รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 1
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 1 คำนำ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ในฐานะหน่วยงานส่วนภูมิภาค มีบทบาทภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในด้านต่าง ๆ ยังคงมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาของคน สังคม และชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เสริมสร้างสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง เพราะครอบครัวที่เข้มแข็งเป็นรากฐาน ของการพัฒนาคน พร้อมทั้งปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในจังหวัดมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม โดยปีงบประมาณ ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ได้ขับเคลื่อนบทบาทภารกิจผ่าน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ จึงได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของสำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองหนองคาย ประจำปี 2566 เนื้อหาประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปจังหวัดหนอง หนองคาย 2) รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดหนองคาย 3) โครงการตามบทบาทภารกิจของสำนักงานพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2566 ได้แก่ งานด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือ งานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์งานด้านเด็กและเยาวชน งานด้านสตรีและครอบครัว งานด้าน ผู้สูงอายุงานด้านคนพิการ งานด้านเครือข่ายและอาสาสมัคร การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามบทบาท ภารกิจของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2566 ในครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ให้สนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุตามเป้าประสงค์ได้ อย่างดี คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสรุปผลการดำเนินตามบทบาทภารกิจของสำนักงานพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2566 ฉบับนี้จะสามารถนำไปเป็นแนวทางหรือทิศทางในการช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในจังหวัดหนองคายให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืน ต่อไป สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ตุลาคม 2566
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 2 สารบัญ คำนำ ..............................................................................................................................................................1 สารบัญ ...........................................................................................................................................................2 ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด.................................................................................................................4 1.1 ประเด็นด้านพื้นที่และประชากร..........................................................................................................4 1.1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต........................................................................................................................4 1.1.2 ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ..............................................................................................4 1.1.3 พื้นที่การปกครอง..........................................................................................................................5 1.1.4 โครงสร้างประชากร......................................................................................................................5 1.2 ประเด็นด้านสุขภาพ............................................................................................................................6 1.2.1 หน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐและภาคเอกชน............................................................................6 1.2.2 ทรัพยากรด้านสาธารณสุข............................................................................................................7 1.2.3 ภาวะสุขภาพ ความเจ็บป่วย และการตาย.....................................................................................8 1.3 ประเด็นด้านเศรษฐกิจ รายได้ และการทำงาน ..................................................................................10 1.3.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด...........................................................................................................10 1.3.2 รายได้ หนี้สิน ความไม่เสมอภาคของรายได้และการออม...........................................................10 1.3.3 ภาวะการมีงานทำ.......................................................................................................................13 1.3.4 ผู้ประกันตน ................................................................................................................................16 1.4 ประเด็นด้านการศึกษา......................................................................................................................16 1.4.1 สถานศึกษา.................................................................................................................................16 1.4.2 เด็กที่เข้าถึงระบบการศึกษาภาคบังคับ ........................................................................................17 1.4.3 กลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงด้านการศึกษา..........................................................................................17 1.4.4 ปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ..........................................................................18
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 3 1.5 ประเด็นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ..............................................................................19 1.5.1 การรับแจ้งคดีอาญาตามฐานความผิด.........................................................................................19 1.5.2 อุบัติเหตุบนท้องถนน ..................................................................................................................19 1.6 ด้านที่อยู่อาศัย................................................................................................................................201 ส่วนที่ 2 สถานการณ์ทางสังคมจังหวัดหนองคาย.........................................................................................22 ส่วนที่ 3 ข้อมูลทั่วไปสำนักงานพัฒฯสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย...............................27 ส่วนที่ 4 ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566................................................................................32 ส่วนที่ 5 โครงการ/กิจกรรมตามกลุ่มเป้าหมาย............................................................................................33 5.1 ด้านเด็กและเยาวชน .........................................................................................................................33 5.2 ด้านสตรีและครอบครัว.....................................................................................................................40 5.3 ด้านผู้สูงอายุ.....................................................................................................................................49 5.4 