The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by pu_wa, 2019-05-31 10:45:20

Ebook การแสดงชุดฟ้อนบูชาพระเทวฤทธิ์อินทรวกร

Ebook ฟ้อนใหม่

1

สารบญั
หนา้

สารบญั ................................................................................................................................................1
บทที่ 1 จังหวัดบุรีรมั ย.์ .......................................................................................................................2
บทที่ 2 ประวัติอาเภอพทุ ไธสง.........................................................................................................16
บทท่ี 3 ประวตั ิความเปน็ มาบ้านศรี ษะแรดและประวัตพิ ระเจา้ ใหญ่วัดหงส์..................................25
บทท่ี 4 องค์ประกอบและการแสดงผลงาน......................................................................................32
บทท่ี 5 อธบิ ายทา่ ราชุดฟ้อนบูชาพระเทวฤทธอ์ิ ินทรวกร...............................................................48

2

บทท่ี 1
จงั หวดั บุรรี ัมย์

จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหน่ึงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
มีจานวนประชากรมากเป็นอันดับท่ี 5 รองจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดเชียงใหม่ มีพ้ืนที่กว้างเป็นอันดับที่ 17
ของประเทศไทย ประวัติจงั หวัดบุรรี ัมย์

บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่
สาหรับคนในท้องถ่ินและเป็นเมืองท่ีน่ามาเยือนสาหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขต
จังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต
จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ สมัยทราวดีและที่สาคัญท่ีสุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มากคือ
หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีท้ังปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจานวน
มากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีท่ีสาคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา
และภาชนะดินเผาแบบทเี่ รยี กวา่ เครอ่ื งถ้วยเขมร ซึง่ กาหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษท่ี
15 ถึง 18 อยู่ท่ัวไปและพระพุทธรูปมหาปรัชญาปารมิตตา หลังจากสมัยของวัฒนธรรม
ขอมหรือเขมรโบราณ แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีข้ึนอีกคร้ัง
ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏช่ือว่าเป็นเมืองเก่าและปรากฏชื่อต่อมาในสมัย
กรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หน่ึง และรู้จักในนามเมือง
แปะจนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ช่ือเป็น
จังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์ ไม่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์สมัย
อยุธยาและธนบุรีเฉพาะชื่อเมืองอ่ืน ซ่ึงปัจจุบันเป็นอาเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่
เมอื งนางรอง เมืองพทุ ไธสง และเมืองประโคนชยั พ.ศ. 2319

ภาพประกอบ 1 : ปราสาทหินพนมรงุ้ จังหวัดบุรีรัมย์

3

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบยอกเข้ามาว่า พระยา
นางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจาปาศักดิ์ จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จ
พระพทุ ธยอดฟูาจฬุ าโลกมหาราช เม่ือยังดารงตาแหน่ง เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยา
นางรองประหารชีวิตและสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพ
หัวเมืองฝุายเหนือยกไปตีเมือง จาปาศักด์ิ เมืองโขง และเมืองอัตตะปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต
เจ้าโอ เจ้าอนิ อปุ ฮาด เมืองจาปาศักด์ิ แลว้ เกลย้ี กล่อมเมืองต่าง ๆ ใกลเ้ คยี งใหส้ วามิภักด์ิ ได้แก่ เขมรปุา
ดง ตะลงุ สุรนิ ทร์ สังขะ และเมืองขุขันธ์ รวบรวมผู้คนต้ังเมืองข้ึนในเขตขอม เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้ง
บุรรี มั ย์ และให้บตุ รเจา้ เมืองผไทสมนั ต์แห่งพุทธไธสงเปน็ เจ้าเมืองคนแรก

ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440-2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปข้ึนกับมณฑลนครราชสีมา
เรียกว่า"บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง
พ.ศ. 2442 มีประกาศเปล่ียนชื่อ ในคราวนี้เปลี่ยนช่ือ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็น
เมืองจัตวา ต้ังที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราตาแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทย
จึงไดป้ ระกาศเปลีย่ นชอื่ เมืองเปน็ "บรุ รี ัมย์" และเปลี่ยนตราตาแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมา
ประกอบด้วย 3 เมือง 17 อาเภอ คือเมืองนครราชสีมา 10 อาเภอ เมืองชัยภูมิ 3 อาเภอ และเมือง
บรุ รี ัมย์ 4 อาเภอ คอื นางรอง พทุ ไธสง ประโคนชัย (ตะลงุ ) รตั นบรุ ี

ตอ่ มาไดม้ กี ารตราพระราชบัญญตั ิระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476
ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอาเภอ
เมืองบรุ รี ัมย์จึงมีฐานะเป็น จงั หวัดบุรีรัมย์ ต้ังแต่น้ันเป็นต้นมา

อักษรยอ่ จงั หวดั บร
ตราประจาจังหวัด

ภาพประกอบ 2 : ตราสญั ลักษณจ์ ังหวัดบุรีรมั ย์
• เปน็ รูปเทวดาราและปราสาทหนิ
• เทวดารา หมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผสู้ ร้าง ผปู้ ราบยคุ เข็ญ และผ้ปู ระสาทสุข
• ทา่ รา หมายถึงความสาราญชน่ื ชมยนิ ดี ซงึ่ ตรงกับพยางคส์ ดุ ทา้ ยของชื่อจงั หวัด
• ปราสาทหิน คอื ปราสาทเขาพนมรุ้งซง่ึ มกี าแพงล้อมรอบ ภายในท้องพระโรงมีเทวสถาน

4

คาขวัญประจาจงั หวดั
เมอื งปราสาทหนิ ถิ่นภูเขาไฟ ผา้ ไหมสวย รวยวฒั นธรรม เลศิ ลา้ เมอื งกีฬา

ความหมายของคาขวญั
เมืองปราสาทหิน หมายถึง บุรีรัมย์มีปราสาทหินเขาพนมรุ้งเป็นเอกลักษณ์ของ

จังหวัด อีกทั้งจังหวัดบุรีรัมย์ มีปราสาทหินมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งนอกจากปราสาทพนมรุ้งแล้ว
กย็ งั มีปราสาทหินอ่ืนๆท่นี ่าสนใจ อาทิ ปราสาทเมืองตา่ ปรางคก์ ่สู วนแตง ปราสาทหนองหงส์ ปราสาท
บา้ นบุ กฏุ ฤิ ๅษีโคกเมือง เป็นต้น

ถ่ินภูเขาไฟ หมายถึง บุรีรัมย์มีภูเขาไฟท่ีดับสนิทแล้วมากท่ีสุดในประเทศไทย
คือ 6 ลกู มี วนอทุ ยานเขากระโดง เขาพนมรุง้ เขาไปรบัด เขาองั คาร เขาหลุบ และเขาคอก

ผ้าไหมสวย หมายถึง บุรีรัมย์มีการทอผ้าไหมข้ึนช่ือหลากหลายแห่ง มีลวดลาย
เอกลักษณ์ อาทิ ผ้าซิ่นตีนแดง ผ้าไหมหางกระรอก ผ้าภูอัคนี มีการถักทออย่างแพร่หลาย ท่ีสาคัญมีที่
อาเภอนาโพธ์ิ อาเภอพทุ ไธสง อาเภอห้วยราช อาเภอละหานทราย เปน็ ตน้

รวยวัฒนธรรม หมายถึง บุรีรัมย์มีเทศกาลงานประเพณีท่ีรุ่งเรืองมาหลายปี และมี
วัฒนธรรมหลากหลายชาตพิ ันธุ์ คอื ไทยลาว เขมร ไทยโคราช กยู และชนชาติจีน

เลิศล้าเมืองกีฬา หมายถึง บุรีรัมย์มีกิจกรรมด้านกีฬาระดับโลกหลากหลาย เช่น
การแข่งขนั โมโตจีพี การแข่งขันฟุตบอล การแข่งขันมาราธอน จักรยานทางไกล เป็นต้น รวมท้ังมีกีฬา
ท้องถิ่นหลากหลาย เช่น งานแข่งขันเรือยาว อาเภอสตึก มหกรรมว่าวอีสานและว่าวนานาชาติ
อาเภอหว้ ยราช มหกรรมมวยไทย อาเภอหนองกี่ ประเพณีบุญบั้งไฟในอาเภอโนนสุวรรณ อาเภอบ้าน
ใหมไ่ ชยพจน์ อาเภอแคนดง เปน็ ต้น

พันธ์ุไม้มงคลพระราชทานประจาจังหวดั ตน้ กาฬพฤกษ์ (Cassia grandis)
ต้นไม้ประจาจังหวัด ตน้ แปะ (Vitex quinata)
ดอกไม้ประจาจังหวัด ดอกสพุ รรณกิ าร์ (Cochlospermum regium)
สตั ว์นา้ ประจาจงั หวัด ก้งุ ฝอยน้าจืดชนดิ (Macrobrachium lanchesteri)
ธงประจาจังหวัด ธงพื้นสีมว่ ง-แสด แบ่งครึ่งตามแนวต้งั กลางธงมตี ราประจาจังหวดั เป็นเทพยดาฟอู น
ราหน้าปราสาทหนิ พนมรงุ้

ภาพประกอบ 3 : ดอกสุพรรณิการ์

5

สถานท่ที ่องเทย่ี ว
อาเภอเมืองบุรรี ัมย์
- ศนู ย์วัฒนธรรมอีสานใต้ เปน็ แหลง่ เก็บรวบรวม และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันมีคุณค่าทาง
ประวัติศาสตร์ รวมท้ังเป็นแหล่งที่จะค้นคว้าวิจัยเก่ียวกับประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรม
ของทอ้ งถน่ิ ศนู ย์แหง่ น้เี ปิดเม่ือวนั ท่ี 16 เมษายน 2536 เปดิ ให้เข้าชมไดท้ กุ วนั ในเวลาราชการ
- พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟูาจุฬาโลกมหาราช
เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ท่ีพสกนิกรชาวบุรีรัมย์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยความสานึกในพระมหา
กรุณาธิคณุ แห่งผู้สถาปนาเมืองบุรีรัมย์ และเพื่อเป็นอนุสรณ์สักการะ รวมทั้งศูนย์รวมจิตใจที่แสดงถึง
ความจงรักภกั ดีต่อสถาบนั พระมหากษัตรยิ ์ และมหาจักรีบรมราชวงศ์
- วนอุทยานเขากระโดง ตั้งอยู่ท่ีบ้านน้าซับ ตาบลเสม็ด เคยเรียกกันว่า "พนมกระดอง" มีความหมาย
ว่า "ภูเขากระดองเตา่ " เพราะคลา้ ยกระดองเตา่ ซ่งึ ต่อได้เรียกเพี้ยนเป็น "กระโดง" เป็นสถานที่พักผ่อน
หย่อนใจของชาวบุรีรัมย์ และนักท่องเที่ยวที่สัญจรไปมา บนยอดเขามีพระสุภัทรบพิตรประดิษฐาน
พระพุทธรูปคู่เมืองบุรีรัมย์ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐฉาบปูนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 12 เมตร ฐานยาว
14 เมตร สร้างขึนเม่ือ พ.ศ. 2512 เดิมองค์พระเป็นสีขาว แต่เม่ือโดนแดดทาให้คล้ายสีดา จึงแก้เป็นสี
ทอง นอกจากนัน้ ยงั มีบนั ไดนาคราช พระพทุ ธบาทจาลอง ปราสาทเขากระโดง ปากปล่องภเู ขาไฟ
- อ่างเก็บน้าเขากระโดง (อา่ งเก็บนา้ วฒุ ิสวสั ดิ์) บริเวณหน้าท่ีทาการวนอทุ ยานเขากระโดง
อ่างเก็บน้าห้วยตลาด พื้นท่ีชุ่มน้าท่ีมีความสาคัญระดับนานาชาติ เป็นแหล่งดูนกน้าแห่งหน่ึงของ
จงั หวัดบรุ ีรมั ย์ มพี น้ื ท่ี 4,434 ไร่ ซึ่งมนี กกระสาปากเหลือง เป็นนกทม่ี ีคา่ หายากอาศยั อยู่ นอกจากน้ียัง
พบนกกระสาดา นกกาบบัว นกอ้ายงั่ว เป็ดเทา และนกน้าต่าง ๆ อีกมากมาย เป็นสถานที่พักผ่อน
หย่อนใจ และสามารถปัน่ จักรยานชมทัศนยี ภ์ าพรอบอ่างเก็บน้าหว้ ยตลาดได้
- อ่างเก็บน้าห้วยจรเข้มาก เป็นอ่างเก็บน้าขนาดใหญ่ เป็นทะเลสาบน้าจืด สร้างขึ้นเพื่อ
การชลประทานและการประปา มีพื้นท่ี 3,876 ไร่ อยู่ใน ต.บา้ นบัว ต.เสม็ด และ ต.สะแกโพรง อ.เมือง
จ.บุรีรมั ย์ มีไมพ้ ้ืนเมืองยนื ต้นร่มร่นื มีท้ังนกประจาถิน่ และนกอพยพตามฤดูกาลมาอาศัยอยู่เป็นจานวน
มากกวา่ 170 ชนิด จึงเปน็ อกี สถานทีห่ น่งึ ทีเ่ หมาะสาหรับการดนู กและพกั ผ่อน
- โครงการชลประทานบุรีรัมย์ เป็นอ่างเก็บน้าขนาดใหญ่ เป็นทะเลสาบน้าจืด สร้างขึ้นเพ่ือ
การชลประทานและการประปา มพี น้ื ท่ี 3,876 ไร่ อยใู่ น ต.บา้ นบวั ต.เสมด็ และ ต.สะแกโพรง อ.เมือง
จ.บุรีรัมย์ มไี มพ้ ้ืนเมืองยนื ตน้ รม่ ร่ืน มที ้ังนกประจาถ่ินและนกอพยพตามฤดูกาลมาอาศัยอยู่เป็นจานวน
มากกว่า 170 ชนิด จึงเป็นอีกสถานท่ีหน่ึงที่เหมาะสาหรับการดูนกและพักผ่อน ปัจจุบันเป็นแหล่ง
ทดลองปลอ่ ย นกกระเรียนพนั ธไ์ุ ทย ซ่ึงเป็นสัตว์ปุาสงวน ในปัจจุบันบุรีรัมย์เป็นจังหวัดเดียวในไทยท่ีมี
นกกระเรียนพันธไ์ุ ทยอาศยั อยู่ในธรรมชาติ

6

- ช้างอารีนาสเตเด้ียม ช้างอารีนา เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศ
ไทยทไี่ ม่มลี วู่ ิง่ คน่ั สนามและผ่านมาตรฐานสหพนั ธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) สามารถจัดเกมการแข่งขัน
ระดับชาติได้ เป็นสนามท่ีสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของทีมบุรีรัมย์
ยไู นเต็ด
- ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอรกิต เป็นสนามแข่งรถมาตรฐานสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ และเป็น
สนามแข่งรถทีใ่ หญท่ ีส่ ดุ ในประเทศไทย
- บุรีรัมย์ คาสเซิ่ล เป็นแหล่งช็อปป้ิงแห่งใหม่ของบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ระหว่าง สนามนิวไอโมบายสเตเดี้ยม
กับสนามแข่งขันช้าง อินเตอร์ เนช่ัลแนล เซอร์กิต มีปราสาทหินพนมรุ้งจาลอง สวนศิวะ 12
เป็นรปู ปั้นกามสูตรทัง้ 12 และมรี า้ นค้าตา่ งๆเชน่ แมคโดนลั ด์ เคเอฟซี

ภาพประกอบ 4 : วนอทุ ยานเขากระโดง

ภาพประกอบ 5 : ช้างอารีนาสเตเดี้ยม ภาพประกอบ 6 : ชา้ ง อินเตอร์เนชน่ั แนล เซอรก์ ติ

7

อาเภอลาปลายมาศ
- อทุ ยานลานา้ มาศ
- พระธาตทุ ะเมนชัย
- สะพานไม้หนองผะอง

อาเภอหนองหงส์
- พพิ ธิ ภัณฑ์เมอื งฝูาย
- สวนไทรงาม
- พพิ ิธภณั ฑ์ชาวบ้าน บ้านโคกกลาง

อาเภอห้วยราช
- หมู่บา้ นทอ่ งเท่ียว บ้านสนวนนอก

อาเภอพทุ ไธสง
- วัดศีรษะแรด (วัดหงส์) พระเจ้าใหญ่วัดหงส์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 1.6
เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีลักษณะของศิลปะพ้ืนเมืองปรากฏอยู่มาก ปัจจุบันประดิษฐาน
อยู่ท่ีวัดหงส์ หรือวัดศีรษะแรด ในอาเภอพุทไธสง ทุกปีในวันข้ึน 14 ค่า หรือวันแรม 1 ค่าเดือน 3
จะจัดงานเฉลิมฉลองทุกปี มีชาวอาเภอพุทไธสง และจังหวัดต่าง ๆ ไปนมัสการกราบไหว้เป็นจานวน
มาก
- วัดมณีจันทร์ ชมสิมโบราณที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ มีภาพติดกระจกสีท่ีงดงาม มีเพียงแห่งเดียว
ในภาคอสี าน
- วัดบรมคงคา ชมสิมโบราณ ศิลปะอีสาน มีภาพฮปู แต้มศิลปะอสี านทีง่ ดงาม
- หมู่บา้ นท่องเทีย่ วไหมหวั สะพาน หมูบ่ า้ นท่องเท่ียว เรยี นรู้การทอผา้ ไหมครบวงจร
- คเู มืองเมอื งพทุ ไธสง และบงึ สระบัว คูเมืองเก่าสมยั ทวารวดีอายนุ ับพนั ปี
- อนสุ าวรีย์พระยาเสนาสงคราม ประดิษฐานอยู่ ณ ท่วี า่ การอาเภอพทุ ไธสง

ภาพประกอบ 7 : หมูบ่ า้ นสนวนนอก ภาพประกอบ 8 : วัดศรี ษะแรด (วดั หงส์)

8

อาเภอนาโพธิ์
- หมู่บ้านทอผ้าไหมนาโพธ์ิ ผ้าไหมท่ีอาเภอนาโพธ์ิจะมีทั้งผ้าไหมพ้ืนไหมหางกระรอก ผ้าโสร่ง
ผ้าขาวมา้ และผ้ามดั หมี่ การทอผ้ามัดหม่ีจะมีลายพื้นเมืองด้ังเดิม และลายที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ลักษณะ
เด่นของผ้าไหมบุรรี มั ย์ คือเน้ือจะแนน่ เส้นไหมละเอียด ถ้าเป็นผ้าไหมมัดหม่ีท่ีเป็นแบบพื้นเมืองดั้งเดิม
จะนิยมใชส้ ขี รึม ๆ ไม่ฉดู ฉาด
- วัดทา่ เรียบ มีสนิ โบราณอายนุ ับร้อยปี ศิลปะแบบอสี านมภี าพจติ รกรรมฝาผนงั แบบอีสาน
- พระธาตุบ้านดู่ พระเจดียศ์ ักดิส์ ิทธ์ิ อายุหลายร้อยปี

อาเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
- ปรางค์กู่สวนแตง เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู สร้างข้ึนในราวพุทธศตวรรษท่ี 16-17 โดยได้รับ
อทิ ธพิ ลจากศลิ ปกรรมสมัยนครวัดเป็นโบราณสถานอีกแหง่ ทถ่ี กู วางระเบิดจนองค์ปรางค์พังทลายลงมา
เพ่ือโจรกรรม ช้ินส่วนปราสาทไปขาย ภายหลังกรมศิลปากรได้บูรณะใหม่จนมีความสมบูรณ์
และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเม่ือวันท่ี 8 มีนาคม 2547 ลักษณะของกู่ประกอบด้วย
ปรางค์อิฐ 3 องค์ ต้ังเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน อาคารท้ังหมดหันหน้าไปทาง
ทิศตะวันออก มีประตูหน้าเพียงประตูเดียว อีก 3 ด้าน สลักเป็นประตูหลอก ปรางค์องค์กลางมีขนาด
ใหญแ่ ละมีสภาพคอ่ นข้างสมบูรณเ์ ป็นรูปสเ่ี หลีย่ มจตั รุ สั ดา้ นหนา้ ทง้ั 3 ด้าน มีลักษณะยื่นออกมาและมี
แผ่นศิลาทรายรองรับ ส่วนปรางค์อีกสององค์มีขนาดเล็กกว่าฐานเป็นรูปส่ีเหล่ียมจัตุรัส มีประตูเดียว
ทางด้านหน้า เช่นกัน ส่วนผนังอีก 3 ด้าน ก่อเรียบทึบ สาหรับบนพ้ืนหน้าปรางค์มีส่วนประกอบ
สถาปัตยกรรมหนิ ทรายอื่น ๆ ตกหลน่ อยู่ เช่น ฐานบวั ยอดปรางค์ กลบี ขนุน รูปนาค 6 เศียร อายุของ
กู่สวนแตงสามารถกาหนดได้จากทับหลังของปรางค์ ซ่ึงปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ท่ี พิพิธภัณฑ์สถาน
แห่งชาติพระนคร อยใู่ นราวพุทธศตวรรษที่ 17 เน่ืองจากภาพสลักบนทับหลังท้ังหมดมีลักษณะตรงกับ
ศิลปะขอมแบบนครวัด ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิเช่น ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ตรี
วิกรม (ตอนหน่ึงในวามนาวตารแสดงภาพพระนารายณ์ย่างพระบาท 3 ก้าว เหยียบโลกบาดาล โลก
มนุษย์ และโลกสวรรค์) ทับหลังภาพศิวนาฎราช ทับหลังภาพการกวนเกษียรสมุทร ทับหลังภาพ
นารายณบ์ รรทมสนิ ธ์ุ ฯลฯ แตล่ ะช้ินมขี นาดใหญ่สวยงามนา่ สนใจยิง่
- กู่ฤๅษหี นองเยอื ง เปน็ อโรคยาศาลหรือโรงพยาบาล สรา้ งข้นึ ในสมัยพระเจ้าชยั วรมนั ท7ี่
- วดั หลักศิลา มีพระอุโบสถอายุนับร้อยปี สร้างในแบบศิลปะเชิงช่างกุลา คือมีการมุงหลังคาซ้อนเป็น
ชัน้ ๆ คล้ายกบั ศลิ ปะไทใหญ่ ซงึ่ หาชมไดย้ ากในปจั จบุ นั

