หนว่ ยที่ 3
หลกั การสขุ าภบิ าลสตั ว์
ครูคัธรียา มะลิวัลย์
แผนกวชิ าสตั วศาสตร์
วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยฉี ะเชงิ เทรา
หนว่ ยท่ี 3
หลกั การสขุ าภิบาลสตั ว์
หัวข้อเร่อื ง
1. การปอ้ งกันและควบคุมโรคในสัตว์
2. การทาความสะอาดฆ่าเชื้อโรงเรือนและอุปกรณ์
3. การตรวจสขุ ภาพสตั ว์เบือ้ งตน้
จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้
1. อธิบายการปอ้ งกนั และควบคุมโรคในสัตว์ได้
2. อธบิ ายการทาความสะอาดฆา่ เช้ือโรงเรอื นและอปุ กรณ์ได้
3. อธบิ ายการตรวจสุขภาพสัตว์เบ้อื งต้นได้
เน้ือหาการสอน
ในการเลี้ยงสัตว์ทุกคนมีความต้องการสัตว์ที่มีสุขภาพดีและปราศจากโรค การที่สัตว์เล้ียงจะมี
สุขภาพดีด้วยน้ันข้ึนอยู่กับการได้กินอาหารท่ีมีคุณภาพดี การจัดการท่ีดี การสุขาภิบาลสัตว์ท่ีถูกต้องและมี
การป้องกันโรคที่ดี เมื่อสัตว์มีสุขภาพดีจะทาให้ผู้เลี้ยงสามารถลดต้นทุนค่ายาและค่ารักษาลงได้ ทาให้สัตว์
สามารถให้ผลผลิตได้เต็มความสามารถ และทาให้ได้ผลตอบแทนสูง แต่จะทาอย่างไรผู้เลี้ยงถึงจะได้สัตว์
สุขภาพดี จงึ เป็นสงิ่ ทส่ี าคัญมากท่ผี ้เู ล้ยี งตอ้ งทาความเข้าใจและปฏิบัติต่อสตั วอ์ ยา่ งถกู ต้องด้วย
หลกั ของการสขุ าภิบาลและการควบคุมปอ้ งกันโรค มดี ังตอ่ ไปนี้
1. รักษาความสะอาดภายในคอกและโรงเรือน โดยทาลายเช้ือโรคด้วยการพ่นยาฆ่าเชื้อ
อย่าง สม่าเสมอและกาจัดมูลสัตว์ซึ่งเปน็ สาเหตุในการแพร่กระจายของเชื้อและพยาธิ วางตาแหน่งโรงเรือน
ให้เหมาะสม อากาศถา่ ยเทไดส้ ะดวก
2. ดูแลเอาใจใส่ อาหารและน้าใหส้ ะอาดและมีคุณภาพพอเพียง
3. วางโปรแกรมวัคซีนป้องกันโรค ตามระยะเวลาท่ีสัตวแพทย์แนะนาพร้อมท้ังจดบันทึก
ประวตั ิ การฉดี วคั ซีนและฉีดซ้าตามกาหนด
4. มีการดูแลสุขภาพสัตว์อย่างสม่าเสมอ หม่ันสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ซึม กิน
นอ้ ยลง เอาแต่นอน ขนหยอง ใหร้ ีบแก้ไขกอ่ นท่ีจะเกิดปัญหารุนแรงขึ้น
5. เม่ือพบสัตว์ท่ีมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อให้แยกไว้ไม่ให้สัมผัสกับสัตว์
ปกติ ทาความสะอาดโรงเรอื นด้วยน้ายาฆ่าเชอ้ื และแจง้ เจ้าหนา้ ที่ปศสุ ัตวเ์ พื่อหาสาเหตุต่อไป
6. มีการทาบันทึกประวัติสัตว์เพ่ือให้ทราบถึงสภาวะสุขภาพสัตว์และปัญหาที่อาจแฝงอยู่
ในฟาร์ม เพอ่ื ประโยชน์ในการควบคมุ ป้องกันโรค
เมื่อสัตว์ป่วยและแสดงอาการผิดปกติ ผู้เลี้ยงควรสังเกตว่าเป็นอาการทางระบบใด เช่น ถ้าสัตว์
หายใจหอบ มีน้ามูก จาม ไอ จัดเป็นอาการทางระบบหายใจ ถ่ายเหลว มีมูกเลอื ด จัดเป็นอาการทางระบบ
ทางเดินอาหาร ปัสสาวะสีแดงหรือสีเหลืองเข้ม จัดเป็นอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะเป็นต้น การจัด
กลมุ่ อาการทางระบบต่างๆนที้ าใหง้ ่ายต่อการวินิจฉัยเบ้ืองต้น
ขอ้ ควรปฏบิ ัติเม่ือพบหรือสงสัยวา่ มีการระบาด
1. แจ้งเจา้ หน้าท่ีสตั วแ์ พทย์ในทอ้ งทท่ี นั ที