ด้านคนพิการ.....................................................................................................................................53 5.5 ด้านผู้ด้อยโอกาส/ผู้ประสบปัญหาทางสังคม......................................................................................60 5.6 ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์...................................................................................64 5.7 ด้านการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม .............................................................................................68 5.8 อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์...........................................................................71 5.9 ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล.................................................................................................................77 ส่วนที่ 6 โครงการ/กิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมระดับจังหวัด.....................................................................78 ส่วนที่ 7 การรับเรื่องราวร้อองทุกข์ และแก้ไขปัญหาทางสังคม......................................................................82 ส่วนที่ 8 กิจกรรมจิตอาสา.............................................................................................................................87 ภาคผนวก.....................................................................................................................................................90
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 4 ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด 1.1 ประเด็นด้านพื้นที่และประชากร 1.1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดหนองคายมีพื้นที่ 1,893,726 ไร่ 3,026.5 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 515,795 คน อัตรา ความหนาแน่ของประชากร 1 ตารางกิโลเมตร ต่อประชากร 170.43 คน ตารางที่ 1 พื้นที่ จำนวนประชากร และความหนาแน่นของประชากร จังหวัด พื้นที่ จำนวนประชากร ความหนาแน่นของ ประชากร (ตร.กม./ คน) หนองคาย 3,026.5 ตารางกิโลเมตร 515,795 คน 1:170.43 ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง 1.1.2 ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง แยกเป็น 4 บริเวณ คือ (1) พื้นที่ค่อนข้างราบ ได้แก่ เขตอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ซึ่งใช้ประโยชน์ใน การทำนา และปลูกพืชสวนบริเวณริมแม่น้ำโขง (2) พื้นที่เป็นคลื่นลอนลาด กระจายอยู่ทุกอำเภอเป็นหย่อม ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนา และปลูกพืชไร่ พืชสวน และป่าธรรมชาติ (3) พื้นที่เป็นคลื่นลอนชัน และเป็นเขาเป็นป่าธรรมชาติ เช่น ป่าไม้เต็งรัง เบญจพรรณพบในเขต อำเภอ สังคม (4) สภาพพื้นที่เป็นภูเขาที่มีความสูงชันจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 200 เมตรเป็นบริเวณเทือกเขาต่าง ๆ ทางทิศตะวันตกในเขตอำเภอสังคม จังหวัดหนองคายมีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงป่าทึบและภูเขาทั้งประกอบด้วยต้นน้ำ ลำธารหลายสาย ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งไหลผ่าน 6 อำเภอของจังหวัดหนองคาย คือ อำเภอสังคม อำเภอ ศรีเชียงใหม่ อำเภอท่าบ่อ อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอโพนพิสัย อำเภอรัตนวาปี จึงก่อให้เกิดประโยชน์ ในด้านเกษตรกรรม และการอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณฝั่งแม่น้ำโขงเป็นอย่างมาก สภาพ ดินฟ้าอากาศโดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 5 1.1.3 พื้นที่การปกครอง จังหวัดหนองคายมีจำนวนเขตการปกครองจำนวน 9 อำเภอ 62 ตำบล 678 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จำนวน 68 แห่ง แบ่งเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง เทศบาลเมือง จำนวน 2 แห่ง เทศบาลตำบล จำนวน 17 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 48 แห่ง ตามลำดับ ภาพที่ 1 พื้นที่การปกครอง ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 1.1.4 โครงสร้างประชากร จังหวัดหนองคายมีจำนวนประชากร 515,795 คน แบ่งเป็น ช่วงเด็กอายุ 0-14 ปี จำนวน 80,128 คน คิดเป็น 15.53% ของประชากร ช่วงวัยแรงงานอายุ 15-59 ปี จำนวน 341,801 คน คิดเป็น 66.27% ของประชากร ช่วงวัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 93,865 คน คิดเป็น 18.19% ของประชากร ตามลำดับ ภาพที่ 2 จำนวนประชากร ปี 2565 1 - 2 17 48 - 10 20 30 40 50 60 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลต าบล องค์การบริหารส่วนต าบล (อบต.) พื้นที่การปกครอง (หน่วย : แห่ง) ผลรวม จ านวนเด็ก 0-14 ปี 80,128 จ านวนวัยแรงงาน 15-59 ปี 341,801 จ านวนวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 93,865 จ าแนกอายุไม่ได้ 1 ประชากรรวม 515,795 80,128 341,801 93,865 1 515,795 จ านวนประชากร ปี 2565 (หน่วย : คน)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 6 ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง สัดส่วนประชากรตามแบ่งตามช่วงอายุเทียบ 3 ปีย้อนหลัง ดังนี้ สัดส่วนเด็กอายุ 0-14 ปี มีอัตราลดลง อย่างต่อเนื่องจากปี 2563 อยู่ที่ 16.1% ลดลงมาในปี 2565 เหลือสัดส่วนอยู่ที่ 15.5% สัดส่วนวัยแรงงานอายุ 15- 59 ปี มีอัตราคงที่อยู่ที่ 66.3% และสัดส่วนวัยผู้สูงอายุ 60ปีขึ้นไป มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2563 อยู่ที่ 16.3% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2565 สัดส่วนผู้สูงอายุอยู่ที่ 18.2% จังหวัดหนองคายกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างสมบูรณ์เมื่อมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 20 ในปี 2568 ภาพที่ 3 สัดส่วนประชากร ปี 2563 - 2565 ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง 1.2 ประเด็นด้านสุขภาพ 1.2.1 หน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐและภาคเอกชน จังหวัดหนองคายมีหน่วยบริการสาธารณสุข จำนวน 96 แห่ง แยกเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 74 แห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 9 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 7 แห่ง โรงพยาบาล เอกชน จำนวน 3 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 2 แห่ง และอื่น ๆ จำนวน 1 แห่ง ตามลำดับ 2563 2564 2565 สัดส่วนเด็ก 0-14 ปี 16.1 15.7 15.5 สัดส่วนวัยแรงงาน 15-59 ปี 66.3 66.0 66.3 สัดส่วนวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 16.3 17.1 18.2 - 20.0 40.0 60.0 80.0 100.0 สัดส่วนประชากร ปี 2563 - 2565 (หน่วย : ร้อยละ)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 7 ภาพที่ 4 หน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐและภาคเอกชน ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข 1.2.2 ทรัพยากรด้านสาธารณสุข (1) บุคลากรทางการแพทย์ จังหวัดหนองคาย มีบุคลากรทางการแพทย์ แยกเป็น สัดส่วนแพทย์ ต่อ จำนวนประชากร 100,000 คน ในปี 2564 อยู่ที่แพทย์ 36 คน ต่อประชากร 100,000 คน สัดส่วนทันตแพทย์ ต่อ จำนวน ประชากร 100,000 คน ในปี 2564 อยู่ที่ทันตแพทย์ 11 คน ต่อประชากร 100,000 คน สัดส่วนเภสัชกร ต่อ จำนวนประชากร 100,000 คน ในปี 2564 อยู่ที่เภสัชกร 19 คน ต่อประชากร 100,000 คน สัดส่วน พยาบาล ต่อ จำนวนประชากร 100,000 คน ในปี 2564 อยู่ที่พยาบาล 211 คน ต่อประชากร 100,000 คน ภาพที่ 5 บุคลากรทางการแพทย์ ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข - 2 7 9 74 1 3 - 10 20 30 40 50 60 70 80 รพศ. รพท. รพช. สสอ. รพ.