The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Final Project บริษัท ปตท

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mossurasak705, 2022-04-21 23:13:16

Final Project บริษัท ปตท

Final Project บริษัท ปตท

บริษัท ปตท

Final Project

วิชา Organizational and Human
Resources Management (MG111)

เสนอ
ดร.ธนกฤต วงศ์มหาเศรษฐี

จัดทำโดย

นางสาวณัฐชา วิภักดีรัตนมณี รหัสนักศึกษา 1640205710 เลขที่ 45
นายธัชชัย รำคำจันทร์ รหัสนักศึกษา 1640211163 เลขที่ 86
นางสาวญาณิศา ขันธรูจี รหัสนักศึกษา 1640213797 เลขที่ 103
นายสุรศักดิ์ ถนอมศักดิ์ รหัสนักศึกษา 1640214878 เลขที่ 108

ปีการศึกษาภาคเรียนที่2/2565
คณะบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) 1

วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย สําหรับการดําเนินธุรกิจ บริษัทได้ติดตามสถานการณ์และแนวโน้มของเศรษฐกิจในประเทศและ
เศรษฐกิจโลกอย่างสม่ำเสมอเพื่อนํามาใช้วิเคราะห์สถานการณ์พลังงานในประเทศและวางแนวทางการดําเนินงานให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างความสมดุลใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิต (Big) ด้านปริมาณสํา
รอง (Long) และด้านผลตอบแทนจากการลงทุน (Strong) และมีการกําหนดเป้าหมาย ดังนี้

1.ด้านการผลิต (Big):จากแผนการดําเนินงานของบริษัทในปัจจุบัน ทั้งในเรื่องการรักษาและเพิ่ม
ปริมาณการผลิตจากโครงการที่มีอยู่ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับกลยุทธ์ในการเติบโตใน
อนาคตที่มีแผนงานรองรับอย่างชัดเจน ทําให้บริษัทพิจารณาที่จะปรับลดเป้าหมายกําลังการ
ผลิตจาก 900,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ํามันดิบต่อวัน เป็น 600,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ํามันดิบ
ต่อวัน ในปี 2563 ทั้งนี้ เพื่อให้การดําเนินงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อันจะนํามาซึ่งการเติบโต
อย่างยั่งยืนและมั่นคงขององค์กร

2.ด้านปริมาณสํารอง (Long): บริษัทมีเป้าหมายในการรักษาอัตราส่วนของปริมาณสํารองที่
พิสูจน์แล้วต่ออัตราการผลิต (R/P Ratio หรือ 1P/Production) ไม่ต่ำกว่า 10 ปี และอัตราส่วน
ของปริมาณสํารองที่ประเมินได้ต่ออัตราการผลิต ((2P+2C)/Production) ไม่ต่ำกว่า 40 ปี

3. ด้านผลตอบแทนจากการลงทุน (Strong): บริษัทมีเป้าหมายในการดําเนินธุรกิจให้มี
ผลตอบแทนจากการใช้เงินลงทุน (ROCE) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียม
พร้อมไปกับการรักษาอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

กลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ปตท.สผ. มีแผนการดําเนินการเชิงกลยุทธ์ ดังนี้
1. เพิ่มอัตราการผลิตและปริมาณสํารอง โดยการบริหารโครงการในปัจจุบัน (Current Assets)
โดยแบ่งกลุ่มโครงการตามสถานะ (Phase) ของโครงการ ดังต่อไปนี้
1.1 โครงการผลิต (Producing Assets) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งที่เป็นผู้ดําเนินการเองและร่วมทุนกับผู้ดําเนิน
การรายอื่น มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อรักษาระดับปริมาณการผลิตโดยนําเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งเร่งสํารวจ
พัฒนาให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับสัมปทานเพื่อเพิ่มปริมาณสํารองปิโตรเลียมสําหรับการผลิตอย่างยั่งยืน ตอบสนองความ
ต้องการปิโตรเลียมภายในประเทศสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มแก่บริษัททั้งในปัจจุบันและอนาคต
1.2 โครงการพัฒนา (Development Assets) มุ่งเน้นการบริหารโครงการให้แล้วเสร็จพร้อมดําเนินการผลิตตามแผน
งานและงบประมาณที่วางไว้ เพื่อสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มแก่บริษัทในอนาคตอันใกล้และทดแทนโครงการผลิตที่จะมีกําลัง
การผลิตลดลงในอนาคต