อาเภอคเู มอื ง
- อุทยานไมด้ อกเพลาเพลิน แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ ภายในมีโรงเรือนจัดแสดงดอกไม้ท่ัวโลก สมบูรณ์
ทีส่ ุดในภาคอีสาน ภายในประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วจาลอง ที่ไดอ้ ัญเชญิ มาจากศรีลงั กา

9

อาเภอสตึก
- พระพุทธรูปใหญ่ (พระพุทธรูปปฏิมาสันตยาภิรมย์สตึกอุดมราษฎรนิมิตนมิน)พระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ิ
ประดษิ ฐาน ณ บริเวณทว่ี า่ การอาเภอสตึก สามารถชมทัศนียภาพแม่น้ามลู ท่ีงดงาม
- ศาลเจา้ พ่อวงั กรูด ตงั้ ณ รมิ ฝงั่ แม่นา้ มูล เป็นที่เลอ่ื มใสแกป่ ระชาชนชาวอาเภอสตกึ
- พระเจ้าใหญด่ งแสนตอ พระพุทธรปู ศักดิ์สทิ ธคิ์ ู่บ้านคเู่ มอื ง ณ ตาบลทงุ่ วัง อาเภอสตกึ
- หม่บู ้านพมิ านโพนเงนิ หม่บู า้ นที่มกี ารเลี้ยงชา้ งมากท่ีสดุ ในจงั หวัดบุรีรมั ย์

อาเภอนางรอง
- อ่างเกบ็ น้าทุ่งแหลม
- วดั ภูมา่ นฟ้า
- วัดเก่าในเขตเทศบาลเมืองนางรอง ซ่ึงสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีประวัติศาสตร์ยาวนาน
สามารถศึกษาสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ได้ เพราะเมืองนางรองเป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดอีกแห่งใน
ประเทศ อาทิ วัดกลางนางรอง วัดขุนกอ้ ง วัดรอ่ งมนั เทศ
- หมบู่ า้ นทอ่ งเทยี่ วไหม หนองตาไก้

อาเภอหนองกี่
- หาดปราสาททอง หรือ อ่างเก็บน้าทุ่งกระเต็น ตั้งอยู่หน้าองค์การบริหารส่วนตาบลเย้ยปราสาท
ระยะห่างระหว่างขอบสระถึงเกาะกลาง 250 เมตร เน้ือท่ี 2450 ไร่ หาด ปราสาททอง ยังเหมาะแก่
การปั่นจักรยานรอบ ๆ อ่างเก็บน้า โดยรวมของระยะทางทั้งหมด เกือบ 10 กิโลเมตร ท่ีพิเศษกว่าน้ัน
ยังเป็นสถานที่ฝึกซ้อมกีฬาทางน้า เช่นเจ็ทสกี ระยะทางฝึกซ้อมและการแข่งขัน 9.3 กิโลเมตร
โดยสามารถเดินทางผ่านทางแยกต่างระดับ อาเภอสีค้ิว เลี้ยวมาทางอาเภอโชคชัย ผ่านอาเภอหนอง
บุญมาก ถึงสแ่ี ยกอาเภอหนองกี่ จากนั้นเล้ียวซ้ายประมาณ 3 กโิ ลเมตร กจ็ ะถงึ หาด

อาเภอปะคา
- ปราสาทวดั โคกงว้ิ
- ปราสาทตาดา

ภาพประกอบ 9 : ปราสาทวดั โคกงิ้ว ภาพประกอบ 10 : หาดปราสาททอง

10

อาเภอโนนดนิ แดง
- เข่ือนลานางรอง เป็นเขื่อนดินฐานคอนกรีตขนาดใหญ่ จุน้าได้ประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร
มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนเช่ือมต่อไปยังหมู่บ้านตัวอย่าง หมู่บ้านพัฒนาหนองตาเยาว์ และหนองหว้า
ซ่ึงอยู่ใกล้ชายแดนเพียง 20 กว่ากิโลเมตรเท่ากัน ที่สันเข่ือนมีหินลอย (หินภูเขาไฟอีกชนิดหน่ึง)
เป็นกอ้ นและแผ่นสสี ันแบง่ กันเปน็ ชัน้ สวยงาม ซ่ึงได้นาไปกองก้ันน้าเซาะสันเขื่อน นอกจากนี้ ยังเป็นที่
เที่ยวท่ีมีชื่อเสียงในอาเภอโนนดินแดง บรรยากาศสวยงาม มีท่ีพักและสิ่งอานวยความสะดวก ด้วย
ทะเลสาบเหนอื เข่ือนอนั กวา้ งใหญ่ หาดทรายสวยงามบรรยากาศดี ชาวบุรีรัมย์จึงนิยมพาครอบครัวไป
พักผอ่ น เลน่ นา้ และรบั ประทานปลาสดจากเขอ่ื น
- ปราสาทหนองหงส์
- อนุสาวรยี เ์ ราสู้ อยรู่ ิมทางหลวงในเขต ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ชาวบุรีรัมย์ร่วมสร้าง
ข้ึนเมื่อ พ.ศ. 2522 เพ่ือราลึกถึงวีรกรรมของประชาชน ตารวจ และทหาร ท่ีเสียชีวิตจากการต่อสู้กับ
ผกู้ อ่ การร้ายคอมมิวนสิ ต์ ซึ่งขัดขวางการก่อสรา้ ง ถนนสายละหานทราย – ตาพระยา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ปุาท่ีอุดมสมบูรณ์แห่งสุดท้ายในจังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากอาเภอโนน
ดินแดง 5 กโิ ลเมตร เป็นแหล่งต้นนา้ สาคัญ ทาให้เกดิ พืชพันธุ์ สตั วป์ ุาที่หลากหลาย
- น้าตกผาแดง ผาแดง อยูใ่ นเขตปาุ สงวนแห่งชาติดงใหญ่ บ้านหนองเสม็ด ต.ลานางรอง อ.โนดินแดง
จ.บุรีรัมย์ เป็นเขตติดต่อระหว่าง อ.โนนดินแดง กับ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง
ธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัดบุรีรัมย์ นักท่องเท่ียวที่รักธรรมชาติสามารถมาสัมผัสอากาศบริสุทธ์ิ ชม
ดวงอาทติ ย์ตก ทัศนยี ภาพของผืนปาุ ธรรมชาติอนั กวา้ งใหญ่สวยงามของเทือกเขาบรรทัด และปุาสงวน
แห่งชาติดงใหญ่ โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์
นักท่องเที่ยวจะได้พบกับทะเลหมอกปกคลุมปุาดงใหญ่ - เทือกเขาบรรทัดอันซับซ้อนสวยงามด้วย
นอกจากน้ี ยังเป็นจุดพักรถของคนเดินทางผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออก
ดว้ ย ซึ่งชว่ งน้ใี นแตล่ ะวนั ได้มีนกั ท่องเท่ียวและผทู้ ีเ่ ดนิ ทางแวะมาเท่ียวชมพักผ่อน ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก
เป็นจานวนมาก ไม่แพ้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่น ๆ แหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว สามารถเชื่อมโยง
กับแหล่งทอ่ งเทยี่ วอ่ืน ๆ ในพ้ืนทอี่ าเภอโนนดินแดงอกี ด้วย

ภาพประกอบ 11 : อนุสาวรียเ์ ราสู้ ภาพประกอบ12 : ปราสาทหนองหงส์

11

อาเภอละหานทราย
- วัดโพธท์ิ รายทอง เป็นวัดของหลวงปูุศขุ เกจอิ าจารยด์ ังแห่งอสี านใต้
- วัดป่าละหานทราย ภายในวัดมีพระอุโบสถศิลปะล้านนาผสมล้านช้าง ประดิษฐานตั้งอยู่กลางน้า
มีความงดงาม นอกจากนน้ั ยังมีพระพทุ ธรปู ศกั ดิ์สิทธป์ิ ระดษิ ฐานหลายองค์
- หนิ หลมุ เป็นกลมุ่ หินหลมุ กมุ ภลักษ์ เปน็ สถานท่เี รยี นรู้ด้านธรณวี ิทยา
- อา่ งเกบ็ น้าลาจังหนั
- อ่างเก็บน้าลาปะเทีย

อาเภอประโคนชัย
- ปราสาทเมอื งตา่ เมอื งโบราณรว่ มสมยั กับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมอื งตา่ เป็นปราสาทหินของ
โบราณท่ีมีขนาดใหญ่มาก สร้างขึ้นตามคติความเช่ือของศาสนาฮินดูเพ่ือใช้ประกอบพิธีกรรมทาง
ศาสนาตัวปราสาทออกแบบได้อย่างงดงาม มีโครงสร้างที่ได้สัดส่วนบริเวณโดยรอบปราสาท
เป็นชุมชนโบราณสมัยขอม ที่มีประวัติเกี่ยวเน่ียงกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่าจึงมี
ความสาคัญทางโบราณคดี นอกเหนือจากเป็นมรดกทางศิลปกรรมท่ีงดงาม ปราสาทแห่งน้ีได้รับ
การบรู ณะในปี พ.ศ. 2540
- กุฏิฤๅษีโคกเมือง เป็นปราสาทขอม สร้างขึ้นเพ่ือเป็นอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลประจาเมือง
ต้ังอยู่ใกล้กับปราสาทเมืองต่า อยู่ติดกับยารายเมืองต่า หรือทะเลเมืองต่า ชาวบ้านโคกเมืองเรียก
ปราสาทหลังน้วี า่ "ปราสาทนอ้ ย" เป็นอโรคยาศาลที่สมบรู ณ์ทสี่ ุดอีกแหง่ ในประเทศ
- กุฏิฤๅษีหนองบัวราย เป็นปราสาทขอม สร้างข้ึนเพ่ือเป็นอโรคยาศาล ต้ังอยู่บ้านหนองบัวราย
ตาบลจรเข้มาก ซ่ึงตัง้ อยู่บรเิ วณเชิงเขาพนมร้งุ
- ปราสาทบ้านบุ บ้านบุ ตาบลจรเข้มาก เป็นปราสาทขอมสร้างข้ึนเพื่อเป็นธรรมศาลา ที่พักของ
ผู้แสวงบุญในสมัยขอมโบราณ
- หมู่บ้านโฮมสเตย์โคกเมือง ตั้งอยู่ท่ีบ้านโคกเมือง ตาบลจรเข้มาก เป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ท่ีได้รับ
รางวัลระดบั ประเทศมากมาย มีกจิ กรรมให้เรียนรภู้ มู ปิ ัญญาทอ้ งถ่ินมากมาย อาทิ เรียนรู้การปลูกข้าว
หอมมะลิภเู ขาไฟ การทอเสื่อกก การทอผ้าไหม การเรียนรู้เกษตรวถิ พี อเพยี ง เปน็ ต้น
- อ่างเก็บน้าสนามบิน อดีตเป็นสนามบินเพื่อใช้ในการส่งเสบียง สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
เมือ่ สงครามยุติ จงึ ได้สรา้ งอ่างเก็บน้าก้ันลาห้วยระเวีย เพ่ือกักเก็บน้าใช้ในการอุปโภค บริโภคภายใน
เขตเทศบาลเมืองประโคนชัย ปัจจุบันได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ปุาอ่างเก็บน้าสนามบิน
เปน็ สถานท่พี กั ผอ่ นชมธรรมชาตโิ ดยมนี กประจาถิ่นและนกอพยพอาศัยมากมาย ปัจจุบันมีการปล่อย
นกกระเรยี นพนั ธุ์ไทยในบรเิ วณนอ้ี ีกดว้ ย

12

อาเภอเฉลิมพระเกยี รติ
- อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเขาพนมรุ้งได้รับการยกย่องว่าเป็นปราสาทหินที่งดงามมาก
แห่งหน่ึงของไทย ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน ตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายสี
ชมพู และศลิ าแลงอย่างยิง่ ใหญอ่ ลงั การมีการออกแบบผงั ปราสาทตามแนวความเชื่อที่สอดคล้องกับภูมิ
ประเทศศาสนสถานแต่ละส่วนประดับด้วยลวดลายวิจิตรงามตาโดยเฉพาะหน้าบันศิวนาฎราชและทับ
หลังนารายณ์บรรทมสนิ ธุ์ทมี่ คี วามงดงามละเอียดอ่อนช้อย นับเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าที่ไม่ควร
พลาดชมในวันข้ึน 15 ค่า เดือน 5 (ประมาณเดือน เม.ย. - พ.ค.) ของทุกปีจะมีประเพณีเดินขึ้นเขา
พนมรุ้งเพื่อชมปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่ามหรรศจรรย์คือ พระอาทิตย์จะสาดแสงตรงเป็นลาทะลุ
ช่องประตปู ราสาททง้ั 15 บานราวปาฏหิ าริย์และเกดิ ข้นึ เพียงครัง้ เดียวในรอบปเี ท่าน้ัน
- นา้ ตกเขาพนมรงุ้
- ปราสาทหนองกง ห่างจากเชิงพนมร้งุ ไปทางทิศใต้ 2.8 กโิ ลเมตร
- วัดเขาพระอังคาร เป็นวัดท่ีสร้างขึ้นใหม่ ต้ังอยู่บนยอดเขาพระอังคารซึ่งสูงประมาณ 320 เมตรจาก
ระดับน้าทะเล มีโบสถ์ท่ีประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดท่ีสวยงาม
ใหญ่โตแหง่ หนง่ึ ของบุรรี มั ย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่าง ๆ สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่าง ๆ
หลายรูปแบบงดงาม แปลกตาและน่าสนใจย่ิง ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเร่ืองราวพุทธ
ชาดกเป็นภาษาองั กฤษด้วย บรเิ วณวดั เปน็ ปากปลอ่ งภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ต้ังของโบราณสถานสมัย
ทวารวดีเพราะเสมาหนิ แกะสลักสมยั ดังกลา่ วหลงเหลืออยู่เปน็ จานวนมาก
- เขาอังคาร เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วอีกลูกหนึ่งในบุรีรัมย์ อยู่ในเขตอาเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจาก
ปราสาทพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร โดยลงมาจากพนมรุ้ง ถึงบ้านตาเป็กแล้วเล้ียวซ้ายมาตามทางที่จะไป
ละหานทรายประมาณ 13 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวขวาเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 7 กิโลเมตรพบ
โบราณสถานเกา่ แก่ และใบเสมาหินทรายสมยั ทวารวดสี าคัญหลายช้ิน
- น้าตกเขาพระอังคาร ปจั จุบนั อยใู่ นระหว่างการสารวจเพอ่ื เปดิ เป็นแหล่งท่องเท่ียวใหมข่ องจังหวัด
ชุมชนโบราณบ้านแสลงโทน เป็นชุมชนโบราณตั้งอยู่ในเขตบ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย
อยู่ห่างจากตัวจงั หวัดไปทางทิศใต้ ตามทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ระยะทาง 25 กิโลเมตร ทางหลวง
ตดั ผา่ กลางชมุ ชนโบราณ มองเห็นคนั ดินเปน็ แนวสูงประมาณ 5-7 เมตร อยู่สองข้างทาง ชุมชนโบราณ
แหง่ นม้ี ีลักษณะเปน็ รูปกลมรีวางตามแนวตะวันออก ตะวันตก ยาวประมาณ 5,756 เมตร กว้าง 1,750
เมตร มีคูเมืองโอบอยู่นอกคันดิน 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียงช้ันเดียว ใกล้คันดินด้านท่ีต้ังโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตาบลแสลงโทนในปัจจุบัน มีเนินดินซ่ึงมีก้อนหินศิลาแลงกระจัดกระจายเข้าใจว่าเคย
มีศาสนสถาน แต่ปัจจุบันเป็นท่ีต้ังศาลเจ้าพ่อแสลงโทน เรียกว่า ศาลปุูเจ้าหรือกระท่อมเนียะตา เป็น
ศาลเจ้า ซ่งึ เปน็ ทเี่ คารพนับถือของชาวบ้านแสลงโทนและชาวบ้านใกล้เคียง สร้างด้วยไม้ระแนง หลังคา
มุงกระเบ้ืองและพื้นเป็นปูนซีเมนต์ ท้ังคูน้าคันดิน (ที่เหลืออยู่ริมทางหลวง) และเนินดินศาลเจ้าพ่อ
แสลงโทน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว นอกจากน้ียังพบหลักฐานอ่ืนที่สาคัญ คือ สระน้า
โบราณรปู สเี่ หลีย่ มในเขตวดั แสลงโทน 2 สระ พบเศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เคร่ืองประดับ
เทวรูปเกา่ และใบเสมาเก่า ซ่ึงเขา้ ใจว่าบรเิ วณนเ้ี คยเป็นศาสนสถานสาคญั ประจาชมุ ชนโบราณ

13

- เส้นทางกุ้งจ่อม กระยาสารท ต้ังอยู่ในเขตเทศบาลตาบลประโคนชัย มีการผลิตกุ้งจ่อม ซ่ึงเป็นภูมิ
ปัญญาการถนอมอาหารเฉพาะถ่ินของอาเภอประโคนชัย และกระยาสารท อาหารหวานท่ีคู่เมือง
ประโคนชัย ซึ่งเป็นขนมสาคัญในงานประเพณีแซนโฎนตา ประเพณีสาคัญของคนไทยเชื้อสายเขมร
ซ่ึงเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอาเภอประโคนชัย นอกจากน้ันยังมีอาหารท้องถ่ินเฉพาะถ่ินประโคนชัย อาทิ
กุ้งจอ่ มผัด แกงฮอ็ ง แกงบวน เปน็ ต้น

ภาพประกอบ 13 : เส้นทางกงุ้ จ่อม

อาเภอบ้านกรวด
- แหล่งหินตัด แหล่งหินตัด จังหวัดบุรีรัมย์ห่างจากตัวอาเภอบ้านกรวด 7 กม. เป็นลานหินกว้างเกือบ
2,000 ไร่ ใกล้ชายแดนติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีร่องรอยการตัดหิน เพื่อนาไปสร้างปราสาทหิน
ต่าง ๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพนมรงุ้ และปราสาทเมอื งตา่
- เตานายเจียน เปน็ เตาเผาโบราณอายปุ ระมาณ 1,000 ปี และได้พบเคร่ืองเคลือบโบราณจานวนมาก
คนโบราณใช้เผาเครอ่ื งปั้นดนิ เผา หมอ้ ไห ต่าง ๆ
- เตาสวาย เป็เตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี เป็นที่ผลิตเคร่ืองถ้วยศิลปะขอม ที่มีขนาดใหญ่
กรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นและสร้างอาคารครอบเตาไว้ ภายในมีนิทรรศการเคร่ือง
เคลือบโบราณ และมีเศษเครื่องถ้วยที่ขุดพบบางส่วน ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง เทศบาลตาบลโนนเจริญ
อาเภอบ้านกรวด จงั หวดั บุรีรมั ย์
- จุดผ่อนปรนชายแดนช่องสายตะกู ต้ังอยู่ในเขต เทศบาลตาบลจันทบเพชร เป็นตลาดค้าขายติด
ชายแดนบนเทอื กเขาพนมดงรัก ประชาชนสามารถเลอื กซือ้ สนิ คา้ บรเิ วณชายแดนได้
- สวนป่าบ้านกรวด เป็นผืนปุาท่ีมีการปลูกข้ึน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติปุาไม้ สามารถชม
ธรรมชาติได้ ปจั จุบนั เปน็ สว่ นหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติตาพระยา ส่วนหน่ึงของผืนปุามรดกโลก ปุาดง
พญาเยน็ -เขาใหญ่
- เข่ือนห้วยเมฆา เป็นการพัฒนาพ้ืนที่แนวชายแดนชายไทย-กัมพูชา บริเวณช่องเขาเมฆาเพื่อใช้น้า
ในทางการเกษตรกร โดยได้รับงบประมาณจากการสนบั สนนุ ของรฐั บาลญ่ปี นุ เมื่อ พ.ศ. 2528
- พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัดปุาพระสบาย เป็นที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณในสมัยก่อน
ประวตั ิศาสตรท์ พ่ี บในเขตตาบลบึงเจรญิ

