The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Preeyarat Sanitchai, 2022-09-26 13:01:54

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีไทย
THAI TRADITIONS

โดย

ครูปรียารัตน์ สนิทไชย

วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณี
คืออะไร?

ลองเดา

วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณี คือ

เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมี
ความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา
ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของ
วัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่าง ๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติ
และถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็น
วัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ
ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม
รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต

วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณี คือ

ประเพณีจึงเรียกได้ว่า เป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม
โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอาราม
ต่าง ๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุ ทธศาสนาที่มีต่อ

สังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุง
พุ ทธศาสนา ด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา
ตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น โดยประเพณีค่ในประเทศไทยสามารถ

แบ่งออกเป็นภาคต่าง ๆ ได้ ดังต่อไปนี้

วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ภาคเหนือ
North

ประเพณียี่เป็ง
ประเพณีทานขันข้าว
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ประเพณีปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว)
ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า
ประเพณีสลากภัต

วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Northeast

ประเพณีแห่ผีตาโขน ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญเบิกฟ้า ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีบุญผะเหวด ประเพณีไหลเรือไฟ

วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ภาคกลาง
Central

ประเพณีตักบาตรดอกไม้
ประเพณีกวนข้าวทิพย์
ประเพณีตักบาตรเทโว
ประเพณีทำขวัญข้าว
ประเพณีกำฟ้า
ประเพณีโยนบัว
ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ

วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ภาคใต้
South

ประเพณีให้ทานไฟ ประเพณีสวดด้าน
ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีแห่นางดาน
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีกวนข้าวยาคู
ประเพณีลากพระ ประเพณียกขันหมากพระปฐม
ประเพณีอาบน้ำคนแก่ ประเพณีตักบาตรธูปเทียน

ภาคเหนือ North วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณียี่เป็ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีเดือนยี่ คือ ประเพณีลอยกระทง
แบบล้านนาโดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน
เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็ม
ดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือน
สองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบ
สองของไทย (ธันวาคม) งานประเพณีจะมี
สามวัน
วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของ
เตรียมไปทำบุญที่วัด
วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำ
กระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่
กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน
วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและ
กระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ

ภาคเหนือ North วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีทานขันข้าว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การนำสำรับอาหารไปถวายพระ
หรือผู้ใหญ่ที่ตนนับถือ การทาน
ขันข้าวเป็นประเพณีหนึ่งของชาว
ล้านนาที่สืบทอดกันมาเป็นเวลา
นาน เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศ
ส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ไปแล้ว
เป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึงความ
กตัญญูอีกแบบหนึ่งของชาว
ล้านนา

ภาคเหนือ North วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีที่ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้
ร่วมมือกันจัดขึ้นในวันแรม 15 ค่ำ
เดือน 10 เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้น
ตรงบริเวณ วังมะขามแฟบ (ไม้ระกำ)
ซึ่งปกติบริเวณนี้น้ำจะไหลเชี่ยวมาก
จู่ ๆ น้ำก็หยุดไหล และมีพรายน้ำผุด
ขึ้นมาพร้อมกับพระพุทธรูป ชาวบ้าน
จึงอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว
ขึ้นจากน้ำและนำไปประดิษฐานไว้ที่วัด
ไตรภูมิ เป็น พระพุทธรูป คู่บ้านคู่
เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์

ภาคเหนือ North วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีปอยส่างลอง (งานบวชลูกแก้ว) เพื่อทำการบรรพชาเป็นสามเณร
ในพระพุทธศาสนา โดยจะพบเห็น
การจัดปอยส่างลองกันมากที่
จังหวัดแม่ฮ่องสอน คนส่วนใหญ่ที่
เข้าร่วมประเพณีนี้ก็สืบเชื้อสายมา
จากไทใหญ่ ซึ่งก็ได้ร่วมกันสืบทอด
งานประเพณีนี้มาเป็นเวลาช้านาน
ปัจจุบันประเพณีนี้ก็ได้ขยายไปยัง
จังหวัดใกล้เคียง คือ จังหวัด
เชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่อีก
ด้วย

ภาคเหนือ North วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีการฟ้อนผีของชาว
ล้านนา คล้ายกับการลงผี
(เข้าทรง) ผีเจ้าพ่อของท้องถิ่นอื่น
นิยมเรียกกันว่า "ฟ้อนผีมด-ผี
เม็ง" ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง
เป็นการฟ้อนรำเพื่อสังเวยผี
บรรพบุรุษ ซึ่งชาวล้านนา (ชาว
บ้านในท้องถิ่นภาคเหนือ) นับถือ
กัน เป็นพระเพณีเก่าแก่ที่
สันนิษฐานกันว่ารับมาจาก
ชาวมอญ

