The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

07-คู่มือป้องกันอัคคีภัยในโรงเรียน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Sharifa Sulaiman, 2022-09-11 09:20:36

07-คู่มือป้องกันอัคคีภัยในโรงเรียน

07-คู่มือป้องกันอัคคีภัยในโรงเรียน

ค�ำน�ำ

เพอื่ สนองตอบนโยบายของทา่ นผวู้ า่ ราชการกรงุ เทพมหานคร หมอ่ มราชวงศ์
สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ที่ต้องการให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งความปลอดภัย
สำ� นกั ปอ้ งกนั และบรรเทาสาธารณภยั (สปภ.) จงึ มเี ปา้ หมายทจ่ี ะยกระดบั ในการ

ปอ้ งกนั อคั คภี ยั ซงึ่ เปน็ สาธารณภยั ทมี่ คี วามเสย่ี งมากทสี่ ดุ ในพน้ื ทกี่ รงุ เทพฯ โดยมงุ่ เนน้

ไปทโ่ี รงเรยี นในสงั กดั กรงุ เทพมหานครทมี่ มี ากถงึ 438 โรงเรยี น มคี รกู วา่ 14,300 คน
และนกั เรยี นกวา่ 300,000 คน
โดยทผ่ี า่ นมา สปภ. ไดม้ กี ารรณรงค์ ประชาสมั พนั ธ์ ฝกึ อบรมใหค้ วามรคู้ วามเขา้ ใจ

เกย่ี วกบั การป้องกันอัคคีภัย รวมถึงการอบรมดับเพลิงและซ้อมหนีไฟให้โรงเรียน
ในเขตพน้ื ทีก่ รงุ เทพฯ เปน็ ประจำ� ทกุ ปี เพอื่ ใหท้ กุ คนในโรงเรยี นสามารถชว่ ยเหลอื ตนเอง
และคนรอบขา้ งไดใ้ นยามทเ่ี กดิ เพลิงไหม้
หนังสือคู่มือป้องกันอัคคีภัยส�ำหรับโรงเรียนเล่มนี้ เป็นอีกความตั้งใจในการ
ปอ้ งกนั อคั คภี ยั ใหแ้ กโ่ รงเรยี นในเชงิ รกุ โดยจะเปน็ กรอบทศิ ทางในการวางแผนปอ้ งกนั
อัคคีภัยตั้งแต่ระยะก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย เพื่อให้ครูมีความรู้
ความเข้าใจในการจัดท�ำแผนป้องกันอัคคีภัยโรงเรียนของตนเอง ตลอดจนสามารถ
ถา่ ยทอดความรทู้ ไี่ ดร้ บั ไปยงั นกั เรยี นและบคุ ลากรในโรงเรยี น เพอื่ ใหท้ กุ คนในโรงเรยี น
ไดม้ สี ว่ นชว่ ยทำ� ใหโ้ รงเรยี นเปน็ สถานทที่ ปี่ ลอดภยั จากอคั คภี ยั และเปน็ ศนู ยร์ วมความรู้
และความรกั ของครแู ละนกั เรียนสืบตอ่ ไป

สำ� นกั ปอ้ งกนั และบรรกเรทงุ าเสทาพธมาหรณานภคยัร

สำรบัญ

รู้ทันอัคคภี ัยในโรงเรยี น 4

เตรยี มพรอ้ มปอ้ งกนั กอ่ นเกดิ อคั คภี ยั 12

รบั มอื มน�ั ใจ ขณะเกดิ อคั คภี ยั ดบั ไฟรวดเรว็ 36

เยยี วยาและฟ�นฟหู ลงั เพลิงสงบ 42
ตรวจสอบให้แน่ใจ 48
เพ�มความปลอดภัยในโรงเรียน

4

ร้ทู นั อคั คีภัยในโรงเรียน

โรงเรียนไมไ่ ดเ้ ปน เพียงสถำนทที่ ใี่ ช้ศกึ ษำและเปน แหล่งรวมวิชำควำมรู้
เพื่อมอบให้เยำวชนผูซ้ ึง่ เปนอนำคตของชำตเิ ทำ่ นน้ั

แตย่ ังเปรยี บเสมือนบำ้ นหลงั ท่ีสองของนกั เรยี นและครทู ุกคน

สถานทีอ่ นั เปี›ยมไปดว้ ยความรกั ความผกู พันระหวา่ งครู นกั เรียน
และเพื่อนร่วมโรงเรยี นเดยี วกัน

หากโรงเรียนตอ้ งเสียหายไปกบั เพลงิ ไหม้ ยอ่ มสร้างความสญู เสีย
และสง่ ผลกระทบต่อชวี ติ ทรัพยส์ นิ และสภาพจติ ใจของทุกคนในโรงเรียนเป็นอยา่ งมาก

อกี ท้ังยังส่งผลกระทบต่อความร้สู ึกเช่ือมัน่ ความไว้วางใจ
ของพ่อแม่ ผ้ปู กครองท่ีมตี อ่ โรงเรยี นอีกดว้ ย

ถึงแม้อคั คีภยั จะเป็นเหตุการณท์ สี่ ามารถเกดิ ขึ้นได้แทบทุกที่ทุกเวลา
แต่ถา้ เรามีความรู้ความเขา้ ใจเกีย่ วกับอัคคีภัย รวมถงึ ปจั จยั เสย่ี งตา่ งๆ
ทีท่ �าใหเ้ กดิ อัคคีภยั เราก็สามารถหาทางปอ้ งกันมใิ ห้เกิดเหตกุ ารณ์เพลิงไหม้

หรอื หากเกดิ ขึ้นแลว้ กส็ ามารถผอ่ นหนกั ใหเ้ ป็นเบาได้

5

ปจ จยั เสี่ยง

ทีท่ �ำให้เกดิ เพลงิ ไหม้ในโรงเรียน

เพลิงไหม้ในโรงเรียนอาจมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า การเสียดสี
ของกงิ่ ไม้ การทบั ถมของสง่ิ ปฏกิ ลู ตา่ งๆ จนเกดิ เปน็ ความรอ้ น หรอื เกดิ จากความประมาท
ขาดความรู้ ความระมดั ระวงั และความรเู้ ทา่ ไมถ่ งึ การณข์ องคนในโรงเรยี น ยกตวั อยา่ งเชน่
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ถูกวิธีจนเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การจัดเก็บวัตถุหรือสารเคมีไวไฟ
โดยขาดความระมดั ระวัง การจดุ ไฟเล่นของเดก็ นักเรยี น เปน็ ต้น

“รู้ไหมว่า ท่ีผ่านมา

เหตุการณ์ไฟไหม้ในกรงุ เทพฯ

เกิดจากไฟฟาลดั วงจรมากท่สี ุด

ซึ่งเราสามารถช่วยกันป้องกนั ได้

”เพ�ยงใสใ่ จ และเพ�มความระมัดระวัง
ให้มากขน้ึ นะครับ

6

3 สาเหตจุ ากตวั เราเอง

1ควำมประมำท 2 3

มกั เกดิ จากความไมร่ ะมดั ระวงั กำรขำดควำมรู้ ควำมรู้เท่ำไม่ถึงกำรณ์
ในการใช้ชีวิตประจ�าวันของเรา
เช่น การใช้หรือจัดเก็บน้�ามัน โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจ มักเกิดขึ้นจากเด็กนักเรียน เช่น การ
กา ซ หรอื สารเคมไี วไฟอน่ื ๆ เชน่ เก่ียวกับการใช้อุปกรณ์และ เล่นประทดั ดอกไม้ไฟ หรือจุดฟืนไฟ
ทินเนอร์ สีพ่น สีน�้ามัน ฯลฯ เคร่ืองใช้ไฟฟ้า เช่น การใช้ เพอ่ื ความสนุกสนาน เปน็ ต้น
ไว้ในที่ท่ีอาจเกิดไฟไหม้ได้ง่าย สายไฟทม่ี ขี นาดไมเ่ หมาะสมกบั
การหุงต้มอาหารโดยขาดการ กระแสไฟท่ีใช้ การใช้เครื่องใช้
ดูแลหรือลืมปิดถังกาซหุงต้ม ไฟฟ้าหลายเคร่ืองที่เต้ารับ
หลังประกอบอาหารเสร็จ การ อันเดียว สายไฟฟ้าเก่าช�ารุด
จุดไฟไหว้พระแล้วปล่อยท้ิงไว้ เส่ือมสภาพหรือไม่มีฉนวนหุ้ม
การเผาขยะหรือหญ้าแห้ง การใช้ฟิวส์ไม่ถูกขนาด การใช้
ในโรงเรียนท�าให้ประกายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าท่ีไม่ได้มาตรฐาน
ปลวิ ไปตกในบรเิวณทม่ี เีชอื้ เพลงิ อยู่ หรือช�ารุด เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็น
เป็นตน้ สาเหตุท่ีท�าให้เกิดกระแสไฟฟ้า
ลดั วงจรได้

7

รแู้ ลว้ …จะป้องกัน

และบรรเทำอัคคภี ยั กนั อย่ำงไร

เพราะอัคคีภัยในโรงเรียนเป็นส่ิงท่ีเกิดข้ึนได้ทุกเวลา จึงต้องมีการเตรียมพร้อมเพ่ือป้องกันและระงับ
อคั คภี ยั ไว้ล่วงหนา้ อย่างรอบดา้ นและครบวงจร ทงั้ ในช่วงก่อนเกิดอัคคีภัย ระหวำ่ งเกิดอคั คภี ัย และ
หลงั เกดิ อคั คภี ัย ตามวัฏจักรการบริหารจดั การอัคคีภยั เพอื่ ช่วยลดความรุนแรงและลดผลกระทบท่จี ะเกิด
กับทกุ คนในโรงเรยี น

วัฏจกั รการบริหารจัดการอัคคภี ัย

1 ก่อนเกดิ อคั คีภัย

อคั คีภยั

การเตรยี มความพร้อม 2 ระหว่ำงเกดิ อคั คภี ยั
การปองกันและลดผลกระทบ
การโตต้ อบและบรรเทาทุกข์
3 หลังเกดิ อัคคีภยั (การจัดการในภาวะฉุกเฉนิ )

การฟน ฟูและการกอสร้างใหม

8

ชว่ งเวลากอ่ นเกิดอคั คีภัย

เป็นช่วงเวลาที่ต้องเตรียมการป้องกัน
เพ่ือลดผลกระทบจากอัคคีภัย ด้วยการจัด
ระบบ พัฒนาปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง
โครงสรา้ งของโรงเรยี น ไมว่ ่าจะเปน็ อาคาร
สถานที่หรือจะเป็นบุคลากรในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมพร้อมในการ
รับมือกับภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการปฏิบัติ
ตามวธิ กี ารตา่ งๆ ทจี่ ะปอ้ งกนั ไมใ่ หเ้ กดิ เหตุ
หรือชว่ ยลดโอกาสในการเกดิ อัคคีภยั

