คำนำ เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อ รายงานผลการดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและ อบายมุข การส่งเสริมการเรียนรู้และเผยแพร่ ผลการดำเนินกิจกรรม ของการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วม เป็นการเรียนรู้อย่างมีหลักการ ช่วยเรียนรู้จักสังเกต ทดลองปฏิบัติ บันทึกผล วิเคราะห์และสรุปผล ภายใน เอกสารประกอบไปด้วย กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน การออกแบบกระบวนการและขั้นตอนปฏิบัติ รายละเอียดการดำเนินการตามระบบวงจรคุณภาพ P D C A และสรุปผลการดำเนินงาน ปัจจัยหลักแห่ง ความสำเร็จ ตลอดจนบทเรียนสำคัญที่ได้รับจากการดำเนินงาน เป็นต้น ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสนับสนุน ในการดำเนินงานการส่งเสริมการเรียนรู้และเผยแพร่ “ผลการ ดำเนินกิจกรรม ของการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วม และสนับสนุนในการจัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อเป็น ประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้สนใจทุก ๆ คนต่อไป สกร.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง
สารบัญ คำนำ สารบัญ ▪ ชื่อผลงาน ▪ ชื่อเจ้าของผลงาน ▪ สังกัด ▪ เบอร์โทร 1. ความเป็นมาและความสำคัญของผลงาน ▪ ความเป็นมาและสภาพของปัญหา ▪ แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา 2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน 4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ 5. ปัจจัยความสำเร็จ 6. บทเรียนที่ได้รับ 7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ ภาคผนวก ▪ ภาพกิจกรรม/ความสำเร็จ 1 1 1 1 1 1 1 2 3 8 8 9 9 10
1 วิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ชื่อผลงาน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ประทับช้างปลอดยาเสพติดและอบายมุขด้วยรูปแบบ “CHANG” ผู้เสนอผลงาน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ประทับช้าง หมู่ 9 ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพิจิตร โทรศัพท์ 056-039894 1. ความเป็นมาและความสำคัญของผลงาน 1.1 เหตุผลความจำเป็นและสภาพปัญหา จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบัน การสื่อสารเทคโนโลยีต่างๆ ส่งผลกระทบ ต่อประชาชนทั้ง ในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งปรากฏปัญหาให้เห็นมากมาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและด้านอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา การแพร่ระบาดของยาเสพติด อันนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวที่ก่อให้เกิดความทุกข์ความวิตกกังวล ความเครียด มีการปรับตัว ที่ไม่เหมาะสมหรืออื่นๆ ความสำเร็จอันเกิดขึ้นจากการพัฒนานักศึกษาให้เป็นคนดี มีคุณธรรมตามความคาดหวังนั้นต้อง อาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษา ซึ่งมีครูเป็นหลักสำคัญใน การดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาเติบโตงดงามและเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม การพัฒนานักศึกษาให้เป็น บุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา มีความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินชีวิตในสังคม ได้อย่าง มีความสุข โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้เยาวชนเป็นคนดี คนเก่งและดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจาก จัดกิจกรรม ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้วการป้องกัน และการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดจาก ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักศึกษา ได้แก่ ยาเสพติด การพนัน ทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมที่ ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกคน ต้องเข้าใจช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยงและ ผลกระทบจากแหล่งอบายมุข ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ประทับช้างตั้งอยู่ในชุมชนที่ประกอบอาชีพการเกษตรกรรม อาชีพรับจ้าง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไปทำงานต่างจังหวัด ผู้ปกครองส่วนใหญ่จึงไม่มีเวลาดูแลนักศึกษา และเปลี่ยนสถานที่ทำงานตาม สภาพของเศรษฐกิจในสังคมบ่อยครั้ง ส่งผลให้นักศึกษาขาดคนดูแลเอาใจใส่และขาดการอบรมบ่มนิสัยจากผู้ปกครอง ทำให้ มีปัญหาทางด้านการเรียน ปัญหาครอบครัว ขาดความรักความอบอุ่น ขาดการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ขาดระเบียบ วินัย ความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อส่วนรวม อยู่ในสังคมที่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ทำให้ขาดเกราะป้องกันหรือไม่มีภูมิคุ้มกันใน ตัวเอง รวมไปถึงมีอัตราเสี่ยงในเรื่องยาเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ ๑.