The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โภชนาการโรคความดันโลหิตสูง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by piyada.but, 2022-06-10 06:34:47

โภชนาการโรคความดันโลหิตสูง

โภชนาการโรคความดันโลหิตสูง

โภชนาการโรคความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อย บางรายอาจมีภาวะดังกล่าวนานหลายปีโดยไม่แสดง
อาการ อย่างไรก็ตามแม้จะไม่แสดงอาการ แต่สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่ง
สามารถตรวจพบความเสียหายเหล่านี้ได้ ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้จะเพิ่มความ
เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรังอื่น ๆ เช่น หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ ภาวะความดัน
โลหิตสูงมักจะพัฒนาต่อเนื่องในช่วงหลายปีและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย

โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหัวใจของเรา
ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา ไม่ว่าจะเป็น ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือด
หัวใจตีบ ความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูงคือ เป็นโรคที่มักไม่มีอาการ และจะเป็นโรค
เรื้อรังที่รุนแรงถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้

สามารถก่อให้เกิดปัญหากับหลอดเลือด นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง การ
ควบคุมความดันโลหิตสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้ ซึ่งอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วย
ควบคุมความดันโลหิตได้ สามารถปฏิบัติตามแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อช่วยควบคุมความดันโลหิต
หรือ Dietary Approaches to Stop Hypertension (DASH) ร่วมกับการจำกัดโซเดียมในอาหาร มี
แนวทางปฏิบัติดังนี้

1. จำกัดปริมาณโซเดียมในอาหาร
โซเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งพบได้ในอาหาร ซึ่งอาหารตามธรรมชาติจะมีโซเดียมอยู่ในปริมาณน้ อย แต่
อาหารแปรรูป สำเร็จรูป เบเกอรี่ และเครื่องปรุงต่าง ๆ จะมีโซเดียมปริมาณมาก ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
ไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2400 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยเครื่อง
ปรุงรสเค็ม เลี่ยงอาหารแปรรูป เลี่ยงการใช้ผงปรุงรส และเลี่ยงการซดน้ำซุปน้ำแกงต่าง ๆ รวมทั้งเลี่ยง
อาหารรสจัด ผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาการทำงานของไตลดลงอาจเลือกใช้เครื่องปรุงลดโซเดียมได้

2. รับประทานข้าว ธัญพืชไม่ขัดสี
ปริมาณที่แนะนำคือ 6 – 8 ส่วน/วัน (เช่น ข้าวกล้อง 6 – 8 ทัพพี) เลือกแบบไม่ขัดสีเพื่อ
เพิ่มใยอาหาร ซึ่งใยอาหารจะช่วยลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่กระแสเลือด จึงช่วยควบคุมไขมัน
ในเลือด นอกจากนี้ใยอาหารยังช่วยให้อาหารอยู่ท้องได้นาน ทำให้ไม่หิวบ่อย ช่วยควบคุมน้ำ
หนักตัวได้

3. เพิ่มผักในอาหารทุกมื้อ
ปริมาณแนะนำ 4 – 5 ส่วน/วัน (เช่น ผักสด 4 – 5 ถ้วยตวง) ในผักอุดมไปด้วยโพแทสเซียม
และแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีผลช่วยควบคุมความดันโลหิต ควรเลือกผักให้หลากสีและ
หลากชนิด

4. รับประทานผลไม้
ปริมาณแนะนำ 4 – 5 ส่วน/วัน (ผลไม้ 6 – 8 ชิ้นคำ หรือผลเท่ากำปั้น 1 ผล เท่ากับ 1 ส่วน) ซึ่ง
ผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมถึงโพแทสเซียมและแมกนีเซียมด้วย
5. รับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ
การเลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำจะช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล ซึ่งจะพบมากในไขมัน
จากสัตว์ ไขมันเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดมากขึ้นได้ ส่งผลต่อการเพิ่มความ
ดันโลหิต ปริมาณแนะนำ 6 ส่วน/วัน (เช่น เนื้อสัตว์ 12 ช้อนโต๊ะ/วัน)

6. รับประทานถั่วเปลือกแข็งและถั่วเมล็ดแห้ง
ปริมาณแนะนำ 4 – 5 ส่วน/สัปดาห์ (ประมาณ 4 – 5 กำมือ/สัปดาห์) เนื่องจากถั่วมีแร่
ธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียมสูง รวมทั้งมีใยอาหารด้วย ทั้งนี้ถั่วมีปริมาณไขมัน
สูง แม้ว่าไขมันจากถั่วจะเป็นไขมันที่ดี แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้น้ำ
หนักเพิ่มขึ้นได้

7. จำกัดไขมันในอาหาร
2 – 3 ส่วน/วัน (น้ำมัน 2 – 3 ช้อนชา) เนื่องจากไขมันส่งผลต่อการเพิ่มความดันโลหิตได้ วิธีการ
เลี่ยงไขมันคือ เลือกเมนูอาหารที่ปรุงด้วยวิธีที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น การต้ม นึ่ง อบ เป็นต้น เลี่ยง
อาหารทอด อาหารใส่กะทิ และเลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมัน
มะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น

8. ดื่มนมไขมันต่ำ
นมเป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง ช่วยในการควบคุมความดันโลหิตได้ นอกจากนี้แคลเซียมจาก
นมยังสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดี ปริมาณแนะนำคือ 2 – 3 ส่วน/วัน (เช่น นม 2 – 3 แก้ว/วัน)
ควรเลือกนมรสจืดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไป

ปั จจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

1.) อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะสูงมากขึ้น ความเสี่ยงของภาวะ
ความดันโลหิตสูงในเพศชายมักเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุ 64 ปีขึ้นไป และ 65 ปี ในเพศหญิง

2.) เชื้อชาติ ชาวแอฟริกัน – อเมริกัน มักจะมีความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้นเมื่อเทียบกับคนผิว
ขาว ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวายหรือไตวาย

3.) ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อีกหนึ่งสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูงมักเกิดการส่ง
ต่อจากรุ่นสู่รุ่นผ่านทางพันธุกรรม

4.) โรคอ้วน ความดันโลหิตสูงมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากการมีน้ำหนักมากร่างกายก็ยิ่ง
ต้องการเลือดไปเลี้ยงออกซิเจนและสารอาหารมากขึ้น

5.) การใช้ชีวิตอยู่ประจำ ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมักจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ซึ่ง
หมายความว่าหัวใจทำงานหนักมากขึ้นในการหดตัวแต่ละครั้ง

6.) การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่เพิ่มความดันโลหิตชั่วคราวในทันที แต่สารเคมีที่พบในยาสูบ
สามารถทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสียหายได้ ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบ แคบและมีความ
เสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจ ควันบุหรี่มือสองจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น

7.) อาหารที่มีเกลือสูง อาหารที่มีโซเดียมสูงอาจส่งผลให้เกิดการคั่งของของเหลวทำให้เกิดภาวะ
ความดันโลหิตสูง

8.)อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำทำให้ร่างกายเก็บโซเดียมไว้ในเลือดมากเกิน
ไป เนื่องจากโพแทสเซียมทำงานเพื่อปรับสมดุลของปริมาณโซเดียมในร่างกาย

9.)การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถทำลายหัวใจได้เมื่อเวลาผ่าน
ไปและอายุเพิ่มมากขึ้ นการที่ผู้หญิงดื่ มแอลกอฮอล์มากกว่าหนึ่ งแก้วและผู้ชายดื่ มแอลกอฮอล์มากกว่า
สองแก้วต่อวันอาจเป็ นอีกสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง

10.)ความเครียด ระดับความเครียดสูงอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราว

11.)โรคเรื้อรังบางชนิด โรคต่าง ๆ เช่น โรคไตเบาหวาน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเพิ่ม
ความดันโลหิตสูง

12.)การตั้งครรภ์ บางครั้งการตั้งครรภ์อาจเป็นอีกสาเหตุโรคความดันโลหิตสูงได้

กลุ่มยาใช้สำหรับรักษาความดันโลหิตสูง

- ยาขับปัสสาวะกลุ่มไธอะไซด์ไดยูเรติก
- ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitors
- ยากลุ่ม angiotensin-II receptor antagonists
- ยาต้านแคลเซียม

ข้อปฏิบัติในการป้ องกันการเกิดความดันโลหิตสูง

• ถ้าน้ำหนักเกินหรืออ้วน ควรลดน้ำหนักลงร้อยละ 5 จากน้ำหนักปกติ หรือ
ประมาณ 4 – 5 กิโลกรัม

• จำกัดการบริโภคไขมัน
• จำกัดการบริโภคเกลือ
• จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• ออกกำลังกาย 30 นาที อย่างน้ อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการรักษาตัวที่บ้าน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิต สามารถช่วยฟื้ นฟูและป้ องกันภาวะความดัน
โลหิตสูงได้ ข้อเสนอแนะมีดังต่อไปนี้

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

- ลดการบริโภคเกลือในอาหาร

-รักษาน้ำหนักให้แข็งแรง

- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

-จำกัดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

- ห้ามสูบบุหรี่



อาการความดันโลหิตสูงเป็ นอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด อาจมีอาการปวดมึน
ท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ เหมือนไมเกรน ใน
ผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และเมื่อมี
อาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้

หากปล่อยไว้นาน ไม่รักษา! อาจส่งผลเสียต่อร่างกายดังนี้

- เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตวายเรื้อรัง
- หลอดเลือดหัวใจหนา หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
- หลอดเลือดตีบ โป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้น้ อยลง
- มีผลต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม
- เป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์ อัมพาต

ระดับความดันโลหิตเท่าไรเสี่ยงเป็ นความดันโลหิตสูง

เราสามารถเช็คว่าเป็นความดันโลหิตสูงได้หรือไม่ ด้วยวิธีการวัดความดันโลหิต หากมี
ค่าความดันซิสโตลี (ค่าความดันตัวบน) มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) หรือ
ค่าความดันไดแอสโตลี (ค่าความดันตัวล่าง) มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) โดยวัด
ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะพัก นั่นหมายถึงคุณกำลังมีอาการของโรคความดันโลหิตสูง

ระดับความดันโลหิตปกติควรอยู่ที่เท่าไร?

ความดันโลหิตที่ “เหมาะสม” ของคนอายุ 18 ปี ขึ้นไป อยู่ที่ 120-129 มม.ปรอท สำหรับ
ตัวบน และ 80-84 มม.ปรอท สำหรับตัวล่าง


Click to View FlipBook Version