____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ แนวปฏิบัติสำหรับนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา พ.ศ. ๒๕๖๖ หมวด ๑ การปฏิบัติตนโดยทั่วไป ๑. แต่งกายด้วยเครื่องแบบตามระเบียบของโรงเรียน ให้ถูกต้องและสะอาดเรียบร้อย การมาติดต่อ กับโรงเรียนในเวลาราชการต้องแต่งเครื่องแบบนักเรียน ๒. ปฏิบัติตนให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นลูกศิษย์ที่ดีของครูและเป็นคนดีของสังคม ๓. มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน อดทนและซื่อสัตย์สุจริต ๔. รักความสงบ มีความสามัคคีในหมู่คณะ รุ่นน้องนับถือรุ่นพี่ รุ่นพี่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง รักและหวงแหนโรงเรียนไม่กระทำการใด ๆ ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่โรงเรียน ๕. ช่วยกันดูแลทรัพย์สินของโรงเรียนให้อยู่สภาพดีงาม ช่วยกันรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ๖. ประหยัดการใช้น้ำ ไฟฟ้า และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโรงเรียน ๗. เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ เคารพครูและผู้ใหญ่ทั้งในและนอกโรงเรียน ไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ คาย ด่าทอส่อเสียดหรือนินทาว่าร้าย รู้จักกล่าวคำว่าสวัสดีขอโทษ และขอบคุณ ในโอกาสอันสมควร ๘. มีความสำรวม รักษากิริยามารยาทให้สุภาพเรียบร้อย รักษาระเบียบวินัยเคารพต่อสถานที่และโรงเรียน ๙. ห้ามใช้เครื่องประดับ และเครื่องสำอางทุกชนิด ๑๐. ห้ามนำสินค้าและบริการทุกประเภทมาขายในโรงเรียน ๑๑. ห้ามเสพสิ่งเสพติดหรือของมีนเมา และนำสิ่งเสพติดหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาโรงเรียน ๑๒. ห้ามพกอาวุธหรือสิ่งที่ใช้เป็นอาวุธได้มาโรงเรียน ๑๓. ห้ามนำโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนมา โรงเรียน ๑๔. ห้ามนำหนังสือการ์ตูน สิ่งพิมพ์และแถบบันทึกภาพลามกมาโรงเรียน ๑๕. ห้ามมั่วสุมหรือก่อความรำคาญในโรงเรียน ๑๖. ห้ามพาบุคคลภายนอกเข้ามาโรงเรียน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากทางโรงเรียน ๑๗. ห้ามจัดนำเที่ยว หรือชักชวนเพื่อนนักเรียนหรือบุคคลอื่น จัดงานหรือไปตามสถานที่ที่ไม่เหมาะสมกับวัย ไม่เที่ยวกลางคืน ๑๘ ห้ามเล่นการพนัน เล่นแชร์ แชร์ลูกโซ่ จำหน่ายสินค้าเงินผ่อน ให้กู้เงิน หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม ทางการเงิน ๑๙. ห้ามขอ ขู่กรรโขก ขโมยเงินหรือทรัพย์สินของเพื่อนนักเรียน ๒๐. เป็นผู้มีประชาธิปไตย รู้จักและเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น ๒๑. โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนใช้น้ำยาลบคำผิด ๑
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ หมวด ๒ การมาโรงเรียน ๑. กำหนดเวลาปกติของโรงเรียน ๐๗.๔๐ น. สัญญาณครั้งที่ ๑ เปิดเพลงประจำโรงเรียน นักเรียนเตรียมตัวเข้าแถวเมื่อเพลงจบ นักเรียนเข้าแถว เรียบร้อย ๐๗.๕๐-๐๘.๐๐ น. กิจกรรมหน้าเสาธง เคารพธงชาติ สวดมนต์ นั่งสมาธิและฟังประกาศข่าวสาร ๐๘.๐๐-๐๘.๓๐ น. แยกเข้าชั้นเรียน และพบครูที่ปรึกษาร่วมกิจกรรม Homeroom ๐๘.๓๐-๐๙.๒๐ น. เริ่มเรียนคาบเรียนที่ ๑ ๑๑.๐๐-๑๑.๕๐ น. นักเรียนระดับชั้น ม.๑ และ ม.๒ พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๑.๕๐-๑๒.๔๐ น. นักเรียนระดับชั้น ม.๓, ม.๔, ม.๕ และ ม.๖ พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๕.๑๐ น. เลิกเรียน หมายเหตุ อาจมีการปรับเวลาเรียนตามแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและนักเรียนตามโครงการความสามารถด้าน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ บางห้องอาจมีคาบเรียนเพิ่ม ๒. การมาโรงเรียน นักเรียนที่มาไม่ทันกิจกรรมหน้าเสาธง ถือว่ามาโรงเรียนสาย ถ้านักเรียนมาโรงเรียนสายต้องปฏิบัติดังนี้ ๑. รายงานตัวที่กลุ่มงานกิจการนักเรียน พร้อมแสดงจุดหมายชี้แจงโดยมีผู้ปกครองลงลายมือชื่อรับรอง และ บันทึกข้อมูลการมาโรงเรียนสาย ๒. การลาทุกครั้งนักเรียนต้องส่งใบลาตามแบบใบลาของโรงเรียนที่ครูที่ปรึกษาของนักเรียน การไม่ส่งใบลา ถือว่าขาดเรียน และการขาดเรียนถ้าครบเงื่อนไขจะถูกลงโทษตามระเบียบว่าด้วยการส่งเสริม ให้นักเรียนมีคุณลักษณะพึงประสงค์ และการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน ๓. การลาป่วย ให้ส่งใบลาในวันที่ลา หรือในวันแรกที่กลับมาเรียน และขอให้ผู้ปกครองแจ้งทางโรงเรียน ให้ทราบทางใดทางหนึ่งก่อน ๔. การลากิจ ให้ส่งใบลาล่วงหน้า ๑ วัน หรือในวันแรกที่กลับมาเรียน และขอให้ผู้ปกครองแจ้ง ทางโรงเรียนให้ทราบทางใดทางหนึ่งก่อน ๕. การขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน ๕.๑ หากมีกิจธุระจำเป็นต้องขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนผู้ปกครองต้องเป็นผู้มารับเอง พร้อมทั้งเขียนใบขออนุญาตที่กลุ่มงานกิจการนักเรียนห้ามลาทางโทรศัพท์ ๕.๒ หากนักเรียนเจ็บป่วยกะทันหัน จำเป็นต้องติดต่อผู้ปกครองต้องได้รับคำอนุญาตจาก ครูพยาบาลซึ่งได้วินิจฉัยอาการก่อนแล้ว ไม่อนุญาตให้นักเรียนโทรศัพท์แจ้งผู้ปกครองเอง ๖. ผู้ปกครองที่ลงลายมือชื่อรับรองเอกสารใด ๆ หรือผู้ที่มาขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน ต้องเป็นผู้ปกครองที่แท้จริง และเป็นผู้ลงนามไว้ในเอกสารการมอบตัวนักเรียนกับโรงเรียนเท่านั้น ๓. การมาโรงเรียนในวันหยุด ๒
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ในวันหยุดราชการหรือวันที่โรงเรียนประกาศเป็นวันหยุด ห้ามนักเรียนมาโรงเรียนเว้นแต่ทางโรงเรียนจะมีจดหมายแจ้ง ผู้ปกครองขออนุญาตให้นักเรียนมาโรงเรียนเป็นครั้งไปและต้องแต่งกายชุดนักเรียนหรือชุดอื่นใด ที่โรงเรียนเห็นว่าเหมาะสมและอนุญาตเท่านั้น ๔. การกลับบ้าน ๑. หลังจากเลิกเรียนประจำวันแล้ว นักเรียนทุกคนต้องกลับบ้าน โดยกำหนดให้ออกจากโรงเรียนภายในเวลา ๑๗.๐๐ น. หากมีกิจกรรมอื่นใด ที่ต้องให้นักเรียนกลับบ้านช้ากว่าที่กำหนดไว้โรงเรียนจะมีจดหมายแจ้ง ให้ผู้ปกครองทราบเป็นครั้งไป ๒. เมื่อนักเรียนออกจากโรงเรียนแล้ว ถือว่าเป็นเวลากลับบ้าน หากนักเรียนไปทำกิจกรรมอื่นใดนอกโรงเรียน แล้วก่อให้เกิดปัญหาหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่โรงเรียนจะถูกลงโทษตามระเบียบว่าด้วยการส่งเสริมให้นักเรียนมี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน หมวดที่ ๓ การปฏิบัติตนในโรงเรียน ๑. การแสดงความเคารพ ๑. เมื่อมาถึงโรงเรียนและกลับออกจากโรงเรียน นักเรียนต้องแสดงความเคารพต่อครูเวรที่ประตูทุกครั้ง ๒. นักเรียนต้องรู้จักครู และเคารพครูในโรงเรียนทุกคน โดยการหยุดยืนแสดงความเคารพ ด้วยการยกมือไหว้ และกล่าว “สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ" ๓. เมื่อเดินสวนกับครู ให้หยุดยืนตรง สำรวมกิริยามารยาทและไหว้ ๔. เมื่อมาหาครู ให้ยืนห่างพอสมควร ทำความเคารพด้วยการไหว้ หากครูนั่งอยู่ให้นั่งคุกเข่า ๕. เมื่อมีบุคคลภายนอกมาเยี่ยมเยียนโรงเรียน หากนักเรียนพบเห็น นักเรียนต้องทำความเคารพ ๒. การปฏิบัติตนในการทำกิจกรรมหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียน ๑. นักเรียนต้องปฏิบัติตามคำสั่งของครูผู้ควบคุมการดำเนินกิจกรรมหน้าเสาธงไม่พูดคุย ไม่เล่นกัน ในระหว่างเข้าแถว ๒. นักเรียนต้องตั้งใจในการร้องเพลงชาติสวดมนต์ กล่าวบทแผ่เมตตา กล่าวคำปฏิญาณ ด้วยเสียงอันดัง และ อยู่ในอาการสำรวมตลอดเวลา ๓. ขณะฟังการอบรม ฟังข่าวสารประชาสัมพันธ์จากทางโรงเรียน นักเรียนต้องตั้งใจฟัง โดยไม่พูดคุยกัน ๔. วันใดที่มีการเข้าแถวเป็นคณะ ให้นักเรียนแยกเข้าแถวตามคณะของตนในจุดที่ทางโรงเรียนกำหนดให้ ๕. วันใดที่ไม่สามารถเข้าแถวรวมกันที่สนามได้ ให้นักเรียนเข้าแถวหน้าห้องเรียนของตนเอง และอยู่ในความ ดูแลของครูที่ปรึกษา ๖. การเข้าแถว ให้เข้าแถวตอนลึก เรียงตามลำดับไหล่ทุกครั้ง ๗. การเดินแถว เพื่อขึ้นอาคารเรียน ให้นักเรียนเดินแถวอย่างเป็นระเบียบไม่แตกแถว และไม่มีการแวะ ที่ใดที่หนึ่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเท่านั้น ๓. การเรียนในห้องเรียน ๑. เข้าห้องเรียนให้ทันเวลา หากเข้าห้องเรียนช้ากว่าที่ครูผู้สอนกำหนดเอาไว้ถือว่าหนีเรียนหรือขาดเรียน ๒. เตรียมอุปกรณ์การเรียนให้ครบถ้วนก่อนครูผู้สอนเข้าห้อง ๓. สำรวมกิริยามารยาท ไม่ส่งเสียงดังหรือก่อความวุ่นวายภายในห้องเรียน ๔. ห้ามออกนอกห้องเรียนในขณะกำลังเรียน เว้นแต่กรณีจำเป็นหรือฉุกเฉินให้ขอใบอนุญาตออกนอกห้องเรียน ๕. การเข้าห้องเรียน หรือออกนอกห้องเรียน หรือติดต่อกิจธุระใด ๆ ในห้องเรียนที่มีครูกำลังสอนอยู่ ให้ขออนุญาตก่อน ห้ามเข้าหรือออกนอกห้องเรียน หรือติดต่อกิจธุระโดยไม่ได้รับอนุญาต ๓
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๖. ต้องตั้งใจเรียน ไม่เล่นกัน ไม่คุยกัน ไม่แต่งหน้าทาปาก หรือทำงานอื่น ๆห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องเล่นบันเทิงใด ๆ ในขณะเรียน ๗. ต้องทำงานที่ครูมอบหมายและส่งตามเวลาที่กำหนด ๘. ต้องรักษาห้องเรียนให้สะอาดอยู่เสมอ ห้ามนำอาหาร น้ำและของขบเคี้ยวทุกชนิดเข้ามาในห้องเรียน ห้าม เขียนกระดานเล่น ห้ามขีดเขียนโต๊ะเก้าอี้ ฝาผนัง หน้าต่าง รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องเรียน ๙. ห้ามอยู่ในห้องเรียนในเวลาพักกลางวัน ๑๐. ห้ามนำสมุดหนังสือเรียน หรืออุปกรณ์ใด ๆ ไว้ในโต๊ะเรียน หรือในห้องเรียนหรือภายในโรงเรียน ต้อง นำกลับบ้านทุกครั้ง ๑๑. ห้ามนักเรียนใช้น้ำยาลบคำผิด ๑๒. ก่อนออกจากห้องเรียนทุกครั้ง ต้องปิดไฟ ปิดพัดลม และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆให้เรียบร้อย ๔. การหนีเรียน หากนักเรียนมาโรงเรียนตามปกติ และไม่เข้าเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือขาดการขานชื่อ จากครูผู้สอน ให้ถือว่า หนีเรียน นักเรียนผู้นั้นจะถูกลงโทษตามระเบียบว่าด้วยการส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และ การตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและหากมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ๘๐จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบในรายวิชานั้น ๆ ๕. การขาดเรียน ๑. การขาดเรียนในรายวิชาใดหรือขาดเรียนทั้งวัน และการขาดเรียนนั้น ทำให้เวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ ๘๐ หาก มีใบลาแสดงเหตุผลการขาดเรียนอาจได้รับการพิจารณาให้มีสิทธิ์เข้าสอบได้ ๒. การขาดเรียนโดยไม่ทราบสาเหตุติดต่อกัน ๓ ครั้ง ครูที่ปรึกษาจะมีจดหมายแจ้งผู้ปกครองรับทราบ ๓. การขาดเรียนโดยไม่ทราบสาเหตุติดต่อกัน ๕ วัน ครูที่ปรึกษาจะมีจดหมายเชิญผู้ปกครองมาพบ เพื่อร่วมกันหาวิธีแก้ไข ๖. การปฏิบัติตนในการเปลี่ยนห้องเรียน ๑. เมื่อมีการเปลี่ยนห้องเรียน ระหว่างเดินนักเรียนต้องเดินแถวอย่างมีระเบียบและไม่ส่งเสียงดัง ๒. ใช้เวลาในการเปลี่ยนคาบเรียนไม่เกิน ๕ นาที ๓. การเดินขึ้นลงบันได บนอาคารให้เดินชิดขวาทุกครั้ง ๔. ห้ามเดินลัดสนามฟุตบอลของโรงเรียน ๕. การเดินภายในบริเวณโรงเรียน ให้เดินตามบาทวิถี ไม่อนุญาตให้นักเรียนเดินบนพื้นถนนภายในโรงเรียน ๖. ให้นักเรียนใช้ทางม้าลายในการเดินข้ามถนนทุกครั้ง ๗. การใช้โรงอาหาร ๑. กำหนดการใช้โรงอาหาร ก่อนเข้าเรียน ๐๖.๐๐-๐๗.๓๐ น. กลางวัน ๑๑.๐๐-๑๑.๕๐ น. (สำหรับนักเรียน ม.๑, ม.๒) ๑๑.๕๐-๑๒.๔๐ น. (สำหรับนักเรียน ม.๓, ม.๔, ม.๕ และ ม.๖) ๒. การซื้ออาหารในโรงอาหาร นักเรียนต้องเข้าแถวซื้ออาหารให้เป็นระเบียบตามลำดับก่อนหลังทุกครั้ง ๓. ขณะรับประทานอาหารต้องไม่ส่งเสียงดัง และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วต้องสำรวจบนโต๊ะอาหารและ เก็บเศษอาหารที่หกบนโต๊ะให้หมด พร้อมทั้งนำภาชนะไปเก็บตามจุดที่โรงเรียนได้กำหนดจุดไว้ให้ ๔. ไม่อนุญาตให้นักเรียนนำภาชนะออกนอกบริเวณโรงอาหารโดยเด็ดขาด ๘. การใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม ๑. นักเรียนต้องรักษาความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม ใช้แล้วราดน้ำทำความสะอาดให้เรียบร้อย ๒. ห้ามนักเรียนขีดเขียนข้อความ รูปภาพ หรือทำให้เกิดรอยตามฝาผนังในห้องน้ำห้องส้วม ตลอดจนการ ทำลายทรัพย์สินของทางราชการ ๔