ช่วงระหว่างเกิดอัคคีภัย

เป็นช่วงเวลาโต้ตอบสถานการณ์ในภาวะ
ฉุกเฉิน โดยการส่ังการ ประสานงาน
และปฏบิ ตั กิ ารตามหนา้ ทท่ี ไ่ี ดร้ บั มอบหมาย
รวมถึงแผนการที่วางไว้ เพื่อให้การจัดการ
กบั อคั คภี ยั เปน็ ไปอยา่ งมรี ะบบ และสามารถ
ยุตเิ หตกุ ารณ์ไดอ้ ย่างรวดเร็ว

ช่วงเวลาหลังเกิดอัคคีภัย

เป็นช่วงเวลาที่ต้องฟื้นฟูสถานที่ ส่ิงของ
ที่ถูกท�ำลาย และการให้ความช่วยเหลือ
ผู้บาดเจ็บหรือได้รับความเสียหายจาก
อัคคีภัยให้สามารถด�ำรงชีวิตได้ตามปกติ
รวมถึงการเร่งซ่อมแซมอาคารสถานที่
ให้กลบั มาใชง้ านไดโ้ ดยเรว็

9

เมริ่มอจบากหกมารำยหน้ำทใี่ หเ้ หมาะสม
การจะด�าเนินการป้องกันและบรรเทาอัคคีภัยท้ังในช่วงเวลาก่อนเกิดอัคคีภัย ระหว่างเกิดอัคคีภัย
และหลังเกิดอัคคีภัยได้อย่างครบวงจรน้ัน จ�าเป็นต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและระงับอัคคีภัย
ในโรงเรียนข้ึน เพื่อมอบหมายหน้าที่ต่างๆ ให้บุคลากรในโรงเรียนได้น�าไปปฏิบัติ โดยก�าหนดให้
ผอู้ า� นวยการโรงเรยี น ครูใหญ่ หรือผทู้ ม่ี ีอ�านาจในการส่ังการเปน็ ผู้อา� นวยการดับเพลงิ ผทู้ มี่ อี า� นาจรองลงมา
ท�าหน้าที่เป็นรองผู้อ�านวยการดับเพลิง ครูและบุคลากรในโรงเรียนเป็นทีมงานในชุดต่างๆ โดยพิจารณาจาก
ผทู้ ม่ี คี วามรหู้ รอื ความเชย่ี วชาญในเรอ่ื งนน้ั ๆ หรอื เลอื กตามความเหมาะสม ซงึ่ อาจจะมหี วั หนา้ ฝา ยแตล่ ะฝา ย
คอยควบคุมดแู ลอกี ชนั้ หนงึ่

คณะกรรมการปอ้ งกันและระงบั อคั คีภัยในโรงเรียน

ผูอ้ า� นวยการดบั เพลิง
ชอ่ื …………………………….. เบอรต์ ดิ ต่อ ……………………………..

รองผอู้ �านวยการดบั เพลิง ท่ที า� การ
ช่อื ………………………. เบอร์ตดิ ต่อ ………………………. ………………………………………………

ฝายปองกนั และเตรยี มความพร้อม ฝายระงับอคั คีภัยและอพยพ ฝา ยปฐมพยาบาลและเยียวยา
หัวหน้าทมี หวั หนา้ ทีม หวั หนา้ ทีม

ช่อื …………………… เบอร์ติดต่อ……………………. ชอ่ื …………………… เบอร์ติดตอ่ ……………………. ชือ่ …………………… เบอรต์ ิดตอ่ …………………….

ชดุ สา� รวจและรวบรวมขอ้ มลู ชดุ ปฏบิ ัตกิ ารดบั เพลิง ชุดปฐมพยาบาล
ชื่อ …………………… เบอร์ติดตอ่ …………………… ชื่อ …………………… เบอร์ติดตอ่ …………………… ชื่อ …………………… เบอรต์ ิดต่อ ……………………
ชอื่ …………………… เบอร์ติดต่อ …………………… ชื่อ …………………… เบอร์ตดิ ตอ่ …………………… ชื่อ …………………… เบอรต์ ดิ ตอ่ ……………………
ชอ่ื …………………… เบอร์ติดตอ่ …………………… ชื่อ …………………… เบอร์ตดิ ตอ่ …………………… ชื่อ …………………… เบอร์ติดต่อ ……………………

ชุดฝกอบรม ชุดอพยพ ชุดเยียวยาและฟน ฟู
ชอื่ …………………… เบอรต์ ดิ ต่อ …………………… ชอ่ื …………………… เบอรต์ ดิ ต่อ …………………… ชอ่ื …………………… เบอร์ตดิ ต่อ ……………………
ชอื่ …………………… เบอร์ติดตอ่ …………………… ช่อื …………………… เบอรต์ ดิ ต่อ …………………… ช่ือ …………………… เบอรต์ ิดต่อ ……………………
ชอ่ื …………………… เบอรต์ ิดตอ่ …………………… ช่ือ …………………… เบอรต์ ดิ ต่อ …………………… ชอ่ื …………………… เบอรต์ ิดต่อ ……………………

ชดุ รกั ษาความปลอดภยั
ชื่อ …………………… เบอรต์ ดิ ตอ่ ……………………
ชือ่ …………………… เบอรต์ ดิ ตอ่ ……………………
ชอ่ื …………………… เบอร์ติดตอ่ ……………………

ชดุ ประสานงานและประชาสัมพนั ธ์
ชื่อ …………………………….. เบอร์ติดตอ่ ……………………………..
ชือ่ …………………………….. เบอรต์ ิดต่อ ……………………………..
ช่อื …………………………….. เบอร์ติดตอ่ ……………………………..

10

หนำ้ ท่คี วำมรับผดิ ชอบ แจง้ ใหช้ ุดประสานงานและประชาสัมพนั ธ์ทราบ
เพือ่ ขอความช่วยเหลอื จากหนว่ ยงานภายนอก
ผอู้ ำ� นวยกำรดบั เพลงิ และรองผอู้ ำ� นวยกำรดบั เพลงิ ประสานงานกบั ชดุ ปฏบิ ตั กิ ารดบั เพลงิ และหนว่ ยงาน
สง่ั การให้ชุดปฏบิ ตั ิการดับเพลิงท�าการดับเพลิง ท่ีเกี่ยวข้อง เพ่ืออา� นวยความสะดวก
เมื่อได้รับรายงานวา่ ไมส่ ามารถควบคุมเพลงิ ได้ ให้สง่ั การ
โดยใชแ้ ผนอพยพหนไี ฟ

ฝำ่ ยปอ้ งกนั และเตรยี มควำมพรอ้ ม ชดุ ฝก อบรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ครูและบุคลากร
ชดุ สำ� รวจและรวบรวมขอ้ มลู ในโรงเรยี น
ส�ารวจและรวบรวมขอ้ มลู ของโรงเรียน เพื่อน�าไป จัดกิจกรรมฝกซ้อมอพยพหนีไฟให้แก่ทุกคน
ทา� แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ในโรงเรยี น
ดา� เนินการแก้ไขปรบั ปรงุ อาคารสถานทเ่ี พื่อป้องกัน
และลดความเสย่ี งต่อการเกิดอคั คีภยั

ฝำ่ ยระงบั อคั คภี ยั และอพยพ ชดุ รกั ษำควำมปลอดภยั
ชดุ ปฏบิ ตั กิ ำรดบั เพลงิ ชดุ อพยพ ควบคมุ บรเิ วณทางเขา้ -ออก เพอื่ อา� นวย
ดับเพลิงเม่ือมีการลุกไหม้เกิดข้ึน ค้นหาและตรวจสอบว่ามีผู้ติดค้าง ความสะดวกแก่เจ้าหน้าท่ีชุดปฏิบัติ
โดยใช้ถังดับเพลิงแบบมือถือที่มีอยู่ อยู่ภายในอาคารหรือห้องต่างๆ การดับเพลิงและชุดปฏิบัติการอื่นๆ
ตามชั้นต่างๆ เพ่ือท�าการดับเพลิง หรือไม่ และต้องมีความเข้าใจหลัก ห้ามผู้ไม่เก่ียวข้องเข้าไปบริเวณที่
ในเบอ้ื งตน้ กอ่ น หากไมส่ ามารถควบคมุ ในการเคลอื่ นยา้ ย การปฐมพยาบาล เกิดเหตุ พรอ้ มเฝ้าระวังพ้นื ท่ีเกดิ เหตุ
เพลิงได้ให้รายงานผู้อ�านวยการ เบ้ืองต้นในลักษณะต่างๆ พร้อมทั้ง หลังเพลิงสงบเพื่อป้องกันเหตุร้าย
ดบั เพลงิ สามารถน�าผู้ประสบภัยออกจาก ตา่ งๆ ตลอด 24 ช่วั โมง
อาคารท่ีเกิดเหตุมายังจุดรวมพล
หรอื จดุ นดั หมายได้อย่างปลอดภัย

ฝำ่ ยปฐมพยำบำลและเยยี วยำ ชดุ เยยี วยำและฟน้ื ฟู
ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยทั้งทางด้าน
ชดุ ปฐมพยำบำล ร่างกายและจิตใจ
ดูแลผู้บาดเจ็บท้ังในอาคารท่ีเกิดเหตุ และในจุดรวมพล ดา� เนนิ การตรวจสอบความเสยี หายและเร่งฟื้นฟู
โดยจา� แนกผบู้ าดเจบ็ และใหก้ ารรกั ษาพยาบาลเบอ้ื งตน้ กอ่ น
แล้วนา� สง่ ตอ่ ไปยังโรงพยาบาลใกลเ้ คยี ง

ชดุ ประสำนงำนและประชำสมั พนั ธ์
ประสานงานและประชาสมั พนั ธข์ ้อมูลทจ่ี า� เป็นต้ังแต่ข้นั ตอนก่อนเกิดภัย
แจ้งผ้ปู กครองให้มารับลกู หลานและประกาศแจง้ เหตุให้ทุกคนทราบเปน็ ระยะ
ประสานงานกบั หนว่ ยงานท่ีเกยี่ วข้องทัง้ ภายในและภายนอกโรงเรียน
สรปุ สถานการณแ์ ละประชาสมั พนั ธใ์ หค้ นในโรงเรยี นและชมุ ชนรอบขา้ งไดร้ บั รู้

