The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ใบความรู้ที่ 1แหล่งเรียนรู้ (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by warunee, 2020-07-06 11:17:22

ใบความรู้ที่ 1แหล่งเรียนรู้ (1)

ใบความรู้ที่ 1แหล่งเรียนรู้ (1)

เอกสารประกอบการเรียนรู้
รายวชิ า สารสนเทศและการสืบค้น

โดย นางสาววารณุ ี เมธวริ ิยศกั ดิ์

เอกสารประกอบการเรยี นรู้

รายวชิ า สารสนเทศและการสืบคน้

จัดทำโดย นางสาววารุณี เมธวิรยิ ศักด์ิ

หน่วยที่ 1 แหล่งเรยี นรู้และห้องสมุด
1. แหล่งเรียนรู้

แหลง่ เรียนรู้ หมายถึง แหล่งขอ้ มูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ท่ีสนบั สนุนส่งเสริมใหผ้ ู้เรียนใฝ่
เรยี น ใฝร่ ู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศยั เพอื่ เสริมสรา้ งให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้

“แหล่งเรียนร”ู้ คอื ถ่ิน ทอี่ ยู่ บรเิ วณ บอ่ เกิด แหง่ ทหี่ รือศูนย์ความรู้ทีใ่ หเ้ ข้าไปศกึ ษาหาความรู้ ความเขา้ ใจ
และความชำนาญ ซึ่งแหล่งเรียนรู้จงึ อาจเปน็ ไปได้ท้ังสงิ่ ทเี่ ป็นธรรมชาติ หรอื สิ่งทมี่ นษุ ยส์ รา้ งข้ึน เป็นได้ทง้ั บุคคล
ส่ิงมชี ีวติ และไม่มชี วี ิต และแหล่งเรียนรู้อาจจะอยใู่ นห้องเรียนในโรงเรยี นหรอื นอกโรงเรยี นกไ็ ด้

แหล่งเรยี นรตู้ ามมาตรา 25 ในพระราชบัญญตั ิการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน
พิพิธภณั ฑ์ หอศิลป์ สวนสตั ว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนยก์ ารกีฬา
และนนั ทนาการ แหลง่ ข้อมูลและแหลง่ การเรียนรู้อนื่
ประเภทของแหลง่ เรียนรู้
ประเภทของแหล่งเรยี นรู้ สามารถจำแนกเปน็ ประเภทตา่ งๆ ได้ 4 ประเภท ดงั นี้

1.แหลง่ เรยี นรูป้ ระเภทบุคคล ได้แก่ บุคคลท่ัวไปท่ีอยู่ในชมุ ชนซ่ึงสามารถถา่ นทอดองคค์ วามรู้ใหก้ ับผ้เู รยี น
ได้ เชน่ ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ชา่ งฝีมอื พ่อค้า นกั ธุรกจิ พนักงานบริษัท ข้าราชการ ภกิ ษสุ งฆ์ ศลิ ปิน นักกีฬา

2.แหลง่ การเรียนรู้ประเภทสง่ิ ทีม่ นษุ ย์สรา้ งข้นึ เชน่ สถานท่ีสำคัญทางดา้ นประวัตศิ าสตร์ โบราณสถาน
สถานทีร่ าชการ สถาบนั ทางศาสนา พิพิธภัณฑ์ ตลอด รา้ นค้า ห้างรา้ น บริษัท ธนาคาร โรงมโหรสพ โรงงาน
อุตสาหกรรม ห้องสมดุ ถนน สะพาน เขื่อน ฝายทดน้ำ สวนสาธารณะ สนามกีฬา สนามบนิ

3.แหล่งการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ เชน่ ภูเขา ปา่ ไม้ พืช ดนิ หิน แร่ ทะเล เกาะ แมน่ ำ้ ห้วย
หนอง คลอง บงึ น้ำตก ทุ่งนา สตั วป์ ่า สัตวน์ ำ้

4.แหล่งการเรียนรปู้ ระเภทกจิ กรรมทางสงั คม ประเพณี และความเชื่อ ไดแ้ ก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี
พื้นบ้าน การละเล่นพ้ืนบา้ น กีฬาพน้ื บา้ น วรรณกรรมท้องถ่ิน ศลิ ปะพน้ื บา้ น ดนตรพี ้ืนบา้ น วิถีชีวิตความเปน็ อยู่
ประจำวนั

แหลง่ เรียนรู้ หากแบง่ ตามสถานทตี่ งั้ ยงั แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ไดแ้ ก่
แหล่งเรียนรใู้ นสถานศกึ ษาและแหล่งการเรียนรู้ในชมุ ชน

