คาํ นาํ
รัฐบาล ได้กําหนดให้นโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ เน้นการมี
ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและกําหนดให้เยาวชนเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาเพ่ือสร้างภูมิคุ้มกันและ
ป้องกันให้ห่างไกลจากปัญหายาเสพติด เน่ืองจากพบว่าปัจจุบันเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มประชากรที่มีความ
เส่ียงและมีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อเข้าสู่วงจรของปัญหายาเสพติดเป็นอย่างมาก กระทรวงศึกษาธิการ
ได้ดําเนินงานโครงการเพ่ือให้สถานศึกษาสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา โดยมี
มาตรการปอ้ งกนั ความเสยี่ ง มีใหม้ โี อกาสเก่ยี วข้องกบั ยาเสพตดิ เปน็ แนวทางหลักในการกําหนดยุทธศาสตร์การ
ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมอบหมายให้หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องนําไปขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายที่
กําหนด สํานักงาน กศน.จังหวัดลําพูน ได้ส่งเสริมสนับสนุนจัดการเรียนรู้ ในการดําเนินงานป้องกันปัญหา
ยาเสพติดตามเกณฑ์การประเมินสถานศกึ ษาสขี าว ปลอดยาเสพตดิ และอบายมขุ โดยมอบหมายให้สถานศึกษา
ในสังกัดจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านวิชาการ ทักษะชีวิต โดยให้ความสําคัญ
กบั กศน.ตําบล ในการจัดการเรยี นรู้ทงั้ ในและนอกหอ้ งเรียน
คู่มือจัดการเรียนรู้ในการดําเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติด สํานักงาน กศน.จังหวัดลําพูนเล่มนี้
จัดทําข้ึนเพ่ือรวบรวมข้อมูลในการขับเคลื่อนกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
ของสํานักงาน กศน. ซ่ึงทางผู้จัดทําหวังเป็นอย่างย่ิงว่าคู่มือจัดการเรียนรู้ในการดําเนินงานป้องกันปัญหา
ยาเสพติด จะเป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาและหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง นําไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติให้
บรรลุผลสําเรจ็ ต่อไป
สํานักงาน กศน.จังหวดั ลาํ พูน
สารบญั ๑
คาํ นาํ ๒
สารบัญ ๔
นโยบายการป้องกันและแก้ไขปญั หายาเสพตดิ ในสถานศึกษา ๗
เอกสารวิชาการ ๘
- ความรเู้ ก่ียวกับยาเสพตดิ ๑๑
- สาเหตุการติดยาเสพติด ๑๑
- วิธกี ารสังเกตผูต้ ิดยาหรือสารเสพติด ๑๑
- แนวทางการดาํ เนินการป้องกันยาเสพติด ๑๒
การดําเนินงานจดั การเรียนรู้ตามโครงการสถานศึกษาสขี าว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ๑๔
- แนวคดิ และความสาํ คญั ๑๗
- องค์ประกอบของการจัดการเรียนรเู้ พอ่ื ปอ้ งกนั ยาเสพตดิ ๑๙
- หลกั การดาํ เนินงาน ๒๓
- ขนั้ ตอนการดาํ เนนิ งาน ๒๔
- บทบาทของผเู้ กยี่ วข้อง ๒๕
- ขอบขา่ ยของงานการศึกษานอกโรงเรียน
- แนวทางจัดการเรียนรกู้ ารปอ้ งกันและแก้ไขปญั หายาเสพติดด้วยมาตรการ 5 ด้าน ๒๗
- การดําเนินงานกลยทุ ธ์ 4 ตอ้ ง 2 ไม่ ๒๘
- แผนกาํ หนดระยะเวลาการปฏบิ ัตงิ าน ๓๐
- มาตรฐานและตวั บง่ ช้โี ครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมขุ ๓๑
การดาํ เนนิ โครงการ กศน.ตําบลสีขาว ๓๓
- กลยุทธ์การดาํ เนนิ งาน ๓๖
- การจดั การองคก์ รภายใน กศน.ตําบลสขี าว ๓๙
- แผนผงั โครงสร้าง กศน.ตําบลสขี าว
- กระบวนการดําเนนิ งาน กศน.ตาํ บลสขี าว
- บทบาทหนา้ ท่นี ักศกึ ษาแกนนาํ กศน.ตําบลสีขาว
- เกณฑ์มาตรฐานการประเมินกศน.ตําบลสีขาว
การรายงานการสาํ รวจสภาพการใชส้ ารเสพติดในสถานศกึ ษา
ภาคผนวก
ก. แบบประเมนิ โครงการสถานศกึ ษาสขี าว ปลอดยาเสพติดและอบายมขุ
ข. แบบประเมินผลการดําเนนิ งาน กศน.ตาํ บลสขี าว
ค. ใบสมคั รเขา้ รับการประเมิน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพตดิ และอบายมุข
ง. การจัดทาํ เอกสารผลงานโครงการสถานศึกษาสขี าว ปลอดยาเสพติดและอบายมขุ
1
นโยบายการปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หายาเสพตดิ ในสถานศึกษา
รัฐบาลได้กําหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ
ดําเนินการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา กําหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัย
เสี่ยงและในวัยเส่ียงไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักวิธีปฏิเสธ
หลีกเล่ียงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเล่ียงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข
ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ที่ไปเก่ียวข้องกับยาเสพติด จึงได้กําหนดนโยบายให้ผู้บริหารองค์กร
หลกั หนว่ ยงานและสถานศึกษาดาํ เนินการ ดังน้ี
๑. ผู้บริหารทุกระดับนํานโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปสู่การปฏิบัติ จัดทํา
แผนปฏิบัติการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องท้ังในและนอก
สถานศกึ ษา
๒. ผู้บริหารทุกระดับ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ต้องให้ความสําคัญและมีจิตสํานึก
ร่วมกัน ท่ีจะปกป้องคุ้มครอง ดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ไม่ให้ไปเก่ียวข้องกับยาเสพติด ให้ความ
ร่วมมอื และร่วมแรงรว่ มใจจัดกิจกรรมท้งั ในหลกั สตู รและกิจกรรมพฒั นาผเู้ รียน
๓. ผู้บริหารสถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนจัดกิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษา
เป็นส่วนหนึ่งของการเรียน การสอน เช่น กิจกรรม TO BE NUMBER ONE กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ต่าง ๆ ค่าย
คุณธรรม กิจกรรมลูกเสือและเนตรนารีป้องกันยาเสพติด กิจกรรมกีฬาป้องกันยาเสพติด ส่งเสริมการ
รวมกลมุ่ ของนกั เรยี น นักศกึ ษา ท้งั ในสว่ นของชมรมและสภานักเรียน
๔. ผู้บริหารสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนให้ความรู้ เสริมสร้างจิตสํานึก ทักษะชีวิต ภูมิคุ้มกัน
ต่อต้านยาเสพติด และอบายมุข จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาทุกคนให้ท่ัวถึงโดยสร้างเครือข่าย
แกนนาํ ทกุ ระดบั ในสถานศึกษา
๕. ผู้บริหารสถานศึกษาจัดระบบการดําเนินงาน ๕ มาตรการ ตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพ
ติด คือ มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหารจัดการ ภายใต้กล
ยุทธ์ ๔ ตอ้ ง ๒ ไม่ ทกี่ ําหนดใหส้ ถานศึกษาต้องมียุทธศาสตร์ ต้องมีแผนงาน ต้องมีระบบข้อมูล ต้องมีเครือข่าย ไม่
ปกปดิ ขอ้ มูล และไม่ไลอ่ อก
๖. ผู้บริหารทุกระดับ อํานวยการ กํากับ ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานและจัดมาตรการ
เสริมแรงให้แก่ผู้รับผิดชอบด้านยาเสพติดดีเด่น ด้วยการยกย่องชมเชย มอบโล่ เกียรติบัตร เลื่อนขั้นเงินเดือน
กรณีพิเศษ มาตรการลงโทษบุคลากรท่ีไปเก่ียวข้องกับยาเสพติด ให้ออกจากราชการและเพิกถอนใบประกอบ
วิชาชีพครู
(นายพงศเ์ ทพ เทพกาญจนา)
รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ
ผ้อู ํานวยการศูนย์พลังแผน่ ดนิ เอาชนะยาเสพติด กระทรวงศกึ ษาธิการ
2
ความร้เู ก่ยี วกับยาเสพติด
สง่ิ เสพตดิ หรือ ยาเสพตดิ ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or
WHO) จะหมายถึงส่ิงท่ีเสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการท้ังทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุด
เสพได้ และจะต้องเพิม่ ปริมาณมากขึน้ เร่ือยๆ จนในทสี่ ดุ จะทําใหเ้ กดิ โรคภัยไขเ้ จบ็ ต่อร่างกายและจติ ใจขึน้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ท่ีใช้ในปัจจุบันได้กําหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษ
ดังน้ี สงิ่ เสพตดิ ใหโ้ ทษ หมายถึง "สารเคมหี รือวัตถชุ นิดใดๆ ซึง่ เม่ือเสพเขา้ สู่ร่างกายไม่วา่ จะโดยรับประทาน ดม
สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสําคัญ เช่น ต้องเพ่ิมปริมาณ
การเสพข้ึนเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่
ตลอดเวลา และทาให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็น
ยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีท่ีใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้
ตามท่ีรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจําบ้านบางตํารับ ตามกฎหมาย
ว่าด้วยยาที่มยี าเสพติดให้โทษผสมอย่"ู
ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสําคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ
หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลําบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะ
ก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทํา
มาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติด
สิ่งเสพติด และเหตุผลท่ีทําให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสําคัญของประเทศอีกข้อหน่ึงคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติด
เพิม่ มากข้นึ ทง้ั นย้ี งั ไมร่ วมถงึ จาํ นวนผตู้ ดิ บหุ ร่ี สรุ า ชา กาแฟ
ประเภทของสิง่ เสพตดิ
การออกฤทธิต์ อ่ ระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฟืน มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท
เคร่ืองด่ืมมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมท้ัง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ามันเบนซิน เป็นต้น
มกั พบว่าผู้เสพตดิ มี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลอื ง อ่อนเพลีย ฟุ้งซา่ น อารมณ์เปลี่ยนแปลงงา่ ย
ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี โคเคน เครื่องด่ืมคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมี
อาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคล่ัง หรือทําในสิ่งที่คนปกติ ไม่
กล้าทาํ เช่น ทาํ รา้ ยตนเอง หรือฆ่าผอู้ ่ืน เป็นต้น
3
ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมี
อาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุม
ตนเองไมไ่ ด้ ในที่สดุ มกั ปว่ ยเป็นโรคจติ
ประเภทออกฤทธ์ิผสมผสาน คือท้ังกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการ
หวาดระแวง ความคดิ สับสน เห็นภาพลวงตา หแู วว่ ควบคมุ ตนเองไม่ได้และปว่ ยเปน็ โรคจิตไดแ้ ก่
ธรรมชาติ เช่น ฝน่ิ มอรฟ์ นี กระทอ่ ม กญั ชา ฯลฯ
ทําขนึ้ เอง เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามนี ยาไอช์ ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ
จําแนกตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดใหโ้ ทษ พ.ศ. /2557 เช่น แอมเฟตามนี เฮโรอนี LSD ยาอี ฯลฯ
พ.ร.บ.วตั ถุทอ่ี อกฤทธ์ิตอ่ จิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เชน่ อเี ฟดรนี
4
สาเหตกุ ารตดิ ยาเสพติด
1. สาเหตทุ เี่ กดิ จากความรเู้ ทา่ ไมถ่ ึงการณ์
1.1 อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซ่ึงเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตน
จะติดส่ิงเสพติดน้ีได้ จึงไปทําการทดลองใช้สิ่งเสพติดนั้น ในการทดลองใช้คร้ังแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดี
กต็ าม ถา้ ยังไมต่ ิดส่ิงเสพติดน้ัน ก็อาจประมาท ไปทดลองใช้สิ่งเสพติดน้ันอีก จนในที่สุดก็ติดสิ่งเสพติดนั้น หรือ
ถา้ ไปทดลองใชส้ ิ่งเสพติดบางชนิด เชน่ เฮโรอีน แม้จะเสพเพยี งครงั้ เดียว ก็อาจทาํ ให้ตดิ ได้
1.2 ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมี
นิสัยดังกล่าว คนพวกน้ีอาจแสดงความเก่งกล้าของตน ในกลุ่มเพ่ือนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพติดชนิดต่าง ๆ
เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพ่ือนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คํานึง ถึงผลเสียหาย หรือ
อันตรายท่ีจะเกิดข้นึ ในภายหลังแตอ่ ย่างไร ในท่สี ุดจนเองกก็ ลายเป็นคนติดสง่ิ เสพตดิ นั้น
1.3 การชักชวนของคนอ่นื อาจเกิดจากการเชอ่ื ตามคําชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าท่ีเป็นสิ่งเสพติด
บางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพติด
น้ันว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทําให้มีกําลังวังชา ทําให้มีจิตใจแจ่มใส ทําให้มีสุขภาพดี ทําให้มีสติปัญญาดี
สามารถรกั ษาโรคไดบ้ างชนดิ เปน็ ตน้ ผู้ที่เช่ือคําชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซ้ือตามคําชักชวนของเพื่อนฝูง ซ่ึง
โดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพ่ือนหรือ เช่ือเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็น
พวกเดยี วกบั เพอื่ น จึงใชส้ ิง่ เสพติดนน้ั
2. สาเหตทุ เี่ กดิ จากการถกู หลอกลวง
ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเคร่ืองด่ืมบางรายใช้สิ่งเสพติดผสมลงในสินค้าที่ขาย
เพ่ือให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซ่ึงในกรณีน้ี ผู้ซื้ออาหารนั้นมา
รับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือ
เครอื่ งดื่มท่ีซ้ือจากร้านนั้น ๆ กว่าจะทราบก็ต่อเม่ือตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซ้ืออาหารจากร้าน
นนั้ มารบั ประทาน หรอื ตอ่ เมอื่ มอี าการเสพตดิ รุนแรง และมสี ุขภาพเสือ่ มลง
5
3. สาเหตทุ เี่ กดิ จากความเจบ็ ปว่ ย
3.1 คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดข้ึนเพราะสาเหตุต่าง ๆ เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผล
เร้ือรัง มีความเจ็บปวดอยู่เป็นประจํา เป็นโรคประจําตัวบางอย่าง เป็นต้น ทําให้ได้รับทุกข์ทรมานมากจึง
พยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานน้ันซ่ึงวิธีหน่ึงท่ีทําได้ง่ายคือ การ
รับประทานยาที่มีฤทธ์ิระงับอาการเจ็บปวดน้ันได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาท่ีเป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย
เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เม่ือฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่
ผู้ป่วยก็จะใชย้ าน้ันอีก เม่ือทาํ เชน่ นี้ไปนานๆ เกดิ อาการตดิ ยาน้ันขึน้
3.2 ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติ เช่น มีความวิตก กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลด
เสยี ใจ เป็นตน้ ทาํ ใหส้ ภาวะจิตใจไมเ่ ป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือส่ิงเสพติดที่มีฤทธิ์
สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ช่ัวขณะหน่ึงมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาท่ีต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์
จิตใจก็จะกลับเครียดอีก และ ผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพติด ถ้าทําเช่นนี้ ไปเร่ือยๆ ก็จะทําให้ผู้นั้นติดยาเสพติดใน
ทสี่ ดุ
3.3 การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาท่ีแท้จริงขนาดยาที่ควรรับประทาน
การรับประทานยาเกินจํานวนกว่าท่ีแพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทาน
ตดิ ต่อกนั นานๆ บางครั้งอาจมอี าการถึงตายได้ หรอื บางคร้ังทําให้เกิดการเสพตดิ ยานน้ั ได้
4. สาเหตุอนื่ ๆ
การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จะทําให้มีโอกาสติดส่ิงเสพติด
ให้โทษน้ันมากกว่าคนทั่วไป เม่ือมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดส่ิงเสพติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่
อยู่ใกลช้ ดิ รวมทัง้ ใจเหน็ พฤตกิ รรมต่างๆ ของเขาดว้ ย และยังอาจได้รับคําแนะนําหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึง
มโี อกาสตดิ ได้
4.1 คนบางคนอยู่ในสภาพท่ีมีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงท่ี
มหี นี้สนิ มาก ฯลฯ เมือ่ แกป้ ญั หาต่าง ๆ เหล่านไ้ี มไ่ ดก้ ห็ ันไปใช้ส่ิงเสพติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึก ในความทุกข์
ยากต่างๆเหล่านี้ แม้จะเป็นความสุขเพียงช่ัวคราวเท่านั้น เช่น กลุ้มใจท่ีเป็นหน้ีคนอื่นก็ไปกินเหล้า หรือ สูบ
กัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหน้ีสิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มข้ึน โดยพยายามทํางานให้หนัก และ มากข้ึน
ท้ัง ๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทํางานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทํา
อยเู่ ป็นประจาํ ทําใหต้ ดิ สง่ิ เสพติดนนั้ ได้
4.2 การเลียนแบบ การท่ีไปเหน็ ผทู้ ่ีตนสนิทสนมรกั ใคร่หรือเพื่อน จึงเหน็ วา่ เป็นส่ิงน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋
เป็นสิ่งแสดงความเปน็ พวกเดยี วกนั จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพตดิ น้นั จนติด
4.3 คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพ่ือ
เปน็ การประชดตนเองหรือคนอ่ืน จึงไปใชส้ งิ่ เสพติดจนตดิ ท้งั ๆ ทที่ ราบวา่ เป็นสงิ่ ไมด่ ี กต็ าม
6
สาเหตกุ ารติดยาเสพตดิ ในกล่มุ วัยรุ่น
1. จากการถูกชักชวน การถูกชักชวนน้ีอาจจะเกิดจากเพ่ือนสนิทท่ีกําลังติดยาและอยากจะให้เพื่อน
ลองบ้าง ปัญหานี้มักจะเกิดกับเด็กท่ีมีปัญหาทางครอบครัวขาดความอบอุ่น ใจแตก เอาเพ่ือนเป็นท่ีพึ่ง
นอกจากน้ีผู้ท่ีอยู่ในแหล่งที่มีการซื้อขายยาเสพติด ก็อาจจะได้รับการ ชักจูง คุณภาพของยาเสพติดว่าดีต่าง ๆ
นานา เช่น อาจจะบอกว่า เม่ือเสพแล้วจะทําให้ปลอดโปร่ง เหมาะแก่การเรียนการทางาน การชักจูงดังกล่าว
อาจจะเกิดข้นึ ในขณะทีผ่ ถู้ ูกชักจูง กําลงั มึนเมา สรุ า เท่ียวเตร่ จงึ ทาํ ใหเ้ กดิ การตดิ ยาได้
2. จากการอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น อยากจะรู้รสชาติ อยากสัมผัส โดยคิดว่าคงจะไม่ติดง่าย ๆ
แต่เมื่อ ทดลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด เพราะยาเสพติดในปัจจุบัน เช่น เฮโรอีน จะติดง่ายมาก แม้เสพเพียง
ครง้ั หรอื สองครง้ั ก็จะตดิ แลว้
3. จากการถูกหลอกลวง ยาเสพติดมีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ผู้ถูกหลอกลวงไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนได้กิน
เข้าไปนั้น เป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรง คิดว่าเป็นยาธรรมดาไม่มีพิษร้ายแรงอะไร ตามที่ผู้หลอกลวงแนะนํา
ผลสุดท้ายกลายเป็นผตู้ ิดยาเสพตดิ ไป
4. เหตุทางกาย ความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ต้องถูกผ่าตัดหรือเป็นโรคปวดศีรษะ เป็นหืด เป็นโรค
ประสาทได้รับ ความทรมานทางกายมากผู้ป่วยต้องการบรรเทา พยายามช่วยตัวเองมานานแต่ก็ไม่หาย จึงหัน
เข้าหายาเสพตดิ จนติดยาในทสี่ ดุ
5. จากความคึกคะนอง บุคคลประเภทนี้คิดว่าตัวเองเป็นคนเก่งอยากลองซ่ึงรู้แก่ใจว่ายาเสพติดให้
โทษเป็นสิ่งไม่ดีแตด่ ว้ ยความทีค่ ึกคะนองเป็นวัยรุ่นไม่เกรงกลัวอะไร ต้องการแสดง ความเด่นดังอวดเพ่ือนว่าข้า
นีค้ อื พระเอก ขาดความย้ังคิดจงึ เสพยาเสพติดและติดยาในท่ีสดุ
6. จากสิ่งแวดล้อม เช่น สถานท่ีอยู่อาศัยแออัด เป็นแหล่งสลัม หรือเป็นแหล่งท่ีมีการเสพและค้ายา
เสพติด ภาวะทางเศรษฐกิจบีบคั้นจิตใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นส่ิงท่ีมีอิทธิพล เหนือ จิตใจผลักดันให้ผู้ท่ีอยู่ใน
สภาพแวดล้อมดังกล่าว บางคนหันมาพึ่งยาเสพติดโดยคิดว่าจะช่วย ให้ตนเองหลุดพ้นจากสภาพต่าง ๆ ท่ีคับ
ขอ้ งใจเหล่านน้ั ได้
7
วิธสี ังเกตผู้ติดยาหรอื สารเสพติด
1. การเปล่ียนแปลงทางรา่ งกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซดี ทํางานหนักไมไ่ หว ริมฝปี ากเขยี วคลา้ และ
แห้ง รา่ งกายสกปรกมีกล่ินเหมน็ ชอบใสเ่ สอ้ื แขนยาว กางเกงขายาว ใสแ่ วน่ ดาํ เพ่อื ปกปิด
2. การเปล่ียนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดหงิดง่าย พูดจาก้าวร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ม่ัวสุมกับคนท่ีมีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สูบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เก่ียวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า
ขาดความเชอ่ื ม่ัน จติ ใจอ่อนแอ ใชเ้ งนิ เปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบอ่ ย
3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวส่ัน กระตุก ชัก จาม น้ํามูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดท่ี
เรียกวา่ "ลงแดง" มีไขป้ วดเมอื่ ยตามรา่ งกายอยา่ งรุนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4. อาศัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยา
บางชนิดท่สี ามารถลา้ งฤทธ์ขิ องยาเสพตดิ
ถ้าผู้เสพเปน็ นกั เรยี น นกั ศึกษามกั พบวา่
● ผลการเรยี นแย่ลง
● ตดิ ต่อกบั เพ่ือนแปลกๆใหม่ๆซ่ึงมีพฤตกิ รรมผิดปกติ
● ขอเงนิ จากผู้ปกครองเพิ่ม หรอื ยืมเงินจากเพือ่ นฝูงเสมอเพอื่ นาํ ไปซ้อื ยาเสพตดิ
● ขโมย ปล้น ฉกชงิ ว่งิ ราว เพื่อหาเงนิ ไปซ้ือยาเสพตดิ
เมื่อสงสัยว่า ผู้ใด ติดยาเสพติด จึงควรใช้การซักถาม อย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมท่ี
จะให้การชว่ ยเหลอื
ผู้ท่ีติดยาส่วนใหญ่ รู้ว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องไม่ดี หลายรายเคยมีความคิดที่จะเลิกแต่ทําไม่สําเร็จ
การถามด้วยท่าทีเป็นมิตรจึง เป็นการช่วยให้ผู้เสพได้พูด ตามความจริง คําถามท่ีใช้ไม่ควรถามว่าติดหรือไม่
แตค่ วรถามพฤติกรรมการใช้ อาทิถามวา่ เคยใช้หรอื ไม่ ครั้งสุดท้ายทใ่ี ชเ้ มอ่ื ไหร่ ฯลฯ
8
แนวทางการดําเนินงานปอ้ งกันยาเสพติด
(สาํ หรบั กลุ่มนักศกึ ษา กศน.)
