ค่มู อื การบรหิ ารงานบคุ คล
คำนำ
คู่มือการบรหิ ารงานบุคคลของโรงเรียนบา้ นทุ่งยาวเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพ่ือเสริมสร้างความเข้าใจให้คณะ
ครูในกลุ่มงานและบุคลากรในโรงเรียน ได้ศึกษากฎระเบยี บ ขอ้ บังคับ คำช้ีแจง ข้อมลู ตลอดจนแนวปฏิบัติงาน
ของการบริหารงานบุคคลในโรงเรยี น โดยจดั ทำใหส้ อดคลอ้ งกับโครงสร้างการบรหิ ารโรงเรยี นตามแนวทางการ
กระจายอำนาจ ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติใหู้ถกต้องและสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมี
ความสขุ ประสบความสำเร็จในการบรหิ ารงานตา่ ง ๆ
ทางโรงเรียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนบ้านทุ่งยาวเล่มนี้ จะเกิด
ประโยชนต์ ่อครู นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ท่ีเกยี่ วข้องต่อไป
คณะผจู้ ดั ทำ
กลมุ่ บรหิ ารงานบคุ คล
โรงเรียนบ้านท่งุ ยาว
2
สารบัญ ค่มู อื การบริหารงานบคุ คล
เร่ือง หนา้
คำนำ 2
สารบญั 3
วสิ ัยทัศน์ 4
พนั ธกจิ 4
เปา้ ประสงค์ 4
อัตลักษณ์ของสถานศกึ ษา 4
เอกลักษณ์ของสถานศกึ ษา 4
กลยุทธก์ ารพฒั นาคณุ ภาพการจดั การศกึ ษาของสถานศึกษา 5
สมรรถนะสำคญั ของผ้เู รยี น 5
คณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ 6
พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลท่ี 10 7
การบรหิ ารงานบุคคล 8
ขอบข่ายงานบคุ ลากร 8
ขอบข่ายและภารกจิ 8
9
การวางแผนอตั รากำลัง/การกำหนดตำแหน่ง 9
การสรรหาและการบรรจุ 9
การพัฒนาบคุ ลากร 9
การเลอื่ นขน้ั เงนิ เดอื น 10
เครอื่ งราชอิสริยาภรณ์ 10
วินัยและการรกั ษาวนิ ยั 10
สวสั ดกิ ารครู 10
การปฏิบตั ิราชการของขา้ ราชการครู
3
คมู่ ือการบริหารงานบคุ คล
วสิ ัยทัศน์ พนั ธกิจ เปา้ ประสงค์ อตั ลกั ษณ์ เอกลกั ษณ์ และกลยุทธก์ ารพฒั นาคุณภาพการจัด
การศกึ ษาของสถานศึกษา
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
วิสัยทัศน์ (Vision)
“ภายในปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านท่งุ ยาว จดั การศึกษาไดม้ าตรฐาน มงุ่ เนน้ ให้ผู้เรยี นเกิดทักษะ
ในศตวรรษที่ 21 โดยครมู อื อาชพี ภายใต้ระบบการบรหิ ารจัดการตามหลกั ธรรมมาภบิ าล”
พนั ธกิจ (Mission)
1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ข้ันพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ปรบั ปรุง พ.ศ.2560) โดยใหส้ อดคลอ้ งกับมาตรฐานการศกึ ษาและตามมาตรฐาน สสวท.
เพื่อมุง่ พัฒนาสหู่ ลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency Based Curriculum)
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีคณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษา มีสมรรถนะตามหลกั สูตรที่เนน้ ทักษะวชิ าการ
ทกั ษะชวี ิตและอาชพี สำหรบั การเรยี นรูใ้ นศตวรรษที่ 21 มคี ุณธรรม จรยิ ธรรม รกั ความเป็นไทย ดำรงชวี ิตตาม
หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
3. ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะตรงตามสายงาน มีคุณภาพตาม
มาตรฐานการศึกษาและมีวฒั นธรรมการทำงานที่มุง่ เน้นผลสมั ฤทธ์ิอยา่ งครมู ืออาชพี ดว้ ยวธิ ีการทหี่ ลากหลาย
4. บรหิ ารจัดการโรงเรยี นโดยใชโ้ รงเรยี นเป็นฐาน ตามหลักธรรมาภบิ าลและหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงโดยการมสี ่วนร่วมจากทกุ ฝ่าย
เป้าประสงค์ (Goals
1. โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มาตรฐาน สสวท. และเป็น
โรงเรยี นตน้ แบบนำร่องการใชห้ ลกั สูตรฐานสมรรถนะ
2. ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และมีวิถีชีวิตตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
3. ครูและบุคลากรทางการศกึ ษามคี ณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษา และเปน็ ครูมืออาชีพ
4. โรงเรียนมรี ะบบการบรหิ ารจดั การท่ีมีคณุ ภาพ มาตรฐานเป็นท่ียอมรับและเชื่อมนั่ ของสงั คม
อตั ลักษณข์ องสถานศกึ ษา
“แตง่ กายดี มีรอยย้มิ ”
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา
“สง่ เสริมวชิ าการ สบื สานเชิดสิงโต วงโยธวาทิตงามเดน่
4
คมู่ อื การบรหิ ารงานบุคคล
กลยุทธก์ ารพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
กลยทุ ธ์ท่ี 1 ด้านการพัฒนาคุณภาพผเู้ รียน
กลยทุ ธท์ ่ี 2 ดา้ นการเพิม่ ประสิทธภิ าพกระบวนการบริหารและการจัดการ
กลยทุ ธท์ ี่ 3 ด้านการส่งเสรมิ กระบวนการจดั การเรียนการสอนทีเ่ นน้ ผเู้ รยี นเปน็ สำคัญ
สมรรถนะสำคญั ของผู้เรียน
หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนบา้ นทุง่ ยาว (ฉบบั ปรบั ปรงุ พุทธศักราช 2564) ตามหลกั สูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551 มงุ่ ให้ผเู้ รียนเกดิ สมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดงั น้ี
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา
ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ
ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลด
ปัญหาความขัดแยง้ ต่าง ๆ การเลอื กรบั หรือไม่รับข้อมลู ข่าวสารดว้ ยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการ
เลือกใชว้ ธิ ีการสอ่ื สาร ท่ีมปี ระสิทธิภาพโดยคำนงึ ถงึ ผลกระทบทีม่ ตี ่อตนเองและสงั คม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่าง
สร้างสรรค์ การคิดอยา่ งมีวิจารณญาณ และการคดิ เปน็ ระบบ เพื่อนำไปสกู่ ารสรา้ งองคค์ วามรู้หรือสารสนเทศ
เพอ่ื การตดั สนิ ใจเกี่ยวกบั ตนเองและสงั คมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอปุ สรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้
อยา่ งถกู ต้องเหมาะสมบนพ้นื ฐานของหลักเหตุผล คณุ ธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสมั พันธ์และการ
เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไข
ปญั หา และมกี ารตัดสนิ ใจท่ีมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบทเี่ กดิ ข้นึ ต่อตนเอง สังคมและส่งิ แวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการ
ดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรูด้ ้วยตนเอง การเรียนรู้อยา่ งต่อเนือ่ ง การทำงาน และการอยูร่ ่วมกันในสังคม
ดว้ ยการสรา้ งเสริมความสัมพันธอ์ นั ดรี ะหว่างบุคคล การจดั การปัญหาและความขดั แย้งตา่ ง ๆ อย่างเหมาะสม
การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึง
ประสงค์ทส่ี ่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อ่นื
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยดี ้านตา่ ง ๆ และ
มที กั ษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพฒั นาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสอ่ื สาร การทำงาน
การแกป้ ัญหาอย่างสรา้ งสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคณุ ธรรม
คุณลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งยาว (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๔) ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งพัฒนาผู้เรยี นให้มคี ุณลักษณะอันพงึ ประสงค์ เพื่อให้
สามารถอยรู่ ว่ มกบั ผูอ้ ืน่ ในสงั คมไดอ้ ย่างมคี วามสุข ในฐานะเป็นพลเมอื งไทยและพลโลก ดงั นี้
5
ค่มู อื การบรหิ ารงานบคุ คล
1. รกั ชาติ ศาสน์ กษตั ริย์ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถงึ การเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความ
เป็นชาติไทย ศรัทธา ยึดมั่นในศาสนาและเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คือผู้มี
ลกั ษณะซงึ่ แสดงออกถงึ การเปน็ พลเมอื งท่ีดีของชาติ มีความสามัคคีปรองดอง ภมู ิใจ เชิดชูความเป็นชาตไิ ทย ปฏิบตั ิตน
ตามหลักศาสนาท่ีตนนับถือและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบนั พระมหากษัตรยิ ์ .
