LAW
อาญา 2
0801241 กฎหมายอาญา ภาคความผิด
Criminal Law : Specific Offenses
อ. วีณา สุวรรณโณ
รายวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต
สาขา นิติศาสตร์หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564
คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ
โดย
641081430
นายอิคตีฟัร แวและ
S104
คำนำ
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเเจ้งความ
เท็จตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา โดย
มีเนื้อหาเกี่ยวกับมาตรา 137,172,173,174 ใน
รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)
เพื่ อให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้
เพื่อให้กิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไป
ประยุกต์ใช้ไดใ้นการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับ
กฎหมายต่อไป
จัดทำโดย
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ 1
3
การเเจ้งความเท็จ 9
13
ความผิดเกี่ยวกับความเท็จ 17
20
มาตรา 137
ฎีกา
มาตรา 172
ฎีกา
มาตรา 173
ฎีกา
มาตรา 173
ฎีกา
อ้างอิง
การแจ้งความเท็จ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา
137,172,173,174
1
การแจ้งความเท็จ
ความผิดเกี่ยวกับความเท็จมีดังนี้
1. มาตรา 137 แจ้งความเท็จ
2. มาตรา 172 - 174
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดทางอาญา
2
ประมวล
กฎหมาย ผู้ใดแจ้งข้อความอัน
อาญา เป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่ง
มาตรา อาจทำให้ผู้อื่นหรือ
ประชาชนเสียหาย ต้อง
๑๓๗ ระวางโทษจำคุกไม่เกินหก
เดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่ง
หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบข้อแรก
คำว่า“ผู้ใด” อาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ก็ได้
ฎ. 1807 / 2531
องค์ประกอบข้อที่สอง “แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ”
อาจเป็นการแจ้งด้วยวาจา
ฎ. 492 / 2509
ฎ. 1955 /2546
หรือโดยเอกสาร
1.กรอกข้อความเท็จในเอกสารแล้วยืนเอกสารที่มี
ข้อความอันเป็นเท็จนั้นให้แก่จพง.
(ฎ 2752 / 2519, 605 / 2546)
2.รับรองว่าเจ้าของที่ดินติดกันได้ทําประโยชน์อันเป็น
เท็จเพื่อออก น.ส.3 (ฎ2296-97/2557)
3
หรือด้วยวิธีแสดงหลักฐานเท็จ
ฎ. 3470 / 2525
ฎ. 636 / 2546
ฎ. 7115 / 2547
ฎ. 557 / 2550
*** หากอยู่เฉยโดยไม่รับหรือปฏิเสธเมื่อเจ้าพนักงาน
สอบถามไม่ถือเป็นการแจ้งข้อความ
ฎ. 1744 / 2505
*** ต้องไม่ใช่เรื่องอนาคต
แจ้งขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เมื่อได้
ใบัอนุญาตแล้วไม่ได้เดินทางออกไปจริงต่อมาขอ
ถอนการขออนญุาต ไม่ผิดแจ้งความเท็จ
ฎ.654 - 655 / 2513
ต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จในขณะที่
แจ้งนั้น หากไม่ยืนยันเรื่องที่ยังไม่แน่นอน ไม่ถือ
เป็นการแจ้งความเท็จ
ฎ. 1435 / 2531