2. เจ้าหน้าท่ที ่ีรบั ผดิ ชอบเก็บตวั อยา่ งเพือ่ สง่ ตรวจยืนยันทางหอ้ งปฏิบตั กิ าร
3. สัตวท์ ตี่ ายควรนาไปเผาหรือฝัง ปอ้ งกนั การแพร่กระจายของโรค
4. แยกสัตวป์ ว่ ยออกจากฝูง และรบี รกั ษา
5. ทาวคั ซนี สตั ว์ที่อยูใ่ นบริเวณใกลเ้ คยี ง เพือ่ ป้องกันโรค
6. หา้ มเคล่ือนย้ายสัตว์ออกจากบรเิ วณท่มี ีการระบาดของโรค
7. ทาความสะอาดและฆา่ เชอื้ สงิ่ ปูรอง (วัสดรุ องพ้ืน)
1. การปอ้ งกันและควบคมุ โรคในสตั ว์
1.1 การป้องกันโรค (Prevent of Disease) หมายถึง การกระทาใด ๆ ที่สามารถปกป้องสัตว์ให้
ปราศจากโรค ท้ังโรคติดเชื้อและโรคไร้เช้ือ และทาให้สัตว์มีสุขภาพดี ซ่ึงอาศัยหลักในการป้องกันโรค
4 ข้ันตอน
1) การป้องกันเช้อื โรคเข้าสู่ฟาร์มสัตว์ หมายถึงการป้องกันมิให้เชื้อโรคท่ีอยู่นอกฟาร์มเข้า
สู่ในฟาร์มโดยวิธีการต่าง ๆ ของการแพร่กระจายของเช้ือโรค เช่น สัตว์พาหะนาโรค คน ยานพาหนะ
วัตถุดิบอาหารสตั ว์ น้า อุปกรณ์เครื่องมอื เครอื่ งใช้ เปน็ ตน้ ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการเขม้ งวดเร่ืองความ
สะอาด ถูกสุขอนามัย ระบบป้องกันทางชีวภาพ เช่น การพ่นสเปรย์น้ายาฆ่าเช้ือโรค ของยานพาหนะก่อน
เข้าสู่ฟาร์ม บุคลากรก่อนเข้าและออกฟาร์มควรเปล่ียนชุดและอาบน้าทาความสะอาดร่างกายก่อนเข้าสู่
ฟาร์ม อุปกรณ์ก่อนนาเข้าสู่ฟาร์มต้องผ่านการฆ่าเช้ือโรคก่อน มีระบบป้องกันสัตว์พาหะนาโรคเข้าฟาร์ม
เช่น รว้ั ตาข่าย คลองนา้ ความสะอาดรอบ ๆ ฟารม์ กส็ ามารถชว่ ยป้องกันโรคข้าสู่ฟาร์มได้
2) การป้องกันโรคเข้าสู่โรงเรือน หมายถึงหากมีการปนเป้ือนเชื้อโรคเข้ามาในเขตฟาร์ม
จะต้องมีระบบป้องกันเช้ือโรคทีจ่ ะแพร่กระจายจากจุด ใดจุดหนึ่งในฟาร์มแพร่ไปยังจุดอื่น ๆ และป้องกันมิ
ให้เช้ือโรคเข้าสู่โรงเรือน โดยการใช้ระบบป้องกันทางชีวภาพของโรงเรือน การพ่นสเปรย์น้ายาฆ่าเช้ือโรค
กอ่ นเขา้ โรงเรือน บ่อจมุ่ เทา้ ก่อนเขา้ และออกโรงเรอื น ระบบบาบัดอากาศ ตาข่ายป้องกันแมลง ระบบกาจัด
แมลง สัตว์พาหะนาโรค ความสะอาดถูกสุขอนามัยของอาหารและน้าก่อนนาเข้าโรงเรือน อุปกรณ์ของแต่
ละโรงเรือนไมใ่ ชป้ ะปนกัน กจ็ ะสามารถทาให้ลดการปนเป้ือนของเชือ้ โรคเขา้ สโู่ รงเรอื นได้
3) การปอ้ งกันโรคเข้าสู่ฝูงสตั ว์ หมายถึง การป้องกันเชื้อโรคท่ีอยภู่ ายในโรงเรือนเลยี้ งสตั ว์
มใิ ห้เข้าสู่ฝูงสัตว์ โดยอาศัยกลไกการป้องกันโรค ด้วยระบบการป้องกนั ทางชีวภาพ การพ่นยาฆ่าเช้ือโรคใน
โรงเรือน การจัดสง่ิ แวดล้อมให้เหมาะสมกับสัตว์ในแต่ระยะของการเลีย้ ง อาหารและน้าด่ืมต้องสะอาดและ
เพียงพอกับความต้องการของสตั วใ์ นแต่ละระยะ การเฝ้าระวังโรคและสุขภาพของฝงู สัตว์ การแยกสัตว์ป่วย
ออกจากฝูงสัตว์ปกติ การเลี้ยงสัตว์แบบเข้าหมดออกหมด (all in all out) การไม่เลี้ยงสัตว์ต่างอายุในฝูง
เดียวกัน สถานที่เดียวกัน การทาความสะอาดรางน้ารางอาหาร ส่ิงปูรองให้สะอาดปราศจากเช้ือโรค จะ