2. ซอ่ื สตั ยส์ ุจริต หมายถึง คณุ ลกั ษณะท่ีแสดงออกถึงการยึดม่นั ในความถูกต้อง ประพฤติตรงตามความเป็น
จริงต่อตนเองและผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต คือ ผู้ที่ประพฤติตรงตามความเป็นจริงทั้งกาย
วาจา ใจ และยึดหลักความจริง ความถูกต้องในการดำเนนิ ชีวิต มีความละอายและเกรงกลวั ตอ่ การกระทำผิด
3. มีวินัย หมายถึงคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์ และระเบียบข้อบังคับของ
ครอบครัว โรงเรียน และสังคม ผู้มีวินัยคือ ผู้ที่ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว
โรงเรยี น และสงั คมเปน็ ปกตวิ ิสัย ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อ่นื
4. ใฝเ่ รยี นรู้ หมายถึง คณุ ลักษณะท่ีแสดงออกถงึ ความต้ังใจ เพยี รพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้จาก
แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ผู้ที่ใฝ่เรียนรู้ คือ ผู้ที่แสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน
และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ แสวงหาความรู้จากแหล่งงเรียนรู้ท้ังภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ด้วย
การเลือกใช้สอ่ื อย่างเหมาะสม บนั ทึกความรู้ วเิ คราะห์ สรุปเป็นองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอด เผยแพร่ และ
นำไปใช้ในชวี ิตประจำวันได้
5. อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกการดำรงชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ
มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันที่ดี และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้ดีมีความสุข ผู้ที่อยู่อย่างพอเพียง คือ ผู้ที่ดำรงชีวิต
อย่างประมาณตน มเี หตุผล รอบคอบ ระมัดระวงั อยรู่ ว่ มกับผ้อู ่ืนด้วยความรับผิดชอบ ไมเ่ บียดเบียนผู้อ่ืน เห็นคุณค่า
ของทรัพยากรต่าง ๆ มีการวางแผนปอ้ งกันความเสย่ี งและพรอ้ มรบั การเปลยี่ นแปลง
6. มงุ่ ม่นั ในการทำงาน หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความเข้าใจและรับผิดชอบในการทำหน้าท่ีการ
งาน ด้วยความเพยี รพยายาม อดทน เพอื่ ให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ผู้ทีม่ ่งุ มั่นในการทำงานคือ ผทู้ ่ีมีลักษณะถึงความ
ตัง้ ใจปฏิบัติหน้าที่ทไี่ ดร้ ับมอบหมายดว้ ยความเพียรพยายาม ทุ่มเทกำกังกาย กำลังใจ ในการปฏิบตั ิกิจกรรมต่าง ๆ ให้
สำเร็จลลุ ่วงตามเป้าหมายที่กำหนด ดว้ ยความรบั ผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจในผลงาน
7. รกั ความเป็นไทย หมายถึง คณุ ลกั ษณะที่แสดงออกถงึ ความภาคภูมิใจถึงคุณค่า รว่ มอนรุ กั ษ์ สืบทอดภูมิ
ปัญญาไทย ขนบธรรมเนยี มประเพณไี ทย ศิลปะและวัฒนธรรมใช้ภาษาไทยในการสือ่ สารได้อย่างถูกตอ้ งเหมาะสม ผู้ที่
รักความเป็นไทย คือ ผทู้ ม่ี ีความภาคภูมิใจ เหน็ คณุ ค่า ชน่ื ชม มสี ว่ นรว่ มในการอนรุ ักษ์ สบื ทอดเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย
ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวฒั นธรรมไทย มคี วามกตญั ญูกตเวที ใช้ภาษาไทยในการสอ่ื สารได้อย่างถูกต้อง
และเหมาะสม
8. มีจิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานที่ก่อให้เกิด
ประโยชน์แก่ผอู้ น่ื ชุมชนและสงั คม ด้วยความเต็มใจ กระตอื รือร้น โดยไมห่ วงั ผลตอบแทน ผ้มู ีจิตสาธารณะ คือ ผู้ที่มี
ลักษณะเป็นผู้ให้ และช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งบันความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าใจเห็นใจผู้ที่เดือดร้อน
6
คู่มือการบรหิ ารงานบคุ คล
อนรุ ักษส์ งิ่ แวดล้อมด้วยแรงกาย สตปิ ัญญา ลงมอื ปฏิบัติ เพ่ือแกป้ ัญหา หรือรว่ มสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดในชุมชน
โดยไม่หวังสงิ่ ตอบแทน
พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10
การศึกษาตอ้ งมุ่งสร้างพ้ืนฐานใหแ้ กผ่ เู้ รยี น 4 ดา้ น ดงั น้ี
1. มีทัศนคติที่ถกู ต้องตอ่ บ้านเมือง
1) ความรคู้ วามเขา้ ใจตอ่ ชาตบิ ้านเมือง
2) ยดึ ม่นั ในศาสนา
3) มนั่ คงในสถาบันกษัตรยิ ์
4) มีความเอ้อื อาทรตอ่ ครอบครวั และชุมชนของตน
2. มีพนื้ ฐานชวี ิตทีม่ ัน่ คง – มคี ณุ ธรรม
1) รู้จกั แยกแยะสงิ่ ทีถ่ กู – ผดิ / ดี – ชั่ว
2) ปฏบิ ตั ิแต่สิ่งที่ชอบ สิง่ ทดี่ ีงาม
3) ปฏเิ สธสิ่งที่ผิด/สงิ่ ทช่ี ัว่
4) ช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บา้ นเมอื ง
3. มีงานทำ – มอี าชพี
1) การเล้ียงดลู ูกหลานในครอบครัว หรอื การฝึกฝนอบรมในสถานศกึ ษาตอ้ งมุ่งใหเ้ ดก็ และ
เยาวชนรักงาน สู้งาน ทำจนงานสำเร็จ
2) การฝึกฝนอมรมทั้งในหลกั สูตร และนอกหลักสูตรตอ้ งมจี ดุ มุง่ หมายให้ผู้เรียนทำงานเปน็
และมีงานทำในท่สี ุด
3) ต้องสนับสนนุ ผ้สู ำเร็จหลกั สูตร มอี าชพี มีงานทำ จนสามารถเล้ียงตนเอง และครอบครวั
4. เป็นพลเมอื งทดี่ ี
1) การเปน็ พลเมืองดี เป็นหน้าท่ีของทกุ คน
2) ครอบครวั – สถานศกึ ษาและสถานประกอบการตอ้ งสง่ เสริมใหท้ กุ คนมีโอกาสทำหนา้ ท่ี
เป็นพลเมอื งดี
3) การเปน็ พลเมืองดี คือ “เหน็ อะไรที่จะทำเพ่ือบ้านเมอื งไดก้ ต็ อ้ งทำ” เชน่ งานอาสาสมัคร
งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศลให้ทำด้วยความมนี ้ำใจ และความเออื้ อาทร
สถานศึกษาน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน ในรูปแบบการบูรณาการทุกสาระ
รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และ
แผนปฏิบตั ิการประจำ
7
ค่มู อื การบรหิ ารงานบคุ คล
การบรหิ ารงานบคุ คล
หมายถึง การหาทางใช้คนท่ีอยู่รว่ มกันในองค์กรนน้ั ๆ ใหท้ ำงานได้ผลดีท่ีสดุ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย
ที่สุด ในขณะเดียวกันก็สามารถทำให้ผู้ร่วมงานมีความสุข มีความพอใจ ที่จะให้ความร่วมมือและทำงาน
ร่วมกับผ้บู ริหาร เพือ่ ใหง้ านขององคก์ รนัน้ ๆ สำเร็จลลุ ว่ งไปด้วยดี
แนวคิด
