The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by am.nualpradit, 2022-02-09 02:17:01

Ebook วันมาฆบูชา

Ebook วันมาฆบูชา

คำนำ

จงั หวัดปทุมธานี โดยสำนักงานวฒั นธรรมจังหวัดปทุมธานี มภี ารกจิ สำคญั ประการหน่ึง
คือ การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ เด็ก เยาวชน และประชาชน ด้วยการนำ
หลักธรรมทางศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับ
แนวนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงวัฒนธรรม ในการนำศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
ความเป็นไทยสร้างสรรค์สังคมไทยให้ธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ สถาบันศาสนา
สถาบันพระมหากษัตริย์ และอยู่คู่สังคมไทยอย่างมั่นคง ปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ อยู่ในช่วง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ส่งผลให้
การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา มีข้อจำกัดในการดำเนิน
กิจกรรม

ดังนั้น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี จึงได้ปรับรูปแบบการดำเนินกิจกรรม
สง่ เสริมพระพุทธศาสนา โดยมงุ่ เน้นการประชาสมั พันธแ์ ละสร้างการรบั รู้ใหพ้ ุทธศาสนิกชน
ได้ทราบถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา ในการน้ี จึงได้จัดทำหนังสือ E-book
“วันมาฆบูชา พุทธศักราช ๒๕๖๕” เพื่อนำเสนอสาระสำคัญของวันดังกล่าว
ให้พุทธศาสนิกชนได้รับรู้ เข้าใจ และพร้อมที่จะนำความรู้ไปประพฤติปฏิบัติให้เป็น
ประโยชน์แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติ

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ E-book
“วันมาฆบูชา พุทธศักราช ๒๕๖๕” เล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชน
ให้ได้รับทราบถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งน้อมนำหลักธรรมคำสอนของ
พระสมั มาสมั พทุ ธเจ้าไปยึดถอื และปฏบิ ัติ เพอื่ ความสงบสุขต่อตนเองและสังคมต่อไป

(นายณรงค์ศักด์ิ โอสถธนากร)
ผูว้ ่าราชการจงั หวัดปทุมธานี

วนั มาฆบูชา

วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า “มาฆปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชา
พระในวันเพ็ญเดือน ๓ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓)
หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน ๘
สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ หรือประมาณ
เดอื นมีนาคม

วันมาฆบูชา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา
ในวันนั้นนอกจากเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะแล้ว ยังเป็นวันที่พระสงฆ์
จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาได้รับการอุปสมบท
จากพระพุทธเจ้า และล้วนเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖ การประจวบกัน
ของเหตุการณ์ทั้ง ๔ ประการนี้ เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” คือ การประชุม
ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ในโอกาสนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นขณะที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน
กรุงราชคฤห์ กอ่ นเข้าพรรษาที่ ๒ (หลงั จากตรัสรู้ ๙ เดือน)

ประวัติวันมาฆบูชา
ในประเทศไทย

พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ
พระราชพิธสี บิ สองเดือน อันเป็นบทพระราชนิพนธข์ อง "พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หวั "
มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติ
ในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศล
ในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
ราชวรวิหาร จำนวน ๓๐ รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อถึงเวลาค่ำ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอย่หู วั เสด็จออก ทรงจดุ ธปู เทียนนมสั การ พระสงฆ์ทำวตั รเยน็ และ
สวดคาถาโอวาทปาฏิโมกข์ เม่ือสวดจบทรงจุดเทียน ๑,๒๕๐ เล่ม รอบพระอโุ บสถ มกี ารประโคมอีกครั้งหน่ึง
แล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาฏิโมกข์ ๑ กัณฑ์ เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและภาษาไทย
ส่วนเคร่อื งกัณฑ์ ประกอบด้วยจวี รเนือ้ ดี ๑ ผนื เงนิ ๓ ตำลงึ และขนมตา่ งๆ เมอ่ื เทศนาจบ พระสงฆ์
๓๐ รูป สวดรับ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออก
ประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา
ในสถานที่นั้นๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาการประกอบพิธี
มาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร
ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวดั
เพื่อทำบญุ กศุ ล และประกอบกจิ กรรมทางศาสนา นอกจากน้ีในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ รัฐบาลไทย
ประกาศให้วนั มาฆบชู า เป็นวนั กตญั ญแู หง่ ชาติอกี ด้วย

ความสำคญั ของ
วันมาฆบชู า

ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
"โอวาทปาฏิโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา ๙ เดือน
ซึง่ หลกั คำสอนนีเ้ ป็นหลกั การ และวิธกี ารปฏิบตั ติ ่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมเี น้อื หาว่า
"ทำความดี ละเวน้ ความช่วั ทำจติ ใจใหบ้ ริสุทธ์"ิ

