The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by namchai5302, 2021-05-13 03:57:00

คู่มือคลินิก

คู่มือคลินิก

คมู่ ือการตดิ ตามผลการดาเนนิ งาน
โครงการคลนิ กิ เกษตรเคลอ่ื นทใี่ นพระราชานเุ คราะห์
สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช ฯ สยามมกฎุ ราชกมุ าร

ปงี บประมาณ 2564

สานกั งานเศรษฐกจิ การเกษตรที่ 2 พิษณโุ ลก
สานักงานเศรษฐกจิ การเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์



คำนำ

การตดิ ตามและประเมินผล เป็นการปฏบิ ัติงานเพ่ือให้ทราบว่าโครงการที่ดำเนินการบรรลตุ ามวัตถุประสงค์
เป้าหมาย มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการมากน้อยเพียงใด รวมทั้งแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานของ
โครงการ ซึ่งจะช่วยให้การบรหิ ารแผนงานและโครงการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงได้จัดทำ “ คู่มือการติดตาม
ผลการดำเนินงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยาม
มกุฏราชกุมาร ปีงบประมาณ 2564 ” โดยศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แล้วนำมาสังเคราะห์ และจาก
ประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติงานโครงการ ฯ ดังกล่าว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่รับผิดชอบโครงการ และสามารถนำไป
ปฏบิ ตั ใิ หเ้ กิดผลสัมฤทธต์ิ ามเป้าหมายท่ีกำหนดไว้ต่อไป

การจัดทำเอกสารครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูล จึง
ขอขอบคุณมา ณ โอกาสน้ี และหวงั เปน็ อย่างย่ิงวา่ เอกสารเลม่ น้จี ะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่รบั ผิดชอบโครงการ หรือผู้ท่ี
สนใจสำหรบั ใชเ้ ปน็ แนวทางในการตดิ ตามผลการดำเนนิ งานต่อไป

สว่ นวิจัยและประเมินผล
สำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 2 พิษณุโลก

สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เมษายน 2564

สารบัญ

คำนำ หน้า
1. บทนำ ก
2. แนวทางการตดิ ตามผลการดำเนินงานโครงการคลินิกเกษตรเคลอื่ นที่ในพระราชานเุ คราะห์ 1
7
สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช ฯ สยามมกฏุ ราชกมุ าร ปีงบประมาณ 2564
3. การเขียนสรุปผลการตดิ ตามผลการดำเนินงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนท่ใี น 11

พระราชานุเคราะห์ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกมุ าร 13
ปงี บประมาณ 2563

บรรณานกุ รม

1

บทนำ

1. หลักการและเหตุผล
เนื่องในวโรกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราช

อิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ในพุทธศักราช
2545 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความปลื้มปิติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุด
มิได้ และด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สุดที่จะพรรณนา ทุกครั้งที่เสด็จ
พระราชดำเนนิ เย่ียมเยียนพสกนิกรในถิ่นทุรกันดาร โดยไมเ่ ห็นแก่ความเหนื่อยยาก ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ท่ีจะ
ให้ความเป็นอยู่ของพสกนิกรเหล่านั้นดีขึ้น พระราชกรณียกิจดังกล่าวเป็นความประทับใจแก่ปวงชนชาวไทยมาโดย
ตลอด ในวโรกาสดังกล่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นควรจัดทำโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่โดยมี
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความร่วมมือของงานวิจัย พัฒนา และงานบริการวิชาการเกษตร ให้สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ในพื้นที่ เป้าหมายที่มีศักยภาพการผลิตในรูปแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นกลไกของชุมชนในการรณรงค์ฟื้นฟู
เกษตรกร และแกไ้ ขปัญหาร่วมกันในรูปกิจกรรมให้บริการเคล่ือนท่ี และกิจกรรมเสริมสร้างความรู้และการฝึกอบรม
เพื่อแสดง ความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกราบบังคมทูลขอ
พระราชทาน พระราชานุญาตจัดทำโครงการคลนิ ิกเกษตรเคลื่อนท่ีถวาย และขอรับพระมหากรุณาธิคณุ ให้โครงการ
อยู่ในพระราชานเุ คราะห์ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกฎุ ราชกุมาร

การจัดตั้งคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ เป็นวิธีการดำเนินงานอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้การบริการทางวิชาการ
และการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บรรลุผลสำเร็จตามภารกิจที่รับผิดชอบ
โดยเป็นการปฏิบัติงานในเชิงรุกที่ทำให้เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายที่มีปัญหา ให้ได้รับบริการทางการเกษตรอย่าง
รวดเรว็ ทั่วถึงและครบถ้วน เชน่ การวิเคราะห์ดนิ การวนิ ิจฉยั โรคพืช โรคสัตว์ โรคสตั วน์ ำ้ และการให้วัคซีนป้องกัน
โรค รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝึกอบรมความรู้การเกษตรเสริมเพิ่มเติมควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเป็นการ
ดำเนินการ ในลักษณะบูรณาการการทำงานระหว่าง นักวิชาการเกษตรของหน่วยงานต่างๆ ในแต่ละสาขา ทั้งด้าน
พืช สัตว์ ประมง ดิน และน้ำ ฯลฯ พร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิชาการด้านต่างๆ มาให้บริการในคลินิก
เกษตร โดยสามารถเคลอื่ นทเี่ ข้าไปได้ถึงในระดับตำบล เพอ่ื ใหเ้ กษตรกรสามารถเข้ารบั บรกิ ารทางการเกษตรได้อย่าง
ถูกต้อง ครบถ้วนทกุ ด้านในคราวเดียวกัน