1. ปจั จัยทางการบริหารทั้งหลาย คนถอื เป็นปจั จยั ทางการบรหิ ารท่ีสำคัญทส่ี ุด
2. การบริหารงานบุคคลจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผบู้ รหิ ารจะตอ้ งมีความรู้ ความเข้าใจและมี
ความสามารถสงู ในการบริหารงานบคุ คล
3. การจัดบุคลากรให้ปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถจะมีส่วนทำให้บุคลากร มีขวัญ
กำลังใจ มคี วามสุขในการปฏบิ ตั งิ าน ส่งผลใหง้ านประสบผลสำเร็จอย่างมปี ระสิทธิภาพ
4. การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะทำให้บุคลากร
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและกระตอื รอื รน้ พัฒนางานให้ดยี ง่ิ ข้นึ
5. การบริหารงานบคุ คลเน้นการมีสว่ นร่วมของบุคลากรและผมู้ ีสว่ นได้ส่วนเสียเป็นสำคัญ
ขอบข่ายงานบุคลากร
1. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการบรหิ ารจัดการใหม้ ีประสทิ ธิภาพ
2. ส่งเสรมิ ใหบ้ คุ ลากรในโรงเรยี นปฏิบตั ิตามในหนา้ ที่ตามมาตรฐานวิชาชพี และจรรยาบรรณวชิ าชีพครู
3. สง่ เสรมิ การประชาสมั พันธ์ข้อมูลข่าวสารของบุคลากรภายในโรงเรยี นแก่ผู้เก่ยี วขอ้ งอย่างท่ัวถงึ และมี
ประสทิ ธภิ าพ
4. สง่ เสรมิ และสนับสนุนใหค้ รูและบคุ ลากรได้รับการพฒั นาตามสมรรถนะวิชาชพี ครู
5. ประสานความร่วมมอื ระหวา่ งโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนในการพัฒนาโรงเรียน
6. ส่งเสรมิ ให้คณะครปู ฏิบตั ิหน้าทด่ี ว้ ยความซือ่ สัตย์สจุ ริต
7. สง่ เสริมให้คณะครปู ฏิบตั ติ นในการดำเนนิ ชีวติ โดยยึดหลกั เศรษฐกจิ พอเพียง
ขอบขา่ ยและภารกิจ
วางแผนอัตรากำลงั /การกำหนดตำแหน่ง
มหี น้าที่
1. จดั ทำแผนงาน/โครงการ แผนปฏบิ ัติงานประจำปีและปฏทิ นิ ปฏิบัติงาน
2. จดั ทำแผนงานอตั รากำลงั คร/ู การกำหนดตำแหนง่ และความตอ้ งการครใู นสาขาทโี่ รงเรียนมีความ
ตอ้ งการ
8
คมู่ อื การบริหารงานบุคคล
3. จัดทำรายงานอัตรากำลงั ครตู อ่ หน่วยงานต้นสังกัด
การสรรหาและบรรจแุ ต่งต้ัง
มีหนา้ ที่
1. วางแผนดำเนินการสรรหาและเลือกสรรและกำหนดรายละเอยี ดแผนปฏบิ ัติงาน
2. กำหนดรายละเอยี ดเก่ียวกบั การสรรหาการเลอื กสรรคณุ สมบัตขิ องบุคคลที่รบั สมคั ร
3. จัดทำประกาศรบั สมัคร
4. รับสมัคร
5. การตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร
6. ประกาศรายชอ่ื ผ้มู ีสิทธิรบั การประเมิน
7. แตง่ ต้ังคณะกรรมการดำเนินการสรรหาและเลือกสรร
8. สอบคัดเลอื ก
9. ประกาศรายชอื่ ผู้ผา่ นการเลือกสรร
10.การเรยี กผู้ทีผ่ ่านการคัดเลือกมารายงานตัว
11.จดั ทำรายงานตอ่ หนว่ ยงานต้นสังกัด
การพัฒนาบคุ ลากร
มีหนา้ ที่
1. จดั ทำแผนงาน/โครงการ/แผนปฏิบัติการประจำปี
2. สำรวจความต้องการในการพฒั นาครูและบคุ ลากรในโรงเรียน
3. จัดทำแผนพัฒนาตนเองของครแู ละบุคลากรในโรงเรียน
4. ส่งเสริมและสนับสนนุ ใหค้ รแู ละบคุ ลากรไดร้ ับการพฒั นา
5. จดั ทำแฟ้มบุคลากรในโรงเรยี น
6. ติดตาม ประเมนิ ผล สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานเสนอผอู้ ำนวยการ
7. งานอื่น ๆ ทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย
การเล่ือนขน้ั เงินเดือน
มีหนา้ ท่ี
1. จัดทำแผนงาน/โครงการ/แผนปฏบิ ัติการประจำปี
2. นเิ ทศ ติดตามผลการปฏิบตั งิ านของครแู ละบคุ ลากรในโรงเรยี น
3. ประชมุ คณะกรรมการในการพิจารณาเลอ่ื นขั้นเงนิ เดือนประจำปี
4. จดั ทำบัญชผี ู้ทไี่ ด้รบั การพจิ ารณาเล่อื นขั้นประจำปีโดยยดึ หลักความโป่รงใส คุณธรรมจรยิ ธรรมและ
การปฏิบัตงิ านที่รับผดิ ชอบ
9
คมู่ ือการบรหิ ารงานบคุ คล
5. แต่งตั้งผูท้ ่ไี ดร้ บั การเลื่อนขน้ั เงนิ เดือนรายงานต่อหน่วยงานตน้ สังกัด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
มหี นา้ ท่ี
1. จัดรวบรวมเอกสารในการเสนอขอพระราชทานเคร่อื งราชอิสริยาภรณ์
2. สำรวจความตอ้ งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสรยิ าภรณ์ของคณะครูและบคุ ลากร
3. ส่งเสรมิ และสนบั สนนุ ขอพระราชทานเคร่ืองราชอิสรยิ าภรณข์ องคณะครแู ละบุคลากรในโรงเรียน
4. จัดทำแฟ้มขอ้ มูลการไดร้ บั พระราชทานเครือ่ งราชอิสริยาภรณ์ของคณะครแู ละบุคลากรในโรงเรียน
วนิ ัยและการรักษาวินัย
มหี น้าที่
1. จดั รวบรวมเอกสารเกี่ยววนิ ยั และการรกั ษาวินยั ของขา้ ราชการครูและบุคลากรในโรงเรยี น
2. จัดทำแฟ้มขอ้ มูลเก่ยี วกบั การทำผิดเกยี่ วกับวนิ ยั ของขา้ ราชการครูและบุคลากรในโรงเรียน
สวสั ดิการครู
มีหน้าที่
1. วางแผนดำเนนิ งานเกี่ยวกับสวัสดิการของครูและบุคลากรในโรงเรยี น
2. มอบของขวัญเป็นกำลงั ใจในวนั สำคญั ต่าง ๆ วันเกิดแสดงความยินดีท่ีผ่านการประเมนิ ครูชำนาญ
การพเิ ศษของครูและบคุ ลากรในโรงเรยี น
3. ซอ้ื ของเย่ียมไขเ้ มอ่ื เจบ็ ปว่ ยหรอื นอนพกั รักษาตวั ในโรงพยาบาล
การปฏิบตั ิราชการของข้าราชการครู
1. การลา การลาแบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ
1. การลาปว่ ย
2. การลาคลอดบุตร
3. การลากิจสว่ นตัว
4. การลาพักผอ่ น
5. การลาอปุ สมบทหรอื การลาไปประกอบพิธฮี ัจย์
6. การลาเข้ารบั การตรวจเลือกหรอื เขา้ รบั การเตรียมพล
7. การลาไปศกึ ษา ฝกึ อบรม ดูงาน หรอื ปฏบิ ัติการวจิ ยั
8. การลาไปปฏบิ ตั งิ านในองค์การระหว่างประเทศ
9. การลาตดิ ตามคู่สมรส
การลาป่วย ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาป่วยเพื่อรักษาตัวให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับจนถงึ ผมู้ ีอำนาจอนญุ าตกอ่ นหรือในวนั ท่ีลาเวน้ แต่ในกรณีจำเป็นจะเสนอหรือจดั สง่ ใบลา ในวันแรก
10
คู่มือการบรหิ ารงานบคุ คล
ท่ีมาปฏบิ ัตริ าชการก็ได้ ในกรณีทข่ี ้าราชการผขู้ อลามีอาการป่วยจนไมส่ ามารถจะลงช่อื ในใบลาได้จะให้ผู้อ่ืนลา
แทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้วให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมี
ใบรับรองของแพทยซ์ งึ่ เปน็ ผู้ทไ่ี ด้ขนึ้ ทะเบยี น และรบั ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชพี เวชกรรมแนบไปกับใบลา
