The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิจัยในชั้นเรียน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 63040113105, 2024-02-09 10:55:35

บทความวิจัยในชั้นเรียน

บทความวิจัยในชั้นเรียน

1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำได้หลากหลายโดยยึดหลักการที่ว่าผู้เรียน จะต้องเป็นผู้นำเสนอสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยกล่าวโดยย่อคือคิดหาทำ และนำเสนอนั่นเองเข้าข่ายของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างแท้จริงผู้เรียน พยายามคิดหาทางที่จะหาคำตอบอาจโดยการถามผู้ใหญ่หรืออ่านจากตำราแหล่งอื่นๆ วางแผนที่จะลง มือทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบเมื่อได้คำตอบแล้วก็นำมาเล่าสู่กันฟังซึ่งเป็นวิธีการที่ผู้เรียนสามารถนำ ข้อมูลความรู้ที่ได้ไปใช้ระหว่างวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน เป็นโอกาสที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาความเก่งของ ตนเองให้เป็นประโยชน์หากครูช่วยส่งเสริมโดยการเสาะแสวงหาวิชาการที่จะพัฒนาจุดด้อยของผู้เรียน ก็สามารถทำได้ในระดับหนึ่งพร้อมกับรู้จักแสดงความชื่นชมในความเก่ง ทั้งของตนเองและผู้อื่นด้วย เป็นสิ่งที่เราต้องการให้เกิดในเด็กไทยทุกคน (สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม และคณะ, 2545) การจัดการ เรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่ายังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายหรือมีปัญหา เนื่องจากในการ สอนวิทยาศาสตร์ครูจะเน้นเนื้อหาหามากเกินไป นักเรียนไม่ค่อยได้ปฏิบัติการทดลองจริง สอนด้วย วิธีการบรรยายไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักเรียนขาดการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการคิด (สสวท, 2546 ข, น. 5) ปัญหาเกิดขึ้นกับครูวิทยาศาสตร์หลายอย่างเช่นปัญหา ด้านการใช้หลักสูตรปัญหาเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ปัญหาการจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนรวมทั้ง ปัญหาจากการขาดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรวิธี สอนการปฏิบัติการสอนตลอดจนการประเมินผลทาให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของ ครูวิทยาศาสตร์ (ภพ เลาหไพบูลย์, 2540, น. 380) ปัญหาที่เกิดจากผู้เรียนได้แก่ผู้เรียนขาดแรงจูงใจ ในการใฝ่สัมฤทธิ์ขาดความกระตือรือร้น มีเจตคติไม่ดีต่อวิชาที่เรียนกลายเป็นเกลียดและปิดกั้นความรู้ ตนเองในที่สุดอีกประการหนึ่งในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน คือไม่สอดคล้องกับ วิวัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเรียนการสอน ตามคู่มือครูนั้นต้องการให้นักเรียนได้รับเพียงข้อสรุปที่ถูกต้อง ครูผู้สอนเน้นเนื้อหาวิชามากเกินไปทำ ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ไม่เป็นที่น่าพอใจ จากการวิจัยผลการประเมินคุณภาพ ทางการศึกษาของสานักงานทดสอบทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการปีการศึกษา 2557แสดงให้เห็น ว่า การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ยังไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควรต้องเน้นให้เด็กเกิดกระบวนการ คิด วิเคราะห์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


2 ผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนให้สูงขึ้น และเหตุผลผู้วิจัยจึง เลือก Predict Observe Explain (POE) ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ มีความสำคัญ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์. ก่อนเรียนและ หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Predict Observe Explain (POE)ว่าจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เรื่องแสงและการมองเห็นด้วยการจัดการเรียนรู้แบบPredict Observe Explain (POE) สมมติฐานการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบ Predict Observe Explain (POE) เรื่อง แสงและการมองเห็น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 313 คน จาก 8 ห้องเรียน 1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/7 โรงเรียนบ้าน หมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คนซึ่ง ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม 2. ตัวแปรในการวิจัย 2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์


3 3.เนื้อหาที่วิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้เนื้อหาจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 สาระที่ 7 แสงและการมองเห็น มาตรฐาน ว 1.1 ตัวชี้วัด 1, 2 และ 3 เรื่องแสงและการมองเห็น ประกอบด้วยเนื้อหาย่อยดังนี้ 3.1การสะท้อนของแสง 3.2การเกิดภาพจากกระจกเงา 3.3การหักเหของแสง 3.4ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง 3.5ทัศนะอุปกรณ์ 3.6 ตาและการมองเห็น 3.7ความสว่างของแสง 4. ระยะเวลาวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้เวลาในการ ทดลอง 17ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 7สัปดาห์ นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain หรือ POE การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เป็นการให้นักเรียนคิด ทํานายสิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นโดยใช้ เหตุผล จากนั้นทําการสังเกต ทดลอง หรือหาข้อพิสูจน์สถานการณ์ดังกล่าว นักเรียนต้องบอกสิ่งที่ สังเกตได้ และอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ได้จากการทํานายและการสังเกต มี 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การแนะนําและสร้างแรงกระตุ้น (Orientation and motivation) 2. แนะนําการทดลอง (Introducing the experiment) 3. การทํานาย (Prediction) 4. การอภิปรายผลการทํานาย (Discussing their prediction) 5. สังเกตการณ์ (Observation) 6. อธิบาย (Explanation) 7. เสนอการอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ (Providing the scientific explanation) 8. ติดตามผล (Follow-up) 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ทักษะและความสามารถต่าง ๆ ที่จําเป็น


4 ต่อการแสวงหาความรู้ หรือการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 14 ทักษะ ได้แก่ 1.การสังเกต หมายถึงความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย อย่าง ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ เพื่อหาข้อมูล หรือ รายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ใส่ความเห็นของผู้สังเกตลง 2. การวัด หมายถึง ความสามารถในการเลือกและการใช้เครื่องมือทําการวัดหาปริมาณ ของสิ่ง ต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกตอ้ ง โดยมีหน่วยกํากับเสมอ 3. การจําแนกประเภท หมายถึง การแบ่งพวก หรือเรียงลําดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ใน ปรากฏการณ์ โดยใช้เกณฑ์ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง 4. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปชกับสเปช และสเปชกับเวลา สเปชของวัตถุ หมายถึง ที่ ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแล้วสเปชของวัตถุจะมี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง (หรือหนา) ความสัมพันธ์ระหว่างสเปชกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนตําแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลา หรือความสัมพันธ์ระหว่างสเปชของ วัตถุที่เปลี่ยนไปกับเวลา 5. การคํานวณ หมายถึง การนับจํานวนของวัตถุและการนําตัวเลข แสดงจํานวนที่นับได้ มา คิดคํานวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย 6. การจัดกระทํา และการสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง การนําผลการสังเกต การวัด การ ทดลองจากแหล่งต่าง ๆ มาจัดกระทําเสียใหม่ โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ เช่น การหาความถี่ การ เรียงลําดับ การจัดแยกประเภท การคํานวณหาค่าใหม่ เป็นต้น เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจความหมายของ ข้อมูลดียิ่งขึ้น โดยอาจนําเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม วงจร กราฟ สมการ หรือเขียนบรรยาย 7. การลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการ สังเกต อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย 8. การพยากรณ์ หมายถึง การสรุปคําตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยข้อมูลที่ได้ จาก การสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ํา ๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นมาช่วย ใน การสรุป การพยากรณ์มีสองทางคือการพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่และการ พยากรณ์ ภายนอกขอบเขตข้อมูลที่มีอยู่ 9. การตั้งสมมติฐาน หมายถึง การคิดหาคําตอบล่วงหน้า ก่อนกระทําการทดลองโดยอาศัย การสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน คําตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบหรือยังไม่เป็น หลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน สมมติฐานหรือคําตอบที่คิดไว้ล่วงหน้ามักกล่าวไว้เป็นข้อความที่บอก ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ) กับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบภายหลังการทดลองเพื่อหาคําตอบสนับสนุน หรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้