2. วตั ถุประสงค์
2.1 เพื่อให้เกษตรกรที่มีปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ห่างไกล สามารถเข้าถึงการบริการทางวิชาการ และ

ได้รบั การแก้ไขปญั หาดา้ นการเกษตรอยา่ งครบวงจรในคราวเดยี วกัน
2.2 เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิชาการ หน่วยงานส่งเสริม และศูนย์เรียนรู้การเพ่ิม

ประสทิ ธภิ าพการผลติ สินค้าเกษตร (ศพก.) ในการใหบ้ ริการและแก้ไขปญั หาทางการเกษตรรว่ มกัน

3. เปา้ หมาย
ดำเนนิ การในพน้ื ท่ี 77 จังหวดั จังหวัดละ 600 คน รวมท้ังสน้ิ 46,200 ราย

4. กจิ กรรม
4.1 จดั คลนิ ิกเกษตรเคลอื่ นที่ ไตรมาสท่ี 1 ในพ้ืนท่ี77 จงั หวดั จงั หวัดละ 150 ราย เกษตรกร 11,550 ราย
4.2 จัดคลนิ กิ เกษตรเคลื่อนท่ี ไตรมาสท่ี 2 ในพน้ื ที่ 77 จงั หวดั จงั หวดั ละ150 ราย เกษตรกร 11,550 ราย

2

4.3 จดั คลินกิ เกษตรเคลือ่ นท่ี ไตรมาสที่ 3 ในพนื้ ท่ี 77 จงั หวัดจังหวัดละ 150 ราย เกษตรกร 11,550 ราย
4.4 การจดั คลินิกเกษตรเคล่ือนท่ี ไตรมาสท่ี 4 คลนิ ิกเกษตรเคลือ่ นทเี่ ฉลมิ พระเกียรติ เนือ่ งในวนั เฉลมิ พระ
ชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชริ เกลา้ เจ้าอยูห่ ัว ในพื้นท่ี 77 จังหวัดจังหวัดละ 150 ราย เกษตรกร 11,550 ราย
ระหวา่ งวันท่ี 22 – 31 กรกฎาคม 2563
หมายเหตุ : ในชว่ งสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดเชอ้ื โรค COVID – 19 ใหเ้ ล่ือนการจดั คลนิ กิ ฯ ในไตรมาสท่ี 2
และไตรมาสที่ 3 ให้ไปจัดในไตรมาสที่ 4 โดยสามารถจัดได้ 2 แนวทาง คือ 1) แยกการจัดงานเป็นครั้งๆ (2 หรือ 3
คร้ังกไ็ ด)้ หรอื 2) จดั รวม ครง้ั เดยี ว ในไตรมาส 4 โดยขน้ึ อย่กู ับการพจิ ารณาของผู้วา่ ราชการจังหวดั ซ่ึงเป็นประธาน
คณะกรรมการฯ ระดบั จังหวัด

กจิ กรรมด้านคลนิ กิ เกษตรทเ่ี ปดิ ให้บริการ ได้แก่
1) คลินิกดิน ให้คำปรึกษา ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยและให้บริการด้านวิเคราะห์ตรวจสอบดิน และปุ๋ย โดย
กรมพัฒนาทีด่ นิ
2) คลนิ ิกพชื ให้คำปรกึ ษา ตรวจวิเคราะห์ วนิ ิจฉยั และใหบ้ ริการด้านโรคและแมลง ศตั รพู ืช วัชพืช การเก็บ
เกี่ยวพืช การผลิตเมล็ดพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ การทดสอบความงอก การขาดธาตุอาหารพืช สารพิษตกค้าง
วัตถุมพี ิษทางการเกษตร โดยกรมวิชาการเกษตร
3) คลินิกปศสุ ัตว์ ใหค้ ำปรกึ ษา ตรวจวเิ คราะห์ วินจิ ฉัยโรคและการตรวจรักษา พยาบาลสัตว์ การให้วัคซีน
ทำหมนั สตั ว์ การผสมเทียม การควบคุมโรคระบาดในสัตว์ การเล้ียงสตั ว์ โดยกรมปศุสัตว์
4) คลินิกประมง ให้คำปรึกษา ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยและรักษาโรคในสัตว์น้ำ การควบคุมโรคระบาด ใน
สัตวน์ ้ำ การตรวจคณุ ภาพน้ำ และการเพาะเล้ยี งสตั ว์นำ้ โดยกรมประมง
5) คลินกิ ชลประทาน ใหค้ ำปรึกษา แนะนำการบริหารจัดการนำ้ การพัฒนาแหล่งน้ำ และการให้น้ำแก่พืช
โดยกรมชลประทาน
6) คลนิ ิกสหกรณ์ ให้คำปรกึ ษา แนะนำการจัดตั้งสหกรณ์ การบริหารงานในสหกรณแ์ ละให้ความรู้ เกี่ยวกบั
ระเบียบปฏบิ ตั ติ ่างๆ เกีย่ วกบั สหกรณ์ โดยกรมส่งเสรมิ สหกรณ์
7) คลินิกบัญชี ให้คำปรกึ ษา แนะนำการจัดทำบญั ชฟี าร์ม บญั ชคี รวั เรือน โดยกรมตรวจบญั ชีสหกรณ์
8) คลินิกกฎหมาย ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานความรู้ด้านกฎหมายปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม
และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงาน การปฏิรูปที่ดิน
เพอื่ เกษตรกรรม
9) คลินิกข้าว ให้คำปรึกษา ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยโรคที่เกิดในข้าว การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูข้าว
การกำจัดวัชพืชในนาข้าว การลดต้นทุนการผลิตข้าว การใช้ข้าวพันธุ์ดี การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว การ
บริการตรวจรบั รอง GAP ขา้ ว การแปรรูปและการใชป้ ระโยชนจ์ ากขา้ ว โดยกรมการข้าว
10) คลินิกหม่อนไหม ให้คำปรึกษา แนะนำการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม พันธุ์หม่อนที่ควรปลูก การตัดแต่งกิง่
และการดูแลรักษาแปลงหม่อน การปอ้ งกนั กำจัดโรคและแมลงศัตรหู ม่อน การดแู ลรักษาผลหม่อนสุก และการทำชา
ใบหมอ่ น โดยกรมหม่อนไหม
11) คลินิกอื่น ๆ ได้แก่ คลินิกศูนยส์ ง่ เสริมเทคโนโลยีการเกษตรดา้ นอารักขาพืช คลนิ ิกศูนย์ ขยายพันธุ์พืช
คลินิกศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านวิศวกรรมเกษตร คลินิกศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การเกษตร (พืช

