ก รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ
ข รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ บันทึกข้อความ ส่วนราชการ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเจาะไอร้อง ที่ ศธ 07054.03/...................................................วันที่ 19 มิถุนายน ๒๕๖6 เรื่อง รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ เรียน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเจาะไอร้อง ๑. เรื่องเดิม ตามที่ งานกิจกรรมในสถาบันศึกษาปอเนาะ ได้โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนา ทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ ในวันที่ 16 มิถุนายน ๒๕๖6 ณ อาคาร อเนกประสงค์ สกร.อำเภอเจาะไอร้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะอัลมูฮายีรีน จำนวน 17 คน นั้น ๒. ข้อเท็จจริง ในการนี้ งานกิจกรรมในสถาบันศึกษาปอเนาะ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน โครงการ ดังตารางต่อไปนี้ พร้อมรูปเล่มสรุปผลการดำเนินงานตามที่แนบมาพร้อมนี้ด้วยแล้ว ที่ โครงการ/กิจกรรม งบประมาณ ร้อยละ การ เบิกจ่าย เป้าหมาย เชิงปริมาณ ร้อยละ ของ เป้าหมาย ที่เข้าร่วม เป้าหมายเชิงคุณภาพ (ตามวัตถุประสงค์) บรรลุ ไม่ บรร จัดสรร เบิกจ่าย แผน ผล ตัวชี้วัด ความสำเร็จ ลุ ๑. โครงการอบรมให้ความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการ อ่านภาษาไทยนักศึกษา ในสถาบันศึกษาปอเนาะ 2,000 2,000 ๑๐๐.๐๐ 15 17 ๑13 ข้อที่ ๑ ร้อยละ ๘๐ ข้อที่ ๒ ร้อยละ ๘๐ - ร้อยละ ๑๐๐ - ร้อยละ ๑๐๐ 2. กิจกรรมจัดสื่อส่งเสริม ทักษะภาษามุมเรียนรู้ใน สถาบันศึกษาปอเนาะ 3,000 3,000 100.00 1 1 100 ข้อที่ ๑ ร้อยละ ๘๐ ข้อที่ ๒ ร้อยละ ๘๐ - ร้อยละ ๑๐๐ - ร้อยละ ๑๐๐ ๓. ข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ตามคำสั่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่ 88/2566 สั่ง ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2566 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งมอบอำนาจอำนาจให้ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอ และผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขต ปฏิบัติราชการแทน ๔. ข้อพิจารณาและเสนอแนะ - จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ (ลงชื่อ)...................................................... (นางสาวนิรดา เอี่ยมสอาด) ครูอาสาปอเนาะ ความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา ............................................................................................................................. .................................................... ................................................................................................................................................................................ (นางหทัยกาญจน์ วัฒนสิทธิ์) ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสุไหงปาดี ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สกร.อำเภอสุไหงปาดี รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเจาะไอร้อง ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สกร.อำเภอเจาะไอร้อง
ก รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนตามที่สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนราธิวาส ได้จัดสรรงบประมาณประจำปี ๒๕๖6 จาก แผนงาน : ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โครงการ บริหารจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรมพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและตาม อัธยาศัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบรายจ่ายอื่น รหัสงบประมาณ 20002340036005000005 โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ รวมทั้งได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง บัดนี้การดำเนินการดังกล่าวลุล่วงไปด้วยดี ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเจาะไอร้อง ได้จัดทำ สรุปโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖6 และได้สรุปสาระสำคัญในภาพรวมของการดำเนินงาน เพื่อเผยแพร่ผลงาน การจัดกิจกรรม อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และภาคีเครือข่าย เพื่อนำไปเป็นข้อมูล พื้นฐานในการพัฒนางานให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป นางสาวนิรดา เอี่ยมสอาด สถาบันศึกษาปอเนาะอัลมูฮายีรีน สกร.อำเภอเจาะไอร้อง คำนำ
ข รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนเรื่อง หน้า บทที่ ๑ บทนำ - ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ ๑ - วัตถุประสงค์ ๑ - เป้าหมาย ๑ - งบประมาณ ๒ - ผู้รับผิดชอบโครงการ ๒ - เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ๒ - โครงการที่เกี่ยวข้อง ๓ - ผลลัพธ์ ๓ บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ๔ บทที่ ๓ วิธีดำเนินการ ๑๙ - ขั้นการเตรียมการ ๑๙ - ขั้นดำเนินการ ๑๙ - นิเทศติดตามผล และรายงานผล / ประเมินผล ๑๙ - ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ ๑๙ บทที่ ๔ ผลการศึกษา ๒๑ บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา ๒๔ บรรณานุกรม ๒๕ ภาคผนวก ๒๖ - ภาพประกอบกิจกรรม ๒๗ - โครงการ สารบัญ
๑ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนความเป็นมาและความสำคัญ สถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นศูนย์กลางในการศึกษาหา ความรู้ เป็นสถานศึกษาที่บริการการศึกษาที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนในชุมชนมากที่สุด เป็นกลไกสำคัญในการ สร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการตลอดเวลา ตลอดชีวิต โดยมีรูปแบบและการจัดเนื้อหาการศึกษาที่ตรงตามความสนใจของผู้เรียนและสอดคล้องกับ สภาพปัญหาและวิถีชีวิตของชุมชน มีการนำเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญา เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ ทั้งด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และด้านพัฒนาสังคมชุมชน และทุนชุมชนในการจัด กระบวนการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนามุมเรียนรู้และห้องสมุด ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถาบันศึกษาปอเนาะปอเนาะ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตและมี ชีวิตชีวาและยั่งยืน การอ่านมีความสำคัญมาก เทคโนโลยีมีความเจริญมากยิ่งขึ้น การอ่านยิ่งมีความสำคัญและจำเป็น มากเท่านั้น แต่การอ่านจะต้องได้รับการปลูกฝังจากครอบครัว โรงเรียน และสังคม ยุคปัจจุบันจะต้องสร้าง ความตระหนัก และฝึกฝนให้เป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียนยิ่งขึ้น จะต้องอ่านเก่ง คิดเป็น และสามารถสื่อสารได้ เพื่อ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพราะเมื่ออ่านมากยิ่งมีความรู้มาก สามารถนำความรู้ไปใช่ในการดำรงชีวิต ได้อย่างมีความสุข ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเจาะไอร้อง ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหาร โต๊ะครู ครูอาสาสมัครประ สถาบันศึกษาปอเนาะ และนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ ได้เห็นถึงความสำคัญชองการอ่าน จึงได้จัด โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ เพื่อง ส่งเสริมการรู้หนังสือไทยในสถาบันศึกษาปอเนาะ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยให้กับกลุ่มเป้าหมาย สามารถอ่านภาษาไทยได้ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านภาษาไทยแสวงหาความรู้ในการนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือไทยในสถาบันศึกษาปอเนาะ 2. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยให้กับกลุ่มเป้าหมายให้สามารถอ่านภาษาไทยได้ 3. เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านภาษาไทยแสวงหาความรู้ในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อให้ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป้าหมาย ๑. เป้าหมายเชิงปริมาณ - นักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะอัลมูฮายีรีน รวมจำนวน 15 คน ๒. เป้าหมายเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมการรู้หนังสือไทย การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย สามารถอ่านภาษาไทยได้ และการส่งเสริมการอ่านภาษาไทยแสวงหาความรู้ในการนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ บทที่ ๑ บทนำ