๒ แนวคิด หลักการแก้ปัญหาและพัฒนา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ประทับช้างได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักศึกษา โดยเฉพาะเรื่องของยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ สถานศึกษาจึงได้เข้าร่วมโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและ อบายมุข ตามแนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ๕ มาตรการ ได้แก่ มาตรการ ป้องกัน มาตรการค้นหา มาตรการ รักษา มาตรการเฝ้าระวัง และมาตรการบริหารจัดการ และตามกลยุทธ์ ๔ ต้อง ๒ ไม่ โดยคิดรูปแบบวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ "ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ปลอดยาเสพติดและอบายมุขด้วยรูปแบบ “CHANG” โดยใช้กระบวนการ
2 PDCA ในการดำเนินงาน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับนักศึกษา ด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมภายในสถานศึกษา การลงมือ กระทำปฏิบัติจริงของนักศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม เป็นการสร้างนิสัยให้นักศึกษามีนิสัย ใฝ่รู้ ใฝ่ทำดี รู้จักป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข ๒. เพื่อป้องปรามและดูแลช่วยเหลือนักศึกษาจากปัญหายาเสพติดและอบายมุข ๓. เพื่อสร้างเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข เป้าหมาย ด้านปริมาณ 1. ครูและบุคลากร จำนวน 15 คน 2. นักศึกษา จำนวน 685 คน ด้านคุณภาพ - ครูบุคลากรและนักศึกษา สกร.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ปีการศึกษา 2566 ปลอดภัยจากยาเสพติด และอบายมุข ระยะเวลา - ปีการศึกษา 2566
3 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 กระบวนการออกแบบผลงาน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ประทับช้างปลอดยาเสพติดและอบายมุขด้วยรูปแบบ “CHANG”ดังนี้ 1. C : Coordination การทำงานร่วมมือประสานกัน การมีส่วนร่วมในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา นักศึกษา ระหว่างผู้บริหาร ครูบุคลากร นักศึกษาและผู้ปกครอง เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย 2. H : Head ความรอบรู้ เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งแต่ละกิจกรรมจะพัฒนาการเรียนรู้ให้กับ นักศึกษาอันเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ รวมไปถึงการปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นใน สังคมได้อย่างมีความสุข 3. A : Activity กิจกรรมส่งเสริมเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้มี คุณธรรม ส่งเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝัง ป้องกัน และสร้าง ภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับนักศึกษาด้วยการเรียนรู้ จากการลงมือกระทำจากการปฏิบัติจริงของนักศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ให้การแนะนำ สั่งสอน ฝึกฝน อบรม เป็นการสร้างนิสัย ให้นักศึกษามีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่ทำดี และใฝ่รักษาสุขภาพ ไม่สร้างความเดือดร้อน เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุขพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดย แบ่งเป็นกิจกรรมตามมาตรการ 4 ด้าน ได้แก่ H Head สมองความรู้ ความรอบรู้ รูปแบบ CHANG A Activity กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ N Network สร้างเครือข่าย G Group การแบ่งกลุ่ม C Coordination การประสาน/การร่วมมือ
4 ด้านที่ 1 มาตรการป้องกัน ด้านที่ 2 มาตรการค้นหา ด้านที่ 3 มาตรการรักษา ด้านที่ 4 มาตรการเฝ้าระวัง 4. N : Network สร้างเครือข่าย คือ การสร้างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วม เช่นสถานศึกษา ใกล้เคียง หน่วยงานราชการต่างๆ ตำรวจ,สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, พระสงฆ์ซึ่งอยู่ ในบริเวณท้องถิ่นและชุมชน ทั้งนี้เพื่อช่วยสถานศึกษาในการดำเนินงานให้มีมาตรการป้องกันและการป้องปรามติดตามผู้ จำหน่ายและผู้เสพและมาตรการความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับสถานศึกษาในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด และแหล่งอบายมุขรอบสถานศึกษา 5. G : Group การแบ่งกลุ่ม เป็นระบบการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา โดยการตรวจสอบคัดกรองนักศึกษาออกเป็น กลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา หาวิธีการปรับปรุงแก้ไขและป้องกัน รวมถึงส่งเสริม พัฒนาช่วยเหลือ นักศึกษากลุ่มที่มีความเสี่ยงและมีปัญหา
5 Flow Chart นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาสู่มาตรฐานด้วยรูปแบบ CHANG การวิเคราะห์สภาพปัญหาของสถานศึกษา Swot Analysis C : Coordination การประสาน/การร่วมมือ G : Group การแบ่งกลุ่ม A : Activity กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ H : Head สมองความรู้ ความรอบรู้ N : Network สร้างเครือข่าย Plan Do Check Action 1.นักศึกษามีคุณภาพ ชีวิตดีและมีผลทางการ เรียนที่ดีขึ้น 2.ครูและบุคลากร มีคุณภาพชีวิตดี 3.สถานศึกษามีคุณภาพ ตามมาตรฐาน