3

สวน)คลินิกศนู ยส์ ง่ เสรมิ และพฒั นาอาชพี การเกษตร (เกษตรที่สงู )คลนิ กิ ศูนยส์ ง่ เสริมเทคโนโลยีการเกษตร ดา้ นแมลง
เศรษฐกิจ คลินกิ ยางพารา คลินกิ เศรษฐกจิ การเกษตรและคลนิ กิ สาธารณสขุ ฯลฯ

ในปี 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เพิ่มเติมการให้บริการคลินิกด้านสุขภาพของเกษตรกร
โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการประกอบ อาชีพทางการเกษตร อาทิ การได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายจาก
สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น โดยให้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัด กระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่
เข้าร่วมเป็นอีกคลินิกหนึ่งในการให้บริการตรวจเลือดให้กับเกษตรกร เพื่อตรวจสารพิษตกค้างในร่างกาย พร้อมให้
คำแนะนำที่ถูกต้องในการป้องกันและรักษาโรคให้แก่เกษตรกร และการบริการอื่นๆ ตามความเหมาะสม ดังนั้น
ขอให้สำนักงาน เกษตรจังหวัด ดำเนินการประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้าร่วมดำเนินการภายใต้
โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ด้วย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุก
จงั หวดั สัง่ การใหห้ นว่ ยงานในพ้ืนทร่ี บั ทราบและเขา้ รว่ มสนับสนนุ โครงการ

5. วธิ ีการดำเนินงาน
5.1 ใหด้ ำเนนิ การตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตามมติท่ปี ระชมุ คณะกรรมการโครงการคลนิ ิกเกษตรเคลอื่ นท่ีในพระราชานเุ คราะห์ ฯ เมอ่ื วนั ที่ 4 ธันวาคม

2562 ดังนี้
1) ให้คณะกรรมการขบั เคลื่อนนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดบั จงั หวัด (Chief

of Operation) เปน็ ผูข้ ับเคล่ือนโครงการคลินิกเกษตรเคลอ่ื นที่ พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานตามแบบ สรปุ ผล
การให้บริการในแต่ละคร้ังให้ทราบ

2) ให้พิจารณาอำเภอที่มีปัญหาทางด้านการเกษตรหลากหลาย ต้องการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และ
เป็นความต้องการของเกษตรกร โดยบูรณาการและออกหน่วยให้บริการคลินิกเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาลงใน ระดับ
อำเภอ และให้พิจารณาจัดในศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นอันดับแรก หาก
สถานที่ไม่เหมาะสมให้พิจารณาพื้นที่ใกล้เคียงแทน ทั้งนี้จัดแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องครบทั้ง 11 คลินิก เน้นเฉพาะ
คลนิ ิกทมี่ ีปัญหาและหน่วยงานทีอ่ ยู่ในพ้ืนท่ี

3) ให้เน้นประชาสัมพันธ์การจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ทุกช่องทาง ก่อนการจัดงาน
อย่างน้อย 1 สัปดาหแ์ ละแจ้งใหผ้ ู้นำชมุ ชนในพน้ื ทป่ี ระชาสมั พันธ์งานให้ทราบอย่างท่ัวถงึ ทุกพ้ืนที่

5.2 ดำเนินการตามกระบวนการและข้นั ตอน
การดำเนินงานโครงการคลนิ ิกเกษตรเคลื่อนที่ ไดจ้ ดั แบง่ ช่วงเวลาการดำเนนิ การ ออกเป็น 4 ระยะ คอื การ
เตรียมการก่อนเปิดคลินิก การดำเนินงานระหว่างเปิดคลินิก การติดตามให้บริการต่อเนื่อง และการรายงานผลการ
ดำเนนิ งาน

1) การเตรียมการกอ่ นเปิดคลินกิ
1.1) การประชมุ คณะกรรมการ
ประชุมคณะกรรมการโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ระดับจังหวัด ร่วมกับหน่วยงาน

ต่างๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพืน้ ที่ เพื่อพิจารณาการจัดตัง้ หน่วยปฏิบัติงานคลินิกเกษตรเคล่ือนที่
ของเป้าหมาย การปฏบิ ตั ิงานโครงการ จัดทำปฏทิ นิ การเตรียมการ และมอบหมายผรู้ บั ผดิ ชอบ

