The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

https://www.canva.com/design/DAEpJXvLcS4/share/preview?token=3YOkk0VAiPBaI8dEEXqpog&role=EDITOR&utm_content=DAEpJXvLcS4&utm_campaign=designshare&utm_medium=link&utm_source=sharebutton

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by hataikan1212312121, 2021-09-20 22:55:11

https://www.canva.com/design/DAEpJXvLcS4/share/preview?token=3YOkk0VAiPBaI8dEEXqpog&role=EDITOR&utm_content=DAEpJXvLcS4&utm_campaign=designshare&utm_medium=link&utm_source=sharebutton_clone

https://www.canva.com/design/DAEpJXvLcS4/share/preview?token=3YOkk0VAiPBaI8dEEXqpog&role=EDITOR&utm_content=DAEpJXvLcS4&utm_campaign=designshare&utm_medium=link&utm_source=sharebutton

Keywords: https://www.canva.com/design/DAEpJXvLcS4/share/preview?token=3YOkk0VAiPBaI8dEEXqpog&role=EDITOR&utm_content=DAEpJXvLcS4&utm_campaign=designshare&utm_medium=link&utm_source=sharebutton

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

โ ร ง เ รี ย น ส่ ว น บุ ญ โ ญ ป ถั ม ภ์ ลำ พู น
ภ า ค เ รี ย น ที่ 1 ปี ก า ร ศึ ก ษ า 2 5 6 4

ครูประจำวิชา กายทิพย์ แจ่มจันทร์

จัดทำโดย

นางสาว หทัยกานต์ สุทธดุก เลขที่ 8 ม.6/5
นาย กฤษฎา ตันมิ่ง เลขที่ 18 ม.6/5

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา การงานอาชีพ
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน
นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด

ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

นางสาว หทัยกานต์ สุทธดุก เลขที่ 8
นาย กฤษฎา ตันมิ่ง เลขที่ 18

สารบัญ

คำ นำ

ส า ร บั ญ

1 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคืออะไร ?
3 - ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

- พันธุ์พืชที่ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
4 ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง
5 อุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
7 - การเตรียมสารละลายเข้มข้น

- วิธีการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
8 - การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์

- การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บริเวณภายนอกชิ้น
ส่วนพืช
9 วิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อ
10 การดูแลเนื้อเยื่อระหว่างการเลี้ยง
11 ปลูกในกระถางหรือกระบะ

ขอบคุณรูปจาก: canva

การเพาะ
เลี้ยงเนื้ อเยื่ อ
คืออะไร ?

01 | ขอบคุณรูปจาก: canva

19

การเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่ อ
คืออะไร ?

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture) คือ การเพาะเลี้ยงพืช
เฉพาะบางส่วนของพืชเพื่อให้ได้พืชชนิดนั้นทั้งต้น ขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมาก

ทั้งที่พืชที่ถูกนำชิ้นส่วนมาขยายพันธุ์ต่อนั้นมีจำนวนน้อยต้น
โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นการรวบรวมเทคนิคต่างๆมาใช้ในการดูแลรักษาและการ
เจริญเติบโต ของ เซลล์พืช หรือ เนื้อเยื่อพืช หรือ อวัยวะชิ้นส่วนของพืช ภายใต้สภาวะการ
ปลอดเชื้อและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชนิดนั้นๆ โดยใส่ไว้บน
อาหารไว้สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อให้ได้พืชชนิดนั้นทั้งต้น ทั้งนี้การเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อพืชนี้มักใช้เพิ่มจำนวนพืชที่มีลักษณะเหมือนกันทางพันธุกรรมจำนวนมาก เช่น
กล้วยไม้ที่เป็นพันธุ์พิเศษหายากหรือปรับปรุงพันธุ์ขึ้นเองเพื่อใช้ในการขายในประเทศหรือ

การส่งออกนอกประเทศ

02

ประโยชน์ ของการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อ

สามารถผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ต้นพืชที่ผลิตได้จะปลอดโรค โดยเฉพาะโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส
มายโคพลาสมา ด้วยการตัด เนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น
ซึ่งยังไม่มีท่อน้ำท่ออาหาร อันเป้นทางเคลื่อนย้ายของเชื้อโรค ดังกล่าว
ต้นพืชที่ผลิตได้ จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่
ต้นพืชที่ผลิตได้จะมีขนาดสม่ำเสมอ ผลผลิตที่ได้มีมาตรฐาน
นพืชที่ผลิตได้จะมีขนาดสม่ำเสมอ ผลผลิตที่ได้มีมาตรฐาน
เพื่อประโยชน์ด้านการสกัดสารจากต้นพืช นำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ

พันธุ์พืชที่ทำการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อ

อ้อย,เบญจมาศ,สตรอเบอรี่,หน่อไม้ฝรั่ง,ขิง,
มันฝรั่ง,สับปะรด,สมุนไพร,กล้วย,

กระเจียว/ปทุมมา,ปูเล่,ไผ่,กล้วยไม้ป่า

03

ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง

ห้องเตรียมอาหารควรเป็นห้องที่มีโต๊ะสำหรับ
เตรียมสารเคมีอ่างน้ำตู้เย็นสำหรับเก็บ
สารละลายเข้มข้น เครื่องชั่ง เครื่องวัดความ
เป็นกรด – ด่าง เตาหลอมอาหาร
หม้อนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบความดันไอน้ำ

ห้องถ่ายเนื้อเยื่อเครื่องมือสำคัญในห้องนี้
คือตู้สำหรับเลี้ยงหรือถ่ายเนื้อเยื่อเป็นตู้ที่มี
อากาศถ่ายเทผ่านแผ่นกรองที่สามารถกรอง
จุลินทรีย์ไว้ได้ตลอดเวลาทำให้อากาศภายในตู้
บริสุทธิ์ ช่วยให้ทำงานสะดวกรวดเร็ว

ห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสภาพแวดล้อมที่เหมาะ
สมในการเลี้ยงเนื้อเยื่อจะแตกต่างกันสำหรับ
พืชแต่ละชนิดโดยทั่วไปมักจะปรับสภาพ
แวดล้อมภายในห้องให้มีอุณหภูมิประมาณ
25 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ให้แสง
ประมาณ 12 – 16 ชั่วโมง / วัน
ความเข้มของแสง 1,000 – 3,000 ลักซ์

04

อุปกรณ์ ในการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อ

พันธุ์พืชที่จะนำมาเพาะเลี้ยงควรสะอาด ปราศจากโรคและเป็นส่วนที่สำคัญ
ที่ยังอ่อนอยู่
เครื่องแก้วต่าง ๆ ได้แก่ ฟลาสค์ บีคเกอร์ ปิเปตต์ จานเพาะเชื้อ
กระบอกตวง ขวดสำหรับเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สารเคมีต่าง ๆ
- สารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อที่ติดมากับผิวพืช
- สารเคมีที่ใช้เตรียมสูตรอาหารต่าง ๆ
- สารเคมีที่ควบคุมการเจริญเติบโต
- น้ำตาลซูโครส วุ้น
เครื่องมือผ่าตัด ได้แก่ มีดผ่าตัด ปากคีบ
ตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ
อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

05

อุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง สิ่งที่สำคัญ
มากอย่างหนึ่งคือองค์ประกอบของอาหารที่เหมาะสม ซึ่งต้องประกอบด้วย
อาหารที่พืชสามารถนำไปใช้อย่างมี ประสิทธิภาพ สูตรอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1. สารอนินทรีย์
2. สารประกอบอินทรีย์
3. สารที่ได้จากธรรมชาติ
4. สารไม่ออกฤทธิ์

สารอนินทรีย์ ได้แก่ ธาตุอาหารหลัก คือ ธาตุอาหารที่พืชจำเป็นต้องใช้ใน
ปริมาณมาก เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม กำมะถัน แคลเซียม
แมกนีเซียม และธาตุอาหารรองหรือธาตุอาหารที่พืชจำเป็นใช้ในปริมาณน้อย
เช่น แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โมลิบดีนัม โบรอน ไอโอดีน โคบอล คลอรีน
สารประกอบอินทรีย์ แบ่งออกได้หลายพวก คือ

2.1 น้ำตาล
2.2 ไวตามิน ชนิดที่มีความสำคัญ ได้แก่ ไธอะมีน
2.3 อมิโนแอซิค เช่น ไกลซีน

สารควบคุมการเจริญเติบโต ได้แก่ ออกซิน ไซโตไคนิน จิบเบอเรลลิน
สารอินทรีย์พวก อิโนซิทอล อะดีนีน ช่วยส่งเสริมให้เกิดยอด ซิตริคหรือแอสคอ
บิคแอซิดช่วยลดน้ำตาลที่บริเวณชิ้นส่วนพืช
สารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น กล้วยบด น้ำมะพร้าว น้ำส้มคั้น น้ำมะเขือเทศ
สารไม่ออกฤทธิ์ เช่น วุ้นช่วยให้พืชตั้งได้ ผงถ่านช่วยดูดซับสารพิษที่พืชสร้าง

