The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

241724-Article Text-851533-2-10-20200827

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sirikorn.ch2542, 2021-03-14 05:43:41

241724-Article Text-851533-2-10-20200827

241724-Article Text-851533-2-10-20200827

ภาษาและวฒั นธรรม: ความหมาย ความส�ำคญั และความสัมพันธร์ ะหว่างกัน
Language and Culture: Its Meaning, Importance, and Relation

พระอุดมธีรคุณ*
Phra Udomtheerakhun

บัณฑิกา จารมุ า**
Bantika Jaruma
มหาวิทยาลยั มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั มหาปชาบดีเถรีวทิ ยาลัยในสงั ฆราชูปถมั ภ์
Mahamakut Buddhist University Mahapajapati Buddhist College
Email: [email protected]

Received : May 5, 2020
Revised : May 15, 2020
Accepted : May 29, 2020

บทคัดยอ่

บทความนมี้ วี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื นำ� เสนอองคค์ วามรเู้ กย่ี วกบั ความหมาย ความสำ� คญั และความสมั พนั ธ์
ระหวา่ งกนั ของภาษาและวฒั นธรรมโดยศกึ ษาผา่ นการทบทวนวรรณกรรมทเี่ กยี่ วขอ้ ง ผลการศกึ ษาพบวา่
ภาษาเป็นเร่ืองเกี่ยวกับระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างข้ึนเพ่ือส่ือสารในชีวิตประจำ� วันตามวัตถุประสงค์
ที่ต้องการส่ือสาร ส่วนวัฒนธรรมเป็นเรื่องทุกประการท่ีอยู่ในวิถีชีวิตมนุษย์ ดังน้ัน ภาษาและวัฒนธรรม
จึงมีลักษณะคล้ายกันในแง่ท่ีว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างข้ึนและทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ สามารถถูกสืบทอด
จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหน่ึงจนกลายเป็นระเบียบแบบแผน กฎเกณฑ์ การปฏิบัติอันเป็นเอกลักษณ์และ
อัตลักษณ์เฉพาะของคนกลุ่มน้ัน อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะเฉพาะของภาษาท่ีมีหน้าที่เพ่ือการส่ือสาร
ความหมายอันสะท้อนความคิด ทัศนคติ ค่านิยมและถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้ใช้ภาษาอันเป็นลักษณะหนึ่ง
ของวัฒนธรรม ดงั นน้ั จึงกล่าวไดว้ า่ ภาษามีฐานะเปน็ สาขาหน่งึ ของวัฒนธรรม

คำ� ส�ำคญั : ภาษา; วัฒนธรรม; ความหมายของภาษาและวฒั นธรรม;
ความส�ำคัญของภาษาและวัฒนธรรม; ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรม

*ผู้อ�ำนวยการและอาจารย์ประจ�ำมหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในสังฆราชูปถัมภ์ Director and Lecturer of
Mahapajapati Buddhist College
** อาจารย์ประจำ�มหาปชาบดเี ถรวี ทิ ยาลัยในสังฆราชปู ถัมภ์ Lecturer of Mahapajapati Buddhist College

54 วารสารมหาจฬุ าวชิ าการ ปที ี่ ๗ ฉบบั ที่ ๒

Abstract

This article aims to present the knowledge on the meaning and the importance
of language and culture, and its relationship. The data were collected by literature
review on the concepts and theories related. The study found that Language is
a symbolic system created by human for daily communication as the human’s
objectives. For Culture, it is the whole things in the way of human life. Therefore,
Language and Culture have the same aspects in case of the things created by
human, and being able to be learned from one generation to another one generation
until forming the uniqueness and identities of its patterns, regulations, and practice.
However, as a specific aspect of language is to communicate the meanings that
reflected thoughts, attitudes, values, and residences of the language users, that are
one of aspects of the culture so It could say that Language is a branch of Culture.

Keywords: Language; Culture; Meaning of Language and Culture;
Importance of Language and Culture; Relationship between
Language and Culture

บทนำ�

การเติบโตทางเทคโนโลยีและเครือข่ายทางสังคมที่ขยายใหญ่ขึ้นระดับโลก ส่งผลให้แต่ละ
ประเทศล้วนก�ำหนดทิศทางการพัฒนาความร่วมมือเชิงเครือข่ายนานาชาติและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี
เพอ่ื การพฒั นาประเทศทยี่ งั่ ยนื มากขน้ึ ตวั อยา่ งเชน่ การสรา้ งความรว่ มมอื ภมู ภิ าคอาเซยี นทมี่ วี ตั ถปุ ระสงค์
หลักเพ่ือสร้างความก้าวไกลของภูมิภาคผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
สง่ิ แวดลอ้ ม และการศกึ ษา1 ดงั นนั้ ประเทศในภูมภิ าคอาเซยี นจงึ เกดิ การแลกเปลยี่ นทางสงั คมอยา่ งเป็น
พลวตั รผา่ นการจา้ งงาน ความรว่ มมอื เชงิ เครอื ขา่ ย และการเรยี นการสอนในสถาบนั การศกึ ษาระดบั ตา่ ง ๆ
หลกั ฐานดงั กล่าวเหน็ ไดจ้ ากการเปิดรับสมคั รงานผูม้ ีทักษะภาษาองั กฤษและภาษาในภมู ิภาคอาเซียนของ
บริษัทข้ามชาติและเครือข่ายการท�ำงานระหว่างประเทศ การเปิดสอนภาษาและวัฒนธรรมของประเทศ
อาเซียนในสถาบันการศึกษาตา่ ง ๆ ของไทย ด้วยเหตนุ ้ี ภาษาและวฒั นธรรมจงึ กลายเปน็ ประเดน็ ส�ำคญั
ส�ำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี ๒๑ บทความน้ีจึงมีจุดมุ่งหมายเพ่ือปูความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความหมาย

1 สำ� นกั งานเลขาธิการอาเซียน, แนวคดิ หลัก, [ออนไลน์], แหล่งทม่ี า: https://www.asean2019.go.th /th/
abouts/key-concepts/ [๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๓]