ความสำคญั ของแหล่งการเรียนรู้ (กรมสามัญศึกษา, 2544, หนา้ 6)
1. เป็นแหล่งการศกึ ษาตามอธั ยาศัย
2. เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวติ
3. เปน็ แหลง่ ปลูกฝังนสิ ัยรกั การอา่ น การศึกษาค้นคว้าและการแสวงหาความรู้ ดว้ ยตนเอง
4. เปน็ แหล่งสรา้ งเสรมิ ประสบการณภ์ าคปฏบิ ัติ
5. เป็นแหลง่ สร้างเสรมิ ความรู้ ความคิด วทิ ยาการและประสบการณ์

วัตถปุ ระสงคข์ องการจดั แหล่งการเรยี นรูใ้ นโรงเรยี น (กรมสามัญศึกษา, 2544, หนา้ 8)
1. พัฒนาโรงเรียนให้เป็นสงั คมแห่งการเรยี นรู้ มีแหล่งข้อมูล ขา่ วสาร ความรู้วิทยาการ และสร้างเสริม

ประสบการณ์ที่กว้างขวางหลากหลาย
2. เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรใู้ นโรงเรยี น โดยเน้นผู้เรยี นเปน็ สำคัญ
3. จัดระบบและพัฒนาเครอื ข่ายสารสนเทศ และแหลง่ การเรยี นรู้ในโรงเรยี น
4. ส่งเสรมิ ให้ผ้เู รียนมที กั ษะการเรยี นรู้ เป็นผู้ใฝเ่ รยี น ใฝร่ ู้ และเรียนรูด้ ว้ ยตนเองอยา่ งต่อเน่ือง

2. ห้องสมดุ

หอ้ งสมดุ ในอดีตของประเทศไทย ก็เป็นเชน่ เดยี วกับหอ้ งสมดุ ในบางประเทศ คือ แตเ่ ดิมมเี พยี ง
หอ้ งสมดุ ในวดั และในพระราชวังเป็นส่วนใหญ่ ในวัดมกี ารสอนพุทธศาสนา และภาษาบาลีแก่
ภกิ ษุ สามเณร สอนอา่ นและเขียนตัวอักษรขอมบนใบลาน จึงมอี าคารเก็บรวบรวมพระคมั ภรี ไ์ ตร
ปิฎก เรยี กว่า หอไตร จัดเป็นอาคารเอกเทศ และเป็นสว่ นหน่ึงของวดั หอไตรบางแหง่ เก็บหนงั สือ
อย่างอืน่ ดว้ ย เชน่ กฎหมาย ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ เม่อื พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ ให้สรา้ งอาคาร
เก็บพระคัมภรี ์ไตรปฎิ ก ซึง่ โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวม และชำระคือ ตรวจสอบความถกู ต้อง แล้วคดั
ลงใหมใ่ นใบลาน อาคารหลงั นีพ้ ระราชทานนามว่า หอพระมณเฑียรธรรม ตอ่ มาเมอ่ื
พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัว มีพระราชดำริ รวบรวมพระไตรปิฎกฉบับตา่ งๆ ใน
ประเทศไทย รวมทัง้ ฉบับทแ่ี ปลเป็นภาษาตา่ งประเทศในประเทศตา่ งๆ ที่นับถอื พุทธศาสนา จงึ
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระพทุ ธศาสนาสงั คหะขน้ึ ในวดั เบญจมบพติ ร ปรากฏว่า รวบรวมพระ
คัมภรี ไ์ ด้มาก เมอื่ ทรงสถาปนาหอพระสมุดวชิรญาณ สำหรับพระนคร เป็นการเฉลิมพระเกียรติ
พระบรมชนกนาถคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว จงึ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
รวมหอพระมณเฑยี รธรรม หอพระพทุ ธศาสนสงั คหะ และหอพระสมุดวชิรญาณ ซ่ึงมอี ยู่แลว้ ใน
พระบรมมหาราชวงั เข้าด้วยกนั เปน็ หอพระสมดุ วชิรญาณ สำหรับพระนคร พระราชทานโอกาส
ใหป้ ระชาชนชาวไทยเข้าอ่านหนังสือในหอพระสมุดแห่งน้ีได้
ในประวตั ศิ าสตร์ไดจ้ ารึกความเป็นมาของห้องสมดุ ไวว้ ่ามีมาตงั้ แตส่ มัยสโุ ขทัย สบื ทอดยาวนาน
มาจนถึงปัจจบุ ัน แบง่ ตามระยะเวลาตามประวตั ศิ าสตร์ได้ดังน้ี

