The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อธิบายเกี่ยวกับเรื่องบูญกฐิน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by w.wanna25132513, 2021-10-11 06:32:45

เรื่องบุญกฐิน

อธิบายเกี่ยวกับเรื่องบูญกฐิน

Keywords: บูญกฐิน

ฮี ตบ่ให้หมองครองบ่ให้
เศร้า

เว้านำเรื่องบุญกฐิน

ผู้จัดทำ
นายณัฐวุฒิ สรวงศิริ

การงานนี้ อุปสรรคแสนหมู่
เกิดเป็น คนต้องสู้ อย่าถอยร่นหลีกหนี

แปล เกิดเป็นคนต้องหนักเอาเบาสู้

ที่มาผญา
พ่อครูดอทคอม

คำนำ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book ) เรื่องฮีตบ่ให้หมองครองบ่ให้เศร้าเว้านำเรื่องบุญ
กฐิน จัดทำขึ้นตามกิจกรรมการเรียนการสอนวิชา นวัตกรรม เทคโนโลยีและการสื่อสาร
ทางการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำ
ความรู้จากการศึกษาเรื่องบุญกฐินและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับบุญกฐิน ไม่ว่าจะเป็น
ประวัติความเป็นมา คำว่ากฐินคือ กฐินมีกี่ประเภท การทอดกฐินทำอย่างไร พิธิการก
รานกฐินเป็นแบบไหน สามารถศึกษาจากหนังสือเล่มนี้ได้เลย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่จะทำให้ผู้ที่
สนใจศึกษาค้นคว้า ในเรื่องบุญกฐิน ได้รับความรู้ตามที่สนศึกษาอย่างยิ่ง

ณัฐวุฒิ สรวงศิริ
3 ตุลาคม 2563

เสี ยงพิณเพลงบรรเลงขึ้น รถทัวร์เริ่มออกแล่น
ไปฮอดแดนที่วัดตั้ง พระสั งฆเจ้าเพิ่นถ้าคอง

จองกฐินวัดใดไว้ กะต้องไปทานทอด
แห่ไปจอดวัดนั้น ให้ทันมื้อที่กล่าวจอง
ยกสองมือใส่ เกล้า ก้มกราบถวายกฐิน
แล้วหลั่งรินษิโณทก อธิษฐานแบ่งบุญให้

ผู้ที่ตายไปแล้ว และยังมีชีวิตอยู่



ที่มาผญา
พ่อครูดอทคอม

สารบัญ

เนื้อหา หน้า

คำนำ ข
สารบัญ 1

ประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญกฐิน 2
3
ความหมายของคำว่ากฐิน 3
3
การทอดกฐิน 4
เขตกำหนดทอดกฐิน 4
ประเภทของกฐิน 4
5
การจองกฐิน 6
การนำกฐินไปทอด 6
6
การทอดกฐิน
คำถวายกฐิน 7
ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทอดจะทำอย่างไร 8
จองกฐิน 8
การถวายผ้ากฐิน 9

พิธีกรานกฐิน 11
12
อานิสงส์กฐินสำหรับพระ

อนิสงส์กฐินสำหรับผู้ทอด

หมายเหตุ
- จุลกฐิน
- ธงจรเข้

อ้างอิง

ประวัติส่วนตัว

ประวัติความเป็นมาของ 1
ประเพณีบุญกฐิน

ประวัติของกฐินนั้นมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา
ประมาณ ๓๐ รูป มีความประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทะเจ้า ณ
เมืองสาวัตถี จึงพากันเดินทางจากเมืองปาฐาไปสาวัตถีแต่
พอไปถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ในระยะทางอีก ๖ โยชน์ จะถึงสา
วัตถี ก็เผอิญถึงวันเข้าพรรษาภิกษุเหล่านั้นจะเดิน