14

- ศนู ย์วัฒนธรรมอาเภอบ้านกรวด ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็นที่เก็บรักษาเคร่ืองเคลือบ
ทขี่ ดุ พบในเขตอาเภอบา้ นกรวด
- ผงึ้ ร้อยรัง เปน็ สถานทที่ ่ผี ึ้งจะมาทารังบนต้นไมข้ นาดใหญ่เป็นร้อยๆรัง
- ปราสาทถมอ ปราสาทหนิ เก่าแกส่ นั นษิ ฐานวา่ เป็นธรรมศาลา สรา้ งข้นึ ราวพุทธศตวรรษท่ี 18
- ปราสาททอง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังตลาดสดเทศบาลตาบลบ้านกรวด สันนิษฐานว่าสร้างข้ึนในช่วง
ปลายพทุ ธศตวรรษที่ 16 มีการขุดพบทบั หลงั ในสภาพสมบูรณ์
- ปราสาทละลมทม ต้ังอย่ทู ่ีบ้านศรสี ุข ตาบลเขาดนิ เหนือ สนั นิษฐานว่าสร้างขน้ึ ชว่ งพุทธศตวรรษที่ 16
- ปราสาทบายแบก ต้ังอยู่ท่ีบ้านสายโท 5 เทศบาลตาบลจันทบเพชร เป็นปราสาทขอมที่ติดชายแดน
ทสี่ ดุ ในจงั หวดั บุรรี มั ย์ มีลกั ษณะพเิ ศษคือ เป็นปราสาทท่หี ันหน้าทางทศิ ตะวนั ตก

ภาพประกอบ 14 : ปราสาทละลมทม

ภาพประกอบ 15: ศนู ย์วัฒนธรรมอาเภอบ้านกรวด

15

งานประเพณีและเทศกาลทอ่ งเทีย่ วสาคัญ
- งานดอกฝ้ายคาบาน ช่วงเดอื น ม.ค. - ก.พ. ของทุกปี บรเิ วณปราสาทเขาพนมร้งุ
- มหกรรมว่าวอีสาน ช่วงเดือน ม.ค. บริเวณสนามกีฬามหาวิทยาลัยรามคาแหง วิทยาเขตบุรีรัมย์
อ.ห้วยราช ในงานมีการประกวดขบวนว่าว ธิดาว่าว การนาเสนอสินค้า วัฒนธรรม ภูมิปัญญาอาเภอ
ห้วยราช และไฮไลท์อยู่ที่ การแข่งขันว่าวอีสานหรือว่าวแอก ที่มีรูปร่างเอกลักษณ์ของบุรีรัมย์ ด้านบน
ตดิ แอก ซงึ่ แอกเปน็ อุปกรณท์ ท่ี าใหเ้ กิดเสียง ซ่ึงมีการวิ่งว่าวในช่วงเช้าของวันแรก และเอาว่าวลงในช่วง
เช้าของวนั ที่2 ในช่วงกลางคนื ของคืนแรก จึงมกี ิจกรรม "นอนดูดาว ชมวา่ วกลางคนื "
- มหกรรมมวยไทยเทศกาลกินไก่ไหว้เจ้าพ่อขุนศรี ประมาณปลายเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี บริเวณ
สนามที่วา่ การอาเภอ อ.หนองกี่
- นมัสการพระเจ้าใหญ่วัดศีรษะแรด (วัดหงส์) วันข้ึน 14 ค่า ถึงวันแรก 1 ค่า เดือน 3 หรือตรงกับ
วนั มาฆบชู า ของทุกปี ที่วดั ศรี ษะแรด อ.พทุ ไธสง
- นมสั การรอยพระพทุ ธบาทจาลอง วนั ขึ้น 15 ค่า เดอื น 3 หรอื วนั มาฆบูชา
- งานประเพณขี น้ึ เขากระโดง ช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ณ วนอุทยานแห่งชาติเขากระโดง ตาบลเสม็ด
อ.เมอื งบุรีรมั ย์
- งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เดือนเมษายน ของทุกปี (วันเพ็ญเดือนห้า) ณ อุทยานประวัติศาสตร์
พนมรงุ้ อ.เฉลมิ พระเกียรติ
- งานเครอ่ื งเคลอื บพันปี ช่วงเดือน เม.ย. ของทกุ ปี ที่ หนา้ ท่วี า่ การอาเภอ อ.บ้านกรวด ในงานมีการจัด
ขบวนนางรา ขบวนเครอื่ งเคลอื บจาลอง การขายผลิตภัณฑช์ ุมชนจากทุกๆตาบลในเขตอาเภอบา้ นกรวด
- งานประเพณีบุญบง้ั ไฟ ประมาณสิ้นเดอื น พ.ค. - ตน้ เดือน มิ.ย. ของทุกปี ที่บ้านหนองบัวลี-หนองบัว
ลอง ต.ไทยสามคั คี อ.หนองหงส์
- งานสืบสานประเพณี ของดีโนนสุวรรณ จัดข้ึนช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. ของทุกปี ณ บริเวณที่ว่าการ
อาเภอโนนสุวรรณ ซึ่งเป็นงานมีการสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ จัดการแข่งขบวนเซ้ิงบ้ังไฟ และมีการ
นาเสนอของดีโนนสุวรรณที่หลากหลาย อาทิ ผ้าไหม ผลไม้ เพราะโนนสุวรรณถือว่าเป็นแหล่งผลไม้
สาคัญของจังหวัด อาทิ เงาะ ทุเรียน ฝร่ัง ฯลฯ ทาให้ผู้มาเที่ยวงานสามารถเลือกซื้อผลไม้ และสินค้า
ผลติ ภณั ฑช์ มุ ชนได้จากผผู้ ลติ โดยตรง
- งานปรางค์กู่สวนแตงและประเพณีบุญบ้ังไฟ จัดขึ้นช่วงเดือน พ.ค.ของทุกปี ณ บริเวณ ปรางค์กู่
สวนแตง อาเภอบา้ นใหมไ่ ชยพจน์ ภายในงานมกี ารประกวดขบวนบ้ังไฟสวยงาม การประกวดขบวนเซิ้ง
การนาเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน และการแสดงแสงสีเสียง เล่าเรื่องราวปรางค์กู่สวนแตง โบราณสถานท่ี
สาคัญของบรุ รี ัมย์
- ประเพณีแขง่ เรอื ยาว วันเสาร์-อาทิตยแ์ รก ของเดือน พ.ย. ทล่ี านา้ มูล ที่ทวี่ ่าการ อ.สตึก
- งานวันหอมแดง แข่งเรือยาว ชาวหนองหงส์ ช่วงประมาณเดือน ธ.ค. ของทุกปี - มี.ค. ของปีถัดไป
ทหี่ นองสระแกว้ อ.หนองหงส์

16

บทที่ 2
ประวัตอิ าเภอพทุ ไธสง

อาเภอพุทไธสง
พุทไธสง เป็นอาเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์เป็นเมืองประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ทางทิศ

เหนือของจังหวัด มีช่ือเสียงด้านการเป็นแหล่งทอผ้าไหมมัดหม่ีท่ีสวยงาม และมีพระคู่บ้านคู่เมือง
คือ พระเจา้ ใหญ่ วดั หงส์

ประวตั แิ ละความเป็นมาของเมืองพทุ ไธสง
สภาพทั่วไป เมอื งพทุ ไธสง เป็นแหล่งสถานท่ีตั้งเมืองประวัติศาสตร์ หลักฐานสาคัญคือ มีคูเมืองเก่าท่ี
เป็นคนั คนู ้าอยูจ่ านวน 2 ชัน้ ต้ังอยูใ่ นเขตเทศบาลตาบลพทุ ไธสงในปัจจบุ นั ประกอบไปดว้ ย

1. คูบึงชั้นนอกด้านทิศเหนือ ประกอบไปด้วย บึงสระบัวหรือบึงใหญ่ ต้ังอยู่เขต
หมู่ 1 บ้านพุทไธสง หนองเม็ก ตั้งอยู่เขตหมู่ 3 บ้านโพนทอง คูบึงชั้นในด้านทิศเหนือ มีบึงเจ๊กและ
บึงอ้อ ต้ังอยู่เขตหม่ทู ่ี 1 บ้านพุทไธสง ในเขตตาบลพทุ ไธสง รอบโนนที่ตั้งเมืองพุทไธสง

2. คบู งึ ชั้นนอกดา้ นทิศตะวนั ออก ประกอบไปด้วย บึงมะเขือ บึงบัวขาว อยู่ติดเขต
หมู่ 1 บ้านพุทไธสง กับเขตหมู่ 1 บ้านมะเฟือง คูบึงช้ันในด้านทิศตะวันออก มีบึงกลาง บึงสร้างนาง
อยู่เขตหมู่ 1 บ้านพุทไธสง ตาบลพุทไธสง มีหนองน้าชั้นนอกออกไปอีกคือหนองกระจับ หนองสรวง
ในเขตหมทู่ ี่ 1 บ้านมะเฟือง ตาบลมะเฟอื ง

3. คูบึงชั้นนอกด้านทิศใต้ ประกอบไปด้วย บึงฆ่าแข่ ห้วยเตย หนองบัว อยู่ติดเขต
หมู่ 2 บ้านโนนหนองสรวง คูบึงชั้นในด้านทิศใต้ มีบึงสร้างนาง หนองกระทุ่มหนา อยู่เขตหมู่ 1
บ้านพทุ ไธสง

4. คูบึงช้ันนอกด้านทิศตะวันตก มีหนองน้าชื่อร่องเสือเต้น ก้ันเขตแดนระหว่าง
โรงเรียนพุทไธสงและโรงเรียนตงศิริราษฎร์อนุสรณ์และเป็นเขตแดนระหว่างหมู่ที่ 3 บ้านโพนทองกับ
หมู่ท่ี 4 บ้านเตย เป็นลักษณะบึงสั้นๆ ไม่ตลอดแนว และด้านนี้ไม่มีคูบึงชั้นใน ลักษณะพ้ืนที่เป็นท่ีราบ
สลับท่ีเนินเตี้ยๆ พื้นที่โดยรวมลาดเอียงจากทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มี
ความสูงจากระดบั นา้ ทะเลปานกลางประมาณ 140 – 160 เมตร ใจกลางเมืองต้ังอยู่ที่ละติจูด 15.538
องศาเหนอื ลองติจูด103.0057 องศาตะวนั ออก มหี ว้ ยเตยเปน็ รอ่ งนา้ หลกั ไหลมารวมที่บึงต่างๆ และมี
ร่องน้าย่อยๆ รับน้าในด้านทิศเหนือซึ่งเป็นทางเกวียนคมนาคมเดิม เช่นทางเกวียนบ้านเตยไปนาโพธิ์
ทางเกวยี นบา้ นโพนทองเหนอื หนองเม็ก ไปบา้ นแวง บา้ นนาโพธ์ิ ทางเกวียนเหนือบ้านเตยไปหนองเม็ก
ร่องน้าจากโนนบ้านหนองบกไหลผ่านปุาโคกที่สาธารณะประโยชน์หนองหัวควายไหลลงบึงใหญ่และ
จากบึงใหญ่ไหลล้นไปบึงมะเขือและทุ่งนาด้านทิศตะวันออกบึงมะเขือ และบึงมะเขือบางส่วนมีทาง
ระบายน้าจากนา้ รวมที่บึงชนั้ นอกไหลไปรวมทีด่ ้านบงึ บวั ขาวไหลไปทางทศิ ตะวันออกเฉียงใต้ตามคลอง
ที่ขดุ ใหม่ช่ือคลองอีสานเขียวไหลลงทุ่งนาและลงสู่น้ามูลด้านทิศใต้บ้านส้มกบ ตาบลมะเฟือง อุณหภูมิ
เฉลีย่ หนา้ รอ้ น 31 องศาเซลเซียส หน้าหนาว 20 องศาเซลเซียส หนา้ ฝน 26 องศาเซลเซียส

17

โนนเมอื งเป็นท่ีดอน เรยี กวา่ โนน (เนนิ ) จานวน 7 โนนดังน้ี
1. โนนโรงเรยี นอนุบาลพุทไธสงเดิม (โอภาสประชานสุ รณ์)ปัจจุบันเปน็ ทตี่ ้งั คิวรถและ

ตลาดสดเทศบาลตาบลพุทไธสง เดิมเป็นเนินสูงได้ขุดดินออกไปประมาณระดับ 1.50 เมตรในอดีตเป็น
เนนิ ใหญส่ ดุ และเปน็ ศนู ย์กลางต้งั ตวั เมืองจนถึงปัจจุบนั

2. โนนอนามัยเดมิ ปจั จบุ ันเปน็ ท่ีต้ังสานักงานสาธารณสุขอาเภอพุทไธสงเป็นโนนที่สูง
กว่าทุกโนนท่ีกล่าวถึง แต่ถูกปรับเกล่ียให้ต่าลงเพื่อนาเอาดินมาสร้างท่ีว่าการอาเภอหลังเก่า ห้องสมุด
ประชาชนเดมิ และสถานตี ารวจภูธรพทุ ไธสง

3. โนนโรงเรียนพุทไธสงเดิม ปัจจุบันเป็นที่ต้ังโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง เดิมเป็นพ้ืนท่ี
สูงมนี ้าล้อมรอบและใช้เป็นปาุ ช้าท่ีฝังศพ

4. โนนบ้านโพนทอง เป็นโนนสูงกว้างใหญ่ หลังจากต้ังเมืองพุทไธสงใหม่ท่ีบ้าน
มะเฟอื ง มีขา้ ราชการจากเมอื งมาตั้งบา้ นขน้ึ ใหมท่ ่โี นนน้ีเรยี กวา่ บา้ นใหมโ่ พนทอง

5. โนนโรงเรียนตงศิริราษฎร์อนุสรณ์ เป็นโนนสูงด้านทิศตะวันตก ถูกปรับเกรดให้
ต่าลงจากเดิมราว 2 เมตร มีลักษณะดินปนหินขี้ตะกรันเหล็ก อาจเป็นแหล่งถลุงเหล็กทาเครื่องมือและ
อาวธุ

6. โนนหนองสรวงตั้งอยู่ทางทิศใต้ ลักษณะยาวตามทิศตะวันออกไปตะวันตก
เปน็ ทีต่ ั้งบ้านโนนหนองสรวงหม่ทู ่ี 2

7. โนนอีแก้ว เป็นโนนสูงขนาดเล็กอยู่ทางทิศใต้มีทุ่งนาก้ันระหว่างโนนหนองสรวง
ด้านทิศตะวันออก ปัจจบุ นั เปน็ ทีต่ ั้งศูนยห์ มอ่ นไหมบรุ ีรมั ยส์ าขาพุทไธสง

18

ลกั ษณะทางประวตั ศิ าสตร์-ภูมศิ าสตร์
เมืองพุทไธสงได้จัดให้อยู่ในกลุ่มเมืองโบราณของภาคอีสานใต้อยู่แถบลุ่มน้ามูล-น้าชี

(กรมทรัพยากรธรณีได้แบ่งภาคอีสานออกตามภูมิศาสตร์โดยใช้แนวเทือกเขาภูพานแบ่งเป็นอีสานเหนือ
เรยี กว่าแอง่ สกลนครอีสานใตเ้ รียกวา่ แอ่งโคราช) มีลักษณะต่าง ๆ แยกออกเป็นดังน้ี

ลักษณะเมืองโบราณของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ท่ีเรา
เรียกว่า “เมืองในสมัยทวาราวดี” ลักษณะเป็นเมืองท่ีมีคูน้าและคันดินล้อมรอบมีลักษณะทรงกลม
คล้ายเมืองโบราณในประเทศอังกฤษและประเทศจีน เม่ือประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว มีหลักฐานการต้ัง
ถิ่นฐานของมนุษย์ในแถบอีสานใต้ลุ่มน้ามูลและลุ่มน้าชี จากการสารวจของรองศาสตราจารย์ ศรีศักดิ์
วลั ลโภดม และของ ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ทวิ า ศภุ จรรยาและคณะ ปรากฏว่ามชี ุมชนโบราณที่มีลักษณะมี
คูนา้ คันดินลอ้ มรอบในแถบลุ่ม มูลและลุ่มน้าชีถึงจานวน 67/1 แห่ง จากจานวนชุมชนที่มีคูน้าคันดินท้ัง
ภาคอสี านกว่า 700 แห่ง ความหนาแนน่ ของชมุ ชนอย่ใู นเขตทงุ่ กุลารอ้ งให้และเขตติดต่อระหว่างจังหวัด
บรุ รี ัมย์และจงั หวดั นครราชสมี า

ลักษณะที่มาของคูน้าคันดินแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ แบบสี่เหล่ียมและ
แบบทรงกลม จากหลักฐานแบบสี่เหล่ียมเกิดขึ้นในยุคที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เกิดขึ้นต้ังแต่ราวพุทธ
ศตวรรษท่ี 7 สาหรับแบบทรงกลมได้รับอิทธิพลจากเพ่ือนบ้านท่ีมีอารยธรรมสูงกว่า และมีความมั่นคง
ทางการเมือง เกิดข้ึนราว 3,000 – 5,000 ปีมาแล้ว ก่อนสมัยทวาราวดีของอินเดีย ผศ. ทิวา ศุภจรรยา
ให้ความเห็นว่า การสร้างคูน้าคันดินรอบชุมชนนี้น่าจะเกิดข้ึนเองเป็นคร้ังแรกในแถบลุ่มแม่น้ามูลและ
ลุ่มแมน่ า้ ชี และใกลเ้ คยี งแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช

ชุมชนโบราณทต่ี ง้ั ในอสี านใตใ้ นเขตจงั หวัดบุรีรัมย์มีกลมุ่ ชุมชนอยูด่ ังนี้
- กลมุ่ พนมร้งุ ประกอบไปด้วยชมุ ชนทีเ่ ปน็ บรวิ ารจานวน 18 ชมุ ชน
- กลมุ่ เมอื งฝา้ ย ประกอบไปดว้ ยชมุ ชนที่เปน็ บรวิ ารจานวน 15 ชมุ ชน
- กลมุ่ สะแกโพรง ประกอบไปดว้ ยชุมชนท่ีเป็นบริวารจานวน 12 ชมุ ชนซึง่ ในนรี้ วมทง้ั เมืองดู่ เมืองฝาง
- กลมุ่ เมอื งแปะ ประกอบไปดว้ ยชมุ ชนทเ่ี ป็นบริวารจานวน 6 ชมุ ชนมีเมืองแปะ(บุรีรมั ย์)เป็นศูนยก์ ลาง
- กลมุ่ หนองเอีน (ตาบลหนองกระทงิ เขตอาเภอลาปลายมาศ) ประกอบไปด้วยชมุ ชนทีเ่ ป็นบรวิ าร
จานวน 8 ชมุ ชนซง่ึ ในนี้รวมทัง้ เมืองผไทรนิ ทรด์ ว้ ย
- กลมุ่ ทะเมนชัย ประกอบไปดว้ ยชุมชนที่เป็นบริวารจานวน 4 ชุมชนศนู ย์กลางอยู่ท่บี ้านเก่าทะเมนชัย
- กลมุ่ บา้ นสนวน (อาเภอลาปลายมาศ) ประกอบไปดว้ ยชุมชนที่เปน็ บริวารจานวน 6 ชุมชน
- กลมุ่ บ้านพระครู ประกอบไปด้วยชุมชนทีเ่ ปน็ บรวิ ารจานวน 3 ชุมชนมีพระครูใหญเ่ ปน็ ศูนย์กลางหลกั
- กลมุ่ บา้ นตะโคง อาเภอบ้านดา่ น ประกอบไปด้วยชมุ ชนท่เี ปน็ บรวิ ารจานวน 5 ชมุ ชน และตง้ั ตามรมิ
ลานา้ ห้วยราช