11

12

1

เตรียมพร้อม

ป้องกนั ก่อนเกดิ อคั คีภัย

ช่วงเวลาก่อนเกิดอัคคีภัย

เปน็ ช่วงเวลาทีฝ่ ่ำยปอ้ งกนั และเตรยี มควำมพรอ้ ม

ของโรงเรยี นตอ้ งจัดเตรยี มอปุ กรณ์ อาคารสถานที่ และวางแนวทางป้องกัน
ไมใ่ ห้อัคคภี ัยเกดิ ขึน้ หรอื ปรับปรุงจดุ บกพร่องท่ีอาจเป็นอุปสรรค

ในการป้องกันอคั คภี ัย รวมถึงการแกไ้ ขสงิ่ ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกดิ อคั คภี ัย
ตลอดจนเตรยี มนกั เรยี นและบคุ ลากรในโรงเรยี นให้พร้อม

หากจะต้องเผชญิ กับเหตุอคั คภี ยั ซึ่งการเตรียมการท้ังหลายจะช่วยลดความสญู เสีย
และทา� ใหท้ กุ คนในโรงเรียนได้รบั ผลกระทบจากอัคคภี ัยนอ้ ยทส่ี ดุ

การเตรียมความพร้อมเพือ่ ปอ้ งกนั โรงเรยี นจากอัคคีภยั ที่สามารถทา� ได้ คือ

การใหช้ ุดส�ำรวจและรวบรวมขอ้ มูลด�าเนนิ การสา� รวจพน้ื ท่ี

เพ่อื ประเมินความเสี่ยงและเรง่ แก้ไขปรบั ปรุง รวบรวมขอ้ มลู
และจัดท�าฐานข้อมลู ที่จา� เปน็ ส�าหรบั ปอ้ งกันและระงับอัคคภี ยั

รวมถงึ การใหช้ ดุ ฝก อบรมจดั อบรมเพอ่ื ใหค้ วามรู้เก่ยี วกบั

อัคคีภัยและจัดกจิ กรรมการฝึกซ้อมหนไี ฟให้ทุกคนในโรงเรยี นอยา่ งสม�่าเสมอ

โดยมชี ุดประสำนงำนและประชำสัมพนั ธค์ อยให้การสนับสนนุ ในทุกข้นั ตอน

13

สำ� รวจพนื้ ทเ่ี พอื่ ประเมนิ ความเสี่ยง
ล�าดับแรก ชุดส�ารวจและรวบรวมข้อมูลจะต้องส�ารวจพ้ืนท่ีท้ังภายในโรงเรียนและพื้นที่บริเวณ
รอบนอกโรงเรียน เพ่ือดูว่ามีบริเวณใดท่ีล่อแหลมหรือมีสภาพท่ีเส่ียงต่อการเกิดอัคคีภัยได้ง่าย หลังจากน้ัน
จึงน�าข้อมูลพ้ืนท่ีเส่ียงท่ีส�ารวจได้มาท�าเป็นผังแสดงพ้ืนท่ีเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย เพ่ือด�าเนินการแก้ไข
หรือปรับปรุงพ้ืนท่ีต่อไป

“มาดูกันดกี ว่าครบั
วา่ เราควรจะต้อง
”สา� รวจ
อะไรกนั บา้ ง

สำ� รวจพนื้ ท่ีภำยในโรงเรยี น
เปน็ การสา� รวจดวู า่ ภายในโรงเรยี นมบี รเิ วณใดบา้ งทเ่ี สยี่ ง
ต่อการเกิดอัคคีภัย อาจจะเป็นบริเวณที่มีกระดาษจ�านวนมาก
บริเวณท่ีมีการใช้กาซหุงต้มและวัตถุไวไฟ บริเวณท่ีมักมีการ
กอ่ ไฟเปน็ ประจา� และบรเิ วณทเ่ี กบ็ อปุ กรณเ์ ครอ่ื งใชไ้ ฟฟา้ ตา่ งๆ

ตัวอย่ำงพ้นื ทภ่ี ำยในโรงเรียนทเ่ี สี่ยงต่ออคั คีภยั

◉ ห้องสมุด ห้องเกบ็ ของทีม่ ีกระดาษเปน็ จา� นวนมาก
◉ โรงอาหารทใี่ ชก้ าซหุงต้มในการประกอบอาหาร
◉ หอ้ งทดลองวิทยาศาสตร์ทม่ี ีกา ซและวตั ถไุ วไฟ
◉ เตาเผาขยะ และจุดท่ีมกั มกี ารเผาใบไมห้ รอื

กิ่งไม้แห้งในโรงเรียน
◉ ห้องเรียนคอมพวิ เตอร์ ห้องโสตทัศนปู กรณ์

ท่มี ีเครื่องใชไ้ ฟฟ้าตา่ งๆ
◉ ห้องควบคุมระบบไฟฟา้ ในโรงเรยี น

14

“2 เร่อื งทจ่ี ะต้องส�ารวจ

คอื พ้นื ท่เี สี่ยงต่ออคั คีภยั
(RED ZONE) ตา่ งๆ และ
”กิจกรรมทเี่ สี่ยงต่ออคั คภี ัย
สำ� รวจพ้ืนท่ี นะครบั
ภำยนอกโรงเรยี น

เปน็ การสา� รวจดวู า่ ภายนอกโรงเรยี นมบี รเิ วณใด
ทีเ่ สีย่ งต่อการเกดิ อัคคีภัย รวมถงึ เมอ่ื เกิดอัคคภี ัยแลว้
มีโอกาสลุกลามมายังโรงเรียนได้มากน้อยเพียงใด
โดยส�ารวจตั้งแต่บรเิ วณทอ่ี ยอู่ าศยั และชมุ ชนหนาแนน่
หรอื สถานทท่ี มี่ กี ารใชพ้ ลงั งานไฟฟา้ พลงั งานเชอื้ เพลงิ
หรือพลงั งานความรอ้ นตา่ งๆ

ตัวอยำ่ งพื้นท่ีภำยนอกโรงเรียน
ท่เี ส่ยี งต่ออัคคภี ยั

◉ ชุมชนใกลเ้ คียงท่มี คี นอาศยั อย่หู นาแน่น
และบา้ นเรอื นสว่ นใหญม่ ีโครงสร้างเปน็ ไม้

◉ ร้านคา้ หรืออาคารสถานทที่ ่จี �าหน่าย
เชอ้ื เพลงิ และวัตถุไวไฟ เชน่ ปมั นา้� มนั
รา้ นขายกา ซหงุ ต้ม ปัมแกส เป็นต้น

◉ อาคารสถานท่ที ม่ี กี ารจุดไฟใชง้ าน
อย่เู ป็นประจา� เช่น รา้ นอาหาร ศาลเจา้
เปน็ ตน้

◉ ทีช่ ุมนมุ คนจ�านวนมาก เช่น ตลาด อาคาร
พาณชิ ย์ อาคารสูงหรอื อาคารขนาดใหญ่
ศนู ยก์ ารค้า โรงมหรสพ ฯลฯ

15

ส�ำรวจแหล่งน้ำ� ท่ีใช้ในกำรดบั เพลงิ

นอกจากการส�ารวจพ้ืนที่เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยแล้ว อีกส่ิงหนึ่งท่ีจ�าเป็นในยาม
เกิดอัคคีภยั ก็คือ แหลง่ น�า้ เพราะบางครงั้ อัคคภี ยั เกดิ ขึ้นในจุดท่ีรถดับเพลงิ ไม่สามารถเข้าถงึ จงึ จา� เปน็ ตอ้ ง
นา� นา้� จากแหลง่ นา้� ใกลเ้ คยี งกบั สถานทเ่ี กดิ เหตมุ าใชด้ บั เพลงิ ดงั นน้ั ชดุ สา� รวจและรวบรวมขอ้ มลู จะตอ้ งสา� รวจ
แหลง่ น้�า เพื่อชว่ ยใหเ้ ราสามารถก�าหนดเส้นทางในการนา� น�า้ มาใช้ได้

ตวั อย่ำงแหลง่ น�ำ้ ภำยในโรงเรยี น

บ่อเลี้ยงปลาในลานพระพทุ ธรูป
สระบวั หนา้ โรงเรียน
สระวา่ ยนา้�
แทง็ กเ์ ก็บนา้� สา� หรบั อปุ โภคและบรโิ ภค

ในโรงเรยี นของเรายงั มี
แหลง่ นา�้ ตรงจดุ ไหนอกี บา้ งนะ

16

ตวั อยำ่ งแหล่งน้�ำภำยนอกโรงเรียน

คู คลอง หนอง บึง น้�าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
บอ่ บ�าบดั น้�าเสยี
บ่อกกั เกบ็ น�า้ เพื่อใชใ้ นการทา� เกษตรกรรม
หัวจ่ายน�้าดับเพลงิ (ประปาหวั แดง)

“หลงั จากสา� รวจพืน้ ทเ่ี สย่ี ง 17
และแหลง่ น้�าท้ังในโรงเรียน
และนอกโรงเรียนเรียบร้อยแลว้

กถ็ งึ ขน้ั ตอนของการนา�
ผลการสา� รวจท่ีได้ไปจดั ทา�

”เป็นแผนผงั แสดงพื้นท่ี

กันไดเ้ ลยครบั

ตัวอย่างจัดท�าแผนผงั แสดงพื้นทแ่ี ละแหล่งนำ้�

เมื่อส�ารวจพ้ืนท่ีเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ชุดส�ารวจและรวบรวมข้อมูลจะต้องท�าเป็นอันดับต่อมา ก็คือ
การจัดท�าแผนผังแสดงพื้นที่ของโรงเรียนและแหล่งน้�าใกล้เคียง ซึ่งจะช่วยให้ง่ายต่อการน�าข้อมูลไปใช้
ในการท�าแผนป้องกนั และระงบั อัคคีภยั ขณะเดียวกันกส็ ามารถปรับปรงุ พื้นท่ีเพื่อลดความเสย่ี งไดต้ อ่ ไป

คลอง

พื้นทว่ี ดั 14 พน้ื ท่วี ัด

1 2 3
7
พื้นท่ีวัด 13
8
10

ทางเข้า-ออก 5

15 6

4 ทาง 9 11 12
เข้า-ออก
ถนนด้านหน้าโรงเรยี น ถนนด้านหน้าโรงเรียน
16

1. สวนหย่อม 6. สหกรณ์ 11. อาคารเรียน 4
2. อาคารเรียน 1 7. เสาธง 12. ห้องน้า�
3. อาคารเรยี น 2 8. หอพระ 13. อาคารสา� นกั งาน
4. ศาลพระภมู ิ 9. ปอ้ ม รปภ. 14. ศาลาวดั
5. สนามเดก็ เลน่ 10. อาคารเรยี น 3 15. โบสถว์ ดั
16. ประปาหวั แดง