สต. อื่นๆ โรงพยาบาลเอกชน หน่วยบริการสาธารณสุข (หน่วย : แห่ง) 31 36 11 11 18 19 200 211 - 50 100 150 200 250 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล สัดส่วนบุคลากรทางการแพทย์ (หน่วย : คน)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 8 (2) เตียงในสถานพยาบาล อัตราเตียงในสถานพยาบาล ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ในปี 2563 อยู่ที่ 228 เตียง ต่อ ประชากร 100,000 คน และในปี 2564 มีอัตราเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 232 เตียง ต่อประชากร 100,000 คน ภาพที่ 6 เตียงในสถานพยาบาล ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข 1.2.3 ภาวะสุขภาพ ความเจ็บป่วย และการตาย (1) สาเหตุการตายจากโรคต่าง ๆ 5 อันดับแรก สาเหตุการตายจากโรคต่าง ๆ 5 อันดับแรก ปี 2566 (ณ วันที่ 20 กันยายน 2566) ดังนี้ อันดับที่ 1 หัวใจล้มเหลว จำนวน 567 คน อันดับที่ 2 วัยชรา จำนวน 399 คน อันดับที่ 3 หัวใจหยุดเต้น จำนวน 158 คน อันดับที่ 4 ความดันโลหิตสูง จำนวน 54 คน และสมองฝ่อมีเขตรอบ จำนวน 51 คน ตารางที่ 2 สาเหตุการตายจากโรคต่าง ๆ 5 อันดับแรก อันดับ สาเหตุการตายจากโรค จำนวนทั้งหมด (หน่วย : คน) อันดับที่ 1 หัวใจล้มเหลว 567 อันดับที่ 2 วัยชรา 399 อันดับที่ 3 หัวใจหยุดเต้น 158 อันดับที่ 4 ความดันโลหิตสูง 54 อันดับที่ 5 สมองฝ่อมีเขตรอบ 51 ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข (2) การป่วยเป็นโรคซึมเศร้าของประชากร อัตราการป่วยด้วยโรคซึมเศร้าของประชากร ในปี 2564 อยู่ที่ 11,313 คน ลดลงในปี 2565 ร้อย ละ 1.2 อยู่ที่ 11,178 คน และเพิ่มขึ้นในปี 2566 ร้อยละ 3 อยู่ที่ จำนวน 11,509 คน 228 232 225 230 235 2563 2564 สัดส่วนเตียงในสถานพยาบาล (หน่วย : เตียง)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 9 ภาพที่ 7 จำนวนผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และอัตราการเพิ่มขึ้น ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข (3) การฆ่าตัวตายสำเร็จ อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในปี 2565 อยู่ที่ ร้อยละ 6.45 มีอัตราต่ำกว่าค่าเป้าหมายของจังหวัด หนองคายอยู่ที่ 8 ภาพที่ 8 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข (4) พัฒนาการและภาวะโภชนาการของเด็ก อัตราการพัฒนาและภาวะโภชนาการของเด็ก ช่วงอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาสมวัยอยู่ที่ร้อยละ 99.0 เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีอัตราร้อยละ 98.8 และมีอัตราการพัฒนาและภาวะโภชนาการของเด็ก ช่วงอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วนอยู่ที่ร้อยละ 61.2 เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีอัตราร้อยละ 57.8 11,313 11,178 11,509 - -1.2 3.0 -2.0 - 2.0 4.0 11,000 11,200 11,400 11,600 2564 2565 2566 การป่ วยเป็นโรคซึมเศร้าของประชากร จ านวนผู้ป่ วยเป็นโรคซึมเศร้าสะสม (คน) อัตราการเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) 8.00 6.45 - 2.00 4.00 6.00 8.00 10.00 12.00 14.00 16.00 2565 อัตราการฆ่าตัวตายส าเร็จ (หน่วย : ร้อยละ) อัตราในปี 2565 ค่าเป้าหมายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 10 ภาพที่ 9 ร้อยละของเด็กที่มีพัฒนาการสมวัยและสูงดีสมส่วน หมายเหตุ ข้อมูลเปรียบเทียบไตรมาสที่ 1 ของทุกปี ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข 1.3 ประเด็นด้านเศรษฐกิจ รายได้ และการทำงาน 1.3.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด จังหวัดหนองคายมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดหนองคาย GPP ต่อหัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับแต่ปี 2560 มีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวอยู่ที่ 91,068 บาท ปี 2562 มีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวอยู่ที่ 92,947 บาท และปี 2564 มีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวอยู่ที่ 97,617 บาท ภาพที่ 10 ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP per Capita) ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 1.3.2 รายได้ หนี้สิน ความไม่เสมอภาคของรายได้และการออม (1) รายได้และหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน อัตรารายได้และหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ดังนี้ อัตรารายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนในปี 2562 อยู่ที่ 21,175 บาท มีอัตราลดลงในปี 2563 เหลืออยู่ที่ 20,580 บาท และเพิ่มขึ้นในปี 2564 อยู่ที่ 21,575 บาท 98.9 99.8 98.8 99.0 71.2 65.4 57.8 61.2 - 20.0 40.0 60.0 80.0 100.0 120.0 2563 2564 2565 2566 พัฒนาการและภาวะโภชนาการของเด็ก (หน่วย : ร้อยละ) ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มี พัฒนาการสมวัย ร้อยละของเด็กอายุ 6 -14 ปี สูงดีสมส่วน 91,068 92,947 97,617 85,000 90,000 95,000 100,000 ปี 2560 ปี 2562 ปี 2564 ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP per Capita) (หน่วย : บาทต่อปี)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 11 และอัตราหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนในปี 2562 อยู่ที่ 98,463 บาท มีอัตราลดลงในปี 2563 อยู่ที่ 77,924 บาท และ มีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2564 อยู่ที่ 89,741 บาท ภาพที่ 11 จำนวนรายได้และหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ที่มา : การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ สัดส่วนประเภทของหนี้สิน ดังนี้ 1.หนี้สินเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน ในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 43.1 ลดลงจากปี 2563 ที่อัตราร้อยละ 47.6 2.หนี้สินเพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน ในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 9.2 ลดลงจากปี 2563 ที่อัตราร้อยละ 19.2 3.หนี้สินเพื่อใช้ทำการเกษตร ในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 25.5 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่อัตราร้อยละ 19.7 4.หนี้สินเพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร ในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 15.1 ลดลงจากปี 2563 ที่อัตราร้อยละ 13.3 5.หนี้สินเพื่อใช้ในการศึกษา ในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 6.5 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่อัตรา ร้อยละ 0 และ 6.หนี้สินอื่น ๆ ในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่อัตราร้อยละ 0.1 21,175 20,580 21,575 98,463 77,924 89,741 - 50,000 100,000 150,000 2562 2563 2564 รายได้และหนี้สินของครัวเรือน (หน่วย : บาท) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 38.5 47.6 43.1 34.5 19.2 9.2 13.9 19.7 25.5 4.8 13.3 15.1 3.2 0.0 6.5 5.1 0.1 0.7 - 5.0 10.0 15.0 20.0 25.0 30.0 35.0 40.0 45.0 50.0 2562 2563 2564 สัดส่วนประเภทของหนี้สิน (หน่วย : ร้อยละ) เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน เพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน เพื่อใช้ท าการเกษตร เพื่อใช้ท าธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร เพื่อใช้ในการศึกษา อื่นๆ
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 12 ภาพที่ 12 สัดส่วนประเภทหนี้สิน ที่มา : การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2) ดัชนีความไม่เสมอภาคของรายได้ อัตราดัชนีความไม่เสมอภาคของรายได้ นับแต่ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.404 และเพิ่มขึ้นในปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.410 และในปี 2564 มีอัตราคงที่ อยู่ที่ร้อยละ 0.410 ภาพที่ 13 ดัชนีความไม่เสมอภาคของรายได้ ที่มา : การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ (3) ครัวเรือนที่มีการออมเงิน อัตราครัวเรือนที่มีการออม ในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 94.9 และมีอัตราเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นในปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 98.4 ภาพที่ 14 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการออมเงิน ที่มา : การสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรมการพัฒนาชุมชน 0.404 0.410 0.410 0.400 0.402 0.404 0.406 0.408 0.410 0.412 2560 2562 2564 ดัชนีความไม่เสมอภาคของรายได้(หน่วย : ร้อยละ) 94.9 98.4 92.0 94.0 96.0 98.0 100.0 2564 2565 ครัวเรือนที่มีการออมเงิน (หน่วย : ร้อยละ)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 13 1.3.3 ภาวะการมีงานทำ (1) กำลังแรงงาน จังหวัดหนองคาย มีอัตรากำลังแรงงงานรวม ในปี 2563 จำนวน 210,964 คน ในปี 2564 เพิ่ม ขึ้นมาที่ 212,361 คน และในปี 2565 เพิ่มขึ้นมาที่ 227,899 คน แสดงถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของวัยแรงงานอย่าง ต่อเนื่อง ภาพที่ 15 จำนวนกำลังแรงงาน หมายเหตุ ข้อมูลเฉลี่ยทั้งปี ที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ อัตราผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงานรวม ในปี 2563 จำนวน 141,975 คน ในปี 2564 ลดลงมาที่ 140,189 คน และในปี 2565 เพิ่มขึ้นมาที่ 144,986 คน แสดงถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ไม่อยู่ในกำลัง แรงงาน 117,869 116,260 122,786 93,095 96,101 105,113 210,964 212,361 227,899 - - - - 50,000 100,000 150,000 200,000 250,000 2563 2564 2565 ก าลังแรงงานรวม (หน่วย : คน) ชาย หญิง รวม