ด้วย ในกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควรผู้มีอำนาจอนุญาตจะสั่งให้ใช้ใบรับรองของแพทย์ซึ่งผู้มีอำนาจอนุญาต
เห็นชอบแทนก็ได้ การลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ไม่ว่าจะเปน็ การลาครงั้ เดียวหรือหลายครง้ั ติดต่อกัน ถ้าผู้มีอำนาจ
อนุญาตเห็นสมควร จะสั่งใหม้ ีใบรับรองแพทยต์ ามวรรคสามประกอบใบลา หรือสั่งให้ผู้ลาไปรับการตรวจจาก
แพทย์ของทางราชการเพือ่ ประกอบการพจิ ารณาอนุญาตกไ็ ด้
การลาคลอดบุตร ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาคลอดบุตร ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับ จนถึงผู้มอี ำนาจอนญุ าตกอ่ นหรอื ในวันทล่ี า เว้นแตไ่ มส่ ามารถจะลงชอื่ ในใบลาได้ จะใหผ้ ู้อน่ื ลาแทน
ก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้วใหเ้ สนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว และมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รบั เงินเดือน
คร้งั หน่ึงได้ การลาคลอดบตุ รจะลาในวนั ทคี่ ลอดก่อนหรือหลังวนั ท่ีคลอดบุตรกไ็ ด้ แตเ่ มอ่ื รวมวันลาแล้ว ต้องไม่
เกิน 90 วัน
การลากิจส่วนตัว ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลากิจส่วนตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ไม่
สามารถรอรบั อนุญาตได้ทนั จะเสนอหรอื จดั สง่ ใบลาพร้อมดว้ ยระบเุ หตุจำเปน็ ไวแ้ ล้ว หยุดราชการ ไปก่อนก็ได้
แตจ่ ะตอ้ งชี้แจงเหตผุ ลใหผ้ มู้ ีอำนาจอนญุ าตทราบโดยเรว็ ในกรณีมเี หตพุ เิ ศษทไ่ี ม่อาจเสนอหรือจัดสง่ ใบลาก่อน
ตามวรรคหนึ่งได้ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มี
อำนาจอนุญาตทันทีในวันแรก ที่มาปฏิบัติราชการ ข้าราชการมีสิทธิลากิจส่วนตัว โดยได้รับเงินเดือนปีละไม่
เกิน 45 วนั ทำการ ขา้ ราชการทลี่ าคลอดบุตรตามขอ้ 18 แล้ว หากประสงคจ์ ะลากิจส่วนตัวเพอื่ เล้ียงดูบุตรให้มี
สทิ ธลิ าต่อเน่ืองจากการลาคลอดบตุ รไดไ้ มเ่ กนิ 150 วนั ทำการ โดยไม่มสี ิทธิได้รบั เงินเดือนระหวา่ งลา
การลาพกั ผอ่ น ข้าราชการมสี ิทธิลาพักผอ่ นประจำปใี นปีหนง่ึ ได้ 10 วันทำการ
เว้นแต่ขา้ ราชการดังตอ่ ไปนี้ ไม่มสี ิทธิลาพกั ผอ่ นประจำปใี นปที ไ่ี ด้รบั บรรจเุ ข้ารับราชการยังไม่ถงึ 6 เดือน
1. ผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครั้งแรก ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตวั
แล้วตอ่ มาได้รับบรรจเุ ขา้ รบั ราชการอกี
2. ผู้ซ่ึงลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพอ่ื สมคั รรบั เลือกต้งั แล้ว ต่อมาได้รับ
บรรจุเขา้ รบั ราชการอีกหลงั 6 เดือน นับแต่วันออกจากราชการ
3. ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น นอกจากกรณีไปรับราชการทหารตามกฎหมาย ว่าด้วย
การรบั ราชการทหารและกรณีไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ แล้วตอ่ มาไดร้ ับบรรจุเข้า
รับราชการอีกถ้าในปีใดข้าราชการผู้ใดมิได้ลาพักผ่อนประจำปีหรอื ลาพักผ่อนประจำปี แล้วแต่ไม่ครบ 10 วัน
ทำการ ใหส้ ะสมวนั ทย่ี งั มิไดล้ าในปีน้นั รวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้ แตว่ ันลาพักผ่อน สะสมรวมกบั วันลาพักผ่อนใน
ปปี จั จุบันจะต้องไม่เกนิ 20 วนั ทำการ สำหรบั ผูท้ ไี่ ด้รับราชการติดต่อกันมาแล้วไมน่ ้อยกว่า 10 ปี ให้มีสิทธินำ
วันลาพักผอ่ นสะสม รวมกบั วนั ลาพักผ่อนในปปี จั จบุ ันไดไ้ ม่เกิน 30 วนั ทำการ
11
คูม่ อื การบริหารงานบุคคล
การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาอุปสมบทใน
พระพุทธศาสนา หรือข้าราชการที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งประสงค์จะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ
ประเทศซาอุดิอาระเบียให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาหรือ
อนุญาตกอ่ นวนั อปุ สมบท หรอื ก่อนวันเดินทางไปประกอบพธิ ีฮจั ยไ์ ม่นอ้ ยกวา่ 60 วนั ในกรณมี เี หตุพิเศษไมอ่ าจ
เสนอหรอื จดั ส่งใบลาก่อนตามวรรคหนึ่งให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นประกอบการลา และใหอ้ ยใู่ นดลุ ยพินิจของ
ผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ลาหรอื ไม่ก็ได้ ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบท
หรือได้รับอนุญาตให้ลาไปประกอบพิธีฮัจย์แล้ว จะต้องอุปสมบทหรือออกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจยภ์ ายใน
10 วัน นับแต่วันเริ่มลา และจะต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ลาสิกขา
หรือ วนั ทเี่ ดนิ ทางกลับถงึ ประเทศไทยหลังจากการเดนิ ทางไปประกอบพธิ ีฮัจย์
การลาเขา้ รับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรยี มพล ขา้ ราชการทไี่ ดร้ ับหมายเรียกเขา้ รับการตรวจ
เลือก ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง ส่วนข้าราชการที่
ได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลารับ
หมายเรยี กเป็นต้นไป และใหไ้ ปเข้ารับการตรวจเลือกหรอื เข้ารบั การเตรยี มพลตามวนั เวลาในหมายเรียกน้ันโดย
ไม่ต้องรอรับคำสั่ง อนุญาต และให้ผู้บังคับบัญชาเสนอรายงานลาไปตามลำดับจนถงึ หัวหน้าส่วนราชการหรือ
หวั หนา้ สว่ นราชการข้ึนตรง
การลาไปศึกษา ฝกึ อบรมดงู าน หรอื ปฏิบตั กิ ารวิจัย ข้าราชการซ่งึ ประสงคจ์ ะลาไปศึกษาฝึกอบรม ดู
งาน หรือปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึง
ปลัดกระทรวงหรอื หวั หน้าสว่ นราชการขน้ึ ตรงเพ่ือพิจารณาอนุญาตสำหรบั การลาไปศกึ ษาฝึกอบรมดงู าน หรือ
ปฏิบตั กิ ารวิจัยในประเทศให้เสนอหรอื จัดส่งใบลาตามลำดับจนถึงหวั หน้าส่วนราชการ หรอื หวั หนา้ ส่วนราชการ
ขึ้นตรงเพื่อพิจารณาอนุญาต เว้นแต่ข้าราชการกรุงเทพมหานครให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อปลัด
กรุงเทพมหานคร สำหรบั หัวหนา้ ส่วนราชการใหเ้ สนอหรือจัดส่งใบลาต่อปลัดกระทรวง หวั หน้าส่วนราชการขึ้น