สมัยสโุ ขทัย (พ.ศ. 1800 - 1920) พอ่ ขุนรามคำแหงมหาราชไดท้ รงประดิษฐ์อกั ษรไทยข้นึ ในปี
พ.ศ.1826 ได้จารกึ เร่ืองราวต่างๆ ลงบนแผน่ หนิ หรอื เสาหนิ คลา้ ยกบั หลกั ศิลาจารกึ ของพ่อขนุ
รามคำแหงมหาราช ทีจ่ ารกึ เมอื่ ประมาณ 700 ปีมาแลว้ ซ่งึ หลกั ศิลาจารกึ ของพ่อขนุ รามคำแหง
มหาราชถือเป็นหนงั สอื เล่มแรกของไทย เมือ่ พอ่ ขุนรามคำแหงมหาราชสง่ สมณฑูตไปสบื ศาสนาที่
ลงั กา ก็รับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้าสูก่ รุงสโุ ขทัย พรอ้ มท้งั คัมภีร์พระไตรปฎิ ก โดย
สันนษิ ฐานว่าจารึกลงในใบลาน

ดังนน้ั พระในเมืองไทยจงึ มีการคัดลอกพระไตรปิฎกทีเ่ รยี กว่า การสรา้ งหนังสือ ทำให้มีหนังสอื ทางพุทธ
ศาสนาเกิดข้นึ จำนวนมากทีเ่ รียกวา่ หนงั สอื ผูกใบลาน จึงสร้างเรือนเอกเทศสำหรับเก็บหนงั สือทางพทุ ธศาสนา
เรยี กวา่ หอไตร และในปลายสมยั กรุงสโุ ขทัยได้มีวรรณกรรมทางศาสนาท่ีสำคัญคอื ไตรภูมพิ ระร่วง ซ่ึงเปน็
พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลไิ ทย

หนังสือผูกใบลาน ไตรภูมิพระรว่ ง

สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310) ได้มีการสร้างหอหลวงไวใ้ นพระบรมมหาราชวงั เป็นที่สำหรบั
เก็บหนังสอื ของทางราชการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 ท้ังหอไตรและหอหลวงไดถ้ กู พม่าทำลายไดร้ บั ความเสยี หาย

สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310 - 2325) พระเจ้าตากสินได้โปรดให้ขอยืมพระไตรปิฎกจากเมือง
นครศรธี รรมราชมาคัดลอกและโปรดเกล้าฯ ให้สรา้ งหอพระไตรปิฎกหลวง หรือเรยี กวา่ หอหลวง

สมัยกรุงรัตนโกสนิ ทร์ (พ.ศ. 2325 - ปัจจบุ นั )
1. หอพระมณเฑียรธรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระ
มณเฑียรธรรมขึน้ เมื่อ พ.ศ 2326 ในพระบรมมหาราชวังบริเวณวดั พระศรีรตั นศาสดาราม เพอื่ เกบ็ พระไตรปิฎก
หลวง แตถ่ ูกไฟไหม้ จงึ โปรดใหส้ ร้างขึ้นใหมแ่ ละใช้นามเดิม

2. จารกึ วดั พระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า
ฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ซ่ึงสร้างขน้ึ ในสมยั กรุงศรีอยธุ ยา และใหร้ วบรวมเลือกสรรตำราต่างๆ มาตรวจ
ตราแก้ไขแลว้ จารึกลงบนแผ่นศลิ าประดบั ไว้ในบริเวณต่างๆ ของวดั มีรปู เขียนและรปู ปัน้ ประกอบตำรานนั้ ๆ แต่
ที่รจู้ กั กันแพร่หลายคือ รูปปัน้ ฤาษีดัดตนในทา่ ต่างๆ ทถี่ ือเปน็ ตน้ ตำรับการนวดและตำรายาไทย ซึ่งเป็นต้นตำรับ
การแพทยแ์ ผนไทยมาจนกระทง่ั ทุกวนั น้ี นอกจากน้ันยังมีความรู้อีกมากมายมทจ่ี ารึกไว้ จนทำให้จารึกวัดพระเช
ตุพนวิมลมังคลาราม ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลยั แห่งแรกของไทย และได้รับการยกย่องให้เป็นห้องสมุดประชาชน
แห่งแรกของไทย

จารกึ วดั พระเชตพุ นวิมลมงั คลาราม (วดั โพธ)์ิ
3. หอพระสมดุ วชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หวั โปรดให้สรา้ งข้นึ ในปี พ.ศ.2424 เพอ่ื
เฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

4. หอพทุ ธศาสนสังคหะ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หวั ทรงสร้างขึ้นทวี่ ดั เบญจมบพิตร
เมื่อ พ.ศ. 2443 เพ่ือเกบ็ หนังสือตา่ งๆ เกย่ี วกบั พระพุทธศาสนา

5. หอสมุดสำหรับพระนคร พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวทรงสรา้ งขึน้ เมอ่ื พ.ศ.2448 โดย
โปรดเกลา้ ฯ ใหร้ วมหอพระมณเฑยี รธรรม หอพระสมดุ วชิรญาณ และหอพทุ ธศาสนาสงั คหะเข้าเป็นหอเดียวกนั
และพระราชทานนามวา่ หอพระสมดุ วชริ ญาณสำหรับพระนคร