ช่วยป้องกันเชอ้ื โรคมิใหเ้ ข้าสฝู่ ูงสตั ว์ได้
4) การป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ตัวสัตว์ หมายถึง การป้องกันมิให้โรคที่สามารถเข้าสูงฝูงสัตว์
(ปนเปื้อนในส่ิงแวดล้อมรอบๆ ตัวสัตว์) แพร่ระบาดเข้าสู่ตัวสัตว์ได้ โดยอาศัยกระบวนการป้องกันทาง
ชีวภาพ โดยการทาวัคซีนป้องกันโรค การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรค การเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการให้
วิตามินละลายน้า หรือเสริมในอาหาร การกาจัดสัตว์ป่วยออกจากสัตว์ท่ีเป็นปกติ การให้ยาถ่ายพยาธิเพ่ือ
ป้องกันโรคพยาธิ การควบคุมสัตว์พาหะนาโรค การดูแลสุขอนามัยของอาหารและน้า ส่ิงปูรอง อุณหภูมิ
อากาศ ความชื้น ก๊าซแอมโมเนีย แสงสว่าง ความหนาแน่นของฝูงสัตว์ ก็สามารถช่วยปอ้ งกันมิให้สัตว์ไดร้ ับ
เชอื้ โรคเขา้ สตู่ ัวสตั วไ์ ด้
1.2 การควบคมุ โรค
มีวิธีการปฏิบัติหลายประการที่สามารถป้องกันไม่ให้สัตว์ป่วยเป็นโรคได้ ซึ่งผู้เล้ียงสัตว์เป็นบุคคล
แรกท่ีจะทาให้สัตว์ไม่เกิดโรคได้ ท้ังนี้เพราะคนเป็นผู้ที่มีบทบาทสาคัญ ถ้าหากเรามีการจัดการกับสัตว์ที่ดี
ดูแลทั้งด้าน น้า อาหาร วัสดุอุปกรณ์ รวมท้ังจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสัตว์แล้วสัตว์ก็จะไม่เกิดโรค
การปอ้ งกนั การเกดิ โรคในสัตว์ทาได้ดงั นี้
1) ปอ้ งกันไมใ่ ห้มีการสัมผสั ระหวา่ งสตั ว์ป่วยกบั สตั ว์ดี ผู้เลย้ี งสัตว์สามารถปฏิบัตไิ ด้ดังน้ี
(1) ควบคุมและเข้มงวดในการนาสัตว์หรือส่วนอ่ืน ๆ ของสัตว์จากต่างประเทศ
เข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะประเทศท่มี ีโรคระบาด รวมท้งั อาหารสัตว์และผลติ ภณั ฑจ์ ากสัตวด์ ว้ ย
(2) ควบคุมและเข้มงวดการเคล่ือนย้ายสัตว์หรือช้ินส่วนของสัตว์ภายในประเทศ
ตอ้ งมกี ารกกั กันสัตว์
(3) ทาลายสัตวป์ ว่ ยหรอื สงสัยวา่ ป่วยให้หมด
(4) กาจดั พาหะของโรค
(5) ทาการฆ่าเชอ้ื โรควตั ถหุ รอื ส่งิ ของทต่ี ดิ เช้อื ได้แก่
- กวาด ถู เชด็ ล้าง วัตถุสงิ่ ของทีต่ ดิ เชอื้
- ทาลายเชอ้ื โรคโดยการพ่นยาฆา่ เชื้อ
(6) มีการป้องกันโดยการจัดการเกี่ยวกับโรงเรือน ใช้ระบบมาตรฐานฟารม์ บังคับ
ใชก้ ับทุกฟาร์ม
2) การสร้างภูมิคุ้มกันโรคหรือสร้างความต้านทานโรคให้กับสัตว์ โดยการทาวัคซีน
(vaccine) ให้กับสตั ว์ตามชนดิ และวันทก่ี าหนดโดยเครง่ ครดั
3) การรักษาสัตว์ที่ป่วย โดยการแยกสัตวป์ ่วยออกขังต่างหากเพื่อป้องกันไม่ให้ สตั ว์ป่วย
เป็นตวั แพร่เชื้อไปสูป่ กติ
2. การทาความสะอาดฆ่าเช้อื โรงเรอื นและอุปกรณ์
2.1 การทาความสะอาดโรงเรือน เป็นการจัดการด้านสุขาภิบาลที่ดีอย่างหน่ึงในฟาร์มเล้ียงสัตว์
เพื่อตัดวงจรของเชื้อโรคและช่วยป้องกันโรคที่จะเกิดกับสัตว์ไดอีกทางหน่ึงด้วย การทาความสะอาด
โรงเรือนโดยการใช้น้าล้างพ้ืนโรงเรือนเพียงอย่างเดียว จะช่วยทาให้เช้ือโรคถูกเจือจางลงไปบ้าง แต่ไม
