The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการจัดกิจการฝึกอบรมสภานักเรียน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Peemapon Hempoom, 2019-11-23 00:41:55

คู่มือการจัดกิจการฝึกอบรมสภานักเรียน

คู่มือการจัดกิจการฝึกอบรมสภานักเรียน

เพ่อื คปู่ม้อือฝงคกกกึาู่มันรอแปือลฏบะบิกปรตั ารมิงราาบสจนปคภัดรณาากมะนกกิจราักกรรเทมรรุจกรียรามติรนรจงัว่ มหสภวานดัักเรียน

ส�ำ นกั พฒั น�กิจกรรมนักเรียน
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รก�รศึกษ�ข้นั พื้นฐ�น

ค่มู อื การจดั กิจกรรมฝกึ อบรม

สภานักเรยี น

ส�ำ นักพฒั นากจิ กรรมนักเรยี น
ส�ำ นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

เร่ือง ค่มู อื การจัดกจิ กรรมฝึกอบรมสภานกั เรยี น
ผู้จัดพิมพ์ ส�ำ นกั พัฒนากิจกรรมนักเรียน
ส�ำ นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร
จ�ำ นวนพิมพ ์ 10,000 เล่ม
ปที พี่ ิมพ์ 2558
พมิ พ์ท่ี โรงพิมพ์ส�ำ นกั งานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ค�ำ นำ�

คู่มือการจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรียน ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เล่มนี้ จัดท�ำขึ้นเพ่ือเป็นกรอบและแนวทางในการฝึกอบรมกิจกรรมสภานักเรียนส�ำหรับส�ำนักงาน
เขตพ้ืนท่ีการศึกษาและสถานศึกษา ให้สามารถถ่ายทอดหลักการของสภานักเรียนและให้นักเรียน
สามารถน�ำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมสภานักเรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้
อยา่ งเหมาะสม
คู่มือการจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรียน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 บทน�ำ
ส่วนที่ 2 โครงสร้างหลักสูตรการจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรียน และส่วนท่ี 3 เครื่องมือวัดและ
ประเมนิ ผลการเรียนรจู้ ากการฝึกอบรม
ขอขอบคุณผู้มีส่วนเก่ียวข้องทุกท่านที่ร่วมคิด ร่วมท�ำ ให้เอกสารคู่มือการจัดกิจกรรมการ
ฝึกอบรมสภานักเรียน ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี หวังว่า
เอกสารเลม่ นจี้ ะเปน็ กรอบแนวทางในการสรา้ งเสรมิ เจตนารมณข์ องสภานักเรียนได้เป็นอยา่ งดี

ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน



สารบญั

เร่อื ง หนา้
คำ� นำ�
สารบญั
ส่วนที่ 1 บทน�ำ 1
หลักการและเหตุผล 3
วัตถปุ ระสงค์ 5
โครงสรา้ งของหลักสูตร 5
ผลทค่ี าดว่าจะได้รบั 7
สว่ นที่ 2 รายละเอียดกิจกรรมและเนอื้ หาวิชาโครงสรา้ งหลักสูตร 9
หนว่ ยที่ 1 การปฐมนเิ ทศ/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ ์ 23
หนว่ ยท่ี 2 การปกครองระบอบประชาธปิ ไตย 29
อันมีพระมหากษตั รยิ ์ทรงเปน็ ประมุข
หนว่ ยที่ 3 ความเปน็ พลเมอื งดตี ามวิถีประชาธิปไตย 37
หนว่ ยท่ี 4 สทิ ธิเด็ก 43
หนว่ ยท่ี 5 รูปแบบและทม่ี าของสภานักเรยี น 49
หน่วยที่ 6 บทบาทหน้าทขี่ องสภานกั เรยี น 55
หน่วยท่ี 7 การสร้างภาวะผนู้ �ำ 63
หนว่ ยท่ี 8 การประชุมสภานักเรียน 69
หน่วยท่ี 9 การพฒั นาทมี งาน 87
หนว่ ยที่ 10 การสรา้ งเครือขา่ ยสภานักเรยี น 97
หนว่ ยท่ี 11 การบูรณาการกจิ กรรมสภานักเรยี นกับกลมุ่ สาระการเรยี นร ู้ 105
หนว่ ยท่ี 12 การเขียนโครงการ 111
หน่วยท่ี 13 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เรื่องเลา่ ชาวสภา” 119
หนว่ ยที่ 14 กจิ กรรมลานวฒั นธรรมตามวถิ ปี ระชาธิปไตย 123

สารบญั (ตอ่ )

เร่อื ง หน้า

หนว่ ยท่ี 15 เสน้ ทางแห่งความสำ� เร็จของสภานกั เรียน 131
หน่วยที่ 16 กจิ กรรมอ�ำลา 137
ส่วนท่ี 3 เคร่ืองมือวัดและประเมินผลการเรียนร้ ู 141
แบบส�ำรวจความพึงพอใจการจดั กิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรยี น 144
แบบสังเกตพฤตกิ รรม 147
แบบประเมินผลงาน 150
แบบสมั ภาษณ ์ 151
บรรณานุกรม 152
คณะผ้จู ดั ทำ� 153

สว่ นที่ 1

บทน�ำ



สว่ นท่ี 1

บทน�ำ

หลักการและเหตุผล

กระทรวงศึกษาธิการ โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ได้ให้ความส�ำคัญ
ต่อผู้เรียนซ่ึงถือเป็นทรัพยากรบุคคลและพลังส�ำคัญของชาติในการสืบทอดความเป็นชาติ ศาสนา
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคลจึงเป็นภารกิจท่ีส�ำคัญที่จะต้องมีกลไกเข้ามาร่วม
ในการขบั เคล่อื น เชน่ ความรว่ มมือให้เกิดสังคมแหง่ ความเอ้ืออาทรบนสภาพความเป็นอยทู่ ่ีดี มกี ลไก
ในการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ที่ยั่งยืน เสริมสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้เข้มแข็งเพื่อเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศ
ให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน การด�ำเนินงานสภานักเรียนเปรียบ
เสมอื นเวทสี �ำหรับฝกึ ใหน้ กั เรยี นเป็นนกั ประชาธิปไตยอยา่ งแท้จริง คือ รจู้ ักการเป็นผู้ให้ ผู้รบั ผู้นำ� และ
ผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าท่ีและช่วยแบ่งเบาภาระของครูได้เป็นอย่างมาก อีกท้ังยังเป็น
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย มุ่งเน้นให้เด็กคิดเป็น ท�ำเป็น
แก้ปัญหาเป็น เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ ส่งเสริมการเรียน
การสอนตามหลักสตู รปจั จุบันทม่ี งุ่ เนน้ ความเป็นไทย ความเปน็ พลเมืองที่ดขี องชาติ ดงั นั้น สำ� นกั งาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน จึงต้องขับเคล่ือนกิจกรรมสภานักเรียนสู่สถานศึกษาอย่างเป็น
รปู ธรรม
คุณภาพของผู้เรียนถือเป็นหัวใจของการพัฒนาการศึกษาท่ีเน้นการสร้างคนให้มีความสามารถ
มีคุณธรรม มีความสุข เป็นพลเมืองท่ีดีของสังคมไทย การศึกษาในปัจจุบันจ�ำเป็นต้องสร้างทักษะ
ความรู้ความเช่ียวชาญเฉพาะด้าน แต่สิ่งท่ีต้องพึงระวังคือการศึกษาต้องไม่แตกแยกจากสังคมหรือ
ชีวิตจริง และสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมท่ีจะรับกับความเปล่ียนแปลง โดยเฉพาะการเรียนรู้ในเรื่อง
ต่างๆ ขณะเดียวกันจะต้องให้ความส�ำคัญในเร่ืองของการเรียนรู้จากกิจกรรมหรือการเรียนรู้นอก
ห้องเรียนอย่างจริงจัง เพราะถือเป็นหัวใจส�ำคัญท่ีจะท�ำให้เกิดการปรับเปลี่ยนผู้เรียน การพัฒนาคน
ไทยยุคใหม่ให้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต มีความสามารถในการส่ือสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเร่ิมสร้างสรรค์

คู่มอื การจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานักเรยี น 3

มีจิตสาธารณะ มรี ะเบยี บวนิ ยั ค�ำนงึ ถงึ ประโยชนส์ ่วนรวม สามารถท�ำงานกล่มุ ได้อยา่ งเป็นกลั ยาณมิตร
มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตส�ำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ยึดม่ันใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่อต้านการทุจริตและการซ้ือสิทธ์ิ
ขายเสียง สามารถก้าวทันโลก มีสุขภาพกาย สุขภาพใจท่ีสมบูรณ์ แข็งแรง เป็นพลังท่ีมีคุณภาพ
สามารถทำ� งานอย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ ได้โอกาสเรียนรอู้ ย่างเท่าเทียม เสมอภาค
สภานักเรียนเป็นกิจกรรมส�ำคัญในการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้น�ำที่ใช้กระบวนการ
ประชาธิปไตยและน�ำหลักธรรมาภิบาลมาด�ำเนินงาน โดยมีจุดมุ่งหมายส�ำคัญของสภานักเรียน คือ
การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องกระบวนการประชาธิปไตย วิถีประชาธิปไตย การเป็นผู้น�ำ
การท�ำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาโรงเรียน จึงใช้กระบวนการ
ประชาธิปไตยอันเป็นวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันในโรงเรียน เป็นกลไกในการด�ำเนินงาน มุ่งเน้นให้
นักเรียนได้ซึมซับ และคุ้นเคยกับความเป็นประชาธิปไตย มีคารวธรรม ปัญญาธรรม สามัคคีธรรม
ในการสร้างความสงบสุขในสังคม ต้ังแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนไปจนถึงสังคมและประเทศ
สภานักเรียนจึงเป็นรากฐานท่ีมีความส�ำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เติบโตขนึ้ เป็นพลังท่ีเข้มแข็ง
ในการสร้างสรรค์ความเป็นประชาธิปไตยในโรงเรียน ดังน้ันจึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนทุกคน
มีส่วนร่วมในกิจกรรมสภานักเรียนและใช้เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ท่ีมุ่งเน้นให้ผู้เรียนบูรณาการ
ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ท่ีได้จากการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพ่ือหล่อหลอมให้นักเรียนเป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความงอกงามด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรมและ
คุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์
สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน มบี ทบาทหน้าท่แี ละรบั ผิดชอบการสนบั สนนุ
ส่งเสริมการจัดกิจกรรมสภานักเรียนในระดับเขตพ้ืนที่การศึกษา และสถานศึกษา ได้ตระหนักและ
เห็นคุณค่าของการให้นักเรียนได้เรียนรู้ให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการ
กิจกรรมสภานักเรียนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ ในการด�ำเนินงานสภานักเรียนของสถานศึกษา
โดยขับเคล่ือนให้สถานศึกษาได้ด�ำเนินการจัดกิจกรรมสภานักเรียนอย่างต่อเน่ือง ให้สถานศึกษาด�ำเนินการ
จัดกิจกรรมสภานักเรียนและสอดคล้องกับนโยบายที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้ันพื้นฐานก�ำหนด จากการด�ำเนินการที่ผ่านมา เพ่ือให้การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนากิจกรรม
สภานักเรียนให้มีความเข้มแข็งและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น จึงได้จัดท�ำคู่มือการจัดกิจกรรม
ฝึกอบรมสภานักเรียน เพื่อน�ำไปใช้ในการจัดกิจกรรมและใช้ประโยชน์ในส่วนท่ีเก่ียวข้องกับการจัด
กจิ กรรมสภานักเรยี นในการปฏิบัติงานต่อไป

4 คมู่ ือการจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรยี น

วตั ถุประสงค์

1. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรียน ให้ส�ำนักงานเขตพื้นที่
การศกึ ษาและสถานศึกษา
2. เพ่ือให้นักเรียนสามารถน�ำแนวทางในการจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรียนไปประยุกต์
ใชใ้ นการด�ำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนไดอ้ ยา่ งถกู ต้องและมปี ระสทิ ธิภาพ

โครงสร้างของหลกั สตู ร

หลักสูตรการจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรียน ได้จากการรวบรวมองค์ความรู้ ผลการ
ประมวลแนวทางการจัดกิจกรรมสภานักเรียนในสถานศึกษา เพ่ือเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม
สภานักเรียนโดยก�ำหนดกิจกรรมและเนื้อหาวิชา จ�ำนวน 16 หน่วย เพ่ือให้ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่
การศึกษาและสถานศึกษาสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม ดงั ตอ่ ไปน้ี
หน่วยท่ี 1 การปฐมนิเทศ/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจ
วัตถุประสงค์และมีทศั นคตทิ ่ีดตี อ่ การเขา้ รบั การอบรม มีปฏิสมั พนั ธ์ท่ดี ี สามารถกำ� หนดเปา้ หมายหรือ
ผลทีค่ าดหวงั มสี ่วนร่วมในกิจกรรมและปฏบิ ตั ิตนไดอ้ ย่างถกู ต้องเหมาะสม (จ�ำนวน 1 ช่วั โมง 30 นาท)ี
หน่วยท่ี 2 การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าและสามารถเชื่อมโยงความรู้
กับการด�ำเนินงานของสภานกั เรยี น (จ�ำนวน 1 ชัว่ โมง 30 นาท)ี
หน่วยที่ 3 ความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย เกิดความตระหนักและ
เห็นคุณค่าของความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย และสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต
ประจ�ำวัน (จ�ำนวน 1 ช่วั โมง 30 นาที)
หน่วยท่ี 4 สิทธเิ ด็ก เพื่อใหผ้ ู้เขา้ รับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเร่อื งสิทธิเดก็ กฎหมาย
ท่เี ก่ียวขอ้ งกับสทิ ธเิ ด็ก ไดเ้ รยี นรเู้ ร่ืองสทิ ธิและหนา้ ท่ีทัง้ ตอ่ ตนเอง ครอบครวั สังคม ประเทศชาตแิ ละ
ประชาคมโลก (จำ� นวน 1 ช่วั โมง)

คู่มือการจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานักเรียน 5

หน่วยที่ 5 รูปแบบและท่ีมาของสภานักเรียน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้
ความเข้าใจ และวิธีการได้มาของสภานักเรียน สามารถอธิบายน�ำเสนอถึงที่มาของสภานักเรียนและ
ออกแบบโครงสร้างสภานักเรยี นได้ (จำ� นวน 1 ช่วั โมง 30 นาที)
หนว่ ยที่ 6 บทบาทและหน้าท่ีของสภานักเรียน เพอ่ื ให้ผเู้ รียนมคี วามรู้ ความเข้าใจเกย่ี วกับ
บทบาทหน้าท่ขี องสภานักเรยี น สามารถอธบิ ายถงึ บทบาทหนา้ ท่ขี องสภานักเรยี นได้ รวมทงั้ ออกแบบ
วิเคราะห์และอธิบายกิจกรรมท่ีจัดในโรงเรียน เพ่ือส่งเสริมความมีคารวธรรม สามัคคีธรรมและ
ปัญญาธรรม (จำ� นวน 1 ชว่ั โมง 30 นาท)ี
หน่วยท่ี 7 การสร้างภาวะผู้น�ำ เพื่อให้ผู้เข้ารับอบรมมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าท่ี
ของผู้น�ำสภานักเรียน ทักษะความเป็นผู้น�ำท่ีดี และสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
(จ�ำนวน 1 ชั่วโมง 30 นาที)
หน่วยท่ี 8 การประชมุ สภานกั เรียน เพอ่ื ให้ผเู้ ขา้ รบั การอบรมมคี วามรู้ความเขา้ ใจเกี่ยวกบั
บทบาทหน้าที่ขององค์ประชุมสภานักเรียน และการประชุมท่ีมีประสิทธิภาพสามารถด�ำเนินการ
ประชมุ ได้ (จ�ำนวน 2 ช่วั โมง)
หนว่ ยที่ 9 การพัฒนาทมี งาน เพื่อใหผ้ ้เู ขา้ รับการอบรมเขา้ ใจความหมาย เหน็ ความสำ� คญั
ของการพัฒนาทีมงาน มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานและลักษณะทีมงานท่ีดี สร้างเสริม
ทัศนคติเชิงบวก มีความตระหนักถึงบทบาทของตนเองเพ่ือน�ำไปสู่การร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนา
ทมี งาน (จำ� นวน 1 ช่วั โมง 30 นาท)ี
หน่วยที่ 10 การสร้างเครือข่ายสภานักเรียน เพ่ือให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับเครือข่ายสภานักเรียน องค์ประกอบของเครือข่าย หลักการท�ำงานของเครือข่าย
ลักษณะของเครือข่ายท่ีดี สามารถสร้างและพัฒนาเครือข่ายสภานักเรียนระหว่างโรงเรียน
กบั โรงเรยี น ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบต่างๆ (จำ� นวน 1 ชัว่ โมง)
หน่วยที่ 11 การบูรณาการกิจกรรมสภานักเรียนกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพ่ือให้
ผเู้ ข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเขา้ ใจโครงสรา้ งหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน พทุ ธศกั ราช
2551 สามารถจัดกิจกรรมสภานักเรียนบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ น�ำมาประยุกต์ใช้ได้อย่าง
เหมาะสม (จ�ำนวน 1 ชัว่ โมง 30 นาที)
หนว่ ยที่ 12 การเขียนโครงการ เพือ่ ใหส้ ภานกั เรยี นมคี วามรเู้ ก่ยี วกบั การเขียนโครงการและ
สามารถเขียนโครงการได้ มีความรู้ ความเข้าใจ วิธีการเสนอโครงการเพ่ือขอรับการสนับสนุนจาก
โรงเรยี นหรอื หนว่ ยงานอืน่ ๆ (จ�ำนวน 1 ชั่วโมง 30 นาท)ี

6 คมู่ อื การจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรยี น

หน่วยที่ 13 การแลกเปลีย่ นเรียนรู้ “เรอ่ื งเล่าชาวสภา” เพื่อใหผ้ ู้เขา้ รบั การอบรมสามารถ
ออกแบบแนวทางส่งเสริมการด�ำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การด�ำเนินงานสภานักเรียนได้ และ
สามารถถ่ายทอด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การด�ำเนินงานการจัดกิจกรรมสภานักเรียน วิเคราะห์
สถานภาพของสภานักเรยี น ในการพฒั นาและสรา้ งความเข้มแขง็ ให้กับสภานกั เรยี น (จำ� นวน 1 ชวั่ โมง
30 นาที)
หน่วยท่ี 14 กิจกรรมลานวัฒนธรรมตามวิถีประชาธิปไตย เพ่ือให้ผู้เข้ารับการอบรม
มีความรู้ความเข้าใจหลักวัฒนธรรมตามวิถีประชาธิปไตย และสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้อย่าง
เหมาะสม สามารถใช้กระบวนการท�ำงานเป็นทมี เพ่อื ใหเ้ กิดทกั ษะการเปน็ ผนู้ ำ� ผ้ตู ามท่ดี ี เกิดความรัก
ความสามัคคีและทำ� งานรว่ มกันอยา่ งมคี วามสขุ (จ�ำนวน 1 ชว่ั โมง 30 นาท)ี
หน่วยที่ 15 เส้นทางแห่งความสำ� เรจ็ ของสภานักเรยี น เพอื่ ให้ผเู้ ขา้ รบั การอบรมได้พฒั นา
ศักยภาพการด�ำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนได้อย่างเหมาะสม สามารถวางแผนการด�ำเนินงาน
กจิ กรรมสภานกั เรยี นไดอ้ ย่างมีคณุ ภาพ (จ�ำนวน 1 ช่วั โมง 30 นาท)ี
หน่วยที่ 16 กิจกรรมอ�ำลา เพ่ือให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรัก ความผูกพัน ระหว่าง
เพ่อื นและเกดิ ความกตญั ญกู ตเวทตี ่อผู้มพี ระคณุ (จ�ำนวน 1 ช่วั โมง 30 นาท)ี

ผลที่คาดว่าจะไดร้ ับ

1. ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคู่มือการจัดกิจกรรมฝึกอบรม
สภานักเรียนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาการจัดกิจกรรมสภานักเรียน
ในส�ำนักงานเขตพ้ืนทกี่ ารศึกษาและสถานศกึ ษาได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ
2. นักเรียนสามารถน�ำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการด�ำเนินงาน
กิจกรรมสภานักเรยี นและชวี ิตประจำ� วนั ได้อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ

คูม่ อื การจัดกจิ กรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน 7



สว่ นท่ี 2

รายละเอียดกจิ กรรมและ
เนื้อหาวชิ าโครงสร้างหลักสตู ร



โครงสรา้ งหลกั สตู รการจัดกจิ กรรมฝึกอบรมสภานกั เรียน
สำ�นกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน

วัน / เวลา หนว่ ยท่ี / กิจกรรม วัตถุประสงค์ ขอบขา่ ยเน้อื หา ส่อื /อุปกรณท์ ีใ่ ช้ วธิ วี ดั และประเมนิ ผล

1 ชั่วโมง วนั แรก
1 ชั่วโมง
1 ช่ัวโมง รายงานตัว
30 นาที
พธิ เี ปิดการอบรม

หนว่ ยที่ 1 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม 1. แนวทางและข้อปฏิบัติใน 1. กระดาษตัดเป็น 1. สังเกตพฤตกิ รรม
ปฐมนเิ ทศ/กจิ กรรม เข้าใจวัตถุประสงค์และมี การร่วมกิจกรรม รปู หวั ใจ 2. ตรวจผลงาน
กลุ่มสัมพนั ธ์ ทัศนคติที่ดีต่อการเข้ารับ 2. กจิ กรรมกลุม่ สัมพันธ์ 2. แผนภมู เิ พลง 3. ส�ำรวจความพงึ พอใจ
ค่มู ือการจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน 11 การอบรม 3. กจิ กรรมความคาดหวัง 3. กระดาษฟลิปชาร์ท 4. อ่นื ๆ
2. เพ่ือให้ผู้เข้ารับการอบรม 4. ปากกาเคมี/สเี มจกิ
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีมีส่วนร่วม 5. อื่นๆ ตามความ
ในกิจกรรมและปฏิบัติตน เหมาะสม
ได้อยา่ งถูกตอ้ งเหมาะสม
3. เพ่ือให้ผู้เข้ารับการอบรม
สามารถก�ำหนดเป้าหมาย
ห รื อ ผ ล ที่ ค า ด ห วั ง จ า ก
การรว่ มกิจกรรมได้

12 คมู่ อื การจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรยี น วนั / เวลา หน่วยที่ / กิจกรรม วตั ถปุ ระสงค์ ขอบข่ายเน้อื หา สอ่ื /อปุ กรณ์ที่ใช้ วิธวี ดั และประเมนิ ผล
1 ชัว่ โมง
30 นาที หน่วยที่ 2 1. เพอื่ ใหผ้ เู้ ขา้ รับการอบรมมี ความหมายของ 1. ใบความรู้ 1. สงั เกตพฤตกิ รรม
การปกครองในระบอบ ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ กบั 1. รฐั ธรรมนูญ 2. ใบงาน 2. ตรวจผลงาน
ประชาธปิ ไตยอันมี การปกครองในระบอบ 2. ประชาธปิ ไตย 3. กระดาษฟลปิ ชาร์ท 3. อน่ื ๆ
พระมหากษัตริย์ ประชาธิปไตยอนั มี 3. พระราชอำ� นาจของ 4. ปากกาเมจิก กาว
ทรงเปน็ ประมขุ พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข 4. อำ� นาจอธปิ ไตย
2. เพื่อให้ผเู้ ขา้ รับการอบรม 5. อ�ำนาจบรหิ าร
เกดิ ความตระหนกั และ 6. อ�ำนาจนิตบิ ัญญัติ
เหน็ คณุ คา่ ของการ 7. อำ� นาจตุลาการ
ปกครองในระบอบ 8. การบรหิ ารราชการ
ประชาธิปไตย อันมี สว่ นกลาง
พระมหากษตั รยิ ์ 9. การบริหารราชการ
ทรงเป็นประมขุ สว่ นภมู ภิ าค
3. เพื่อให้ผูเ้ ขา้ รับการอบรม 10. การบรหิ ารราชการ
สามารถเช่อื มโยงความรู้ สว่ นทอ้ งถ่นิ
เร่อื งการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตย
อันมพี ระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมขุ กบั การ
ด�ำเนนิ งานของสภานักเรียน

วนั / เวลา หน่วยที่ / กิจกรรม วตั ถปุ ระสงค์ ขอบข่ายเนือ้ หา สอื่ /อุปกรณ์ทใี่ ช้ วธิ วี ดั และประเมินผล

1 ชว่ั โมง หนว่ ยที่ 3 1. เพือ่ ใหผ้ ู้เขา้ รบั การอบรม 1. หลกั การส�ำคญั ของ 1. ใบความรู้ 1. สงั เกตพฤตกิ รรม
30 นาที
ความเป็นพลเมืองดี มีความรู้ ความเขา้ ใจ ประชาธปิ ไตย และ 2. ตัวอยา่ งขา่ ว 2. ตรวจผลงาน

ตามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย เกย่ี วกบั ความเป็น ความเป็นพลเมอื งดตี าม เกี่ยวกับปญั หา 3. อนื่ ๆ

พลเมืองดีตามวถิ ี วถิ ีประชาธปิ ไตย ของสังคมไทย

ประชาธปิ ไตย 2. แนวทางการปฏบิ ตั ติ น 3. ใบงาน

2. เพือ่ ให้ผ้เู ขา้ รับการอบรม ใหเ้ ปน็ พลเมอื งดตี ามวิถี 4. กระดาษฟลปิ ชารท์

เกิดความตระหนัก และ ประชาธิปไตย กาว ปากกาเมจกิ

เห็นคณุ คา่ ของความเป็น 3. ค่านิยมหลักของคนไทย

ค่มู ือการจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน 13 พลเมืองดีตามวถิ ี 12 ประการ

ประชาธปิ ไตย

3. เพ่อื ให้ผู้เข้ารับการอบรม

สามารถน�ำหลักความเป็น

พลเมอื งดีตามวถิ ี

ประชาธปิ ไตยไปประยกุ ต์

ใชใ้ นชวี ิตประจำ� วนั

14 คมู่ อื การจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรยี น วนั / เวลา หนว่ ยที่ / กิจกรรม วัตถุประสงค์ ขอบขา่ ยเนือ้ หา สื่อ/อุปกรณท์ ่ใี ช้ วธิ วี ัดและประเมนิ ผล
1 ชั่วโมง
หน่วยที่ 4 1. เพื่อให้ผเู้ ขา้ รับการอบรม 1. สิทธแิ ละหน้าที่ 1. ส่อื วดี ิทศั น์ 1. สังเกตพฤตกิ รรม
1 ช่วั โมง สทิ ธิเดก็ มีความรูค้ วามเข้าใจใน 2. สิทธเิ ดก็ และกฎหมาย 2. สื่อรูปภาพ 2. สอบถาม
30 นาที เร่ือง สิทธิเดก็ ทีเ่ กีย่ วขอ้ ง 3. ใบความรู้ 3. ส�ำรวจความพึงพอใจ
2. เพอื่ ใหผ้ เู้ ข้ารบั การอบรม 4. กระดาษฟลิปชารท์ 4. อ่ืนๆ
มีความรู้ความเขา้ ใจ ปากกาเคมีหรอื
กฎหมาย ที่เก่ยี วข้องกับ สีเมจิ กระดาษ
สิทธเิ ด็ก กาว
3. เพื่อให้ผู้เข้ารบั การอบรม
ได้เรยี นรู้เรอ่ื งสิทธิและ
หนา้ ที่ท้ังต่อตนเอง
ครอบครัว สังคม
ประเทศชาติ

หนว่ ยที่ 5 1. เพ่ือใหผ้ เู้ ขา้ รบั การอบรม 1. ความหมายและ 1. ใบความรู้ 1. สังเกตพฤติกรรม
รูปแบบและท่ีมา มีความรู้ ความเข้าใจ และ วตั ถปุ ระสงค์ของ 2. ใบงาน 2. ตรวจผลงาน
ของสภานกั เรียน วธิ ีการไดม้ าของสภานักเรยี น สภานักเรียน 3. กระดาษฟลิปชารท์ 3. อนื่ ๆ
2. เพื่อให้ผเู้ ขา้ รบั การอบรม 2. รปู แบบและท่มี า กาว ปากกาเมจิก
สามารถอธิบายและ ของสภานักเรยี น ไม้บรรทัด
นำ� เสนอถึงท่ีมาของ
สภานกั เรียนได้
3. เพอ่ื ใหผ้ ู้เข้ารบั การอบรม
สามารถออกแบบโครงสร้าง
ขององคก์ รสภานกั เรียนได้

วนั / เวลา หนว่ ยที่ / กิจกรรม วตั ถปุ ระสงค์ ขอบข่ายเนอื้ หา สื่อ/อปุ กรณ์ทใ่ี ช้ วิธีวัดและประเมนิ ผล

1 ชว่ั โมง หนว่ ยท่ี 6 1. เพ่อื ใหผ้ ้เู ข้ารับการอบรม 1. บทบาทหน้าท่ขี อง 1. ใบความรู้ 1. สงั เกตพฤตกิ รรม
30 นาที บทบาทและหนา้ ท่ี
ของสภานักเรยี น มีความรู้ ความเขา้ ใจ สภานกั เรยี น 2. ใบงาน 2. ตรวจผลงาน

เกีย่ วกบั บทบาทหน้าท่ขี อง 2. วถิ ีประชาธปิ ไตย ตาม 3. กระดาษฟลิปชารท์ 3. อนื่ ๆ

สภานักเรียน หลักการคารวธรรม ปากกาเมจิก

2. เพอ่ื ใหผ้ ู้เข้ารับการอบรม สามัคคธี รรม และ

สามารถอธิบายถงึ บทบาท ปัญญาธรรม

หน้าทข่ี องสภานกั เรียนได้

3. เพ่อื ใหผ้ ้เู ขา้ รับการอบรม

ค่มู ือการจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน 15 สามารถวเิ คราะหแ์ ละ

อธบิ ายกจิ กรรมทจ่ี ัดใน

โรงเรียนเพอื่ ส่งเสริมความ

มีคารวธรรม สามคั คธี รรม

และปัญญาธรรม

16 คมู่ อื การจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรยี น วนั / เวลา หนว่ ยท่ี / กจิ กรรม วัตถปุ ระสงค์ ขอบข่ายเน้ือหา สือ่ /อปุ กรณ์ท่ีใช้ วธิ ีวัดและประเมนิ ผล
1 ชวั่ โมง
30 นาที วนั ท่สี อง

2 ชัว่ โมง หนว่ ยท่ี 7 1. เพ่อื ให้ผู้เขา้ รบั การอบรม 1. ความหมายของวสิ ยั ทศั น์ 1. ใบความรู้ 1. สงั เกตพฤตกิ รรม
การสรา้ งภาวะผ้นู ำ� มีความรู้ความเขา้ ใจใน 2. ผ้นู ำ� และบคุ ลิกภาพ ของ 2. ใบงาน 2. ตรวจผลงาน
บทบาทหนา้ ทข่ี อง ผนู้ ำ� ท่ีดี 3. กระดาษฟลิปชาร์ท 3. สำ� รวจความพงึ พอใจ
สภานักเรยี นและสามารถ 3. ภาวะผนู้ �ำ 4. กาว ปากกาเคมี/ 4. อื่นๆ
น�ำไปปฏบิ ัตไิ ด้ สีเมจกิ
2. เพื่อให้ผู้เขา้ รับการอบรม
มคี วามรคู้ วามเขา้ ใจ
ทกั ษะความเปน็ ผู้น�ำที่ดี
และสามารถนำ� ไปประยกุ ต์
ใช้ไดอ้ ย่างเหมาะสม

หน่วยที่ 8 1. เพือ่ ใหผ้ ูเ้ ข้ารับการอบรม 1. บทบาทและหนา้ ทข่ี อง 1. วดี ทิ ัศนห์ รอื ภาพ 1. สงั เกตพฤตกิ รรม
การประชุม มีความรู้ความเข้าใจเกยี่ ว องค์ประชมุ สภา ตัวอย่างการ 2. ตรวจผลงาน
สภานกั เรียน กบั บทบาทหนา้ ทข่ี อง นกั เรยี น ประชมุ 3. สำ� รวจความพึงพอใจ
องคป์ ระชุมสภานกั เรยี น 2. การประชุมทีม่ ี 2. ใบความรู้ 4. อื่นๆ
2. เพอ่ื ใหผ้ ู้เข้ารับการอบรม ประสทิ ธภิ าพ 3. สาธิตการประชุม
มคี วามร้คู วามเขา้ ใจ 3. การสาธิตการประชุม 4 ใบงาน
เก่ียวกบั การประชุมที่มี
ประสทิ ธิภาพ
3. เพอื่ ใหผ้ ู้เข้ารับการอบรม
สามารถด�ำเนินการประชมุ ได้

วัน / เวลา หน่วยที่ / กิจกรรม วตั ถปุ ระสงค์ ขอบขา่ ยเนื้อหา สื่อ/อุปกรณท์ ีใ่ ช้ วิธวี ดั และประเมนิ ผล
1 ช่ัวโมง
30 นาที หนว่ ยที่ 9 1. เพอ่ื ใหผ้ เู้ ขา้ รบั การอบรม 1. ความหมาย ความสำ� คัญ 1. ใบความรู้ 1. สังเกตพฤติกรรม
การพัฒนาทมี งาน
เข้าใจความหมาย และกระบวนการพฒั นา 2. สอื่ วดี ิทัศน/์ 2. ตรวจผลงาน

เหน็ ความสำ� คัญของการ ทมี งาน เอกสารสื่อส่ิงพมิ พ์ 3. ประเมนิ บทบาท

พัฒนาทมี งาน 2. องค์ประกอบพื้นฐาน 3. กระดาษฟลิปชารท์ ทมี งาน

2. เพ่อื ใหผ้ เู้ ข้ารับการอบรม ของการทำ� งานเปน็ ทีม กระดาษ A4 4. ส�ำรวจความพงึ พอใจ

มคี วามรูค้ วามเขา้ ใจ 3. ลักษณะทีมงานทดี่ ี กระดาษกาว 5. อน่ื ๆ

องค์ประกอบพ้นื ฐานและ 4. ทัศนคติเชงิ บวกกบั การ ปากกาเคม/ี

ลกั ษณะทีมงานทดี่ ี ท�ำงานเป็นทีม สเี มจกิ

ค่มู ือการจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน 17 3. เพ่ือสรา้ งเสรมิ ทศั นคติ ไม้บรรทดั

เชงิ บวกให้แกผ่ ู้เขา้ รับ

การอบรมไดต้ ระหนักถึง

บทบาทของตนเองนำ� ไปสู่

การรว่ มแรงร่วมใจในการ

พฒั นาทีมงาน

18 คมู่ อื การจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรยี น วัน / เวลา หนว่ ยท่ี / กิจกรรม วตั ถปุ ระสงค์ ขอบข่ายเนือ้ หา ส่ือ/อปุ กรณท์ ่ีใช้ วธิ ีวดั และประเมินผล
1 ชัว่ โมง
หน่วยที่ 10 1. เพอ่ื ให้ผเู้ ข้ารบั การอบรมมี 1. เครือขา่ ย/การสร้าง 1. ใบความรู้ 1. สังเกตพฤตกิ รรม

การสร้างเครือข่าย ความร้คู วามเข้าใจเกี่ยวกบั เครือข่าย 2. ใบงาน 2. การสอบถาม

สภานักเรียน เครือขา่ ยสภานักเรียน 2. องค์ประกอบของ 3. กระดาษฟลิปชารท์ 3. สำ� รวจความพึงพอใจ

2. เพื่อให้ผู้มเี ข้ารบั การ เครอื ข่าย ปากกาเคม/ี 4. อื่นๆ

อบรมมีความร้คู วามเขา้ ใจ 3. หลกั ในการท�ำงานของ สีเมจิก

เรอื่ งองค์ประกอบของ เครือขา่ ย

เครือขา่ ย หลกั การทำ� งาน 4. ลกั ษณะของเครือขา่ ย

ของเครอื ขา่ ย ลกั ษณะ ทดี่ ี

ของเครือขา่ ยที่ดี 5. แนวทางการสร้าง

3. เพอื่ ใหผ้ ู้เข้ารับการอบรม เครือข่ายสภานักเรยี น

สามารถสร้างและพัฒนา ระหว่างโรงเรียน/

เครอื ขา่ ยสภานักเรยี น ชุมชน/องค์กรภาครฐั

ระหวา่ งโรงเรยี นกับ และเอกชน

โรงเรียน/ชุมชน/องค์กร

ภาครฐั และเอกชนใน

รปู แบบตา่ งๆ

วัน / เวลา หน่วยที่ / กิจกรรม วตั ถปุ ระสงค์ ขอบขา่ ยเนื้อหา สือ่ /อปุ กรณท์ ใ่ี ช้ วิธีวัดและประเมนิ ผล
1 ชวั่ โมง
30 นาที หน่วยที่ 11 1. เพ่ือใหผ้ เู้ ข้ารับการอบรม 1. โครงสรา้ งหลกั สูตร 1 ใบความรู้ 1. ตรวจผลงาน
การบรู ณาการ มคี วามรู้ ความเข้าใจ แกนกลางการศกึ ษา 2. ใบงาน ผังความคดิ
1 ชัว่ โมง กจิ กรรม โครงสรา้ งหลกั สูตรแกนกลาง ขัน้ พื้นฐาน พทุ ธศกั ราช 3. ส่ือวีดทิ ศั น์ 2. สำ� รวจความพึงพอใจ
30 นาที สภานกั เรยี น การศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน 2551 สือ่ มลั ตมิ ีเดยี 3. อื่นๆ
กบั กล่มุ สาระ พทุ ธศักราช 2551 2. การบรู ณาการจัด เนื้อหาหลักสูตร
การเรียนรู้ 2. เพ่ือใหผ้ ้เู ขา้ รบั การอบรม กิจกรรมสภานกั เรียน ตามกลุ่มสาระ
หนว่ ยท่ี 12 สามารถจดั กจิ กรรม กับกลมุ่ สาระการเรียนรู้ การเรียนรู้
การเขียนโครงการ สภานักเรยี นบูรณาการ
กบั กล่มุ สาระการเรียนรู้ 4. กระดาษฟลปิ ชารท์
นำ� มาประยุกต์ใชไ้ ดอ้ ย่าง 5. ปากกาเคม/ี

สีเมจกิ กาว ฯลฯ

ค่มู ือการจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน 19 เหมาะสม

1. เพ่ือใหผ้ ู้เขา้ รับการอบรม 1. ความสำ� คญั ของ 1. ใบความรู้ 1. สังเกตพฤติกรรม
มคี วามรูเ้ ก่ียวกับการเขียน โครงการ 2. ใบงาน 2. ตรวจผลงาน
โครงการและสามารถ 2. การเขียนโครงการ 3. กระดาษฟลปิ ชารท์ 3. สำ� รวจความพงึ พอใจ
เขียนโครงการได้ 3. การเสนอและอนุมัติ กระดาษกาว 4. อนื่ ๆ
2. เพ่ือให้ผูเ้ ข้ารับการอบรม โครงการ ปากกาเคมี/
มีความรู้ ความเข้าใจ สีเมจิก
วิธีการเสนอโครงการ
เพือ่ ขอรับการสนับสนุน
จากโรงเรยี นหรอื
หน่วยงานอืน่ ๆ

20 คมู่ อื การจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรยี น วัน / เวลา หนว่ ยท่ี / กิจกรรม วตั ถุประสงค์ ขอบขา่ ยเนือ้ หา สอื่ /อุปกรณท์ ใ่ี ช้ วธิ วี ัดและประเมินผล

1 ช่ัวโมง วนั ทสี่ าม
30 นาที
หน่วยท่ี 13 1. เพื่อให้ผเู้ ข้ารับการอบรม l การนำ� ประสบการณท์ ี่ 1. ส่ือวดี ทิ ัศน์ 1. สงั เกตพฤตกิ รรม

การแลกเปล่ยี น สามารถออกแบบแนวทาง เกีย่ วข้องกับสภานักเรียน 2. ใบงาน 2. ตรวจผลงาน

เรียนรู้ สง่ เสริมการด�ำเนนิ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. กระดาษฟลปิ ชารท์ 3. สำ� รวจความพึงพอใจ

“เรอ่ื งเลา่ ชาวสภา” กจิ กรรมแลกเปลี่ยน 4. กระดาษกาว 4. อน่ื ๆ

เรยี นรู้การด�ำเนินงาน ปากกาเคม/ี

สภานักเรียนได้ สีเมจกิ

2. เพอ่ื ให้ผเู้ ขา้ รับการอบรม ไม้บรรทัด ฯลฯ

สามารถถ่ายทอด

แลกเปลีย่ นประสบการณ์

การด�ำเนนิ งานและ

การจดั กิจกรรม

สภานกั เรยี น ในการ

พัฒนาและสร้างความ

เขม้ แขง็ ให้กบั สภานักเรียน

วนั / เวลา หนว่ ยท่ี / กิจกรรม วัตถุประสงค์ ขอบข่ายเน้อื หา สื่อ/อปุ กรณท์ ่ใี ช้ วิธีวดั และประเมินผล
1 ชั่วโมง 1. ใบงาน 1. สงั เกตพฤตกิ รรม
30 นาที หนว่ ยที่ 14 1. เพ่อื ให้ผูเ้ ขา้ รับการอบรม 1. หลกั วฒั นธรรมตามวิถี 2. ใบความรู้ 2. ประเมินผลการจดั
กจิ กรรมลาน สามารถใช้กระบวนการ ประชาธปิ ไตย 3. วัสดุ อุปกรณ์
วัฒนธรรมตามวถิ ี ท�ำงานเปน็ ทีม ใหเ้ กิด 2. ทกั ษะการเป็นผู้น�ำ นิทรรศการ
ประชาธปิ ไตย ทกั ษะการเป็นผูน้ ำ� ผตู้ าม ผู้ตาม และหลักการ ตามความ 3. ประเมินผลการแสดง
ทด่ี ี เกิดความรกั ความ มีส่วนรว่ ม เหมาะสม 4. ส�ำรวจความพงึ พอใจ
สามัคคีและท�ำงานรว่ มกัน 3. แนวทางการ 5. อ่นื ๆ
อย่างมคี วามสุข จัดนทิ รรศการ

ค่มู ือการจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน 21

22 คมู่ อื การจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรยี น วนั / เวลา หน่วยที่ / กิจกรรม วตั ถุประสงค์ ขอบขา่ ยเนื้อหา สื่อ/อุปกรณ์ทีใ่ ช้ วธิ วี ดั และประเมินผล
1 ชวั่ โมง
30 นาที หนว่ ยที่ 15 1. เพือ่ ให้ผู้เข้ารบั การอบรม 1. ปัจจยั ส�ำคญั สู่เส้นทาง 1. ใบความรู้ 1. สังเกตพฤติกรรม
เสน้ ทางแห่งความ ไดพ้ ฒั นาศักยภาพในการ แหง่ ความสำ� เรจ็ การ 2. ใบงาน 2. การสอบถาม
สำ� เร็จ ของ ด�ำเนินงานสภานกั เรียน ท�ำงานกจิ กรรม 3. กระดาษ 3. ตรวจผลงาน
สภานกั เรยี น ได้อยา่ งเหมาะสม สภานกั เรยี น ฟลปิ ชารท์ 4. สำ� รวจความพงึ พอใจ

2. เพื่อใหผ้ เู้ ข้ารับการอบรม 2. กระบวนการข้ันตอนใน 4. กระดาษกาว กาว 5. อื่นๆ
สามารถวางแผนการ การท�ำงานใหก้ ิจกรรม 5. ปากกาเคมี
ดำ� เนนิ งานสภานกั เรยี น สภานักเรยี นไปสูค่ วาม
ได้อย่างมีคุณภาพ สำ� เร็จ

1 ชว่ั โมง หน่วยท่ี 16 l เพอื่ ใหผ้ ู้เขา้ รับการอบรม 1. เพลงสภา 1. สงั เกตพฤติกรรม
30 นาที กจิ กรรมอ�ำลา เกิดความรัก ความผกู พนั นักเรยี น 2. ส�ำรวจควา
ระหว่างเพื่อนและเกิด
ความกตัญญูกตเวทตี ่อผ้มู ี 2. เพลงใจประสานใจ มพงึ พอใจ
พระคุณ 3. เพลงกำ� ลงั ใจ ฯลฯ 3. อนื่ ๆ

หมายเหตุ ตารางและเวลาอาจเปลยี่ นแปลงไดต้ ามความเหมาะสม

หน่วยท่ี 1
การปฐมนเิ ทศ/กจิ กรรมกลุ่มสัมพันธ์

วัตถปุ ระสงค์

1. เพอื่ ให้ผู้เขา้ รับการอบรมเข้าใจวตั ถปุ ระสงคแ์ ละมีทศั นคตทิ ่ีดตี อ่ การเข้ารบั การอบรม
2. เพ่ือให้ผู้เข้ารับการอบรมมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมและปฏิบัติตนได้
อยา่ งถกู ตอ้ งเหมาะสม
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถก�ำหนดเป้าหมายหรือผลท่ีคาดหวังจากการ
ร่วมกจิ กรรมได้

ขอบขา่ ยเนอื้ หา

1. แนวทางและข้อปฏิบัติในการร่วมกจิ กรรม
2. กจิ กรรมกลมุ่ สมั พนั ธ์
3. กจิ กรรมความคาดหวงั

ขนั้ ตอนการด�ำ เนนิ กจิ กรรม

1. เตรยี มความพร้อมผ้เู ข้ารบั การอบรมโดยใชเ้ พลง เกมหรอื กิจกรรมท่เี หมาะสม
2. บรรยายประเด็นแนวทางขอ้ ปฏบิ ตั ิการอยู่ร่วมกนั และการร่วมกจิ กรรม
3. กิจกรรมกลุ่มสัมพนั ธ์
4. กิจกรรมความคาดหวัง

คูม่ อื การจัดกจิ กรรมฝกึ อบรมสภานกั เรยี น 23

วัสดุอปุ กรณ์/ส่ือการเรยี นรู้

1. กระดาษตัดเป็นรูปหวั ใจ คนละ 1 แผน่
2. แผนภูมเิ พลง
3. กระดาษฟลิปชารท์
4. ปากกาเคมี สเี มจกิ
5. อืน่ ๆ ตามความเหมาะสม

การวัดและประเมินผลการเรยี นรู้

เกณฑก์ ารประเมนิ วิธีวดั เคร่อื งมอื วดั
1. แบบสงั เกตพฤติกรรม
1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารบั การ 1. สงั เกตพฤตกิ รรม 2. แบบตรวจผลงาน
อบรมใหค้ วามร่วมมือและ 2. ตรวจผลงาน 3. แบบสำ� รวจความพึงพอใจ
สามารถบนั ทกึ กจิ กรรม 3. ส�ำรวจความพงึ พอใจ 4. อ่นื ๆ
ความคาดหวัง 4. อื่นๆ
2. รอ้ ยละ 80 ของผ้เู ขา้ รบั การอบรม
มคี วามพงึ พอใจในการเข้าร่วม
กิจกรรม

24 คูม่ อื การจดั กจิ กรรมฝกึ อบรมสภานักเรียน

ใบความรู้ (สำ�หรับครหู รอื วิทยากร)
แนวทางและขอ้ ปฏิบัติในการรว่ มกิจกรรม

แนวทางและข้อปฏิบัตใิ นการร่วมกิจกรรมมีดังน้ี
1. การตรงตอ่ เวลา
การตรงต่อเวลาเป็นหัวใจของกิจการท้ังปวง การตรงต่อเวลาเป็นเคร่ืองแสดงถึง
บุคลิกลักษณะนิสัยการตรงต่อเวลามักเป็นคนเอาการเอางานมีระเบียบวินัย กระตือรือร้น มีชีวิตชีวา
ท�ำงานไดร้ วดเรว็ เรยี บรอ้ ยและได้ผลดี ประสบความส�ำเรจ็ ในชวี ติ เปน็ บุคคลทน่ี ่าเชอ่ื ถือและเป็นท่ีไว้
วางใจของเพอ่ื นร่วมงาน สภานักเรียนต้องเปน็ ผู้ทตี่ รงตอ่ เวลา
2. มารยาทในการรว่ มอบรม
2.1 มารยาทในการฟงั ประกอบดว้ ย
- ฟงั ด้วยความต้ังใจและมีสมาธใิ นการฟงั
- แสดงความสนใจต่อเร่ืองที่ฟังและต่อผู้พูดด้วยการมองผู้พูดและไม่พูดคุยกับผู้อื่น
ขณะทฟ่ี งั
- ไม่พูดแทรกขณะท่ีผู้พูดก�ำลังพูดอยู่แต่ควรฟังเรื่องให้จบก่อนแล้วค่อยซักถาม
หรอื แสดงความคิดเห็นเพมิ่ เตมิ หรือรอให้ผูพ้ ดู เปดิ โอกาสให้ซกั ถาม
- แสดงสีหน้าท่าทางพอใจในการฟังและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้พูดเป็นระยะๆ เช่น
พยักหนา้
- คล้อยตาม ย้ิม จ้องมองผพู้ ูด ตอบค�ำถาม
- เมือ่ ฟงั ผใู้ หญพ่ ูดต้องอยใู่ นอาการสำ� รวม
- เม่ือรู้สึกขัดแย้งกับความคิดของผู้พูดก็ควรอดทนและเปิดใจกว้างยอมรับฟัง
ความคิดเห็นน้ันๆ
- ไม่ควรลุกเดินออกนอกห้องประชุมแต่ถ้ามีความจ�ำเป็นควรท�ำความเคารพผู้พูด
แลว้ จงึ เดินออกไปดว้ ยอาการสำ� รวมและระมดั ระวงั ไม่ใหท้ �ำเสยี งรบกวนสมาธขิ องผอู้ น่ื
- ในการซักถามผู้พูดควรรอให้ผู้พูดเปิดโอกาสให้ซักถามหรือยกมือข้ึนเพื่อขอ
อนุญาตซักถาม เมื่อมีโอกาสอันเหมาะสมและค�ำถามนั้นก็ควรเป็นค�ำถามสั้นๆ กระชับตรงประเด็น
ไมอ่ อกนอกเร่อื งและใชภ้ าษาสภุ าพ
2.2 มารยาทในการพูด ประกอบดว้ ย
- ก่อนทจี่ ะพูด คดิ ให้รอบคอบเสียก่อนว่า การพูดน้จี ะก่อให้เกดิ ผลอย่างไร
- ใช้ถอ้ ยค�ำสุภาพ เรยี บร้อยและให้เหมาะสมกับผู้ฟัง

คู่มอื การจัดกจิ กรรมฝกึ อบรมสภานกั เรยี น 25

- ถ้าจะพูดในขณะที่คนอื่นยังพูดไม่จบ รอให้เขาพูดจบเสียก่อน หรือถ้าเห็นว่าจะ
รอไมไ่ ดก้ ็กลา่ วคำ� ขอโทษ
- มที ่าทางสุภาพเรยี บร้อย หนา้ ตาย้มิ แย้มแจ่มใส
2.3 มารยาทการแตง่ กาย
ตลอดระยะเวลาการร่วมกิจกรรม คณะครูและนักเรียนต้องแต่งกายด้วยชุดสุภาพ
สามารถก�ำหนดเครื่องแต่งกายได้ตามความเหมาะสมของแต่ละวัน ห้ามใส่กางเกงขาสั้นหรือกระโปรง
ทีส่ ัน้ จนเกินไป คุณครแู ละนักเรียนแต่งกายด้วยชดุ สภุ าพ
2.4 มารยาทการใชโ้ ทรศพั ทม์ ือถอื และเครือ่ งมอื ส่ือสาร
ไมค่ วรใหใ้ ช้โทรศัพท์มือถอื และเคร่อื งมือสื่อสารทุกชนดิ ในขณะเข้าร่วมกิจกรรม
2.5 มารยาทการออกนอกห้องประชุม
ควรท�ำความเคารพและเดนิ ออกนอกห้องประชุมอย่างสำ� รวม

กิจกรรมความคาดหวัง

(สำ�หรบั ครูและวิทยากร)

1. แจกกระดาษรูปหัวใจ ให้ผู้เข้าอบรมเขียนท้ังสองด้าน ด้านหน้าเขียนส่ิงที่จะให้กับ
การอบรม และให้กับเพ่ือนๆ ตลอดการร่วมกิจกรรม ด้านหลังเขียนสิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการ
ร่วมกิจกรรมในครงั้ นี้
2. เมือ่ บนั ทกึ เสร็จเรยี บร้อยแล้ว น�ำไปติดทปี่ ้ายนิเทศหรือเจาะรปู แขวนไวท้ ่ีรอ้ ยเชือกน�ำไป
แขวนไวใ้ นท่ีทีก่ �ำหนด
3. ให้ผู้เขา้ รบั การอบรมตรวจสอบส่ิงทบี่ นั ทึกไวว้ ่าบรรลุหรอื ได้ปฏิบัตหิ รือยงั ทำ� เคร่อื งหมาย
หรือสญั ลกั ษณไ์ ว้ที่ขอ้ ความน้ันๆ เพื่อตรวจสอบตนเองและการร่วมกิจกรรมตลอดโครงการ
4. กิจกรรมอนื่ ๆ ท่ีเห็นวา่ เหมาะสม

26 คู่มือการจดั กจิ กรรมฝกึ อบรมสภานกั เรยี น

กจิ กรรมกลุ่มสัมพันธ์

(สำ�หรับครแู ละวทิ ยากร)

1. นำ� รอ้ งเพลงสวัสดี เพลงตบมอื หรอื เพลงอื่นๆ ท่เี หมาะสม
2. จบเพลงทุกคนกล่าวค�ำทักทาย บอกชื่อตนเอง ช่ือโรงเรียน คร้ังแรก จับกลุ่ม 2 คน
จากนั้นเพ่ิมขน้ึ เรอ่ื ยๆ ตามจำ� นวนของเพลงท่สี ่งั แต่ละครั้ง สดุ ท้ายให้จับกลุ่มตามทีไ่ ดจ้ ัดแบง่ ไว้ใหค้ รบ
ทกุ กลุ่ม
3. เลือกหวั หน้ากลมุ่ รองหวั หนา้ กล่มุ และเลขานกุ ารกลุม่

เพลง สวสั ดี
สวัสดี สวัสดี สวสั ดี
วนั นเ้ี รามาเจอกัน
เธอกับฉันพบกนั สวัสดี

เพลงตบมือ
ตบมือใหด้ งั อยา่ มัวน่ังนิง่ เฉย
ตบมอื กันเถิดเหวย เพื่อนเอย๋ สภานักเรยี นไทย
ตบมือใหด้ งั เจ็บก็ช่างมันปะไร เจ็บก็ช่างมันปะไร
(เปลี่ยนจ�ำนวนคตู่ บมอื ไปเรือ่ ยๆ ตามความเหมาะสม)

คู่มอื การจัดกจิ กรรมฝกึ อบรมสภานักเรียน 27



หน่วยที่ 2 การปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมพี ระมหากษตั รยิ ท์ รงเปน็ ประมขุ

วตั ถปุ ระสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษัตริยท์ รงเปน็ ประมุข
2. เพ่ือให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการปกครองในระบอบ
ประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมขุ
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเช่ือมโยงความรู้ เรื่องการปกครองในระบอบ
ประชาธปิ ไตยอันมพี ระมหากษัตริย์ทรงเปน็ ประมุข กับการดำ� เนนิ งานของสภานักเรยี น

ขอบขา่ ยเนอื้ หา

ความหมายของ รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย พระราชอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์ อ�ำนาจ
อธิปไตย อำ� นาจบรหิ าร อ�ำนาจนติ ิบัญญัติ อ�ำนาจตุลาการ การบริหารราชการสว่ นกลาง การบรหิ าร
ราชการส่วนภมู ิภาค การบริหารราชการส่วนทอ้ งถน่ิ

ขน้ั ตอนการด�ำ เนินกิจกรรม

1. เตรยี มความพรอ้ มผ้เู ขา้ รบั การอบรมโดยใช้เพลง เกม หรือกจิ กรรมอน่ื ๆ ที่เหมาะสม
2. น�ำเข้าสู่บทเรียน โดยการน�ำเสนอรูปภาพการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง หรือ
ภาพเกี่ยวกับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
“การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย เม่อื วนั ท่ี 24 มถิ นุ ายน พ.ศ. 2475”
3. สนทนากับผู้เข้ารับการอบรม เร่ืองท่ีมาและความส�ำคัญของการมีรัฐธรรมนูญ
การปกครองของไทย ความหมายของประชาธิปไตย ความหมายของอำ� นาจอธปิ ไตย เปน็ ตน้
4. แบง่ กลุ่มผู้เขา้ รับการอบรม กลมุ่ ละ 6 - 10 คน แจกใบงานเร่ืองการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีลักษณะเป็นการจับคู่ความสัมพันธ์ของ
ข้อความระหว่างความหมายกับค�ำส�ำคัญท่ีเก่ียวข้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตรยิ ท์ รงเปน็ ประมุข (โดยใช้บัตรค�ำ)

คู่มือการจัดกิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรยี น 29

5. แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความหมาย แลกเปล่ียนเรียนรู้ และจับคู่ความสัมพันธ์ของ
ข้อความจากบัตรค�ำระหว่างความหมายกับค�ำส�ำคัญท่ีเก่ียวข้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อนั มีพระมหากษตั รยิ ท์ รงเปน็ ประมุข แล้วน�ำไปปะตดิ ในกระดาษฟลปิ ชารท์
6. แตล่ ะกลมุ่ คดั เลือกตวั แทนกลมุ่ เพ่ือน�ำเสนอผลการศกึ ษาตอ่ ทป่ี ระชุมใหญ่ (ตามจำ� นวน
กลมุ่ และเวลาทเ่ี หมาะสม)
7. อภิปรายสรุปผลการเรียนรู้ ค�ำถามสะท้อนความคิด เร่ืองหลักการของประชาธิปไตย
เช่น การถือเสียงข้างมาก หมายถึงการยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย ครอบครัว
ประชาธปิ ไตย จงึ ใชห้ ลกั การ ถือเสยี งข้างมากเพ่ือลงมติในประเด็นตา่ งๆ ไดอ้ ยา่ งสนั ติวิธี แตก่ ย็ งั รบั ฟงั
ความคิดเห็นจากเสยี งข้างน้อย ตลอดจนนำ� ไปเชื่อมโยงกบั องค์กรของนักเรยี นในโรงเรยี น

วัสดุอปุ กรณ/์ ส่ือการเรียนรู้

1. ใบความรู้ เรอ่ื ง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมขุ
2. ใบงาน การจับคู่ความสัมพันธ์ของข้อความระหว่างความหมายกับค�ำส�ำคัญท่ีเกี่ยวข้อง
กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษตั รยิ ท์ รงเป็นประมุข (โดยใช้บัตรคำ� )
3. กระดาษฟลปิ ชารท์
4. กาว
5. ปากกา สีเมจกิ


การวดั และประเมนิ ผลการเรียนรู้

ตวั ช้วี ัดความส�ำเรจ็ วิธวี ัด เครอื่ งมือวดั
1. แบบสังเกตพฤตกิ รรม
ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมมี 1. สังเกตพฤติกรรม 2. แบบตรวจผลงาน
ความรู้ความเข้าใจ และเห็นคุณค่า 2. ตรวจผลงาน 3. อื่นๆ
ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย 3. อื่นๆ
อันมีพระมหากษตั ริย์ทรงเปน็ ประมขุ

หมายเหตุ
การน�ำใบความรู้ เรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุขนี้ไปใช้ในการอบรม ผู้จัดอบรมจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อความที่เป็นไปตาม
รฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย

30 คู่มอื การจดั กจิ กรรมฝกึ อบรมสภานกั เรยี น

ใบความรู้
เรอื่ ง การปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอนั มพี ระมหากษตั รยิ ์ทรงเป็นประมขุ

ประชาธิปไตย หมายถึง รูปแบบการปกครองและวิธีการด�ำเนินชีวิต ซ่ึงยึดหลักของ
ความเสมอภาค เสรีภาพและศักด์ศิ รแี ห่งความเปน็ มนุษย์ การปกครองระบอบประชาธปิ ไตย ถอื วา่ ทุกคน
มสี ทิ ธเิ สรีภาพเท่าเทียมกนั และอำ� นาจอธิปไตยตอ้ งมาจากปวงชน
อ�ำนาจอธิปไตย หรือ อ�ำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากปวงชนชาวไทยอันมี
พระมหากษัตริยท์ รงเปน็ ประมขุ อำ� นาจอธปิ ไตยแบง่ เป็น 3 อำ� นาจ ดังน้ี
1. อ�ำนาจนิติบัญญัติ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อ�ำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา ซ่ึงผู้ท่ี
จะใชอ้ �ำนาจนี้ คือ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร (ส.ส.) มอี ำ� นาจในการออกกฎหมาย ยกเลกิ แกไ้ ขเพ่มิ เติม
กฎหมายเพ่ือใช้ในการบริหารประเทศและปกป้องสิทธิ เสรีภาพของประชาชน รวมทั้งการสร้างความ
เป็นระเบียบเรียบร้อยให้เกิดข้ึนแก่สังคม และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) คือบุคคลที่ไม่สังกัดหรือเก่ียวพัน
กบั พรรคการเมอื ง ลงสมคั รรับเลือกตัง้ มหี น้าที่กล่ันกรองกฎหมายท่ีสภาผแู้ ทนราษฎรบญั ญตั ขิ นึ้
2. อ�ำนาจบริหาร พระมหากษัตริย์ทรงแต่งต้ังนายกรัฐมนตรีคนหน่ึงท่ีเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรตามมติคะแนนเสียงมากกว่าก่ึงหน่ึงของจ�ำนวนสมาชิกท้ังหมดเท่าท่ีมีอยู่ของ
สภาผู้แทนราษฎร โดยประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลัก
ความรบั ผิดชอบร่วมกันก่อนทีค่ ณะรัฐมนตรจี ะเข้าบรหิ ารราชการแผ่นดนิ ตอ้ งแถลงนโยบายตอ่ รฐั สภา
3. อ�ำนาจตุลาการ คือ อ�ำนาจที่ให้แก่ศาลในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีความต่างๆ
ตามที่กฎหมายก�ำหนดไว้ โดยศาลมีหน้าท่ีให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ท่ฝี า่ ยนิตบิ ัญญตั ไิ ดต้ ราขนึ้ มา โดยพระมหากษัตรยิ ์ทรงใช้อ�ำนาจตุลาการผ่านทางศาลต่างๆ
รฐั ธรรมนญู หมายถงึ กฎหมายสงู สุดในการจดั การปกครองของรฐั ซง่ึ กล่าวถงึ กฎเกณฑ์
ท่ีจัดวางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ภายใต้การปกครอง เป็นกฎหมายท่ีอยู่ใน
ฐานะสงู กว่ากฎหมายอนื่ ๆ ทั้งปวง ซึ่งกฎหมายอืน่ ๆ จะมีวิธกี ารจัดทำ� หรือมีขอ้ ความทข่ี ดั หรือแยง้ กับ
รฐั ธรรมนญู ไมไ่ ด้
พระราชอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์ คือ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญได้มีบทบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ได้รับการเชิดชูให้อยู่
เหนือการเมือง และก�ำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการด�ำเนินการทางการเมือง
การปกครอง รัฐธรรมนญู ได้ก�ำหนดพระราชอำ� นาจของพระมหากษตั รยิ ์ ดังน้ี

คูม่ ือการจัดกจิ กรรมฝกึ อบรมสภานกั เรยี น 31

1. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ
2. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อ�ำนาจอธิปไตย เช่น อ�ำนาจนิติบัญญัติ อ�ำนาจบริหาร และ
อำ� นาจตุลาการตาที่รัฐธรรมนญู บญั ญตั ิไว้
3. ทรงด�ำรงอย่ใู นฐานะอนั เปน็ ทเี่ คารพสักการะผู้ใดจะละเมดิ มไิ ด้
4. ทรงเปน็ พุทธมามกะและทรงเปน็ อคั รศาสนปู ถมั ภก
5. ทรงด�ำรงต�ำแหน่งจอมทัพไทย
6. ทรงไว้ซึ่งพระราชอ�ำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักด์ิและพระราชทานเครื่องราช
อิสริยาภรณ์
7. ทรงเลือกและแตง่ ต้งั องคมนตรี คณะองคมนตรี
8. ทรงแตง่ ตงั้ ผสู้ �ำเรจ็ ราชการแทนพระองค์
9. ทรงแกไ้ ขกฎมณเฑียรบาลว่าดว้ ยการสืบราชสนั ตตวิ งศ์
10. ทรงท�ำหนังสือสัญญา ทรงไว้ซึ่งพระราชอ�ำนาจในการท�ำหนังสือสัญญาสันติภาพ
สัญญาสงบศึก และสัญญาอ่ืนๆ กับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ นอกจากน้ีหนังสือ
สัญญาได้มีบทเปล่ียนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอ�ำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพ่ือ
ให้เป็นไปตามสญั ญาตอ้ งได้รับความเหน็ ชอบจากรัฐสภา
11. ทรงแต่งต้ังนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้พิพากษา ข้าราชการในพระองค์ และ
ขา้ ราชการระดับสงู
12. พระราชทานอภัยโทษ พระมหากษัตรยิ ท์ รงมพี ระราชอำ� นาจท่จี ะอภัยโทษ
แกผ่ ตู้ ้องโทษโดยมผี ู้รับสนองพระบรมราชโองการ
การจัดระเบียบบรหิ ารราชการแผน่ ดิน แบ่งเป็น 3 สว่ น คือ
1. ระเบยี บบริหารราชการสว่ นกลาง
2. ระเบียบบรหิ ารราชการส่วนภูมิภาค
3. ระเบยี บบริหารราชการสว่ นทอ้ งถนิ่
การบริหารราชการส่วนกลาง หมายถึง ราชการท่ีด�ำเนินการและบริหารโดยหน่วย
ราชการในสว่ นกลางของฝา่ ยบรหิ าร เพื่อสนองความตอ้ งการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครอง
แบบรวมอ�ำนาจ หมายความว่า เป็นการรวมอ�ำนาจในการส่ังการ การก�ำหนดนโยบายการวางแผน
การควบคมุ ตรวจสอบ และการบรหิ ารราชการสำ� คัญๆ ไว้ทนี่ ายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง
ทบวง กรมต่างๆ ตามหลักการรวมอำ� นาจ การจัดระเบยี บบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ ดังนี้
1. ส่วนราชการกลาง ประกอบด้วย ส�ำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือ
หนว่ ยงานอื่นที่มชี อื่ เรยี กอยา่ งอน่ื และฐานะเทียบเท่ากรม
2. สว่ นราชการที่ไมส่ งั กัดส�ำนกั นายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
32 ค่มู อื การจดั กจิ กรรมฝึกอบรมสภานกั เรียน

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง หนว่ ยราชการของกระทรวง ทบวง กรมตา่ งๆ
ซง่ึ ได้แบ่งแยกออกไปด�ำเนินการจดั ท�ำตามเขตการปกครอง โดยมเี จ้าหน้าท่ีของทางราชการส่วนกลาง
ซึ่งได้รับแต่งต้ังออกไปประจ�ำตามเขตการปกครองต่างๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้
การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่ง
อ�ำนาจการปกครองออกมาจากการบรหิ ารสว่ นกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอ�ำนาจโดย
ส่วนกลางแบ่งอำ� นาจในการบริหารราชการให้แกภ่ ูมิภาค ได้แก่ จงั หวัด มอี ำ� นาจในการดำ� เนินกิจการ
ในทอ้ งทแ่ี ทนการบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนท้องถ่ิน หมายถึง กิจกรรมบางอย่างซ่ึงรัฐบาลได้มอบหมายให้
ท้องถ่นิ จดั ทำ� กนั เอง เพ่อื สนองความต้องการสว่ นรวมของประชาชนในท้องถิน่ น้นั ๆ โดยมเี จา้ หนา้ ทซ่ี ง่ึ
ราษฎรในทอ้ งถ่ินเลือกตั้งข้ึนมาเป็นผดู้ ำ� เนนิ งานโดยตรงและมีอิสระในการบรหิ ารงาน
อาจกล่าวได้ว่า การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการ
กระจายอ�ำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอ�ำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพ่ือให้ประชาชน
เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นการแบ่งเบาภาระ
ของสว่ นกลาง และอาจยังประโยชน์สขุ ใหแ้ กป่ ระชาชนในท้องท่ไี ดม้ ากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิน่
ย่อมร้ปู ญั หาและความตอ้ งการได้ดกี วา่ ผู้อน่ื
การจัดระเบียบบริหารราชการสว่ นทอ้ งถ่นิ มีดงั น้ี
1. องค์การบริหารส่วนจงั หวดั
2. เทศบาล
3. องคก์ ารบริหารสว่ นตำ� บล
4. ราชการสว่ นท้องถนิ่ อนื่ ตามท่ีมกี ฎหมายกำ� หนด ซง่ึ มอี ยู่ 2 รปู แบบ คือ
4.1 กรงุ เทพมหานคร
4.2 เมอื งพัทยา

คมู่ อื การจดั กจิ กรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน 33

ใบงาน

เรือ่ ง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุข
ค�ำชแ้ี จง
1. ใหผ้ ้เู ขา้ รับการอบรมจับคู่บัตรคำ� ค�ำสำ� คัญกับความหมายท่เี กยี่ วขอ้ งกบั การปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษตั รยิ ์ทรงเปน็ ประมุขใหถ้ ูกต้อง
2. นำ� บตั รคำ� ทจ่ี ับคไู่ ว้แล้วไปติดลงในกระดาษฟลปิ ชารท์ และศึกษาทำ� ความเข้าใจ
3. คดั เลือกตัวแทนกลมุ่ น�ำเสนอตอ่ ผลงานทีป่ ระชมุ ตามหวั ข้อทีไ่ ดร้ ับมอบหมาย

..........................................................................................

34 คมู่ อื การจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน

ตวั อย่าง
ค�ำ ส�ำ คัญทค่ี รูหรอื วทิ ยากรควรน�ำ ไปจดั ทำ�บัตรค�ำ

เชน่
1. ประชาธปิ ไตย
รูปแบบการปกครองและวิธกี ารดำ� เนนิ ชีวติ ซ่งึ ยึดหลกั ของความเสมอภาค เสรภี าพและ
ศักด์ิศรีแหง่ ความเปน็ มนุษย์ ถอื วา่ ทุกคนมีสทิ ธเิ สรภี าพเทา่ เทยี มกัน
2. อ�ำนาจอธิปไตย
อ�ำนาจสงู สุดในการปกครองประเทศมาจากปวงชนชาวไทย
3. พระราชอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์ใช้อ�ำนาจอธิปไตย เช่น อ�ำนาจนิติบัญญัติ อ�ำนาจบริหาร และอ�ำนาจ
ตลุ าการ
4. อ�ำนาจนติ บิ ญั ญัติ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มีอ�ำนาจในการออกกฎหมาย ยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม
กฎหมายเพ่ือใช้ในการบริหารประเทศ และปกป้องสิทธิ เสรีภาพของประชาชน รวมทั้งการสร้าง
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยใหเ้ กดิ ขึน้ แกส่ งั คม และสมาชกิ วฒุ ิสภา (ส.ว.) มีหนา้ ทีก่ ล่นั กรองกฎหมายท่ี
สภาผูแ้ ทนราษฎรบญั ญัตขิ นึ้
5. อำ� นาจตลุ าการ
อ�ำนาจท่ีให้แก่ศาลในการพิจารณาพิพากษาคดีความต่างๆ ตามที่กฎหมายก�ำหนดไว้
โดยศาลมีหน้าท่ีให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตรา
ข้นึ มาใช้
6. การบริหารราชการสว่ นกลาง
การรวมอ�ำนาจในการสั่งการ การก�ำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ
และการบริหารราชการส�ำคญั ๆ ไวท้ นี่ ายกรัฐมนตรี คณะรฐั มนตรี และกระทรวง ทบวง กรมตา่ งๆ
7. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการตามหลักการแบ่งอ�ำนาจโดยส่วนกลาง แบ่งอ�ำนาจในการบริหาร
ราชการให้แก่ภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด มีอ�ำนาจในการด�ำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการ
สว่ นกลาง
8. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด เทศบาล ราชการส่วนท้องถิ่นอ่ืนตามท่ีมีกฎหมายก�ำหนด ได้แก่ สภาต�ำบล องค์การ
บริหารต�ำบล กรงุ เทพมหานคร และเมอื งพัทยา
9. รฐั ธรรมนูญ
กฎหมายสูงสุดในการจดั การปกครองรัฐหรอื ประเทศ

คู่มือการจดั กิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรยี น 35



หน่วยท่ี 3 ความเป็นพลเมืองดตี ามวิถีประชาธปิ ไตย

วตั ถุประสงค์

1. เพ่ือให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดีตามวิถี
ประชาธิปไตย
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความตระหนัก และเห็นคุณค่าของความเป็นพลเมืองดี
ตามวถิ ปี ระชาธิปไตย
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถน�ำหลักความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชวี ิตประจ�ำวัน

ขอบขา่ ยเนอื้ หา

1. หลักการส�ำคญั ของประชาธปิ ไตย และความเป็นพลเมืองดีตามวิถชี วี ติ ประชาธิปไตย
2. แนวทางการปฏบิ ัติตนให้เป็นพลเมืองดีตามวิถปี ระชาธิปไตย
3. ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

ขัน้ ตอนการด�ำ เนนิ กิจกรรม

1. เตรียมความพร้อมผ้เู ขา้ รับการอบรมโดยใช้เพลง เกม หรอื กิจกรรมอื่นๆ ทีเ่ หมาะสม
2. น�ำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้ “สื่อวีดิทัศน์หรือข่าวสภาพปัญหาทางสังคมของไทย”
และน�ำสนทนาถึงสาเหตขุ องสภาพปัญหา
3. ใหค้ วามรู้เกีย่ วกบั ความหมายของ “พลเมืองด”ี ตามวถิ ีประชาธิปไตย เช่น พลเมือง
วถิ ปี ระชาธปิ ไตย และความหมายโดยรวม หลกั การส�ำคญั ทางประชาธปิ ไตย ตลอดจนน�ำเสนอวีดิทัศน์
หรอื ภาพทเ่ี กยี่ วกบั พลเมืองทไี่ ม่ดีให้ผเู้ ข้ารบั การอบรมรว่ มอภิปราย เปน็ ต้น
4. แบ่งกลุ่มผู้เขา้ รับการอบรม กลุม่ ละ 6 - 10 คน แจกใบงาน เรอ่ื ง การวิเคราะหก์ ิจกรรม
ที่สภานักเรยี นสามารถสง่ เสริมและดำ� เนนิ งานใหเ้ ปน็ ไปตามค่านิยมหลกั ของคนไทย 12 ประการ

คู่มอื การจดั กจิ กรรมฝึกอบรมสภานกั เรียน 37

5. แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ และปฏิบัติกิจกรรมตามใบงาน เรื่องการวิเคราะห์
กิจกรรมที่สภานักเรียนสามารถส่งเสริมและด�ำเนินงานให้เป็นไปตามค่านิยมหลักของคนไทย 12
ประการ แลว้ จดั ท�ำเป็น Mind map ลงในกระดาษฟลิปชาร์ท
6. แต่ละกลุ่มคัดเลือกตัวแทนกลุ่มน�ำเสนอผลการศึกษาต่อท่ีประชุมใหญ่ตามเวลาที่
เหมาะสม (ตามจ�ำนวนกลุ่มและเวลาทเี่ หมาะสม)
7. อภปิ รายสรปุ ผลการเรยี นรู้ คำ� ถามสะทอ้ นความคดิ เรื่อง “การปฏิบตั ิตนใหเ้ ปน็ พลเมอื งดี
ตามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย” (ด้านสงั คม ด้านเศรษฐกจิ ด้านการเมอื งการปกครอง) ตลอดจนนำ� ไปเชอ่ื มโยง
กบั สภานกั เรยี นในโรงเรยี น

วัสดุอปุ กรณ/์ สือ่ การเรียนรู้

1. ใบความรู้ เรอื่ ง หลกั การที่ส�ำคัญทางประชาธปิ ไตยและพลเมอื งดีตามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย
2. ใบความรู้ เรือ่ ง แนวทางการปฏิบัติตนใหเ้ ปน็ พลเมืองดตี ามวถิ ีประชาธปิ ไตย
3. ใบความรู้ เรือ่ ง คา่ นิยมหลกั ของคนไทย 12 ประการ
4. ตัวอย่างข่าวเกี่ยวกับปัญหาของสังคมไทย เช่น ปัญหาตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปัญหา
ยาเสพตดิ เป็นต้น
5. ใบงาน เร่ือง การวเิ คราะหก์ ิจกรรมทีส่ ภานกั เรยี นสามารถส่งเสริมและดำ� เนินงานให้เป็น
ไปตามค่านิยมหลกั ของคนไทย 12 ประการ
6. กระดาษฟลปิ ชารท์ กาว ปากกา สีเมจิก

การวัดและประเมนิ ผล

ตวั บง่ ช้ีความสำ� เร็จ วิธีวดั เคร่อื งมอื วดั
1. แบบสงั เกตพฤติกรรม
ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรม 1. สงั เกตพฤติกรรม 2. แบบตรวจผลงาน
มีความรู้ ความเข้าใจ เก่ยี วกับความ 2. ตรวจผลงาน 3. อน่ื ๆ
เปน็ พลเมืองดตี ามวถิ ีประชาธปิ ไตย 3. อื่นๆ

หมายเหตุ
การก�ำหนดให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ และปฏิบัติกิจกรรมตามใบงาน เร่ือง
การวิเคราะห์กิจกรรมที่สภานักเรียนสามารถส่งเสริมและด�ำเนินงานให้เป็นไปตามค่านิยมหลักของคนไทย
12 ประการ แล้วจัดท�ำเป็น Mind map ลงในกระดาษฟลิปชาร์ท จะต้องให้ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจ
เรื่องการเขียน Mind mapที่ถกู ตอ้ ง และอาจมีตวั อยา่ งใหด้ ู หรือรูปแบบอน่ื ๆ ตามความเหมาะสม เชน่
ตาราง แผนภูมิต้นไม้ ฯลฯ

38 คมู่ อื การจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรียน

ใบความรู้

เร่อื ง หลกั การส�ำ คญั ของประชาธปิ ไตยและพลเมอื งดตี ามวถิ ชี วี ิตประชาธิปไตย

หลกั การส�ำคญั ของประชาธิปไตย ได้แก่
1. หลักอ�ำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของอ�ำนาจสูงสุด
ในการปกครองรัฐ
2. หลักความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย ถือว่าทุกคน
ท่ีเกิดมาจะมีความเท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ ได้แก่ มีสิทธิเสรีภาพ มีหน้าท่ีเสมอภาค
กันไม่มีการแบ่งชนชั้น หรือการเลือกปฏิบัติ ควรด�ำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่
อ่อนแอหรือยากจนกว่า
3. หลักนิติธรรม หมายถึง การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพื่อความ
สงบสขุ ของสงั คม
4. หลักเหตผุ ล หมายถึง การใชเ้ หตผุ ลทีถ่ ูกต้องในการตดั สนิ หรือยตุ ิปัญหาในสังคม
5. หลักการถือเสียงข้างมาก หมายถึง การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคม
ประชาธิปไตย ครอบครัวประชาธิปไตย จึงใช้หลักการถือเสียงข้างมากเพ่ือลงมติในประเด็นต่างๆ
ไดอ้ ยา่ งสนั ติวิธี
6. หลักประนีประนอม หมายถึง การลดความขัดแย้งโดยการตกลงกันด้วยการไกล่เกล่ีย
รอมชอมเพ่อื เห็นแกป่ ระโยชนข์ องสว่ นรวมเป็นสำ� คัญ
หลักการทางประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการส�ำคัญที่น�ำมาใช้ในการด�ำเนินชีวิตในสังคม
รอมชอมเพ่อื ก่อให้เกดิ ความสงบสุขในสังคมได้

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
ความหมายของ พลเมอื งดใี นวิถีประชาธิปไตย พจนานุกรมนักเรียนฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน
ไดใ้ ห้ความหมายของค�ำต่างๆ ดังนี้
พลเมอื ง หมายถงึ ชาวเมอื ง ชาวประเทศ ประชาชน
วถิ ี หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน
ประชาธปิ ไตย หมายถึง แบบการปกครองทีถ่ ือมตปิ วงชนเป็นใหญ่
ดังนั้นค�ำว่า พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย หมายถึง พลเมืองท่ีมีคุณลักษณะที่ส�ำคัญ คือ
เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการด�ำรงชีวิต
ปฏิบัติตนตามกฎหมายด�ำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมีการช่วยเหลือเก้ือกูลกัน อันจะก่อให้เกิด
การพฒั นาสังคมและประเทศชาติให้เปน็ สงั คมและประเทศประชาธปิ ไตยอยา่ งแทจ้ ริง

คู่มอื การจัดกจิ กรรมฝึกอบรมสภานักเรยี น 39

ใบความรู้

เร่อื ง แนวทางการปฏิบัตติ นใหเ้ ป็นพลเมอื งดีตามวิถปี ระชาธปิ ไตย

การปฏิบตั ิตนใหเ้ ป็นพลเมืองดีตามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย ควรมแี นวทาง ดังน้ี
ดา้ นสงั คม ได้แก่
1. การแสดงความคดิ อยา่ งมเี หตผุ ล
2. การรับฟังขอ้ คิดเห็นของผอู้ ่นื
3. การยอมรับเมอ่ื ผอู้ ื่นมีเหตุผลท่ีดีกว่า
4. การตัดสนิ ใจโดยใช้เหตผุ ลมากกว่าอารมณ์
5. การเคารพระเบยี บของสังคม
6. การมจี ิตสาธารณะ คือ เหน็ แก่ประโยชนข์ องสว่ นรวมและรักษาสาธารณสมบัติ
ดา้ นเศรษฐกิจ ไดแ้ ก่
1. การประหยัดและอดออมในครอบครัว
2. การซ่ือสตั ยส์ ุจริตต่ออาชพี ที่ทำ�
3. การพฒั นางานอาชพี ใหก้ ้าวหน้า
4. การใช้เวลาวา่ งใหเ้ ปน็ ประโยชนต์ ่อตนเองและสงั คม
5. การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพ่ือให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย
และสังคมโลก
6. การเปน็ ผ้ผู ลิตและผบู้ ริโภคที่ดี มคี วามซอื่ สัตยย์ ึดม่ันในอุดมการณท์ ่ีดตี ่อชาตเิ ปน็ ส�ำคญั
ดา้ นการเมอื งการปกครอง ได้แก่
1. การเคารพกฎหมาย
2. การรบั ฟังขอ้ คิดเห็นของผ้อู ่ืน โดยอดทนตอ่ ความขดั แยง้ ทีเ่ กิดข้ึน
3. การยอมรับในเหตุผลที่ดกี ว่า
4. การซื่อสัตย์ต่อหนา้ ท่ี โดยไมเ่ ห็นแกป่ ระโยชนส์ ่วนตน
5. การกล้าเสนอความคดิ เหน็ ตอ่ ส่วนรวม
6. การทำ� งานอยา่ งเตม็ ความสามารถ เต็มเวลา

40 คมู่ ือการจดั กจิ กรรมฝึกอบรมสภานกั เรยี น

ใบความรู้

เรอ่ื ง คา่ นิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

1. มคี วามรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ ์
2. ซือ่ สตั ย์ เสยี สละ อดทน มอี ุดมการณใ์ นสง่ิ ทดี่ งี ามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญตู อ่ พอ่ แม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝห่ าความรู้ หมั่นศกึ ษาเลา่ เรยี นท้ังทางตรง และทางออ้ ม
5. รักษาวฒั นธรรมประเพณีไทยอนั งดงาม
6. มีศลี ธรรม รกั ษาความสตั ย์ หวงั ดีตอ่ ผอู้ ่ืน เผ่ือแผแ่ ละแบ่งปัน
7. เขา้ ใจเรยี นรกู้ ารเป็นประชาธิปไตย อนั มีพระมหากษตั ริย์ทรงเปน็ ประมขุ ที่ถกู ต้อง
8. มรี ะเบยี บวินยั เคารพกฎหมาย ผู้นอ้ ยรจู้ กั การเคารพผ้ใู หญ่
9. มีสตริ ูต้ วั รคู้ ิด รูท้ �ำ รู้ปฏิบัติตามพระราชด�ำรสั ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั ฯ
10. รู้จักด�ำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชด�ำรัสของพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รู้จักอดออมไว้ใช้เม่ือยามจ�ำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจ�ำหน่าย
และพร้อมที่จะขยายกจิ การเม่อื มีความพร้อม เมอื่ มีภูมคิ ุม้ กนั ทีด่ ี
11. มีความเข้มแข็งท้ังร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ�ำนาจฝ่ายต่�ำ หรือกิเลส มีความ
ละอายเกรงกลวั ต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำ� นึงถึงผลประโยชนข์ องสว่ นรวม และของชาตมิ ากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

ค่มู ือการจดั กจิ กรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน 41

ใบงาน
เร่ือง การวเิ คราะหก์ จิ กรรมท่สี ภานักเรยี นสามารถสง่ เสรมิ และด�ำ เนินงาน

ให้เป็นไปตามค่านยิ มหลกั ของคนไทย 12 ประการ

ค�ำชีแ้ จง
1. ให้ผู้เข้ารับการอบรมร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ กิจกรรมท่ีสภานักเรียนสามารถส่งเสริม
และด�ำเนินงานให้เป็นไปตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ แล้วจัดท�ำเป็น Mind map ใน
กระดาษฟลปิ ชารท์
1.1 กลุม่ ที่ 1 วเิ คราะห์กิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและดำ� เนินงานให้เปน็ ไปตามค่านิยมหลกั
ของคนไทย 12 ประการ ในขอ้ ท่ี 1 และขอ้ ท่ี 2
1.2 กลมุ่ ที่ 2 วิเคราะหก์ ิจกรรมทส่ี ามารถส่งเสริมและดำ� เนินงานให้เป็นไปตามคา่ นยิ มหลัก
ของคนไทย 12 ประการ ในข้อท่ี 3 และขอ้ ที่ 4
1.3 กลุม่ ท่ี 3 วเิ คราะห์กจิ กรรมทสี่ ามารถส่งเสรมิ และด�ำเนินงานให้เป็นไปตามค่านยิ มหลกั
ของคนไทย 12 ประการ ในขอ้ ที่ 5 และขอ้ ท่ี 6
1.4 กลุ่มที่ 4 วิเคราะหก์ จิ กรรมที่สามารถส่งเสรมิ และดำ� เนนิ งานให้เปน็ ไปตามคา่ นิยมหลัก
ของคนไทย 12 ประการ ในข้อที่ 7 และข้อที่ 8
1.5 กลุ่มที่ 5 วิเคราะหก์ จิ กรรมท่สี ามารถสง่ เสรมิ และด�ำเนนิ งานใหเ้ ปน็ ไปตามคา่ นยิ มหลกั
ของคนไทย 12 ประการ ในขอ้ ที่ 9 และขอ้ ท่ี 10
1.6 กลมุ่ ท่ี 6 วเิ คราะห์กิจกรรมที่สามารถสง่ เสริมและด�ำเนินงานใหเ้ ป็นไปตามคา่ นยิ มหลัก
ของคนไทย 12 ประการ ในขอ้ ท่ี 11 และข้อท่ี 12
2. แต่ละกลมุ่ คดั เลือกตวั แทนกลมุ่ นำ� เสนอผลงานต่อท่ีประชุม

42 คู่มอื การจดั กิจกรรมฝกึ อบรมสภานกั เรียน

หนว่ ยที่ 4 สิทธเิ ดก็

วตั ถุประสงค์

1. เพ่ือใหผ้ ูเ้ ขา้ รบั การอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเร่อื งสทิ ธิเดก็
2. เพอ่ื ให้ผูเ้ ขา้ รบั การอบรมมีความรู้ความเขา้ ใจกฎหมายทีเ่ กี่ยวข้องกบั สิทธเิ ดก็
3. เพ่ือให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เรื่องสิทธิและหน้าท่ีทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม
ประเทศชาติ

ขอบข่ายเนือ้ หา

1. สิทธิและหน้าท่ี
2. สทิ ธิเด็ก และกฎหมายทเี่ กยี่ วข้อง

ขั้นตอนการดำ�เนนิ กิจกรรม

1. เตรียมความพร้อมผู้เขา้ รบั การอบรมโดยใช้เพลง เกม หรอื กิจกรรมที่เหมาะสม
2. ชแี้ จงวตั ถปุ ระสงค์ของกิจกรรม
3. นำ� เสนอส่อื วดี ิทัศน/์ ภาพ
4. แบ่งกลุ่มผเู้ ขา้ รับการอบรม กลมุ่ ละ 6 - 10 คน จัดกจิ กรมการเรยี นรู้
4.1 ฐานการเรียนรู้ เรื่องสิทธิเด็ก 4 ประการ โดยแต่ละกลุ่มจะต้องเข้าฐานการเรียนรู้
ใหค้ รบทง้ั 4 ฐานคือ
ฐานท่ี 1 สิทธทิ จ่ี ะมชี วี ติ รอด (Right of Survival)
ฐานท่ี 2 สทิ ธิทจี่ ะไดร้ บั การปกปอ้ งค้มุ ครอง (Right of Protection)
ฐานท่ี 3 สทิ ธทิ ่จี ะได้รับการพัฒนา (Right of Development)
ฐานที่ 4 สิทธิทใ่ี นการมีสว่ นรว่ ม (Right of Participation)

คูม่ อื การจดั กิจกรรมฝึกอบรมสภานกั เรยี น 43


Click to View FlipBook Version