19

- กลุ่มเมืองไผ่ อาเภอกระสัง ประกอบไปด้วยชุมชนท่ีเป็นบริวารจานวน 4 ชุมชน ต้ังตามลาห้วยไผ่
และหว้ ยเนอะเตียบ
- กลมุ่ โนนเมือง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจานวน 6 ชุมชน กลุ่มน้ีมีลักษณะพิเศษ นอกจาก
มคี นู ้าคันดนิ รอบเมืองแลว้ ยงั มีคนั ดินรอบเมืองอีกหลายกโิ ลเมตร ชาวบ้านเรียกวา่ คูเมอื ง
- กลุ่มร่อนทอง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจานวน 5 ชุมชน เมืองร่อนทองมีสระน้าส่ีเหลี่ยม
และทานบกนั้ น้ายาวมาก
- กลมุ่ ทงุ่ วัง ประกอบไปด้วยชมุ ชนทเ่ี ปน็ บรวิ ารจานวน 5 ชุมชนอยู่ฝั่งน้ามูล
- กลุ่มแคนดง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจานวน 16 ชุมชน อยู่ฝั่งน้ามูลและมีท่าเรือเป็น
แหลง่ เคร่อื งป้ันดินเผา
- กลุ่มปะเคียบ ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจานวน 5 ชุมชน มีหลักฐานอารยธรรมทวาราวดี
หนาแน่น เช่นใบเสมา และเคร่ืองปั้นดินเผา พระพุทธรูปสมัยทวาราวดีริมมูลบ้านวังปลัด จานวน
3 องค์ ซ่ึงเกบ็ ไวท้ ีพ่ ิพิธภัณฑก์ รุงเทพมหานคร
- กลุ่มพุทไธสง ประกอบไปด้วยชุมชนท่ีเป็นบริวารจานวน 15 ชุมชน มีเมืองพุทไธสงเป็นเมืองหลัก
ยังมสี ถานท่ีหลงเหลือคอื คเู มอื งซ่งึ เปน็ คนู ้าคันดนิ สมบรู ณ์ เมอื งน้เี ข้าใจวา่ มีคนอยู่อาศัยต่อเนื่องไม่ขาด
ตอน มีพระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ สมัยทวาราวดี และมีชุมชนย่านเดียวกัน ประกอบไปด้วย เมืองน้อย
(อาเภอนาโพธิ์) เมืองขม้ิน(บ้านคูณ) กู่สวนแตง (อาเภอบ้านใหม่ไชยพจน์) บ้านจอก (อาเภอนาโพธ์ิ)
ดอนเมอื งแร้ง (ตาบลบ้านจาน) บ้านจิก บ้านเมอื งนอ้ ย (ตาบลบ้านแวง) บ้านแดงน้อย (ตาบลพุทไธสง)
บ้านเบาใหญ่ บ้านโนนสมบูรณ์ (ตาบลหายโศก) กู่ฤๅษี (อาเภอบ้านใหม่ไชยพจน์) เมืองยาง (อาเภอ
เมืองยาง) บ้านยาง (ตาบลบ้านยาง) หนองสระ บ้านหนองแวง (อาเภอบ้านใหม่ไชยพจน์) บ้านดู่
(อาเภอนาโพธิ์) รูปวาดฝาผนังโบสถ์ วัดบรมคงคา (ตาบลบา้ นแวง) โบสถ์วัดมณีจันทร์ (ตาบลมะเฟือง)
- กลุ่มเมืองตลุง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจานวน 15 ชุมชน มีเมืองตลุงเป็นศูนย์กลาง
เป็นเมอื งของคนเขมร

ศาสนาฮินดู(พราหมณ์)ในยุคอารยธรรมขอมรุ่งเรือง ขอมได้เข้ามาครอบครอง
เมอื งไทยต้ังแตเ่ ขมรถึงเมืองสโุ ขทยั พุทไธสงเป็นเมอื งหนา้ ดา่ นของขอม ก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มา
ขับไล่ขอมแลว้ ตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ยุคน้ีจะเป็นยุคท่ีขอมนาคนไทยสร้างเมืองโดยการขุดคูคลอง
ล้อมรอบจุดท่ีต้ังเมือง และเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานในช่วงอารยธรรมขอมนี้ ซ่ึงจะเห็นจากหลักฐาน
การสร้างปราสาทหินในดินแดนไทย การขุดคูเมืองเป็นคลองล้อมรอบเมืองเป็น 2 ชั้น ตามหลักฐาน
ทางโบราณสถานท่ีพอจะดูได้คือ กู่สวนแตงที่ตาบลกู่สวนแตง กุฏิฤๅษีที่บ้านกู่ฤๅษี บ้านส้มปุอยในเขต
อาเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ปราสาทหินเปือยน้อย อาเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น พระธาตุบ้าน
ตามสายน้าลาพังชูเป็นการก่อสร้างโดยใช้หินตัดแบบเดียวกับปราสาทหินเมืองต่า ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเขาสามยอดลพบุรี หลังจากพระมหากษัตริย์ไทยต้ังเมืองสุโขทัยสาเร็จ
สมัยพ่อขุนรามคาแหงได้ขยายอาณาเขตสุโขทัยออกไป เมืองพุทไธสงได้ถูกทาลายท้ิงไป พุทไธสงจึง
เป็นเมืองร้างไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่ชุมชนคนไทยคงรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนรอบๆ ตัวเมืองเดิม และ
ตอ่ มามีผคู้ นอพยพมาอยูร่ วมกนั มากขน้ึ

20

ปรางค์กสู่ วนแตง ตงั้ อย่ทู ก่ี ลางบ้านดงยาง ตาบลกู่สวนแตง อาเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
จงั หวัดบรุ ีรัมย์ เป็นปรางคอ์ ิฐเรียงกนั ตามแนวเหนือใต้ จานวน 2 หลัง บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ขนาด
31.76 -/- 25.40 เมตร หนั หน้าไปทางทศิ ตะวนั ออก ปรางคอ์ งค์กลางเป็นปรางค์ประธานและเป็นองค์
เดียวทมี่ ีมุขยน่ื ออกมา ทางด้านหน้ารับเสากรอบประตูซ่งึ เปน็ หนิ ปรางค์ท้ังสามองค์มีประตูเข้า – ออก
ทางด้านทิศตะวันออกส่วนอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก มีสระน้าโบราณเป็นรูปส่ีเหล่ียม ขนาด 42 -/-
32 เมตร ล้อมรอบด้วยคันดิน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามบันทึกของนายเอเดียน เอ็ดมองค์
ลูเนต์เดอ ลาจอง กิแยร์ นักวิชาการชาวฝร่ังเศส ซึ่งมาศึกษาศาสนสถานแห่งน้ีเมื่อปี พ.ศ. 2450 ว่า
จากสถาปตั ยกรรมและศิลปกรรม แสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพล ศิลปกรรมจากสมัยนครวัดนครธมของ
กัมพูชาซึ่งมีอายุระหว่าง พ.ศ. 1642 –1718 เปน็ เทวาลัยในศาสนาฮินดู

เมืองพุทไธสง เป็นถิ่นท่ีอยู่ของคนไทยอีสานท่ีมาอยู่รวมกันในแถบลุ่มน้ามูล
เป็นดินแดนท่ีมีแม่น้าล้อมรอบท้ัง 4 ด้าน ทิศเหนือและทิศตะวันออกมีลาพังชู ที่ไหลจากอาเภอเปือย
น้อย จังหวัดขอนแก่นลงสู่แม่น้ามูลท่ีตาบลบ้านยาง ทิศใต้มีแม่น้ามูล และลาสะแทดที่ไหลมาจาก
อาเภอคง นครราชสีมา ลงสู่แม่น้ามูลที่ตาบลบ้านจาน ทิศตะวันตกมีลาแอกไหลมาจากอาเภอหนอง
สองห้องจังหวัดขอนแก่นและอาเภอสีดา นครราชสีมา ไหลลงลาสะแทดที่ตาบลหนองเยือง จะเห็นว่า
ถิ่นที่อยู่ของคนในจังหวัดบุรีรัมย์ มีอยู่ 3 เมืองใหญ่ๆ ในสมัยเก่าช่วงเดียวกันคือ คนเขมรจะรวมกลุ่ม
กันอยู่เมอื งตลงุ (ประโคนชยั ) คนไทยโคราชจะรวมกลุ่มกันอยู่ที่เมืองนางรอง คนไทยอีสานรวมกลุ่มกัน
อยทู่ ่ีเมืองพุทไธสง ซง่ึ แสดงวา่ มเี มืองอยู่เดมิ แล้วในบรเิ วณที่กล่าวถงึ น้ี

ตามท่ีนักโบราณคดีสานักศิลปากรท่ี 12 อาเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
สนั นษิ ฐานว่าเมอื งพุทไธสงสร้างมา 3,000 ปีแล้ว จากการค้นพบเศษกระเบื้องและพระพุทธรูปท่ีลาน้า
มูลที่บ้านวังปลัด ใบเสมาที่บ้านปะเคียบ พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ท่ีบ้านศีรษะแรด เมืองพุทไธสง
มีพระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ บ้านศีรษะแรด เป็นพระพุทธรูปประจาคู่เมืองพุทไธสง สร้างในช่วงราวปี
พ.ศ. 1500 เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี เป็นที่เคารพ ของผู้คนท่ัวไปมาต้ังแต่โบราณ สร้างด้วยมวล
สารและยางบง ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 1.6 เมตร สูง 2 เมตร จะมีงานนมัสการปิดทองพระเจ้า
ใหญป่ ระจาทกุ ปีในช่วงวนั เพ็ญเดือนสาม นอกจากนี้ยังมีหลักฐานพระพุทธรูปในสมัยเดียวกันในท้องท่ี
อาเภอข้างเคียง เช่น พระพุทธรูปในลาน้ามูล บ้านวังปลัด ใบเสมาบ้านปะเคียบ เขตอาเภอคูเมืองใน
ปัจจุบัน องค์พระเจ้าใหญ่เป็นศิลปะการก่อสร้างท่ีแตกต่างไปจากขอม กล่าวคือเป็นศิลปะทาง
พระพุทธศาสนาโดยสันนิษฐานว่าคงสร้างตามอิทธิพลของอารยธรรมลาว(ล้านช้าง)ในถิ่นนี้ และยังมี
พระธาตุ 1 องค์ต้ังอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวิหารพระเจ้าใหญ่ ส่วนสูงของพระธาตุ 12 เมตร
ฐานกวา้ ง 6 เมตร ก่อด้วยอิฐแดงไม่ฉาบปูนคงจะเป็นรุ่นเดียวกันกับพระธาตุพระพนมฝีมือลาวในสมัย
ทวารวดี ปจั จบุ นั ได้สร้างพระธาตุใหม่ครอบไว้

21

ในชว่ งยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พุทไธสงเป็นเมืองหน้า
ด่านของกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านสาคัญมาก เป็นกันชนให้ท้ังสามอาณาจักร ไทย ลาว เขมร
พร้อมกับเมืองสาคัญที่เป็นเมืองหน้าด่านทางภาคอีสานซ่ึงประกอบไปด้วย ด่านจอหอ เมืองพิมาย
ในจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน เมืองพุทไธสง เมืองนางรอง เมืองตลุง(ประโคนชัย) ในจังหวัดบุรีรัมย์
ในปัจจุบัน เมอื งกณั ทราลักษณ์ จังหวัดศีรษะเกษ เมืองกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองเหล่าน้ีเดิม
เป็นเมืองใหญ่มีประชากรมากมีเจ้าเมืองปกครอง สามารถเกณฑ์ทหารไปสู้รบ หรือปูองกันตนเอง
เป็นหน้าดา่ นปูองกนั ศัตรทู ี่จะเข้าเมืองหลวง และต้งั มาต้งั แตส่ มยั สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณ
ปี พ.ศ. 1895 (คลงั ปัญญาไทย กรุงศรีอยธุ ยาตอนตน้ จัดการปกครองแบบกรงุ สโุ ขทัย แบ่งเมืองหน้าด่าน
ออกเปน็ 8 ทศิ เรียกว่า เมอื งปอู มปราการ และมีหัวเมืองช้ันนอกช้ันใน เมืองพระยามหานคร และเมือง
ประเทศราช)

ในช่วงยุคใหม่ พุทไธสงต้ังเมืองข้ึนในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยาจักรี(สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟูา
จฬุ าโลกในเวลาตอ่ มา) ทรงยกทัพไปปราบเมอื งจันทบุรศี รีสัตนาคณหุต (เวียงจันทน์) ท่ีแข็งเมือง ราวปี
พ.ศ. 2318 ได้นาชายไทยจากเมืองพุทไธสงและหมู่บ้านรอบๆ ตัวเมืองไปเป็นไพร่พลรบด้วย และใน
จานวนนม้ี ีทา้ วเพียศรปี าก (นา) เพยี เหล็กสะท้านผูม้ หี น้าทจ่ี ัดทาอาวุธ เพียไกรสอนผู้มีหน้าท่ีเกณฑ์ไพร่
พลทหารและทหารรวม 200 คนไปด้วย เพียศรีปากได้ทาการสู้รบด้วยความองอาจกล้าหาญ
มีความสามารถ จนกองทัพไทยทาการสาเร็จได้รับชัยชนะกลับกรุงธนบุรี และได้กวาดต้อนผู้คนกลับมา
เมืองไทยเป็นจานวนมากช่วงกลับได้เดินทัพผ่าน หนองคาย นครพนม กาฬสินธ์ุ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม
พุทไธสง และได้พักแรมที่หนองแสนโคตร ใกล้บ้านมะเฟือง และได้สารวจตัวเมืองเก่า เพ่ือตั้งเมืองใหม่
เห็นว่าเมืองเก่าถูกละท้ิงมานานเป็นปุารกยากแก่การบูรณะ จึงให้สร้างเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านโนนหมาก
เฟืองและบ้านหัวแฮด เจ้าพระยาจักรี ทรงโปรดให้แต่งต้ัง ท้าวเพียศรีปาก (นา) เป็นพระเสนาสงคราม
เปน็ เจา้ เมอื งพทุ ไธสงคนแรก โดยพุทไธสงได้แบ่งแยกพื้นที่จากเขตแดนเมืองสุวรรณภูมิ(เมืองท่ง) ท่ีด้าน
ทิศตะวันตกห้วยลาพังชูไปถึงลาสะแทด ลาแอกเป็นเขตเมืองพุทไธสงด้านทิศ ตะวันออกเป็นฝ่ังเมือง
สุวรรณภูมิ โดยให้ข้ึนกับเจ้าพระยาเมืองนครราชสีมา (ประชุมพงศาวดาร ภาค 4 เร่ืองพงศาวดารหัว
เมืองมณฑลอีสาน ของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรในพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ)
พระเสนาสงคราม เดิมช่ือ เพี้ยศรีปาก (นา) เป็นคนไทยลาวอีสาน เกิดท่ีนครจาปาศักด์ิ ตรงกับสมัย
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราว พ.ศ. 2289 อพยพมาต้ังหลักแหล่งในเขต
จังหวัดมหาสารคาม แขวงสุวรรณภูมิ ได้นาพรรคพวกมาล่าสัตว์ในเขตพุทไธสง ลุ่มน้าลาพังซู ได้มาพบ
พระพุทธรูปใหญ่ในปุาข้างหนองน้า เห็นว่าเป็นทาเลที่เหมาะดี ได้นาญาติและพวกๆ มาตั้งรกรากอยู่
บ้านศรี ษะแรด (พบหวั แรดในหนองนา้ ) ท้าวเพยี ศรีปาก นา)

22

สมยั เปน็ เจา้ เมือง เรยี กว่า อุปฮาดราชวงศ์
พระเสนาสงคราม ต้องสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นภารกิจที่ใหญ่หลวง

และงานหนักมาก นอกจากภารกิจในชุมชนเมืองพุทไธสงแล้วยังมีภารกิจร่วมปกปูองชาติบ้านเมืองอยู่
หลายคร้ัง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2121 เม่ือคราวกบฏเจ้าอิน เจ้าโอ ท่ีเมืองนางรอง และเมื่อเมืองนครจาปา
ศักดิ์คิดแข็งเมืองฝักใฝุฝุายญวน ทางเมืองหลวงได้มีตราสาร มายังพระเสนาสงคราม ให้ยกกองกาลัง
ไป-ปราบกบฏร่วมกับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระเสนาสงคราม และท้าวหน่อพุทธางกูล
หลวงเวียงพทุ ไธสงบุตรชายของพระเสนาสงคราม ก็ได้ปฏิบัติภารกิจนี้จนสาเร็จ อย่างมิย่นย่อ ผลจาก
การปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่เกิดผลสาเร็จด้วยดี ของพระเสนาสงครามอันเป็นที่ประจักษ์ต่อเบื้องยุคล
บาท คร้ันในปี พ.ศ. 2321 ได้รับทรงแต่งตั้งโดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯให้เป็นพระยา
เสนาสงคราม เป็นเจ้าเมืองพุทไธสง คนแรก พระยาเสนาสงครามได้ปกครองเมืองพุทไธสงตั้งแต่
พ.ศ. 2318 ถึง พ.ศ. 2370 เป็นเวลา 52 ปี อายุรวม 81 ปี ดังปรากฏในประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 40
ภาค 65 –) พระเสนาสงคราม มบี ุตร 2 คนคือ

1. ท้าวหน่อพุทธางกูล หลวงเวียงพุทไธสง หรือพระนครภักดี ได้เล่ือนเป็นพระยา
นครภักดี ได้มีความชอบครั้งไปร่วมรบท่ีจาปาศักด์ิ กลับมาได้รับการแต่งต้ังให้เป็น เจ้าเมืองแปะ
(บรุ รี มั ย์) คนแรก

2. ท้าวนา เป็นพระเสนาสงครามท่ี 2 เป็นเจ้าเมืองพุทไธสงคนที่ 2 ต่อจากพระยา
เสนาสงคราม ผู้เป็นบดิ า เมื่อ พ.ศ. 2370 ไดป้ กครองเมอื งพุทไธสงถึง พ.ศ. 2407 เป็นเวลา 37 ปี อายุ
รวม 82 ปี

ในยุคการสรา้ งบา้ นแปลงเมืองอยา่ งยิง่ ใหญ่
1. ให้เจ้าเมืองเข้าไปเมืองหลวงเพ่ือศึกษาอบรม (ข้อมูลจาก นายประวัติ วิศิษฎ์ศิลป์

ลาดบั หลานพระเสนาสงครามคนสดุ ทา้ ยผใู้ หข้ อ้ มูล) ให้รู้จักจารีตประเพณี เจ้าเมือง ได้รับสมุดข่อยปก
สขี าว มาเป็นพระธรรมนูญการปกครอง สมดุ ข่อยปกสดี ามาเป็นกฎหมายแพง่

2. ได้รับมอบดาบอาญาสิทธิ์ฝังเพชรในฐานะเจ้าเมือง 1 เล่ม มีสิทธิปกครองโดย
เด็ดขาด ไม่ตอ้ งขอพระบรมราชานุญาตจากพระเจา้ อยู่หวั

3. ได้ขุดสระน้าขนาดใหญ่ท้ายโนนมะเฟืองด้านทิศเหนือ สาหรับเก็บน้าไว้ใช้มีชื่อว่า
หนองสรวง

4. ขุดดินลอกจากสระน้ามาถมท่ีดินที่เป็นทุ่งนาข้างสระมาสร้างท่ีว่าการเจ้าเมือง
ในเขตบ้านมะเฟืองในปัจจบุ ัน

5. สรา้ งวงั (โฮง) สาหรบั เจ้าเมือง 1 หลัง ใช้เสาไม้พันชาดซ่ึงเป็นไม้ทนทาน (ไม้ชนิด
หน่ึงที่เกิดในถิ่นมีเนื้อไม้แข็งใบสีเขียวหม่นลาต้นสีเทาออกไปดามีเปลือกหนาถ้านาไปทาถ่านจะให้
พลงั งานความรอ้ นสงู มาก)

6. สร้างเรือนพักทาสจานวน 4 หลัง มอบให้ 4 ครอบครัว คอยรับใช้พร้อมนางสนม
กานนั บางส่วน

23

7. สร้างโรงกลนั่ สุรา และเรือนจา
8. จดั ตัง้ กรมการเมอื งประกอบด้วยจตุสดมภ์ 4 ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา โดย
แต่งต้ังคณะกรมการเมืองจากบุคคลสาคัญของเวียงจันทน์ คือ หลวงแพ่ง หลวงปราบ หลวง
สิทธิ หลวงพรหม ทา้ วคาสงิ ห์ หลวงสมบัติ หมนื่ หาญ ขนุ ไชย ฯลฯ
9. เม่ือถึงครบขวบปีต้องส่งเคร่ืองบรรณาการและเงิน 80 ชั่ง ไปบรรณาการ
ตอ่ พระเจ้าแผ่นดินท่เี มอื งหลวง
เมืองพุทไธสง มีเจ้าเมืองผู้ปกครองต่อมาคือ พระเสนาสงครามที่ 2 (ท้าวนา
บุตรพระยาเสนาสงครามคนท่ี 2) ปกครองเมืองพุทไธสงคนที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2107 เป็น
เวลานาน 37 ปี และพระเสนาสงครามที่ 3 (บุตรพระเสนาสงครามท่ี 2) ปกครองเมืองพุทไธ
สงลาดับที่ 3 ต้ังแต่พ.ศ. 2407 ได้สิ้นสุดเม่ือปี พ.ศ. 2440 พระเสนาสงครามที่ 3 ปกครอง
เมืองพทุ ไธสงนาน 33 ปี

พทุ ไธสงยคุ เข้าสยู่ คุ การปกครองแบบปัจจุบนั
ในชว่ งการปกครองต่อจากเมอื งพทุ ไธสง ซึง่ สยามประเทศสมัยกรุงธนบุรีได้มีการจัดตั้ง

