The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by กศน. ตําบลบ่อสวก, 2021-09-13 11:33:40

โครงงานเครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก

โครงงาน สกร.อ.เมืองน่าน

1



ชือ่ โครงงาน บทคดั ย่อ
ช่ือผู้ทำโครงงาน
เคร่ืองหลอมถุงพลาสติกรกั ษโ์ ลก
อาจารย์ที่ปรกึ ษา 1. นางสาวภัคจริ า รอดวิเศษ 2. นายปภาวนิ แสนทะไชย
ระยะเวลาการศกึ ษา 3. นายนวรันดร์ จนั ทรเ์ ณร
นกั ศกึ ษา กศน. ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น กศน.อำเภอเมืองนา่ น จงั หวดั น่าน
1. นายสุเมธ ตาลตา 2. นายภาคภูมิ อะทะวนั
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 – วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

การศึกษาโครงงาน เรื่อง เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประดิษฐ์
เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพกระบวนการหลอมของถุงพลาสติก

มีวิธีดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก
โดยออกแบบและประดษิ ฐเ์ ครือ่ งหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก โดยประดษิ ฐ์มาจากถังเหล็กเก่า ซ่ึงมีคุณสมบัติ

ทนความร้อน โดยใช้กระบวนการหลอมของทรายละเอียดกับถุงพลาสติก โดยติดตั้งท่อเหล็ก พัดลมดูด
อากาศเพอื่ ดดู ควนั ซงึ่ เกิดจากการหลอมของถงุ พลาสตกิ และระบายอากาศผ่านสายยางลงสู่ถังนำ้ ขนั้ ตอนที่ 2
การทดสอบประสทิ ธภิ าพของเครื่องหลอมของถงุ พลาสตกิ รักษ์โลก การทดสอบประสทิ ธภิ าพของเคร่ืองหลอม

ถุงพลาสติกรักษ์โลก เมื่อผ่านกระบวนการหลอมโดยใช้เคร่ืองหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก ทดสอบจำนวน 3
คร้งั พบวา่ ระยะเวลาท่เี หมาะสำหรับการหลอมถุงพลาสตกิ ที่ดีที่สดุ คือ ระยะเวลา 20 นาที ซง่ึ ถงุ พลาสติก

อ่อนตัวและผสมกับทรายเป็นเนื้อเดียวกัน มีสีดำ ลักษณะข้น หนืด ควันมีสีขาว เจือปนอยู่ในอากาศใน
ปริมาณน้อยจงึ ส่งผลกระทบท่ีไม่รุนแรงต่อคุณภาพชีวิตเมือ่ นำไปขึน้ รูปเป็นช้ินงานต่าง ๆ ชิ้นงานที่ไดม้ ผี วิ
เรียบเนยี นไม่แตกเปราะงา่ ยและมคี วามคงทนแขง็ แรง ซึ่งสอดคลอ้ งกบั สมมุติฐานท่ตี ง้ั ไว้



กิตติกรรมประกาศ

การจัดทำโครงงาน เรื่อง เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ได้รับ
คำแนะนำและให้คำปรกึ ษาจากครูท่ีปรกึ ษา รวมถงึ ผบู้ ริหาร ขา้ ราชการครู และคณะบุคลากร กศน.อำเภอ
เมืองนา่ น ทีค่ อยใหแ้ นะนำ ปรกึ ษาตลอดถึงการตรวจทาน แกไ้ ขขอ้ บกพรอ่ งของโครงงานให้มีความถูกต้อง
และทำให้โครงงานบรรลตุ ามวัตถปุ ระสงคท์ กี่ ำหนดไว้

คณะผูจ้ ัดทำขอขอบพระคุณทกุ ท่านท่ีให้โอกาส ส่งเสริม สนบั สนนุ และให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ
ของการจัดทำโครงงานครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงาน เรื่อง เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก
จะเปน็ ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจนำไปใช้ สามารถนำไปต่อยอดผลิตเป็นเครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลกที่ทันสมัย
และมีประสทิ ธภิ าพมากย่งิ ขึ้นได้ จึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสน้ี

คณะผจู้ ัดทำ

สารบญั ค

บทคดั ย่อ หน้า
กติ ตกิ รรมประกาศ ก
สารบญั ข
สารบัญตาราง ค
สารบญั ภาพ จ
บทที่ 1 บทนำ ฉ

1.1 ทมี่ าและความสำคญั ของปญั หา 1
1.2 วัตถุประสงค์ 1
1.3 สมมตฐิ าน 1
1.4 ตัวแปรท่ศี กึ ษา 2
1.5 ขอบเขตการศกึ ษา 2
1.6 ประโยชนท์ ค่ี าดวา่ จะไดร้ ับ 2
1.7 นยิ ามปฏบิ ตั ิการ 2
บทที่ 2 เอกสารที่เก่ยี วขอ้ ง
2.1 ความร้เู กี่ยวกบั การจัดการขยะมลู ฝอย 3
2.2 ความรู้เกย่ี วกบั พลาสติก 4
2.3 พลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสตกิ 5
2.4 ความรู้เก่ียวกับทราย 6
2.5 กระบวนการหลอมพลาสตกิ 7
2.6 กระบวนการข้นึ รูปพลาสติก 7
2.7 งานวจิ ยั ที่เกี่ยวขอ้ ง 8
บทท่ี 3 วธิ ดี ำเนนิ การ
3.1 วัสดอุ ุปกรณ์ 10
3.2 วิธีดำเนินการ 11
บทที่ 4 ผลการศกึ ษา
ข้ันตอนท่ี 1 ออกแบบและประดิษฐเ์ ครอ่ื งหลอมถงุ พลาสตกิ รกั ษโ์ ลก 16
ข้ันตอนที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพของเครือ่ งหลอมถุงพลาสติกรกั ษ์โลก 17

สารบญั (ต่อ) ง

บทท่ี 5 สรุปผลการศกึ ษา อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ หน้า
5.1 สรปุ ผลการศึกษา
5.2 อภิปรายผล 19
5.3 ข้อเสนอแนะ 20
20
บรรณานกุ รม 21

สารบญั ตาราง จ

ตารางการทดสอบประสทิ ธิภาพของเครอ่ื งหลอมถุงพลาสตกิ รกั ษโ์ ลก หน้า
17

สารบญั ภาพ ฉ

ภาพที่ 1 แบบโครงสรา้ งเคร่ืองหลอมถงุ พลาสติกรักษ์โลก หน้า
ภาพท่ี 2 ตดั ถงั เหลก็ ดว้ ยเครือ่ งเจยี ร 12
ภาพท่ี 3 เจาะฝาถงั เหล็ก 12
ภาพท่ี 4 ทอ่ น้ำเหล็กทปี่ ระกอบเพ่อื ทำที่จบั และไม้พาย 12
ภาพที่ 5 ไม้พายสำหรับคนถงุ พลาสติก 13
ภาพที่ 6 ฐานวางเครอื่ งหลอมถุงพลาสตกิ รกั ษ์โลก 13
ภาพท่ี 7 ตอ่ ทอ่ ประปาเหลก็ ขน้ึ เกลยี วกบั เหล็กหน้าแปลนป๊มั น้ำ 13
ภาพท่ี 8 ถงั สำหรบั ดูดควนั และกล่นิ จากเครือ่ งหลอมถงุ พลาสตกิ รกั ษโ์ ลก 13
ภาพท่ี 9 ตดิ ตัง้ พัดลมดูดอากาศ 14
ภาพท่ี 10 เครือ่ งหลอมถุงพลาสตกิ รกั ษโ์ ลก 14
ภาพท่ี 11 เคร่ืองหลอมถุงพลาสติกรักษโ์ ลก 14
16

1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ทมี่ าและความสำคญั ของปญั หา

ขยะเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ ยังขาดความเข้าใจเรื่องของการ
กำจดั และคดั แยกขยะที่ถูกวิธี โดยเฉพาะในชมุ ชนเมือง ซง่ึ เป็นชมุ ชนท่ีมีประชากรอาศยั อยู่หนาแน่นจะพบ
ปัญหาการถา่ ยเทขยะไม่ทนั ขยะเหล่านัน้ อาจส่งผลกระทบต่อผู้อ่ืนรวมถึงระบบนิเวศได้ง่าย ขยะหลากหลาย
รูปแบบจะไปกองทับถมกันโดยที่ไมไ่ ด้ถูกคัดแยกประเภทตั้งแต่แรก ส่ิงทปี่ ะปนอยู่ในกองขยะเหล่าน้ันก็จะ
กลายเปน็ แหลง่ สะสมเช้ือโรค และแบคทีเรียขนาดใหญ่ท่ีสามารถแพร่เชอื้ ให้กับผูท้ ี่สัมผัสกับขยะเหล่านี้ได้
โดยตรง

ปัจจุบนั ปญั หาสงิ่ แวดล้อมเป็นปัญหาสำคญั ที่เกิดจากการกระทำของมนษุ ย์ในการตอบสนอง
ความตอ้ งการข้นั พ้นื ฐานและความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ ทำใหม้ กี ารพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาการ
กระบวนการผลติ ด้านอุตสาหกรรม ต่าง ๆ ซ่ึงส่งผลตอ่ สง่ิ แวดลอ้ ม เช่น ปัญหาน้ำเนา่ เสยี ปญั หามลพษิ และ
ปรมิ าณขยะท่ีเพ่ิมมากขน้ึ จากการอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะถุงพลาสติก ซ่ึงนยิ มใช้บรรจุอาหารและเคร่ืองดื่มเป็น
จำนวนมาก เน่อื งจากสะดวกในการใช้งาน หาซื้อได้งา่ ยและมรี าคาถกู ผลิตภัณฑ์เหล่าน้ีจึงก่อให้เกิดขยะมูลฝอย
ประเภทพลาสตกิ ซึ่งตน้ เหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง เปน็ สาเหตุประการหนงึ่ ที่ก่อให้เกิด
ปัญหาส่ิงแวดลอ้ ม จากการศกึ ษาพบว่าพลาสตกิ ใช้เวลาในการย่อยสลายนานถงึ 10 – 1,000 ปี (ข้อมูลจาก
สำนกั งานค้มุ ครองสิง่ แวดลอ้ มแหง่ สหรฐั อเมริกา “ปจั จัยด้านสง่ิ แวดล้อม”)