สามารถทจี่ ะกาจัดเชือ้ โรคไดหมด สวนการทาความสะอาดโดยการใช้นา้ ยาฆ่าเชื้อเพยี งอย่างเดียวไมไดผลดี
เต็มท่ี ในท่ีนจี้ ะยกตวั อยา่ งการการทาความสะอาดโรงเรือนและอปุ กรณ์เล้ยี งสกุ ร ซ่งึ มขี น้ั ตอนดงั น้ี
1) ปดกวาดหยากไย่และฝุ่นละอองตามหลังคา เสา ฝาผนัง เพดาน พัดลม และ แผงรังผึ้ง
(ในโรงเรอื นปดิ ) ออกให้หมด
2) ใช้พลวั่ แซะตักมลู สุกรและเศษอาหารใสรถเขน็ นาไปเททลี่ านตาก
3) ใช้สายยางพรอมหัวฉีดทาการฉีดน้าล้างพ้ืนคอกให้ทั่วทุกซอกทุกมุม ร่วมกับการใช้
แปรงขัดพื้นคอกและฝาผนังให้สะอาดไมมีคราบสิ่งสกปรกหลงเหลืออยู่ (อาจใช้ผงซักฟอกช่วย) แล้วให้น้า
สะอาดล้างอีกครั้ง กวาดพื้นคอกด้วยไมกวาดทางมะพร้าว กวาดไล่น้าและสิ่งสกปรกตามแนวลาดเอียงให้
แหง ทาความสะอาดซา้ เพอื่ ให้พ้นื คอกสะอาดโดยเน้นตามซอกมุม แล้วปล่อยให้พื้นแห้ง
4) รางอาหารและรางนา้ ที่ถอดไมได้ควรล้างใหส้ ะอาดและปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งอยู่เสมอ
5) ใช้น้าละลายโซดาไฟความเข้มขน้ 5 เปอร์เซน็ ต์ เทลาดให้ทัว่ บริเวณรวมท้ังฝาผนังคอก
ด้วย ท้งิ ไวสกั ครแู่ ล้วจงึ ล้างนา้ เปล่าอกี ครงั้
6) ใช้น้ายาฆ่าเช้ือโรคพ่นหรอื ราดให้ท่ัว ในอัตราส่วนท่ีกาหนดในฉลากหรืออาจใช้ปูนขาว
โรยบาง ๆ หรือใช้น้าละลายปูนขาวในอัตราส่วนน้า 4 ส่วนต่อปูนขาว 1 สวน ลาดให้ทั่วเพื่อทาให้การทา
ความสะอาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพดยี งิ่ ขึ้น
7) บรเิ วณร่องนา้ ควรกวาดล้างและลาดด้วยน้าละลายโซดาไฟ
8) ทาการล้างและจัดเก็บเคร่ืองมือและอปุ กรณ์ท่ีใช้ทาความสะอาดให้เรียบร้อย
9) เมื่อจะนาสุกรเข้ามาเล้ียงต้องทาการล้างด้วยน้าสะอาดอีกคร้ัง (โดยเฉพาะคอกท่ีโรย
หรือลาดปูนขาวไว เพราะสกุ รอาจแพ้ปูนขาวทาให้ผิวหนังอักเสบได้) ถ้าพักคอกไว้นานอาจพ่นน้ายาฆ่าเชื้อ
โรคซ้าอกี คร้งั ปล่อยทิ้งไว้ให้แหง้ จึงนาสกุ รเข้าคอก
10) ซอ่ มแซมโรงเรือน ไม้ก้ันคอก รางอาหาร รางนา้ ทช่ี ารดุ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้
ภาพที่ 3.1 การเตรียมโรงเรือนสกุ รก่อนนาสุกรเข้าเลีย้ ง
การทาความสะอาดโรงเรือนและการฆ่าเช้ือควรทาทุก 2 สัปดาห์หรือ 4 สัปดาห์ต่อ 1 คร้ัง เป็น
อย่างต่า ซ่ึงจะช่วยให้สามารถป้องกันเช้ือโรคท่ีก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุกรได้ การใช้น้ายาฆ่าเช้ือ
โรงเรือนควรใช้เป็นระยะเวลาท่ีนานพอสมควร 1-1½ ป แล้วจึงเปล่ยี นน้ายาฆ่าเช้ือชนิดอ่ืน เมื่อเห็นว่าสุกร
ได้รับการติดเชอ้ื หรือสุขภาพไมดี แต่ไม่ควรใช้น้ายาฆ่าเชื้อหลายชนิดในเวลาเดียวกัน เพราะเมอื่ ใช้น้ายาฆ่า
เชื้อไประยะหน่ึงเช้ือโรคจะมีความต้านทานต่อน้ายาฆ่าเช้ือ เมื่อเปลี่ยนน้ายาฆ่าเช้ือจะทาให้เชื้อโรคตาย
ถ้าใช้น้ายาฆ่าเช้ือหลายชนิดในเวลาเดียวกัน เชื้อโรคจะสร้างความต้านทานต่อน้ายาฆ่าเช้ือได้ ทาให้ไม่