5 10. การกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ หมายถึง การกําหนดความหมายและขอบเขตของ ตัว แปรที่อยู่ในสมติฐานที่ต้องการทดสอบให้เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตหรือวัดได้ 11.การกําหนดและควบคุมตัวแปร หมายถึง การบ่งชี้ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัว แปรที่ ต้องควบคุมในสมมติฐานหนึ่ง การควบคุมตัวแปรเป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัว แปรต้น ถ้าหากไม่ควบคุมให้เหมือน ๆ กัน จะทําให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน 12. การทดลอง หมายถึง การลงลงมือปฏิบัติการทดลองจริง โดยมี 3 ประเภท คือ การ ทดลองแบบแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบและลองผิดลองถูก การทดลองเป็น กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคําตอบหรือการเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง การบันทึกผลการทดลอง 13. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป การตีความหมายข้อมูล คือ การแปล ความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การลงข้อสรุป หมายถึง การสรุป ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด 14. การสร้างแบบจําลอง หมายถึง การนําเสนอข้อมูล แนวคิด ความคิดรวบยอด เพื่อให้ผู้อื่น เข้าใจในรูปของแบบจําลองต่างๆ เช่น กราฟ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วัสดุ สิ่งของ สิ่งประดิษฐ์ หุ่น เป็นต้น ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการ จัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) เรื่อง แสงและการมองเห็น เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. ได้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนตามแนว Predict Observe Explain (POE) เรื่อง แสง และการมองเห็น ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ให้สูงขึ้น 3. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)ไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในสาระอื่นและระดับชั้นอื่นๆต่อไป


บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า ดังต่อไปนี้ 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง 2560) 1.1 วิสัยทัศน์ 1.2 หลักการ 1.3 จุดมุ่งหมาย 1.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1.6 การจัดการเรียนรู้ 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.1ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ 2.2 ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของวิทยาศาสตร์ 2.3 เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 2.4 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2.5 คุณภาพของผู้เรียนวิทยาศาสตร์ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 2.6 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 3. Predict Observe Explain หรือ POE 3.1 ความหมายของ POEย่อมาจาก Predict Observe Explain การจัดการเรียนการสอน แบบ Predict observe explain หรือ POE นั้นเป็นการใช้แนวคิดเชิง constructivism ในการจัด กิจกรรมการเรียน โดยเน้นที่การท้าทายผู้เรียนเพื่อให้เกิด "ความมีส่วนร่วม". ในกระบวนการที่จะ เกิดขึ้น เพราะการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบรรยายอย่างเดียวนั้น เป็นการทำให้ผู้เรียน อยู่สถานะ "พยาน" นั่นก็คือ แค่ผ่านมาเห็นเหตุการณ์... ดังนั้น ความเข้าใจและทัศนคติ ก็อาจ แตกต่างไปจาก "ผู้อยู่ในเหตุการณ์" อย่างแท้จริง 3.2 องค์ประกอบของ POE(Predict Observe Explain) ขั้นที่ 1 Predict (P) ให้นักเรียนทำนาย หรือคาดคะเนคำตอบจากสถานการณ์ที่กำหนดให้. โดยให้ เหตุผลประกอบ ขั้นที่ 2 Observe (O) ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ การสังเกต สำรวจ ทดลอง สืบค้นหาคำตอบจาก


สถานการณ์ที่กำหนด ขั้นที่ 3 Explain (E) ให้นักเรียนอธิบายผลที่ได้จากการสังเกต สำรวจ ทดลอง สืบค้นหาคำตอบจาก สถานการณ์ที่กำหนดโดยให้เหตุผลประกอบซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ จะปรากฏอยู่ในขั้นการสอนในแผน การจัดการเรียนรู้ 3.3 หลักในการสร้าง POE การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ POE ก็คือ สามารถช่วย ให้ผู้สอนเข้าใจการคิดของผู้เรียน โดยในขั้นที่ 1 จนถึง 4 นั้นสามารถตรวจสอบ (สำรวจ). มโนมติ เริ่มแรกของผู้เรียน ในขั้นที่ 6 และขั้นที่ 7 จะช่วยให้ผู้สอนสามารถติดตามดูการเปลี่ยนแปลงหรือ จัดแจงความคิดของผู้เรียน ส่วนในขั้นที่ 8 ก็จะนำไปสู่การสะท้อนผลที่แสดงความก้าวหน้าของผู้เรียน 3.4 ลักษณะของการเรียนรู้ทักษะ POE. เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ไม่เน้นการท่องจำแต่เน้น การปฏิบัติจริง เช่น การนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาในชีวิต หรือการนำความรู้ไปช่วยในการทำงาน เพื่อ ให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการศาสตร์ทั้ง 4 ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 3.5 ประโยชน์ของPOEหรือการใช้รูปแบบการเรียนแบบ POE Education มีประโยชน์ มากมายต่อการพัฒนาผู้เรียน สังคม และประเทศชาติ ผ่านการพัฒนาทักษะสำคัญต่าง ๆ ของผู้เรียน ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) การคิดวิเคราะห์ (Critical Analysis) การคิดอย่างมีระบบ (Systematic Thinking) การคิดอย่างอิสระ (Independent Thinking) การทำงานเป็นทีม (Teamwork) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความคิดริเริ่ม (Initiative) ทักษะการสื่อสาร (Communication) ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Literacy) 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 4.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 4.2 การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์


5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ POE 5.1 งานวิจัยในประเทศ 5.2 งานวิจัยต่างประเทศ


5 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง 2560) 1.1วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มี ความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึด มั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความรู้และทักษะ พื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดย มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตาม ศักยภาพ 1.2 หลักการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อดวามเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็น เป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความ เป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมี คุณภาพ 3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้ สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยึดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้ 5.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยครอบคลุมทุก กลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 1.3 จุดมุ่งหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีตักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมาย เพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตาม หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพสโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


6 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิต สาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข 1.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการ พัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ ภาษาถ่ายทอดความคิดความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และ ความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเอง และสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือ สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคมแสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ ตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ใน การดำเนินชีวิตประจำวันการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความ ขัดแย้งต่างๆอย่างเหมาะสมการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและ การรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้าน ต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้การ สื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม 1.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์


7 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 1.6 การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ตามลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ครูผู้สอน ต้องวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่ม สาระการเรียนรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีหลักการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การ จัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาการ ทางสมอง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาอาจ เพิ่มขึ้นได้ ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จำเป็น สำหรับผู้เรียน เช่น การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของ ตนเอง และกระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย เป็นต้น ทั้งนี้ต้องให้ความสำคัญกับการใช้สื่อ การพัฒนา สื่อ การใช้แหล่งเรียนรู้ การใช้แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการวัดผลอย่างหลากหลาย เพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามเป้าหมายหลักสูตร ผู้สอนพยายามคัดสรรกระบวนการ เรียนรู้ การจัดผู้เรียนโดยช่วยให้ผู้เรียนผ่านสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 8 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ รวมทั้งปลูกฝังเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาทักษะต่าง ๆ อันเป็นสมรรถนะสำคัญให้ ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย 1.6.1หลักการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความสารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดหลักว่า


8 ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิด กับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและศักยภาพ ของเด็ก คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและการพัฒนาทางสมองเน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และจริยธรรม 1.6.2 กระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่ หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็น สำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการสร้างสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย กระบวนการเหล่านี้ เป็น แนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝน พัฒนาเพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้ดี บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจใน กระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.6.3การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แล้วจึงพิจารณา ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนและเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและการ ประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเด็กตามศักยภาพและบรรลุเป้าหมายที่กำหนด 1.6.4 บทบาทของผู้เรียนและผู้สอน การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตรทั้งผู้สอนและผู้เรียนควรมีบทบาท ดังนี้ 1.6.5 บทบาทของผู้สอน 1) ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการ เรียนรู้ ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน 2) กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้และทักษะกระบวนการ ที่ เป็นความคิดรวบยอด หลักการ และความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) ออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการ ทาง สมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย 4) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ 5) จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น