ภาษาและวฒั นธรรม: ความหมาย ความส�ำคญั และความสมั พนั ธ์ระหว่างกัน 55

และความสำ� คัญของภาษาและวฒั นธรรมผ่านมมุ มองของนักคดิ ต่าง ๆ และเชือ่ มโยงใหเ้ ห็นความสัมพนั ธ์
ระหว่างกันอันเป็นหลักการที่ท�ำให้เห็นการท�ำงานของภาษาภายใต้บริบทวัฒนธรรมและภาษาในฐานะ
ทีเ่ ปน็ วฒั นธรรมดว้ ยตวั ของมนั เองเพอื่ เปน็ พน้ื ฐานการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมในระดบั ทส่ี งู ขึ้น

ความหมายของภาษาและวัฒนธรรม

คำ� วา่ “ภาษา” มาจากคำ� ในภาษาสนั สกฤตวา่ ภาษฺ ตรงกบั คำ� ในภาษาบาลวี า่ ภาสา โดยความหมาย
ตามรากศพั ท์ เปน็ คำ� กริยา แปลวา่ กลา่ ว พูด หรือ บอก ซง่ึ เม่อื น�ำมาเปลีย่ นรูปเปน็ “ภาษา” ในภาษาไทย
ได้ท�ำหน้าท่ีเป็นค�ำนาม มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า ค�ำพูด หรือถ้อยค�ำ2 อย่างไรก็ตาม นอกจาก
ความหมายตามรากศพั ทแ์ ลว้ ยงั มนี กั คดิ หลายทา่ นอธบิ ายความหมายของภาษาไวห้ ลากหลายซง่ึ สามารถ
จ�ำแนกได้เปน็ ๒ กลมุ่ ไดแ้ ก่
๑. กลุ่มที่มองภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์ท่ีใช้แทนความหมายผ่านวิธีการกล่าว การพูด หรือ
การบอกอยา่ งมีระเบยี บกฎเกณฑ์ ตวั อยา่ งเช่น ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน (๑๔ ธนั วาคม พ.ศ.
๒๔๓๑ – ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑) ได้ใหค้ วามหมายไวว้ า่ วธิ ีที่มนุษยแ์ สดงความในใจเพื่อบอกใหผ้ ู้ที่
ตนต้องการให้ทราบได้ทราบผ่านการใช้เสียงพูดที่มีความหมายตามที่ตกลงกัน เพราะฉะนั้น ภาษาจึง
ประกอบด้วยเสยี งพดู และความหมาย โดยเสยี งพดู นั้นเรยี กวา่ อาการภายนอก ส่วนความหมาย เรียกว่า
อาการภายใน ซ่ึงท้ังสองส่วนน้ีมีความสัมพันธ์กันแยกออกจากกันไม่ได้3 ส่วนนักคิดในยุคปัจจุบันอย่าง
ณภทั ร เทพพรรนะ ไดอ้ ธบิ ายไว้วา่ ภาษาคือวธิ ีการที่มนษุ ยใ์ ช้ทำ� ความเข้าใจระหวา่ งกัน โดยใชเ้ สียง กิรยิ า
อาการ ถอ้ ยคำ� ซงึ่ วธิ กี ารเหล่านีต้ ้องมีระเบยี บและการกำ� หนดรู้ความหมายร่วมกนั 4
๒. กลุ่มท่ีมองภาษาเป็นการส่ือสารระดับค�ำหรือประโยคท่ีมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ได้แก่ อุดม
วิโรฒน์สิขกดิตถ์ท่ีมองว่าภาษาคือค�ำหรือประโยคที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็นหรือใช้ส่ือความหมาย
โดยแตล่ ะภาษาจะมคี วามแตกตา่ งกนั 5 สว่ นกำ� ชยั ทองหลอ่ มองวา่ ภาษาเปน็ เครอ่ื งสอื่ ความหมายระหวา่ ง
มนุษย์ที่มีระเบียบค�ำและจังหวะเสียง ท�ำให้มนุษย์ก�ำหนดรู้ความประสงค์ของกันและกัน6 และวิจินต์

2 คณาจารย์ มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั , ภาษากับการสอ่ื สาร, (พระนครศรีอยธุ ยา : โรงพมิ พ์
มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๕๙), หนา้ ๖.
3 ธนานันท์ ตรงดี และคณะ, วัฒนธรรมการใช้ภาษา, พิมพ์คร้ังท่ี ๒, (มหาสารคาม : ส�ำนักพมิ พม์ หาวทิ ยาลยั
มหาสารคาม, ๒๔๓๙), หน้า ๓๑-๓๒.
4 ณภัทร เทพพรรชนะ, ภาษาไทยเพือ่ การส่อื สาร, (กรงุ เทพมหานคร : มหาวทิ ยาลัยหอการคา้ ไทย, ๒๕๔๑),
หน้า ๑.
5 ณภทั ร เทพพรรชนะ, ภาษาไทยเพอ่ื การสอื่ สาร, หนา้ ๓๒.
6 กำ� ชยั ทองหลอ่ , หลกั ภาษาไทย, พมิ พค์ รง้ั ที่ ๑๐, (กรงุ เทพมหานคร : บรษิ ทั รวมสาสน์ (๑๙๙๗) จำ� กดั , ๒๕๔๐),
หนา้ ๑.