๒ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนงบประมาณ จากแผนงาน : ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โครงการบริหารจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรมพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและ ต า ม อ ั ธ ย า ศ ั ย ใ น จ ั ง ห ว ั ด ช า ย แ ด น ภ า ค ใ ต ้ ง บ ร า ย จ ่ า ย อ ื ่ น ร ห ั ส ง บ ป ร ะ ม า ณ 20002340036005000005 เป็นเงินจำนวน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) รายละเอียดดังนี้ 1.กิจกรรมส่งเสริมทักษะภาษาไทยในมุมเรียนรู้ตามอัธยาศัยในปอเนาะ โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ - ค่าอาหารกลางวัน (70 บาทx 15 คนx 1 มื้อ x 1 ปอเนาะ) = 1,050 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25 บาท x 15 คน x 2 มื้อx 1 ปอเนาะ) = 750 บาท - ค่าวัสดุ (200 บาท x 1 ปอเนาะ) = 200 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท 2.กิจกรรมจัดสื่อส่งเสริมทักษะภาษามุมเรียนรู้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ -ค่าจัดการซื้อสื่อ 3,000 x 1 ปอเนาะ = 3,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิรดา เอี่ยมสอาด ตำแหน่ง ครูอาสาฯปอเนาะ โทรศัพท์ 081-0991171 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเจาะไอร้อง โทรศัพท์ 073-544177 เครือข่าย ๑ ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนา/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๒ องค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล ๓ พัฒนาการอำเภอเจาะไอร้อง 4 สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนอำเภอเจาะไอร้อง โครงการที่เกี่ยวข้อง ๑ โครงการการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒ โครงการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 4 โครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 5 โครงการการศึกษาพัฒนาทักษะชีวิต 6 โครงการการศึกษาตามอัธยาศัย
๓ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนผลลัพธ์ ( Outcome ) กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมการรู้หนังสือไทย พัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยสามารถอ่าน ภาษาไทยได้ และส่งเสริมการอ่านภาษาไทยแสวงหาความรู้ในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวดัชนีชี้วัดผลความสำเร็จของโครงการ 1.ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) -ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อ พัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ 2.ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome) -ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมการรู้หนังสือไทย การพัฒนาทักษะการอ่าน ภาษาไทยสามารถอ่านภาษาไทยได้ และการส่งเสริมการอ่านภาษาไทยแสวงหาความรู้ในการนำความรู้ไป ใช้ประโยชน์ -ร้อยละ 100 สถาบันศึกษาปอเนาะ อำเภอเจาะไอร้อง ได้รับการพัฒนาสถานศึกษาและมีมุม เรียนรู้ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตแก่กลุ่มเป้าหมาย การติดตามและประเมินผลโครงการ ๑. การสังเกตการณ์ระหว่างเข้าร่วมการอบรม ๒. การกำกับและการติดตามผลการจัดกิจกรรม ๓. แบบสอบถามความพึงพอใจ
๔ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเน ภาษา หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบ นั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้นหรือสัญลักษณ์ ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่สุดในการสื่อความเข้าใจ ระหว่างกันของคนในสังคม ช่วยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ช่วยสร้าง ความสัมพันธ์ของคน ในสังคม ถ้าคนในสังคมพูดกันด้วย ถ้อยคำที่ดีจะช่วยให้คนในสังคมอยู่กันอย่างปกติ สุข ถ้าพูดกันด้วยถ้อยคำไม่ดี จะทำให้เกิดความบาดหมางน้ำใจกัน ภาษาจึงมีส่วนช่วยสร้างมนุษย สัมพันธ์ ของคนในสังคม ภาษาเป็นสมบัติของสังคม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี๒ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้คำจำกัดความ ของ คำว่า ภาษา ไว้ว่า "ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี๒ ประเภท คือ วัจนภาษาและอวัจนภาษา ๑. วัจนภาษา (verbal language) วัจนภาษา หมายถึง ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันใน สังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มี หลักเกณฑ์ทางภาษา หรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคมต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและ คิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษา และความเหมาะสมกับ ลักษณะ การสื่อสาร ลักษณะงาน เป้าหมาย ๒. อวัจนภาษา (non-verbal language) อวัจนภาษา หมายถึง เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูด และ ภาษาเขียน เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง สายตาหรือ ใช้วัตถุ การใช้ สัญญาณ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ หรือแสดงออกทางด้านอื่นที่สามารถรับรู้กันได้สามารถแปลความหมาย ได้และทำความเข้าใจต่อกันได้ ความหมาย : การสื่อสาร (communication) คือกระบวนการในการสร้างปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลในสังคมหรือในกลุ่ม เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาระหว่างผู้เกี่ยวข้อง โดยตั้งใจ (รู้ตัว) และไม่ตั้งใจ(ไม่รู้ตัว) และโดยที่แต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องจะเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสารไปด้วยกัน และ บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง การสื่อสาร (Communication) ความหมายของภาษา