ภาคเหนือ North วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีสลากภัต หรือ ตานก๋วยสลาก สลากภัต เป็นศัพท์ใน พระวินัย
ปิฎก เป็นชื่อเรียกวิธีถวายทานแก่
พระสงฆ์วิธีหนึ่ง โดยการจับสลาก
เพื่อแจกภัตตาหารหรือปัจจัยวัตถุที่
ได้รับจากผู้ศรัทธาถวาย เพื่อ
อนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธาที่มีปัจจัยวัตถุ
จำกัดและไม่สามารถถวายแก่พระ
สงฆ์ทั้งหมดได้ ในภาคเหนือเรียกว่า
ประเพณีทานก๋วยสลาก ตามวัดต่าง
ๆ โดยจัดในช่วงเดือน 6 จนถึงเดือน
8 ซึ่งเป็นช่วงผลไม้อุดมสมบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Northeast กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีแห่ผีตาโขน งานประเพณีประจำปีของชาวอำเภอ
ด่านซ้าย จังหวัดเลย ค่ะ ซึ่งจะจัดขึ้น
หลังวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี
เป็นงานประเพณีที่มีมาอย่าง
ยาวนาน มีความเชื่ออีกว่า ประเพณี
ผีตาโขน เป็นการละเล่นเพื่อ
บวงสรวงบูชาดวงวิญญาณบรรพ
ชนที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งจะกลายเป็น
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองบ้านเมือง
ดลบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
หรือความหายนะก็ได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Northeast กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีแห่นางแมว นิยมจัดขึ้นในปีที่ฝนไม่ตกต้องตาม
ฤดูกาลหรือฝนแล้ง เพื่ออ้อนวอน
ขอให้ฝนตกลงมาสร้างความชุ่มชื่น
แก่แผ่นดินและพื้นที่ทำสวนทำไร่
ของทุกคน เนื่องจากสังคมไทยเป็น
สังคมเกษตรกรรม การทำเลือกสวน
นาไร่จำเป็นต้องอาศัยน้ำจำนวนมาก
ดังนั้นหากวันหนึ่งฝนที่เคยตกต้อง
ตามฤดูกาลไม่ตกเช่นเคย ย่อมสร้าง
ความเดือนร้อนให้กับชาวนาชาวไร่
ทั่วไป

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Northeast กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีบุญเบิกฟ้า ประเพณีของชาวมหาสารคามที่
ประกอบขึ้นตามความเชื่อว่า
เมื่อถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของ
ทุก ๆ ปี ฟ้าจะเริ่มไขประตูฝน
โดยจะมีเสียงฟ้าร้อง และทิศที่
ฟ้าร้องเป็นสัญญาณบ่งบอกตัว
กำหนดปริมาณน้ำฝนที่จะตกลง
มาหล่อเลี้ยงการเกษตรในปี
นั้น ๆ มีประโยชน์ต่อวิถีชีวิตและ
จิตใจของเกษตรกร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Northeast กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีบุญผะเหวด การจัดงานบุญผะเหวดแต่ละครั้งเป็น
งานบุญสำคัญที่ทุกคนในหมู่บ้านได้แรง
ร่วมใจกันจัดขึ้น คำว่า "ผะเหวด" เป็น
ภาษาอีสาน มีที่มาจากงานประเพณีพระ
เวสสันดรชาดกในภาษาภาคกลาง หรือ
งานบุญมหาชาติ ที่เป็นพระนามของ
องค์สัมมาสัมพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย
ก่อนที่พระองค์จะประสูติเป็นเจ้าชาย
สิทธัตถะและตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ
พระเวสสันดร ถือว่าเป็นชาติที่สำคัญยิ่ง
เนื่องจากเป็นชาติที่พระองค์ได้บำเพ็ญ
ทานบารมีอย่างใหญ่หลวง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Northeast กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ประเพณีของชาวอีสาน ถือว่าการทำบุญ
ด้วยการถวายต้นผึ้ง เป็นบุญกุศลสูงส่ง
ดังนั้นในการถวายทานให้แก่ผู้ตายใน
งานแจกข้าว (งานทำบุญให้ผู้ตาย) เมื่อ
ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์แล้ว ก็ถวาย
หอผึ้งเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์
ต่อมา ประเพณีดังกล่าวได้มีกลุ่มคนจัด
ขึ้นมาอย่างใหญ่โตด้วยความศรัทธาใน
เทศกาลออกพรรษา กลุ่มชาวเมือง
สกลนครที่มีคุ้มวัดต่าง ๆ จึงได้จัดทำหอ
ผึ้ง หรือปราสาทผึ้ง ถวายที่วัดพระธาตุ
เชิงชุมเป็นประจำทุกปี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Northeast กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีบุญบั้งไฟ ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อ
เป็นการบูชา พญาแถน หรือเทพวัสสกา
ลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า
พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตก
ถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบ
ไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัด
ทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่
ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิด
ภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ โดยทั้งนี้การจัด
งานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ จังหวัด
ยโสธร ได้รับการสนับสนุนจาก การท่อง
เที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชา-
สัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาว
ไทย และต่างประเทศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Northeast กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีแห่งเทียนพรรษานั้น
เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์
ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียน
ต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์
จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติ
กิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอด
เวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวาย
ชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่าง
เอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติ
สืบทอดกันมาจนกลายเป็น
ประเพณี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Northeast กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีที่ชาวนครพนมภาคภูมิใจ
เพราะบรรพบุรุษ ได้ยึดถือปฏิบัติกัน
มานานตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อ
ในประเพณีว่าเนื่องมาจากการบูชา
รอย พระพุทธบาทการสักการะท้าว
พกาพรหม การบวงสรวจพระธาตุ
จุฬามณี และการระลึกถึงพระคุณ
ของพระแม่คงคาการขอฝน การเอา
ไฟเผาความทุกข์ และการบูชา
พระพุทธเจ้า นิยมปฏิบัติกันใน
เทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 11 หรือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