สามารถใช้น้ายาฆ่าเช้ือตัวใดได้อีก ซึ่งจะทาให้การจัดการทาความสะอาดฆ่าเช้ือเป็นไปอย่างไม่มี
ประสิทธิภาพ
หากต้องการรมควันโรงเรือนควรหาผ้าพลาสติกหรือผ้าใบหรือสังกะสีมาปิดโรงเรือนให้มิดชิด
เสียก่อน การรมควันใช้น้ายาฟอร์มาลีนในอัตราส่วนน้ายาฟอร์มาลีน 40 มิลลิลิตร ผสมด่างทับทิม
20 มลิ ลลิ ติ ร ตอ 100 ลกู บาศก์ฟตุ นาน 24 ชัว่ โมง
สิ่งท่ใี ช้ฆ่าเช้อื โรค แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สารฆ่าเชอื้ อยู่ในรูปสารละลาย และสารฆ่าเชื้อท่เี ป็นผง
เช่น ปนู ขาว โซดาไฟ การฆ่าเชอ้ื โรคภายในโรงเรือนทาไดหลายวธิ ดี ังนี้
1. การใช้น้ายาฆา่ เช้ือผสมนา้ แลว้ ทาการฉีดพ่น
2. การใช้นา้ ยาฆา่ เชือ้ เทลาดบริเวณทีค่ าดว่าจะมเี ช้อื โรค
3. การใช้สารฆา่ เช้ือโรคโรยหรอื ละลายน้าลาดให้ทวั่ บรเิ วณท่ีต้องการฆ่าเช้ือ
ภาพท่ี 3.2 การทาความสะอาดโรงเรอื นและฆา่ เชือ้ โรคเป็นประจา
การทาความสะอาดรอบโรงเรือนและการกาจัดแมลงวันบริเวณรอบคอกและโรงเรือนหากมีแปลง
หญ้าสาหรับให้สุกรเดินออกกาลังกายหรือกิน ควรทาการตัดหญ้าไม่ให้สูงเกินไป ของเสียและน้าล้างคอก
อย่าปล่อยลงแปลงหญ้า ควรสร้างบ่อเก็บน้าเสียอยู่ท่ีปลายร่องทางน้าทิ้ง บ่อเก็บน้าเสียต้องมีฝาปิดมิดชิด
และหลังคาบ่อต้องอยู่สูงกว่าระดับน้าเสียพอสมควร ไม่ควรต่าเกินไปเพราะจะทาให้การหมักของอุจจาระ
เกิดรวดเร็ว คุณภาพของอุจจาระในการใช้ทาปุ๋ยจะเสียไป การสร้างบ่อเก็บน้าเสียช่วยทาลายไขพยาธิและ
ป้องกันแมลงวันลงไปไข่ด้วย เพราะภายในบ่อน้าเสียจะมีความร้อนประมาณ 105 องศาฟาเรนไฮต์ และ
มีก๊าซมีเทนและก๊าซไข่เน่า ทาให้ไม่เหมาะแก่การเจริญของไข่พยาธิ และตัวอ่อนของแมลงวัน หมั่นตัก
อจุ จาระขึ้นมาตากให้แห้งเพ่ือเก็บไว้ทาปุย ส่วนน้าเสียก็ปล่อยให้ไหลไปยังบ่อพักน้าท้ิง และควรมีบ่อบาบัด
น้าเสียก่อนปล่อยออกนอกฟาร์ม บริเวณพ้ืนดินของแปลงหญ้าควรป้องกันมิให้ไขพยาธิหรือตัวอ่อนของ
พยาธอิ าศยั อยู่ โดยโรยปนู ขาวหรอื น้าละลายด้วยปูนขาว
ภาพที่ 3.2 การทาความสะอาดรอบโรงเรอื น
2.2 การทาความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในโรงเรือน อุปกรณ์ภายในโรงเรือน ไดแก ภาชนะ
ใส่น้าหรืออาหาร ช้อนตักอาหาร กระบวยตักน้า พลั่ว ตองสะอาดปราศจากเช้ือโรค การทาความสะอาด
ภาชนะใส่นา้ และอาหารทาไดดังนี้
1) ตกั หรือกวาดเศษอาหารออกให้หมด
2) ใช้น้าสะอาดล้างรางนา้ และรางอาหารให้ทวั่
3) ท้งิ ไว้ใหแ้ หก่อนนาไปใช้
4) การใช้น้ายาฆา่ เชื้อล้างหรอื พน่ หรือลาดให้ทว่ั ทาความสะอาดนานๆ ครั้ง
5) ทง้ิ ไว้ 1-2 ชัว่ โมง จากน้นั ล้างด้วยน้าสะอาดอกี ครงั้ หรอื เมอ่ื พบสกุ รป่วยด้วย
6) ปล่อยให้แหง้ นามาใช้ได้ โรคระบาด
การเตรียมนา้ ยาฆา่ เชื้อโดยใช้นา้ ผสมน้ายาฆา่ เชือ้ ไลโซน (lysol) ความเขม้ ขน้ 2-3 เปอร์เซน็ ต์ หรือ
นา้ ละลายน้ายาฟอร์มาลนี (formalin) ให้มคี วามเข้มขน้ 2 เปอร์เซ็นต์
หลักเกณฑ์การใชย้ าฆ่าเชอื้ อยา่ งถกู ต้อง