1.2) การกำหนดพน้ื ท่ีตำบลปฏบิ ตั งิ าน
(1) การกำหนดพืน้ ทต่ี ำบลปฏบิ ตั งิ าน (ตำบลเป้าหมาย)

4

(2) ศกึ ษาวิเคราะห์ปัญหาของพ้นื ที่
(3) การคัดเลือกจุดที่ตั้งคลนิ กิ
1.3) การวางแผนการปฏิบัติงาน เช่น การวิเคราะห์จัดกลุ่มปัญหา โดยจัดประชุม
คณะกรรมการ ระดบั จงั หวดั เพื่อวเิ คราะหจ์ ัดกล่มุ ปญั หา การจดั เตรยี มผู้ปฏบิ ตั ิงาน กำหนดปฏทิ ินการปฏิบตั ิงาน
1.4) การประสานในระดบั พน้ื ที่
1.5) การเตรียมสถานที่ การจัดสถานที่สำหรับพิธีเปิดงาน จัดตั้งจุดรับบัตรคิวและ
ลงทะเบียน ของเกษตรกรและประชาสัมพันธ์บรเิ วณด้านหน้า สถานท่จี ัดคลนิ ิก การจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์
ประจำคลนิ ิก ปา้ ยตามประเภทของการให้บริการ
1.6) การเตรียมเกษตรกร จัดประชุมชี้แจงเกษตรกรให้ทราบถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน
กำหนดการ และขัน้ ตอนการใหบ้ รกิ าร การเตรียมตวั ในการเขา้ มารับบริการ เช่น การเตรยี มบตั รประจำตัวประชาชน
การเก็บตัวอยา่ ง (พชื ดิน สตั ว์ และนำ้ ) ท่มี ปี ัญหามารับบริการอยา่ งถูกตอ้ ง
1.7) การประชาสัมพนั ธ์ประชาสมั พนั ธ์ผา่ นทางหอกระจายขา่ วประจำหมู่บา้ น
2) การดำเนินงานระหว่างเปิดคลนิ ิก
2.1) การใหบ้ รกิ าร
(1) การรับบัตรคิว เกษตรกรลงทะเบียนเข้ารับบริการทางด้านการเกษตรทุก
สาขาที่จุดลงทะเบียน โดยรับ บัตรคิวที่มีตัวเลข 4 หลัก ณ จุดรับบัตรคิว เพื่อให้ทราบว่ามีผู้มารับบริการจำนวน
เท่าใด
(2) การลงทะเบียน เกษตรกรนำบัตรคิวและบัตรประจำตัวประชาชนยื่นต่อ
เจ้าหน้าที่รับลงทะเบียนเจ้าหน้าที่ จะใช้เลขที่ตามบัตรคิวเป็นเลขในการกำหนดลำดับที่ผู้มารับบริการตลอดการ
ใหบ้ ริการในครั้งนั้น โดยเจา้ หน้าท่ี จะสอบถามปัญหาและความต้องการมารับบรกิ ารของเกษตรกร บันทึกลงในบัตร
ทะเบียนประวัติการรับบริการ (แบบคลนิ กิ 01) และทำเครอ่ื งหมายแสดงคลินิกที่เกษตรกรจะไปรับบริการไว้ในแบบ
คลินิก 01 และฉีกสำเนาให้ กับเกษตรกรนำไปรับบริการตามคลินิกที่ระบุไว้ (3) การเข้ารับบริการ เกษตรกรเข้ารับ
บริการในแต่ละคลินิก หน่วยงานให้บริการคลินิกรับทราบปัญหาทางการเกษตร พร้อมให้คำแนะนำแก้ไขทางด้าน
วิชาการ โดยเจ้าหน้าที่ในแต่ละคลินิกจะต้องจัดทำบัตรรับบริการคลินิกเกษตร เคลื่อนที่ (แบบคลินิก 02) โดยต้อง
ระบุลำดับที่ผู้มารับบริการให้ตรงกับลำดับที่ในสำเนาของแบบคลินิก 01(เลข 4 หลัก) ที่เกษตรกรนำมาแสดง (หาก
เกษตรกรไม่มีสำเนาของแบบคลินิก 01 มาแสดงให้เกษตรกรกลับไปลงทะเบียน ณ จุดลงทะเบียนด้านหน้าก่อน)
(4) การบันทึกผลการให้บริการ การให้บริการเจ้าหน้าที่จะต้องบันทึกปัญหาที่เกษตรกรมาขอรับบรกิ าร และผลการ
ใหบ้ ริการลงในแบบคลนิ ิก 02 โดยฉีกสำเนาใหเ้ กษตรกรเก็บไว้เพ่อื ใช้ตดิ ตามผลและใหบ้ ริการต่อเน่อื ง สำหรับตัวจริง
ให้จดั เก็บไวท้ ี่หนว่ ยงานทใ่ี ห้บริการคลินกิ
2.2) การประเมนิ ผลการให้บรกิ าร
(1) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ดำเนินการประเมินผลการให้บริการ
คลินิก และประเมินผลทางด้านวิชาการ โดยการสัมภาษณ์เกษตรกร เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการคลินิก และการ
สงั เกตการณ์ ของเจา้ หน้าที่ประเมินผล เสรจ็ แล้วรายงานสำนักงานปลดั กระทรวงเกษตรและสหกร์ และสำเนาผลต่อ
กรมสง่ เสริม การเกษตร และสำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร

5

(2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ดำเนินการประเมินผลการจัดงานคลินิก
เกษตรเคลื่อนท่ี เพื่อเทิดพระเกียรติระดับประเทศ โดยการประเมินผลการให้บริการคลินิก และประเมินผลทางดา้ น
วชิ าการด้วยการ สมั ภาษณเ์ กษตรกร เจา้ หน้าทที่ ใ่ี หบ้ รกิ ารคลนิ ิก และการสังเกตการณข์ องเจ้าหน้าทป่ี ระเมินผล

3) การติดตามใหบ้ ริการต่อเน่ือง
การสรุปสภาพปัญหา สำนักงานเกษตรจังหวัดบันทึกข้อมูลบัตรทะเบียนประวัติ (แบบคลินิก 01)
และหนว่ ยงานทใี่ หบ้ ริการคลนิ ิกบนั ทึกข้อมูลบัตรรับบริการ (แบบคลินิก 02) เขา้ สู่ระบบข้อมลู คลินกิ เกษตรเคล่ือนท่ี
(https://clinickaset.doae.go.th/) หลังจากนั้น หน่วยงานที่ให้บริการคลินิกวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาของ
เกษตรกร ที่มารับบริการของแต่ละคลินิก โดยแยกเป็นปัญหารายบุคคลและปัญหาภาพรวมของพื้นที่ เพื่อให้
สำนักงานเกษตร จังหวัดและหน่วยงานที่ให้บริการคลินิกร่วมกันพิจารณาข้อมูลสภาพปัญหาของเกษตรกรเป็นราย
คลนิ ิก
4) การรายงานผลการดำเนนิ งานในระบบขอ้ มลู คลินิกเกษตรเคลื่อนท่ี
(https://clinickaset.doae.go.th/) ประกอบดว้ ย

4.1) การรายงานผลการให้บรกิ าร (บนั ทึกข้อมูลการให้บรกิ ารลงในแบบ 01, 02)
4.2) การรายงานผลการให้บริการต่อเนอ่ื ง (บนั ทกึ ข้อมูลการให้บรกิ ารลงในแบบ 05)

6. แผนปฏบิ ตั งิ าน

กิจกรรม/ข้นั ตอน ผ้รู ับผดิ ปริมาณ หน่วย ระยะเวลาดำเนนิ การ ปี 2563
ชอบ งาน วดั
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4

ตค. พย. ธค. มค. กพ. มีค. เมย. พค. มยิ . กค. สค. กย.

1. จดั ทำแผน/ประชมุ ชแ้ี จงเกษตรกร จงั หวัด 308 คร้งั

และประชาสัมพันธ์ วิธีการเก็บ

ตวั อยา่ ง พชื ดิน สัตว์ น้ำ พร้อมทั้ง

วิเคราะหป์ ัญหาทางดา้ นการเกษตรท่ี

ตอ้ งแก้ไขเร่งด่วน

2. จดั งานคลนิ กิ เกษตร ไตรมาสที่ 1 จงั หวัด 11,550 ราย

3. จดั งานคลนิ กิ เกษตร ไตรมาสที่ 2 จงั หวัด 11,550 ราย

4. จัดงานคลินิกเกษตร ไตรมาสที่ 3 จังหวดั 11,550 ราย

5. จัดงานคลินกิ เกษตร ไตรมาสที่ 4 จังหวดั 11,550 ราย

เน่อื งในวันเฉลมิ พระชนมพรรษาฯ

(28 กรกฎาคม)

6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ จงั หวดั

ส่งกรมสง่ เสริมการเกษตร

หมายเหตุ : กรมส่งเสรมิ การเกษตรมีแนวทางการจัดงานโครงการคลนิ ิกเกษตรเคลื่อนท่ี ปี 2563 โดยเล่ือน
การจัด งานในไตรมาสที่ 2 (บางจังหวัด) และไตรมาสที่ 3 ออกไปก่อน หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชอ้ื
โรค COVID – 19 คล่ีคลาย ใหไ้ ปจดั ในไตรมาสท่ี 4 โดยกำหนดเปน็ 2 แนวทาง ดังน้ี

1) แยกการจดั งานโครงการคลนิ ิกเกษตรเคล่อื นที่ ให้ครบจำนวนครงั้ (2 หรือ 3 คร้งั ก็ได)้ และครบเป้าหมาย
ในไตรมาสที่ 4

2) จัดรวมคร้งั เดียวในไตรมาสท่ี 4
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและบริหารจัดการของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ
โครงการคลินกิ เกษตรเคลอื่ นทใี่ นพระบรมราชานเุ คราะห์ฯ ระดบั จงั หวัด

6

7. ผลผลติ ผลลพั ธแ์ ละตวั ช้วี ัด
7.1 ผลผลติ
1) เกษตรกร 46,200 ราย ได้รับบรกิ ารวิชาการเกษตรและแกไ้ ขปัญหาพรอ้ มกันได้ ณ จุดเดยี ว
2) เกิดการบูรณาการระหว่างหนว่ ยงานทร่ี ว่ มดำเนินงาน ไม่น้อยกว่า 11 หนว่ ยงาน
7.2 ผลลพั ธ์
เกษตรกรที่มีปัญหาการประกอบอาชพี ด้านการเกษตรไดร้ บั บริการทางวิชาการและคำแนะนำใน การแก้ไข

ปัญหารวดเร็วทันเวลา เกิดผลตอบแทนและรายได้จากการประกอบอาชีพที่มั่นคง เกษตรกรยอมรับ และเกิดความ
เชื่อมนั่ ในการให้บริการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

7.3 ตัวช้ีวดั กระบวนงาน
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนการให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่และมีการ