จากสภาพปัญหาข้างต้น นักศึกษา กศน.อำเภอเมืองน่าน ได้มีแนวคิดในการนำถุงพลาสติก
กลับมาใช้ประโยชน์โดยจัดทำโครงงานเรื่องเครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก เพื่อประดิษฐ์เครื่องหลอม
ถุงพลาสติกรักษโ์ ลก และศึกษาประสิทธิภาพกระบวนการหลอมของถุงพลาสติก ในการหลอมถุงพลาสติก
โดยใช้ความรอ้ นเป็นตัวช่วยในการหลอมถุงพลาสติก สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นชิ้นงานใหมไ่ ด้ เช่น กระถาง
บลอ็ ก แจกนั เป็นการลดปริมาณขยะประเภทถุงพลาสติก มาทำการหลอมและนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่เกิด
มลพิษทางอากาศซึ่งเป็นสาเหตุของผลกระทบตอ่ สขุ ภาพของประชาชน

1.2. วตั ถปุ ระสงค์ ในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดวตั ถปุ ระสงคไ์ ว้ดงั นี้
1.2.1 เพื่อประดิษฐ์เคร่อื งหลอมถุงพลาสตกิ รกั ษโ์ ลก
1.2.2 เพอื่ ศกึ ษาประสทิ ธภิ าพกระบวนการหลอมของถงุ พลาสติก

1.3. สมมติฐาน
เคร่อื งหลอมถงุ พลาสติกรกั ษโ์ ลกสามารถหลอมถุงพลาสตกิ และลดปริมาณควันที่เกิดจากการ

หลอมถงุ พลาสตกิ ได้

2

1.4 ตวั แปรที่ศึกษา
ตวั แปรต้น : เคร่ืองหลอมถุงพลาสตกิ รกั ษโ์ ลก
ตัวแปรตาม : การหลอมของถุงพลาสตกิ และปรมิ าณควันที่เกิดจากการหลอมถงุ พลาสติก
ตวั แปรควบคมุ :
- ปรมิ าณของทราย
- ปริมาณของถงุ พลาสตกิ
- ระยะเวลา

1.5 ขอบเขตการศกึ ษาในการศกึ ษาครง้ั นี้มขี อบเขตการศกึ ษา ดังน้ี
1.5.1 สง่ิ ทศ่ี กึ ษา
1. เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก ประดิษฐ์มาจากถังเหล็กเก่าซึ่งมคี ุณสมบัติทนความร้อน

โดยใช้กระบวนการหลอมของทรายละเอยี ดกบั ถงุ พลาสตกิ โดยติดต้งั ท่อเหลก็ พัดลมดูดอากาศเพื่อดูดควัน
ซ่งึ เกิดจากการหลอมของถุงพลาสตกิ และระบายอากาศผา่ นสายยางลงสถู่ ังน้ำ

1.5.2 ระยะเวลา วันที่ 1 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2563 – วนั ท่ี 5 กรกฎาคม พ.ศ.2564
1.5.3 สถานที่ กศน.อำเภอเมอื งน่าน จังหวดั น่าน

1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.6.1 เครอ่ื งหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลกสามารถใชง้ านได้จรงิ
1.6.2 เครื่องหลอมถุงพลาสติกรกั ษโ์ ลก สามารถลดปริมาณควันซึง่ เป็นมลพษิ ทางอากาศได้
1.6.3 ถุงพลาสตกิ ที่หลอมสามารถนำไปขน้ึ รปู เปน็ ผลติ ภัณฑ์ตา่ ง ๆ ได้

1.7 นยิ ามปฏบิ ตั ิการ
1.7.1 เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก หมายถึง ประดิษฐ์มาจากถังเหล็กเกา่ ซึง่ มีคุณสมบัติ

ทนความร้อน โดยใช้กระบวนการหลอมของทรายละเอียดกับถุงพลาสติก โดยติดตั้งท่อเหล็ก พัดลมดูด
อากาศเพอ่ื ดดู ควันซ่งึ เกดิ จากการหลอมของถุงพลาสติก และระบายอากาศผา่ นสายยางลงสถู่ งั นำ้

1.7.2 ถงุ พลาสติก หมายถึง ถงุ พลาสติกท่เี ป็นขยะทผ่ี ่านการใช้งานแล้ว
1.7.3 การหลอม หมายถึง การใชค้ วามร้อนจากเตาแกส็ หงุ ตม้ เปน็ ตัวทำปฏิกิริยาใหถ้ ุงพลาสติก
เกิดการออ่ นตวั หลอมเข้ากับทรายผสมเปน็ เนอ้ื เดยี วกนั

3

บทที่ 2
เอกสารทเ่ี กีย่ วขอ้ ง

ในการศกึ ษาโครงงานเรื่องเครื่องหลอมถุงพลาสติกรกั ษโ์ ลก ของนกั ศกึ ษา กศน.อำเภอเมืองน่าน
จงั หวัดน่าน คณะผู้ศึกษาได้ค้นคว้ารวบรวมเอกสารทเี่ ก่ียวข้องจากเว็บไซต์บนเครือขา่ ยอนิ เทอร์เน็ต เพ่ือเป็น
แนวทางในการประดิษฐ์ เครอ่ื งหลอมถงุ พลาสตกิ รักษ์โลก ดงั หัวข้อต่อไปน้ี

1. ความรทู้ ั่วไปเกี่ยวกับขยะ
2. ความรเู้ กี่ยวกับการจดั การขยะมลู ฝอย
3. ความรูเ้ กยี่ วกับพลาสติก
4. พลาสติกประเภทเทอรโ์ มพลาสตกิ (Thermoplastic)
5. ความรู้เก่ียวกบั ทราย
6. กระบวนการหลอมพลาสตกิ
7. กระบวนการขนึ้ รปู พลาสตกิ
8. งานวจิ ยั ทเี่ กีย่ วขอ้ ง
1. ความรู้ทั่วไปเก่ียวกับขยะ
ความหมายของขยะ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.
2535 และพระราชบัญญตั ิสาธารณสุข พ.ศ.2535 หรอื แมก้ ระท่ัง ข้อบญั ญตั ขิ องกรุงเทพมหานคร เรอ่ื งการ
เก็บขนและการ จัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. 2544 ให้ความหมายของ มูลฝอย หมายถึง เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาด
จากถนน ตลาด ทเ่ี ล้ียงสตั ว์หรือที่อ่ืน ๆ
พิชติ สกลุ พราหมณ์ (2535:334) ได้ให้ความหมายของขยะ (Refuse or Solid Waste) หรือมูลฝอย
หรือหยากเยื่อว่า หมายถึง บรรดาสิ่งของท่ีเสื่อมคุณภาพหรอื ชำรดุ หรอื หมดสภาพการใช้งาน หรือบรรดา
สิ่งของของเศษวัสดตุ า่ ง ๆ ท่เี กดิ ขน้ึ จากอาคาร ทีพ่ ักอาศยั สถานทท่ี ำการโรงงานอตุ สาหกรรม ตลาด ถนน ฯลฯ
กรมควบคุมมลพิษ (2544) ไดใ้ หค้ วามหมายของขยะไว้ดังนี้
มูลฝอยชุมชน หมายถึง มูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เช่น บ้านพักอาศัย ธุรกิจร้านค้า
สถานประกอบการ สถานบริการ ตลาดสด สถาบันต่าง ๆ รวมทั้งเศษวัสดุก่อสร้าง ทั้งน้ีไม่รวมของเสีย
อนั ตรายและมลู ฝอยตดิ เชื้อ
น้ำชะมูลฝอย (Leachate) หมายถึงของเหลวที่ไหลชะล้างผ่านหรือออกมาจากมูลฝอย ซึ่งอาจ
ประกอบดว้ ยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่
สถานทจ่ี ดั การมูลฝอย (Solid Waste Management Facility) หมายถึง สถานท่กี ำจดั มูลฝอย
สถานีขนสง่ มูลฝอย สถานท่ีนำวสั ดุกลับคืนหรือสถานที่ใด ๆ ทีม่ กี ารนำมูลฝอยมาแปรสภาพและ
นำผลพลอยได้จากกระบวนการมาใช้ประโยชน์
สถานีขนถ่ายมูลฝอย (Transfer Station) หมายถึง สถานที่สำหรับถ่ายเทมูลฝอยจากรถเก็บขนมูล
ฝอยลงส่พู าหนะขนาดใหญ่ เพอื่ ขนสง่ ไปยังสถานท่ีแปรสภาพหรือกำจัดมูลฝอย
สถานที่ฝังกลบมูลฝอย (Landfill Facility) หมายถึง สถานที่จัดการมูลฝอยที่นำมูลฝอยมาเทกอง
ในพื้นที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ ใช้เครื่องจักรกลบดอัดกลบทับเป็นช้ัน ๆ และได้เตรียมมาตรการป้องกันน้ำชะขยะมูลฝอย

4

ไหลซึมลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน การป้องกันกลิ่นและแมลงวันรบกวนและแพร่กระจายเช้ือโรคสู่สภาพแวดล้อม
โดยรอบ

เตาเผามูลฝอย หมายถงึ ระบบหรืออปุ กรณใ์ ด ๆ ทีใ่ ช้เพ่อื กำจัดมลู ฝอยโดยวิธกี ารเผาไหม้
(กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยแี ละสิ่งแวดล้อม, 2540)

สรุป มูลฝอย หมายถึง สิ่งของต่าง ๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้วหรือทิ้งแล้ว เช่น ขยะเปียก ขยะแห้ง และขยะ
อนั ตราย ขยะเหล่านี้มาจากหลายแห่ง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน บ้านเรือน ตลาดสด สถาบัน
และที่อน่ื ๆ

2. ความรเู้ ก่ยี วกบั การจัดการขยะมูลฝอย
ความหมายของขยะ ตามพจนานกุ รมราชบณั ฑติ สถานฉบับ พ.ศ. 2542 กล่าววา่ มูลฝอย หมายถึง

เศษสิ่งของทีท่ ้งิ แลว้
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้ให้ความหมาย มูลฝอย หมายถึง เศษกระดาษ

เศษผา้ เศษอาหาร เศษสนิ คา้ เศษวตั ถุ ถงุ พลาสตกิ ภาชนะท่ีใสอ่ าหาร เถา้ มูลสตั ว์ ซากสตั ว์ หรอื สิ่งอ่ืนใด
ท่เี ก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลย้ี งสัตว์ หรอื ท่ีอ่นื ๆ และหมายความรวมถงึ มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยทเี่ ป็นพิษ
หรอื อนั ตรายจากชมุ ชน