หลกั การดําเนินงานป้องกนั และแกไ้ ขปัญหายาเสพตดิ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายนกั ศกึ ษาออกเปน็ ๔ กลมุ่
มีการดาํ เนินงานในแต่ละกลมุ่ ดงั น้ี
๑. กลุ่มนกั ศกึ ษาท่ไี ม่เคยใช้ยาเสพตดิ
การดําเนินงานป้องกันยาเสพติดแก่กลุ่มนักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้ยาเสพติดเป็นการ
ดาํ เนนิ การสร้างภูมิคุม้ กนั ยาเสพติดระยะยาว โดยมีมาตรการในการดําเนินงานแก่นักศึกษา ดังน้ี
๑) มาตรการทางการศกึ ษา
ในการให้การศึกษาเพื่อป้องกันยาเสพติด มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ปรับเปลี่ยนเจตคติและการ
ปฏบิ ัติตนของนักศกึ ษาเกยี่ วกับยาเสพตดิ โดยมีลักษณะของการดาํ เนินงาน 3 ลกั ษณะ คอื
๑. การกําหนดเนื้อหาความรู้เรื่องการป้องกันยาเสพติดในหลักสูตร เพื่อให้มีการเรียนการสอนในทุก
ระดับช้ันทกี่ าํ หนดหลกั สตู รไว้ ในชีวิตรายวชิ าสขุ ศกึ ษา พลศึกษา
๒. การผนวกเนื้อหายาเสพติดเข้าไปในวิชาการต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องโดยไม่มีหลักสูตรกําหนดไว้ โดยครู
พิจารณาตามความเหมาะสมในวชิ าตา่ ง ๆ หรอื มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้า เขียนเป็นรายงานหรือเรียงความ
ภาษาไทย หรือภาษาองั กฤษ เปน็ ต้น
๓. การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อประโยชน์ในการป้องกันยาเสพติด กิจกรรมที่เก่ียวข้องกับการ
ป้องกันยาเสพติดท่ีเสริมหลักสูตร ได้แก่ การจัดค่ายพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรม ลูกเสือ กศน.ต้านยาเสพติด
กิจกรรมกลุ่มเพื่อน กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่มีเน้ือหาเก่ียวข้องกับการป้องกันยาเสพติดท่ี
ไดร้ ับการส่งเสรมิ ใหด้ าํ เนนิ การในสถานศึกษา
2) มาตรการเผยแพรป่ ระชาสัมพนั ธ์
มาตรการในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ มุ่งรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการป้องกันยาเสพติดแก่
นักศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักต่อปัญหายาเสพติด การรู้จักปฏิบัติตนและการมีส่วนร่วมในการป้องกัน
ปัญหายาเสพตดิ
3) มาตรการทางเลือก
มาตรการทางเลือกเป็นมาตรการท่ีมุ่งส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ท้ังด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม
สติปัญญา และความสามารถทางอาชีพของนักเรยี น โดยมีการดําเนินกิจกรรมทางเลือกดา้ นตา่ ง ๆ ดงั นี้
1. ด้านสุขภาพอนามัย ได้แก่ การส่งเสริมการออกกําลังกายและการเล่นกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬา
กศน.เกมส์ การออกกําลังกาย และการเล่นกีฬาตามโครงการลานกีฬาเพื่อการป้องกันยาเสพติดและ
นันทนาการอ่ืน ๆ
2. ด้านจริยธรรม ได้แก่ การมีส่วนร่วมกิจกรรมทางศาสนาในโอกาสวันสําคัญทางศาสนา การอบรม
ศีลธรรม การฝกึ นงั่ สมาธิ และการสง่ เสรมิ ประเพณไี ทย
3. ด้านสังคม เช่นการรวมตัวกันจัดต้ังเป็นกลุ่มต่าง ๆ เช่น ชมรมดนตรี การร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร
บาํ เพ็ญประโยชน์ กจิ กรรมลกู เสอื กิจกรรมอาสายวุ กาชาด กจิ กรรมค่ายคณุ ธรรม เปน็ ต้น
4. ด้านการฝึกอาชีพ ได้แก่ กิจกรรมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน กิจกรรมเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงและเกษตรทฤษฏใี หม่ เปน็ ต้น
9
4) การฝกึ ทกั ษะชีวติ
การฝึกทักษะชีวติ มีวัตถุประสงคใ์ นการสรา้ งคุณลกั ษณะ หรอื ความสามารถในเชิงสังคมจิตวิทยาให้กับ
นักศึกษาเพื่อให้สามารถเผชิญสถานการณ์ท่ีเกิดข้ึนในชีวิตประจําวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทักษะชีวิตจะ
เป็นความสามารถขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจําเป็นต้องใช้ในสังคมที่ได้มาจากการฝึกฝนจนชํานาญนั่นเอง ทักษะชีวิต
ท่ีสําคัญในการดํารงชีวิตให้ปลอดภัยจากยาเสพติด ได้แก่ ทักษะในการคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์
ทักษะในการประเมินศักยภาพของตนเอง ทักษะในการคิดหาทางเลือกและตัดสินใจ ทักษะในการปฏิเสธ
ต่อรองรักษาผลประโยชน์ของตน ทักษะในการส่ือสาร และทักษะในการควบคุมอารมณ์และความเครียด
เป็นต้น
5) การใชก้ จิ กรรมกลุม่ เพอื่ น
ในช่วงของวัยรุ่น “เพ่ือน” นับว่าเป็นบุคคลท่ีมีอิทธิพลต่อความคิด เจตคติ และพฤติกรรมของวัยรุ่น
ดว้ ยกัน การดาํ เนนิ งานปอ้ งกันยาเสพติดได้ตระหนักถึงความสําคัญและเห็นคุณค่าของกลุ่มเพ่ือน จึงได้มีการใช้
กิจกรรมกลุ่มเพ่ือนเพื่อประโยชน์ในการป้องกันยาเสพติด โดยมีรากฐานความเช่ือมั่นในความสําคัญของกลุ่ม
เพ่ือนว่ามีอิทธิพลสามารถท่ีจะโน้มน้าวชักจูงเพื่อนในกลุ่มด้วยการแนะนํา ให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มที่มี
ปญั หาให้ได้รับความชว่ ยเหลือท่ีเหมาะสม ก็สามารถทีจ่ ะป้องกนั นกั เรียนที่มีปัญหามิให้มพี ฤติกรรมเบี่ยงเบนไป
ในทางที่ไม่ถูกต้อง นอกจากน้ันกลุ่มเพ่ือนยังสามารถให้ความช่วยเหลือกันในเรื่องการเรียนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพกิจกรรมกลุ่มเพื่อนดําเนินการโดยการฝึกอบรมนักศึกษา ที่มีบุคลิกภาพเป็นผู้นํา ให้ไปเป็น
แกนนําของกลุ่มเพ่ือน และมอบหมายบทบาทให้ปฏิบัติ เช่น บทบาทในการเป็นเพ่ือนเรียน เพ่ือนสนิท
ซ่ึงสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่ม โดยมีครูอาจารย์เป็นที่ปรึกษาในการดําเนินงานของ
กลุม่ เพ่ือนอยา่ งใกลช้ ิด
6) การปรบั สภาพแวดลอ้ ม
การจัดบริเวณและส่ิงแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้น่าอยู่ น่าเรียน จะทําให้นักเรียนมีความรักและ
ผูกพันต่อสถานท่ี กระตือรือร้นอยากมาเรียน จะช่วยเสรมิ สรา้ งบรรยากาศการเรียน ลดปัญหาการหนีเรียนเป็น
จดุ เรม่ิ ของพฤติกรรมเบย่ี งเบนตา่ ง ๆ
10
2. กลุม่ นกั ศกึ ษาทมี่ ปี ระสบการณใ์ นการใชย้ าเสพตดิ
กลุ่มนักศึกษากลุ่มเส่ียงนี้ส่วนมากจะเริ่มใช้ยาเสพติดประเภทยาบ้า กัญชาและสารระเหย โดยจะมี
ลักษณะและพฤติกรรม กล่าวคือ นกั ศึกษากลมุ่ น้ีจะไมร่ ับผดิ ชอบหนา้ ท่ีทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากครู ไม่เอาใจใส่ใน
การเรียน ผลการเรียนตกตํ่ามีค่านิยมในการใช้ยาเสพติดและการคบเพ่ือนท่ีผิด มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน อ่ืน ๆ
เช่น หนีเรียน หลับในชั้นเรียน มั่วสุมกันเพื่อเสพยาเสพติดก่อนเข้าห้องเรียน การแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียน
กลุ่มนีค้ วรใชม้ าตรการแทรกแซงเพอื่ ให้ความช่วยเหลอื แก่นักเรยี น ดงั น้ี
1) โรงเรียนจดั บรกิ ารใหค้ ําปรึกษาแนะนาํ โดยอาจารย์แนะแนวและจัดการเรียนการสอนเสรมิ พเิ ศษ
2) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบ่ียงเบนต่าง ๆ ให้อยู่ในกรอบที่เหมาะสมโดยการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อนใน
การให้ความชว่ ยเหลอื นกั ศกึ ษาทมี่ ีปญั หา
3) สรา้ งค่านยิ มใหมใ่ นเรื่องการคบเพ่ือนและการไมใ่ ช้ยาเสพตดิ
4) ดําเนินมาตรการป้องปราม โดยเข้มงวดในการตรวจค้น การลักลอบนํายาเสพติดมาใช้ และสุ่ม
ตรวจปัสสาวะแก่นักศึกษากลุ่มนเ้ี ปน็ คร้งั คราวโดยไมม่ ีการแจ้งลว่ งหน้า
5) จัดทํากลุ่มบําบัดในลักษณะของค่าย โดยมี ครูอาจารย์ดูแลอย่างใกล้ชิด มีระเบียบท่ีรัดกุมและใน
กรณีท่ีนักศึกษาได้รับผลจากการใช้ยาเสพติด สถานศึกษาควรแนะนําให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์เพ่ือรักษา
อาการ ที่ปรากฏ
6) ประสานงานกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิดเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยผู้ปกครองสามารถเข้ามามีส่วน
ร่วมในโครงการ ก็จะช่วยให้การทาํ กลมุ่ บําบัดประสบความสาํ เร็จยง่ิ ขึน้
3. กลุ่มนกั ศกึ ษาทต่ี ดิ ยา
นักศึกษากลุ่มน้ีจะใช้ยาเสพติดเป็นประจําจนติด พฤติกรรมโดยท่ัวไปจะไม่สามารถเรียนหนังสือต่อไป
ได้ โกหกหลอกลวง ลักขโมยทรัพย์สินของเพื่อน ครูอาจารย์ เพ่ือหาเงินมาซ้ือยาเสพติด นอกจากนี้ยังมี
พฤติกรรมในการหาเงนิ โดยการขายยาเสพตดิ ให้กบั เพื่อนนกั ศกึ ษาอ่ืน ดังน้ันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยา
เสพติดไปสู่นักศึกษากลุ่มอื่น สถานศึกษาควรประสานให้ผู้ปกครองส่งนักศึกษากลุ่มนี้เข้ารับการบําบัดรักษา
และฟ้ืนฟูสมรรถภาพในสถานพยาบาลหรือค่ายบําบัดรักษา ในกรณีท่ีพ่อแม่ ผู้ปกครองไม่พร้อมที่จะส่ง
ลูกหลานเข้ารับการบําบัดรักษา สถานศึกษาควรส่งนักศึกษาเข้ารับการบําบัดรักษาและฟ้ืนฟูสมรรถภาพแทน
ไม่ควรไล่นักศึกษาออกจากโรงเรียนด้วยเหตุผลของการติดยาเสพติด และจัดให้มีการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา
หลังการบําบัดรักษา ทั้งในดา้ นการเรยี นและการปรบั ตัวเข้าสสู่ ังคม
4. กลุม่ นกั ศกึ ษาที่มพี ฤติกรรมในการคา้ ยาเสพตดิ
นักศึกษาท่ีมพี ฤตกิ รรมในการขายยาเสพตดิ ให้แกเ่ พอ่ื นด้วยกนั มี 2 กลมุ่ ดงั นี้
กลุ่มที่ 1 นักศึกษาที่เป็นผู้ค้ายาเสพติดโดยเป็นส่วนของกระบวนการค้ายาเสพติดท่ีเป็นผู้ค้ารายย่อย
สถานศึกษาควรประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อหาทางยุติพฤติกรรมดังกล่าวและดําเนินการป้องปรามด้วย
มาตรการทางการศกึ ษา เช่น การภาคทณั ฑ์ หากไม่เปล่ียนแปลงพฤติกรรม ควรดําเนินการโดยใช้มาตรการทาง
กฎหมายตอ่ ไป ก่อนที่ปญั หาการแพร่ระบาดของยาเสพติดจะขยายตวั มากขน้ึ
กลุ่มท่ี 2 กลุ่มนักศึกษาท่ีติดยาเสพติดและขายยาเสพติดให้เพ่ือนเพราะต้องการยาเสพติดของแถม
เพื่อใช้เองหรือต้องการหาเงินเพ่ือซ้ือยาเสพติดใช้ นักศึกษากลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้ป่วยติดยาเสพติด ไม่ถือว่าเป็น
อาชญากร สถานศึกษาควรตกั เตือนและภาคทัณฑ์ สัง่ ให้ยุตกิ ารกระทําดังกล่าวและส่งนักศึกษาผู้น้ันเข้ารับการ
บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือให้ผู้ปกครองดําเนินการพานักเรียนไปบําบัดฟ้ืนฟู สมรรถภาพ ถ้า
นักเรียนยังไม่ยุติการกระทําดังกล่าว สถานศึกษาควรดําเนินการเช่นเดียวกับนักเรียน กลุ่มท่ี 1.นอกจากน้ัน
สถานศึกษาควรมีมาตรการที่เข้มงวดในการป้องปราม โดยการตรวจค้นการยาเสพตดิ
11
การดําเนินการจัดการเรียนรตู้ ามโครงการสถานศกึ ษาสีขาว
ปลอดยาเสพติดและอบายมขุ
แนวคดิ และความสาํ คญั
การจัดการเรียนรู้เพ่ือสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและ
อบายมุขในสถานศึกษา เป็นการจัดการเรียนรู้ ภายใต้ภารกิจการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อธั ยาศยั ของ กศน.อาํ เภอ ได้แก่ การศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน การศึกษาต่อเน่ือง การศึกษา
ตามอัธยาศัย ที่เก่ียวข้องกับเนื้อหาสาระยาเสพติด ในด้านการป้องกัน การค้นหา การรักษา และการเฝ้าระวัง เพ่ือให้
ผู้เรียนมีความสามารถในการเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจําวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมี
ความสามารถที่จะปรับตัวได้ในอนาคต มีทักษะท่ีจะช่วยให้นักศึกษา สามารถนําความรู้ในเรื่องต่างๆ มา
เช่ือมโยงกับทัศนคติ ผ่านการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองถึงผลท่ีจะเกิดข้ึน และตัดสินใจปฏิบัติในส่ิงที่เหมาะสมได้
และรับมือกับปัญหาและความเปล่ียนแปลงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างดียิ่ง โดยสถานศึกษา
มีแนวทางการดําเนินงานด้วยกระบวนการคุณภาพ PDCA และมีการพัฒนาปรับปรุงการดําเนินงานแก้ปัญหา
ยาเสพติดอย่างตอ่ เนื่อง ม่งุ หวงั ใหน้ ักศึกษา ซึ่งเปน็ เยาวชนของจงั หวดั ลาํ พูนมีชีวิตทป่ี ลอดภัยจากยาเสพตดิ
องคป์ ระกอบของการจดั การเรยี นรตู้ ามโครงการสถานศกึ ษาสีขาวปลอดยาเสพตดิ และอบายมขุ
- มีระบบการวางแผนปฏบิ ัตงิ านป้องกันยาเสพตดิ อย่างมียุทธศาสตร์
- มรี ะบบการจดั การเรยี นรทู้ เี่ นน้ การพัฒนาผ้เู รียน
- มีระบบการนเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมินผลที่มปี ระสทิ ธภิ าพ
- มีกระบวนการการปอ้ งกัน ค้นหา รกั ษา และการเฝ้าระวงั อยา่ งตอ่ เนื่อง
- มเี ครอื ขา่ ยในการดาํ เนนิ งานท่ีมีประสทิ ธภิ าพ
หลกั การดาํ เนนิ งาน
- การดําเนินงานจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยา
เสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา จะต้องดําเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเน่ือง ตามข้ันตอนกระบวนการ
ดาํ เนินงานตามมาตรฐาน 5 ดา้ น
- บุคลากรเป็นหลกั สาํ คญั ในการจัดการเรยี นรู้ แนะแนว ติดตามผล ใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพ
- ใชก้ ารนิเทศ ติดตาม และประเมินผล เป็นกลไกในการควบคุมคุณภาพในการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้าง
ภมู คิ ุ้มกันยาเสพตดิ
12
ข้ันตอนการดาํ เนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
๑. สถานศึกษานําข้อมูลปัจจัยเส่ียงรอบสถานศึกษาและข้อมูลการคัดกรองมาศึกษาวิเคราะห์
สงั เคราะห์ปญั หาและสาเหตทุ ่แี ทจ้ ริงของปญั หายาเสพตดิ และปัจจยั เสยี่ งแหลง่ อบายมขุ รอบสถานศกึ ษา
๒. สถานศึกษาแต่งตั้งคณะทํางานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขนําข้อมูล
จากการศกึ ษาขอ้ ท่ี ๑ มาจัดทําแผนปฏิบัติการ จัดทาํ โครงการและกิจกรรมใหต้ รงกบั สาเหตุทแ่ี ทจ้ ริงกับปัญหา
๓. ดําเนินการจัดทําตารางปฏิบัติการตลอดปีการศึกษา และดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการโครงการ
และกจิ กรรมโดยการมีสว่ นรว่ มของทกุ ภาคสว่ นตามทก่ี าํ หนดไว้ใน ๕ มาตรการ กลยุทธ์ ๔ ต้อง ๒ ไม่
๔. ผู้บริหารสถานศึกษา อํานวยการ กํากับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานส่งเสริมและ
สนับสนุนให้มีการดําเนินงานอย่างเป็นระบบมีความต่อเน่ืองเข้มแข็งและย่ังยืน สรุปรายงานผลการดําเนินงาน