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๓. ห้ามนักเรียนใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นแหล่งมั่วสุมและประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักเรียน ๙. การเก็บสิ่งของได้หรือการเก็บของหาย ๑. เมื่อนักเรียนทำของหายให้นักเรียนรีบแจ้งเรื่องที่กลุ่มงานกิจการนักเรียนเพื่อทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุก ครั้ง ๒. เมื่อนักเรียนเก็บของได้ให้นักเรียนนำไปส่งที่กลุ่มงานกิจการนักเรียนเพื่อติดตามหาเจ้าของต่อไป พร้อมทำ บันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง หมวด ๔ การรักษาชื่อเสียงของตนเองและโรงเรียน ๑. นักเรียนต้องมีเกียรติ และต้องรักษาชื่อเสียงของตนเอง อันส่งผลถึงวงศ์ตระกูลของนักเรียนด้วย ต้องช่วยกัน รักษาชื่อเสียงของโรงเรียน โดยไม่กระทำตนให้เสื่อมเสียไม่ว่าในทางใด ๆ ๒. นักเรียนต้องประพฤติอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดี ให้เหมาะสมกับสถานภาพและวัย ต้องหลีกเลี่ยงอบายมุขทั้ง ปวงและสิ่งที่จะนำพาให้ตนเองเศร้าหมองระทมทุกข์ ๓. นักเรียนต้องสำนึกไว้เสมอว่า ต้องไม่ประพฤติตนหรือกระทำการใด ๆ ที่ส่อไปทางชู้สาว ๔. นักเรียนต้องเป็นผู้มีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ไม่ก่อความเดือดร้อน ทะเลาะวิวาท ทำร้ายผู้อื่น หรือเพื่อนนักเรียนด้วยกัน หมวด ๕ เบ็ดเตล็ด ๑. นักเรียนที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลหรือที่อยู่ของตัวนักเรียนเองหรือบิดา มารดา ต้องปฏิบัติดังนี้ ๑. ยื่นคำร้องที่งานทะเบียนวัดผลของโรงเรียนพร้อมแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน ๒. นำสำเนาหลักฐานต่อไปนี้แล้วแต่กรณี ใบเปลี่ยนชื่อ (ช.๓) ใบเปลี่ยนนามสกุล (ช.๔) ทะเบียนบ้านฉบับแก้ไข แล้ว มาประกอบการยื่นเรื่องด้วย ๒. การแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด นักเรียนที่มีความประสงค์จะแก้ไขวัน เดือน ปีเกิดให้ตรงกับความเป็นจริงต้องปฏิบัติ ดังนี้ ๑. ยื่นคำร้องที่งานทะเบียนวัดผลของโรงเรียน พร้อมแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน ๒. แนบสำเนาเอกสารดังนี้ ใบสูติบัตร และทะเบียนบ้าน มาประกอบการยื่นเรื่องด้วย ๓. แจ้งให้คณะกรรมการกลุ่มงานกิจการนักเรียน และครูที่ปรึกษารับทราบเพื่อทำการปรับแก้ไขข้อมูลนักเรียน ๓. การขอเอกสารหลักฐานการศึกษา เอกสารหลักฐานการศึกษาที่โรงเรียนจะออกให้มีดังนี้ ๑. ใบสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑) ๒. ใบรับรองคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ปพ.๔) ๓. ใบรับรองการเป็นนักเรียน (ปพ.๗) ๔. ใบรับรองการเป็นนักเรียน (ฉบับภาษาอังกฤษ) ๕. ใบระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ (Transcript) ๔. การลาพักการเรียน นักเรียนที่ประสงค์จะลาพักการเรียนเพื่อเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศหรือหยุดพักรักษาตัว เนื่องจาก เจ็บป่วยตามคำสั่งแพทย์และต้องรักษาสถานภาพการเป็นนักเรียน ต้องปฏิบัติดังนี้ ๔.๑ กรณีเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ ๕
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๔.๑.๑ ผู้ปกครองที่เป็นผู้มอบตัวนักเรียนเป็นผู้ยื่นคำร้องที่กลุ่มงานกิจการนักเรียน เพื่อจะได้ทำเรื่อง ต่อไปยังงานทะเบียนวัดผล ๔.๑.๒ แนบใบรับรองแพทย์หนังสือยืนยันจากแพทย์ที่รักษา ๔.๑.๓ นัดหมายการมาขอรับหนังสืออนุญาตจากโรงเรียน ๔.๒ การเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ ๔.๒.๑ ผู้ปกครองที่เป็นผู้รับมอบตัวนักเรียนเป็นผู้ยื่นคำร้องที่กลุ่มงานกิจการนักเรียน เพื่อกลุ่มงาน กิจการนักเรียนจะได้ทำเรื่องต่อไปยังงานทะเบียนวัดผล ๔.๒.๒ แนบหนังสือรับรองจากองค์กร สมาคม หรือหน่วยงานที่ส่งนักเรียนเข้าร่วมโครงการ ๔.๒.๓ นัดหมายการมาขอรับหนังสืออนุญาตจากโรงเรียน ๔.๓ นักเรียนที่ลาพักการเรียนทั้ง ๒ กรณี เมื่อประสงค์จะกลับเข้าเรียนต่อให้ผู้ปกครองแจ้งเรื่องที่กลุ่มงาน กิจการนักเรียน เพื่อกลุ่มงานกิจการนักเรียนจะได้ทำเรื่องไปยังงานทะเบียนวัดผลต่อไป สำหรับกรณีลาพักการเรียนด้วย ความประสงค์อื่น ให้ผู้ปกครองติดต่อที่กลุ่มงานกิจการนักเรียนก่อน ๕. การลาออก ผู้ปกครองนักเรียนที่ประสงค์จะลานักเรียนออก ต้องปฏิบัติดังนี้ ๑. นักเรียนจะมาลาออกด้วยตนเองไม่ได้ ต้องดำเนินการโดยผู้ปกครองที่เป็นผู้ทำหลักฐานมอบตัวนักเรียนกับ โรงเรียนเท่านั้น ๒. ผู้ปกครองขอรับเอกสารหลักฐานทางการศึกษา (ปพ.๑) จากงานทะเบียนวัดผลโรงเรียน เพื่อไปแสดงให้ โรงเรียนใหม่ที่นักเรียนจะไปเรียนตรวจดูโครงสร้างรายวิชาในหลักสูตรว่าตรงกันและสามารถรับเข้าเรียนต่อได้หรือไม่ ๓. เมื่อโรงเรียนใหม่ที่จะไปเรียนตอบรับแล้ว ให้มายื่นคำร้องที่กลุ่มงานกิจการนักเรียนก่อน แล้วเดินเรื่องไปยัง งานการเงิน งานทะเบียนวัดผลพร้อมแนบรูปถ่ายนักเรียน ขนาด ๓X๔ ซม. จำนวน ๒ รูป (ต้องเป็นรูปถ่ายนักเรียนที่ถูก ระเบียบของนักเรียน) ๔. หากนักเรียนที่ลาออกกำลังอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓) ซึ่งเป็นการศึกษา ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พุทธศักราช ๒๕๔๕ ผู้ปกครองต้องติดต่อเพื่อทำบันทึกข้อความที่ กลุ่มงานกิจการนักเรียนก่อน และถ้าได้รับการอนุมัติแล้ว ผู้ปกครองต้องรีบนำนักเรียนไปเข้าเรียนยังโรงเรียนแห่งใหม่ ทันทีหากฝ่าฝืนโดยปราศจากเหตุอันควรจะมีความรับผิดตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พุทธศักราช ๒๕๔๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ๕. นักเรียนที่จะลาออกต้องสอบแก้ตัวในรายวิชาต่าง ๆ ที่ได้ผลการเรียนเกรด ๐ หรือ ร หรือกิจกรรมที่ได้ มผ ให้ผ่านเสียก่อน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ (นางณัฐพัชร์ ศิริเสถียร) ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา ๖
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยา ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของนักเรียน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกรทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน และเพื่อความเป็นระเบียบร้อย ในการแต่งกายของนักเรียน โรงเรียนนนทรีวิทยา จึงกำหนดระเบียบให้นักเรียนถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยา” ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของนักเรียน ข้อ 2 เครื่องแบบนักเรียน 2.1 นักเรียนชาย 2.1.1 เสื้อ มัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย (นักเรียน ม.1-ม.6) แบบเชิ้ตคอตั้งแขนสั้น ผ้าขาวโทเร ไม่บางไม่มันผ่าอกตลอดมีสาบเสื้อแบบเชิ้ตกว้าง 2 ซม. ใช้กระดุมสีขาวกลมแบนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. จำนวน 5 เม็ด แขนสั้นเพียงข้อศอก มีกระเป๋าแนวราบ ราวนมเบื้องซ้าย 1 กระเป๋าขนาด กว้าง 10-12 ซม. ลึก 10-15 ซม. พอเหมาะกับขนาดของเสื้อ ตัดตัวตรงไม่รัดรูป ห้ามพับแขนเมื่อสวมต้องติดกระดุมทุกเม็ด ยกเว้นกระดุมที่คอและเก็บชายเสื้อไว้ในกางเกง อักษรย่อและเครื่องหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) -ปักอักษรย่อ น.ท. ตามแบบและขนาดของโรงเรียน (ห้ามเขียนเอง) ปักด้วยไหมสีน้ำเงินเข้ม ที่อกเสื้อด้านขวา เหนือราวนม -ให้ปักเลขประจำตัวตามแบบและขนาดที่โรงเรียนกำหนดไว้(เลขไทยห้ามเขียนเอง)ปักด้วยไหมสีน้ำเงินเข้มใต้ อักษรย่อ น.ท. -ให้ปักชื่อและนามสกุล เหนือขอบกระเป๋าเสื้อด้านซ้ายขนาดความสูงของตัวอักษร ประมาณ ๑ ซม. -ให้ปักจุดวงกลมทึบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ มม. ด้วยไหมสีน้ำเงินเข้ม ที่ตำแหน่งกึ่งกลางเหนือชื่อ-นามสกุล ของตนเอง โดย ม.๑ ให้ปักจุดวงกลมทึบจำนวน ๑ จุด ม.๒ ให้ปักจุดวงกลมทึบจำนวน ๒ จุด ม.๓ ให้ปักจุดวงกลมทึบ จำนวน ๓ จุด นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.๖) - ให้ปักอักษรย่อ น.ท. ตามแบบและขนาดของโรงเรียน (ห้ามเขียนเอง) ปักด้วยไหมสีน้ำเงินเข้ม ที่อกเสื้อ ด้านขวาเหนือราวนม และติดเข็มสัญลักษณ์โรงเรียนเหนืออักษรย่อ น.ท. - ให้ปักเลขประจำตัว ตามแบบและขนาดที่โรงเรียนกำหนดไว้ (เลขไทย ห้ามเขียนเอง) ปักด้วยไหมสีน้ำเงินเข้ม ใต้อักษรย่อ น.ท. - ให้ปักชื่อและนามสกุล เหนือขอบกระเป๋าเสื้อด้านซ้ายขนาดความสูงของตัวอักษรประมาณ ๑ ซม. - ให้ปักจุดวงกลมทึบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ มม. ด้วยไหมสีน้ำเงินเข้ม ที่ตำแหน่งกึ่งกลางเหนือชื่อ-นามสกุล ของตนเองโดย ม.๔ ให้ปักจุดวงกลมทีบจำนวน ๑ จุด ม.๕ ให้ปักจุดวงกลมทึบจำนวน ๒ จุด ม.๖ ให้ปักจุดวงกลมทึบ จำนวน ๓ จุด - เหนืออักษร น.ท. ติดเข็มกลัดเครื่องหมายโรงเรียน ๒.๑.๒ กางเกง มัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย (นักเรียน ม.๑-ม.๖) ทรงนักเรียนสีดำ ผ้าเรียบธรรมดาสีดำไม่มีลวดลายไม่ใช้ผ้ายีนส์ หรือผ้าเสิร์ทลายสองจีบด้านหน้าข้างละ ๒ จีบ มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างละ ๑ กระเป๋า ไม่เว้าหรือเอียง และไม่มีกระเป๋าหลัง ความยาวของขากางเกง เมื่อยืนตรง พ้นกึ่งกลางสะบ้าหัวเข่าขึ้นไปประมาณ ๕ ซม. ส่วนกว้างของขากางเกงเมื่อยืนตรงห่างจากขา ๘-๑๖ ซม. ตามส่วนขนาด ของขา ปลายขากางเกงพับชายเข้าในกว้าง ๕ ซม. ตัวกางเกงผ่าตรงส่วนหน้า ใช้ซิปซ่อนไว้ข้างใน เวลาสวมให้ทับ ชายเสื้อให้เรียบร้อย ๗
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๒.๑.๓ เข็มขัด มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (นักเรียน ม.๑-ม.๖) หนังสีดำ เรียบไม่มีลวดลาย ขนาดกว้าง ๒.๕ - ๓ ซม. หัวเข็มขัดเป็นโลหะสีเงิน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบชนิดหัวกลัด ๑ รูป มีปลอกหนังสีเดียวกับเข็มขัด ๑ ปลอก สำหรับสอดสายเข็มขัดให้ร้อยหูกางเกงให้เรียบร้อย ๒.๑.๔ รองเท้า มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (นักเรียน ม.๑-ม.๖) รองเท้า หุ้มเส้น หัวมน สีดำล้วน ไม่มีลวดลายหรือขอบขาวเชือกผูกสีดำ ๒.๑.๕ ถุงเท้า มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (นักเรียน ม.๑-ม.๖) ถุงเท้าสั้นครึ่งน่อง สีขาว ไม่มีลวดลาย เมื่อสวมถุงเท้าจะต้องดึงให้สุดไม่พับ (ถุงเท้าสปอร์ต ถุงเท้าหนาหรือบางเกินไป ถุงเท้าลูกฟูกหรืออื่นใดนอกเหนือจากนี้ห้ามใช้) ๒.๒ นักเรียนหญิง ๒.๑.๑ เสื้อ มัธยมศึกษาตอนต้น (นักเรียน ม.๑-ม.๓) แบบเสื้อคอปกกะลาสี คอไม่กว้างและลึกเกินไปพอให้สวมศีรษะได้สะดวก ผ้าสีขาวเนื้อเรียบ ไม่บาง ไม่มัน ไม่มีลวดลายใดๆ ในเนื้อผ้า ห้ามใช้ผ้าดิบความยาวของปกเสื้อเมื่อวัดจากรอยต่อถึงชายปกเสื้อ ๒๗-๑๘ ซม. คอไม่ลึก ติดกระดุมกิ๊บขึ้นไปให้เท่ากับปมของคอซอง (ห่างจากร่องคอ ๖ ชม.) ความยาวของแขนเสื้ออยู่เหนือ ข้อศอก ๕ ซม. ปลายแขนจีบเล็กน้อย ขอบปลายแขนกว้าง ๒.๕-๓ ซม. มีจีบด้านหน้า ๓ จีบ ข้างหลัง ๓ จีบ ไม่ใช่จีบรูด รอยผ่าขอบแขนเสื้อต้องมีกิ๊บหรือตะขอติดรอยพับของแขนเสื้อ กว้าง ๓ ซม. ชายขอบเสื้อด้านล่างมีขอบพับ ไม่เกิน ๓ ซม. ขนาดตัวเสื้อตั้งแต่แขนถึงขอบล่างมีความกว้างพอเหมาะกับตัว ไม่บาน ไม่สอบ ไม่รัดรูป และไม่รัดเอว ความยาวของตัวเสื้อ เมื่อยืนตรงวัดจากข้อมือสูงขึ้นมา ๘-๑๐ ซม. มีกระเป๋าด้านหน้าข้างขวา ๑ กระเป๋า ความกว้างของ กระเป๋ากว้าง ๑๒ ซม. เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่พับมนตะเข็บไม่หมิ่นปากกระเป๋ามีรอยพับกว้าง ๓ ซม. ก้นกระเป๋าอยู่ บนรอยเย็บของชายเสื้อด้านบน และต้องสวมเสื้อบังทรงด้วย ๒.