๕ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนในเวลาเดียวกัน ในลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง (two-way Communication) เช่น ครูในฐานะผู้ส่ง สารพูดกับนักเรียนเป็นรายบุคคล หรือกับทั้งห้อง เป็นการสื่อสารความคิดของครูแก่นักเรียน ขณะเดียวกัน ครูก็เป็นผู้รับสารที่นักเรียนส่งกลับมาในรูปของสีหน้า แววตา ท่าทาง หรือคำพูด ที่สะท้อนถึงความคิดและ ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อครู ผู้สื่อสารที่ดีจึงต้องเป็นทั้งผู้ส่งสารที่ดี และผู้รับสารที่ดีในเวลาเดียวกัน กระบวนการสื่อสาร : กระบวนการสื่อสารมีหลายรูปแบบ ที่ใช้บ่อยได้แก่การสื่อสารโดย ใช้เสียง (Voice Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง การอุทาน การพูด (Verbal Communication) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารโดยเสียง กระบวนการสื่อสารอีกแบบ ที่ใช้มากและ สำคัญกว่าการใช้เสียงคือการสื่อสารด้วยภาษากาย (Physical or non-verbal Communication) เช่น การแสดงสีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหวร่างกาย การวางระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น วิธีการสื่อสารด้วย ภาษากายเหล่านี้ สามารถสะท้อนความคิดและความรู้สึกภายในของผู้ส่งสารได้อย่างเที่ยงตรงกว่าการใช้ คำพูด ในปัจจุบันมีการสื่อสารรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น การสื่อสารผ่านทางตัวหนังสือ (การเขียนจดหมาย เขียน ข่าว หรือเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่างๆ) การสื่อสารโดยระบบคอมพิวเตอร์ (E-mailWebsite เป็นต้น) อีกรูปแบบหนึ่งคือ การสื่อสารผ่านงานศิลป์ (การวาดภาพ งานปั้น และดนตรี เป็น ต้น)การสื่อสารในกลุ่มเหล่านี้ บางส่วนก็มีลักษณะเป็น one way communication เช่น การเขียน จดหมาย การเขียนบทความลงในสิ่งพิมพ์ ภาพวาด บางส่วนก็กึ่งๆ oneway และ twoway communication เช่น การสื่อสารโต้ตอบกันผ่าน website ที่แต่ละฝ่ายติดต่อกันผ่านข้อความบนหน้า คอมพิวเตอร์ โดยอาจมีภาพและเสียงประกอบ อย่างไรก็ตาม การสื่อสารในกลุ่มนี้ มีข้อจำกัดหลายอย่าง ยากต่อการสื่อความเข้าใจกันได้โดยสมบูรณ์ เมื่อเทียบกับการสื่อสารสองทางโดยการใช้เสียงและภาษากาย ประกอบ ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร (๑) ความพร้อมของผู้ส่งและผู้รับสาร : ผู้ส่งและผู้รับสารต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย ด้าน จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย ต้องพร้อม ไม่เจ็บป่วย พิการ อ่อนเพลีย หิวเกิน อิ่มเกิน สมองและระบบประสาท ทำงานเป็นปกติ เป็นต้น จิตใจและอารมณ์ อยู่ในสภาวะสุขสบายตามสมควร ไม่เครียดมาก ไม่วิตกกังวล ฟุ้งซ่าน หวาดระแวง ไม่ถูกครอบงำด้วยอารมณ์ที่รุนแรง หรือด้วยความคิดที่มีอคติ(ไม่ตรงต่อความจริง) สังคมและสิ่งแวดล้อมควร อยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวย ไม่มีสภาพของความกดดันมาก ผู้สื่อสารควรมีความรู้ความเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ของการสื่อสารนั้น เข้าใจการใช้ภาษาทั้งภาษา พูด ภาษากาย เข้าใจและรู้กระบวนการสื่อสาร เป็นต้น (๒) สภาพของสื่อ:สื่อที่ดีควรมีลักษณะง่าย สั้น ไม่ซับซ้อน ใช้ภาษาและท่าทางที่เข้าใจกัน บน พื้นฐานทางสังคมประเพณี วัฒนธรรมที่คล้ายๆ กัน มีการเรียบเรียงออกมาอย่างเป็นระบบเป็นต้น
๖ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเน(๓) กระบวนการสื่อสาร:สื่อไม่ว่าในรูปของเสียง คำพูด หรือภาษากาย ควรแสดงออกมาโดย ชัดเจน สามารถส่ง และรับสารได้ไม่ยาก เหมาะสมกับเนื้อหา เหตุการณ์ และโอกาส เช่น พูดชัด มองเห็น ได้ชัดเจน มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่สอดคล้องกัน เป็นต้น (๔) สัมพันธภาพ:สัมพันธภาพที่ดีต่อกันเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าผู้ส่งและผู้รับสื่อมีสัมพันธภาพต่อกัน โดยเหมาะสม การสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งสองก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทักษะในการสื่อสารที่ดี ๑. attending คือ การตั้งใจ ให้ความสำคัญต่อการส่งและรับสื่อ เช่น การพูดอย่างตั้งใจ การ แสดงความสนใจ การสบตา การแสดงท่าที่กระตือรือร้น สนใจ เช่น การขยับตัวเข้าไปใกล้ การผงกศีรษะ แสดงความเข้าใจ เป็นต้น ๒. Paraphasing คือ การพูดทวนการสะท้อนคำพูด เป็นการแสดงความสนใจและความต้องการ ที่จะรู้เพิ่มเติม ๓. Reflection of feeling คือ การสะท้อนอารมณ์ที่อีกฝ่ายแสดงออกมา กลับไปให้ผู้นั้นเข้าใจ อารมณ์ของตนเองมากขึ้น ๔. Summarizing คือ การสรุปความ ประเด็นที่สำคัญเป็นระยะ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ๕. Probing คือ การซักเพิ่มเติมประเด็นที่สนใจ เพื่อหาความชัดเจนเพิ่มขึ้น ๖. Self disclosure คือ การแสดงท่าทีเปิดเผยเป็นมิตรของผู้ส่งสารโดยการแสดงความคิดเห็น หรือความรู้สึกของตน ที่ไม่ใช่การขัดแย้ง หรือตำหนิ ๗. Interpretation คือ การอธิบายแปรความหมายในประสบการณ์ที่อีกฝ่ายแสดงออกเพื่อให้ เกิดความเข้าใจ รู้ในสิ่งที่มีอยู่ นั้นมากขึ้น ๘. Confrontation คือการนำประเด็นที่ผู้ส่งสารพูดหรือแสดงออกด้วยท่าทาง ที่เกิดจากความ ขัดแย้ง สับสน ภายในของผู้ส่งสารเองกลับมา ให้ผู้ส่งสารได้เผชิญกับความขัดแย้ง สับสนที่มีอยู่ในตนเอง เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในตนเองเพิ่มขึ้น ธรรมชาติในปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ Robert E.Park ธรรมชาติในปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์มี๔ รูปแบบ ด้วยกัน ได้แก่ ๑. การแข่งขัน (Competition) ๒. ความขัดแย้ง (Conflict) ๓. ความอารีอารอบต่อกัน (accommodation) ๔. การซึมซับ (assimilation) การจัดการที่ดี โดยเทคนิคการสื่อสาร จะช่วยลดการแข่งขันและขัดแย้ง เกิดความอารีอา รอบ และการยอมรับซึ่งกันและกัน เกิดสังคมที่เป็นสุข และก้าวหน้าต่อไป
๗ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเน"แบบจำลองการสื่อสารขั้นพื้นฐาน" แบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสาร เป็นแผนภาพที่ใช้อธิบายการสื่อสารอย่างง่ายๆ บางแบบก็มี ความยุ่งเหยิงซับซ้อน บางแบบอธิบายปัจจัยในตัวคน บางแบบก็อธิบายความสัมพันธ์ของคนกับสังคมหรือ สิ่งแวดล้อม หรือบางแบบก็มองอิทธิพลของสังคมต่อการกระทำการสื่อสารของคน แต่อย่างไรก็ตาม แบบจำลองแต่ละแบบก็มีจุดมุ่งหมายในการอธิบายกระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันเพราะแบบจำลองก็ คือ คำอธิบายตัวทฤษฎีโดยพยายามทำให้ง่ายและสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ สามารถกำหนดทางเลือก ของการคาดคะเนพฤติกรรม หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังสามารถ นำไปประยุกต์ได้ เป็นคำอธิบายของกระบวนการสื่อสารโดยทั่วๆ ไปได้ โดยไม่ได้เจาะจงว่าเป็น กระบวนการสื่อสารประเภทใด แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึงก็คือว่า แต่ละทฤษฎีหรือแบบจำลองนั้นไม่ สามารถจะอธิบายกระบวนการสื่อสารทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ แต่ต้องอาศัยทฤษฎีหลาย ๆ ทฤษฎีมาช่วย อธิบายเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แบบจำลองการสื่อสารที่จะกล่าวในที่นี้จะมีเพียง ๕ แบบจำลอง จากหลายๆ แบบจำลองที่เป็นแบบจำลองหรือทฤษฎีการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่สำคัญๆดังนี้ ๑. แบบจำลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของแชนนันและวีเวอร์ แชนนัน (C. Shannon) และวีเวอร์(W. Weaver) ได้สร้างแบบจำลอง การสื่อสารขั้นพื้นฐาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งถือเป็นแบบจำลองที่รู้จักกันแพร่หลายในวงการสื่อสารยุคเริ่มต้นในชื่อว่า แบบจำลองการสื่อสารเชิงทฤษฎีคณิตศาสตร์(The Mathematical Theory of Communication) ที่ ชื่อเป็นแบบนี้เพราะผู้คิดค้นแบบจำลองที่ชื่อว่า แชนนัน เป็นนักคำนวณด้านวิศวกรรมไฟฟ้า โดยเขาคิดค้น ขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน การสื่อสารทางโทรศัพท์ในประเด็นที่ว่า การติดต่อสื่อสารประเภทใด จึงจะทำให้จำนวนของสัญญาณมีได้มากที่สุด และสัญญาณที่ถ่ายทอดไปจะถูกทำลายโดยสิ่งรบกวนมาก น้อยเพียงไรนับแต่เริ่มส่งสัญญาณไปจนถึงผู้รับ แบบจำลองการสื่อสารประเภทนี้ เป็นแบบจำลองการสื่อสารที่พยายามเอาวิชาการหรือทฤษฎี ทางด้านคณิตศาสตร์มาอธิบายถึงกระบวนการหรือปรากฎการณ์ทางการสื่อสาร การสื่อสารตามแนวความคิดของแชนนัน และเพื่อนร่วมงานที่ชื่อว่า วีเวอร์นั้นเป็นแบบจำลองกระบวนการ สื่อสารทางเดียวในเชิงเส้นตรง คือ ถือว่าการสื่อสารเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพียง ฝ่ายเดียว ซึ่งองค์ประกอบของการกระทำการสื่อสารตามแบบจำลองของแชนนันและวีเวอร์ มี ด้วยกัน ๖ ประการ ตามแผนภาพดังนี้