1.3 โครงการสํารวจ (Exploration Assets) ได้แก่โครงการที่ยังอยู่ในช่วงสํารวจซึ่งจะมีความสําคัญต่อการเติบโตอย่าง
ยั่งยืนของบริษัททั้งในแง่ของการเพิ่มปริมาณสํารองและการผลิตในอนาคตโดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการการลงทุนในภาพ
รวมของโครงการสํารวจต่างๆ ให้มีความเหมาะสม การเร่งการสํารวจในโครงการที่มีศักยภาพทางปิโตรเลียมสูง รวมไปถึง
การบริหารความเสี่ยงของโครงการที่มีศักยภาพทางปิโตรเลียมต่ำด้วยการขายหรือคืนโครงการ
2. กลยุทธ์การเติบโตและสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน ได้แก่ การสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนและการบริหารผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียทุกด้านอย่างสมดุล การดําเนินงานอย่างเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม บรรษัทภิบาล และการขยายการลงทุน
(Growth Investment) ทั้งจากการประมูลโครงการสํารวจใหม่ (New Exploration Acreage) และ การเข้าซื้อและ
ควบรวมกิจการ (M&A) โดยเน้นการเข้าซื้อและควบรวมกิจการโครงการที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการผลิต เพื่อให้
สามารถเพิ่มกําลังการผลิตและปริมาณสํารองได้ในทันที และเน้นการลงทุนในพื้นที่เป้าหมายหลักที่มีความสําคัญในเชิงกล
ยุทธ์ (Growth Platform)

2

3. การสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ ลดต้นทุน Finding and Development Cost เพิ่มผลตอบแทนในการลงทุน โดยการ
พัฒนาขีดความสามารถขององค์กร (Capability Enablers) เนื่องจากความสามารถขององค์กรเป็นปัจจัยสําคัญอย่างยิ่ง
ต่อการนําแผนกลยุทธ์ของบริษัทไปสู่การดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเร่งพัฒนาความสามารถขององค์กรในด้าน
ต่างๆ ดังนี้
3.2 การเร่งพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและความสามารถด้านงานวิจัยพัฒนาขององค์กรให้สอดคล้องกับแผนการเติบโต
ของบริษัท (Growth Capability) โดยจัดทําแผนการพัฒนาขีดความสามารถและเทคโนโลยี (Capability and
Technology Development Roadmap) เพื่อรองรับงานสําคัญที่มีผลกระทบต่อเป้าหมายการเจริญเติบโตตามแผน
กลยุทธ์ และ R&D Technology Center เพื่อเป็นแหล่งในการค้นคว้าวิจัยขององค์กรรวมถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศและ Enterprise Resource Planning (ERP) เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
3.3 ด้านการพัฒนาระบบ กระบวนการทํางาน และโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และแผนธุรกิจที่จะมีการลงทุน
และดําเนินงานในต่างประเทศมากขึ้น เช่น การจัดโครงสร้างและโมเดลสําหรับการดําเนินธุรกิจในต่างประเทศ (Global
operating model/Organization
3.4 ด้านบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาองค์กรให้มีขีดความสามารถที่แข่งขันได้ในระดับสากล โดยการเตรี
ยมจัดหาบุคลากรให้เพียงพอ การพัฒนาความสามารถของบุคลากรและภาวะผู้นํา รวมไปถึงการรักษาบุคลากรให้ปฏิบัติ
งานกับองค์กรอย่างต่อเนื่องด้วยการสร้างความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร การกําหนดโครงสร้างและรูปแบบการทํา
งานขององค์กรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพของ
องค์กรอย่างยั่งยืน ตลอดจนปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กร (Corporate Values) ให้มีความสอดคล้องกับค่า
นิยม EPSPIRIT ซึ่งถือเป็นรากฐานที่สําคัญต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกับ
กลุ่ม ปตท
3.5 ด้านการบริหารการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยตระหนักถึงบทบาทขององค์กรต่อการ
ตอบแทนต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ผ่านความรับผิดชอบต่อสังคมและคุณภาพชีวิต (CSR : Corporate Social
Responsibility) การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (SSHE)
โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นองค์กร Low Carbon Footprint ที่จะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของบริษัทให้ได้ถึง
ร้อยละ 20 ภายในปี 2563และเป็นองค์กรที่คํานึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้านการใช้น้ํา การปล่อยของเสีย
และมลภาวะสู่อากาศ ดิน ซึ่งได้รับการยอมรับและปกป้องจากทางสังคมในทุกๆ พื้นที่ปฏิบัติการ (Social License to
Operate) โดยใช้มาตรวัดผลการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรในระดับสากล อาทิเช่น Dow Jones Sustainability
Index (DJSI) และ Global Reporting Initiatives (GRI)