ทางต่อไปไม่ได้ จึงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต ในระหว่างจำพรรษามีความร้อนรนอยากเฝ้า
พระพุทธเจ้าโดยเร็ว พอออกพรรษาก็ออกเดินทางจากเมืองสาเกต ในเวลานั้นฝนยังตกมากอยู่ ทาง
เดินก็เป็นโคลนตมเปรอะเปื้ อน เมื่อมาถึงเมืองสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบ
ความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำพิธีกรานกฐิน ในระยะเวลาภายหลัง
วันออกพรรษาแล้วไป ๑ เดือน ภิกษุที่ได้ทำพิธีกรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือความยกเว้นใน
การผิดวินัย ๕ ประการ เป็นเวลา ๔ เดือน (หมดเขตในวันเพ็ญเดือนสี่) อานิสงส์หรือความยกเว้นทั้ง ๕
ประการนั้น คือ

๑. เข้าบ้านได้โดยไม่ต้องลาภิกษุด้วยกัน
๒. เดินทางโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย

๔. เก็บอาหารที่ยังไม่ต้องการใช้ ไว้ได้
๕.ลาภที่เกิดขึ้นให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้น ซึ่งได้กรานกฐินแล้ว

ที่กล่าวนี้เป็นประวัติของกฐิน ซึ่งเก็บความจากพระบาลี แต่ข้อความที่กล่าวข้างต้นนี้ยังเข้าใจ
ยาก และไม่แลเห็นว่าเหตุผลเนื่องถึงกันอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องอธิบายขยายความสักเล็กน้อย

ตามหลักวินัย ภิกษุจะเข้าบ้านต้องบอกลากัน จะเดิน
ทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบชุดเวลาฉันอาหารต้อง
นั่งเรียงกัน จะล้อมวงกันไม่ได้ จึงที่เหลือใช้เก็บไว้ได้
เพียง ๑๐ วัน ลาภที่เกิดขึ้นต้องให้แก่ภิกษุผู้มีอาวุโส
คือที่บวชนานที่สุด ข้อบังคับเหล่านี้ ย่อมเป็นความ
ลำบากแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก เช่นการเข้าบ้าน
ต้องบอกลากันเสมอไปนั้น ถ้าเผอิญอยู่คนเดียว ไม่มี
ใครจะรับลา ก็เข้าบ้านไม่ได้ การเดินทางต้องเอาไตร
จีวรไปให้ครบ หมายความว่าต้องเอาผ้านุ่งห่มไปให้

ครบชุด คือ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ
(ผ้าซ้อนผ้าห่ม)

ในครั้งก่อน ภิกษุไม่มีโอกาสได้ผ้าบางเนื้อละเอียดอย่างสมัยนี้เสมอไป ถ้าไปได้ผ้าเปลือกไม้หรือ
ผ้าอะไรชนิดหนา การที่จะนำเอาไปด้วยนั้นไม่เป็นการง่าย ภิกษุ ๓๐ รูปที่เดินทางมาเฝ้า

พระพุทธเจ้า ก็ได้รับความลำบากในเรื่องนี้มาแล้ว การห้ามฉันอาหารล้อมวง และบังคับให้นั่ง
เรียงกันฉันอาหารนั้น ถ้ามีอาหารน้อยก็ทำความลำบาก เราทราบอยู่แล้วว่าการรับประทานแยก

กันย่อมปลีกอาหารมากกว่าการรับประทานรวมกัน เรื่องนี้ภิกษุ ๓๐ รูป

2

ที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็คงได้รับประสบความลำบากเรื่องนี้มา ในระหว่างทางเหมือน
กัน เรื่องจีวรที่ไม่ต้องการใช้นั้น ในชั้นเดิมเป็นความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า ที่จะไม่ให้พระภิกษุ
เก็บสะสมทรัพย์สมบัติ ถ้ามีอะไรเหลือใช้ จะเก็บไว้ไม่ได้ ต้องให้คนอื่นเสีย โดยเฉพาะเรื่องจีวรนี้มี
บัญญัติว่า ถ้ามีจีวรเหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน พัน ๑๐ วันไปแล้วต้องสละให้คนอื่นไป ถ้าจะไม่
สละต้องทำพิธี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า “วิกัป” คือไปทำความตกลงกับภิกษุอีกรูปหนึ่งให้เป็น
เจ้าของจีวรด้วยกัน แล้วมอบให้ตนเก็บไว้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “อธิษฐาน” คือถ้าจีวรที่เหลือใช้นั้น
ใหม่กว่าของที่ใช้อยู่ ก็เอามาใช้เสีย แล้วสละของเก่าให้คนอื่นไป

