เช่า ช่ ซื้อ ซื้
คำ นำ ก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( e-book ) เล่มนี้จัดทำ ขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบข้อมูล เกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อ ผู้จัดทำ หวังว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( e-book ) เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์สำ หรับคนที่สนใจเรื่องสัญญาเช่าซื้อ ภายใต้ประโยชน์จาก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เลนมนี้ไม่มากก็น้อย ผู้จัดทำ นางสาวตรีรัตน์ เพชรสุทธิ์
สารบัญ คำ นำ ก สารบัญ ข มูลเหตุในการทำ สัญญาเช่าซื้อ 1 สัญญาเช่าซื้อคืออะไร และสาระสำ คัญของสัญญาเช่าซื้อมีอะไรบ้าง 2-6 ลักษณะของสัญญาเช่า 7 แบบของสัญญาเช่าซื้อ 8-10 ความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ 11-14 ความระงับของสัญญาเช่าซื้อ 15-24 อายุความ 25-26 ตัวอย่างวินิจฉัย 27-28 บรรณาณุกรม ค หัวข้อ หน้า ข
มูลเหตุในการทำ สัญญาเช่าซื้อ 1.พิจารณาจากทางด้านผู้เช่าซื้อ 1 การที่ผู้เช่าซื้อตกลงใจทำ สัญญาเช่าซื้อแทนที่จะทำ สัญญาซื้อขายนั้นก็ด้วยสาเหตุว่าในการ ทำ สัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อต้องชำ ระราคาของสิ่งของที่ตนซื้อมาทันทีและเต็มจำ นวน แต่ถ้าปรากฏว่า บุคคลใดต้องการที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น และบุคคลนี้ไม่มีเงินพอที่จะชำ ระราคาได้ทันที ก็ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของเลย ในขณะเดียวกันบุคคลนั้นก็ต้องการที่จะได้ใช้สอยทรัพย์สินทันที ซึ่ง ตามปกติต้องไปทำ สัญญาเช่าทรัพย์มา แต่ผู้เช่าจะต้องเสียค่าเช่าไปเฉยๆ ครั้นพอครบกำ หนด ระยะเวลาเช่า ต้องคืนทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่าไปเฉยๆ ครั้นพอครบกำ หนดระยะเวลาเช่า ต้องคืนทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่าไป ดังนั้น ผู้เช่าซื้อจึงคิดว่า ควรที่จะทำ สัญญาเช่าซื้อ เพราะในระหว่างระยะเวลาเช่าซื้อนั้น ผู้เช่าซื้อ ก็มีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินที่เช่าซื้อ แม้ว่าจะต้องชำ ระค่าเช่าซื้อ แต่ก็ดีกว่าการชำ ระค่าเช่าธรรมดา ซึ่งค่าเช่าซื้อนี้รวมราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อและดอกเบี้ย และผู้เช่าซื้อจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ที่ตนเองเช่าซื้อเมื่อชำ ระราคาครบถ้วนตามสัญญา 2.พิจารณาจากด้านผู้ให้เช่าซื้อ การที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ตกลงให้เช่าซื้อทรัพย์สินใด ก็เพราะต้องการที่จะขายทรัพย์สิน นั้นอยู่แล้ว แต่ติดขัดที่ว่าผู้ซื้อไม่สามารถชำ ระราคาได้ทันที จึงคิดว่าให้ผู้ชื่อค่อยๆ ชำ ระราคาไปเรื่อยๆ โดยบวก ดอกเบี้ยเพิ่มเข้าไปในราคาทรัพย์สินดังกล่าวผลก็จะเหมือนกันและถ้าทำ แบบนี้ผู้ให้เช่าซื้อก็สามารถ ขายทรัพย์สินดังกล่าวได้ หรือถ้าหากว่าผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้ผลิต สินค้านั้นๆเอง เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ ก็จะทำ ให้ยอดขายสูงขึ้นหรือขายได้มากขึ้น ถ้าพิจารณาในอีกมุมมองหนึ่ง การเช่าซื้อเป็นการให้สินชื่อแก่ผู้เช่าซื้อ โดยการได้ทรัพย์สินไปใช้ ก่อนชำ ระราคาครบ
2 สัญญาเช่าซื้อคืออะไร และสาระสำ คัญของสัญญาเช่าซื้อมีอะไรบ้าง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ได้ให้คำ จำ กัดความของสัญญาเช่าซื้อ ไว้ว่า"อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำ มั่น ว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่า ได้ใช้เงินเป็นจำ นวนเท่านั้นเท่านี้คราว" ถ้าพิจารณาจากตัวบท มาตรา 572 แล้วก็จะปรากฏคำ ว่าเช่ากับคำ ว่าขายทรัพย์สิน จึงมีการกล่าวว่าในสัญญาเช่าซื้อ มีสัญญาเช่าและซื้อขายอยู่ด้วยกัน และในตำ ราของ กฎหมายอังกฤษก็ได้มีการอธิบายว่า ถ้าพิจารณาตามตัวอักษรแล้วคำ ว่า Hire-puretase agreement เป็นคำ ผสมระหว่างคำ ว่า เช่า (Hire) กับคำ ว่า ซื้อขาย (Sale) โดยในระหว่าง สัญญาก็มีการชำ ระค่าเช่า และเมื่อผู้เช่าซื้อใช้สิทธิเลือกซื้อสินค้าก็กลายเป็นการซื้อขาย อย่างไรก็ตาม มีผู้เห็นว่า แม้สัญญาเช่าซื้อจะมีลักษณะส่วนหนึ่งเหมือนสัญญาเช่าและ อีกส่วนหนึ่งเหมือนสัญญาซื้อขายก็ตาม แต่มิได้หมายความว่าสัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาเช่า และสัญญาซื้อขายรวมกัน แต่เป็นสัญญาเช่ารวมกับคำ มั่นที่จะขายทรัพย์สิน" จากตัวบทมาตรา 572 สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ 1.สัญญาเช่าซื้อมีคู่สัญญา 2 ฝ่ายคือ ผู้ให้เช่าซื้อ และผู้เช่าซื้อ 1.1 ผู้ให้เช่าซื้อก็คือ เจ้าของทรัพย์สินที่นำ เอาทรัพย์สินนั้นออกให้เช่าและให้คำ มั่น ว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่า ได้ใช้เงินเป็นจำ นวนเท่านั้นเท่านี้คราว 1.2 ผู้เช่าซื้อคือ ผู้เช่าที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อ และจะได้รับ โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวเมื่อตนใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วน
3 2. วัตถุแห่งสัญญาเช่าซื้อ เมื่อตัวบทของมาตรา 572 บัญญัติว่า"...เจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า" แสดงว่าวัตถุแห่งสัญญาเช่าซื้อมิได้จำ กัดเฉพาะวัตถุที่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ มิได้จำ กัดเฉพาะว่าวัตถุนั้นต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ ดังที่ประชาชนทั่วไปมักจะทำ การเช่าซื้อ เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ ตู้เย็น แต่อาจจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ตึก บ้าน ก็ได้หรือ วัตถุที่ไม่มีรูปร่างก็ได้ คำ พิพากษาศาลฎีกาที่282/2525 โจทก์ตกลงเช่าซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ ขายพร้อมที่ดิน... สำ หรับที่ดินมือเปล่า แม้ผู้ที่มีสิทธิครอบครองจะมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นมีกรรมสิทธิ์ ก็น่าจะมีสิทธินำ ที่ดินมือเปล่านั้นออกทำ สัญญาเช่าซื้อได้ เพราะ ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่ามีฐานะเป็นเสมือนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และมีสิทธิ ดีกว่าบุคคลอื่น นอกจากนี้ ทรัพย์สินบางอย่างนั้นไม่อาจจะเป็นวัตถุแห่งสัญญาเช่าซื้อได้ เช่น ทรัพย์นอกพาณิชย์ เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์ต่างๆ เพราะเป็นทรัพย์ ที่ไม่สามารถถือเอาได้ หรือโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย (ป.พ.พ. มาตรา 143) 3. ผู้ให้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อผู้เช่าซื้อชำ ระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้เช่าซื้อ ดังนั้นบุคคลใดที่มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน จะนำ ทรัพย์สินดังกล่าวไปให้บุคคลอื่นเช่าซื้อไม่ได้ กรณีไม่เหมือนสัญญาเช่าทรัพย์ ซึ่งผู้ให้เช่าไม่จำ เป็นที่จะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่า คำ พิพากษาศาลฎีกาที่4544/2540 ตาม ป.พ.พ. มาตรา572 ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องเป็น เจ้าของทรัพย์ และเอาทรัพย์สินซึ่งตนเป็นเจ้าของออกให้เช่า จำ เลยเอารถยนต์ซึ่งมิใช่ ของตนเองมาให้โจทก์เช่าซื้อ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว โจทก็ไม่อาจอ้างสัญญาเช่า ซื้อนำ มาฟ้องร้องบังคับจำ เลยได้ โจทก์และจำ เลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงต้องกลับคืน สู่ฐานะเดิม