ฎ. 1424 / 2554 ไม่ยืนยันข้อเท็จจริง
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตแล้วยังมาว่าความ
ในศาลถือว่ามาแจ้งข้อความเท็จต่อศาลว่าตัวเอง
ยังเป็นทนายความ ผิดฐานแจ้งความเท็จได้
ฎ. 673 / 2483
#หมายเหตุ ข้อความในย่อหน้าของคุณ
มีคําพิพากษา ฎ.2174/ 2545 ลงโทษ
ทนายความฐานละเมิดดอำนาจศาลอย่างไรก็ตาม
คงต้องคำนึงถึงเจตนาด้วยว่ารู้อยู่แล้วหรือไม่หรือ
เพียงแต่หลงลืม
4
ข้อความเท็จต้องเป็นข้อสําคัญในคดี
ฎ. 1338 / 2529
ฎ. 2752 / 2519
ฎ. 2141 / 2532
ตวัอย่างไม่ใช่ข ้ อสําคญั ในคด ี
ฎ. 1360 / 2515
ฎ. 2039 / 2537
อ้างฎ. 9 / 2518 ทีวินิจฉัยว่าผู้จัดการมรดกมาแถลง
งบดุล ไม่ตรงความจริงไม่ใช่ข้อสําคัญในคดีเพราะไม่
ทำให้ทายาทได้รับมรดกน้อยลง
องค์ประกอบข้อสาม
“ แก่เจ้าพนักงาน ” การแจ้งข้อเท็จนี้ต้องแจ้งแก่เจ้า
พนักงานที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการที่เเจ้ง ถ้าหาก
ไม่มีหน้าที่ไม่ถือว่าผิดแจ้งความเท็จ
ฎ. 6796 / 2540
แม้เป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ หากปฏิบัติที่โดยมิ
ชอบ ผู้เเจ้งความเท็จก็ไม่ผิดฐานเเจ้งความเท็จ
ฎ. 197 / 2481
5
***สรุป***
1. ผู้แจ้งความเท็จนั้นอาจเป็น บุคคลธรรมดา หรือ
นิติบุคคล ก็ได้
2. การแจ้งความเท็จอาจทำโดย
- การบอกกับเจ้าพนักงาน
- การตอบคำถามเจ้าพนักงาน เช่น ให้การเท็จในฐานะ
เป็นพยาน
- การแจ้งโดยวิธีแสดงหลักฐาน
3. ข้อความที่แจ้งต้องเป็นข้อเท็จจริงในอดีตหรือใน
ปัจจุบัน หากเป็นเรื่อง 'อนาคต' ไม่เป็นความเท็จ
4. การแจ้งความเท็จนั้นต้องมีลักษณะเป็นการยืนยันข้อ
เท็จจริง มิใช่การแสดงความคิดเห็น หรือการคาดคะเน
ถึงเหตุการณ์ในอนาคต
5. การแจ้งความเท็จนั้น ผู้แจ้งต้องกระทำโดยเจตนา
กล่าวคือ ต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ไม่เป็น
ความจริงตามที่แจ้งเพราะหากแจ้งตามที่เข้าใจเช่นนี้
ถือว่าผู้แจ้งไม่มีเจตนา
6
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2561 การที่จำเลยรู้ว่ามิได้เกิดเหตุลัก
ทรัพย์รถกระบะ แต่กลับแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายลัก
ทรัพย์รถกระบะที่จำเลยเช่าซื้อไป เพื่อจะนำเงินที่ได้รับจากบริษัท
ผู้รับประกันภัยไปชำระค่างวดแก่ธนาคาร ก. ผู้ให้เช่าซื้อ การกระทำ
ของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 อันเป็นบทบัญญัติ
เฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่า
ด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีก และเมื่อ
ไม่เกิดมีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์เกิดขึ้นในคดีนี้ จึงไม่เป็นความ
ผิดตามมาตรา 172
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9556/2558 การที่จำเลยมอบอำนาจให้
ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือ
บริคณห์สนธิ และแจ้งย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท บ.
ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยอ้างว่าจำเลยได้บอกกล่าวนัด
ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ โดยลงพิมพ์โฆษณาใน
หนังสือพิมพ์และส่งมอบให้ผู้ถือหุ้น และที่ประชุมวิสามัญมีมติพิเศษ
ให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่ง
ใหญ่ของบริษัทจากเดิมที่ตั้งอยู่กรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดราชบุรี
โดยไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้ง
ข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจด
ข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267
7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2560 ขณะที่จำเลยที่ 1 ไปจด
ทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ให้แก่
จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2556 คดีที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้อง ล. กับ
จำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ใน
ระหว่างฎีกายังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตาม
ที่ปรากฏในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้จด
ทะเบียนจำนองในขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสอง
แปลง ซึ่งก็ตรงตามเอกสารที่แท้จริง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 แจ้ง
ข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียน
จำนองไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่ามีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินหรือไม่
และจำเลยที่ 1 มิได้หลอกลวงให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนจำนอง
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความ
ผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และ 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10570/2558 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลย
ทั้งสองร่วมกันแจ้งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจดข้อความอันเป็น
เท็จโดยยื่นแบบนำส่งงบการเงินรอบปีบัญชีสิ้นสุดจำนวน 1 ฉบับ
และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับใหม่จำนวน 1 ฉบับ โดยมี
ข้อความระบุไว้ว่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้ของจำเลยที่ 1 จำนวน
100,000,000 บาท จำเลยทั้งสองได้เรียกชำระเงินไปจากผู้ถือหุ้น
ทั้งเจ็ดคนครบถ้วนเต็มจำนวน ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้ว
จำเลยทั้งสองยังมิได้เรียกชำระเงินค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นทั้งเจ็ดคนค้าง
ชำระอยู่อีก 49,500,000 บาท อาจทำให้โจทก์หรือประชาชนได้รับ
ความเสียหาย โดยเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องพบอุปสรรคในการ
ที่จะใช้สิทธิบังคับชำระหนี้หรือบังคับคดีเอาแก่สิทธิเรียกร้องในเงิน
ค่าหุ้นค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1096 โจทก์จึง
เป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง ย่อมเป็นผู้เสียหายในความผิด
ตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 8
ประมวล
กฎหมาย ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็น
อาญา เท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา
แก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี
มาตรา พนักงานสอบสวนหรือเจ้า
๑๗๒ พนักงานผู้มีอำนาจสืบสวน
คดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่น
หรือประชาชนเสียหาย ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสอง
ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่น
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1. ลักษณะการแจ้ง
1) ต้องเป็นการแจ้งข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อ
กฎหมาย
2) ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จในอดีตหรือ
ปัจจุบันไม่ใช่ในอนาคต
3) ต้องไม่ใช่การคาดคะเนหรือความเห็น
4) ต้องไม่ใช่การแจ้งในฐานะผู้ต้องหา
5) การแจ้งไปตามเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ถือ
เป็นการแจ้งความเท็จ
6) การแจ้งข้อเท็จจริงตามความจริงแต่ให้
ความเห็นทางกฎหมายไม่ผิดมาตรานี้
2. ต้องเป็นการแจ้งเกี่ยวกับความผิดอาญา
หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกับการบังคับคดี
9 แพ่งไม่ผิดตามาตรานี้ อาจผิด มาตรา 137
ประมวล
กฎหมาย ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็น
อาญา เท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา
แก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี
มาตรา พนักงานสอบสวนหรือเจ้า
๑๗๒ พนักงานผู้มีอำนาจสืบสวน
คดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่น
หรือประชาชนเสียหาย ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสอง
ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่น
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1. ลักษณะการแจ้ง
1) ต้องเป็นการแจ้งข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อ
กฎหมาย
2) ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จในอดีตหรือ
ปัจจุบันไม่ใช่ในอนาคต
3) ต้องไม่ใช่การคาดคะเนหรือความเห็น
4) ต้องไม่ใช่การแจ้งในฐานะผู้ต้องหา