วรรณธณี กองจนั ทร์ดี (2555, หนา้ 6 ได้ให้ความหมายของขยะ (Refuse of Solid Waste) หรือ
มูลฝอย ว่าหมายถึง บรรดาสิ่งของที่เสือ่ มคุณภาพหรือชำรดุ หรือหมดสภาพการใช้งาน หรือบรรดาสิ่งของ
เศษวสั ดุต่าง ๆ ท่ีเกิดข้นึ จากอาคาร ทีพ่ กั อาศยั สถานที่ทำการ โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ

กรมควบคุมมลพษิ ไดใ้ ห้ความหมายของขยะ ไวด้ ังน้ี (กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ
ส่ิงแวดลอ้ ม, 2540)

มลู ฝอยชมุ ชน หมายถึง มูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เช่น บา้ นพักอาศัย ธรุ กจิ รา้ นค้า
สถานประกอบการ สถานบริการ ตลาดสด สถาบันต่าง ๆ รวมทัง้ เศษวัสดกุ ่อสร้าง ทง้ั น้ีไม่รวมของเสียอนั ตราย
และมลู ฝอยติดเช้อื

เตาเผามลู ฝอย หมายถงึ ระบบหรอื อปุ กรณใ์ ด ๆ ท่ีใช้เพื่อกำจดั มลู ฝอยโดยวิธกี ารเผาไหม้
ขยะ ประกอบดว้ ย

ขยะมูลฝอยชุมชน (municipal solid waste) หมายความถึง ขยะมูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ
ในชมุ ชน เชน่ บา้ นพกั อาศัย ธรุ กจิ ร้านค้า สถานประกอบการตลาดสด สถาบันตา่ ง ๆ รวมทงั้ เศษวัสดุก่อสร้าง
ท้งั นี้ไมร่ วมของเสยี อนั ตรายและมลู ฝอยตดิ เชอื้

ของเสียอันตราย (hazardous waste) หมายความถึง ของเสียที่มีองค์ประกอบของวัตถุอันตราย
ได้แก่ วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ และวัตถุเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุ
กมั มนั ตรังสี วัตถทุ ก่ี อ่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพนั ธกุ รรม วตั ถุกัดกร่อน วตั ถุท่กี อ่ ใหเ้ กิดการระคายเคือง
วัตถุอย่างอ่นื ไม่ว่าจะเปน็ เคมภี ัณฑ์ หรอื สง่ิ อืน่ ใดทอี่ าจท าใหเ้ กดิ อนั ตรายแก่บุคคล สตั ว์ พืชทรัพย์สิน หรือ
สง่ิ แวดลอ้ ม

มลู ฝอยติดเชือ้ (infectious waste) หมายความถงึ ขยะมูลฝอยท่เี ป็นผลมาจากกระบวนการให้
การรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉยั การใหภ้ มู ิคุ้มกันโรค การศึกษาวจิ ัยทด่ี ำเนนิ การทัง้ ในคนและสตั ว์ ซ่งึ
มเี หตอุ ันควรสงสัยว่าหรืออาจมเี ชอ้ื โรค อันไดแ้ ก่

5

ก. ซากหรือช้ินสว่ นของคนหรอื สตั ว์ที่เปน็ ผลมาจากการผ่าตัด การตรวจชนั สูตรศพ การใชส้ ตั ว์ทดลอง
เก่ยี วกับโรคติดต่อ

ข. วัสดุมีคม หรอื วัสดทุ ี่ใช้ในการให้บริการทางการแพทย์ การวจิ ัยในหอ้ งปฏิบัติการ เชน่ เขม็ ใบมีด
กระบอกฉดี ยา สำลี ผ้ากอ๊ ต ผ้าตา่ ง ๆ ท่อยาง และอน่ื ๆ ซงึ่ สมั ผัสหรอื สงสยั วา่ จะสมั ผัสกบั เลือดสว่ นประกอบ
ของเลือดหรอื ผลติ ภณั ฑ์ท่ไี ดจ้ ากเลือดหรอื สารน้ำจากร่างกายหรือวัคซนี ที่ทำจากเชอ้ื โรคทมี่ ีชวี ิต

ค. ขยะมลู ฝอยอ่ืน ๆ ทุกประเภททีม่ าจากห้องติดเชอ้ื ร้ายแรง หอ้ งปฏิบตั ิการเชือ้ อนั ตรายสูง
ขยะมลู ฝอย คอื ของเหลอื ทง้ิ จากขบวนการผลิตและการใช้สอยของมนษุ ย์ ซ่ึงเป็นปญั หาของโลก
สมัยใหม่ การเตบิ โตของเมอื งทมี่ ขี นาดใหญอ่ ยา่ งรวดเรว็ อาจจะมีขยะมูลฝอยท่มี ลี ักษณะแตกต่างกนั ไปตาม
แหล่งกำเนิด เช่น มูลฝอยจากบ้านเรือนส่วนใหญ่จะเป็นเศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและ การ
บริโภค รวมทั้งเศษอาหาร พลาสติกและของที่ไม่ใช้แล้ว มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรมก็มีลักษณะต่าง ๆ
เปลยี่ นแปลงตามประเภทของอุตสาหกรรมนัน้ ๆ มูลฝอยท่ีถูกท้งิ อยู่ตามถนน แม่น้ำ ลำคลอง ที่สาธารณะ
ต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก เศษดิน เป็นต้น ซึ่งมูลฝอยเหล่านี้หากไม่ได้กำจัด
อย่างถูกวธิ ี นอกจากจะทำให้ชมุ ชนขาดความสะอาดเรียบร้อย ยงั ทำใหเ้ กิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อม
อย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ า และการปนเปื้อนของอากาศเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และ
แพรก่ ระจายของเช้ือโรค ตลอดจนก่อให้เกดิ ความร าคาญต่าง ๆ จากกลน่ิ ฝนุ่ ละออง ตลอดจนเป็นต้นเหตุ
ของอคั คีภยั ไดอ้ ีกดว้ ย (จงั หวดั ลพบุรี, 2552)
ขยะมูลฝอยหรือสิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภคซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้
แบง่ ออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการกำจดั ขยะแบบผสมผสานไดแ้ ก่ ประเภทขยะขายได้ นำกลบั มาใช้
ใหมไ่ ด้ ประเภทขยะแห้งสำหรับเปน็ เชื้อเพลิงทดแทน ประเภทขยะเปยี ก (สำหรับทำปุ๋ย และสำหรับเป็นอาหาร
สัตว์) และประเภทขยะอันตราย (สำหรับรีไซเคิล ขายได้และที่ส่งกำจัด หรือขายไม่ได้) (สมไทย วงษ์เจริญ,
2551, หนา้ 41)

ประเภทของขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอย สามารถแบง่ ตามลักษณะทางกายภาพของขยะ ไดเ้ ปน็ 4 ประเภท ดงั นี้ (กรมควบคมุ

มลพิษ, 2554)
1.ขยะย่อยสลาย (Compostable waste) หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อย

สลายได้เรว็ สามารถนำมาหมกั ปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหารใบไม้ เศษเนือ้ สัตว์ที่เกดิ จากการ
ทดลองในห้องปฏบิ ตั ิการ โดยทขี่ ยะทยี่ อ่ ยสลายนเ้ี ปน็ ขยะท่ีพบมากทส่ี ดุ คือ พบมากถึง 64%

2. ขยะรีไซเคิล (Recyclable waste) หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุ
เหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องดื่มแบบ
UHT กระป๋องเคร่ืองดื่ม เศษโลหะ อลูมิเนียม ยางรถยนตเ์ ป็นต้น สำหรับขยะรี ไซเคิลนี้เปน็ ขยะท่ีพบมาก
เปน็ อันดบั ทีส่ องในกองขยะ กล่าวคือ พบประมาณ 30% ของปรมิ าณขยะท้ังหมดในกองขยะ

3. ขยะอันตราย (Hazardous waste) หรือ มูลฝอยอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือ
ปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนดิ ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิด
โรค วตั ถุกรรมมันตรังสี วตั ถทุ ี่ทำให้เกิดการเปลยี่ นแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกรอ่ น วัตถุท่ีก่อให้เกิดการ
ระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช
ทรพั ยส์ นิ หรอื สิ่งแวดล้อม เชน่ ถ่านไฟฉาย หลอดฟลอู อเรสเซนต์ แบตเตอร่ี โทรศพั ท์เคล่ือนที่ ภาชนะบรรจุ

6

สารกำจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น ขยะอันตรายนี้เป็นขยะท่ีพบได้น้อยที่สุด
กล่าวคอื พบประมาณเพยี ง 3% ของปรมิ าณขยะทงั้ หมดในกองขยะ

4. ขยะทั่วไป (General waste) หรือ มลู ฝอยท่วั ไป คอื ขยะประเภทอื่น นอกเหนือจากขยะย่อย
สลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยาก และไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้
ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่
กึง่ สำเร็จรปู ถงุ พลาสตกิ เปอ้ื นเศษอาหาร โฟมเปอ้ื นอาหาร เป็นต้น สำหรับขยะทว่ั ไปนเ้ี ป็นขยะท่ีมีปริมาณ
ใกลเ้ คยี งกบั ขยะอนั ตราย กลา่ วคอื จะพบประมาณ 3% ของปรมิ าณขยะทง้ั หมดในกองขยะ

3. ความรูเ้ กีย่ วกบั พลาสติก
ในปัจจุบันพลาสติกได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญอย่างหนึ่ง ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน

และมีแนวโน้มทีจ่ ะเพิ่มมากขึ้น และนำมาแทนทรัพยากรธรรมชาติได้หลายอย่าง เช่น ไม้ เหล็ก เนื่องจาก
พลาสติกมีราคาถูก มีน้ำหนักเบาและมีขอบข่ายการใช้งานได้กว้าง เนื่องจากสามารถผลิตพลาสติกให้มี
คุณสมบัติต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ โดยขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วตั ถุดิบ ปฏิกิริยาเคมี กระบวนการผลิต และ
กระบวนการข้ึนรูปทรงตา่ ง ๆ ได้อย่างมากมาย และนอกจากนี้ ยังสามารถปรุงแตง่ คุณสมบตั ิไดง้ า่ ย โดยการ
เตมิ สารเตมิ แตง่ (Additives) เช่น สารเสริมสภาพพลาสตกิ (Plasticizer) สารปรับปรงุ คณุ ภาพ (Modifier)
สารเสรมิ (Filler) สารคงสภาพ (Stabilizer) สารยับย้งั ปฏิกิรยิ า (Inhibitor) สารหล่อล่นื (Lubricant) และ
ผงสี (Pigment) เป็นตน้ (สมาคมอุตสาหกรรมพลาสตกิ , 2553)