18

มาเขยี นแผนผงั โรงเรยี นกันเถอะ

19

ปรบั ปรุงพน้ื ที่เพอ่ื ลดความเสี่ยง

เม่ือรู้แล้วว่ามีความเสี่ยงอยู่บริเวณใด ก็ถึงเวลาด�ำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือเพิ่มเติมสิ่งต่างๆ
ที่จำ� เป็นตอ้ งมีเพอ่ื ลดความเสี่ยงและเสริมสร้างการป้องกนั อัคคภี ัยใหร้ ดั กมุ มากย่งิ ขึ้น

ตวั อย่างส่งิ ทต่ี อ้ งแก้ไขเพื่อลดความเสีย่ งในการเกดิ อคั คีภยั

◉ จดั เกบ็ เช้ือเพลงิ และสารเคมีไวไฟ ◉ เลอื กขนาดของสายไฟใหเ้ หมาะสมกบั การ
ให้เปน็ ระเบยี บ หากอยู่ในสถานทที่ ่เี สย่ี ง ใชง้ าน อปุ กรณ์ไฟฟา้ ทใ่ี ชก้ ระแสไฟมาก
ตอ่ การติดไฟ ควรหาที่จัดเก็บใหม่ ตอ้ งใชส้ ายไฟฟา้ ขนาดใหญ่ ถา้ อปุ กรณ์
ไฟฟา้ ใช้กระแสไฟฟา้ นอ้ ยกใ็ ชส้ ายไฟ
◉ หากมกี องกระดาษทไี่ มใ่ ชแ้ ลว้ ขยะอนั ตราย ขนาดเลก็ ลงมา
ทตี่ ดิ ไฟได้ หรือกองใบไม้แหง้ ใหร้ ีบก�ำจดั
ออกจากบริเวณโรงเรียน ◉ ตรวจดขู นาดของฟิวส์ใหม้ ขี นาดเหมาะสม
กับการใช้งาน
◉ ดูว่าเตาเผาขยะตั้งอยใู่ นจุดทเี่ หมาะสม
หรือไม่ และในขณะใชง้ านตอ้ งคอย ◉ หากมเี สยี งดงั ผดิ ปกตทิ บี่ รเิ วณสวติ ช์ หรอื
เฝา้ ระวงั เสมอ แผงควบคมุ ไฟฟา้ อาจเกดิ จากอปุ กรณน์ น้ั
ความร้อนสงู ให้รบี ท�ำการแกไ้ ขโดยดว่ น
◉ สายไฟฟา้ ตา่ งๆ ในโรงเรยี นตอ้ งไมข่ าด
หรอื มีรอยฉกี ถา้ สายเกา่ ใหเ้ ปลี่ยนเปน็ ◉ หากพบว่าหลอดฟลอู อเรสเซนตผ์ ดิ ปกติ
สายใหม่และตอ้ งต่อสายไฟอย่างแนน่ หนา เช่น ขว้ั หลอดเปลย่ี นเป็นสีดำ� ให้ทำ� การ
เปลีย่ นหลอดทันที
◉ เครอ่ื งใชไ้ ฟฟา้ ทกุ ชิน้ ต้องไมเ่ ก่าจนเกินไป
และอยใู่ นสภาพท่ใี ชง้ านได้ปกติ

20

ตัวอยา่ งส่ิงทตี่ อ้ งปรบั ปรุงและเพิม่ เตมิ เพ่ือการปอ้ งกันทีร่ ัดกุม

◉ สภาพทางเดินรอบอาคารตอ้ งไมม่ สี ิ่งกีดขวาง และตอ้ งเหมาะสมกับการอพยพเคลอ่ื นย้าย
ยามเกดิ เหตุ

◉ ทางเขา้ -ออกของโรงเรยี น ตอ้ งมเี สน้ ทางในบรเิ วณโรงเรยี นทใี่ หร้ ถดบั เพลงิ สามารถเขา้ ไปได้
รวมทง้ั มที างเขา้ -ออกอาคารส�ำหรบั ให้หนว่ ยกู้ภัยเขา้ ไปปฏบิ ัติงาน

◉ แหลง่ น�้ำหากมสี ภาพเส่อื มโทรม ควรปรบั ปรุงฟืน้ ฟูใหเ้ ปน็ แหล่งนำ้� เพ่อื ใช้ดบั เพลงิ ได้
ตลอดเวลา
◉ แผนผังของโรงเรียน ควรส่งใหส้ ถานี
ดบั เพลงิ ใกลเ้ คียง เพ่อื บอกตำ� แหน่งที่ตง้ั
ของโรงเรียน
◉ ตดิ ต้งั อุปกรณต์ รวจจับและสัญญาณ
แจง้ เตือนอคั คภี ัย
◉ ตดิ ต้ังอปุ กรณ์ดับเพลิง เช่น ถังดบั เพลิง
มอื ถอื ใหเ้ พียงพอ

21

รวบรวมและจดั ทำ�ฐานขอ้ มลู ในโรงเรยี น

นอกเหนือจากการประเมินความเส่ียงและการปรับปรุงพ้ืนท่ีเพ่ือลดความเสี่ยงแล้ว การรวบรวมข้อมูล
และจัดท�ำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัย เช่น แผนผังเส้นทางอพยพหนีไฟ แบบแปลนอาคาร
และต�ำแหน่งที่ตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง หมายเลขโทรศัพท์ท้ังของบุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน
ให้ความช่วยเหลือภายนอก ก็เป็นสิ่งที่ชุดส�ำรวจและรวบรวมข้อมูลควรจะต้องจัดท�ำไว้ ซึ่งชุดประสานงาน
และประชาสัมพันธ์สามารถน�ำขอ้ มลู ท่ีไดไ้ ปเผยแพรใ่ ห้รบั รู้กันอย่างทั่วถึงได้ต่อไป

ตวั อยา่ งแผนผังเสน้ ทางอพยพหนีไฟ

เส้นทางเดนิ (ตามลกู ศร)

อาคาร 1

อาคาร 3 อาคาร 2 ห้องสุขา
ธนขายคะาร
สนามเดก็ เล่น เสาธง หอพระ
พืน้ ทปี่ ฏิบตั ิงาน
โรงอาหาร

จุดรวมพล ประตู 1 ประตู 2

ถนนดา้ นหน้าโรงเรยี น

22

ลองวาดด.ู ..แผนผงั เสน ทางหนไี ฟของเรา

23

ตวั อย่ำงแบบแปลนอำคำรเรียนและตำ� แหน่งท่ีตง้ั อปุ กรณ์ดบั เพลิง

แบบแปลนอาคารเรียน เป็นภาพแสดงให้เห็นส่วนประกอบและต�าแหน่งของห้องต่างๆ ภายใน
อาคารเรยี น เช่น ระเบยี ง ห้องเรยี น หอ้ งนา�้ หอ้ งประชุม โรงอาหาร บนั ได นอกจากนแ้ี บบแปลนอาคาร
ยงั บอกใหเ้ รารถู้ งึ ตา� แหนง่ ทม่ี กี ารตดิ ตง้ั อปุ กรณด์ บั เพลงิ เพอ่ื ในยามทเ่ี กดิ อคั คภี ยั จะสามารถหยบิ มาใชไ้ ดท้ นั ที
และยงั บอกถึงตา� แหนง่ ท่มี ีทรพั ยส์ ินมคี ่าต่างๆ ทีจ่ า� เป็นต้องเคล่อื นย้ายในยามฉกุ เฉนิ อีกดว้ ย

“เราสามารถระบุ ห้องเรียน ชน้ั 3
หอ้ งเรียน ชน้ั 2
ตา� แหน่งของอปุ กรณด์ ับเพลิงทมี่ ี
รวมถึงทรัพย์สนิ ที่สามารถ
เคล่ือนยา้ ยลงในแปลนได้
ด้วยการใช้สญั ลักษณ์

”หรอื เครอื่ งหมายแทน
นะครบั

หอ้ งประชมุ

ชัน้ 1

โรงอาหาร

24

แบบแปลนอาคารของเรา...หนา ตาเปน แบบนี้เอง

25

ไม่พลำดกำรสื่อสำร
ด้วยกำรท�ำผงั หมำยเลขโทรศพั ท์

ในยามที่เกิดเหตุอัคคีภัย การติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลในโรงเรียนกับองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือ
ภายนอกเป็นอีกสิ่งท่ีส�าคัญมาก ชุดส�ารวจและรวบรวมข้อมูลจึงควรประสานงานกัน โดยรวบรวมหมายเลข
โทรศัพท์ของบุคลากรในโรงเรียน เช่น ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ดูแลอาคารสถานที่ (คณะกรรมการป้องกัน
และระงับอัคคีภัยในโรงเรียน) รวมถึงหน่วยงานภายนอก เช่น ส�านักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สถานีดับเพลงิ ท่อี ยใู่ กลเ้ คยี ง นา� มาจดั ท�าเป็นผังหมายเลขโทรศพั ทแ์ ละประชาสมั พนั ธใ์ หช้ ดั เจนและท่วั ถงึ

หมำยเลขที่ควรรู้ หนว่ ยงำนอื่นๆ
191
หน่วยงำนในสังกัด กทม.
199 แจ้งเหตุดว่ นเหตรุ ้าย

สปภ. กทม. (ดับเพลงิ กทม.) 1554

1555 หน่วยแพทยก์ ้ชู วี ิต วชริ พยาบาล

สายด่วน กทม.

1646

ศนู ยเ์ อราวัณ ส�านักการแพทย์
กทม.

0 2437 6631-5

ส�านกั การศึกษา
กทม.

