอัคนีสี
เข้มที่มีซิลิกาต่ำแต่อัลคาไลน์สูงมาก เช่น เนฟิลีนไซอีไนต์ ฟอยไดต์ และโฟโนไลต์ เนฟิลีนสามารถ
แปรเปลย่ี นไปเป็นแร่ดิน อะนาไครม์ และโซดาไลต์

รูปที่ 11.13 ผลกึ และภาพถ่ายภายใต้กล้องจลุ ทรรศน์ฯ ของเนฟิลนี ในหนิ อัคนีสีเข้ม (ดัดแปลงจาก
www.alexstrekeisen.it/english/vulc/nepheline.php)
11.5 กล่มุ ซโี อไลต์ (Zeolite Group)

ซีโอไลต์ (Zeolite) เป็นผลึกของแข็งของสารประกอบอะลูมิโนซิลิเกต (aluminosilicate)
ซึ่งประกอบดว้ ยหน่วยย่อยของซลิ ิกอนเตตระฮดี รอนและอะลูมเิ นียมออกตะฮดี รา โดยโครงสร้างรูป
สามเหลย่ี มสี่หนา้ น้จี ะเช่อื มต่อกนั ทีอ่ ะตอมออกซเิ จนของมุมทงั้ สี่ ก่อให้เกดิ เป็นโครงสรา้ งขนาดใหญ่
ของผลึกแขง็ ท่มี รี ูพรุน และชอ่ งวา่ งหรือโพรงที่เชอ่ื มตอ่ กันอยา่ งเป็นระเบียบในสามมติ ิ ในโครงสร้าง
โมเลกลุ ของซีโอไลตย์ ังมีประจุบวก เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เกาะอยอู่ ย่างหลวมและมี
โมเลกุลของน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ในช่องว่างในโครงผลึก ซีโอไลต์มีมากกว่า 600 ชนิด สามารถ

| ดร.วิมลทพิ ย์ สงิ หเ์ ถ่ือน | สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่ 161

จำแนกชนิดของซีโอไลต์โดยอาศัยขนาดและรูปร่างของโพรงเป็นหลัก ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนต่อโม
ลของซิลิกอนและอะลูมิเนียม โดยแบ่งกลุ่มตามชนิดของโครงสร้างได้ประมาณ 40 ชนิด ทำให้ซี
โอไลต์แต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน เช่น โครงสร้างผลึก ความหนาแน่น ขนาดของโพรง ความ
แข็งแรงของพันธะ เปน็ ตน้

ซีโอไลต์มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำแบบลบเมื่อศึกษาภายใต้กล้อง
จุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา เนื่องจากค่าดัชนีหักเหของแสงที่หลากหลายตามรูปผลึกมีค่าน้อยกวา่
1.540 มักแสดงรูปผลึกแบบเม็ด เส้นใย แท่ง หรือรัศมีที่แทนที่ในช่องว่าง ซีโอไลต์ไม่แสดงสี (รูปที่
11.14) คา่ ไบรฟี ริงเจนซ์ต่ำจึงทำให้เห็นสีแทรกสอดตำ่ ในลำดับที่ 1 สีขาว-เทา ตามแผนภูมิมิเชล-ลี
วี (รูปที่ 11.14) ซีโอไลต์เกิดเป็นแร่ทุติยภูมิทั้งที่เกิดจากการแปรเปลี่ยนและการเข้ามาแทนที่ใน
ชอ่ งวา่ งจำพวกรู รอยแตก หรอื สายแร่

รูปที่ 11.14 ผลึกและภาพถ่ายภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ ของซีโอไลต์แบบรัศมี (ดัดแปลงจาก
www.alexstrekeisen.it/english/pluto/natrolite.php)

ลักษณะสำคัญทที่ ำใหซ้ โี อไลตก์ ลายเปน็ สารสารพดั ประโยชนก์ ็คือโครงสร้างที่เปน็ รพู รุนอย่าง
เป็นระเบียบของซีโอไลต์ ซึ่งอาจใช้เป็นตัวกรองสารที่ต้องการ แต่ในการกลั่นปิโตรเลียมให้เป็น
น้ำมนั เชื้อเพลงิ และผลิตภณั ฑป์ ิโตรเลียมนั้น ปจั จยั สำคญั มิใช่เร่อื งขนาดของโพรงซีโอไลต์อย่างเดียว
แต่ยังมีสมบัติทางเคมีของอะตอมที่อยู่รอบโครงสร้างผลึกที่มีส่วนทำให้เกิดผลที่ต้องการด้วย เช่น
ในบางกรณที เ่ี ราต้องการทำให้สารไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลใหญ่ (ในกระบวนการปิโตรเคมี) แตกออก
กลายเป็นโมเลกุลที่เล็กลง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้นั้น การแตกออกของโมเลกุลใหญ่ก็
เกดิ จากการท่ีโมเลกลุ ทำปฏกิ ริ ยิ ากับอะตอมท่ีอยรู่ อบโพรงซีโอไลต์
11.6 กลุม่ สแคโพไลต์ (Scapolite Group)

สแคโพไลต์ (Scapolite) เป็นชื่อที่ใช้สำหรับกลุ่มของแร่อะลูมิโนซิลิเกต ซึ่งประกอบด้วย
ไมออนไนต์ (Meionite) ที่มีสูตรเคมีทั่วไปคือ Ca4Al6Si6O24CO3 และมาเรียไลต์ (Marialite) ที่มี

| ดร.วิมลทิพย์ สงิ หเ์ ถือ่ น | สาขาวชิ าเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

162 เอกสารคำสอนวิชาวิทยาแร่

สูตรเคมีทัว่ ไปคือ Na4Al3Si9O24Cl เป็นสภาวะสุดท้ายตอนท่ีเกดิ แร่ท่ีเสถียร ในขณะที่แร่ซิลเวียไนต์
เป็นแรท่ ี่คล้ายกับแร่ไมออนไนต์มาก แร่กลมุ่ นม้ี ีองค์ประกอบที่คล้ายกันมาก ท้ังโครงสร้างผลึกและ
คุณสมบัติทางกายภาพ แสดงสีที่หลากหลายจนไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ในขณะที่สำรวจ
ภาคสนามหรอื ในระหว่างการตรวจสอบตวั อยา่ งด้วยเคร่อื งมอื ขั้นต้นในหอ้ งปฏิบัตกิ าร

สแคโพไลต์มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่ำจึงทำให้เห็นรีลีฟต่ำแบบลบเมื่อศึกษาภายใต้กล้อง
จุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา เนื่องจากเป็นแร่ในระบบผลึกสองแกนราบ (Tetragonal system)
และมคี ่าดัชนีหกั เหของแสง 2 คา่ คือ nO = 1.532-1.607 และ nE = 1.522-1.571 มักแสดงรปู ผลึก
แบบแทง่ และไมแ่ สดงสี (รูปท่ี 11.15) ค่าไบรีฟรงิ เจนซ์ 0.004-0.038 จึงทำให้เห็นสแี ทรกสอดต่ำใน
ลำดับท่ี 1-2 ตามแผนภูมิมิเชล-ลีวี (รูปท่ี 11.15)

รูปที่ 11.15 ผลึกและภาพถ่ายภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ ของสแคโพไลต์ (ดัดแปลงจาก
www.alexstrekeisen.it/english/pluto/scapolite.php)

