The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Warampon Chanthum, 2022-12-01 09:32:51

พระเวสสันดร

พระเวสสันดร

มหาเวสสันดรชาดก

มหาเวสสันดรชาดก

คำนำ ก

บทเรียนเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาภาษาไทย ท๓๑๑๐๒
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในการวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดี และศึกษา
กัณฑ์ต่างๆทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ในมหาเวสสันดรชาดก การได้รับคำสอนและบทสวดต่างๆ ในมหาเวสสันดร
ชาดก ซึ่งจักทำให้เราสะท้อนถึงความเชื่อ ค่านิยมต่างๆ ภาษาที่สละสลวย และแง่คิดที่คมคายหรือมีการ
อบรมสั่งสอน จึงทำให้เห็นคุณค่าของคำสอนต่างๆ ในมหาเวสสันดรชาดกมากขึ้น สามรถนำข้อคิดไปใช้ได้
อย่างถูกต้อง ถือเป็นการอนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรม ความเชื่อ และคำสอนให้ดำรงต่อไป

ทางผู้จัดทำต้องขอขอบพระคุณ คุณครูสุชาติ พิบูลย์วรศักดิ์ ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา
และเพื่อนๆ ทุกคนที่คอยให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด หวังว่ารายงานนี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์
ต่อผู้ที่สนใจศึกษาทุกท่าน

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ ข

เรื่อง หน้า เรื่อง หน้า

คำนำ ก กัณฑ์ที่ ๕ กัณฑ์ชูชก ๑๒
สารบัญ
ประวัติผู้แต่ง ข กัณฑ์ที่ ๖ กัณฑ์จุลพล ๑๓
ประวัติความเป็นมา
จุดประสงค์ของผู้แต่ง ๑ กัณฑ์ที่ ๗ กัณฑ์มหาพล ๑๔
ลักษณะคำประพันธ์
เนื้อเรื่องทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ๒ กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร ๑๖
กัณฑ์ที่ ๑ กัณฑ์ทศพร
กัณฑ์ที่ ๒ กัณฑ์หิมพานต์ ๔ กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี ๑๗
กัณฑ์ที่ ๓ กัณฑ์ทานกัณฑ์
กัณฑ์ที่ ๔ กัณฑ์วนประเวศน์ ๕ กัณฑ์ที่ ๑๐ กัณฑ์สักกบรรพ ๑๘

๗ กัณฑ์ที่ ๑๑ กัณฑ์มหาราช ๑๙

๘ กัณฑ์ที่ ๑๒ กัณฑ์ฉกษัตริย์ ๒๐

๙ กัณฑ์ที่ ๑๓ กัณฑ์นครกัณฑ์ ๒๑

๑๐ คำศัพท์ที่ปรากฏและ คำแปลของคำศัพท์ ๒๘

๑๑ ข้อคิดที่ได้ในแต่ละกัณฑ์ ๓๔

เรื่อง สารบัญ ค

ความรู้ประกอบเรื่อง หน้า เรื่อง หน้า
วิจารณ์ตัวละครสำคัญ ๓๖ ฝนโบกขรพรรษ ๔๒
พระเวสสันดร ๓๔ ทศชาติ ๔๓
พระนางมัทรี ๓๕ ข้อคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ๔๔
พระกัณหา ๓๖ บรรณานุกรม ๔๕
พระชาลี ๓๗ ผลงาน ๔๖
ชูชก ๓๘ จัดทำโดย ๔๗
พระนางผสุดี ๓๙
พระเจ้ากรุงาญชัย ๔๐
๔๑