1. ยาฆ่าเช้ือต้องสัมผัสตัวเชื้อโรค เช่น พ้ืนที่จะฆ่าเชื้อจะต้องมีการทาความสะอาดก่อนท่ีจะใช้ยา
ฆา่ เชอ้ื ตลอดจนการเลอื กชนดิ และคานึงปรมิ าณสารอนิ ทรียบ์ ริเวณที่จะใช้ด้วย
2. ความเข้มข้นของยาฆ่าเช้ือต้องได้ตามกาหนดทุกจุดที่ใช้ยาฆ่าเช้ือ จะต้องมีอุปกรณ์หรือภาชนะ
ท่ีใชส้ าหรับชงั่ ตวง วัด ทงั้ ปรมิ าณน้าและปริมาณยาฆ่าเชอ้ื เพือ่ ใหไ้ ดค้ วามเขม้ ข้นตามกาหนด
3. ระยะเวลาที่ยาฆ่าเช้ือสัมผัสเชื้อ (Contact time) จะต้องเหมาะสมตามชนิดของยาฆ่าเช้ือที่ใช้
โดยท่ัวไปภายในฟาร์ม แนะนาใหท้ งิ้ ไวอ้ ยา่ งน้อย 30 นาที ก่อนล้างยาฆา่ เชอื้ ออก
4. อุณหภูมิและความชื้นท่ีใช้จะต้องเหมาะสม เช่น การรมควันต้องใช้อุณหภูมิ > 21 องศา
เซลเซยี สและความชน้ื สมั พทั ธ์ > 75 เปอร์เซ็นต์
5. การเก็บรักษายาฆ่าเชื้อตลอดจนภาชนะในยาฆ่าเช้ือ ต้องเหมาะสมมีฝาปิด กันแดดฝนได้เพ่ือ
ป้องกันยาฆา่ เชื้อเสื่อมคณุ ภาพ
6. ต้องมีการบันทกึ การใช้ยาฆ่าเชื้อการตรวจติดตามอย่างสม่าเสมอทุกจุดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
สม่าเสมอสูง
การทาความสะอาดเคร่ืองมือที่ใช้ในการรักษาสุขภาพสุกรเครื่องมือจาเป็นในการรักษาสุขภาพ
สุกร เช่น กรรไกรตัดเข้ียว กรรไกรตัดเบอร์หู มีดผ่าตัด คีมหนีบเส้นเลือด คีมจับเข็มเย็บแผล ปรอทวัดไข้
ไหมเย็บแผล ด้ายผูกสายสะดือ บรรทัดวัดไขมันสันหลัง ไซริงค์ เข็มฉีดยา เป็นต้น เคร่ืองมือต่าง ๆ เหล่าน้ี
ก่อนใช้งานต้องทาความสะอาดเพื่อให้ปราศจากเชอ้ื โรคอยูเสมอ การทาความสะอาดและทาการฆ่าเช้ือโรค
ของเคร่ืองมือเหล่าน้ี ทาได 2 วิธีคือ ทาความสะอาดโดยใช้ความร้อน และทาความสะอาดโดยใช้สารเคมี
หรอื นา้ ยาฆา่ เชอื้ โรค
1. การทาความสะอาดเครื่องมือโดยใช้ความร้อน เครื่องมือที่ทาความสะอาดด้วยความร้อน
ไดแก ไซริงค์ และเข็มฉดี ยา ความร้อนท่ีใช้ทาลายเช้ือโรคที่นิยม คือ การต้มหรือนึ่ง เพราะสะดวกไม่ยุยาก
โดยการทาดงั นี้
- ก่อนใช้เคร่ืองมือให้นาไปต้มในน้าเดือดอย่างน้อย 5 นาที โดยแยกตัวไซริงค์ ก้านสูบ
และเข็มฉีดยาออกจากกนั
- หลังจากใช้เสร็จแล้ว นาไปล้างด้วยน้าผสมสบู่หรือน้ายาล้างจาน แล้วล้างด้วยน้าเปลา
อีกครัง้ ให้สะอาด
- เช็ดให้แหง แล้วนาไปเก็บไว้ในภาชนะที่ใช้เก็บเครื่องมือ ไซริงค์ท่ีใช้ฉีดวัคซีนและฉีดยา
ปฏชิ วี นะควรแยกกนั ต่างหาก ไซรงิ ค์มีหลายแบบท้งั อัตโนมตั ิและธรรมดา ไซริงคแ์ บบธรรมดานม้ี ที ้ังชนิดหัว
ล็อคและหัวไม่ล็อค เข็มฉีดยาในสุกรนิยมใช้ขนาดเบอร์ 17-19 ความยาว ½ - 1½ น้ิว แล้วแต่ความ
เหมาะสม
2. การทาความสะอาดเคร่อื งมอื โดยใช้สารเคมหี รือน้ายาฆ่าเช้ือโรค
เคร่ืองมือท่ีทาความสะอาดด้วยสารเคมีหรือน้ายาฆ่าเช้ือโรค ไดแก ปรอทวัดไข้ เข็มเย็บแผล
ไหมเย็บแผล มีดผ่าตัด ปากคีบ คีมหนีบเส้นเลือด คีมจับเข็มเย็บแผล กรรไกรตัดเข้ียว กรรไกรตัดเบอร์หู