6. หอสมดุ แห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ได้สร้างข้ึนเม่ือ พ.ศ.2468 โดยใหแ้ ยก
ห้องสมดุ ออกเป็น 2 หอ คือ แยกหนงั สอื ตวั เขียน ได้แก่ สมุดไทย หนงั สือจารกึ ลงในใบลาน สมดุ ขอ่ ย ศลิ า
จารึก และต้ลู ายรดนำ้ ไปเกบ็ ไวท้ ีพ่ ระท่นี ่ัง ศวิ โมกขพิมาน ซึง่ อยู่ในบริเวณพพิ ิธภัณฑสถานแห่งชาติ ใช้สำหรบั
เกบ็ หนังสือตัวเขียน และเรียกวา่ หอพระวชริ ญาณ ส่วนหอสมุดที่ต้ังขน้ึ ท่ีตึกถาวรวตั ถุใช้เก็บหนงั สอื ตัวพิมพ์
เรียกว่า หอพระสมุดวชริ าวุธ

7. หอจดหมายเหตุ พระบาทสมเดจ็ พระมงกฏุ เกลา้ เจ้าอย่หู ัว โปรดเกลา้ ฯ ใหส้ ร้างข้ึนเมื่อ พ.ศ. 2459 มี
งานดังน้ี

- งานจดั หาเอกสารและบนั ทึกเหตกุ ารณ์
- งานจดั เกบ็ เอกสาร
- งานบริการเอกสาร
- งานซอ่ มแซมและบูรณะเอกสาร
- งานไมโครฟลิ ์ม และถ่ายสำเนาเอกสาร

หอสมดุ แห่งชาติ หอจดหมายเหตุ

2.1 ความหมายหอ้ งสมดุ

ห้องสมุด ( Library ) หมายถึงแหล่งรวบรวมขอ้ มลู ข่าวสาร ความรู้ตา่ งๆ ท้งั ทีอ่ ยูใ่ นรปู ของส่ิงตีพมิ พ์ และ
ไม่ตีพมิ พ์ (สารนเิ ทศ) เพื่อให้ผ้ใู ช้ห้องสมดุ ได้ใช้ มกี ารบริการและจดั อยา่ งเป็นระบบ เป็นหมวดหมู่ เพือ่ สะดวกแก่
ผ้ใู ชใ้ นการคน้ หาวัสดุสารนิเทศดังกล่าว บรรณารักษ์ และเจ้าหนา้ ทีห่ ้องสมุดจะเปน็ ผู้รบั ผดิ ชอบในการดำเนินงาน
ไมว่ ่าจะเป็นการจัดหา จัดซ้ือ จดั หมู่ ทำบตั รรายการ ซ่อมหนังสือ ฯลฯ

วัตถุประสงคข์ องห้องสมดุ
1. เพื่อการศึกษา
2. เพอ่ื การคน้ ควา้ วิจยั
3. เพื่อการจรรโลงใจ
4. เพอ่ื การพักผ่อนหย่อนใจ
5. เพ่ือบริการดา้ นข่าวสาร

1. เพื่อการศึกษา จากการท่ปี ัจจบุ นั การศกึ ษาจะเนน้ ใหผ้ เู้ รียนมกี ารศึกษาค้นควา้ ดว้ ยตัวเอง หอ้ งสมุดจึง
ถอื เป็นแหลง่ รวบรวมความรู้ท่ีเปดิ โอกาสใหผ้ ้ใู ชไ้ ด้ศึกษาความรู้ ไดด้ ว้ ยตนเองตามความรู้ความสามารถ และความ
ตอ้ งการของแตล่ ะบคุ คล ดงั น้ันหอ้ งสมดุ จงึ ต้องจัดหาหนังสือ ส่ิงพมิ พ์ ตลอดจนโสตทัศนวัสดมุ าไวบ้ ริการใน
ห้องสมดุ เพ่ือสนองวัตถปุ ระสงคด์ งั กล่าวเชน่ ห้องสมดุ โรงเรียน ห้องสมดุ มหาวิทยาลยั วทิ ยาลัย

2. เพือ่ การคน้ คว้าวจิ ยั ปัจจุบันประเทศไทยเรามีการพัฒนามาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในดา้ น
การศกึ ษาการแพทย์ ธรุ กิจ ส่ิงแวดลอ้ ม มีการทำวจิ ัยในหลายดา้ น เพ่อื ให้เกิดความก้าวหนา้ ทางวิชาการ และเพื่อ
พฒั นาประเทศ การค้นคว้าวิจัยดังกล่าว หอ้ งสมุดมบี ทบาทมากในการเปน็ แหล่งความรขู้ ้อมูลต่างๆ เพ่อื เป็น
หลกั ฐานอ้างองิ ในการวิจัย ผู้ท่ีจะทำการวจิ ยั เร่อื งใหมๆ่ ยอ่ มต้องการคน้ คว้าเร่ืองที่มีอยเู่ ดิมเพื่อความรู้ และเพื่อให้
ทราบว่างานวิจยั เร่ืองนั้นๆ มีใครทำแล้วหรือไม่ จะได้ไม่ทำซำ้