กลยุทธ์ในการแข่งขันปตท.สผ. มีวัตถุประสงค์หลักที่จะเป็นบริษัทสํารวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นนําในภูมิภาคเอเชีย และ
เติบโตอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเติบโตของ ปตท.สผ. ในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ แอฟริกาตะวันออก และ
อเมริกาเหนือ โดย ปตท.สผ. มีเป้าหมายเชิงกลยุทธ์หลักสามอย่างคือ ด้านการผลิต (Big) ด้านปริมาณสํารอง (Long)
และด้านผลตอบแทนจากการลงทุน (Strong) โดยจะเพิ่มปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมให้ถึงระดับ 600,000
บาร์เรลเทียบเท่าน้ํามันดิบต่อวันภายในปี 2563 ในขณะที่ยังคงรักษาสัดส่วนปริมาณสํารองปิโตรเลียมต่อปริมาณการผลิต
ให้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี และขยายความสามารถในการทํากําไร โดยการลงทุนเพื่อการสํารวจและผลิตเพิ่มเติมในโครงการที่
ปตท.สผ. มีอยู่ในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ และด้วยการเข้าซื้อกิจการที่ผ่านการคัดเลือกของ ปตท.สผ. แล้ว
และสามารถบรรลุระดับผลตอบแทนขั้นต่ำที่ตั้งไว้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นของ ปตท.สผ. เท่านั้น
กลยุทธ์ทางธุรกิจที่สําคัญของ ปตท.สผ. มีดังนี้
1.การทำให้โครงการที่มีอยู่มีปริมาณการผลิตสูงสุด
2.การเข้าร่วมในโครงการปิโตรเลียมที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง
3.การลงทุนเพิ่มเติมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับการเลือกลงทุน หรือเข้าซื้อกิจการที่เหมาะสม
4.การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับโครงการที่มีอยู่
5.การสร้างความเป็นเลิศในองค์กรตามมาตรฐานสากลเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงานของ ปตท.สผ.

3

ลักษณะโครงสร้างองค์กร

โครงสร้างองค์กร

4

กลุ่มเป้าหมาย
การสร้างคุณค่าทางสังคม
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

    

โอกาสและความท้าทาย

จากผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ต่อการดำเนินธุรกิจของ ปตท. และต่อสังคมในวงกว้าง
รวมถึงอาจส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปตท. จึงได้พิจารณากำหนดแนวทางการลงทุนเพื่อสังคม เพื่อให้
สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ในประเด็นสำคัญเร่งด่วน เช่น การพัฒนาและการสร้างโอกาส
ทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ แก่กลุ่มสังคมชุมชนรอบสถานประกอบการ ผู้ขาดโอกาสกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงเครือข่ายใน
ระดับประเทศ โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อม รวมทั้งลงทุนทางสังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างคุณค่าร่วมแก่สังคมและชุมชนอย่างสมดุล โดยพิจารณาความคุ้มค่า
ของการลงทุน การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงสุด พร้อมปรับการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความท้าทายใหม่
และบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 