56 วารสารมหาจฬุ าวชิ าการ ปีท่ี ๗ ฉบับท่ี ๒

ภานพุ งศ์ อธบิ ายวา่ ภาษาคอื เสยี งพดู ทม่ี นษุ ยท์ มี่ วี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื สอ่ื สารความคดิ ความรสู้ กึ ความตอ้ งการ
และประกอบกิจกรรมร่วมกนั โดยเสียงพดู น้ีตอ้ งมรี ะเบยี บและความหมาย7
ส�ำหรบั พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซงึ่ เปน็ พจนานุกรมหลักทอี่ ธิบายคำ� ศัพท์
(lexical) ของสังคมไทย ได้อธิบายความหมายของค�ำว่า “ภาษา” แยกย่อยเป็น ๕ ความหมาย โดยมี
ความหมายที่สอดคล้องกับการจ�ำแนกขา้ งตน้ ๒ ความหมาย ไดแ้ ก่ ความหมายแรก หมายถงึ “ถอ้ ยค�ำที่
ใช้พูดหรือเขียนเพื่อส่ือความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพ่ือส่ือความเฉพาะ
วงการ เชน่ ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม” ความหมายทสี่ อง หมายถงึ “เสยี ง ตวั หนงั สอื หรอื
กิริยาอาการท่ีสื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ” ส่วนอีก ๓ ความหมาย
เป็นเร่ืองเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ ชนชาติ และกลุ่มคนซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การใช้ค�ำว่า “ภาษา”
ในสังคมไม่ได้หมายถึงเพียงระบบสัญลักษณ์ท่ีส่ือความหมายตามวัตถุประสงค์ผู้ส่ือสารเท่านั้น แต่ยัง
เป็นตวั แทนของความเจริญทางเทคโนโลยีและกลมุ่ คนกลมุ่ ใดกล่มุ หนง่ึ ได้อกี ด้วย
สว่ นคำ� วา่ “วฒั นธรรม” ภาษาองั กฤษใชค้ ำ� วา่ culture เปน็ ศพั ทท์ ถ่ี กู บญั ญตั ขิ น้ึ ครง้ั แรก เมอ่ื ครสิ ต์
ศตวรรษท่ี ๑๘ โดยนักคิดทางมานุษยวิทยายุโรปตะวันตกชื่อเอด็ เวริ ์ด บี ไทเลอร์ (๒ ตลุ าคม ค.ศ. ๑๘๓๒
– ๒ มกราคม ค.ศ. ๑๙๑๗) อธิบายวา่ คำ� วา่ culture มรี ากศัพทม์ าจากภาษาละติน คอื คำ� วา่ cultura
หมายถงึ การเพาะปลกู ซึ่งไม่ไดห้ มายถงึ เฉพาะการท�ำการเกษตร ขุดดินเทา่ นนั้ แต่ยังหมายถงึ การปลูกฝงั
การดแู ลในด้านตา่ ง ๆ ทัง้ การใหก้ ารศกึ ษา การใหค้ วามเคารพ และการใหเ้ กยี รต8ิ ซง่ึ ตอ่ มาประเทศไทย
รับเอาค�ำน้ีมาใช้ โดยพระมหาหรุ่น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ แปลเป็นภาษาไทยว่า “ภูมิธรรม”
แต่ภายหลังพระบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ขณะทรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าวรรณา-
ไวทยากร ได้เปลี่ยนใหม่เป็นค�ำว่า “วัฒนธรรม” ด้วยเห็นว่ามีความหมายท่ีแสดงถึงการเปลี่ยนแปลง
และพัฒนามากกว่าค�ำว่าภูมิธรรม และนับแต่น้ันมาคนไทยจึงใช้ค�ำว่าวัฒนธรรมเป็นค�ำแปลของค�ำว่า
culture9 ซ่ึงปราชญ์ของไทยอยา่ งพระยาอนุมานราชธน (๑๔ ธนั วาคม พ.ศ.๒๔๓๑ – ๑๒ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๑๒) ไดใ้ หค้ ำ� นยิ ามไวว้ ่า “ส่ิงที่มนษุ ยเ์ ปลย่ี นแปลง ปรบั ปรุง หรือผลติ ข้ึนเพ่อื ความเจรญิ งอกงาม
ในวิถีชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวมท่ีถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้”10 โดยต่อมาในสมัย

7 วจิ ินต์ ภานพุ งศ,์ โครงสรา้ งภาษาไทย : ระบบไวยากรณ,์ (กรุงเทพมหานคร : มหาวทิ ยาลยั รามคำ� แหง, ๒๕๒๒),
หนา้ ๖.
8 นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, ค�ำศพั ทท์ างมานษุ ยวิทยา, [ออนไลน]์ , แหลง่ ที่มา: http://www.sac.or.th/databases/
anthropology-concepts/glossary/30 [๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓].
9 คณิต นยิ ะกิจ, ปรับเปลย่ี น Culture สู่วัฒนธรรม, [ออนไลน]์ , แหลง่ ที่มา: https://www.matichon.co.th/
education/news_1347057 [๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓].
10 ธนานันท์ ตรงดี และคณะ, วฒั นธรรมการใช้ภาษา, หนา้ ๑๒.

ภาษาและวัฒนธรรม: ความหมาย ความส�ำคัญ และความสมั พนั ธร์ ะหว่างกัน 57

ปฏวิ ตั วิ ฒั นธรรม จอมพล ป. พบิ ลู สงคราม ไดเ้ พม่ิ เตมิ ลกั ษณะของวฒั นธรรมในแงข่ องความมน่ั คงของชาติ
ไวใ้ นพระราชบญั ญตั วิ ฒั นธรรม พ.ศ. ๒๔๘๕ ซงึ่ ระบวุ า่ “ลกั ษณะทแี่ สดงถงึ ความเจรญิ งอกงาม ความเปน็
ระเบยี บ ความกลมเกลยี ว ความกา้ วหนา้ ของชาติ และศลี ธรรมอนั ดงี ามของประชาชน”11 สว่ นยคุ ปจั จบุ นั
ได้เพ่ิมเติมความหมายท่ีครอบคลุมถึงวิถีชีวิตคนกลุ่มย่อยในสังคม ดังปรากฏในพจนานุกรมฉบับ
ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซงึ่ เปน็ ฉบบั ลา่ สดุ ไดอ้ ธบิ ายความหมายไวว้ า่ “สงิ่ ทที่ ำ� ความเจรญิ งอกงาม
ให้แกห่ มู่คณะ เชน่ วัฒนธรรมไทย วฒั นธรรมในการแตง่ กาย, วิถีชวี ติ ของหมูค่ ณะ เชน่ วฒั นธรรมพนื้ บ้าน
วฒั นธรรมชาวเขา”12
จากการอธิบายความหมายข้างต้น จึงสรุปได้ว่า ภาษาเป็นเรื่องเก่ียวกับระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์
สรา้ งข้ึนเพ่ือสื่อสารในชวี ิตประจำ� วัน ตามวตั ถปุ ระสงคท์ ต่ี ้องการส่อื สาร ส่วนวัฒนธรรมเป็นเรือ่ งทุกอยา่ ง
ที่เก่ียวกับวิถีชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ภาษาและวัฒนธรรมจึงมีลักษณะคล้ายกันในแง่ท่ีว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์
สร้างขึ้นและทุกคนสามารถเรียนรู้ได้จนท�ำให้เกิดความหมายที่เข้าใจตรงกัน โดยท้ังภาษาและวัฒนธรรม
ถกู สบื ทอดจากรนุ่ หนง่ึ สอู่ กี รนุ่ หนงึ่ จนกลายเปน็ ระเบยี บแบบแผน กฎเกณฑ์ การปฏบิ ตั ิ อนั เปน็ เอกลกั ษณ์
และอัตลกั ษณเ์ ฉพาะของคนกลุ่มนั้น