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 14 ภาพที่ 16 จำนวนผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน หมายเหตุ ข้อมูลเฉลี่ยทั้งปี ที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2) อัตราการว่างงาน อัตราการว่างงาน ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 และลดลงในปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 แสดงถึงอัตราการว่างงานน้อยในจังหวัดหนองคาย ภาพที่ 17 อัตราการว่างงาน ที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ (3) แรงงานนอกระบบ 50,071 51,390 52,913 91,905 88,799 92,073 141,975 140,189 144,986 - - - - 20,000 40,000 60,000 80,000 100,000 120,000 140,000 160,000 2563 2564 2565 ผู้ไม่อยู่ในก าลังแรงงาน (หน่วย : คน) ชาย หญิง รวม 1.5 2.2 1.1 - 1.0 2.0 3.0 2563 2564 2565 อัตราการว่างงาน (หน่วย : ร้อยละ)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 15 สัดส่วนของแรงงานนอกระบบต่อแรงงานในระบบ ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 70.5 ต่อ 29.5 ในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 71.6 ต่อ 28.4 และในปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 73.9 ต่อ 26.1 แสดงถึงอัตราแรงงานนอก ระบบมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาพที่ 18 ร้อยละของแรงงานนอกระบบ ที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ (4) การทำงานของคนต่างด้าว อัตราการทำงานของคนต่างด้าว ในปี 2563 จำนวน 1,873 คน เพิ่มขึ้นในปี 2564 จำนวน 2,204 คน และในปี 2565 จำนวน 2,533 คน มีอัตราการทำงานของคนต่างด้าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาพที่ 19 จำนวนคนต่างด้าวคงเหลือ ที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ 70.5 71.6 73.9 29.5 28.4 26.1 - 20.0 40.0 60.0 80.0 2563 2564 2565 สัดส่วนของแรงงานนอกระบบ (หน่วย : ร้อยละ) แรงงานนอกระบบ แรงงานในระบบ 1,873 2,204 2,533 - 1,000 2,000 3,000 2563 2564 2565 จ านวนคนต่างด้าวคงเหลือ (หน่วย : คน)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 16 1.3.4 ผู้ประกันตน สัดส่วนผู้ประกันตนต่อกำลังแรงงานรวมในมาตรา 33 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 11.3 มีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 11.8 และมีอัตราลดลงในปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 8.8 แสดงถึงสัดส่วนผู้ประกันตนในปี 2565 มีอัตราลดลงร้อยละ 25.42 จากปี 2564 ภาพที่ 20 สัดส่วนผู้ประกันตนในมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ 1.4 ประเด็นด้านการศึกษา 1.4.1 สถานศึกษา จังหวัดหนองคายมีสถานศึกษา จำนวน 555 แห่ง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสถานศึกษาในสังกัดมากที่สุด จำนวน 293 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 52.79 รองลงมาเป็นสถานศึกษาในสังกัด กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 183 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 32.97 สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 43 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.74 สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา จำนวน 13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 2.34 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.80 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.62 กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 0.54 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 0.18 ตารางที่ 3 สถานศึกษาในระบบ นอกระบบ รายสังกัด ปีการศึกษา 2566 รายการสถานศึกษา (หน่วย : แห่ง) ในระบบ นอกระบบ รวม สพฐ. เอกชน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ท้องถิ่น สำนักพุทธ กศน. รวม 293 43 13 3 183 10 9 554 ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ 11.3 11.8 8.8 - 5.0 10.0 15.0 2563 2564 2565 สัดส่วนผู้ประกันตนต่อก าลังแรงงานรวม (หน่วย : ร้อยละ)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 17 1.4.2 เด็กที่เข้าถึงระบบการศึกษาภาคบังคับ จำนวนเด็กที่เข้าถึงระบบการศึกษาภาคบังคับ ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 53,866 คน คิดเป็นร้อยละ 99.18 เปรียบเทียบจากประชากรที่มีช่วงอายุ 6-14 ปี จำนวน 54,310 คน ตารางที่ 4 เด็กที่เข้าถึงระบบการศึกษาภาคบังคับ ปีการศึกษา 2566 เด็กที่เข้าถึงระบบการศึกษาภาคบังคับ (หน่วย : คน) จำนวน ประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 53,866 คน ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิกา 1.4.3 กลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงด้านการศึกษา (1) เด็กที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา จังหวัดหนองคาย มีสถิติเด็กที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา ในปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 9.8 ภาพที่ 21 จำนวนเด็กที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา ที่มา : ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (iSEE) (2) เด็กนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ สถิติเด็กนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ จำนวนทั้งสิ้น 12,487 คน แยกเป็น เด็กนักเรียน ยากจน จำนวน 5,554 คน และเด็กนักเรียนยากจนพิเศษ จำนวน 6,933 คน 9.8 - 2.0 4.0 6.0 8.0 10.0 12.0 2565 เด็กที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา (หน่วย : ร้อยละ)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 18 ภาพที่ 22 จำนวนเด็กนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ ที่มา : ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (iSEE) 1.4.4 ปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป อัตราปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ในปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 8.2 และมีอัตรา เพิ่มขึ้นในปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 8.3 ภาพที่ 23 ปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 5,554 6,933 - 2,000 4,000 6,000 8,000 2565 เด็กนักเรียนยากจน (หน่วย : คน) เด็กนักเรียนยากจน เด็กนักเรียนยากจนพิเศษ 8.2 8.3 8.1 8.1 8.2 8.2 8.3 8.3 8.4 8.4 2563 2564 ปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป (หน่วย : ร้อยละ)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 19 1.5 ประเด็นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 1.5.1 การรับแจ้งคดีอาญาตามฐานความผิด สัดส่วนการรับแจ้งคดีอาญาตามฐานความผิด หน่วยต่อจำนวนประชาการ 100,000 คน มีดังนี้ การรับแจ้ง คดีเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ในปี 2563 จำนวน 15.1 หน่วย ลดลงในปี 2564 มาที่ 11.8 หน่วย และเพิ่มขึ้น ในปี 2565 เป็น 14.7 หน่วย ส่วนการรับแจ้งคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ในปี 2563 จำนวน 42.7 หน่วย ลดลงในปี 2564 มาที่ 41.8 หน่วย และเพิ่มขึ้นในปี 2565 เป็น 43.8 