The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รูปเล่มชิ้นงงาน หนังสือส่งเสริมสร้างความเข้าใจพอดแคสต์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kan_99169916, 2022-03-20 23:20:43

หนังสือส่งเสริมสร้างความเข้าใจพอดแคสต์

รูปเล่มชิ้นงงาน หนังสือส่งเสริมสร้างความเข้าใจพอดแคสต์

Keywords: พอดแคสต์,หนังสือส่งเสริม,ชิ้นงานประจำภาคนิพนธ์

หนังสือส่งเสริม

ความเข้าใจ

พอดแคสต์

โดย กานต์พิชชา จุลศรีไกวัล



คำนำ

หนังสือส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับพอดแคสต์เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่ง

ของรายวิชา 428495 สหกิจศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหนังสือส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับพอดแคสต์ใน
สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 1 กรมประชาสัมพันธ์ ส่วนข่าวและรายกาภูมิภาค

เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อใหม่อย่างพอดแคสต์ ซึ่งเป็นสื่อใหม่ที่เริ่มมีความ

นิยมภายในประเทศไทย โดยในหนังสือส่งเสริมความเข้าใจนี้ประกอบไปด้วย

ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพอดแคสต์ เช่น ประวัติความเป็นมา
จุดเริ่มต้นในประเทศไทย และข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับผู้บริโภคพอดแคสต์

ภายในประเทศ

หากในกรณีที่หนังสือส่งเสริมความเข้าใจเล่มนี้มีข้อบกพร่องหรือ

ข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำมีความยินดีที่จะปรับปรุงหนังสือส่งเสริม

ความเข้าใจเล่มนี้ให้มีความถูกต้องและความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น สุดท้ายนี้ผู้

จัดทำหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเสริมสร้างความเข้าใจภายในองค์กรและเป็น
ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับพอดแคสต์ รวมถึงเป็นแนวทางของ

นักศึกษาฝึกงานสหกิจศึกษาในปีต่อไปอีกด้วย

กานต์พิชชา จุลศรีไกวัล
มีนาคม 2565





สารบัญ

คำนำ ก
สารบัญ ข
1
พอดแคสต์คืออะไรกันแน่ 3
นิยามความหมายของพอดแคสต์ใน

พจนานุกรม 5
ต้นกำเนิดพอดแคสต์ 9
การเข้ามาของพอดแคสต์ในประเทศไทย 13
ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับพอดแคสต์ 14
15
สถิติผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตที่ฟังพอดแคสต์ภายในประเทศไทย 15
สถิติของผู้ที่ฟังพอดแคสต์ใประเทศไทย 16
17
เพศ 18
19
อายุ 20
21
สถานภาพการสมรส
23
ระดับการศึกษา 25
27
อาชีพ

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน

สถานที่และจำนวนการฟังในแต่ละสถานที่
ช่องทางในการฟังพอดแคสต์ของคนอเมริกา
รายการและประเภทพอดแคสต์ยอดนิยมไทย

บรรณานุกรม



พอดแคส
คืออะไรกันแน่?

ปัจจุบันความนิยมของพอดแคสต์กำลังเพิ่มขึ้น
อย่างมากสำหรับคนไทย มันเป็นเรื่องที่ใหม่และ
ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากนัก

ดพังอนดั้นแเครสาจตึ์งเสตี้ยอกง่อมนาทที
ำ่จคะวเจามาะเขล้ึากใไจปเกถีึ่ยงควกวัาบมหมาย

หรือคำนิยามของคำว่าพอดแคสต์

Podcast นั้นเป็นคำที่มีต้นกำเนิดมาจากการผสมคำว่า iPod และ

Broadcast โดยคำว่า iPod นั่นจากมากจากชื่ออุปกรณ์เล่นเพลงขนาด

เล็กสำหรับพกพาโดยบริษัท Apple ที่เริ่มต้นจำหน่ายใน ค.ศ. 2001 ก่อน

หน้าที่พอดแคสต์จะเกิดขึ้น ดังนั้นจึงเกิดการใช้คำว่า Pod มาร่วมกับคำว่า

Cast นั่นเป็นการตัดมาจากคำว่า Broadcast ซึ่งมีความหมายว่า การกระ

จายเสียง, เผยแพร่เสียง หรือ ออกอากาศ (Online Etymology

Dictionary, ม.ป.ป.)