3. เพ่ือการจรรโลงใจ หอ้ งสมดุ ไดร้ วบรวมสารนิเทศไวห้ ลายประเภทแต่จะมบี างประเภทท่ีให้ความ
จรรโลงใจ หรือความสุขทางใจแกผ่ ้อู ่าน/ผ้ใู ช้ เชน่ ประเภทวรรณคดี (ทำใหซ้ าบซ้งึ ในสำนวนภาษา บทกวี ข้อคิด
ของนักปราชญ)์ ประเภทศาสนา ชีวประวัติ (ทำให้เกิดแนวคิดทีด่ ี ใหค้ ตชิ วี ิต ชื่นชมในความคดิ ทดี่ ีงามของผู้อ่นื
เกดิ แรงจูงใจปรารถนาทจี่ ะกระทำส่ิงนัน้ )

4. เพอ่ื การพกั ผอ่ นหยอ่ นใจ ห้องสมดุ บางแหง่ นอกจากจะมหี นังสือ วารสาน นิตยสาร โสตทัศนวสั ดใุ น
ด้านวิชาการแลว้ ยังมปี ระเภทท่ใี หค้ วามบนั เทิง บางแห่งมีการเล่านิทาน จดั นิทรรศการ ประกวดคำขวญั กจิ กรรม
ดงั กล่าวทำให้เกิดความเพลิดเพลนิ

5. เพอื่ บรกิ ารด้านข่าวสาร หอ้ งสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ ข่าวสารเหตุการณ์ ความเคล่ือนไหวตา่ งๆ
ของโลก ตลอดจนวทิ ยาการและเทคโนโลยใี หมๆ่ เชน่ หนงั สอื พิมพ์ วารสาน จะทำให้ผอู้ ่านสามารถนำข่าวสาร
ความร้ทู ไ่ี ด้ไปปรับปรุงความรู้ ความสามารถของตนเองทม่ี ีอยูเ่ ดมิ ทำให้เป็นคนทนั ตอ่ เหตุการณ์ ความเปลยี่ นแปลง
ของโลก

ความสำคญั ของห้องสมดุ

1. ห้องสมดุ เป็นแหล่งรวบรวมความรตู้ า่ งๆในโลกเอาไว้ เม่ือมนุษย์มีการค้นพบความรูต้ ่างๆข้ึนมาใหม่ ก็
จะมีการบนั ทกึ เกบ็ รวบรวมไว้ในรปู แบบตา่ งๆ สว่ นใหญ่จะอย่ใู นรปู สิง่ พิมพ์ แต่ปัจจบุ ันจะบันทึกในคอมพวิ เตอร์
ห้องสมดุ จงึ ต้องมีหน้าท่เี กบ็ รวบรวมสารนิเทศไว้บริการ

2. หอ้ งสมดุ เป็นสถานที่ทที่ ุกคนสามารถคน้ คว้าหาความรูไ้ ด้อย่างเสรี ตามความงามสนใจ การเรยี นช้นั
เรยี นแต่ละคนจะมีความสนใจหรือความชอบทต่ี า่ งกนั ไปไม่เหมือนกนั บางครง้ั ครูผู้สอน สอนจำกัดในหลกั สตู ร แต่
ผู้เรยี นมคี วามสนใจ ตอ้ งการค้นคว้าเพ่ิมเติม กส็ ามารถค้นคว้าเพม่ิ เตมิ ไดจ้ ากหอ้ งสมุด

3. หอ้ งสมุดชว่ ยปลกู ฝังนสิ ัยรกั การอ่านและการค้นคว้า เม่ือเข้าห้องสมุดไปอ่านศกึ ษาค้นคว้าหนังสอื หรอื
สารนิเทศอ่นื ๆ เพื่อความบนั เทิงหรือคลายเครียด ก็เปน็ สิ่งหนงึ่ ท่ีจะสามารถปลกู ฝังใหเ้ กิดนิสยั รกั การอ่าน และการ
ค้นควา้ ได้