ผู้แต่ง เรื่อง มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก ๑

ผู้แต่งเรื่องมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี คือ เจ้าพระยา พระคลัง นามเดิมว่าหน
เจ้าพระยาพระคลัง นามเดิมว่า หน เป็นเสนาบดี
จตุสดมภ์กรมท่า เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรม
เดิมเป็นหลวงสรวิชิต เคยตามเสด็จพระราชดำเนิน เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๓๔๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๑
ราชการสงครามในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้งหลวงสรวิชิต หนังสือที่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งที่
รับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี มีความดีความชอบมาก โดย สำคัญ
เฉพาะฝีมือในการเรียบเรียงหนังสือ รัชกาลที่ ๑ จึง ได้แก่ มหาชาติกลอนเทศน์หรือเวสสันดรชาดก
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นพระยาพิพัฒโกษา กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี โดยทั้งสองกัณฑ์นี้
ต่อมาตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลังว่างลง รัชกาลที่ ๑ นับได้ว่าแต่งได้ดีเยี่ยม ไม่มีสำนวนของผู้ใดสู้ได้
จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาพิพัฒโกษาขึ้นเป็น แม้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุ
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) พระยาพิพัฒโกษามีบุตรชาย ชิตชิโนรสจะได้ทรงนิพนธ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่งใน
๒ คน คนหนึ่งเป็นจินตกวี และอีกคนหนึ่งเป็นครูพิณ ภายหลังก็ยังเว้นกัณฑ์ทั้งสองนี้เพราะของเดิม
พาทย์ ส่วนบุตรหญิง คือ ราชาธิราช ผลงานการ ดีเยี่ยมอยู่แล้ว
ประพันธ์ เจ้าจอมมารดานิ่ม เป็นเจ้าจอมมารดาสมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) กรม
พระยาเดชาดิศร ในรัชกาลที่ ๒



ความเป็นมา

เรื่องมหาเวสสันดรชาดก เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามีที่มาจากคัมภีร์ "จริยาปิฎก"
และคัมภีร์ "ซาดก" พระสุตตันตปิฎก หมวดขุททกนิกาย ซึ่งกล่าวถึงมูลเหตุของการตรัสเล่าเรื่อง
มหาชาติว่า เมื่อทรงตรัสรู้แล้วจึงเสด็จไปโปรดพระราชบิดาและพระประยูรญาติ ขณะที่ประทับ ณ
วัดนิโดรธารามเมืองกบิลพัสดุ์ เมื่อบรรดาพระประยูรญาติมาเฝ้า ต่างมีใจกระด้างด้วยทิฐิมานะ
ถือตนมิยอมเคารพไหว้ พระพุทธเจ้าจึงแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศเหนือพระประยุรญาติ

ยังให้สิ้นมานะละพยศในใจ บังเกิดศรัทธาเลื่อมใสและถวายอภิวาทบังคม
เมื่อเหตุเป็นดังนั้นก็เกิดฝนโบกขรพรรษตกลงมาเป็นเครื่องแสดงความปราโมทย์ยินดี

ด้วยเหตุทรงละพยศในใจพระญาติทั้งปวงให้ศรัทธาเลื่อมใสได้



ความเป็นมา

ภายหลังเมื่อพระราชบิดาและพระประยูรญาติทั้งปวงทูลลากลับ พระสาวกจึงได้ทูลถามถึง
ความน่าอัศจรรย์ในเหตุแห่งฝนนี้ พระองค์จึงตรัสว่าฝนโบกขรพรรษที่ตกมานี้ไม่อัศจรรย์เลย เพราะ
ในชาติก่อนเมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรนั้น ฝนชนิดนี้

ก็เคยตกมาแล้วครั้งหนึ่ง พระสาวกทั้งหลายจึงกราบทูลอาราธนาให้ทรงเล่าเรื่องนี้ พระองค์จึง
ทรงเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก เพราะฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่าฝนโบกขรพรรษเป็นสาเหตุที่

ทำให้พระพุทธเจ้าทรงเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบพระชาติสุดท้าย
ก่อนบรรลุธรรมวิเศษ โดยแต่ละพระชาติทรงบำเพ็ญบารมีแตกต่างกัน



จุดประสงค์ของผู้แต่ง

เพื่อใช้เทศน์ให้ประชาชนฟัง มหาเสสันดรชาดก แต่งขึ้นเพื่อใช้เทศน์มหาชาติ เนื่องจากร่าย
ยาวหมาเสสันดรชาดกเป็นชาดกเรื่องใหญ่ที่สุด เป็นชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเส
สันดรซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วจึงเสด็จออกผนวชกระทั่ง
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเรื่องราวในพระชาติที่เป็นพระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญ
ทศบารมีครบทั้ง ๑๐ ประการ โดนเฉพาะอย่างยิ่ง ทานบารมี ซึ่งทรงบริจาคบุตรทารทาน คือ

บริจาคพระชาลี พระกัณหา และพระนางมัทรี จึงเป็นชาติที่สำคัญและยิ่งใหญ่ เรียกว่า
“มหาชาติ” หรือ “มหาเสสันดรชาดก”