4 4. ผู้ให้เช่าซื้อนั้นเอาทรัพย์สินของตนออกให้แก่บุคคลอื่นเช่า และให้คำ มั่นว่าจะขายหรือ ว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า การที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ให้เช่าซื้อเอาทรัพย์สินของตนออกให้บุคคลอื่นเช่า ก็ หมายความว่าเอาทรัพย์สินออกให้ผู้เช่าซื้อได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น ดังเช่น สัญญาเช่า แต่สัญญาเช่าซื้อนี้ต่างกับสัญญาเช่าตรงที่ว่า ผู้ให้เช่าซื้อให้คำ มั่นว่าจะ ขายหรือว่าจะให้กรรมสิทธิ์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อด้วย เมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำ ระราคาค่า เช่าซื้อครบแล้วให้พึงสังเกตว่าตัวบทใช้คำ ว่า"ให้ตกเป็นสิทธิ"คำ ว่า"สิทธิ"นี้น่าจะ หมายถึงว่าให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ไพจิตร ปุญญพันธุ์ ได้ให้คำ อธิบายความหมายของคำ ว่า "สิทธิ"ตามมาตรา 572 นี้ไว้ว่า มาตรา 572 ไม่ได้ใช้คำ ว่า"กรรมสิทธิ์"เลยและคำ ว่า "สิทธิ"ตามมาตรา 572 นี้ฉบับร่างภาษาอังกฤษใช้คำ ว่า"Property"ซึ่งเป็นคำ เดียวกัน กับที่ใช้ในมาตรา 138 ซึ่งแปลว่า"ทรัพย์สิน"แต่คำ ว่า"Property" ในความหมาย ของศัพท์นั้นไม่ได้แปลว่าทรัพย์สินอย่างเดียว อาจแปลว่ากรรมสิทธิ์หรือสิทธิก็ได้ ดังนั้น ที่ว่าจะให้ทรัพย์สินตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่านั้นจึงน่าที่จะมีความหมายกว้าง ให้กรรมสิทธิ์ ตกเป็นของผู้เช่าซื้อ หรือเป็นการให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อก็ได้ทั้งสองกรณี เหตุที่เป็นเช่นนี้ น่าจะสืบเนื่องมาจากว่าเมื่อผู้เช่าซื้อชำ ระราคาครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ผู้เช่าซื้ออาจจะไม่ ประสงค์ให้กรรมสิทธิ์ตกแก่ตนเองโดยตรงก็ได้ กฎหมายจึงบัญญัติเป็นช่องในทำ นอง ให้หมายรวมความถึงกรณีให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อที่อาจจะสั่งให้ผู้ให้เช่าซื้อโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สิน ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้ใดก็ย่อมได้ เช่น ก. ตกลงเช่าซื้อรถยนต์จาก ข. เมื่อ ก. ใช้เงินครบถ้วนตาม ที่ตกลงกันไว้แล้ว ก. ไม่ประสงค์จะให้โอนรถยนต์เป็นของ ก. เอง แต่ประสงค์จะให้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของบุตรชายเลยทีเดียว ดังนี้ ก. ก็มีสิทธิให้ผู้ให้เช่าซื้อ โอนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ บุดรชายได้เลย โดยไม่ต้องโอนมาเป็นกรรมสิทธ์ของ ก. ก่อน ก็ชอบที่จะทำ ได้ เมื่อกฎหมาย บัญญัติให้ตกเป็นสิทธิแก่ ก. ผู้เช่าซื้อแล้ว ก. จะทำ อย่างไร เกี่ยวแก่รถคันนั้นก็ย่อมทำ ได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย
กระนั้นก็ตามถ้าคิดไปให้ดี สิทธิที่ผู้เช่าซื้อจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นได้นั้น ตัวผู้ให้เช่าซื้อก็ต้องมีสิทธิที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อมาจากผู้ให้เช่าซื้อ ก่อน จึงจะโอนต่อไปให้แก่ผู้อื่นได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อในระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังไม่ได้ชำ ระราคา ค่าเช่าซื้อครบถ้วนนั้น ยังอยู่ที่ผู้ให้เช่าซื้อ ดังนั้นผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ เช่าซื้อในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยมีสิทธิติดตามเอาคืนจากผู้ไม่มีอำ นาจยึดถือทรัพย์สิน ไว้รวมทั้งการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับความเสียหายที่บุคคลใดๆ ก่อขึ้นแก่ทรัพย์สินดังกล่าว คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2503 จำ เลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์มา ยังชำ ระ ค่าเช่าซื้อ ไม่หมด จำ เลยได้นำ รถจักรยานยนต์นั้นไปออกรางวัลสลากกินรวบ โดยผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ รู้เห็นด้วย ดังนี้กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 แม้รถจักรยานยนต์จะถูกริบในกรณีเป็นของใช้ในการกระทำ ผิด ตามพระราชบัญญัติการพนัน ผู้ให้เช่าซื้อก็ย่อมมีสิทธิร้องขอรับจักรยานยนต์ของกลาง คืนไปได้ 5 เมื่อผู้เช่าซื้อชำ ระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อจะตกเป็นของผู้เช่า ซื้อโดยผลของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อนั้นเป็น สังหาริมทรัพย์ 5. ผู้เช่าซื้อตกลงชำ ระค่าเช่าซื้อเป็นงวด ๆ จนกว่าจะครบกำ หนดตามที่ระบุไว้ในสัญญา ในการเช่าซื้อ เงินที่ใช้เป็นงวดๆนั้น นอกจากจะมีลัษณะเป็นค่าใช้ทรัพย์อย่างค่าเช่า แล้ว ยังมีลักษณะเป็นราคาทรัพย์รวมอยู่ด้วย เมื่อชำ ระเงินกันครบทุกงวดแล้ว ผู้เช่าซื้อก็ได้ ทรัพย์ที่เช่าซื้อเป็นกรรมสิทธิ์ เงินที่ใช้เป็นงวดๆ จึงย่อมจะเป็นจำ นวนสูงกว่าค่าเช่าปกติ เป็นธรรมดา กฎหมายจึงไม่เรียกเงินนี้ว่าค่าเช่า เรียกแต่ว่าใช้เงินเท่านั้น
6 คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2525 จำ เลยเช่าซื้อรถยนต์จากห้าง ก. มีข้อ สัญญาว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง จำ เลยยินยอมชำ ระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่จนถึงวันบอกเลิกสัญญา จนครบ ปรากฏว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำ เลยออกเพื่อชำ ระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ก่อนห้าง ก.บอก เลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นเช็คที่ออกเนื่องจากมีมูลหนี้ผูกพันกัน ห้าง ก. สลักหลังโอนเช็คพิพาทชำ ระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วย กฎหมายจำ เลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ค่าเช่าซื้อนี้ต้องเป็นเงินเสมอ ไม่เหมือนกับการเช่าทรัพย์ที่ค่าเช่า จะเป็นของหรือสิ่งอื่นนอกจากเงินก็ได้ ทั้งนี้เพราะตัวบทมาตรา 572 บัญญัติไว้ใน ตอนท้ายของมาตราว่า"โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำ นวนเท่านั้นเท่านี้คราว"ผิดกับ เรื่องเช่าทรัพย์ที่ค่าเช่าจะเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นก็ได้ แต่กระนั้นก็ตามก็ยังมีผู้เห็น ไปในทำ นองถึงขนาดว่าชำ ระด้วยของอื่นที่ตีราคาเป็นเงินก็ได้ หากผู้ให้เช่าซื้อยอมรับ ซึ่งผู้เขียนเองก็ยังไม่ค่อยจะเห็นด้วยโดยสนิทใจนัก ให้พึงสังเกตว่ากรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินที่เช่าซื้อจะตกเป็นสิทธิ อย่างไรก็ตาม เงินในที่นี้คงไม่หมายความเฉพาะแต่เงินสดที่ผู้เช่าซื้อต้องนำ ไปชำ ระ ให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ เพราะการใช้เงินนั้นอาจจะไม่ต้องนำ เงินสดมาชำ ระจริงๆ อาจจะเป็น การชำ ระด้วยเช็คหรือตั๋วแลกเงินก็ได้ เพราะผลสุดท้ายผู้ให้เช่าซื้อก็ได้รับเงินจริงๆ ไม่ใช่ ของอื่นซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่มักเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว จะเห็นได้จากข้อเท็จจริง ที่ปรากฏในคำ พิพากษาศาลฎีกาต่างๆ เช่น
7 ลักษณะของสัญญาเช่าซื้อ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติของมาตรา 572 อีกครั้งหนึ่งจะเห็นลักษณะของสัญญาเช่าซื้อว่า 1. เป็นสัญญา เพราะฉะนั้นหลักเกณฑ์ทั่วไปของสัญญาจะต้องนำ มาใช้บังคับด้วยเท่าที่ ไม่ขัดกับหลักเกณฑ์เฉพาะของสัญญาเช่าซื้อ 2. เป็นสัญญาต่างตอบแทน เพราะทั้งผู้เช่าซื้อและผู้ให้เช่าซื้อต่างเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ ซึ่งกันและกัน โดยผู้ให้เช่าซื้อเป็นเจ้าหนี้คือมีสิทธิที่จะได้ค่าเช่าซื้อ ในด้านนี้ผู้เช่าซื้อ จึงมีหนี้ในการชำ ระค่าเช่าซื้อ ในขณะเดียวกันผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ จากตัวทรัพย์ที่เช่าซื้อและได้กรรมสิทธิ์เมื่อชำ ระค่าเช่าครบตามงวด ในด้านนี้ผู้ให้เช่าซื้อ ย่อมมีหนี้ที่จะต้องทำ ให้ผู้เช่าซื้อได้ใช้ทรัพย์และได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าว เมื่อชำ ระ ค่าเช่าซื้อครบตามงวด ดังภาพ ผู้ให้เช่าซื้อ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ทรัพย์ เงิน ผู้เช่าซื้อ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ 3. มีวัตถุประสงค์แบบผสม การมีวัตถุประสงค์แบบผสม หมายถึง การผสมระหว่างสัญญาเช่า และคำ มั่นว่าจะขาย เข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้น การปรับใช้หลักเกณฑ์ของกฎหมาย จึงต้องปรับใช้ ในเรื่องของสัญญาเช่าทรัพย์สินและในเรื่องของคำ มั่นว่าจะขายด้วยเพราะบทบัญญัติ ในเรื่องสัญญาเช่าซื้อเองมีอยู่เพียงสามมาตราเท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอ 4. มีแบบที่กฎหมายบังคับ กล่าวคือลำ พังเพียงการแสดงเจตนายินยอมเข้าทำ สัญญากัน ระหว่างผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อนั้นไม่ทำ ให้สัญญาสมบูรณ์ สัญญาเช่าซื้อนี้ยังต้อง ทำ ตามแบบที่กฎหมายกำ หนดไว้ในมาตรา 572 วรรคสองอีกด้วยคือการทำ เป็นหนังสือ ระหว่างคู่กรณี