หน่วย ภาพที่ 24 การรับแจ้งคดีอาญาตามฐานความผิด ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1.5.2 อุบัติเหตุบนท้องถนน สัดส่วนผู้บาดเจ็บ หน่วยต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ในปี 2563 มีจำนวน 1,551.9 คน หน่วย ลดลงในปี 2564 มาที่ 1,289.2 คน และลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2565 เหลือที่ 1,263.1 คน ตามลำดับ แสดงถึงอัตราอุบัติเหตุบนท้องถนนมีจำนวนลดลง 15.1 11.8 14.7 42.7 41.8 43.8 - 10.0 20.0 30.0 40.0 50.0 2563 2564 2565 สัดส่วนการรับแจ้งคดีอาญาตามฐานความผิด (หน่วย : รับแจ้ง) การรับแจ้งคดีเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ การรับแจ้งคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 20 ภาพที่ 25 สัดส่วนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน (Thai RSC) สัดส่วนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน แยกเป็น สัดส่วน ผู้เสียชีวิต ในปี 2563 จำนวน 27.6 คน ลดลงในปี 2564 มาที่ 24.8 คน และเพิ่มขึ้นในปี 2565 จำนวน 25.6 คน และสัดส่วนผู้ทุพพลภาพ ในปี 2564 จำนวน 5.2 คน ภาพที่ 26 สัดส่วนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน (Thai RSC) 1.6 ด้านที่อยู่อาศัย จำนวนชุมชนผู้มีรายได้น้อยของจังหวัด พ.ศ.2563 มีจำนวน 1 ชุมชน เป็นชุมชนแออัด จำนวน 1 ชุมชน มีจำนวนครัวเรือน 17 ครัวเรือน จำนวนประชากรรวม 68 คน 1,551.9 1,289.2 1,263.1 - 500.0 1,000.0 1,500.0 2,000.0 2563 2564 2565 สัดส่วนผู้บาดเจ็บ (หน่วย : คน) 27.6 24.8 25.6 - 5.2 - - 5.0 10.0 15.0 20.0 25.0 30.0 2563 2564 2565 สัดส่วนผู้เสียชีวิต และทุพพลภาพ (หน่วย : คน) สัดส่วนผู้เสียชีวิต สัดส่วนผู้ทุพพลภาพ
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 21 ตารางที่ 5 ชุมชนผู้มีรายได้น้อย ปี 2565 จำนวน ชุมชน ชุมชนแออัด ชุมชนเมือง ชุมชนชานเมือง จำนวน บ้าน จำนวน ครัวเรือน จำนวน ประชากร 1 ชุมชน ครัวเรือน ชุมชน ครัวเรือน ชุมชน ครัวเรือน 17 17 68 1 17 0 0 0 0 ที่มา : กองยุทธศาสตร์และสารสนเทศที่อยู่อาศัย ฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 22 ส่วนที่ 2 สถานการณ์ทางสังคมจังหวัดหนองคาย แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดหนองคาย ประจำปี 2566 สรุปได้ดังต่อไปนี้ ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด จังหวัดหนองคายมีพื้นที่ 1,893,726 ไร่ 3,026.5 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 515,795 คน เป็นประชากรชาย จำนวน 255,393 คน คิดเป็นร้อยละ 49.51 ประชากรหญิง จำนวน 260,402 คน คิดเป็น ร้อยละ 50.49 สัดส่วนเด็กอายุ 0-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 15.5 สัดส่วนวัยแรงงานอายุ 15-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.3 และสัดส่วนวัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 18.2 อัตราความหนาแน่ของประชากร 1 ตารางกิโลเมตร ต่อประชากร 170.43 คน จำนวนเขตการปกครองจำนวน 9 อำเภอ 62 ตำบล 678 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จำนวน 68 แห่ง แบ่งเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง เทศบาลเมือง จำนวน 2 แห่ง เทศบาลตำบล จำนวน 17 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 48 แห่ง ประเด็นด้านสุขภาพ หน่วยบริการสาธารณสุข จำนวน 96 แห่ง แยกเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 74 แห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 9 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 7 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 3 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 2 แห่ง และอื่น ๆ จำนวน 1 แห่ง จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ 277 คน แยกเป็นแพทย์ 36 คน ทันตแพทย์ 11 คน เภสัชกร 19 คน และพยาบาล 211 คน สาเหตุการตายจากโรคต่าง ๆ 5 อันดับแรก อันดับที่ 1 หัวใจล้มเหลว จำนวน 567 คน อันดับที่ 2 วัยชรา จำนวน 399 คน อันดับที่ 3 หัวใจหยุดเต้น จำนวน 158 คน อันดับที่ 4 ความดันโลหิตสูง จำนวน 54 คน และสมองฝ่อมีเขตรอบ จำนวน 51 คน อัตราการป่วยด้วยโรคซึมเศร้า จำนวน 11,509 คน อัตราการฆ่าตัวตาย สำเร็จ อยู่ที่ร้อยละ 6.45 ประเด็นด้านเศรษฐกิจ รายได้ และการทำงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดหนองคาย GPP ต่อหัวอยู่ที่ 97,617 บาท อัตรารายได้และหนี้สินเฉลี่ย ต่อครัวเรือน อยู่ที่ 89,741 บาท ต่อครัวเรือน สัดส่วนประเภทของหนี้สิน 1.เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน ร้อยละ 43.1 2.เพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน ร้อยละ 9.2 3.เพื่อใช้ทำการเกษตร ร้อยละ 25.5 4.เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่ การเกษตร ร้อยละ 15.1 5.เพื่อใช้ในการศึกษา ร้อยละ 6.5 6.อื่น ๆ ร้อยละ 0.7 อัตราดัชนีความไม่เสมอภาคของ รายได้ อยู่ที่ร้อยละ 0.41 อัตราครัวเรือนที่มีการออม อยู่ที่ร้อยละ 98.4 มีจำนวนกำลังแรงงงาน 227,899 คน อัตราผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 144,986 คน อัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.1 สัดส่วนของแรงงานนอกระบบต่อแรงงาน ในระบบ อยู่ที่ร้อยละ 73.9 ต่อ 26.1 จำนวนคนต่างด้าวที่ทำงานในพื้นที่ จำนวน 2,533 คน ผู้ประกันตนต่อกำลัง
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 23 แรงงานรวมในมาตรา 33 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อยู่ที่ร้อยละ 8.8 ประเด็นด้านการศึกษา สถานศึกษา จำนวน 554 แห่ง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสถานศึกษาในสังกัดมากที่สุด จำนวน 293 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 52.79 รองลงมาเป็นสถานศึกษาในสังกัด กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 183 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 32.97 สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 43 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.74 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 2.34 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.80 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.62 กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 0.54 จำนวนเด็กที่เข้าถึงระบบการศึกษาภาคบังคับ 53,866 คน สถิติเด็กที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา ร้อยละ 9.8 เด็กนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ จำนวนทั้งสิ้น 12,487 คน อัตราปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากร อายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 8.3 ประเด็นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรับแจ้งคดีอาญาตามฐานความผิด หน่วยต่อจำนวนประชาการ 100,000 คน การรับแจ้งคดี เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ร้อยละ 14.7 และการรับแจ้งคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ร้อยละ 43.8 สัดส่วน ผู้บาดเจ็บ หน่วยต่อจำนวนประชากร 100,000 คน อยู่ที่ 1,263.1 คน สัดส่วนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน อยู่ที่ 25.6 คน ด้านที่อยู่อาศัย จำนวนชุมชนผู้มีรายได้น้อยของจังหวัด พ.ศ.2563 มีจำนวน 1 ชุมชน เป็นชุมชนแออัด จำนวน 1 ชุมชน มีจำนวนครัวเรือน 17 ครัวเรือน จำนวนประชากรรวม 68 คน สถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชน กลุ่มเด็กและเยาวชน จำนวน 145,976 คน จำแนกตามอายุ เด็ก 0-5 ปี จำนวน 26,442 คน เด็ก 6-14 ปี จำนวน 53,686 คน เยาวชน 15-18 ปี 25,859 คน และเยาวชน 19-24 ปี จำนวน 39,989 คน จำนวนเด็กแรกเกิดอยู่ที่ 3,360 ราย ร้อยละ 8.8 อัตราพึ่งพึงวัยเด็กร้อยละ 23.4 การให้บริการเด็กและเยาวชน ในบ้านพักเด็กและครอบครัว 375 ราย แยกเป็น อายุ 0-17 ปี จำนวน 374 ราย และอายุ 18-25 ปี จำนวน 1 ราย มีจำนวนครอบครัวอุปถัมภ์ 104 ครอบครัว และมีเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ จำนวน 105 ราย สถิติแม่เลี้ยง เดี่ยว/แม่วัยรุ่นเลี้ยงเดี่ยว อายุต่ำกว่า 15 ปี มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 อยู่ที่ 16 ราย อัตราการคลอดมีชีพในเด็ก และเยาวชน อายุ 10-14 ปี อยู่ที่ 17.53 และอายุ 15-19 ปี อยู่ที่ 0.93 การตั้งครรภ์ซ้ำในสตรีที่อายุต่ำกว่า 20 ปี