๘ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนจากแบบจำลองนี้ จะเห็นได้ว่า "แหล่งสารสนเทศ" จะทำหน้าที่ สร้างสารหรือเนื้อหาข่าวสารซึ่ง อาจเป็นรูป คำพูด ข้อเขียน ดนตรี หรือ รูปภาพ เป็นต้น ซึ่งสารนี้จะถูกสื่อออกไปโดยสารนั้นจะถูกสร้าง ขึ้นเป็นสัญญาณโดย "ตัวถ่ายทอด"หรือ"ตัวแปลสาร" สัญญาณนี้จะถูกปรับเปลี่ยนโดยเหมาะกับ "ทาง ติดต่อ" หรือ "ผ่านช่องสาร" ไปถึง "ผู้รับ" หน้าที่ของ "ผู้รับ" จะแปลงสัญญาณที่ได้รับกลับมาเป็นสาร แสดงว่า "สาร" ไปถึงจุดหมายปลายทางของการสื่อสาร ตัวอย่าง เช่น นาย ก. แหล่งสารสนเทศ ส่งเนื้อหาข่าวสารเป็นคำเขียนโดยส่งผ่านเครื่องส่งหรือ ตัวแปลสารหรือตัวถ่ายทอด แปลงคำเขียนเป็นสัญญาณ เช่น สัญญาณโทรเลข โทรสารส่งผ่านช่องสารโดย สัญญาณนั้น จะต้องเหมาะสมกับช่องสารด้วยก่อนไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทาง โดยผ่านสัญญาณนั้นมาที่ เครื่องรับทางฝ่ายผู้รับ เพื่อแปลงสัญญาณกลับมาเป็นเนื้อหาของสาร(คำเขียน) อีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงส่งไปยัง จุดหมายปลายทาง (สมมตินาย ข. เป็นผู้รับสาร ผู้รับสารรับทราบสารดังกล่าว) ซึ่งอาจเกิดอุปสรรคหรือ เสียงรบกวนหรือสิ่งรบกวนได้ในขบวนการของช่องทางการสื่อสาร แล้วแต่กรณี ๆ ไป เช่น กรณีโทรสารที่ ส่งผ่านมาทางสัญญาณโทรศัพท์ ผู้ส่งอาจส่งมาจำนวน ๕ หน้า แต่ผู้ได้รับอาจได้รับเพียง ๔ หน้า อุปสรรค อาจเกิดจากปัญหาของสัญญาณ หรือจากการส่งถึงฝ่ายสารบรรณ ก่อนถึงตัวผู้รับแล้วจำนวนหน้าอาจ หายไป ๑ หน้าก็เป็นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการติดต่อสื่อสารกลับไปยังผู้ส่งสารใหม่ เพื่อให้ส่งเนื้อหาของสาร หน้าที่ขาดหายไปมาใหม่ (ตามกระบวนการเดิมข้างต้น) แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ การลดอุปสรรคทางการ สื่อสารนี้อาจทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่กระทำในการลดอุปสรรค ทางการสื่อสารนี้ อาจทำให้ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย หรือทำให้ข้อมูลที่ต้องการส่งออกไปยังผู้รับลด น้อยลงได้ ในครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ในกรณีข้างต้นที่ต้องมีการติดต่อกลับไปยังผู้ส่งสารใหม่ เพื่อจัดส่งข้อมูล หน้าที่ขาดหายไป ส่วนกรณีหลังการส่งข้อมูลซ้ำ ๆ ในช่องทางของการโทรสาร (Fax) จะทำให้สิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย หรือถ้าหากมีการกำหนดในการส่งสัญญาณแต่ละครั้งว่ากี่หน้าก็จะทำให้ส่งข้อมูลออกไปได้ น้อยลง แบบจำลองการสื่อสารเชิงคณิตศาสตร์ของแชนนันและวีเวอร์นี้ ถือได้ว่าเป็นต้นแบบแห่ง ความคิดและกระตุ้นให้นักวิชาการเกิดความสนใจในการคิดค้นแบบจำลองการสื่อสารของมนุษย์มากยิ่งขึ้น
๙ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเน๒. แบบจำลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของลาสเวลล์ ฮาโรลด์ ดี ลาสเวลล์(Harold D. Lasswell) นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้เสนอบทความที่เป็น การเริ่มต้นอธิบายการสื่อสารที่มีคนรู้จักมากที่สุด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยเสนอว่า วิธีที่สะดวกที่จะอธิบาย การกระทำการสื่อสารก็คือ การตอบคำถามต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ๑. ใคร (who) ๒. กล่าวอะไร (says what) ๓. ผ่านช่องทางใด (in which channel) ๔. ถึงใคร (to whom) ๕. เกิดผลอะไร (with what effect) จากข้อความดังกล่าวข้างต้น สามารถเขียนเป็นแบบจำลองการสื่อสารได้ดังนี้
๑๐ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนแบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของฮาโรลด์ ดี ลาสเวลล์ แบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์เป็นทฤษฎีการสื่อสารที่อธิบายกระบวนการสื่อสารเชิง พฤติกรรม เป็นการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เนื้อหาข่าวสารชนิดของสื่อ และผลที่เกิดจากการกระทำการสื่อสารนั่นเอง นอกเหนือจากนั้นแบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์ข้างต้นนี้ ยังถือว่าเป็นตัวแทนของ แบบจำลองการสื่อสารในระยะแรกๆแบบจำลองนี้ถือว่าผู้ส่งสารมีเจตนาในอันที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้รับสาร เพราะช่วงระยะเวลาที่ลาสเวลล์ให้คำอธิบายนี้ เป็นระยะที่นักวิชาการผู้สนใจวิชาการทางด้านนี้มีความเชื่อ ว่า กระบวนการสื่อสารนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นกระบวนการในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่า สารที่ส่งไปนั้น จะต้องมีผลเสมอไป และโดยส่วนตัวแล้วลาสเวลล์เป็นผู้ที่สนใจต่อการสื่อสารทางการเมือง และการ โฆษณาชวนเชื่อ แบบจำลองนี้จึงเหมาะแก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้ม น้าวใจ แต่อย่างไรก็ตามมีผู้วิจารณ์ทฤษฎีนี้ว่า ลาสเวลล์อธิบายกระบวนการสื่อสารอย่างง่ายเกินไปเพราะ จริง ๆ แล้วกระบวนการสื่อสารมีความซับซ้อนมากกว่าที่จะพิจารณาเพียงว่าผู้ส่งสารส่งข่าวสารไปยังผู้รับ สารโดยผ่านช่องทางการสื่อสารแบบหนึ่งแบบใด และเกิดผลจากการสื่อสารนั้น ๆ ซึ่งผลในที่นี้ไม่ได้ดูในแง่ ปฏิกิริยาตอบกลับของผู้รับสารว่าพอใจหรือไม่พอใจ เชื่อหรือไม่เชื่อ คิดแต่เพียงว่าจะต้องมีผลตาม เจตนารมณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการ เช่นต้องการโฆษณาชวนเชื่อหรือโน้มน้าวใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นต้น เพราะการ สื่อสารโดยทั่วไปยังมีปัจจัยอื่น ๆ เกิดขึ้นในขณะทำการสื่อสารด้วย เช่น สภาพสิ่งแวดล้อม จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร และข้อสำคัญทฤษฎีนี้ขาดปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในกระบวนการสื่อสาร นั่น คือ ผลสะท้อนกลับหรือปฏิกิริยาตอบกลับ (feedback) ในกรณีของปฏิกิริยาย้อนกลับ (Feedback) หรือบางคนก็เรียกว่าผลสะท้อนกลับหรือปฏิกิริยา ตอบกลับนี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่าง บุคคล การสื่อสารกลุ่มเล็ก-กลุ่มใหญ่ หรือการสื่อสารมวลชน เพราะปฏิกิริยาสะท้อนกลับนี้จะเป็นตัว บ่งชี้ได้ถึงผลของการสื่อสารในแต่ละครั้งว่าผู้รับสารมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรต่อสารที่ได้รับนั้น นอกจากนั้น ปฏิกิริยาสะท้อนกลับจะทำให้องค์ประกอบของการสื่อสารครบบริบูรณ์ขึ้น คือ มีการสื่อสาร ทั้งจากผู้ส่งสาร และผู้รับสารที่เรียกว่า Two-way Communication หรือการสื่อสารสองทาง ซึ่งสามารถ ที่จะเขียนออกมาเป็นแบบจำลองคร่าว ๆ คือ