01

แต่อย่างไรก็ตามการฟังพอดแคสต์ไม่ได้จำกัดอยู่บน iPod

เพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงมีที่มาของคำว่า Podcast
อีกประการ โดยคำว่า POD นั่นมาจากวลีอย่าง Portable

On Demand ซึ่งแปลว่าความต้องการที่พกพาได้แทนคำว่า

iPod (Byron Ricks, 2550)

02

นิยามความหมาย

ของพอดแคสต์

ในพจนานุกรม

ความหมายของพอดแคสต์ในพจนานุกรมนั้นมีการตีความ
ที่คล้ายคลึงกันตามการบัญญัติในพจนานุกรมของต่างชาติ
เช่น ในพจนุนกรมของ Oxford ได้ให้ความหมายว่า

‘พอดแคสต์คือไฟล์เสียงดิจิทัลบนอินเตอร์เน็ต
ที่สามารถเล่นในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ซึ่ง
คุณสามารถพกพาได้’
ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับความหมายในพจนานุกรม
Cambridge ซึ่งให้ความหมายว่า

‘รายการวิทยุที่สามารถจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล
ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต
และสามารถเล่นบนคอมพิวเตอร์หรือบนเครื่อง
เล่น MP3’

03

ส่วนในพจนานุกรม Britannica ได้ให้ความหมาย
ไว้อีกรูปแบบหนึ่งว่า

‘พอดแคสต์คือรายการ (เช่น รายการเพลงหรือ
รายการข่าว) ที่เหมือนรายการวิทยุ,
รายการโทรทัศน์ แต่สามารถดาวน์โหลดจาก
อินเตอร์เน็ต’

ซึ่งทำให้สรุปความหมายโดยรวมของพอดแคสต์ได้ว่า
“พอดแคสต์คือการที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไฟล์
รายการเสียงในรูปแบบดิจิทัลจากอินเตอร์เน็ต
ซึ่งสามารถพกพาไปที่ใดก็ได้พร้อมกับอุปกรณ์
ที่ใช้ได้ตามต้องการ”

04

พต้นอกำดเนแิดคขอสงต์

การกำเนิดขึ้นของพอดแคสต์นั้นเริ่มจากการเกิดขึ้นของ

เทคโนโลยี RSS Feed ที่พัฒนาโดย Tristan Louis

และ Dave Winer ใน ปี ค.ศ. 2000
โดยระบบดังกล่าวนั้นคือระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานที่

ติดตามช่องกระจายเสียงสามารถดาวน์โหลดไฟล์เสียง

ตอนล่าสุดของรายการลงในอุปกรณ์ได้โดยอัติโนมัติ
แต่อย่างไรก็ตามด้วยความซับซ้อนของเทคโนโลยีดัง

กล่าวทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากสำหรับผู้ใช้งาน
(อาลี ปรียากร, 2560)
ทว่ากลับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำเกิดรูปแบบการดาวน์โหลด

ไฟล์เสียงที่เรียกว่าพอดแคสต์ในระยะต่อมา

05

ถัดมาในปี ค.ศ. 2004 ก็ได้บังเกิดรายการพอดแคสต์

The Daily Source Code ขึ้นโดย Adam Curry

ซึ่งเป็นอดีตนักแสดงตลก รวมมือ Dave Winter ซึ่ง

เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้สร้างโปรแกรมที่มีชื่อว่า

iPodder ขึ้นมาในช่วงเวลานั้น
ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลเสียงจาก

อินเตอร์เน็ตลงไปยังเครื่องเล่นเสียง iPod ได้ โดยไม่

ต้องเสียเวลาโอนถ่ายไฟล์เสียงผ่านซอฟต์แวร์ iTunes

ของ Apple โดยเป็นการใช้ระบบ RSS และยังทำให้

ระบบ RSS ได้ยอมรับมากขึ้นในวงกว้างเป็นครั้งแรก

ด้วยพอดแคสต์ (อาลี ปรียากร, 2560)
และผู้ที่ทำให้พอดแคสต์กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นก็คือ

Ben Hammersley ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความ

Audible revolution ของสำนักพิมพ์ The

Guardian ภายในปีเดียวกัน (International

podcast day, ม.ป.ป.) พร้อมกับสื่อสำนักข่าวอื่น
ที่เริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับพอดแคสต์