ประเภทของพลาสติก
พลาสตกิ โดยท่ัวไปแบ่งออกเป็น 2 กล่มุ หลัก คอื
1. เทอรโ์ มพลาสติก (Thermoplastics) เป็นพลาสตกิ ท่ีออ่ นตัวเม่อื ถูกความร้อน และแข็งตัวเม่ือ
เย็นลง พลาสติกประเภทนี้สามารถนำมาหลอมและขึ้นรูปใหม่ได้ ตัวอย่างของพลาสติกประเภทนี้ ได้แก่
โพลีเอทธลิ นี (PE), โพลโี พรพิลนี (PP), โพลีสไตรลีน (PS), โพลีไวนลิ คลอไรด์ (PVC), โพลเี อสเตอร์ (PET)
2. เทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting) เป็นพลาสติกที่เกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อนำไปขึ้นรูป พลาสติก
ประเภทน้ำไม่สามารถนำไปหลอมเพื่อนำมาใช้ใหม่ ตัวอย่างของพลาสติกประเภทนี้ ได้แก่ โพลียูเรเธน
(PUR), อีพอกซี่ (Epoxy), ฟีโนลคิ (Phenolic), เมลามีน (Melamine)
อุตสาหกรรมพลาสติก
กลุ่มอตุ สาหกรรมพลาสติกสามารถแบ่งออกไดเ้ ป็น 2 ประเภทคอื
1. อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก โดยที่อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกจะผลิตเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ
อาทิ PE, PP, PS, PVC, และABS (มีทง้ั ผลิตจากสารเคมแี ละจากการรีไซเคลิ พลาสตกิ ) เพือ่ เป็นวัตถดุ บิ ป้อน
อุตสาหกรรมผลติ ภัณฑ์พลาสติก
2. อตุ สาหกรรมผลติ ภัณฑพ์ ลาสติก ซงึ่ จะผลติ สินค้าพลาสติกหลายประเภท เช่น ถงุ และกระสอบ
พลาสติก เครื่องใช้พลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และเทป สิ่งประกอบเครื่องแต่งกาย กล่องพลาสติก หลอด
และท่อพลาสติก พลาสติกปพู ้ืนและผนัง สำหรบั ผบู้ ริโภคโดยตรง หรอื เพือ่ ปอ้ นอตุ สาหกรรมตอ่ เนื่องต่าง ๆ
ทีใ่ ช้ผลติ ภัณฑ์พลาสติกเปน็ ส่วนประกอบของสนิ ค้า จากลักษณะโครงสร้างดงั กล่าว อตุ สาหกรรมพลาสติก
จงึ มคี วามเชื่อมโยงอย่างมากกบั อุตสาหกรรมอ่ืน ๆ ท้ังการเช่ือมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) กับ
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานทำเม็ดพลาสติก และเชื่อมโยงไปข้างหน้า (Forward
Linkage) กับอตุ สาหกรรมตอ่ เนอื่ งต่าง ๆ ที่ผลติ สินคา้ อปุ โภคบริโภคข้นั ปลาย

7

4. พลาสติกประเภทเทอรโ์ มพลาสตกิ (Thermoplastic)
เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) หรือเรซนิ เป็นพลาสตกิ ท่ีใชก้ ันแพร่หลายท่ีสุด ได้รับความร้อน

จะอ่อนตัว และเม่อื เยน็ ลงจะแข็งตัว สามารถเปลยี่ นรปู ได้ พลาสติกประเภทนโ้ี ครงสรา้ งโมเลกลุ เป็นโซ่ตรงยาว
มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่
ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน มีสมบัติพิเศษคือ เมื่อหลอมแล้ว
สามารถนำมาขึ้นรปู กลับมาใชใ้ หม่ได้ ชนิดของพลาสตกิ ใน ตระกูลเทอรโ์ มพลาสตกิ ไดแ้ ก่

โพลิเอทลิ นี (Polyethylene: PE) เป็นพลาสตกิ ทไ่ี อนำ้ ซมึ ผ่านได้เลก็ น้อย แต่อากาศผา่ นเข้าออกได้
มีลักษณะขุ่นและทนความร้อนได้พอควร เป็นพลาสติกที่นำมาใช้มากที่สุดในอตุ สาหกรรม เช่น ท่อน้ำ ถัง
ถุง ขวด แท่นรองรับสนิ ค้า

โพลโิ พรพลิ นี (Polypropylene: PP) เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผา่ นไดเ้ ลก็ นอ้ ย แข็งกวา่ โพลิเอทลิ นี
ทนต่อสารไขมันและความร้อนสูงใช้ทำแผ่นพลาสติถุงพลาสติก บรรจุอาหารที่ทนร้อน หลอดดูดพลาสติก
เป็นตน้

โพลิสไตรีน (Polystyrene: PS) มีลักษณะโปร่งใส เปราะ ทนต่อกรดและด่าง ไอน้ำและอากาศ
ซึมผ่านได้พอควร ใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณไ์ ฟฟ้าและอเิ ล็กทรอนิกส์ เครื่องใชส้ ำนกั งาน เป็นตน้

เอบีเอส (Acrylonitrile-Butadiene-Styrene) คุณสมบตั ิคล้ายโพลสิ ไตรนี แต่ทนสารเคมีดกี ว่า
เหนยี วกวา่ โปร่งแสง ใช้ผลิตถ้วย ถาด เป็นตน้

โพลิไวนลิ คลอไรด์ หรอื พวี ซี ี (Polyvinylchloride: PVC) ไอนำ้ และอากาศซมึ ผ่านไดพ้ อควร
แตป่ อ้ งกันไขมันไดด้ ีมีลักษณะใส ใช้ทำขวดบรรจุน้ำมนั และไขมนั ปรงุ อาหาร ขวดบรรจุเครื่องดม่ื ท่ีมี
แอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ ใชท้ ำแผ่นพลาสติก ห่อเนยแข็ง ทำแผน่ แลมิเนตชั้นในของถงุ พลาสติก

ไนลอน (Nylon) เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวมาก คงทนต่อการเพิ่มอุณหภูมิ ทำแผ่นแลมิเนต
สำหรบั ทำถุงพลาสตกิ บรรจอุ าหารแบบสญุ ญากาศ

โพลิเอทลิ นี เทอรฟ์ ะธาเลต หรือเพท (Polyethylene terephthalate: PET) เหนยี วมากโปร่งใส
ราคาแพง ใช้ทำแผ่นฟลิ ม์ บาง ๆ บรรจอุ าหาร

โพลิคาร์บอเนต หรือพีซี (Polycarbonate: PC) มีลักษณะโปร่งใส แข็ง ทนแรงยึดและแรง
กระแทกได้ดี ทนความรอ้ นสูง ทนกรด แตไ่ ม่ทนด่าง เปน็ รอยหรอื คราบอาหาร จับยาก ใช้ทำถ้วย จาน ชาม
ขวดนมเด็ก และขวดบรรจุอาหารเด็ก

5. ความร้เู กีย่ วกบั ทราย
ทราย เป็นตัวอย่างหนึ่งของวสั ดุจจำพวก สสารแบบเม็ด (granular matter) ตามธรรมชาติแล้ว

ทรายเกิดจากหินที่ถูกย่อยเป็นเม็ดละเอียด ซึ่งหมายถึงทรายทั่ว ๆ ไปที่เราพบเห็นตามชายหาด แต่อีก
ความหมายหนง่ึ ในแง่วิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะทางธรณีวทิ ยา) แล้ว หมายถึงชื่อขนาดของอนุภาคขนาดเม็ด
"ทราย" ที่มีขนาดอนุภาคหรือเม็ดตะกอนระหว่าง 0.0625 ถึง 2 มิลลิเมตร อนุภาคหนึ่งๆ ของทรายนั้น
เรียกวา่ "เม็ดทราย" ขนาดของอนภุ าคทเ่ี ลก็ ถัดลงไป เรียกว่า ทรายแปง้ (silt) เปน็ อนภุ าคทมี่ ขี นาดเล็กกว่า
0.0625 มิลลิเมตร จนถึง 0.004 มิลลิเมตร ส่วนขนาดของอนุภาคท่ีใหญ่กว่าขนาดอนุภาคของทราย
เรยี กว่า กรวด (gravel) อนภุ าคมขี นาดใหญ่กวา่ 2 ถึง 64 มลิ ลเิ มตร (ทา่ นสามารถศึกษาการแบ่งขนาดของ
อนุภาคทางธรณีวิทยาไดจ้ าก grain size) เมอ่ื ใชน้ ้ิวถูเบา ๆ ขนาดอนภุ าคทรายน้นั จะใหค้ วามรู้สึกสาก สว่ น
อนุภาคทรายแปง้ นัน้ จะรสู้ ึกเหมือนน้ิวถูผงแปง้ แตจ่ ะรสู้ ึกสาก ๆ เพยี งเล็กนอ้ ย)

8

ทราย (sand) เป็นหินแข็งที่แตกแยกออกมาจากก้อนหินใหญ่ โดยทรายจะแยกตัวออกมาไดเ้ อง
ตามธรรมชาติ ทรายมีขนาดระหว่าง 1/12 นิ้วถึง 1/400 นิ้ว ถ้ามีขนาดเล็กกวา่ นี้จะมีสภาพเปน็ ฝุ่นทราย
จะประกอบดว้ ยแร่ควอตซห์ รอื หนิ บะซอลต์ ทรายมแี หลง่ เกดิ อยู่ 4 แหง่ คอื

1. ทรายบก หรือ ทรายบ่อ ไดจ้ ากการขุดพนื้ ทด่ี นิ บางแห่ง ทรายชนิดนี้จะมีดนิ ปนอยู่การนำมาใช้
งานตอ้ งทำความสะอาดก่อน

