The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ดร.พิมเรา เอ็มเบดการ์ รามจิ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 32798, 2022-12-23 09:23:47

ดร.พิมเรา เอ็มเบดการ์ รามจิ

ดร.พิมเรา เอ็มเบดการ์ รามจิ

ดร.พิมเรา เอ็มเบดการ์ รามจิ

(Dr. Bhimrao Ambedkar Ramji)

สุทธดา พูลกลั่น ม.5/2 เลขที่ 7

ประวัติ

ดร. ภีมราว รามจี อามเพฑกร หรือบางครั้งนิยมทับศัพท์เป็น "เอมเบดการ์"
หรือชื่อเต็มของท่าน คือ บาบาสาเฮบ พิมเรา รามจิ เอมเบดการ์ เดิมมีชื่อว่า พิม
เกิดในวรรณะจัณฑาล ซึ่งยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์

รัฐมหาราษฎร์ แม้ท่านจะเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน แต่บิดาของท่านก็
พยายามส่งเสียจนจบชั้นมัธยม แต่ในระหว่างเรียนนั้นท่านต้องเผชิญกับการดู
หมิ่นเหยียดหยามของทั้งครู และนักเรียนซึ่งเป็นคนในวรรณะสูงกว่าซึ่งเป็นความ

น่าเจ็บช้ำใจยิ่งนัก

จนกระทั่งมีครูคนหนึ่ง อยู่ในวรรณะพราหมณ์ แต่เป็นผู้มีความเมตตาผิดกับ
คนในวรรณะเดียวกัน เกิดจิตคิดสงสาร บางครั้งครูท่านนี้ก็จะแบ่งอาหารของตน
ให้กับพิม ครูท่านนี้คิดว่า เหตุที่พิมถูกรังเกียจนั้นมากจากนามสกุลของเขาที่บ่งชี้
ถึงความเป็นจัณฑาล คือ "สักปาล" ครูท่านนี้จึงได้เอานามสกุลของตน เปลี่ยนให้
กับพิม โดยแก้ที่ทะเบียนโรงเรียน ให้ได้ใช้นามสกุลว่า "เอมเบดการ์" พิมจึงได้

นามสกุลใหม่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้หลายคนคิดว่าพิม
เป็นคนในวรรณะพราหมณ์



ในขณะนั้น มหาราชาแห่งเมืองบาโรดา ปรา
รถนาจะยกระดับการ
ศึกษาแม้คนระดับจัณฑาล จึงได้มีนักสังคมสงเคราะห์พาพิม เอม
เบดการ์ เข้าเฝ้า พระองค์ทรงพระราชทานเงินทุนในการศึกษาต่อ
ทำให้พิมสามารถเรียนจนจบปริญญาตรีได้ ต่อมาพระองค์ ยังทรง

คัดเลือกนักศึกษาอินเดียซึ่งรวมถึงพิม ให้ไปเรียนต่อยัง
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

พิมเรียนจนจบการศึกษาขั้นปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์
ได้เป็นเนติบัณฑิตแห่งอังกฤษ และได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ทางด้าน

กฎหมาย จนมีชื่อว่า “ดร.พิม เอมเบดการ์”

และหลังจากเดินทางกลับมาอินเดีย ท่านก็ได้พยายามต่อสู้เพื่อคนใน
วรรณะเดียวกันกับความอยุติธรรม ที่สังคมฮินดู ยัดเยียดให้กับคนในวรรณะ
ต่ำกว่า ท่านมีผลต่อความเคลื่อนไหวหลายๆอย่างในอินเดียขณะนั้น เช่น เป็น
จัณฑาลคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม คอย
ช่วยคนวรรณะต่ำที่ถูกข่มเหงรังแก หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช ก็เป็นผู้

ร่วมร่างรัฐธรรมนูญของอินเดียด้วย

ดร.เอมเบดการ์ นั้นยังผูกพันต่อพระพุทธศาสนาอย่างมาก โดยเริ่มเกิด
ความสนใจมาจากการอ่านพุทธประวัติ ท่านศึกษาแล้วพบว่า พระพุทธ
ศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่มีข้อรังเกียจในเรื่องวรรณะ ไม่ปิดกั้นการศึกษา
พระธรรม ให้ความเสมอภาค และภราดรภาพแก่คนทุกชั้น ทำให้ท่านเกิด

แรงศรัทธาอย่างแรงกล้า

ในขณะนั้น อินเดียมีชาวพุทธน้อยมาก แทบไม่เหลือ แต่ท่านได้กระทำ
คุณูปการต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งใหญ่ในการเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
คือการเป็นผู้นำชาวพุทธวรรณะศูทรกว่า ห้าแสนคน ปฏิญาณตนเป็น