การปกครองต่อจากกรงุ ศรีอยธุ ยาแบบจตุสดมภท์ ่มี ี เวยี ง วัง คลัง นา(คลังปัญญาไทย การปกครองที่สืบ
ตอ่ มาจากสมัยกรงุ ศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑ ช่วงอยุธยา ตอนกลางเป็นผู้
ก่อต้ังและตอ่ มามกี ารเปล่ียนแปลงเลก็ น้อยในสมยั สมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน ยุคการเร่ิมต้นค้าขาย
และความสัมพนั ธ์กับต่างประเทศ) โดยแยกการทหารออกจากพลเรือน งานจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา
ให้ถือเป็นฝุายพลเรือน โดยให้มีสมุหนายกเป็นผู้ปกครองและตรวจการณ์หัวเมืองฝุายเหนือปกครองทั้ง
ทหารและพลเรือน สมุหกลาโหมเป็นผูป้ กครองและตรวจการณ์หัวเมืองฝุายใต้ปกครองท้ังทหารและพล
เรือน ในปี พ.ศ. 2417 ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์
จักรี ยุคกรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ได้แบ่งหัวเมืองใหม่ออกเป็น 3 ประเภท คือ
หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองช้ันกลาง หัวเมืองช้ันนอก และได้จัดให้มีการปกครองแบบเดิม ต่อมาเม่ือวันท่ี
1 เมษายน พ.ศ. 2435 ให้ยกเลิกการปกครองแบบเดิมและจัดการปกครองแบใหม่ให้มีการประกาศ
จัดต้ังกระทรวงใหม่ข้ึน 12 กระทรวง โดยจัดสรรอานาจให้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม
กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงการ ต่างประเทศ กระทรวง เกษตราธิการ กระทรวงการคลัง
กระทรวงยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงธรรมการ ฯลฯ บรรดาหวั เมอื งฝุายเหนอื ฝาุ ยใต้ ให้อยู่
ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยทั้งหมด(การปรับปรุงการปกครองเข้าสู่สมัยใหม่เพื่อให้พ้นภัย
คุกคามของยุคล่าอาณานิคม) การปกครองหัวเมืองอยู่ในอานาจของกระทรวงมหาดไทยเป็นการรวม
ศูนย์อานาจสู่ส่วนกลางได้เกิดมีปัญหาข้อบกพร่องหลายประการ สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ให้ปรึกษา ในท่ีสุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดาริให้
จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลข้ึน และให้มีการจัดต้งั มณฑลตา่ งๆ ขึน้ และปรับปรงุ เพ่มิ เติม

24

มาเร่ือยๆ รวม 10 มณฑลประกอบไปด้วย มณฑลมหาราษฎร์ มณฑลพิษณุโลก มณฑลนครสวรรค์
มณฑลเพชรบรู ณ์ มณฑลนครราชสีมา มณฑลรอ้ ยเอ็ด มณฑลอุบล มณฑลอุดร มณฑลชุมพร มณฑล
ภูเก็ต (มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอด็ เดิมช่ือมลทณฑลลาวเหนือ มณฑลนครราชสีมาเดิมช่ือ มณฑล
ลาวกลาง ไดเ้ ปล่ียนช่อื มาใหม่ด้วยเหตุผลความมั่นคงทางการปกครอง

เมืองพทุ ไธสง ได้ข้ึนการปกครองตรงต่อเทศาภิบาลเมืองแปะหรือบุรีรัมย์ในปัจจุบัน
เมืองแปะขึ้นตรงต่อมลฑลนครราชสีมา (มณฑลถูกยกเลิกเมื่อ ปี พ.ศ. 2475 ช่วงคณะราษฎร์ยึด
อานาจการปกครอง) พระรังสรรค์สารกิจ (เล่ือน) ข้าหลวงประจาจังหวัดบุรีรัมย์ (พ.ศ. 2441 –
2444) ไดใ้ ห้สรา้ งเมืองพุทไธสงขึ้นใหม่ทีบ่ รเิ วณที่ดนิ ในคเู มอื งในเขตเทศบาลตาบลพุทไธสงในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2442 ซ่ึงเดิมน้ันเป็นปุารกทึบมีสัตว์ปุา มีภูมิแข็ง มีไก่ปุา นกกระทา ชาวบ้านจะแตะต้อง
ไมไ่ ดถ้ ้ามีใครแตะต้องจะต้องเป็นไข้ตาย ลงทอ้ งตาย อาศัยพระราชอานาจของพระเจ้าแผ่นดินเบิกปุา
จึงสามารถผ่าเหตุการณ์ไปได้สะดวกและสามารถสร้างเมืองใหม่ได้สาเร็จ ในเวลาต่อมาได้สร้างท่ีว่า
การอาเภอพุทไธสง บ้านพักนายอาเภอ บ้านพกั ปลดั อาเภอ บา้ นพกั ขา้ ราชการ และพ่อค้า ประชาชน
ได้จับจองพ้ืนท่ีเป็นท่ีอยู่อาศัย ทางราชการได้แต่งต้ังให้หลวงเจริญทิพยผลเป็นนายอาเภอปกครอง
พุทไธสงคนแรก ข้ึนกบั เมืองบรุ ีรัมย์ เมืองพทุ ไธสงแตแ่ รกเร่มิ จงึ เป็นอาเภอพทุ ไธสงตัง้ แต่น้นั มา

25

บทที่ 3
ประวัตคิ วามเป็นมาบา้ นศรี ษะแรดและประวตั พิ ระเจา้ ใหญ่วัดหงส์

ประวัตคิ วามเป็นมาบ้านศรี ษะแรด ตาบลมะเฟอื ง อาเภอพุทไธสง จงั หวัดบุรรี มั ย์
พระนอแรดเปน็ พระพุทธรูปบูชาศิลปะลาว ปางนาคปรก (หัวเดียว) แกะสลักจาก

นอแรด พุทธลักษณะสวยงามมาก แสดงถึงฝีมือช่างชั้นโลก หน้าตัก 5 นิ้ว สูง 7 น้ิว รอบฐาน
14 นิ้ว ฐานลึก 3.5 น้ิว น้าหนัก 400 กรัม ตามตานานเล่าสืบกันมาว่า ท้าวศรีปากแดง(นา)
และไพร่พลได้ตามแรดใหญ่ตัวหนึ่งมาจากเมืองลาว หวังที่จะเอานอ ติดตามมาวันแล้ววันเล่า
เดือนแลว้ เดอื นเลา่ ปแี ล้วปเี ล่า ยงั ไมส่ ามารถท่จี ะฆ่าแรดตัวน้ีตัดเอานอไปได้ วันหน่ึงได้พบแรดตัวน้ี
นอนตายอยู่หนองน้าเล็กๆแห่งหนึ่ง จึงตัดเอานอ แล้วปล่อยซากแรดท่ีตายไว้หนองน้าแห่งน้ัน
และพาไพร่พลหวังกลับบ้านเมือง ระหว่างทางได้พบพระพุทธรูปโบราณ (พระเจ้าใหญ่) เกิดความ
เล่ือมใสศรัทธา จึงพาไพร่พลต้ังรกรากอยู่ ณ ที่นี้ และนานอแรดมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปบูชา
ปางนาคปรก (พระพุทธรูปปางนาคปรกทาให้ร่มเย็น) ถวายเป็นพระพุทธรูปคู่บุญบารมีขององค์พระ
เจา้ ใหญ่ตัง้ แต่บดั นั้นสืบมา

การค้นพบซากแรด
เวลาผ่านไปช้านาน หนองน้าเล็กๆท่ีแรดใหญ่นอนตายอยู่น้ันได้ต้ืนเขินดินทับถมกัน

และชาวบา้ นตงั้ บา้ นเรือนกระจายอยู่ท่ัวบริเวณ สืบมาที่ครอบครัวหนึ่งที่ปลูกบ้านอยู่บริเวณหนองน้า
แห่งน้ีเกิดเหตุการณ์ร้อนรนไม่สามารถท่ีจะหลับนอนตอนกลางคืนได้เป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน
จึงนาเรื่องราวไปปรึกษาหลวงพ่อทา ซึ่งเป็นพระภิกษุมีวิชาแก่กล้าของวัดหงษ์ บ้านศีรษะแรด
หลวงพอ่ นัง่ สมาธิว่ามซี ากสัตวอ์ ย่ใู ตถ้ ุนบา้ น จงึ ทาใหเ้ กิดเหตกุ ารณ์เช่นน้ี และได้ทาการขุดดูก็พบว่ามี
ซากสัตว์จริงๆ น่ันก็คือซากแรดใหญ่ ตามตานานพระนอแรดน่ันเอง ซ่ึงเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า
ตานานท่ีเลา่ สืบกันมานั้น คือประวัตศิ าสตร์ของชาวบา้ นศรี ษะแรดนนั่ เอง

ปจั จบุ นั น้ี บ้านศีรษะแรดแบง่ การปกครองเปน็ 4 หมู่ คือ
หมูท่ ่ี 3 มีประชากร 656 คน จานวนครวั เรือน 214 ครัวเรอื น
หม่ทู ี่ 10 มปี ระชากร 399 คน จานวนครวั เรือน 152 ครัวเรอื น
หมู่ท่ี 11 มปี ระชากร 360 คน จานวนครัวเรอื น 180 ครวั เรอื น
หมทู่ ี่ 12 มีประชากร 465 คน จานวนครัวเรอื น 137 ครวั เรอื น

26

ด้านเศรษฐกิจ
1. อาชพี หลัก ไดแ้ ก่ เกษตรกรรม
2. อาชพี เสรมิ ไดแ้ ก่ รับจ้างทั่วไปและทอผา้

ประวัตพิ ระเจา้ ใหญ่วัดหงษ์
พระเทวฤทธิ์อินทรวรกร หรือ พระเจ้าใหญ่ ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดหงษ์

บ้านศีรษะแรด ตาบลมะเฟือง อาเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับ
เมืองพุทไธสง ราวปี พ.ศ. 2200 อายุประมาณ 300 ปีเศษ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมาร
วิชัย เป็นเอกลกั ษณ์องคเ์ ดียวในประเทศไทยทใ่ี ช้ผงหรือว่านในการสร้าง ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นยุค
โบราณท่มี ีการผสานผงใหม้ ีความแขง็ แกร่งทนทาน และเป็นพระพุทธรูปศักด์ิสิทธิ์องค์เดียวที่สามารถ
ปิดทององคจ์ รงิ ได้ นอกจากนี้ ยังพบพระพิมพ์รูปใบขนุน "รวมปาง" สาริด และพระพุทธรูปแกะสลัก
จากนอแรดทใ่ี ต้ฐานพระเจา้ ใหญอ่ ีกด้วย พระเจา้ ใหญไ่ ดร้ บั การยอมรบั วา่ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธ์ิ
และประชาชนให้ความเลื่อมใสศรัทธา มีผู้คนมาพ่ึงบุญบารมีพระเจ้าใหญ่อย่างล้นหลาม นอกจากนี้
ชาวอาเภอพุทไธสงกาหนดใหม้ ีการจัดงานเฉลิมฉลอง และนมัสการปิดทองพระเจ้าใหญ่ในช่วงวันขึ้น
15 คา่ เดอื น 3 ของทกุ ปี (ซึ่งตรงกับวันมาฆบชู า)

ตานานพระเจา้ ใหญ่
ในสมัยน้ันเป็นพุทธศตวรรษที่ 8 (พ.ศ. 600-700) เม่ือประมาณพุทธศักราช 641

"พระเจ้าทศรถ" กษัตริย์เมืองเขมร มีพระมเหสีทรงพระนามว่า "อัปสรทอง" มีพระราชธิดา
2 พระองคท์ รงพระนามว่า "เจ้าหญิงทองแก้ว" และ "เจ้าหญิงทองใบ" เจ้าหญิงทั้งสองได้รับการเล้ียง
ดูจากพเี่ ล้ยี งหรอื แม่นม นามว่า "นางนวลจันทร์" ซึ่งเป็นธิดาของอามาตย์เบ้ืองขวาของพระเจ้าทศรถ
กษัตริย์เขมรนามว่า "หม่ืนทิพย์" กับ "นางบัวลอย" ผู้เป็นมารดาพระเจ้าทศรถกษัตริย์เขมรทรงดาริ
อยากจะสัมพันธไมตรีกับเจ้าเมืองลาว จึงส่งพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับ
เจ้าชายของเจ้าเมืองลาว ระหว่างเดินทางได้มาถึงยังบริเวณแห่งน้ี(บริเวณที่ต้ังวัดหงษ์ ในปัจจุบัน)
พระพ่ีเล้ียงหรือแม่นมได้ล้มปุวยลงอย่างกะทันหัน จึงสั่งพระราชธิดาทั้งสองว่าให้เดินทางไปให้ถึง
เมืองลาวและอภิเษกสมรสให้เป็นไปตามประสงค์ของพระเจ้าทศรถ ว่าแล้วก็ส้ินใจตายที่ข้างสระน้า
ด้วยพระชนมายุ 58 ปี หลังจากน้ันไม่นานได้มีพระญาคูใหญ่ธุดงคเจ้านามว่า "หลวงปูุลุน" ได้ธุดงค์
วตั รมาจากถ้าภูเขาควาย แห่งเมืองลาว เข้ามายังบริเวณแห่งนี้ (วัดหงษ์ในปัจจุบัน) การเดินธุดงค์มา
ของหลวงปุูลุน ได้เดินตามทางช้าง ทางแรดที่เดินมากินน้าบริเวณน้ีอยู่ประจา คือ ช้าง 11 เชือก
ลูกช้าง 3 เชือก แรดใหญ่ 3 ตัว ซ่ึงแรดท้ัง 3 ตัวนี้จะเดินตามช้างมาอย่างน้ีทุกๆวัน หลวงปูุลุนได้
สังเกตดลู กั ษณะ เป็นปาุ หนาทบึ ร่มร่นื โดยเฉพาะมีปุาไม้รังข้ึนอยู่เป็นจานวนมาก แต่น่าแปลกใจท่ีไม่
มีสัตว์ส่งเสียงหรือปรากฏให้เห็นแม้แต่ตัวเดียว น่าจะมีหนองน้า เดินสารวจดูก็ไม่มี พระญาคูเจ้า
ธุดงค์รอบๆ บริเวณนี้เป็นเวลา 5 วัน ไม่ได้ฉันน้าฉันอาหารเลย ขณะนั้นเกิดรู้สึกหิวน้า จึงสารวจอีก
คร้ัง ก็ไม่มีหนองน้า จึงตัดสินใจเด็ดใบหญ้าคาแถวนั้นมา 5 ใบ แล้วบริกรรมพระคาถา ใบหญ้าคาก็
ประสานกนั เปน็ หยดน้าใหพ้ ระญาคูได้ฉนั แลว้ ปกั กรดอยู่บรเิ วณห่าง

27

จากสระน้าประมาณ 20 วา แต่มองไม่เห็นสระน้า อาจเป็นเพราะรุขเทวดาบังตาเอาไว้ ทันใดนั้นได้
ปรากฏหญิงคนหนงึ่ ขนึ้ แต่งตวั เหมอื นคนมยี ศถาบรรดาศักด์ิ เวลาขณะนั้นประมาณ 5 โมงเย็น หญิงท่ี
ปรากฏกายข้ึนมานั้นคอื พระพเี่ ลย้ี งหรือแม่นมนวลจนั ทร์นัน่ เอง ได้เล่าความเป็นมาให้หลวงปูุลุนได้ฟัง
พร้อมกับเปดิ มนต์กาบังตาออกให้หลวงปุูลุนได้เห็นสระน้าได้ฉันน้าและสรงน้า แล้ววิญญาณของนางก็
หายไป ต่อมาเวลาประมาณตี 2 ก็มาปรากฏกายให้หลวงปุูลุนได้เห็นอีก หลวงปูุลุนคิดในใจว่า ได้
สนทนากับสีกานานเกินไปแล้ว อาจจะไม่เป็นผลดีต่อสมณเจ้า จึงถามว่า นางต้องการอะไร จะให้
ช่วยเหลืออะไร วิญญาณของแม่นมนวลจันทร์จึงขอร้องให้หลวงปุูลุนสร้างพระธาตุเจดีย์อยู่ตรงนี้ให้
ด้วย ขอให้สรา้ งให้จงได้ หลวงปุูลนุ รบั ปากแล้ววิญญาณของแม่นมนวลจันทร์ก็หายไป หลวงปุูลุนจึงได้
อธิษฐานจิตและถอดผ้าสังฆาฏิ วางตรงที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์ แล้วเอาก้อนหินทับไว้ จึงดาริในใจว่า
เราจะธุดงค์ต่อไปไม่ได้ เพราะผ้าไม่ครบ 3 ผืน จึงกลับถ้าภูเขาควาย โดยใช้พระคาถาย่นระยะทาง
หลวงปุูเดินเพียง 3 ก้าว ก็ถึงภูเขาควาย หลวงปูุลุนได้ชักชวนพระสงฆ์ ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธารวมกัน
เปน็ ผู้สรา้ ง กลบั มาสร้างพระธาตุเจดีย์ นายช่างผมู้ ีนา้ ใจประกอบด้วย

- นายคาพูล (เปน็ ชาวเขมร มอี าวุโสสูงสดุ และเปน็ หัวหนา้ ช่าง)
- นายพุธ
- นายบญุ ชู
- นายคาพอน (มีลกู สาวมาด้วยคือนางทองจันทร์)
- นางสนี อ้ ย (มลี ูกสาวมาดว้ ยคือนางสอน)
- นางเรอื น
- นางเรือน
- นางแพง (มีลูกสาวมาด้วยพร้อมหลานสาวอีก 3 คน ลูกคือ นางปน้ื หลาน คือ

นางพมิ นางพัดและนางที)
- นายคาโบง
- นายอนุ
- นายใส
- นายนาจ
- นายจา่ ง
- นายคาวงษ์
- นายสงฆ์
- นายคามลู
เม่ือดาเนินการสร้างพระธาตุเจดีย์เสร็จแล้ว โดยพระธาตุเจดีย์มีความสูงประมาณ
1 เมตร ลักษณะคล้ายสถูป(ขันคว่า) มีพระอริยสงฆ์ร่วมพุทธาภิเษกพระธาตุเจดีย์เพื่อเป็นสิริมงคล
และความศกั ดสิ์ ิทธิ์ 3 องค์ คอื
- หลวงปูลุ นุ จากภูเขาควาย เมอื งลาว
- หลวงปุูใหญ่ เทพ โลกอุดร หรือหลวงปเุู พชร จากเมืองศรีเทพ
- หลวงปบูุ ญุ หรือหลวงปุคู านอ้ ย จากเมอื งละโว้

28

เมื่อพุทธาภิเษกเสร็จสมบูรณ์ ได้ปรากฏหงส์ทองคา 2 ตัว ลงกินน้าอยู่สระน้าใกล้ๆ
กับพระธาตุเจดีย์ห่างไปเพียง 20 วา(หงส์ทองคา 2 ตัวน้ีจะมาลงกินน้าท่ีสระแห่งนี้ปีละคร้ัง ซึ่งบินมา
จากปุาหิมพานต์ หว้ งเวลาของปีทีห่ งสท์ องคา 2 ตวั มากินน้าท่ีสระแห่งน้ี จะไม่มีสัตว์อื่นๆตัวใดส่งเสียง
หรือปรากฏตัวเลย) จึงพร้อมใจกันต้ังชื่อพระธาตุเจดีย์ว่า "พระธาตุหงส์ทองคา" และตั้งช่ือสระน้าว่า
"สระหงส์" ปีท่ีสร้างพระธาตุเจดีย์หงส์ทองคาเสร็จสมบูรณ์ คือปี พ.ศ. 641 (พระธาตุหงส์ทองคานี้
บรรพบุรุษของเราได้สร้างพระธาตุครอบองค์เก่าถึง 3 คร้ังแล้ว)กาลเม่ือคร้ังสร้างพระธาตุเจดีย์เสร็จ
แล้ว คณะก็เดินทางกลับเมืองลาว กล่าวถึงธิดากษัตริย์เขมรทั้ง 2 พระองค์ คือ เจ้าหญิงทองแก้วและ
เจา้ หญงิ ทองใบ ก็ไดอ้ ภิเษกสมรสกับเจ้าชายเจ้าเมืองลาว (เมื่ออภิเษกสมรสแล้วชาวเมืองลาวเรียกเจ้า
หญงิ ท้ังสองว่า เจ้านางคาแก้วและเจ้านางคาใบ คาว่า "คา" ในภาษาลาวหมายถึง ทอง) ต่อมากษัตริย์
เจ้าเมืองลาว มีความประสงค์ที่จะสร้างพระพุทธรูป เพ่ือเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ระหว่าง
เมืองเขมรและเมืองลาว จึงได้ปรึกษาหลวงปุูลุน หลวงปุูลุนทราบว่าสถานที่ก่อสร้างพระธาตุเจดีย์น้ัน
เป็นสถานที่พระสารีบุตร อัครสาวกเบ้ืองขวาของพระพุทธองค์ เคยมานั่งปฏิบัติธรรมกรรมฐานโปรด
สัตว์ (พระสารีบุตรจะไปนั่งปฏิบัติกรรมฐานตามรอยของพระพุทธองค์ท่ีเคยผ่านไป ทุกหนทุกแห่งใน
โลกน้ี) จึงบอกให้กษัตริย์เจ้าเมืองลาวไปสร้างพระพุทธรูป ณ ท่ีแห่งนี้ (วัดหงษ์ในปัจจุบัน) กษัตริย์เจ้า
เมืองลาวจึงได้มอบหมายให้เจ้านาง ธิดากษัตริย์เขมรท้ัง 2 คือ เจ้านางคาแก้วและเจ้านางคาใบ
พร้อมบริวาร พลช้าง พลม้า ลูกหาบ พระสงฆ์ นาโดยหลวงปุูลุน โดยมีนายคาพูล (ช่างชาวเขมร
เป็นหัวหน้าเหมือนเดิม) เดินทางมาถึงบริเวณ บัดน้ันวิญญาณของแม่นมนวลจันทร์ ก็ปรากฏกายขึ้น
มาร่วมในการสร้างด้วย หลวงปูุลุนเลือกสถานท่ีจะสร้างพระพุทธรูปตรงที่พระสารีบุตรเคยนั่งปฏิบัติ
กรรมฐาน โดยห่างจากพระธาตุเจดีย์ประมาณ 3 วา ทางทิศอุดร เร่ิมวางฐานคร้ังแรกตรงกับวันขึ้น
1 คา่ เดอื น 3 ปี พ.ศ. 648 (พรรษาที่ 7 ของหลวงปูุลนุ หลังจากสร้างพระธาตุเจดีย์เสร็จ) แต่หยุดการ
ก่อสร้างไว้ก่อน กลับไปช่วยทางเมืองลาวสร้างวัด กลับมาเร่ิมการสร้างใหม่อีก เมื่อวันข้ึน 8 ค่า เดือน
5 สร้างไปเรื่อยจนเสร็จสมบูรณ์ เม่ือวันขึ้น 15 ค่า เดือน 3 ของปี พ.ศ. 649 (พรรษาท่ี 8 ของหลวงปูุ
ลุน หลังจากสร้างพระธาตุเจดีย์เสร็จ) เมื่อสร้างพระพุทธรูปเสร็จแล้ว มีพระอริยสงฆ์ร่วมพุทธาภิเษก
เพอ่ื เป็นมงคลและความศักด์ิสิทธ์ิ 5 องค์ ดงั นี้