2. ทรายแมน่ ้ำ ได้จากพืน้ ทรี่ าบใตท้ อ้ งนำ้ ตามแมน่ ้ำลำคลอง
3. ทรายทะเล ได้จากตามชายฝง่ั ทะเล แตท่ รายจะมีความเค็มและเกลอื ติดอย่กู ่อน นำมาใช้ต้อง
ล้างน้ำให้สะอาดกอ่ น
4. ทรายท่ที ำขน้ึ จากการรอ่ นเป็นหนิ ทม่ี นษุ ย์ทบุ หรอื โม่ เปน็ กอ้ นเล็ก ๆ
ทรายเป็นวัสดุที่สำคัญชนิดหน่ึง ซึ่งเป็นส่วนผสมของคอนกรีต และมอร์ตา้ (Mortar ) ที่นำมาใช้
กอ่ หรือฉาบ ทรายไดจ้ ากการแตกตวั ของหินก้อนใหญ่ ซึง่ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ทำให้ไดห้ ินเม็ด
เล็ก ๆ เรียกว่า ทราย ปัจจุบันเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเก็บทราย ได้แก่เรือดูดทราย สามารถนำทราย
ขนึ้ มาใชไ้ ดอ้ ย่างรวดเรว็
ทราย (sand) เป็นหินแขง็ ที่แตกแยกออกมาจากก้อนหนิ ใหญ่ โดยทรายจะแยกตัวออกมาไดเ้ อง
ตามธรรมชาติ ทรายมีขนาดระหว่าง 1/12 นิ้วถึง 1/400 นิ้ว ถ้ามีขนาดเล็กกวา่ นี้จะมีสภาพเปน็ ฝุน่ ทราย
จะประกอบด้วยแร่ควอตซห์ รือหินบะซอลต์ ทรายแบ่งออกเปน็ 2 ชนิด ได้แก่ ทรายบกและทรายแมน่ ำ้
ทรายบกเกิดจากหนิ ทรายที่แตกแยกชำรุดออกมา เปน็ เมด็ ทรายตามสภาพภูมอิ ากาศส่งิ แวดล้อม
และจะฝงั จมอยู่ในพ้ืนดนิ เป็นแห่ง ๆ ทรายชนดิ นีจ้ ะมีดิน ซากพืชและซากสัตว์ปะปนอยู่ดว้ ย ในการใช้งาน
จึงตอ้ งนำทรายมาล้างแยกดนิ ซากพืชและซากสตั ว์ออกให้สะอาด ทรายจากทะเลทรายก็จัดเป็นทรายบกดว้ ย
ทรายแม่น้ำมีอยู่ท่ัว ๆ ไปในทีร่ าบลมุ่ ของแมน่ ้ำ ทรายชนิดนีเ้ กิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
โดยกระแสนำ้ ได้พดั พาทรายจากที่ต่าง ๆ มาตกตะกอนรวมกนั ในแหล่งท่ีราบล่มุ ทีเ่ ป็นทรี่ วมของทราย

6. กระบวนการหลอมพลาสตกิ
การหลอมพลาสติก
เครื่องแปรรูปพลาสติก จะใช้ฮีตเตอร์แบบเข็มขัด (Band Heaters) รัดรอบบาเรล ซึ่งโดยทั่วไป

จะมี heater 4-6 ชุด แบ่งเป็น กลุ่มหน้า กลุ่มกลาง กลุ่มท้าย ฮีตเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้มักเป็นแบบแผ่น ขนาด
1,000 -1,500 วัตต์แผ่น ลวดฮีตเตอร์ (Heater): ซึ่งเรียกว่า ลวด Nikrothal 80 หรือ R80 โดยส่วนผสม
ของนิเกิล 80% และโครเมียม 20% ซึ่งสามารถทนอุณหภูมิสูงสุดได้ถึง 1400 องศาเซลเซียส โดยมี
คุณสมบัติเหนียว และทนความร้อนได้สูงถึง 1400 องศาเซลเซียสหุ้มอยู่รอบกระบอกสกรูหรือบาเรลการ
ควบคุมอุณหภูมิมักเป็นแบบปิดเปิด (ON-OFF) อุณหภูมิที่ตั้งอยู่ในช่วง 170-200 องศาเซลเซียส ขึ้นกับ
ชนิดพลาสติกแต่ละกลุ่มจะมีอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิที่เรียกว่าเธอร์โมสตัทช์ (Thermostat ซึ่งสามารถ
ปรับตั้งอุณหภูมิของแต่ละกลุ่มได้ความละเอียด หรือความแม่นยำส่วนใหญ่ ไม่ควรเกิน 10 องศาเซลเซยี ส
สำหรับการควบคมุ ความร้อนทีด่ ีสามารถจะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ เมื่อพจิ ารณาไฟฟา้ ท่ีปอ้ นให้
ฮตี เตอร์หมุ้ บาเรลขนาดเสน้ ผา่ ศนู ย์กลาง 15 เซนติเมตร ความยาว 1 เมตร อุณหภูมิผวิ 140 องศาเซลเซียส
พบวา่ เปน็ ส่วนของการหลอมพลาสติกเพียงร้อยละ 10-20 และสะสมความร้อนในแท่งบาเรลและแม่พิมพ์
ร้อยละ 60 ที่เหลือร้อยละ 20 เป็นความร้อนสญู เสียผา่ นผิวบาเรล ความร้อนปริมาณนี้นอกจากสิ้นเปลือง
พลังงานแล้วยงั ทำใหพ้ ื้นท่ีทำงานร้อนขึ้นอนึ่งการเพิ่มประสทิ ธภิ าพความรอ้ น (Thermal Etficiency) โดย

9

การหมุ้ ฉนวนภายนอกกระบอกพลาสติก สามารถช่วยลดการทำงานของ Heater ไฟฟา้ ลงได้ เทยี บเปน็ การ
ประหยัดได้ ประมาณ 20%
7. กระบวนการขน้ึ รปู พลาสติก

กระบวนการขึ้นรูปพลาสติกนั้นมีความหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับวิธีการและชนิดของผลิตภัณฑ์
พลาสติก ซึ่งสามารถแบ่งตามชนดิ ของผลิตภณั ฑ์พลาสติกไดด้ ังน้ี

1. Blow Molding
เป็นการเปา่ ขนึ้ รูปขวดพลาสติกจากวัตถุดิบเม็ดพลาสติกชนิด HDPE เปน็ ส่วนใหญ่ หรือ PP, PE
เป็นตน้ โดยนำเมด็ พลาสติกมาหลอมใน Extruder ใช้ความร้อนจากแผ่นความรอ้ นไฟฟ้า จากนั้นสกรูจะทำ
การอดั พลาสตกิ เหลว จากหลกั การขับเคลอ่ื นสกรแู ละการเปิด-ปดิ แมพ่ ิมพ์ (Mold) ดว้ ยระบบ Hydraulics
ส่งผา่ น Die Head ออกมาเปน็ ลกั ษณะทรงกระบอก (Parison) จากนน้ั Mold จะเคล่ือนตัวมาประกบแล้ว
เป่าลมโดยใช้อากาศอัด เพื่อให้เนื้อพลาสตกิ ขยายจนเตม็ แม่พิมพ์ (Mold) เมื่อเต็ม Mold แล้วจะมีนำ้ เยน็
จากเครือ่ งทำน้ำเย็น (Chiller) ไหลมาหล่อเย็นชิน้ งานใหแ้ ข็งตวั คงรูปตามแมพ่ ิมพ์ท่ีต้องการผลิตภัณฑ์ท่ีได้
จากการขึ้นรูปด้วย Blow Molding ได้แก่ ขวดบรรจุภัณฑ์ประเภท ขวดน้ำมันเครื่อง แกลลอนน้ำมัน
ขวดแชมพู ขวดนมเปรี้ยว ขวดนำ้ หมกึ เป็นต้น
2. Injection Molding
เป็นการขึ้นรูปแบบฉีด จะเริ่มจากวัตถดุ ิบจำพวกผงหรอื เม็ดพลาสติกลงในฮอปเปอร์ จากนั้นจะ
ถูกเกลียวหนอนหมุนส่งไปยังดา้ นหน้าของกระบอกสูบ ซึ่งมีแผน่ ความรอ้ นไฟฟ้าทำให้พลาสติกหลอมเหลว
หลังจากนั้นจะเคลื่อนเกลียวหนอนให้ดันพลาสติกผ่านหัวฉีดเข้าไปยังแม่พิมพ์ซึ่งปิดอยู่ แม่พิมพ์จะมีการ
หลอ่ เยน็ ด้วยนำ้ เยน็ ทผี่ ลติ จากเครื่องทำนำ้ เยน็ (Chiller) เพ่ือทำใหช้ ้นิ งานเย็นและแขง็ ตัว สามารถถอดออก
จากแม่พิมพ์ได้ในระยะสั้น จากนั้นจึงจะนำชิ้นงานไปตกแต่งต่อไป ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการขึ้นรูปด้วย
Injection Molding ได้แก่ อุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ชิ้นส่วนรถยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ของใช้ใน
ครัวเรือน, ของเลน่ เด็ก เปน็ ตน้
3. Compression Molding
เป็นการขึ้นรูปโดยการนำผงพลาสติกที่แข็งตัวมาอัดในแม่พิมพ์ภายใต้ความดันและอุณหภูมิ
ที่เหมาะสม ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ใช้ในกระบวนการนี้ คือ ผงเมลามีน ขั้นตอนการผลิตเริ่มจากนำผง
พลาสติกมาชั่งให้ได้น้ำหนักตามที่ต้องการ จากนั้นจึงนำไปอบไล่ความชื้นและเป็นการอุ่นวัตถุดบิ ก่อนเข้า
แม่พิมพ์ จากนั้นใหน้ ำไปใสแ่ มพ่ ิมพ์ พอเร่มิ อดั ให้พลาสติกแพร่ตวั ไปตามช่องว่างของแม่พมิ พจ์ ะเร่ิมชะลอลง
เพื่อให้พลาสติกได้รับความร้อนจากแม่พิมพ์ทั่วถึงยิ่งขึ้น เมื่อถึงตำแหน่งสุดท้ายจะถึงช่วงเวลาแข็งตัวของ
พลาสติกโดยไมต่ อ้ งหล่อเยน็ จากน้นั จึงเปดิ แม่พิมพ์เพ่ือนำชิ้นงานออกมาได้ ผลิตภัณฑ์ท่ีได้จากการข้ึนรปู ด้วย
Compression Molding ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเมลามีน เช่น จาน, ชาม, ถ้วย, ช้อน, เครื่องใช้ใน
ครวั เรือน, ที่เข่ียบหุ รี่ เป็นต้น
4. Extrusion
เป็นกระบวนการขึ้นรูปสำหรับ เครื่องอดั รดี พลาสติก หรือ เครื่องรีดพลาสติก โดยเม็ดพลาสตกิ
จะเข้าสู่เครื่องทาง Hopper จากนั้นจะถูกหลอมภายในเครื่องอัดรีด (Extruder) โดยอาศัยทั้งความร้อน
แรงเฉือน และความดัน พลาสติกหลอมจะถูกดันออกสู่แม่พิมพ์ (Mold) ที่บริเวณปลายเปิด (Die) เพื่อขึ้นรูปตาม
ต้องการ พลาสติกหลอมที่ออกจากหน้า Die เรียกว่า Extrudate ในบางกระบวนการจะมีการให้ความเย็น
(Cooling) หลังจากพลาสติกออกจากหน้า Die แล้วเพื่อให้คงรูปตามที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการขึ้นรปู