26

หมำยเลขโทรศัพทฉ์ ุกเฉิน

หมำยเลขทีค่ วรรู้

199 สปภ. กทม. (ดบั เพลิง กทม.)
1555 สายดวน กทม.
1646 ศนู ย์เอราวัณ สา� นักการแพทย์ กทม.
0 2437 6631-5 ส�านักการศกึ ษา กทม.
191 แจง้ เหตดุ วนเหตรุ ้าย
1554 หนวยแพทย์ก้ชู ีวิต วชริ พยาบาล

โรงพยาบาลใกล้เคียง คณะกรรมการปองกัน สถานีตา� รวจพืน้ ท่ี
โทรศัพท์ และระงบั อัคคภี ัยในโรงเรียน โทรศพั ท์

……………………… (จากหน้า 12) ………………………

สา� นักงานเขตพน้ื ท่ี สถานดี บั เพลิงใกลเ้ คียง 27
โทรศพั ท์ โทรศัพท์

……………………… ………………………

การอบรมและฝก ซ้อม

เพือ่ ความปลอดภยั จากอัคคีภยั

การเตรียมบุคลากรในโรงเรียนให้พร้อมเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้วยการอบรมเพ่ือสร้างความรู้
ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอัคคีภัย รวมถึงสามารถระงับหรือจัดการกับอัคคีภัยได้อย่างทันท่วงที เป็นสิ่งที่
ตอ้ งปฏบิ ตั ิ และควรจดั ใหม้ กี ารฝก ซอ้ มอพยพหนไี ฟใหแ้ กท่ กุ คนในโรงเรยี นอยา่ งสมา่� เสมออยา่ งนอ้ ยปล ะ 2 ครง้ั

ไฟองคป์ ระกอบ กอ่ เกดิ 3 อยำ่ ง แกบ่กุคำรลอำบกรรมในใหโร้คงวเรำียมนรู้
ไฟจะเกิดข้ึนไดเมื่อมี 3 องคประกอบ
ที่ทําปฏิกิริยาซึ่งกันและกันในสภาวะที่เหมาะสม หากเกิดเหตุอัคคีภัยข้ึนในโรงเรียน ผู้ท่ีมี
หากขาดองคประกอบใดองคประกอบหนึ่งไป บทบาทในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินคือบุคลากร
ไฟกไ็ มส ามารถเกดิ ขึน้ ได ทงั้ หลายในโรงเรยี น ไมว่ า่ จะเปน็ ผอู้ า� นวยการ ครู หรอื
นกั การภารโรง สว่ นเด็กนักเรียนน้นั แมจ้ ะไมม่ ีหน้าท่ี
1 เชอ้ื เพลงิ มีท้ังท่ีเป็น โดยตรง แต่ก็สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานของ
ผใู้ หญใ่ หร้ าบรน่ื เชน่ เมอ่ื เจอเหตอุ คั คภี ยั ใหร้ บี แจง้ ครู
ของแข็ง เชน่ ถ่านไม้ ถ่านหนิ ดังน้ัน ชุดฝกอบรมจึงควรจัดกิจกรรมการอบรม
กระดาษ ผ้า ของเหลว เช่น ให้ความรู้เก่ียวกับอัคคีภัยและการระงับอัคคีภัย
น้�ามนั เช้ือเพลงิ แอลกอฮอล์ อย่างถูกวิธี เพ่ือให้ทุกคนมีความพร้อมที่จะรับมือ
และกาซ เช่น กาซหุงต้ม กบั สถานการณ์ได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพมากข้นึ
กา ซมเี ทน เป็นตน้

2ควำมรอ้ น เปน็ ตวั ทา� ให้

เช้ือเพลิงมีอุณหภูมิสูงขึ้น
จนเกิดเป็นประกายไฟและ
จดุ ไฟติด

3 ออกซิเจน เป็นตัว O2 เ ้ืชอเพ ิลง ควำมรอ้ น

ท�าให้เกิดปฏิกิริยาเผาไหม้ 12
ซึ่งไฟจะสามารถจุดติดได้ 3
กต็ อ่ เมอื่ มอี อกซเิ จนในอากาศ
ออกซิเจน
28

รู้จกั ไฟ รู้วิธีดับไฟตามประเภทของไฟ
C ลักษณะของเช้ือเพลิง
ไฟถกู แบง่ ออกเป็น 5 ประเภท คือ A B C D เช้ือเพลิงที่เป็นของแข็งและมีกระแสไฟไหลอยู่ เช่น
และ K ตามข้อก�าหนดมาตรฐานสากล NFPA อปุ กรณไ์ ฟฟ้าทุกชนิด
(NATION FIRE PROTECTION ASSOCIATION) วิธดี บั ไฟ
ตดั กระแสไฟฟา้ แลว้ ใชก้ า ซคารบ์ อนไดออกไซดห์ รอื
ไฟแต่ละประเภทเกิดจากเช้ือเพลิงต่างชนิดกัน นา�้ ยาเหลวระเหยทไี่ มม่ ี CFC เพอื่ ไลอ่ อกซเิ จนออกไป
และตอ้ งดับด้วยวธิ ีการทไี่ ม่เหมือนกัน
D ลักษณะของเชอื้ เพลิง
A ลกั ษณะของเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงที่เป็นโลหะและสารเคมีติดไฟ เช่น วัตถุ
เช้ือเพลิงที่เป็นของแข็ง เช่น ฟืน ฟาง ระเบดิ ปยุ ยเู รยี (แอมโมเนยี ไนเตรต) ผงแมกนเี ซยี ม
ยาง ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสตกิ รวมถงึ วธิ ีดับไฟ
ร่างกายมนษุ ย์ การท�าให้อับอากาศหรือใช้สารเคมีเฉพาะ เช่น
วิธีดับไฟ ผงเกลอื แกง (SODIUM CHLORIDE) หรอื ทรายแหง้
B การลดความร้อนโดยใช้น้�า *หา้ มใช้น�้าเดด็ ขาด
ลกั ษณะของเชื้อเพลงิ
เชอื้ เพลงิ ทเี่ ปน็ ของเหลว เชน่ นา�้ มนั ทกุ ชนดิ K ลักษณะของเชื้อเพลิง
ทนิ เนอร์ แอลกอฮอล์ ยางมะตอย จาระบี เชอ้ื เพลงิ ทเ่ี ปน็ โลหะตดิ ไฟ นา้� มนั ตดิ ไฟ ทอ่ี อกแบบ
และกา ซ มาสา� หรบั ใช้งานในห้องครัวโดยเฉพาะ
วิธีดับไฟ วธิ ีดับไฟ
ท�าให้อับอากาศโดยการคลุมดับ หรือใช้ การท�าให้อับอากาศหรอื ใช้สารเคมีเฉพาะ
ผงเคมีแห้ง ใช้ฟองโฟมคลุม เพ่ือก�าจัด
ออกซเิ จน *ห้ามใชน้ �า้ เดด็ ขาด

FIRE RATING

FIRE RATING คือ ระดบั ความสามารถในการดับไฟของถังดบั เพลิง

ตัวเลขท่อี ยหู่ นา้ ตัวอกั ษรท่บี อกประเภทของไฟ ย่งิ มาก ความสามารถ
ของการดับไฟกย็ ่ิงสงู เราจา� เปน็ ต้องสังเกต เพราะเมอื่ เจออัคคีภยั
จะไดใ้ ช้ถังดับเพลิงไดอ้ ย่างถกู ต้อง เหมาะสมกับปริมาณของไฟทล่ี ุกไหม้

29

ถงั ดับเพลิงชนิดตา่ งๆ และการเลือกใช้ใหเ้ หมาะกับประเภทของไฟ

ถังดบั เพลิงเปน็ อุปกรณ์ดบั เพลิงขนาดเลก็ ท่บี รรจสุ ารเคมชี นิดตา่ งๆ ไว้ ซงึ่ สารเคมี
แตล่ ะชนดิ มหี นา้ ทีใ่ นการนำ� ไปใช้งานทแี่ ตกต่างกนั

ถังดบั เพลิงชนิดผงเคมแี หง้ (Dry Chemical)

เปน็ ถงั สแี ดงมผี งเคมแี หง้ อยใู่ นถงั เวลาใชผ้ งเคมจี ะถกู ดนั ออก
ไปปกคลมุ ไฟ ทำ� ใหอ้ บั อากาศ เหมาะกบั การดบั ไฟประเภท A B
และ C มขี อ้ เสยี คอื ฟงุ้ กระจาย และอาจทำ� ใหอ้ ปุ กรณเ์ ครอื่ งใช้
ไฟฟา้ เสยี หายได้

ถงั ดับเพลงิ ชนิดฟองโฟม (Foam) เปน็ ถงั อะลมู เิ นยี ม

สคี รมี หรอื ถงั สแตนเลส มหี วั ฉดี เปน็ ฝกั บวั มนี ำ้� ยาโฟมผสมกบั
นำ้� อดั แรงดนั อยขู่ า้ งใน เวลาใชแ้ รงดนั จะดนั นำ�้ ผสมกบั โฟม
ออกมาทางฝกั บวั กระจายไปปกคลมุ บรเิ วณไฟไหม้ ทำ� ให้
อบั อากาศและชว่ ยลดความรอ้ น ใชด้ บั ไฟประเภท A และ B

ถังดับเพลงิ ชนิดก๊าซคารบ์ อนไดออกไซดห์ รอื CO2
(Carbon dioxide) เปน็ ถงั สแี ดง ปลายสายฉีด

มลี กั ษณะเป็นกระบอกกรวย เวลาฉดี น�ำ้ ยาทีอ่ อกมา
จะเหมือนหมอกหมิ ะ ท�ำหนา้ ที่ไล่ความร้อนและออกซเิ จนออก
เหมาะสำ� หรบั ดับไฟในอาคาร ใช้ดบั ไฟประเภท B และ C

ถังดบั เพลงิ ชนดิ สารสะอาด เปน็ ถงั สีเขยี ว

ขา้ งในมสี ารเคมเี หลวระเหยอยู่ เมื่อฉีดแล้วจะระเหยไปเอง
ไม่ต้องท�ำความสะอาด เหมาะกบั การดับไฟประเภท A B
และ C สามารถใชง้ านในหอ้ งทม่ี ีเคร่ืองใชไ้ ฟฟา้ และอุปกรณ์
อิเล็กทรอนกิ ส์

ถังดบั เพลงิ ชนดิ น�้ำสะสมแรงดนั เป็นถังสแตนเลส

มนี �้ำทอี่ ัดแรงดันอยู่ในถงั สามารถใชด้ ับไฟประเภท A เท่าน้ัน

ถงั ดับเพลิงชนิดเคมสี ูตรน้�ำ (Low Pressure
Water Mist) เปน็ ถงั สแตนเลส ขา้ งในมสี ารเคมสี ะอาดอยู่

เมอ่ื ฉดี จะไมม่ ฝี นุ่ ฟงุ้ กระจาย ทำ� ใหใ้ ชง้ านไดท้ ง้ั ในรม่ และกลางแจง้
สามารใชง้ านในหอ้ งทมี่ เี ครอ่ื งใชไ้ ฟฟา้ และอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์
ใชด้ บั เพลงิ ประเภท A B C และ K