สแคโพไลต์พบในปริมาณเล็กน้อยในหินแปรหรือหินอัคนีบางชนิดเท่านั้น สแคโพไลต์ที่มี
ขนาดใหญ่ถูกพบเฉพาะในหินแปร เช่น หินอ่อน หินชีสต์ หินไนต์ ตัวอย่างที่มีขนาดใหญเ่ หล่าน้ีมัก
แสดงลกั ษณะเปน็ ผลึกเหมอื นไมห้ รอื พืน้ ผิวท่ีเปน็ เสน้ บางครง้ั พบผลกึ ที่มีคุณภาพในระดบั อญั มณี มี
ลักษณะเป็นแท่งปริซึมและมีหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งมักพบในหินอ่อน ในหินอัคนีที่มีการ
แปรเปลี่ยนของแร่โดยเฉพาะหินแกบโบรและหินบะซอลต์ สแคโพไลตจ์ ะเกดิ ขน้ึ ในตำแหนง่ เดียวกับ
เฟลด์สปาร์ โดยอาจเกิดเป็นบางส่วนหรือเป็นผลึกแทนตำแหน่งเฟลด์สปาร์ บางครั้งพบผลึกของส
แคโพไลต์ในหินเพกมาไทต์ สแคโปไลต์มีความสวยงามและน่าสนใจ ชนิดโปร่งใส สีเหลืองและสี
ชมพู สามารถถูกตัด และนำมาเจียรเป็นอัญมณีได้ ตัวอย่างบางชิ้นมีเส้นใยขนาดเล็กที่ทำให้ดูเห
มือย "ผ้าไหม" ภายในก้อนหินที่สะท้อนแสงเพื่อสร้างเป็นตาแมว จึงนำมาใช้เป็นอัญมณีที่แสดง
ลักษณะปรากฎการณ์ตาแมวนั่นเอง สแคโพไลต์เกิดการแปรเปลี่ยนได้ง่ายมาก โดยจะแปรเปลี่ยน
ไปเป็นเซอรไิ ซต์ แคลไซต์ คลอไรต์ เอพโิ ดต ซโี อไลต์ ขนึ้ อย่กู ับสว่ นประกอบทางเคมี

| ดร.วิมลทพิ ย์ สิงหเ์ ถอ่ื น | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่ 163

คำถามทา้ ยบท

1. จงอธิบายวา่ เพราะเหตใุ ดแรเ่ ทคโทซลิ เิ กตจงึ เป็นแร่ท่ีมีมากทสี่ ดุ บนผวิ โลก
2. “โพแทซเซียมเฟลด์เป็นพหุผลึกที่มีคุณสมบัติส่วนใหญ่เหมือนกัน มีเพียงคุณสมบัติบาง

ประการเท่านั้นที่แตกต่างกัน รวมทั้งการเกิด” จงอธิบายประโยคดังกล่าว พร้อม
ยกตัวอย่างประกอบ
3. จงอธิบายวิธีการจำแนกแพลจโิ อเคลสภายใต้กล้องจลุ ทรรศนแ์ บบโพลาไรซ์
4. จงอธิบายการเกิดของแพลจโิ อเคลสแต่ละชนิด พรอ้ มยกตวั อยา่ งประกอบ
5. จงอธิบายการเกิดของพหุผลกึ ในกลมุ่ แร่ซิลิกาโดยละเอียด
6. จงอธิบายวา่ เราจะสามารถแยกควอตซ์กับเนฟลิ นี ภายใตก้ ล้องจลุ ทรรศน์ฯ ไดอ้ ยา่ งไรบา้ ง

| ดร.วิมลทพิ ย์ สิงห์เถ่อื น | สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

164 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สงิ ห์เถ่ือน | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

เอกสารคำสอนวชิ าวิทยาแร่ 165



บทที่ 12 แร่ประกอบหนิ ท่ไี ม่ใช่ซลิ เิ กต

Chapter 12 Non-silicates

| ดร.วมิ ลทิพย์ สิงหเ์ ถือ่ น | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

166 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สงิ ห์เถ่ือน | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

เอกสารคำสอนวชิ าวทิ ยาแร่ 167

บทท่ี 12 แร่ประกอบหินทไี่ มใ่ ชซ่ ลิ ิเกต

นอกจากแร่กลุ่มซิลิเกตแลว้ ยงั มแี ร่กลุม่ อ่ืนทีส่ ามารถเปน็ แร่ประกอบหินได้ ท้ังนี้ข้ึนอยู่กับ
ประเภทของหินและการเกิด ในบทนจี้ ะกล่าวถึงแร่ประกอบหินท่ีไม่ใช่ซิลิเกตทสี่ ามารถพบเจอได้ใน
หนิ ทัว่ ไปและสามารถจำแนกได้ดว้ ยตาเปลา่ หรอื ศกึ ษาภายใตก้ ล้องจุลทรรศนแ์ บบโพลาไรซ์ ไดแ้ ก่

1) คารบ์ อเนต (Carbonate) CaCO3
แคลไซต์ (Calcite) CaMg(CO3)2
โดโลไมต์ (Dolomite)

2) ออกไซด์ (Oxide) Fe2O3
ฮมี าไทต์ (Hematite) Fe3O4
แมกนีไทต์ (Magnetite) Al2O3
คอรันดมั (Corundum) MgAl2O4
สปเิ นล (Spinel) TiO2
รูไทล์ (Rutile) FeTiO2
อลิ เมไนต์ (Ilmenite)

3) ซัลไฟด์ (Sulfide) FeS2
ไพไรต์ (Pyrite) CuFeS2
คาลโคไพไรต์ (Chalcopyrite) PbS
กาลนี า (Galena) ZnS
สฟาเลอไรต์ (Sphalerite)

4) ซลั เฟต (Sulfate) BaSO4
แบไรต์ (Barite) CaSO42H2O
ยิปซัม (Gypsum) CaSO4
แอนไฮไดรต์ (Anhydrite)

5) ฟอสเฟต (Phosphate) Ca10(PO4)6(OH,F,Cl)2
อะพาไทต์ (Apatite)

| ดร.วิมลทิพย์ สงิ หเ์ ถ่ือน | สาขาวชิ าเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

168 เอกสารคำสอนวชิ าวทิ ยาแร่

12.1 คาร์บอเนต (Carbonate)

แร่ในหมู่คาร์บอเนตประกอบด้วยอนุมูล (CO3)2- เป็นอนุมูลที่มีพันธะระหว่าง C-O ที่
แข็งแรงมาก ในโครงสร้างกลุ่มอนุมูล (CO3)2- จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานของแร่ในหมู่นี้ ส่วนการยึด
เกาะของ CO2 ซึ่งเป็นการยึดเกาะกนั ของพันธะโควาเลนทซ์ ึง่ แข็งแรงกว่า เป็นเหตุให้ CO2 แตกตัว
ออกมาจากโครงสร้างแรไ่ ดห้ ากมี H+ ซงึ่ ได้จากกรดมาทำปฏกิ ิรยิ า คือ

2H+ + CO3 → H2O + CO2

จากปฏิกิริยาข้างต้นส่งผลให้แร่กลุ่มนี้ทำปฏิกิริยากับกรดทำให้เกิดฟองฟู่ ซึ่งเป็นวิธีตรวจ
แร่คาร์บอเนตได้ดี คาร์บอเนตที่ไม่มี OH ยู่ในโครงสร้าง เรียกว่า แอนไฮดรัสคาร์บอเนต
(Anhydrous carbonates) มีอยู่ 3 กลุ่มตามโครงสร้างที่แตกต่างกัน ได้แก่ แคลไซต์ อะราโกไนต์
และโดโลไมต์ ส่วนคอปเปอร์คาร์บอเนตที่มี OH อยู่ เรียกว่า ไฮดรัสคอปเปอร์คาร์บอเนต
(Hydrous copper carbonates)