ตรงและข้าราชการ ในราชบัณฑิตยสถานให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดส่วนปลัด
กรุงเทพมหานครใหเ้ สนอหรือจัดส่งใบลาตอ่ ผ้วู า่ ราชการกรงุ เทพมหานครเพื่อพิจารณาอนญุ าต
การลาไปปฏบิ ัติงานในองคก์ ารระหวา่ งประเทศ ขา้ ราชการซง่ึ ประสงคจ์ ะลาไปปฏิบตั งิ านในองค์การ
ระหวา่ งประเทศให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บงั คับบัญชาตามลำดบั จนถงึ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณา โดย
ถือปฏิบัตติ ามหลกั เกณฑ์ที่กำหนด
การลาตดิ ตามคสู่ มรส ข้าราชการซึง่ ประสงค์ตดิ ตามคู่สมรสให้เสนอหรือจดั ส่งใบลาตอ่ ผ้บู ังคับบัญชา
ตามลำดับ จนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ลาไดไ้ ม่
เกินสองปีและในกรณีจำเปน็ อาจอนุญาตให้ลาได้อีกสองปี แต่เม่อื รวมแลว้ ตอ้ งไม่เกินส่ีปี ถา้ เกินสี่ปี ให้ลาออก
จากราชการสำหรับปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง และข้าราชการในราชบัณฑิตยสถานให้เสนอ
หรือจัดส่งใบลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้เสนอ หรือจัดส่งใบลาต่อผู้ว่าราชการ
กรงุ เทพมหานครเพอื่ พิจารณาอนญุ าต
12
คมู่ ือการบรหิ ารงานบคุ คล
วนิ ยั และการดำเนนิ การทางวินัย
วินยั : การควบคุมความประพฤตขิ องคนในองค์กรให้เปน็ ไปตามแบบแผนท่ีพึงประสงค์
วินัยขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา : ข้อบัญญัติที่กำหนดเป็นขอ้ ห้ามและ ข้อปฏบิ ัติตาม
หมวด 6 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไข
เพิ่มเตมิ ฉบับท่ี ๒ พ.ศ. ๒๕๕๑
โทษทางวินัย มี 5 สถาน คอื
วนิ ยั ไม่รา้ ยแรง มดี งั น้ี
1. ภาคทณั ฑ์
2. ตัดเงนิ เดือน
3. ลดขนั้ เงนิ เดือน
วนิ ยั รา้ ยแรง มดี ังนี้
4. ปลดออก
5. ไลอ่ อก
การว่ากล่าวตักเตือนหรือการทำทัณฑ์บนไม่ถือวา่ เป็นโทษทางวินัยใช้ในกรณีทีเ่ ป็นความผิดเล็กน้อย
และมีเหตุอันควรงดโทษ การว่ากล่าวตักเตือนไม่ต้องทำเป็นหนังสือ แต่การทำทัณฑ์บนต้องทำเป็นหนังสือ
(มาตรา 100 วรรคสอง)
โทษภาคทัณฑ์
ใช้ลงโทษในกรณีที่เป็นความผิดเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน โทษภาคทัณฑ์ไม่ต้องห้ามการ
เล่อื นขัน้ เงินเดอื น
โทษตัดเงินเดือนและลดขนั้ เงินเดอื น
ใชล้ งโทษในความผิดที่ไมถ่ ึงกับเปน็ ความผดิ ร้ายแรง และไม่ใชก่ รณที ่ีเป็นความผดิ เลก็ นอ้ ย
โทษปลดออกและไลอ่ อก
ใช้ลงโทษในกรณีท่เี ป็นความผดิ วนิ ัยรา้ ยแรงเท่าน้ัน
การลดโทษความผิดวินยั ร้ายแรง
ห้ามลดโทษต่ำกวา่ ปลดออก ผถู้ กู ลงโทษปลดออกมสี ิทธิไดร้ ับบำเหน็จบำนาญเสมือนลาออกการสั่งให้ออกจาก
ราชการไมใ่ ชโ่ ทษทางวนิ ัย
วินัยไมร่ า้ ยแรง ได้แก่
1. ไม่สนบั สนนุ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษตั รยิ เ์ ปน็ ประมุข ตามรฐั ธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิใ์ จ
2. ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสมอภาค และเที่ยงธรรม ต้องมีความวิริยะ
อุตสาหะขยันหมั่นเพยี ร ดแู ลเอาใจใส่ รักษาประโยชน์ของทางราชการ และตอ้ งปฏิบตั ิตน ตามมาตรฐานและ
จรรยาบรรณวิชาชีพ
13
คู่มอื การบรหิ ารงานบคุ คล
3. อาศยั หรอื ยอมให้ผูอ้ ืน่ อาศยั อำนาจและหนา้ ทรี่ าชการของตนไมว่ า่ จะโดยทางตรง หรอื ทางอ้อมหา
ประโยชนใ์ หแ้ กต่ นเองและผอู้ ืน่
4. ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงาน
การศึกษามติ ครม. หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถือประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน และไม่ให้เกิดความเสียหายแก่
ราชการ
5. ไมป่ ฏิบตั ติ ามคำสงั่ ของผู้บงั คบั บัญชาซง่ึ ส่งั ในหนา้ ที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของ
ทางราชการแต่ถา้ เห็นว่าการปฏิบตั ิตามคำส่ังนั้นจะทำใหเ้ สยี หายแกร่ าชการ หรือจะเปน็ การไม่รกั ษาประโยชน์
ของทางราชการจะเสนอความเห็นเป็นหนังสือภายใน ๗ วัน เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งก็ได้ และเม่ือ
เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันเป็นหนังสือใหป้ ฏิบัติตามคำสั่งเดิมผู้อยู่ใต้บังคับบญั ชาตอ้ งปฏบิ ัติ
ตาม
6. ไม่ตรงต่อเวลา ไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียน ละท้ิงหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ
โดยไมม่ เี หตผุ ลอนั สมควร
7. ไมป่ ระพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนชุมชน สงั คม ไม่สภุ าพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคี
ไม่ช่วยเหลือเกื้อกลู ตอ่ ผเู้ รียนและขา้ ราชการด้วยกนั หรอื ผ้รู ว่ มงานไม่ต้อนรบั หรอื ให้ความสะดวกให้ความเป็น
ธรรมตอ่ ผู้เรียนและประชาชนผูม้ าติดต่อราชการ
8. กล่ันแกลง้ กล่าวหา หรือรอ้ งเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง
9. กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือ
เสือ่ มเสยี เกยี รตศิ ักดใ์ิ นตำแหน่งหนา้ ท่รี าชการของตน
10. เป็นกรรมการผู้จัดการ หรอื ผจู้ ดั การ หรอื ดำรงตำแหน่งอืน่ ใดทม่ี ีลกั ษณะงานคล้ายคลงึ กันนั้น ใน
ห้างห้นุ ส่วนหรือบริษทั
11. ไม่วางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าท่ี และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้อง กับ
ประชาชนอาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบคุ คล กลุ่มบุคคล
หรอื พรรคการเมอื งใด
12. กระทำการอันใดอันได้ชอื่ วา่ เป็นผู้ประพฤติชวั่
13. เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินยั ไม่ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใตบ้ ังคบั บัญชา กระทำผดิ
วินัย หรือละเลย หรือมีพฤติกรรมปกป้อง ช่วยเหลือมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาถูกลงโทษทางวินัย หรือปฏิบัติ
หนา้ ท่ีดังกล่าวโดยไม่สุจรติ
วนิ ัยร้ายแรง ไดแ้ ก่
1. ทุจริตต่อหน้าทรี่ าชการ
2. จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษา มติ ครม.