10

ดว้ ย Extrusion ไดแ้ ก่ ถุงพลาสตกิ , แผ่นฟลิ ์มบาง, เส่อื นำ้ มัน, ทอ่ PVC, ท่อน้ำ, กระสอบพลาสติก เป็นต้น
(http://www.guangleeplastic.com/Article)

8. งานวจิ ัยทเี่ กย่ี วขอ้ ง
สมศกั ด์ิ และคณะ (2550) ศึกษาการออกแบบชุดเตาเผาขยะท่ีสามารถดกั ควนั จากการเผาได้โดย

ใช้ระบบดักควันแบบ ละอองน้ำร่วมกับ Cyclone มีผลทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กมากที่ลอยมาปะปนกับ
อากาศเสยี ที่ปล่อยออกมาจากปล่องควัน จะจับตวั กบั ละอองน้ำทำให้มีน้ำหนกั เพมิ่ ขนึ้ จึงทำให้อากาศเสีย
(ควัน) ที่ผ่านระบบบำบัดแล้วมฝี ุ่นละอองลดน้อยลง น้ำที่ระบายจากระบบบำบัดจะมีสีดำ จึงแสดงให้เห็น
ได้ว่าฝุ่นละอองสีดำถกู จับตวั อยู่กับน้ำ

ศศิธร (2550) ศึกษาการออกแบบระบบบำบัดฝนุ่ ที่ระบายจากปล่องโรงสีข้าวโดยการดักจับด้วย
หยดน้ำ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำต่ออัตราการไหลของอากาศ และศึกษาขนาดของ
หยดน้ำที่เหมาะสมในการดักจับฝุ่นละอองที่ระบายออกจากปล่องโรงสีข้าว จากการศึกษาพบว่าอัตรา
การไหลของน้ำต่ออัตราการไหลของอากาศท่ีนอ้ ยท่ีสุดคือ 0.086 ลิตรต่อลกู บาศก์เมตร เปน็ ค่าท่ีเหมาะสม
ที่สุดที่จะทำให้ค่าความทึบแสงของเขม่า ควันออกจากปล่องโรงสี ไม่เกินร้อยละ 20 และถ้าต้องการให้
ค่าความทึบแสงของเขม่าควัน มีค่าต่ำกว่าร้อยละ 10 ต้องใช้อัตราการ ไหลของน้ำต่ออัตราการไหลของ
อากาศอยา่ งนอ้ ย 0.133 ลติ รต่อลูกบาศก์เมตร และอตั ราการไหลของนำ้ ต่ออัตราการไหลของอากาศที่น้อย
ที่สุดคือ 0.117 ลิตรต่อลูกบาศก์เมตร ที่จะทำให้ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นละอองเพียงพอและค่าความ
เข้มขน้ ของฝุ่นละอองไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 320 มลิ ลิกรมั ตอ่ ลกู บาศกเ์ มตร

วิโรจน์ และคณะ (2552) การกำจัดไอระเหยของ Buty1 Oxtailจากโรงงานเคลือบผิวโลหะด้วย
Wet Scrubber จากการทดลอง พบว่า การดูดซับในช่วงแรกของทุกอัตราการไหล มปี ระสทิ ธิภาพ รอ้ ยละ 100
จากนั้นประสิทธิภาพในการดูดซับจะลดลง เป็นร้อยละ 60 ร้อยละ 60 และร้อยละ 30 สำหรับอัตราการไหล
24.7 19.2 และ 14.6 ลกู บาศกเ์ มตรตอ่ ชั่วโมง ตามลำดบั ในสว่ นของการทดลองด้วยเครอ่ื ง Wt Scrubber
ขนาดเลก็ ในหอ้ งปฏิบัติการ จากการทดลองพบว่า ประสทิ ธภิ าพ ในการดูดซับจะเพิ่มขนึ้ เม่ืออัตราการไหล
ของไอระเหย และ Loading ratio เพิ่มขึ้นแต่ประสิทธิภาพกลับลดลง เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นนอกจากนี้
ประสิทธภิ าพในการดูดซับจะลดลง เมือ่ ความเข้มข้นของ BO ในนนั้ มคี ่า 12,000 พีพีเอม็ สว่ นค่าอัตราการ
ดูดซบั ในเฟสกา๊ ซและเฟสของเหลว มีคา่ เทา่ กับ 1.89 x 10 -5 กิโลกรัม/ลูกบาศกเ์ มตรวินาทีและ 1.92x10-5
กโิ ลกรัม/ลูกบาศก์เมตร.วนิ าที ตามลำคับ

11

บทท่ี 3
วิธดี ำเนนิ การ

โครงงานเร่ือง เครื่องหลอมถงุ พลาสตกิ รักษโ์ ลก ของนกั ศึกษา กศน.อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้า เอกสารที่เกี่ยวข้อง จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ประดิษฐ์พร้อมทั้งสรุปขั้นตอนการ
ดำเนนิ งานการประดษิ ฐ์เคร่ืองหลอมถุงพลาสติกรักษโ์ ลก โดยมรี ายละเอยี ดดังตอ่ ไปน้ี

3.1.วัสดุอุปกรณ์

1. ทราย จำนวน 3 กโิ ลกรมั

2. เตาแกส๊ จำนวน 1 เตา

3. ถุงพลาสตกิ จำนวน 9 กโิ ลกรัม

4. ถงุ มือ จำนวน 3 คู่

5. ถังเหลก็ แบบมีฝาเปิดขนาด 30 ลิตร จำนวน 1 ถงั

6. แผน่ เหล็กหนา 5 มิลลิเมตร จำนวน 1 แผน่

7. ทอ่ ประปาเหล็ก ขนาด 6 หนุ หรือ 3/4 นิ้ว จำนวน 2 เส้น

8. เหล็กหนา้ แปลนปัม๊ น้ำขนาด 6 หนุ หรอื 3/4 น้ิว จำนวน 3 อัน

9. บอลวาลว์ ขนาด 3/4 นว้ิ จำนวน 1 อัน

10.ขอ้ งอทอ่ นำ้ ประปาเหลก็ ขนาด 6 หนุ หรือ 3/4 นว้ิ จำนวน 2 อัน

11. สายยางขนาด 6 หุน หรือ 3/4 นว้ิ จำนวน 1.50 เมตร

12. ถังน้ำ 20 ลติ ร จำนวน 1 ถัง

13. ตลบั เมตร จำนวน 1 อัน

14. ไม้บรรทัด จำนวน 1 อัน

15. เคร่ืองเชือ่ มเหล็ก จำนวน 1 เครื่อง

16. เครือ่ งต๊าปเกลียวท่อมอื หมนุ จำนวน 1 เครื่อง

17. พัดลมดูดอากาศ ขนาด 12 โวลต์ จำนวน 1 ตัว

18. เครื่องเจียร จำนวน 1 เครือ่ ง

19. สวา่ น จำนวน 1 เครื่อง

20. เลอ่ื ยตัดเหลก็ จำนวน 1 ป้ืน

21. ปลอกรดั ท่อ จำนวน 1 อัน

วิธีการดำเนนิ งาน มขี น้ั ตอนการดำเนินงาน 2 ขั้นตอน คอื
ข้นั ตอนที่ 1 การประดษิ ฐ์เครอื่ งหลอมถุงพลาสติกรกั ษ์โลก และข้นั ตอนท่ี 2 การทดสอบ

ประสิทธิภาพของเครอ่ื งหลอมถงุ พลาสติกรักษ์โลก โดยมีวิธกี ารดงั นี้

12

ขน้ั ตอนท่ี 1 การประดิษฐ์เคร่ืองหลอมถงุ พลาสติกรักษ์โลก
1. ออกแบบโครงสร้างของเคร่ืองหลอมถงุ พลาสติกรักษ์โลก

ภาพท่ี 1 แบบโครงสร้างเครือ่ งหลอมถงุ พลาสตกิ รักษ์โลก
2. การประดษิ ฐ์เครื่องหลอมถุงพลาสติกรกั ษโ์ ลก

2.1 นำถังเหลก็ ขนาด 30 ลติ ร ตดั ดว้ ยเครอื่ งเจยี รให้ได้ความสงู 25 เซนตเิ มตร

ภาพที่ 2 ตัดถังเหลก็ ดว้ ยเครื่องเจยี ร
2.2 ใชส้ วา่ นเจาะรฝู าถงั เหลก็ ขนาด ¾ นิ้ว เพือ่ เชื่อมเหลก็ หน้าแปลนป๊ัมนำ้ ใช้สำหรบั สอดท่อไมพ้ าย

ภาพท่ี 3 เจาะฝาถังเหลก็

13
2.3) ใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดท่อน้ำเหล็ก ให้ได้ขนาด 50 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น 30 เซนติเมตร
จำนวน 1 เส้น และ 25 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น เพื่อทำที่จบั และไมพ้ ายสำหรับคนถงุ พลาสติกในถังเหล็ก
ขึ้นเกลียวยาว 1 น้วิ โดยเคร่อื งต๊าปเกลียวมือหมนุ และใช้ข้องอเหล็กเป็นตวั เชอื่ ม