8 แบบของสัญญาเช่าซื้อ มาตรา 572 บัญญัติว่า"อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำ มั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำ นวนเท่านั้นเท่านี้คราว สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำ เป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ" จากบทบัญญัติของมาตรา 572 นี้ การทำ สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำ เป็นหนังสือเสมอและ หนังสือดังกล่าวจะใช้เขียนขึ้นมาเองทั้งฉบับหรือใช้แบบพิมพ์ใดและไม่ว่าทรัพย์สินที่ เช่าซื้อจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ตาม โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์นั้น การเช่าซื้อก็ทำ เพียงเป็นหนังสือก็เพียงพอไม่ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ว่าจะเป็นการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน มีระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี ขึ้นไป ก็ตาม แต่เมื่อมีการชำ ระค่าเช่าซื้อครบแล้วจะต้องไปโอนกันทางทะเบียนนั้นเป็นอีก เรื่องหนึ่ง สำ หรับรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับหนังสือของสัญญาเช่าซื้อนั้น แม้ว่ากฎหมายมิได้ กำ หนดถึงรายละเอียดไว้ก็ตาม แต่เป็นที่เข้าใจว่าหนังสือของสัญญาเช่าซื้อจะต้องมีข้อความ แสดงให้เห็นว่า ได้มีการทำ สัญญาเช่าซื้อ คือมีรายละเอียดครบตามที่กำ หนดไว้ใน มาตรา 572 โดยมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย และมีการลงลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายด้วย คำ พิพากษาศาลฎีกาที 787/2508 ที่ว่า"สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้ามิได้ทำ เป็นหนังสือ ท่าน ว่าเป็นโมฆะ"นั้น หมายถึงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องทำ หนังสือสัญญานั้น ขึ้นด้วยกันจึง จะผูกพัน สัญญาเช่าซื้อที่มีแต่ผู้เช่าซื้อเพียงฝ่ายเดียวจึงไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์ที่ถูกต้องว่า ให้เช่าซื้อ
9 คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2511 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 ที่ว่าสัญญา เช่าซื้อถ้าไม่ทำ เป็นหนังสือเป็นโมฆะนั้น หมายความว่า คู่สัญญาต้องลงลายมือชื่อ ในสัญญาทั้งสองฝ่าย ถ้าฝ่ายใดมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจะถือว่าฝ่ายนั้น ทำ หนังสือสัญญาด้วยมิได้ ดังนั้น หากว่าผู้เช่าซื้อลงลายมือชื่อในสัญญาแต่ ฝ่ายเดียว สัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะ ผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องให้ผู้เช่าซื้อปฏิบัติตาม สัญญาไม่ได้ คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2513 (ป) ตามหนังสือรับรองของกองทะเบียน หุ้นส่วนบริษัทกลางระบุไว้ว่า กรรมการผู้มีอำ นาจลงชื่อแทนบริษัทโจทก์มิอยู่ 3 คน 2 ใน 3 คน นี้ ร่วมกันมีอำ นาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทได้โดยต้องประทับตรา สำ คัญของบริษัทด้วย แต่สัญญาเช่าซื้อนั้นมีกรรมการเพียงคนเดียวลงลายมือชื่อไว้ ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อ ดังนี้ย่อมถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำ เลย บริษัทโจทก็ไม่มีอำ นาจฟ้องจำ เลยให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ และศาลไม่จำ ต้อง วินิจฉัยว่าเป็นการกระทำ ของตัวแทน ซึ่งกระทำ ไปโดยปราศจากอำ นาจหรือ นอกเหนือขอบอำ นาจและตัวการได้ให้สัตยาบันแล้วหรือไม่เพราะเป็นเรื่อง นอกประเด็น คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2520 สัญญาเช่าซื้อตามมาตรา 572 หมายความ ถึงว่าเจ้าของทรัพย์สินและผู้เช่าซื้อจะต้องลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อด้วยกันทั้งสองฝ่าย เช่าซื้อรถยนต์ต้องทำ เป็นหนังสือ บริษัทจำ กัดผู้ให้เช่าซื้อมีข้อบังคับว่ากรรมการ 2 คนร่วมกันลงลายมือชื่อประทับตราของบริษัทจึงผูกพันบริษัท เมื่อกรรมการ นายเดียวลงลายมือชื่อ จึงเท่ากับผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ลงชื่อในสัญญา สัญญาเช่าซื้อ เป็นโมฆะ บริษัทฟ้องเรียกรถยนต์คืนหรือใช้ราคาและค่าเสียหายไม่ได้
10 คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2530 บทบัญญัติในมาตรา 572 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปลได้ว่า สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำ เป็น หนังสือ โดยลงชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าคู่สัญญาฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสอง ฝ่ายจะต้องลงชื่อในวันทำ สัญญานั้น เมื่อคู่สัญญาลงชื่อ ในสัญญาเช่าซื้อทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็ย่อม ถือได้ว่าสัญญาเช่าซื้อนั้นได้กระทำ เป็น หนังสือแล้ว โดยคู่สัญญาหาจำ เป็นต้องลงชื่อในวันเดียว กับที่ทำ สัญญาเช่าซื้อไม่ อย่างไรก็ตาม มีคำ พิพากษาศาลฎีกาฉบับหนึ่งที่น่าสนใจได้วินิจฉัยในประเด็น เรื่องหนังสือการเช่าซื้อที่ปรากฏว่า นิติบุคคลผู้ให้เช่าซื้อนั้นได้กระทำ ไม่ถูกต้อง ตามข้อบังคับของบริษัทในการลงนามและประทับตราของบริษัท คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 4973/2545 สัญญาเช่าซื้อในช่องเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อ มีลายมือชื่อบุคคลอยู่สองคนและประทับตราของบริษัทโจทก์ ลายมือชื่อหนึ่งใน ช่องเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อเป็นของ ส. กรรมการผู้หนึ่ง แต่อีกลายมือชื่อหนึ่งไม่ทราบว่า เป็นลายมือชื่อของผู้ใดและจะเป็นกรรมการผู้มีอำ นาจลงลายมือชื่อผูกพัน บริษัทโจทก์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองของนายทะเบียนหรือไม่ เมื่อตาม หนังสือรับรองบริษัทโจทก์กำ หนดว่าต้องมีกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำ คัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทได้ ถือได้ว่าไม่มีการลงชื่อโจทก์ ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนโดยชอบ สัญญาเช่าซื้อจึงมีเพียงลายมือชื่อของจำ เลย ที่ 1 ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง โจทก็ไม่มีอำ นาจฟ้อง อย่างไรก็ตาม แม้สัญญาเช่าซื้อนั้นจะต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้เช่าซื้อและผู้ ให้เช่าซื้อก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าคู่สัญญาเช่าซื้อจะต้องลงนามเองเสมอไป อาจจะมีการมอบอำ นาจให้บุคคลอื่นลงนามแทนก็ได้
11 ความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ เมื่อได้ทำ สัญญาเช่าซื้อที่มีองค์ประกอบทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการที่ จะต้องพิจารณาว่าในองค์ประกอบแต่ละข้อนั้นมีความบกพร่องในสายตาของกฎหมายบ้าง หรือไม่ คือดูว่ามีเหตุที่ทำ ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ หรือโมฆียะคือกฎหมายไม่รับรอง หรือไม่ ถ้ามีก็แสดงว่าสัญญาเช่าซื้อนั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งสัญญาเช่าซื้อนั้นจะมีผลอย่างไร ก็เป็นไปตามกฎหมายในเรื่องผลของโมฆะกรรมหรือโมฆียะกรรม ในประเด็นเรื่อง ความสมบูรณ์ในที่นี้ เราจะพิจารณาเป็นพิเศษเฉพาะในเรื่องแบบที่มีกฎหมายบังคับไว้ โดยเฉพาะเท่านั้น กล่าวคือ มาตรา 572 วรรคสองบัญญัติว่า “ สัญญาเช่าซื้อถ้าไม่ทำ เป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ ” สำ หรับการทำ เป็น"หนังสือ"นั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับให้ทำ ซึ่งโดยหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 9 บุคคลผู้จะต้องทำ หนังสือไม่จำ ต้องเขียนเอง ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อจึงอาจเป็น ตัวพิมพ์ก็ได้ เป็นการเขียนด้วยลายมือของบุคคลอื่นที่มิใช่คู่สัญญาก็ได้ แต่การเขียนนั้นต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรต้องสื่อแสดงสาระสำ คัญของความเป็น สัญญาเช่าซื้อตามมาตรา 572 โดยสภาพ เช่น สาระเกี่ยวกับคู่สัญญา เกี่ยวกับตัวทรัพย์ อันเป็นวัตถุแห่งสัญญา จำ นวนเงินค่าเช่าซื้อ การชำ ระค่าเช่าซื้อ และจำ นวนงวดที่จะ ชำ ระ การเช่าและคำ มันว่าจะขาย เป็นต้น ท้ายที่สุดสัญญาเช่าซื้อต้องมีการลงลายมือชื่อ ซึ่งตามมาตรา 9 ต้องเป็นการลงลายมือชื่อ ของบุคคลผู้ทำ เป็นหนังสือ แต่เนื่องจากเช่าซื้อเป็นสัญญา บุคคลที่จะต้องลงลายมือชื่อ จึงต้องมีสองฝ่ายคือผู้เช่าซื้อและผู้ให้เช่าซื้อและแม้มาตรา 9 มิได้กำ หนดว่าลายมือชื่อ ต้องลงเมื่อใด แต่เมื่อการทำ เป็นหนังสือนี้เป็น"แบบ"ที่กฎหมายบังคับให้ทำ ตาม มาตรา 152 ด้วย จึงต้องลงพร้อมกันในขณะทำ สัญญา มิฉะนั้นสัญญาก็จะตกเป็นโมฆะ ไป เพราะในการพิจารณาทำ สัญญาว่าได้ทำ ตามแบบที่กฎหมายบังคับแล้วหรือไม่ ต้องพิจารณาใน"ขณะ"ทำ สัญญาเป็นสำ คัญ