หรือนโยบายของรัฐบาลประมาทเลินเลอ่ หรือขาดการเอาใจใสร่ ะมัดระวังรักษาประโยชน์ ของทางราชการอัน
เปน็ เหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอยา่ งร้ายแรง
14
ค่มู ือการบรหิ ารงานบุคคล
3. ขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วย
กฎหมายและระเบยี บของทางราชการอันเปน็ เหตใุ หเ้ สยี หายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
4. ละทิ้งหน้าที่หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ
อยา่ งรา้ ยแรง
5. ละทิ้งหนา้ ท่ีราชการตดิ ตอ่ ในคราวเดยี วกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วนั โดยไม่มีเหตผุ ลอันสมควร
6. กลั่นแกล้ง ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงผู้เรียนหรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการ อย่าง
ร้ายแรง
7. กลั่นแกล้ง กล่าวหา หรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความ
เสยี หายอยา่ งรา้ ยแรง
8. กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เส่ือมเสียความเที่ยงธรรม หรือ
เสื่อมเสียเกียรติศักดิใ์ นตำแหน่งหน้าท่ีราชการโดยมุ่งหมายจะใหเ้ ป็นการซื้อขายหรือให้ได้รับ แต่งตั้งให้ดำรง
ตำแหน่งหรือวิทยฐานะใดโดยไม่ชอบดว้ ยกฎหมาย หรือเปน็ การกระทำอันมลี ักษณะ เป็นการให้หรือได้มาซึง่
ทรพั ยส์ นิ หรือสทิ ธิประโยชนอ์ น่ื เพื่อให้ตนเองหรือผูอ้ น่ื ได้รับการบรรจุ และแตง่ ตัง้ โดยมิชอบ
9. คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของ
ผู้อื่น หรือจ้างวานใช้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การ
เลือ่ นตำแหน่ง การเล่ือนวิทยฐานะ หรอื การใหไ้ ดร้ ับเงนิ เดอื นในระดบั ท่สี งู ขน้ึ
10. รว่ มดำเนนิ การคัดลอกหรอื ลอกเลียนผลงานของผู้อ่ืนโดยมิชอบ หรอื รับจดั ทำผลงานทางวิชาการ
ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไมเ่ พื่อให้ผู้อื่นนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์เพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเลื่อน
ตำแหน่ง เล่ือนวทิ ยฐานะ หรือให้ไดร้ ับเงินเดือนในอนั ดบั ทีส่ ูงขึ้น
11. เข้าไปเกยี่ วขอ้ งกบั การดำเนินการใด ๆ อนั มลี กั ษณะเป็นการทุจริตโดยการซอ้ื สทิ ธิหรือขายเสียง
ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งอื่นที่มีลักษณะเป็นการ
ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยรวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุน หรือชักจูงให้ผู้อื่นกระทำการใน
ลักษณะเดยี วกนั
12. กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้
จำคุกหรอื ให้รบั โทษทีห่ นักกว่าจำคุก เวน้ แต่เปน็ โทษสำหรบั ความผิดท่ีไดก้ ระทำโดยประมาท หรือลหุโทษ หรอื
กระทำการอื่นใดอนั ไดช้ อ่ื ว่าเป็นผ้ปู ระพฤตชิ ั่วอยา่ งรา้ ยแรง
13. เสพยาเสพติด หรอื สนับสนนุ ใหผ้ ้อู น่ื เสพยาเสพติด
14. เล่นการพนนั เปน็ อาจณิ
15. กระทำการลว่ งละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนกั ศึกษาไม่ว่าจะอยใู่ นความดูแลรับผิดชอบ ของตน
หรอื ไม่
การดำเนินการทางวนิ ัย
การดำเนินการทางวินัย กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการในการออกคำสั่งลงโทษ ซึ่งเป็น
15
คมู่ อื การบริหารงานบคุ คล
ขั้นตอนที่มีลำดับก่อนหลังต่อเนื่องกันอันได้ แก่ การตั้งเรื่องกล่าวหาการสืบสวนสอบสวน การพิจารณา
ความผิดและกำหนดโทษและการสัง่ ลงโทษรวมท้งั การดำเนนิ การต่าง ๆ ในระหวา่ งการสอบสวนพิจารณา เชน่
การส่งั พกั การส่ังใหอ้ อกไวก้ ่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพจิ ารณา
หลกั การดำเนินการทางวนิ ยั
1. กรณีที่ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวนิ ัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่
แลว้ ผู้บงั คบั บัญชาก็สามารถดำเนินการทางวนิ ัยไดท้ ันที
2. กรณีที่มีการร้องเรียนด้วยวาจาให้จดปากคำ ให้ผู้ร้องเรียนลงลายมือชื่อและวัน เดือน ปี พร้อม
รวบรวมพยานหลักฐานอื่น ๆ ประกอบการพิจารณาแล้วดำเนินการให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริง โดยตั้ง
กรรมการสบื สวนหรอื ส่ังให้บุคคลใดไปสบื สวนหากเห็นว่ามมี ลู ก็ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตอ่ ไป
3. กรณีมกี ารร้องเรยี นเปน็ หนังสอื ผ้บู งั คบั บัญชาตอ้ งสบื สวนในเบือ้ งต้นก่อนหากเหน็ วา่ ไม่มีมูลกส็ ่ังยตุ ิ
เรื่องถ้าเห็นว่ามีมูลก็ตั้งคณะกรรมการสอบสวนต่อไป กรณีหนังสือร้องเรียนไม่ลงลายมือชื่อและที่อยู่ของผู้
ร้องเรียนหรือไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่แน่นอนจะเข้าลักษณะของบัตรสนเท่ห์ มติ ครม. ห้ามมิให้รับฟัง
เพราะจะทำใหข้ า้ ราชการเสียขวญั ในการปฏิบตั ิหนา้ ที่
ขั้นตอนการดำเนนิ การทางวินัย
1. การตั้งเรื่องกล่าวหาเป็นการตัง้ เร่ืองดำเนนิ การทางวินยั แก่ขา้ ราชการเม่ือปรากฏ กรณีมีมูลทีค่ วร
กล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยมาตรา 98 กำหนดให้ผู้บังคบั บัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพือ่ ดำเนินการ
สอบสวนให้ได้ความจริงและความยุติธรรมโดยไม่ชักช้าผู้ตั้งเรือ่ งกล่าวหาคือผู้บังคับบัญชาของผู้ถูก กล่าวหา
ความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาสามารถแตง่ ตั้งกรรมการสอบสวน
ข้าราชการในโรงเรียนทุกคนความผิดวินัยรา้ ยแรง ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓
เปน็ ผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งต้ังคณะกรรมการสอบสวน
2. การแจ้งข้อกล่าวหา มาตรา 98 กำหนดไว้ว่า ในการสอบสวนจะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุป
พยานหลกั ฐาน ทส่ี นบั สนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มใี ห้ผู้ถกู กล่าวหาทราบ โดยระบุหรือไม่ระบชุ ื่อพยานก็ได้เพ่ือให้ผู้
ถูกกลา่ วหามโี อกาสช้แี จงและนำสืบแกข้ ้อกล่าวหา
3. การสอบสวน คอื การรวบรวมพยานหลกั ฐานและการดำเนินการทงั้ หลาย เพอื่ จะทราบข้อเท็จจริง
และพฤตกิ ารณ์ต่าง ๆ หรือพสิ จู น์เก่ยี วกบั เรื่องที่กลา่ วหาเพือ่ ให้ไดค้ วามจริงและยุตธิ รรม และเพือ่ พจิ ารณาว่าผู้
ถูกกลา่ วหาไดก้ ระทำผิดวนิ ยั จริงหรอื ไม่ถ้าผิดจรงิ ก็จะได้ลงโทษ ข้อยกเว้นกรณที เี่ ป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
ตามที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ. จะดำเนนิ การ ทางวินัยโดยไมส่ อบสวนกไ็ ด้
ความผดิ ทีป่ รากฏชัดแจง้ ตามทก่ี ำหนดในกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยกรณีความผดิ ทป่ี รากฏชัดแจ้ง พ.ศ.2549
ก. การกระทำผิดวนิ ัยอย่างไม่ร้ายแรงท่ีเปน็ กรณีความผดิ ทีป่ รากฏอย่างชัดแจ้ง ไดแ้ ก่
(1) กระทำความผิดอาญาจนต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นกระทำผิดและผู้บังคับ บัญชาเห็นว่า
ข้อเท็จจรงิ ตามคำพิพากษาประจักษ์ชดั
(2) กระทำผดิ วินัยไมร่ า้ ยแรงและได้รบั สารภาพเปน็ หนงั สือต่อผู้บงั คับบัญชาหรือให้ถอ้ ยคำรบั สารภาพ
16
คู่มอื การบรหิ ารงานบคุ คล
ต่อผูม้ ีหน้าท่ีสบื สวนหรือคณะกรรมการสอบสวนโดยมกี ารบันทึกถอ้ ยคำเป็นหนังสือ
ข. การกระทำผดิ วนิ ัยอย่างร้ายแรงที่เปน็ กรณีความผิดท่ปี รากฏชัดแจ้ง ไดแ้ ก่
(3) กระทำความผดิ อาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษทีห่ นกั กว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
หรือลงโทษที่หนักกว่าจำคกุ
(4) ละทิง้ หนา้ ที่ราชการตดิ ต่อในคราวเดยี วกนั เปน็ เวลาเกินกว่า 15 วันผู้บงั คับบัญชา สืบสวนแล้วเห็น
วา่ ไม่มีเหตุผลสมควร หรอื มีพฤติการณ์อันแสดงถงึ ความจงใจไมป่ ฏิบัตติ ามระเบียบ ของทางราชการ
(5) กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ ถ้อยคำรับ
สารภาพต่อผูม้ ีหนา้ ที่สบื สวนหรอื คณะกรรมการสอบสวนโดยมกี ารบันทกึ ถอ้ ยคำเปน็ หนังสือ
การอทุ ธรณ์
มาตรา 121 และมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญตั ิระเบยี บขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศกึ ษา
พ.ศ.๒๕๔๗ บญั ญัติใหผ้ ู้ถูกลงโทษทางวนิ ัยมีสทิ ธิอทุ ธรณ์คำส่ังลงโทษต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นท่กี ารศึกษา อ.ก.ค.ศ.