6 การใช้หลักการ PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (อังกฤษ: Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือวงจร การควบคุมคุณภาพ P = Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นจำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงาน ที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป เมื่อได้วางแผนงาน (P) นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ (C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไข หรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปได้เรื่อยๆ จึงเรียกวงจร PDCA 3.2 ใช้กระบวนการ PDCA ในการบริหารจัดการนวัตกรรม "CHANG" 1) การวางแผน Plan C: Coordination การประสาน/การร่วมมือ วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยยึดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างภูมิคุ้มกันต้านยาเสพติดตามแนวทางการดำเนินงาน 5 มาตรการ และกลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักศึกษาผู้ปกครอง นักศึกษาคณะกรรมการ สถานศึกษา และชุมชน จากการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของสถานศึกษา และความต้องการของ ชุมชน มาจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 2) ปฏิบัติตามแผน Do ปฏิบัติงานตามแผน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างภูมิคุ้มกันต้านยาเสพติด พัฒนาการเรียนรู้ ร่วมกันด้วยนวัตกรรมใหม่ มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย โดยปฏิบัติตามรูปแบบดังนี้ G = Group การแบ่งกลุ่ม คัดกรองนักศึกษาออกเป็นกลุ่ม กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเฝ้าระวัง กลุ่มบำบัดรักษาเพื่อหา แนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ A = Activity กิจกรรมส่งเสริมเชิงสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เรียนรู้เช่น โครงการพัฒนาผู้เรียน โครงการส่งเสริมทักษะความปลอดภัย และการป้องกันยาเสพติด เพื่อเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมเชิงบวก 3) ตรวจสอบ Check ตรวจสอบคุณภาพตามตัวชี้วัด H = Head สมอง ความรอบรู้ (ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์) 4) ปรับปรุงแก้ไข Action นำผลที่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบและนำที่ได้ไปพัฒนาอย่างยั่งยืน N = Network สร้างเครือข่าย 3.3 ขั้นตอนการดำเนินงานการพัฒนานวัตกรรมโดยใช้วงจร PDCA การดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ประทับช้างปลอดยาเสพติดและอบายมุขด้วย รูปแบบ “CHANG” โดยใช้รูปแบบ วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้วยรูปแบบ CHANG สู่สถานศึกษาสีขาวนั้น ได้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการที่ปรับประยุกต์ขึ้น โดยใช้วงจร PDCA เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนา ประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายและเกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อย่างสมดุลรอบด้านเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ซึ่งโดยมีขั้นตอนดังนี้
7 ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้าน ต่างๆ ของ สถานศึกษา จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ทราบถึงบริบทของสถานศึกษาว่าขณะนี้อยู่ ณ จุดใด (Where are we now?) เพื่อจัดลำดับความสำคัญและกำหนดกรอบในการพัฒนานวัตกรรม ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการออกแบบนวัตกรรมรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ CHANG ที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาในการดำเนินโครงการ จากผลสรุปของการ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคการพัฒนาสถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาจากการประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา แล้วนำมาวิเคราะห์ถึง สาเหตุของปัญหา 2. ประชุม วางแผน ร่วมกับครู เพื่อทำความเข้าใจนโยบาย สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข 3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบเพื่อกำหนดกิจกรรม ส่งเสริมที่ เหมาะสมกับนักศึกษา จัดทำรายละเอียดโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ 4. สร้างเครื่องมือประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้แก่ แบบสอบถาม เกี่ยวกับการจัดกิจกรรม ส่งเสริม แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู นักศึกษาที่มีต่อการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและ อบายมุข 5. จัดหาทรัพยากร/งบประมาณ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา 6. สร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือจากครูบุคลากร/องค์กรต่างๆทั้งในและนอกสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อนำนวัตกรรม รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ CHANG ไปใช้ดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่ง เน้นการพัฒนาศักยภาพ ของคนให้สามารถพัฒนานวัตกรรมมีการทำงานเป็นทีม เพื่อสร้างคุณค่าให้กับสถานศึกษาผ่านกระบวนการการจัดการ ความรู้ในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ลงมือปฏิบัติคัดกรองนักศึกษาออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษา และจัดกิจกรรมส่งเสริมเชิงสร้างสรรค์ให้นักศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุข 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 มาตรการป้องกัน 1. กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข 2. กิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก 3. กิจกรรมคุณธรรม 4. กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ 5. กิจกรรมห้องเรียนสีขาว ด้านที่ 2 มาตรการค้นหา 1. กิจกรรมเยี่ยมบ้าน/กิจกรรมคัดกรองผู้เรียนตามคู่มือระบบช่วยเหลือผู้เรียนของสถานศึกษา ด้านที่ 3 มาตรการรักษา 1. กิจกรรมคลินิกเสมารักษ์ 2. ส่งต่อเครือข่ายเพื่อรับการรักษา
8 ด้านที่ 4 มาตรการเฝ้าระวัง 1. กิจกรรมตู้แดงเสมารักษ์ 2. กิจกรรมการทำงาน ฝ่ายสารวัตนักเรียน (ห้องเรียนสีขาว) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินกิจกรรม จากการใช้นวัตกรรม การบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ CHANG โดยยึดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาที่กำหนดผลสำเร็จรอบด้าน 4.1 จัดทำเครื่องมือประเมินผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ 4.2 ครูสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาก่อนและหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมเก็บรวบรวมข้อมูลและผลการ ประเมิน นักศึกษา ตามเครื่องมือวัดผล 4.3 นำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์และนำเสนอผลที่ได้จากการใช้วิธีการหรือกิจกรรมในการแก้ปัญหา นั้นๆ ขั้นตอนที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) สถานศึกษาคุณภาพต้องมีการพัฒนานวัตกรรมการบริหารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียน อย่าง ต่อเนื่อง 1. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข 2. ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 3. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ๔. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ประทับช้างปลอดยาเสพติดและอบายมุขด้วยรูปแบบ “CHANG” จนเกิด ความสำเร็จ ดังนี้ ๔.๑ ครู บุคลากรและนักศึกษา ไม่มีประวัติต้องโทษเกี่ยวกับยาเสพติด และอบายมุข ๔.๒ ครูและนักศึกษาร่วมกันป้องปรามและดูแลช่วยเหลือนักศึกษาจากปัญหายาเสพติดและอบายมุข ๔.๓ เครือข่ายให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อนและพัฒนาสถานศึกษาสีขาวเป็น อย่างดี ๕. ปัจจัยความสำเร็จ ๕.1 นักศึกษาแกนนำ ๔ ฝ่ายเข้าใจบทบาทหน้าที่ในภารกิจและดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ทั้ง 4 ด้านของกิจกรรมห้องเรียนสีขาว ๕.๒ ครูให้ความช่วยเหลือและดูแลนักศึกษา มีทัศนคติที่ดีต่อนักศึกษาและพร้อมที่จะพัฒนานักศึกษาในทุกๆ ด้าน ๕.๓ ผู้บริหารมีการบริหารจัดการที่ดี มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ทุกกิจกรรม ๕.4 ชุมชน หน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมเป็นอย่างดี ๕.5 สถานศึกษาเครือข่ายให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อนและพัฒนา สถานศึกษาสีขาวเป็นอย่างดี
9 ๖. บทเรียนที่ได้รับ หากมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมาให้คำแนะนำและคอยติดตามรูปแบบ CHANG โดยการบูรณาการ กับ กระบวนการ PLC เพื่อให้รูปแบบ CHANG เป็นที่ยอมรับในระดับที่สูงขึ้น ๗.การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ ๗.๑ รางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเงิน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2565 7.2 ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ภาคีเครือข่าย ชุมชน ยอมรับผลการปฏิบัติงานของ สถานศึกษา ๗.3 การเผยแพร่ผลงานศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ประทับช้างปลอดยาเสพติดและอบายมุขด้วยรูปแบบ “CHANG” ผ่านทางเว็บไซต์สถานศึกษาและช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ/แผ่นพับประชาสัมพันธ์/Facebook 7.4 เผยแพร่ผลการดำเนินงาน แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา
10 ภาคผนวก
11 ภาพประชุมวางแผนการทำงานร่วมกัน
12 ภาพประชุมการออกแบบกิจกรรมระหว่างครูและผู้
13 คู่มือระบบช่วยเหลือผู้เรียนของสถานศึกษา
14 โครงการป้องกันและลดปัญหายาเสพติด
15 ภาพ MOU ระหว่าง ผอ. และครู
16 ภาพ MOU ระหว่าง ผอ. และภาคีเครือข่าย
17 ภาพ MOU ระหว่าง ครูและภาคีเครือข่าย
18 ภาพครูรับเกียรติบัตรห้องเรียนสีขาว
19 ภาพนักศึกษารับเกียรติบัตรนักศึกษาดีเด่น