- หลวงปูลุ นุ สธุ ีโร
- หลวงปใุู หญ่ เทพ โลกอุดร หรือหลวงปุูเพชร
- หลวงปุขู าวหรือหลวงปุคู าน้อย
- พระสังฆราชคาจันทร์ อาจาโร
- หลวงปุกู องหมัน ทีระโส
พระอริยเจ้าทั้ง 5 องค์ ได้อธิษฐานจิตด้วยพระคาถาวาจาสิทธิ์ (เฉพาะปลุกเสกพระ
เจ้าใหญ่เท่านั้น) เมื่อพิธีพุทธาภิเษกเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงพร้อมใจกันต้ังชื่อพระพุทธรูปว่า "พระเจ้า
ใหญ่" เพื่อเป็นสิริมงคลตามนามของหลวงปูุใหญ่ เทพ โลกอุดร ผู้เป็นประธานใหญ่ในพิธีพุทธาภิเษก
นั่นเอง ความศักด์ิสิทธ์ิ อิทธิฤทธิ์ ปาฎิหาริย์ขององค์พระเจ้าใหญ่ จึงบังเกิดขึ้นอย่างย่ิงใหญ่ ตั้งแต่
บัดนัน้ เป็นตน้ มา

29

หลังจากสร้างองค์พระเจ้าใหญ่เสร็จส้ินแล้ว คณะของเจ้านางทั้ง 2 ได้เดินทางต่อไป
ยังเมืองเขมร เพ่ือเย่ียมพระบิดา คณะของหลวงปุูลุนเดินทางกลับเมืองลาว แต่ยังมีอีกคณะหนึ่ง
ซึ่งเปน็ ไพรพ่ ลจากเมืองลาว ไม่กลับไปไหน ได้ต้ังหลักปักฐานต้ังแหล่งท่ีอยู่ห่างจากองค์พระเจ้าใหญ่ไป
ทางทิศบูรพาประมาณ 2 เส้น (ปัจจุบันเรียกหนองสิม) แต่อยู่ได้ไม่ถึงปี เพราะบริเวณที่ต้ังบ้านเรือน
เป็นทางผ่านของช้างท่ีไปลงกินน้าท่ีหนองน้า (ปัจจุบันเรียกหนองพังและหนองพังโคก) จึงอพยพไป
ต้ังบ้านเรือนอยู่แหล่งใหม่ ห่างจากองค์พระเจ้าใหญ่ไปทางทิศอุดร ประมาณ 20 เส้น(ปัจจุบันเรียก
บริเวณหนองสาและหนองท่ม)แต่อาศัยอยู่ประมาณ 20 ปี ก็เกิดความแห้งแล้ง เกิดโรคระบาด
(ไข้ทรพิษ) จงึ อพยพกลับเมอื งลาวไป (โดยผา่ นไปทางเมืองชยั ภมู ิ)

ตอ่ มาประมาณปี พ.ศ. 671 เมืองเขมรเกิดการแตกแยกช่วงชิงอานาจความเป็นใหญ่
กัน แม่ทัพ นายกอง กลุ่มหนึ่งได้พาผู้คนหลายร้อยคนอพยพหลบหนี เพ่ือหาแหล่งต้ังเมืองใหม่ ได้มา
พบบริเวณเหมาะที่จะตั้งเมือง (เป็นบริเวณท่ีอยู่ห่างองค์พระเจ้าใหญ่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ประมาณ 31 เส้น ปัจจุบันนี้เรียก โนนเจ้าเมือง) จึงให้คณะม้าเร็วไปบอกข่าวแก่เจ้าเมืองของตน
เจ้าเมอื งไดเ้ ดินทางมาปกั หลกั เสาเมือง เพื่อท่จี ะสร้างเมือง (ชาวบ้านเรียกเสาเข) แล้วเจ้าเมืองเดินทาง
กลับไป แต่ยังไมไ่ ดส้ รา้ งเมืองอยา่ งถาวรก็เกดิ โรคระบาดเสียก่อน (ไข้ทรพิษ) แม่ทัพ นายกองจึงพาไพร่
พลอพยพกลับเมืองเขมร แต่ก็ยังมีผู้คนบางส่วนไม่กลับไปด้วย ได้สร้างหมู่บ้านอยู่บริเวณที่ตั้งเมือง
(ชาวบ้านเหล่านี้เรียกสถานที่จะตั้งเมืองว่า โนนเจ้าเมือง) แต่ก็อาศัยอยู่ได้ไม่ถึง 3 ปี ก็อพยพหนีไป
เพราะโรคระบาดหนักขึ้น กาลต่อมาบริเวณแห่งน้ีเกิดความรกร้างว่างเปล่ามาเป็นเวลาประมาณ
896 ปี จนถึงปี พ.ศ. 1567 จึงมีพ่อค้าชาวเผ่ากุลา ซึ่งเป็นชนเผ่าร่อนเร่ค้าขายไปเร่ือยท่ัวอาณาจักร
ต่างๆ และได้เดินทางรอนแรมมาจากนครปัตตานี ซ่ึงขณะนั้นได้เกิดสงครามชิงเมืองข้ึน เรือสาเภา
สินค้าของชาวเผ่า ได้ถูกเผาวอดวายหมด จึงพากันอพยพหนีตายมาถึงบริเวณน้ี (วัดหงษ์ในปัจจุบัน)
มาพบองค์พระเจ้าใหญ่ ประดิษฐานอยู่กลางปุา เกิดความศรัทธาจึงพร้อมใจกันท่ีจะอาศัยอยู่ตรงนี้
โดยพิจารณาตรงท่ีจะสร้างที่พักอาศัยของหัวหน้าเผ่า เป็นบริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ แต่ว่าตรงนั้นเป็นท่ี
ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่ จึงพร้อมใจกันเคลื่อนย้ายองค์พระเจ้าใหญ่ไปทางทิศบูรพา ประมาณ 3 วา
อาศัยอยู่ได้ประมาณ 4 เดือน (มาอยู่คร้ังแรกเดือน 7 อพยพหนีเดือน 11) เกิดความแห้งแล้ง และมี
โรคระบาดอีก ทาให้หัวหน้าเผ่าต้องตายลง จึงพากันอพยพหนีตายไปที่เมืองสาเกตุนคร (จังหวัด
ร้อยเอ็ดในปจั จุบนั )

ต่อมาประมาณปีพุทธศักราช 2003 มีผู้คนเดินทางมาจากเมืองหลวงพระบางผ่านมา
ทางเมืองชัยภมู ิ และมีผ้คู นเดนิ ทางมาจากเมอื งสาเกตุนคร (ช่วงเวลานั้นเกิดการรบพุ่งกันระหว่างเมือง
สาเกตุนครกับเมืองศรีเทพ) ท้ังสองกลุ่มได้เดินทางมาพบกันตรงบริเวณประดิษฐานพระเจ้าใหญ่
จงึ ร่วมกนั สรา้ งหมูบ่ ้านขนึ้ ณ บรเิ วณแหง่ น้ี หลังจากต้ังหมบู่ ้านได้ประมาณ 5 ปี คือปี พ.ศ. 2008 ก็ได้
ร่วมกันสร้างวัดข้ึน พอสร้างเสร็จได้เห็นหงส์ทองสองตัว (สองตัวเดิมที่ลงมากินน้าทุกปี) มาลงกินน้าท่ี
สระหงส์ จึงได้พร้อมใจกันตั้งชื่อว่า “วัดหงส์” ตามหงส์ทองคู่น้ัน (ปัจจุบัน เขียนวัดหงษ์) ต่อมา
ประมาณปพี ทุ ธศกั ราช 2119 ได้เกิดโรคระบาดขึ้นอกี (ไขท้ รพษิ ) ผู้คนลม้ ตายกนั เปน็ จานวนมาก จงึ ได้

30

พากันอพยพหนีตายอีกคร้ัง ต่อมาประมาณปีพุทธศักราช 2216 ทัพเขมรที่เคยมาและอพยพหนีไปได้
แตกทัพหนีตายมาอีก และได้มาต้ังบ้านเรือนอยู่ที่ โนนเจ้าเมือง (ตรงท่ีเคยปักหลักเสาเมืองไว้ว่าจะ
สร้างเมืองหรอื เสาเข) และได้พากันบูรณะวดั หงส์ (ปัจจบุ นั เขยี นวัดหงษ)์ โดยได้พากนั เคลอ่ื นย้าย
องค์พระเจ้าใหญอ่ กี ครง้ั โดยเคล่อื นย้ายไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3 วา แม่ทัพนายกอง
และผคู้ นอาศยั อยไู่ ด้ประมาณ 1 เดือน ก็เกดิ โรคระบาดข้ึนอีก จึงยกทัพอพยพผู้คนหนีไปเมืองเขมรอีก
ประมาณ 7 ปตี อ่ มา คือ พ.ศ. 2223 ก็ได้มผี ูค้ นเดินทางมาจากเมืองสาเกตุนคร (เมืองร้อยเอ็ดหรือเมือง
ศรีภูมิ) นาโดยหลวงปุูเวียง พระเถรธุดงคเจ้าจากถ้าภูเขาควายแห่งเมืองลาว มาสร้างหมู่บ้านและ
บูรณะวัดหงส์ (ปัจจุบัน เขียนวัดหงษ์) ข้ึนอีกครั้ง โดยได้ทาการเคล่ือนพระเจ้าใหญ่อีกครั้ง ไปทางทิศ
ตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 วา (ตรงที่พระเจ้าใหญ่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันนี้ ตรงที่แห่งน้ีใต้องค์
พระเจา้ ใหญ่เปน็ รอยพระพุทธบาทของสมเด็จองค์ปฐม) หลวงปุูเวียงจาพรรษาอยู่ได้ 7 พรรษาก็ธุดงค์
กลับไปจาพรรษาอยู่ที่ถ้าภูเขาควายได้ 1 พรรษา แล้วท่านก็ธุดงค์กลับมาวัดหงส์อีก และจาพรรษาอยู่
5 พรรษา ท่านก็อาพาธ จึงเดินทางโดยเกวียนไปละสังขารอยู่ที่ถ้าแห่งเมืองเชียงคาน ชาวบ้านก็อยู่
อย่างสงบร่มเย็นเร่ือยมา และมีพระสงฆ์จาพรรษาสืบต่อพระพุทธศาสนา เรื่อยมา จนถึงประมาณ
พุทธศักราช 2387 ชาวบ้านได้พบแรดใหญ่นอนตายอยู่หนองน้าห่างจากวัดไปทางทิศตะวันออกเฉียง
ใต้ประมาณ 3 เส้น จึงตัดเอานอมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปบูชานาคปรกหัวเดียว (หมายถึงความ
ร่มเย็น) ถวายให้เป็นพระพุทธรูปคู่บารมีพระเจ้าใหญ่ เรียกหนองน้าน้ีว่า "หนองหัวแรด" และตั้งช่ือ
หมู่บ้านที่ยังไม่มีช่ือหมู่บ้านว่า "บ้านหัวแรด" (บางคนเรียกเพี้ยนไปว่าบ้านหัวแรด) จนถึงปัจจุบันนี้
ได้เปลย่ี นชอื่ หมบู่ ้านเป็น "บา้ นศรี ษะแรด" จนถึงปัจจุบนั

อิทธิฤทธ์ิปาฏหิ ารยิ พ์ ระเจ้าใหญ่
1. การสาบานต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่กรณีตกลงกันไม่ได้ระหว่างคู่กรณี ผู้ใดทา

ผดิ จรงิ จะได้รับโทษทุกครั้งท่ีสาบานกนั ทาใหผ้ กู้ ระทาผดิ เกดิ การหวาดกลวั
2. การด่ืมน้าสาบานเลิกเหล้าหรือส่ิงเสพติด ถ้าผิดคาสาบาน จะมีอันเป็นไป

ทกุ ราย ถ้าปฏิบตั ิได้ชวี ิตจะพบแต่ความรุง่ เรือง
3. การอธิฐานขอในส่ิงที่ตนตอ้ งการ กจ็ ะสมประสงค์
4. การหลบหลู่บุญบารมีขององค์พระเจ้าใหญ่ เช่น ขโมยสิ่งของบริวาร ไม่กราบ

ไหวบ้ ูชา พูดจาหยาบคาย ไม่เคารพสถานที่ ชีวติ จะพบแต่ความตกตา่ ลาบาก หรอื ตายอย่างอนาถ
5. แคล้วคลาดปลอดภัย เมื่อใครก็ตามที่ศรัทธาองค์พระเจ้าใหญ่ถึงวาระที่คับขัน

ตกท่ีนงั่ ลาบาก หรอื เส่ียงอันตราย เมื่ออธิฐานขอพรองค์พระเจ้าใหญ่คุ้มครอง เม่ือน้ันบุญบารมีองค์
พระเจ้าใหญ่จะคมุ้ ครองผูน้ ้นั ใหแ้ คลว้ คลาดปลอดภัยทัง้ ปวง

6. ดวงแกว้ มรกต 3 ดวง จะปรากฏให้ผมู้ สี มาธมิ ่ันคง มีศีลธรรมอันดี เมื่อใครได้
พบเห็นนั้นจะเป็นผทู้ ่ีมบี ญุ มากท่ีสุด และโชคดีมากที่สดุ

7. พระพทุ ธองค์ พระพทุ ธโคตโม (พระสมณโคดม) จะเสดจ็ ทรงอุ้มบาตร ออกมา
จากองค์พระเจา้ ใหญ่ ใหผ้ ้มู บี ญุ บารมสี มาธิแกก่ ล้าได้พบเหน็ และกราบไหว้บชู า

31

การคน้ พบพระเจ้าใหญ่
1. ยุคสมัยทวารวดี (ประมาณ พ.ศ.1000 - 1600) ในปี พ.ศ.2513 ได้มีการ

ขดุ ดนิ รอบพระเจ้าใหญเ่ พอื่ ทาการก่อสร้างวิหารใหม่ได้พบพระพิมพ์รวมปาง (เป็นแผ่น) สูงประมาณ
60-70 เซนติเมตร ถูกฝังไว้ตรงช่องซากประตูโบราณ พอดีมีฝร่ังท่านหนึ่งเคยมาดูและพูดว่า
เปน็ พระในสมยั ทวารวดีเนอ้ื สาริด พระองค์นสี้ วยมาก ประมาณคา่ มไิ ด้ สันนิษฐานว่าน่าจะฝังไว้คอย
เฝูาองค์พระเจ้าใหญ่ชุมชนยุคน้ีน่าจะเป็นยุคแรก ท่ีค้นพบพระเจ้าใหญ่แล้วสร้างวิหารครอบองค์พระ
เจ้าใหญ่จึงพบพระยุคนี้ฝังไว้ในดิน (พระองค์นี้ได้หายจากวัดไปนานแล้วไม่ทราบว่าอยู่ท่ีใด ขณะน้ี
ทางวัดกาลงั ดาเนนิ การเพอ่ื ให้ไดก้ ลบั คนื มา)

2. ยุคขอมเรืองอานาจ (ประมาณ พ.ศ. 1600-1700) ชุมชนในยุคนี้เม่ือพบพระ
เจ้าใหญ่และรู้เรื่องราวของพระเจ้าใหญ่ จึงจารึกอักษรขอมไว้ เช่น จารึกบนแผ่นหลังองค์พระเจ้า
ใหญ่ จารึกบนแผน่ ดินเผา จารกึ บนแผน่ หิน เปน็ ต้น

3. ยคุ ทา้ วศรปี าก (นา) (ประมาณ พ.ศ. 1790) เจ้าเมืองลาวและไพร่พลติดตาม
แรดใหญ่มาพบพระเจ้าใหญ่จากการขุดเพื่อบูรณะ เมื่อปี 2513 ได้พบพระพุทธรูปบูชาศิลปะลาว
มีท้ังเน้ือผง เน้ือดินเผา เน้ือสาริดและเน้ือทองคา วางเป็นระเบียบอยู่ในไหทั้งร้อยไห ในยุคนี้ยังได้
สร้างพระนอแรดและเจดีย์ (พระนอแรดชมได้บนวิหารพระเจ้าใหญ่ส่วนเจดีย์ถูกสร้างครอบไว้ด้วย
เจดียใ์ หมต่ งั้ อยู่ดา้ นหลังวิหารพระเจ้าใหญ่)

4. ยุคพรานป่า 2 คน คือ อุปฮาดทาทอง (ยศ) และอุปฮาดเหล็กสะท้าน
ไกรสร (ประมาณ พ.ศ. 2200) ได้ตดิ ตางหงสต์ วั หนึ่งเข้ามาในปุาบริเวณน้ี พอเข้ามาปรากฏว่าหงส์
ตัวน้ันหายไปอย่างลึกลับทั้งๆที่ติดตามมาอย่างกระช้ันชิด ทันไดนั้นท้ัง 2 ได้พบพระพุทธรูปขนาด
ใหญ่ ในลักษณะผุดขึ้นมาจากพื้นดิน (คงจะเป็นเพราะดินปลวกถูกร่อนลงมาบางส่วนตามธรรมชาติ)
หยดุ ตามหงส์ และกลบั ไปชวนพีน่ อ้ งมาตง้ั รกราก ณ ท่นี ้ี

ภาพประกอบท่ี 16 : พระเจา้ ใหญ่ วัดศีรษะแรด

32

บทท่ี 4
องค์ประกอบการแสดงและผลงาน

บทน้ี คณะผู้ศึกษาจะกล่าวถึงองค์ประกอบการแสดงและผลงานที่ใช้ใน
การสร้างสรรค์ ท่ารา ชุด ฟูอนบูชาพระเทวฤทธ์ิอินทรวกร ประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
นาฏศลิ ปพ์ ืน้ บ้าน ความรทู้ ัว่ ไปเกี่ยวกบั นาฏยศัพท์ ความรู้ทั่วไปเก่ียวกับดนตรี องค์ประกอบการแสดง
และผลงาน ได้แก่ เคร่ืองแต่งกายประกอบการแสดง ชุดฟูอนบูชาพระเทวฤทธ์ิอินทรวกร
เครื่องดนตรที ี่ใช้ประกอบการแสดง บทเพลง อปุ กรณก์ ารแสดง และผลงานการแสดง

ความร้ทู วั่ ไปเกยี่ วกบั นาฏศลิ ป์พื้นบา้ น
นาฏศิลป์พื้นบ้าน หมายถึง ศิลปะการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ให้มีลีลา