06

การเตรียมสารละลายเข้มข้น

การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จะไม่เตรียมโดยการชั่งสารเคมีใน
แต่ละครั้งที่เตรียม แต่จะเตรียมเป็นสารละลายเข้มข้น คือ การรวมสารเคมีพวก
ที่สามารถรวมกันได้โดยไม่ตกตะกอน ไว้ด้วยกัน

วิธีการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อพืช

1. นำสารละลายเข้มข้นชนิดต่าง ๆ มาผสมกัน ค่อย ๆ กวนให้เข้ากันจนหมด
ครบทุกชนิด
2. เติมน้ำตาล แล้วเติมน้ำกลั่นให้ได้ปริมาตรที่ต้องการ ปรับ pH 5.6 – 5.7
3. นำวุ้นผสมกับอาหารที่เตรียม หลอมวุ้นให้ละลาย
4. บรรจุลงในขวดอาหารในปริมาตรเท่า ๆ กัน ปิดฝาให้สนิท

07

การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์

นำขวดที่บรรจุอาหารแล้วไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไอน้ำที่
อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปาสคาล

การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บริเวณภายนอกชิ้นส่วนพืช

เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่จะต้องฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ติดมากับบริเวณ
ผิวนอกของชิ้นส่วนพืชเนื่องจากอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมีธาตุอาหาร
และไวตามิน ที่จุลินทรีย์ต่าง ๆ เจริญได้ดีและรวดเร็วกว่าเนื้อเยื่อพืช การฆ่าเชื้อ
จุลินทรีย์ที่ทำได้สะดวกและได้ผลดีโดยการใช้สารเคมีชนิดที่สามารถฆ่าเชื้อ
จุลินทรีย์ได้หมดทุกชนิดและล้างออกได้ง่ายเพราะถ้าล้างออกได้ยาก
สารเคมีเหล่านี้จะมีผลทำให้เนื้อเยื่อพืชตาย หรือมีการเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร
การเติมน้ำยาซักฟอกลงไปในสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จะทำให้ประสิทธิภาพ

สารเคมีเหล่านั้นดีขึ้น เนื่องจากจะทำให้ลดแรงตึงผิวบริเวณผิวนอกของ
ชิ้นส่วนพืช สารเคมีจะแทรกซึมเข้าไปทำลายจุลินทรีย์ตามซอกต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
การเตรียมสารเคมีฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ทำโดยตวงสารให้ได้ปริมาณตามที่ต้องการ
แล้วเติมน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อและน้ำยาซักฟอกลงไป เขย่าให้เข้ากัน การเตรียมนี้

ควรเตรียมใหม่ทุกครั้งที่ใช้

08

วิธีการเลี้ยงเนื้ อเยื่อ

1. นำชิ้นส่วนพืชที่ต้องการมาล้างน้ำให้สะอาด
2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
3. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวนอกชิ้นส่วนพืช
4. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10 – 15 นาที
5. ใช้ปากคีบคีบชิ้นส่วนพืช ล้างในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อ 3 ครั้ง
6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์
7. ลงรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี หรือรหัส

09

การดูแลเนื้ อเยื่อระหว่างการเลี้ยง

1. นำขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปวางบนชั้นในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยปรับสภาพ
แวดล้อมให้เหมาะสมโดยทั่วไปปรับอุณหภูมิภายในห้องประมาณ 25 องศา
เซลเซียส ระยะเวลาที่ให้แสงประมาณ 12 – 16 ชั่วโมง / วัน
ความเข้มของแสง 1,000 – 3,000 lux

2. ควรเปลี่ยนอาหารใหม่ทุก 2 สัปดาห์ ระหว่างการเลี้ยงตรวจดู
3. การเจริญเติบโต สังเกตุการเปลี่ยนแปลง บันทึกรายงานไว้เพื่อเป็นข้อมูล

10

ปลูกในกระถางหรือกระบะ

เมื่อพืชเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์แล้ว ก็นำลงปลูกในกระถางดังนี้
1. เตรียมทราย : ถ่านแกลบ หรือ ทราย : ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1 : 1 ใส่กระถาง
หรือกระบะพลาสติค

2. ใช้ปากคีบ คีบต้นพืชออกจากขวดอย่างระมัดระวัง
3. ล้างเศษวุ้นที่ติดอยู่บริเวณรากออกให้หมด
4. จุ่มยากันรา ตามอัตราส่วนที่กำหนดในสลากยา

11


Click to View FlipBook Version