06

iPodder
Daily Sourcr Code

by Adam Curry

iTunes 4.9

07

ทว่าเมื่อบริษัท Apple ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ได้เล็งเห็นความนิยมของพอดแคสต์ที่เกิด

ขึ้น จึงได้ทำการพัฒนาและสนับสนุนพอดแคสต์โดยการ

ปล่อยซอฟต์แวร์ iTunes รุ่น 4.9 ในปี ค.ศ. 2005
ซึ่งมีการเพิ่มบริการสำหรับการดาวน์โหลดไฟล์เสียงของ

รายการพอดแคสต์ที่ผู้ใช้งานติดตาม และยังเพิ่มฟังก์ชัน

สำหรับผู้ผลิตพอดแคสต์ในบริการ iTunes Store ให้

สามารถเผยแพร่ต่อไปยังแอปพลิเคชัน Podcast ของ

ตัวบริษัทเอง (อาลี ปรียากร, 2560)
ทำให้ความนิยมในพอดแคสต์เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการ
อัปเดตซอฟต์แวร์ iTunes เวอร์ชันหรือรุ่น 4.9
นั้นทำให้ผู้ฟังพอดแคสต์หรือตตัวผู้บริโภคสามารถฟัง
พอดแคสต์ได้มากกว่า 3,000 ช่องรายการ โดยที่ผู้

บริโภคนั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแอปพลิเคชันหรือช่องทาง

อื่นนอกเหนือไปจากแอปพลิเคชันพื้นฐานที่บริษัท

Apple จัดสรรเอาไว้แล้ว ส่งผลทำให้หลายปีต่อมาการ

ฟังพอดแคสต์และการผลิตพอดแคสต์ในระดับสากลมี

อัตราการเจริญเติบโตและความนิยมมากยิ่งขึ้น

08

กพาอรเดข้าแมาคขอสงต์

ในประเทศไทย

รายการพอดแคสต์ของประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี
ค.ศ. 2006 ผ่านรายการที่มีชื่อว่า ช่างคุย ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

ด้านเทคโนโลยี โดย ภาสกร หงส์หยก เป็นผู้จัดรายการเนื่อง

มาจากความชอบในการฟังพอดแคสต์ในต่างประเทศ ก่อนที่

จะพัฒนาออกมาเป็นรายการหลากหลายประเทศในระยะต่อมา

บนเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อว่า Changkhui.com
(อาลี ปรียากร, 2560)

โดยมีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์กระทู้พันทิป เว็บไซต์สยาม
พอด และเว็บไซต์รีวิวผลิตภัณฑ์ของ Apple แต่ทว่าในช่วง

เวลานั้นเองการเข้าถึงพอดแคสต์ของคนไทยยังมีจำนวนที่

น้อย เนื่องมาจากข้อจำกัดด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีของคน

ไทย (ชนินทร เพ็ญสูตร, 2561)

09

พอดแคสต์ 'ช่างคุย'
โดย ภาสกร หงส์หยก

10

อย่างไรก็ตามนอกจากรายการช่างคุยที่เป็นจุดเริ่มต้น
พอดแคสต์แล้ว ก็ได้มีรายการที่มีความนิยมขึ้นมาตามลำดับ

เช่นรายการดัง

เช่นในปี ค.ศ. 2012 อย่างรายการ 'Witcast' ที่มีเนื้อหา
เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่เป็นกันเอง โดยมีพิธีกรหรือ

ผู้ดำเนินรายการได้แก่ แทนไท ประเสริฐกุล, อาบัน สามัญชน,

และ อาจวรงค์ จันทมาศ

ต่อมาในปี ค.ศ. 2015 ก็ได้มีรายการ 'Gettalks'
โดยกตัญญู สว่างศรี และ พลสัน นกน่วม พร้อมรายการ

'โลกไปไกลแล้ว' โดย ถนอม เกตุเอม

ส่วนในปี ค.ศ. 2016 ก็ได้มีรายการ 'Omnivore' ที่มี

เนื้อหาเกี่ยวข้องในด้านของศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และ

การอยู่ร่วมกับสังคมแง่มุมที่แตกต่าง โดย โตมร สุขปรีชา

และ ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

11

จากนั้นปีต่อมาก็ได้เกิดสถานีพอดแคสต์ของ The Standard
Podcast ซึ่งเป็นของสำนักสื่อออนไลน์ The Standard
ในปี ค.ศ. 2017 ที่ประกอบไปด้วยรายในปัจจุบันทั้งหมด 23