ภาพที่ 4 ท่อนำ้ เหล็กที่ประกอบเพ่อื ทำที่จบั และไม้พาย
2.4) ใช้เครื่องเจยี รตัดแผ่นเหล็ก ขนาด 25 เซนติเมตร x 5 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น ใช้เครื่องเชื่อม
เหล็กเชอ่ื มแผ่นเหล็กติดกบั ไมพ้ าย

ภาพที่ 5 ไมพ้ ายสำหรับคนถงุ พลาสติก
2.5) เชอื่ มเหลก็ เพือ่ ทำฐานสำหรบั วางเคร่ืองหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก

ภาพท่ี 6 ฐานวางเครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก
2.6) ใช้สว่านเจาะรูบริเวณด้านข้างของถังเหล็ก จำนวน 1 รู และเชื่อมเหล็กหน้าแปลนปั๊มน้ำ
นำท่อประปาเหล็ก ยาว 135 เซนติเมตร ขึ้นเกลียวยาว 1 นิ้ว โดยเครื่องต๊าปเกลียวมือหมุน ต่อกับเหล็ก
หน้าแปลนปัม๊ นำ้ แล้วนำสายยางขนาด 6 หนุ ตอ่ กบั ปลายทอ่ ประปาเหล็กโดยใช้ปลอกรัดท่อเป็นตัวยึดติดกัน

ภาพที่ 7 ตอ่ ท่อประปาเหลก็ ข้นึ เกลียวกับเหล็กหนา้ แปลนป๊มั นำ้

14
2.7) นำถังน้ำ ขนาด 20 ลิตร จำนวน 1 ถงั เจาะรูบริเวณด้านบนของถงั น้ำ จำนวน 2 รู สำหรบั ใส่สายยาง
เพอ่ื ดดู ควันและกลนิ่ จากเคร่อื งหลอมถุงพลาสติกรกั ษ์โลก

ภาพท่ี 8 ถงั สำหรบั ดูดควันและกลิ่นจากเครอ่ื งหลอมถุงพลาสติกรกั ษ์โลก
2.8) นำพัดลมดูดอากาศมาตดิ ระหว่างสายยางกับเครื่องหลอมถงุ พลาสตกิ รักษโ์ ลก เพือ่ เพิ่มความเร็วลม
ในท่อส่งลมเพื่อใช้ระบายกลนิ่ ควนั จากเคร่ืองหลอมถงุ พลาสติกรกั ษโ์ ลก

ภาพท่ี 9 ติดต้งั พัดลมดูดอากาศ
2.9) นำส่วนประกอบท้ังหมดประกอบเข้าด้วยกันได้เครื่องหลอมถงุ พลาสติกรกั ษ์โลก

ภาพท่ี 10 เคร่ืองหลอมถงุ พลาสติกรกั ษโ์ ลก

15

ขัน้ ตอนท่ี 2 การทดสอบประสิทธภิ าพของเครอื่ งหลอมถุงพลาสตกิ รักษโ์ ลก
1. นำทราย จำนวน 1 กิโลกรัม ใส่ลงไปในเครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก คั่วทรายโดยใช้

ความรอ้ นจากเตาแก็สหงุ ตม้ ใชร้ ะยะเวลา 5 นาที
2. นำถุงพลาสติกที่เตรยี มไว้ จำนวน 1 กิโลกรัม ใส่ลงไปผสมทำการค่ัวผสมให้เข้ากนั โดยใช้

ระยะเวลาในการคั่ว 20 นาที เพื่อศึกษาระยะเวลาในการหลอมถุงพลาสติกที่ดีที่สุด ลักษณะการ
เปล่ยี นแปลงของถงุ พลาสติก ลักษณะสคี วันทเี่ กดิ จากการหลอมถงุ พลาสตกิ และลกั ษณะการขึ้นรูปชน้ิ งาน

3. ทำการทดสอบซ้ำ จำนวน 3 ครงั้ สังเกตและบันทึกผล

16

บทท่ี 4
ผลการศกึ ษา

จากการศึกษาโครงงาน เร่อื ง เครอื่ งหลอมถงุ พลาสติกรักษ์โลก ได้ทำการศึกษา 2 ขน้ั ตอน คอื
ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก และขั้นตอนที่ 2 การทดสอบ
ประสิทธภิ าพของเครื่องหลอมของถงุ พลาสตกิ รักษ์โลก ดังน้ี
ขนั้ ตอนท่ี 1 ออกแบบและประดษิ ฐ์เคร่ืองหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก

ได้ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก โดยประดิษฐ์มาจากถังเหล็กเก่า
ซึ่งมีคุณสมบัติทนความร้อน โดยใช้กระบวนการหลอมของทรายละเอียดกบั ถุงพลาสติก โดยติดตั้งท่อเหล็ก
พดั ลมดูดอากาศเพื่อดูดควันซง่ึ เกิดจากการหลอมของถงุ พลาสติก และระบายอากาศผา่ นสายยางลงสูถ่ งั นำ้

ภาพท่ี 11 เครอ่ื งหลอมถงุ พลาสติกรกั ษ์โลก

ลักษณะเดน่ ของเคร่อื งหลอมถงุ พลาสติกรักษ์โลก
1. สามารถประดษิ ฐ์เองได้
2. ลดปริมาณควันซง่ึ เกดิ จากการหลอมของถงุ พลาสติกได้
3. ชว่ ยลดปริมาณถงุ พลาสตกิ ได้
4. ช้นิ งานมนี ้ำหนกั เบา ไม่แตกเปราะงา่ ย และมคี วามคงทนแข็งแรง

ประโยชนข์ องเคร่อื งหลอมถุงพลาสตกิ รกั ษโ์ ลก
1. ชว่ ยลดปรมิ าณขยะประเภทถงุ พลาสติกทยี่ อ่ ยสลายยากได้
2. สามารถนำถงุ พลาสติกที่ผ่านการหลอมเหลวมาข้ึนรปู เป็นผลติ ภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ได้ ดังน้ี

ทราย 2 กโิ ลกรมั + ถุงพลาสติก 2 กิโลกรัม 1 กระถาง
ทราย 1 กโิ ลกรัม + ถุงพลาสตกิ 1 กโิ ลกรัม 1.5 กอ้ น

17

ทราย 1 กิโลกรัม + ถงุ พลาสตกิ 1 กิโลกรมั 2 กอ้ น

ข้อจำกดั เครือ่ งหลอมถุงพลาสติกรักษโ์ ลก
1. การใช้งานควรสวมถุงมือ และใช้ความระมัดระวงั ในการใชเ้ คร่ืองหลอมถงุ พลาสตกิ รักษ์โลก
2. สามารถหลอมไดเ้ ฉพาะถุงพลาสติก

ข้ันตอนท่ี 2 การทดสอบประสิทธภิ าพของเคร่อื งหลอมของถงุ พลาสติกรกั ษโ์ ลก
ไดท้ ำการทดสอบประสิทธิภาพของเครอ่ื งหลอมของถงุ พลาสติกรักษ์โลก โดยนำทราย จำนวน

1 กิโลกรมั ใสล่ งไปในเคร่ืองหลอมถุงพลาสตกิ รักษ์โลก ทำการคั่วทรายโดยใช้ความรอ้ นจากเตาแก็สหุงต้ม

ใช้ระยะเวลาในการคัว่ ทราย 5 นาที แลว้ นำถงุ พลาสติกท่ีเตรียมไว้ จำนวน 1 กิโลกรมั ใส่ลงไปผสมทำการ

คั่วผสมให้เข้ากัน โดยใช้ระยะเวลาในการคั่ว 20 นาที ทำการทดสอบซ้ำ จำนวน 3 ครั้ง ได้ผลการทดสอบ

ดังนี้

ตารางการทดสอบประสิทธภิ าพของเครอื่ งหลอมถงุ พลาสตกิ รักษ์โลก

ผลการทดสอบ

การทดสอบ ระยะเวลา ลกั ษณะการเปลีย่ นแปลง ลักษณะสีควนั ที่ ลักษณะการขึ้น
ครง้ั ที่ (นาท)ี ของถุงพลาสตกิ เกิดจากการ รปู ช้นิ งาน
หลอม
คร้ังที่ 1 10 ถงุ พลาสตกิ ออ่ นตัวและผสม ถุงพลาสตกิ ผวิ เรียบ มีรูพรนุ
กับทรายเป็นเนอื้ เดยี วกัน สีเทาเข้ม และแขง็ ตวั
ครงั้ ท่ี 2 15 มีสนี ำ้ ตาลเขม้ ลักษณะเหลว
ถงุ พลาสติกออ่ นตวั และผสม สีเทาออ่ น ผิวเรยี บ มีรพู รนุ
ครัง้ ที่ 3 20 กบั ทรายเป็นเนื้อเดียวกัน เลก็ น้อยและ
มีสดี ำ ลกั ษณะข้น สีขาว
ถุงพลาสติกออ่ นตวั และผสม แข็งตัว
กับทรายเป็นเนอ้ื เดยี วกนั ผิวเรียบ เนียน
มสี ีดำ ลักษณะขน้ หนดื และแข็งตัว

จากตารางการทดสอบประสิทธิภาพของเครอ่ื งหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก เมื่อผา่ นกระบวนการ
หลอมโดยใช้เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก ทดสอบจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ครั้งที่ 1 ระยะเวลา 10 นาที
ถงุ พลาสตกิ มีลักษณะออ่ นตัวและผสมกับทรายเปน็ เน้อื เดียวกัน มีสีนำ้ ตาลเขม้ ลักษณะเหลว ลักษณะของ

ควันมีสีเทาเข้ม เมื่อนำไปขึ้นรูป ชิ้นงานที่ได้มีลักษณะมีผิวเรยี บ มีรูพรุน และแข็งตัว ครั้งที่ 2 ระยะเวลา
15 นาที ถุงพลาสติกมีลักษณะอ่อนตัวและผสมกับทรายเปน็ เนื้อเดียวกัน มีสีดำ ลักษณะข้น ลักษณะของ

ควนั มีสีเทาอ่อน เมอ่ื นำไปข้นึ รูป ช้ินงานท่ีไดม้ ีลักษณะมีผิวเรียบ มีรพู รนุ เลก็ นอ้ ยและแข็งตัว และคร้ังที่ 3