แนวทางการจัดการ

การสร้างคุณค่าทางสังคม

ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ยึดมั่นในพันธกิจที่จะขับเคลื่อนสังคมไทยให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน จึงได้
บริหารจัดการประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยยึดแนวทางการลงทุนทางสังคมใน 2 มิติ คือ มิติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน
และสังคม  และมิติการส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย ปตท. ดำเนินกิจการในระดับ
นโยบายและปฏิบัติการควบคู่กันไป ขณะเดียวกัน ได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนตามแนวทางปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์
เพื่อให้เข้าใจถึงบริบทและความต้องการของชุมชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์การลงทุนเพื่อสังคม
และชุมชน ให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ งบประมาณขององค์กร และความต้องการของชุมชน สนับสนุน
ให้พนักงานสละเวลาบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ ผ่านชมรมพลังไทยใจอาสาและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน
สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมวัฒนธรรมการเป็นองค์กรที่ดีของสังคมของ ปตท.

ปตท. มีความตั้งใจที่จะลงทุนดำเนินกิจการทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จึงได้ปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานอย่าง
สม่ำเสมอตามความเหมาะสม ในปี 2562 ปตท. กำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยพิจารณาจากปัจจัยภายในและ
ภายนอก ได้แก่ กลยุทธ์การสร้างคุณค่าร่วมกัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม การสนับสนุนเป้าหมายการ
พัฒนาที่ยั่งยืน การสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 การเสื่อมโทรมของ
ทรัพยากรธรรมชาติ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาในการเข้าถึงพลังงาน และผลสำรวจความต้องการของ
สังคมชุมชน นอกจากนี้ ปตท. ยังมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างการมีส่วนร่วมของ
กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลักสำคัญในการดำเนินงาน สนับสนุนชุมชนในประเด็นต่าง ๆ ตามลำดับความต้องการของ
ชุมชน โดย ปตท. เชื่อมั่นในศักยภาพของชุมชน จึงมุ่งดำเนินกิจการเพื่อสังคม เพื่อให้คนไทยร่วมสร้างความยั่งยืนให้กับ
ประเทศต่อไป

5

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานด้านสนับสนุนชุมชนเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน ปตท. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติงานชุมชน
สัมพันธ์ ซึ่ง ปตท. นำมาใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และลดข้อกังวลต่าง ๆ ของชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและ
ทางอ้อมจากการดำเนินธุรกิจ ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่

1) การระบุกลุ่มเป้าหมาย:
กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ครบถ้วนตามการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ/กิจกรรมขององค์กร
และพิจารณาตามระดับความสนใจและอิทธิพลต่อการดำเนินโครงการ/กิจกรรมขององค์กร
2) การจัดลำดับความสำคัญของชุมชน:
ประเมินระดับความสำคัญของชุมชนที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ/กิจกรรมขององค์กร และกำหนดวิธีการและ
ระดับการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่จำแนกตามระดับความสำคัญ จากผลสรุปที่ได้จากระดับความสนใจและอิทธิพลที่มีต่อ
โครงการ/ กิจกรรมขององค์กร
3) การจัดทำแผนงานการมีส่วนร่วมกับชุมชน:
นำข้อมูลชุมชนมาจัดทำเป็นแผนงานการมีส่วนร่วมกับชุมชนตามระดับความสำคัญของชุมชนที่ได้จำแนกไว้
4) การดำเนินงานตามแผนการมีส่วนร่วมกับชุมชน:
ดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับชุมชนตามรูปแบบที่เหมาะสมและสะดวกกับชุมชน โดยมุ่งเน้นประเด็นและความสนใจใน
ผลกระทบที่มีต่อชุมชนและคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
5) การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลชุมชน:
รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานการพัฒนาชุมชนทั้งหมดไว้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนประมวลผลให้เป็นฐานข้อมูลไว้
สำหรับการติดตามความก้าวหน้าและการขยายผลตามพันธะสัญญาต่าง ๆ ที่ได้เห็นชอบและตกลงร่วมกันกับชุมชน
6) การตอบสนอง การติดตามผล และการดำเนินงานต่อเนื่อง:
พัฒนาความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องให้กระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน
ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงประเมินผลการดำเนินงานและนำสิ่งที่พบมาปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานพัฒนา
ชุมชนต่อไป