ความส�ำคัญของภาษาและวัฒนธรรม

เมอื่ ภาษาและวฒั นธรรมเปน็ สง่ิ มนษุ ยส์ รา้ งขน้ึ เพอื่ ทำ� ใหส้ ามารถดำ� รงชวี ติ อยไู่ ด้ ภาษาและวฒั นธรรม
จงึ มีความสำ� คญั ตอ่ มนุษยโ์ ดยสามารถอธิบายแยกเป็น ๒ สว่ น ดงั ตอ่ ไปนี้
๑. ความส�ำคญั ของภาษา
ภาษามคี วามสำ� คญั ในฐานะเครอ่ื งมอื ถา่ ยทอดความคดิ ของมนษุ ยอ์ นั สรา้ งประโยชนใ์ นแงก่ ารบนั ทกึ
ความรู้ของแต่ละช่วงสมัยจนกลายเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสังคม ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็น
ความส�ำคัญของภาษาประเด็นน้ี คือ การจารึกประวัติความเป็นมาของแต่ละชนชาติ โดยประเทศไทย
ยกย่องให้จารึกพ่อขุนรามค�ำแหงเป็นต้นแบบแรกของการบันทึกประวัติศาสตร์ด้วยตัวเขียนที่สะท้อน
ให้เห็นวิถีชีวิตผู้คนในยุคแรกเร่ิมของชาวสยาม นอกจากนั้น จารึกในคัมภีร์โบราณและฐานพระพุทธรูป
ตามวดั ตา่ ง ๆ ไดก้ ลายเปน็ หลกั ฐานสะทอ้ นความเชอื่ ของผคู้ นในทอ้ งถนิ่ กบั พระพทุ ธศาสนา การถา่ ยทอด
ค�ำสอนของศาสดาแต่ละศาสนาในรปู แบบคมั ภรี ์ เช่น พระไตรปฎิ กสำ� หรับพระพทุ ธศาสนา คัมภรี ไ์ บเบิล้
ส�ำหรับศาสนาคริสต์ คัมภีร์อัลกุรอานส�ำหรับศาสนาอิสลาม โดยในแต่ละชนชาติได้แปลเนื้อหาคัมภีร์
เหลา่ นนั้ ดว้ ยภาษาของตนเพ่ือใหผ้ ู้คนแตล่ ะชนชาตเิ ข้าใจค�ำสอนไดง้ า่ ย สว่ นยคุ ปจั จุบนั มีการบนั ทกึ ภาษา

11 เรอื่ งเดียวกัน, หนา้ ๑๒.
12 ราชบณั ฑติ ยสถาน, พจนานกุ รม ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔, [ออนไลน]์ , แหลง่ ทมี่ า: http://www.
royin.go.th/dictionary/ [๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓].

58 วารสารมหาจุฬาวชิ าการ ปีท่ี ๗ ฉบับท่ี ๒

ในรปู แบบออนไลน์ เชน่ สารานกุ รมวกิ ิพเี ดียท่ีรวบรวมข้อมูลสำ� คัญของศาสตรต์ า่ ง ๆ ทั่วโลก การเขียน
เว็บบล็อก (Web Blog) เพ่ือเผยแพร่ความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ของเจ้าของเว็บบล็อกซ่ึงมีทั้งระดับ
ปจั เจก กลุ่มทางสังคม และองค์กร เป็นตน้
สำ� หรบั ประเดน็ อตั ลกั ษณข์ องสงั คม ภาษายอ่ ยของกลมุ่ ชาตพิ นั ธเ์ุ ปน็ หลกั ฐานทส่ี ะทอ้ นถงึ อตั ลกั ษณ์
ของกล่มุ ชาตพิ นั ธุ์ โดยปจั จบุ นั ประเทศไทยมกี ลมุ่ คนมากกวา่ ๗๐ ชาตพิ ันธอ์ุ าศยั อยู่ สวุ ไิ ล เปรมศรรี ตั น1์ 3
แบ่งกลุม่ ชาติพนั ธ์ดุ ังกล่าว ตามตระกูลภาษาเปน็ ๕ ตระกูล ดังตอ่ ไปน้ี
๑) ภาษาตระกูลไท (Tai Language Family) มีจ�ำนวน ๒๔ กลุ่มภาษาหลัก ได้แก่ กะเลิก
โซ่ง/ไทดำ� ค�ำเมือง-ยวน ญ้อ ไทขึน ไทยกลาง ไทยโคราช ไทยตากใบ ไทยเลย ไทล้ือ ไทหย่า ไทใหญ่
ปักษใ์ ต้ ผูไ้ ท พวน ยอง โย้ย ลาวครัง่ ลาวแงว้ ลาวตี้ ลาวเวียง ลาวหลม่ ลาวอีสาน แสก
๒) ภาษาตระกลู ออสโตรเอเชยี ตกิ (Austroasiatic Language Family) มจี ำ� นวน ๒๓ กลมุ่ ภาษา
ไดแ้ ก่ กะซอง กูย-กวย(ส่วย) ขมุ เขมรถนิ่ ไทย ซอง ซะโอจ(ซอุ งุ ) ซาไก(เกนซวิ ) ซัมเร โซ่ โซ่(ทะวึง) ญัฮกุร
(ชาวบน) เญอ บร/ู ขา่ ปลงั (สามเตา้ , ลวั ะ) ปะหลอ่ ง(ดาละองั ) มอญ มลั -ปรยั (ลวั ะ/ถนิ่ ) มลาบร(ี ตองเหลอื ง)
ละเมด็ (ลวั ะ) ละเวือะ(ละว้า/ลวั ะ) ว้า(ลวั ะ) เวียดนาม(ญวน/แกว)
๓) ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan Language Family) ประกอบด้วยกลุ่มภาษาจีน
และกลุ่มภาษาทเิ บต-พม่า รวมมจี �ำนวน ๒๑ กลมุ่ ภาษาหลกั ดงั ต่อไปน้ี
๓.๑) กลมุ่ ภาษาจีน ได้แก่ กวางตุ้ง แคะ/ฮักกะ แต้จิ๋ว แมนดาริน/จีนกลาง ไหหลำ� ฮกเก้ียน
ฮ่อ
๓.๒) กลุม่ ทิเบต-พมา่ ไดแ้ ก่ กะยา กะยอ จิงโพ/คะฉ่นิ บเว บซิ ู ปะกายอ ปะด่อง โปว พมา่
ละห่/ู มเู ซอร์ ละว้า(กอ๋ ง) ลซิ ู/ลซี อ อะข่า/อกี อ้ อมึ ปี
๔) ภาษาตระกูลออสโตรเนเชียน หรือ มาลาโยโพลีเนเชียน (Austronesian or Malao-
Polynesian Language Family) มีจ�ำนวนกลุม่ ๓ ภาษาหลกั ได้แก่ มลายถู ่ิน/นายู มอเก็น/มอเกล็น
อูรักละโวย
๕) ภาษาตระกูลม้ง-เมี่ยน หรอื แมว้ -เย้า (Hmong-Mien or Miao-Yao Language Family)
มีจ�ำนวน ๒ กลุม่ ภาษาหลกั ได้แก่ ม้ง/แม้ว(ม้งดำ� , ม้งขาว) เมี่ยน/เย้า
จากตระกูลภาษาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางภาษาซ่ึงสะท้อนว่า
มีกล่มุ ชาติพันธ์ุท่มี อี ตั ลักษณ์เฉพาะของตนเองอย่หู ลากหลายกระจายท่วั ประเทศ ดว้ ยเหตุนี้ หากใชค้ วาม
หลากหลายทางภาษาเป็นเกณฑ์ เราสามารถสรุปได้ว่าสังคมไทยเป็นสังคมพหุภาษาท่ีมีอัตลักษณ์
ทางชาตพิ ันธุอ์ นั หลากหลาย