ลักษณะคำประพันธ์

มหาเวสสันดรชาดกเป็นมหาชาติกลอนเทศน์ มีลักษณะคำประพันธ์เป็นร่ายยาวที่
มีคาถาบาลีนำ ร่ายยาว บทหนึ่งไม่จำกัดจำนวนวรรค แต่ที่นิยมคือตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป
และแต่ละวรรคก็ไม่จำกัดจำนวนคำเช่นกัน แต่ไม่ควรน้อยกว่า ๕ คำ ซึ่งคำสุดท้ายของ
วรรคหน้าจะส่งสัมผัสไปวรรคหลังคำใดก้ได้ แต่เว้นคำสุดท้ายของวรรคอาจจบลงด้วย
“คำสร้อย” (คำสร้อย เช่น ฉะนี้ ดังนี้ นั้นเกิด นั้นแล แล้วแล ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้น)



ลักษณะคำประพันธ์



เนื้อเรื่องทั้ง๑๓ กัณฑ์ประกอบด้วย

๑.กัณฑ์ทศพร ๘.กัณฑ์กุมาร
๒.กัณฑ์หิมพานต์ ๙.กัณฑ์มัทรี
๓.กัณฑ์ทานกัณฑ์ ๑๐.กัณฑ์สักกบรรพ
๔.กัณฑ์วนปเวศน์ ๑๑.กัณฑ์มหาราช
๕.กัณฑ์ชูชก ๑๒.กัณฑ์ฉกษัตริย์
๖.กัณฑ์จุลพน ๑๓.กัณฑ์นครกัณฑ์
๗.กัณฑ์มหาพน



กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร

เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราช-
มารดาของพระเวสสันดร

ภาคสวรรค์ พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญ ท้าวสักกะเทวราชสวามีทรงทราบจึง
พาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร ๑๐ ประการ คือ ให้ได้อยู่ในประสาท
ของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้คิ้วดำสนิท ขอให้
พระนามว่า ผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทั้งหลายและมีใจบุญ ขอให้มี
ครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและ
หย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อย
นักโทษได้



กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์

พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช เมื่อเจริญชนม์ได้ ๑๖ ชันษา
จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัย แห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า
“เวสสันดร” ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมา
ไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมีให้มีนามว่า “ปัจจัยนาค” เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ ๑๖ พรรษา
พระราชบิดาก็ยกสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี พระราชบิดาราชวงศ์
มัททราช มีพระโอรส ๑ องค์ชื่อ ชาลี ราชธิดา ชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาค
ทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้าง
ปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่
พระเจ้ากาลิงคะ ชาวกรุงสัญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร

๑๐

กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์

ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหาออกจากพระนคร จึง
ทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่
ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐

๑๑

กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์

เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาพระกษัตริย์ผู้
ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ และเมื่อเสด็จถึงเขา
วงกตได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช
กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนววชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา

๑๒

กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก

ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานในเมือง
ต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไป
ใช้เป็นการส่วนตัวเมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดา
เมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับ
ภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไป
ทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพราหมณ์
เจตบุตรผู้รักษาประตูป่า

๑๓

กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน

ชูชกเดินทางไปเขาวงกต พบพรานเจตบุตร ชูชกใช้กลอุบายหลอกว่าเป็นราชทูตของ
พระเจ้ากรุงสัญชัย พร้อมชูกลักพริก กลักขิง เสบียงกรังที่นางอมิตตดาจัดหาให้ ว่าเป็น
พระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสัญชัย จนพรานเจตบุตรหลงเชื่อ จึงชี้บอกทางให้ไปจนถึง
อาศรมบทของพระอัจจุตฤาษี

๑๔

กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล

ชูชกเดินทางไปพบพระอัจจุตฤาษี ได้หลอกลวงพระฤาษีให้หลงกลว่าเป็นกัลยาณมิตร
ของพระเวสสันดร จนได้พักค้างคืนกับพระฤาษี รุ่งขึ้นพระฤาษีได้ให้กินผลไม้ และชี้ให้ชม
เขาลำเนาไพรพร้อมบอกระยะทางสภาพป่า และหนทางที่จะไปสู่เขาวงกตให้แก่ชูชก ซึ่ง
ประกอบไปด้วย เขาใหญ่ สระน้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด

๑๕

กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร

พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพรากรุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหา
อาหารแล้วชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระพระ
เวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก

๑๖

กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี

พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดา
แปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าว
ว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตก
พระทัยลืมตนว่าเป็นดาบส จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้นจึง
ถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว
หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบ นางจึงได้ทรงอนุโมทนา

๑๗

กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ

ท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรีพระเวสสันดรจึง
พระราชทานให้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ
เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยัง
ไม่รับไป ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ ได้แก่
๑. ให้ทรงได้รับอภัยโทษ ๒. ให้ทรงช่วยคนถูกฆ่าได้ ๓. ให้ไพร่ฟ้าได้พึ่งพา ๔. ให้มั่นคงใน
มเหสี ไม่ลุ่มหลงสตรีอื่น ๕. ให้ได้สืบสันติวงศ์ ๖. ให้มีสิ่งของบริจาคทานมิสิ้น ๗. ให้มีอาหาร
ทิพย์พอเพียงทุกรุ่งเช้า ๘. ให้ได้สำเร็จพระโพธิญาณ แล้วท้าวสหัสนัยก็เนรมิตรร่างเป็น
พระอินทร์เหาะขึ้นฟ้าไปทันที

๑๘

กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช

เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบน
ต้นไม้เหล่าเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพีเกิดนิมิตฝัน
ตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตร
เห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมา
ชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจูงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดา
นิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี

๑๙

กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์

พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน จึงเดินถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้อง
ของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี จึงชวนนางมัทรี
ขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขาพระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา ได้ทรงตรัสทูล
พระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหาร
เหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน ท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตก
ประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก

๒๐

กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์

พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้ง
พระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์
ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่น
มารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึง
บันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการ คือ จักร (ลูกล้อรถ) แก้ว (จักรรัตนะ) ช้างแก้ว
(หัตถิรัตนะ) ม้าแก้ว (อัสสรัตนะ) แก้วมณี (มณีรัตนะ) นางแก้ว (อิตถีรัตนะ)
ขุนคลังแก้ว (คหปติรัตนะ) ขุนพลแก้ว (ปรินายกรัตนะ) ให้ตกลงมาในนครสีพีสูง
ถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา ที่
เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนคร
สีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

คำศัพท์สำคัญที่ปรากฏ และคำแปลของคำศัพท์ ๒๑

คำศัพท์ คำแปล

กระลี เหตุร้าย
กเลวระ ซากศพ
นักบวช ในที่นี้หมายถึงพระเวสสันดร
ชี
เต็มเดือด เดือดเต็มที่ หมายถึง โกรธจัด
เถื่อน
ป่า

คำศัพท์ ๒๒

ทรามคะนอง คำแปล
ทุเรศ
กำลังคะนอง หมายถึง กำลังซน ๕
น่าหลากใจ
นิ่งมัธยัสถ์ ไกล ในความว่า “จากบุรีทุเรศมา”
บริจาริกาการ
น่าประหลาดใจ

ประหยัดถ้อยคำ ไม่ยอมพูด

ผู้ที่ทำหน้าที่หญิงรับใช้  ผู้ที่ทำหน้าที่ภรรยา  ในที่นี้หมายถึง 
พระนางมัทรี

คำศัพท์ ๒๓

ปริภาษณา คำแปล

พญาพาฬมฤคราช บริภาษ กล่าวโทษ

พระราชสมการ ราชาแห่งสัตว์ร้าย ราชาแห่งสัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร หมายถึง สัตว์ร้ายทั้งสมอันเป็นร่างแปลง
พร้า ของเทพยดาสามองค์ที่แปลงร่างตามคำสั่งของพระอินทร์ที่ให้มาสกัดกั้นพระนางมัทรีไม่ให้ขัดขวางการ
บำเพ็ญบุตรทานบารมีของพระเวสสันดร สัตว์ร้ายทั้งสาม ได้แก่ พญาไกรสรราชสีห์ พญาเสือโคร่ง
พื้นปริมณฑล
และพญาเสือเหลือง

พระราชาผู้ออกบวช เป็นคำที่พะนางมัทรีเรียกพระเวสสันดร

มีดขนาดใหญ่

พื้นที่โดยรอบ  ในที่นี้หมายถึง  อาณาบริเวณ

คำศัพท์ ๒๔

พฤกษาลดาวัลย์ คำแปล
มังสัง
ไม้เลื้อยหรือไม้เถา แต่ในที่นี้หมายถึงไม้ผล ซึ่งอาจหมายถึง ต้นไม้ที่ออกลูก
มัจฉริยธรรม ออกผลแล้วตาย
มาเลศ
มุจลินท์ มังสะ เนื้อ