๑๑ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนตัวอย่างในเรื่องของปฏิกิริยาสะท้อนกลับนี้ หากเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลจะ สังเกตเห็นได้ง่ายโดยตรงและทันที เช่น ก. ผู้ส่งสาร ทำการสื่อสารกับ ข. ผู้รับสารโดยคุยกันเกี่ยวกับหัวข้อ เรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ หาก ข. มีความรู้สึก หรือมีความคิดหรือมีทัศนคติไม่เห็นด้วย ข. ก็สามารถแสดง ปฏิกิริยาสะท้อนกลับไปได้ทันท่วงทีด้วยการใช้คำพูดหรือการใช้กิริยาท่าทางที่นิ่งเฉยก็ได้ ซึ่ง ก. จะได้รับรู้ ในเวลาเดียวกัน แต่ถ้าหากว่าเป็นการสื่อสารในระดับการสื่อสารมวลชนที่ผ่านทางองค์กรสื่อสารมวลชน ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นั้นปฏิกิริยาสะท้อนกลับจะเป็นไปได้ช้ากว่าการสื่อสารระหว่าง บุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อหนังสือพิมพ์ ที่ลงข่าวหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วผู้อ่าน ไม่เห็นด้วย ผู้อ่านหรือผู้รับสารอาจสามารถแสดงปฏิกิริยาสะท้อนกลับได้ด้วยการส่งจดหมายถึง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ๆ หรือหากไม่ชอบกับการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับใดมาก ๆ อาจจะ แสดงปฏิกิริยาสะท้อนกลับด้วยการเลิกซื้อหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นก็ได้ แต่ถ้าเป็นสื่อวิทยุ และวิทยุโทรทัศน์ แล้วเป็นการจัดรายการสดมีการเปิดโอกาสให้ผู้รับฟังและรับชมสามารถโทรศัพท์เข้าไปแสดงความคิดเห็น ในรายการได้โดยตรง ก็ถือว่าเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับไปยังผู้ส่งสารได้รวดเร็วเช่นกัน เพียงแต่ผู้รับสาร จำนวนมากๆ เหล่านั้นไม่สามารถแสดงปฏิกิริยาตอบกลับได้ในเวลาเดียวกันหมดทุกคน (มีความแตกต่าง ในเวลาในการแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ) ๓. แบบจำลองการสื่อสารตามแนวความคิดของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์ แบบจำลองการสื่อสารที่ออสกูดเป็นต้นคิด และวิลเบอร์ ชแรมม์ นำมาขยายความและเป็นผู้เสนอไว้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ นี้ มีลักษณะเป็นวงกลม ที่เน้นให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างกระทำหน้าที่อย่าง เดียวกันในกระบวนการสื่อสาร นั่นคือ การเข้ารหัส (encoding) การถอดรหัส (decoding) และการตีความ (interpreting) ซึ่งสามารถแสดงเป็นภาพได้ดังนี้
๑๒ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนแบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์ ความหมายของการเข้ารหัส การถอดรหัส และการตีความสาร การเข้ารหัสหมายถึง การที่ผู้ส่งสาร แปลสาร (ข้อมูล ความคิด ความรู้สึก) ให้เป็นภาษา หรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะแก่วิธีการถ่ายทอด หรือสื่อ หรือช่องทางการสื่อสาร และเหมาะกับผู้รับสาร กลุ่มเป้าหมาย การถอดรหัส หมายถึง การที่ผู้รับสารแปลรหัสหรือภาษากลับเป็นสาร (ข้อมูลความคิด ความรู้สึก) อีกครั้งหนึ่งเพื่อสกัดเอาความหมายที่ผู้ส่งสารส่งมาหรือต้องการสื่อความหมาย มา การตีความสาร หมายถึง การที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถที่จะตีสารที่ตนได้รับไป ในทางที่อีกฝ่ายหนึ่งประสงค์(ตีความหมายสารได้ตรงกัน) การสื่อสารในครั้งนั้น ๆ ก็จะสัมฤทธิ์ผล การ ตีความสารนี้มีความสำคัญมากต่อผลของการสื่อสาร และการตีความสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะ คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันจะขึ้นอยู่กับกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of reference) ของผู้กระทำการ สื่อสารทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นสำคัญ ตัวอย่างของการเข้ารหัสและการถอดรหัส เช่น ในการสนทนาระหว่างบุคคล ๒ คน การทำหน้าที่ เข้ารหัสสาร กระทำได้โดยกลไก การพูด และกล้ามเนื้อซึ่งสามารถแสดงอากัปกิริยาได้ ส่วนการถอดรหัส จะ เกิดขึ้นได้โดยประสาทสัมผัสทั้งหลายเช่น ประสาทสัมผัสของการได้ยินได้ฟัง ประสาทสัมผัสของการเห็น สัมผัสแตะต้อง ตลอดจนการได้กลิ่นและการได้ลิ้มรส ตัวอย่างของการตีความสารตามกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of reference) หรือกรอบแห่ง ประสบการณ์ร่วม (Field of experience) เช่น ในการสื่อสารระหว่างสมชาย (พ่อ) กับสมศักดิ์(ลูก) ใน ตอนสายของเช้าวันหนึ่ง ที่พ่อเข้ามาเห็นลูกนั่งอยู่ที่บ้านโดยยังไม่ยอมไปโรงเรียน พ่อจึงถามสมศักดิ์ว่า ทำไม จึงยังไม่ไปโรงเรียน สมศักดิ์ ตอบพ่อว่า "ผมไม่มีมู้ด" เมื่อสมชาย (พ่อ) ได้ยินเช่นนั้น ก็บอกว่า "เอ้า ไม่มีมู้ด ก็เอาเงินไปซื้อซะ" สมศักดิ์ก็ตอบว่า "พ่อไม่เข้าใจ ผมไม่มีมู้ดครับ" ที่เป็นเช่นนี้เพราะ สมชายตีความสารที่ สมศักดิ์ส่งมาในการสื่อสารครั้งนั้นผิดพลาดไป โดยคิดว่ามู้ดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนอย่างหนึ่ง เหมือน อย่างกับที่สมศักดิ์เคยขอสตางค์ไปซื้อเพื่อนำไปโรงเรียน นั่นหมายความว่า สมชายตีความสารของสมศักดิ์จากประสบการณ์ร่วมที่เคยมีกันมาก่อน ๔. แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โล เดวิด เค เบอร์โล (David K. Berlo) เสนอแบบจำลองการสื่อสารไว้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ โดย อธิบายว่า การสื่อสารประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ ๖ ประการ คือ ๑. ต้นแหล่งสาร (communication source) ๒. ผู้เข้ารหัส (encoder) ๓. สาร (message) ๔. ช่องทาง (channel) ๕. ผู้ถอดรหัส (decoder) ๖. ผู้รับสาร (communication receiver)
๑๓ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนจากส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ 6 ประการนั้น เบอร์โล ได้นำเสนอเป็นแบบจำลองการ สื่อสารที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปว่า "แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล"(Berlo's SMCR Model)โดยเบอร์โลได้รวม ต้นแหล่งสารกับผู้เข้ารหัสไว้ในฐานะต้นแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร และรวมผู้ถอดรหัสกับผู้รับสารไว้ในฐานะ ผู้รับสาร แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โลนี้ จึงประกอบไปด้วย S (Source or Sender) คือ ผู้ส่งสาร M (Message) คือ สาร C (Channel) คือ ช่องทางการสื่อสาร R (Receiver) คือ ผู้รับสาร ซึ่ง ปรากฎในภาพต่อไปนี้ จากแบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โลข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่า ผู้ส่งสาร (Source or S) คือ ผู้เริ่มต้นการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการเข้ารหัส ซึ่งผู้ส่งสารจะทำหน้าที่ ในการสื่อสารได้ดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติต่าง ๆ ๕ ประการคือ ๑. ทักษะในการสื่อสาร เช่น ความสามารถในการพูด การเขียน และ ความสามารถในการคิดและ การใช้เหตุผล เป็นต้น ๒. ทัศนคติ หมายถึง วิธีการที่บุคคลประเมินสิ่งต่าง ๆ โดยความโน้มเอียงของตนเองเพื่อที่จะ เข้าถึงหรือเป็นการหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น ๆ เช่น ทัศนคติต่อตนเอง ต่อหัวข้อของการสื่อสาร ต่อผู้รับสาร ต่อ สถานการณ์แวดล้อมการสื่อสารในขณะนั้น เป็นต้น ๓. ความรู้ หมายถึง ความรู้ของผู้ส่งสาร ในเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ บุคคลหรือกรณี แวดล้อมของสถานการณ์การสื่อสารในครั้งหนึ่ง ๆ ว่ามีความแม่นยำหรือถูกต้องเพียงไร ๔. ระบบสังคม ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการสื่อสารของบุคคล เพราะบุคคลจะขึ้นอยู่กับ กลุ่มทางสังคมที่ตนเองอยู่ร่วมด้วย ๕. ระบบวัฒนธรรม หมายถึง ขนบธรรมเนียม ค่านิยม ความเชื่อ ที่เป็นของตัวมนุษย์ในสังคม และเป็นตัวกำหนดที่สำคัญในการสื่อสารด้วย เช่น การสื่อสารระหว่างบุคคลต่างวัฒนธรรมกัน อาจประสบ ความล้มเหลวได้เนื่องจากความคิดและความเชื่อที่มีไม่เหมือนกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ในแง่ของสาร (Message or M) นั้น เบอร์โล หมายรวมถึง ถ้อยคำ เสียง การแสดงออกด้วยสี