๒.๒ เสื้อ มัธยมศึกษาตอนปลาย (นักเรียน (ม.๔-ม.๖) แบบเสื้อเชิ้ต คอตั้งผ่าอกตลอด สาบเสื้อตลบเข้าข้างในผ้าสีขาวเรียบไม่บาง ไม่มัน และไม่มี ลวดลายใด ๆ ห้ามใช้ผ้าดิบ กระดุมสีขาว กลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลางของกระดุมไม่เกิน ๑ ซม.จำนวน ๕ เม็ด แขนยาว เหนือศอกพองาม ต้นแขนและปลายแขนจีบ ขอบปลายแขนกว้าง ๓ ชม. เมื่อสวมให้สอดชายเสื้อไว้ในกระโปรง ให้เรียบร้อย สามารถมองเห็นเข็มขัดได้ตลอดทั้งเส้น และต้องสวมเสื้อบังทรงด้วย อักษรย่อและเครื่องหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-ม.๓) - ให้ปักอักษรย่อ น.ท. ตามแบบและขนาดของโรงเรียน (ห้ามเขียนเอง) ปักด้วยไหมสีน้ำเงินเข้ม ที่อกเสื้อด้านขวา - ให้ปักเลขประจำตัวตามแบบและขนาดที่โรงเรียนกำหนดไว้ (เลขไทยห้ามเขียนเอง) ปักด้วยไหมสีน้ำเงินเข้ม ใต้อักษร ย่อ น.ท. - ให้ปักชื่อ และนามสกุล เหนือขอบกระเป๋าเสื้อด้านซ้ายขนาดความสูงของตัวอักษรประมาณ ๑ ซม. - ให้ปักจุดวงกลมทึบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ มม. ด้วยไหมสีน้ำเงินที่ตำแหน่งกึ่งกลางเหนือ ชื่อ-นามสกุลของตนเอง โดย ม.๑ ให้ปักจุดวงกลมทึบจำนวน ๑ จุด ม.๒ ให้ปักจุดวงกลมทึบจำนวน ๒ จุด ม.๓ ให้ปักจุดวงกลมทึบจำนวน ๓ จุด นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-ม.๖) - ให้ปักอักษรย่อ น.ท. ตามแบบและขนาดของโรงเรียน (ห้ามเขียนเอง) ปักด้วยไหมสีน้ำเงินเข้ม ที่อกเสื้อด้านวา และติด เข็มสัญลักษณ์โรงเรียน เหนือ อักษรย่อ น.ท. ๘
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ - ให้ปักเลขประจำตัว ตามแบบและขนาดที่โรงเรียนกำหนดไว้ (เลขไทยห้ามเขียเอง) ปักด้วยไหมสีน้ำเงินเข้ม ใต้ตัวอักษร น.ท. - ให้ปักชื่อ และนามสกุล เหนือขอบกระเป๋าเสื้อด้านซ้ายของความสูงของตัวอักษรประมาณ ๑ ซม. - ให้ปักจุดวงกลมทึบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์ลาง ๕ มม. ด้วยไหมสีน้ำเงินเข้มที่ตำแหน่งถึงกลางเหนือ ชื่อ-สกุลของตนเอง โดย ม.๔ ให้ปักจุดลงกลมทึบจำนวน ๑ จุด ม.๕ ให้ปักจุดวงกลมทึบจำนวน ๒ จุด ม.๖ ให้ปักจุดกลมทึบจำนวน ๓ จุด - เหนืออักษร น.ท. ติดเข็มเครื่องหมายโรงเรียน ๒.๒.๓ กระโปรง มัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย (นักเรียน ม.๑-ม.๖) ผ้าสีกรมท่า เนื้อเกลี้ยงไม่มีลวดลาย ไม่มัน กระโปรงด้านหน้าและด้านหลัง พับเป็นจีบด้านละ 6 จีบ จีบออก จากกันหมู่ละ ๓ จีบ แต่ละจีบห่างกัน ๓-๔ ชม. แล้วเย็บเกล็ดทับจีบต่ำลงจากขอบกระโปรง ๖ ชม. ขอบกระโปรงกว้าง ๓ ซม. กระโปรงยาววัดจากกลางสะบ้าเข่าลงไปไม่น้อยกว่า ๕ นิ้ว เมื่อสวมเห็นขอบเอว ปลายกระโปรงไม่บานมากหรือ แคบมาก ห้ามตะเข็บลง กระโปรงให้มีกระเป๋าด้านข้าง ๑ ใบ ติดซิปด้านข้าง ห้ามใช้กระดุม ๒.๒.๔ คอซอง มัธยมศึกษาตอนต้น (นักเรียน ม.๑-ม.๓) เป็นผ้าสีกรมท่า ให้ใช้คอซองสำเร็จรูป ปมของคอซองอยู่ห่างจากร่องคอ ๖ ซม. (คอซองไม่เล็ก จนเกินไป) ๒.๒.๕ เข็มขัด มัธยมศึกษาตอนปลาย (นักเรียน ม.๔-ม.๖) เป็นเข็มขัดสายหนังสีดำ เรียบไม่มีลาย ขนาดกว้าง ๓-๔ ซม. ความยาวตามขนาดของเอว หัว เข็มขัดสี่เหลี่ยมผืนผ้าชนิดหัวกลมที่มีกลัดอันเดียวกัน ใช้หนังสีดำหุ้ม มีปลอกสีเดียวกัน สำหรับสอดปลายเข็มขัด ใช้คาด ทับขอบกระโปรงระดับเอว ๒.๒.๖ รองเท้า มัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย (นักเรียน ม.๑-ม.๖) รองเท้าสีดำแบบหุ้มส้น ไม่มีลวดลายหรือสีอื่นปน หุ้มปลายหัวมนเหมาะสม หัวมนโตชนิดมีสายรัด หลังเท้า กว้างไม่เกิน ๑.๕ ซม. ไม่ใช้หัวมนโต (แฟชั่น) และพื้นยางรถ เช่น รองเท้าบูท ข้อ ๓ ชุดพลศึกษา ๓.๒.๑ เสื้อ ปักชื่อทางด้านขวามือ และจุดด้านบนชื่อ ๓.๒.๒ กางเกง มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (นักเรียน ม.๑-ม.๖) - ใช้ผ้ายืดสีกรมท่ายาว มีแถบสีด้านข้าง (แบบเฉพาะที่โรงเรียนกำหนด) ๓.๒.๓ รองเท้า มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (นักเรียน ม.๑-ม.๖) - ใช้รองเท้าผ้าใบสีขาว พื้นเรียบเสมอกันไม่มีลวดลาย ไม่มีเส้นที่ขอบรองเท้าเป็นสีอื่น และมีเชือกผูกสี ขาว (ห้ามใส่รองเท้าพลศึกษากับเครื่องแบบนักเรียน) ๓.๒.๔ ถุงเท้า มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (นักเรียน ม.๑-ม.๖) - ถุงเท้าสีขาว เรียบลอนเล็กไม่มีลวดลาย เมื่อสวมให้พับลงถึงข้อเท้า ไม่พับปลายตลบ ห้ามดึงถุงเท้าขึ้นสูงกว่าข้อเท้า (ถุงเท้าสปอร์ต ถุงเท้าหนาหรือบางเกินไป ถุงเท้าลูกฟูก หรืออื่นใดนอกเหนือจากนี้ ห้ามใช้) ข้อ ๔ เครื่องแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๔.๑ เครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด -นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จะต้องมีเครื่องแบบสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่นักเรียนเลือกเรียนได้แก่ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักเรียนต้องแต่งเครื่องแบบให้ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบ ในวันที่มีกิจกรรม ๔.๒ เครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหาร ๙
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ -นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนวิชาทหาร ต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วย การแต่งกายของนักศึกษาวิชาทหาร ข้อ ๕ กระเป๋า ให้ใช้กระเป๋านักเรียนสีดำชนิดฝาปิดไม่ใช่ซิป หรือใช้กระเป๋าเป้ตราโรงเรียน (ตามแบบที่โรงเรียนกำหนด) ไม่อนุญาตให้ ใช้ย่าม หรือกระเป๋าอื่นใด ที่มิได้กำหนดไว้ตามระเบียบนี้ ห้ามตกแต่ง ขีดเขียน ทำลวดลายใด ๆ ลงในกระเป๋านักเรียน หรือกระเป๋าเป้ตราโรงเรียน โดยเด็ดขาด ข้อ ๖ ทรงผม ๖.๑ นักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (นักเรียน ม.๑-ม.๖) สามารถไว้ได้ทั้งผมสั้นและผมยาว โดยปฏิบัติดังนี้ ๖.๑.๑. ผมสั้นทรงนักเรียน ตัดเสมอระดับติ่งหู ผมตัดตรง ๖.๑.๒.กรณีไว้ผมยาว ความยาวของผมต้องไม่เกินสะบักหลัง มีความยาว ๒๐ ซม. จากขอบปกเสื้อด้านบนลง มา สำหรับนักเรียนที่ไว้ผมยาว ต้องปฏิบัติดังนี้ - นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-ม.๓) ที่ไว้ผมยาวให้ถักเปีย ๒ ข้าง หรือรวบผมไว้ตรงกลาง ด้านหลังศีรษะ ผูกโบว์สีขาวเนื้อเรียบไม่มีลวดลาย ไม่เป็นผ้าโปร่ง ขนาดกว้างไม่เกิน ๑-๒ ซม. ผมด้านหน้าหวีเรียบ ติดกิ๊บให้เรียบร้อย กิ๊บที่ใช้ต้องเป็นกิ๊บสีดำเท่านั้น ขนาดความกว้าง ไม่เกิน ๑ ซม. ไม่มีลวดลาย สามารถไว้ผมหน้าม้าได้ แต่ต้องมีความยาวเสมอคิ้วเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ซอยผม ดัดผม ย้อมผม กัดสีผม ทำสีผม เคลือบสีผม ไม่อนุญาตให้ใส่ น้ำมันใส่ผม หรือเจลเซตผมและห้ามตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้โดยเด็ดขาด - นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-ม.๖) ที่ไว้ผมยาว ต้องรวบผมไว้ตรงกลาง ด้านหลังศีรษะ หรือ ถักเปียเดียว ผูกโบว์ผ้าสีกรมท่าเนื้อเรียบไม่มีลวดลาย ไม่เป็นผ้าโปร่ง ขนาดกว้าง ไม่เกิน ๑.๕-๒ ซม. ผมด้านหน้า หวี เรียบ และติดกิ๊บให้เรียบร้อย กิ๊บที่ใช้ต้องเป็นกับสีดำเท่านั้น ขนาดความกว้าง ไม่เกิน ๑ ซม. ไม่มีลวดลาย สามารถไว้ผม หน้าม้าได้ แต่ต้องมีความยาวเสมอคิ้วเท่านั้น นอกเหนือจากที่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ห้ามใช้โดยเด็ดขาด ไม่อนุญาตให้ซอยผม ดัดผม ย้อมผม กัดสีผม ทำสีผม เคลือบสีผม รวมทั้งไม่อนุญาตให้ใส่น้ำมันใส่ผม หรือเจลเซตผมและห้ามตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกเหนือจาก ที่ กำหนดไว้ในระเบียบนี้โดยเด็ดขาด ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล (กลุ่มงานกิจการนักเรียน) หัวหน้าระดับชั้น ครูประจำชั้น สามารถใช้ดุลพินิจในการพิจารณาความยาวหรือลักษณะของเส้นผมบริเวณด้านหน้า และกลางศีรษะของนักเรียนหญิง ว่าสมควรต้องตัดหรือแก้ไขหรือไม่ โดยดูจากตัวอย่างทรงผมแนบท้ายประกาศนี้ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าต้องตัด หรือแก้ไข ให้นักเรียนหญิง แก้ไขหรือตัดโดยช่างตัดผม หรือผู้ปกครอง ภายใน ๓ วัน ให้มีความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย ๖.๒ นักเรียนชาย ทั้ง ม.ต้นและ ม.ปลาย สามารถตัดได้ ๒ ทรง ดังนี้ ๖.๒.๑ ผมสั้น ตัดผมทรงนักเรียน ด้านหน้ามีความยาวไม่เกิน ๕ ซม.เมื่อวัดจากหนังศีรษะ ต้องหวีให้เรียบร้อย ห้ามหวีแสกกลาง และให้ไว้ผมทรงรองทรงสูงได้ ทรงผมสามารถตัดเปิดด้านข้างส่วนด้านหลังขึ้นไปมีความยาวไม่เกินตีน ผม ไม่อนุญาตให้ใส่น้ำมันใส่ผม หรือเจลเซตผม ไม่ไว้หนวดเครา จอนและห้ามกัดสีผม ทำสีผม ย้อมสีผม เคลือบสีผม และห้ามตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์อื่นๆ หรือเป็นลวดลายหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกที่เหนือจากที่กำหนดไว้ใน ระเบียบโดยเด็ดขาด ๖.๒.๒. ผมยาว กรณีไว้ผมยาว ให้ตัดด้านข้างส่วนด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้ เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย ห้ามหวีผมแสกกลาง ไม่อนุญาตให้ใส่น้ำมันใส่ผม หรือเจลเซตผม ไม่ไว้ ๑๐ ๐
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ หนวดเครา จอนและห้ามกัดสีผม ทำสีผม ย้อมสีผม เคลือบสีผม และห้ามตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็น ลวดลาย หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล(กลุ่มงานกิจการนักเรียน) หัวหน้าระดับชั้น ครูประจำชั้น สามารถใช้ดุลพินิจในการพิจารณาความยาวหรือลักษณะของเส้นผมบริเวณด้านหน้า และกลางศีรษะของนักเรียนชายว่าสมควรต้องตัดหรือแก้ไขหรือไม่โดยพิจารณาจากตัวอย่างทรงผมแนบท้ายประกาศนี้ เมื่อโรงเรียนพิจารณาแล้วพบว่าต้องตัดหรือแก้ไขให้นักเรียนชายแก้ไขหรือตัดโดยช่างตัดผมหรือผู้ปกครอง ภายใน ๓ วัน ให้มีความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย ๖.๓ โรงเรียนกำหนดการตรวจ ทรงผมของนักเรียนเป็นรายวัน/รายสัปดาห์/รายเดือน แล้วแต่กรณี เพื่อให้นักเรียน ปฏิบัติตามระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยา ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๖ ข้อ ๗ เครื่องประดับ ห้ามนักเรียนสวมเครื่องประดับทุกชนิดมาโรงเรียน ยกเว้นสร้อยสแตนเลสห้อยพระ ๑ องค์ ขนาดสร้อยไม่ใหญ่ เกิน ๑ มม. และไม่ใส่สร้อยรั้งติดคอ ข้อ ๘ แว่นตา ห้ามสวมแว่นตาที่มีรูปทรงแปลก ๆ มีสีสันลวดลายต่าง ๆ กรอบแว่นตาที่จะใช้ต้องสีดำ หรือสีเทาแก่ หรือสี น้ำตาลไหม้เท่านั้น นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ห้ามใช้โดยเด็ดขาด ข้อ ๙ เครื่องสำอาง ห้ามนักเรียนใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งที่มีลักษณะเป็นเครื่องสำอาง (นำไปตกแต่งแล้วทำให้ผิดธรรมชาติหรือลักษณะเดิม) ทุกชนิด ข้อ ๑๐ ให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล (งานกิจการนักเรียน) ควบคุมดูแลให้นักเรียนปฏิบัติตาม ระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ (นางณัฐพัชร์ศิริเสถียร) ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา ๑๑
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ รูปภาพการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา ๑. เครื่องแบบนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) ๒. เครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) ๑๒
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๓. เครื่องแบบนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-ม.๖) ๔. เครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหาร (ชาย-หญิง) ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-ม.๖) ๑๓
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๕. เครื่องแบบชุดพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย (ม.๑-ม.๖) ๑๔
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ยาวไม่เกินสะบักหลัง ผมหน้าม้า ยาวเสมอคิ้ว ผมหน้าม้า ยาวเสมอคิ้ว ๑. นักเรียนหญิง ๑.๑ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) ไว้ได้ทั้งผมสั้นละผมยาว - ผมสั้น ตัดเสมอติ่งหู ผมตัดตรง ไว้ผมหน้าม้าได้ แต่ความยาวต้องเสมอคิ้วเท่านั้น - ผมยาว ผมต้องรวบตึงไว้ตรงกลาง ด้านหลังศีรษะ หรือ ถักเปีย 2 ข้าง ความยาวของผมต้องไม่เกินสะบักหลังความยาว ๒๐ ซม. จากขอบปกเสื้อด้านบนลงมา ผูกโบว์สีขาวเนื้อเรียบ ไม่มีลวดลาย ติดกิ๊บให้เรียบร้อย กิ๊บที่ใช้ต้องเป็นกับสีดำ เท่านั้น ขนาดความกว้าง ไม่เกิน ๑ ซม. ไม่มีลวดลาย ผมด้านหน้า ไว้ผมหน้าม้าได้ แต่ความยาวต้องเสมอคิ้วเท่านั้น ๑.๒ นักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-๖) ไว้ได้ทั้งผมสั้นละผมยาว - ผมสั้น ตัดเสมอติ่งหู ผมตัดตรง ไว้ผมหน้าม้าได้ แต่ความยาวต้องเสมอคิ้วเท่านั้น ผมด้านหน้า หวีเรียบ ติดกิ้บสีดำ ความกว้างไม่เกิน ๑ ซม. ไม่มีลวดลาย รูปภาพทรงผมนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา ๑๕
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ผมหน้าม้า ยาวเสมอคิ้ว ด้านหน้ามีความยาว ไม่เกิน ๕ ซม. เมื่อวัดจากหนังศีรษะ ด้านหลังขึ้นไปมีความ ยาวไม่เกินตีนผม - ผมยาว ผมต้องรวบตึงไว้ตรงกลาง ด้านหลังศีรษะ หรือ ถักเปียเดียว ความยาวของผมต้องไม่เกินสะบักหลัง ความยาว ๒๐ ซม. จากขอบปกเสื้อด้านบนลงมา ผูกโบว์ผ้าสีกรมท่าเนื้อเรียบสีขาว ไม่มีลวดลาย ติดกิ๊บให้เรียบร้อย กิ๊บที่ใช้ต้อง เป็นกับสีดำเท่านั้น ขนาดความกว้าง ไม่เกิน ๑ ซม. ไม่มีลวดลาย ผมด้านหน้าไว้ผมหน้าม้าได้ แต่ความยาวต้องเสมอคิ้ว เท่านั้น ๒. นักเรียนชาย ๒.๑ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) และ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-๖) ไว้ได้ทั้งผมสั้นละผมยาว - ผมสั้น ตัดผมทรงนักเรียน หวีผมให้เรียบร้อย ห้ามหวีแสกกลาง และให้ไว้ผมทรงรองทรงสูงได้ ตัดเปิดด้านข้าง - ผมยาว ให้ตัดด้านข้าง ส่วนด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและ มีความเรียบร้อย ห้ามหวีผมแสกกลาง ไม่อนุญาตให้ซอยผม ดัดผม ย้อมผม กัดสีผม ทำสีผม เคลือบสีผม ไม่อนุญาตให้ใส่น้ำมันใส่ผม หรือเจลเซตผมและห้ามตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลายใดๆ ไม่อนุญาตให้ใส่น้ำมันใส่ผม หรือเจลเซตผม ไม่ไว้หนวดเครา จอน และห้ามกัดสีผม ทำสีผม ย้อมสีผม เคลือบสีผม และห้ามตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลายใดๆ ๑๖
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยา ว่าด้วยการควบคุมความประพฤตินักเรียน โรงเรียนนนทรีวิทยา พ.ศ. ๒๕๖๖ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนโดยสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยเจตนารมณ์เพื่อดูแลป้องกันแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนให้มีความเหมาะสมกับสภาพ ของนักเรียน และป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพระหว่างนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา จึงระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยา ว่าด้วยการควบคุมความประพฤตินักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๖ ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่กำหนดไว้แล้วหรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยาในภาคการศึกษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา ในภาคการศึกษา ตามโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน ข้อ ๕ ในระเบียบนี้คำว่า “นักเรียน” หมายถึง นักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา ที่อยู่ระหว่างการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ หรือนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยาที่อยู่ระหว่างการศึกษาในหลักสูตร หรือโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน “การควบคุมความประพฤติ” หมายถึง การควบคุม ดูแล ป้องกัน มิให้มีการแสดงพฤติกรรมหรือการกระทำ การใด ๆ ของนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา ที่เป็นพฤติกรรม หรือการกระทำที่ขัดต่อกฎกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ และระเบียบโรงเรียนว่าด้วยการควบคุมความ ประพฤตินักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา พ.ศ. ๒๕๕๒ “การลงโทษ” หมายถึง การลงโทษนักเรียนที่กระทำความผิด โดยมีความ มุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน ข้อ ๖ ให้มีคณะกรรมการกลุ่มบริหารงานบุคคล (กิจการนักเรียน) เพื่อควบคุมความประพฤติของนักเรียน พิจารณาการ ลงโทษและรายงานผลการพิจารณาการลงโทษเสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการกลุ่ม บริหารงานบุคคล เป็นประธานกรรมการ ผู้ช่วยรองกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน เป็นรองประธาน กรรมการ หัวหน้าระดับและหัวหน้าคณะ เป็นกรรมการ หัวหน้างานกิจการนักเรียน เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้แต่งตั้ง ข้อ ๗ โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนที่กระทำผิดมี ๔ สถาน ดังนี้ (๑) ว่ากล่าวตักเตือน (๒) การทำทัณฑ์บน ควบคุมพฤติกรรม (๓) การตัดคะแนนความประพฤติ (๔) ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อ ๘ ให้พิจารณาลงโทษนักเรียน ดังต่อไปนี้ (๑) ว่ากล่าวตักเตือน เมื่อนักเรียนได้กระทำความผิดไม่ร้ายแรงเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าระดับ หรือบุคคลที่ ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าระดับพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม และจะได้ผลดีให้ว่ากล่าวตักเตือนและลงบันทึกไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร หากว่ากล่าวตักเตือนถึง ๓ ครั้ง ให้ดำเนินการขั้นต่อไปได้ ๑๗
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ (๒) ทำทัณฑ์บน การทำทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนตาม กฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือกรณีทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของโรงเรียน หรือฝ่าฝืนระเบียบของโรงเรียน หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ยังไม่เข็ดหลาน การทำทัณฑ์บนให้ทำหนังสือ และเชิญ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิดและรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย หากได้ทำ ทัณฑ์บนถึง ๓ ครั้งให้ดำเนินการขั้นต่อไป (๓) การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการส่งเสริมให้นักเรียน มีคุณลักษณะพึง ประสงค์ และการตัดคะแนนความประพฤติของนักเรียน โรงเรียนนนทรีวิทยา พ.ศ. ๒๕๖๖ และบันทึกข้อมูลไว้เป็น หลักฐาน (๔) ทำกิจกรรม เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนกระทำความผิด ที่สมควรต้องปรับเปลี่ยน พฤติกรรม การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางของโรงเรียนนนทรีวิทยา และกระทรวงศึกษาธิการ (๕) การอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองจนกว่าพฤติกรรมจะดีขึ้น ใช้ในกรณีที่นักเรียนกระทำความผิดหลายครั้ง หลายคราจนโรงเรียนไม่สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนได้ สมควรที่ผู้ปกครองจะรับไปอยู่ในการดูแลเพื่อให้การอบรมสั่งสอน ทบทวนตนเอง เมื่อมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นและพร้อม ก็สามารถกลับเข้าเรียนใหม่ได้ (๖) การให้เปลี่ยนสถานที่เรียน ใช้ในกรณีที่นักเรียนกระทำความผิดโทษขั้นสูงสุด อันเป็นอุปสรรคต่อการเรียน การสอนให้เปลี่ยนสถานที่เรียนเป็นวิธีการหนึ่งในการเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนรู้อันจะส่งผลต่อการทบทวนตนเอง พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองในทางที่ดีขึ้น ข้อ ๙ ในกรณีที่นักเรียนมีการกระทำผิดบ่อยครั้ง และได้ดำเนินการสิ้นสุดตามความ ข้อ ๘ แล้ว ให้คณะกรรมการกลุ่ม บริหารงานบุคคล (งานกิจการนักเรียน) พิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร รายงานผู้บริหารโรงเรียนทราบตามลำดับ (๒) ดำเนินการตามมาตรการที่เห็นสมควรโดยผ่านความเห็นขอบของครูที่ปรึกษา คณะกรรมการกลุ่ม บริหารงานบุคคล (งานกิจการนักเรียน) และผู้บริหารโรงเรียนตามลำดับ (๓) ถ้าเป็นโทษร้ายแรง ให้ดำเนินการตามกฎหมาย ข้อ ๑๐ ให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล (งานกิจการนักเรียน) รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มี อำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ (นางณัฐพัชร์ ศิริเสถียร) ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา ๑๘
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยา ว่าด้วยการส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะพึงประสงค์ และการพัฒนาคะแนนความประพฤตินักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยเหตุที่โรงเรียนนนทรีวิทยาเป็นโรงเรียนสหศึกษา และมีนักเรียนจำนวนมากอีกทั้งมาจากครอบครัวที่มีความ หลากหลายแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน แต่สิ่งที่เป็นวัตถุประสงค์ร่วมกันคือ มุ่งอบรมปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มี พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่นฝ่ายต่าง ๆ ในโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนร่วมมือกันพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะพึงประสงค์ตามค่านิยม ประเพณี และวัฒนธรรมไทย สามารถตำรง ชีวิตแบบวิถีไทยอยู่ในสังคมโลกอย่างมีความสุข พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดไว้ในมาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษา จัดการประเมิน ผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียนความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการ ทดสอบควบคู่ไปกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ และรูปแบบการศึกษา นอกจากนี้ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้กำหนดไว้ในข้อ ๙ ให้สถานศึกษา มีอำนาจวางระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน ในการนี้เพื่อให้การควบคุมดูแลแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน มีหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน สามารถปฏิบัติได้เป็นแบบเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพโรงเรียนพิจารณาแล้วเห็นสมควรกำหนดระเบียบ แนวปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและความเข้าใจตรงกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนในการส่งเสริมให้นักเรียนมี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยาว่าด้วยการส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะพึงประสงค์ และ การตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดของโรงเรียนในส่วนที่กำหนดไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งถึงระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา ข้อ ๕ การส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะพึงประสงค์และการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนให้ถือแนวปฏิบัติ ดังนี้ ๑. กำหนดให้นักเรียนทุกคนมีคะแนนความประพฤติคนละ ๑๐๐ คะแนน และนักเรียนจะต้องรักษาคะแนนนี้ไว้ ไม่ให้ถูกตัดคะแนนเกิน ๘๐ คะแนน ใน ๑ ภาคเรียน ๒. นักเรียนจะถูกตัดคะแนนตามแนวปฏิบัตินี้ เมื่อกระทำการใด ๆ ที่เป็นการฝ่าฝืนแนวปฏิบัติและข้อบังคับของ โรงเรียน ๓. ให้พิจารณาโดยคณะกรรมการกลุ่มบริหารงานบุคคล (งานกิจการนักเรียน) หรือระดับชั้นทุกครั้ง ๔. โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนที่กระทำความผิดมีสถาน ดังนี้ ๔.๑ ว่ากล่าวตักเตือน ๔๒ ทำทัณฑ์บน ควบคุมพฤติกรรม ๔.๓ ตัดคะแนนความประพฤติ ๔.๔ ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๑๙
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๕ ลำดับโทษที่ลงโทษนักเรียนกระทำผิดจะมีผลมาจากการที่นักเรียนผู้นั้นถูกตัดคะแนนความประพฤติตาม ความผิดที่ระบุไว้ ในแนวปฏิบัติดังนี้ คะแนนที่ถูกตัด บทลงโทษ น้อยกว่า 20 คะแนน * ว่ากล่าวตักเตือนบันทึกเป็นหลักฐานและแจ้งผู้ปกครอง ครูที่ปรึกษาทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ๒๑-๓๐ คะแนน * เชิญผู้ปกครองและครูที่ปรึกษารับทราบให้ความร่วมมือ ควบคุมดูแล แก้ไข ปรับปรุงพฤติกรรมและให้ทำกิจกรรมบำเพ็ญ ประโยชน์ ๓๑-๕๐ คะแนน * เชิญผู้ปกครองและครูที่ปรึกษารับทราบการทำทัณฑ์บน นักเรียนและเข้าโครงการ ๕๑ คะแนนขึ้นไป * เชิญผู้ปกครอง และครูที่ปรึกษารับทราบการที่ ผู้ปกครองนำนักเรียนไปดูแล ๖. หลังจากลงโทษนักเรียนที่กระทำความผิดอันเป็นโทษสูงสุดแล้ว หากนักเรียนผู้นั้นได้กระทำความผิดอีกใน ทุกกรณี ให้เชิญผู้ปกครอง และครูที่ปรึกษารับทราบ และทำบันทึกเป็นหลักฐานทุกครั้ง ๗. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกตัดคะแนนตั้งแต่ ๑๐๐ คะแนนขึ้นไป จะถูกตัดสิทธิในการเข้าศึกษาต่อ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ๘. การถูกสั่งให้ผู้ปกครองนำนักเรียนไปดูแลเป็นเหตุให้นักเรียนผู้นั้นหมดสิทธิ์สอบปลายภาคในรายวิชาใดๆ นักเรียนผู้นั้นต้องมาดำเนินการติดตามซ่อมเวลาเรียนจนมีสิทธิ์สอบได้ ๙. นักเรียนผู้ใดถูกตัดคะแนนความประพฤติเกิน ๑๐๐ คะแนน ไม่ว่าความผิดครั้งสุดท้ายจะเป็นความผิดฐาน ใดให้คณะกรรมการกลุ่มบริหารงานบุคคล (งานกิจการนักเรียน) บันทึกหลักฐานและรายงานข้อมูลให้กลุ่มบริหาร วิชาการบันทึกในผล การประเมินคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักเรียนผู้นั้นด้วย ๑๐. การลงโทษนักเรียนผู้ใด ผู้ลงโทษจะลงโทษได้จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงแจ้งว่านักเรียนผู้นั้นได้กระทำ ความผิดและสมควรถูกลงโทษ ๑๑. เกณฑ์การตัดคะแนนความประพฤติ ดังนี้ กรณีความผิด ตัดไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ ๑. การแต่งกาย ๑.๑ ทรงผมผิดระเบียบแก้ไขได้โดยเร็ว ๕ - ให้โอกาสแก้ไขในทันที หรือไม่เกิน ๑ วัน ๑.๒ ทรงผมผิดระเบียบแก้ไขไม่ได้โดยเร็ว ๑๐ - ให้รายงานตัวเป็นประจำ (ซอยผมจน แก้ไขได้ช้า) นักเรียนหญิงให้ใส่วิกผม ๑.๓ ตกแต่งผม (ย้อม กัดสีผม ทำสีผม โกรกผม โกนผม สกินเฮด ใส่เยล พ่นสเปรย์ กันและโกนคิ้ว ไว้จอนไว้ หนวดเครา) ๑๐ - ให้แก้ไขตามกรณี ๒๐ ๐
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ กรณีความผิด ตัดไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ ๑.๔ เสื้อ กางเกง กระโปรง ถุงเท้า รองเท้า คอซอง ผิด ระเบียบ ไม่ติดเข็ม ไม่ปักชื่อ ไม่ปักเครื่องหมายโรงเรียน ไม่ปักเลขประจำตัว ไม่ปักเครื่องหมายแสดงระดับชั้น ๕ - ให้โอกาสแก้ไขในทันที หรือไม่เกิน ๑ วัน ๑.๕ สวมรองเท้าที่มิใช่รองเท้านักเรียนโดยไม่มีเหตุอัน ควร ๕ - ให้แก้ไขตามกรณี ๑.๖ สวมชุดพลศึกษาในวันที่ไม่มีการเรียนพลศึกษา/ไม่ สวมชุดพลศึกษาในวันที่มีการเรียนพลศึกษา ๕ - ให้แก้ไขตามกรณี ๑.๗ ปล่อยชายเสื้อ ปลดกระดุมเสื้อ โดยไม่มีเหตุอันควร ๕ - ให้แก้ไขตามกรณี ๑.๘ ไว้เล็บยาว ทาเล็บ ต่อเล็บ ๕ - ให้แก้ไขตามกรณี ๑.๙ มีหรือใช้เครื่องสำอางหรือแต่งหน้าทาปาก และใส่ น้ำหอม ที่ไม่เหมาะสมต่อการเป็นนักเรียน ๕ - ให้แก้ไขตามกรณี ๑.๑๐ สวมหมวก สวมแว่นตา ที่มิใช่แว่นสายตา ๕ - ยึดของและเชิญผู้ปกครองมารับด้วย ตนเองภายใน ๗ วัน ๑.๑๑ มีหรือใช้เครื่องประดับที่มีค่าหรือสิ่งของที่มีค่า ไม่ เหมาะต่อการเป็นนักเรียน ๕ - ยึดของและเชิญผู้ปกครองมารับด้วย ตนเองภายใน ๗ วัน ๑.๑๒ เจาะอวัยวะต่างๆ เพื่อใส่เครื่องประดับ การสัก ลาย เขียนสีตามอวัยวะต่างๆ ๑๐ - เชิญผู้ปกครองมารับทราบ แก้ไขตามกรณี ๑.๑๓ ไม่ผูกโบว์/ผูกโบว์ผิดสี ผูกโบว์ที่มีรูปแบบผิด ระเบียบของโรงเรียน ๕ - ให้แก้ไขตามกรณี ๑.๑๔ ไม่สวมเสื้อบังทรง สวมชุดชั้นในสีฉูดฉาดไม่ เหมาะสมต่อการเป็นนักเรียน ๕ - ให้แก้ไขตามกรณี ๒. การเรียน การร่วมกิจกรรมในโรงเรียน ๒.๑ มาโรงเรียนสาย ๕ ๒.๒ เข้าเรียน/เข้าแถว/เข้าประชุมระดับช้ากว่าที่ โรงเรียนกำหนด ๕ ๒.๓ หนีโรงเรียน/หนีเข้าแถว/หนีประชุม/ไม่เข้าร่วม กิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัด ๑๐ ๒.๔ ขาดเรียนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่ส่งใบลา ๕ ๒.๕ รบกวนผู้อื่นขณะมีการเรียนการสอนหรือไม่สนใจ การเรียนหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ๑๐ ๒.๖ ใช้กระเป๋านักเรียนผิดระเบียบ ๑๐ - ยึดของไว้ก่อนและเชิญผู้ปกครองมารับ ด้วยตนเองภายใน ๗ วัน ๒.๗ ไม่มีสมุด หนังสือแบบเรียนมาเรียน/ ไม่มีกระเป๋า มาโรงเรียน ๑๐ ๒.๘ ไม่ไปรายงานตัวตามที่ครูสั่งหรือฝ่าฝืนคำสั่งครูที่ ชอบด้วยระเบียบ ๑๐ ๒.๙ ไม่แจ้งเหตุผลในการขาดสอบเป็นลายลักษณ์อักษร ๑๐ ๒๑
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ กรณีความผิด ตัดไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ ๒.๑๐ ไม่เข้าสอบตามกำหนดเวลา โดยไม่มีเหตุอัน สมควร ๒๐ ๒.๑๑ ไม่เข้าสอบแก้ตัวตามกำหนดเวลาโดยไม่มีเหตุอัน สมควร ๒๐ ๒.๑๒ เล่นฟุตบอลบนอาคารเรียน/เล่นในที่ไม่ได้รับ อนุญาตให้เล่น ๑๐ ๒.๑๓ ทุจริตในการสอบ ๕๐ - ปรับตกในรายวิชาและพิจารณาให้รับโทษ ขั้นสูง ๓. พฤติกรรมทางเพศ/ พฤติกรรมก้าวร้าว ๓.๑ กระทำอนาจาร ๔๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ๓.๒ มีความสัมพันธ์ทางเพศ ๕๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ๓.๔ กลั่นแกล้งล้อเลียนผู้อื่น ๑๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบและหาทางแก้ไข ๓.๕ กล่าวคำหยาบ ส่อเสียด ด่าทอ เหน็บแนม หรือใช้ วาจาไม่สุภาพ และขู่อาฆาต ๒๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบและหาทางแก้ไข ๓.๖ หมิ่นประมาท ๒๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบและหาทางแก้ไข ๓.๗ ก้าวร้าวต่อบุคคลอื่น ๒๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบและหาทางแก้ไข ๓.๘ ก้าวร้าวต่อครู/ บุพการี ๒๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบและหาทางแก้ไข ๓.๙ ทะเลาะวิวาท ก่อเหตุ ยุยงหรือร่วมอยู่ในเหตุการณ์ การทะเลาะวิวาทโดยมิได้ห้ามปรามหรือแจ้งให้ครูทราบ ๓๐-๕๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ๓.๑๐ พกอาวุธหรือเจตนาใช้วัสดุอื่นเป็นอาวุธ ๓๐-๕๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ๓.๑๑ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น/ทำร้ายจนได้รับบาดแผล ๓๐-๕๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ๓.๑๒ นำเอาประทัด วัสดุไวไฟ วัสดุที่ก่อเกิดเสียงดัง รำคาญเข้ามาในโรงเรียน ๒๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบ ๓.๑๓ มีคลิปหรือภาพโป๊ อนาจาร ลามก ไว้ใน ครอบครองหรือเผยแพร่ ๓๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบและหาทางแก้ไข ๓.๑ กระทำอนาจาร ๔๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ๔. อบายมุขและความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน ๔.๑ เข้าไปในแหล่งอบายมุขหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสม กับสภาพนักเรียน ๒๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบและหาทางแก้ไข ๔.๒ สูบบุหรี่ หรือมีบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ไฟแช็ก และ อุปกรณ์ในการสูบ รวมทั้งมีไว้ในครอบครองและเพื่อ จำหน่ายในสถานศึกษา ๓๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงฐานเกี่ยวข้องกับ สิ่งเสพติด (ปรับโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2,000 บาท) ๔.๓ ดื่มสุรา หรือมีสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ มึนเมา ๓๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงฐานเกี่ยวข้องกับ ของมึนเมา ๔.๔ มีหรือเสพสิ่งเสพติด (กัญชา กระท่อม กัญชง ) /มี อุปกรณ์ในการเสพ ในกรณีนำมาใช้ในสถานศึกษา ๑๐๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงสุด (และปรับ 5,000 บาท ) ๒๒
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ กรณีความผิด ตัดไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ ๔.๕ มีสิ่งเสพติดไว้เพื่อการจำหน่าย ๑๐๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงสุดฐานมีไว้เพื่อ จำหน่ายจ่ายแจก ๔.๖ เล่นการพนัน/มีอุปกรณ์การพนันไว้ในครอบครอง ๓๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบและหาทางแก้ไข ๔.๗ ลักทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ข่มขู่ รีดไถ เอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน ๕๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ๔.๘ นำรถยนต์ รถจักรยานยนต์มาโรงเรียน ๒๐ - เชิญผู้ปกครองรับทราบและหาทางแก้ไข ๔.๙ ขีดเขียน หรือพ่นสีเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของทาง ราชการเสียหาย ๓๐ - ชดใช้ค่าเสียหาย - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงสุด ๔.๑๐ ทำลายทรัพย์สินของทางราชการให้ได้รับความ เสียหาย ๓๐ - ชดใช้ค่าเสียหาย - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงสุด ๕. การรักษาความสะอาด ๕.๑ สั่งน้ำมูกหรือถ่มน้ำลายไม่เป็นที่ ๕ - ให้บำเพ็ญประโยชน์ ๕.๒ ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ๕ - ให้บำเพ็ญประโยชน์ ๕.๓ ไม่ทำเวรรักษาความสะอาดห้องเรียน ๕ - ให้บำเพ็ญประโยชน์ ๕.๔ รับประทานอาหารในเวลาที่ไม่ใช่เวลาพัก หรือผิดรอบการพัก ๕ - ให้บำเพ็ญประโยชน์ ๕.๕ นำอาหาร/เครื่องดื่ม/ขนม ขึ้นบนอาคารเรียน ๕ - ให้บำเพ็ญประโยชน์ ๕.๖ เดินรับประทานอาหาร ๕ - ให้บำเพ็ญประโยชน์ตามที่กำหนด ๕.๗ ไม่เก็บภาชนะในการรับประทานอาหาร ๕ - ถ้าทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ใช้เกณฑ์การ ชดใช้ตามมูลค่าทรัพย์สิน ๕.๘ ทำให้เกิดความสกปรกด้วยวิธีต่างๆ นอกเหนือจาก ข้อที่ ๕.๑-๕.๗ ๒๐ - ให้บำเพ็ญประโยชน์ตามที่กำหนด ๖. เอกสารและความผิดอื่นๆ ๖.๑ ปลอมลายเซ็นผู้ปกครอง ๔๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงฐานการปลอม แปลงเอกสาร ๖.๒ แก้ไขเอกสารของโรงเรียน/ผู้ปกครอง ๔๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงฐานการปลอม แปลงเอกสาร ๖.๓ นำบุคคลอื่นที่มิใช่พ่อแม่ หรือผู้ปกครองมาติดต่อ กับโรงเรียนเพื่อทำหลักฐานทางราชการ ๔๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ๖.๔ แอบอ้างชื่อผู้อื่นมาเป็นชื่อตน ๔๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ๖.๕ ให้การเท็จ ๔๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ๖.๖ นำเอกสารของทางโรงเรียนไปใช้ในทางที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ๔๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงสุด ๖.๗ ไม่นำจดหมายเชิญผู้ปกครองไปให้ ๒๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงสุด ๖.๘ ประพฤติผิดนอกโรงเรียนโดยแต่งกายเครื่องแบบ นักเรียน หรือโดยประกาศตนเป็นนักเรียนโรงเรียน ๕๐ - พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงสุด ๒๓
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ กรณีความผิด ตัดไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ นนทรีวิทยาหรือกระทำการใดอันทำให้โรงเรียนเสื่อม เสีย หมายเหตุ ๑. โทษขั้นสูง คือ ๑.๑ ทำทัณฑ์บนและเข้าค่ายฝึกอบรมพุทธบุตร หรือบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในหรือนอกโรงเรียน ๑.๒ ผู้ปกครองนำไปดูแลระยะหนึ่งจนกว่าพฤติกรรมดีขึ้น ๒. ของกลางที่ถูกยึด ผู้ปกครองต้องมารับด้วยตนเองภายใน ๗ วัน นับจากวันที่ถูกยึด มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ต้องการจะรับ คืน และจะถูกหักคะแนนเท่ากันครั้งแรก สิ่งของจะนำไปบริจาคให้ผู้ยากได้ ๑๒. เกณฑ์การให้คะแนนความชอบ ครูทุกคนมีสิทธิ์เสนอเพิ่มคะแนนให้นักเรียนที่มีความประพฤติดีได้ตามเกณฑ์กำหนดตามลำดับขั้นตอน และ นักเรียนผู้นั้น จะได้คะแนนเมื่อคณะกรรมการกลุ่มงานกิจการนักเรียนเห็นชอบ ๑๒.๑ กระทำความดีต่อไปนี้จะได้คะแนน ๕ คะแนน ๑๒.๑.๑ ช่วยรักษาความสะอาดของโรงเรียนนอกเหนือจากการทำเวรประจำของตนเอง ๑๒.๑.๒ ช่วยระงับยับยั้งการทะเลาะวิวาทของเพื่อนนักเรียน ๑๒.๑.๓ ทำความดีอื่นใดที่เทียบเท่าข้อ ๑๒.๑.๑ และ ๑๒.๑.๒ ๑๒.๒ กระทำความดีต่อไปนี้จะได้คะแนน ๑๐ คะแนน ๑๒.๒.๑ ช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียนด้วยความตั้งใจจริงเป็นที่ประจักษ์ ๑๒.๒.๒ ช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนที่ด้อยกว่า ๑๒.๒.๓ เก็บเงินหรือสิ่งของมีค่าของผู้อื่น และนำส่งคืน หรือแจ้งประกาศหาเจ้าของ ๑๒.๒.๔ แจ้งชื่อผู้กระทำความผิด ทำความเสียหายให้กับโรงเรียน ให้ครูทราบ ๑๒.๒.๕ ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนานักเรียน ๑๒.๒.๖ ให้ข้อมูลแก่ครู เพื่อเป็นการทบทวนแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอน ๑๒.๒.๗ เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเรียนที่ดีในระดับชั้น ๑๒.๒.๘ กระทำความดีอื่นใดที่เทียบกับ ๑๒.๒.๑-๑๒.๒.๗ ๑๒.๓ กระทำความดีต่อไปนี้จะได้คะแนน ๑๕ คะแนน ๑๒.๓.๑ นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนทำให้บุคคลภายนอกรู้จักโรงเรียน ๑๒.๓.๒ กระทำความดีอื่นใดที่เทียบกับข้อ ๑๒.๓.๑ ๑๒.๔ กระทำความดีต่อไปนี้จะได้ ๑๐ คะแนน ๑๒.๔.๑ ทำชื่อเสียงให้โรงเรียน ทำให้บุคคลภายนอกรู้จัก ๑๒.๔.๒ ชี้ช่องทาง หรือแจ้งแหล่งอบายมุขให้ครูทราบเพื่อการแก้ไขต่อไป ๑๒.๔.๓ กระทำความดีอื่นใดที่เทียบกับชื่อ ๑๒.๔.๑-๑๒.๔.๒ การกระทำความดีความชอบตามข้อ ๑๒ นี้ จะต้องมีหลักฐานชัดเจน หรือมีผู้รับรองที่เชื่อถือได้ ประกอบการเสนอขอ เพิ่มเติม *** คะแนนที่นักเรียนได้เพิ่ม ไม่สามารถนำไปหักล้างคะแนนที่ถูกตัด แต่ให้นำไปเป็นเหตุผลในการขอลดโทษได้ตาม สมควรแก่กรณี ๒๔
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๑๓. นักเรียนที่ได้รับคะแนนความดีความชอบ ตั้งแต่ ๒๕ คะแนนขึ้นไปและไม่เคยถูกตัดคะแนนความประพฤติในปี การศึกษานั้น ทางโรงเรียนจะมอบเกียรติบัตรเป็นรางวัลแก่นักเรียนผู้นั้น ๑๔. ให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล และคณะกรรมการกลุ่มงานกิจการนักเรียนเป็นผู้รักษาแนวปฏิบัติตาม ระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ (นางณัฐพัชร์ ศิริเสถียร) ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา ๒๕ ๕
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยาว่าด้วยเรื่องสภานักเรียน และคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา พ.ศ. ๒๕๖๖ เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ายิ่ง หากได้รับการพัฒนาและได้รับโอกาสให้ใช้ความสามารถที่ดี อย่างเต็มศักยภาพ ย่อมเป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดความเป็นชาติ ศาสนา ภูมิปัญญาวัฒนธรรม สามารถพัฒนา ประเทศชาติ ให้เจริญงอกงามเท่าเทียมอารยประเทศ เด็กและเยาวชนทุกคนจึงเป็นอนาคตของสังคมทุกระดับและเป็น ความหวังของแผ่นดินพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความสำคัญถึงแนวทางปฏิรูปการศึกษาที่ยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการสร้างกระบวนการการเรียนรู้ตลอดชีวิต การกระจายอำนาจทางการศึกษา และการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในชุมชนในการบริหารสถานศึกษา สภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน จึงเป็นกลไก สำคัญในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และการพัฒนาสังคมโรงเรียน โรงเรียนนนทรีวิทยา จึงจัดทำระเบียบโรงเรียน นนทรีวิทยา ว่าด้วยเรื่องสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน เพื่อส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ให้ นักเรียนเป็นผู้เสียสละ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีความรัก ความสามัคคี รู้จักปกครองตนเอง ทำให้มีประสบการณ์ ในการทำงานอย่างมีระบบ เป็นการเตรียมความพร้อมในการประพฤติเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยต่อไป โรงเรียนนนทรีวิทยา จึงออกระเบียบว่าด้วยสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนดังต่อไปนี้ หมวดที่ ๑ บททั่วไป ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยาว่าด้วยเรื่องสภานักเรียน และคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียน นนทรีวิทยา พ.ศ. ๒๕๖๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยาลงนาม ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ คำว่า โรงเรียน หมายความว่า โรงเรียนนนทรีวิทยา ผู้อำนวยการ หมายความว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา รองผู้อำนวยการ หมายความว่า รองผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หมายความว่า ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน ครูที่ปรึกษา หมายความว่า ครูที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้อำนวยการให้ปฏิบัติหน้าที่คราวละ ๑ ปีอย่างน้อย ๑ คน สภานักเรียน หมายความว่า องค์กรเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และสร้างสรรค์ความเป็นประชาธิปไตยและ กิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนโดยนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ปัจจุบัน สมาชิกสภานักเรียน หมายความว่า คณะกรรมการนักเรียน หัวหน้าห้องตัวแทนนักเรียน ประธาน ชมรม หรือนักเรียนที่ได้รับคัดเลือก จากนักเรียนหัวหน้าคณะ ทั้ง ๕ คณะ ประธานสภานักเรียน หมายความว่า นักเรียนที่ได้รับคะแนนสูงสุดจากการเลือกตั้งประธานนักเรียนโดย นักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา คณะกรรมการนักเรียน หมายความว่า กลุ่มนักเรียนที่ประสานนักเรียน หรือประธานสภานักเรียเสนอ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ จำนวน ๑๔ คนรวมกับประธานนักเรียนหรือประธานสภานักเรียนเป็นจำนวน ๒๐ คน ประธานนักเรียน หมายความว่า นักเรียนที่ได้รับการรับรองจากครูที่ปรึกษาลงสมัครรับเลือกตั้งและคะแนน สูงสุด จากการเลือกตั้งประธานนักเรียนโดยนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา ข้อ ๔ สมาชิกสภานักเรียน กรรมการนักเรียน ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำที่ดี มีความรู้ ประสบการณ์ และกาเสียสละเวลา เพื่อให้สามารถประสานงานและดำเนินการต่าง ๆ ได้ ไม่ประพฤติตนขัดต่อกฎระเบียบของโรงเรียน ทุกประการ ๒๖
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ หมวดที่ ๒ องค์ประกอบของสภานักเรียน ข้อ ๑ สภานักเรียน ประกอบด้วย ๑.๑ ประธานสภานักเรียน ๑.๒ รองประธานสภานักเรียน ๑.๓ สมาชิกสภานักเรียน ๑.๓.๑ คณะกรรมการนักเรียน ๑.๓.๒ หัวหน้าห้อง ตัวแทนนักเรียน ประธานชมรม หรือนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกจากนักเรียนหัวหน้าคณะทั้ง ๕ คณะ ๑.๔ เลขานุการสภานักเรียน ข้อ ๒ คณะกรรมการนักเรียน ประกอบด้วย ๒.๑ ประธานนักเรียนที่มาจากการเลือกตั้ง ๒.๒ กรรมการที่ประธานนักเรียนเสนอแต่งตั้งอีก ๑๔ คน ดังนี้ ๒.๒.๑ รองประธานนักเรียน ๒.๒.๒ กรรมการนักเรียนงานวิชาการ ๒.๒.๓ กรรมการนักเรียนงานระเบียบวินัย ๒.๒.๔ กรรมการนักเรียนงานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๒.๒.๕ กรรมการนักเรียนงานยาเสพติด เอดส์ และเกมออนไลน์ ๒.๒.๖ กรรมการนักเรียนงานกีฬาและนันทนาการ ๒.๒.๗ กรรมการนักเรียนงานศิลปะและดนตรี ๒.๒.๘ กรรมการนักเรียนงานพัฒนาสิ่งแวดล้อมและความสะอาด ๒.๒.๙ กรรมการนักเรียนงานเอกสารและประชาสัมพันธ์ ๒.๒.๑๐ กรรมการนักเรียนงานส่งเสริมสวัสดิภาพและปฏิคม ๒.๒.๑๑ กรรมการนักเรียนงานเหรัญญิก ๒.๒.๑๒ กรรมการนักเรียนงานผู้ช่วยเหรัญญิก ๒.๒.๑๓ กรรมการนักเรียนงานเลขานุการ และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการนักเรียน ๒.๒.๑๔ กรรมการนักเรียนงานผู้ช่วยเลขานุการและผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการนักเรียน ๒.๓ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน หัวหน้าคณะทั้ง ๕ คณะ ที่มาจากการเลือกตั้งอีก ๕ คน ดังนี้ ๒.๓.๑ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะบุษราคัม ๒.๓.๒ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะทับทิม ๒.๓.๓ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะมรกต ๒.๓.๔ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะมุกดาหาร ๒.๓.๕ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะไพลิน ๒๗
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ หมวดที่ ๓ สภานักเรียน ข้อ ๑ องค์ประกอบสภานักเรียน ๑.๑ ประธานสภานักเรียน หมายถึง ประธานนักเรียน ๑.๒ รองประธานสภานักเรียน หมายถึง รองประธานนักเรียน ๑.๓ เลขานุการสภานักเรียน หมายถึง กรรมการนักเรียนงานเลขานุการ ๑.๔ สมาชิกสภานักเรียน หมายถึง คณะกรรมการนักเรียน หัวหน้าห้องประธานชมรม นักเรียนที่ ได้รับคัดเลือกจากนักเรียนหัวหน้าคณะทั้ง ๕ คณะ ข้อ ๒ อำนาจหน้าที่ของสภานักเรียน ๒.๑ พิจารณาให้ข้อเสนอแนะและให้ความเห็นชอบและลงมติต่อแผนการดำเนินงานและนโยบายของ คณะกรรมการนักเรียน ๒.๒ เสนอแต่งตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อดำเนินงานต่าง ๆ ตามแผนการดำเนินงานและนโยบายของ คณะกรรมการนักเรียน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ๒.๓ สมาชิกสภานักเรียนต้องให้ความร่วมมือต่อการดำเนินงานต่าง ๆ ตามมติของสภานักเรียนและ คณะกรรมการนักเรียน ๒.๔ แสดงความคิดเห็น ตามบทบาทและหน้าที่ ๒.๕ ดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการ และครูที่ปรึกษา ข้อ ๓ บทบาทตามหน้าที่ ๓.๑ ประธานสภานักเรียน มีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ๓.๑.๑ เป็นประธานในการประชุมสภานักเรียน ๓.๑.๒ ควบคุมและดำเนินการประชุมของสภานักเรียนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ๓.๑.๓ ติดตามและควบคุมการดำเนินงานต่าง ๆ ของสภานักเรียน ๓.๒ รองประธานสภานักเรียน มีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ๓.๒.๑ ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภานักเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๒.๒ ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากประธานสภานักเรียน ๓.๓ เลขานุการสภานักเรียน มีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ๓.๓.๑ บันทึกการประชุม ทำรายงานการประชุม และนำเสนอผู้อำนวยการโรงเรียน ๒.๓.๒ ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากประธานสภานักเรียน ๓.๔ สมาชิกสภานักเรียน มีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ๓.๔.๑ เข้าร่วมประชุมสภานักเรียน ๓.๔.๒ แสดงความคิดเห็นและออกเสียงลงมติ ๓.๔.๓ ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากประธานสภานักเรียน และสภานักเรียน ข้อ ๔ สมาชิกภาพของสภานักเรียนสิ้นสุดลงเมื่อ ๔.๑ ครบวาระ ๔.๒ พ้นจากสภาพการเป็นนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา ๔.๓ สภานักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ครูที่ปรึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนพิจารณาเห็นว่า สมาชิกสภา นักเรียนคนใดมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือมีเหตุผลอื่นใดที่ไม่สมควร ให้นำเสนอต่อประธานสภานักเรียน และ ผู้อำนวยการโรงเรียนพิจารณา ๔.๔ ขาดการประชุมสภานักเรียน เกิน ๓ ครั้ง โดยไม่มีเหตุผล ๔.๕ เสียชีวิต ๒๘
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ข้อ ๕ วาระการทำงานของสภานักเรียน ๕.๑ คราวละ ๑ ปีการศึกษา นับจากวันออกคำสั่งแต่งตั้ง ๕.๒ ถ้าตำแหน่งใด ๆ ว่างลง ได้ดำเนินการเสนอพิจารณาในการประชุมสภานักเรียน และนำเสนอผู้อำนวยการโรงเรียน หมวดที่ ๔ คณะกรรมการนักเรียน ข้อ ๑ องค์ประกอบของคณะกรรมการนักเรียน ๑.๑ ประธานนักเรียน (มาจากการเลือกตั้ง) ๑.๒ รองประธานนักเรียน ๑.๓ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะบุษราคัม (มาจากการเลือกตั้ง) ๑.๔ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะทับทิม (มาจากการเลือกตั้ง) ๑.๕ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะมรกต (มาจากการเลือกตั้ง) ๑.๖ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะมุกดาหาร (มาจากการเลือกตั้ง) ๑.๗ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะไพลิน (มาจากการเลือกตั้ง) ๑.๘ กรรมการนักเรียนงานวิชาการ ๑.๙ กรรมการนักเรียนงานระเบียบวินัย ๑.๑๐ กรรมการนักเรียนงานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๑.๑๑ กรรมการนักเรียนงานยาเสพติด เอดส์ และเกมออนไลน์ ๓.๑๒ กรรมการนักเรียนงานกีฬาและนันทนาการ ๑.๑๓ กรรมการนักเรียนงานศิลปะและดนตรี ๑.๑๔ กรรมการนักเรียนงานพัฒนาสิ่งแวดล้อมและความสะอาด ๑.๑๕ กรรมการนักเรียนงานเอกสารและประชาสัมพันธ์ ๑.๑๖ กรรมการนักเรียนงานส่งเสริมสวัสดิภาพและปฏิคม ๑.๑๗ กรรมการนักเรียนงานเหรัญญิก ๑.๑๘ กรรมการนักเรียนงานผู้ช่วยเหรัญญิก ๑.๑๙ กรรมการนักเรียนงานเลขานุการ หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการนักเรียน ๑.๒๐ กรรมการนักเรียนงานผู้ช่วยเลขานุการ และผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการนักเรียน ข้อ ๒ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนักเรียน ๒.๑ เป็นตัวแทนนักเรียนในการดำเนินงานต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน ๒.๒ เป็นตัวแทนนักเรียนในการประสานงาน และเสนอความคิดเห็นต่อโรงเรียนในการดำเนินงานต่าง ๆ ๒.๓ กำหนดแผนการดำเนินงานและนโยบายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียน สภานักเรียน และ คณะกรรมการนักเรียน ๒.๔ พิจารณาคัดเลือกสมาชิกสภานักเรียนเพิ่มเติม ๒.๕ ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการดำเนินการต่าง ๆ ในกรณีเร่งด่วนโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสภา นักเรียน ข้อ ๓ บทบาทตามหน้าที่ ๓.๑ ประธานนักเรียน ๓.๑.๑ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการนักเรียน ๓.๑.๒ วางแผน ควบคุม กำกับ ดูแล ประสานงาน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ คณะกรรมการนักเรียนสภานักเรียน และคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้ง ๒๙
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๓.๑.๓ ติดต่อ ประสานงาน ในการดำเนินงานทุกหน่วยงานทั้งภายใน และภายนอก ๓.๒ รองประธานนักเรียน ๓.๒.๑ ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานนักเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๒.๒ ควบคุม ดูแลการดำเนินงานของผู้ช่วยรองประธานนักเรียนและกรรมการนักเรียน ๓.๒.๓ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๓ ผู้ช่วยรองประธานนักเรียน นักเรียนหัวหน้าคณะทั้ง ๕ คณะ ๓.๓.๑ ดำเนินการตามแผนดำเนินงาน และนโยบายของคณะกรรมการนักเรียนและสภานักเรียน ๓.๓.๒ เสนอแต่งตั้งสมาชิกสภานักเรียนแต่ละคณะ ๓.๓.๓ จัดให้มีการประชุมสมาชิกสภานักเรียนแต่ละคณะ อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง ๓.๓.๔ จัดให้มีการประชุมนักเรียนในคณะ ติดต่อ ประสานงานในคณะ ๓.๓.๕ วางแผนการดำเนินงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๔ กรรมการนักเรียนงานวิชาการ ๓.๔.๑ จัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านวิชาการ ๓.๔.๒ วางแผน ควบคุม กำกับ ดูแล ประสานงานการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๕ กรรมการนักเรียนงานระเบียบวินัย ๓.๕.๑ วางแผน ควบคุม กำกับดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๖ กรรมการนักเรียนงานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๓.๖.๑ จัดทำ ควบคุม ดูแล เว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๓.๖.๒ วางแผน ควบคุม กำกับดูแล ประสานงานการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๗ กรรมการนักเรียนงานยาเสพติด เอดส์ และเกมออนไลน์ ๓.๓.๑ วางแผน ควบคุม กำกับ ดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๘ กรรมการนักเรียนงานกีฬาและนันทนาการ ๓.๘.๑ วางแผน ควบคุม กำกับดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๙ กรรมการนักเรียนงานศิลปะและดนตรี ๓.๙.๑ วางแผน ควบคุม กำกับ ดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๑๐ กรรมการนักเรียนงานพัฒนาสิ่งแวดล้อมและความสะอาด ๓.๑๐.๑ วางแผน ควบคุม กำกับ ดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๑๑ กรรมการนักเรียนงานเอกสารและประชาสัมพันธ์ ๓.๑๑.๑ วางแผน ควบคุม กำกับดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๑๒ กรรมการนักเรียนงานส่งเสริมสวัสดิภาพและปฏิคม ๓.๑๒.๑ วางแผน ควบคุม กำกับ ดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๑๓ กรรมการนักเรียนงานเหรัญญิก ๓.๑๓.๑ จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ๓.๑๓.๒ วางแผน ควบคุม กำกับ ดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๑๔ กรรมการนักเรียนงานผู้ช่วยเหรัญญิก ๓.๑๔.๓ วางแผน ควบคุม กำกับ ดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๑๕ กรรมการนักเรียนงานเลขานุการ และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการนักเรียน ๓.๑๕.๑ บันทึกการประชุมและทำรายงานการประชุมทุกครั้งที่มีการประชุม ๓.๑๕.๒ วางแผน ควบคุม กำกับ ดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ๓.๑๖ กรรมการนักเรียนงานผู้ช่วยเลขานุการ และผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการนักเรียน ๓๐
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๓.๑๖.๑ วางแผน ควบคุม กำกับ ดูแล ประสานงาน การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย หมวดที่ ๕ ครูที่ปรึกษาสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน ข้อ ๑ ครูที่ปรึกษาสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน ประกอบด้วย ๑.๑ ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา ๑.๒ รองผู้อำนวยการทั้ง ๔ ฝ่าย ๑.๓ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน ๑.๔ ครูที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้อำนวยการ ข้อ ๒ ครูที่ปรึกษาสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๒.๑ ดำเนินการประสานงานหัวหน้างานส่งเสริมประชาธิปไตย จัดการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการ นักเรียนและสมาชิกสภานักเรียนเพื่อออกประกาศโรงเรียนนนทรีวิทยาในการรับสมัครรับเลือกตั้งประธานนักเรียนและ นักเรียนหัวหน้าคณะ ๒.๒ เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานต่าง ๆ ๒.๓ เข้าร่วมการประชุมตามวาระการประชุมหรือตามหนังสือเชิญประชุม ๒.๔ ดูแลและช่วยเหลือ การปฏิบัติงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย หมวดที่ ๖ การเลือกตั้งประธานนักเรียนและนักเรียนหัวหน้าคณะ ข้อ ๑ คุณลักษณะของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ๑.๑ ต้องเป็นนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน ๑.๒ มีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ ๑.๓ มีคุณครูที่ปรึกษาและคุณครูหัวหน้าคณะรับรองความประพฤติ ๑.๔ ไม่เป็นผู้ประพฤติขัดต่อกฎระเบียบของโรงเรียนนนทรีวิทยาทุกประการ ๑.๕ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำที่ดี มีความรู้และประสบการณ์ในทุกๆ ด้านทุก ๆ ด้าน ข้อ ๒ การสมัครรับเลือกตั้ง ๒.๑ สมัครเป็นทีม โดยมีหัวหน้าทีม ๑ คน และผู้ร่วมทีมอีก ๕ คน ๒.๒ ขอรับใบสมัครได้ที่กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน หรือคณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง ๒.๓ รายละเอียดอื่น ๆ แจ้งอยู่ในประกาศโรงเรียนนนทรีวิทยา เรื่องการรับสมัครรับเลือกตั้งประธานนักเรียน และนักเรียนหัวหน้าคณะ ในแต่ละปีการศึกษา ๒.๔ ผู้สมัครจะต้องทำการจับฉลากหมายเลข โดยเรียงตามลำดับวันที่ส่งใบสมัครหลังปิดรับสมัคร ๑ วัน ข้อ ๓ หลักฐานการสมัคร ๓.๑ รูปถ่ายสวมเครื่องแบบนักเรียนปัจจุบัน ขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป ๓.๒ ใบสมัครที่กรอกรายละเอียดครบถ้วน พร้อมคำรับรองของครูที่ปรึกษาและครูหัวหน้าคณะ ๓.๓ ใบรับรองผลการเรียน ๓.๔ สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน ข้อ ๔ การหาเสียง ๔.๑ ผู้สมัครจะทำการหาเสียงหน้าเสาธงจำนวน ๒ ครั้ง ๔.๑.๑ ครั้งที่ ๑ เป็นการแนะนำตัวและทีมงาน ๓๑