Calcite group (Hexagonal system, 3 2/m)

แคลไซต์ (Calcite) CaCO3
แมกนีไซต์ (Magnesite) MgCO3

ซเิ ดอไรต์ (Siderite) FeCO3

โรโดโครไซต์ (Rhodochrosite) MnCO3
สมธิ โซไนต์ (Smithsonite) ZnCO3

Aragonite group (Orthorhombic system, 2/m 2/m 2/m)

อะราโกไนต์ (Aragonite) CaCO3

วเิ ธอไรต์ (Witherite) BaCO3

สตรอนเทยี ไนต์ (Strontianite) SrCO3

เซรสั ไซต์ (Cerussite) PbCO3

Dolomite group (Hexagonal system, 3)

โดโลไมต์ (Dolomite) CaMg(CO3)2
แองเกอไรต์ (Ankerite) CaFe(CO3)2

Hydrous copper carbonate Cu2CO3(OH)2
มาลาไคต์ (Malachite) Cu3(CO3)2(OH)2
อะซูไรต์ (Azurite)

| ดร.วมิ ลทิพย์ สิงหเ์ ถอ่ื น | สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่ 169

แรป่ ระกอบหนิ กลุ่มคาร์บอเนตท่ีพบได้มากคือแคลไซต์และโดโลไมต์
12.1.1 แคลไซต์ (Calcite)
แคลไซต์มีรูปผลึกระบบสามแกนราบ (Hexagonal system) พบเกิดเป็นรูปผลึกได้
มากกว่า 300 แบบและเป็นผลกึ ทซี่ ับซ้อนมาก พบบ่อยคอื รูปผลกึ ท่เี ปน็ ส่ีเหลีย่ มขนมเปียกปูน หรือ
มลี ักษณะเป็นแทง่ หัวแหลมยาวคล้ายฟันสนุ ัข เรียกว่า “แรฟ่ ันหมาหรอื หนิ เข้ยี วหมา” แคลไซตม์ ีค่า
ความแข็งที่ 3 ตามมาตราส่วนความแข็งของโมห์ ความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 2.72 มีความวาวคล้าย
แก้ว หรือด้านคล้ายดิน โปร่งใสถึงโปร่งแสง ปกติมีสีขาวหรือไม่มีสี แต่หากมีมลทินปนจะทำให้มีสี
อื่น เชน่ สเี ทา สแี ดง สเี ขยี ว สเี หลอื ง สนี ้ำเงิน สีน้ำตาล หรอื สีดำ รอยแยกแนวเรียบเป็นรูปสเี่ หลย่ี ม
ขนมเปียกปูน มีสูตรเคมี CaCO3 มี CaO 56.0 % และ CO2 44.0 % บางชนิดอาจมีแมงกานีส
สงั กะสี หรือเหล็กเข้าไปแทนท่ธี าตุแคลเซียม หากมีการแทนทอ่ี ย่างสมบรู ณ์ด้วยธาตแุ มงกานีสจะได้
เป็นโรโดโครไซต์ แคลไซต์ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือแล้วเกิดเป็นฟองฟู่ (acid test) นอกจากนี้แคล
ไซตย์ ังมคี ุณสมบตั ิพเิ ศษคือสามารถทำใหเ้ กดิ การหกั เหสองแนว (double refraction)
แคลไซต์มีค่าดัชนีหักเหของแสงปานกลางจึงทำให้เห็นรีลีฟปานกลางแบบลบเมื่อศึกษา
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบแสงธรรมดาและแสดงการเปลี่ยนรีลีฟชัดเจน (negative-moderate
relief) เนื่องจากมีค่าดัชนีหักเหของแสง 2 ค่า คือ nO = 1.658 และ nE = 1.486 และเป็นแร่ที่มี
แกนแสงเดี่ยวแบบลบ แคลไซต์มักแสดงรูปผลึกปริซึมแบบขนมเปียกปูนท่ีไม่แสดงสี (รูปที่ 12.1)
แคลไซต์มีแนวแตกเรียบที่สมบูรณ์บนหน้าผลึก {101} ค่าไบรีฟริงเจนซ์ 0.172 จึงทำให้ไม่สามารถ
เห็นสีแทรกสอด (white of higher order) ตามแผนภูมมิ ิเชล-ลีวี และแสดงการแฝดแบบขนาน

รูปที่ 12.1 ภาพถ่ายผลึกแคลไซต์แสดงแนวแตกเรียบภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก
www.microckscopic.ro/minerals/non-silicates/calcite-thin-section)

แคลไซต์เป็นแร่ที่พบได้ทั่วไปในหินโดยเป็นแร่ที่เด่นที่สุดในหินตะกอน ในหินปูนนั้นมีแร่
แคลไซต์เป็นแร่หลักที่เกิดจากการสะสมตัววัตถุใต้ท้องทะเล เช่น เปลือกหอย กระดูกสัตว์ทะเลท่ี

| ดร.วมิ ลทิพย์ สิงห์เถอื่ น | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

170 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

สะสมตัวกันเป็นชั้นหนา นอกจากนี้แร่แคลไซต์อาจได้จากการตกผลึกของสารละลายแคลเซียม
คาร์บอเนต ในถ้ำหินงอกหินย้อยมีการสะสมตัวของของแร่แคลไซต์ในลักษณะของคราบหินปูน ใน
บางครั้งเรียกว่า โอนิกซ์มาร์เบิล (Onyx marble) เกิดจากการตกผลึกของแร่แคลไซต์หรืออะราโก
ไนต์ โดยเกิดเป็นแถบซ้อนกัน โดยส่วนใหญ่มักพบที่ประเทศเม็กซิโก จึงเรียกว่า Maxican onyx
แคลไซต์ยังเกิดเป็นแร่ปฐมภูมิได้ในหินแปรจำพวกหินอ่อนและหินแคลก์ซิลเิ กต อีกทั้งยังเกิดในหนิ
อัคนจี ำพวกหินคาร์บอเนไทต์ (Carbonatite) และหนิ เนฟลิ ีนไซอไี นต์ (Nepheline syenite) ทเ่ี กิด
จากการตกผลึกช่วงหลัง ส่วนใหญ่แคลไซต์มักเกิดแบบแร่ทุติยภูมิ เช่น การแทนที่ในช่องว่างหรือ
สายแร่ บางคร้งั ก็พบเกิดรว่ มกับแหลง่ แรน่ ำ้ รอ้ นร่วมกับสนิ แรซ่ ลั ไฟดด์ ้วย

แคลไซต์ใช้ทำปูนซีเมนต์และปูนขาว หรือนำมาบดผสมทำอาหารสัตว์ ผสมทำเครื่อง
เคลือบดินเผา หากมีสีและเนื้อสวยงามนำมาขัดทำหินประดับผลึก แคลไซต์ใช้เปน็ วัตถุดบิ ผลิตแสง
เลเซอร์ แหล่งแร่ที่สำคัญ เช่น เยอรมนี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยพบทุกจังหวัดที่มี
หินปนู เช่น แมฮ่ ่องสอน เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สระบรุ ี กาญจนบรุ ี ชุมพร สรุ าษฎรธ์ านี เปน็ ตน้