๑๔ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนหน้า อากัปกิริยาท่าทาง ที่มนุษย์สร้างขึ้นในขณะที่เป็นผู้ส่งสาร ถ้าความหมายเป็นทางการ ก็คือ ผลผลิต ทางกายภาพที่เป็นจริงอันเกิดจากผลการเข้ารหัสของผู้ส่งสารนั่นเอง ตามความคิดของเบอร์โลนั้น สารมี คุณสมบัติ๓ ประการคือ ๑. รหัสของสาร (message code) เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง หรือรหัสอื่น ๆ ๒. เนื้อหา (content) ๓. การจัดสาร (treatment) คือ วิธีการที่ผู้ส่งสารเลือกและจัดเตรียมเนื้อหาของสาร เช่น การใช้ ภาษา ไวยากรณ์ ศัพท์ รวมถึง คำถาม คำอุทาน ความคิดเห็น เป็นต้น สารที่ถูกจัดเตรียมไว้ดี จะทำให้เกิด การรับรู้ความหมายในผู้รับสารได้ ส่วนช่องทาง (Channel or C) ช่องทาง ซึ่งเป็นพาหนะนำสารไปสู่ผู้รับสาร และตามทัศนะของ เบอร์โล ทางติดต่อหรือช่องทางที่จะนำสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกทั้ง ๕ ประการของมนุษย์ ได้แก่ ๑. การเห็น ๒. การได้ยิน ๓. การสัมผัส ๔. การได้กลิ่น ๕. การลิ้มรส ประการสุดท้ายในด้านของผู้รับสารนั้น ก็จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติด้านต่างๆ ๕ ประการ เช่นเดียวกับผู้ส่งสาร คือ ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ ระบบสังคมและระบบวัฒนธรรม ๕. แบบจำลองการสื่อสาร ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของนิวคอมบ์นี้ เป็นแบบจำลองเชิงจิตวิทยา เน้นว่า การ สื่อสารจะเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุลย์หรือความเหมือนกัน ทางความคิด ทัศนคติ และ พฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่าการสื่อสารสามารถช่วยให้เกิดความตกลงใจหรือยอมรับในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหมือน ๆ กัน แต่เมื่อใดเกิดความไม่สมดุลย์ แน่นอนความยุ่งยากทางจิตใจจะเกิดขึ้น แน่นอนมนุษย์ก็จะ พยายามทำการสื่อสารในรูปของการแสวงหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ อาจจะเป็นสื่อมวลชน เพื่อนฝูง คนรอบ ข้าง คนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือเรื่องที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์นั้น โดยนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อขจัดความยุ่งยากหรือความเครียดอันเกิดจากความไม่สมดุลย์นั้น ๆ แบบจำลอง ABX ของนิวคอมม์ เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ของคน ๒ คน (คือ A และ B ) กับ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ วัตถุ สิ่งของ หรืออื่น ๆ (ในที่นี้สมมติว่าเป็น X ) จะได้ครบตามชื่อ ทฤษฎีเลย คือทั้ง A ทั้ง B และ XX
๑๕ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนhttp://e-book.ram.edu/e-book/m/mc111/mc111_03_04.html การสื่อสารดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นเพื่อที่จะสนับสนุนทัศนคติที่มีต่อกัน โดยการรักษาความสมดุลย์ให้ คงไว้ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ยิ่งขึ้น โดยการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความ เปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการปรับตัวหรือปรับทัศนคติ นั่นคือ ความต้องการความสมดุลย์กระตุ้นให้เกิดการ สื่อสาร (การแลกเปลี่ยนข้อมูล, ความคิดเห็น) ซึ่งเป็นลักษณะปกติของความสัมพันธ์ เช่น A กับ B ไม่รู้จัก กันมาก่อน ไม่ได้รู้สึกไม่ชอบหน้าหรือไม่ได้เกลียดกัน หรืออย่างน้อยก็เฉย ๆ แนวโน้มที่ A กับ B จะมี ความคิดหรือทัศนคติต่อ X ที่คล้ายคลึงกันก็ได้ แต่ถ้าความรู้สึกหรือทัศนคติที่มีต่อ X ไม่เหมือนกันเลย ก็ อาจจะมีทางออกได้๓ อย่างคือ ทั้ง A และ B ต่างก็ต้องหันกลับไปทำการสื่อสารด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อหา ข้อมูลมาสนับสนุนในสิ่งที่ตนเองมีความรู้สึกต่อ X ถ้าหากเดิม A ชอบ X แต่B ไม่ชอบ X เมื่อต่างฝ่ายต่าง หาข้อมูลมาสนับสนุนหรือเพื่อลดความขัดแย้งแล้ว เหตุผลของ A ดีกว่า B ก็อาจจะหันมาชอบหรือเห็น ด้วยกับ X ก็ได้ แต่ถ้าหากเหตุผลของ B ดีกว่า A ก็อาจจะหันมาไม่ชอบ X ไปกับ B ด้วยก็ได้ หรือถ้าหาก ไม่ได้เป็นไปใน ๒ แนวทางนั้น ก็อาจมีหนทางที่ ๓ ก็คือต่างคนต่างยืนยันในสิ่งที่ตนเองชอบ และไม่ชอบ ก็ จะทำให้ความคิดของทั้งสองฝ่ายคงเดิมแล้วบุคคลทั้ง ๒ ก็เลิกทำการติดต่อกันเสียในเรื่องนั้น ๆ เพราะฉะนั้นเหตุและผลของการกระทำการสื่อสาร มิได้เป็นไปเพื่อการสร้างความ เหมือนกันหรือความสมดุลย์กันแต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเป็นไปเพื่อยืนยันความแตกต่างกันก็ได้หรือ เพื่อสร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นก็ได้แบบจำลองของนิวคอมป์นี้ ไม่สามารถนำไปอธิบายการสื่อสาร ของกลุ่มขนาดเล็กในระดับสังคมที่ใหญ่โตได้ เพราะสังคมที่ใหญ่นั้น มนุษย์มิได้มีความต้องการที่จะให้ เหมือนกัน หรือไม่สามารถเป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนระดับบุคคลนอกจากแบบจำลองการสื่อสารตาม แนวความคิดของนิวคอมป์แล้วยังมีการศึกษาค้นคว้าแบบเดียวกันกับของนิวคอมป์ คือ การศึกษาของ นักจิตวิทยาสังคม ที่ชื่อว่า เฟสติงเจอร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เฟสติงเจอร์ เป็นผู้ตั้งทฤษฎีความไม่สอดคล้อง ทางความคิด (Cognitive Dissonance Theory) โดยค้นพบว่า การตัดสินใจ ทางเลือกและข่าวสารข้อมูล ใหม่ ๆ ทั้งหลาย มีศักยภาพสูงพอที่จะก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องกันหรือความไม่เหมือนกันทางความคิด ก่อให้เกิดความยุ่งยากใจ เป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา ดังนั้นผู้ที่เกิดความยุ่งยากใจหรือเกิดความคิดที่ไม่ สอดคล้องกัน จะถูกกระตุ้นด้วยความรู้สึกนั้น ๆ ให้ต้องไปแสวงหาข้อมูลเพื่อจะมาช่วยสนับสนุนการ ตัดสินใจ หรือการเลือกทางเลือกที่ได้ตัดสินใจกระทำลงไป เช่น ซื้อรถมาคันหนึ่งแล้ว ก็ยังไม่วายที่จะ แสวงหาข้อมูลที่จะมาสนับสนุนการตกลงใจ หรือการตัดสินใจของตนเองอยู่เสมอ อาจจะด้วยการอ่าน
๑๖ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนโฆษณาเกี่ยวกับรถ นิตยสารรถ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เป็นยี่ห้อเดียวกับที่ตนซื้อมา หรือพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ที่ตัดสินใจซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เหมือนกับตน มากกว่าที่จะอ่านโฆษณารถหรือผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่น ๆ หรือมากกว่าที่จะติดต่อสื่อสารกับคน ที่ตัดสินใจไม่เหมือนตน แต่ในบางครั้งก็อาจแสวงหาข่าวสารผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน แต่เป็นยี่ห้ออื่น ๆ เพื่อหาข้อเสียหรือจุดบกพร่องของยี่ห้อนั้น ๆ เพื่อเป็นการเน้นถึงสิ่งที่เราได้ตัดสินใจกระทำลงไปว่าถูกต้อง และดีที่สุดแล้วเช่นกัน
๑๗ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนความสำคัญของภาษาไทย ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และ เสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติ ได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ความคิด วิเคราะห์วิจารณ์และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความ มั่นคง ทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณีชีวทัศน์โลกทัศน์และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำ ค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทย ตลอดไป ธรรมชาติ / ลักษณะเฉพาะ ของภาษาไทย ภาษาไทยเป็นเครื่องมือใช้สื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและตรงตามจุดหมายไม่ว่าจะ เป็นการแสดงความคิด ความต้องการและความ รู้สึก คำในภาษาไทยย่อมประกอบด้วยเสียง รูป พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และความหมาย ส่วนประโยคเป็นการเรียงคำตามหลักเกณฑ์ของภาษา และ ประโยคหลายประโยคเรียงกันเป็นข้อความ นอกจากนั้นคำในภาษาไทยยังมีเสียงหนัก เบา มีระดับของ ภาษา ซึ่งใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ตามสภาพ วัฒนธรรมของกลุ่มคน ตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ การใช้ภาษาเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิด ความชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง และการดูสื่อต่างๆ รวมทั้งต้องใช้ให้ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ทางภาษา เพื่อสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพ และ ใช้อย่างคล่องแคล่ว มีวิจารณญาณและ มีคุณธรรม วิสัยทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของคนในชาติเพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจกันและใช้ภาษาในการประกอบ กิจการงานทั้งส่วนตัว ครอบครัว กิจกรรมทางสังคมและประเทศชาติเป็นเครื่องมือการเรียนรู้การบันทึก เรื่องราวจากอดีตถึงปัจจุบัน และเป็นวัฒนธรรมของชาติดังนั้นการเรียนภาษาไทย จึงต้องเรียนรู้เพื่อให้ เกิด ทักษะอย่างถูกต้อง เหมาะสมในการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนแสวงหาความรู้ และ ประสบการณ์เรียนรู้ในฐานะเป็นวัฒนธรรมทางภาษาให้เกิดความชื่นชม ซาบซึ้ง และภูมิใจในภาษาไทย โดยเฉพาะคุณค่าของวรรณคดี และภูมิปัญญาทางภาษา ของบรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้อันเป็นส่วน เสริมสร้างความงดงามในชีวิต ความสำคัญของภาษาไทย