พุทธมามกะ ในงานฉลองพุทธชยันตี

ท่านได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนา
ฮินดู แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน"

ผลงาน

ด้านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

- เป็นจัณฑาลคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
และหลังจากอินเดียได้รับเอกราช ท่านก็ได้มีบทบาทนำในการร่างรัฐธรรมนูญ
เพื่อการปฏิวัติทางสังคม ด้วยการ ประกันและคุ้มครองสิทธิพลเมือง การยกเลิก
วรรณะจัณฑาลเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสและลด ความเหลื่อมล้ำในสังคม

- ดร. เอ็มเบดการ์ ได้ทำการต่อสู้เพื่อสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและศาสนา จน
สำเร็จและสามารถทำให้คนในวรรณะจันฑาลมีความเสมอภาพกับคนในวรรณะ
อื่น ในทุก ๆ ด้าน แต่อย่างไรก็ดีสังคมอินเดียในปัจจุบันโดยทางนิตินัยนั้นถือว่า
มีความเท่าเทียมกัน แต่ในทางพฤตินัยยังมีการแบ่งชั้นวรรณะกันอยู่เรื่อยมา

ด้านพระพุทธศาสนา

- ดร. เอ็มเบดการ์ ถือว่าเป็นบุคคลแรกของอินเดียที่ได้นำเอา
พระพุทธศาสนากลับมาสู่มาตุภูมิ (ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนา)
โดยตัวท่านเองในเบื้องแรกนั้นนับถือศาสนาพราหมณ์ ต่อมาจึง
เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ท่านได้เข้าพิธีอย่างเป็นทางการ
และท่านได้ยกย่องพระพุทธศาสนาว่า เป็นศาสนาที่สร้าง
สันติภาพให้แก่โลก เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เป็น
ประชาธิปไตย ให้ความเสมอภาค ภราดรภาพ และยกย่องความ
เป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

คุณธรรม

มีความอดทนเป็นเลิศ

การอดทนต่อความลำบากทางกาย เช่น ทนหิว ทนร้อน ทนกระหาย ทนต่อ
ความเจ็บปวด ในตอนที่ท่านยังศึกษาที่ประเทศอินเดียอยู่และโดนคุณครู

และนักเรียนที่มีชนชั้นสูงกว่ากลั่นแกล้งและรังแก เช่น เมื่อเข้าไปใน
ห้องเรียน ทั้งครูและเพื่อนๆ จะแสดงอาการขยะแขยง รังเกียจ ไม่ได้รับ

อนุญาตให้ไปนั่งบนเก้าอี้ในห้องเรียน เป็นต้น



การอดทนอดกลั้นต่อการถูกกระทบกระทั่งด้านอารมณ์ คือ
ท่านเป็นผู้อดทนต่อความลำบากทางใจ เช่น ทนต่อภาวะกลืนไม่

เข้าคายไม่ออก ทนต่อเสียงติฉินนินทา ด่าว่าประชด
ทนต่อสภาพแวดล้อมที่น่าอึดอัดและน่าเบื่อหน่าย และทนต่อ
การยั่วเย้า ดังจะเห็นได้จากการต่อสู้เพื่อสิทธิทางศาสนาของ
จัณฑาลในศาสนาฮินดู โดยจัดตั้งขบวนการสัตยาเคราะห์ หรือ

การต่อสู้โดยสันติวิธี เรียกว่า แบบวิธีการต่อสู้ของประชา
เป็นการต่อต้านความอยุติธรรม และผู้มีอำนาจ การไม่เชื่อฟังรัฐ
การฝ่าฝืนกฎตามจารีตประเพณีที่ห้ามจัณฑาลเข้าไปสู่วิหารของ

ศาสนาฮินดู ดร.อัมเบดการ์ ได้เข้าไปในวิหารเขตอัมราวติ
เป็นเหตุให้ถูกทำร้ายและถูกจับกุมไปหลายคน และเขาได้
ประกาศเผาคัมภีร์มนูสัมฤติต่อที่สาธารณ์จากเหตุการณ์ดัง
กล่าว ได้สะท้อนภาวะความเป็นผู้มีความอดทนอดกลั้น
อดทนต่อแรงเสียดทานหรือการก่นด่า แต่ท่านก็ยังคงยืนหยัด