ความตระหนี่

มาลี  ดอกไม้

สระใหญ่ในป่าหิมพานต์ เป็นที่ที่หงส์อาศัยอยู่ “ปราศจากมุจลินท์”
หมายความว่าไปจากสระมุจลินท์

คำศัพท์ ๒๕

มูนมอง คำแปล
เมิล
ไม่มีเนตร มากมาย
ยับ มองดู
ยุบลสาร ไม่มีตา ในที่นี้หมายความว่า ไม่เห็นหนทาง หาทางออกไม่ได้
พังทลาย ในความว่า “ อกของใครจะอาภัพยับพิกลเหมือนอก
ของมัทรี ”
ข่าว

คำศัพท์ ๒๖

ระแนง คำแปล
ศิโรเพฐน์
สองรา เรียงราย ในความว่า “ดั่งบุคคลเอาแก้วมาระแนง”
สัตพิธรัตน์
ผ้าโพกศีรษะ ในที่นี้หมายถึงศีรษะ “บ่ายศิโรเพฐน์” คือ
เอนศีรษะลง

สองคน คำว่า “รา” เป็นภาษาถิ่นล้านนา แปลว่า เราทั้งคู่

แก้ว ๗ ประการ  ได้แก่  ทอง เงิน มุกดาหาร ทับทิม ไพฑูรย์ 
เพชร และแก้วประพาฬ

คำศัพท์ ๒๗

แสรกคาน คำแปล
หน่อกษัตริย์
หน้าฉาน สาแหรกและคาน ซึ่งเป็นเครื่องหาบ สาแหรกคือเครื่องใส่ของสำหรับหาบ ปกติ
อุฏฐาการ ทำด้วยหวาย ส่วนคานคือไม้คานซึ่งใช้คอนสาแหรกตรงปลายไม้ทั้งสองข้าง

เชื้อสายกษัตริย์  ในที่นี้หมายถึงพระนางมัทรีผู้เป็นพระธิดาของ
กษัตริย์มัททราช

หน้าที่นั่ง ในที่นี้หมายถึงตรงหน้าพระอาศรมที่พระเวสสันดร
ประทับอยู่

ลุกขึ้น

ข้อคิดที่ได้ของแต่ละกัณฑ์ ๒๘

กัณฑ์ที่ ๑ กัณที่ ๒
๑. ต้องกระทำแต่ความดี ๑. คนดีเกิดที่ไหนไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ที่ทำดีหรือเปล่า
๒. ต้องรักษาความดีนั้นไว้ ๒. การเสียสละแบ่งปันเป็นหัวใจของการสร้างสรรค์สังคม
๓. หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น ๓. การทำดีบางครั้งอาจมีอุปสรรค
๔. ความเห็นแก่ตัว เป็นภัยอันยิ่งใหญ่ของการอยู่ร่วมกัน
๕. การเลือกคู่ครองที่ดีให้ดูมัทรีเป็นแบบอย่าง ไม่หลงระเริงใน
ยามสุข ไม่ละเลยคู่ทุกข์ในยามยาก

กัณฑ์ที่ ๓
๑. ยามมีเขายก ยามหมดเขาหยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขมขื่น
๒. ความรักของแม่ความห่วงใยของเมีย ยิ่งใหญ่กว่ารักและห่วงใยของใคร ๆ ในโลก
๓. เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ผู้มุ่งโพธิญาณย่อมมิหวั่นไหวต่ออุปสรรค
๔. ชีวิตเป็นอนิจจัง อย่าจริงจังจนเกินไปนัก
๕. โทษของความเป็นหม้ายในสมัยก่อน คือ ถูกสังคมดูหมิ่นเหยียดหยาม

๒๙

กัณฑ์ที่ ๔
๑. ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นกาลเวลาที่ควรจะได้รับความเห็นใจเหลียวแลช่วยเหลือจากญาติมิตรหรือเพื่อนร่วมโลก
๒. ผลดีของมิตรแท้ คือ ไม่ทอดทิ้งในยามยาก ประคองในคราวลำบาก อุ้มชูในยามตกต่ำ ช่วยค้ำในยามทรุด
๓. น้ำใจของคนดี หากรู้ว่าความสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้เพราะการเสียสละของตนก็ยินดีที่จะสละโอกาสและ
โชคลาภอันพึงได้ให้ด้วยความเต็มใจ