12.1.2 โดโลไมต์ (Dolomite)

โดโลไมต์รูปผลึกในระบบสามแกนราบ (Hexagonal system) ผลึกของแร่มักจะพบในรูป
สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผิวหน้าผลึกมักจะโค้ง บางครั้งจะโค้งเป็นรูปคล้ายอานม้า ผลึกในแบบอื่นมี
พบได้บ้างแต่น้อย ซึ่งอาจพบเป็นเม็ดหยาบๆ ไปจนกระทั่งเม็ดเล็กเกาะกันแน่น ความแข็ง 3.5-4
ตามมาตราส่วนความแข็งของโมห์ ความถ่วงจำเพาะ 2.85 ประกายคล้ายแก้ว บางชนิดวาวคล้าย
มุก สปี กตมิ ักทั่วไปหลากหลายท้งั สอี อกชมพู ขาว เทา เขยี ว นำ้ ตาล หรอื สดี ำ และอาจพบแบบไม่มี
สี เนื้อแร่มีทั้งโปร่งใสและโปร่งแสง มีสูตรเคมี CaMg (CO3) 2 มี CaO 30.4 % MgO 21.7% และ
CO2 47.9% โดยปกติโดโลไมตม์ สี ัดสว่ นของ CaCO3 ต่อ MgCO3 ประมาณ 1:1 ถา้ มี Ferrous iron
เขา้ มาแทนท่ีแมกนเี ซยี มและปรมิ าณมากกว่าแมกนเี ซยี มแล้วจะเรยี ก แองเคอไรต์ (Ankerite) โดโล
ไมต์ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (HCl) ได้น้อยมากเมื่อเทียบกับแคลไซต์หรือเกิดช้ามากในอุณหภูมิ
ธรรมดา นอกจากจะบดแรใ่ หล้ ะเอยี ดจึงละลายในกรดเป็นฟองฟู่

โดโลไมต์มีค่าดัชนีหักเหของแสงปานกลางจึงทำให้เห็นรีลีฟปานกลางแบบลบเมื่อศึกษา
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบแสงธรรมดาและแสดงการเปลี่ยนรีลีฟชัดเจน (negative-moderate
relief) เนื่องจากมีค่าดัชนีหักเหของแสง 2 ค่า คือ nO = 1.679-1.690 และ nE = 1.500-1.510
และเปน็ แร่ท่ีมีแกนแสงเดยี่ วแบบลบ โดโลไมตม์ ักแสดงรูปผลึกปริซึมแบบขนมเปียกปูนท่ีไม่แสดงสี
(รูปที่ 12.2) แคลไซต์มีแนวแตกเรียบที่สมบูรณ์บนหน้าผลึก {101} ค่าไบรีฟริงเจนซ์ 0.179-0.182

| ดร.วิมลทิพย์ สงิ หเ์ ถอื่ น | สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวิชาวิทยาแร่ 171

จึงทำให้ไม่สามารถเห็นสีแทรกสอด (white of higher order) ตามแผนภูมิมิเชล-ลีวี ซึ่งจะมี
ลักษณะที่คล้ายกับแคลไซต์มากจึงทำให้การจำแนกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ ค่อนข้างยาก แต่
สามารถทำได้จากการย้อมสารเคมีก่อนศึกษาหรือดูความขุ่นมัวภายในผลึกของโดโลไมต์ที่ต่า งจาก
แคลไซตท์ ปี่ ราศจากความขุน่ มวั

รูปที่ 12.2 ภาพถ่ายผลึกโดโลไมต์แสดงแนวแตกเรียบภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก
www.ucl.ac.uk/~ucfbrxs/MoreMinerals/Dolomite.html)

โดโลไมต์มีการเกิดเช่นเดียวกับแคลไซต์ พบในหินปูนโดโลมิติก (Dolomitic limestone)
หรอื ในหินออ่ นโดโลมติ ิก (Dolomitic marble) โดโลไมตท์ พ่ี บมมี วลขนาดใหญ่มักเกิดแบบทุติยภูมิ
ซึ่งเกิดจากหินปูนที่มีอยู่เดิมถูกแทนที่ด้วยธาตแุ มกนีเซียม หรือมักเกิดเป็นเพื่อนแร่ในสายแร่ตะก่ัว
หรือสังกะสีทต่ี ดั ผ่านหนิ ปนู

โดโลไมต์ใช้เป็นหินก่อสร้างหรอื หินประดับ ใช้ผลิตทำปูนซเี มนตบ์ างชนิด ใช้ทำวัสดุทนไฟ
สำหรับการบุเตาถลุงเหล็ก โดยเป็นเตาคอนเวอร์เตอร์ในการผลิตเหลก็ กล้าขั้นต้น โดโลไมต์เป็นแร่
หลกั ของโลหะแมกนีเซียม ใชใ้ นอตุ สาหกรรมทำแก้วบางชนิด เช่น ฟอกแก้วแผ่น วัสดุทนไฟ ฉนวน
เซรามิค และนำไปใช้ในกระบวนการถลุงโลหะ นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ประโยชน์ในทาง
การเกษตรและการเลี้ยงกุ้ง รวมทั้งการแก้ไขสภาพดิน ผลึกโดโลไมต์สมบูรณ์พบที่บินเนนธาล
(Binnenthal) ในสวิตเซอร์แลนด์ ในสหรัฐอเมริกาพบที่โจพลินและมิสซูรี สำหรับในประเทศไทย
สามารถพบได้บริเวณท่มี หี นิ ปูน เชน่ กาญจนบุรี ชลบรุ ี สุราษฎร์ธานี กระบ่ี สงขลา พังงา
12.2 ออกไซด์ (Oxide)

แร่ที่เกิดในรูปออกไซด์มีประมาณ 150 ชนิด แต่หาได้ยาก ที่เกิดเป็นจำนวนมากและ
น่าสนใจมีเพียงจำนวนน้อย แร่ออกไซด์เกิดได้ในสิ่งแวดล้อมต่างกัน อาจพบในหินแปร หินอัคนี
สายแร่ สายเพกมาไทต์ เปน็ ตน้ จากการจับตัวกนั อย่างแข็งแรงระหว่างธาตุออกชเิ จน (O2-) กับธาตุ

| ดร.วมิ ลทิพย์ สงิ หเ์ ถื่อน | สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

172 เอกสารคำสอนวชิ าวิทยาแร่

อื่น จึงทำให้แร่ออกไซด์เป็นแร่ทนทานต่อสารเคมีและแข็งมาก แร่กลุ่มออกไซด์ที่เป็นแร่ประกอบ
หินที่สำคัญและพบได้มากทั่วไป ได้แก่ แมกนีไทต์ คอรันดัม สปิเนล และรูไทล์ โดยมีคุณสมบัติทาง
กายภาพดังตารางที่ 12.1