12 สรุปว่าการทำ เป็นหนังสือหมายความถึงทำ สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรมีข้อความทุกอย่าง ครบถ้วนและที่สำ คัญมีลายมือชื่อของทุกฝ่าย ดังนั้น กระดาษเปล่าที่มีลายมือชื่อของทุกฝ่าย ไม่เป็น"หนังสือ"เพราะการทำ เป็นหนังสือนั้นหมายถึงต้องมีเนื้อหาสาระของสัญญา เช่าซื้อครบถ้วนเพราะสัญญานี้ไม่มีลายมือชื่อหรือมีลายมือชื่อฝ่ายเดียวไม่ใช่หนังสือ ที่สำ คัญต้องมีการลงลายมือ ชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตั้งแต่ในขณะที่ทำ สัญญาด้วย อย่างไรก็ตาม การที่กฎหมายกำ หนดแบบในสัญญาเช่าซื้อซึ่งหากไม่ได้ทำ ตกเป็นโมฆะ อาจไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ ด้วยเหตุที่ในปัจจุบัน การที่ประชาชนจะซื้อทรัพย์ในราคาแพงด้วยเงินสดเพียงคราวเดียวอาจทำ ได้ไม่ง่ายนัก สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นสัญญาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และการบัญญัติสัญญาเช่าซื้อไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทำ ให้หลักการคิดในเรื่องแบบตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ต้องเป็นเช่นเดียว กับแบบที่กฎหมายบังคับไว้ ประเภทอื่นๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเพราะปัจจุบันผู้ประกอบ ธุรกิจเช่าซื้อซึ่ง ในแต่ละวันอาจทำ สัญญาให้เช่าซื้อทรัพย์กับผู้เช่าซื้อหลายรายแต่การลงลายมือชื่ออาจ ไม่ได้ลงพร้อมกันซึ่งเป็นไปตามปกติในทางธุรกิจ หากปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์แล้วบอกว่าผลคือสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ ก็อาจส่งผลต่อผู้ประกอบธุรกิจโดยรวมได้ และหากผู้เช่าซื้ออาศัยช่องทางนี้อ้างว่าสัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะ ซึ่งนอกจากทำ ให้ธุรกิจ ให้เช่าซื้อประสบปัญหาแล้ว ก็ยังมีประเด็นทางกฎหมายที่น่าพิจารณาอีกด้วยว่า ผู้เช่าซื้อ ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 172 นั้นหากกล่าวอ้างโมฆะกรรมแล้ว ควรเรียกคืน ทรัพย์ฐานลาภมิควรได้ได้หรือไม่ เพราะความเป็นโมฆะเกิดโดยผลของกฎหมาย ผู้เช่าซื้อ เองก็ไม่ควรอ้างได้เช่นกันว่าไม่รู้กฎหมายเช่าซื้อกำ หนดให้ทำ ตามแบบ ยิ่งแบบดังกล่าว บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งใช้มานานมากแล้วด้วย ดังนั้น เพื่อให้การปรับใช้กฎหมายเป็นไปโดยความสุจริต เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และเพื่อ เป็นการรักษาระบบเศรษฐกิจโดยรวมด้วย ข้าพเจ้าเห็นว่าควรจะได้มีการแก้ไขกฎหมาย
13 ในเรื่อง"แบบ"ของสัญญาเช่าซื้อ หรือ"ผล"ทางกฎหมายของการไม่ทำ ตามแบบของ สัญญาเช่าซื้อเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจในปัจจุบัน ในฐานะที่สัญญาเช่าซื้อ เป็นสัญญาทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามพึงระมัดระวังว่าการทำ เป็นหนังสือนี้ต้องทำ ทั้งการเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ และอสังหาริมทรัพย์ด้วย กล่าวคือใช้กับทรัพย์สินทุกประเภท ประเด็นที่ควรพิจารณามีอยู่ 2 ประเด็น คือ (ก) ถ้าสัญญาเช่าซื้อมิได้ทำ เป็นหนังสือตามที่กฎหมายกำ หนด สัญญานั้นตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 572 และผลของโมฆะกรรมเป็นไปตามมาตรา 172 โดยการคืนทรัพย์ให้ เป็นไป ตามหลักลาภมิควรได้ ปัญหาว่าจะอาศัยมาตรา 174 แปลงสัญญาเช่าซื้อให้สมบูรณ์เป็นสัญญาเช่าทรัพย์ ธรรมดาได้หรือไม่ เพราะในเช่าซื้อก็มีเช่าทรัพย์อยู่แล้ว โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าน่าจะไม่ได้ เพราะ สัญญาเช่าซื้อมีวัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งคือความคาดหวังว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ ในอนาคตด้วย มิได้มีเพียงวัตถุประสงค์ในการได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน เท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ จึงไม่อาจสันนิษฐานเจตนาของคู่กรณี ได้ว่าถ้าเขารู้มาตั้งแต่แรกดงเจตนาที่จะให้สมบูรณ์เป็นสัญญาเช่าทรัพย์ และยิ่งไปกว่านั้น ค่าเช่าซื้อที่ได้กำ หนดไว้ย่อมสูงกว่า ค่าเช่าทรัพย์ เพราะฉะนั้นจะชำ ระค่าเช่าซื้อเพียง เพื่อตอบแทนการได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวเท่านั้นก็คง จะไม่ใช่ความตั้งใจของคู่สัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายผู้เช่าซื้อ (ข) การแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าซื้อที่ได้ทำ เป็นหนังสือไว้แล้ว จะต้อง ทำ เป็นหนังสือด้วยหรือไม่ ในกรณีนี้หากย้อนไปพิจารณาปัญหาเรื่องแบบของนิติกรรมตามมาตรา 152 ก็อาจมีแนวคิดได้ 2 แนวคือ
14 1 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมนิติกรรมที่ต้องทำ ตามแบบก็ต้องทำ ตามแบบด้วยเสมอ เพราะนิติกรรมอันแรกต้องทำ ตามแบบ 2 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนิติกรรมที่ต้องทำ ตามแบบจะต้องทำ ตามแบบก็ต่อเมื่อกฎหมาย กำ หนดไว้โดยชัดแจ้ง เช่น ในเรื่องของพินัยกรรมที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1656 วรรคสองว่า "การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำ พินัยกรรมตามมาตรานี้"และใน มาตรา 1657 วรรคสองบัญญัติว่า"การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำ พินัยกรรมจะได้ทำ ด้วยมือตนเอง และ ลงลายมือชื่อกำ กับไว้"หากกรณีใดมิได้มีกฎหมายกำ หนดไว้โดยเฉพาะก็เท่ากับกฎหมาย ไม่บังคับให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงต้องทำ ตามแบบ สำ หรับผู้เขียนเห็นว่าแม้ความคิดทั้งสองแนวจะดูมีเหตุผลรองรับดีอยู่ แต่สิ่งที่ ต้อง พิเคราะห์ด้วยก็คือความมุ่งหมายของการที่จะต้องทำ ตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้นั้น มิได้มุ่งหมาย ที่จะคุ้มครองเฉพาะคู่กรณีแห่งนิติกรรมเท่านั้นแต่มุ่งหมายที่จะคุ้มครอง บุคคลภายนอกด้วย ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าในกรณีของการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา เช่าซื้อก็ต้องทำ เป็นหนังสือเช่นเดียวกับการทำ สัญญาเช่าซื้อเพราะถือว่าการแก้ไข เปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าซื้อที่ทำ ขึ้นภายหลังเป็นนิติกรรม อีกอันหนึ่งแยกจากสัญญาเช่าซื้อ เดิม ดังนั้น การกระทำ เพียงการทำ บันทึกต่อท้ายเท่านั้นย่อมไม่สมบูรณ์ หรือการขีดฆ่า แก้ไขเพิ่มเติมลงในสัญญาเช่าซื้อภายหลังย่อมไม่สมบูรณ์กล่าวคือตกเป็นโมฆะเช่น เดียวกับสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ได้ทำ เป็นหนังสือนั่นเอง ในส่วนของคำ พิพากษาฎีกานั้นก็ยังวินิจฉัยไม่ค่อยชัดเจนนักในประเด็นของ มาตรา 572
15 หลังจากสัญญาเช่าซื้อได้เกิดขึ้นแล้ว อาจจะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอีก ซึ่งอาจจะมีผลต่อ การสิ้นสุดของสัญญาได้ ดังนั้น จึงจำ เป็นที่จะต้องพิจารณาว่าสาเหตุใดบ้างที่มีผลทำ ให้ สัญญาเช่าซื้อระงับและสาเหตุใดบ้างที่ไม่ทำ ให้สัญญาเช่าซื้อระงับ หลังจากทำ สัญญาเช่าซื้อแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้ออาจตกลงเลิกสัญญากันเอง ดัง เช่นในสัญญาประเภทอื่นๆ ซึ่งทำ ให้เมื่อสัญญาเลิกหรือระงับลง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายก็ต้อง ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2519 โจทก์ทำ สัญญาเช่าซื้อที่ดินจากจำ เลยและได้ชำ ระค่า เช่าซื้อบางส่วนให้จำ เลยแล้ว ต่อมาโจทก์จำ เลยแสดงเจตนาเลิกสัญญากันและเป็นผลให้ โจทก์จำ เลยกลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนี้ จำ เลยจึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับไว้ให้โจทก์รวม ทั้งดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวด้วย โดยคิดตั้งแต่เวลาที่รับเงินนั้นไว้ในอัตราร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อปี ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 7 ประกอบกับมาตรา 391 ความระงับของสัญญาเช่าซื้อ 1.1. ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา มาตรา 573 บัญญัติว่า"ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยส่งมอบ ทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง" เหตุผลที่กฎหมายยอมให้ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ ก็เพราะเมื่อผู้เช่าซื้อ ได้ชำ ระเงินไปแล้ว ถ้าไม่พอใจที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์อีกต่อไป ก็น่าจะมีสิทธิเลิกสัญญา ได้ทางฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่เสียหายอะไร เพราะได้รับเงินมาแล้วบางส่วนและยังได้ รับทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนจากผู้เช่าซื้อด้วย การเลิกสัญญาเช่าซื้อนี้ กฎหมายกำ หนดให้ผู้เช่าซื้อบอกเลิกในเวลาใดๆ ก็ได้ การบอกเลิกมิใช่บอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าซื้อเพียงอย่างเดียวว่าจะเลิกสัญญา แต่ผู้เช่าซื้อ จะต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่เจ้าของ โดยเสียค่าใช้จ่ายของผู้เช่าซื้อเอง ลำ พัง เพียงแต่บอกกล่าว ว่าเลิกสัญญาแต่มิได้ส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อยัง ไม่ทำ ให้สัญญาเช่าซื้อระงับ 1. เหตุที่ทำ ให้สัญญาเช่าซื้อระงับ