อันงดงาม ได้แก่ ระบา รา ฟูอนต่างๆ ซ่ึงเป็นท่ีนิยมเล่นหรือแสดงในท้องถ่ินในภาษาไทย มีคาว่า
“ระบา” “ราฟูอน” ท่ีใช้ในความหมายของการแสดงลีลานาฏศิลป์ไทย แต่ในท้องถิ่นภาคเหนือ จะใช้
คาว่า “ฟูอน” เป็นศัพท์เฉพาะถ่ิน ศิลปะของการฟูอนในท้องถิ่น จะมีดนตรีพ้ืนบ้านปะกอบซึ่งอาจจะ
ใช้ท่วงทานองเป็นเพลงบรรเลงล้วนๆ หรือเป็นบทเพลงที่มีการขับร้องประกอบร่วมด้วยก็ได้
นอกจากนั้นการฟูอนในท้องถ่ิน อาจเป็นองค์ประกอบของการเล่นพื้นบ้าน คือปรากฏอยู่ในมหรสพ
ตา่ งๆ ตวั อยา่ งเช่น การฟูอนทเ่ี ป็นสว่ นประกอบของการแสดง ซอของภาคเหนอื เปน็ ต้น

ลักษณะของนาฏศลิ ป์พ้ืนบ้าน
1. นาฏศิลป์พ้ืนบ้านมักจะถ่ายทอดกันมาโดยการสังเกต จดจา เลียนแบบการบอก

เลา่ กลา่ วสอนโดยทม่ี ิไดมกี ารจดบันทกึ ไว้เปน็ ลายลกั ษณ์อกั ษรหรอื ตาราต่างๆ
2. นาฏศิลป์พื้นบ้าน มักมีความเรียบง่าย และมีอิสระในการแสดงออก ผู้ฟูอนรา

สามารถท่ีจะสร้างสรรค์พลิกแพลงท่วงท่าลีลาการเคลื่อนไหวออกไปได้ หลายทาง มิได้มีท่าแม่บทเป็น
หลักแบบนาฏศิลป์ท่ีเป็นแบบแผนอย่างของราชสานักหรือของกรมศิลปากร แต่มีลีลาที่งดงาม
สอดคลอ้ งกับทว่ งทานองเพลงพื้นบา้ น

3. รูปแบบท่าทางของนาฏศิลป์พ้ืนบ้านในยุคหลังต่อมา ได้ถูกกาหนดแบบแผนโดย
ผู้รู้ หรือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของส่วนกลาง (เมืองหลวง) ทาให้แปรเปลี่ยนจากความเรียบง่าย
หรือลักษณะเสรีไปสู่ท่วงท่าที่เป็นแบบแผนมากขึ้น ดังเห็นได้จากปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การที่ครู
นาฏศิลป์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ นาลักษณะการฟูอนของชาวบ้านไปประยุกต์ใหม่ ให้มีลีลางดงาม
เปน็ ขนั้ ตอนข้ึน และกลายเป็นแบบแผนของชาวบ้านนาแบบอย่างมาปรับปรุงการฟูอนของตน ให้เป็น
ตามแบบแผนตามไปด้วย เป็นตน้

33

4. กาเนิดของนาฏศลิ ปพ์ ื้นบ้านแตด่ ้งั เดิมมกั จะเกี่ยวเน่ืองกับกิจกรรมอ่ืน เช่น ปรากฏ
ในพธิ ีกรรมทางศาสนา ความเชือ่ ประเพณบี างอย่าง มไิ ด้มีจุดประสงค์มงุ่ ความบันเทิงเปน็ สาคัญมาตงั้ แต่
แรก เชน่ การฟอู นผมี ด-ผีเม็ง มาจากพธิ ีกรรมบชู าผี เป็นต้น การศึกษานาฏศิลป์พืน้ บา้ นจงึ ต้องรู้ถึง
ประวัตคิ วามเปน็ มาหรอื จดุ หมายแตเ่ ดิมตลอดจนพัฒนาการทแี่ ปรเปลยี่ นมาสู่รูปแบบในยุคปัจจบุ นั ด้วย

ความรู้ทัว่ ไปเกี่ยวกับนาฏยศัพท์
การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบาเบ็ดเตล็ด

ต่างๆก็ดี ท่าทางท่ีผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้วอาจทาให้
เข้าใจในเรื่องการแสดงมากย่ิงขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้นๆ ส่ิงท่ีเข้ามาประกอบเป็น
ท่าทางนาฏศิลป์ไทยน้ันก็คือ เร่ืองของนาฏยศัพท์ ซึ้งแยกออกได้เป็นคาว่า “นาฏย” กับคาว่า “ศัพท์”
ดังนี้

นาฏย หมายถึง เกี่ยวกบั การฟอู นรา เกี่ยวกบั การละคร
ศัพท์ หมายถึง เสียง คา คายากท่ีต้องแปลเรื่อง เมื่อนาคาสองคามารวมกัน ทาให้ได้
ความหมายขึน้ มา
นาฏยศพั ท์ หมายถึง ศพั ทท์ ่เี ก่ยี วกับลักษณะท่าราที่ใช้ในการฝึกหัด เพ่ือใช้ในการแสดง
โขน ละคร เปน็ คาที่ใชใ้ นวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถส่ือความหมายกนั ไดท้ ุกฝาุ ยในการแสดง

ประเภทของนาฏยศัพท์
1. นามศัพท์ หมายถึง ศัพท์ท่ีเรียกชื่อท่ารา หรือชื่อท่าท่ีบอกอาการกระทาของผู้น้ัน

เช่น วง จีบ สลดั มอื คลายมอื กรายมือ ฉายมอื ปาดมอื กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า
กระทุ้ง กะเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขย่ันเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว
ตไี หล่ กลอ่ มไหล่

2. กิรยิ าศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใชบ้ อกอาการกริ ิยาซึ่งแบ่งออกเป็น
2.1 ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ท่ีใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าให้ถูกต้อง

สวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล
กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวขา้ ง ทบั ตวั หลบเข่า ถีบเข่า แข่งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักสน้

2.2 ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกช่ือท่าราหรือท่วงทีของผู้รา
ที่ไม่ถูกต้องของผู้ราตามมาตรฐาน เพ่ือผู้รารู้ตัว และแก้ไขท่าทีของตนให้ดีข้ึน เช่น วงล้า วงคว่า
วงเหยียด วงหัก วงล้น คอด่ืม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า ราแอ้
ราลน ราเลือ้ ย ราล้าจงั หวะ ราหน่วงจงั หวะ

2.3 นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษา
นาฏศิลป์ นอกเหนือจากนามศัพท์และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบส้ัน ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง
คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ข้ึนท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ พระน้อย
นางกษตั ริย์ นางตลาด ผเู้ มีย ยนื เคร่อื ง ศัพท์

34

ลักษณะตา่ งๆของนาฏยศพั ท์ แบง่ ตามการเคลื่อนไหวสว่ นตา่ งๆ ของรา่ งกาย ไดแ้ ก่
1. สว่ นศรี ษะ
เอียง คือ การเอียงศีรษะ ต้องกลมกลืนกับไหล่และลาตัวให้เป็นเส้นโค้ง ถ้าเอียงซ้าย

ให้หนา้ เบือนทางขวาเล็กนอ้ ย ถา้ เอยี งหนา้ ขวาเบือนหน้าไปทางซ้ายเลก็ น้อย
ลักคอ คือ การเอียงคนละข้างกับไหล่ท่ีกด ถ้าเอียงซ้ายให้กดไหล่ขวา ถ้าขวาให้กด

ไหลซ่ ้าย
เปิดคาง คอื ไม่ก้มหน้า เปดิ ปลายคางและทอดสายตาตรงสงู เทา่ ระดบั ตาตวั เอง
กดคาง คอื ไมเ่ ชดิ หน้าหรอื เงยหน้ามากเกนิ ไป
2. ส่วนแขน
วง คือ การเหยียดมือให้ตึงท้ังห้านิ้ว แต่นิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝุามือเล็กน้อย การต้ัง

วงท่ีสวยงาม ต้องหักข้อมือเข้าหาลาแขนให้มาก ทอดลาแขนให้ส่วนโค้งพองามและงอศอกเล็กน้อย
วงแบง่ ออกเปน็

วงกลาง คอื การยกสว่ นโค้งของลาแขนให้ปลายน้ิวสูงระดับไหล่ ลาแขนส่วนบนลาด
กวา่ วงบน

วงหน้า คือ ส่วนโค้งของลาแขนท่ีทอดโค้งอยู่ข้างหน้าวง พระผายกว้างกว่านาง
ปลายนวิ้ อยูร่ ะดบั แกม้ วงนางปลายนว้ิ อยรู่ ะดบั ปาก

วงพิเศษ คือ อยรู่ ะดบั วงบนและวงกลาง
วงบัวบาน คือ ยกแขนข้ึนข้างลาตัวให้ศอกสูงระดับไหล่หักศอกให้แขนท่อนล่างพัก
เขา้ หาตวั ต้ังฉากกับแขนท่อนบน มือหงายปลายนิ้วชไ้ี ปขา้ งๆ วงตัวนางจะแคบกวา่ ตัวพระ
วงล่าง คือ การตั้งวงระดับต่าท่ีสุด โดยทอดส่วนโค้งของลาแขนลงข้างล่างอยู่ระดับ
เอว โดยตง้ั มอื ตรง
3.สว่ นมือ
มือแบ คือ น้ิวชี้ กลาง นาง ก้อย ติดกัน ตึงน้ิว หัวแม่มือกางหลบไปทางฝุามือ
หักข้อมอื ไปทางหลังมือ แตม่ ีบางท่าที่หักข้อมอื ไปทางฝุามือ เชน่ ท่าปูองหนา้
มือจีบ คอื การกรีดนว้ิ โดยเอาน้ิวชแ้ี ละนว้ิ หัวแม่มอื จรดกัน ใหป้ ลายนวิ้ หัวแม่มือจรด
ขอ้ แรกของปลายน้วิ ชี้ ใหต้ งิ น้วิ กลาง นาง ก้อย กรีดห่างกนั หกั ข้อมอื ไปทางฝุามอื
จีบแบง่ เปน็ 5 ลักษณะ ได้แก่
จีบหงาย คือ การหงายมือให้ปลายนิ้วช้ีข้ึน ถ้าอยู่ระดับหน้าท้อง เรียกว่าจีบหงาย
ชายพก
จบี คว่า คือ การควา่ ฝาุ มือให้ปลายนว้ิ ช้ีลง หกั ขอ้ มอื เขา้ หาลาแขน
จีบส่งหลัง คอื การส่งแขนไปข้างหลงั ตงึ แขน พลิกข้อมือให้ปลายนิ้วช้ีข้ึนแขนตึงและ
ส่งแขนให้สูงไปด้านหลัง

35

จบี ปรกหน้า คือ การจีบท่ีคล้ายกับจีบหงาย แต่หักจีบเข้าหาลาตัวด้านหน้าท้ังและมือ
ชอู ยดู่ า้ นหนา้ ตัง้ ลาแขนขนึ้ ทามมุ ท่ีขอ้ พับตรงศอก หันจีบเข้าหาหน้าผาก

จบี ปรกขา้ ง คือ การจบี ที่คล้ายกบั จีบปรกหน้า แตห่ ันจบี เข้าแง่ศีรษะ ลาแขนอยู่ข้างๆ
ระดบั เดยี วกับวงบน

จบี ล่อแก้ว คือ ลักษณะกิริยาท่าทางคล้ายจีบ ใช้นิ้วหัวแม่มือกดน้ิวข้อที่1ของน้ิวกลาง
หกั ๆปลายนว้ิ หัวแมม่ ือคลา้ ยวงแหวน น้วิ ที่เหลือเหยยี ดตงึ หักขอ้ มอื เข้าหาลาแขน

4.สว่ นเขา่ และขา
เหลื่ยม คือ ลักษณะของเข่าท่ีแบะห่างกัน เม่ือก้าวเท้าพระต้องกันเข่าให้เหลี่ยมกว้าง
ส่วนนางต้องกา้ วขา้ ง ตอ้ งหลบเขา่ ไม่ให้มเี หล่ียม
จรดเท้า คือ อาการของเท้าข้างใดข้างหน่ึงวางอยู่ข้างหน้าน้าหนักตัวจะอยู่ที่เท้าหลัง
เท้าหนา้ จะใช้เพียงปลายจมกู เท้าแตะเบาๆไว้กบั พนื้
แตะเทา้ คอื การใชส้ ่วนของจมูกเท้าแตะพ้ืน แล้ววิ่งหรือก้าว ขณะท่ีก้าวส่วนอ่ืนๆของ
เท้าถึงพื้นดว้ ย
ซอยเท้า คือ กริ ยิ าทีใ่ ช้จมกู เท้าวางกับพนื้ ยกส้นเทา้ เล็กน้อยท้งั 1 ข้างแลว้ ย่าซ้าย-ขวา
ถ่ีๆ จะอยู่กบั ที่หรือเคลอ่ื นท่ไี ด้
ขยั่นเท้า คือ เหมือนซอยเท้าต่างกันท่ี ขยั่นเท้าต้องไขว้เท้าแล้วทากิริยาเหมือนซอย
เทา้ ถ้าขย่นั เคล่อื นท่ีไปขวาให้เท้าซา้ ยอยู่หนา้ ถา้ ขย่นั เคลอ่ื นที่ไปซา้ ยใหเ้ ท้าขวาอยหู่ นา้
ฉายเท้า คือ กิริยาที่ก้าวหน้าแล้วต้องการพักเท้าท่ีก้าวมาพักไว้ข้างๆ ให้จมูกเท้าจรด
พนื้ ไว้ เผยอสน้ นิดหน่อยแล้วลากมาพกั ไว้ในลักษณะเหลื่อมเท้า โดยหนั ปลายเทา้ ทฉี่ ายมาให้อยูด่ ้านข้าง
ประเท้า คือ อาการที่สืบเน่ืองจากการจรดเท้า โดยยกจมูกเท้าข้ึนใช้ส้นเท้าวางกับพ้ืน
ย่อเข่าลงพร้อมทง้ั แตะจมูกเท้าลงกับพน้ื แลว้ ยกเทา้ ขึน้
ตบเทา้ คอื กริ ยิ าของการใชเ้ ท้าคล้ายกบั ประเทา้ ไม่ต้องยกเท้าข้ึนห่มเข่าตามจังหวะที่
ตบเทา้ ตบเท้าอยู่ตลอดเวลา
ยกเทา้ คอื การยกเท้าข้นึ ไว้ขา้ งหน้า เชดิ ปลายเท้าให้ตึงหักข้อเท้าเข้าหาลาขา ตัวพระ
กนั เข่าออกไปขา้ งๆ สว่ นสูงระดบั เข่าขา้ งที่ยืน ตวั นางไม่ต้องกันเขา่ สว่ นสูงอยู่ต่ากว่าเข่าข้างท่ียืน ชักส้น
เท้าและเชิดปลายน้ิว
5.ก้าวเท้า
ก้าวหน้า คือ การวางฝุาเท้าบนพื้นข้างหน้า โดยวางส้นเท้าลงก่อน ตัวพระจะก้าวเท้า
ไปข้างๆตัวเล็กน้อย เฉียงปลายเทา้ ไปทางน้วิ กอ้ ย กันเข่าแบะให้ได้เหลี่ยม ส่วนตัวนางก้าวลงข้างหน้าไม่
ตอ้ งกนั เขา่ ปลายเท้าเฉยี งไปทางนิ้วก้อยเล็กนอ้ ย
ก้าวข้าง คือ การวางเท้าไปข้างๆตัว ปลายเท้าเฉียงไปทางน้ิวก้อย ถ้าเป็นตัวนางจะ
หลบเข่าตามไปด้วย

36

กระทุ้งเท้า คือ วางเท้าไว้ข้างหลังด้วยจมูกเท้าแล้วใช้จมูกเท้ากระทุ้งลงกับพ้ืนแล้ว
กระดกข้นึ หรอื ยกไปขา้ งหน้า

กะเทาะเท้า คือ อาการของการใช้เท้าคล้ายกระทุ้ง ไม่ต้องกระดกเท้า ใช้จมูกเท้า
กระทุง้ เป็นจังหวะหลายๆครั้ง

กระดกเทา้ คอื กระดกหลงั กระทุง้ เทา้ แล้วถีบเข่าไปข้างหลังมากๆ ใช้เข่าท้ังสองข้าง
แยกห่างจากกนั ใชส้ น้ เท้าชิดกนั มากทสี่ ุด หักปลายเท้าลงยอ่ เขา่ ท่ยี ืน ตัวพระตอ้ งกนั เขา่ ด้วย

กระดกเสย้ี ว คือ คล้ายกระดกหลัง แต่เบี่ยงขามาข้างๆ และไม่ต้องกระทุ้งเท้า มักทา
ตอ่ เน่อื งจากการกา้ วเท้า หรือท่านง่ั กระดกเท้า

ความรูท้ วั่ ไปเกี่ยวกับดนตรี
ดนตรี เป็นสงิ่ สร้างสรรคจ์ รรโลงโลก เปน็ มรดกของชนชาตนิ ้นั ๆ ทุกชนชาติ ทุกภาษา

ยอ่ มมดี นตรีเป็นเอกลักษณ์ประจาชาติ ในเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมันเอง บ้างก็เอาไว้ ขับกล่อมเอาไว้
ผ่อนคลายความตรึงเครียด ไว้เป็นสื่อเป็นตัวแทนในส่ิงต่างๆ เป็นหน้าเป็นตา ของเมืองนั้นๆและใช้ใน
การต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองด้วย ซ่ึงดนตรีมีวิวัฒนาการและสะสม ภูมิปัญญาของชาวบ้าน ไม่ว่าจะ
เปน็ ดนตรีพืน้ บา้ น ดนตรีคลาสสิก ดนตรีแจ๊ส ดนตรีบ๊อบแม้กระท่ังดนตรีต่างๆในโลกน้ีก็ตาม ล้วนมา
จากพื้นฐานทางดนตรีด้วยกันท้ังส้ิน ดนตรีจึงเป็นภาษาสากล ท่ีสามารถทาให้มนุษย์เราทุกชนชาติ
เข้าใจกันและกันได้ ผู้ท่ีสามารถเข้าใจดนตรีได้เป็นอย่างดี และลึกซึ้งย่อมได้เปรียบคนอ่ืน ท้ังในด้าน
คบหาสมาคมกับผู้อ่ืนและด้านสติปัญญา เพราะวิชาดนตรีสามารถกล่อมเกลาจิตใจคนได้เป็นอย่างดี
ไม่วา่ จะเป็นดนตรีของชนชาตใิ ดๆ ในโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีคุณประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น มนุษย์เราเร่ิมแรง
ตั้งแต่มีชีวิตข้ึน มาท่ามกลางส่ิงแวดล้อมและเหตุการณ์ ท่ีเข้ามากระทบในรูปแบบต่างๆ น้ันสามารถ
ผ่านเข้าสู่ระบบของร่างกาย โดยผ่านสื่อท่ีซึมซาบเข้าสู่กระบวนการสมอง ซ่ึงตัวเราเองได้สัมผัสและ
เข้าใจไดโ้ ดยงา่ ยน่ันก็คอื เสียงดนตรี ดังคาท่ีวา่ ดนตรีเปน็ ภาษาทค่ี นท่ัวโลกเข้าใจได้ตรงกันได้มากที่สุด
ดังนั้น ดนตรีจึงเป็นสื่อที่ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดตลอดจนความรู้ความบันเทิง และสิ่งท่ี
สาคญั ทส่ี ุดคอื สามารถขัดเกลานสิ ยั และจติ ใจของมนษุ ยไ์ ดเ้ ป็นอย่างดี ดนตรีจึงจัดเป็นสิ่งสาคัญสาหรับ
การสื่อสารในเชงิ สรา้ งสรรค์ นับว่าเป็นสื่อสากลที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ในระดับที่กว้างขวางและลึก
ซ่ึงจากอดีตจนถึงปัจจุบันชีวิตของมนุษย์เรามีความเกี่ยวพันกับดนตรีตั้งแต่แรก เกิดจนตาย ไม่ว่าจะ
เป็นดนตรจี ากเพลงกล่อมเดก็ ดนตรจี ากพิธกี รรมทางศาสนา ลว้ นแต่มีความจาเป็นทั้งสิ้น ซึ่งมนุษย์ทุก
เชอ้ื ชาติทกุ วรรณะสามารถฟังและเขา้ ใจได้โดยไม่ต้องอธบิ าย ดนตรียงั กอ่ ให้เกดิ อารมณ์คล้อยตาม เกิด
ความสบายใจผ่อนคลายความตึงเครียด นอกจากนี้ยังเป็นส่ือท่ีสะท้อนสังคมเป็นการแสดงออกทาง
ศิลปะถ่ายทอดเหตุการณ์ต่างๆในสังคมออกมาในรูปของ บทเพลงทั้งทางตรงและทางอ้อม ดนตรี
จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมท่ีมีความละเอียดอ่อน งดงาม และมีคุณค่า ดารงความเป็นเอกลักษณ์มา
ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันโดยเป็นท่ียอมรับ และเชื่อถือกันว่าดนตรีเป็นภาษาชนิดหนึ่งของมนุษย์
ชาติใดท่ีมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง ก็มักจะมีดนตรีเป็นของตนด้วย เพราะดนตรีและ
เพลงรอ้ งเปน็ สง่ิ ท่ีพฒั นามากันกับภาษาพดู ของแต่ละประเทศน้ันๆ เครอ่ื งดนตรี นา่ จะมลี กั ษณะ