18

ระยะเวลา 20 นาที ถุงพลาสติกมีลักษณะอ่อนตัวและผสมกับทรายเป็นเน้ือเดียวกัน มีสีดำ ลักษณะข้น
หนืด ลกั ษณะของควนั ทมี่ สี ีขาว เมือ่ นำไปข้ึนรปู ชน้ิ งานท่ไี ด้มลี กั ษณะมผี ิวเรยี บ เนยี นและแขง็ ตวั

จากผลการทดสอบข้างต้น จึงสรุปได้ว่า ระยะเวลาทเี่ หมาะสำหรบั การหลอมถุงพลาสติกทดี่ ี
ทส่ี ุด คอื ระยะเวลา 20 นาที ซง่ึ ถุงพลาสติกอ่อนตัวและผสมกับทรายเป็นเนอ้ื เดยี วกัน มสี ีดำ ลกั ษณะขน้
หนืด ควันมสี ีขาว เจอื ปนอยใู่ นอากาศในปริมาณน้อยจงึ สง่ ผลกระทบทไี่ ม่รุนแรงตอ่ คณุ ภาพชวี ิตเมื่อนำไป
ขึ้นรปู เป็นชนิ้ งานต่าง ๆ ชน้ิ งานที่ได้มีผวิ เรียบเนียนไมแ่ ตกเปราะงา่ ยและมคี วามคงทนแข็งแรง

19

บทท่ี 5
สรุปผลการศึกษา อภปิ รายผลและขอ้ เสนอแนะ

5.1 สรปุ ผลการศกึ ษา
1. ออกแบบและประดษิ ฐ์เครอื่ งหลอมถงุ พลาสตกิ รักษโ์ ลก
ได้เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก ที่ประดิษฐ์มาจากถังเหล็กเก่า ซึ่งมีคุณสมบัติทนความร้อน

โดยใช้กระบวนการหลอมของทรายกับถุงพลาสติก โดยติดตั้งท่อเหล็ก พัดลมดูดอากาศเพ่ือดูดควนั ซึง่ เกดิ
จากการหลอมของถงุ พลาสติก และระบายอากาศผา่ นสายยางลงสถู่ งั น้ำ

2. การทดสอบประสทิ ธิภาพของกระบวนการหลอมของถงุ พลาสตกิ
การทดสอบประสทิ ธิภาพของเครื่องหลอมถุงพลาสตกิ รักษโ์ ลก เม่อื ผา่ นกระบวนการหลอมโดย
ใช้เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก ทดสอบจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ระยะเวลาที่เหมาะสำหรับการหลอม
ถุงพลาสตกิ ทด่ี ที ่สี ดุ คือ ระยะเวลา 20 นาที ซ่งึ ถุงพลาสติกออ่ นตวั และผสมกับทรายเปน็ เนอื้ เดียวกัน มีสี
ดำ ลกั ษณะขน้ หนดื ควันมสี ขี าว เจอื ปนอยใู่ นอากาศในปริมาณนอ้ ยจึงส่งผลกระทบท่ไี ม่รนุ แรงตอ่ คุณภาพ
ชีวิตเมื่อนำไปขึ้นรูปเป็นชิ้นงานต่าง ๆ ชิ้นงานที่ได้มีผิวเรียบเนียนไม่แตกเปราะง่ายและมีความคงทน
แข็งแรง

ทราย 2 กิโลกรมั + ถงุ พลาสติก 2 กโิ ลกรมั 1 กระถาง
(สามารถลดปริมาณถุงพลาสติกได้ 170 ใบ)

ทราย 1 กโิ ลกรมั + ถงุ พลาสติก 1 กิโลกรมั 1.5 กอ้ น
(สามารถลดปรมิ าณถงุ พลาสตกิ ได้ 85 ใบ)

ทราย 1 กโิ ลกรมั + ถงุ พลาสตกิ 1 กิโลกรัม 2 ก้อน
(สามารถลดปรมิ าณถงุ พลาสติกได้ 85 ใบ)

5.2 อภิปรายผล

1. เครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลก ท่ีประดิษฐ์มาจากถังเหล็กเก่า ซึ่งมีคุณสมบัติทนความร้อน
โดยใช้กระบวนการหลอมของทรายกับถุงพลาสติก โดยติดตั้งท่อเหล็ก พัดลมดูดอากาศเพ่ือดูดควนั ซึง่ เกดิ
จากการหลอมของถงุ พลาสติก และระบายอากาศผ่านสายยางลงสถู่ ังน้ำ สามารถประดษิ ฐ์เองได้ ใช้งานได้

20

ง่าย และลดปริมาณควันที่เกิดจากการหลอมถงุ พลาสติกได้ ช่วยลดมลพิษทางอากาศซึ่งเปน็ ปัญหาที่ส่งผล
กระทบตอ่ คุณภาพชวี ติ

2. การหลอมถุงพลาสติกรักษ์โลกด้วยเครื่องหลอมถุงพลาสติกรักษโ์ ลก สามารถหลอมถุงพลาสตกิ
ให้ผสมเข้ากับทรายมีลักษณะข้น เหนียว ลักษณะของควันที่เกิดจากการหลอมถุงพลาสติกมีสีขาว จาก
การศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ได้จากบทที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับควัน ซึ่งควันที่มีสีขาว หมายถึง ภาวะอากาศที่มี
สารเจือปนอยู่ในปริมาณน้อย จึงส่งผลกระทบที่ไม่รุนแรงต่อคุณภาพชีวิต เมื่อนำถุงพลาสติกที่ผ่านการ
หลอมไปขึ้นรปู เป็นชิ้นงานต่าง ๆ จะไดช้ นิ้ งานทีไ่ ดม้ ผี วิ เรียบ ไม่แตกเปราะงา่ ย มีความคงทนแข็งแรง และมี
น้ำหนักเบาสอดคล้องกับสมมุติฐานทีต่ ้ังไว้ ซึ่งสอดคล้องกบั งานวิจัยของ สมศักดิ์ และคณะ (2550) ศึกษา
การออกแบบชุดเตาเผาขยะที่สามารถดักควันจากการเผาได้โดยใช้ระบบดักควันแบบ ละอองน้ำร่วมกับ
Cyclone มีผลทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กมากที่ลอยมาปะปนกับอากาศเสียที่ปล่อยออกมาจากปล่องควัน
จะจับตัวกับละอองน้ำทำให้มีนำ้ หนักเพิ่มข้ึน จึงทำให้อากาศเสีย(ควัน) ที่ผ่านระบบบำบัดแลว้ มีฝ่นุ ละออง
ลดนอ้ ยลง นำ้ ที่ระบายจากระบบบำบัดจะมสี ดี ำ จงึ แสดงใหเ้ ห็นได้ว่าฝุ่นละอองสดี ำถกู จับตวั อยู่กับน้ำ

5.3 ข้อเสนอแนะ
1. เครอ่ื งหลอมถุงพลาสตกิ รักษ์โลกสามารถนำไปพฒั นาตอ่ ยอด เพือ่ ผลติ เป็นเคร่อื งหลอม

ถุงพลาสติกรกั ษ์โลกท่ีทันสมยั และมปี ระสิทธิภาพมากยิ่งขน้ึ
2. เครื่องหลอมถุงพลาสติกรกั ษโ์ ลก ควรหลอมพลาสตกิ ประเภทอื่น ๆ ได้
3. ควรพัฒนาเครอ่ื งน้ใี ห้เป็นแบบไรค้ วัน

21

บรรณานกุ รม

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2548). คู่มอื การอนรุ ักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ประเภทพลาสติก. กรุงเทพมหานคร: โครงการอนรุ กั ษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมท่ีนอกเหนอื จาก
โรงงานควบคมุ ตามพระราชบญั ญตั ิการสง่ เสรมิ อนรุ กั ษ์พลงั งาน พ.ศ. 2535.

กระทรวงวิทยาศาสตรเ์ ทคโนโลยีและสง่ิ แวดล้อม. (2540). ความหมายของขยะ. ชลบุร:ี การจัดการขยะมูล
ฝอยของครวั เรอื น พ.ศ. 2554.

กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. (2540). ประเภทของขยะมูลฝอย. ชลบุรี: การจัดการขยะ
มูลฝอยของครวั เรอื น พ.ศ. 2554.

กระบวนการข้นึ รปู พลาสติก. (2560). สืบค้น 15 ธนั วาคม 2563, สืบคน้ จาก www.guangleeplastic.com
/Article.

ความรเู้ กย่ี วกบั ทราย. (2560). สืบค้น 10 ธันวาคม 2563, สืบค้นจาก https://www.novabizz.com
/CDC/Materials/105-Sand.htm.

พลาสตกิ ประเภทเทอรโ์ มพลาสตกิ . (2562). สบื ค้น 24 ธนั วาคม 2563, สืบค้นจาก https://sites.google.com
/site/plastic9911.

ราชบัณฑติ ยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ. 2542. กรงุ เทพมหานคร:
นานมีบคุ๊ สพ์ บั ลเิ คชนั่ สจ์ ำกัด.

วรรณธณี กองจนั ทร์ดี. (2555). ความหมายของขยะ. กรุงเทพมหานคร: คณะพัฒนาสังคมและ
สง่ิ แวดลอ้ ม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั รงั สิต.

วิโรจน์ บญุ อำนวยวทิ ยาและคณะ. (2552). การกำจดั ไอระเหยของ Butyl Oxitol จากโรงงานเคลือบผิว
โลหะด้วย Wet Scrubber. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร.ี

ศศธิ ร สนขำ. (2550). ศกึ ษาการออกแบบระบบบำบดั ฝุน่ ระบายจากปล่องโรงสีขาวโดยการดกั จับ
ด้วยหยดนำ้ . กรุงเทพมหานคร: คณะวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยมี หาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์.

สมศกั ด์ิ รัตนเชาวแ์ ละคณะ. (2550). เตาเผาขยะไรค้ วันเอนกประสงค์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม.
กรงุ เทพมหานคร: มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย.

สมาคมอตุ สาหกรรมพลาสติกไทย. (2553). ทำเนียบผู้ประกอบการอตุ สาหกรรมพลาสติก. สืบคน้ 30
พฤศจกิ ายน 2563, สืบคน้ จาก http://www.tpia.org/news/plasticnews.asp.

สมาคมอุตสาหกรรมพลาสตกิ . (2553). ความรู้เก่ียวกบั พลาสตกิ . สบื ค้น 30 พฤศจิกายน 2563,
สืบคน้ จาก http://www.tpia.org/news/plasticnews.asp.


Click to View FlipBook Version