16 ตัวอย่าง นาย ก. เช่ารถสองแถวเล็กของนาย ข. 1 คัน ทำ สัญญาเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย ตกลงชำ ระค่าเช่าเป็นรายเดือนๆ ละ 2,000 บาท ครบกำ หนด 2 ปีให้รถตกเป็นสิทธิของนาย ก. เช่าได้ 1 ปี นาย ก. เลิกกิจการเดินรถเพราะขาดทุน ได้แจ้งให้นาย ข. ทราบว่าไม่ประสงค์จะเช่าต่อไปแล้ว รถอยู่ที่จังหวัดลพบุรี นาย ก. จะต้องนำ รถสองแถวนี้มาส่งคืนแก่นาย ข. ที่กรุงเทพฯ โดยค่าใช้จ่ายของนาย ก. เอง คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2530 โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากจำ เลย หากโจทก์ จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก็อาจทำ ได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์คืนแก่จำ เลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ บอกกล่าวเลิกสัญญาโดยยังครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้ออยู่ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2522 โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อ เพราะตำ รวจ ยึดไปสอบสวนกรณีรถนั้นถูกลักมา เป็นการผิดวัตถุประสงค์ของเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิก สัญญาได้โดยไม่ต้องคืนรถแก่จำ เลยผู้ให้เช่าซื้อ แม้จำ เลยมิได้ประมาทเลินเล่อ ในการที่ถูกตำ รวจยึดรถไป แต่ถ้าย้อนกลับไปพิจารณามาตรา 572 ที่กำ หนดว่าเป็นสัญญาที่เจ้าของนำ ทรัพย์สิน ออกให้เช่า และให้คำ มั่นว่าจะขายหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า... คำ ที่ น่าสนใจ คือคำ ว่าคำ มั่นที่เป็นเรื่องผูกพันผู้ให้เช่าฝ่ายเดียวที่จะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็น สิทธิแก่ผู้เช่า แสดงว่าผู้เช่ามีสิทธิเลือกจะรับเอาคำ มั่นนั้นหรือไม่ก็ได้ และเมื่อนำ มาตรา 573 มาพิจารณาประกอบแล้ว ถึงแม้มาตรา 572 กับมาตรา 573 จะบัญญัติไว้ แยกจากกันก็ตาม จะเข้าใจได้ไปทำ นองว่ามาตรา 573 นี่เองที่เป็นมาตราที่บ่งชี้ถึงสิทธิ เลือกของผู้เช่าซื้อว่า จะยังคงปฏิบัติตาม สัญญาต่อไปจนจบหรือจะเลิกสัญญาเสีย แต่ มาตรา 573 ก็ไม่ได้กำ หนดถึงผลจากการเลิก สัญญาเช่าซื้อไว้ไม่เหมือนกับที่มาตรา 547 ได้กำ หนดไว้ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาว่าเมื่อผู้เช่าซื้อใช้สิทธิเลิกสัญญาตามมาตรา 573 นี้ ผู้เช่าซื้อจะมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าซื้อที่ชำ ระไปแล้วคืนหรือไม่ เนื่องจากมาตรา 573 ไม่ได้กำ หนดถึงเรื่องนี้ไว้ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีผู้ให้ความเห็นไว้แตกต่างกัน
17 คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2542 สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่ง ผู้ให้ เช่าชื้อจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อชำ ระค่าเช่าซื้อ ครบถ้วน แต่เมื่อห้างผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำ ระค่าเช่าซื้อหลายงวด จนโจทก์มอบให้ ทนายความ มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังห้างผู้เช่าซื้อแล้ว กลับมีการทำ สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำ เลยขึ้น โดยเอาหนี้ที่ค้างชำ ระตาม สัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมเข้าเป็นเงินจำ นวนเดียวให้จำ เลย ผ่อนชำ ระต่อไป แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหาได้มีข้อความใดกล่าวถึง รถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ไม่ ทั้งปรากฏ ว่าหลังจากนั้น ห้างผู้เช่าซื้อและจำ เลยยังคงครอบครอง ใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อมาอีกด้วยเห็นได้ว่าหากจำ เลยผ่อนชำ ระหนี้ตาม สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจนครบถ้วนแล้วโจทก์ย่อมโอนกรรมสิทธิ์และ โอนทางทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ห้างผู้เช่าซื้ออย่างแน่นอนเพระมิฉะนั้นจำ เลย ย่อมไม่ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ การที่โจทก์ยอมให้ห้างผู้เช่าซื้อ และจำ เลยครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อหลังจากทำ สัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วก็ดี และยอมจะโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ห้างผู้เช่าซื้อเมื่อจำ เลยผ่อนชำ ระ หนี้ครบถ้วนแล้วก็ดี ย่อมแสดงว่าคู่สัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อโดย มิได้มีเจตนาให้สัญญาเช่าซื้อเลิกไปเสียทั้งหมดคงเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่จำ นวนหนี้ ค่าเช่าซื้อและการผ่อนชำ ระเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ทำ ให้ สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมระงับไปและไม่มีลักษณะเป็น สัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ประกอบมาตรา 852 คงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้และผ่อนชำ ระหนี้ค่าเช่าซื้อและหนี้อื่นๆ ที่ค้างชำ ระเท่านั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงมีผลบังคับอยู่ ห้างผู้ เช่าซื้อย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียได้ด้วยการ ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ผู้ให้เช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 และโจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อหลังจากนั้น หาได้ไม่ แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องตั้งประเด็นตามสัญญาเช่าซื้อ สิทธิของโจทก็ตาม สัญญาเช่าซื้อยังคงมีอยู่เพียงใดจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้สมควรให้โอกาส แก่โจทก์ไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่
18 1.2. ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา มาตรา 574 กำ หนดว่า"ในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กัน หรือกระทำ ผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำ คัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้น บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อน ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สิน ชอบที่จะกลับเข้าครองทรัพย์สินนั้นได้ด้วย อนึ่งในกรณีกระทำ ผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นคราวที่สุดนั้น ท่านว่า เจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนและกลับเข้าครอบครอง ทรัพย์สินได้ต่อเมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำ หนดไปอีกงวดหนึ่ง" ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญา ผู้เช่าซื้อย่อมทำ ได้ทุกเวลาและ ไม่จำ เป็นต้องให้เหตุผลแห่งการเลิกสัญญา แต่ในส่วนผู้ให้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญา ดังอำ เภอใจเช่นผู้เช่าซื้อไม่ได้ อย่างไรก็ตามกฎหมายก็มิได้ตัดสิทธิผู้ให้เช่าซื้อที่ จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่ชำ ระเงิน ค่าเช่าซื้อหรือกระทำ ผิด ข้อสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำ คัญ ในกรณีแรก ผู้เช่าผิดนัดไม่ชำ ระเงินสองคราวติดๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเลิกสัญญา คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2487 ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำ ระค่าเช่า 2 คราวติดๆ กัน ผู้ให้เช่าเข้าครอบครองทรัพย์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2501 เมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญาไม่ชำ ระค่าเช่าซื้อกว่า 2 คราว ติดๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเอาทรัพย์คืน และเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำ ระจน ถึงวัน เลิกสัญญาได้