6

สินค้าเเละบริการที่จัดจำหน่าย ธุรกิจ/ ผลิตภัณฑ์และบริการ
1.การประกอบธุรกิจที่ปตท. ดำเนินการเอง
-ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ
-ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
-ธุรกิจเทคโนโลยีและวิศวกรรม
2. การประกอบธุรกิจที่ปตท. ลงทุนผ่านบริษัทในกลุ่ม
-ธุรกิจสำรวจและผลิต
-ธุรกิจน้ำมัน และค้าปลีก
-ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น
-ธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปการ
3. ผลิตภัณฑ์
-ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)
-กลุ่มลูกค้าตลาดค้าส่งก๊าซธรรมชาติ
-กลุ่มลูกค้าท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคอุตสาหกรรม
-กลุ่มลูกค้าผลิตภัณฑ์โรงแยกก๊าซธรรมชาติ
4. บริการ
-บริการเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์
-บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ
-ศูนย์บริหารคำสั่งซื้อ (ORCC)
-PTT Electronic Bill Presentment& Payment
-PTT E-Tax Web
-ข้อมูลหลักทรัพย์ค้ำประกัน ปตท.

7

กิจกรรมเพื่อชุมชน
กลุ่ม ปตท. แสวงหารูปแบบการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ที่มีศักยภาพ โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่าง

ยั่งยืน และความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาวของสังคมและชุมชนนอกจากนี้ ปตท. ยังขยายผลโครงการ
ระบบก๊าซชีวภาพฯ โดยการถอดบทเรียนจากโครงการระบบก๊าซชีวภาพฯ ตำบลท่ามะนาว หรือท่ามะนาวโมเดล ไปยัง
อีก 3 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลท่ามะนาว จังหวัดลพบุรี ตำบลคำแคน จังหวัดขอนแก่น และตำบลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนลดการพึ่งพาพลังงานหลักและแก้ปัญหากลิ่นเหม็นและน้ำเสียจากมูลสุกร ซึ่งใน ปัจจุบันชุมชนทั้ง
3 แห่ง ได้กลายเป็นชุมชนต้นแบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมในระบบการจัดการพลังงานท้องถิ่น ปัจจุบันบริษัทฯ มีการ
ดำเนินงานที่สำคัญ โดยเชื่อมโยงไปกับสายโซ่ธุรกิจของ กลุ่ม ปตท. ได้แก่ โครงการจัดหาเมล็ดกาแฟจากชุมชน เพื่อ
ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกและผลิต กาแฟภายใต้ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โครงการ
คาเฟ่อเมซอนเพื่อการสร้างโอกาส (Café Amazon for Chance) เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้พิการทางการได้ยินเข้า
ทำงาน โดยพัฒนาอาชีพให้เป็นบาริสต้า เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีโครงการสนับสนุนการสร้างอาชีพ ได้แก่ โครงการ
PTT Group Lounge เน้นการจ้างงานกลุ่มผู้สูงอายุ และโครงการ PTT Day Care ที่เปิดบริการศูนย์รับเลี้ยงเด็ก แก่
พนักงาน กลุ่ม ปตท. พร้อมสร้างอาชีพให้แก่กลุ่มแม่บ้านจากสมาคมแม่บ้านการรถไฟแห่งประเทศไทย


Click to View FlipBook Version