The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แฟ้มสะสมผลงานการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nutcharat Chiaochan, 2022-10-14 03:23:32

Portfolio แฟ้มสะสมผลงานการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

แฟ้มสะสมผลงานการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

P ortfolioแฟ้มสะสมผลงานการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
นางสาวนุชรัตน์ เชี่ยวชาญ
Nutcharat Chiaochan

สาขาวิชา ภาษาไทย

คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต



คำนำ

การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๑ (Teaching Internship ๑) เป็นกระบวนการภาคปฏิบัติ ที่
เปรียบเทียบเสมือนหัวใจของผลงานผลิตนักศึกษาครูให้เป็นครูมืออาชีพ เรียนรู้ทักษะกระบวนการทำงานอย่าง
ถูกต้องและเต็มศักยภาพ เพื่อจะให้เป็นครูที่ดีและครูคนเก่งของประเทศชาติต่อไป

การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๑ มุ่งเน้นให้มีการฝึกสอนได้ศึกษาการบริหารงานวิชาการ มีส่วนร่วม
กับสถานศึกษาในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรรวมทั้งการนำหลักสูตรไปใช้ฝึกการจัดทำแผนการเรียนรู้ร่วม
กับสถานศึกษา ฝึกปฏิบัติการดำเนินการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในสถาน
ศึกษา โดยนักศึกษาครูต้องศึกษา สำรวจและเก็บข้อมูลด้านต่าง ๆ ในการศึกษาดังกล่าว เพื่อเป็นการเพิ่ม
ทักษะกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าว คือ ได้รู้ถึงภาระงานและฝึกการจัดทำแผนการเรียนรู้ร่วมกับสถาน
ศึกษาฝึกปฏิบัติการดำเนินการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร มีหน้าที่อะไรบ้างที่
ต้องรับผิดชอบ รวมถึงเทคนิคและทักษะกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยเน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนรู้ และรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ โดยเรียนการทำวิจัยชั้น
เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการเรียนที่ดีขึ้นและพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ

การจัดทำแฟ้มสะสมผลงานเล่มนี้ เป็นแฟ้มที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูหลักสูตร ๕ ปี เพื่อ
ให้นักศึกษาได้มีความพร้อมก่อนที่จะออกไปประกอบอาชีพครูในอนาคตข้างหน้าต่อไป แฟ้มสะสมผลงานเล่มนี้
จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอผลการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา การฝึกเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และสังเกต
งานบริหารของโรงเรียน และสภาพทั่วไปของโรงเรียน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๑ (Teaching Internship ๑) ได้รับ
ประสบการณ์มากมายทั้งการลงมือปฏิบัติการสอนจริง ภาระหน้าที่งานที่ครูผู้สอนต้องทำ เช่น การออกแบบทำ
บันทึกคะแนนเก็บ ซึ่งออกแบบโดยครูผู้สอน การแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาการควบคุมชั้นเรียนเหตุการณ์ที่
เราเจอในขณะที่เราออกฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาเราใช้เทคนิคอะไรแก้ปัญหาเหล่านี้เมื่อเราออกไป
เป็นครูจริง ๆ เราก็สามารถนำเทคนิคตรงนั้นไปใช้ในอนาคตที่เราจะไปประกอบอาชีพครูได้

นางสาวนุชรัตน์ เชี่ยวชาญ
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

สารบัญ ข

เรื่อง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
ส่วนที่ ๑ ข้อมูลนักศึกษา ๑
ข้อมูลนักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๑ ๒
ส่วนที่ ๒ ข้อมูลสถานศึกษา ๔

ข้อมูลสถานศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๑ ๙
ส่วนที่ ๓ ผลงานที่ได้จากการปฏิบัติการสอน ๑๐
๒๓
แผนจัดการเรียนรู้ ๒๘
ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ๒๙
ส่วนที่ ๔ ผลจากการปฏิบัติการสอน ค
สรุปผลจากการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๑
ภาคผนวก



ส่วนที่ ๑

ข้อมูลนักศึกษา



ข้อมูลนักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

นางสาวนุชรัตน์ เชี่ยวชาญ

Nutcharat
chiaochan

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ-สกุล : นางสาวนุชรัตน์ เชี่ยวชาญ
วัน/เดือน/ปีเกิด : ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๒
ที่อยู่อาศัยปัจจุบัน : ๕๓/๕ หมู่ ๕ ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
รหัสไปรษณีย์ ๘๓๐๐๐

ประวัติการศึกษา ช่องทางการติดต่อ

ระดับประถมศึกษา : โรงเรียนบ้านเจ๊ะหลี Nutcharat Chiaochan

ระดับมัธยมศึกษา : โรงเรียนลันตาราช Nucharat_202
ประชาอุทิศ
Sotus_11
ระดับปริญญาตรี : สาขาวิชาภาษาไทย ๐๙๓๖๙๗๕๑๕๓

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์พรพักตรา ไชยเศรษฐ
อาจารย์นิเทศ : อาจารย์กรกัญญา ราชพลสิทธิ์
ครูพี่เลี้ยง : นางสาวศิริมา พันแหลมทอง
โรงเรียนที่ฝึกสอน : โรงเรียนบ้านสะปำ “มงคลวิทยา”
รายวิชาที่สอน : วิชา ภาษาไทย วิชาการงานอาชีพ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๑ , ๔/๒



ผลการปฏิบัติการสอน

ผลการปฏิบัติงานครูที่ปรึกษา / ผู้ช่วยครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้น



ส่วนที่ ๑

ข้อมูลสถานศึกษา



ข้อมูลโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ข้อมูลโรงเรียน : บ้านสะปำ “มงคลวิทยา”

สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่เลขที่ ๑ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมืองจังหวัด

ภูเก็ต ๘๓๐๐๐

โทรศัพท์ ๐๗๖ – ๓๗๗๕๖๔

Website : http://www.bansapam.ac.th

Email:photo@bansapam.ac.th

ชื่อผู้บริหารสถานศึกษา นายมนตรี อารีราษฎร์

ชื่อรองผู้บริหารสถานศึกษา นางอัจจนา เกษมภัทรา

ฝ่ายวิชาการ นายธาริช สวนนุช

ฝ่ายบริหาร นายจักรพงศ์ ผกาวรรณ

ฝ่ายงบประมาณ นายวิรุจน์ วิชัยดิษฐ์

ฝ่ายบุคคล นางสาววีรินทร์ ไชยศร



รายชื่อคณะกรรมการสถานศึกษา ( ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง และข้อมูลอื่นๆ )
๑ นายพงษ์ธร รังสินธุรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประธาน
๒ นายเกื้อเกียรติ จิตต์เกื้อ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รองประธาน



ปรัชญาของโรงเรียน : “พัฒนาวิชาการ สืบสานวัฒนธรรม สัมพันธ์ชุมชน”
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน : พัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา เน้นปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงคู่เทคโนโลยี มีคุณธรรมนำความรู้สู่สากลอย่างมีความสุข
ยุทธศาสตร์ของโรงเรียน

๑ จัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
๑.๒ จัดการเรียนการสอนแนวบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นผู้เรียน

เป็นสำคัญ
๑.๓ ส่งเสริม สนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อพัฒนา

คุณภาพผู้เรียน
๑.๔ พัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่สมบูรณ์ มีคุณธรรม

จริยธรรม รักความ เป็นไทย
รับ และรับผิดชอบต่อสังคม

๑.๕ จัดกิจกรรมให้สอดคล้อง มุ่งสู่คุณภาพผู้เรียนไทยแลนด์ 4.0
๑.๖ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุข
เอกลักษณ์ของโรงเรียน
โรงเรียนสีขาว ปลอดยาเสพติด
อัตลักษณ์ของโรงเรียน
กิจกรรมเด่น เน้นเทคโนโลยีมีทักษะชีวิต
สัญลักษณ์ของโรงเรียน
ตราโรงเรียนบ้านสะปำ “มงคลวิทยา”



สีประจำโรงเรียน
สีแสด สีดำ

ชื่อครูพี่เลี้ยง
คุณครูศิริมา พันแหลมทอง

ชื่ออาจารย์นิเทศ
อาจารย์กรกัญญา ราชพลสิทธิ์

ระยะเวลาที่ฝึก
ตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕



ส่วนที่ ๓

ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติการสอน

๑๐

๑๑

๑๒

๑๓

๑๔

เหตุผล/ความประทับใจที่เลือกแผนนี้
เหตุผลที่เลือกแผนการจัดการเรียนรู้แผนนี้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ ๑

เพราะผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนรู้ เข้าถึงตัวละครจากนิทาน สามารถที่จะ
ตอบคำถามได้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และสนุกไปกับเรื่องราวที่ครูนำมา
สอน

๑๕

๑๖

๑๗

๑๘

เหตุผล/ความประทับใจที่เลือกแผนนี้
เหตุผลที่เลือกแผนการจัดการเรียนรู้แผนนี้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ ๒

เพราะผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนรู้ สนุกไปกับปริศนาคำทายที่เอามาถาม
กันในชั้นเรียน ผู้เรียนทุกคนต่างที่จะนำเอาคำถามที่ตนได้คิดไว้มาถามเพื่อน ๆ
ในชั้นเรียน

๑๙

๒๐

๒๑

๒๒

เหตุผล/ความประทับใจที่เลือกแผนนี้
เหตุผลที่เลือกแผนการจัดการเรียนรู้แผนนี้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ ๔

เพราะผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนรู้ รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม และการ
แสดงออกหน้าชั้นเรียน สนุกไปกับการทำงานเป็นกลุ่ม

๒๓

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC: Professional Learning Community)

โรงเรียน : บ้านสะปำ “มงคลวิทยา”

วันที่ ๙ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕เวลา ๑๔.๐๐-๑๕.๐๐ น.

ผู้เข้าร่วม

๑. นายมนตรี อารีราษฎร์ ประธาน

๒. นายธาริช สวนนุช ครู

๓. นายจักรพงษ์ ผกาวรรณ ครู

๔. นางปิยวรรณ วงษ์แก้ว ครู

๕. นางสาวมลิณี เรืองศรี ครู

๖. นางสาวรสรินทร์ แก้วเกิด ครู

๗. นางสาวภัทรสุดา เส็นติหย๊ะ ครู

๘. นางสาวน้ำฝน อินทร์เมือง ครู

๙. นายวิรุจน์ วิชัยดิษฐ์ ครู

๑๐.นายธีระวัฒน์ ไชยพันธ์ ครู

๑๑.นางสาวณัชดากรณ์ รอดแก้ว ครู

๑๒.นางสาวสุภารักษ์ หิรัณย์สิริพิพัฒน์ ครู

๑๓.นางสาวพีซะพะงา นิรัตน์ติมานนท์ ครู

๑๔.นายอาทิตย์ แสงเจริญ ครู

๑๕.นางสาวศิริมา พันแหลมทอง ครู

๑๖.นางสาวผกามาศ จิตรหลัง ครู

๑๗.นางสาวณชดา เขียวชุม ครู

๒๔




๑๘.นายฐากูร กลีบสุวรรณ ครู
๑๙.นางสาววีรินทร์ ไชยศร ครู
๒๐.นางสาววราภรณ์ คงนาค นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
๒๑.นายอนันต์ แวแยนา นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
๒๒.นางสาวธนวรรณ ขุนชำนาญ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
๒๓.นางสาวพณิตา นาคบรรพ์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
๒๔.นางสาวธัญญารัตน์ ลุ้งใหญ่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
๒๕.นางสาวณฐมน ทหารไทย นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
๒๖.นางสาววริษฐา สุดเมือง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
๒๗.นางสาวกนกวรรณ มันเล็ก นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
.นายเจษฎากร หนูหมาด นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
29.นายจักรกฎษณ์ วุ่นคง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
30.นางสาวณัฐชา สิทธิโม นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
31.นางสาวเจนนี่ บาโง๊ย นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
32.นายจิรายุ เรืองจันทร์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
33.นางสาวนุชรัตน์ เชี่ยวชาญ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
34.นายพันธิ์วิชย์ ศุภนิมิตรวรกุล นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
35.นางสาวปวีณา ธัญยุภักดิ์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
36.นายอภิสิทธิ์ เพ็ชรสุทธิ์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑
37.นายธนกฤต ทองสุก นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๑

๒๕

ประเด็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้
๑. พฤติกรรมของนักเรียนที่ส่งถึงครูผู้สอน เนื่องด้วยครูผู้สอนเป็นเพียง

นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทำให้นักเรียนมีมุมมองด้านความคิดว่าระดับอายุ
และช่วงวัยยังคงไม่ห่างกันมากนัก นักเรียนจึงมีการแสดงพฤติกรรมที่ส่งถึงครูผู้สอน
แบบเป็นกันเองเสมือนเป็นพี่น้องกัน ทั้งในเรื่องของคำพูดการแสดงท่าทางด้าน
ร่างกาย การให้ความเคารพ รวมไปถึงการแสดงพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการ
เรียนการสอน ทำให้ครูผู้สอนเกิดปัญหาในการจัดการเรียนการสอน

๒. นักเรียนส่งงานไม่ครบตามกำหนดที่ครูผู้สอนกำหนดไว้

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
๑. สิ่งที่ทำได้สำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

พฤติกรรมของนักเรียนแสดงออกมาในเชิงบวก โดยครูผู้สอนมีการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการสอนที่บ่งบอกถึงความเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูที่ทำให้
นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตัวครูผู้สอนมากยิ่งขึ้นส่วนการส่งงานของนักเรียนเมื่อมี
การกำหนดขอบเขตการส่งงานหรือมีการกำหนดกิจกรรมการเสริมแรงทั้งทางบวกและ
ทางลบเกิดขึ้น ทำให้นักเรียนมีการกระตือรือร้นในการส่งงานให้ทันกำหนด

๒๖

๒. แนวทางการปรับปรุง /พัฒนา/แก้ไข
๒.๑ ครูผู้สอนมีการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล

มีทั้งในส่วนที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
บุคลิกภาพภายนอก เป็นบุคคลิกภาพในส่วนที่เป็นรูปธรรม

นักเรียนสามารถมองเห็นหนือสัมผัสได้ เป็นบุคลิกภาพที่สามารถพัฒนาปรับปรุงให้ดี
ขึ้นได้ ได้แก่ รูปร่างหน้าตา การแต่งกายให้ถูกระเบียบ กิริยามารยาท การใช้เสียง
การใช้สายตา และการใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ส่วนบุคลิกภาพภายในเป็นคุณลักษณะทาง
จิตใจที่เป็นนามธรรมสังเกตได้ยาก แต่ครูผู้สอนต้องอาศัยเวลาหรือความใกล้ชิดกัน
ก่อน ได้แก่ ความกระตือรือร้น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ความขยันมั่น
เพียร ความมีปฏิภาณไหวพริบ ความเป็นคนช่างคิด ความมีน้ำใจ เป็นพฤติกรรมที่ครู
ผู้สอนแสงออกมาให้กับนักเรียนได้สังเกตเห็น แต่ต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้ผู้เรียนได้
เห็นว่าครูผู้สอนสามารถเป็นครูผู้ซึ่งมีจิตวิญญาณความเป็นครูได้จริง

อีกประเด็นที่ครูผู้สอนควรมี คือ ความรอบรู้ในศาสตร์ที่สอน ครูผู้
สอนควรความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่จะนำมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน สามารถอธิบาย
ขยายความ ยกตัวอย่าง หรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง มีการสรุปองค์ความรู้ได้อย่าง
ชัดเจน และสามารถตอบคำถามของผู้เรียนได้ ดังนั้นครูผู้สอนมีความจำเป็นที่จะต้อง
ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ รวมไปถึงการ
ออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะ
การเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21เป็นการเรียนรู้แบบโลกไร้พรหม
แดน นอกจากเป็นกรอบป้องกับกับตัวนักเรียนในการใช้ชีวิตแล้วยังเป็นการจูงใจให้
นักเรียนเกิดความสนใจและมีมุมมองต่อครูผู้สอนไปในทางที่ดีขึ้นอีกด้วย

๒๗

๒.๒ แนวทางการแก้ไขการส่งงานของนักเรียนให้ทันกำหนดการ
คือ การใช้การจูงใจเป็นกระบวนที่กำหนดเป้าหมายและทิศทางให้แก่การกระทำหรือ
พฤติกรรมของบุคคล โดยครั้งนี้ใช้การจูงใจแบบการเสิรมแรงทั้งทางบวกและทางลบ
เพื่อให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการส่งงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีรูปแบบดังนี้

- เสริมแรงทางบวก ครูผู้สอนทำบัตรสะสมรางวัลให้นักเรียน สำหรับนักเรียนที่ส่ง
งานครบถูกต้อง ส่งในเวลาที่กำหนด จะได้รับรางวัล ๑ ชิ้น (รางวัลจะเป็นอุปกรณ์
การเรียน คะแนนโบนัส เป็นต้น) เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีการส่งงานมากยิ่งขึ้น

- เสริมแรงทางลบ สำหรับนักเรียนที่ไม่ส่งงาน ครูผู้สอนจะหักคะแนน และเรียก
พบนักเรียนในเวลาพัก หรือในเวลาเลิกเรียนให้นักเรียนนำงานที่ได้รับมอบหมายมา
ทำที่ครูผู้สอนจนเสร็จ หากนักเรียนยังไม่ทำงานส่งงานครูผู้สอนจะแจ้งครูประจำชั้น
เพื่อติดต่อผู้ปกครองเป็นลำดับต่อไป

๒๘

ส่วนที่ ๔

ผลการปฏิบัติการสอน

๒๙

จากประสบการณ์ที่ได้รับในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๑ ส่งผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงเจตคติต่อวิชาชีพครู ของนักศึกษาหรือไม่ อย่างไร

ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อวิชาชีพครู คือ มีความรักและ ความเชื่อ
มั่นในอาชนครูและมีความรู้สึกรักในการสอนมากยิ่งขึ้น จากการได้ช่วยเหลือและสร้าง
ความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนและการ ได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน
ให้สามารถนําไป ประยุกต์ใช้และแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้

จากประสบการณ์ที่ได้รับในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๒ ส่งผลให้นักศึกษา
เกิดการพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรม สู้งาน จิตอาสา หรือไม่ อย่างไร

คุณธรรม การปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นครูจะต้องเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม อัน
ได้แก่ คุณธรรมของการวางตัวการอยู่ในกฎระเบียบวินัยของทางวิชาชีพครูและสถาน
ศึกษา ได้กำหนดครูจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ สอนความรู้ควบคู่คุณธรรม
สอนให้ศิษย์เป็นคนดี อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

สู้งาน คำว่าครู มาจากคำว่า ครุ ซึ่งแปลว่า หนัก กล่าวคือ คนเป็นครูจะต้อง
ทำงานหนัก หนักด้วยภาระและหน้าที่อันยิ่งใหญ่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญที่สุดคือการ
สอนจะต้องเข้าสอนตรงเวลา สอนให้เด็กได้เรียนรู้ครบตามหลักสูตรการพัฒนาตนเอง
ในด้านสู้งานหลายครั้งที่ข้าพเจ้ามีปัญหาในการปรับตัวทั้งภาระการงานที่เพิ่มขึ้น การ
วางแผนการสอนการทำภาระงานที่นอกเหนือจากภาระการสอน แต่ก็ผ่านมาได้ทุกครั้ง
การที่เราเจอปัญหาอุปสรรคแล้ว เราสามารถวิเคราะห์แก้ปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม
มีความกระตือรือร้นในการทำงาน

๓๐

จิตอาสา การพัฒนาตนเองในด้านจิตอาสา จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ครูสอนให้เรารู้จักการอยู่ร่วมกับผู้คน ในสังคมว่าเราที่รู้จักความเสียสละความร่วมมือ
ร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เพื่อจะช่วยลดปัญหาที่เกิด
ขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้
ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมมากยิ่งขึ้น

จากประสบการณ์ที่ได้รับในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาส่งผลให้
นักศึกษาเกิดการพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรมสู้งานจิตอาสาเป็นอย่างมากเพราะใน
การประกอบวิชาชีพครูนั้นสิ่งที่ต้องมีคือ ความเสียสละความสุขสบายส่วนตัวเพื่อ
ประโยชน์ส่วนรวม อดทนต่อปัญหาอุปสรรคที่ได้เจอระหว่างการปฏิบัติงาน รับผิดชอบ
ต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด ช่วยเหลืองานโรงเรียนตามความสามารถ และมี
ความซื่อสัตย์สุจริต สิ่งเหล่านี้หากปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัยจะส่งผลดีต่อตนเองและ
สังคมทำให้เกิดความรักความสามัคคีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป



ภาคผนวก

บรรยากาศการเตรียมความพร้อมแข่งขันกีฬาสี
โรงเรียนบ้านสะปำ “มงคลวิทยา”
“สะปำเกมส์”

บรรยากาศการเตรียมความพร้อมแข่งขันกีฬาสี
โรงเรียนบ้านสะปำ “มงคลวิทยา”
“สะปำเกมส์”

บรรยากาศการแข่งขันกีฬาสี
โรงเรียนบ้านสะปำ “มงคลวิทยา”

“สะปำเกมส์”

บรรยากาศการแข่งขันกีฬาสี
โรงเรียนบ้านสะปำ “มงคลวิทยา”

“สะปำเกมส์”

บรรยากาศการจัดการเรียนการสอน

บรรยากาศการจัดการเรียนการสอน

บรรยากาศการจัดการเรียนการสอน

บรรยากาศการยืนเวรต้อนรับเด็กในตอนเช้า

บรรยากาศวันภาษาไทย ๒๕๖๕

บรรยากาศโครงการสร้างอาชีพ
ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นภูเก็ต

บรรยากาศโครงการสร้างอาชีพ
ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นภูเก็ต

บรรยากาศวันไหว้ครู ๒๕๖๕

บรรยากาศกิจกรรมทัศนศึกษาช่วงชั้นที่สอง

ขอบคุณค่ะ

Thank you


Click to View FlipBook Version