13 สวุ ิไล เปรมศรรี ตั น์, “สถานการณ์ทางภาษาในสงั คมไทยกบั ความหลากหลายทางชาตพิ นั ธ”์ุ , วารสารภาษา
และวฒั นธรรม, ปีที่ ๒๕ ฉบบั ท่ี ๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๔๙) : หนา้ ๘ – ๑๐.

ภาษาและวฒั นธรรม: ความหมาย ความส�ำคญั และความสมั พนั ธ์ระหวา่ งกนั 59

๒. ความสำ� คญั ของวฒั นธรรม
ดงั ทไี่ ดก้ ลา่ วในสว่ นของความหมายไวว้ า่ วฒั นธรรมเปน็ วถิ ชี วี ติ ของมนษุ ย์ ดงั นนั้ วฒั นธรรมจงึ สำ� คญั
ในแง่แบบแผนการด�ำรงชีวิตซึ่งมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นต้นฉบับแบบพฤติกรรมของผู้คน
ในสังคมน้ัน ๆ หากคนรุ่นหลังย้อนมองกลับไปในอดีตวัฒนธรรมจะเพ่ิมความส�ำคัญอีกประการหน่ึงคือ
เป็นมรดกทางสังคมที่ช่วยสร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของแก่แก่กลุ่มของตนจนกลายเป็นเอกลักษณ์และ
ความเป็นปึกแผ่นของสังคม ตัวอย่างของวัฒนธรรมไทยที่เรายังคงสืบทอดใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ การใช้
คำ� วา่ “สวสั ด”ี 14 เปน็ คำ� ทกั ทายเมอ่ื เจอหนา้ กนั หรอื สอื่ สารกบั บคุ คลอนื่ โดยคำ� วา่ “สวสั ด”ี นี้ ประดษิ ฐค์ ำ�
โดยพระยาอปุ กติ ศลิ ปสาร (นม่ิ กาญจนาชวี ะ) เริม่ ใชใ้ นชว่ งปี ๒๔๗๗-๒๔๘๘ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นสิ ิต
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ทักทายอาจารย์ในมหาวิทยาลัยก่อน ซึ่งต่อมากรรมการ
ชำ� ระปทานกุ รมและกรรมการโปรแกรมวทิ ยกุ ระจายเสยี งไดน้ ำ� ไปใชด้ ว้ ยจงึ กอ่ ใหเ้ กดิ การใชอ้ ยา่ งแพรห่ ลาย
สำ� หรบั ปจั จบุ นั ความสำ� คญั ของวฒั นธรรมไดเ้ พม่ิ ขนึ้ ในฐานะสนิ คา้ ทมี่ มี ลู คา่ หรอื คำ� ศพั ทท์ างวชิ าการ
เรียกว่า “สินค้าวัฒนธรรม” ซึ่งรังสรรค์ ธนะพรพันธุ1์ 5 ได้อธิบายไว้ว่า หมายถึงสินค้าและบริการที่มี
วฒั นธรรมฝงั อยดู่ ว้ ย เมอื่ คนใชส้ นิ คา้ และบรกิ ารนน้ั ๆ เทา่ กบั คนไดเ้ รยี นรแู้ ละยอมรบั วฒั นธรรมนนั้ มาเปน็
สว่ นหนงึ่ ของตน ตวั อยา่ งทเ่ี หน็ ไดช้ ดั ประเดน็ นคี้ อื การจำ� หนา่ ยสนิ คา้ โอทอ้ ป (OTOP) ซงึ่ เปน็ การยกระดบั
สนิ คา้ ทใี่ ชใ้ นครวั เรอื นทอ้ งถน่ิ มาเปน็ สนิ คา้ วฒั นธรรมประจำ� ทอ้ งถนิ่ นน้ั ๆ ดงั เชน่ การใชภ้ าพวาดกระซบิ รกั
บนั ลอื โลกทวี่ ดั ภมู นิ ทรใ์ นจงั หวดั นา่ น เปน็ สญั ลกั ษณว์ ฒั นธรรมของจงั หวดั แลว้ นำ� มาเปน็ ลวดลายของเสอ้ื
พวงกญุ แจ และผลติ ภัณฑ์ตา่ ง ๆ อนั เป็นสญั ลกั ษณข์ องความเป็นเมืองน่าน แม้แต่การที่ปูจ่ า๋ น ลองไมค์
นกั รอ้ งดงั ในปจั จบุ นั ไดน้ ำ� บทกลอนบรรยายภาพวาดกระซบิ รกั มาเปน็ สว่ นหนง่ึ ของบทเพลง “แลรกั นริ นั ดร”์
ซ่งึ ไดก้ ลายเปน็ ตัวอยา่ งหนง่ึ ของสินค้าวฒั นธรรมที่ได้รบั ความนยิ มเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้น วัฒนธรรมยงั ชว่ ยแก้ปัญหาความขัดแย้งของมนษุ ย1์ 6 เรยี กว่า “วฒั นธรรมเชงิ สันต”ิ
ซงึ่ หมายถงึ สง่ิ ทส่ี รา้ งความเจรญิ งอกงามแกก่ ลมุ่ คนทอี่ ยดู่ ว้ ยกนั ดว้ ยความสงบหรอื โดยสนั ติ อยบู่ นพน้ื ฐาน
ของวถิ ีชวี ิตอนั ประกอบด้วยความเช่ือ ทัศนคติ นิสยั พฤตกิ รรม ศีลธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และ
ความเชอ่ื ทางศาสนาทป่ี ราศจากความรนุ แรงและมคี วามสงบภายในจติ ใจเปน็ ทต่ี ง้ั 17 ตวั อยา่ งเชน่ สถาบนั