5) การแจ้งไปตามเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ถือ
เป็นการแจ้งความเท็จ
6) การแจ้งข้อเท็จจริงตามความจริงแต่ให้
ความเห็นทางกฎหมายไม่ผิดมาตรานี้
2. ต้องเป็นการแจ้งเกี่ยวกับความผิดอาญา 10
หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกับการบังคับคดี
แพ่งไม่ผิดตามาตรานี้ อาจผิด มาตรา 137
3. ความเท็จนั้นต้องเป็นข้อสำคัญ คือเป็น
ข้อความอันอาจทำให้มีผลแพ้ชนะในประเด็น
หากเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเล็กๆ ไม่ใช่
ใ น อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ค ว า ม ผิ ด ใ น เ รื่ อ ง ที่ เ เ จ้ ง ก็ ไ ม่ เ ป็ น
ความผิดตามมาตรา 172
4. ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2530
โจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยเพื่อชำระเป็นเงิน
รางวัลสลากกินรวบและต่อมาได้แจ้งระงับการ
จ่ายเงินเพราะทราบความจริงว่าจำเลยมิได้ถูก
รางวัลแต่จำเลยได้มอบอำนาจให้ ป. ไปแจ้ง
ความ แล้วจำเลยไปให้การต่อพนักงาน
สอบสวนว่าโจทก์นำเช็คมาแลกเงินสดไปจาก
จำเลย เป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับถูกควบคุมตัว
ระหว่างการสอบสวน และถูกฟ้องต่อศาล ทั้ง
จำเลยได้เบิกความเท็จดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้
ศาลในคดีนั้นเชื่อและลงโทษโจทก์ โจทก์จึงเป็น
ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา 2 (4) และมีอำนาจฟ้อง
จำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ และเบิก
11 ความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2546
เมื่อมันสำปะหลังที่ขุดเป็นของโจทก์ที่ 1 ที่ปลูกใน
ที่ดินเกิดเหตุ โดยจำเลยทั้งสองมิได้เป็นผู้ปลูก การที่
จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์
ทั้งสี่ลักทรัพย์มันสำปะหลังที่ตนปลูกจึงเป็นการแจ้ง
ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่
พนักงานสอบสวนซึ่งทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหาย จำเลย
ที่ 1 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 172 หาใช่เป็นเรื่องขาดเจตนาไม่ ส่วนจำเลย
ที่ 2ไปให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนยืนยัน
ว่าตนร่วมปลูกมันสำปะหลังกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น
ความเท็จ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 จะได้มีเจตนา
ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่
2 คงเป็นเพียงความผิดฐานแจ้งความอันเป็นเท็จแก่
เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
137 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าเท่านั้น ปัญหานี้แม้จะ
ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบ
เรียบร้อย ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไข
ให้ถูกต้อง และกำหนดโทษให้เหมาะสมได้ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225,192 วรรคท้าย
12
ประมวล
กฎหมาย ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระ
อาญา ทำความผิดเกิดขึ้น แจ้ง
ข้อความแก่พนักงาน
มาตรา สอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้
มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า
๑๗๓ ได้มีการกระทำความผิด
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สามปี และปรับไม่เกินหก
หมื่นบาท
1. ผู้กระทำรู้ว่ามิได้มีการกระทำความ
ผิด แต่ไปแจ้งว่าได้มีการกระทำความ
ผิดเกิดขึ้นและแม้ตัวบทไม่ได้เขียนว่า
ต้องเป็นคดีอาญา แต่แนวคำพิพากษา
ฎีกาถือว่า ต้องแจ้งว่าได้มีการกระทำ
ความผิดเกี่ยวกับความผิดทางอาญา
เท่าน้น
13
2. ต้องเป็นการแจ้งข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อ
กฎหมายและข้อความที่แจ้งต้องเป็นข้อ
สำคัญในคดี
3. หากรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิด
ทางอาญาเกิดขึ้น แต่เป็นการเข้าใจโดย
สุจริตว่ามีความผิดเกิดขึ้นแล้วไปแจ้ง
แม้ความจริงจะไม่มีความผิดเกิดขึ้น ก็
ไม่เข้าองค์ประกอบ
ข้อสังเกต :
มาตรา 137 เป็นบทั่วไปของมาตรา
172 และมาตรา 173
และมาตรา 172 เป็นบททั่วไปของ
มาตรา 173
14
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
#คำพิพากษาฎีกาที่ 4248/2561
#การที่จำเลยมอบอำนาจให้ พ. ไปเเจ้งความ
ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีเเก่โจทก์กับ
ป. ในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์เเละทำให้เสีย
ทรัพย์
#*****เป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างไปตามความ
เข้าใจของตน ข้อความที่ พ. เเจ้งความร้องทุกข์
ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นเเละตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
#*****ส่วนการกระทำตามที่จำเลยเเจ้งจะเป็น
ความผิดหรือไม่ เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนจะ
ดำเนินการสอบสวนเเละรวบรวมพยานหลักฐาน
เพื่อวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด
ฐานใดซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการเเจ้งความ
ย่อมหมายถึงการเเจ้งเฉพาะข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยว
กับข้อกฎหมาย
#*****เเม้ต่อมาพนักงานสอบสวนเเละพนักงาน
อัยการจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องโจทก์กับ ป.