ท่ี ก.ค.ศ. ตัง้ แล้วแต่กรณี ภายใน 30 วัน
เงอื่ นไขในการอุทธรณ์
ผู้อุทธรณ์ ต้องเป็นผู้ทีถ่ ูกลงโทษทางวนิ ัยและไมพ่ อใจผลของคำสั่งลงโทษผู้อุทธรณ์ ต้องอุทธรณเ์ พอื่
ตนเองเทา่ นนั้ ไม่อาจอทุ ธรณแ์ ทนผ้อู น่ื ได้
ระยะเวลาอทุ ธรณ์ภายใน 30 วนั นับแต่วันทีไ่ ดร้ ับแจ้งคำสง่ั ลงโทษต้องทำเป็นหนงั สือ
การอทุ ธรณโ์ ทษวินัยไม่ร้ายแรง การอทุ ธรณ์คำสั่งโทษภาคทัณฑ์ ตดั เงินเดือน หรือลดข้ันเงินเดือนท่ี
ผู้บังคับบัญชาสั่งด้วยอำนาจของตนเอง ต้องอุทธรณ์ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ. ส่วน
ราชการเว้นแต่การสั่งลงโทษตามมตใิ หอ้ ทุ ธรณต์ ่อ ก.ค.ศ.
การอทุ ธรณ์โทษวนิ ัยร้ายแรง การอุทธรณ์คำส่ังลงโทษปลดออกหรือไลอ่ อกจากราชการต้องอุทธรณ์
ต่อ ก.ค.ศ.ทงั้ นี้การร้องทุกข์คำสัง่ ให้ออกจากราชการหรอื คำสั่งพกั ราชการหรือให้ออกจากราชการไวก้ ่อนก็ต้อง
รอ้ งทุกขต์ อ่ ก.ค.ศ. เชน่ เดียวกนั
การร้องทุกข์ หมายถึง ผู้ถูกกระทบสิทธิหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคำสั่งของฝ่ายปกครองหรือ
คับขอ้ งใจจากการกระทำของผู้บังคบั บญั ชาใช้สิทธริ อ้ งทกุ ข์ขอความเป็นธรรมขอให้เพกิ ถอนคำส่ังหรือทบทวน
การกระทำของฝา่ ยปกครองหรือของผูบ้ งั คับบญั ชา
มาตรา 122 และมาตรา 123 แห่งพระราชบญั ญตั ิระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ บัญญัติให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการมีสิทธิร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ.และผู้ซึ่งตน เห็นว่าตนไม่ได้รับ
ความเปน็ ธรรมหรือมคี วามคับข้องใจเนอ่ื งจากการกระทำของผู้บังคับบัญชาหรอื กรณีถูกตั้งกรรมการสอบสวน
มสี ิทธิรอ้ งทกุ ข์ต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพ้นื ทีก่ ารศึกษา อ.ก.ค.ศ. ท่ี ก.ค.ศ. ตั้งหรือ ก.ค.ศ. แลว้ แต่กรณภี ายใน 30 วนั
ผู้มีสทิ ธิร้องทุกข์ ได้แก่ ขา้ ราชการครู และบคุ ลากรทางการศึกษาเหตทุ ี่จะร้องทกุ ข์
(1) ถูกส่ังใหอ้ อกจากราชการ
17
คู่มอื การบรหิ ารงานบคุ คล
(2) ถกู ส่ังพกั ราชการ
(3) ถูกส่งั ให้ออกจากราชการไวก้ ่อน
(4) ไม่ไดร้ ับความเปน็ ธรรม หรอื คบั ข้องใจจากการกระทำของผูบ้ งั คับบัญชา
(5) ถูกตัง้ กรรมการสอบสวน
การเล่ือนขัน้ เงินเดอื น
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขัน้ เงินเดอื นในแต่ละครัง้ ต้องอยู่
ในเกณฑ์ ดังน้ี
1. ในครึ่งปีที่แล้วมามีผลการปฏิบัติงาน ความประพฤติในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ
จรรยาบรรณวชิ าชีพอยู่ในเกณฑ์ทีส่ มควรได้เล่อื นข้นั เงินเดอื น
2. ในครึ่งปีที่แล้วมาจนถึงวันออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่ถูกลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษ
ภาคทัณฑ์ หรือถูกลงโทษในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดท่ีเกยี่ วกับการปฏบิ ัตหิ น้าท่รี าชการ หรือ ความผิดที่
ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิข์ องตำแหน่งหน้าท่ีราชการของตน ซึ่งไม่ไช่ความผิดที่ไดก้ ระทำ โดยประมาท หรือ
ความผดิ ลหโุ ทษ
3. ในครง่ึ ปีทแ่ี ล้วมาต้องไม่ถกู ส่งั พักราชการเกนิ กว่าสองเดือน
4. ในครงึ่ ปที แ่ี ลว้ มาตอ้ งไมข่ าดราชการโดยไม่มีเหตผุ ลอนั สมควร
5. ในครง่ึ ปีที่แลว้ มาได้รับการบรรจเุ ข้ารบั ราชการมาแลว้ เปน็ เวลาไม่น้อยกวา่ ส่เี ดอื น
6. ในคร่งึ ปที ่ีแลว้ มาถ้าเปน็ ผ้ไู ด้รับอนุญาตไปศึกษาในประเทศฝกึ อบรมและดงู าน ณ ต่างประเทศต้อง
ได้ปฏบิ ัติหนา้ ท่ีราชการในคร่งึ ปที แี่ ลว้ มาเป็นเวลาไม่น้อยกวา่ สเ่ี ดือน
7. ในครง่ึ ปที ่ีแล้วมาตอ้ งไมล่ าหรอื มาทำงานสายเกนิ จำนวนครง้ั ท่ีหวั หน้าส่วนราชการกำหนด
8. ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบตั ิราชการหกเดอื นโดยมีวันลาไม่เกินยีส่ ิบสามวันแต่ไม่รวมวันลา
ดงั ตอ่ ไปนี้
1) ลาอุปสมบทหรอื ลาไปประกอบพธิ ีฮัจย์
2) ลาคลอดบุตรไมเ่ กินเก้าสบิ วัน
3) ลาปว่ ยซง่ึ จำเปน็ ต้องรักษาตัวเปน็ เวลานานไม่วา่ คราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกิน
หกสบิ วันทำการ
4) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไป
หรอื กลับจากการปฏิบัตริ าชการตามหน้าท่ี
5) ลาพักผอ่ น
6) ลาเข้ารับการตรวจเลอื กหรือเข้ารับการเตรียมพล
7) ลาไปปฏิบัตงิ านในองค์การระหว่างประเทศ
18
คู่มอื การบริหารงานบุคคล
การฝกึ อบรมและลาศกึ ษาตอ่
การฝึกอบรม หมายความว่า การเพิ่มพูนความรูค้ วามชำนาญ หรือประสบการณ์ดว้ ยการเรียน หรือ
การวิจัยตามหลักสูตรของการฝึกอบรม หรือการสัมมนาอบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินงานตาม โครงการ
แลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ การไปเสนอผลงานทางวิชาการ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทั้งนี้โดยมิได้มี
วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ ก.พ.รับรอง และหมายความรวมถึงการ
ฝึกฝนภาษาและการรบั คำแนะนำก่อนฝึกอบรมหรอื การดูงานที่เปน็ ส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมหรือต่อจากการ
ฝกึ อบรมนัน้ ดว้ ย
การดูงาน หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้วยการสังเกตการณ์ และการ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น (การดงู านมีระยะเวลาไม่เกิน ๑๕ วนั ตามหลักสูตรหรอื โครงการ หรอื แผนการดูงาน