4. หอ้ งสมุดช่วยสง่ เสรมิ การใช้เวลาวา่ งใหเ้ ป็นประโยชน์ มนุษย์เราเม่ือมีเวลาวา่ งมกั จะหากจิ กรรมทไ่ี ม่ใช่
งานประจำทำ บางคนเลือกอ่านหนังสือดูโทรทศั น์ ฟังวทิ ยุ ดูภาพยนตร์ ปลกู ต้นไม้ เลีย้ งสัตว์ ฯลฯ ซงึ่ การอา่ น
หนังสอื กส็ ามารถนำความรู้ ความคดิ ใหม่ๆ ทีไ่ ด้จากการอา่ นไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรืองานประจำไดล้ ะการจะมี
หนังสอื อา่ นนน้ั นอกจากจะซอื้ เปน็ สมบตั สิ ว่ นตวั หรือ ยืมจากเพื่อนคนใกลช้ ิดแลว้ ห้องสมุดก็เป็นแหล่งหน่งึ ทีจ่ ะ
สนองความต้องการดงั กลา่ ว

5. หอ้ งสมุดช่วยให้ผู้ใช้ มีความรทู้ ่ีทันสมัยอย่เู สมอ โดยท่ัวไปห้องสมุดมหี น้าที่จดั หาทรัพยากรสารนิเทศ
ใหม่ๆ มาบริการผ้ใู ช้อยเู่ สมอ สารนเิ ทศบางประเภทจะมีการเสมอข่าวสารข้อมูลใหม่ๆ โดยเฉพาะหนังสอื พมิ พ์
วารสาร ซึ่งใหข้ ้อมูลท่เี ป็นปัจจบุ นั และทนั สมัยกวา่ หนงั สือ

2.2 ประเภทของหอ้ งสมดุ

หอ้ งสมดุ ในปัจจุบันแบ่งออกไปตามหนา้ ท่เี ปน็ ประเภทต่างๆ คือ
1. หอ้ งสมดุ แห่งชาติ

นับเปน็ หอ้ งสมดุ ที่ใหญ่ทส่ี ดุ ในประเทศ ดำเนินการโดยรัฐบาล ทำหน้าทหี่ ลกั คือ รวบรวมหนังสอื สงิ่ พมิ พ์
และสือ่ ความรู้ทุกอย่างทีผ่ ลิตข้ึนในประเทศ และทกุ อย่างท่ีเกย่ี วกบั ประเทศ ไมว่ า่ จะจัดพิมพ์ในประเทศใด ภาษา
ใด ทัง้ น้ีเป็นการอนุรักษ์ส่ือความรู้ ซ่ึงเปน็ ทรัพยส์ นิ ทางปัญญาของชาติ มิให้สญู ไป และให้มีไว้ใชใ้ นอนาคต
นอกจากรวบรวมสิง่ พิมพใ์ นประเทศแลว้ กม็ หี นา้ ท่ีรวบรวมหนงั สือทม่ี ีคุณค่า ซึ่งพิมพ์ในประเทศอืน่ ไว้ เพื่อการ
ค้นคว้าอา้ งอิง ตลอดจนทำหนา้ ที่เปน็ ศูนย์รวมบรรณานุกรมต่างๆ และจัดทำบรรณานกุ รมแห่งชาติ ออกเผยแพร่ให้
ทราบท่ัวกันว่า มหี นงั สอื อะไรบา้ งท่ผี ลติ ขน้ึ ในประเทศ หอ้ งสมุดแหง่ ชาติจึงเป็นแหลง่ ให้บรกิ ารทางความรู้แก่คนทง้ั
ประเทศ ชว่ ยเหลอื การคน้ คว้า วิจยั ตอบคำถาม และให้คำแนะนำปรกึ ษาเก่ียวกับหนังสือ

2. ห้องสมุดประชาชน
เช่นเดียวกับห้องสมดุ แห่งชาติ ห้องสมุดประชาชนดำเนินการโดยรัฐ อาจจะเป็นรฐั บาลกลาง รฐั บาล

ท้องถิ่น หรือเทศบาล แล้วแต่ระบบการปกครองของแตล่ ะประเทศ ตามความหมายเดิม ห้องสมุดประชาชนเป็น
หอ้ งสมดุ ทปี่ ระชาชนตอ้ งการให้มีในชมุ ชน หรือเมืองท่เี ขาอาศยั อยู่ ประชาชนจะสนับสนุน โดยยนิ ยอมให้รัฐบาล
จา่ ยเงินรายได้จากภาษีต่างๆ ในการจดั ต้งั และดำเนนิ การ ห้องสมดุ ประเภทนเ้ี ปน็ บริการของรัฐ จงึ มิไดเ้ รียก
คา่ ตอบแทน เชน่ คา่ บำรงุ ห้องสมุด หรือค่าเช่าหนงั สือ ทั้งนเ้ี พราะถือว่า ประชาชนได้บำรุงแลว้ โดยการเสยี ภาษี
รายไดใ้ ห้แก่ประเทศ หนา้ ที่ของห้องสมดุ ประชาชนก็คือ ให้บริการหนังสอื เพื่อการศึกษาตลอดชวี ติ บรกิ ารข่าวสาร
ความเคล่อื นไหวทางวชิ าการ และเหตุการณต์ า่ งๆ ที่ ประชาชนควรทราบ ส่งเสรมิ นสิ ัยรักการอ่าน และการรจู้ กั ใช้
เวลาวา่ งใหเ้ ป็นประโยชน์ ให้ขา่ วสารข้อมูลทจี่ ำเป็นต้องใช้ในการปฏบิ ตั งิ าน และการพัฒนาดา้ นต่างๆ ของแตล่ ะ
คนและสังคม