ภาคกลาง Central วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็น
ประเพณีสำคัญที่อยู่คู่กับวัด
พระพุทธบาทราชวรมหาวิหารมาช้า
นาน พี่น้องประชาชนชาวพระพุทธ
บาทและใกล้เคียง จะถือเอาวันเข้า
พรรษาของทุกปี (ตรงกับแรม 1 ค่ำ
เดือน 8) เป็นวันตักบาตรดอกไม้ เพื่อ
อนุรักษ์และส่งเสริมขนบธรรมเนียม
ประเพณีของท้องถิ่น กระทั่งมาเป็น
ประเพณีของจังหวัดสระบุรี และ
ปัจจุบันเป็นประเพณีระดับประเทศ ได้
ชื่อว่า “เป็นประเพณีหนึ่งเดียวในโลก”

ภาคกลาง Central วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีกวนข้าวทิพย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

พิธีกรรม ของ ศาสนาพราหมณ์ ที่
ปะปนกับพิธีกรรมของ ศาสนาพุทธ
โดยอ้างถึงเหตุการณ์ในสมัย
พุทธกาลที่ นางสุชาดา ได้ปรุง ข้าว
มธุปายาส ถวาย พระโคตมพุทธเจ้า
ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ถือกันว่าข้าว
มธุปายาสเป็นของทิพย์ เมื่อได้จัดทำ
ขึ้นจึงเรียกว่า ข้าวทิพย์ ใน
ประเทศไทย ชาวบ้านจะทำใน
เทศกาลออกพรรษา ถวาย พระสงฆ์
เพื่อเป็นการสักการบูชา

ภาคกลาง Central วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีตักบาตรเทโว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ตักบาตรเทโว หมายถึง การทำบุญ
ตักบาตรในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลง
จากเทวโลกใน วันมหาปวารณา คือ วัน
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันออก
พรรษา คำว่า "เทโว" เรียกมาจากคำว่า
เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า
การลงจากเทวโลก เป็นการระลึกถึงวัน
ที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้น
ดาวดึงส์เสด็จ หลังจากที่พระองค์
แสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา
ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน
และกลับจากเทวโลก

ภาคกลาง Central วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีทำขวัญข้าว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว คือก่อนที่จะ
นำข้าวที่นวดแล้วไปเก็บที่ยุ้งฉาง จะมีการ
ทำบุญนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเพื่อให้เกิด
ความเป็นศิริมงคล โดยอัญเชิญรูปหล่อ
แม่โพสพมาไว้ตรงกลางประรำพิธี เพื่อ
ประกอบพิธีสงฆ์ พิธีบายศรี โดยหมอ
ขวัญ หลังจากนั้นก็เป็นการละเล่นพื้นบ้าน
และร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน และจัด
ทำขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพระแม่โพสพ ที่
หล่อเลี้ยงมวลมนุษยชาติ และเพื่อความ
เป็นสิริมงคลแก่ชาวนาผู้ปลูกข้าว ซึ่งจะ
กระทำในช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวช่วง
ขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี

ภาคกลาง Central วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีกำฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่ง
เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยพวน ที่อาศัย
กระจายไปอยู่ในหลายภูมิภาค เนื่องจาก
ชาวพวนเป็นกลุ่มชนที่ประกอบอาชีพ
ทางการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา ใน
สมัยดั้งเดิมการทำนาต้องอาศัยน้ำฝน
จากธรรมชาติ ชาวนาในสมัยนั้นจึงมีการ
เกรงกลัวฟ้ามาก ไม่กล้าที่จะทำอะไรให้ฟ้า
พิโรธ ถ้าฟ้าพิโรธย่อมหมายถึง ความแห้ง
แล้ง อดยาก หรือฟ้าอาจผ่าคนตาย
ประชาชนกลัวจะได้รับความทุกข์ยากอัน
เป็นภัยจากฟ้า จึงมีการเซ่นสรวง สักการะ
บูชาผีฟ้า

ภาคกลาง Central วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีโยนบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีเก่าแก่ที่
สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณของชาว
อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการค่ะ
ซึ่งจะจัดขึ้นทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 โดย
จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อโตองค์จำลอง
จากวัดบางพลีใหญ่ มาลงเรือตกแต่ง
อย่างสวยงามด้วยดอกไม้ และล่องไป
ตามคลองบางพลี เพื่อให้ชาวบ้านได้สัก
การะ โดยมีความเชื่อว่า หากอธิษฐานแล้ว
โยนบัวลงเรือ ที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตจะ
ทำให้คำอธิษฐานประสบความสำเร็จ
สมปรารถนา ตามที่ได้ขอพรไว้

ภาคกลาง Central วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

จังหวัดสุโขทัยได้จัดงานประเพณีลอย
กระทง เผาเทียน เล่นไฟ แบบโบราณ ขึ้น
บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เอกลักษณ์ประเพณีนี้เป็นที่เลื่องลือ โดย
มีทั้งกระทงทรงพุ่มข้าวบิณฑ์งานฝีมืออัน
วิจิตรที่สะท้อนความประณีตของช่างศิลป์
เมืองสุโขทัย ตลาดโบราณ หรือ ตลาด
แลกเบี้ย การจำลองบรรยากาศการซื้อ
ขายแบบโบราณ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส
ถึงกลิ่นอายวัฒนธรรม ด้วยการแลหอย
เบี้ยแทนเงินสด เพื่อใช้ซื้อขายอาหารพื้น
เมือง และการแสดงแสงสี เสียง สัมผัส
เรื่องราว ประวัติศาสตร์มนต์เสน่ห์แห่ง
อารยธรรมเมืองมรดกโลก

ภาคใต้ South วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีให้ทานไฟ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การทำบุญถวายอาหารเช้าแด่ภิกษุ
สงฆ์ในฤดูหนาว เพื่อให้พระภิกษุ
สงฆ์เกิดความอบอุ่นในระหว่างการ
ฉันภัตตาหารด้วยวิธีก่อกองไฟ
แล้วปรุงอาหารและขนมถวายพระ

ภาคใต้ South วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีสารทเดือนสิบ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญ
อุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
ตรงกับวันสิ้นเดือน 10 หรือ แรม
15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเป็นช่วงที่
พืชพันธุ์ธัญญาหารกำลังออกดอก
ออกผล

ภาคใต้ South วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรม
ธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนคร
ได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลัง
ศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกัน
เป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวน
แห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไป
ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์นิยมใช้สีขาว สี
เหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียน
ภาพเนื้อหาเกี่ยวกับ พุทธประวัติ ตั้งแต่
ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้
ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้า
ขึ้นธาตุเป็นเอกลักษณ์ประจำเมือง
นครศรีธรรมราช แก่นแท้อยู่ที่การบูชา
พระพุทธเจ้า อย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์
พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทน

ภาคใต้ South วิชาหน้าที่พลเมือง ส20231 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประเพณีลากพระ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเพณีลากพระหรือชักพระเป็น
ประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ที่ยึดถือ
ปฎิบัติกันมาอย่างยาวนานมาตั้งแต่
สมัยศรีวิชัย ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบเนื่อง
ด้วยพุทธศาสนาซึ่งจะมีขึ้นหลังวัน
ปวารณาหรือวันออกพรรษาแล้ว ๑ วัน
คือตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดย
การที่พุทธศาสนิกชนพร้อมใจกัน
อาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบน
บุษบกที่วางอยู่บนพาหนะ เช่น เรือ รถ
หรือล้อเลื่อน ที่เรียกว่า “พนมพระ”
แล้วพากันแห่แหนชักลากไปตามถนน
หนทางหรือลำคลอง


Click to View FlipBook Version