ตารางที่ 12.1 คุณสมบตั ิทางกายภาพ เคมี และแสงของแร่ออกไซด์

คณุ สมบตั ิ แมกนไี ทต์ คอรนั ดมั สปิเนล รไู ทล์
ระบบผลึก สามแกนเท่า สามแกนราบ สามแกนเท่า สองแกนราบ
ดำ น้ำตาลเขม้ หลากหลาย หลากหลาย นำ้ ตาลแดง
สี คลา้ ยเพชร แกว้ โลหะคล้ายเพชร
ประกาย โลหะ แกว้
ความแขง็ 5.5–6.5 9 7.5–8 6–6.5
ความถว่ งจำเพาะ 4.0–4.1 3.55 4.2–5.5
รูปผลกึ 5.2 พีระมิดคู่ ทรงแปดหน้า แท่ง เม็ด
แนวแตกเรียบ ทรงแปดหนา้ 1 ทิศทาง
- - No = 2.55–2.65
ดัชนหี ักเห - No = 1.77 Ne = 2.83–2.89
Ne = 1.763 1.715–1.725 TiO2
สตู รเคมี 2.42
Al2O3 (Mg,Fe)Al2O4
Fe2O3

แมกนีไทต์ (Magnetite) และสปิเนล (Spinel) เป็นแร่ในระบบผลึกสามแกนเท่า
(Isometric system) ที่มีค่าดัชนีหักเหค่าดัชนีหักเหของแสงสูงเหมือนกันจึงทำให้เห็นรีลีฟสูงเม่ือ
ศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา แสดงสีที่หลากหลายทั้งแดง น้ำเงิน เขียว และมีรูป
ผลึกคล้ายทรงแปดหน้า ทั้งคู่เป็นแร่ท่ีคอ่ นข้างคงทนที่เกิดในหินแปรท้ังแบบสัมผัสและแบบไพศาล
อีกทั้งยังสามารถเกิดในหินอัคนี โดยแมกนีไทต์จะพบในหินสีเข้มจำพวกแกบโบรและบะซอลต์
ส่วนสปิเนลเกดิ ในหินอัลตราเมฟกิ โดยตกผลกึ อยู่ภายใน (inclusion) โอลิวนี (รูปท่ี 12.3)

รูปที่ 12.3 ภาพถ่ายผลึกสปิเนลในผลึกโอลิวีนภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก www.
microckscopic.ro/minerals/non-silicates/spinel-thin-section)

คอรนั ดัมเปน็ แร่ในระบบผลึกสองแกนราบ (Hexagonal system) ที่มีค่าดัชนีหกั เหคา่ ดัชนี
หักเหของแสงสูงจึงทำให้เห็นรีลีฟสูงเมื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา แสดงรูป

| ดร.วมิ ลทิพย์ สงิ หเ์ ถอ่ื น | สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวิชาวิทยาแร่ 173

ผลึกแบบปรซิ มึ ฐานหกเหลีย่ มหรือแบบแท่ง แตไ่ มแ่ สดงสี (รูปท่ี 12.4) ปรากฏแนวแยกในหน้าผลึก
{101} และ {001} คอรันดัมเป็นแร่ที่มีแกนแสงเดี่ยวแบบลบ ค่าไบรีฟริงเจนซ์ 0.008-0.009 จึงทำ
ให้เห็นสแี ทรกสอดในลำดับที่ 1 ตามแผนภมู มิ ิเชล-ลีวี และแสดงการแฝดในหนา้ ผลกึ {101}

รูปที่ 12.4 ภาพถ่ายผลึกคอรันดัมในหินไซอีไนต์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก
www.alexstrekeisen.it/english/meta/corundum.php)

คอรันดัมเกิดในหินอัคนีที่มีปริมาณอะลูมิเนียมสูงแต่ซิลิกาต่ำ เช่น ไซอีไนต์ เฟลด์สปาร์
ทอยด์เพกมาไทต์ หรอื พบเป็นผลึกแปลกปลอมในหินอัคนสี เี ขม้ จำพวกแกบโบรและบะซอลต์ อกี ทั้ง
ยังสามารถเกิดได้ในหินแปรที่มีปริมาณอะลูมิเนียมสูงหรือหินดั้งเดิมเป็นเพไลต์ คอรันดัมสามารถ
เกิดเป็นแร่ทุติยภูมิจากการแปรเปลี่ยนของแพลจิโอเคลสด้วยสายน้ำแร่ร้อน แร่นี้สามารถ
แปรเปล่ยี นไปเป็นแร่ดนิ มัสโคไวต์ มากาไรต์ และอะลูมิโนซิลิเกต

รไู ทลเ์ ป็นแรใ่ นระบบผลึกสองแกนราบ (Tetragonal system) ทมี่ คี ่าดัชนหี ักเหคา่ ดัชนีหัก
เหของแสงสูงมากจึงทำให้เห็นรีลีฟเข้ม (extreme relief) เมื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบ
แสงธรรมดา แสดงรปู ผลึกแบบปริซึมฐานสเี่ หล่ียมหรือแบบแทง่ ยาว แสดงสเี หลืองและสีแดง รูไทล์
เป็นแร่ที่มีแกนแสงเดี่ยวแบบบวก ค่าไบรีฟริงเจนซ์ 0.029 จึงทำให้ไม่สามารถเห็นสีแทรกสอด
(white of higher order) ตามแผนภูมิมิเชล-ลีวี และแสดงการแฝด รูไทล์สามารถเกิดได้ทั้งในหิน
อัคนีและหินแปร เกิดแบบเส้นใยในผลึกควอตซ์จนทำให้เกิดความสวยงามและนิยมนำไปเป็น
เคร่ืองประดับ อกี ทัง้ ยงั สามารถเกดิ ในสายแรเ่ พกมาไทตแ์ ละควอตซ์อะพาไทต์
12.3 ซลั ไฟด์ (Sulfide)

ซัลไฟด์เป็นกลุ่มแร่ที่สำคัญมากกลุ่มหนึ่ง เพราะโลหะหรือโลหะผสมมักจะได้มาจากการ
ถลงุ แรก่ ลุ่มนี้ เช่น เหล็ก ทองแดง ตะก่ัว สงั กะสี พลวง เป็นตน้ แรท่ ่จี ดั อยูใ่ นหมูซ่ ลั ไฟด์น้ีส่วนใหญ่
มีลักษณะทึบแสง (opaque mineral) และมีสีและสีผงที่เด่นชัด แร่บางชนิดที่ไม่ทึบแสงก็จะมีค่า
ดัชนีหักเหสงู แสงผ่านได้เฉพาะขอบแร่บาง ๆ เท่านั้น กล้องจุลทรรศน์แบบโพลาไรซ์จึงไม่สามารถ

| ดร.วิมลทพิ ย์ สงิ ห์เถอ่ื น | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

174 เอกสารคำสอนวชิ าวิทยาแร่

ใช้จำแนกแร่กลุ่มนี้ได้ สูตรเคมีทั่วไปของแร่หมู่ซัลไฟด์ คือ XmZn เมื่อ X แทนธาตุโลหะ และ Z
แทนธาตอุ โลหะ ได้แก่ S As Te Sb Bi Se ซง่ึ มีขนาดอะตอมใหญ่กว่าอะตอมของโลหะ

โครงสร้างอะตอมของแร่ซัลไฟด์เกือบทุกชนิดมีแรงยึดเกาะระหว่างอะตอมในโครงสร้าง
เป็นพันธะไอออนิกในโครงสร้างอย่างง่าย เช่น สฟาเลอร์ไรต์ (ZnS) แร่บางชนิดมีลักษณะของแร่
โลหะอย่างเด่นชัด เช่น กาลีนา (PbS) ความแข็งของแร่ในหมูนี้ส่วนใหญ่มีค่าประมาณ 2-3 ตาม
มาตราสว่ นความแขง็ ของโมห์ อาจมี 1 บ้าง เช่นแร่โมลบิ ดีไนต์ (MoS2) จนถงึ ความแข็ง 6 ในไพไรต์
(FeS2) หรือ 7 ในสเพอร์ริไรต์ (PtAs2) ดังนั้นแร่ในหมู่นี้จึงสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มเล็กที่มี
โครงสร้างคล้ายคลงึ กนั ได้หลายแบบ จนไมส่ ามารถกล่าวถงึ แบบท่วั ไปไดง้ ่ายนัก