19 อย่างไรก็ตาม มาตรา 574 มิใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม อันดีงามของประชาชน คู่สัญญาจึงสามารถตกลงยกเว้นเป็นอย่างอื่นได้ ตามมาตรา 151 และบทบัญญัติของมาตรา 574 จะนำ มาใช้เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น เช่น กำ หนดว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดในการชำ ระเงินงวดใดงวดหนึ่ง ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาได้ เช่น นาย ก. เช่าซื้อตู้เย็น 1 ตู้ จากบริษัทอิเล็คทริคเครื่องใช้จำ กัด ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อได้กำ หนดราคาค่าเช่าซื้อทั้งหมดในราคา 25,000 บาทถ้วน โดย ผู้เช่าซื้อต้องชำ ระค่าเช่าซื้อทุกเดือนๆ ละ 1,000 บาท เป็นเวลา 25 งวด และถ้าหาก ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำ ระค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อทั้งหมด และให้ ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันที ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ หาก ปรากฏว่าในระหว่างระยะเวลาเช่าซื้อนาย ก. ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำ ระค่าเช่าซื้องวดใด งวดหนึ่ง บริษัท อิเล็คทริคเครื่องใช้ จำ กัด ก็มีสิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันที และสามารถ ยึดเอาตู้เย็นที่เช่าซื้อคืน สำ หรับข้อตกลงที่แตกต่างไปจากที่มาตรา 574 กำ หนดไว้อาจมีลักษณะต่างกันได้ดังนี้ คือ 1.ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดเพียงงวดใดงวดหนึ่งแม้เพียงงวดเดียว ให้ผู้ให้เช่าซื้อเลิกสัญญาได้ คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2501 ข้อสัญญาว่าผู้เช่าซื้อไม่ชำ ระค่าเช่าซื้องวดใด ผู้ให้เช่าซื้อเลิกสัญญาและริบเงินที่ชำ ระแล้วได้นั้น ใช้บังคับได้ไม่ขัดกับมาตรา 574 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เมื่อคู่สัญญาไม่ตกลงกันไว้ คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2526 สัญญาเช่าซื้อที่ว่าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำ ระ ค่าเช่าซื้อ เพียงคราวเดียวหรืองวดเดียว ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้นั้น แม้จะแตกต่างกับป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน....จึงใช้บังคับได้ 2. ให้ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดนัดผิดสัญญาเช่าซื้อทั้งหมด คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2515 สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวระบุไว้ว่า ถ้าผู้เช่า ผิดนัดชำ ระ ค่าเช่าซื้อไม่ว่างวดใดงวดหนึ่ง ผู้เช่ายินยอมให้ถือว่าผิดนัดผิดสัญญาเช่าซื้อทั้งหมด ดังนี้ ก็มีผลใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 574วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เมื่อคู่ สัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
20 3. ให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิยึดทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนได้ทันที คำ พิพากษาศาลฎีกาที 1816/2511 สัญญาเช่าซื้อรถระบุว่า ถ้าผิดนัดชำ ระเงินงวดใด งวดหนึ่งยอมให้ยึดรถคืน ดังนี้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำ ระเงินงวดที่ 1 ผู้ให้เช่าซื่อก็มีสิทธิยึด รถคืนได้ คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2520 ป.พ.พ. มาตรา 560/574 ไม่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีในสัญญาเช่าซื้อจึงตกลงกันให้ริบเงินที่ส่งไปแล้ว และยึดรถคืนได้เมื่อผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งได้ทันที คำ พิมพากาศาลฎีกาที่ 2293/2522 สัญญาเช่าซื้อมีว่าให้ยึดคืนได้ เมื่อไม่ชำ ระค่าเช่าซื้อ งวดใดงวดหนึ่ง ผู้ให้เช่าซื้อยึดรถคืนได้ ไม่ต้องรอให้ผิดนัด 2 คราว ไม่ขัดต่อมาตรา 574 วรรคแรก และไม่ใช่กรณีเงินชำ ระงวดสุดท้ายตามมาตรา 574วรรคสอง ผู้ให้เช่าซื้อยึดรถ คืนก่อนแล้วบอกเลิกสัญญาภายหลังก็ได้ 4.ให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันทันที คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 6121/2545 สัญญาเช่าซื้อระบุให้ผู้เช่าซื้อนำ ค่าเช่าซื้อ ที่ค้าง ชำ ระไปชำ ระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำ เนาของเจ้าของ จึงเป็นภาระหน้าที่ของจำ เลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อที่ต้องนำ เงินค่างวดไปชำ ระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำ เนาของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ การที่จำ เลยที่ 1 นำ สืบถึงข้อตกลงว่าพนักงานของโจทก์จะเป็นผู้ไปเก็บค่างวดแก่จำ เลย ที่ 1 เอง จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นการนำ สืบพยานบุคคลเพิ่มเติม เอกสารสัญญาเช่าซื้อ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง เมื่อจำ เลยที่ 1 ไม่ได้ชำ ระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์จึงเป็นการผิดสัญญา สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันทันทีโดยเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องบอกกล่าวก่อน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับการเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ ชำ ระค่าเช่าซื้อ แต่่หากว่าคู่สัญญามิได้ถือเอาข้อตกลงเป็นการเคร่งครัด หากผู้ให้เช่าซื้อจะ ใช้สิทธิเลิกสัญญาในกรณีดังกล่าว ก็ต้องปฏิบัติตามมาตรา 387 ก่อน
21 มาตรา 387 บัญญัติว่า"ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำ ระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำ หนดระยะ เวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำ ระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่าย นั้นไม่ชำ ระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำ หนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้" คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2524 การที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา แต่ยังคงรับชำ ระหนี้ค่าเช่าซื้อต่อมา ถือได้ว่าผู้ให้เช่าซื้อและ ผู้เช่าซื้อต่างมีเจตนามุ่งหมายระงับข้อผูกพันเดิม โดยไม่ถือว่าการไม่ชำ ระหนี้ตามกำ หนด ใน สัญญาเป็นการผิดสัญญา ฉะนั้นการที่ผู้เช่าซื้อไม่ชำ ระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกัน จึงถือไม่ได้ว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญา 1.3. ทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหายหมด สัญญาเช่าซื้อก็เช่นเดียวกับสัญญาเช่าทรัพย์ในข้อที่ว่าหากทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย ไปหมด สัญญาเช่าซื้อเป็นอันระงับไป เพราะขาดวัตถุแห่งหนี้ คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2522 จำ เลยเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ ได้จอดรถยนต์ที่ เช่าซื้อไว้ที่ถนน แล้วถูกคนร้ายลักไป เมื่อถนนดังกล่าวเป็นที่จอดรถได้และมีรถยนต์ คันอื่นจอดอยู่หลายคัน ดังนี้จะเรียกว่าจำ เลยประมาทเลินเล่อไม่ได้ เมื่อรถดังกล่าวถูกขโมย ลักไป สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 ประกอบมาตรา 567 จำ เลยไม่ต้อง ชำ ระเงินค่าเช่าซื้อหรือค่าเสียหายตั้งแต่งวดที่รถหายเป็นต้นไป คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2525 สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง จึงนำ บทบัญญัติลักษณะเช่ามาใช้บังคับด้วย เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อ ย่อมระงับลงตั้งแต่วันที่รถยนต์สูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 567