ด้ายผกู สายสะดือ ที่สอดยาเข้ามดลูก บรรทดั วดั ไขมันสันหลงั เป็นต้น เครื่องมอื เหล่านี้หากทาความสะอาด
ด้วยความร้อนทาให้เสียหากหรืออายุการใช้งานส้ันกว่าท่ีควร เครื่องมือเหล่านี้ต้องทาความสะอาดด้วย
สารเคมีหรือน้ายาฆ่าเช้ือโรค เช่น เดทตอล (dettol) อัตราส่วนท่ีใช้ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ หรือเซฟลอน
(savlon) อตั ราส่วนท่ีใช้เซฟลอน:น้า เทา่ กบั 1:100-200
การทาความสะอาดด้วยสารเคมีหรือยาฆ่าเชื้อควรทาดังน้ี หลังจากใช้งานเสร็จแล้วนาไปล้างด้วย
น้าหรือน้าผสมสบู่หรือผงซักฟอกให้สะอาด แล้วล้างด้วยน้าให้สะอาด เช็ดให้แห้งนาไปเก็บไวในที่แห้ง
ปราศจากท่ีเปียกชนื้ เม่อื จะใช้ให้นามาแช่หรือเชด็ ด้วยน้ายาฆา่ เช้ือโรค
3. การตรวจสขุ ภาพสัตวเ์ บ้อื งตน้
การตรวจสุขภาพสัตว์ เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคเบ้ืองต้นน้ันนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยากมากนัก ถ้าผู้
เล้ียงสัตว์มีความสนใจกับสตั ว์ของตน และสนใจศึกษาหาความรูเ้ กี่ยวกับสัตว์ของตน จากตาราหรือเอกสาร
ทางวิชาการหรอื จากการสัมมนาวิชาการที่หน่วยราชการจัดข้ึน หรือการฝึกอบรมเป็นต้น รวมทั้งความเป็น
คนช่างสังเกตในการค้นหาสิ่งที่ผิดปกติจากสัตว์มาประกอบกันเข้า ผู้เลี้ยงสัตว์ก็จะสามารถทราบได้ว่าสัตว์
เล้ยี งของตนนั้นป่วยหรือไม่ และถ้ามปี ระสบการณ์และความรู้มากข้ึนกจ็ ะสามารถทราบว่าสัตว์เลยี้ งของตน
ป่วยด้วยโรคทางระบบใดของร่างกาย ตัวอย่างเช่นป่วยด้วยโรคทางระบบหายใจ หรือทางระบบสืบพันธ์ุ
เป็นต้น ซ่งึ จะชว่ ยใหส้ ามารถเลือกยารักษาโรคไดถ้ กู ตอ้ ง
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ที่ปกติ ซ่ึงผู้เล้ียงสัตว์อาจต้องเรียนรู้เพื่อให้การเล้ียงสัตว์
ประสบผลสาเรจ็ และอยู่รอดได้ มีดังน้ี
1) การหายใจ การหายใจของสัตว์นั้น จะสังเกตได้จากการเคล่ือนท่ีข้ึน-ลงของทรวงอก
อย่างสมา่ เสมอ และอัตราการหายใจปกตขิ องสัตว์แต่ละประเภทมีค่าดังน้ี
ชนิดสตั ว์ อตั ราการหายใจปกติของสตั ว์
โค 27-40 ครั้งตอ่ นาที
แพะ 12-20 ครง้ั ตอ่ นาที
แกะ 12-20 ครง้ั ต่อนาที
สกุ ร 8-13 ครงั้ ต่อนาที
กระตา่ ย 32-60 คร้งั ต่อนาที
หมายเหตุ การเคล่ือนท่ีข้นึ และลงของทรวงอก นบั เป็น 1 คร้ัง อัตราการหายใจอาจจะเพ่ิมขึ้นกว่า
ปกติเล็กน้อย ถ้าสภาพอากาศร้อนหรือสภาพโรงเรือนอับชื้น ซึ่งสาเหตุเนื่องจากสัตว์ต้องการระบายความ
ร้อนออกจากร่างกายทางลมหายใจ ให้มากข้ึนหรือสัตว์ต้องการอากาศหายใจมากข้ึน เนื่องจาก
สภาพแวดลอ้ มมีการถา่ ยเทอากาศได้น้อย
2) การเต้นของหัวใจ สามารถตรวจได้โดยการจับชีพจรท่ีเส้นเลือดแดง บริเวณใต้
ขากรรไกรลา่ ง ซงึ่ อตั ราการเตน้ ของหัวใจหรอื ชพี จรปกติของสัตว์แตล่ ะประเภทมีคา่ ดังนี้
ชนดิ สัตว์ อตั ราการเต้นของหัวใจ
โค 60-100 ครงั้ ต่อนาที
แพะ 70-80 ครง้ั ตอ่ นาที
แกะ 70-80 คร้ังต่อนาที
สกุ ร 60-80 คร้งั ต่อนาที