ประชาสมั พันธ์ ใหเ้ กษตรกรทราบ
2) จังหวัดมกี ารจัดคลนิ ิก โดยมีเกษตรกรเขา้ รับบรกิ าร จำนวน 46,200 ราย
3) มกี ารติดตามการใหบ้ ริการตอ่ เนอื่ ง
4) โครงการมีข้อมูลความกา้ วหน้าและขอ้ มูลประเมินผลสัมฤทธิ์

***********************

7

แนวทางการตดิ ตามผลการดำเนินงาน
โครงการคลินิกเกษตรเคลือ่ นทีใ่ นพระราชานเุ คราะห์ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช ฯ สยามมกฏุ ราชกุมาร

ปีงบประมาณ 2564

การติดตามผลการดำเนินงานและการพัฒนาต่อเนื่อง (Follow up) โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ใน
พระราชานเุ คราะห์ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช ฯ สยามมกฏุ ราชกุมาร ปงี บประมาณ 2564 มีดังน้ี คือ

1. ลกั ษณะงาน
การติดตามผลการดำเนินงานและการพัฒนาต่อเนื่อง (Follow up) ผู้รับบริการคลินิกเกษตรแบบเบ็ดเสรจ็

และแบบต่อเนื่อง จากการจดั งานคลินกิ เกษตรเคล่อื นที่ ปี 2563

2. ผูร้ บั ผดิ ชอบ
- ศูนย์ประเมินผล (ศปผ.) จัดทำคู่มือแนวทางการติดตาม ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงาน

เสนอผู้บริหาร กษ.
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (สศท.2) ดำเนินการติดตาม และจัดเก็บข้อมูลโดยการสำรวจด้วย

ตัวอย่าง โดยบันทึกข้อมูลลงในตาราง Excel และสรุปผลการติดตามภาพรวมเป็นรายจังหวดั ส่งให้ ศปผ. ประมวล
ภาพรวมระดบั ประเทศ

3. ชว่ งเวลาในการติดตาม
ลงพื้นทตี่ ดิ ตามปีละ 1 คร้งั ในชว่ งไตรมาสท่ี 1 (ต.ค. 63 - ม.ค. 64)

4. จำนวนจังหวดั และจุดเป้าหมาย
เลือกติดตาม 3 จังหวัด จังหวัดละ 1 จุด รวม 3 จุด จากการจัดงานในปี 2563 โดยเลือกจุดจัดงานใน

ไตรมาสท่ี 4

5. ประชากรเป้าหมาย
1) เจ้าหนา้ ทีส่ ำนักงานเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอ
2) เกษตรกรที่ลงทะเบียนเข้ารับบริการแต่ละจุดของการจัดงาน ในปีงบประมาณ 2563 โดยเลือกจุดที่จัด

งานในไตรมาสท่ี 4

6. จำนวนตวั อยา่ งการตดิ ตามของแต่ละจงั หวัด
1) เจา้ หน้าท่สี ำนักงานเกษตรจงั หวดั สอบถามจังหวดั ท่ลี งพ้นื ท่ี จำนวน 1 แบบสอบถาม
2) เจา้ หนา้ ท่ีสำนกั งานเกษตรอำเภอ สอบถามอำเภอที่ลงพ้ืนท่ี จำนวน 1 แบบสอบถาม
3) เกษตรท่ีเขา้ รบั บริการ ให้สมั ภาษณเ์ กษตรกรท่ีเข้ารบั บริการเบ็ดเสรจ็ /ต่อเน่ือง โดยสุ่มเกษตรกรท่ีเข้ารับ

บรกิ ารในแต่ละคลนิ ิกรวมทัง้ สิ้น 60 ราย ดังน้ี
3.1) คลนิ ิกหลกั 9 คลินิก คลินิกละ 5 ราย รวมจำนวน 45 ราย
3.2) คลินิกอื่น ๆ (คลินิกหม่อนไหม คลินิกบริหารศัตรูพืช คลินิกพันธุ์พืชเพาะเลี้ยง คลินิกจักรกล

คลินิกพืชสวน คลินิกยางพารา คลินิกผึ้ง คลินิกเศรษฐกิจการเกษตร คลินิกสาธารณสุข ฯลฯ) จำนวน 3 คลินิก
คลินกิ ละ 5 ราย รวมจำนวน 15 ราย

สุ่มเลือกเกษตรกรจากเว็บไซต์ https://clinickaset.doae.go.th หรือข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัด
และเกษตรอำเภอ

8

7. ประเด็นและตวั ช้วี ดั ในการตดิ ตามเชงิ ลกึ (Follow Up)

ประเดน็ ตวั ชว้ี ดั
1) การบรกิ ารและแกไ้ ขปญั หาเกษตรกร
- ร้อยละของเกษตรกรที่รับบริการคลินิกฯความรู้/แนว
2) ด้านทศั นคติ ทางแกไ้ ขปญั หาไปใชป้ ระโยชน์
- ร้อยละของเกษตรกรที่ได้รับบริการมีปัญหาด้าน
การเกษตรลดลง
- ร้อยละของเกษตรกรที่ได้รับการติดตามแนะนำ
เพิ่มเตมิ หลังจากรับบรกิ ารคลินกิ เกษตร

- ความพงึ พอใจต่อการบรกิ ารคลนิ กิ เกษตร

8. แบบสอบถาม/ แบบสัมภาษณ์
แบบสอบถาม 1 ชุด สำหรับการสมั ภาษณเ์ กษตรกรท่ีถูกเลือกจาก 1 คลนิ กิ แต่ใหส้ อบถามข้อมูลทุกคลินิก