กัณฑ์ที่ ๕
๑. บุรุษจะบรรลุความสำเร็จอันสูงสุดได้ เมื่อไม่หลงในอำนาจของ
๒. สามีแก่ทุกข์ใจเพราะได้ภรรยาสาว
๓. ความรู้เป็นพิษเพราะเหตุที่ไม่ใช้อาหารเป็นพิษเพราะเหตุไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก่

๓๐

กัณฑ์ที่ ๖
๑. มีอำนาจหากขาดสติปัญญาไตร่ตรองย่อมถูกหลอกได้ง่าย
๒. คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด แต่ความโง่ถ้าไม่เบียดเบียนใคร ย่อมดีกว่าความฉลาดที่เอาเปรียบคนอื่น
๓. ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจตนเอง

กัณฑ์ที่ ๗
๑. ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติหย่อนปฏิบัติตนก็พลาดท่าเสียทีได้ง่าย
๒. คนคดมักพูดหวาน คนพาลมักพูดเพราะ ต้องวิเคราะห์วินิจฉัยให้ถ้วนถี่
๓. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดูลาย
๔. บางครั้งความสงสารอาจนำมาซึ่งความฉิบหาย หากเชื่อง่ายอาจนำมาซึ่งความทุกข์

๓๑

กัณฑ์ที่ ๘
๑. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกันแต่เป็นห่วงไม่เหมือนกัน โดยห่วงหญิงมากกว่าชายเพราะหญิงปกป้อง
ตัวเองมากกว่า
๒. วิสัยของผู้หญิงนั้น แม้จะมากด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น แต่ไม่มีวันจะสละลูก
ในไส้ให้แก่ผู้ใดได้
๓. การเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ เป็นบันไดสู่ความสมหวัง
๔. ทานอันยิ่งบัณฑิตย่อมสรรเสริญ แต่ปุถุชนมักติเตียน

กัณฑ์ที่ ๙
๑. “รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่หวง
ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้”
๒. ลูกดีชื่นใจพ่อแม่ ลูกแย่พ่อแม่ช้ำใจ
๓. ลูกกตัญญู ชาวโลกอนุโมทนา เทวดาชื่นชม พรหมก็สรรเสริญ

๓๒

กัณฑ์ที่ ๑๐
๑. การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทวดาย่อมเห็น
๒. “อยากได้ดีไม่ทำดีนั้นมีมาก ดีแต่อยากหากไม่ทำก็ขำหนอ อยากได้ดีต้องทำดีอย่ารีรอ ดีแต่ขอรอแต่ดีไม่ดีเอย”
๓. ภรรยาที่ดีพึงสนับสนุนกิจการของสามี

กัณฑ์ที่ ๑๑
๑. คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน
๒. พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต พึงสละชีวิตเพื่อรักษาความถูกต้อง คือ ธรรม

๓๓

กัณฑ์ที่ ๑๒
๑. จากกันยามเป็นได้เห็นน้ำใจ จากกันยามตายได้เห็นน้ำตา
๒. การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉาน สันติสุขย่อมเกิดแก่โลกและสังคม
๓. ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา และการรู้จักปรับปรุงแก้ไขเป็นวิสัยของบัณฑิต

กัณฑ์ที่ ๑๓
พระเวสสันดรเสด็จขึ้นเสวยราชย์ครองแผ่นดินทำให้ไพร่ฟ้าเสนาอำมาตย์มีสุขสงบกันทั่วทั้งแคว้น ชาวเมืองต่างก็หมั่น
ถือศีลบำเพ็ญกุศลตามสัตย์อธิษฐานของพระเวสสันดร ฝ่ายกษัตริย์เมืองกลิงครัฐก็นำช้างปัจจัยนาเคนทร์มาถวายคืน
เพราะบ้านเมืองมีฝนตกต้องตามฤดูกาลแล้วพระเวสสันดรก็ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรมและยังคงทรงบริจาคทานเป็น
เนืองนิตย์ จนพระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษา จึงสิ้นพระชนม์ แล้วได้อุบัติเป็นท้าวสันดุสิตเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิต
“ การใช้ธรรมะในการปกครองย่อมทำให้เกิดความสงบร่มเย็น ”