ในรปู ลักษณะทีป่ ระกอบกบั ธาตกุ ำมะถันจึงเป็นกล่มุ แรธ่ าตุท่หี าไดย้ าก แร่ซัลไฟด์มกั เกิดใน
ลักษณะที่เป็นสายแร่จากหินหนืดที่เย็นลงในอุณหภูมิต่าง ๆ กัน โดยทั่วไปแร่ซัลไฟด์จะมีสีเข้มมี
ความวาวแบบโลหะ หนกั และไมค่ อ่ ยเหนียว มักจะแตกง่าย สผี งละเอยี ดจะเขม้ สว่ นมากหลอมง่าย
และมักจะทึบแสง แร่ซัลไฟด์ ได้แก่แร่กลุ่มนี้ เป็นสารเริ่มต้นของโลหะผสม ได้แก่ แอแคนไทต์
(Acanthite) บแู ลนเจอไรต์ (Boulangerite) ซินนาบาร์ (Cinnabar) กาลีนา (Galena) โมลิบดีไนต์
(Molybdenite) รีอัลการ์ (Realgar) สติบไนต์ (Stibnite) อาร์เซโนไพไรต์ (Arsenopyrite) คาลโค
ไซต์ (Chalcocite) โคเวลไลต์ (Covellite) ไพไรต์ (Pyrite) สฟาเลอไลต์ (Sphalerite) บอร์ไนต์
(Bornite) คาลโคไพไรต์ (Chalcopyrite) มาร์คาไซต์ (Marcasite) พิร์โรไทต์ (Pyrrhotite) เปน็ ต้น

12.4 ซัลเฟต (Sulfate)

แร่ซัลเฟตมีความละเอียดอ่อนและเกิดขึ้นใกล้พื้นผิวโลกในหินตะกอน โดยยิปซั่มเป็นแร่
ซัลเฟตทพ่ี บมากท่ีสดุ ซลั เฟตเป็นไอออนลบทมี่ สี ูตร SO42−และประกอบด้วยอะตอมกำมะถนั อยู่ตรง
กลางและมีอะตอมออกซิเจน 4 อะตอมล้อมรอบเรียงกันเป็นรูปทรงสี่หน้า อะตอมกำมะถันมีภาวะ
ออกซิเดชัน +6 และอะตอมออกซเิ จนทั้งสีม่ ีภาวะออกซิเดชัน −2 ซลั เฟตไอออนมี 2 ประจุลบ

ยิปซัม (Gypsum) เป็นแร่ในระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic system) มีสูตรเคมีทั่วไป
คือ CaSO4·2H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด จัดเป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสี
เทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาลเป็นมลทนิ ปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง
2 ตามมาตราส่วนความแข็งของโมห์ ความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่ง
แสง อาจเรียกชอ่ื ต่างกันออกไปตามลักษณะของเน้ือแร่ ไดแ้ ก่

| ดร.วิมลทิพย์ สงิ หเ์ ถ่ือน | สาขาวชิ าเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวชิ าวิทยาแร่ 175

ชนดิ ซาตินสปาร์ (satinspar) เปน็ แร่ยิปซัมลักษณะทเี่ ปน็ เนอื้ เสย้ี น มีความวาวคล้ายไหม
ชนดิ อะลาบาสเทอร์ (alabaster) มเี นอ้ื เป็นมวลเม็ดอดั กันแนน่
ชนิดซีลไี นต์ (selenite) ใสไม่มสี ี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปรง่ ใส
ยิปซัมเกดิ จากแรท่ ี่ตกตะกอนในแอง่ ที่มกี ารระเหยของนำ้ สงู มากและตอ่ เน่ือง ทำใหน้ ำ้ ส่วน
ที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “เกลือระเหย (evaporites) ” จะสามารถ
ตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวก
คาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) ดังแสดงในรูปที่ 12.5 การ
กำเนิดแร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดขนาดเล็กสมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์
(alabaster)” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ
แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการ
เปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยา
แหล่งแรพ่ บวา่ เคยผา่ นการเปลีย่ นแปลงชนิดแร่ไปมาระหวา่ งยปิ ซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4)

รูปที่ 12.5 แผนภาพแสดงการตกผลกึ ของแรใ่ นน้ำทะเลดว้ ยกระบวนการระเหย
แอนไฮไดรต์ (Anhydrite) เป็นแร่ในระบบสองแกนเท่า (Orthorhombic system) มี
ความแข็ง 3.5 ตามมาตราส่วนความแข็งของโมห์ ความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 2.97 แอนไฮไดรต์เกิด
แบบเกลือระเหย (Evaporite Mineral) ที่มีสูตรเคมีคล้ายกับแร่ยิปซัม ที่ต่างกันเพียงแอนไฮไดรต์
ไม่มีน้ำในผลึกเท่านั้น มีสูตรเคมีเป็น CaSO4 มีหลากสีตั้งแต่สีขาว ไม่มีสี ฟ้า ม่วง น้ำตาล จนถึงสี
เทา โดยแองเจไลต์ (Angelite) เปน็ ชื่อทางการคา้ ของแร่ชนิดนี้ท่ีมสี ีฟา้ ม่น มกั เกิดเป็นชั้นระนาบใน
แอ่งตะกอน ที่เกิดภายหลังจากการที่น้ำทะเลจำนวนมากระเหยออกไป โดยทั่วไปแล้วมักจะถูก

| ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน | สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

176 เอกสารคำสอนวชิ าวทิ ยาแร่

แทรกด้วยแร่พวกฮาไลต์ (Halite) ยิปซั่มและหินปูน ดังแสดงในรปู ที่ 12.5 แอนไฮไดรต์สามารถก่อ
ตวั ไดใ้ นแนวชายฝั่งหรือเกดิ เปน็ ตะกอนแผไ่ ปในพนื้ ท่ผี า่ นของน้ำทะเลจากการระเหยของน้ำ แอนไฮ
ไดรต์ยังเกิดจากการสะสมของสารประกอบในสารละลายน้ำร้อน ที่มักจะมาพร้อมกับแคลเซียม
เฮไลต์ พรอ้ มด้วยองคป์ ระกอบซัลไฟดจ์ ากแรใ่ นสายแร่