14 กองบรรณาธิการศลิ ปวัฒนธรรม, “สวัสดี” มาจากไหน? เมอ่ื ไร? ใครเรมิ่ -สวัสด?ี , [ออนไลน]์ , แหลง่ ท่มี า:
https://www.silpa-mag.com/culture/article_31081 [๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓].
15 รังสรรค์ ธนะพรพนั ธ,ุ์ ปาฐกถา “ทนุ วัฒนธรรม”, พิมพค์ รง้ั ที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: มลู นธิ ไิ ชย้ง ลิ้มทองกุล,
๒๕๓๙), หน้า ๑.
16 มณฑริ า ตาเมอื ง, ภาษา สงั คม และวฒั นธรรม ทา่ มกลางกระแสของการกา้ วสปู่ ระชาคมอาเซยี น, (พษิ ณโุ ลก
: หา้ งห้นุ สว่ นจ�ำกดั สรุ สหี ก์ ราฟฟคิ , ๒๕๕๖), หน้า ๗๕.
17 บัณฑิกา จารมุ า, “วฒั นธรรมเชงิ สันติส�ำหรบั คร”ู , วารสารมหาจฬุ าวชิ าการ, ปที ่ี ๖ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม
–ธนั วาคม ๒๕๖๒) : หน้า ๓๘๕.

60 วารสารมหาจุฬาวชิ าการ ปที ่ี ๗ ฉบับท่ี ๒

การศึกษาที่เปิดสอนและฝึกผู้เรียนด้านขันติธรรม ยอมรับความแตกต่างและเห็นคุณค่าของความ
หลากหลายทางความคดิ และทางวฒั นธรรมจะทำ� ใหค้ ณุ ลกั ษณะดา้ นดงั กลา่ วตดิ ตวั ผเู้ รยี นจนกระทง่ั เตบิ โต
สู่สังคม กรณีน้ีเห็นได้ชัดเจนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มีรายวิชาด้านสันติศึกษาส่งผลให้เกิด
การทำ� งานทางความคดิ กบั ผเู้ รยี นเรอ่ื งความแตกตา่ งทางวฒั นธรรมระหวา่ งชาวไทยพทุ ธกบั ชาวไทยมสุ ลมิ
ในพื้นท่ี ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้อันน�ำไปสู่การสนับสนุนแนวคิดพหุวัฒนธรรมเป็นแกนหลักในการ
ขบั เคล่ือนนโยบายและการท�ำงานของผู้คนในพนื้ ทด่ี งั กลา่ ว

ความสมั พนั ธ์ระหว่างภาษาและวฒั นธรรม

จากความหมายและความส�ำคัญของภาษาและวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่า ภาษาและวัฒนธรรม
มลี ักษณะบางประการท่ซี อ้ นทบั และเชื่อมโยงกันอยสู่ ามารถสรปุ ได้ดังนี้
๑. ภาษาคือวฒั นธรรม
ภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์ท่ีมนุษย์สร้างขึ้นเพ่ือตอบสนองการด�ำรงชีวิตในสังคม คือ การสื่อสาร
ความต้องการเพ่อื ใหผ้ ูท้ ีเ่ ราต้องการสือ่ สารดว้ ยมีความคิด ความรู้สกึ ความเชื่อ และมีพฤติกรรมเชน่ เดยี ว
กบั ทเ่ี ราตอ้ งการซงึ่ ผคู้ นทอี่ ยใู่ นสงั คมเดยี วกนั นต้ี อ้ งเรยี นรรู้ ะบบภาษารว่ มกนั เรยี กไดว้ า่ ตอ้ งพดู และเขยี น
ภาษาเดียวกันจนสามารถเข้าใจความหมายและถอดรหัสความหมายโดยนัยที่ผู้ใช้ภาษาต้องการส่งสาร
ได้อย่างเข้าใจ และเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว ได้มีการสืบทอดรูปแบบและแบบแผนน้ีจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีก
รุ่นหนึง่ ภาษาจึงกลายเป็นเอกลักษณ์ อตั ลกั ษณแ์ ละวิถชี ีวิตประจำ� ชนกลมุ่ นน้ั คนนอกกลุ่มทีไ่ ม่ได้เรียนรู้
ภาษาเดียวกันยอ่ มไม่เขา้ ใจความหมายทีผ่ ู้ใช้ภาษาตอ้ งการสอ่ื ได้ จากการทภี่ าษาเปน็ สิ่งท่มี นุษย์ประดษิ ฐ์
ข้นึ มกี ารสืบทอดและเปน็ สิง่ จ�ำเปน็ ในการใช้ชวี ติ ประจำ� วนั นเ่ี อง ท�ำให้ภาษามลี ักษณะเดียวกบั วัฒนธรรม
กล่าวคือมีอทิ ธพิ ลตอ่ พฤตกิ รรมผู้คนในสังคม ดงั ตัวอยา่ งการใชภ้ าษาเพอ่ื สรา้ งความจริงทางสังคมจนเกิด
อิทธิพลทางความคิดต่อคนในวงกว้างเกิดเป็นแบบแผนพฤติกรรมทางสังคม ซ่ึงมีค�ำเรียกภาษาประเภทนี้
ว่า “วาทกรรม”18 เช่น วาทกรรมงดเหล้าเข้าพรรษาซ่ึงนัยยะของวาทกรรมน้ีบ่งบอกว่าการงดดื่มเหล้า
ในช่วงเทศกาลทางศาสนาพุทธเป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เหมาะสม วาทกรรมความขาวคือความสวย
ซ่ึงส่งผลให้เกิดการผลิตครีมกันแดด เคร่ืองส�ำอาง เคร่ืองประทินผิวที่ท�ำให้เกิดความขาวและกลายเป็น
แบบแผนพฤตกิ รรมของผหู้ ญงิ ท่ีต้องการสวยต้องใช้ผลติ ภัณฑเ์ หลา่ นน้ั เปน็ ต้น
๒. ภาษาสะทอ้ นวฒั นธรรม โดยสังเกตได้จากความสมั พนั ธด์ งั ตอ่ ไปนี้
๒.๑) ภาษาสะท้อนความคดิ และทัศนคตขิ องผ้พู ูด เช่น การใชค้ ำ� พูดท่ีมคี วามหมายดา้ นลบหรือ
เชิงประชดประชัน เป็นต้นว่า การเรียกผู้หญิงสูงอายุท่ีมีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรงหรือแปลกไปจาก

18 จันทิมา อังคพณิชกิจ, การวิเคราะห์ข้อความ, (กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
๒๕๖๑), หนา้ ๒๐.

ภาษาและวัฒนธรรม: ความหมาย ความสำ� คญั และความสัมพนั ธ์ระหวา่ งกัน 61

วิถปี ฏิบตั ใิ นสังคมวา่ “ปา้ ” การเรียกผูท้ ่มี จี ดุ ยืนความคิดทางการเมืองทแี่ ตกต่างกนั ด้วยคำ� เฉพาะต่าง ๆ
เช่น “สล่ิม” หรือ “เส้ือหลากสี” แทนกลุ่มคนท่ีไม่เลือกฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายต่อต้าน “ควายแดง”
แทนกล่มุ คนทีต่ อ่ ต้านรัฐบาลพลตำ� รวจตรีทกั ษิณ ชินวตั ร “คนด”ี แทนกลุม่ คนทส่ี นับสนุนรัฐบาลพลเอก
ประยทุ ธ์ จนั ทร์โอชา
๒.๒) ภาษาสะท้อนพฤติกรรมการตตี ราทางสังคม เชน่ การเรยี กเหมารวมคนไทยเชื้อสายมลายู
ในสามจังหวดั ชายแดนภาคใต้ว่า “โจรใต้” การเรียกเหมารวมคนไทยอสี านวา่ “เสื้อแดง”
๒.๓) ภาษาสะท้อนสะทอ้ นสถานภาพของคนในสังคม เชน่ การเรียกผ้มู ีอิทธิพลทางการเมอื งว่า
“บ๊ิก” ซงึ่ มาจากค�ำวา่ “big” ในภาษาองั กฤษที่แปลว่า ใหญ่ ดังนั้น ใครทไี่ ด้รบั การเรยี กขานว่า “บก๊ิ ”
ในสงั คมไทยจงึ สะทอ้ นสถานภาพของผอู้ ำ� นาจในสงั คม การใชค้ ำ� เรยี กขานพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ฯ
รัชกาลที่ ๙ ว่า “พ่อหลวง” ซ่ึงสะท้อนถึงสถานภาพการเป็นท่ีพ่ึงพิงและผู้ดูแลรักษาคนไทยทั้งประเทศ
ด้วยความเคารพบูชา
๒.๔) ภาษาสะท้อนถิ่นที่อยู่อาศัย เรียกว่า ส�ำเนียง เช่น ภาษาเหนือ ภาษาอีสาน ภาษาใต้
ภาษากลาง จะมีลักษณะเฉพาะของภาษาทั้งการออกเสียงวรรณยุกต์ และค�ำศัพท์ และแม้แต่ในภาษา
ภมู ภิ าคเดยี วกนั ยงั มสี ำ� เนยี งยอ่ ยแตกตา่ งกนั เชน่ ภาษาใตส้ ำ� เนยี งเจะ๊ เห สะทอ้ นถงึ ถนิ่ ทอ่ี ยขู่ องผใู้ ชภ้ าษา
ทีอ่ าศัยแถบอ�ำเภอตากใบ จงั หวดั นราธวิ าส ภาษาเหนอื สำ� เนยี งเชียงใหมซ่ ่ึงสะท้อนถึงผพู้ ดู เปน็ คนจงั หวัด
เชยี งใหม่ และนอกจากสำ� เนียงแล้ว ยังมคี �ำศพั ทเ์ ฉพาะท่ีสะท้อนถงึ ภมู ิลำ� เนาผพู้ ดู เช่น คนท่อี าศัยอยทู่ าง
ภาคเหนอื ของไทยเรยี กตกุ๊ แกวา่ ตก๊ โต คนทอ่ี าศยั อยู่ทางภาคอีสาน เรยี ก มะละกอว่า บักหุ่ง ในขณะทีค่ น
ท่ีอาศัยอยู่ทางภาคใต้เรียกว่า ลอกอ นอกจากน้ันค�ำศัพท์เฉพาะถิ่นของแต่ละภาคมีความแตกต่างกัน
เช่นกนั เปน็ ตน้ ว่า คนชุมพร เรียกผลฝรงั่ ว่า ยามู ในขณะท่คี นตรัง เรียกวา่ ชมพู่ แมจ้ ังหวัดตรังและจังหวัด
ชมุ พร จะเป็นจงั หวัดทางภาคใตเ้ หมอื นกนั แตก่ ลบั ใชค้ �ำเรียกตา่ งกนั
๒.๕) ภาษาสะท้อนค่านิยมในสังคม เช่น การเรียกคนมีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยว่า
“ปัญญาชน” อันสะท้อนถึงการยกย่องให้บัณฑิตเป็นปัญญาของสังคม การเรียกผู้ที่มีช่ือเสียงในสังคมว่า
“เซเลบ”(celeb) อนั สะท้อนถงึ การยกย่องคนกลมุ่ นนั้ ๆ ให้มีสถานภาพเหนอื คนอื่น โดยคำ� วา่ “เซเลบ” นี้
มีความน่าสนใจอย่างย่ิง เพราะปัจจุบันพบว่ามีการน�ำไปใช้เรียกสัตว์ท่ีได้รับการชื่นชอบจากผู้คนเป็น
จำ� นวนมาก ตัวอยา่ งเช่น เตี้ย มช. ซึ่งเป็นสุนขั ท่ีอาศยั อยูใ่ นมหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่และได้รับการชืน่ ชอบ
จนมแี ฟนคลบั ตดิ ตามเพจเตยี้ มช.เปน็ จำ� นวนหลกั แสนและถกู เรยี กขานวา่ “หมาเซเลบ” การเรยี กสนุ ขั วา่
“เซเลบ” นส้ี ะทอ้ นถงึ คา่ นยิ มความรกั สตั วท์ คี่ นไทยปจั จบุ นั มองสตั วม์ สี ถานภาพใกลเ้ คยี งกบั คนจนกระทง่ั
นำ� ไปสกู่ ารออกพระราชบญั ญัติคมุ้ ครองสัตว์ ในท่สี ดุ