ไม่ท้อถอย

คุณธรรม

การอดทนอดกลั้นต่อสิ่งล่อใจ กล่าวคือ ท่านอดทนในด้านจิตใจ คือ การห้ามจิตใจ
ไม่ให้ไหลไปตามกระแสแห่งอำนาจฝ่ายต่ำ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
เนื่องจากท่าน ดำรงตำแหน่งทางด้านการเมืองที่ให้คุณให้โทษ หากถ้าท่านเป็นผู้
ที่จิตใจไม่เข้มแข็งย่อมเป็น ผู้ไหลไปตามกระแสแห่งกิเลส ดร.เอมเบดการ์ ต้อง
อดทนเผชิญและฟันฝ่าต่อความยากลำบาก มากมาย แสดงให้เห็นถึงความอดทน
และตั้งใจของท่าน โดยเฉพาะต้องตกต่ำคับขัน มีสติ อดกลั้น คิดอุบายใช้ปัญญา
หาทางแก้ไข ไม่ใช้การทำร้ายซึ่งกันและกัน มีความอดทนต่อการ ตำหนิติเตียน
ต่อการพูดส่อเสียดเยาะเย้ยถากถาง วางตนหนักแน่น ยึดมั่นในความยุติธรรม ไม่

เอนเอียงหวั่นไหวเพราะลาภสักการะ

ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
ดร. เอ็มเบดการ์ ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักใน

การปฏิวัติระบบวรรณะในสังคมอินเดีย อย่างที่ท่านได้
ประกาศไว้ว่า ระบบวรรณะนั้นมีความบกพร่องที่ใครเกิดมาใน
ชนชั้นเลวผู้นั้ นก็จะเลวตลอดไปแต่ศาสนาพุทธนั้ นดูที่การก
ระทำ ยาจกก็สามารถยกตัวขึ้นเป็นมหาเศรษฐีได้หากมีความ
เพียรพยายาม และท่านได้ใช้หลักธรรมะในการนำการเมือง
ของอินเดีย สมัยต่อสู้เอกราชจากประเทศอังกฤษ โดยท่านได้
เป็นผู้นำของรัฐสภาผู้ร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย เป็นบุคคล
แรกที่นำเอาพระพุทธศาสนากลับมาสู่มาตุภูมิ จึงทำให้เป็นที่
ศรัทธาของชาวอินเดียทั่วไป จนกลับใจหันมานับถือพระพุทธ

ศาสนาตามอย่างท่านรวมเป็นจำนวนหลายล้านคน

คุณธรรมทีพบ

ความกล้าหาญ
จากการที่ท่านได้กระทำคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาโดยการเอา

ชีวิตเป็นเดิมพัน คือการเป็นผู้นำชาวพุทธวรรณะศูทรกว่า
ห้าแสนคน ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ในงานฉลองพุทธชยันตี
และมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงและต่อสู้กับวัฒนธรรมของชาว

ฮินดูกับความอยุติธรรมที่สังคมฮินดูมีต่อผู้ที่วรรณะต่ำกว่า
โดยเรียกร้องให้เกิดการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม มีความยุติธรรม

และความเสมอภาค

ความเสียสละ
ท่านเสียสละเวลาต่อสู้ให้กับกลุ่มจัณฑาลซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับโอกาสให้
ปรับปรุงหรือพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้มากนัก โดยการนำพาคนจัณฑาลเพื่อ
เป็นการยืนยันสิทธิต่างๆ ในสังคม และเสียสละผบประโยชน์เล็กน้อยของ
ตนเองเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ และเสียสละเพื่อความสุขของคน

ส่วนใหญ่ นอกจากนี้ท่านยังเสียสละทรัพย์ของตนเองเพื่อประโยชน์ของ
ส่วนรวมอีกด้วยและพร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความ

ต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือและช่วยเหลือผู้อื่น

แหล่งที่มา

dmctv. (มปป.). ประวัติ ดร.เอมเบดการ์. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565,
จาก https://www.dmc.tv/page_print.php?p=latest_update/India_Embetgar.html
พานิชพล มงคลเจริญ. (2552). ดร.อัมเบดการ์ ผู้ที่ชาวพุทธควรยกย่อง.
ดร.อัมเบดการ์ ผู้ที่ชาวพุทธควรยกย่อง
จาก http://krooair.blogspot.com/2009/08/blog-post_25.html
.ดร. เอ็มเบดการ์ (Dr. Ambedkar) - บุคคลต้นแบบ. (มปป.). ดร. เอ็มเบดการ์ (Dr.
Ambedkar). สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565,
จาก https://sites.google.com/site/bukhkhltnbaeb/
กฤษณะ ถาวร , พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, ดร. (มปป.). บทบาทการเสริมสร้าง
สันติภาพของ ดร. อัมเบดการ์ ตามหลักพุทธสันติวิธี The Peace Strengthening Role
of Dr. Ambedker according to the Buddhist Peaceful Means.
สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565,
จาก file:///Users/ison/Downloads/mcuojs,+Journal+manager,+17-
%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%20(1).pdf


Click to View FlipBook Version