ความหมายของคำว่ากฐิน
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัย
โบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่
อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวร
ในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกที
เดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร

พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้
สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วยภิกษุ
สามเณรอื่นๆก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวรอุ
บาส อุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวาย
พระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็น
ประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา
ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์(ไม่
เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัย
ไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้

3
การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์
อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบ
หมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น

เขตกำหนดทอดกฐิน
การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ
ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือ
วันลอยกระทงนั้นเอง ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอด
กฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่าง

ระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐินแต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายก
ผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอด
กฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษะรับไว้ก่อนได้
ประเภทของกฐิน

การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว
ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ

จุลกฐิน การทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุก
ฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่ น
กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้ว
ทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น

มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจำนวน
มากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัด คือทำ
นวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกัน
ว่า กฐินสามัคคี

กฐินหลวง คือ กฐินที่ทอดถวายแก่สงฆ์จำพรรษาในวัดหลวงที่
กำหนดไว้ ๑๖ วัด แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

๑.พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายด้วย
พระองค์เอง เรียกว่า กฐินหลวง หรือ กฐิน เสด็จพระราชดำเนิน
๒.พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ หน่วยงานราชการ
หรือ ประชาชนที่กราบบังคม
ทูลของพระราชทานไปทอดที่วัดหลวงแทนพระองค์ เรียกว่า กฐินพระราชทาน

กฐินราษฎร์ คืออ กฐินที่ราษฎร์ หรือชาวบ้านทั่วๆ ไป
จัดการทอดกันเองที่วัดราษฎร์ เช่น วัดในหมู่บ้าน อาจมีเจ้า
ภาพเพียงคนเดียว เรียกว่า "เจ้าภาพกฐิน" ก็ได้ หรืออาจ
รวมกันเป็นหมู่คณะร่วมกันที่เรียกว่า "กฐินสามัคคี" ก็ได้ แม้
การทอดจุลกฐินก็นับเป็นกฐินสามัคคีเช่นกัน

กฐินโจรนั้น เป็นสำนวนพูด หมายถึงกฐินที่ไปทอดโดยไม่ได้
จองล่วงหน้า ไปทอดแบบจู่โจม เรียกว่า "กฐินจร" ก็มี

ทั้งนี้ในการทอดกฐินทั่วๆ ไป มีธรรมเนียมว่าต้องจองกฐินล่วงหน้า การที่จัดเครื่องกฐินพร้อมสรรพ
แล้วนำไปทอดที่วัดยังไม่มีผู้จองกฐินทันทีทันใดแบบจู่โจม หรือบอกกะทันหันแบบตั้งตัวไม่ทันเหมือน
โจรบุกขึ้นบ้าน จึงเรียกว่า "กฐินโจร" หรือ "กฐินจร" เพราะเป็นกฐินที่จรมาโดยไม่มีการนัดหมาย

การจองกฐิน 4

วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมทำเป็นหนังสือจองกฐินไปติดต่อประกาศไว้ยังวัดที่จะทอดถวาย เป็นการเผดียง

สงฆ์ให้ทราบวันเวลาที่จะไปทอด หรือจะไปนมัสการเจ้าอาวาสให้ทราบไว้ก็ได้

สำหรับการขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามหลวงให้แจ้งกรมการศาสนา เพื่อขึ้นบัญชี

ไว้กราบบังคมทูลและแจ้งให้วัดทราบ ในทางปฏิบัติผู้ขอพระราชทานจะไปติดต่อกับทางวัดในราย

ละเอียดต่าง ๆ จนก่อนถึงวันกำหนดวันทอด จึงมารับผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินพระราชทานจากกรม

ศาสนา

การนำกฐินไปทอด

ทำได้สองอย่าง อย่างหนึ่งคือนำผ้ากฐิน
ทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัด
ที่จะทอดก่อน พอถึงวันกำหนดเจ้าภาพผู้เป็น
เจ้าของกฐิน หรือรับพระราชทานผ้ากฐินทาน
มาจึงพากันไปยังวัดเพื่อทำพิธีถวาย อีกอย่าง
หนึ่ง
ตามคติที่ถือว่าการทอดกฐินเป็นการถวายทาน
พิเศษแก่พระสงฆ์ที่ได้จำพรรษาครบไตรมาส นับ
ว่าได้กุศลแรง จึงได้มีการฉลองกฐินก่อนนำไปวัด
เป็นงานใหญ่ มีการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านของผู้
เป็นเจ้าของกฐิน และเลี้ยงผู้คน มีมหรสพสมโภช
และบางงานอาจมีการรวบรวมปัจจัยไปวัดถวาย
พระอีกด้วยเช่น ในกรณีกฐินสามัคคี พอถึง
กำหนดวันทอดก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไป
ยังวัดที่จะทอด มีเครื่องบรรเลงมีการฟ้อนรำนำ
ขบวนตามประเพณีนิยม

การทอดกฐิน

นิยมถวายในโบสถ์ โดยเฉพาะกฐินพระราชทาน ก่อนจะถึงกำหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไป
จัดตั้งไว้ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นำเข้าไป พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับ
กฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพของกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยัง
โบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบน
มือถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้า
พระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบ
พระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้าพระกฐินในพานขึ้น ดึง
ผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระกฐินบน
มือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธาน
วางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์

5

กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ
หรือวิหารสำหรับทำบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทำพิธีกราน
กฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง

การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และ
การสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้า
ไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้
ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว
พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวด
น้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

คำถวายกฐิน
อิมํ มยํ
ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ ปริวารํ กฐินจีวรทุสฺ

สํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ฑีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระ
สงฆ์จงรับผ้ากฐิน พร้อมกับของบริวารของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้งรับแล้วจงกราลกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อ
ประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

6

ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทอดจะทำอย่างไร

พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้

เพียงปีละ 1 ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใส

ใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้

จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพ
รรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าวัดนั้น กราบ

เรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้

รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่น

ไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมี

ธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือ

ยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาง ครั้นคำอนุญาต

ตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้

เตรียมการ ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้
แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอก
ติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และ
เลี้ยงผุ้มาในการกฐิน
ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ
ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือ องค์ครอง 1 ไตร คู่สวดองค์ละ 1 ไตร)

วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น 2 วัน วันต้นตั้ง
องค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน
ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทาง
ขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวน
เรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้น
ก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหาร
เลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่ง
ท้องถิ่น อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด
กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล

การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้ากฐินน้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้า
กฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้า
กฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำ
ว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผาไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้ว
ประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระ
เถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จ
พิธีการทอดกฐินเพียงนี้

7

พิธีกรานกฐิน

พิธิกรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะคือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น นำผ้ากฐินไปทำ

เป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระ

อุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร

เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและ

อานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม 3 จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น

ตามลักษณะผ้าที่กรานดังนี้ ถ้าเป็นผ้าสังฆาฏิ เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมายสงฺฆาฏิยา กฐินํ

อตฺถรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสัมฆาฎินี้ (ในเวลาว่านั้นไม่ต้องว่าคำแปลนี้) 3 จบ

ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินาอุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ"

แปลว่าจ้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์นี้ 3 จบ

ถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ"

แปลว่าข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันครวาสกนี้ 3 จบ

ลำดับนั้น สงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกรานพระ 3 หนเสร้จแล้ว ตั้งนโมพร้อมกัน 3 จบ แล้วท่าน

ผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงษ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้

"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์

กราบแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา)

คำว่า อาวุโส นั้น ถ้ามีภิกษุอื่นซึ่งมีพรรษา
มากกว่าภิกษุผู้ครองกฐินแม้เพียงรูปเดียวก็ตาม
ให้เปลี่ยนเป็น ภนฺเต ต่อนั้น สงฆ์ทั้งปวงรับว่า
สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนา
เรียงองค์กันไปทีละรูปๆว่า "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส
กฐินฺ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบสงฆ์
ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จนหมดภิกษุผู้ประชุม
อนุโมทนา (ถ้าผู้อนุโมทนา มีพรรษษแก่กว่าสงฆ์
ทั่งปวง ให้เปลี่ยนคำว่า ภนฺเต เป็น อาวุโส)
ในการว่าคำอนุโมทนานี้พึงนั่งคุกเข่าประนมมือ
เสร้จแล้วจึงนั่งพับเพียงลง
เมื่อเสร็จแล้ว ให้นั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ
หันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก
3 จบ แต่ให้เปลี่ยนคำว่า อนุโมทามิ เป็น อนุโม
ทาม เป็นอันเสร็จไปชั้นหนึ่ง ต่อแต่นั้นกราบพระ
3 หนนั่งพับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วย
กรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐิน

อานิสงส์กฐินสำหรับพระ 8
ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ 5 คือ

1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้
3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น

อนิสงส์กฐินสำหรับผู้ทอด


โดยทั่วไปผู้เขียนเองและแม้ผู้รู้บางท่านก็ยังไม่เคยพบในพระบาลีที่ระบุไว้โดยตรง แต่ว่าการทอด

กฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียวในปีหนึ่งๆ ต้องทำภายในกำหนด

เวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็น

พิธีบุญที่อานิสงส์แรง น่าคิดอีกทางหนึ่งว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติ เพราะเราเองบริจาค ได้ทั่ง

บริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรใหมาร่วมการกุศล กาลทานเช่นนี้ เรียกว่า ทานทาง

พระวินัย

หมายเหตุ
ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้

1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มี
อานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวัน
เดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้า
ที่ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว "วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาว
กรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวัน
กลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุล
กฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้
ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้อง
ทอใหม่ไม่"

9
2. ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน
และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ

1.ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อน
ขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอด
กฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาว
จระเข้ขี้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็
คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัย คงหวั่นจะให้เป็น
เครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว

2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัว
หนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว
จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วย
เขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้
ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้

ธงกฐินทั้ง 4 คือ จระเข้ นางมัจฉา ตะขาบ และเต่า เป็นปริศนาธรรมของคนโบราณ
จระเข้ หมายถึง ความโลภ ( ปากใหญ่กินไม่อิ่ม )
ตะขาบ หมายถึง ความโกรธ ( พิษที่เผ็ดร้อนเหมือนความโกรธที่แผดเผาจิต )
นางมัจฉา หมายถึง ความหลง ( เสน่ห์แห่งความงามที่ชวนหลงใหล )
เต่า หมายถึง สติ ( การระวังรักษาอายตนะทั้ง 6 ดุจเต่าที่หดอวัยวะซ่อนในกระดอง )

" ธงจระเข้ " ใช้ประดับในการแห่ ( มีตำนานว่าเศรษฐ๊เกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจ
ตาย )
" ธงนางมัจฉา " ใช้ประดับงานพิธีถวายผ้ากฐิน ( เป็นตัวแทนหญิงสาวตามความเชื่อว่าอานิสงส์จาก
การถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์จะมีรูปงาม )
" ธงตะขาบ " ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้มีคนมาจองกฐินแล้ว ( ให้ผู้จะมาปวารณาทอดกฐินผ่านไป
วัดอื่นเลย ไม่ต้องเสียเวลามาถาม )
" ธงเต่า " ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว ( จะปลดลงในวันเพ็ญเดือน 12 )
ในปัจจุบันจะเห็นเพียงธงจระ เข้ และนางมัจฉา ที่จะปรากฎในงานกฐิน ส่วนธงตะขาบ และเต่า
พบเห็นได้น้อย จะมีเป็นบางวัดที่ยังคงรักษาธรรมเนียมเก่าอยู่

10

การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย

การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทยสันนิษฐานว่าเริ่มมี
มาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาใ
นดินแดนประเทศไทยซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้

มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติ ในการบำเพ็ญกุศล

ในเทศกาลกฐินในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ( ด้านที่ ๒ ) ดังนี้

... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มันโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้

ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่ วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง

ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่ง

จี่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพาร

กฐิน

โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัตกฐินเถิงอไรญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อไรญิกพู้น

เท้าหัวลาน ดมบังคมกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพีณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใคร

จักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้า

มาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟเมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก ...

(คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒)
ในศิลาจารึกดังกล่าว ปรากฏทั้งคำว่า กรานกฐิน , บริวารกฐิน (บริพานกฐิน) ,
สวดญัตติกฐิน (สูดญัตกฐิน) ซึ่งคำดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า
เทศกาลทอดกฐินมีคู่กับสังคมไทยทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนมาช้านาน
ดังปรากฏว่าชาวพุทธในประเทศไทยให้ความสำคัญกับงานทอดกฐินที่จัดในวัดต่าง ๆ มาก
โดยถือว่าเป็นงานบุญสำคัญที่สุดงานหนึ่งในรอบปี บางวัดที่มีผู้ศรัทธามาก
อาจมีผู้จองเป็นเจ้าภาพทอดกฐินล่วงหน้ายาวเป็นสิบๆ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของ
ชาวพุทธในประเทศไทยที่ได้ร่วมใจกันสืบทอดประเพณีนี้มาจนปัจจุบัน

11

อ้างอิง

สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/jane21272456/prawati-khxng-kthin
ธรรมะไทย สืบค้นจาก http://www.dhammathai.org/day/kathin.php

วัดป่ามหาชัย สืบค้นจาก http://www.watpamahachai.net/Buddha/Buddha10_3.htm

ประวัติผู้จัดทำ 12

ชื่อ นายณัฐวุฒิ สรวงศิริ
ชื่อเล่น ก็อต เกิดเมื่อ วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2543
กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี สาขาพุทธศาสนส

ศึกษา ชั้นปี่ ที่3 คณะครุศาสตร์

คติประจำใจ

ไม่มีอะไรเป็นไม่ได้ ถ้ายังไม่ลงมือทำ

ออกพรรษาลาพระเจ้า เข้าเขตบุญกฐิน
ได้ยินเสียงประทัดดัง สั่งลาพรรษาสิ้น
คนถือศีลอดเหล้า สามเดือนเลยล่วง
เริ่มตั้งวงถองเหล้า เมาอีกครั้งดั่งเดิม
รีสอร์ตเสริมเบียร์เหล้า สาวใสวัยละอ่อน
เมาแล้วนอนหรือออกเซิ้ง สั่งได้ดั่งใจ
จากนี้ไปสามสิบมื้อ คือเข้าเขตบุญกฐิน

ศิลปินหมอลำ เริ่มมีงานไปลำร้อง
ฉลองกฐินตามบ้าน วัดอารามทุกหนแห่ง

แสงไฟสว่างแจ้ง ฮอดมื้อเช้าจั่งเลิกลา
ตื่นเช้ามาแห่ผ้า พระกฐินจั่งแม่นม่วน
แม่ใหญ่ชวนออกฟ้อน นำหน้าแห่ไป
ไผต่อไผออกฟ้อน วาดลวดลายนำหลังแม่

ฟ้อนแถไปพุ้นพี้ ดีฮ้ายบ่ว่ากัน
ความสุขสันต์สิงร่าง ท่าทางของแม่ใหญ่
ใสคือสาวส่ำน้อย ยามฟ้อนจั่งแม่นสวย
ส่วนพ่อใหญ่กะด้วย ใบหน้าเอิบอิ่มบุญ

เฮาลงทุนสร้างกฐิน สามัคคีในวันนี้
ล้วนแต่ดีมีได้ อานิสงส์ยิ่งใหญ่

ส่องทางไปฮอดหม่อง สุขล้ำดังหมาย
คันแม่นตายกะได้ขึ้น เมืองสวรรค์พระเพิ่นว่า

ส่องทางฮอดชาติหน้า พาให้ได้หล่อสวย
ทั้งร่ำรวยขึ้นชั้น เศรษฐีใหญ่นายทุน
แสนสมบูรณ์พูลสุข คือจั่งเฮาฝันไว้
ความจังไฮหนีสิ้น โพยภัยบินหนีห่าง
ย่างไปใสแตกตึ้มตึ้ม หมู่หุ่มแห่แหน

แฟนกะหลายเงินกะล้น ความทุกข์จนหนีห่าง
กฐินเฮาซ่อยกันส่าง สมหวังได้บุญคู่คน พี่น้องเอย




ที่มาผญา

พ่อครูดอทคอม


Click to View FlipBook Version