ที่เขา้ รับบรกิ าร

9. รายชือ่ เกษตรกร
เปิดดจู ำนวนเกษตรกรที่ลงทะเบียนเข้ารับบริการและรายชื่อเกษตรกรท่ีไดร้ ับบริการเบ็ดเสร็จ และต่อเนื่อง

ได้จากเว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร https://clinickaset.doae.go.th (Login : moac 10 Password : moac
10) หรือข้อมลู จากสำนกั งานเกษตรจังหวัด และสำนกั งานเกษตรอำเภอ

10. การส่งรายงานผล
1) ส่งบันทึกนำสง่ แบบสรุปผลการตดิ ตามการดำเนนิ งาน เป็นทางการให้ ศปผ.
2) ส่งแบบขอ้ มูลตาราง Tab และสรุปผลการติดตามภาพรวมเปน็ รายจงั หวดั ทาง Drive T
Drive T: ติดตามตอ่ เน่ืองคลินิกเกษตร/ส่งงานตดิ ตามคลนิ กิ เกษตร ปี 63
หรือ e- mail : [email protected]
การตัง้ ช่ือไฟล์
1) ขอ้ มลู ตาราง Tab (Excel) ตดิ ตาม ปี 63_ชื่อจังหวดั ตัวอย่าง ตาราง Tab ติดตาม ปี 63_พิษณุโลก
2) สรุปผลการดำเนินงาน (Word) สรปุ ผลการตดิ ตาม_ชื่อจงั หวดั ตวั อยา่ ง สรปุ ผลการตดิ ตาม_พิษณโุ ลก

11. กำหนดวนั ส่ง
สศท.2 ส่งขอ้ มูลตาราง Tab และรายงานให้ ศปผ. ภายในวนั ที่ 31 มกราคม 2564

แผนปฏิบตั ิงานการติดตามผลการดำเนินงาน (Follow up) โครงการคลนิ กิ เกษตรเคลอ่ื นท่ี ปี 2564

กิจกรรม กำหนดสง่ ผรู้ ับผิดชอบหลัก
31 ต.ค. 63 สศท.2
1. เลอื กจุด/จงั หวดั ตัวอยา่ ง แจง้ ศปผ. พ.ย. 63 - ธ.ค. 63 สศท.2
2. ลงพน้ื ท่ีตดิ ตาม และสำรวจขอ้ มลู แต่ละจงั หวัด 31 ม.ค. 64 สศท.2

3. บนั ทึกข้อมลู ส่งตาราง Tab และสรปุ ผลการ ก.พ. - เม.ย. 64 ศปผ.
ติดตามภาพรวมเปน็ รายจังหวดั ให้ ศปผ.

4. ประมวลผลข้อมลู ระดับประเทศ/จดั ทำรายงาน
เสนอผ้บู ริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

9

12. ผปู้ ระสานงาน
ว่าที่ ร.ต.นัตฐวุฒิ พรมสวุ รรณ ตำแหนง่ เศรษฐกรชำนาญการ โทร. 092-420-4422
นางยพุ า ต่ายธานี ตำแหน่งนักวิเคราะหน์ โยบายและแผน โทร. 081-493-5134
ศูนย์ประสานงานโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ
โทรศัพท์ 0-2579-8267 ภายใน 192 และ IP phone: 3011
Group Line ชอ่ื คลนิ ิกเกษตร (สศก.)

หมายเหตุ สำหรับการจัดนิทรรศการคลินิกเศรษฐกิจการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2
ให้จัดอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี (เลือก 1 จังหวัด) โดยให้เน้นการจัดงานคลินิกเกษตร ไตรมาสที่ 4 เนื่องในวันเฉลิมพระ
ชนมพรรษาฯ (28 กรกฎาคม) ถ้า สศท.2จะให้มีเพ่มิ การจัดนิทรรศการคลนิ ิกเศรษฐกิจการเกษตรมากกวา่ 1 ครั้ง/ปี
ครง้ั ที่ 2 หรอื ครง้ั ตอ่ ไป จะเลือกไตรมาสท่เี ท่าไร หรอื จังหวัดไหนก็ได้

***********************

10

จดั ทำโครงร่างและแบบสอบถาม ศปผ.
นำเสนอคณะกรรมการฯ สศท.2

ช้ีแจงรายละเอยี ดโครงการ
โดย Video conference

จัดนิทรรศการคลินิกเศรษฐกจิ การเกษตร การตดิ ตามผลการดำเนินงาน
(จดั อยา่ งนอ้ ย 1 ครงั้ /ป)ี (Follow up)

เลือกพืน้ ทสี่ ำรวจ 3 จังหวัด
แจง้ ศปผ.

จดั ทำเฟรมเกษตรกรจาก
เว็บไซต์กรมส่งเสรมิ การเกษตร หรือ
ข้อมลู จากสำนกั งานเกษตรจงั หวดั

และสำนักงานเกษตรอำเภอ
(Follow up)

สุ่มตวั อยา่ งเกษตรกร
ทั้ง 3 จงั หวัด

เจ้าหนา้ ทล่ี งพื้นที่สำรวจขอ้ มลู

เจา้ หน้าทีส่ ำรวจ
บรรณาธิกร (Editing) ข้อมลู

แกไ้ ข
บนั ทึกขอ้ มูลลงใน
ตาราง Excel

ประมวลผล/วิเคราะห์ขอ้ มลู

เขียนรายงานสรปุ ผลการตดิ ตาม
ภาพรวมเป็นรายจงั หวดั

สง่ รายงานสรปุ และข้อมลู ตาราง
Excel ให้ ศปผ.