37

การเกดิ ในแนวเดยี วกนั คือ เรม่ิ ต้นทีก่ ารตี นอกจากนั้นการเปาุ จงึ เกิดขนึ้ ตามมาเพราะคนเราตอ้ งหายใจ
จนแมแ้ ต่การพดู การผิวปาก กค็ ือการเปาุ ด้วย และการท่ีมนุษยเ์ ราใช้ธนใู นการลา่ สัตวเ์ พ่อื หาเลีย้ งชพี
การดดี ของธนทู าให้เกิดเสยี งเป็นจดุ เริ่มต้นของการหาวัสดุในการดดี ทาให้เปน็ ดนตรีหรือเสยี งดว้ ย
การตัง้ สายทสี่ ูงต่าต่างกนั ออกไป จนเกดิ เป็นเครือ่ งดนตรีประเภทดดี จนเม่อื มนุษย์เราไดย้ ินเสียงกอไผ่
เสียดสีกันเป็นเสยี ง จงึ ได้มกี ารพฒั นาสรา้ งคันชกั สาหรบั สขี ึ้น ซึ่งก็กลายเปน็ เคร่ืองดนตรปี ระเภทสี
ขนึ้ มาในทีส่ ุด

ดนตรีพนื้ บ้านภาคกลาง
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เปุา โดยเคร่ืองดีดได้แก่ จะเข้ และ

จ้องหน่อง เครื่องสีได้แก่ ซอด้วงและซออู้ เคร่ืองตีได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทอง ระนาด
ทุ้มเลก็ ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบและกรับ เครื่องเปุาได้แก่ ขลุ่ยและปี่ ลักษณะเด่นของดนตรีพ้ืนบ้านภาค
กลาง คือ วงป่ีพาทย์ของภคกลางจะมีการพัฒนาในลักษณะผสมผสานกับดนตรีหลวงโยมีการพัฒนา
จากดนตรีปี่และกลองเป็นหลักมาเป็นระนาดและฆ้องวงพร้อมทั้งเพ่ิมเรื่องดนตรีมากขึ้นจนเป็นวง
ดนตรีท่ีมีขนาดใหญ่ รวมท้ังยังมีการขับร้องที่คล้ายคลึงกับวงปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการ
ถ่ายโยงทางวฒั นธรรมระหวา่ งวัฒนธรรมราษฎร์และหลวง

ดนตรพี ้ืนบ้านภาคเหนอื
ในยุคแรกเป็นเคร่ืองดนตรีประเภทตี ได้แก่ ท่อนไม้กลวง ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม

ในเร่อื ภูตผปี ศี าจและเจา้ ปาุ เจ้าเขา จากนัน้ ไดม้ กี ารพฒั นาโดยนาหนังสัตว์มาขึงที่ปากท่อนไม้กลวงไว้
กลายเป็นเคร่ืองดนตรีท่ีเรียกว่ากลอง ต่อมามีการพัฒนารูปแบบของกลองให้แตกต่างออกไป เช่น
กลองทขี่ ึงปดิ ด้วยหนังสัตว์เพียงหน้าเดียว ได้แก่ กลองรามะนา กลองยาว กลองแอว และกลองท่ี
ขงึ ดว้ ยหนังสัตว์ทั้งสองหน้า ได้แก่ กลองมองเซิง กลองสองหน้า และตะโพนมอญ นอกจากน้ียังมี
เครื่องดนตรีท่ีทาด้วยโลหะ เช่น ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทเปุา ได้แก่ ขลุ่ย ย่ะเอ้
ปี่แน ป่ีมอญ ป่ีสรไน และเครื่องสีได้แก่ สะล้อลูก 5 สะล้อลูก 4 และสะล้อ 3 สาย และเครื่อง
ดดี ไดแ้ ก่ พณิ เปีย๊ ะ และซงึ 3 ขนาด คือ ซึงน้อย ซึงกลาง และซึงใหญ่ สาหรับลักษณะเด่นของ
ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ คือ มีการนาเครื่องดนตรีประเภทดีด สี ตี เปุา มาผสมวงกันให้มีความ
สมบูรณ์และไพเราะ โดยเฉพาะในด้านสาเนียงและทานองท่ีพริ้วไหวตามบรรยากาศ ความนุ่มนวล
อ่อนละมนุ ของธรรมชาติ นอกจากน้ยี งั มีการผสมทางวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ และยังเชื่อมโยงกับ
วัฒนธรรมทางราชสานักทาให้เกิดการถ่ายโยงและการบรรเลงได้ทั้งในราชสานักและคุ้มและวัง
และแบบพนื้ บ้านมเี อกลักษณเ์ ฉพาะถิ่นดนตรีพ้ืนบ้านภาคใต้ มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่อง
ดนตรีจากวัสดใุ กล้ตัว

38

ดนตรีพ้ืนบา้ นภาคใต้
น่าจะมาจากพวกเงาซาไก ท่ีใช้ไม้ไผ่ลาขนาดต่างๆ กันตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้าง

ยาวบ้าง แล้วตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช
ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรา จากนั้นก็ได้มีการพัฒนามาเป็นเคร่ืองดนตรีแตร กรับ กลองชนิด
ต่างๆ เช่น รามะนา ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบ
การแสดงมโนรา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเปุาเช่น ปี่นอก และ เคร่ืองสี เช่น
ซอด้วง ซออู้รวมท้ัความเจริญทางศิลปะการแสดง และดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่า
ละคร ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นล้วนได้รับอิทธิพลมาจากภาคกลาง นอกจากน้ียังมีการบรรเลงดนตรี
พ้ืนบา้ นภาคใต้ ประกอบด้วยการละเล่นแสดงตา่ งๆ เชน่ ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ท่ีมีเครื่องดนตรี
หลักคือ กลอง โหมง่ ฉงิ่ กรับ ป่ี และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบมาจากการเต้นราของชาวสเปนหรือโป
ตุเกสมาตง้ั แต่สมัยอยธุ ยา โดยมกี ารบรรเลงดนตรีทีป่ ระกอบดว้ ยไวโอลิน รามะนา ฆ้อง หรือบางคณะ
ที่เพ่ิมกีต้าร์เข้าไปด้วย ซ่ึงดนตรีรองเง็งนี้เป็นท่ีนิยมในหมู่ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดนใกล้เคียง
หลายเชือ้ ชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท่ีแตกต่างจากภาคอ่ืนๆ โดยเฉพาะในเรื่อง
ของการเนน้ จงั หวะและลลี าที่เรง่ เร้า หนกั แนน่ และคกึ คัก เป็นต้น

ดนตรีพ้ืนบา้ นภาคอสี าน
มีวิวัฒนาการมายาวนานนับพันปี เร่ิมจากในระยะต้น มีการใช้วัสดุท้องถ่ินมาทา

เลียนเสียงจากธรรมชาติ ปุาเขา เสียงลมพัดใบไม้ไหว เสียงน้าตก เสียงฝนตก ซ้ึงส่วนใหญ่จะเป็นเสียง
ส้นั ไมก่ อ้ ง ในระยะตอ่ มาไดใ้ ชว่ สั ดุพืน้ เมืองจากธรรมชาติมาเปุา เช่น ใบไม้ ผิวไม้ ต้นหญ้า ปล้องไม้ไผ่
ทาให้เสียงมีความพล้ิวยาวข้ึน จนในระยะที่3 ได้นาหนังสัตว์และเครื่องหนังมาใช้เป็นวัสดุสร้างเครื่อง
ดนตรีที่มีความไพเราะและรูปร่างสวยงามขึ้น เช่น กรับ เกราะ ระนาด ฆ้อง กลอง โปง ปี่ พิณ
โปงลาง แคน เป็นต้น โดยนามาผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานท่ีมีลักษณะเฉพาะตามพื้นท่ี
3 คอื กลุ่มอีสานเหนือ และอสี บานกลางจะนยิ มดนตรีหมอลาทม่ี กี ารเปุาแคนและดีดพิณประสานเสียง
ร่วมกับการขับร้อง ส่วนกลุ่มอีสานใต้จะนิยมดนตรีกันตรึมซึ่งเป็นดนตรีท่ีบรรเลงที่ไพเราะของชาว
อีสานใต้ที่มีเชื้อสายเขมร นอกจากน้ียังมีวงพิณพาทย์และวงมโหรีด้วยชาวบ้านแต่ละกลุ่มก็จะบรรเลง
ดนตรีเหล่าน้ีกันเพื่อ ความสนุกสนานคร้ืนเครง ใช้ประกอบการละเล่น การแสดง และพิธีกรรมต่างๆ
เช่น ลาผีฟูา ท่ใี ช้แคนเปาุ ในการรักษาโรคและงานศพแบบอีสานที่ใช้วงตุ้มโมงบรรเลง นับเป็นลักษณะ
เด่นของดนตรพี ื้นบ้านอสี านท่แี ตกต่างจากภาคอื่น

39

องค์ประกอบการแสดงและผลงาน
การแต่งกายชุด ฟูอนบูชาพระเทวฤทธิ์อินทรวกร ผู้ศึกษาได้นาเอกลักษณ์ใน

การแต่งกายของชาวบ้านอาเภอพุทไธสง มาปรับให้เข้ากับการแสดงนาฏศิลป์พ้ืนบ้านโดยยึดหลัก
ตามแบบนาฏศิลป์ และสื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิติในการเข้าวัดทาบุญ การแต่งกายจะเน้นความเรียบง่าย
และจะยึดตามเอกลกั ษณใ์ นแตล่ ะท้องถิน่ น้ันๆ

เครอ่ื งแต่งกายประกอบการแสดง ชดุ ฟูอนบูชาพระเทวฤทธอิ์ นิ ทรวกร

ภาพประกอบท่ี 17

องคป์ ระกอบของเครอ่ื งแต่งกาย 2. ผ้าซิน่ ตีนแดง
1. เสอื้ แขนกระบอก 4. เขม็ ขดั เงิน
3. สไบชดิ สีแดง 6. สร้อยคอ
5. สงั วาล 8. ดอกไม้
7. ตา่ งหู

40

ภาพประกอบ 18 : เสื้อแขนกระบอก
เสือ้ แขนกระบอก เปน็ เส้อื คอจนี แขนยาวปิดถึงขอ้ แขน ผ่าหน้ามกี ระดุม 6 เม็ด สีขาว

ภาพประกอบ 19 : ผา้ ซิ่นตนี แดง
ผา้ ซิ่นตนี แดง ผา้ ท่ใี ช้น่งุ ปิดอวยั วะส่วนลา่ งตั้งแตเ่ อวถึงข้อเท้า มลี ักษณะเปน็ ผ้าฝูายมดั หม่สี เี ขียวดา

ตนี สีแดง

41

ภาพประกอบ 20 : สไบชดิ สีแดง
สไบชิดสแี ดง ผา้ ทน่ี ามาพาดไหล่ พื้นสีเลือดหมูมลี ายตลอดทง้ั ผนื ความยาวประมาณ 2 เมตร 50

เซนติเมตร ส่วนปลายทง้ั 2 มชี ายครุย

ภาพประกอบ 21 : เขม็ ขดั เงิน
เข็มขัดเงิน องคป์ ระกอบของเคร่ืองแต่งกายทีใ่ ช้รัดเอว เป็นโลหะสเี งิน มลี กั ษณะเปน็ รางรถไฟ

มีตะขอสาหรบั เกาะ

ภาพประกอบ 22 : สังวาล
สังวาล องค์ประกอบเคร่อื งแต่งกายท่ใี ชห้ ้อยประดับพาดทบั ไหลซ่ า้ ยผา่ นลงมาระหว่างชว่ งอก

ลักษณะเปน็ ประเกือมสเี งิน

42

ภาพประกอบ 23 : สรอ้ ยคอ
สรอ้ ยคอ องค์ประกอบของเครื่องแตง่ กายที่ใชป้ ระดับลาคอ พาดทับไหล่ผา่ นลงมาระหว่างทรวงอก

มีลกั ษณะเป็นเคร่อื งเงิน ตกแตง่ ลวดลายพรอ้ มด้วยต้งุ ต้ิงสีเงนิ หอ้ ยลงมา

ภาพประกอบ 24 : ต่างหู
ต่างหู องค์ประกอบของเครื่องแต่งกายทใี่ ช้ประดับตงิ่ หู มลี กั ษณะเหมอื นกบั สรอ้ ยคอ มีสีเงิน

ภาพประกอบ 25 : ดอกไม้
ดอกไม้ องค์ประกอบของเคร่ืองแต่งกายท่ีใช้ประดับทัดหูข้างซ้าย

43

เครอื่ งดนตรที ี่ใชป้ ระกอบการแสดง
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ชุด ฟูอนนมัสการพระเทวฤทธิ์อินทรวกร

ในการแสดงชุดน้คี ณะผู้ศึกษาได้เลอื กใช้ วงโปงลาง โดยประกอบด้วยเคร่ืองดนตรีได้แก่ โปงลาง พิณ
แคน โหวด กลองหาง กลองตมุ้ ฉาบเลก็

ภาพประกอบ 26 : เครือ่ งดนตรวี งโปงลาง

ภาพประกอบ 27 : โปงลาง
โปงลาง หรือขอลอ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งมีลักษณะคล้ายระนาด
ส่วนประกอบท่ีสาคัญคือ ลูกโปงลางซ่ึงเดิมมี 5 – 7 ลูกปัจจุบันนิยมทาเป็น 12 ลูก โปงลางทาด้วยไม้
เน้ือแข็งนิยมใช้ไม้หมากเลื่อมและไม้หมากหวด มีขนาดใหญ่โปงลางจะมีเสียง 5 เสียงเท่านั้น เสียงสูง
ต่าตามขนาดของไม้ ใช้เชือกรอ้ ยตดิ กนั เปน็ ผนื นิยมแขวนด้านเสยี งต่าไวด้ า้ นบนเสียงสูงทอดเอยี งลง

44

ภาพประกอบ 28 : พิณ
พิณ จัดเป็นเคร่ืองดนตรีประเภทดีด มีส่วนประกอบท่ีสาคัญ 5 ส่วน คือ
กะโหลก คันพิณ ลูกบิดสาย และไม้ดีดกะโหลกและคันพิณ นิยมทามาจากไม้ชิ้นเดียวกัน ส่วน
ใหญเ่ ป็นไมข้ นุนหรอื ไมป้ ระดู่

ภาพประกอบ 29 : แคน
แคน จัดเป็นเครื่องเปุาชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีท่ีสาคัญที่สุด มีเสียงคล้าย
ออรแ์ กน แคนมีส่วนประกอบทส่ี าคญั คอื เต้าแคน ไมก้ แู่ คน ลิน้ แคน ข้ีส่ิวและมีดเจาะเป็นโพงเพื่อ
สอดลูกคนเรียงไว้ในเต้าแคน เจาะส่วนหน้าเป็นรูปเปุาเพื่อบังคับลมเปุาให้กระจายไปยังลิ้นแคนอย่าง
ทั่วถึง ไม้กู่แคน ทาด้วยไม้ซางหรือไม้ลวกเล็กๆ ท่ีมีขนาดและความหนาพอเหมาะและลดหล่ันกัน
นามาเจาะใหท้ ะลขุ อ้ ตัดใหต้ รง ตัดให้ได้ขนาดส้ัน ยาวได้สัดส่วน เจาะรูสาหรับใส่ลิ้น ลิ้นแคนทามา
จากโลหะทองแดง หรือทองแดงผสมเงิน นามาหลอมและนามาตีเป็นแผ่น ให้ได้ขนาดและความหนา
บางตามต้องการ นามาตัดให้ได้ตามขนาดต่างๆ แล้วนาไปสอดใส่ในกู่แคนแต่ละอันตามแผนผังเสียง
ของแคน

45

ภาพประกอบที่ 30 : โหวด
โหวด เป็นเครื่องเปุาไม่มีลิ้น จัดอยู่ในประเภทขลุ่ยแต่โหวดไม่มีรูพับจะมีเสียง
ลดหลั่นกันตามลักษณะของเสียงดนตรี โหวดประกอบด้วยส่วนสาคัญ 3 ส่วน คือ ลูกโหวด ไม้แกน
และขส้ี ูด ลูกโหวดทาจากไมซ้ างทีค่ นอสี านเรยี กว่าไม้เฮ้ยี หรอื ไม้กูแ่ กน นามาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกัน
เป็นท่อตามโครงสร้างของเสียงแล้วมาเรียงตัดไว้กับแกนไม้ไผ่โดยใช้ขี้สูดเป็นกาวเชื่อมตัดกันไว้ข้ีสูด
ส่วนหน่ึงใช้อุดรูลูกโหวดด้านล่างเพื่อเป็นเครื่องปรับระดับเสียงและข้ีสูดอีกส่วนหน่ึงใช้ติดไว้ที่ตรงหัว
ของโหวดเพื่อกันกระแทกเวลาโหวดตกกระทบกัน ปัจจุบันใช้รองปากเวลาเปุาเพ่ือหันโหวดไปมาได้
สะดวก

ภาพประกอบที่ 31 : กลองหาง
กลองหาง เป็นกลองขึงหนังหน้าเดียว หุ่นกลองทาจากไม้เนื้ออ่อนที่มีน้าหนัก
เบา เช่น ไม้ขนนุ นามาขดุ กรวงภายใน โดยปลายด้านหนึ่งจะบานออกคล้ายดอกลาโพง เรียกว่า
“ตนี กลอง” ตอนกลางเรียวคอด ด้านบน ปุองออกเป็นกล่องเสียง ขึงหนังขึ้นหน้าด้วยสายเร่งท่ี
ทาจากเชือกชนิดตา่ งๆ เชน่ หวาย หนงั ไนล่อน

46

ภาพประกอบท่ี 32 : กลองตุม้
กลองตมุ้ เป็นกลองสองหน้าคล้ายกับตะโพน แต่ต่างจากตะโพนตรงที่หน้ากลองตุ้ม
ทง้ั สองหน้ามีขนาดเท่ากัน ส่วนใหญ่ใช้ตีประกอบกับกลองยาวในขบวนแห่หรือขบวนฟูอนในเทศกาล
ต่างๆ

ภาพประกอบท่ี 33 : ฉาบเล็ก
ฉาบเล็ก เป็นเคร่ืองประกอบจังหวะที่ทาด้วยโลหะ การจับฉาบเล็ก มือขวาใช้หัว
แมม่ อื และนิว้ ชี้จับเชือก ตรงส่วนท่ีติดกับฉาบมือซ้ายจับเหมือนมือขวาแต่อยู่ในลักษณะกามือให้ฉาบ
วางบนมอื ซ้าย

47

อปุ กรณ์ประกอบการแสดง

ภาพประกอบท่ี 34 : พานลาวสเี งนิ
พานลาวสีเงิน ใช้สาหรับใส่รูปเทียนดอกไม้ เพ่ือนาไปบุชากราบไหว้พระเจ้าใหญ่
หรอื พระเทวฤทธิ์อนิ ทรวกร

ผลงานการแสดง
การนาเสนอผลงานการแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ พื้นบ้าน

ชดุ ฟอู นบชู าพระเทวฤทธอิ์ ินทรวกร นอกจากจะนาเสนอเป็นรูปเล่มผลงานการศึกษาค้นคว้า แล้วยัง
นาเสนอเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ e-book โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ซ่ึงก่อนที่จะมีผลงาน
นาเสนอสู่สายตาผู้ชมน้ัน ผู้ศึกษาค้นคว้า ได้ใช้แนวคิดในการออกแบบองค์ประกอบของการแสดง
ตา่ งๆ ใหม้ ีความสมบรู ณเ์ หมาะสมกับชุดการแสดงทไ่ี ด้ประดษิ ฐ์ขึ้น

48
บทท่ี 5
อธิบายท่าราชดุ ฟ้อนบูชาพระเทวฤทธ์ิอินทรวกร

บทน้ี ผู้ศึกษาจะอธิบายถึงท่าราชุด ฟูอนบูชาพระเทวฤทธิ์อินทรวกร เพ่ือให้เห็นถึง
แนวทางการสร้างสรรคท์ า่ รา ตามแนวคดิ ท่กี ล่าวไวข้ า้ งตน้

การอธิบายท่าราได้นาเอาการแปรแถวเข้ามาในการแสดง เพ่ือให้การอธิบายท่ารา
ชดั เจนยิ่งขึน้ จงึ ได้ยกตัวอยา่ งผ้แู สดงเปน็ หลกั ในการบอกทิศทาง

ดา้ นซา้ ย หมายถงึ ซา้ ยมือของผูแ้ สดง
ด้านขวา หมายถงึ ขวามอื ของผู้แสดง
หน้าอดั หมายถงึ ผ้แู สดงหนั หน้าออกด้านหน้าเวที

ภาพประกอบที่ 35 : ฟอ้ นนมัสการพระเทวฤทธอ์ิ ินทรวกร

49

ภาพประกอบ 36 : ทา่ ที่ 1

ศีรษะ ตรง
มือ ถอื พาน
เท้า ย่าเท้า
ทิศทาง เดินออกเป็นแถวเฉยี งขึน้ ซ้ายมือ
*หมายเหตุ ออกจากฝั่งขวา


Click to View FlipBook Version