๑๘ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเน การเรียนรู้ภาษาไทยย่อมเกี่ยวพันกับความคิดของมนุษย์ เพราะภาษาเป็นสื่อของความคิดการ เรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์คิดวิพากษ์วิจารณ์คิดตัดสินใจแก้ปัญหา และ วินิจฉัยอย่างมีเหตุผล ขณะเดียวกันการใช้ภาษาอย่างมีเหตุผลใช้ในทางสร้างสรรค์และใช้ภาษาอย่าง สละสลวยงดงาม ย่อมสร้างเสริมบุคลิกภาพของผู้ใช้ภาษาให้น่าเชื่อถือ และ เชื่อภูมิด้วย ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การอ่าน การฟังเป็นทักษะของการแสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ ภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการสื่อสารให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์สามารถเลือกใช้ คำ เรียบเรียงความคิด ความรู้ และใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ได้ตรงตามความหมาย และถูกต้อง ตามกาลเทศะ บุคคล และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษาไทยมีส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ ได้แก่กฎเกณฑ์ทางภาษา ซึ่งผู้ใช้ภาษาจะต้องรู้และใช้ภาษา ให้ถูกต้อง นอกจากนั้น วรรณคดีและวรรณกรรม ตลอดจนบทร้องเล่นของเด็ก เพลงกล่อมเด็ก ปริศนา คำทาย เพลงพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ซึ่งมีคุณค่าต่อการเรียนภาษาไทย จึงต้องเรียนวรรณคดีวรรณกรรม ภูมิปัญญาทางภาษา ที่ถ่ายทอดความรู้สึก นึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีเรื่องราวของสังคมในอดีต และความงดงามของภาษา ในบท ประพันธ์ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรองประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง ความภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษได้ สั่งสมและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
๑๙ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นกลุ่มเป้าหมายมี ความรู้ความเข้าใจ และสามารถภาษาอังกฤษได้ รวมทั้งสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารที่เป็นประโยชน์ สูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ อย่างถูกต้อง ดังนี้ ขั้นที่ ๑ ขั้นการเตรียมการ ๑.๑ ประชุม/วางแผนบุคลากร ๑.๒ จัดเวทีประชาคมสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ๑.๓ เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการ ขั้นที่ ๒ ขั้นดำเนินการ ดำเนินการจัดกิจกรรมตามจัดการศึกษาตลอดชีวิตในสถาบันศึกษาปอเนาะ (กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพ วิชาช่างทาสีเบื้องต้น จำนวน 4๐ ชั่วโมง) ขั้นที่ ๓ นิเทศติดตามผล และรายงานผล / ประเมินผล ๓.๑ การนิเทศติดตามผลการดำเนินโครงการ ๓.๒ การประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ ๓.๓ การรายงานและเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ (Key Performance Indicator: KPI) ตัวชี้วัดความสำเร็จ สอดคล้อง กับมาตรฐาน กศน.ที่ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ ผลผลิต (Outputs) - นักศึกษาในสถาบันศึกษา ปอเนาะ รวมจำนวน 17 คน - สถาบันศึกษาปอเนาะ รวมจำนวน 1 แห่ง ๑,๒ การสังเกต แบบบันทึกการ สังเกต ผลลัพธ์ (Outcomes) ร้อยละ ๙๐ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ สื่อสารภาษาไทยได้รวมทั้ง สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสาร ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการ พัฒนาคุณภาพชีวิต ๑,๒ ประเมินความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม แบบประเมิน ความพึงพอใจ บทที่ ๓ วิธีการดำเนินงาน
๒๐ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยแบ่งค่าในการประเมินออกเป็น ๕ ระดับ ตามแบบของ ลิเคิร์ต (Likert’s five point rating scale) ดังนี้ น้ำหนักคะแนน ๕ หมายถึง มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด น้ำหนักคะแนน ๔ หมายถึง มีความเห็นอยู่ในระดับมาก น้ำหนักคะแนน ๓ หมายถึง มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง น้ำหนักคะแนน ๒ หมายถึง มีความเห็นอยู่ในระดับน้อย น้ำหนักคะแนน ๑ หมายถึง มีความเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด ในส่วนของการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานในโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน ภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส และระดับความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการถือว่าเป็นค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบถาม ทั้งนี้ผู้จัดกิจกรรมได้กำหนดการวิเคราะห์ตามแนวคิดของ เบสท์ (อ้างถึงใน พวงรัตน์ ทวีรัตน์, ๒๕๔๓ : ๓๐๓) ดังนี้ ค่าเฉลี่ย ความหมาย ๑.๐๐ – ๑.๔๙ น้อยที่สุด ๑.๕๐ – ๒.๔๙ น้อย ๒.๕๐ – ๓.๔๙ ปานกลาง ๓.๕๐ – ๔.๔๙ มาก ๔.๕๐ – ๕.๐๐ มากที่สุด
๒๑ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเน โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ ใน วันที่ 16 มิถุนายน ๒๕๖6 ณ อาคารอเนกประสงค์ สกร.อำเภอเจาะไอร้อง จำนวน 17 คน โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่องส่งเสริมการรู้หนังสือไทยในสถาบันศึกษาปอเนาะ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย ให้กับกลุ่มเป้าหมายสามารถอ่านภาษาไทยได้ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านภาษาไทยแสวงหาความรู้ ในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามตารางกิจกรรมที่กำหนด โดยใช้แบบสอบถามซึ่ง แบ่งเป็น ๒ ส่วนดังนี้ ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป ตารางที่ ๑ จำนวนและร้อยละจำแนกตามข้อมูลทั่วไปของผู้ร่วมกิจกรรม ข้อมูลทั่วไป จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ เพศ ชาย หญิง 17 - 100 - อายุ อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี อายุ ๑๕ - ๓๙ ปี อายุ ๔๐ - ๕๙ ปี อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป - 17 - - - 100 - - วุฒิการศึกษา ต่ำกว่าระดับประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลาย ระดับปริญญาตรี อื่น ๆ ระบุ(ปวส.) - - 9 8 - - - - 53.94 47.06 สถานภาพ โสด สมรส 17 - ๑๐๐ - สถานภาพการทำงาน ลูกจ้าง เกษตรกร อื่นๆ - - 17 - - ๑๐๐ บทที่ ๔ ผลการศึกษา