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 24 อยู่ที่ร้อยละ 9.7 จำนวนแม่วัยใสและแม่วัยใสเลี้ยงเดี่ยวที่ได้รับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด2,671 คน จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวน 121 ราย เป็นชาย 109 ราย และหญิง 12 ราย จำนวนเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 8 ราย มากสุดคือด้านจิตใจ จำนวน 4 ราย จำนวนเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงนอกครอบครัว จำนวน 14 ราย มากสุดคือด้านเพศ จำนวน 10 ราย ครอบครัวที่ได้รับเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน จำนวน 1,712 ครอบครัว และมีเด็กที่ได้รับเงิน สงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน จำนวน 1,936 ราย มีจำนวนสภาเด็กและเยาวชนที่เป็นเครือข่ายขับเคลื่อนงาน จำนวน 67 แห่ง สถานการณ์ด้านสตรีและสถาบันครอบครัว สัดส่วนสตรีแยกตามช่วงอายุดังนี้ วัยเด็กหญิง 0-14 ปี ร้อยละ 15 วัยแรงงานหญิง ร้อยละ 65.5 วัยผู้สูงอายุหญิง ร้อยละ 19.5 สถิติครอบครัวที่จดทะเบียนสมรส 2,315 ครอบครัว ครอบครัวหย่าร้าง 1,034 ครอบครัว อัตราการว่างงานในเพศหญิงร้อยละ 0.9 ส่วนเพศชายมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.3 สถิติครอบครัวที่มี คนในครอบครัวกระทำความรุนแรงต่อกัน 4 ครอบครัว สถิติสตรีที่ถูกทำร้ายร่างกาย/จิตใจ 15 ราย มากสุดคือด้าน จิตใจ 8 ราย และด้านร่ากาย 7 ราย สถิติสตรีที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 13 ราย สตรีที่เป็นสมาชิกของกองทุนพัฒนา บทบาทสตรี 204,524 คน จำนวนเครือข่ายด้านสตรีและสถาบันครอบครัว มีศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) จำนวน 67 แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวระดับตำบล (ศปก.ต.) จำนวน 7 แห่ง มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จำนวน 6 แห่ง สถานการณ์ด้านคนพิการ สถิติคนพิการในจังหวัดที่ได้รับการจดทะเบียนจากศูนย์บริการคนพิการจำนวน 16,205 คน คิด เป็นร้อยละ 3.1 ของประชากร ประเภทความพิการ 3 อันดับแรกได้แก่ พิการทางการเคลื่อนไหวหรือ ทางร่างกายร้อยละ 46.2 รองลงมาคือ พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายร้อยละ 19.4 และพิการทาง การเห็นร้อยละ 11.6 สถิตินักเรียนพิการที่เข้าเรียนในโรงเรียนแบบเรียนรวม จำนวน 11,010 คน แยกเป็นระดับ อนุบาล 64 คน ระดับประถมศึกษา 9,774 คน และระดับมัธยมศึกษา 1,172 คน คนพิการที่ได้รับการศึกษาจาก ศูนย์การศึกษาพิเศษ มีจำนวน 281 คน การรับคนพิการเข้าทำงาน พบว่า ในปี 2566 จำนวนสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จำนวน 8 แห่ง รับคนพิการเข้าทำงานได้ จำนวน 13 คน จำนวนเครือข่ายด้าน คนพิการประกอบด้วย ศูนย์บริการคนพิการ จำนวน 57 แห่ง และองค์กรด้านคนพิการ จำนวน 7 แห่ง สวัสดิการ ด้านคนพิการ พบว่า จำนวนการให้บริการกายอุปกรณ์สำหรับช่วยคนพิการ จำนวน 34 ราย จำนวนคนพิการ ที่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 14,238 ราย การบริการกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน 412 ราย สถานการณ์ด้านผู้สูงอายุ
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 25 จำนวนผู้สูงอายุ จำนวน 93,865 คน ร้อยละ 18.2 ของประชากร แยกตามช่วงอายุ 60-69 ปี 54,593 คน อายุ 70-79 ปี 26,547 คน และอายุ 80 ปีขึ้นไป 12,725 คน ผู้สูงอายุติดสังคมร้อยละ 95.87 ผู้สูงอายุ ติดบ้านร้อยละ 3.56 และผู้สูงอายุติดเตียงร้อยละ 0.58 สถิติผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวร้อยละ 8.4 ของประชากร ในจังหวัด สถิติการแจ้งเหตุร้องเรียนความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ จำนวน 2 ราย เป็นกรณีผู้สูงอายุที่ถูกทำร้าย ด้านร่างกายทั้ง 2 ราย สถิติการทำงานของผู้สูงอายุและการกู้ยืมประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุ จำนวน 1,916 ราย จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี766 ราย ผู้สูงอายุที่ได้รับ เบี้ยยังชีพ 72,436 ราย จำนวนเครือข่ายด้านผู้สูงอายุประกอบไปด้วย คลังปัญญาผู้สูงอายุ 272 ราย ศูนย์พัฒนา คุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุ (ศพอส.) 14 แห่ง โรงเรียนผู้สูงอายุ 10 แห่ง จากข้อมูลผู้สูงอายุข้างต้น จังหวัดหนองคาย กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร ภายใน 2 ปีข้างหน้า ความท้าทายของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ในการออกแบบอารยสถาปัตย์ เพื่อทุกคนได้มี สภาพแวดล้อม สะดวกสบาย สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้โดยไม่เกิดอุปสรรค และส่งเสริมให้ เกิดการปรับเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำทางลาด ราวจับ ลิฟท์ รถเข็นสำหรับบริการ ฯลฯ สถานการณ์กลุ่มคนเปราะบาง มีจำนวนคนเร่ร่อน/ไร้ที่อยู่ 9 ราย ผู้แสดงความสามารถ 47 ราย ผู้ได้รับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ 759 ราย ครัวเรือนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนบ้านพอเพียงชนบท จำนวน 179 ครัวเรือน เครือข่ายกองทุน สวัสดิการชุมชน จำนวน 51 แห่ง สถานการณ์ภาคีเครือข่าย/สวัสดิการสังคม อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย จำนวน 4,141 คน องค์กร สวัสดิการชุมชน จำนวน 37 แห่ง องค์กรสาธารณประโยชน์ จำนวน 14 แห่ง สถานการณ์เชิงประเด็นในระดับพื้นที่ สถานการณ์กลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน มีคนเปราะบาง จำนวน 8,644 คน ตกเกณฑ์รายมิติดังนี้ มิติความเป็นอยู่ 1,527 คน มิติการศึกษา 3,254 คน มิติด้านสุขภาพ 2,116 คน มิติด้านรายได้ 3,274 คน และมิติ ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ 12 คน ครัวเรือนเปราะบาง จำนวน 2,242 ครัวเรือน เป็นครัวเรือนที่อยู่อาศัย ไม่มั่นคง จำนวน 493 ครัวเรือน แยกระดับความเปราะบางได้ดังนี้ ระดับ 0 จำนวน 204 ครัวเรือน ระดับ 1 จำนวน 226 ครัวเรือน ระดับ 2 จำนวน 1,260 ครัวเรือน และระดับ 3 จำนวน 552 ครัวเรือน การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ราษฎร กลุ่มเปราะบางที่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวนทั้งสิ้น 3,774 ราย รวมเป็นเงิน 10,869,000 บาท แยกเป็น การสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน จำนวน 222 ราย เป็นเงิน 1,308,000 บาท การเลี้ยงดูเด็ก ในครอบครัวอุปถัมภ์ จำนวน 91 ครอบครัว เป็นเงิน 2,184,000 บาท การเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวยากจน จำนวน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 26 1854 ราย เป็นเงิน 2,150,000 บาท การสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยไร้ที่พึ่ง จำนวน 667 ราย เป็นเงิน 2,310,000 บาท การสงเคราะห์คนไทยตกทุกข์กลับภูมิลำเนา จำนวน 14 ราย เป็นเงิน 19,000 บาท การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ยากลำบาก จำนวน 115 ราย เป็นเงิน 465,000 บาท ค่าจัดการศพผุ้สูงอายุตามประเพณี จำนวน 766 ราย เป็นเงิน 2,298,000 บาท และการสงเคราะห์และฟื้นฟูคนพิการ จำนวน 45 ราย เป็นเงิน 135,000 บาท การปรับ สภาพที่อยู่อาศัยรวมทั้งสิ้น 309 หลัง รวมเป็นเงิน 8,569,300 บาท แยกเป็น กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 73 หลัง เป็นเงิน 2,745,000 บาท กลุ่มคนพิการ จำนวน 56 หลัง เป็นเงิน 2,144,300 บาท กลุ่มประชาชนทั่วไป จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) จำนวน 179 หลัง เป็นเงิน 3,580,000 บาท และกลุ่มเด็กและ เยาวชน จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1000,000 บาท การให้บริการเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ จำนวน 349 ราย รวมเป็นเงิน 17,341,000 บาท แยกเป็น คนพิการ จำนวน 236 ราย เป็นเงิน 14,000,000 บาท และผู้สูงอายุ จำนวน 113 ราย เป็นเงิน 3,341,000 บาท สถานการณ์ค้ามนุษย์จังหวัดหนองคาย สถิติย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2564 – 2566 พบว่า จังหวัด หนองคาย มีคดีการค้ามนุษย์ รวมจำนวน 13 คดี โดยในปี 2564 มีสถานะะปลายทาง เป็นรูปแบบการค้ามนุษย์ ในรูปแบบการค้าประเวณี มีการดำเนินคดีจำนวน 1 คดี ผู้เสียหายจำนวน 1 ราย ในปี 2565 มีสถานะต้นทางและ ปลายทาง เป็นการค้ามนุษย์ในรูปแบบการบังคับใช้แรงงาน และการค้าประเวณี มีการดำเนินคดีจำนวน 8 คดี ผู้เสียหายจำนวน 8 ราย และในปี 2566 มีสถานะต้นทางและปลายทาง เป็นการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหา ผลประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น และการค้าประเวณี มีการดำเนินคดีจำนวน 8 คดี ผู้เสียหายจำนวน 8 ราย
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 27 ส่วนที่ 3 ข้อมูลทั่วไปส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ประวัติความเป็นมา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย เดิมใช้ชื่อว่า สำนักงาน ประชาสงเคราะห์จังหวัดหนองคาย ได้เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย และต่อมาได้โอนมาสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2536 โดยให้บริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ประชาชนที่ประสบปัญหาทางสังคมฟื้นฟู และพัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาสทุกประเภท อาทิ เด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์ และผู้สูงอายุ เมื่อปี พ.ศ.2545 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ซึ่งมีผลบังคับใช่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 สำนักงานประชาสงเคราะห์ย้ายไป สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้ชื่อใหม่ว่าสำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จังหวัดหนองคาย และภายหลังได้เปลี่ยนเป็น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 เป็นราชการส่วนภูมิภาคสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนกระทรวง ในจังหวัด มีภารกิจหลักในการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมการสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคใน สังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตสถาบันครอบครัวและชุมชนและราชการอื่นตามที่มี กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกฎกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการ ที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โครงสร้างองค์กรและบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ได้มีการแบ่งการบริหารออกเป็น 2 กลุ่ม 1 ฝ่าย และ 1 ศูนย์บริการ คือ กลุ่มนโยบายและวิชาการ กลุ่มการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป และ ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดหนองคาย มีบุคลากรทั้งสิ้น 33 คน ได้แก่ ข้าราชการ 9 คน พนักงานราชการ 5 คน ลูกจ้างกองทุน 11 คน และจ้างเหมาบริการ 8 คน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 28 โครงสร้างสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย บทบาทภารกิจ : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พ.ศ.2559 โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัด รวมทั้ง รายงานสถานการณ์ทางสังคม และเสนอแนะแนวทางแก้ไข 2. ประสานและจัดทำแผนงาน โครงการและกิจการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ใน ระดับจังหวัด ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง 3. ส่งเสริมและประสานการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามภารกิจและเป้าหมายของหน่วยงาน ในกระทรวง 4. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานกับองค์กรเครือข่ายในจังหวัด ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 5. ส่งเสริมและประสานงานการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม รวมทั้งการส่งต่อให้หน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย 6. กำกับดูแลหน่วยงานในสังกัดกระทรวงให้ดำเนินการตามกฎหมาย นโยบายของกระทรวงติดตาม และประเมินผล แผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงในความรับผิดชอบของส่วนราชการและหน่วยงานสังกัด กระทรวงในระดับจังหวัด 7. เป็นศูนย์ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัด 8. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และรณรงค์ให้มีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ รวมทั้งความก้าวหน้าทางวิชาการและผลการปฏิบัติงานของกระทรวง 9. รับเรื่องราวร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาสังคมในระดับจังหวัด 10. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดหนองคาย กลุ่มนโยบายและ วิชาการ ศูนย์บริการคนพิการ จังหวัดหนองคาย ฝ่ายบริหารงานทั่วไป กลุ่มการพัฒนาสังคม และสวัสดิการ
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 29 วิสัยทัศน์ (Vision) : “เป็นองค์กรหลักด้านสังคมของจังหวัด สร้างโอกาส พัฒนาคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย สู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน” พันธกิจ (Mission) 1. ขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สู่การปฏิบัติ ในระดับจังหวัด 2. บูรณาการภาคีเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคม เสริมสร้างโอกาส พัฒนาศักยภาพคน และการ คุ้มครองทางสังคม สำหรับคนในทุกช่วงวัย 3. ยกระดับองค์กรให้มีผลสัมฤทธิ์สูง ด้วยธรรมาภิบาล สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัล ค่านิยม : อุทิศตน อาสางาน เอื้ออาทร อำนวยประโยชน์สุข ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัยแบบพุ่งเป้า 2. ยกระดับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แบบบูรณาการ 3. พัฒนาระบบสวัสดิการและนวัตกรรมทางสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต คนทุกช่วงวัย 4. ยกระดับการพัฒนาองค์กรให้มีผลสัมฤทธิ์สูงเพื่อรองรับยุคดิจิทัล
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 30
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 31
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 32 ส่วนที่ 4 ผลการด าเนินงานประจ าปีงบประมาณ 2566 รายงานผลการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดหนองคาย ตามนโยบายและภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดังนี้ ที่ แหล่งของเงิน งบประมาณ (บาท) ผลการเบิกจ่าย (บาท) 1 สำนักงานปลัดกระทรวง พม. (สป.) 4,509,164.71 4,508,893.22 2 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) 2,698,000.00 2,698,000.00 3 กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) 4,678,300.00 4,678,300.00 4 กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) 5,619,000.00 5,619,000.00 5 กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) 806,500.00 806,500.00 6 กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) 1,571,464.00 1,571,464.00 คิดเป็น 99.97 % 19,882,428.71 19,876,905.33
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 33 ส่วนที่ 5 โครงการ/กิจกรรมตามกลุ่มเป้าหมาย 5.1 ด้านเด็กและเยาวชน กลุ่มเด็กและเยาวชน จำนวน 145,976 คน จำแนกตามอายุ เด็ก 0-5 ปี จำนวน 26,442 คน เด็ก 6-14 ปี จำนวน 53,686 คน เยาวชน 15-18 ปี 25,859 คน และเยาวชน 19-24 ปี จำนวน 39,989 คน จำนวนเด็กแรก เกิดอยู่ที่ 3,360 ราย ร้อยละ 8.8 มีจำนวนครอบครัวอุปถัมภ์ 104 ครอบครัว และมีเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ จำนวน 105 ราย จำนวนแม่วัยใสและแม่วัยใสเลี้ยงเดี่ยวที่ได้รับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด2,671 คน (1) โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ตั้งแต่ปี 2558 – ปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียน จำนวน 28,097 คน คงเหลือรับสิทธิ์ 19,968 คน ไม่เข้าเกณฑ์รับสิทธิ์ 622 คน สิทธิ์สิ้นสุด 7,365 คน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 34 (2) การช่วยเหลือเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน สนับสนุนสวัสดิการเงินสงเคราะห์เด็กและครอบครัวของเด็กที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน โดยมีอายุไม่เกิน 18 ปี หรือที่อยู่ในระหว่างการศึกษา ต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ และอยู่ในครอบครัว ครอบครัวยากจนขาดแคลน ไม่สามารถเลี้ยงดูและการศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในความอุปการะตามควรแก่อัตภาพ และเป็นครอบครัวที่ประสบความเดือดร้อน ซึ่งเกี่ยวเนื่องถึงตัวเด็กโดยเฉพาะอันเป็นการกระทบกระเทือนต่อ สวัสดิภาพของเด็ก ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย จำนวน 2,150 ครอบครัว เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 2,150,000 บาท
