การศึกษาผลสัมฤทธิ์และทักษะการแก้ปัญหาทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 A study of achievement and problem-solving skills in mathematics learning. Using inquiry-based learning (5E) for Mathayom 1 students. ณัฐพงศ์ ลิชผล1 และ เรวดี หมวดดารักษ์2 Natthapong Litchaphol1 and Rewadee Muaddarak2 1นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2อาจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 หลังการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ระหว่างก่อน เรียนและหลังเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ศึกษาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) และศึกษาความพึงพอใจต่อคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/13 โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มา จากการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู ้โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วน แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ แบบสำรวจความพึงพอใจในการใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทลองทีแบบกลุ่มเดียว และการทดลองทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มี คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.15 เทียบกับเกณฑ์มีคะแนนสูงกว่าร้อยละ 70 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 6.67 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 44.5 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 10.82 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 72.15 เปรียบเทียบความ แตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อยู่ในระดับมาก ความพึงใจในการจัดการเรียนรู้มีความพึงพอใจหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยรวมอยู่ในระดับพึง พอใจมาก คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ความพึงพอใจ
Abstract The purpose of this research is to Compare mathematics achievement with the criterion of 70 percent after the inquiry-based learning (5E) was organized. Comparing the achievement in mathematics regarding the ratio between before and after the learning was organized using the inquiry-based learning (5E). Studying the skills of solving problems in mathematics. Mathematics after organizing inquiry-based learning (5E) and studying satisfaction with mathematics after organizing learning using inquiry-based learning (5E) among Matthayomsuksa 1/13 students at Sri Bunruang Wittayakarn School, Semester 2, academic year 2023, at obtained at random The tools used in the research include learning management plans. Using inquiry-based learning 5E, pre-test - post-test in mathematics on ratios, mathematical problem-solving skills practice. and a survey of satisfaction with the use of inquiry-based learning (5E). Statistics used in the research include percentages, means, standard deviations. Single group trial and independent experiments The research results found that The academic achievement in mathematics of Mathayom 1 students after receiving inquiry-based learning (5E) had an average score of 72.15 percent, compared to the criteria for a score higher than 70 percent. Mathayom 1 students using inquiry-based learning (5E) had a pre-score of 6.67 points, accounting for 44.5 percent. The average score after study was 10.82 points, accounting for 72.15 percent. Compare the difference between the average scores. Before studying and after studying, it was found that students had higher academic achievement after studying than before studying. The ability to solve mathematical problems after receiving inquiry-based learning (5E) was at a high level. Satisfaction in learning management Satisfaction after organizing inquirybased learning (5E) was overall at a very satisfied level. *Corresponding Author: Email [email protected] Keywords: Inquiry-based learning, Mathematical Achievement, Mathematical Problems-Solving ability, Satisfaction 1.บทนำ คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ และถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็น
รากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ของชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับ สภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ (หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง 2560) นักเรียนส่วนใหญ่คิดว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก น่าเบื่อ มีแต่สูตรการคำนวณ ไม่เห็นประโยชน์ของการ นำไปใช้ อีกทั้งครูสอนไม่เข้าใจ สอนไม่สนุก ก่อให้เกิดเจตคติในด้านลบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้อง เปลี่ยนรูปแบบและวิธีการสอนให้เหมาะกับเนื้อหาและผู้เรียนอยู่เสมอ ควรคำนึงถึงความสามารถทางการเรียนรู้และความรู้ พื้นฐานที่แตกต่างของผู้เรียน นักเรียนที่เรียนรู้ได้เร็วจะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ส่วนนักเรียนที่เรียนรู้ช้าอาจไม่เข้าใจใน เนื้อหา ส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ และไม่อยากเรียน เมื่อต้องเรียนเนื้อหาใหม่จะยิ่งเป็นปัญหามากขึ้น เพราะขาด ความรู้ความเข้าใจในพื้นฐาน จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำลง และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ในที่สุด (ฟาฏิ นา วงศ์เลขา, 2553) การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมีการพัฒนาที่หลากหลาย ซึ่งการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เป็น รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism) ซึ่งกล่าวไว้ว่า เป็นกระบวนการที่นักเรียน จะต้องสืบค้น เสาะหาสำรวจตรวจสอบ และค้นคว้าด้วยวิธีต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ความรู้ นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนานสามารถ นำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใด ๆ มาเผชิญหน้า (นรัญญา, 2554) และเนื้อหาความน่าจะเป็น น่าจะเหมาะแก่การจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ทั้งนี้เพราะเนื้อหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนในการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อ แก้ปัญหา และเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์และตัดสินใจจากสถานการณ์ต่าง ๆ เนื่องจากในชีวิตจริงจะต้องเผชิญความไม่แน่นอนหลายอย่างซึ่งต้องพยากรณ์และเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับ เกณฑ์ร้อยละ 70 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 2.3 เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ (5E) 2.4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ (5E)
3. สมมติฐานของการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้กำหนดสมมติฐานไว้ดังนี้ 3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 4. วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย ดังนี้ 4.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 4.1.1 ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูจำนวน 593 คน 4.1.2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 35 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 4.2.1 แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) จำนวน 10 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 10 ชั่วโมง 4.2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ 4.2.3 แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ 4.2.4 แบบวัดความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) แบบ โครงสร้างเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ 4.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างตามลำดับดังนี้ 4.3.1 ก่อนการทดลอง ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4.3.2 ดำเนินการสอนกลุ่มตัวอย่างด้วยแผนการจัดเรียนรู้ที่สร้างขึ้นจำนวน 10 แผน โดยให้นักเรียน เรียน และปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 4.3.3 เมื่อสิ้นสุดการทดลองสอนแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยใช้แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชุดเดิม ไปทดสอบกับนักเรียนอีกครั้งจากนั้นนำผลที่ได้ไปสิเคราะห์ข้อมูลทาง สถิติต่อไป 4.4 การวิเคราะห์ข้อมูล 4.4.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับ เกณฑ์ร้อยละ 70 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบกลุ่มเดียว (One Sample t-test) 4.4.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบกลุ่มเดียว (Dependent Sample t-test) 4.4.3 เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลโดยใช้คะแนนรวมและแปลผล ดังนี้ 7-10 คะแนน หมายถึง มาก 4-6 คะแนน หมายถึง ปานกลาง 0-3 คะแนน หมายถึง น้อย 4.4.4 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ (5E) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ แปลผลค่าเฉลี่ย ดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด
5.ผลการวิจัย 1. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับ เกณฑ์ร้อยละ 70 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) พบดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) n ̅ S.D. t Sig ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 34 10.82 1.7 1.69 0.69 p < .05 จากตารางที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนเมื่อ เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า t = 1.69 และค่า Sig = 0.69 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) พบดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ n ̅ S.D. t Sig ก่อนการจัดการเรียนรู้ 34 6.67 1.7 9.92 .00 หลังการจัดการเรียนรู้ 34 72.15 1.7 p < .05 จากตารางที่ 2 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังสูงกว่าก่อนการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมี ค่า t = 9.92 และค่า Sig = .00
3. การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ พบดังตาราง 3 ตารางที่3 แสดงคะแนนจำนวน และร้อยละ ของความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับคะแนน จำนวน ร้อยละ ระดับมาก 7-10 19 55.88 ระดับปานกลาง 4-6 13 38.23 ระดับน้อย 0-3 2 5.88 รวม 34 100.00 จากตารางที่ 3 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อยู่ในระดับมาก จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 55.88 ระดับปานกลาง จำนวน 13 คน คิดเป็น ร้อยละ 38.23 และ ระดับน้อย จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.88 ตามลำดับ 4. ผลการศึกษาความพึงพอใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ผ่านการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) พบดังตาราง 4 ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความพึงพอใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ (5E) กิจกรรม ̅ S.D. ระดับ 1. ครูมีการเตรียมการสอน 4.61 0.69 มากที่สุด 2. การจัดบรรยากาศห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนการสอน 4.23 0.74 มาก 3. เนื้อหาที่สอนทันสมัยนำไปใช้ได้จริง 4.44 0.82 มาก 4. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ชัดเจน 4.46 0.69 มาก 5. กิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน 4.50 0.70 มากที่สุด 6. ครูส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และรายบุคคล 4.47 0.66 มาก 7. ครูส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และร่วมกันอภิปราย 4.23 0.74 มาก 8. กิจกรรมการเรียนสนุกและน่าสนใจ 4.55 0.61 มากที่สุด 9. ครูให้โอกาสนักเรียนซักถามปัญหา 4.35 1.09 มาก 10. ครูใช้วิธีการสอนและใช้สื่ออย่างหลากหลาย 4.61 0.49 มากที่สุด 11. ครูยอมรับความคิดเห็นของนักเรียน 4.38 0.69 มาก
12. ครูให้ความสนใจแก่นักเรียนอย่างทั่วถึงขณะสอน 4.41 0.70 มาก 13. ครูส่งเสริมให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้จากห้องสมุด อินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ 4.20 0.97 มาก 14. ครูตั้งใจสอน ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกแก่นักเรียนในการทำ กิจกรรม 4.47 0.74 มาก 15. ครูมีบุคลิกภาพ การแต่งกายและการพูดจาเหมาะสม 4.61 0.55 มากที่สุด 16. ครูเข้าสอนและออกตรงเวลา 4.64 0.59 มากที่สุด 17. นักเรียนทราบเกณฑ์การประเมินผลล่วงหน้า 4.08 0.79 มาก 18. นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียน 4.26 0.86 มาก 19. ครูประเมินผลอย่างยุติธรรม 4.67 0.58 มากที่สุด 20. นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข 4.70 0.46 มากที่สุด รวม 4.44 0.69 มาก จากตารางที่ 4 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (̅= 4.44 และ S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนเรียนอย่างมี ความสุข มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (̅= 4.70 และ S.D. = 0.46) รองลงมา คือ ครูประเมินผลอย่างยุติธรรม (̅= 4.67 และ S.D. = 0.58) ครูเข้าสอนและออกตรงเวลา (̅= 4.64 และ S.D. = 0.59) ครูมีบุคลิกภาพ การแต่งกายและการพูดจาเหมาะสม (̅= 4.61 และ S.D. = 0.55) ครูใช้วิธีการสอนและใช้สื่ออย่างหลากหลาย (̅= 4.61 และ S.D. = 0.49) ครูมีการ เตรียมการสอน (̅= 4.61 และ S.D. = 0.69) กิจกรรมการเรียนสนุกและน่าสนใจ (̅= 4.55 และ S.D. = 0.61) และ กิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน (̅= 4.50 และ S.D. = 0.70) ตามลำดับ 6.สรุปผลการวิจัย 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ (5E) อยู่ในระดับมาก จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 55.88 ระดับปานกลาง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 38.23 และ ระดับน้อย จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.88 ตามลำดับ
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงใจในการจัดการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (̅= 4.44 และ S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนเรียนอย่างมี ความสุข มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (̅= 4.70 และ S.D. = 0.46) รองลงมา คือ ครูประเมินผลอย่างยุติธรรม (̅= 4.67 และ S.D. = 0.58) ครูเข้าสอนและออกตรงเวลา (̅= 4.64 และ S.D. = 0.59) ครูมีบุคลิกภาพ การแต่งกายและการพูดจาเหมาะสม (̅= 4.61 และ S.D. = 0.55) ครูใช้วิธีการสอนและใช้สื่ออย่างหลากหลาย (̅= 4.61 และ S.D. = 0.49) ครูมีการ เตรียมการสอน (̅= 4.61 และ S.D. = 0.69) กิจกรรมการเรียนสนุกและน่าสนใจ (̅= 4.55 และ S.D. = 0.61) และ กิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน (̅= 4.50 และ S.D. = 0.70) ตามลำดับ 7. อภิปรายผล จากการศึกษาการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยได้ทำการทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนำมา อภิปรายผลได้ดังนี้ 1. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีคะแนนเฉลี่ย 10.82 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน คิด เป็นร้อยละ 72.15 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) จากผลการทดสอบก่อนเรียนกับหลัง คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 6.67 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 44.5คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 10.82 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 72.15 พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ (5E) เป็นวิธีที่นักเรียนไม่คุ้นเคย จึงทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน ประกอบกับการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนทำให้นักเรียนได้ทำงานเป็นกลุ่มร่วมกันแก้ปัญหา เพื่อหาคำตอบที่อยากรู้ สืบค้นข้อมูลด้วย ตนเอง ทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานในการทำงานร่วมกัน ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้จากการเรียนรู้สูงขึ้น การสอนของ ครูส่วนใหญ่เป็นผู้เตรียมเนื้อหาให้กับนักเรียนได้ศึกษาตามใบงานจึงส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จิรภา นุชทองม่วง (2558:66)
2. ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์จากผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ (5E) มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนอยู่ในระดับมาก จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 55.88 ระดับปานกลาง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 38.23 และ ระดับน้อย จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.88 ตามลำดับทั้งนี้อาจเป็นเพราะ การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดระดับสูง ซึ่งเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกสังเกต ฝึกถาม-ตอบ ฝึกการสื่อสาร ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการฝึก นําเสนอ ฝึกวิเคราะห์วิจารณ์ ฝึกสร้างองค์ความรู้โดยมีครูเป็นผู้กำกับ ควบคุม ดําเนินการให้คำปรึกษากระตุ้นส่งเสริมให้ ผู้เรียนคิด อยากรู้อยากเห็น และสืบเสาะหาความรู้จากการถามคําถาม และพยายามค้นหาคําตอบหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยตนเองผ่ากระบวนการคิดและปฏิบัติ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ ก็จะทำให้นักเรียนได้ฝึกวิเคราะห์ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สอดคล้อง กับแนวคิดของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (2545: 191-195) ที่กล่าวว่า การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ควรเริ่มต้น จากการนำปัญหาที่ดีมากระตุ้นความสนใจของ ผู้เรียน โดย ให้อิสระในการคิดแก้ปัญหา ฝึกให้นักเรียน คิดหาความสัมพันธ์ของโจทย์ปัญหา และจัดสถานการณ์หรือปัญหาที่ห้าหาย สนับสนุนให้นักเรียนคิด วิธีการแก้ปัญหาโดยวิธีของนักเรียนเอง แล้ว อธิบายวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสม 3. ความพึงพอใจ ความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง อัตราส่วน จากการใช้แบบสอบถามนักเรียนหลังการเรียน พบว่า มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เป็นเนื่องมากจากแผนการ จัดการเรียนรู้ที่ได้ผ่านการพัฒนาจนทำให้บทเรียนมีประสิทธิภาพและเหมาะสม อีกทั้งกิจกรรมในแต่ละแผนการจัดการ เรียนรู้เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เริ่มจากขั้นสร้างความสนใจจากครูที่ได้นำสื่อรูปภาพ อุปกรณ์ และวีดีโอ เป็นสิ่งเร้าให้นักเรียนสนใจ เกิดข้อสงสัย อยากรู้ และอยากที่จะค้นคว้าหาคำตอบจากการปฏิบัติและทดลองใน หัวข้อต่าง ๆ จากบทเรียนวีระพงศ์ ล่องลอย (2552) กล่าวไว้ว่า การใช้สื่อการสอนประกอบการเรียนรู้ที่ดีนั้นควรจะให้ ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายๆอย่าง เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน การนำสื่อเข้ามาใช้ก็เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนและ เข้าใจบทเรียนดีขึ้นนักเรียนเกิดความพึงพอใจ เกิดทัศนคติที่ดีในการเรียน และขั้นการสำรวจและค้นหา จะเป็นกิจกรรมที่ นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม มีอิสระในการทำกิจกรรม นักเรียนมีความสนุกสนาน เรื่อง อัตราส่วน
8. ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากการวิจัย และข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไปดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ จากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้ 1.1 การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ในช่วงก่อนใช้แผน ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียน คุ้นเคยกับรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งอาจใช้เวลาเพิ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมที่วางไว้ไม่ เป็นไปตามที่กำหนด 1.2 ผู้สอนต้องระลึกอยู่เสมอว่าการแก้ปัญหาได้นั้น นักเรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ ที่เพียงพอ มีเวลาในการ คิด ได้ใช้ความสามารถในการสร้างความเข้าใจ และอาจมีนักเรียนจำนวนมาก ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถ้าครูจัดกิจกรรมไม่ เหมาะสม 1.3 การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ครูผู้สอนควรชี้แจงขั้นตอน ให้นักเรียนเข้าใจ เพื่อให้ นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.4 ในกรณีที่มีเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ในชั้นเรียน ครูควรจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เหมาะสม อีกทั้งครูต้องคอยในคำปรึกษาและให้กำลังใจในการเรียนรู้ด้วย 2.ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยในครั้งต่อไป ผู้วิจัยขอเสนอแนะประเด็นที่ควรนำมาศึกษา ดังนี้ 2.1 ควรศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ไปใช้กับวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องอื่น ๆ โดย ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาในแต่ละระดับชั้นและวัยของ นักเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ เรียนรู้ของนักเรียน 2.2 ควรศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาความสามารถ และทักษะ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านอื่น ๆ 9. หนังสืออ้างอิง นรัญญา. (2554). การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) Retrieved from https://sites.google.com/site/naranya2010/1 ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553). กลไกขับเคลื่อนการศึกษา...ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ู .หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. วีระพงศ์ ล่องลอย. (2552). ทักษะการเร้าความสนใจ. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/253801.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545).คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. จิรภา นุชทองม่วง. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาพื้นที่ โดยใช้กระดานตะปูร่วมกับ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสว่างวิทยา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.