30

กำรเคล่ือนย้ำยผู้ปว่ ยและกำรปฐมพยำบำล

หากเกดิ อคั คภี ยั ขนึ้ โอกาสทจ่ี ะมผี ไู้ ดร้ บั บาดเจบ็ จากไฟและอาการบาดเจบ็ อน่ื ๆ ยอ่ มเกดิ ขนึ้ ได้
การปฐมพยาบาลอย่างรวดเรว็ และถกู ตอ้ ง รวมถึงการเคลื่อนยา้ ยผ้บู าดเจบ็ อยา่ งถูกวธิ ี
จะสามารถชว่ ยชวี ิตผู้บาดเจ็บ หรือชว่ ยบรรเทาความเจ็บปวด ป้องกนั ไมใ่ หอ้ าการบาดเจ็บ
รุนแรงข้ึน ดงั นน้ั การให้ความรเู้ ร่ืองการเคล่อื นยา้ ยผบู้ าดเจ็บและการปฐมพยาบาล
จึงเป็นเร่อื งส�าคญั เพอ่ื ใหส้ ามารถปฏิบัตกิ ารชว่ ยเหลอื ผูไ้ ดร้ ับบาดเจ็บในยามทเี่ กดิ อัคคีภัยได้

การชว ยเหลอื เคลอ่ื นยา้ ยผบู้ าดเจบ็ การเคล่ือนย้ายโดยใช้เครอื่ งมอื อุปกรณ์
จะเป็นการเคล่ือนยา้ ยดว้ ยเปลพยาบาล หรือสิง่ ท่ี
การเคลอื่ นยา้ ยผบู้ าดเจบ็ สามารถทา� ได้ 2 วธิ ี น�ามาใช้แทนในยามฉกุ เฉิน เช่น เสื้อผา้ สอดไมค้ าน
คอื การเคลอื่ นยา้ ยดว้ ยมอื เปลา่ และการเคลอื่ นยา้ ย ผ้าห่มเย็บกลางติดกัน เก้าอ้ี เปน็ ต้น
ดว้ ยอปุ กรณ์
การปฐมพยาบาลผบู้ าดเจบ็ จากไฟไหม้
การเคลือ่ นย้ายด้วยมือเปลา จะมีทา่ ทางในการ
เคลอ่ื นย้ายต่างกันออกไป ขึน้ อยกู่ บั จ�านวน หยดุ ยั้งความร้อนทนั ที
ผู้ชว่ ยเหลือ หากมผี ชู้ ว่ ยเหลือ 1 คน สามารถ 1. ดบั ความรอ้ นดว้ ยการใชน้ า�้ ราด หรอื ใชผ้ า้ หนาๆ คลมุ ตวั
เคล่อื นย้ายดว้ ยการพยงุ เดนิ การแบกด้วยสะโพก 2. ถอดเสอื้ ผา้ ทถี่ กู ไฟไหมแ้ ละเครอ่ื งประดบั ออกใหห้ มด
ถ้ามีผชู้ ่วยเหลือ 2 คน สามารถเคลอื่ นยา้ ยดว้ ยการ 3. ปดิ แผลดว้ ยผา้ ปดิ แผลหรอื ผา้ สะอาด
นงั่ บนมอื ประสานกนั การยกหนา้ ยกหลัง การแบก
ให้หลังชนกนั แต่ในกรณีทผ่ี บู้ าดเจ็บมรี ูปร่างใหญ่
และอาการสาหสั จ�าเปน็ ตอ้ งใช้ผ้ชู ่วยเหลือจ�านวน
3-4 คน และต้องอาศยั ความพร้อมเพรยี ง
และรวดเรว็ ในการเคลือ่ นยา้ ย

31

กำรฝกซอ้ มอพยพ

นอกจากการฝกอบรมแล้ว การฝกซ้อมอพยพจากท่ีเกิดเหตุไปยังบริเวณท่ีปลอดภัยก็เป็นสิ่งส�าคัญท่ีจะ
ปอ้ งกนั ความสญู เสยี ตอ่ ชวี ติ และรา่ งกาย ซงึ่ เปน็ หนา้ ทข่ี องชดุ ฝก อบรมทค่ี วรจะจดั ใหม้ กี ารซอ้ มหนไี ฟในโรงเรยี น
เป็นประจา� อย่างน้อยปละ 2 ครงั้ เพ่อื ให้ทุกคนสามารถปฏบิ ัตติ ามขน้ั ตอนการอพยพได้อย่างถกู ต้อง

ข้นั ตอนปฏิบตั สิ �ำหรบั กำรฝก ซอ้ มอพยพหนไี ฟ

1 เตรยี มกำรฝก ซอ้ ม 2 จัดเตรยี มอปุ กรณ์

โดยก�าหนดวันและเวลาท่ีจะใช้ฝก ซ้อม และเครือ่ งมอื ทีต่ อ้ งใชใ้ นการฝก ซ้อม
และแจ้งใหท้ กุ คนในโรงเรียน เชน่ ถงั ดบั เพลิง ไฟฉาย นกหวีด
และผู้ที่เกยี่ วข้องไดร้ ับรู้ เป็นตน้

3 จดั ทำ� แผนอพยพ

และก�าหนดเส้นทางทจี่ ะใช้อพยพ
ซึง่ จะต้องไม่อยู่ในบรเิ วณทอ่ี าจกีดขวาง
การปฏบิ ัตงิ านของเจ้าหนา้ ท่ี
และเป็นพนื้ ท่ีท่สี ามารถจัดการ
ปฐมพยาบาลผ้บู าดเจบ็ ได้

32

จดุ รวมพล

รปู แบบท่ี 1 เปน การฝกซอมเพือ่ สรา ง “การฝึกซ้อมอพยพ

ความรคู วามเขา ใจสถานการณใ นภาพรวม สามารถทา� ได้ 3 รปู แบบ
มกี ารบรรยายถงึ แผนการปองกนั และ
ระงบั อัคคภี ัยในหอ งประชุมหรอื สถานท่ี ”ตามความเหมาะสม
เพียงสถานท่เี ดียว โดยมผี อู ํานวยการ ดงั น้ีครับ
และครเู ปนผสู าธิตและสง่ั การ
รูปแบบที่ 3 เปน การฝก ซอ ม
รูปแบบที่ 2 เปนการฝก ซอ มโดยการ
เต็มรปู แบบ ทง้ั การต้งั เหตุการณส มมติ
จาํ ลองสถานการณและแบง หนาที่ การสง สญั ญาณแจงเตือน กาํ หนด
ใหบ คุ ลากรในโรงเรยี นไดลองปฏบิ ัติ เสน ทางอพยพที่ใชห นไี ฟ ดําเนนิ ตาม
เพอ่ื ใหบ คุ ลากรไดร ูถงึ ขอบเขต ขนั้ ตอนการอพยพและเขา ระงบั เหตุ
การปฏบิ ัติงานในหนา ท่ตี างๆ ซึง่ จะทาํ ใหเ หน็ ถึงกระบวนการตา งๆ
มีการสาธิตและทดลองใชอปุ กรณจ รงิ วา มปี ญ หาและอปุ สรรคหรอื ไม
จงึ จาํ เปน ตองมเี จา หนา ท่ีเขามา เพอื่ หาทางปรบั ปรงุ แกไ ขในครงั้ ตอ ไป
ใหค วามรูและควบคุมดแู ล ซึง่ ในการฝกซอมแบบนี้จําเปนอยางย่ิง
ทจ่ี ะตองใหเ จา หนาทผี่ มู ีความรู
ความเช่ยี วชาญเขามาดาํ เนนิ การ
ฝกซอมให

33

ตวั อยา่ งการซ้อมอพยพเต็มรปู แบบ

สถานการณ์สมมติภายใต้

สถานการณ์สมมติ จดุ ต้นเพลิงบรเิ วณช้ัน 1 อาคารเรยี น A
เกิดเหตุเพลิงไหม้เน่ืองจากไฟฟ้าลัดวงจร
บริเวณช้ันที่ 1 ของอาคารเรียน A คุณครูท่ีพบเห็น คุณครทู ี่พบเห็นเหตกุ ารณค์ นแรกได้ใช้เครื่องดบั เพลิงชนิดเคมี
เหตุการณ์คนแรกตะโกนแจ้งเหตุ และแจ้งชุด สตู รน้�ำเขา้ ทำ� การดบั เพลิง แต่ไมส่ ามารถดับได้
ประสานงานและประชาสัมพนั ธข์ องโรงเรียน จากนัน้
จึงได้ใช้เคร่ืองดับเพลิงชนิดเคมีสูตรน้�ำเข้าท�ำการ ชุดปฏิบัติการดับเพลงิ ของโรงเรยี นเข้าระงบั เหตุเพลงิ ไหม้ขั้นต้น
ดับเพลิง แต่ไม่สามารถดับได้ จึงไปเปิดสัญญาณ แตไ่ มส่ ามารถดบั เพลงิ ได้
แจ้งเหตุเพลิงไหม้ พร้อมรายงานสถานการณ์ไปยัง
ชุดประสานงานและประชาสัมพันธ์เพื่อประสานขอ
ความชว่ ยเหลอื จากหนว่ ยงานภายนอก และรายงานตอ่
ไปยงั ผอู้ ำ� นวยการโรงเรยี นซงึ่ ทำ� หนา้ ทเี่ ปน็ ผอู้ ำ� นวยการ
ดับเพลิงของโรงเรียน

อพยพหนไี ฟและระงับเหตเุ พลิงไหม้ข้ันต้น ทางเดนิ ระหวา่ งอาคาร
ทันทีที่ผู้อ�ำนวยการดับเพลิงได้รับแจ้ง ก็จะรีบ
สั่งการใหช้ ุดอพยพของโรงเรียนท�ำการอพยพนักเรียน
ไปยังจุดรวมพลตามเส้นทางหนีไฟที่ได้จัดท�ำไว้
พรอ้ มทงั้ สัง่ การใหช้ ุดปฏบิ ตั ิการดับเพลงิ ของโรงเรียน
เข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ทันที เมื่อพบผู้บาดเจ็บที่ขา
1 ราย ชุดปฐมพยาบาลของโรงเรียนได้ท�ำการ
ปฐมพยาบาลผบู้ าดเจบ็ เบอ้ื งตน้ กอ่ นนำ� สง่ โรงพยาบาล