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 35 (3) การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ จัดหาครอบครัวทดแทนชั่วคราวให้กับเด็กที่ประสบปัญหาทางสังคม (เด็กกำาพร้า เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ เด็กที่บิดามารดาไม่ สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยสาเหตุ ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วย เรื้อรัง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอยู่ในครอบครัว/ชุมชนอยู่ก่อนแล้ว ให้ความช่วยเหลือ เงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ ใน กรณีครอบครัวประสบปัญหา ทางเศรษฐกิจ มีฐานะยากจน รายได้ไม่เพียงพอต่อการ ครองชีพ อันส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงเด็กรวมถึงค่าใช้จ่าย ทางการศึกษาของเด็ก จำนวน 91 คน เป็นเงินทั้งสิ้น 2,184,000 บาท
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 36 (4) การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดำเนินการขับเคลื่อนงานร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานหลักตามยุทธศาสตร์การป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดหนองคาย ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดหนองคาย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย สำนักงานส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดหนองคาย และบ้านพักเด็ก และครอบครัวจังหวัดหนองคาย ในการให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในเรื่องของเพศ และการป้องกันการตั้งครรภ์ ไม่พร้อมในวัยรุ่น
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 37 (5) การสร้างบ้านให้เด็กในครอบครัวยากจน โดยได้รับการสนับสนุนจาก CSR จังหวัดหนองคาย จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 100,000 บาท
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 38 (6) การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กจังหวัดหนองคาย พิจารณาให้ความ ช่วยเหลือเด็กในครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม จำนวน 18 ครอบครัว เด็กจำนวน 47 ราย เป็นเงิน 292,500 บาท และพิจารณาเงินสนับสนุนโครงการจากกองทุนคุ้มครองเด็ก จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน 45,940 บาท
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 39 (7) การประชุมคณะอนุกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมประจำจังหวัดหนองคาย เพื่อพิจารณา ให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไปดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม จำนวน 8 ราย
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 40 5.2 ด้านสตรีและครอบครัว (1) โครงการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัว ประจำปี 2566 กิจกรรมวันแห่ง ครอบครัวและสมัชชาครอบครัวระดับจังหวัด ภายใต้แนวคิด “การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อความสุขของ ครอบครัว” เพื่อให้ความรู้ “การบริหารสุขภาพจิต เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว” การออกแบบ สภาพแวดล้อมเพื่อความสุขของครอบครัว ผ่านกระบวนการจากทีมสหวิชาชีพ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและสังคม ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว และส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการพัฒนาสถาบันครอบครัว ยกย่องเชิดชูเกียรติครอบครัวและบุคคลที่ได้รับการ คัดเลือกให้เป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาสถาบันครอบครัวพร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ มีเวทีสาธารณะในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านครอบครัว ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ตลอดจน แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม และระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา สถาบันครอบครัวที่จะนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางในการส่งเสริมประสานงานสถาบัน ครอบครัว
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 41 การคัดเลือกและมอบประกาศนียบัตร “ครอบครัวร่มเย็นระดับจังหวัด” เนื่องในวันแห่ง ครอบครัว ประจำปี พ.ศ. 2566 การคัดเลือกและมอบประกาศนียบัตร “บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัวระดับจังหวัด” เนื่องในวันแห่งครอบครัว ประจำปี พ.ศ. 2566
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 42 (2) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาด้านครอบครัว และยกระดับศูนย์พัฒนาครอบครัวใน ชุมชน (ศพค.) เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อส่งเสริมศักยภาพศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนให้มีการดำเนินงาน ที่ได้มาตรฐาน ควบคู่กับการยกระดับคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในชุมชนอย่างมี ประสิทธิภาพ และผลักดันให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนจดรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อให้มีความ เข้มแข็ง มีช่องทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 43 (3) การสนับสนุนงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณ 75,000 บาท
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 44 (4) โครงการบูรณาการจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันสตรีสากล และการจัดประชุมสมัชชาสตรี ระดับจังหวัด ประจำปี 2566 งบประมาณ 40,000 บาท
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 45 (5) การคัดเลือกแม่ดีเด่นแห่งชาติ ประจำจังหวัดหนองคาย ของสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์ แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 46 (6) การคัดเลือกสตรีไทยดีเด่น ประจำจังหวัดหนองคาย ประจำปี 2566
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 47 (7) โครงการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และคนในครอบครัวประจำปี 2566 ร่วมกับ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงอของมนุษย์ ภาคีเครือข่าย ที่ทำการปกครองอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสภาเด็กและเยาวชน ในงาน ฉลองอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ใต้ร่มพระบารมี 196 ปี เมืองหนองคาย และงานกาชาดจังหวัดหนองคาย ประจำปี 2566 และบริเวณศาลากลางจังหวัดหนองคาย
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 48 (8) สถิติศูนย์ปฏิบัติการป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวจังหวัดหนองคาย ประจำปี งบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566) มีจำนวนผู้ถูกกระทำความรุนแรง จำนวน 39 ราย เป็นชาย 7 ราย หญิง 32 ราย ช่วงอายุของผู้ถูกกระทำความรุนแรง อายุ 1-10 ปี จำนวน 4 ราย อายุ 11-20 ปี จำนวน 8 ราย อายุ 21-30 ปี จำนวน 3 ราย อายุ31-40 ปี จำนวน 2 ราย อายุ 41-50 ปี จำนวน 14 ราย อายุ 51 ปี ขึ้นไป จำนวน 8 ราย สถานที่เกิดเหตุ มาจากบ้านตนเอง 37 ราย และอื่น ๆ 2 ราย สาเหตุของการเกิดปัญหาความ รุนแรง มาจาก สุรา/ยาเสพติด 26 ราย หึงหวง/นอกใจ 7 ราย เศรษฐกิจ 4 ราย สุขภาพ/จิตใจ 1 ราย อื่น ๆ 1 ราย
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 | 49 5.3 ด้านผู้สูงอายุ (1) โครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและ ปลอดภัย วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนที่อยู่อาศัยไม่ปลอดภัย ได้รับการปรับปรุง/ซ่อมแซมที่อยู่ อาศัย ให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย ให้ช่างในชุมชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในการปรับปรุง/ ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 73 ราย งบประมาณ 2,745,000 บาท