แร่แบไรต์ (Barite) เป็นแร่ในระบบสองแกนเท่า (Orthorhombic system) ความแข็ง 3-
3.5 ตามมาตราส่วนความแข็งของโมห์ ความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 4.3-5 จึงทำให้มีน้ำหนักมากเม่ือ
คะเนดว้ ยมอื จะรสู้ ึกหนักผดิ ปกติต่างไปจากแรช่ นิดอื่นที่มขี นาดเท่ากัน ซึง่ เปน็ ลกั ษณะทางกายภาพ
ที่โดดเด่นของแร่นี้ แบไรต์มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นแบเรียมซัลเฟต (BaSO4) สีขาวหรือเทาอ่อน
เนื้อแร่โปร่งแสงถึงโปร่งใส แบไรต์ในประเทศไทยเกิดเป็นสายแร่แทรกในบริเวณที่มีรอยแตกหรือ
รอยเลื่อน โดยมีความสัมพันธ์กับหินแกรนิต พบมากทางภาคตะวันตกของประเทศ นอกจากนี้ยัง
พบแบไรต์เกิดร่วมกับแร่ตะกั่วและสังกะสีในหินปูน หินดินดาน และหินทรายในบริเวณภาคเหนือ
และภาคกลาง โดยพบที่จงั หวัดเลย เพชรบรู ณ์ อุดรธานี เชียงใหม่ ลำพนู ลำปาง แพร่ แม่ฮ่องสอน
ตาก นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี และราชบุรี ประโยชน์ส่วนใหญ่
ใช้ทำเป็นโคลนผงใช้ในการเจาะสำรวจแหล่งแร่และปิโตรเลียม โดยเป็นตัวควบคุมความดันในการ
เจาะ นอกจากนั้นยังใช้ทำสารเคมีแบเรียมในทางอุตสาหกรรม เช่น แบเรียมซัลเฟตใช้ทำสี ใน
อุตสาหกรรมกระดาษ ยาง และพรมน้ำมัน แบเรียมคลอไรด์ใช้ในโรงงานทำหนัง เสื้อผ้า แบเรียม
คาร์บอเนตใช้เป็นส่วนผสมการเคลือบเงาเซรามิก แบเรียมออกไซด์ใช้ในการทำแก้วและการถลุง
ด้วยไฟฟ้า แบเรยี มไฮดรอกไซด์ใช้ผลิตน้ำตาล และใช้ผสมทำคอนกรีตสำหรับพอกท่อส่งน้ำมันและ
แก๊สใต้ทะเล นอกจากนี้ยังนำมาบดทำยาสำหรับรบั ประทานก่อนที่จะทำการฉายเอกซเรย์เกีย่ วกบั
กระเพาะอาหารและลำไสอ้ กี ด้วย

12.5 ฟอสเฟต (Phosphate)

ฟอสเฟตเป็นสารประกอบท่ีมีฟอสเฟต (PO4) อยู่ดว้ ยหรือมธี าตุฟอสฟอรัส แร่ท่ีสำคัญของ
ฟอสเฟตคืออะพาไทต์ (Apatite) ซึ่งเป็นแร่ในระบบผลึกสามแกนราบ (Hexagonal system) มี
สตู รเคมที ่วั ไป Ca5(PO4)3(F,Cl,OH)) มีคา่ ความแขง็ ท่ี 5 ตามมาตราส่วนความแข็งของโมห์ สามารถ
ใช้มีดพับขูดจะเป็นรอย เกิดเป็นผลึกขนาดเล็กที่มีรูปผลึกสมบูรณ์ เป็นผลึกรูปปริซึมที่มีหกเหลี่ยม
(hexagonal prism) ผลึกเป็นแท่งสั้นหรือมีลักษณะแบนแต่หนา อาจมีลักษณะเป็นมวลเมล็ดเนื้อ
สมานแน่น แสดงสีหลากหลายท้ังเขียว นำ้ ตาลแก่ น้ำตาลออ่ น หรือน้ำเงินมว่ ง และไม่มีสีโปร่งใสถึง
โปรง่ แสง เน้อื เปราะรอยแตกมกั ไม่เรยี บหรอื เวา้ โคง้ ประกายคลา้ ยแกว้ หรือกงึ่ ไข (รปู ที่ 12.6)

| ดร.วิมลทพิ ย์ สงิ หเ์ ถอื่ น | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

เอกสารคำสอนวิชาวิทยาแร่ 177

รูปที่ 12.6 ภาพถ่ายผลึกอะพาไทต์ในหินอัคนีภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ (ดัดแปลงจาก www.
microckscopic.ro/minerals/non-silicates/barite-thin-section)

อะพาไทต์มีค่าดัชนีหักเหของแสงปานกลางจึงทำให้เห็นรีลีฟปานกลางเมื่อศึกษาภายใต้
กล้องจุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา เนื่องจากมีค่าดัชนีหักเหของแสง 2 ค่า คือ nO = 1.629-1.667
และ nE = 1.624-1.666 อะพาไทตม์ ีผลกึ แบบแกนแสงเดี่ยวแบบลบ มกั แสดงรปู ผลกึ แบบปริซึมหก
เหลี่ยมขนาดเล็กมากที่ไม่แสดงสี (รูปที่ 12.6) อะพาไทต์มีค่าไบรีฟริงเจนซ์อยู่ในช่วง 0.001-0.007
จึงทำให้เห็นสีแทรกสอดต่ำในลำดับที่ 1 สีเทา ตามแผนภูมิมิเชล-ลีวี และแสดงการมืดแบบขนาน
(รูปที่ 12.6) ผลึกอะพาไทต์แตกต่างจากเซอร์คอนที่รีลีฟ และสีแทรกสอด สีแทรกสอดของอะพา
ไทต์อยทู่ ล่ี ำดบั ที่ 1 คลา้ ยควอตซ์ ส่วนของเซอร์คอนอยู่ทลี่ ำดับที่ 3 และแสดงวงดำ

การเกิดอะพาไทต์เกิดแทรกเป็นแร่รองรองในหินทุกประเภททั้งหินอัคนี หินตะกอน และ
หินแปร สามารถเกิดในหินเพกมาไทต์และสายแร่น้ำร้อน บางโอกาสได้พบแหล่งใหญ่หรือเป็นสาย
แรร่ ว่ มกบั หนิ สีเขม้ จำพวกแกบโบร และมกั เกิดเป็นแรม่ ลทนิ ในแร่อื่นท่เี กดิ ทีหลงั เชน่ ควอตซ์ ไบโอ
ไทต์ และฮอรน์ เบลนด์

คำถามทา้ ยบท

1. จงอธบิ ายความแตกตา่ งของแคลไซต์และโดโลไมต์อย่างละเอียด
2. จงอธิบายเหตุผลท่ีไมค่ ่อยมีการศึกษาแรเ่ ฮไลดด์ ้วยกล้องจลุ ทรรศนฯ์
3. หากนำหนิ ตะกอนเนอ้ื เมด็ มาศกึ ษาภายใตก้ ล้องจุลทรรศนฯ์ เราจะสามารถพบแรท่ ไี่ มใ่ ช่ซิลิ

เกตชนิดใดไดบ้ ้าง
4. หากนำหินอลั ตราเมฟิกและหินอัคนสี ีเข้มมาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฯ เราจะสามารถ

พบแร่ทไี่ มใ่ ช่ซลิ เิ กตชนดิ ใดไดบ้ า้ ง
5. จงเปรียบเทียบความเหมือนและตา่ งของควอตซ์และอะพาไทต์ภายใต้กลอ้ งจลุ ทรรศน์ฯ

| ดร.วิมลทพิ ย์ สิงหเ์ ถื่อน | สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

178 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สงิ ห์เถ่ือน | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

เอกสารคำสอนวชิ าวิทยาแร่ 179

เอกสารอา้ งอิง

Sabra I.A. (1981). Theories of Light from Descartes to Newton. Cambridge University Press,
London, 363 pp.