4. เมื่อมีพฤติการณ์ที่ถือว่าคู่สัญญามีเจตนาที่จะเลิกสัญญากัน คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 3830-3831/2550 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อ ผิดนัดชำ ระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดถือว่าสัญญาเลิกกันทันที่โดยไม่ต้องบอกล่าวก่อน ผู้ เช่าซื้อยอมให้เจ้าของริบบรรดาเงินค่าเช่าซื้อที่ได้ชำ ระทั้งหมดเป็นของเจ้าของ และยอมส่ง มอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนแก่เจ้าของโดยพลัน แต่เมื่อโจทก์ที่ 1 ชำ ระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตาม กำ หนดเวลาที่ระบุในสัญญา จำ เลยยอมรับค่าเช่าซื้อไว้ไม่ทักท้วง แสดงว่าคู่สัญญาไม่ถือ เอากำ หนดเวลาชำ ระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำ คัญ ต่อมาโจทก์ที่ 1 ผิดนัดชำ ระค่า เช่าซื้อ ตั้งแต่งวดที่ 35 เป็นเวลา 9 งวด จำ เลยมีหนังสือขอให้ชำ ระหนี้และบอกเลิก สัญญาแก่โจทก์ทั้งสองแจ้งให้มาติดต่อชำ ระหนี้ภายใน 15 วัน หากพันกำ หนดขอถือเอา หนังสือดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ที่ 1 ได้ติดต่อกับจำ เลย ภายในกำ หนดระยะเวลาตามหนังสือดังกล่าว และชำ ระหนี้ให้แก่จำ เลยเป็นเช็ค 5 ฉบับ แล้วจำ เลยยอมรับเช็คดังกล่าวไว้นำ ไปเรียกเก็บเงินได้ 3 ฉบับ แสดงว่าจำ เลยยอมรับชำ ระ หนี้จากโจทก์ที่ 1 ตามเงื่อนไขในหนังสือขอให้ชำ ระหนี้บอกเลิกสัญญา และยินยอมให้ โจทก์ที่ 1 ครอบครองใช้รถยนต์ได้ถือว่าจำ เลยประสงค์จะให้สัญญาเช่าซื้อมีผลบังคับกัน ต่อไป ครั้นเมื่อเช็คฉบับที่สี่และที่ห้าเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ที่ 1 จึงผิดนัดไม่ชำ ระค่าเช่า ซื้อในงวดดังกล่าวอีก หากจำ เลยประสงค์จะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ที่ 1 จะต้องบอกกล่าว ให้โจทก์ที่ 1 ชำ ระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำ ระภายในเวลาอันสมควรเสียก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อจำ เลยยังไม่บอกเลิกสัญญา สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกัน โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่เป็น ฝ่ายผิดสัญญา หลังจากโจทก์ที่ 1 ผิดนัดไม่ชำ ระค่าเช่าซื้อตามเช็คฉบับที่สี่และที่ห้าแล้วจำ เลยได้ยืด รถยนต์คันที่เช่าซื้อจากโจทก์ที่ 1 โจทก์ทั้งสองทราบว่า จำ เลยมายึดรถยนต์คืน โจทก์ ทั้งสองก็ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านการยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อจากจำ เลยอย่างใด โจทก์ที่ 1 เพิ่งจะมอบให้ทนายความมีหนังสือขอให้จำ เลยส่งมอบรถยนต์คืน หลังเวลาล่วงเลยมาถึง 5 เดือน ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำ เลยยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดย ไม่คัดค้าน ถือว่าโจทก์ที่ 1 กับจำ เลยสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่สัญญา ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง 22
เมื่อสัญญาเลิกกันด้วยเหตุอื่นมิใช่การเลิกสัญญา ที่มีผลมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ตามสัญญาเช่าซื้อ คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตาม สัญญาอีกต่อไป การที่จำ เลยยึด รถยนต์คืนจึงไม่ทำ ให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ที่เช่า ซื้อ โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกรถยนต์คืน หรือให้ใช้ราคาแทนและเรียกค่าเสียหายเป็น ค่าขาดประโยชน์จากจำ เลยได้ ส่วนจำ เลยก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียก ค่าติดตามรถ ค่าขาดราคา จากค่าเช่าซื้อที่ต้องชำ ระโดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อที่ระงับไปแล้วได้ แต่สัญญา เช่าซื้อเลิกกันนับแต่วันที่จำ เลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จะต้อง ใช้เงินเป็นค่าเสียหายแก่จำ เลยในการใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อในระหว่างที่ยังไม่ได้ส่งมอบ รถยนต์ที่เช่าซื้อคืนตามค่าแห่งการนั้น ๆ ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ค้ำ ประกันยอมรับผิดร่วมกับโจทก์ที่ 1 ต้องรับผิดค่าเสียหาย ดังกล่าวร่วมกับโจทก์ ที่ 1 ด้วย ในสัญญาเช่าทรัพย์สินนั้น หากปรากฏว่าผู้เช่าตาย สัญญาเช่าย่อมระงับไป เพราะการ เช่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เช่า สิทธิการเช่าไม่ตกทอดไปยังทายาทแต่ในสัญญาเช่าซื้อ นั้นวัตถุประสงค์แห่งสัญญามิได้อยู่ที่เฉพาะการใช้หรือการได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่ เช่าเท่านั้น ผู้เช่าเมื่อจ่ายเงินค่าเช่าซื่อครบถ้วนแล้วก็ต้องการได้รับโอนกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สิน ที่เช่าด้วย และสิทธินี้ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว ดังนั้น เมื่อผู้เช่าซื้อตายทายาทของผู้ เช่าซื้อจึง สืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ ตัวอย่าง นาย ก. ให้นาย ข. เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของตน 1 คัน ราคา 5,000บาท ได้ ทำ หนังสือสัญญาลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย สัญญาลงวันที่ 1 ตุลาคม 2520 กำ หนด ชำ ระค่าเช่าซื้อในวันทำ สัญญา 2,500บาท และจะต้องชำ ระอีก 2,500บาท ในวันที่ 10 ตุลาคม นาย ข. ได้ชำ รเงิน 2,500 บาท แล้วในวันทำ สัญญา ต่อมาในวันที่ 8 ตุลาคม 2520 นาย ข. ถูกรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย ดังนี้ หากนาย ข. มีบุตรหรือมีทายาทอื่น ทายาทของนาย ข. ก็มีสิทธิที่จะสืบสิทธิของนาย ข. ผู้เช่าซื้อต่อโดยนำ เงินค่าเช่าซื้อมาชำ ระ ให้ครบอีก 2,500 บาท แล้วรับโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไป 2. เหตุที่ไม่ทำ ให้สัญญาเช่าซื้อระงับ 23
24 คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 2578-2579/2515 สัญญาเช่าซื้อมิใช่เป็นสัญญาเช่าธรรมดา แต่มีคำ มั่นว่าจะขายทรัพย์โดยมีเงื่อนไขการชำ ระเงินเป็นครั้งคราวรวมอยู่ด้วย ถ้าผู้เช่าซื้อ ชำ ระเงินแก่ผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนตามเงื่อนไขก็ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ซึ่งสิทธิที่จะ ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนี้มิใช่สิทธิเฉพาะตัว สัญญาเช่าซื้อจึงมีผลที่อาจสืบสิทธิกันได้ เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2516 สัญญาเช่าซื้อก็คือ สัญญาเช่าทรัพย์บวก ด้วยคำ มั่น จะขายทรัพย์สินนั้น สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้เช่า คำ มั่นจะขายทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็น สิทธิในทรัพย์สินซึ่งอาจตกเป็นมรดกของคู่สัญญาที่ถึงแก่กรรมได้ คู่สัญญาทำ สัญญาเช่าซื้อโดยมีข้อสัญญาระบุว่า ให้ผู้เช่าซื้อระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิ ในการเช่าซื้อแทนเมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมได้ และผู้เช่าซื้อได้ระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิ ในการเช่าซื้อไว้แล้ว ข้อสัญญาดังกล่าวนี้เป็นข้อสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ฉะนั้น เมื่อผู้เช่าซื้อ ถึงแก่กรรม และทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวได้แสดงเจตนาถือเอา ประโยชน์จากสัญญานี้ต่อผู้ให้เช่าซื้อแล้ว สิทธิในการเช่าซื้อจึงตกเป็นของทายาผู้รับสิทธิ ดังกล่าวไม่ตกเป็นมรดกของ ผู้เช่าซื้อ อันผู้จัดการมรดกจะฟ้องร้องเรียกคืนได้ นอกจากนี้ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อมักจะมีข้อกำ หนดหรือข้อตกลงอื่นอีกมากมาย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวก็มีผลใช้บังคับได้ หากว่าไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและ ศีลธรรมอันดีงามของประชาชน คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2525 ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิด ชอบในการซ่อมแซมแต่ผู้เดียว และหากผู้ให้เช่าซื้อต้องทดรองชำ ระค่าซ่อมแซมไปก่อน ผู้ เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบชดใช้คืนให้ทันที ดังนี้ เมื่อผู้เช่าซื้อยินยอมให้ผู้ให้เช่า ซื้อเอา รถยนต์พิพาทไปซ่อมแซมและผู้ให้เช่าซื้อได้ทดรองชำ ระค่าซ่อมแซมไปก่อน ผู้เช่าซื้อจึง ต้องชดใช้คืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ
อายุความฟ้องร้องคดี เนื่องจากบทบัญญัติในเรื่องเช่าซื้อมีเพียง 3 มาตราเท่านั้น ดังนั้น ในเรื่องอายุความ ที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีที่เกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่ปรากฏอยู่ในบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะเช่าซื้อ อายุความเกี่ยวกับเรื่องเช่าซื้อนั้น เคยมีคำ พิพากษา ฎีกาได้เคยวินิจฉัยไว้ดังนี้ คือ 1. การฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำ ระ คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2512 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่า ในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากผู้ให้เช่าซื้อเป็นพ่อค้าย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ ค้างชำ ระได้ภายในกำ หนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) คำ พิพากษาศาลฎีกาที่3358/2530 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็น ค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้อง เอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ (เครื่องรับโทรทัศน์) ที่ค้างชำ ระอยู่จึงต้องฟ้องเสียภายใน อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) ไม่ใช่ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 2. การฟ้องเรียกทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืน คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2512 ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้ เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ หากส่งคืนไม่ได้ ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของ กรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์สินคืน อยู่ภายในกำ หนดอายุความ 10 ปี 25
26 3. การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2513 เมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเพียงริบ ค่าเช่าซื้อที่ได้รับไว้กับเรียกเอาทรัพย์ที่เช่าซื้อคืน จะเรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างด้วยไม่ได้ จะเรียกได้อีกก็แต่ค่าที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อมาตลอดเวลาที่ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ และถ้าทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้นเสียหายเพราะเหตุอื่นนอกเหนือไปจากการใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อ โดยชอบ ผู้ให้เช่าซื้อก็เรียกค่าเสียหายได้ด้วย และการฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ มีอายุความ 10 ปี 4. การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าเสื่อมราคาหรือค่าขาดราคาหรือค่าขาดประโยชน์ คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2545 การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าเสื่อมราคาหรือ ค่าขาดราคาของรถยนต์ที่ประมูลขายได้ราคาน้อยกว่าราคาเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อต้อง รับผิด ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นผลมาจากการเลิกสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำ หนดอายุความ ไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2546 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำ เลยที่ 1 ตกลงให้นำ เงิน ที่ได้จากการขายรถจักรยานยนต์คันที่เช่าซื้อไปชำ ระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำ ระกับค่าใช้จ่าย อื่นที่จำ เลยที่ 1 มีหน้าที่ชำ ระตามสัญญาเช่าซื้อ หากราคารถคันที่เช่าซื้อขายได้ไม่พอ ชำ ระหนี้จำ เลยที่ 1 ยอมชำ ระเงินจำ นวนที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่โจทก็จนครบนั้นเป็นข้อตกลง เรื่องค่าเสียหาย เมื่อคำ ขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้บังคับจำ เลยทั้งสองร่วมกันชำ ระราคา ส่วนที่ขาดทุนตามฟ้องโดยมิได้ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำ ระ จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34(6) แต่มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
27 ตัวอย่างวินิ วินิ จฉัย นายสุขเอาเรือของตน1 ลำ ให้นายสันเช่า คิดค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท กำ หนด ชำ ระค่าเช่าทุกวันที่ 1 ของเดือน ณ ภูมิลำ เนาของนายสุข ครบ 40 เดือนให้เรือ ตกเป็นของนายสัน สัญญาทำ เป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้ง 2 ฝ่าย เช่ากันได้ 10 เดือน นายสันผิดนัดไม่ส่งค่าเช่า นายสุขรออยู่จนวันที่ 15 ของเดือนนั้น นายสันก็ไม่นำ มาชำ ระ หากนายสุขและนายสันต่างฝ่ายประสงค์จะเลิกสัญญาต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะชอบด้วย กฎหมาย แนวคำ ตอบ คำ ถามดังกล่าวเป็นเรื่องเช่าซื้อ และมีประเด็นของคำ ถามอยู่ 3 ประเด็น ได้แก่ สัญญาฉบับนี้เป็นสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ แบบของสัญญาเช่าซื้อและเมื่อผู้เช่าซื้อ ถึงแก่ความตายจะมีผลต่อสัญญาเช่าซื้อเช่นไร ในประเด็นแรก ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 572 บัญญัติว่า"อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำ มั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่า จะให้ทรัพย์สิน นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำ นวนเท่านั้น เท่านี้คราว" จากข้อเท็จจริง การที่นายสุขเอาเรือของตน 1 ลำ ให้นายสันเช่า คิดค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท กำ หนดชำ ระค่าเช่าทุกวันที่ 1 ของเดือน ณ ภูมิลำ เนาของนายสุข ครบ 40 เดือน ให้เรือตกเป็นของนายสัน สัญญาฉบับนี้เป็นสัญญาเช่าซื้อเพราะมีสาระสำ คัญ ครบตามที่มาตรา 572 วรรคแรกกำ หนด ในประเด็นที่สอง ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสองบัญญัติว่า "สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำ เป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ" จากข้อเท็จจริง การที่สัญญาเช่าซื้อฉบับนี้ได้ทำ เป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของนายสุข และนายสัน สัญญาเช่าซื้อฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับได้ ในประเด็นที่สาม ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 573 บัญญัติว่า"ผู้เช่า จะบอกเลิก สัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของ โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง"และ
28 มาฃาตรา 574 บัญญัติว่า"ในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กัน หรือกระทำ ผิด สัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำ คัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้น บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อน ให้รับเป็นของเจ้าของทรัพย์สินและเจ้าของทรัพย์สิน ชอบที่จะกลับเข้าครองทรัพย์สินนั้นได้ด้วย อนึ่งในกรณีกระทำ ผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นคราวที่สุดนั้น ท่านว่าเจ้าของ ทรัพย์สินชอบที่จะริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนและกลับเข้าครองทรัพย์สินได้ต่อเมื่อ ระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำ หนดไปอีกงวดหนึ่ง" จากข้อเท็จจริง การที่นายสันผิดนัดไม่ส่งค่าเช่า นายสุขรออยู่จนวันที่๑๕ ของเดือนนั้น นายสันก็ไม่นำ มาชำ ระ หากนายสันประสงค์จะเลิกสัญญา นายสันจะต้องส่งมอบเรือคืน ให้แก่นายสุขโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง จึงจะชอบด้วยกฎหมาย ส่วนหากว่านายสุขต้องการจะเลิกสัญญา นายสุขจะต้องรอให้นายสันผิดนัดไม่ชำ ระ ค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกันหรือผิดนัดไม่ชำ ระค่าเช่าซื้อซึ่งเป็นคราวที่สุดนั้นและต้องรอให้ ระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำ หนดไปอีกงวดหนึ่งก่อน จึงสามารถบอกเลิกสัญญากับนายสันได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย
ค ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร หนังสือคำ อธิบายกฎหมายเช่าทรัพย์เช่าซื้อพิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติม ศาสตราจารย์ ดร.ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธ์ุ หนังสือคำ อธิบายกฎหมายเช่าทรัพย์เช่าซื้อพิมพ์ครั้งที่ 8 ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร หนังสือกฎหมายเช่าทรัพย์เช่าซื้อพิมพ์ครั้งที่ 14 แก้ไขเพิ่มเติม ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร หนังสือคู่มือศึกษาเอกเทศสัญญา 1 ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ พิมพ์ครั้งที่สอง https://rabbitcare.com/blog/financial-tips/what-is-hire-purchase-andhow-they-work https://nasuan.go.th/pages/content/61