ในต่างประเทศ หากมีระยะเวลาเกินกำหนดให้ดำเนนิ การเปน็ การฝกึ อบรม)
การลาศึกษาต่อ หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียนหรือการวิจัยตามหลักสูตรของ
สถาบนั การศึกษา หรือสถาบันวิชาชพี เพอื่ ให้ได้มาซ่งึ ปรญิ ญาหรือประกาศนยี บตั รวิชาชพี ที่ ก.พ. รับรองและ
หมายความรวมถึงการฝึกฝนภาษาและการได้รับคำแนะนำก่อนเข้าศึกษาและการฝึกอบรม หรือการดูงานท่ี
เปน็ สว่ นหนึ่งของการศึกษาหรอื ต่อจากการศกึ ษานน้ั ด้วย
การออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากราชการเมื่อ (มาตรา ๑๐๗ พ.ร.บ.ระเบียบ
ขา้ ราชการครฯู )
1) ตาย
2) พน้ จากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหนจ็ บำนาญข้าราชการ
3) ลาออกจากราชการและไดร้ ับอนุญาตใหล้ าออก
4) ถกู ส่ังใหอ้ อก
5) ถูกสง่ั ลงโทษปลดออกหรอื ไล่ออก
6) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่ไม่ต้องมี
ใบอนญุ าตประกอบวิชาชพี
การลาออกจากราชการ
ขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยืน่ หนังสือลาออกต่อ
ผู้บังคับบัญชาเพ่ือใหผ้ ูม้ อี ำนาจตาม มาตรา 53 เปน็ ผพู้ จิ ารณาอนญุ าต
กรณีผู้มอี ำนาจตาม มาตรา 53 พิจารณาเห็นวา่ จำเป็นเพื่อประโยชนแ์ ก่ราชการจะยบั ย้ังการอนุญาต
ให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกนิ 90 วนั นับแตว่ ันขอลาออกก็ได้ แต่ต้องแจ้งการยบั ย้งั พรอ้ มเหตผุ ลให้ผู้ขอลาออก
ทราบ เม่อื ครบกำหนดเวลาทย่ี ับยงั้ แลว้ ใหก้ ารลาออกมผี ลตง้ั แตว่ ันถัดจากวันครบกำหนดเวลาทยี่ ับยงั้
ถ้าผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ไม่ได้อนุญาตและไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตให้ลาออก ให้การลาออกมีผล
ตั้งแตว่ นั ขอลาออก
19
คูม่ อื การบรหิ ารงานบคุ คล
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่ง ทาง
การเมอื งหรือเพือ่ สมัครรบั เลอื กตงั้ ให้ยื่นหนังสอื ลาออกต่อผบู้ งั คบั บญั ชาและให้การลาออกมีผลนับต้ังแต่วันที่ผู้
นัน้ ขอลาออก
ระเบียบ ก.ค.ศ วา่ ดว้ ยการลาออกของขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2548
ข้อ 3 การยน่ื หนังสือขอลาออกจากราชการให้ย่ืนลว่ งหนา้ กอ่ นวนั ขอลาออกไม่นอ้ ยกวา่ ๓๐ วนั
กรณีผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกเห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็นพิเศษจะอนุญาตเป็นลายลักษณ์
อักษรกอ่ นวันขอลาออกใหผ้ ู้ประสงคจ์ ะลาออกย่นื หนังสอื ขอลาออกลว่ งหน้านอ้ ยกวา่ 30 วนั ก็ได้
หนังสือขอลาออกทีย่ ืน่ ล่วงหน้าก่อนวนั ขอลาออกนอ้ ยกว่า 30 วัน โดยไมไ่ ด้รบั อนุญาตเป็นลายลักษณ์
อกั ษรจากผมู้ ีอำนาจอนญุ าต หรือที่มิไดร้ ะบุวันขอลาออก ใหถ้ อื วันถัดจากวันครบกำหนด 30 วนั นับแต่วันย่ืน
เป็นวนั ขอลาออก
ข้อ 5 ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกพิจารณาว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการหรือจะส่ัง
ยบั ยั้งการอนญุ าตใหล้ าออกให้ดำเนนิ การ ดังนี้
(1) หากพิจารณาเห็นว่าควรอนุญาตให้ลาออกจากราชการได้ให้มีคำสั่งอนุญาตให้ลาออก เป็นลาย
ลกั ษณ์อักษรให้เสรจ็ สน้ิ ก่อนวันขอลาออกแลว้ แจ้งคำสง่ั ดงั กลา่ วใหผ้ ูข้ อลาออกทราบก่อนวนั ขอลาออกด้วย
(2) หากพิจารณาเหน็ ว่าควรยับยง้ั การอนญุ าตให้ลาออกเนอื่ งจากจำเปน็ เพื่อประโยชนแ์ ก่ราชการ ให้
มีคำสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรให้เสร็จสิ้นก่อนวันขอลาออกแล้วแจ้งคำสั่งดังกล่าว
พร้อมเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบก่อนวันขอลาออกดว้ ย ทง้ั นีก้ ารยบั ยัง้ การอนญุ าตให้ลาออกให้สั่งยับยั้งไว้ได้
เป็นเวลาไมเ่ กนิ 90 วนั และสง่ั ยบั ย้งั ไดเ้ พยี งครัง้ เดียวจะขยายอีกไมไ่ ด้ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ยับยั้งแล้วให้การ
ลาออกมีผลตัง้ แตว่ ันถดั จากวันครบกำหนดเวลาทย่ี ับย้ัง
ขอ้ 6 กรณที ่ีผ้ขู อลาออกไดอ้ อกจากราชการไปโดยผลของกฎหมาย เน่อื งจากผมู้ ีอำนาจอนุญาตมิได้มี
คำสั่งอนุญาตให้ลาออกและมิได้มีคำสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกก่อนวันขอลาออก หรือเนื่องจากครบ
กำหนดเวลายบั ยงั้ การอนุญาตให้ลาออกให้ผู้มีอำนาจอนญุ าตมีหนงั สอื แจ้ง วนั ออกจากราชการให้ผู้ขอลาออก
ทราบภายใน 7 วัน นับแตว่ นั ทีผ่ ู้นนั้ ออกจากราชการและแจ้งใหส้ ว่ นราชการทีเ่ กย่ี วข้องทราบด้วย
ขอ้ 7 การยนื่ หนังสอื ขอลาออกจากราชการเพ่อื ดำรงตำแหน่งทางการเมอื ง หรอื เพ่อื สมคั รรับเลือกตั้ง
ให้ยนื่ ต่อผบู้ ังคับบัญชาอย่างช้าภายในวนั ท่ขี อลาออกและให้ผบู้ งั คบั บัญชาดงั กลา่ วเสนอ หนังสอื ขอลาออกนั้น
ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกโดยเร็วเมื่อผู้มีอำนาจอนุญาต
ได้รบั หนังสือขอลาออกแลว้ ให้มคี ำสั่งอนุญาตออกจากราชการไดต้ ้ังแต่ วันที่ขอลาออก
5. ครูอัตราจา้ ง
กรณีครูอัตราจ้างที่จ้างดว้ ยเงินงบประมาณให้ปฏิบตั ิหน้าที่ครู เช่น ปฏิบัติหน้าที่ครูผู้ช่วย ครูพี่เลี้ยง
หรือปฏิบัติหน้าที่ครูที่เรียกชื่อย่างอื่นให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้ างประจำของส่วน
ราชการพ.ศ. 2537 และแนวปฏิบัตทิ ่ใี ชเ้ พือ่ การน้ัน
20
ค่มู ือการบริหารงานบุคคล
21