อาคารเรียน B

199

34

อ�ำนวยความสะดวกแก่เจา้ หนา้ ที่ดับเพลิง มาถงึ ชดุ รกั ษาความปลอดภยั ของโรงเรยี นกจ็ ะเขา้ มา
ขณะทชี่ ดุ ปฏบิ ตั กิ ารดบั เพลงิ ของโรงเรยี นยงั ไม่ อำ� นวยความสะดวก โดยควบคมุ บรเิ วณทางเขา้ -ออก
สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เจ้าหน้าที่จากสถานี ให้รถดบั เพลงิ เขา้ มาปฏบิ ัติการได้สะดวก
ดับเพลิงใกล้เคียงซ่ึงได้รับการประสานงานก็เดินทาง

เจ้าหนา้ ที่จากสถานดี ับเพลิงใกลเ้ คยี ง หลงั เพลงิ สงบ
เข้าระงบั เพลิงไหม้ ชุดรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนใช้แถบ
สีแดงปิดกั้นอาคารท่ีเกิดเหตุ รวมทั้งเฝ้าระวังไม่ให้มี
ใครเข้าไปได้ และชุดประสานงานและประชาสัมพันธ์
ของโรงเรียนจะท�ำการรายงานสรุปเหตุการณ์ให้
ผปู้ กครองและประชาชนในชมุ ชนใกลเ้ คยี งไดร้ บั ทราบ
ต่อไป

ประปาหวั แดง

ประ ูตห ้นาโรงเ ีรยน

ทกุ คนมารวมกันที่จดุ รวมพล ชุดปฐมพยาบาลของโรงเรยี น
ตามเสน้ ทางอพยพทที่ �ำไว้ ท�ำการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ

ก่อนนำ� สง่ โรงพยาบาล

35

36

2

รบั มือม่นั ใจ

ขณะเกดิ อัคคภี ัย ดบั ไฟรวดเร็ว

แมว้ ่าจะเตรยี มการมาเปน็ อยา่ งดีแลว้ แตเ่ หตุการณ์ไฟไหม้ก็อาจเกดิ ขน้ึ ได้
ดังนน้ั ในขณะทีเ่ กดิ เหตุอัคคภี ัยข้นึ ในโรงเรยี น การปฏิบตั ิการ

เพ่ือระงบั อัคคีภยั ใหเ้ ป็นไปอยา่ งมรี ะบบและสามารถยุตสิ ถานการณล์ งได้อย่างรวดเรว็
จะเปน็ การช่วยลดผลกระทบท่เี กิดจากอคั คีภัย เป็นการรกั ษาชีวติ และทรัพยส์ นิ
รวมท้งั เป็นการรกั ษาขวญั และกำ�ลังใจของทุกคนในโรงเรียน

การจะรับมอื กบั เหตอุ คั คภี ัยได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ
และทันทว่ งที เป็นหนา้ ท่ขี องทกุ ฝ่ายที่เก่ยี วข้องจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่

ที่ไดร้ ับมอบหมายจากคณะกรรมการปอ้ งกนั และระงบั อัคคภี ัยโรงเรยี นอยา่ งเครง่ ครดั

และรวดเรว็ โดยเฉพาะฝา่ ยระงับอัคคีภยั และอพยพ
และฝ่ายปฐมพยาบาลและเยยี วยา โดยมชี ุดประสานงานและ

ประชาสมั พันธ์คอยให้การสนับสนุน

37

ปฏบิ ตั กิ ารเมอื่ เกดิ อคั คีภัย

เม่ือเกิดเหตุอัคคีภัยข้ึน ผู้พบเห็นเหตุการณ์คนแรกต้องตะโกนแจ้งเหตุ และด�ำเนินการดับไฟ
ด้วยถงั ดบั เพลิงท่อี ยใู่ กลเ้ คียง
หากผู้พบเห็นเหตุการณ์คนแรกเป็นนักเรียน ให้รีบไปแจ้งครูที่อยู่ใกล้ท่ีสุด หรือโทรศัพท์ติดต่อไปยัง
หมายเลขตามผังโทรศัพท์ท่ีจัดท�ำขึ้น ยกเว้นกรณีที่ไฟไม่รุนแรง นักเรียนสามารถดับเองได้ และให้รายงาน
ต่อครูทนั ทีทด่ี ับไฟเรียบรอ้ ย
หลังจากน้ัน ถ้าผู้พบเห็นเหตุการณ์คนแรกสามารถดับเพลิงด้วยถังดับเพลิงมือถือได้ ให้แจ้งไปยัง
ชุดประสานงานและประชาสัมพันธ์ เพื่อท่ีชุดประสานงานและประชาสัมพันธจ์ ะได้แจ้งผลของการ
ระงบั อคั คีภยั ไปยงั ผ้อู �ำนวยการดับเพลงิ
แตใ่ นกรณที ด่ี บั เพลงิ ดว้ ยถงั ดบั เพลงิ มอื ถอื ไมไ่ ด้ ใหผ้ พู้ บเหน็ เหตกุ ารณค์ นแรกแจง้ ไปยงั ชดุ ประสานงาน
และประชาสัมพันธ์ เพ่ือด�ำเนินการติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก พร้อมประกาศแจ้ง
สถานการณ์ให้ทุกคนในโรงเรียนรู้เป็นระยะๆ และให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์คนแรกไปเปิดสัญญาณแจ้งเหตุ
เพลิงไหม้ท่ีอยู่ใกล้ท่ีสุด พร้อมรายงานสถานการณ์ไปยังชุดประสานงานและประชาสัมพันธ์ เพ่ือจะได้
รายงานไปยงั ผอู้ �ำนวยการดับเพลิง แล้วรีบออกจากสถานทเี่ กดิ เหตทุ นั ที

38

ทันทีท่ีผู้อ�ำนวยการดับเพลิงได้รับ ให้ด�ำเนินการค้นหาผู้ติดค้างทันที โดยมี
แจง้ เหตจุ ากผพู้ บเหน็ เหตกุ ารณค์ นแรก ใหด้ ำ� เนนิ การ ชุดปฐมพยาบาลติดตามไปใหก้ ารดแู ลด้วย
สั่งการให้ชุดอพยพท�ำการอพยพเคล่ือนย้าย โ ด ย ชุดปฐมพยาบาลจ ะ ด� ำ เ นิ น ก า ร
นักเรียน บุคลากร และทรัพย์สินมีค่าออกจาก ปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่นักเรียนและบุคลากร
สถานทเ่ี กิดเหตทุ นั ที และสง่ั การใหช้ ดุ ปฏิบัตกิ าร ท่ีได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบน�ำส่งโรงพยาบาลท่ีอยู่
ดับเพลิงเข้าควบคุมสถานการณ์และท�ำการระงับ ใกลเ้ คยี ง
เหตุเพลิงไหม้ในขั้นต้น ส่วนชุดอพยพก็ท�ำหน้าที่ หลังจากท่ีเพลิงสงบให้ชุดประสานงานและ
พานกั เรยี นและบคุ ลากรคนอน่ื ๆ ในโรงเรยี นออกไป ประชาสัมพันธ์รายงานสรุปเหตุการณ์ไปยัง
ยงั จดุ รวมพลตามเสน้ ทางในแผนการอพยพท่ีวางไว้ ผู้ปกครองของนักเรียนและประชาชนในชุมชน
เมื่อพนักงานดับเพลิงเดินทางมาถึงสถานท่ี ใกล้เคียงได้รับรู้ และผู้อ�ำนวยการโรงเรียนรายงาน
เกิดเหตุ ให้ชุดรักษาความปลอดภัยอ�ำนวย สรปุ สถานการณใ์ ห้ผู้อ�ำนวยการเขตไดร้ ับทราบ
ความสะดวกใหเ้ จา้ หนา้ ท่ี ควบคมุ บรเิ วณทางเขา้ -ออก และชุดเยียวยาและฟื้นฟูเข้าประเมิน
เพื่อให้รถดับเพลิงเข้ามาปฏิบัติการได้ พร้อม สถานการณ์และด�ำเนินการเยียวยาเบื้องต้นทันที
ปิดกั้นไม่ให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่ หลังเพลิงสงบ ระหว่างน้ีชุดประสานงานและ
เกดิ เพลงิ ไหม้ เพือ่ ใหเ้ จา้ หนา้ ที่และชดุ ปฏบิ ตั ิการ ประชาสัมพันธ์ต้องรายงานความคืบหน้าให้คนใน
ดับเพลงิ ไดท้ �ำการระงบั เหตุเพลิงไหมข้ นั้ รุนแรง โรงเรียน ผู้ปกครองของนักเรียน และประชาชน
ในขณะนั้น เม่ือชุดอพยพน�ำทุกคนไปยัง ในชุมชนใกล้เคียงได้รู้เป็นระยะๆ เพื่อมิให้เกิด
จดุ รวมพลเรยี บรอ้ ยแลว้ ใหต้ รวจนบั จำ� นวนนกั เรยี น ความสบั สนหรือตื่นตระหนกเกนิ กวา่ เหตุ
และบุคลากรวา่ ครบตามจำ� นวนหรอื ไม่ หากไมค่ รบ

39

ปฏบิ ตั กิ ำรเมอื่ เกดิ เพลงิ ไหม้ ตะโกนแจงเหตุ

ผพู้ บเห็นเหตุการณ์
คนแรก

แจ้งชดุ ประสานงาน ดบั เพลงิ
และประชาสมั พันธ์ ด้วยถังดับเพลิง
แจง้ ผู้อ�านวยการดับเพลงิ
ดบั เพลงิ ได้ ดบั เพลงิ ไมไ่ ด้

แจ้งชดุ ประสานงาน แจง้ ชุดประสานงาน
และประชาสมั พันธ์ และประชาสัมพันธ์
แจง้ ผอู้ �านวยการดับเพลิง เพอ่ื ขอความช่วยเหลอื
จากหน่วยงานขา้ งนอก

ใหส้ ญั ญาณ
แจง้ เหตุเพลิงไหม้

แจ้งชดุ ประสานงาน
และประชาสมั พันธ์
แล้วรีบออกจากสถานท่ีเกิดเหตุ

แผนการดับเพลิง อพยพหนีไฟ รายงานผูอ้ า� นวยการดบั เพลิง
การระงบั เหตุเพลิงไหม้ขัน้ ต้น เพลิงสงบ รายงาน/สรปุ เหตกุ ารณ์
การระงบั เหตุเพลงิ ไหม้ข้ันรนุ แรง