Ashcroft N.W. (1976). Solid State Physics. W. B. Saunders Company, Pennsylvania, 73 pp.
Aslin J., Mariani E., Dawson K., Barsoum M.W. (2019). Ripplocations provide a new

mechanism for the deformation of phyllosilicates in the lithosphere. Nat
Commun 10. doi:10.1038/s41467-019-08587-2.
Bowen N.L. (1928). The evolution of the igneous rocks. Princeton University Press, New
Jersey, 334 pp.
Bravais A. (1 8 5 0 ) . Memoir on the systems formed by points regularly distributed on a
plane or in space. J. Ecole Polytech 19. p. 1–128.
Brown H., Bülow R., Neubüser J., Wondratschek H., Zassenhaus H. (1978). Crystallographic
Groups of Four-Dimensional Space. Wiley, New York, 443 pp.
Buser P.A., Imbert M., Kay R.H. (1992). Vision. MIT Press, Massachusetts, 50 pp.
Deer W.A., Howie R.A., Zussman J. (1992). An introduction to the rock-forming minerals
(2nd ed.). Longman Scientific & Technical, London, 549 pp.
Dyar M.D., Gunter M.E. (2008). Mineralogy and Optical Mineralogy. Chantilly, VA:
Mineralogical Society of America. ISBN 978-0939950812.
Gibbs Ph. (1997). How is the speed of light measured?. The Physics and Relativity FAQ.
Archived from the original on 9 August 2020.
Holman S.W., Lawrence R.R., Barr L. (1895). Melting Points of Aluminum, Silver, Gold,
Copper, and Platinum. Proceedings of the American Academy of Arts and Sciences
31, p. 218–233. doi:10.2307/20020628.
Hook J.R., Hall H.E. (2010). Solid State Physics (2nd ed.). Wiley, New Jersey, p. 496.
Laufer G. (1996). Introduction to Optics and Lasers in Engineering. Cambridge University
Press, Cambridge, 500 pp.
McGraw-Hill Concise Encyclopedia of Physics. (2 0 0 2 ) . Retrieved 1 August 2 0 2 0 from
www.encyclopedia2.thefreedictionary.com
Mohs F. (1 8 2 0 ). The Characters of the Classes, Orders, Genera, and Species; or the
characteristic of the natural history system of mineralogy. Caledonian Mercury Press,
Edinburgh, 109 pp.
Nesse W.D. (2 0 0 3 ). Introduction to Optical Mineralogy (3rd ed.). Oxford University Press,
Oxford, 370 pp.
Nesse W.D. (2000). Introduction to Mineralogy. Oxford University Press, New York. 491 pp.

| ดร.วิมลทิพย์ สงิ ห์เถ่ือน | สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

180 เอกสารคำสอนวิชาวทิ ยาแร่

Pal G.K., Pal Pr. (2001). Textbook of Practical Physiology (1st ed.). Orient Blackswan,
Chennai, 387 pp. ISBN 978-81-250-2021-9.

Oldenbourg R., Shribak M. (2010). Handbook of Optics (3rd ed.). McGraw-Hill, New York,
1248 pp.

Simões M., Bertolino W., Tovar D., Braga W.S., Santos O., Luders D., Sampaio A., Kimura N.,
Palangana A. (2018). Optical signal and optical axes in uniaxial and biaxial nematic
phases. Phase Transitions 92. 1-9. doi:10.1080/01411594.2018.1556269.

www. microckscopic.ro
www.alexstrekeisen.it
www.serc.carleton.edu/research_education/equilibria/binary_diagrams.html
www.911metallurgist.com/blog/mohs-hardness-test-kit
www.chegg.com/homework-help/questions-and-answers/table-22-coordination-numbers-
geometries-various-cation-anion-radius-ratios-rclra-cn-rc-r-q26551057
www.geologylearn.blogspot.com/2016/02/mineral-classication.html
www.lh3.googleusercontent.com/proxy
www.microscopyu.com/techniques/polarized-light/polarized-light-microscopy
www.opentextbc.ca/chemistry/chapter/10-6-lattice-structures-in-crystalline-solids
www.science.smith.edu/geosciences/min_jb/Optics/Optics-2.pdf
www.unouda.tk/16560/michel-levy-chart.html/michel-levy-chart-3
www.zeiss.com/microscopy

| ดร.วมิ ลทพิ ย์ สิงห์เถือ่ น | สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

เอกสารคำสอนวชิ าวิทยาแร่ 181

ประวตั ผิ ้เู ขียน

ดร. วมิ ลทพิ ย์ สงิ หเ์ ถอื่ น

Vimoltip Singtuen, Ph.D.

ประวตั ิการศึกษา

นิสิตโครงการพัฒนากำลังคนดา้ นวทิ ยาศาสตร์ ทุนเรียนดวี ิทยาศาสตรแ์ หง่ ประเทศไทย (ปี 2554-2562)
ปี 2558 วิทยาศาสตรบัณฑติ (เกยี รตินยิ มอันดับ 2) สาขาธรณวี ิทยา มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่

รางวัล Best Atom จากคณะวทิ ยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่
ปี 2558 นักศกึ ษาแลกเปลี่ยนวชิ า Geology Field Summer camp ณ California State University

Fullerton (CSUF), USA
ปี 2560 วทิ ยาศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาธรณีวทิ ยา มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่

รางวัลผลการศึกษายอดเยี่ยม วทิ ยาศาสตรมหาบณั ฑิต จากมูลนธิ ิ ศ.ดร. แถบ นลี ะนธิ ิ
ปี 2562 ปรชั ญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยพี น้ื พิภพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รางวลั ผลการศึกษาดีเดน่ ดุษฎบี ณั ฑติ จากบัณฑิตวทิ ยาลัย มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์
ปี 2562 UNESCO/Poland co-sponsored fellowships programme in engineering cycle

2018A. ณ Akademia Górniczo- Hutnicza W Krakowie, Poland
Recognition of Scientific and Organisational Achievements Award from UNESCO

ประสบการณท์ ำงาน

ปี 2563 – ปัจจุบนั อาจารย์ สาขาวชิ าเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่
ปี 2562 - 2563 ครูวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์โลกและภูมิศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

(องคก์ ารมหาชน)
ปี 2560 - 2563 ฝ่ายวชิ าการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ บริษทั ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์ จำกดั
ปี 2560 – 2561 ผู้ชว่ ยสอนนกั ศึกษาระดับปริญญาตรี รายวชิ าแร่และหิน มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์
ปี 2557 – 2560 ผู้ช่วยสอนนักศึกษาระดบั ปริญญาตรี รายวชิ าผลกึ ศาสตร์ ผลกึ ศาสตรท์ างแสง ธรณี

เคมี และศลิ าวทิ ยา ภาควชิ าธรณวี ทิ ยา คณะวทิ ยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่

| ดร.วมิ ลทิพย์ สงิ หเ์ ถอื่ น | สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

หอสมดุ แห่งชาติ
ถนนสามเสน ดุสติ กรุงเทพฯ 10300

โทรศพั ท์ : 02-2809846
โทรสาร : 02-2809846
วันท่ีอนุมตั ิ 13 พฤษภาคม 2564
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมดุ แห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data

วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน.
วิทยาแร่ = Mineralogy.-- ขอนแก่น : สาขาวิชาเทคโนโลยธี รณี คณะเทคโนโลยี
มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ , 2564.
189 หนา้ .

1. แร่วทิ ยา. I. ชอ่ื เร่ือง.

549
ISBN 978-616-438-584-9


Click to View FlipBook Version