9 เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน 6) ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของ วิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน 7) วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุงการ จัดการเรียนการสอนของตนเอง 1.6.6 บทบาทของผู้เรียน 1) กำหนดเป้าหมาย วางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง 2) เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อความรู้ ตั้งคำถาม คิดหาคำตอบหรือแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ 3) ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ใน สถานการณ์ต่าง ๆ 4) มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและครู 5) ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.1 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และระบบธรรมชาติเป็นสาระที่เน้นการสืบเสาะ (inquiry) เพื่อ เข้าใจระบบธรรมชาติ การจัดประสบการณ์เรียนรู้ในช่วงชั้นนี้เริ่มจากการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่ ใกล้ตัวที่สนใจและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น เน้นให้ผู้เรียนสืบเสาะและแก้ปัญหา โดย ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน ใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่าง ปลอดภัย สร้างเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปรับตัวและอยู่ร่วมกับธรรมชาติ รักษา สิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร เป้าหมายสำคัญของการจัดประสบการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และระบบ ธรรมชาติ ช่วงชั้นที่ 1 1. เข้าใจแนวคิดและความรู้พื้นฐานในวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต สามารถใช้และเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม รู้เท่าทัน และปลอดภัย 2. เป็นผู้ที่มีจินตนาการ จิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ 3. ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์กับระบบธรรมชาติ ผลของ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาการต่าง ๆ ที่มีต่อมวลมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระบบธรรมชาติ 2.2 ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้


10 วิทยาศาสตร์ (Science) เป็นความรู้ที่เกิดจากสติปัญญาและความพยายามของมนุษย์ในการศึกษา เพื่อทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติทั้งบนโลกและในเอกภพ วิทยาศาสตร์จึงให้ ความสำคัญกับ การสืบเสาะหาคำตอบเพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติ การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์เป็น กระบวนการที่ต้องใช้ความรู้ จินตนาการ เครื่องมือต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อการเก็บ รวบรวมข้อมูล จัดรูปแบบของข้อมูลใช้สมรรถนะด้านภาษา เพื่อทำความเข้าใจข้อมูล สื่อสารความคิด และนำเสนอข้อมูล ดังนั้น ความรู้ กระบวนการ และจิตวิทยาศาสตร์ มีความสำคัญกับการนำไปใช้ ประโยชน์ในชีวิต และการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างสมดุลกระบวนการสืบเสาะ (Inquiry Process) เป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเรียนรู้และอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ เชิงวิทยาศาสตร์ ระหว่างการ สืบเสาะผู้เรียนจะต้องใช้การให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logic) หลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical Evidence) จินตนาการ และการคิดสร้างสรรค์ เป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ รอบคอบ มีอิสระและ ไม่เป็นลำดับขั้นที่ตายตัวมีธรรมชาติในการเรียนรู้ ดังนี้ • ปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนโลกหรือในเอกภพที่เกิดขึ้นอย่างเป็นแบบรูป (Pattern) สามารถเข้าใจได้ ด้วยสติปัญญา วิธีการศึกษาที่เป็นระบบ มนุษย์สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ • แนวคิดทางวิทยาศาสตร์มีความไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากพบหลักฐาน (Evidence) ใหม่ที่นำไปสู่การสร้างคำอธิบาย หรือองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ • ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความคงทน และเชื่อถือได้ เพราะการสร้างการอธิบายทาง วิทยาศาสตร์ต้องผ่านวิธีการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นระยะเวลาหนึ่งจนมั่นใจใน คำอธิบาย • วิทยาศาสตร์เชื่อถือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสังเกต ทดลอง หรือวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (Technology) เป็นการผสานทักษะ เทคนิค วิธีการ และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เข้า ด้วยกันให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ รวมถึงการระบุเหตุผลของ คำตอบ ใช้เทคโนโลยีในการสร้างชิ้นงานอย่างง่าย และรู้จักเข้าถึงแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตอย่าง เหมาะสมและปลอดภัย การรู้เทคโนโลยี และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบมีความสำคัญกับ การนำไปใช้ร่วมกับวิทยาการแขนงต่าง ๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย และมีความสุข จุดเน้นการพัฒนา การจัดประสบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ในช่วงชั้น ที่ 1ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ผ่านหัวข้อต่อไปนี้ 1. ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้เรียนควรได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะ สมบัติและความสำคัญของดินและ น้ำ รวมถึงประโยชน์ของดินและน้ำต่อมนุษย์ จึงต้องดูแลเพื่อให้มีใช้ได้อย่างยั่งยืน สมดุล ไม่กระทบ สิ่งแวดล้อม ผู้เรียนควรประพฤติตนโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า ลดการใช้เมื่อไม่จำเป็น


11 2. สิ่งแวดล้อม ผู้เรียนควรได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ของพืชและสัตว์ สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ วัฏจักรชีวิตของพืชดอกและสัตว์ ผลของ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพืช และสัตว์ และการดูแลและปกป้องสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม กับการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ 3. ปรากฏการณ์ธรรมชาติและภัยอันตราย ผู้เรียนควรได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์กลางวัน กลางคืน การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ และการกำหนดทิศ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่โลก หมุนรอบตัวเอง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดลม ประโยชน์ของลมต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการ ปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากวาตภัยและอุทกภัย 4. ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้เรียนควรได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการฝึกฝนการนำความรู้มา แก้ปัญหา หรือพัฒนาชิ้นงานด้วย โดยประยุกต์ใช้ความรู้ในเรื่องแรง ผลของแรงที่มีต่อวัตถุต่าง ๆ แรง แม่เหล็ก หรือสมบัติของวัสดุ ในแก้ปัญหาหรือการสร้างชิ้นงานอย่างง่าย 5. เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ผู้เรียนควรได้รับการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน มีความมุ่งมั่นและ เห็นว่า การแก้ปัญหา เป็นเรื่องที่สนุกและท้าทาย รวมทั้งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ สื่อสารได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย สร้างชิ้นงานหรือเครื่องมืออย่างง่ายในการเล่น การทำงาน การ แก้ปัญหา หรือการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม 2.3 เป้าหมายของวิทยาศาสตร์ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองมากที่สุดเพื่อให้ ได้ทั้งกระบวนการและความรู้จากวิธีการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ การทดลอง แล้วนำผลที่ได้มา จัดระบบเป็นหลักการ แนวคิด และองค์ความรู้ การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จึงมีเป้าหมายที่สำคัญ ดังนี้ 1. เพื่อให้เข้าใจหลักการ ทฤษฎีและกฎที่เป็นพื้นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์ 2.เพื่อให้เข้าใจขอบเขตของธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์และข้อจำกัดในการศึกษาวิชา วิทยาศาสตร์ 3. เพื่อให้มีทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางเทคโนโลยี 4. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมวลมนุษย์และ สภาพแวดล้อมในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน 5. เพื่อนำความรู้ความเข้าใจ ในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์


12 ต่อสังคมและการดำรงชีวิต 6. เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหา และการจัดการ ทักษะในการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ 7. เพื่อให้เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ 2.4 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศการ ถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากร ปัญหาและ ผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแนวทางในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลําเลียงสารเข้า และออกจากเซลล์ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆของสัตว์และมนุษย์ที่ทํางาน สัมพันธ์กันความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทํางานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 1.3 เข้าใจกระบวนการและความสําคัญของการถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรมสารพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทาง ชีวภาพและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ ของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง สถานะของสสารการเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจําวัน ผลของแรงที่กระทําต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุรวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 2.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจําวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ


13 มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซีดาวฤกษ์และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลง ภายในโลกและบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลม ฟ้า อากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคํานึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคํานวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็น ขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทํางาน และการ แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพรู้เท่าทัน และมีจริยธรรม 2.5 คุณภาพของผู้เรียนวิทยาศาสตร์เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1. เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสารความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับ โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคหลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2.เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงานปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสสารและพลังงานพลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ เสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 3. เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตและ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงานการเปลี่ยนแปลง แทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากรปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ 4. เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สาร พันธุกรรมการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพและ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2.6 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มาตรฐานการเรียนรู้ ว 1.1


14 • อธิบายปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบนิเวศที่ได้จากการสำรวจ - ระบบนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีชีวิต เช่น พืชสัตว์จุลินทรีย์และ องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต เช่น แสง น้ำ อุณหภูมิแร่ธาตุแก๊ส องค์ประกอบเหล่านี้มี ปฏิสัมพันธ์กัน เช่น พืชต้องการแสง น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในการสร้าง อาหาร สัตว์ต้องการอาหาร และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต เช่น อุณหภูมิความชื้นองค์ประกอบทั้งสองส่วนนี้จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม ระบบนิเวศจึงจะสามารถคงอยู่ต่อไปได้ • อธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่าง ๆ ในแหล่งที่อยู่ เดียวกันที่ได้จากการสำรวจ - สิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆเช่น ภาวะพึ่งพากัน ภาวะอิง อาศัย ภาวะเหยื่อกับผู้ล่า ภาวะปรสิต - สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่เดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน เรียกว่าประชากร - กลุ่มสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยประชากรของสิ่งมีชีวิตหลาย ๆชนิด อาศัยอยู่ร่วมกันใน แหล่งที่อยู่เดียวกัน • สร้างแบบจำลองในการอธิบายการถ่ายทอดพลังงานในสายใยอาหาร • อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ผลิตผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบนิเวศ • อธิบายการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหาร • ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศโดยไม่ทำลายสมดุลของ ระบบนิเวศ - กลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบ่งตามหน้าที่ได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ผู้ผลิต ผู้บริโภค และ ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์สิ่งมีชีวิตทั้ง 3 กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กัน ผู้ผลิตเป็นสิ่งมีชีวิตที่ สร้างอาหารได้เอง โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงผู้บริโภคเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ สามารถสร้างอาหารได้เอง และต้องกินผู้ผลิตหรือสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหารเมื่อผู้ผลิต และผู้บริโภคตายลงจะถูกย่อยโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ซึ่งจะเปลี่ยนสารอินทรีย์ เป็นสารอนินทรีย์กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการหมุนเวียนสารเป็นวัฏจักร


15 จำนวนผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์จะต้องมีความเหมาะสมจึงทำให้ กลุ่มสิ่งมีชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล - พลังงานถูกถ่ายทอดจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคลำดับต่าง ๆรวมทั้งผู้ย่อยสลาย สารอินทรีย์ในรูปแบบสายใยอาหารที่ประกอบด้วยโซ่อาหารหลายโซ่ที่สัมพันธ์กันใน การถ่ายทอดพลังงานในโซ่อาหาร พลังงานที่ถูกถ่ายทอดไปจะลดลงเรื่อย ๆ ตามลำดับของการบริโภค - การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศอาจทำให้มีสารพิษสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตได้จนอาจ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและทำลายสมดุลในระบบนิเวศดังนั้นการดูแลรักษา ระบบนิเวศให้เกิดความสมดุล และคงอยู่ตลอดไปจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ว1.3 • เปรียบเทียบความหลากหลายทางชีวภาพในระดับชนิดสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต่าง ๆ • อธิบายความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและ ต่อมนุษย์ • แสดงความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีส่วนร่วม ในการดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ - ระบบนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีชีวิต เช่น พืชสัตว์จุลินทรีย์และ องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต เช่น แสง น้ำ อุณหภูมิแร่ธาตุแก๊ส องค์ประกอบเหล่านี้มี ปฏิสัมพันธ์กัน เช่น พืชต้องการแสง น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในการสร้าง อาหาร สัตว์ต้องการอาหาร และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต เช่น อุณหภูมิความชื้นองค์ประกอบทั้งสองส่วนนี้จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม ระบบนิเวศจึงจะสามารถคงอยู่ต่อไปได้ดีกว่าระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทาง ชีวภาพต่ำกว่านอกจากนี้ความหลากหลายทางชีวภาพยังมีความสำคัญต่อมนุษย์ใน ด้านต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นอาหารยารักษาโรค วัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนั้น จึง เป็นหน้าที่ของทุกคนในการดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่


16 มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ว 2.1 • อธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมีรวมถึงการจัดเรียงตัวใหม่ของอะตอมเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใช้ แบบจำลองและสมการข้อความ - การเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำ ให้เกิดสารใหม่ โดยสารที่เข้าทำปฏิกิริยาเรียกว่า สารตั้งต้น สารใหม่ที่เกิดขึ้นจาก ปฏิกิริยา เรียกว่าผลิตภัณฑ์การเกิดปฏิกิริยาเคมีสามารถเขียนแทนได้ด้วยสมการ ข้อความ - การเกิดปฏิกิริยาเคมีอะตอมของสารตั้งต้นจะมีการจัดเรียงตัวใหม่ ได้เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีสมบัติแตกต่างจากสารตั้งต้น โดยอะตอมแต่ละชนิดก่อนและหลังเกิดปฏิกิริยา เคมีมีจำนวนเท่ากัน • อธิบายกฎทรงมวล โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ - เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีมวลรวมของสารตั้งต้นเท่ากับมวลรวมของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นไป ตามกฎทรงมวล • วิเคราะห์ปฏิกิริยาดูดความร้อนและปฏิกิริยาคายความร้อนจากการเปลี่ยนแปลงพลังงานความ ร้อนของปฏิกิริยา - เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีมีการถ่ายโอนความร้อนควบคู่ไปกับการจัดเรียงตัวใหม่ของ อะตอมของสารปฏิกิริยาที่มีการถ่ายโอนความร้อนจากสิ่งแวดล้อม เข้าสู่ระบบเป็น ปฏิกิริยาดูดความร้อน ปฏิกิริยาที่มีการถ่ายโอนความร้อนจากระบบออกสู่ สิ่งแวดล้อมเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการวัด อุณหภูมิเช่นเทอร์มอมิเตอร์หัววัดที่สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ได้อย่างต่อเนื่อง • อธิบายปฏิกิริยาการเกิดสนิมของเหล็กปฏิกิริยาของกรดกับโลหะปฏิกิริยาของกรดกับเบสและ ปฏิกิริยาของเบสกับโลหะ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และอธิบายปฏิกิริยาการเผาไหม้การ เกิดฝนกรดการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้สารสนเทศรวมทั้งเขียนสมการข้อความแสดง ปฏิกิริยาดังกล่าว - ปฏิกิริยาเคมีที่พบชีวิตประจำวันมีหลายชนิด เช่น ปฏิกิริยาการเผาไหม้การเกิดสนิม ของเหล็กปฏิกิริยาของกรดกับโลหะปฏิกิริยาของกรดกับเบส ปฏิกิริยาของเบสกับ


17 โลหะ การเกิดฝนกรดการสังเคราะห์ด้วยแสง ปฏิกิริยาเคมีสามารถเขียนแทนได้ด้วย สมการข้อความ ซึ่งแสดงชื่อของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เช่นเชื้อเพลิง + ออกซิเจน →คาร์บอนไดออกไซด์+ น้ำปฏิกิริยาการเผาไหม้เป็นปฏิกิริยาระหว่างสารกับ ออกซิเจนสารที่เกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบที่มีคาร์บอนและ ไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งถ้าเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ - การเกิดสนิมของเหล็ก เกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างเหล็ก น้ำและออกซิเจน ได้ ผลิตภัณฑ์เป็นสนิมของเหล็ก - ปฏิกิริยาการเผาไหม้และการเกิดสนิมของเหล็กเป็นปฏิกิริยาระหว่างสารต่าง ๆ กับ ออกซิเจน - ปฏิกิริยาของกรดกับโลหะ กรดทำปฏิกิริยากับโลหะได้หลายชนิดได้ผลิตภัณฑ์เป็น เกลือของโลหะและแก๊สไฮโดรเจน - ปฏิกิริยาของกรดกับสารประกอบคาร์บอเนตได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์เกลือของโลหะ และน้ำ - ปฏิกิริยาของกรดกับเบส ได้ผลิตภัณฑ์เป็นเกลือของโลหะและน้ำ หรืออาจได้เพียง เกลือของโลหะ - ปฏิกิริยาของเบสกับโลหะบางชนิด ได้ผลิตภัณฑ์เป็นเกลือของเบส และแก๊สไฮโดรเจน - การเกิดฝนกรด เป็นผลจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำฝนกับออกไซด์ของไนโตรเจน ทำให้ น้ำฝนมีสมบัติเป็นกรด - การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเป็นปฏิกิริยาระหว่างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ โดยมีแสงช่วยในการเกิดปฏิกิริยาได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำตาลกลูโคสและแก๊สออกซิเจน - มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ว 2.3 • วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์กระแสไฟฟ้า และความต้านทาน และคำนวณ ปริมาณที่เกี่ยวข้องโดยใช้สมการ = จากหลักฐานเชิงประจักษ์ • เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า • ใช้โวลต์มิเตอร์แอมมิเตอร์ในการวัดปริมาณทางไฟฟ้า


18 - เมื่อต่อวงจรไฟฟ้าครบวงจรจะมีกระแสไฟฟ้าออกจากขั้วบวกผ่านวงจรไฟฟ้าไปยังขั้ว ลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งวัดค่าได้จากแอมมิเตอร์ - ค่าที่บอกความแตกต่างของพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยประจุระหว่างจุด 2 จุด เรียกว่า ความต่างศักย์ซึ่งวัดค่าได้จากโวลต์มิเตอร์ - ขนาดของกระแสไฟฟ้ามีค่าแปรผันตรงกับความต่างศักย์ระหว่างปลายทั้งสองของ ตัวนำโดยอัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์และกระแสไฟฟ้ามีค่าคงที่ เรียกค่าคงที่นี้ ว่า ความต้านทาน • วิเคราะห์ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบ อนุกรมและแบบขนานจากหลักฐานเชิงประจักษ์ • เขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนาน - การต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมในวงจรไฟฟ้า ความต่างศักย์ที่คร่อมตัว ต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากับผลรวมของความต่างศักย์ที่คร่อมตัวต้านทานแต่ละตัว โดยกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน - การต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบขนานในวงจรไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านวงจรมีค่า เท่ากับผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานแต่ละตัวความต่างศักย์ที่คร่อมตัว ต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน - เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดที่ทำงาน ร่วมกัน การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยเลือกใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม ตามหน้าที่ของชิ้นส่วนนั้น ๆ จะสามารถทำให้วงจรไฟฟ้าทำงานได้ตามต้องการ • อธิบายและคำนวณพลังงานไฟฟ้า โดยใช้สมการ = รวมทั้งคำนวณค่าไฟฟ้าของ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน • ตระหนักในคุณค่าของการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยนำเสนอวิธีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง ประหยัดและปลอดภัย - เครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีค่ากำลังไฟฟ้าและความต่างศักย์กำกับไว้กำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็น วัตต์ความต่างศักย์มีหน่วยเป็นโวลต์ค่าไฟฟ้าส่วนใหญ่คิดจากพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ทั้งหมด ซึ่งหาได้จากผลคูณของกำลังไฟฟ้าในหน่วยกิโลวัตต์กับเวลาในหน่วยชั่วโมง พลังงานไฟฟ้ามีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือหน่วย


19 - วงจรไฟฟ้าในบ้านมีการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบขนาน เพื่อให้ความต่างศักย์เท่ากัน การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันต้องเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ และกำลังไฟฟ้าให้เหมาะกับการใช้งาน และการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องใช้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและประหยัด 3. ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบใช้Predict Observe Explain (POE) ข้อดี 1. สนับสนุนให้มีการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก (Deep Approach) ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเรียน อย่างเข้าใจและสามารถจดจำได้นาน เกิดเป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริง 2. สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นคุณสมบัติจำเป็นที่ทุกคนควรมีเพราะ สามารถพัฒนาไปเป็นผู้ที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3. โจทย์ปัญหาที่ใช้ในการเรียนรู้ จะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียนกับการ ปฏิบัติงานในอนาคต ทำเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้สามารถจดจำได้ดีขึ้น 4. ทั้งครูและผู้เรียนสนุกกับการเรียน ในส่วนผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนเพราะได้มี บทบาทในการเรียนรู้เอง เช่น การอภิปรายถกเถียงในระหว่างการทำกลุ่มย่อย ฝ่ายครูเห็นพัฒนาการ ทางด้านความคิดและทักษะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน นอกจากนี้ครูยังได้มีโอกาสเรียนรู้ข้ามสาขาที่ ตนชำนาญ เนื่องจากโจทย์เป็นแบบบูรณาการ โดยเรียนรู้ไปกับผู้เรียน สามารถเห็นความเชื่อมโยงของ ศาสตร์ต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดความคิดกว้างไกล 5. ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานเป็นทีม ช่วยให้เกิดการตัดสินใจแบบองค์รวม ซึ่งมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่าการทำงานเดี่ยว 6. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา การคิดอย่างมี วิจารณญาณ การหาข้อสรุปเมื่อมีความขัดแย้งเป็นต้น 7. ผู้เรียนมีเสรีภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างชัดเจน 8. เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนจะเปลี่ยนจากการเรียนแบบรับฟังและ ท่องจำมาเป็นผู้มีส่วนร่วมกำกับ และรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน 9. มีการบูรณาการระหว่างสาขาวิชา สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงทางวิชาชีพที่ต้อง ใช้หลาย ๆ วิชามารวมกันในการวินิจฉัยและแก้ปัญหา 10. เป็นการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์ เพราะผู้เรียนต้องอาศัยความรู้เดิมที่มีอยู่มา สร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา 11. เสริมสร้างความสามารถในการใช้ทรัพยากรของผู้เรียนได้ดีขึ้น 12. ส่งเสริมการสะสมการเรียนรู้และการคงรักษาข้อมูลใหม่ไว้ได้ดีขึ้น