40

“จะเห็นไดวŒ า‹ การระบุชอื่ ในกรณีที่เกิดอัคคีภัยขึ้นนอกเวลาราชการ หรือ
เกิดในชวงวันหยุดที่ไมมีการเรียนการสอน ใหผูพบเห็น
และหมายเลขโทรศัพทของผŒูท่ี เหตุการณคนแรกติดตอไปยังชุดประสานงานและ
ไดŒรบั มอบหมายหนŒาที่ รวมถึง ประชาสัมพันธ พรอมทั้งติดตอขอความชวยเหลือ
การจดั ผังหมายเลขโทรศพั ท ไปยังหนว ยงานภายนอกดว ย
ของหน‹วยงานใหคŒ วามชว‹ ยเหลอื
ภายนอกเอาไวตŒ ง้ั แตแ‹ รกจะทาํ ใหŒ และรีบทําการดับเพลิงดวยถังดับเพลิงมือถือ
เราสามารถติดต‹อและประสานงาน หากดับเพลิงไมไดใหรายงานผูอํานวยการดับเพลิง
อีกคร้ัง เพ่ือผูอํานวยการดับเพลิงจะไดมายังสถานที่
”ไดอŒ ย‹างรวดเร็วนะครบั เกิดเหตุ และส่ังการใหชุดปฏิบัติการดับเพลิงเขามา
ทําการระงับเพลิงในขั้นตน ระหวางท่ีเจาหนาที่กําลัง
เดนิ ทางมา

เมื่อเจาหนาที่มาถึง ใหผูอํานวยการดับเพลิง
ส่ังการใหทาํ การระงบั เพลิงข้นั รนุ แรงทนั ที

41

42

3

เยียวยำและฟน� ฟู

หลงั เพลงิ สงบ

หลงั จำกเหตุอัคคีภยั สงบลง
เปนชว่ งเวลำของกำรบรรเทำทกุ ข์และช่วยเหลือผ้ปู ระสบภยั

ตลอดจนซอ่ มแซมสิ�งที่ช�ารุดเสยี หายและฟ�นฟูบรู ณะอาคารสถานทใี่ ห้คนื สสู่ ภาพเดมิ
จนสามารถเปิดเรียนไดต้ ามปกติ ซึง่ สง�ิ เหลา่ นเ้ี ป็นส�งิ ทที่ างโรงเรยี น

และหน่วยงานท่ีเกย่ี วข้องต้องเร่งด�าเนินการอยา่ งรวดเร็วและมีประสทิ ธภิ าพ
เพอื่ ฟน� ฟูขวัญและก�าลังใจให้ทุกคนในโรงเรียน

การจัดการหลังเกดิ อัคคีภัย จะครอบคลุมตัง้ แตก่ ารประเมนิ ความเสียหายท้ังหมด
การเยยี วยาผู้ประสบภยั ในระยะยาว การฟ�นฟบู รู ณะอาคารสถานท่ี

การประชาสัมพันธ์เพื่อสรปุ สถานการณ์ ไปจนถงึ การติดตามและประเมนิ ผล
โดยอาศยั บทเรียนและสถานการณท์ เี่ กดิ ขนึ้ จรงิ มาประกอบการจดั ทา� แผน

เตรียมความพร้อมปอ้ งกนั และบรรเทาอคั คีภัยครัง้ ใหม่
ให้รอบคอบและรัดกมุ มากย�ิงข้นึ

43

ประเมนิ ความเสยี หาย

เป็นหน้าที่ของชุดเยียวยาและฟื้นฟูและชุดประสานงานและ
ประชาสมั พนั ธท์ ีด่ ำ� เนินการต่อเน่อื งมาตง้ั แตห่ ลังเพลิงสงบ โดยประสาน
ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่ เข้ามาท�ำการประเมินความเสียหายในทุกด้าน
ไม่ว่าจะเป็นจ�ำนวนผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทรัพย์สินต่างๆ ของคน
ในโรงเรียน ส่ือการเรียนการสอน อุปกรณ์การเรียน และอาคารเรียน
เพ่ือจัดท�ำบัญชีรายชื่อและบัญชีทรัพย์สินที่เสียหายไว้เป็นหลักฐาน
ในการดำ� เนนิ การฟน้ื ฟเู ยยี วยาตอ่ ไป ขณะเดยี วกนั กป็ ระเมนิ ความตอ้ งการ
วา่ โรงเรยี นมคี วามจำ� เปน็ ตอ้ งไดร้ บั ความชว่ ยเหลอื ใดบา้ งในชว่ งระหวา่ ง
รอการบูรณะฟื้นฟู เช่น การจัดหาสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน
ชัว่ คราว อุปกรณแ์ ละสื่อการเรยี นการสอน เป็นตน้

เยยี วยาผูป้ ระสบอคั คีภัย

เปน็ การบรรเทาทกุ ขภ์ ยั ในระยะยาว ทง้ั ทางดา้ นรา่ งกายและจติ ใจ
ซงึ่ ทางโรงเรยี นจะตอ้ งประสานขอความชว่ ยเหลอื จากหนว่ ยงานภายนอก
เช่น ส�ำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) องค์กรการกุศล
ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เข้ามาช่วยเหลือ
มอบถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค และให้การสงเคราะห์ด้านอ่ืนๆ
รวมถึงการดูแลนักเรียนจนกว่าสภาพร่างกายและจิตใจจะเป็นปกติ
พร้อมกลับมาเรียนได้ กรณขี องครหู รอื บุคลากรก็เชน่ เดยี วกัน ตอ้ งดแู ล
จนกวา่ จะกลบั มาทำ� งานได้ตามปกติ

ฟ้ืนฟบู รู ณะอาคารสถานท่ี

การฟื้นฟูบูรณะอาคารสถานที่จะต้องท�ำทันทีหลังจากที่เพลิง
สงบแล้ว โรงเรียนต้องด�ำเนินการติดต่อขอความช่วยเหลือไปยัง
หนว่ ยงานราชการทส่ี ามารถใหค้ วามชว่ ยเหลอื ได้ เชน่ สำ� นกั งานเขตพนื้ ที่
ส�ำนักการศึกษา กทม. ให้เข้ามาส�ำรวจความเสียหาย เพื่อประเมิน
งบประมาณในการกอ่ สรา้ งใหมห่ รอื ฟน้ื ฟบู รู ณะของเดมิ และเรง่ ซอ่ มแซม
ใหโ้ รงเรียนกลับมาใชจ้ ดั การเรยี นการสอนไดต้ ามปกตโิ ดยเร็วทส่ี ุด

44

45

46

ประชำสัมพันธเ์ พือ่ สรุปสถานการณ์
ถึงแม้ว่าในขณะเกิดเหตุอัคคีภัย ชุดประสานงานและประชาสัมพันธ์จะคอยรายงาน
สถานการณแ์ กผ่ ปู้ กครองเปน็ ระยะๆ แลว้ แตห่ ลงั เพลงิ สงบกย็ งั มคี วามจา� เปน็ ตอ้ งประชาสมั พนั ธ์
สรปุ สถานการณ์ เพอื่ ชว่ ยสรา้ งความเขา้ ใจทถี่ กู ตอ้ ง ปอ้ งกนั ความเขา้ ใจผดิ ตลอดจนความสบั สน
อลหมา่ นจากกระแสขา่ วลอื ตา่ งๆ ทอ่ี าจจะเกดิ ขน้ึ และเปน็ การเรยี กความไวว้ างใจจากประชาชน
และบคุ คลทวั่ ไปใหก้ ลบั คนื มาอกี ดว้ ย

ติดตำมและประเมินผล
หลงั จากการด�าเนนิ การฟนื้ ฟเู ยยี วยาตา่ งๆ เสร็จสนิ้ ลง ให้ผ้อู า� นวยการโรงเรียน ครู และ
ผู้เกี่ยวข้องด�าเนินการติดตามและประเมินผลการป้องกันและแก้ไขปญหาอัคคีภัยท่ีเกิดขึ้น
ท้ังด้านการเกิดอัคคีภัย การบรรเทาและระงับอัคคีภัย การให้ความช่วยเหลือและด้านอ่ืนๆ
เพื่อจะได้รู้ถึงข้อบกพร่องและน�าไปสู่การวางแผนป้องกันและบรรเทาอัคคีภัยให้มีประสิทธิภาพ
มากขน้ึ ในอนาคต

47

ตรวจสอบใหแ้ นใ่ จ เพมิ่ ความปลอดภยั ในโรงเรยี น
ตรวจสอบสงิ่ ทตี่ อ้ งทำ� กอ่ นเกดิ อคั คภี ยั

เตรยี มพร้อมกอ่ นเกดิ อคั คีภยั ผลกำรดำ� เนินงำน หมำยเหตุ
ทำ� แลว้ ยังไม่ได้ทำ�

1. กำรสำ� รวจพืน้ ทเี่ พื่อประเมินควำมเสยี่ ง

ส�ารวจพนื้ ทีภ่ ายในโรงเรยี น
ส�ารวจพ้นื ทภ่ี ายนอกโรงเรียน
สา� รวจแหลง่ น�้าท่ีใช้ในการดับเพลิง
ทา� แผนผังโรงเรียนและแหล่งน้�า
2. ปรับปรงุ พ้นื ทีเ่ พอ่ื ลดควำมเสี่ยง

แกไ้ ขเพอื่ ลดความเสยี่ ง
ปรบั ปรุงและเพิ่มเติมเพื่อการปอ้ งกนั ท่ีรดั กมุ
3. รวบรวมและจดั ท�ำฐำนข้อมูล
ในโรงเรยี น

แบบแปลนอาคารเรียน
ผงั หมายเลขโทรศพั ท์
4. กำรอบรมและฝกซอ้ ม
เพื่อควำมปลอดภัยจำกอัคคีภัย

อบรมใหค้ วามรแู้ ก่บคุ ลากรในโรงเรยี น
การฝก ซอ้ มอพยพหนีไฟ

ทบทวนสิง่ ทีต่ ้องท�ำ ขณะและหลังเกิดอคั คภี ัย หมำยเหตุ
กำรด�ำเนนิ งำน

รบั มอื ม่นั ใจ ปฏบิ ัตกิ ารตามหนา้ ทที่ ่ีได้รับมอบหมาย
ขณะเกดิ อคั คีภยั ดบั ไฟรวดเรว็ ปฏิบัติตามแผนปฏบิ ตั กิ ารเมือ่ เกิดเพลิงไหม้
และแผนการอพยพหนีไฟ

เยียวยำ ประเมินความเสยี หาย
และฟน้ื ฟหู ลงั เพลิงสงบ ประสานงานหน่วยงานทเี่ กย่ี วขอ้ งเพอื่ เยียวยา
ผู้ประสบอคั คภี ยั และฟ้นื ฟบู รู ณะอาคารสถานที่
ประชาสัมพันธเ์ พอ่ื สรุปสถานการณ์
ติดตามและประเมินผล
จดั ทา� แผนใหม่ให้รัดกุมยง่ิ ขน้ึ

48


Click to View FlipBook Version