ใหห้ น่วยงานต้นสงั กัด
๕. ผู้บริหารหน่วยงานระดับพ้ืนที่แต่งตั้งคณะทํางานประเมินผลการดําเนินงานโครงการสถานศึกษาสี
ขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประเมินผลการดําเนินงานตามหลักเกณฑ์นําเสนอศูนย์อํานวยการพลัง
แผน่ ดนิ เอาชนะยาเสพตดิ กระทรวงศึกษาธกิ าร
๖. ศูนย์อํานวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ แต่งต้ังคณะกรรมการ
ดําเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตรวจสอบรายชื่อสถานศึกษาพิจารณา
ผลงานและใหค้ วามเห็นชอบจดั ลาํ ดับผลงานและจัดทําประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
๗. ศูนย์อํานวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ มอบโล่ เกียรติบัตร เพื่อ
ประกาศใหเ้ ปน็ สถานศกึ ษาสขี าว ปลอดยาเสพตดิ และอบายมขุ ของปกี ารศึกษา
๘. ศูนย์อํานวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ จัดสรรโควตาการเล่ือนขั้น
เงินเดือนกรณีพิเศษของสํานักงาน ป.ป.ส. และของหน่วยงานให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการ
สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมขุ
ประชุมคณะทํางานโครงการสถานศกึ ษาสขี าว ปลอดยาเสพติดและอบายมขุ
จดั ทําโครงการสถานศึกษาสขี าว ปลอดยาเสพติดและอบายมขุ
กิจกรรมในสถานศึกษาโครงการห้องเรยี นสีขาว กจิ กรรมนอกสถานศกึ ษา
โครงการตํารวจประสานสถานศึกษา ๑ ตาํ รวจ ๑ โรงเรียน
ประสานงานกบั หนว่ ยงานท่ีเก่ียวขอ้ ง ประสานกับหน่วยงานทีเ่ ก่ยี วข้อง
ดาํ เนนิ งาน ๕ มาตรการ กลยทุ ธ์ ๔ ต้อง ๒ ไม่ ดาํ เนินงานตามมาตรการ ๔ ประสาน ๒ คาํ้
คณะกรรมการประเมินผลการดาํ เนินงาน
สรปุ ผล/รายงาน ศพส.กระทรวงศึกษาธิการ
13
กระบวนการดาํ เนนิ งานโครงการสถานศกึ ษาสขี าว ปลอดยาเสพตดิ และอบายมุข
๑. สถานการณย์ าเสพตดิ /อบายมขุ ในสถานศึกษา
ปจั จยั เส่ียงและผลกระทบจากแหลง่ อบายมขุ
บคุ คล ครอบครัว สถานศกึ ษา ชุมชน
เด็กและเยาวชน ขาดความอบอนุ่ สอนท่องจํา มงุ่ วชิ า ยากไร้ ออ่ นแอ
ตกอยู่ในภาวะเส่ียง แตกแยก เหินห่าง ขาดการพัฒนารอบดา้ น หวงั รอรับความชว่ ยเหลอื
สภาพปัญหา
๑. สถานการณ์แพร่ระบาดของยาเสพติดและแหล่งอบายมุขเริ่มในกลุ่มหลงผิด แล้วแพร่กระจายไปสู่
กลุ่มผู้ขายบริการทางเพศ เข้าสู่ครอบครัวและสถานศึกษา ทําให้จํานวนคนติดยาเสพติดที่เป็นเด็กและเยาวชน
มีจาํ นวนเพ่มิ มากข้นึ
๒. การผลติ และการจําหน่ายยาเสพติดมีเทคโนโลยีสูง และการกระจายยาเสพติดอย่างรวดเร็วจนยาก
ในการปราบปราม มกี ารสร้างระบบเครือขา่ ยการจําหน่ายเหมือนสินคา้ จําหนา่ ยตรงใน กลมุ่ นกั เรยี น นักศกึ ษา
๓. สภาพสังคม ครอบครัว และชุมชนเปลี่ยนแปลง ทําให้วิถีชีวิตมีความเส่ียง แตกหัก เหินห่าง และ
อ่อนแอ
๔. การบริหารจัดการท่ีขาดเอกภาพ ทําให้ต่างหน่วยงานต่างคนต่างทํา ขาดความต่อเนื่องผู้ติดยา
เสพตดิ ยังวนเวียนอยู่ในวงจรแห่งความช่ัวรา้ ย เปน็ ภาระของสังคม ทําใหป้ ระเทศขาดศักยภาพในการแข่งขันใน
เวทีโลก
ยุทธศาสตร์การปอ้ งกนั และแก้ไขปัญหา
๑. การรณรงค์ให้ผู้บริหารสถานศึกษานํานโยบายสําคัญของรัฐบาลท่ีกําหนดเป็นวาระแห่งชาติที่ทุก
ฝ่าย ต้องร่วมแก้ปัญหา จึงต้องพัฒนากลไกการบริหารจัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาในการ
ดาํ เนินงาน
๒.กําหนดวิธีการแก้ไขปัญหาท่ีมีประสิทธิภาพ โดยการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และแก้ไขให้ชัดเจน จึงต้อง
พัฒนาคน ครอบครวั โรงเรียน และชมุ ชน
๓. การระดมความร่วมมือจากทุกสถานศึกษาในการแก้ปัญหา โดยถือว่าเป็นปัญหาของตนเองต้องทํา
ตอ่ เน่ืองครบวงจรและผู้ชนะ คือ สถานศึกษาสขี าว จึงตอ้ งพัฒนาสถานศกึ ษาให้ต่อสู้กบั ปญั หาทุกรูปแบบ
๔. ให้ความสําคัญในการต่อต้านยาเสพติด แต่ต้องแก้ปัญหาส่ิงมอมเมาอบายมุขอ่ืนควบคู่กันไปด้วย
จึงต้องพัฒนาสภาพส่ิงแวดล้อม บริการทางการแพทย์ และจิตวิทยาสังคม เพ่ือมิให้ปัญหาเลวร้ายยิ่งกว่าท่ีเป็น
ในปัจจบุ ัน
14
๒. วสิ ัยทศั น์และการแกป้ ญั หาในสถานศกึ ษา
๑. ผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่งตื่นตัวรณรงค์ และตระหนักถึงปัญหายาเสพติด อบายมุข สิ่งมอมเมา
การพนันและอันธพาลทเ่ี กิดข้นึ กับ นกั เรียน นกั ศึกษา
๒. นักเรียน นักศึกษา ที่มีพฤติกรรมเป็นผู้เสพยาเสพติดและพฤติกรรมผู้ลุ่มหลงส่ิงมอมเมา และ
นักเลงมีระบบการสง่ ตอ่ ใหไ้ ดร้ ับการช่วยเหลือ สงเคราะห์จากบ้าน สถานศกึ ษา และชุมชน จนกลบั คนื สู่สงั คมและ
ชวี ติ สงบสุข
๓. แหล่งอบายมุขสงิ่ ยัว่ ยทุ างกามารมณ์ลดลง ปจั จัยเส่ียงรอบสถานศึกษามกี ารบังคบั ใช้กฎหมาย
๔. จํานวนของสถานศึกษาสีขาว ซึ่งต่อสู้กับปัญหาอบายมุขและปัญหายาเสพติดได้สําเร็จและย่ังยืนมี
มากข้ึน
ภารกจิ ท่ตี ้องดําเนินการ
๑. สรา้ งความตระหนกั และปลกุ จติ สํานึกของสถานศึกษาใหต้ ้องลกุ ขน้ึ มาตอ่ สดู้ ว้ ยรปู แบบทเ่ี หมาะสมกับ
ตนเอง
๒. ต้องพัฒนาศักยภาพของกระทรวงศึกษาธิการ ในการประสาน/ติดตาม/ตรวจสอบเพื่อสนับสนุน
สถานศกึ ษาตอ่ สูก้ บั ปญั หายาเสพตดิ /อบายมขุ อย่างต่อเนอื่ งและเป็นระบบ
๓. ใช้การศึกษาเปน็ กลไกสาํ คัญในการป้องกัน และต้องทําให้ได้ผล มิฉะนั้นต้องใช้มาตรการรุนแรงขึ้น
เพื่อในอนาคต ไมใ่ ห้เกิดกรณีนักเรยี น นักศกึ ษา เปล่ยี นจากผ้เู สพมาเปน็ ผ้จู าํ หน่ายมากขน้ึ
ผรู้ ับภารกิจในระดบั ต่างๆ ประกอบด้วย
๑. ระดับกระทรวง คณะกรรมการสถานศึกษาสีขาวระดับกระทรวง โดยมีรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และมีคณะกรรมการจากส่วนราชการ/ภาคเอกชน/ชุมชน โดยมี
กระทรวงศกึ ษาธิการเป็นคณะกรรมการดาํ เนินงาน
๒. ระดบั องคก์ รหลกั คณะกรรมการสถานศกึ ษาสขี าวขององค์กรหลกั ในสงั กัดกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
๓. ระดับสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศกึ ษาทกุ สถานศึกษาในสงั กดั กระทรวงศกึ ษาธิการ
บทบาทของผู้เก่ียวข้อง
บทบาทของผบู้ รหิ าร
- ผู้บริหารต้องมีนโยบาย มาตรการ และกําหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของ
กศน.อําเภอ ในการจัดการเรียนรู้ เพ่ือสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและ
อบายมขุ ในสถานศึกษาของ กศน.ตําบลที่ชดั เจน สามารถปฏิบตั ิไดเ้ พื่อไปสสู่ ถานศกึ ษาสขี าว
- ใหค้ าํ แนะนาํ คําปรึกษาทางวิชาการในการพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เอาใจใส่
การจดั การศกึ ษา เลือกใช้สื่อการเรียนรู้ ใชห้ ลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยมีการติดตาม กํากับ ประเมินผล
และนาํ ผลการประเมินไปพฒั นาปรับปรุง
- ผู้บริหารต้องมีการนิเทศ กํากับ ดูแล ตรวจสอบ และประเมินผลการดําเนินงานอย่างจริงจังและ
ต่อเน่อื ง ถกู ตอ้ งตามระเบียบและตามกรอบระยะเวลาทท่ี างราชการเกี่ยวข้อง กาํ หนด เอกสาร และหลักฐานต่างๆ ต้อง
เกบ็ รักษาไวท้ ปี่ ลอดภัยสามารถตรวจสอบได้
- ผู้บรหิ ารตอ้ งส่งเสริมพฒั นาบคุ ลากร ผู้ทีเ่ กย่ี วข้อง อยา่ งทั่วถงึ ตามภารกจิ งานการจัดการศึกษา นอกระบบ
และการศกึ ษาตามอธั ยาศัยอาํ เภอ
15
บทบาทของครู
ศึกษาสํารวจสภาพปัญหา ความต้องการ ความจําเป็นของนักศึกษา ชุมชนต่อการป้องกันและ
แก้ปัญหายาเสพติด โดยการรวบรวมข้อมูลจากการจัดทําเวทีประชาคม สํารวจด้วยแบบสอบถาม หรือเป็นข้อมูล
จากหน่วยงานอ่ืนที่จัดสารสนเทศไว้แล้ว นํามาวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลความต้องการในการพัฒนาชุมชน
ความตอ้ งการการเรยี นรู้ ความต้องการในการแกไ้ ขปญั หายาเสพติดในชุมชน หรือการศึกษาต่อ ฯลฯ ของนักศึกษา
และประชาชน
- จัดทําแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของ กศน.อําเภอ และนําสู่การปฏิบัติ
โดยจดั โครงการ/กจิ กรรม หรอื จัดการเรียนการสอนตามเนอ้ื หาสาระการดําเนินชวี ิตรายวิชาสุขศกึ ษาพลศึกษา
- จัดทําฐานข้อมูลชุมชนและข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลของ กศน.ตําบล/สถานศึกษา เพื่อใช้ ใน
การบรหิ ารจดั การและการจัดการเรยี นรเู้ พอ่ื สร้างภูมคิ มุ้ กนั ยาเสพตดิ
- จัดทําโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้ข้อมูลชุมชนและข้อมูล
ผู้เรียนรายบุคคล มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขอรับการสนับสนุนและประสานความร่วมมือจากภาคี
เครือข่าย
- ประสานงานแสวงหาความร่วมมือภาคีเครือข่าย เพ่ือร่วมจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยของ
ชมุ ชนทรี่ บั ผดิ ชอบ
- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ กศน.ตําบล โดยจําแนกการจัดกิจกรรม อาทิ การจัดการศึกษา
นอกระบบระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพ การ
พัฒนาทักษะชวี ติ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง โดยมีข้นั ตอน ดงั นี้
- วางแผนการดําเนินงานและการจัดกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน โดยร่วมกันวิเคราะห์
หลกั สูตร เนือ้ หา เพ่อื ออกแบบกจิ กรรมการเรยี นรู้ กาํ หนดสอื่ การวดั และประเมินผล ระยะเวลาเรยี น
- ครูจัดหาวิทยากร ผ้เู ช่ยี วชาญในการปอ้ งกนั และแกป้ ญั หายาเสพติด
- ครูให้คําปรึกษาแนะนําและเป็นพ่ีเลี้ยงช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมท้ังคอยชว่ ยแกไ้ ขปญั หาในการเรยี นและการสอนตลอดหลักสูตร
- ครูทําหน้าท่ีประสานงานกับ กศน.อําเภอ เพ่ือจัดหาส่ือและวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุน
การเรยี นรูข้ องผ้เู รยี นในแต่ละหลักสูตร/โครงการ/กิจกรรม ทช่ี ่วยใหผ้ ู้เรียนเกดิ การเรยี นรทู้ ี่มีประสทิ ธภิ าพย่งิ ข้ึน
- ครูทําหน้าที่การวัดผลและประเมินผลในแต่ละหลักสูตร/โครงการ/กิจกรรม เพ่ือวัด
ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือจดุ มงุ่ หมายของหลกั สตู รอยา่ งต่อเน่อื ง
- สรุปผลและรายงานผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้เพ่ือสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดด้วยโครงการ
สถานศกึ ษาสีขาว ปลอดยาเสพตดิ และอบายมุขในสถานศกึ ษาตอ่ กศน.อําเภอ
- จัดบริการการเรียนรู้ใน กศน.ตําบล โดยเฉพาะกิจกรรมศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน
ศูนย์บริการชุมชน ซ่ึงนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น โทรทัศน์ วีดีทัศน์ รายการวิทยุเพ่ือการศึกษา
เป็นตน้
- การจัดทําศูนย์แนะแนว (Advice center) เพ่ือให้คําปรึกษา ช้ีแนะ แนะนํา ในการแก้ปัญหา
ป้องกัน ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน เช่นให้คําปรึกษาในด้านครอบครัว ด้านเพ่ือน ด้านปัญหาสุขภาพ และด้านปัญหา
ยาเสพติด
- จัดกจิ กรรมรว่ มกับองคก์ รหรือหนว่ ยงานภาคีเครือข่าย และส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมใน
ชมุ ชน เช่น กลมุ่ แม่บา้ น กลมุ่ เยาวชน ชมรมผู้สงู อายุ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค สภาเด็กและเยาวชน และองค์กร
นักศกึ ษา กศน. เป็นต้น
16
- การสรา้ งเครอื ข่ายการเรยี นร้ใู นชมุ ชน โดยการประสานขอความรว่ มมอื จากภาคีเครือข่าย
องคก์ รชมุ ชนผู้รู้ ผทู้ รงคุณวฒุ ิ ตลอดจนภมู ปิ ญั ญาท้องถ่นิ เพ่ือร่วมเปน็ อาสาสมคั ร กศน. อาสาสมัครป้องกัน
และแกไ้ ขปญั หายาเสพติด เปน็ ต้น
- ใช้สื่อและแหล่งการเรียนรทู้ ี่หลากหลาย เพอื่ ส่งเสริมการคิดการแกป้ ญั หาและการคน้ พบความรู้
- จัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรทู้ ่ีเป็นกลั ยาณมติ ร
บทบาทของผเู้ รยี น
- ผเู้ รียนตอ้ งมสี ว่ นรว่ มในการวางแผน กาํ หนดเป้าหมายในการเรยี นรู้
- ผู้เรยี นมีความสมัครใจรว่ มกจิ กรรมตามทสี่ ถานศกึ ษาจดั
- ผู้เรียนมีการใฝ่รู้ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถพัฒนาทักษะ และสามารถ
พัฒนาตนเองไดด้ ้วยตนเอง เพ่ือให้มีทกั ษะชวี ติ ในการแก้ปญั หาได้อย่างเหมาะสม
- ผู้เรียนสามารถนําความรู้ที่ได้จากการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน หรือการเข้าร่วม
โครงการ/กิจกรรม นาํ ไปประยุกตใ์ ช้ในชีวติ ประจาํ วนั ได้
บทบาทหน้าทข่ี องภาคเี ครอื ขา่ ย
- บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทหน้าท่ีในการป้องกันและ
บําบัดรักษาฟื้นฟูผูเ้ สพ/ผู้ตดิ สารเสพตดิ ดังน้ี
1) ดา้ นการส่งเสรมิ ปอ้ งกันไม่ให้เสพสารเสพติด
2) ด้านบําบดั ฟืน้ ฟูยาเสพติด จัดระบบบริการ ดังนี้
2.1) โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลท่ัวไป โรงพยาบาลชุมชน จัดให้บริการให้ยา
รักษาตามอาการ จิตสงั คมบาํ บดั ( Matrix Program ) จิตสังคมบําบัดในชุมชน โรงเรียน และการให้คําปรึกษา
ในสถานบรกิ าร ผูป้ ่วยนอก และใหบ้ รกิ ารการลดอนั ตรายจากการใชย้ า ( Harm Reduction )
2.2) โรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์ให้บริการให้ยารักษา
ตามอาการ จิตสังคมบําบัด ( Matrix Program ) โรงเรียน และการให้คําปรึกษาในสถานบริการ ผู้ป่วยนอก
และใหบ้ รกิ ารการลดอนั ตรายจากการใชย้ า ( Harm Reduction ) ทัง้ ผปู้ ว่ ยนอก และผู้ป่วยใน
2.3) ด้านการฟ้ืนฟูผู้เสพยาเสพติด มีการจัดระบบการฟ้ืนฟูสมรรถภาพร่างกาย
และจิตใจ ส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานที่เก่ียวข้องในการฝึกอาชีพ และการศึกษาต่อ การติดตามดูแลช่วยเหลือ
ผผู้ า่ นการบาํ บัด เช่น การเยีย่ มบา้ น การเยย่ี มทีท่ ํางาน เป็นต้น
3) การพัฒนาระบบการบําบัดผู้เสพยาเสพติดในอนาคต ภายใต้การกํากับของกระทรวง
สาธารณสุข เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพ คัดกรอง บําบัดฟื้นฟู ติดตามผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด และลดอันตรายเพ่ือให้
ผผู้ า่ นการบําบดั กลับเขา้ สู่สงั คมโดยปกติ
- ศนู ย์อํานวยการปอ้ งกนั และปราบปรามยาเสพตดิ จงั หวดั (ศอ.ปส.จ.)
แผนงานสร้างภูมิคุม้ กนั เดก็ และเยาวชนนอกสถานศกึ ษา
1) ส่งเสริมสนบั สนุนเยาวชนนอกสถานศกึ ษาท่ีหลากหลาย เชน่ การสร้างงานสร้างอาชีพ
การเรียนนอกระบบ กฬี า นันทนาการ รายงานจิตอาสาต่างๆ โดยใช้ศูนย์เยาวชนในพน้ื ท่ีเปน็ กลไกดําเนนิ งาน
2) ส่งเสริมบทบาทเยาวชนนอกสถานศึกษาท่ีมีพฤติกรรมเส่ียงให้เป็นกลุ่มเยาวชน
อาสาในการพัฒนาชุมชนท้องถ่ิน และทํางานบริการชุมชนภายใต้แนวคิดเปลี่ยนกลุ่มเสี่ยงเป็นพลัง เช่น
17
โครงการป้องกันยาเสพติดในเยาวชนนอกสถานศึกษา โครงการเยาวชนอาสาต้านภัยยาเสพติด โดยกรมการ
ปกครองกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงศึกษาธิการ (สํานักงานส่งเสริมการศึกษา
นอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย)
ขอบข่ายงานการศกึ ษานอกโรงเรยี น
แนวทางการดาํ เนินงานและจดั กิจกรรมการปอ้ งกันและแก้ไขปญั หายาเสพติดในสถานศกึ ษา ได้มี
การจัดการศกึ ษาที่หลากหลายและสอดคลอ้ งกบั ภารกจิ ดังน้ี
- การศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 และแผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ สาํ นกั งานสง่ เสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย มีหน้าที่จัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยเน้นการจัดการศึกษาเพ่ือขยาย
โอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมให้ ประชาชนที่พลาด โอกาสทางการศึกษาในระบบ ได้มีโอกาสในการ
เข้าถึงการศึกษานอกระบบโดยเน้นการจัดการศึกษาตามความสนใจ ศักยภาพของตนเอง เพื่อให้มีพ้ืน
ฐานความรพู้ อเพียงท่ีจะดาํ เนนิ ชีวิต สามารถนําความรู้ไปปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ให้ดีขนึ้ หรือ
เพ่ือเป็นพ้ืนฐานในการศึกษาต่อในระดับท่ีสูงข้ึน โดยศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ขั้นพ้ืนฐาน
พุทธศักราช 2551 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) การเทียบโอนความรู้ ประสบการณ์ (เทียบระดับ
การศกึ ษา) การส่งเสรมิ การรู้หนงั สอื การจัดการศึกษาสําหรับผ้พู ิการ รวมถึงการจดั กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี นท่ีเน้น
กิจกรรมหลากหลาย ในการพัฒนาผู้เรียนด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม มุ่งส่งเสริม
เจตคติคุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สร้าง
จิตสํานึกในธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อม ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และ
ดาํ รงชวี ติ ได้อยา่ งมีความสขุ
- การศึกษาต่อเนื่อง เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบท่ีเป็นหลักสูตรระยะ
สั้น การจัดการศึกษาสายอาชีพ กลุ่มสนใจ ที่จัดตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายท่ีมีเน้ือหาเก่ียวกับอาชีพ
ทักษะชีวิต การพัฒนาสังคมและชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ซ่ึงนาํ ไปสกู่ ารพฒั นาคณุ ภาพชวี ิต
- การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นกิจกรรมท่ีจัดเพ่ือพัฒนาทักษะของประชาชน โดยเน้น
การกระตุ้นให้เกิดวิธีคิดให้มีความรู้สึกเห็นคุณค่าเกียรติศักดิ์ของตนเองซึ่งมีเนื้อหาของกิจกรรม อย่าง
ต่อเน่ืองทุกวัน ได้แก่ ครอบครัว ศึกษา ดนตรี กีฬา ยาเสพติด ประชาธิปไตย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณธรรมจริยธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โบราณคดี ในรูปแบบต่างๆ เช่น ค่าย
ลูกเสือ กศน. ค่ายคุณธรรม กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ กีฬา ดนตรี การละเล่น และส่งเสริม
กจิ กรรมประเพณที อ้ งถ่นิ จงั หวัดลาํ พูน
- การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจาก
การศึกษาท่ีมีผู้เรียนมีอยู่หรือได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบ แล้วนําไปใช้ให้เป็นประโยชน์
ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชน โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการ
เรียนรู้ของคนในชุมชน เช่น โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมต่อต้าน ยาเสพติด
กจิ กรรมรณรงคป์ ระชาธิปไตย สรา้ งความสามัคคีและสมานฉันท์ เป็นต้น
18
- การสง่ เสริมการจดั กระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกิจกรรมท่ี
นําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ใหม้ คี วามรู้ ความเขา้ ใจ ปฏบิ ตั ติ ามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดการปรับเปล่ยี นกระบวนทัศน์ในการ
ดําเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง เช่น การทําบัญชีครัวเรือน กิจกรรมส่งเสริม
การออม และกจิ กรรมสง่ เสรมิ วถิ ีชีวิตแบบพอเพยี ง เป็นตน้
- การศึกษาตามอัธยาศัย การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษา/หน่วยงานในสังกัด
สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการจัดบริการแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มีวตั ถปุ ระสงค์เพ่ือพฒั นาใหค้ นไทยมนี ิสัยรักการอ่านใฝ่เรียน ใฝ่รู้ โดยปลูกฝังและสร้างเจตคติให้เห็นประโยชน์
และความสําคัญของการอ่าน ซ่ึงเป็นการเสนอโอกาสและทางเลือก เพ่ือการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้แก่
ประชาชนทั่วไปให้ได้รับการศึกษา และเพิ่มเติมความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกก่อให้เกิดโลกทัศน์
กว้างไกล สามารถใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงชีวิตให้ก้าวหน้าและดํารงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การศึกษาตามอัธยาศัย เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตท่ีเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ และแหล่งความรู้ ซึ่งสามารถ
เรียนได้ตลอดเวลา และเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดเวลา กิจกรรมส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยส่วนใหญ่
เป็นการจดั กิจกรรมสง่ เสริมการอา่ นในหอ้ งสมุดประชาชน “เฉลิมราชกมุ าร”ี ห้องสมดุ ประชาชน บ้านหนงั สือชุมชน
กศน.ตาํ บล และแหลง่ เรยี นร้ใู นชมุ ชน รถห้องสมดุ เคลื่อนท่ี
19
การจัดการเรยี นรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ดว้ ยมาตรการ ๕ ดา้ น
มาตรการด้านการปอ้ งกนั มีแนวทางการจดั การเรยี นรตู้ ามมาตรฐานการปอ้ งกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดในสถานศึกษา ดังนี้
1. ศกึ ษายุทธศาสตร์ 5 ดา้ น เพือ่ กําหนดแนวทางการดาํ เนนิ งาน
2. การวินิจฉัยมาตรฐาน นโยบายเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติดระดับชาติ ระดับกระทรวง
ระดับจังหวัด และระดับอําเภอ สภาพปัญหายาเสพติดและข้อมูลการคัดกรองร่วมกับสํานักงาน กศน.จังหวัด
เพือ่ กําหนดกลยุทธ์ ๔ ต้อง ๒ ไม่ เป้าหมาย และการดาํ เนนิ การ
3. กําหนดจัดทาํ แผนปฏบิ ัติการสถานศกึ ษาสขี าว โดยขับเคลื่อนตามโครงการ/กจิ กรรมทีส่ ะทอ้ น
ใหเ้ ห็นถึงการป้องกัน การค้นหา การรักษา และการเฝ้าระวงั นกั ศกึ ษา กศน.
4. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประกอบด้วย
ผู้บริหาร บุคลากร ผู้เก่ียวข้อง (กรรมการสถานศึกษา/ภาคีเครือข่าย/องค์กรนักศึกษา/นักศึกษา) เพ่ือมีส่วน
ในการจัดทําแผนปฏิบัติงานสถานศึกษาสีขาว ดําเนินงาน ประเมินความพึงพอใจ และติดตาม ประเมิน
โครงการ ใหเ้ ป็นกลไกในการขับเคลื่อนแผนปฏิบตั กิ ารให้บรรลเุ ป้าหมาย จาํ นวน 2 คณะ ไดแ้ ก่
4.1 คณะกรรมการดําเนินการสถานศกึ ษาสขี าวปลอดยาเสพตดิ และอบายมขุ
4.2 คณะกรรมการประเมนิ โครงการสถานศกึ ษาสขี าวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
5. จัดประชุมชี้แจง สร้างความเข้าใจ ให้กับบุคลากรและผู้ที่เก่ียวข้อง ในการจัดกิจกรรม/โครงการ
ตามแผน
6. มีการจดั ทําบนั ทกึ ( MOU ) ร่วมกันเครอื ขา่ ยทม่ี บี ทบาทเกย่ี วขอ้ งกับยาเสพตดิ
7. จัดระบบการดําเนินงานของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการประเมินสถานศึกษาสีขาว
ปลอดยาเสพติด ๕ มาตรการ โดยนํามาตรฐาน ตัวช้ีวัด เป็นเป้าหมายในการดําเนินงานตามภารกิจ กศน.
ได้แก่ การศึกษาขั้นพ้ืนฐานให้สอดคล้องกับสาระเน้ือหา การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาตาม
อัธยาศัย เพื่อนําไปสู่การป้องกัน การคน้ หา การรักษา การเฝา้ ระวัง การบริหารจดั การ
8. การดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการโครงการและกิจกรรม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
โดยดําเนินการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ หรือแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
เพอ่ื ใหค้ วามรู้ เสรมิ สร้างจติ สํานึก พัฒนาทกั ษะชีวิต ในการป้องกัน เฝ้าระวัง สร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านยาเสพติด
และอบายมุข และจัดให้มีระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษาทุกคนให้ท่ัวถึง จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพ่ือป้องกัน
ยาเสพติด โดยสถานศึกษารวบรวมข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของ
ผู้เรียน เพ่ือนําไปออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพ่ือพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น
ค่ายลูกเสือต้านภัยยาเสพติด ค่ายอาสายุวกาชาด กีฬาต้านยาเสพติด ค่ายคุณธรรม จริยธรรม ค่ายเยาวชน
อาสารักษาดินแดนต้านภัยยาเสพติด กิจกรรมรณรงค์ต้านภัยยาเสพติด กิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติดโลก
เป็นต้น โดยแบบแผนและวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเน้ือหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ เช่น ฐานการ
เรยี นรู้ กระบวนการกลุ่ม การบรรยาย การแลกเปล่ียนเรียนรู้ สถานการณ์จําลอง บทบาทสมมติ กรณีตัวอย่าง
เป็นตน้
๙. จัดให้มกี ารประเมินผลความก้าวหนา้ ในการเรยี นรู้ของผู้เรียนดว้ ยวธิ ีการทีห่ ลากหลาย
๑๐. จัดให้มกี ารตดิ ตามและประเมนิ ผลโครงการ โดยบคุ ลากรและผู้ทีเ่ ก่ียวขอ้ งมีส่วนรว่ ม
20
๑๑. จัดให้มีระบบนิเทศ กํากับ ติดตาม และดําเนินการอย่างเป็นระบบมีความต่อเน่ือง จัดมาตรการ
เสริมแรงให้แก่ผู้รับผิดชอบด้านยาเสพติดดีเด่น ด้วยการยกย่องชมเชย มอบโล่ เกียรติบัตร ส่งเสริมและ
สนบั สนนุ ให้มีการดําเนนิ งานอย่างเป็นระบบมีความต่อเนอ่ื ง เพือ่ ความเข้มแขง็ และย่งั ยนื
1๒. จัดให้มีแผนการบริหารความเสี่ยงด้านยาเสพติดในสถานศึกษาเพ่ือเป็นการทบทวน
ตรวจสอบการปฏบิ ัตงิ านท่ีสง่ ผลต่อพฤติกรรมผูเ้ รยี น
1๓. จัดให้มีการสรุปรายงานผลการดําเนินงาน เสนอผู้ท่ีเกี่ยวข้อง และเผยแพร่ให้เป็นแนวทางการ
ดาํ เนินงานกบั สถานศกึ ษาอื่น
1๔. จัดให้มีการนําผลของการประเมินโครงการ ผลการนิเทศ กํากับ ติดตามผลการดําเนินงาน
มาปรับปรงุ กระบวนการจดั การเรยี นร้เู พอ่ื ใหเ้ ปน็ แนวทางการจัดการเรียนรู้ท่ีเหมาะสม
มาตรการด้านการค้นหา มีแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดในสถานศึกษา สถานศึกษามีข้อมูลนักศึกษาเป็นรายบุคคล โดยมีวิธีการจัดเก็บข้อมูลของนักศึกษา
เปน็ รายบคุ คล ดังนี้
1. จัดให้มีการจัดเก็บข้อมูลนักศึกษาเป็นรายบุคคล โดยบุคลากรและผู้เก่ียวข้องร่วมกันวางแผน
เพ่ือกาํ หนดวตั ถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีดําเนนิ การ และตัวช้วี ัดความสําเร็จ
2. ดําเนินการจัดเกบ็ ขอ้ มูลทั้งทางตรง เช่น การตรวจปัสสาวะ เป็นต้น และทางอ้อม เช่น การใช้
แบบสงั เกตพฤติกรรม เปน็ ต้น
3. สร้างเครื่องมือสําหรับจัดเก็บข้อมูล โดยนําวัตถุประสงค์ เป้าหมาย มากําหนดเป็นแบบรวบรวม
ขอ้ มูล ขอ้ เท็จจริง ได้แก่
3.1 แบบบนั ทึกข้อมูลเปน็ รายบคุ คล เปน็ แบบท่ใี ชใ้ นการรวบรวมขอ้ มูล ซ่ึงประกอบด้วย
ช่อื เลขบัตรประจําตัวประชาชน สภาพการตดิ ยา ความถีใ่ นการเสพติด
3.2 แบบบันทึกการตรวจสุขภาพ เป็นแบบบันทึกที่แสดงรายละเอียดการตรวจปัสสาวะ
กรปุ๊ เลอื ด ส่วนสูง นา้ํ หนัก และรายละเอยี ดเพ่ิมเติมตามบนั ทึกของแพทยห์ รือเจา้ หน้าทอ่ี นามยั
3.3 แบบสังเกตพฤติกรรม เป็นแบบที่สังเกตการแสดงออกในขณะเรียนในชั้นเรียนหรือ
เขา้ ร่วมกิจกรรม เพ่ือคดั กรอง แยกแยะ ผู้เรยี นในการมพี ฤตกิ รรมทเี่ สพ/เสี่ยงตอ่ การเสพตดิ
4. ดาํ เนนิ การจัดเกบ็ ข้อมลู
4.1 ครูชีแ้ จงสรา้ งความเขา้ ใจให้กับนักศึกษา และสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียน เพ่ือให้
นักศึกษาเกิดความไว้วางใจ กล้าที่จะเปิดเผยปัญหาของตนเองให้กับครู และให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม
ตามที่สถานศกึ ษาจัด เชน่ การตรวจหาสารเสพติด การบันทกึ ข้อมลู ตามแบบสอบถาม เปน็ ต้น
4.2 จัดการตรวจสุขภาพและหาสารเสพติด ได้ประสานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตําบล ให้ดําเนินการตรวจสุขภาพเก่ียวกับการวัดส่วนสูง ชั่งน้ําหนัก วัดความดัน และตรวจปัสสาวะของ
นักศึกษา เพื่อคัดกรองจําแนกกลุ่มเป้าหมายของนักศึกษาเป็นกลุ่มปลอด กลุ่มเส่ียง กลุ่มเสพ โดยนําข้อมูล
นกั ศกึ ษาบันทกึ เปน็ รายบคุ คล
5. นําผลการตรวจสุขภาพ และหาสารเสพติดของนักศึกษา มาวิเคราะห์ ประมวลผล เพื่อจัดระบบ
ขอ้ มลู ในการปอ้ งกันและแก้ปัญหายาเสพตดิ
6. นาํ ข้อมลู ทจี่ ัดระบบมาวเิ คราะห์ กาํ หนดวิธกี ารแก้ปัญหา/พัฒนาผเู้ รยี น
7. สรุปรายงานผลการตรวจหาสารเสพติดแก่ผู้บริหารและผู้ที่เก่ียวข้องเพ่ือใช้ในการแผนการ
แกป้ ัญหาและพัฒนารว่ มกัน
21
มาตรการด้านการรักษา มีแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการป้องกันและแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สถานศึกษานําข้อมูลมาตรฐานท่ี 2 มาวางแผนร่วมกับภาคีเครือข่ายระดับ
อําเภอในการบําบดั รักษาผเู้ สพสารเสพติด มกี ารดาํ เนินงานดงั น้ี
1. จัดให้มีการประสานแผนการดําเนินงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายท่ีเกี่ยวข้อง ด้านการบําบัดรักษา
ผู้ติดยาเสพติด วางแผนการจดั กิจกรรมรองรับกลุ่มผูเ้ รียนทีค่ ัดกรองแลว้
2. จัดใหม้ ีศนู ยแ์ นะแนว เพอ่ื ใหค้ ําปรกึ ษา ดาํ เนนิ การจิตสงั คมบําบดั ในสถานศกึ ษา มีการดําเนินงาน
ดงั นี้
2.1 จัดให้มีแผนแนะแนวโดยมีเป้าหมายเพ่ือการป้องกัน แก้ไข ปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน
ทเ่ี ป็นกลุม่ เสพและกลุม่ เสย่ี ง ให้มภี มู คิ มุ้ กนั ตนเองในการป้องกันและแกป้ ญั หาด้วยตนเอง
2.2 จัดให้มีข้อมูลสารสนเทศเก่ียวกับยาเสพติด ปัญหา ผลกระทบท่ีเกิดจากยาเสพติด
เพอ่ื เผยแพร่ ถ่ายทอดให้นกั ศึกษา
2.3 จัดให้มีผู้รับผิดชอบท้ังบุคลากร เครือข่าย ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อป้องกัน แก้ไข ปรับปรุง
พฒั นาผู้เรยี น
2.4 จัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เพ่ือช่วยเหลือผู้เรียน ได้แก่ เร่ืองการเรียน
พฤติกรรม ครอบครัว อาชีพ เพ่ือให้ผู้เรียนมีความม่ันคงในชีวิต อารมณ์ สังคม ให้สามารถปรับตัวอยู่ในสังคม
ได้อย่างปกติสุข โดยร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ในภาวะเส่ียงต่อการใช้
สารเสพติด สามารถยุติการใช้ได้ และใช้กิจกรรมประเภทต่างๆเป็นเคร่ืองมือในการบําบัด ท้ังทางร่างกายและ
จติ ใจของผูเ้ รียน เพอื่ ไมใ่ หห้ วนคนื ส่กู ารใช้สารเสพติดอกี (คนื คนดีสู่สงั คม) ได้แก่
1) กิจกรรมอาชีพบําบัด เช่น การทําการเกษตร งานช่าง งานประดิษฐ์ เพื่อสร้าง
สมาธคิ วามต้งั ใจ
2) กิจกรรมกลุ่มสุขศึกษา เช่น การรับความรู้จากแพทย์ในเรื่องร่างกายและจิตใจ
ของตนเองรวมทัง้ ครอบครัวควรมีสว่ นไดร้ บั ความรู้ในการดแู ลและการวางแผน เพอื่ ดแู ลผ้ตู ิดยา เปน็ ตน้
2.5 จัดใหม้ สี อ่ื การแนะแนวทหี่ ลากหลาย สอดคล้องกับจุดประสงคแ์ ละผเู้ รียน
2.6 จัดให้มีการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลอย่างต่อเนื่อง เพ่ือติดตามความก้าวหน้า
ในการปอ้ งกัน แก้ปัญหา และพฒั นาผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายทกี่ าํ หนด
2.7 สรุปรายงานข้อมลู การใช้สารเสพตดิ ในสถานศึกษาตอ่ ผบู้ ังคบั บญั ชา
2.8 จัดให้มีการปรับปรุงและพัฒนา โดยนําข้อมูลที่พบจากกระบวนการรักษามาพัฒนา
ปรับปรุงให้มปี ระสทิ ธภิ าพยิง่ ขึน้
มาตรการด้านการเฝ้าระวัง มีแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการป้องกันและแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สถานศึกษาวางแผนการเฝ้าระวัง โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา
ครู ผู้ปกครอง ผู้เรียน และเครือข่ายในการเฝ้าระวังนักศึกษาท่ีเป็นกลุ่มปลอด กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ โดยมี
รายละเอยี ดการดาํ เนินการ ดังนี้
1. การจัดกิจกรรมเฝา้ ระวัง
1.1 จัดให้มีช่องทางการส่ือสารระหว่างครู และนักศึกษา กศน. เพื่อติดตามและเฝ้าระวัง
ตรวจสอบ ร้องทุกข์ เก่ียวกับนักศึกษาที่ติดยาเสพติด ได้แก่ ตั้งกลุ่มไลน์และกล่องแสดงความคิดเห็น
การขอคาํ ปรึกษาโดยตรง
1.2 การสร้างเครือข่ายเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังเร่ืองยาเสพติดทุกภาคส่วน ได้แก่
การจัดทําทําเนียบเครือข่าย จัดทําข้อตกลง ( MOU ) ระหว่างภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับตําบล
22
ท้องถ่ินและสถานศึกษาเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายระดับอําเภอในศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม
ยาเสพตดิ อาํ เภอ (ศป.สอ.)
2. จัดตัง้ องค์กรนักศกึ ษา (ระดับตาํ บล อาํ เภอ และจงั หวดั )
2.1 ค้นหาแกนนํานักศึกษา มีบทบาทในการจัดกิจกรรมต้านยาเสพติดร่วมกับสถานศึกษา
กจิ กรรม ได้แก่
1) กิจกรรมป้องกันการติดยาซ้ํา เป็นกิจกรรมสร้างความไว้วางใจ เช่น การพูดคุย
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมาพบได้ตลอดเวลา ให้คําแนะนําในช่วงท่ีผู้เรียนมีความรู้สึกท้อแท้ ติดตามการใช้ชีวิต
สังเกตลักษณะการแสดงข้อความบนเฟสบุ๊คส่วนตัว การเยี่ยมบ้านนักศึกษา เป็นต้น กิจกรรมการใช้เวลาว่าง
เช่น การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ร่วมกันของครูและผู้เรียนใน กศน.ตําบล การให้นักศึกษาช่วยงานใน กศน.
ตําบลเปน็ ต้น
2) กิจกรรมเสริมสร้างความรู้แก่ครอบครัว เช่น การเปลี่ยนทักษะความคิดและ
บทบาทของครอบครัว โดยการให้คําแนะนําในการคบเพ่ือน การลดความขัดแย้งของครอบครัว การให้ความจริงใจ
ระหว่างครู ผู้ปกครองและผู้เรียน ให้การช้ีแนะเป้าหมายในการเรียน เป้าหมายในการดําเนินชีวิต เป้าหมาย
การมีอาชพี และการมีงานทาํ ในอนาคตเพ่อื สรา้ งครอบครัวใหม้ คี วามสุข เป็นตน้
3) กจิ กรรมทกั ษะชวี ติ
ก) กิจกรรมธรรมชาติส่ิงแวดล้อม เช่น การปลูกป่า การสร้างฝาย การคัดแยก
ขยะ เป็นตน้
ข) กิจกรรมพัฒนาตนเองด้านการเรียน เช่น การทํากิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
(กพช.) กิจกรรมคา่ ย เปน็ ตน้
ค) กจิ กรรมเรียนเสรมิ ดา้ นการศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐาน และการศึกษาอาชพี
ง) กจิ กรรมสร้างความม่นั ใจ ปฏเิ สธ และมที กั ษะในการตัดสินใจ (จิตวทิ ยา)
จ) กิจกรรมชมรม เช่น ชมรมเพ่ือนเก่า-เพ่ือนใหม่ ชมรมตามทักษะความสามารถ
(กฬี า นาฏศิลป์ ดนตรี ศลิ ปะ)
มาตรการด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาได้มีแนวทางการ
ดําเนินงานการป้องกันและแกไ้ ขปัญหายาเสพตดิ ภายในสถานศึกษาใหม้ ปี ระสิทธิภาพ ดงั นี้
1. สถานศึกษากําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ เพ่ือเป็นกลไกในการขับเคล่ือนการป้องกันและ
แก้ไขปัญหายาเสพตดิ โดยบคุ ลากรและผ้เู กย่ี วขอ้ งรว่ มกันกาํ หนด
2. จดั ใหม้ แี ผนปฏบิ ัติการ/โครงการ/กิจกรรม เพือ่ มุ่งสกู่ ารเปน็ สถานศกึ ษาสขี าว
3. การสร้างและแสวงหาเครือข่ายเพ่ือประสานภารกิจและจัดทําแผนปฏิบัติงานร่วมกัน อาทิ
การกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ โครงการ/กิจกรรม เพ่ือรองรับโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพ
ติดและอบายมุขในสถานศกึ ษา
4. การแต่งต้ังคณะทํางานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในสถานศึกษาระดับอําเภอ
ประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากรและผู้เก่ียวข้อง (กรรมการสถานศึกษา/ภาคีเครือข่าย/องค์กรนักศึกษา/
นักศึกษา)
5. จัดประชุมชี้แจง สร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรและผู้ท่ีเก่ียวข้องในการจัดกิจกรรม/โครงการ
ตามแผน
23
6. จัดให้มรี ะบบนเิ ทศ กาํ กับ ติดตามและประเมนิ ผล เพ่อื เป็นกลไกในการควบคมุ คณุ ภาพการจัดการ
เรียนรู้ตามโครงการ/กิจกรรม ให้มีประสิทธิภาพ มุ่งสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้เรียนได้อย่าง
มีคณุ ภาพ
7. จัดใหม้ ีการยกระดับการจดั การเรยี นร้ใู หม้ ีคุณภาพ โดยนําสภาพปญั หา ข้อเสนอแนะเพ่ือการ
พฒั นา จากการประเมนิ โครงการ ผลการนิเทศกิจกรรม มาสู่การจัดทาํ โครงการ/กจิ กรรม เพื่อการพฒั นาอยา่ ง
ต่อเนอื่ ง
การดาํ เนินงานกลยทุ ธ์ ๔ ต้อง ๒ ไม่
สถานศกึ ษาดาํ เนนิ กลยทุ ธ์ 4 ตอ้ ง มดี ังนี้
1) สถานศึกษาต้องมียุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สอดคล้องกับสภาพของ
ปญั หาและสถานการณใ์ นพน้ื ทีท่ ี่มคี วามรนุ แรงต่างกัน
2) สถานศึกษาต้องมีแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาท่ีตลอดปีการศึกษา
3) สถานศกึ ษาต้องมรี ะบบข้อมูลการดําเนินงาน ๔ ด้าน ได้แก่ ระบบด้านการป้องกัน ระบบด้าน
การเฝา้ ระวงั ระบบดา้ นการดูแลช่วยเหลอื และระบบด้านการบรหิ ารจัดการ
4) สถานศึกษาต้องมีเครือข่ายการประสานงานทํางานระหว่างนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์
ผูป้ กครอง ผนู้ ําท้องถน่ิ ผู้นําชุมชน และผูน้ าํ ดา้ นศาสนา
สถานศกึ ษาดาํ เนนิ การ ๒ ไม่ มีดงั น้ี
๑) สถานศึกษาไม่ปกปิดขอ้ มลู กลุ่มเสพ กลมุ่ ตดิ และกลุ่มค้ายาเสพตดิ
๒) สถานศึกษาไม่ผลักปัญหา ไม่ไล่นักเรียน นักศึกษา ออกจากสถานศึกษาให้นําไปบําบัดรักษา
เมอ่ื หายแล้วใหก้ ลับมาเรียนได้ตามปกติ
24
25
มาตรฐานและตัวบ่งช้โี ครงการสถานศกึ ษาสีขาว ปลอดยาเสพตดิ และอบายมุข
ประกอบด้วย ๕ มาตรฐาน ๑๖ ตัวบง่ ชี้ คะแนน ๑๐๐ คะแนน ดงั น้ี
๑. มาตรฐานดา้ นการปอ้ งกนั (๖๐ คะแนน) ประกอบดว้ ย ๓ ตัวบ่งชี้
๑.๑ สถานศกึ ษาดาํ เนินการโครงการห้องเรียนสีขาว/กศน.ตาํ บลสีขาว (๔๐ คะแนน)
๑.๒ สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้การสร้างภูมิคุ้มกัน
สารเสพติดเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน หรือดําเนินการให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษาเก่ียวกับสถานการณ์
การแพรร่ ะบาดของยาเสพติดและอบายมุขโดยบรู ณาการกบั สาระวิชาตา่ ง ๆ (๑๐ คะแนน)
๑.๓ สถานศกึ ษาจัดกิจกรรมเชิงสรา้ งสรรคเ์ พื่อป้องกันยาเสพติด (๑๐ คะแนน)
๒. มาตรฐานด้านการคน้ หา (๑๐ คะแนน) ประกอบด้วย ๔ ตวั บ่งชี้
๒.๑ สถานศกึ ษามีขอ้ มลู นักศกึ ษารายบคุ คล (๒.๕ คะแนน)
๒.๒ สถานศึกษามกี ารสุ่มตรวจปสั สาวะของ/นักศึกษากลุ่มเสี่ยง/กลมุ่ เสพ/
กลุม่ ติด (๒.๕ คะแนน)
๒.๓ สถานศกึ ษามีการคัดกรองจาํ แนกกลุ่มปลอด/กลุ่มเส่ียง/กลุ่มเสพ/กลุม่ ติด/กลมุ่ คา้
(๒.๕ คะแนน)
๒.๔ สถานศึกษามกี ารรายงานการสาํ รวจสภาพการใชย้ าเสพตดิ /สารเสพติดใหห้ น่วยงานตน้
สงั กัดทราบ (๒.๕ คะแนน)
๓. มาตรฐานดา้ นการรักษา (๑๐ คะแนน) ประกอบด้วย ๒ ตัวบ่งช้ี
๓.๑ สถานศกึ ษามีนโยบายในการบาํ บัดรกั ษาและสง่ ตอ่ หนว่ ยงานสงั กดั กระทรวงสาธารณสุข
หรอื หนว่ ยงานอ่นื (๕ คะแนน)
๓.๒ สถานศกึ ษามีคลนิ กิ เสมารักษ์ (จติ สงั คมบาํ บัดในสถานศึกษา) (๕ คะแนน)
๔. มาตรฐานด้านการเฝ้าระวัง (๑๐ คะแนน) ประกอบด้วย ๒ ตัวบ่งชี้
๔.๑ สถานศกึ ษามตี ู้เสมารักษ์ (รับเรอ่ื งปัญหายาเสพติดและอบายมุข) (๕ คะแนน)
๔.๒ สถานศกึ ษามเี ครอื ขา่ ยดา้ นการเฝ้าระวังปญั หายาเสพติดและอบายมขุ (๕ คะแนน)
๕. มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ (๑๐ คะแนน) ประกอบด้วย ๕ ตัวบง่ ชี้
๕.๑ สถานศกึ ษามีนโยบายและยทุ ธศาสตร์ (๒ คะแนน)
๕.๒ สถานศึกษามแี ผนงานและโครงการ/กจิ กรรม (๒ คะแนน)
๕.๓ สถานศึกษามีคณะกรรมการดาํ เนนิ งานและมีหอ้ งปฏิบัตกิ ิจกรรม (๒ คะแนน)
๕.๔ สถานศกึ ษามีความร่วมมอื และประสานงานกบั หน่วยงานท่เี กีย่ วข้องบรู ณาการบริหาร
แบบมสี ่วนร่วมกบั ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน (๒ คะแนน)
๕.๕ สถานศกึ ษามกี ารกํากบั ตดิ ตาม ประเมนิ ผล และรายงานหน่วยงานทีเ่ กยี่ วข้อง
(๒ คะแนน)
26
สรปุ ผลการประเมนิ สถานศกึ ษาสีขาว ปลอดยาเสพตดิ และอบายมุข
คะแนน ระดบั คณุ ภาพ
ต่าํ กว่า ๖๐ ปรับปรงุ
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดมี าก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเด่น
การดาํ เนนิ การและเกณฑก์ ารตดั สนิ
การพิจารณาผลการดําเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข จําแนก
ออกเปน็ ๓ ระดับ ซงึ่ ใหแ้ ก่ผูบ้ ริหารสถานศึกษา และคร/ู อาจารยผ์ ูร้ ับผดิ ชอบโครงการทมี่ ีผลการประเมินระดับ
ดีเด่น ดังนี้
๑. สถานศึกษาท่ีดาํ เนินงานโครงสถานศกึ ษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระดบั ดีเดน่ ปีท่ี ๑
- ไดร้ บั โล่เชิดชูเกยี รตลิ งนามโดยรฐั มนตรีว่าการกระทรวงศกึ ษาธิการ
๒. สถานศึกษาทีด่ าํ เนนิ งานโครงสถานศกึ ษาสขี าว ปลอดยาเสพติดและอบายมขุ ระดบั ดีเด่น ๒ ปี
ติดตอ่ กนั โดยปที ี่ ๒ ประเมินเพ่ือคงสภาพและรกั ษาระดับดเี ดน่
- ได้รบั โล่เชดิ ชูเกยี รตลิ งนามโดยนายกรฐั มนตรี
๓. สถานศกึ ษาที่ดําเนนิ งานโครงสถานศึกษาสขี าว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระดบั ดเี ด่น ๓ ปี
ตดิ ตอ่ กนั โดยปีท่ี ๓ ประเมนิ เพื่อคงสภาพและรักษาระดับดเี ด่น
- สถานศึกษาไดร้ ับโลร่ างวลั พระราชทาน
27
แนวทางการดําเนนิ งาน กศน.ตาํ บลสขี าว
เพ่ือให้การดําเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการกศน.ตําบลสีขาว สถานศึกษาจัดทําคําส่ัง
แต่งต้ังคณะกรรมการอํานวยการ เพ่ือมอบนโยบาย คณะกรรมการปฏิบัติการเพื่อจัดทําองค์ความรู้ คณะทํางาน
ซ่ึงสถานศึกษาได้แต่งต้ังรับผิดชอบ ท้ังนี้ขอให้คํานึงถึงผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ของ
โครงการ กศน.ตําบลสขี าว ใหเ้ กดิ ประสทิ ธภิ าพและประสิทธิผล โดยมีแนวทางการดาํ เนินงาน ดังนี้
๑. กลยทุ ธ์ กศน.ตาํ บลสขี าว
การดําเนินงานของกศน.ตําบลสีขาว ได้กําหนดกลยุทธ์เพื่อเป็นกระบวนการในการดําเนินงาน
ภายใน กศน.ตําบลสขี าว มอี งคป์ ระกอบท้งั 5 ดา้ น คอื การมีส่วนรว่ มของนักศึกษาและครู กศน. มีแหล่งเรียนรู้
ดแู ลชว่ ยเหลือ เอื้อเฟอ้ื ดว้ ยคณุ ธรรม และสร้างสรรค์ดว้ ยกจิ กรรม โดยมรี ายละเอียด ดงั น้ี
1.1 การมสี ่วนรว่ มของครู และนกั ศกึ ษา
1) ครู มหี น้าที่ ใหค้ วามช่วยเหลอื ในการอาํ นวยการ กาํ กบั ดูแล สงั่ การ การดําเนนิ งานของ
ทุกฝา่ ย ให้คําปรกึ ษา แกไ้ ขปญั หา และปฏิบัตงิ านอื่นๆ ตามทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย
2) นกั ศกึ ษาแกนนาํ มีหนา้ ท่ี ชว่ ยดแู ลแกไ้ ข ใหค้ าํ ปรกึ ษาขอ้ ปัญหาของนักศกึ ษา กศน.ตาํ บล
และประสานงาน รายงาน ปญั หา อปุ สรรค ความตอ้ งการช่วยเหลอื บนั ทึก สรปุ ผลการดาํ เนนิ งานของทุกฝา่ ย
ใหค้ รู กศน. ทกุ ภาคเรียน และปฏิบตั ิงานอื่นๆ ตามทไี่ ด้รบั มอบหมาย
๑.2 มีแหลง่ เรยี นรู้ มกี ารจดั กจิ กรรมใน กศน.ตาํ บล เช่น จัดบอร์ด จัดทําส่ือท่ีเป็นสิ่งพิมพ์ หนังสือ
วารสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว ฯลฯ ท่ีให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
อบายมุข อุบัติภัยและโครงการต่าง ๆ โดยนําสถานการณ์ข่าวสารทุกด้านมาเสนอให้เพื่อนนักศึกษา ได้รับรู้
ตามสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งการจัดกิจกรรมอ่ืนๆ ที่สนับสนุนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน (การจัด
นิทรรศการ กิจกรรรมส่งเสริมการอ่าน การทําหนังสือเล่มเล็กเก่ียวกับการป้องกันยาเสพติดและอบายมุข
ในบา้ นหนังสือชมุ ชน ชุมชนรกั การอา่ น ฯลฯ)
๑.3 ดูแลช่วยเหลือ จัดให้มีนักศึกษาแกนนํา เพ่ือให้คําปรึกษาดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ตอบสนองปัญหาของพฤติกรรมของ นักศึกษา และช่วยเหลือด้านการเรียนโดยให้คําปรึกษา แนะนํา และให้
การช่วยเหลือหากไมส่ ามารถแก้ไขได้ ให้รายงานครู กศน.ทราบเพื่อพจิ ารณาดําเนินการตอ่ ไป
๑.4 เอ้ือเฟื้อด้วยคุณธรรม มีหลักธรรมประจํากศน.ตําบลเพื่อให้นักศึกษา ทุกคนจะต้องมี
หลักธรรมคําสอนตามศาสนาที่ตนนับถือมาเป็นหลักยึดปฏิบัติใน กศน.ตําบล จะทําให้ทุกคนรักและช่วยเหลือ
ซง่ึ กันและกนั
๑.5 สร้างสรรค์ด้วยกิจกรรม มีกิจกรรมท่ีสร้างสรรค์ที่จะช่วยให้มีความสามัคคี และใช้เวลาว่าง
ให้เป็นประโยชน์ไม่ไปมั่วสุมกับยาเสพติด หรือส่ือลามกอนาจาร เช่น การเล่นกีฬา การเล่นดนตรี ศิลปะ และ
กิจกรรมตามทกี่ ลุ่มสนใจร่วมกันจัดทํามาเพื่อพัฒนาร่างกาย และจิตใจ รวมท้ังกิจกรรมท้ังภายในและภายนอก
กศน.ตําบล รว่ มกับชุมชน
28
๒. การจดั องคก์ รภายใน กศน.ตําบลสีขาว
การขับเคล่ือนกลยุทธ์ทั้ง 5 ด้าน ของกศน.ตําบลสีขาว คือมี การมีส่วนร่วมของนักศึกษาและครู
แหล่งเรียนรู้ ดูแลช่วยเหลือ เอื้อเฟ้ือด้วยคุณธรรม สร้างสรรค์ด้วยกิจกรรม จะต้องมีกลไกของการขับเคลื่อนการ
ทํางานในรูปขององค์กรนักศึกษา ซ่ึงประกอบด้วย นักศึกษาแกนนํา แบ่งออกเป็น 5 ฝ่าย คือฝ่ายบริหาร
ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายอาคารสถานที่และความปลอดภัย ฝ่ายกิจการนักศึกษา และฝ่ายกิจกรรม โดยมีภาระหน้าที่
ดงั น้ี
๒.๑ ฝา่ ยบริหาร มภี าระหนา้ ที่ อํานวยความสะดวกใหค้ รู กศน. และนักศกึ ษา
๑) ช่วยเหลือประธานองค์กรนักศึกษา ในการอํานวยการ กํากับดูแล ส่ังการ การดําเนินงาน
ของทกุ ฝา่ ย
๒) ประสานงาน รายงาน บนั ทกึ และสรปุ ผลการดําเนนิ งานของทกุ ฝา่ ย ใหค้ รู กศน. ทุกภาคเรียน
๓) ช่วยดแู ลแกไ้ ข ใหค้ าํ ปรึกษาข้อปญั หาของนักศึกษา กศน.ตําบล
๔) รายงานปญั หา อปุ สรรค ความตอ้ งการชว่ ยเหลือใหค้ รู กศน. เพอื่ ทราบและแก้ไขปญั หา
๕) ปฏบิ ตั ิงานอ่นื ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒.2 ฝ่ายวชิ าการ มีภาระหน้าทใี่ นการช่วยเหลือในด้านวชิ าการเกย่ี วกับการเรียน การบ้าน โครงงาน
หรือปัญหาการเรียนในกศน.ตําบลสีขาว ต้องรับผิดชอบแก้ไขช่วยเหลือ และให้คําแนะนํา คําปรึกษา คําอธิบาย
ชแ้ี นะ แหล่งเรยี นรู้ และนําเสนอครู กศน. อาจารย์ที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือ โดยมกี ระบวนการทาํ งาน ดังนี้
๑) มกี ารจัดตัง้ ทมี งานแกนนาํ รับผิดชอบงานฝ่ายวิชาการของกศน.ตาํ บล
๒) ทีมงานแกนนํามีกระบวนการช่วยเหลือเพ่ือนฝ่ายวิชาการของกศน.ตําบล เพื่อให้มีความรู้
ความเขา้ ใจในกิจกรรมการเรยี นการสอน
๓) ทมี งานแกนนาํ จัดทําแหลง่ เรยี นร้/ู มมุ ความรู้/ป้ายนเิ ทศในกศน.ตาํ บล
๔) ทีมงานแกนนาํ จดั ทาํ ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนของนกั ศกึ ษาทุกคนในกศน.ตาํ บล
๒.3 ฝ่ายอาคารสถานที่และความปลอดภัย มีภาระหน้าที่ในการดูแลความสะอาดเรียบร้อย
ในกศน.ตําบลสีขาว รักษาของมีค่าและทรัพยส์ มบตั ิของกศน.ตําบลสีขาว วสั ดอุ ุปกรณท์ ช่ี ํารุด ป้องกันอุบัติเหตุ
ภายในกศน.ตําบลสีขาว จัดสภาพสิ่งแวดล้อมในกศน.ตําบลสีขาว ให้น่าเรียนและป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมท่ี
ไมพ่ ึงประสงค์เกิดขึน้ ในกศน.ตาํ บลสขี าว โดยมีกระบวนการทํางาน ดังน้ี
๑) มกี ารจัดตงั้ ทีมงานแกนนาํ รับผิดชอบงานฝ่ายการงานของกศน.ตําบล
๒) ทีมงานแกนนาํ ดแู ลพน้ื ท่ีภายในกศน.ตาํ บลและรอบกศน.ตําบล
๓) ทมี งานแกนนาํ ดูแลทรพั ยส์ ินและความปลอดภยั ในกศน.ตาํ บล
๔) ทีมงานแกนนําจัดทําสมุดบันทึกกิจกรรมกศน.ตําบลสีขาวในการปฏิบัติงานทั้ง ๕ ฝ่าย
ตามโครงสรา้ งกศน.ตาํ บลสขี าว
๒.4 ฝ่ายกิจการนักศึกษา มีภาระหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความเรียบร้อยทั้งในกศน.ตําบลสีขาว
และมุมอับ เช่น ห้องน้ํา หรือที่บริเวณอาคาร แหล่งที่ไปมั่วสุมสูบบุหร่ี ดูแลเพื่อนหากมีพฤติกรรมที่เก่ียวข้อง
กับยาเสพติดหรือพฤติกรรมเส่ียง รวมท้ังปัญหาส่วนตัวในด้านต่าง ๆ ให้ฝ่ายกิจการนักศึกษา แก้ไข แต่หากไม่
สามารถแก้ไขได้ ให้ นกั ศกึ ษาแจ้งครู กศน. เพ่อื แกไ้ ขต่อไป โดยมกี ระบวนการทํางาน ดังน้ี
๑) มีการจัดต้ังทีมงานแกนนํารับผิดชอบงานฝ่ายกิจการนักศึกษาของกศน.ตําบล ดําเนินการ
เฝา้ ระวงั และสอดส่องดูแลในกศน.ตําบล
๒) ทมี งานแกนนาํ มีกระบวนการดําเนินงานฝ่ายกิจการนักศึกษาของกศน.ตําบล ดําเนินการเฝ้า
ระวังและสอดส่องดูแลพ้ืนทมี่ มุ อับ หอ้ งนาํ้ แหลง่ ม่วั สมุ
29
๓) ทีมงานแกนนํามีการกําหนดมาตรการในการแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงของ นักศึกษาในกศน.
ตาํ บล ดําเนนิ การเฝา้ ระวังและสอดส่องดูแลให้ความชว่ ยเหลือและคาํ ปรึกษา
๔) มรี ะบบการดูแลชว่ ยเหลือนักศกึ ษาของกศน.ตําบล สง่ ต่อให้ครู กศน.
๒.5 ฝ่ายกิจกรรม มีหน้าที่ในการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ท้ังในกศน.ตําบลสีขาวและกิจกรรมใน
ทุกระดับชั้น เช่น การเล่นดนตรี กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม และจัดกิจกรรมในกลุ่มสนใจของเพื่อนๆ เพื่อใช้เวลา
วา่ งให้เป็นประโยชน์ ไม่ไปม่วั สุมหรือมีพฤติกรรมท่ไี มเ่ หมาะสม โดยมกี ระบวนการทํางาน ดังนี้
๑) มกี ารจัดตงั้ ทีมงานแกนนาํ รบั ผิดชอบงานฝา่ ยกิจกรรมของกศน.ตาํ บล
๒) ทมี งานแกนนาํ จดั กิจกรรมเชิงสร้างสรรคภ์ ายในกศน.ตําบล
๓) ทมี งานแกนนาํ ใหค้ วามร่วมมือการจัดกจิ กรรมในสถานศึกษา
๔) ทีมงานแกนนําใหค้ วามรว่ มมอื การจัดกจิ กรรมนอกสถานศกึ ษา
30
แผนผังโครงสรา้ ง กศน.ตาํ บล สีขาว
การดําเนินงานตามโครงสรา้ งกศน.ตําบลสีขาว ในหลักการต้องการให้กลุ่มเพื่อน (Peer Group) หรือกลุ่ม
แกนนํานักศึกษาในทุกระดับเพื่อรวมกลุ่มดูแลช่วยเหลือ ให้คําปรึกษาปัญหาการเรียนเพ่ือลดปัญหาการดูแล
ช่วยเหลือการงานร่วมกัน การเฝ้าระวังไม่ให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดและพฤติกรรมท่ีไม่พึงประสงค์ มีการ
จัดกจิ กรรมที่สร้างสรรคต์ ามโครงสรา้ งองค์กรดงั ต่อไปน้ี
ประธานองคก์ รนักศกึ ษา ระดับตําบล
๑ คน
รองประธานองค์กร รองประธานองค์กร รองประธานองคก์ ร รองประธานองค์กร รองประธานองคก์ ร
นศ. นศ. นศ. นศ. นศ.
ฝา่ ยบริหาร ฝา่ ยวชิ าการ ฝา่ ยอาคารสถานท่ี ฝ่ายกจิ การ ฝ่ายกจิ กรรม
๑ คน ๑ คน และความปลอดภัย นกั ศึกษา ๑ คน
นักศึกษา นกั ศึกษา นักศึกษา นกั ศึกษา นักศึกษา
แกนนํา แกนนํา แกนนํา แกนนํา แกนนํา
ไมน่ ้อยกว่า 2 คน ไมน่ อ้ ยกว่า 2 คน ไม่นอ้ ยกวา่ 2 คน ไมน่ ้อยกวา่ 2 คน ไมน่ อ้ ยกวา่ 2 คน
หมายเหตุ จาํ นวน นกั ศกึ ษา แกนนํา สามารถปรบั เปลย่ี นไดต้ ามความเหมาะสม
31
กระบวนการดาํ เนินงาน กศน.ตําบลสีขาว
เพื่อให้การดําเนินงานโครง การกศน.ตําบลสีขาว บรรลุเป้าหมายเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ลดปัญหาได้ในทุกระดับ จึงต้องมีกระบวนการในการดําเนินงานอย่างเป็นระบบ ให้เกิดความเข้มแข็งต่อเน่ือง
และย่ังยืน โดยบุคลากรทุกฝ่ายที่เก่ียวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในระบบตามกระบวนการดําเนินงาน กศน.
ตาํ บลสขี าว และนาํ ไปสู่การปฏิบตั ิอยา่ งจริงจังตามหลักการเพอื่ นช่วยเพ่อื น
แผนภูมกิ ลยุทธ์และโครงสรา้ ง กศน.ตาํ บล/แขวง สีขาว
การมีส่วนร่วมของ ฝ่ายบริหาร นกั ศึกษา นกั ศึกษา
นกั ศกึ ษาและคร แกนนาํ
มีแหล่งเรยี นรู้ ฝา่ ยวชิ าการ นกั ศึกษา นักศกึ ษา
แกนนาํ
กลยุทธ์ ดแู ลช่วยเหลือ ฝ่ายอาคารสถานที่และ นกั ศึกษา
ความปลอดภยั แกนนาํ
นกั ศึกษา
เอือ้ เฟือ้ ดว้ ย ฝ่ายกจิ การ นกั ศกึ ษา นกั ศึกษา
นักศกึ ษา แกนนํา
สร้างสรรคด์ ว้ ย ฝา่ ยกจิ กรรม นักศึกษา นกั ศกึ ษา
กจิ กรรม แกนนํา
32
แผนผังคณะทาํ งาน กศน.ตาํ บลสขี าว
กศน.ตําบล...........................
ครู กศน.
ประธานองคก์ รนักศึกษา
รองฝา่ ยบรหิ าร รองฝา่ ยวิชาการ รองฝา่ ยอาคาร รองฝ่าย รองฝา่ ย
สถานทแ่ี ละ กิจการนักศกึ ษา กจิ กรรม
นกั ศึกษา นักศึกษา ความปลอดภัย
แกนนํา แกนนํา นกั ศึกษา นักศึกษา
นกั ศกึ ษา แกนนํา แกนนํา
ไม่นอ้ ยกว่า ไม่น้อยกว่า แกนนํา
๒ ๒ ไม่นอ้ ยกว่า ไม่น้อยกว่า
ไม่นอ้ ยกวา่ ๒ ๒
นักศกึ ษา นกั ศกึ ษา ๒
นักศกึ ษา นักศึกษา
นักศึกษา
คตพิ จน/์ หลกั ธรรมประจาํ กศน.ตําบล..................................................................................................
หมายเหตุ ๑. มรี ปู ภาพคณะทาํ งานทุกคน
๒. พิมพ์ ช่อื -นามสกลุ และตาํ แหน่ง อยูด่ า้ นลา่ งรูปภาพ
33
บทบาทหน้าที่ นักศกึ ษาแกนนํา กศน.ตาํ บลสขี าว
๑. ประธานองคก์ รนกั ศกึ ษา ปฏบิ ตั หิ น้าที่ ดงั น้ี
๑.๑ อาํ นวยการ กาํ กับดูแล สั่งการ การดําเนินงานของทุกฝ่าย
๑.๒ ประสานงาน รายงาน บนั ทึกและสรปุ ผลการดาํ เนินงานของทุกฝา่ ย ใหค้ รู กศน. ทกุ ภาคเรยี น
๑.๓ ช่วยดูแลแกไ้ ข ให้คําปรึกษาข้อปญั หาของนักศกึ ษา กศน.ตาํ บล
๑.๔ รายงานปัญหา อปุ สรรค ความต้องการชว่ ยเหลือให้ครู กศน. เพอื่ ทราบและแก้ไขปัญหา
๑.๕ ปฏิบัติงานอ่นื ๆ ตามทไ่ี ด้รับมอบหมาย
๒. รองประธานองค์กรนกั ศกึ ษา และนกั ศกึ ษาแกนนํา ฝ่ายบรหิ าร ปฏบิ ตั หิ น้าที่ ดังนี้
2.๑ ช่วยเหลือประธานองค์กรนักศกึ ษา ในการอาํ นวยการ กาํ กับดแู ล สงั่ การ การดําเนินงานของทุกฝา่ ย
2.๒ ประสานงาน รายงาน บันทกึ และสรุปผลการดําเนนิ งานของทุกฝ่าย ใหค้ รู กศน. ทุกภาคเรียน
2.๓ ช่วยดูแลแก้ไข ใหค้ ําปรึกษาข้อปัญหาของนกั ศกึ ษา กศน.ตาํ บล
2.๔ รายงานปญั หา อปุ สรรค ความตอ้ งการชว่ ยเหลอื ใหค้ รู กศน. เพอ่ื ทราบและแก้ไขปญั หา
2.๕ ปฎิบตั ิงานอนื่ ๆ ตามท่ไี ดร้ ับมอบหมาย
๓. รองประธานองค์กรนกั ศกึ ษา และนกั ศกึ ษาแกนนํา ฝา่ ยวชิ าการ ปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ ดงั น้ี
3.๑ รับผิดชอบการดแู ลชว่ ยเหลอื ใหค้ าํ แนะนาํ เกี่ยวกบั การจดั กระบวนการเรยี นรู้ ให้กับนกั ศกึ ษา
3.๒ รบั ผิดชอบการดแู ล และสนบั สนุนส่งเสริมใหเ้ กดิ กระบวนการจดั การเรียนรทู้ ี่สง่ ผลต่อผลสมั ฤทธ์ิ
การเรยี นให้บรรลตุ ามวตั ถุประสงค์
3.๓ สนับสนนุ งานด้านวชิ าการตามที่ไดร้ บั มอบหมาย
3.๔ รบั ผิดชอบในการส่งเสรมิ สนบั สนุน จัดใหม้ แี หลง่ เรยี นรู้ใน กศน.ตาํ บล
3.๕ บันทึกผลการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้ ดา้ นการส่งเสริมและปอ้ งกันปัญหายาเสพติด
๔. รองประธานองคก์ รนกั ศกึ ษา และนกั ศกึ ษาแกนนาํ ฝา่ ยอาคารสถานทแ่ี ละความปลอดภัย ปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ี
ดงั นี้
4.๑ รบั ผดิ ชอบความสะอาด ความเป็นระเบยี บเรยี บร้อยใน กศน.ตาํ บล
4.๒ รับผดิ ชอบ วัสดุ-อุปกรณ์ ภายใน กศน.ตาํ บล และความปลอดภัยภายใน กศน.ตาํ บล/แขวง
4.๓ ตรวจสอบอปุ กรณไ์ ฟฟ้า ประตู หน้าตา่ ง หากชาํ รดุ แจ้งงานอาคารสถานท่ี
4.๔ ตรวจสอบจุดเสี่ยง และมาตรการป้องกันอคั คภี ัย อุบัติเหตุท้ังภายในและนอกอาคารสถานท่ี
4.๕ บนั ทกึ ผลการปฏิบัตงิ าน และงานอ่นื ๆ ตามที่ไดร้ บั มอบหมาย
๕. รองประธานองค์กรนกั ศกึ ษาและนกั ศกึ ษาแกนนํา ฝา่ ยกิจการนกั ศกึ ษา ปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ ดงั น้ี
5.๑ รบั ผิดชอบตรวจสอบการนาํ สารเสพติด ยาเสพติด อาวุธ เข้ามาภายใน กศน.ตาํ บล
5.๒ รบั ผดิ ชอบเฝา้ ระวงั ไม่ใหม้ ีสารเสพตดิ การสบู บุหรี่ พฤตกิ รรมไมพ่ ึงประสงค์ สอ่ื ลามก การแตง่
กายใน กศน.ตาํ บล
5.๓ การใหค้ ําแนะนาํ คาํ ปรกึ ษา ปญั หาพฤตกิ รรมเสีย่ ง ใหม้ ีทางออกของปญั หาท่ีถูกต้อง
5.๔ การรายงานพฤตกิ รรมทีไ่ มส่ ามารถแกป้ ัญหาไดใ้ ห้ครู กศน. เฝา้ ระวังและชว่ ยแกไ้ ขปญั หา
5.๕ บนั ทึกผลการปฏิบัติงาน และงานอน่ื ๆ ตามทไี่ ดร้ บั มอบหมาย
34
๖. รองประธานองค์กรนกั ศึกษาและนกั ศกึ ษาแกนนาํ ฝา่ ยกิจกรรม ปฏบิ ตั หิ น้าท่ี ดังน้ี
6.๑ รบั ผดิ ชอบงานกิจกรรมพฒั นาคณุ ภาพชีวิต (กพช.) เช่น วนั สาํ คัญ กฬี า ฯลฯ
6.๒ รบั ผิดชอบงานกจิ กรรมใน กศน.ตาํ บล ที่ไดร้ ับมอบหมาย
6.๓ รับผิดชอบกิจกรรมพฒั นาผ้เู รยี นใน กศน.ตาํ บล
6.๔ ประสานงานระหวา่ ง ครู ผปู้ กครอง นักศกึ ษา และชุมชนในการจดั กิจกรรม
6.๕ บันทกึ ผลการปฏบิ ตั งิ าน และงานอนื่ ๆ ตามที่ได้รบั มอบหมาย
35
บนั ทกึ การปฏบิ ัติงาน กศน.ตาํ บลสีขาว
ภาคเรียนท่ี.........ปีการศึกษา....................
วันท่ี........เดอื น..........................พ.ศ...........................
กศน.ตาํ บล........................................................
บันทึกการปฎิบตั ิงานของ ฝ่าย...................................................
ลงชือ่ .............................................
()
รองฝ่าย.........................................
ตรวจสอบแลว้ ถูกตอ้ ง
ลงชื่อ................................................
()
ประธานองค์กรนักศึกษา
วันท.่ี .......เดือน..................พ.ศ...................
ความคิดเห็นของครู กศน.
ลงชอื่ ..............................................
()
ครู กศน.
วนั ท.่ี .......เดอื น..................พ.ศ..............
ความคิดเหน็ /ขอ้ สง่ั การ
ลงช่อื .............................................
()
ผู้อํานวยการ กศน.อาํ เภอ
วันท.่ี .......เดือน..................พ.ศ...................
หมายเหตุ ๑. บนั ทกึ การปฏบิ ัติงานทุกคร้ังทจี่ ดั กจิ กรรม
๒. จัดทําเป็นเล่ม ใช้ภาคเรียนละ 1 เลม่
36
เกณฑ์มาตรฐานการประเมนิ กศน.ตาํ บลสขี าว
ประกอบดว้ ยมาตรฐาน ๕ ฝ่าย 25 รายการประเมนิ ดงั นี้
1. มาตรฐานฝ่ายบรหิ าร (๒๐ คะแนน) ประกอบด้วย 5 รายการประเมิน ดงั น้ี
๑) ผู้บริหารสถานศกึ ษาสง่ เสรมิ สนับสนนุ ในการจัดกจิ กรรม กศน.ตาํ บลสขี าว (4 คะแนน)
๒) มีประกาศจดั ตั้งองค์กรนกั ศกึ ษาในการบรหิ ารจัดกจิ กรรมการเรยี นรใู้ น กศน.ตาํ บล (4 คะแนน)
3) ครู กศน. มสี ่วนรว่ มในการสอดส่องดแู ลและแก้ไขพฤตกิ รรมไม่พงึ ประสงค์ (4 คะแนน)
4) ครู กศน. มีส่วนรว่ มในการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ใน กศน.ตาํ บล (4 คะแนน)
5) นักศึกษาแกนนํามกี ารรายงานเป็นลายลักษณ์อกั ษรหรอื รปู แบบอนื่ ๆ เช่น สมุดบนั ทกึ กลมุ่
Line facebook ฯลฯ (4 คะแนน)
2. มาตรฐานฝ่ายวิชาการ (๒๐ คะแนน) ประกอบด้วย 5 รายการประเมิน ดังน้ี
๑) มนี กั ศกึ ษาแกนนาํ รับผดิ ชอบงานฝ่ายวชิ าการของ กศน.ตาํ บล (4 คะแนน)
๒) นักศึกษาแกนนาํ มีกระบวนการช่วยเหลอื เพอ่ื นฝา่ ยวชิ าการของ กศน.ตําบล
เพอื่ ให้มีความร้คู วามเขา้ ใจในกจิ กรรมการเรยี นรู้ (4 คะแนน)
๓) นกั ศึกษาแกนนาํ จดั ทําแหลง่ เรยี นรู/้ มุมความร/ู้ ป้ายนิเทศใน กศน.ตาํ บล (4 คะแนน)
4) นกั ศกึ ษาแกนนํามขี อ้ มลู ผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นของนกั ศกึ ษาทกุ คนใน กศน.ตาํ บล(4 คะแนน)
5) นักศึกษาแกนนํามีการรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรหรือรูปแบบอ่ืนๆ เช่น สมุดบันทึก
กลุ่ม Line facebook ฯลฯ (4 คะแนน)
3. มาตรฐานฝ่ายอาคารสถานที่และความปลอดภัย (๒๐ คะแนน) ประกอบด้วย 5 รายการ
ประเมิน ดังนี้
๑) มีการจัดตั้งนักศึกษาแกนนํารับผิดชอบงานฝ่ายอาคารสถานท่ีและความปลอดภัยของ กศน.
ตาํ บล/แขวง (4 คะแนน)
๒) นกั ศกึ ษาแกนนาํ ดแู ลความสะอาดสถานทภ่ี ายใน กศน.ตําบล (4 คะแนน)
3) นักศกึ ษาแกนนําดแู ลความสะอาดสถานท่ภี ายนอก กศน.ตาํ บล (4 คะแนน)
4) นักศกึ ษาแกนนําดแู ลทรพั ยส์ นิ และความปลอดภัยของ กศน.ตําบล (4 คะแนน)
5) นักศึกษาแกนนํามีการรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรหรือรูปแบบอื่นๆ เช่น สมุดบันทึก
กลมุ่ Line, face book ฯลฯ (4 คะแนน)
4. มาตรฐานฝ่ายกิจการนักศึกษา (๒๐ คะแนน) ประกอบด้วย 5 รายการประเมิน ดังน้ี
๑) มีนักศกึ ษาแกนนาํ รับผดิ ชอบงานฝา่ ยกจิ การนกั ศกึ ษาของ กศน.ตาํ บล (4 คะแนน)
๒) นกั ศึกษาแกนนํามีการดําเนนิ งานจดั กิจกรรมของ ฝา่ ยกจิ การนักศกึ ษา กศน.ตาํ บล (4 คะแนน)
๓) นักศึกษาแกนนํามีส่วนร่วมในการกําหนดมาตรการในการแก้ไขพฤติกรรมเส่ียงของนักศึกษาใน
กศน.ตาํ บล (4 คะแนน)
๔) มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา กศน.ตาํ บล (4 คะแนน)
5) นักศึกษาแกนนํามีการรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรหรือรูปแบบอ่ืนๆ เช่น สมุดบันทึก กลุ่ม
Line, facebook ฯลฯ (4 คะแนน)
37
5. มาตรฐานฝา่ ยกจิ กรรม (20 คะแนน) ประกอบด้วย 5 รายการประเมิน ดงั นี้
๑) มีนกั ศึกษาแกนนํารบั ผิดชอบงานฝ่ายกิจกรรม ของ กศน.ตําบล (4 คะแนน)
๒) นกั ศึกษาแกนนาํ จัดกจิ กรรมภายใน กศน.ตาํ บล (4 คะแนน)
3) นกั ศึกษาแกนนําใหค้ วามรว่ มมอื การจัดกิจกรรมนอก กศน.ตําบล (4 คะแนน)
4) นกั ศกึ ษาแกนนาํ ใหค้ วามรว่ มมอื การจัดกจิ กรรมของสถานศกึ ษา (4 คะแนน)
5) นักศึกษาแกนนํามีการรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรหรือรูปแบบอ่ืนๆ เช่น สมุดบันทึก กลุ่ม
Line facebook ฯลฯ (4 คะแนน)
สรปุ ผลการประเมิน กศน.ตําบลสีขาว
คะแนน ระดบั คณุ ภาพ
ต่ํากว่า ๖๐ ปรบั ปรงุ
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดมี าก
๙๐ - ๑๐๐ ดเี ด่น
การดาํ เนินการและเกณฑก์ ารตดั สนิ
๑. สถานศึกษาแต่งต้ังคณะกรรมการดําเนินงานโดยให้พิจารณาบุคลากรในสถานศึกษาเป็น
คณะกรรมการในการประเมนิ ตามเกณฑท์ กี่ ําหนด
๒. สถานศกึ ษาแจง้ ครู กศน. ทร่ี ับผิดชอบ สง่ ผลการดําเนินงาน กศน.ตาํ บลสีขาว
๓. ให้สถานศึกษารายงานผลการดําเนินงานกศน.ตําบลสีขาว ทผ่ี า่ นเกณฑ์การประเมนิ ในระดบั
ดีเดน่ ส่งให้หนว่ ยงานตน้ สงั กดั ระดับพืน้ ท่ีทราบผลการประเมนิ ภายในเวลาเดือนตุลาคม ของทกุ ปี
๔. สถานศึกษาท่ีได้ดําเนินงานกศน.ตําบลสีขาวประเมิน เพ่ือรายงานให้องค์กรหลัก/หน่วยงานต้น
สังกัด และศูนย์อํานวยการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ พิจารณามอบรางวัลใน
ระดบั ประเทศต่อไป
38
การนาํ เสนอผลงานประกอบการประเมนิ กศน.ตําบลสขี าว
การเสนอผลการดําเนนิ งาน กศน.ตาํ บลสขี าว เป็นการประเมนิ ผลการดําเนนิ งาน ในภาคเรียนที่ ๑ - ๒
ของปีการศึกษาที่ผ่านมา การประเมินจากเอกสารจึงจําเป็นต้องมีรายละเอียดการปฏิบัติหน้าที่ของ นักศึกษา
แกนนาํ ทั้ง ๕ ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายอาคารสถานที่และความปลอดภัย ฝ่ายกิจการนักศึกษา
และฝ่ายกิจกรรม โดยมี ครู กศน. และองค์กรนักศึกษา ควบคุมดูแลการทํางานใน กศน.ตําบลสีขาว ให้มี
ประสิทธิภาพและประสทิ ธิผล จงึ ไดก้ ําหนดคะแนนการจดั ทําเอกสารและคะแนนผลงานเชิงประจักษ์ เพ่ือรวมกับ
คะแนนตามหลกั เกณฑ์ จาํ นวน ๒๐๐ คะแนน ดังตอ่ ไปนี้
๑. ผลงานดา้ นเอกสาร (๘๐ คะแนน)
-บทที่ ๑ คาํ ส่งั แตง่ ตั้งคณะกรรมการองค์กรนักศึกษาระดบั ตําบล และระดับอําเภอ (๘ คะแนน)
-บทที่ ๒ แผนปฏิบัตกิ าร โครงการ กศน.ตาํ บลสขี าว ประจาํ ปีการศกึ ษา (๘ คะแนน)
-บทท่ี ๓ สถานศึกษากาํ หนดนโยบายและมอบนโยบายไปยงั กศน.ตาํ บล/แขวง (๘ คะแนน)
-บทท่ี ๔ คํารบั รองปฏบิ ัตริ าชการของ กศน.ตําบล (๘ คะแนน)
-บทท่ี ๕ แผนผังภมู กิ ลยทุ ธแ์ ละโครงสรา้ ง กศน.ตําบลสขี าว (๘ คะแนน)
-บทท่ี ๖ จัดสภาพแวดล้อมการดาํ เนินงานของ กศน.ตาํ บลสีขาว ตามโครงสร้าง 5 ฝ่าย (๘ คะแนน)
-บทท่ี ๗ กศน.ตาํ บล/แขวง จัดกจิ กรรม กศน.ตําบลสีขาว ใหน้ กั ศกึ ษา (๘ คะแนน)
-บทที่ 8 ผลการประเมนิ การดาํ เนินงานของ กศน.ตําบลสขี าว ระดบั ดเี ดน่ (๘ คะแนน)
-บทที่ 9 ภาพกิจกรรมของ กศน.ตําบลสขี าว (๘ คะแนน)
-บทที่ 10 รายงานสรปุ ผลการดาํ เนินงานโครงการ กศน.ตําบลสีขาว (๘ คะแนน)
๒. ผลงานเชงิ ประจกั ษ์ (๒๐ คะแนน)
-สภาพแวดล้อม กศน.ตําบลสีขาว มแี หล่งเรียนรู้ แผนผงั และโครงสร้าง (๑๐ คะแนน)
-สัมภาษณ์ ครู กศน. และนักศกึ ษาแกนนาํ การปฏบิ ัติงาน 5 ฝา่ ยของ กศน.ตําบลสขี าว (๕ คะแนน)
-การมสี ่วนรว่ มของครู กศน. ทกุ คน (๕ คะแนน)
๓. ผลการประเมินตามหลกั เกณฑ์ในคู่มอื การดําเนนิ งาน (๑๐๐ คะแนน)
สรปุ ผลคะแนนของการประเมินกศน.ตําบลสขี าว ตามมาตรฐาน ๕ ฝ่าย ๒๐ รายการประเมิน ตามแบบ
ประเมนิ กศน.ตําบลสีขาว ทคี่ ณะกรรมการประเมนิ ไดม้ ีมตกิ ารประเมินในการลงพน้ื ที่ ดงั นี้
- ฝ่ายบริหาร (๒๐ คะแนน)
- ฝา่ ยวิชาการ (๒๐ คะแนน)
- ฝา่ ยอาคารสถานทแ่ี ละความปลอดภยั (๒๐ คะแนน)
- ฝ่ายกิจการนักศึกษา (๒๐ คะแนน)
- ฝ่ายกจิ กรรม (๒๐ คะแนน)
๔. สรปุ ผลรวมคะแนนการประเมนิ ขอ้ ๑ / ข้อ ๒ / ข้อ ๓ และคดิ เปน็ ระดบั คณุ ภาพ
โดยใชเ้ กณฑก์ ารประเมนิ ดงั น้ี
คะแนน ระดบั คุณภาพ
ตา่ํ กวา่ ๑๖๐ ปรบั ปรุง
๑๖๐ – ๑๖๙ พอใช้
๑๗๐ – ๑๗๙ ดี
๑๘๐ – ๑๘๙ ดีมาก
๑๙๐ – ๒๐๐ ดเี ด่น
39
ศูนย์ กศน. อําเภอ
แบบรายงานผลการจดั กจิ กรรม/โครงการการสร้างภมู คิ ุ้มกนั
กจิ กรรมป้องกนั และเฝา้ ระวงั ยายาเสพตดิ ในสถานศึกษา ครง้ั ที่.........................
ในศนู ย์ กศน. อําเภอ....................................................จงั หวดั ............................
รายงานวนั ท.ี่ ................เดือน .............................. พ.ศ. ....................
---------------------------------------------------------------
1. ขอ้ มลู จํานวนครู/บคุ ลากรทงั้ หมดใน ศูนย์ กศน. อาํ เภอ รวม......................คน
2. จํานวนนกั ศกึ ษา กศน. ท้ังหมดในศนู ย์ กศน. อําเภอ รวม......................คน
3. การสํารวจและคน้ หาพบ
3.1 กลุ่มเส่ียง………………คน 3.2 ผเู้ สพ/ผู้ติด………………คน 3.3 ผู้ค้า………………คน
4. จดั ค่ายปรบั เปล่ียนพฤตกิ รรมให้กับนักศึกษา กศน. กลมุ่ เสย่ี ง (ถา้ มีกล่มุ เสีย่ งตามข้อ 3.1 ) ............คน
5. จัดทําจติ สงั คมบําบดั ให้กับนักศึกษา กศน. ผู้เสพ/ผู้ตดิ (ถา้ มผี ู้เสพ/ผตู้ ิด ข้อ 3.2 ) .....................คน
6. จาํ นวนนกั ศึกษา กศน.................คน ทีไ่ ด้รับภมู ิคมุ้ กันยาเสพติดจากวทิ ยากรครูพระครูตํารวจ
7. จดั ต้ังเครือขา่ ยผ้ปู กครองของนักศกึ ษา กศน.และชุมชน จํานวน .............. เครือขา่ ย ....................คน
8. จดั ตั้งกลุม่ เพือ่ นทปี่ รึกษา (YC-Youth Counselor) จํานวน .................... กลุม่ ......................คน
9. ศูนยเ์ พ่ือนใจวัยรนุ่ (To Be Number one ) จํานวน .................... ศนู ย์ ......................คน
10.ลูกเสือ/ยุวกาชาด ตา้ นยาเสพตดิ จํานวน................................คน
11.มคี รูแกนนําทีร่ บั ผดิ ชอบด้านยาเสพติด จํานวน............................... คน (โปรดระบุชอื่ )
11.1 นาย/นาง/นางสาว..........................................................………………………
11.2 นาย/นาง/นางสาว..........................................................………………………
11.3 นาย/นาง/นางสาว..........................................................………………………
11.4 นาย/นาง/นางสาว..........................................................………………………
12.มนี ักศึกษา กศน แกนนาํ ต่อต้านยาเสพตดิ จํานวน............................. คน
13.มอี งค์กร นักศกึ ษา กศน. ท่ีจดั กิจกรรมตา้ นยาเสพตดิ . จํานวน..................... คน
14.มีตํารวจประสานงานในศูนย์ กศน. อาํ เภอ ไม่มี มี
15.จดั กิจกรรมช่วงหลังพบกล่มุ ไมม่ ี มี โดยเป็นกจิ กรรม
กีฬา ดนตรี ศลิ ปะ นนั ทนาการ
กจิ กรรมการเรยี นการสอนเพ่มิ เติม กิจกรรมส่งเสรมิ การอา่ น
กจิ กรรมสง่ เสรมิ รายได้ กจิ กรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กจิ กรรมสาธารณประโยชน์
การใช้เทคโนโลยีตา่ งๆเชน่ Computer/internet อ่นื ๆ
ระบ…ุ ………………................................................
16. จัดกิจกรรมชว่ งปิดภาคเรียน ไมม่ ี มี โดยเป็นกิจกรรม
กีฬา ดนตรี ศลิ ปะ นนั ทนาการ กจิ กรรมการเรียนการสอนเพ่ิมเติม
กจิ กรรมสง่ เสรมิ การอา่ น กิจกรรมสง่ เสริมรายได้ กิจกรรมแลกเปล่ียนเรยี นรู้
กจิ กรรมสาธารณประโยชน์ การใช้เทคโนโลยตี ่างๆ เชน่ Computer/internet อ่นื ๆ ระบุ
************************************
ขอขอบพระคุณอยา่ งสงู
ผูร้ ับรองข้อมลู ผู้รายงานข้อมลู
ลายมอื ชือ่ ................................................................. ช่อื -นามสกลุ ..............................................
(ชอ่ื -สกุล...................................................................) ตําแหน่ง.....................................................
ตําแหนง่ ....ผอ. กศน. อําเภอ..................................... เบอร์โทรศพั ท์............................................
40
คาํ อธิบายการรายงานผลการจัดกจิ กรรม/โครงการการสร้างภมู ิคมุ้ กัน
กิจกรรมป้องกนั และเฝ้าระวงั ยายาเสพติดในสถานศกึ ษา
---------------------------
3. สํารวจ/ค้นหา หมายถึง การคัดกรองนักศึกษา กศน. เป็นกลุ่มท่ีมีพฤติกรรมเส่ียงจํานวนกี่คน ผู้เสพ/ติด
ยาจํานวนก่ีคน และผู้ค้ายาจํานวนก่ีคน เพ่ือให้ความช่วยเหลือดูแล แก้ไข ปรับเปล่ียนพฤติกรรม การคัดกรอง
นักศึกษา กศน. มีวิธีการแตกต่างกันไปตามความพร้อมของแต่ละสถานศึกษา เช่น คัดกรองโดยระบบการดูแล
ช่วยเหลือนักศึกษา กศน. การใช้แบบสํารวจพฤติกรรม การใช้ข้อมูลจากแหล่งข่าวอ่ืน (จากนักศึกษา กศน.
แกนนาํ /จากเครอื ข่ายผปู้ กครอง/จากชมุ ชน) การตรวจหาสารเสพติด เปน็ ตน้
3.1 กลุ่มเส่ียง หมายถึง นักศึกษา กศน. ที่มีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เช่น นักศึกษา กศน. ท่ีดื่ม
เหล้า สบู บหุ รี่ สมาชกิ ในครอบครัวเกย่ี วขอ้ งกับยาเสพติด ครอบครัวแตกแยก หนีเรยี น ผลการเรียนตกตํา่ ฯลฯ
3.2 ผูเ้ สพ/ผตู้ ดิ หมายถงึ นักศกึ ษา กศน. ทเ่ี สพ/ตดิ ยาเสพตดิ (ในท่ีน้ไี มน่ บั รวมสรุ า เบียร์ และบหุ รี)่
3.3 ผ้คู า้ หมายถงึ นกั ศึกษา กศน. ที่เกยี่ วขอ้ งกบั การค้ายาเสพติด (ในที่นีไ้ ม่นบั รวมสุรา เบียร์ และบุหร)่ี
4. จัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสําหรับนักศึกษา กศน ที่อยู่ในกลุ่มเส่ียง หมายถึง เป็นการนํานักศึกษา
กศน. ท่ีมีพฤติกรรมเสี่ยง หรือเก่ียวข้องกับยาเสพติด เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใต้การดูแล
ของผู้ท่ีมีความชํานาญ เช่น เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งเข้ารับการบําบัดรักษา เป็นต้น โดยนักศึกษา
กศน.ทเี่ ขา้ ค่ายปรบั เปล่ยี นพฤติกรรมจาํ นวนกคี่ น
5. การทําจิตสังคมบําบัดในโรงเรียน (ผู้เสพ/ติดยาเสพติด) หมายถึง เป็นกิจกรรมท่ีดําเนินการกับนักศึกษา
กศน. ผู้เสพ/ติดยาเสพติด โดยนําแนวคิดพ้ืนฐานของกิจกรรมกลุ่มจิตสังคมบําบัดแบบผู้ป่วยนอกในสถานบริการ
สาธารณสุข มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทในสถานศึกษา รูปแบบของกิจกรรมจะเป็นกิจกรรมกลุ่มเพ่ือการ
เรียนรู้โดยมคี รเู ป็นผนู้ าํ กลมุ่ และนกั ศึกษา กศน. ที่มีพฤติกรรมใช้ (เสพ) ยาเปน็ สมาชกิ กลุ่ม จํานวน ๘ - ๑๒ คน มี
ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย ๓ ครั้ง จากกิจกรรมทั้งหมด ๑๒ คร้ังๆ ละประมาณ ๑-๒ ชั่วโมง พบกัน
อย่างสมํ่าเสมอต่อเนื่องกันสัปดาห์ละ ๒คร้ัง เป็นเวลา ๖ สัปดาห์ ภายในห้องเรียนหรือห้องท่ีเหมาะสม โดยมี
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงในกิจกรรมดังกล่าวโดยสถานศึกษาได้ทําจิตสังคมบําบัดรักษาในโรงเรียนให้กับ
นกั ศึกษา กศน. ทเี่ สพยาเสพติด จํานวนกค่ี น
6. จํานวนนักศึกษา กศน. ในสถานศึกษา ที่ได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดด้วยการจัดให้มีวิทยากร
ป้องกันยาเสพติด ได้แก่ พระสอนศีลธรรมเพ่ือการป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน ครูสอนศาสนา ตํารวจ D.A.R.E.
ครตู าํ รวจ ครูแกนนาํ หรือวทิ ยากรอ่นื ๆ ในการให้ความรเู้ กย่ี วกับทกั ษะชวี ติ เพ่อื การปอ้ งกันยาเสพตดิ
7. จัดต้ังเครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษาและชุมชน หมายถึง การรวมตัวของผู้นําชุมชน/อาสาสมัคร/
นกั ศกึ ษา กศน. แกนนํา และผปู้ กครองนักศึกษา กศน. เพอ่ื ร่วมกันป้องกัน เฝ้าระวังยาเสพติด รวมทั้งสอดส่อง
ดแู ลพฤตกิ รรมทีไ่ ม่พึงประสงค์ของนกั ศึกษา กศน.และประชาชนในชมุ ชน มีทั้งหมดก่เี ครอื ข่าย รวมกี่คน
8. การจัดต้ังกลุ่มเพื่อนปรึกษาเพ่ือน หมายถึง สถานศึกษาท่ีมีการจัดตั้งกลุ่มนักศึกษา กศน. แกนนําระดับ
หอ้ งเรียนทีม่ ีบทบาทในการแนะนํา ตักเตอื น ดแู ลช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ
ตดิ และปญั หาพฤตกิ รรมเบ่ยี งเบนอน่ื วา่ มที ั้งหมดกี่กลมุ่ รวมก่คี น
9. ศูนย์เพ่ือนใจวัยรุ่น (To be No.1) หมายถึง มีการจัดกิจกรรมศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นที่เป็นกิจกรรมหน่ึงของ
ชมรม To Be Number One ในสถานศึกษา ที่มีนักศึกษา กศน. แกนนํา ประจําศูนย์เป็นผู้บริหารจัดการจัด
กิจกรรม และให้บริการต่างๆ เช่น การให้คําแนะนําปรึกษาปัญหาหรือร่วมกันทํากิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆว่า
สถานศึกษาจัดให้มีศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น (To be No.1) หรือไม่ มีกี่ศูนย์ และรวมมีสมาชิกศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น
จาํ นวนก่คี น
41
10. ลกู เสอื / ยวุ กาชาด ต้านยาเสพติด หมายถงึ จาํ นวนนกั ศกึ ษา กศน. ที่เป็นลูกเสือ/เนตรนารี ไดผ้ า่ นการ
อบรมหลักสูตรลูกเสือ/ยุวกาชาดต้านภัยยาเสพติด ท่ีสํานักการลูกเสือ และกิจการนักเรียน
กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาขึ้น และได้ทํากิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดทั้งในสถานศึกษาและ
ชมุ ชน มกี ี่คน
11. ครู/บคุ ลากรแกนนาํ ทรี่ บั ผิดชอบดา้ นยาเสพตดิ หมายถงึ จํานวนครแู ละบุคลากร กศน.ที่รับผิดชอบงาน
ด้านยาเสพติด และ/หรือมีบทบาทในการขับเคล่ือนกิจกรรมป้องกัน ทั้งหมดมีก่ีคน และให้กรอก ชื่อ-นามสกุล
(สามารถพมิ พ์เพม่ิ ให้ครบทกุ คนได)้
12. นักศึกษา กศน.แกนนําต่อต้านยาเสพติด หมายถึง จํานวนนักศึกษา กศน.ท่ีเป็นผู้นําหรือมีบทบาท
สําคัญในการจัดกิจกรรมเชิงบวกต่างๆ เช่น กิจกรรมชมรม To Be Number One ศูนย์เพ่ือนใจวัยรุ่น บ้าน
หลงั เรียน/กิจกรรมหลงั เรียน เปน็ ต้น รวมท้งั กิจกรรมปอ้ งกนั และเฝา้ ระวังปญั หายาเสพตดิ มีจํานวนกค่ี น
13. กิจกรรมด้านยาเสพติดขององค์กรนักศึกษา กศน. หมายถึง จํานวนนักศึกษา กศน. ในองค์กรนักศึกษา
กศน. ท่ีได้ดาํ เนินการจัดกจิ กรรมเชิงบวก รวมท้ังกจิ กรรมปอ้ งกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพตดิ มจี ํานวนกคี่ น
14. ตํารวจประสานงานในศูนย์ กศน. อําเภอ หมายถึง มีตํารวจท่ีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงาน
ระหว่างศูนย์ กศน. อําเภอ กับสถานีตํารวจในพ้ืนท่ีเพื่อร่วมกันในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดมิให้เข้ามาแพร่
ระบาดในสถานศึกษา/ชุมชน
15. จัดกิจกรรมช่วงหลังพบกลุ่ม หมายถึง การจัดกิจกรรมช่วงหลังจากท่ีจบการเรียนการสอนในแต่ละ
สปั ดาห์
16. จัดกิจกรรมช่วงปดิ ภาคเรยี น หมายถึง การจัดกจิ กรรมชว่ งปิดภาคเรียน
42
43
ภาคผนวก
กศน.ตาบล/แขวง สขี าว
แบบประเมินผลการดาเนินงาน กศน.ตาบล/แขวง สขี าว
แบบประเมินผลการดาเนินงาน กศน.ตาบล/แขวง สขี าว
ของสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั
ปงี บประมาณ........................
ตอนท่ี ๑ ขอ้ มูลทวั่ ไป (***สาหรบั ๑ กศน.ตาบล/แขวง ต่อ ๑ แบบประเมนิ ***)
๑.๑ ขอ้ มูล กศน.ตาบล/แขวง
ชื่อครู กศน.ตาบล/แขวง (ผูร้ ับผดิ ชอบ)..........................................................................................
ชอื่ กศน. ตาบล/แขวง ..........................................................................................................
ทต่ี งั้ .................................................................................................................................................
สังกัด .............................................................................................................................................
โทรศพั ท.์ ..................................โทรสาร............................... E-mail : ............................................
๑.๒ ขอ้ มูลนักศกึ ษา กศน.ตาบล/แขวง สีขาว
จานวนนกั ศึกษาท้ังหมด ...........................คน
ระดับประถมศกึ ษา จานวน ............... คน
ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ จานวน ............... คน
ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย จานวน ............... คน
ระดับ ปวช. จานวน ............... คน
นักศกึ ษาแกนนา จานวน ............... คน
๑.๓ คาช้ีแจงการประเมิน
๑.๓.1 ใหผ้ ปู้ ระเมินทาเครือ่ งหมาย X ในชอ่ งคะแนนการประเมนิ ผลทปี่ ฏบิ ัติและสรปุ รวมคะแนน
ในแต่ละมาตรฐาน
๑.๓.2 ให้ผู้ประเมินสรปุ ผลคะแนนการประเมินทุกมาตรฐานรวมกันแลว้ คิดเป็นระดบั คุณภาพ
โดยใช้เกณฑก์ ารประเมิน ดังนี้
คะแนน ระดับคุณภาพ
ตา่ กวา่ ๖๐ ปรับปรุง
๖๐ - ๖๙ พอใช้
๗๐ - ๗๙ ดี
๘๐ - ๘๙ ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐ ดีเดน่
1.3.3 ให้ประเมินปีละ 1 ครง้ั
ตอนที่ ๒ เกณฑก์ ารประเมนิ
1. มาตรฐานฝ่ายบรหิ าร (๒๐ คะแนน)
รายการประเมิน คะแนน เกณฑก์ ารประเมนิ ผล เกณฑ์การชี้วดั /ข้ันตอนการดาเนินงาน
๑ รายการ
1.๑ ผ้บู รหิ ารสถานศึกษา ๒ ๑. มแี ผนงาน/โครงการ /กจิ กรรม
สง่ เสริมสนบั สนุนในการจัด ๓ มีการดาเนนิ การตามข้อ 1 กศน.ตาบล/แขวง สขี าว
กิจกรรม กศน.ตาบล/แขวง ๔ มีการดาเนนิ การตามขอ้ 1 และ 2 ๒. มคี าสัง่ แต่งต้งั คณะทางาน
สขี าว (4 คะแนน) มีการดาเนนิ การตามขอ้ 1,2 และ 3 ขบั เคลอ่ื นโครงการสถานศกึ ษาสขี าว
มีการดาเนนิ การตามข้อ 1,2,3 และ 4 ๓. มกี ารส่งเสริมสนับสนนุ การจดั
กจิ กรรม กศน.ตาบล/แขวง สขี าว
1.๒ มปี ระกาศจดั ตงั้ องคก์ ร ๑ มีการดาเนนิ การตามข้อ 1 4. มีการนิเทศ/กากับติดตาม การจัด
นกั ศึกษาในการบริหารจัดกิจกรรม ๒ มีการดาเนนิ การตามขอ้ 1 และ 2
การเรียนรู้ใน กศน.ตาบล/แขวง ๓ มีการดาเนนิ การตามขอ้ 1,2 และ 3 กจิ กรรม กศน.ตาบล/แขวง สขี าว
(4 คะแนน) ๔ มีการดาเนินการตามขอ้ 1,2,3 และ 4 ๑. มีประกาศจดั ต้ังองค์กรนักศกึ ษา
1.3 ครู กศน. มสี ว่ นร่วมในการ ๑ มีการดาเนินการตามข้อ 1 รับผิดชอบงานฝา่ ยบริหาร ของ
สอดส่องดแู ลและแกไ้ ข ๒ มีการดาเนนิ การตามข้อ 1 และ 2 กศน.ตาบล/แขวง
พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ๓ มีการดาเนินการตามขอ้ 1,2 และ 3 ๒. มีการประชมุ วางแผน
(4 คะแนน) ๔ มีการดาเนินการตามขอ้ 1,2,3 และ 4 ๓. มีผงั โครงสรา้ ง กศน.ตาบล/แขวง
สขี าว
1.4 ครู กศน. มีส่วนรว่ มในการ ๑ มีการดาเนินการตามขอ้ 1 4. มปี ฎิทินหรือตารางการจดั กิจกรรม
จดั กิจกรรมการเรยี นรู้ใน กศน. ๒ มีการดาเนินการตามขอ้ 1 และ 2 รายภาคเรยี น
ตาบล/แขวง (4 คะแนน) ๓ มีการดาเนินการตามขอ้ 1,2 และ 3 ๑. มสี ว่ นร่วมในการจดั ทาขอ้ มูล
๔ มีการดาเนินการตามข้อ 1,2,3 และ 4 พฤติกรรมเส่ยี งของนักศกึ ษา
ในกศน.ตาบล/แขวง
1.5 นักศึกษาแกนนามีการ ๑ มีการดาเนินการตามข้อ 1 2. มสี ่วนรว่ มในการกาหนดมาตรการ
รายงานเปน็ ลายลักษณอ์ กั ษร ๒ มีการดาเนินการตามข้อ 1 และ 2 ในการแกไ้ ขพฤติกรรมเสีย่ งของ
หรอื รูปแบบอน่ื ๆ เช่น สมุด ๓ มีการดาเนินการตามข้อ 1,2 และ 3 นักศึกษา ในกศน.ตาบล
บนั ทึก กลุ่ม Line facebook ๔ มีการดาเนินการตามข้อ 1,2,3 และ 4 3. มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือ
ฯลฯ (4 คะแนน) นกั ศกึ ษา
4. มีการรายงานผลการดาเนินงาน
สรปุ รวมคะแนนมาตรฐาน 1. มีส่วนร่วมในการดาเนนิ การจัด
ฝ่ายบริหาร กิจกรรมภายใน กศน.ตาบล/
แขวง
2. มสี ่วนรว่ มในการจดั กิจกรรม
ภายในสถานศกึ ษา
3. มสี ่วนรว่ มในการจัดกิจกรรมใน
ชุมชน
4. มกี ารรายงานผลการจัดกิจกรรม
1. นกั ศึกษา รายงานเป็นบนั ทึกหรือ
รายงานทางช่องอ่นื ๆ ของฝ่าย
บรหิ าร
2. มีภาพกิจกรรม
3. มีรายชื่อผู้เข้าร่วมกจิ กรรม
4. ครู กศน. รวบรวมรายงานจัด
กจิ กรรม
2. มาตรฐานฝา่ ยวิชาการ (๒๐ คะแนน)
รายการประเมิน คะแนน เกณฑ์การประเมินผล เกณฑ์การชวี้ ัด/ขั้นตอนการ
รายการ ดาเนินงาน
2. ๑ มนี ักศึกษาแกนนา ๑
รับผิดชอบงานฝา่ ยวชิ าการของ ๒ มีการดาเนินการตามข้อ 1 1. มกี ารประชุมวางแผน
กศน.ตาบล/แขวง (4 คะแนน) ๓ มีการดาเนนิ การตามขอ้ 1 และ 2 และบันทึกการประชุม
๔ มีการดาเนนิ การตามข้อ 1,2 และ 3 2. มีบันทึกการปฏิบัตงิ าน
มกี ารดาเนินการตามข้อ 1,2,3 และ 4 3. มีการติดตามประเมนิ ผล
4. สรุปรายงานผลการ
2. ๒ นกั ศกึ ษาแกนนามี ๑ มีการดาเนินงาน 1 ข้อ ดาเนินงาน
กระบวนการช่วยเหลอื เพ่ือนฝา่ ย ๒ มกี ารดาเนินงาน 2 ข้อ ๑. กจิ กรรมทคี่ รู กศน.
วชิ าการของ กศน.ตาบล/แขวง ๓ มีการดาเนนิ งาน 3 ข้อ
เพอ่ื ใหม้ ีความรู้ความเขา้ ใจใน ๔ มกี ารดาเนนิ งาน 4 ขอ้ มอบหมาย เชน่ การส่ง
กจิ กรรมการเรยี นรู้ (4 คะแนน) งาน การเรยี นรู้ดว้ ย
ตนเอง (กรต.)
2. ๓ นักศึกษาแกนนาจัดทา ๑ มีการดาเนินงาน 1 ขอ้ ๒. กจิ กรรมเพือ่ นสอนเพ่อื น
แหล่งเรยี นรู้/มุมความรู้/ปา้ ย ๒ มกี ารดาเนนิ งาน 2 ขอ้ เชน่ การเรยี นรู้ดว้ ย
นิเทศใน กศน.ตาบล/แขวง ๓ มีการดาเนนิ งาน 3 ข้อ ตนเอง (กรต.) ใบงาน
(4 คะแนน) ๔ มีการดาเนินงาน 4 ข้อ ๓. กจิ กรรมดา้ นโครงงาน
๔. กิจกรรมซอ่ มเสริม หรอื
2.4 นกั ศกึ ษาแกนนามขี อ้ มลู ๑ ผลการเรยี นเฉลี่ย 1.00-1.49 ให้คาปรกึ ษา (ปรบั
ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนของ ๒ ผลการเรียนเฉลี่ย 1.50-1.99 พืน้ ฐาน สอนเสรมิ )
นกั ศึกษาทกุ คนใน กศน.ตาบล/ ๓ ผลการเรียนเฉลีย่ 2.00-2.49 ๑. มีการจัดบอร์ด/ป้าย
แขวง (4 คะแนน) ๔ ผลการเรยี นเฉลยี่ 2.50 ขึ้นไป นิเทศใน กศน.ตาบล/
๑ มีการดาเนินการตามขอ้ 1 แขวง
2.5 นักศกึ ษาแกนนามกี าร ๒ มีการดาเนินการตามข้อ 1 และ 2 ๒. มีการจดั ทาโครงงานใน
รายงานเปน็ ลายลกั ษณอ์ ักษร ๓ มีการดาเนินการตามข้อ 1,2 และ 3 กศน.ตาบล/แขวง
หรอื รูปแบบอ่ืนๆ เช่น สมุด ๔ มีการดาเนนิ การตามข้อ 1,2,3 และ 4 ๓. มีการจัดหา/จดั ทาส่อื
บันทกึ กลุ่ม Line facebook ในกศน.ตาบล/แขวง
ฯลฯ (4 คะแนน) ๔. มีการจดั มมุ ให้ความรู้ใน
กศน.ตาบล/แขวง
สรุปรวมคะแนนมาตรฐาน
ฝา่ ยวิชาการ แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรยี น
เฉล่ีย
......................................
...............
1. นกั ศึกษา รายงานเปน็
บันทึกหรือรายงานทาง
ช่องอน่ื ๆ ของฝา่ ยวิชาการ
2. มีภาพกิจกรรม
3. มีรายชอ่ื ผเู้ ขา้ รว่ มกจิ กรรม
4. ครู กศน. รวบรวมรายงาน
จดั กิจกรรม
3. มาตรฐานฝ่ายอาคารสถานทแ่ี ละความปลอดภัย (๒๐ คะแนน)
รายการประเมิน คะแนน เกณฑก์ ารประเมนิ ผล เกณฑ์การชวี้ ดั /ข้นั ตอนการ
รายการ ดาเนนิ งาน
3. ๑ มีการจดั ตัง้ นักศึกษาแกนนา ๑
รับผดิ ชอบงานฝา่ ยอาคารสถานทแี่ ละ ๒ มกี ารดาเนินการตามขอ้ 1 1. มบี ันทกึ การประชมุ วางแผน
ความปลอดภยั ของ กศน.ตาบล/แขวง ๓ มีการดาเนนิ การตามขอ้ 1 และ 2 2. มีบันทึกการปฏิบตั งิ าน
(4 คะแนน) ๔ มกี ารดาเนนิ การตามขอ้ 1,2 และ 3 3. มกี ารตดิ ตามประเมินผล
มกี ารดาเนนิ การตามข้อ 1,2,3 และ 4 4. สรปุ รายงานผลการ
ดาเนินงาน
3.๒ นกั ศกึ ษาแกนนาดูแลความสะอาด ๑ มีการดาเนนิ การตามข้อ 1 ๑. จัดให้มีผู้รับผดิ ชอบทาความ
๒ มกี ารดาเนินการตามขอ้ 1 และ 2 สะอาด ประจาสัปดาห์ กศน.ตาบล/
สถานที่ ภายใน กศน.ตาบล/แขวง ๓ มีการดาเนินการตามข้อ 1,2 และ 3 แขวง (ตารางเวร)
(4 คะแนน) ๔ มกี ารดาเนนิ การตามข้อ 1,2,3 และ 4 ๒. ดาเนนิ การทาความสะอาด
ภายใน กศน.ตาบล/แขวง
3.3 นักศกึ ษาแกนนาดแู ลความสะอาด ๑ มกี ารดาเนนิ การตามข้อ 1 ๓. กากบั ตดิ ตาม
๒ มกี ารดาเนนิ การตามข้อ 1 และ 2 ๔. ภาพกิจกรรม
สถานท่ี ภายนอก กศน.ตาบล/แขวง ๓ มีการดาเนินการตามขอ้ 1,2 และ 3
(4 คะแนน) ๔ มกี ารดาเนนิ การตามขอ้ 1,2,3 และ 4 ๑. จดั ใหม้ ผี ู้รบั ผิดชอบทาความ
สะอาด ประจาสปั ดาห์ กศน.ตาบล/
3.4 นกั ศึกษาแกนนาดแู ลทรพั ยส์ นิ ๑ มีการดาเนนิ งาน 1 ข้อ แขวง (ตารางเวร /แบบบันทึก ฯลฯ)
และความปลอดภยั ของ กศน.ตาบล/ ๒ มกี ารดาเนนิ งาน 2 ขอ้ ๒. ดาเนินการทาความสะอาด
แขวง (4 คะแนน) ๓ มกี ารดาเนนิ งาน 3 ข้อ ภายนอก กศน.ตาบล/แขวง
๔ มีการดาเนนิ งาน 4 ขอ้ ๓. กากับติดตาม
๔. ภาพกจิ กรรม
3.5 นักศึกษาแกนนามกี ารรายงานเปน็ ๑ มกี ารดาเนนิ การตามขอ้ 1 ๑. จัดใหม้ ผี ้รู ับผิดชอบทรพั ย์สิน
ลายลักษณ์อักษรหรอื รปู แบบอื่นๆ เชน่ ๒ มีการดาเนนิ การตามขอ้ 1 และ 2 และความปลอดภัยของ กศน.
สมดุ บนั ทกึ กลุม่ Line facebook ๓ มีการดาเนินการตามข้อ 1,2 และ 3 ตาบล/แขวง (ตารางเวร)
ฯลฯ (4 คะแนน) ๔ มกี ารดาเนินการตามขอ้ 1,2,3 และ 4 2. จดั เตรียมวัสดุอปุ กรณ์
สาหรบั จดั กจิ กรรมการเรียนรูป้ ระจา
สัปดาห์
3. การจดั เกบ็ สอื่ อปุ กรณ์การ
เรยี น
4. มีการสารวจวสั ดุ/อปุ กรณท์ ี่
เส่ือมสภาพและมีการ
ปรับปรุงภายใน กศน.
ตาบล/แขวง
1. นกั ศึกษา รายงานเป็นบันทึก
หรือรายงานทางชอ่ งอนื่ ๆ ของ
ฝา่ ยอาคารสถานทแี่ ละความ
ปลอดภยั
2. มีภาพกจิ กรรม
3. มีรายชื่อผเู้ ขา้ ร่วมกิจกรรม
4. ครู กศน. รวบรวมรายงานจดั
กิจกรรม
สรุปรวมคะแนนมาตรฐาน
ฝ่ายอาคารสถานทแ่ี ละความปลอดภยั