๓๔

วิจารณ์ตัวละครสำคัญในเรื่อง

เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ ๓๕
ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม มุ่ง
บำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชนเป็นที่ พระเวสสันดร
ตั้ง ยอมเสียสละความสุขส่วนพระองค์
แม้จะทุกข์ก็ไม่หวั่น เป็นแบบอย่างของ
บุคคลผู้ไม่ยึดติดอำนาจวาสนา รู้ซึ้งถึง

โลกธรรมที่ว่า "ยามมียศ เขาก็ยก
ยามต่ำตกเขาก็หยาม" หาได้หวั่นไหว

หรือล้มเลิกบำเพ็ญบารมีไม่

เป็นแม่แบบของภรรยาผู้มีลักษณะเป็น ๓๖
กัลยาณมิตรของสามี สนับสนุนเป้า
หมายชีวิตอันประเสริฐที่สามีได้ตั้งไว้ พระนางมัทรี
และยังเป็นแบบอย่างของภรรยาตาม

ทัศนะของคนตะวันออก เช่น ปฏิบัติดูแล
เรื่องข้าวปลาอาหาร เป็นต้น ทรง

คุณธรรมสำคัญ คือ "ซื่อตรง จงรัก หนัก
แน่น"

๓๗

พระกัณหา

เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่
เข้าใจในเจตนาแห่งการประพฤติธรรม
เพื่อประโยชน์ของคนหมู่มากของพ่อคือ

พระเวสสันดร

๓๘

พระชาลี

เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่
เข้าใจในเจตนาแห่งการประพฤติธรรม
เพื่อประโยชน์ของคนหมู่มากของพ่อคือ

พระเวสสันดร

เป็นตัวอย่างของคนที่ติดอยู่ในกามคุณ ๓๙
เข้าลักษณะว่า "วัวแก่กินหญ้าอ่อน" ต้อง
ชูชก
ตกระกำลำบากในยามชรา เพราะ
"รักสนุก จึงต้องทุกข์ถนัด" ตำราหิโตป
เทศว่า " ความรู้เป็นพิษเพราะเหตุไม่ใช้
ปราสาทเป็นพิษเพราะคนเข็ญใจ อาหาร
เป็นพิษเพราะไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาว

เป็นพิษเพราะผัวแก่"

๔๐
เป็นผู้มีอุปนิสัยรักสวยรักงามเช่นในพรที่ขอจาก
พระอินทร์ส่วนมากก็จะยึดติดกับรูปกายภายนอก เช่น พระนางผุสดี
ขอให้ดวงเนตรทั้งสองมีสีดําประดุจดวงตาลูกเนื้อ ทราย
ส่วนในข้อที่แสดงว่าพระนางเป็นผู้มีความเมตตากรุณา
ก็คือ ได้ขอพระราชทานพรให้ทรงมีอานาจ ปลดปล่อย
นักโทษประหารชีวิตให้พ้นโทษและในข้อที่ แสดงความ
ยึดมั่นในตําแหน่งฐานะก็คือขอให้ได้ประทับในปราสาท

พระเจ้าสีวีราช

๔๑

พระเจ้ากรุงสญชัย

เป็นแบบอย่างของนักปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุข ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ รู้จัก
ผ่อนผันเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ไม่เว้น
แก่พวกพ้อง แม้จะเป็นพระโอรสก็ตาม

๔๒

ฝนโบกขรพรรษ

ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระประยูรญาติ เมื่อพระองค์เสด็จถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว ฝ่ายพระประยูรญาติมีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นประธาน
เสด็จมาต้อนรับ ต่างก็ยังมีทิฐิมานะแรงกล้าไม่ยอมนอบน้อมนมัสการพระบรมศาสดา ด้วยเห็นว่าพระพุทธองค์มีวัยอ่อนกว่าตนพระพุทธองค์ได้ทอด
พระเนตรเห็นเหตุดังนั้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์เสด็จลอยขึ้นไปจงกรมอยู่บนอากาศ ให้ธุลีละอองพระบาทหล่นลงมาบนพระเศียรเหล่าพระประยูร
ญาติลำดับนั้นหมู่พระประยูรญาติต่างพากันคลายทิฐิมานะประคองอัญชลีนมัสการชื่นชมโสมนัสด้วยบุญญาภินิหารของพระพุทธองค์ ขณะนั้น
“ฝนโบกขรพรรษ” ก็ตกลงมาเป็นที่น่าอัศจรรย์