๒๒ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนจากตารางที่ ๑ สรุปได้ดังนี้ เพศ เป็นเพศชาย ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ อายุ มีอายุระหว่าง ๑๕ - ๓๙ ปี ร้อยละ ๑๐๐ รองลงมามีอายุระหว่าง - ปี ร้อยละ - ตามลำดับ วุฒิการศึกษา ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ ๕3.94 รองลงมามีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ ๔๑.26 สถานภาพ มีสถานภาพโสด ร้อยละ ๑๐๐ สถานภาพการทำงาน มีสถานภาพการทำงานอื่นๆ ร้อยละ ๑๐๐ จากตารางที่ ๒ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการดำเนินงานดังนี้ ๑. ความพอใจด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ กระบวนการจัดกิจกรรมตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๘๗.๓๓ รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๑๒.๕๐ ตามลำดับ การอำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๘๕ รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๑๓.๗๕ และอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ ๑.๒๕ ตามลำดับ ช่วงเวลา/ระยะเวลาในการจัดโครงการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๘๑.๒๕ รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๖.๒๕ ตามลำดับ ได้รับความรู้หรือประโยชน์จากการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอน ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๘๒.๗๕ รองลงมาอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๑๕.๐๐ และอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ ๒.๕๐ ตามลำดับ สามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับดี ร้อยละ ๘๓.๗๕ รองลงมาอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๑๓.๗๕ และอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ ๒.๕๐ ตามลำดับ ๒. ด้านเจ้าหน้าที่/วิทยากร ความรวดเร็วและคล่องตัวในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๘๐.๐๐ รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๑๗.๕๐ และอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ๒.๕๐ ตามลำดับ กริยา มารยาทและการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๙๓.๗๕ รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อย ๖.๒๕ ตามลำดับ บริการด้วยความเป็นเสมอภาค เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๙๓.๗๕ รองลงมาอยู่ในระดับดีร้อยละ ๖.๒๕ ตามลำดับ ความพร้อมของวิทยากรในการให้ความรู้ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๘๓.๐๐ รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๑๖.๒๕ และอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ ๕.๐๐ ตามลำดับ วิทยากรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือมีส่วนร่วม ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๘๕.๗๕ รองลงมาอยู่ในระดับดีร้อยละ ๑๕.๒๕ และอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ ตามลำดับ
๒๓ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเน วิทยากรมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ตามลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ ในระดับดีมาก ร้อยละ ๘๑.๒๕ รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๑๘.๗๕ ตามลำดับ ๓.ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ความเหมาะสมและความพร้อมของสถานที่การจัดโครงการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๕๖.๒๕ รองลงมาอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๔๓.๗๕ และอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ ๓.๓๓ ตามลำดับ เอกสารประกอบ/วัสดุอุปกรณ์ มีเพียงพอต่อความต้องการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๖๖.๒๕ รองลงมาอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๔๓.๗๕ ตามลำดับ เอกสารประกอบครอบคลุมเนื้อหาของโครงการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๖๖.๒๕ รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๓๑.๒๕ และระดับปานกลาง ร้อยละ ๒.๕๐ ตามลำดับ
๒๔ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษา ปอเนาะ ในวันที่ 16 มิถุนายน ๒๕๖6 ณ อาคารอเนกประสงค์ สกร.อำเภอเจาะไอร้อง โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่องส่งเสริมการรู้หนังสือไทยในสถาบันศึกษาปอเนาะ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย ให้กับกลุ่มเป้าหมายสามารถอ่านภาษาไทยได้ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านภาษาไทยแสวงหาความรู้ ในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 17 คน พบว่าเป็นเพศชาย ร้อยละ 100.00 มีอายุระหว่าง ๑๕-๓๙ ปี ร้อยละ ๑๐๐ มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 53.94 รองลงมาวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 47.06 มีสถานภาพส่วนใหญ่ โสด ร้อยละ ๑๐๐ และมีสถานภาพการทำงานส่วนใหญ่อื่นๆ ร้อยละ ๑๐๐ ส่วนที่ ๒ ความพึงพอใจต่อโครงการ ผู้เข้าร่วม โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นดังนี้ ๑. ความพอใจด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ กระบวนการจัดกิจกรรมตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ส่วนใหญ่ระดับดีมาก ร้อยละ ๘๓.๓๓ การอำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนใหญ่ระดับดีมาก ร้อยละ ๘๐.๐๐ ช่วงเวลา/ระยะเวลาในการจัดโครงการ ส่วนใหญ่ระดับดีมาก ร้อยละ ๙๑.๖๗ ได้รับความรู้หรือประโยชน์จากการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอน ส่วนใหญ่ระดับดี ร้อยละ ๘๕.๐๐ สามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปปรับใช้ใน ชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ระดับดี ร้อยละ ๘๐.๐๐ ๒.ด้านเจ้าหน้าที่/วิทยากร ความรวดเร็วและคล่องตัวในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่ระดับดีมาก ร้อยละ 83.33 กริยา มารยาทและการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ส่วนใหญ่ระดับดีมาก ร้อยละ 90.00 บริการด้วยความเป็นเสมอภาค เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ส่วนใหญ่ระดับดีมาก ร้อยละ 88.๓๓ ความพร้อมของวิทยากรในการให้ความรู้ ส่วนใหญ่ระดับดีมาก ร้อยละ 80.00 วิทยากรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือมีส่วนร่วม ส่วนใหญ่ระดับดีมาก ร้อยละ 83.33 วิทยากรมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ตามลำดับขั้นตอนอย่าง ชัดเจน ส่วนใหญ่ระดับดีมาก ร้อยละ 81.67 ๓.ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ความเหมาะสมและความพร้อมของสถานที่การจัดโครงการ ส่วนใหญ่ระดับดี ร้อยละ ๗๘.๓๓ เอกสารประกอบ/วัสดุอุปกรณ์ มีเพียงพอต่อความต้องการ ส่วนใหญ่ระดับดี ร้อยละ ๘๘.๓๓ เอกสารประกอบครอบคลุมเนื้อหาของโครงการ ส่วนใหญ่ระดับดีมาก ร้อยละ ๘๘.๓๓ บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา
๒๕ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนที่มา : http://www.jitjai.com/2009/08/communication-skills.html https://sites.google.com/site/onlinecitizenship/home/goodcommunication/communication-skills ที่มาของข้อมูล : http://e-book.ram.edu/e-book/m/mc111/mc111_03_04.html บรรณานุกรม
๒๖ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนภาคผนวก
๒๗ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ ในวันที่ 16 มิถุนายน ๒๕๖6 ณ อาคารอเนกประสงค์ สกร.อำเภอเจาะไอร้อง
๒๘ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ ในวันที่ 16 มิถุนายน ๒๕๖6 ณ อาคารอเนกประสงค์ สกร.อำเภอเจาะไอร้อง
๒๙ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ ในวันที่ 16 มิถุนายน ๒๕๖6 ณ อาคารอเนกประสงค์ สกร.อำเภอเจาะไอร้อง
๓๐ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนกิจกรรมจัดสื่อส่งเสริมทักษะภาษามุมเรียนรู้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ
๓๑ รายงานผลโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเน