The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Suhaila'a Madpanjor, 2022-06-04 08:43:57

อุทกภาค

อุทกภาค

อุทกภาค
(Hydrosphere)

สารบัญ หน้ า

เรื่อง 1-2
3-4
อุทกภาคคืออะไร 5-6
วัฏจักรของน้ำ 7-9
ระบบน้ำจืด 10
ระบบน้ำเค็ม
อ้างอิง

อุทกภาค

คืออะไร ??

1

อุทกภาค

(hydrosphere)

หมายถึง ส่วนที่ห่อหุ้มเปลือกโลกที่เป็ นน้ำทั้งหมด ได้แก่
ความชื้นในบรรยากาศ (ATMOSPHERIC MOISTURE)
หยาดน้ำฟ้ า (PRECIPITATION) น้ำไหลบ่า (RUNOFF) ความชื้น
ในดิน (SOIL MOISTURE) น้ำใต้ดิน (GROUNDWATER)
แม่น้ำลำธาร (RIVERS AND CHANNELS) ทะเลสาบ (LAKES) น้ำ
ในมหาสมุทร (OCEANIC WATER) และธารน้ำแข็ง
(GLACIER)อุทกภาคมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอีก 3 ส่วนของ
โลก ได้แก่ บรรยากาศ (ATMOSPHERE) ชีวมณฑล (BIOSPHERE)
และธรณี ภาค (LITHOSPHERE)
ส่วนต่าง ๆ ทั้ง 4 ส่วนของโลกนี้มีการกระทำระหว่างกันอย่างใกล้ชิด
อยู่ตลอดเวลา

2

วัฏจักรของน้ำ

(Water Cycle)

การเปลี่ยนแปลงสถานะของ น้ำ ระหว่าง ของเหลว
ของแข็ง และ แก๊ส ในวัฏจักรของน้ำนี้ น้ำจะมีการ
เปลี่ยนแปลงสถานะไป-กลับ จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะ
หนึ่งอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุดภายใน อุทกภาค (hydrosphere)
เช่น การเปลี่ยนแปลงระหว่างชั้นบรรยากาศ น้ำพื้นผิวดิน
ผิวน้ำ น้ำใต้ดิน และพืช กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถ
แยกได้เป็ น 4 ประเภทคือ การระเหยเป็ นไอ (evaporation),
หยาดน้ำฟ้ า (precipitation), การซึ ม (infiltration) และการ
เกิดน้ำท่า (runoff)ubheading

รูปภาพที่ 1

3

วัฏจักรของน้ำ

(Water Cycle)

การระเหยเป็ นไอ (evaporation) หยาดน้ำฟ้ า (precipitation)
เป็ นการเปลี่ยนแปลงสถานะของ เป็ นการตกลงมาของน้ำใน

น้ำบนพื้นผิวไปสู่บรรยากาศ บรรยากาศสู่พื้นผิวโลก โดย
ทั้งการระเหยเป็ นไอ ละอองน้ำในบรรยากาศจะรวมตัว

(evaporation) โดยตรงจากการ กันเป็ นก้อนเมฆ และในที่สุด
กลั่นตัวเป็ นฝนตกลงสู่ผิวโลก
คายน้ำของพืช (transpiration)
รวมถึงหิมะและลูกเห็บ
ซึ่ งเรียกว่า evapotranspiration



การซึ ม (infiltration) จากน้ำบน น้ำท่า (runoff) หรือน้ำไหลผ่าน
เป็ นการไหลของน้ำบนผิวดินไปสู่
พื้นผิวลงสู่ดินเป็ นน้ำใต้ดิน อัตรา มหาสมุทร น้ำไหลลงสู่แม่น้ำและ
การซึ มจะขึ้นอยู่กับประเภทของ ไหลไปสู่มหาสมุทร ซึ่ งอาจจะถูก
ดิน หิน และปัจจัยประกอบอื่นๆ กักชั่วคราวตามบึงหรือทะเลสาบ

น้ำใต้ดินนั้นจะเคลื่อนตัวช้า และ ก่อนไหลลงสู่มหาสมุทร น้ำบาง
อาจไหลกลับขึ้นบนผิวดิน หรือ ส่วนกลับกลายเป็ นไอก่อนจะไหล

อาจถูกกักอยู่ภายใต้ชั้นหินเป็ น กลับลงสู่มหาสมุทร
เวลาหลายพันปี

4

ระบบน้ำจืด

น้ำจืดเป็ นน้ำที่เกิดจากการหมุนเวียนตามวัฏจักรของ
น้ำ มีเกลือโซเดียมและคลอไรด์เพียงเล็ก น้อยละลาย

อยู่ในน้ำไม่เกิน 0.5 ส่วน ในน้ำ 1,000 ส่วน
ปริมาณน้ำจืดในส่วนต่าง ๆ ของโลกมีอยู่ เกือบร้อย

ละ 3 เท่านั้น อยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ดังนี้

น้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินเฉพาะที่เป็ นน้ำจืด ได้แก่ แม่น้ำ ลำธาร
ห้วย คลอง หนอง บึง ทะเลสาบ และอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำ
น้ำผิวดินมีเพียงร้อยละ 0.01 จากปริมาณ น้ำจืดทั้งหมด แต่มี
ความสำคัญมาก เนื่องจากสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในกิจกรรม
ต่าง ๆ เพื่อการ ดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช
น้ำใต้ดิน เป็ นน้ำที่อยู่ตามแหล่งน้ำใต้ดิน ทั้งบนบกและใต้พื้น
ดินในทะเล เป็ น น้ำในธรณี ภาคที่เกิดจากน้ำจืดของวัฏจักรน้ำ
ไหลตามช่องว่างที่ต่อเนื่องกันใต้พื้นดิน เช่น ช่องว่าง ของเม็ด
กรวด ทราย โพรงดิน โพรงถ้ำ ตลอดจนถึงชั้นใต้ดินที่มีน้ำบรรจุ
เต็มช่องว่างต่าง ๆ ใน เขตอิ่มน้ำ หรือระดับน้ำใต้ดิน น้ำใต้ดินมี
ประมาณร้อยละ 0.62 จากปริมาณน้ำจืดทั้งหมด น้ำใต้ดิน บาง
ส่วนจะไหลซึ มอยู่ในชั้นใต้ดินตามความลาดและเป็ นส่วนสำคัญ

5ในการช่วยรักษาระดับน้ำใน แม่น้ำไม่ให้ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว

ธารน้ำแข็ง พบในทวีปแอนตาร์กติกา เกาะกรีนแลนด์ เกาะไอซ์

แลนด์ ยอดเขาสูง และที่ราบสูงที่มีหิมะปกคลุมพื้นที่ในเวลา

ยาวนาน เช่น ทิวเขาเชอเลน ในประเทศนอร์เวย์และ สวีเดน
ยอดเขามงบล็องของเทือกเขาแอลป์ ยอดเขาคีโบของเทือกเขาคิ

ลิมันจาโร ในประเทศ แทนซาเนีย ที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขา

เซาเทิร์นแอลป์ ในประเทศนิวซี แลนด์ จากปริมาณน้ำจืด​

ทั้งหมดเป็ นน้ำจืดจากธารน้ำแข็งประมาณร้อยละ 2,20​
ไอน้ำและเมฆ เป็ นส่วนของไอน้ำที่เกิดจากการระเหยของน้ำใน
วัฏจักรน้ำ แล้ว ลอยขึ้นไปอยู่ในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟี ยร์
เป็ นความชื้นในอากาศ ละอองน้ำ บางส่วนรวมตัวกัน เป็ นกลุ่ม
ก้อน ซึ่ งจะกลั่นตัวเป็ นน้ำจืดได้อีก ซึ่ งโดยรวมมีปริมาณร้อยละ
0.01 ของน้ำจืดที่สะสมไว้ ในอากาศ

รูปภาพที่ 2 6

ระบบน้ำเค็ม



น้ำเค็มเป็ นน้ำที่มีปริมาณมากที่สุดถึงร้อยละ 97 ของ
ปริมาณน้ำทั้งโลกและกระจายตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ได้แก่
อ่าว ทะเล และมหาสมุทร จึงเป็ นแหล่งน้ำในวัฏจักรน้ำที่
มีกจึงเป็ นแหล่งน้ำในวัฏจักรน้ำที่มีการระเหยเป็ นไอน้ำ

ในอากาศมากที่สุดด้วย

1.ความเค็มและความหนาแน่น ความเค็มของน้ำทะเล
เกิดจากการมีเกลือโซเดียมและคลอไรด์ละลายอยู่ ใน
ปริมาณเฉลี่ย 35 กรัมต่อน้ำ 1,000 กรัม หรือร้อยละ 3.5
น้ำทะเลแต่ละบริเวณมีความเค็มแตกต่างกันตามอัตราการ
ระเหยของน้ำ ปริมาณน้ำฝน น้ำจากแม่น้ำหรือน้ำแข็งที่
ละลายลงไป และอุณหภูมิของน้ำ

2.กระแสน้ำพื้นผิวและการลอยตัวของมวลน้ำใน
มหาสมุทร การไหลเวียนของน้ำพื้นผิวในมหาสมุทรมี
ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เกิดจากความหนาแน่นและ
อุณหภูมิที่กระแสแตกต่างกันของน้ำทะเลในแต่ละแห่ง
และลมประจำของโลก

7

2.1) กระแสน้ำพื้นผิวในมหาสมุทร เป็ นระบบ
หมุนเวียนของน้ำพื้นผิวในแนวนอนประจำอยู่ใน
มหาสมุทรต่าง ๆ อย่างเป็ นระบบ การไหลของกระแสน้ำพื้น
ผิวเกิดจากสาเหตุต่าง ๆดังนี้

1. การหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้กระแสน้ำพื้น
ผิวบริเวณเส้นศูนย์สูตรไหลจากทิศตะวันออกไปทิศตะวัน
ตก เมื่อถึงทวีปและแผ่นดิน กระแสน้ำพื้นผิวจะไหลเบนขวา
ในซี กโลกเหนือและเบนซ้ายในซี กโลกใต้ตามลักษณะรูป
ร่างของแผ่นดิน

2. ลมที่พัดประจำ ได้แก่
ลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือและลมค้าตะวันออกเฉียง
ใต้ ลมที่พัดประมาณละติจูด 30 - 5 องศาเหนือและใต้
ทำให้กระแสน้ำแถบเส้นศูนย์สูตรไหลจากทิศตะวัน
ออกไปทิศตะวันตก
ลมตะวันตก เป็ นลมที่พัดประมาณละติจูด 30 - 60
องศาเหนือและใตพัดจากแนวความกดอากาศสูงกึ่งเขต
ร้อนไปยังบริเวณแนวความกดอากาศต่ำถึงขั้นโลกใน
ซี กโลกเหนือ ลมจะพัดรุ นแรงมากในฤดูหนาว สำหรับ
ซี กโลกใต้ลมจะพัดรุ นแรงในฤดูร้อนและฤดูหนาวซึ่ ง
ในสมัยโบราณใช้ประโยชน์ ในการเดินเรือจากตอนใต้
ของมหาสมุทรแอตแลนติกไปทางตะวันออกผ่าน
มหาสมุทรอินเดีย

8

2.2) การลอยตัวของมวลน้ำ เป็ นปรากฏการณ์

เฉพาะพื้นที่ เนื่องจากน้ำในระดับลึกจากทะเลหรือ

มหาสมุทรมีอุณหภูมิต่ำและมีความหนาแน่ นสูงลอยตัว
ขึ้นสู่ระดับผิวน้ำเกิดจากลมประจำกำลังแรงทำให้กระแส
น้ำเย็นพื้นผิวที่ขนานกับชายฝั่งเคลื่อนที่เฉออกจาก

ชายฝั่งตามแรงคอริออลิส ทำให้น้ำเย็นในระดับลึก
เคลื่อนขึ้นมาแทนที่เกิดเป็ นการลอยตัวของมวลน้ำเช่น
การลอยตัวของมวลน้ำบริเวณชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนีย

สหรัฐอเมริกา

รูปภาพที่ 3 9

อ้างอิง

อุทกภาคคืออะไร :
https://sites.google.com/site/korawan4725
8/xuthk-phakh-hydrosphere
วัฏจักรของน้ำ :
https://th.wikipedia.org/wiki/
ระบบน้ำจืดเเละระบบน้ำเค็ม :
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภูมิศาสตร์ ม.4-6
รูปภาพที่ 1 :
https://th.wikipedia.org/wiki/
รูปภาพที่ 2 :
https://i2.wp.com/ngthai.com/app/uploads/
2020/10/Ocean-current.jpg?
resize=640%2C338&ssl=1
รูปภาพที่ 3 :
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topics
tock/2011/03/X10351858/X10351858-
2.jpg

10


Click to View FlipBook Version