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๔.๑.๒ ครั้งที่ ๒ เป็นการแถลงนโยบาย เวลาไม่เกิน ๑๐ นาที ๔.๒ ต้องไม่นำความเดือดร้อนเสื่อมเสียมาสู่โรงเรียนนนทรีวิทยา ๔.๓ การพิมพ์สิ่งพิมพ์หรือป้ายโฆษณาหาเสียง ขนาดไม่เกิน กระดาษ A ๓ หรือ ๖๐x๔๒ ซม. (สิ่งพิมพ์หรือป้ายโฆษณาหาเสียงต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง) ๔.๔ ต้องใช้ภาษาที่สุภาพ ไม่อ้างอิงถึงผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องและอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีของโรงเรียนในการ หาเสียง การแถลงนโยบาย รวมทั้งการพิมพ์สิ่งที่พิมพ์และป้ายโฆษณาหาเสียง ๔.๕ ห้ามติดสิ่งพิมพ์หรือป้ายโฆษณาหาเสียงบนอาคารเรียน ให้ติดที่ป้ายนิเทศหรือสิ่งที่ไม่ทำให้เกิดความ เสียหาย ภายในโรงเรียนเท่านั้น ๔.๖ คณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง มีสิทธิว่ากล่าวตักเตือน ห้ามปราม หรือถอนใบสมัคร ในกรณีที่ผู้สมัครรับ เลือกตั้ง ฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับการหาเสียงหรือเห็นว่ามีคุณสมบัติขัดต่อกฎระเบียบข้อบังคับ ข้อ ๕ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๕.๑ นักเรียนทุกระดับชั้นที่ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนนนทรีวิทยา ข้อ ๖ การนับคะแนน ๖.๑ คณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง ต้องทำการนับคะแนนภายหลังจากหมดเวลาการเลือกตั้งที่กำหนดไว้ เมื่อ คณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง นับคะแนนเสร็จแล้วให้นำผลคะแนนเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งต่อประธาน คณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง และต้องเก็บบัตรเลือกตั้งไว้ ทั้งหมดจนกว่าจะมีคำสั่งแต่งตั้งและพิธีรับมอบตำแหน่ง ๖.๒ คณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง ต้องทำการประชุมก่อนการเลือกตั้ง เพื่อตกลงหลักเกณฑ์พิจารณาบัตรดี บัตรเสีย การลงคะแนน การนับคะแนน การตรวจรับบัตรลงคะแนน ขั้นตอนและวิธีการเลือกตั้ง และต้องประกาศชี้แจง ให้นักเรียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ทราบก่อนวันเลือกตั้งอย่างน้อย ๑ วัน ๖.๓ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง มีสิทธิส่งผู้แทนเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งและตรวจการนับคะแนนได้ทีมละ ๑ คน ผู้แทนมีสิทธิทักท้วงได้ทันที เมื่อพบว่ามีข้อผิดพลาดหรือทุจริตการเลือกตั้ง ๖.๔ คณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง ต้องทำการนับคะแนนอย่างเปิดเผย ทุกคนสามารถเข้าชมการนับคะแนนได้ อย่างเท่าเทียมกัน ข้อ ๗ ผลการเลือกตั้ง ๗.๑ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและทีมงานที่ได้รับคะแนนสูงสุด จะต้องได้รับการรับรองผลคะแนนจากประธาน คณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง และประธานคณะกรรมาธิการการเลือกตั้งจะนำเข้าที่ประชุมสรุปผล การเลือกตั้งเพื่อ เสนอผู้อำนวยการออกคำสั่งแต่งตั้งต่อไป ๗.๒ ถ้ามีผู้สมัครรับเลือกตั้งหมายเลขเดียว ให้มีการนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการการเลือกตั้งและพิจารณา เพื่อเสนอผู้อำนวยการออกคำสั่งแต่งตั้ง โดยไม่ต้องทำการเลือกตั้ง ๗.๓ ให้ประธานคณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง เป็นผู้ประกาศผลการเลือกตั้งและจัดให้มีพิธีรับมอบตำแหน่ง หมวดที่ ๗ คณะกรรมาธิการ ข้อ ๑ ที่มาของคณะกรรมาธิการ ๑.๑ เป็นสมาชิกสภานักเรียน หรือนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถ ความถนัดในเรื่องนั้น ๆ เพื่อปฏิบัติงาน เฉพาะงานนั้น ๆ โดยจะต้องได้รับการเสนอชื่อจากสมาชิกสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน ข้อ ๒ หน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ๒.๑ วางแผน ควบคุม ดูแลการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน ๓๒
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๒.๒ สรุปผลการดำเนินงานเป็นลายลักษณ์อักษร และนำเสนอต่อที่ประชุมสภานักเรียนและคณะกรรมการ นักเรียนทราบ หมวดที่ ๘ การประชุมสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน ข้อ ๑ องค์ประกอบการประชุมสภานักเรียน ๑.๑ ประธานสภานักเรียน หมายถึง ประธานนักเรียน ๑.๒ รองประธานสภานักเรียน หมายถึง รองประธานนักเรียน ๑.๓ เลขานุการสภานักเรียน หมายถึง กรรมการนักเรียนงานเลขานุการ และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการ นักเรียน ๑.๔ คณะกรรมการนักเรียน ๑.๕ สมาชิกสภานักเรียน ๑.๖ ครูที่ปรึกษาสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน (เข้าร่วมการประชุมตามวาระการประชุม) ข้อ ๒ วิธีการประชุม ๑.๑ ทำการเปิดประชุมสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน หลังจากมีคำสั่งแต่งตั้งภายใน ๒๐ วัน ๑.๒ ดำเนินการประชุมอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง โดยสามารถประชุมคณะกรรมการนักเรียนได้ แต่ต้องมีการ แจ้งให้สภานักเรียนทราบในการประชุมสภานักเรียน ๑.๓ สามารถประชุมเร่งด่วนหรือประชุมเฉพาะการดำเนินงานใด ๆ ตามที่เห็นสมควร ๑.๔ เมื่อมีการประชุม ให้ทำรายงานการประชุมเสนอต่อครูที่ปรึกษาและฝ่ายบริหารทราบภายใน ๑๕ วัน ๑.๕ การประชุมต้องประชุมอย่างเปิดเผย บุคคลภายนอกสามารถเข้าร่วมประชุมได้แต่ต้องทำการแจ้งให้ ประธานสภานักเรียนหรือประธานนักเรียนทราบล่วงหน้า อย่างน้อย ๑ วัน ๑.๖ ผู้ที่จะกล่าวในที่ประชุม ต้องทำการยกมือขึ้นพ้นศีรษะ เมื่อประธานอนุญาตจึงยืนและกล่าวได้ ๑.๗ ประธานสภานักเรียนหรือประธานนักเรียน สามารถนัดประชุม เลื่อนประชุมสั่งพักเลิก และปิดการประชุม ได้ ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๓ การลงมติ ๓.๑ การลงมติ องค์ประชุมต้องมีมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งหมด ๓.๒ ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นข้อยุติ ๓.๓ ต้องทำการลงมติอย่างเปิดเผย ๓.๔ หากมีผู้ขอลงมติใหม่ หรือให้นับใหม่ ต้องมีผู้เห็นด้วยไม่ต่ำกว่า ๕ คน หรือประธานเป็นผู้พิจารณา ข้อ ๔ การแถลงนโยบาย ๔.๑ ในการเปิดประชุมสภานักเรียน ครั้งที่ ๑ ให้คณะกรรมการนักเรียนที่มาจากการเลือกตั้งแถลงนโยบายหรือ วิสัยทัศน์ต่อสภานักเรียน ๔.๒ สมาชิกสภานักเรียนสามารถซักถามหรืออภิปรายถึงนโยบาย วิสัยทัศน์หรือแผนปฏิบัติงานในรายละเอียด ต่าง ๆ ได้ ๔.๓ การตอบรายละเอียดหรือแผนการปฏิบัติงาน คณะกรรมการนักเรียนสามารถนำไปแจ้งในที่ประชุมครั้ง ต่อไปได้ ข้อ ๕ การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย ๕.๑ สถานที่ประชุมของสภานักเรียน และคณะกรรมการนักเรียน ย่อมเป็นที่เคารพ ต้องประพฤติตนให้ เรียบร้อย แต่งกายให้สุภาพ ตามกฎระเบียบของโรงเรียน ๓๓
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๕.๒ ประธานสภานักเรียน หรือประธานนักเรียนสามารถ เดือน ห้ามปราม หรือสั่งให้ออกจากที่ประชุม เมื่อ เห็นว่าผู้นั้น กระทำตนไม่เหมาะสมกับสถานที่หน้าที่และตำแหน่ง บทเฉพาะกาล ข้อ ๑ ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา เป็นผู้รักษาการตามระเบียบและข้อบังคับนี้ ข้อ ๒ กฎระเบียบหรือข้อบังคับใด ๆ ที่ว่าด้วยเรื่องสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนที่ขัดต่อระเบียบนี้เป็นอัน ยกเลิก ข้อ ๓ ถ้าระเบียบหรือข้อบังคับในข้อใด มีความจำเป็นต้องตีความ ให้ครูที่ปรึกษาสภานักเรียนและคณะกรรมการ นักเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน หรือผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้วินิจฉัยเพื่อหาข้อยุติ ข้อ ๔ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับในข้อใดต้องมีการเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรให้กับครูที่ปรึกษา สภา นักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนรองผู้อำนวยการทุกฝ่ายและผู้อำนวยการโรงเรียน ข้อ ๕ การดำเนินการใด ๆ ของสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน ส่อเจตนาไปในทางที่ไม่เหมาะสม อันจะนำมา ซึ่งความเดือดร้อนและไม่สามัคคี หรืออาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงของโรงเรียน ทั้งอาจนำมาซึ่งภยันตรายต่อ ความมั่นคงของชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ มีอำนาจสั่งยกเลิก หรือยุบสภา นักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนได้ เพื่อให้การดำเนินงานสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตรงตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียน จึงอนุญาตให้ใช้ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยา ว่าด้วยเรื่องสภานักเรียนและ คณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ (นางณัฐพัชร์ ศิริเสถียร) ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา ๓๔
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยา ว่าด้วยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้การบริหารและการจัดการเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ วรรค ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และข้อ ๑(๓) ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๕๑ จึงกำหนดระเบียบ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารและจัดการร่วมกันระหว่าง โรงเรียนกับผู้ปกครองไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนนนทรีวิทยา ว่าด้วยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดไปจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นในส่วนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เครือข่ายผู้ปกครอง” การรวมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียน ในโรงเรียนนนทรีวิทยา เพื่อร่วมมือกับโรงเรียนในการ ประกอบกิจกรรมด้านการพัฒนาการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักเรียน “ผู้ปกครอง” หมายถึง บิดา มารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และความหมาย รวมถึงบุคคลที่นักเรียนอยู่ด้วยเป็นประจำ หรือที่นักเรียนอยู่รับใช้ การงาน “คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนนนทรีวิทยา ข้อ ๕ วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ๕.๑ เพื่อการดำเนินงานสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ๕.๒ เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักเรียน ๕.๓ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และแนวคิดระหว่างผู้ปกครอง ครูและนักเรียน ในโรงเรียน ข้อ ๖ คณะกรรมการ คุณสมบัติของคณะกรรมการ (๑) เป็นบิดามารดา หรือผู้ปกครองของนักเรียนปัจจุบัน (๒) ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ และต้องดูแลอุปการะนักเรียนที่แท้จริง การพ้นตำแหน่งของกรรมการ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ ๖ (๔) มติที่ประชุมของคณะกรรมการร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนพิจารณาให้พ้นจากสภาพเป็นคณะกรรมการ กรณีที่พบว่าคณะกรรมการได้กระทำการส่อไปในทางเจตนาแสวงหาหรือได้มาซึ่งผลประโยชน์และสิทธิ์ประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อตนเองหรือผู้อื่น (๕) สิ้นสุดวาระ วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการให้มีวาระคราวละ ๑ ปี ข้อ ๗ บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ (๑) ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนด้านพัฒนาการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักเรียนโดยความเห็นชอบ จากผู้อำนวยการโรงเรียน ๓๕
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ (๒) ร่วมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครู และผู้ปกครอง (๓) สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียน (๔) เสนอข้อคิด ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาที่จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนและโรงเรียน (๕) ร่วมกับโรงเรียนจัดให้มีการประชุมระหว่างคณะกรรมการกับผู้ปกครองตามความเหมาะสมอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง (๖) สรุปและรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ในที่ประชุมใหญ่ของ ผู้ปกครองนักเรียน ข้อ ๘ โรงเรียนกำหนดแต่งตั้งครูเป็นผู้ประสานงานกับคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองในทุกระดับ ข้อ ๙ ให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน กำกับ ให้เป็นไปตามระเบียบนี้และผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้ลง นามในประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง กรณีสิ้นสุดวาระลง ตามข้อ ๖ ข้อ ๑๐ คณะกรรมการที่โรงเรียนจัดตั้งขึ้นมีอยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับให้สิ้นสภาพ และให้จัดการใหม่ตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ (นางณัฐพัชร์ ศิริเสถียร) ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทรีวิทยา ๓๖
____________________________________________ คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนนนทรีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๓๖