62 วารสารมหาจฬุ าวิชาการ ปีท่ี ๗ ฉบับที่ ๒

บทสรปุ

ภาษาเปน็ ระบบสญั ลกั ษณท์ างเสยี งและตวั อกั ษรทมี่ นษุ ยค์ ดิ คน้ ขน้ึ เพอ่ื ใชเ้ ปน็ เครอื่ งมอื ในการตดิ ตอ่
สื่อสารให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ท่ีตนต้องการ โดยผู้พูดหรือผู้เขียนและผู้ฟังหรือผู้อ่านจ�ำเป็นต้องเรียนรู้
ระบบสัญลักษณ์และความหมายของสัญลักษณ์เดียวกัน จึงจะเข้าใจความหมายของระบบสัญลักษณ์น้ัน
ภาษาจงึ เปน็ แบบแผนทมี่ คี วามจำ� เปน็ ในการดำ� รงชวี ติ ของมนษุ ย์ และมกี ารสบื ทอดจากรนุ่ สรู่ นุ่ จนกลายเปน็
เอกลกั ษณ์และอัตลักษณข์ องคนในสงั คม เพราะเหตุน้ีจงึ ทำ� ใหภ้ าษามีลกั ษณะเดียวกับวฒั นธรรม อยา่ งไร
ก็ตามด้วยลักษณะเฉพาะของภาษาท่ีมีหน้าที่เพ่ือการสื่อสารความหมายอันสะท้อนความคิด ทัศนคติ
ค่านิยมและถิน่ ท่ีอยู่อาศยั ซึง่ เปน็ สว่ นหนึง่ ของวฒั นธรรม ดงั นน้ั จงึ กลา่ วไดว้ ่า ภาษามฐี านะเป็นสาขาหน่ึง
ของวฒั นธรรม เพราะฉะนนั้ การเรยี นการสอนทกั ษะภาษาในสถาบนั การศกึ ษาปจั จบุ นั จงึ จำ� เปน็ ตอ้ งเรยี น
วัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย และเม่ือคนต่างภาษาสื่อสารกันจึงต้องมีความเข้าใจวัฒนธรรมการใช้ภาษาของ
เจ้าของภาษาจึงจะกอ่ ให้เกดิ ประสิทธภิ าพและประสทิ ธิผลในการสื่อสาร

บรรณานกุ รม

กำ� ชยั ทองหล่อ. หลกั ภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร : บรษิ ัทรวมสาส์น (๑๙๙๗) จำ� กัด,
๒๕๔๐.

คณาจารย์ มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั . ภาษากบั การสอื่ สาร. พระนครศรอี ยธุ ยา : โรงพมิ พ์
มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๕๙.

จันทิมา องั คพณชิ กิจ. การวิเคราะหข์ อ้ ความ. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพมิ พ์มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์,
๒๕๖๑.

ณภทั ร เทพพรรชนะ. ภาษาไทยเพือ่ การส่อื สาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวทิ ยาลยั หอการคา้ ไทย, ๒๕๔๑.
ธนานนั ท์ ตรงดี และคณะ. วฒั นธรรมการใชภ้ าษา. พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๒. มหาสารคาม : สำ� นกั พมิ พม์ หาวทิ ยาลยั

มหาสารคาม, ๒๕๔๙.
มณฑิรา ตาเมือง. ภาษา สังคม และวัฒนธรรม ท่ามกลางกระแสของการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน.

พษิ ณุโลก : ห้างหนุ้ ส่วนจ�ำกัด สุรสหี ก์ ราฟฟิค, ๒๕๕๖.
บณั ฑกิ า จารมุ า, “วัฒนธรรมเชงิ สันตสิ �ำหรบั คร”ู , วารสารมหาจฬุ าวชิ าการ. ปที ่ี ๖ ฉบบั ท่ี ๒ (กรกฎาคม

–ธันวาคม ๒๕๖๒) : ๓๘๓ – ๓๙๖.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. ปาฐกถา “ทุนวัฒนธรรม”. พิมพ์ครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิไชย้ง

ลม้ิ ทองกลุ , ๒๕๓๙.
วิจินต์ ภานพุ งศ.์ โครงสรา้ งภาษาไทย : ระบบไวยากรณ.์ กรงุ เทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง,

๒๕๒๒.

ภาษาและวัฒนธรรม: ความหมาย ความส�ำคัญ และความสมั พันธ์ระหวา่ งกัน 63

สวุ ไิ ล เปรมศรรี ตั น,์ “สถานการณท์ างภาษาในสงั คมไทยกบั ความหลากหลายทางชาตพิ นั ธ”์ุ , วารสารภาษา
และวัฒนธรรม. ปที ่ี ๒๕ ฉบบั ท่ี ๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๔๙) : ๕ – ๑๗.

เว็ปไซต์
อดุ ม วโรตมส์ กิ ขดิตถ.์ ภาษาศาสตร์เหมาะสมยั เบ้อื งต้น. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพมิ พต์ น้ ธรรม, ๒๕๔๔.
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. “สวัสดี” มาจากไหน? เม่ือไร? ใครเริ่ม-สวัสดี?”. [ออนไลน์].

แหล่งท่ีมา: https://www.silpa-mag.com/culture/article_31081 [๒๖ พฤษภาคม

๒๕๖๓].

คณติ นยิ ะกจิ . “ปรบั เปลย่ี น Culture สู่ วฒั นธรรม”. [ออนไลน]์ . แหลง่ ทมี่ า: https://www.matichon.
co.th/education/news_1347057 [๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓].

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. “ค�ำศัพท์ทางมานุษยวิทยา”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.sac.or.th/

databases/anthropology-concepts/glossary/30 [๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓].

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔. [ออนไลน์]. แหล่งท่ีมา: http://

www.royin.go.th/dictionary/ [๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓].


Click to View FlipBook Version