20 ข้อจำกัด 1. ผู้เรียนอาจไม่มั่นใจในความรู้ที่ตนค้นคว้ามา เพราะไม่สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ อาจมีผลกระทบในทางลบเกี่ยวกับการเรียนได้ 2. ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น ทั้งฝ่ายผู้เรียนและผู้สอน ฝ่ายผู้เรียน เนื่องจากต้องค้นคว้าและ ศึกษาด้วยตนเองจึงต้องการเวลามากขึ้นเมื่อเทียบกับการเรียนโดยการฟังบรรยาย ฝ่ายผู้สอนจะต้อง ใช้เวลาค่อนข้างมากในช่วงเตรียมการ 3. เนื้อหาในส่วนวิทยาศาสตร์พื้นฐานถูกตัดทอนลง ข้อความดังกล่าวเป็นความจริงแต่สิ่ง ที่ถูกตัดทอนออกไปอาจไม่มีความจำเป็นในการเรียนการสอนในสาขาวิชาแพทยศาสตร์หรืออาจไม่ จำเป็นในการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ดังนั้นเนื้อหาที่คงไว้จะเป็นเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้อง กับวิชาชีพ หรือการเรียนรู้ในชั้นปีที่สูงขึ้นต่อไป (Clinical Years) 4. การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักนี้ อาจไม่เหมาะกับผู้เรียนที่ไม่ชอบการ อภิปรายถกเถียง ชอบฟังมากกว่า 5. ในกรณีที่จำนวนผู้เรียนมาก ต้องการการลงทุนมาก ทั้งวัสดุ เวลา และยากในการ บริหารจัดการแต่สามารถเป็นไปได้ในส่วนที่เป็นข้อเสีย จะเห็นได้ว่าจะต้องมีการติดตามและเฝ้าระวัง การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และทำการปรับเปลี่ยนแก้ไขตามเห็นสมควร ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสูดแก่ผู้เรียน นอกจากนี้จะต้องมีการเตรียมผู้เรียนให้รับรู้และตระหนักถึงหน้าที่ รับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้คำปรึกษาในระยะแรกของการเรียนที่อาจยังปรับตัวไม่ได้ และ ต้องเตรียมครูให้ตระหนักถึงบทบาทที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการสอนในกลุ่มย่อย การเตรียมบทเรียน การวัดและการประเมินผล เป็นต้น ทั้งนี้หากได้ดำเนินการอย่างครบถ้วนจะสามารถลดทอนปัญหา หรือข้อเสียของการเรียนแบบนี้ลงได้บ้าง 6. เป็นการเรียนรู้ที่ต้องใช้ความรับผิดชอบและความมีวินัยในตัวเองสูง 7. ครูผู้สอนอาจไม่สามารถใช้ความรู้ของตนเองที่มีอยู่มาถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้ 8. การเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียนเป็นคนกำกับดูแลเอง มีแนวโน้มที่จะเป็นการเรียนรู้อย่าง ไม่เป็นระบบ ไม่รู้ว่าอะไรสำคัญและไม่สำคัญ จากการศึกษาข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สรุปได้ว่า ข้อดีของการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานว่า เป็นการช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน และ พัฒนาทักษะการค้นคว้าความรู้ได้ด้วยตนเอง ช่วยฝึกทักษะในการแก้ปัญหากระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการ ประยุกต์ใช้ความรู้จากสิ่งที่เรียนรู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาแต่การเรียนแบบใช้ปัญหานั้นยังมีข้อจำกัด เกี่ยวกับความสำเร็จในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนของผู้เรียน อาจไม่กระตุ้นความคิด ความสนใจ ของผู้เรียนที่ไม่มีความกระตือรือร้น หรือผู้เรียนที่ไม่ชอบการค้นว้าด้วยตนเอง ดังนั้นครูผู้สอนจึง จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนการจัดการเรียนการสอน เตรียมสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน ให้


21 รอบคอบด้วย ซึ่งไม่สามารถใช้ได้กับทุกวิชา คุณภาพของโจทย์ปัญหาเป็นสิ่งสำคัญควบคู่กับคุณภาพ ของครูและผู้เรียน โดยผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองด้วย 4. การทางวิทยาศาสตร์ 4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องจัดให้เป็นระบบ โดยมีการจัดองค์ประกอบของการเรียนรู้ให้มี ความสัมพันธ์กัน เพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดมุ่งหมาย ของการเรียนรู้ที่กำหนดไว้เรียกว่าระบบการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะทั่วไปเช่นเดียวกับระบบ การทำงานอื่นๆ คือมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการดังนี้ 1. ตัวป้อน หมายถึง ข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับครู นักเรียน หลักสูตร กลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เนื้อหาความรู้วิทยาศาสตร์ หนังสือเรียน คู่มือครู วัสดุอุปกรณ์ สื่อ การ สอน แหล่งวิชาการและสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ 2. กระบวนการ หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การปฏิบัติ กิจกรรม การเรียนของนักเรียน บทบาทและกิจกรรมของครู 3. การควบคุม หมายถึง สิ่งที่ช่วยประสิทธิภาพทางการเรียนได้แก่ การใช้คำถามชนิด ต่างๆ การสร้างเสริมกาลังใจ การตรวจสอบความรู้ของนักเรียนในขณะที่กาลังเรียน การประเมินผล ก่อนที่ จะสิ้นสุดการสอน 4. ผลผลิต หมายถึง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอันเป็นผลมาจากกระบวนการเรียนการสอน 5. ข้อมูลป้อนกลับ หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากสอนไปแล้ว เพื่อตรวจสอบ พฤติกรรมด้านต่างๆ ของนักเรียนว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าหากว่าไม่เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณาปรับปรุงองค์ประกอบ และขั้นตอนของระบบ การเรียนการ สอนวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากองค์ประกอบดังกล่าวนี้ สามารถนำมาจัดระบบการเรียนการสอน อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้นักเรียนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้หลายรูปแบบโดยทุก รูปแบบจะ มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน คือ มุ่งหวังให้มีการเตรียมการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เนื่องจากการ จัดระบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้ครูมีความเข้าใจความเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์ของ องค์ประกอบการเรียนการสอนโดยตลอด จึงทำให้รู้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้กับ นักเรียน ได้อย่างเหมาะสมตามความสามารถในลักษณะต่างๆ จึงส่งผลให้นักเรียนเกิดการ


22 เรียนรู้ได้อย่างแท้จริง สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะด้าน ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนจากการเรียนที่เป็นระบบจะส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจใน วัตถุประสงค์และขอบเขต เนื้อหาของการเรียน ได้รับรู้พัฒนาการของการเรียนรู้ของตนเอง จึงทำ ให้กระตือรือร้น ที่ปรับปรุง ตนเองตลอดเวลานักเรียนจึงมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น ส่งผลต่อ การพัฒนาการเรียนของนักเรียน ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 5.วิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ทิพวรรณ อิ่นแก้ว (2560). ได้ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการ ใช้คำถามเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแม่คำ (ประชานุเคราะห์)ที่ไดรับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม หลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.1 2)การคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแม่คำ(ประชานุเคราะห์) ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ 3) การศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.65 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมี ค่าเท่ากับ 0.48 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง อนุชา ตู้แก้ว (2561). ได้ทําการศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย วิธีทํานาย สังเกต อธิบาย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอุทัยวิทยาคม จํานวน 40 คน เก็บข้อมูลโดย การทดสอบก่อน เรียนและหลังเรียนและประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขณะทํากิจกรรม การเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนเรียนรู้ ด้วยวิธี ทํานาย-สังเกต-อธิบาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลการประเมิน ความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี


23 งานวิจัยต่างประเทศประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ACAR (2016) ได้ทําการศึกษาวิจัยผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การทํานาย สังเกต และ อธิบาย ในรายวิชาปฏิบัติการเคมี เพื่อศึกษาความเข้าใจและทัศนคติของครูประถมศึกษาในเรื่องสาร ผสม การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมี และกรดเบส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทําวิจัยเป็นครู ประถมศึกษา มีกลุ่มทดลอง 26 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้โดย การสังเกตและอธิบายกลุ่มควบคุมใช้การเรียนการสอนแบบปกติทําการศึกษาก่อนและหลงัได้รับการ จัดการเรียนรู้ ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การทํานาย สังเกต และ อธิบายมีคะแนนสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติและยังมีทัศนคติที่ดี ต่อ การจัดการเรียนรู้โดยการใช้การทํานาย สังเกต และอธิบาย


34 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนตามแนว Predict Observe Explain (POE) ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังขั้นตอนต่อไปนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. แบบแผนการวิจัย 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล 6. การวิเคราะห์ข้อมูล 7. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนบ้านหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 313 คน จาก 8 ห้องเรียน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนบ้านหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน นักเรียน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบบแผนการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีแบบแผนการทดลอง (Experimental Design) กลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและ หลังทดลอง One Group Pretest – Posttest Design (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540: 60-61) แบบแผนที่ใช้ในการทดลอง สอบก่อน ทดลอง สอบหลัง T1 X T2 T1 หมายถึง การทดสอบก่อนเรียน (Pretest)


35 X หมายถึง การจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) เรื่องแสงและการมองเห็น T2 หมายถึง การทดสอบหลังเรียน (Posttest) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ Predict Observe Explain (POE) เรื่องแสงและการมองเห็น 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงและการมองเห็น แบบปรนัย 4 ตัวเลือก การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงแลการมองเห็น 1.1 ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง 2560), กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระที่ 7 แสงและการมองเห็น ,หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เรื่องการสะท้อนของแสง ,คู่มือ การสอนวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Predict Observe Explain (POE) 1.2 วิเคราะห์และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ และกิจกรรม 1.3 พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) เรื่อง แสงและการมองเห็น จำนวน 7แผน ดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การสะท้อนของแสง 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการเกิดภาพจากกระจกเงา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การหักเหของแสง 5 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ทัศนะอุปกรณ์ 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง ตาและการมองเห็น 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ความสว่างของแสง 2 ชั่วโมง โดยแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบดังนี้ 1) คำชี้แจง 2) จุดประสงค์การเรียนรู้


36 3) ใบความรู้ 4) ใบกิจกรรม 5) แบบสรุปผลกิจกรรม 6)แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม 1.4 นำชุดแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไข ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมความสอดคล้องและความเป็นไปได้ระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ 1.5 นำชุดฝึกทักษะที่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา เสนอต่อ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ และการวัดผลและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของสะเต็มศึกษาโดยพิจารณาจากค่า ดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence : IOC) ระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผล โดยให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านพิจารณา ตรวจสอบให้คะแนนดังนี้ ให้คะแนนเป็น +1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของชุดฝึกทักษะ มีความเหมาะสมและ สอดคล้องกัน ให้คะแนนเป็น 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าองค์ประกอบของชุดฝึกทักษะ มีความเหมาะสมและ สอดคล้องกัน ให้คะแนนเป็น –1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของชุดฝึกทักษะ มีความไม่เหมาะสมและไม่ สอดคล้องกัน แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยพิจารณาค่า ดัชนีความสอดคล้องขององค์ประกอบตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไป 1.6 ปรับปรุงแก้ไขชุดฝึกทักษะตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำเสนออาจารย์ที่ ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง นำชุดฝึกทักษะที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปทดลองใช้ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10คน ที่มีระดับความสามารถเก่ง ปาน กลาง และอ่อน เพื่อดูความเหมาะสมของกระบวนการจัดการเรียนรู้ เวลาที่ใช้และปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข 1.7 นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสะท้อนของแสง ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อไป


37 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ก่อนการทดลอง ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์เพื่อนำคะแนนมาวิเคราะห์เป็นคะแนนก่อนเรียน 2. ผู้วิจัยดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Predict Observe Explain (POE) เรื่อง แสงและการมองเห็น จำนวน 7 แผนรวม 17 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 7 สัปดาห์ 3. เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ทำการทดลองหลังเรียน โดยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ชุดเดิมกับแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อนำคะแนนมา วิเคราะห์เป็นคะแนนหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล นำคะแนนผลการทดสอบการวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน มาคิดคะแนนเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แล้วนำคะแนนทั้งสองมา เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ t-test for Dependent Sample สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ 1.1 วิเคราะห์หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง แสงและการมองเห็น และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 1.2 หาความยากง่าย (p) และอำนาจจำแนก ( r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิทยาศาสตร์ 1.3 หาความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดย คำนวณจากสูตร K-R20 2. สถิติพื้นฐาน 2.1 ค่าร้อยละ 2.2 ค่าเฉลี่ย 2.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ สถิติ t-test Dependent


บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้ทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงและการมองเห็น จำนวน 38 คน ซึ่งเป็น แบบปรนัย 4 ตัวเลือก มีจำนวนทั้งหมด 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20คะแนน ทดสอบกับกลุ่ม ตัวอย่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรูปแบบ POE จากนั้นนำคะแนนการทดสอบก่อน เรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แสดงผลดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ที่ได้รับ การจัดการเรียนรูปแบบPOE ก่อนเรียนและหลังเรียน คนที่ ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน (20 คะแนน) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (20 คะแนน ) คะแนน ร้อยละ คะแนน ร้อยละ 1 3 15 8 40 2 5 25 10 50 3 8 40 11 55 4 4 20 7 35 5 3 15 9 45 6 7 35 13 65 7 2 10 7 35 8 4 20 8 40 9 3 15 6 30 10 5 25 11 55 11 8 40 12 60


38 ตารางที่3ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรูปแบบPOE ก่อนเรียนและหลังเรียน(ต่อ) คนที่ ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน (20 คะแนน) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (20 คะแนน ) คะแนน ร้อยละ คะแนน คะแนน 12 6 30 10 50 13 2 10 6 30 14 4 20 9 45 15 7 35 11 55 16 5 25 9 45 17 8 40 12 60 18 10 50 15 75 19 8 40 13 65 20 7 35 12 60 21 9 45 12 60 22 6 30 13 65 23 7 35 11 55 24 5 25 10 50 25 7 35 12 60 26 8 40 14 70 27 5 25 9 45 28 8 40 13 65 29 4 20 9 45 30 4 20 7 35 31 5 25 8 40 32 6 30 10 50 ̅ 7.63 38.18 14.75 73.78 S.D 1.31 - 1.90 - ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการ


39 เรียนรูปแบบ ผู้วิจัยได้นำคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน จากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิทยาศาสตรมาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยการทดสอบ t-test for Dependent Sample ผลการ วิเคราะห์ข้อมูลแสดงผลดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ได้รับ การ จัดการเรียนรูปแบบ ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่ม N คะแนนเต็ม ̅ S.D ร้อยละ t-test ก่อนเรียน 38 20 7.63 1.31 31.87 24.312 หลังเรียน 38 20 14.75 1.90 76.78 หมายเหตุ **มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 9.56 คิดเป็นร้อยละ 31.87และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 23.06 คิดเป็นร้อยละ 76.87 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียน รูปแบบPOE มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน


40 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลัง เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เรื่องแสงและการมองเห็นด้วยแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยนำเสนอการสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ดังนี้ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เรื่องแสงและการมองเห็นด้วยการจัดการเรียนรู้แบบPredict Observe Explain (POE) สมมติฐานการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบ Predict Observe Explain (POE) เรื่อง แสงและการมองเห็น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน วิธีดำเนินงานวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนบ้านหมาก แข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 313 คน จาก 8 ห้องเรียน 1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/7 โรงเรียนบ้าน หมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ Predict Observe Explain (POE) เรื่องแสงและการมองเห็น 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงและการมองเห็น แบบ ปรนัย 4 ตัวเลือก


41 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ก่อนการทดลอง ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์เพื่อนำคะแนนมาวิเคราะห์เป็นคะแนนก่อนเรียน 2. ผู้วิจัยดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Predict Observe Explain (POE) เรื่อง แสงและการมองเห็น จำนวน 7 แผนรวม 17 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 7 สัปดาห์ 3. เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ทำการทดลองหลังเรียน โดยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ชุดเดิมกับแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อนำคะแนนมา วิเคราะห์เป็นคะแนนหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล นำคะแนนผลการทดสอบการวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลัง เรียน มาคิดคะแนนเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แล้วนำคะแนนทั้งสอง มาเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ t-test for Dependent Sample สรุปผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 9.56 คิดเป็นร้อยละ 31.87 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 23.06 คิดเป็นร้อยละ 76.87 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรูปแบบ POE มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และเมื่อเปรียบเทียบ คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)พบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อภิปรายผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัยของการจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ต่อการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง แสงและการ มองเห็น ดังนี้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 9.56 คิดเป็นร้อยละ 31.87 และคะแนนเฉลี่ย หลังเรียนเท่ากับ 23.06 คิดเป็นร้อยละ 76.87 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรูปแบบ POE มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลัง


42 เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)พบว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ประกอบไป ด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นแนะนําและสร้างแรงกระตุ้น (Orientation and motivation) เป็นขั้นตอน เริ่มต้นด้วยสร้างประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับการทดลองที่กําลังจะได้ปฏิบัติต่อไป ขั้นตอนนี้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของการทดลอง ขั้นตอนที่ 2 ขั้นแนะนําการทดลอง (Introducing the experiment) เป็นขั้นตอนที่ แนะนํา การทดลองที่จะได้ปฏิบัติแต่ยังมิได้ลงมือปฏิบัติหรือเป็นการสาธิต โดยพยายามเชื่อมโยงการ ทดลองกับ ความรู้ที่ได้เกริ่นแล้วให้เกิดความหมายที่สมบูรณ์ ขั้นตอนที่ 3 ขั้นทํานาย (Predict) เป็นขั้นตอนให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนแนวคิดหรือนําเสนอ แนวคิดของตนเองก่อนเริ่มการทดลองลงในใบบันทึก (worksheet) โดยทํานายว่าผลที่เกิดขึ้นจะเป็น อย่างไร ในขั้นตอนนี้มีความสําคัญต่อผู้สอนและผู้เรียน โดยผู้เรียนจะได้รวบรวมความคิดและเกิด ความ ตระหนักคิด ขั้นตอนที่ 4 ขั้นอภิปรายผลการทํานาย (Discussing their predict) เป็นขั้นตอนที่ ผู้เรียน แลกเปลี่ยนผลการทํานายเพื่อทําการอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้กระดาน หรือ SMART board เพื่อ นําเสนอผลการทํานายและเหตุผลที่ใช้ในการทํานายดังกล่าว ในขั้นตอนนี้ผู้สอนต้องกระตุ้นให้เกิด แรงผลักดันในการส่งเสริมการให้ข้อมูลและไม่ให้ผู้เรียนเกิดความวิตกหรือรู้สึกว่าคําทํานายของตนนั้น ด้อยค่าและให้อภิปรายเพื่อเลือกคําทํานายที่ดีที่สุด ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะได้พิจารณาทบทวนแนวคิด ของตนเองอีกครั้ง ขั้นตอนที่ 5 ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) เป็นขั้นตอนของการทดลองเพื่อให้ ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติแต่หากเป็นการสาธิตควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม จากนั้นให้ผู้เรียนเขียน บันทึก จากการสังเกตการณ์ ขั้นตอนที่ 6 ขั้นอธิบาย (Explanation) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนแสดงแนวคิดของตนเอง ผ่าน การพูคุยและเขียนหรือเป็นการที่ผู้เรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เกี่ยวกับสิ่งที่ได้สังเกตก่อนที่จะลงสือเขียนอธิบาย เมื่อผู้เรียนอธิบายเสร็จควรทําการอภิปรายหน้าชั้น เรียนอีกครั้ง ขั้นตอนที่ 7 ขั้นเสนอการอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ (Providing the scientific explanation) เป็นการแนะนําและอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์อาจขึ้นต้นประโยคว่า “นักวิทยาศาสตร์ใน ปัจจุบันได้คิดว่า” ซึ่งเป็นประโยคที่ดีกว่าที่ขึ้นต้นว่า “การอธิบายที่ถูกต้องคือ” และให้ผู้เรียน ตรวจสอบความเหมือนลัความแตกต่างโดยการอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์


43 ขั้นตอนที่ 8 ขั้นติดตามผล (Follow-up) เป็นขั้นติดตามผลเพื่อให้ผู้เรียนสามารถ ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้อธิบายเหตุการณ์ที่พบในชีวิตประจําวัน ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ในการจัดการเรียนรูปแบบ POEควรมีการชี้แจงการทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอน อย่างละเอียด และแจ้งจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน 1.2 ในบทบาทครูผู้สอนต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงต้องมีความอดทน ไม่ใจร้อน สรุปกิจกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้ได้วิธีการและคำตอบที่ สมบูรณ์ที่สุด 1.3 ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับเวลาให้สอดคล้องกัน เพื่อให้เป็นไปตาม แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ได้จัดเตรียมไว้ 2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 การทำวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาการจัดการเรียนรู้รูปแบบPOEกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ที่ หลากหลายและในระดับชั้นอื่น ๆ โดยเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถ ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นและพัฒนาทักษะและกระบวนการทาวิทยาศาสตร์ได้ 2.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรูปแบบ POE สำหรับสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ควรเกี่ยวกับ ชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องใกล้ตัวและการจัดกิจกรรม ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะ ของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมและบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ ในเนื้อหานั้น ๆ ซึ่งจะส่งผลถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ด้วย


บรรณานุกรม


บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. ไชยพงษ์ เรืองสุวรรณ. (2562). การจัดการเรียนการสอนแบบ POE. ศูนย์เอกสารทางวิชาการ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ณรงค์ สังวาระนที และสุโกสินทร์ ทองรัตนาศิริ. (2562). หนังสือรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม1และเล่ม2. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์. นิพนธ์ ประทุมวงค์. (2563). แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ. ศรีสะเกษ : กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์โรงเรียนบักดองวิทยา. อักษร เจริญทัศน์. (2563). หนังสือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม2. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์. Darhim, Prabawanto, S., & Susilo, B. E. (2020). The Effect of Problem-based Learning and Mathematical Problem Posing in Improving Student’s Critical Thinking Skills. International Journal of Instruction, 13(4), 103-116. Delisle, R. (1997). How to use problem -based learning in the classroom. Alexandria, Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development. Denis, C. H., &Dere, S. (2020). The Effects of The Problem-Based Learnıng Supported by Experiments in Science Course: Students' Inquiry Learning and Reflective Thinking Skills. Journal ofScience Learning, 5(1), 14-27 Good, C. V. (1973). Dictionary of education.3 rd, New York: McGraw-Hill. Joumal of Pedagogical Research. (2022). The effefets of the Predict Observe Explain (POE) stategy on academic achievement,attitude and retention in science learning. Independent Researcher, Turkey. Theabthueng, P. (2022). The Development of Grade 8 Student Analytical Thinking and Learning Achievement Using the Integrated Problem-Based Learning and Think-Pair-Share Technique. Journal of Educational Issues, 8(1), 420-426.


ภาคผนวก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย


รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ดังนี้ 1.นางสาวพรกนก คำศรี ตำแหน่งวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ (เคมี) โรงเรียนบ้านหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ประวัติการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2.นายจตุภูมิ พรมทอง ตำแหน่งวิทยฐานะ ครู (ฟิสิกส์) โรงเรียนบ้านหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ประวัติการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 3.นางลวิตรา ศรีมงคล ตำแหน่งวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ (วิทยาศาสตร์) โรงเรียนบ้านหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ประวัติการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ประวัติผู้วิจัย ชื่อ นางสาวนัตติยาธร ขันธวิชัย ชื่อเล่น มิ้นท์ วัน เดือน ปีเกิด 27 กรกฎาคม 2544 สถานที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 99 หมู่ 14 ตำบลนาม่วง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี 41110 ตำแหน่งหน้าที่การงาน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ประวัติการศึกษา วุฒิการศึกษา ชื่อสถาบัน ปีที่สำเร็จการศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหมากแข้ง 2556 มัธยมต้น โรงเรียนบ้านหมากแข้ง 2559 มัธยมปลาย โรงเรียนอุดรพัฒนาการ 2563 ครุศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กำลังศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปและฟิสิกส์


Click to View FlipBook Version