3. ห้องสมดุ ของมหาวิทยาลยั และวิทยาลัย
เป็นหอ้ งสมุดทตี่ ้ังอยู่ในสถานศกึ ษาระดบั อุดมศึกษา ทำหนา้ ทส่ี ง่ เสริมการเรยี นการสอนตามหลกั สตู ร โดยการจัด

รวบรวมหนังสือ และสื่อความรอู้ ื่นๆ ในหมวดวิชาต่างๆ ตามหลกั สตู ร ช่วยเหลือในการคน้ ควา้ วิจยั ของอาจารย์ และ
นกั ศกึ ษาสง่ เสรมิ พฒั นาการทางวชิ าการของอาจารย์ และนักศึกษาโดยจดั ใหม้ ีแหลง่ ความรแู้ ละช่วยจัดทำบรรณานุกรม
และดัชนี สำหรับค้นหาเรื่องราวท่ตี ้องการ แนะนำนักศกึ ษาในการใชห้ นงั สืออ้างอิง บตั รรายการ และคมู่ ือสำหรบั การคน้
เรื่อง

4. หอ้ งสมุดโรงเรียน
เปน็ ห้องสมุดท่ีต้งั อยู่ในโรงเรียนมัธยม และโรงเรียนประถมศึกษา มีหนา้ ที่ส่งเสรมิ การเรยี นการสอนตาม

หลักสูตร โดยการรวบรวมหนังสือ และส่อื ความรู้อน่ื ๆ ตามรายวิชา แนะนำส่งั สอนการใช้หอ้ งสมดุ แก่นักเรยี น จดั
กิจกรรมสง่ เสริมนสิ ัยรกั การอ่าน แนะนำให้รู้จักหนงั สอื ที่ควรอ่าน ใหร้ ูจ้ ักวธิ ีศกึ ษาคน้ ควา้ หาความรู้ดว้ ยตนเอง ให้
รูจ้ กั รักและถนอมหนงั สือ และเคารพสิทธขิ องผอู้ นื่ ในการใช้หอ้ งสมดุ และยืมหนังสือ ซ่งึ เป็นสมบตั ิของทุกคน
รว่ มกนั รว่ มมือกับครูอาจารย์ ในการจัดช่วั โมงใช้ห้องสมุด จัดหนงั สอื และส่ือการสอนอ่ืนๆ ตามรายวชิ าใหแ้ ก่ครู
อาจารย์

5. ห้องสมดุ เฉพาะ
คอื ห้องสมดุ ซ่ึงรวบรวมหนงั สือในสาขาวชิ าบางสาขาโดยเฉพาะ มักเปน็ ส่วนหนงึ่ ของหน่วยราชการ

องค์การ บรษิ ัท เอกชน หรอื ธนาคาร ทำหน้าท่ีจัดหาหนังสือ และใหบ้ ริการความรู้ ข้อมูล และข่าวสารเฉพาะ เรอื่ ง
ที่เก่ียวข้องกับการดำเนินงานของหนว่ ยงานนนั้ ๆ ห้องสมดุ เฉพาะจะเนน้ การรวบรวมรายงาน การคน้ คว้าวจิ ยั
วารสารทางวชิ าการ และเอกสารเฉพาะเรอื่ ง ทีผ่ ลติ เพ่ือการใช้ในกลมุ่ นกั วชิ าการ บริการของห้องสมดุ เฉพาะจะ
เน้นการชว่ ยค้นเรื่องราว ตอบคำถาม แปลบทความทางวิชาการ จดั ทำสำเนาเอกสาร คน้ หาเอกสาร จัดทำ
บรรณานกุ รม และดชั นีค้นเรื่องใหต้ ามต้องการ จดั พมิ พ์ขา่ วสาร เก่ียวกับสงิ่ พิมพ์เฉพาะเรอ่ื งสง่ ให้ถึงผใู้ ช้ จัดสง่
เอกสาร และเรอ่ื งย่อของเอกสารเฉพาะเรื่อง ให้ถงึ ผู้ใช้ตามความสนใจเปน็ รายบุคคล