ท้ังนี้ ในวนั มาฆบชู าได้เกดิ เหตอุ ศั จรรยข์ ึน้ พรอ้ มกันถงึ ๔ ประการ อนั ไดแ้ ก่
๑. วนั นน้ั ตรงกับวนั เพญ็ ขน้ึ ๑๕ คำ่ เดือน ๓ ซึ่งพระจนั ทรเ์ สวยมาฆฤกษ์
๒. มพี ระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพรอ้ มกันโดยมิไดน้ ัดหมาย
ณ วดั เวฬวุ นั เมอื งราชคฤห์ แควน้ มคธ เพ่อื สักการะพระสัมมาสมั พทุ ธเจ้า
๓. พระสงฆท์ ม่ี าประชุมทั้งหมดลว้ นแต่เปน็ พระอรหันต์ ผูไ้ ดอ้ ภญิ ญา ๖
๔. พระสงฆ์ทัง้ หมดไดร้ บั การอุปสมบทโดยตรงจากพระพทุ ธเจา้ หรอื
"เอหภิ กิ ขุอุปสมั ปทา"
และเพราะเกิดเหตุอศั จรรย์ ๔ ประการข้างตน้ ทำใหว้ ันมาฆบชู า เรยี กอีกชอื่ หนง่ึ
ได้วา่ "วันจาตุรงคสนั นบิ าต" ซง่ึ คำว่า "จาตรุ งคสนั นิบาต" นี้ มคี วามหมายตามการแยกศพั ทค์ ือ
- จาตรุ แปลว่า ๔
- องค์ แปลวา่ สว่ น
- สนั นบิ าต แปลวา่ ประชุม
ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" นั่นเอง
ทั้งนี้วันมาฆบูชาถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ
ส่วนวันอาสาฬหบูชา เปน็ วันพระสงฆ์

หลกั ธรรมท่ีควรนำไป

ปฏบิ ัติในวันมาฆบชู า

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ คือ "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญ
อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓
อุดมการณ์ ๔ และวธิ ีการ ๖ ดังนี้
หลกั การ ๓ คือหลักคำสอนทค่ี วรปฏิบตั ิ ไดแ้ ก่

๑. การไม่ทำบาปทัง้ ปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทงั้ ปวง อันไดแ้ ก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐
ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว ๑๐ ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์
การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ
(การอยากได้สมบัตขิ องผอู้ ื่น การผกู พยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตามกุศลกรรมบถ ๑๐
ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ
ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อ่ืน
มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเขา้ ใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

๓. การทำจิตใจใหผ้ อ่ งใส คอื ทำจติ ใจให้บริสุทธ์ิ หลุดจากนวิ รณท์ คี่ อยขัดขวางจิตใจ
ไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม ความพยาบาท ความหดหู่ท้อแท้
ความฟุ้งซา่ น และความลังเลสงสยั

ซึ่งทั้ง ๓ หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า "ทำความดี
ละเวน้ ความชั่ว ทำจติ ใจให้บรสิ ุทธ์"ิ นนั่ เอง

หลักธรรมทคี่ วรนำไป
ปฏบิ ตั ใิ นวนั มาฆบชู า

อดุ มการณ์ ๔ ไดแ้ ก่
๑. ความอดทน คือ การอดกล้นั ไม่ทำบาปท้ังกาย วาจา ใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน คือ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวนหรือ

เบยี ดเบียนผูอ้ ่ืน
๓. ความสงบ คอื ปฏบิ ตั ิตนใหส้ งบท้ังทางกาย วาจาและใจ
๔. นิพพาน คือ การดับทุกข์ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา

ซึง่ จะเกิดขน้ึ ได้ก็ต่อเม่ือดำเนินชีวติ ตามมรรคมอี งค์แปด
วิธกี าร ๖ ไดแ้ ก่

๑. ไม่วา่ ร้าย คือ ไมก่ ล่าวใหร้ า้ ยหรือโจมตใี คร
๒. ไมท่ ำร้าย คือ ไม่เบียดเบยี นผู้อ่ืน
๓. สำรวมในปาติโมกข์ คือ ความเคารพระเบียบวินัย กติกา กฎหมาย
ขนบธรรมเนียมประเพณีท่ดี ีงามของสงั คม
๔. รู้จกั ประมาณ คอื รู้จกั พอดี พอกนิ พออยู่
๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่สงบและมีสิ่งแวดล้อมท่ี
เหมาะสม
๖. ฝึกหดั จิตใจให้สงบ คอื การฝึกจิต หมัน่ ทำสมาธภิ าวนา

แนวทางการปฏิบัติ
สำหรบั พทุ ธศาสนิกชน

๑. ให้ทาน ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรในช่วงเช้าหรือเพล
บริจาคทรพั ย์ชว่ ยเหลอื เกื้อกูลผยู้ ากไร้ และบำเพญ็ สาธารณประโยชน์

๒. รักษาศีล สำรวมระวังกายและวาจา ด้วยการรักษาศีล ๕ หรือ ศีล ๘
พรอ้ มทง้ั บำเพญ็ เบญจธรรมสนับสนุน

๓. เจริญภาวนา บำเพ็ญภาวนาด้วยการไหว้พระสวดมนต์ ปฏิบัติสมาธิ
และวปิ ัสสนาตามแนวสตปิ ฏั ฐาน ๔

๔. เวียนเทียน การเวียนเทียนเป็นการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชา
และปฏิบตั บิ ชู า ในการน้คี วรแตง่ กายให้สุภาพเพอื่ เปน็ การบชู าพระรตั นตรัย

บรรณานุกรม

สำนกั งานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
https://www.onab.go.th/th/content/category
/detail/id/73/iid/3403 เขา้ ถงึ เม่ือวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕

หนงั สือวนั มาฆบชู า แนวทางการปฏิบตั ิสำหรับพุทธศาสนกิ ชน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวฒั นธรรม
พมิ พ์เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ หน้า ๑ – ๑๐


Click to View FlipBook Version