ก็ตาม
15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2554
คำพิพากษาย่อสั้น
จำเลยทราบว่าลายมือชื่อที่จำเลยอ้างว่าปลอม
ความจริงเป็นลายมือชื่อของจำเลยซึ่งลงชื่อไว้
มิใช่ลายมือชื่อปลอม การที่จำเลยแจ้งว่ามีการ
ปลอมลายมือชื่อจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็น
เท็จเกี่ยวกับความผิดทางอาญาแก่พนักงาน
สอบสวนโดยรู้อยู่แล้วว่ามิได้มีการกระทำความ
ผิดเกิดขึ้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา
173 และเมื่อจำเลยเอาความเป็นเท็จฟ้องโจทก์
ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา การกระทำของ
จำเลยจึงเป็นการฟ้องเท็จอันเป็นความผิดตาม
มาตรา 175 อีกกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดตาม
มาตรา 174 วรรคสอง ฟ้องโจทก์มิได้บรรยาย
ว่าจำเลยแจ้งความเท็จเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ต้อง
รับโทษ จำเลยมิได้ยืนยันว่าผู้ที่ปลอมเอกสารคือ
โจทก์ โดยจำเลยแจ้งความเพียงว่าจำเลยสงสัย
โจทก์ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาแกล้งให้
โจทก์ต้องรับโทษ ไม่อาจเป็นความผิดตาม
มาตรานี้
16
ประมวล ถ้าการแจ้งข้อความตาม
มาตรา ๑๗๒ หรือมาตรา
กฎหมาย
อาญา ๑๗๓ เป็นการเพื่อจะแกล้ง
มาตรา ให้บุคคลใดต้องถูกบังคับ
ตามวิธีการเพื่อความ
๑๗๔ ปลอดภัย ผู้กระทำต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสาม
ปี และปรับไม่เกินหกหมื่น
บาท
วรรคสอง ถ้าการแจ้งตาม
ความในวรรคแรก เป็นการ
เพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้อง
รับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่
เกินหนึ่งแสนบาท
17
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 8611 / 2553
จำเลยรู้ว่ามิได้มีการกระทำผิดในข้อหาลัก
ทรัพย์เกิดขึ้นแต่กลับแจ้งความแก่พนักงาน
สอบสวนว่ามีการกระทำความผิดในข้อหาลัก
ทรัพย์อันเป็นเท็จเพื่อให้พนักงานสอบสวน
เชื่อว่าได้มีความผิดข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้นเพื่อ
ให้โจทก์ร่วมได้รับโทษ การกระทำของจำเลย
จึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137
มาตรา 174 วรรค 2 ประกอบมาตรา 173
จำเลยยังมีเจตนาแจ้งความเพื่อให้พนักงาน
สอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ร่วมอันเป็นการใส่
ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สาม เพื่อ ให้โจทก์
ร่วมถูกดูหมิ่น เกลียดชังและเสียชื่อเสียง
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่น
ประมาทโจทก์ร่วมอีกด้วย
สรุ ป หากจงใจแจ้งความเท็จผู้เสียหายต่อ
พนักงานสอบสวน โดยจงใจใส่ความให้ผู้เสีย
หาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังต่อบุคคลที่สาม มี
ความผิดฐานหมิ่นประมาท
18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2506
จำเลยเกิดปากเสียงกับนายเงินแล้วถูกนาย
เงินชกต่อยเอา แต่จำเลยกลับนำความไปแจ้ง
ต่อพนักงานสอบสวนว่ามีนักเลง 3 คน
กลุ้มรุ มทำร้ายจำเลย โดยคนหนึ่งใช้ไม้ตี คน
หนึ่งล๊อคคออีกคนหนึ่งล้วงเอาเงินในกระเป๋า
เสื้อไป 300 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ การกระ
ทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการแกล้งจะให้
นายเงินต้องรับโทษหนักขึ้นและเป็นการกล่าว
หาว่านายเงินกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ ตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ซึ่งมี
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี การก
ระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 174 ประกอบด้วย
มาตรา 181 (1)
19
อ้างอิง
https://www.facebook.com/1495897350
425901/posts/3324560370892914/
https://www.facebook.com/3890964085
98281/posts/657181898456396/
https://www.smartdeka.com
https://justicechannel.org/law-in-
words/law-vocab-4
https://www.xn-
-42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.c
om/
https://bit.ly/3LkYLYG
20