ในปัจจบุ ันนี้ เนอื่ งจากการผลิตหนังสอื และสิง่ พิมพ์อ่ืนๆ โดยเฉพาะวารสารทางวิชาการ รายงานการวจิ ยั
และรายงานการประชุมทางวิชาการ มีปริมาณเพม่ิ ขึ้นมากมาย แต่ละสาขาวิชามีสาขาแยกยอ่ ยเปน็ รายละเอยี ด
ลึกซึง้ จงึ ยากที่หอ้ งสมุดแห่งใดแหง่ หนง่ึ จะรวบรวมเอกสารเหลา่ น้ไี ดห้ มดทุกอย่าง และใหบ้ ริการได้ทุกอย่าง
ครบถว้ น จงึ เกิดมหี นว่ ยงานดำเนนิ การเฉพาะเรื่อง เช่น รวบรวมหนังสือ และสงิ่ พิมพ์อื่นๆ เฉพาะสาขาวชิ าย่อย
วเิ คราะหเ์ น้ือหา จดั ทำเรอ่ื งย่อ และดชั นคี น้ เร่ืองนัน้ ๆ แลว้ พิมพ์ออกเผยแพรใ่ ห้ถึงตวั ผู้ตอ้ งการเรื่องราวข่าวสาร
และข้อมูล ตลอดจนเอกสารในเรื่องนนั้ หน่วยงานทีท่ ำหน้าที่ประเภทนี้ จะมีช่อื เรยี กว่า ศูนย์เอกสาร ศนู ย์
สารสนเทศ ศูนย์ขา่ วสาร หรอื ศนู ยส์ ารนิเทศ เชน่ ศูนยเ์ อกสารการวิจยั ทางวทิ ยาศาสตร์ ศูนยข์ า่ วสารการประมง
เป็นต้น ศนู ยเ์ หล่านีบ้ างศูนย์เปน็ เอกเทศ บางศูนย์กเ็ ปน็ ส่วนหนึง่ ของห้องสมุด บางศูนย์กเ็ ป็นสว่ นหนง่ึ ของ
หน่วยงาน เช่นเดยี วกับห้องสมุดเฉพาะ

2.3 มารยาทในการใช้ห้องสมุด

มารยาทในการใช้ห้องสมุด หมายถึง ข้อตกลงท่ผี ู้ใช้หอ้ งสมุดควรปฏบิ ัติตามเพ่ือความเป็นระเบยี บ
เรยี บร้อยของห้องสมุด

มารยาทในการใชห้ ้องสมดุ โรงเรียน
1. แตง่ กายใหส้ ภุ าพเรยี บร้อย
2. สำรวมและไมส่ ง่ เสยี งดังในห้องสมุดเนื่องจากอาจรบกวนสมาชิกท่านอนื่ ได้
3. หา้ มนำอาหาร และเครอื่ งดื่มทุกชนดิ เขา้ มาในห้องสมุด
4. วางกระเปา๋ หนงั สือหรอื สมั ภาระต่าง ๆ ไว้ที่ ท่ีทางห้องสมุดจัดเตรยี มไว้
5. เมือ่ ลุกจากเกา้ อ้คี วรเล่อื นเก้าอี้เก็บเข้าทีใ่ ห้เรียบร้อย
6. เมอ่ื อ่านหนังสอื เสร็จแล้วใหน้ ักเรียนวางหนังสอื เหลา่ นั้น ไว้ในท่พี ักหนงั สอื ที่ทางห้องสมุดจัดเตรยี มไว้
7. รักษามารยาทการมาก่อน-หลังในการให้บริการยืมคืนหนังสอื
8. ไม่ฉกี ขีดเขยี นหรือทำเครอื่ งหมายใด ๆ ลงในหนงั สอื ห้องสมดุ
9. ไม่นำหนังสือ วารสารหรอื หนังสือพิมพ์ออกจากห้องสมุดโดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
10. ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการทำลายทรัพยส์ มบัติของห้องสมดุ
11. เมอ่ื มปี ัญหาในการใช้หอ้ งสมุด สามารถสอบถามไดท้ ี่คุณครบู รรณารักษ์

ระเบยี บห้องสมดุ โรงเรียน
หมายถงึ กฎ ข้อบังคับหรือข้อตกลงทก่ี ำหนดข้นึ เพื่อใหผ้ ู้ใชบ้ รกิ ารปฏบิ ัติ เพื่อความปลอดภัยของ

ทรัพยากรห้องสมุด ป้องกนั การชำรดุ สญู หายรวมท้ังชว่ ยใหผ้ ใู้ ชห้ ้องสมุดปฏิบัติอยา่ ง เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดย
สมำ่ เสมอ

ระเบยี บการใช้หอ้ งสมุดโรงเรียนอา่ งทองปทั มโรจนว์ ิทยาคม


Click to View FlipBook Version