ข้ันตอนการติดตามผลการดำเนินงาน
โครงการคลินกิ เกษตรเคล่อื นทใ่ี นพระราชานเุ คราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกฏุ ราชกมุ าร

ปงี บประมาณ 2564

11

การเขียนสรปุ ผลการติดตามผลการดำเนนิ งาน
โครงการคลินิกเกษตรเคลือ่ นที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช ฯ สยามมกฏุ ราชกุมาร

ปีงบประมาณ 2563

การเขยี นสรุปผลการติดตามผลการดำเนนิ งาน โครงการคลนิ กิ เกษตรเคล่ือนที่ในพระราชานเุ คราะห์ สมเด็จ
พระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมาร ปีงบประมาณ 2563 เป็นการเขียนรายงานแบบไม่แยกบท โดยเขียน
ส่วนเนื้อหาอย่างเดียว โดยนำข้อมูลผลการดำเนินงานนำมาวิเคราะห์ สรุปผลการประเมิน ปัญหาอุปสรรค และ
ขอ้ เสนอแนะ มีรายละเอยี ด ดังนคี้ อื

การเขียนรายงานสรปุ

1) ปก ประกอบด้วยปกนอกหรอื ปกหนา้ ประกอบด้วย

- ชื่อเรื่อง ปีที่เก็บข้อมูล จังหวัดที่สำรวจข้อมูล ตัวอย่างเช่น “ สรุปผลการติดตามผลการ
ดำเนินงานโครงการคลินิกเกษตรเคล่ือนท่ีในพระราชานุเคราะห์ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมาร
ปีงบประมาณ 2563 จังหวัดสุโขทัย ”

- ชื่อหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น “ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 2 พิษณุโลก สำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ”

2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เน้นความถูกต้อง น่าสนใจ เข้าใจง่าย และแปลผล
การวเิ คราะหข์ อ้ มูลโดยไม่แสดงความคดิ เห็นเพ่มิ เตมิ และมีสรปุ ผลการประเมิน ปัญหา และขอ้ เสนอแนะ

ตัวอยา่ งการเขยี นผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล เชน่
1. การรับบรกิ ารคลนิ ิกเกษตรเคลื่อนทฯี่ แบบเบ็ดเสร็จ

1.1 ข้อมลู พน้ื ฐานของเกษตรกร
1.2 การรบั บรกิ ารคลินกิ เกษตรและการนำความรไู้ ปใชป้ ระโยชน์ มดี งั นี้ คือ

1.2.1 คลินิกพืช
1.2.2 คลนิ กิ ดิน
1.2.3 คลินิกปศุสตั ว์
1.2.4 คลนิ กิ ประมง
1.2.5 คลนิ ิกขา้ ว
1.2.6 คลินกิ ชลประทาน
1.2.7 คลินกิ บัญชี
1.2.8 คลนิ ิกสหกรณ์
1.2.9 คลนิ กิ กฎหมาย (ส.ป.ก.)
1.2.10 คลินิกอ่ืนๆ มดี ังน้ี คือ

1) คลินกิ หม่อนไหม
2) คลินกิ จกั รกลการเกษตร
3) คลนิ ิกผง้ึ
4) คลนิ ิกสาธารณสขุ
5) คลินกิ เกษตรจงั หวดั
6) คลินิกสำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร
7) คลนิ ิกเกษตรและสหกรณจ์ ังหวัด

12

8) คลนิ กิ พฒั นาอาหารสัตว์
9) คลินิกอารกั ขาพืช
10) คลนิ ิก กศน.
11) คลินิก ธ.ก.ส.
2. ระดบั ความพงึ พอใจทม่ี ตี ่อการให้บริการคลนิ กิ เกษตรเคล่อื นที่
3. ผลท่ไี ด้รบั ภายหลังบริการคลนิ กิ เกษตรเคลื่อนท่ี ฯ
3.1 การนำความรทู้ ่ีได้รับจากคลินิกเกษตรไปเผยแพร่/ถา่ ยทอดให้ลูกหลาน ญาตพิ ี่นอ้ ง เพื่อนบ้าน
3.2 ความร้ทู ่ีได้รบั จากการชมนิทรรศการ/การสาธติ และการส่งเสรมิ อาชีพไปปฏบิ ตั ิ
3.3 ความต้องการให้จดั งานคลนิ ิกเกษตรเคลื่อนที่ ฯ
3.4 ปัญหาทจี่ ะนำมาปรึกษาในการเขา้ รับบริการคลนิ กิ เกษตรเคลอ่ื นท่ี ฯ ในครั้งตอ่ ไป
4. ปัญหาอปุ สรรค และขอ้ เสนอแนะ
4.1 ปญั หาอปุ สรรค
4.2 ข้อเสนอแนะ

***********************

13

บรรณานุกรม

คมู่ อื การดำเนนิ งานโครงการปีงบประมาณ พ.ศ.2563 (ฉบับแก้ไข), [ออนไลน]์ เขา้ ถึงจาก
http://www.royalagro.doae.go.th/wp-content/uploads/2020/04คู่มือคลนิ ิก-ปี-63-ฉบบั แก้ไข.pdf

ศนู ย์ประสานงานโครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำริ สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร . 2564. แนวทางการ
ติดตามประเมนิ ผล โครงการคลนิ ิกเกษตรเคลอื่ นที่ ปี 2564

สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 2 สำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร . 2564. สรปุ ผลการติดตามผลการดำเนินงาน
โครงการคลนิ กิ เกษตรเคล่ือนท่ีในพระราชานเุ คราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ปี 2563 จังหวดั สโุ ขทยั


Click to View FlipBook Version