กระต่าย 140-150 ครัง้ ต่อนาที
3) อุณหภูมิของร่างกายสัตว์ สามารถตรวจได้โดยใช้ปรอทวัดไข้สอดเข้าที่รูทวารหนัก
(ก่อนสอดปรอทวัดไข้เข้ารูทวารหนักจะต้องสะบัดแรง ๆ ให้ปรอทไหลลงไปในส่วนกะเปาะของปรอทวัดไข้
เสียก่อน) โดยสอดปรอทวัดไข้เข้าให้ลึกประมาณ 1.5-2 น้ิว ให้ปลายของปรอทวัดไข้แตะกับผนังของลาไส้
ใหญ่นานประมาณ 1 นาที แล้วจึงดึงออกมาอา่ นค่า ซ่ึงอุณหภูมิของร่างกายสัตว์ปกติแต่ละประเภทจะมีค่า
ดังน้ี
ชนดิ สตั ว์ อณุ หภมู ขิ องรา่ งกายสัตวป์ กติ
โค 100-102.8 องศาฟาเรนไฮต์
แพะ 101.7-105.3 องศาฟาเรนไฮต์
แกะ 100.9-103.8 องศาฟาเรนไฮต์
สุกร องศาฟาเรนไฮต์
กระต่าย 102-103 องศาฟาเรนไฮต์
102-103
ถ้าสภาพอากาศแวดล้อมร้อน อาจมีผลต่ออุณหภูมิของรา่ งกายสตั ว์ปกติ คอื สามารถทาให้อุณหภูมิ
ของร่างกายสัตว์สูงข้ึนกว่าปกติ นอกจากน้ันยังมีผลทาให้อัตราการหายใจเพิ่มมากข้ึนกว่าปกติด้วย
ซ่ึงอาจจะเป็นสาเหตุทาให้สัตว์เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น หรือช็อกตายได้ในกรณีที่ระบบการควบคุมอุณหภูมิของ
ร่างกายสตั ว์เสียไป มกั พบเสมอในสุกรที่โตเร็วหรือตะโพกใหญ่
4) การสืบพันธุ์ ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบที่สาคัญมากท่ีสุดของสัตว์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะ
สตั ว์เพศเมียประเภทโคกระบือ เพราะสัตว์ประเภทนี้สามารถให้ลูกได้เพียง 1 ตวั ตอ่ ไป และต้นทุนการเลี้ยง
ตอ่ ตัวก็สงู มากด้วย ระบบสบื พนั ธข์ุ องสตั วเ์ พศเมยี แต่ละประเภท จะเรม่ิ สมบรู ณ์เพศหรอื สมบูรณพ์ นั ธุ์ ดงั นี้
ชนดิ สัตว์ อายทุ ส่ี มบรู ณ์พนั ธ์ุ ระยะเวลาการแสดงอาการเปน็ สดั
โค 12-18 เดอื น 13-15 ชวั่ โมง
แพะ 7-10 เดอื น 2-8 ชั่วโมง
แกะ 8-12 เดือน 2-4 ชัว่ โมง
สุกร 4-9 เดือน 2-3 ช่วั โมง
กระตา่ ย 5-6 เดือน 12-14 ช่วั โมง
5) เย่อื ตาและเหงือก สตั ว์ที่มสี ขุ ภาพดี เมื่อเปิดดูทเี่ ย่ือและเหงอื กจะมีสีชมพูอ่อน
6) ลูกตา ปกติลูกตาจะใสวาว สนใจและตน่ื เต้นกับสภาพแวดลอ้ มท่เี ปล่ียนแปลง
7) จมกู สัตว์ที่มีสขุ ภาพดี บรเิ วณปลายจมูกจะช้ืนอยู่ตลอดเวลา
8) ผวิ หนังและขน จะดูเรยี บเป็นเงามนั
9) การขับถา่ ยอจุ าระ อจุ จาระจะมีลักษณะไม่แขง็ เปน็ ก้อนหรอื เป็นเม็ด (ยกเว้นกระต่าย)
หรอื เหลวเป็นน้า และสีของอุจจาระจะมสี เี ขยี วแกห่ รือสดี า ซงึ่ ขนึ้ อยู่กับอาหารท่สี ัตวก์ นิ เขา้ ไป
10) การขบั ถ่ายปสั สาวะ ปสั สาวะจะมีสเี หลืออ่อนหรอื ไมม่ ีสแี ละใส
11) การกนิ อาหาร เมอ่ื ถึงเวลากินอาหาร สัตวจ์ ะแสดงอาการกระวนกระวายที่จะได้กิน
อาหาร
12) การกนิ น้า สตั ว์จะกนิ นา้ ตลอดเวลา โดยเฉพาะสัตวท์ เ่ี ลย้ี งลูก หรืออยู่ในระยะให้นม
จะต้องการนา้ มากขนึ้ กวา่ ปกติ
13) ความสนใจกบั สภาพแวดล้อม สตั วท์ ่มี ีสุขภาพดีจะสนใจหรือตกใจงา่ ย หรอื ตนื่ เต้น
กบั สภาพแวดลอ้ มท่ีเปลี่ยนแปลงไปอยา่ งรวดเร็ว