ฝนโบกขรพรรษมีลักษณะ ดังนี้
๑. น้ำฝนมีสีแดงดังเท้านกพิราบ เสียงสนั่นลั่นออกไปดังสายฝนธรรมดา
๒. ผู้ใดปรารถนาจะให้เปียกกายจึงจะเปียก หากมิได้ปรารถนาแม้แต่เม็ดหนึ่งก็มิได้เปียก
๓. เมื่อถูกกายแล้วจะหล่นสู่พื้นดินเสมือนหยาดน้ำที่ตกลงสู่ใบบัวแล้วกลิ้งตกลงไปฉะนั้น
๔. ไม่เจิ่งนองพื้นดิน เมื่อตกลงแล้วก็ซึมหายไปในแผ่นดินทันที

๔๓

ทศชาติ

ทศชาติชาดก คือ เรื่องของพระพุทธเจ้าตอนเสวยพระชาติเป็น พระโพธิสัตว์ ๑๐ ชาติสุดท้าย ก่อนที่จะตรัสรู้พระโพธิญาณ สำเร็จ
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ละชาติทรงเป็นบุคคลแตกต่างกัน และทรงบำเพ็ญเพียรบารมียิ่งใหญ่ เฉพาะพระชาตินั้นๆดังนี้

๑. พระเตมีย์ ทรงบำเพ็ญ เนกขัมบารมี คือ การออกบวช ๖. พระภูริทัต ทรงบำเพ็ญ ศีลบารมี คือ ศีล
๒. พระชนก ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี คือ ความเพียร ๗. พระจันทกุมาร ทรงบำเพ็ญ บันติบารมี คือ ความอดทน
๓. พระสุวรรณสาม ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี คือ เมตตา ๘. พระนารท ทรงบำเพ็ญ อุเบกขาบารมี คือ การวางเฉย
๔. พระเนมิราช ทรงบำเพ็ญ อธิฏฐานบารมี คือ ความตั้งใจมั่น ๙. พระวิทูร ทรงบำเพ็ญ สัจจบารมี คือ สัจจะ
๕. พระมโหสถ ทรงบำเพ็ญ ปัญญาบารมี คือ ปัญญา ๑๐. พระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี คือ การให้

๔๔

ข้อคิดจากเรื่องที่สามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน

๑.ข้อคิด คติธรรม ที่สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันของทุกคนได้ เกี่ยวกับการเป็นคู่สามี
ภรรยาที่ดี การเสียสละ เป็นคุณธรรมที่น่ายกย่อง และการบริจาคทาน เป็นการกระทาที่
สมควรได้รับการอนุโมทนา

๒.บทบาทหน้าที่ของผู้หญิงในฐานะที่เป็นแม่และเป็นภรรยาที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่ง
อื่นใด

๓.สะท้อนแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับความรักของแม่ที่มีต่อลูกอย่างสุดชีวิต

๔.สะท้อนให้เห็นค่านิยมแนวโลกุตตรธรรมของประชาชนว่า มีความปรารถนาจะบรรลุ
สัมมาสัมโพธิญาณ

๔๕

บรรณานุกรม

จรรยวรรณ ศรีฉายา. (๒๕๕๑). หนังสือวรรณคดีและวรรณกรรม๔. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : บริษัท คุรุมีเดีย จำกัด.
จิรวรรณ อนุชาติ และคณะ. (มปป.). มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี. https://jirawanjane.wordpress.com.
จักรี จันทะลุน และคณะ. ( ๒๕๕๗ ). เทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์. https://sites.google.com/site/buyphahewd1.
นายบอน@kalasin. (๒๗ พฤษจิกายน ๒๕๔๙). ความรู้เรื่องมหาเวสสันดรชาดก. https://www.gotoknow.org/posts/63720.
( ๒๕๕๗ ). ฝนโบกขรพรรษ. http://wutthichai28973.blogspot.com/2014/02/blog-post_5795.
narongsak. (๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙). มหาเวสันดรชาดก คำศัพท์. http://maistdsru.blogspot.com/2016/05/blog-post_17.

ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ท๓๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒
เสนอ

คุณครูสุชาติ พิบูลย์วรศักดิ์
ครูประจำรายวิชาภาษาไทย


Click to View FlipBook Version