รายการ (The Standard, 2017) รวมถึงนักจัดการายอิสระ
ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความ

นิยมและการเข้ามาของพอดแคสต์ในประเทศไทย อันเนื่องมาก

จากการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ง่ายขึ้นกว่ายุคเริ่มต้น (ชนินทร
เพ็ญสูตร, 2561)

12

ข้อมูลทางสถิติ

เกี่ยวกับพอดแคสต์

เป็นการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับพอดแคสต์
ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

สถิติผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต
ที่ฟังพอดแคสต์ภายในประเทศไทย

โดยข้อมูลจาก DatapReportal ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการ

สนับสนุนจากองค์กร Hootsuit ผู้ให้บริการระบบจัดการ Social

Media & Marketing Solutions และ We Are Social
ซึ่งเป็นบริษัทดิจิทัลเอเจนซี่ ซึ่งทั้งสององค์กรนี้ได้ให้ข้อทูลทางสถิติ

แก่เว็บไซต์เกี่ยวกับการบริโภคพอดแคสต์ในระดับโลก ทำให้พบว่าผู้

ใช้งานอินเตอร์เน็ตที่มีอายุระหว่าง 16 ถึง 64 ปีจากหลายประเทศ

นั้น มีสัดส่วนทางสถิติในการบริโภคพอดแคสต์ภายในประเทศเป็น

จำนวนเท่าใดและอันดับที่เท่าใดในระดับสากลโลก

เดือนเมษายน ค.ศ. 2021

เป็นอันดับที่ 6 ของโลกจาก 48.1% ซึ่งฟังพอดแคสต์ใน

ประเทศ (DataReportal, 2021a)

เดือนตุลาคม ค.ศ. 2021

เป็นอันดับที่ 20 ของโลกจาก 19.7 ซึ่งฟังพอดแคสต์ใน

ประเทศ (DataReportal, 2021b)

เดือนมกราคม ค.ศ. 2022

เป็นอันดับที่ 21 ของโลกจาก 19.1% ซึ่งฟังพอดแคสต์ใน

ประเทศ (DataReportal, 2022)

14

สถิติของผู้ที่ฟังพอดแคสต์ใประเทศไทย

พฤติกรรมการฟังพอดแคสต์ในประเทศไทยนั้นจากงานวิจัยของ

กลมรัตน์ ถาวรรัตน์ เรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณ

การใช้พอดแคสต์ในประเทศไทย โดยจากการเก็บข้อมูลผู้ทำ

แบบสอบถามจำนวน 413 คน ทำให้ทราบถึงสถิติด้าน เพศ, อายุ,

สถานภาพการสมรส, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้เฉลี่ยต่อ

เดือน, สถานที่ฟังพอดแคสต์, และจำนวนการฟังในแต่ละสถานที่

เพศ

เพศส่วนมากที่ฟังพอดแคสต์เป็นเพศหญิง 236 คน (57.14%)

ตามมาด้วยเพศชาย 168 คน (40.68%), เพศทางเลือก 7

(1.69%) คน และไม่ระบุ 2 คน (0.48%)

เพศทางเลือก
1.69%

เพศชาย
40.68%

เพศหญิง
57.14%

15

อายุ

ในด้านอายุนั้นช่วงอายุ 21-30 ปี จำนวน 202 คน (48.91%)
ตามมาด้วยช่วงช่วงอายุ 31-40 ปี จำนวน 101 คน (24.46%)

ช่วงอายุ 51-60 ปี จำนวน 54 คน (13.08%) ช่วงอายุ 41-50 ปี

จำนวน 34 คน (8.23%) ช่วงอายุ 18-20 ปี จำนวน 16 คน

จำนวน 16 คน (3.87%) และลำดับสุดท้าย ช่วงอายุมากกว่า 60 ปี

จำนวน 6 คน (1.45%)

ช่วงอายุ 51-60 ช่วงอายุ 18-20 ปี
13.08% 3.87%

ช่วงอายุ 41-50 ปี
8.23%

ช่วงอายุ 21-30 ปี
48.91%

ช่วงอายุ 31-40 ปี
24.46%

16

สถานภาพการสมรส

ในด้านสถานภาพการสมรสนั้นพบว่า ผู้ทำแบบสอบถามนั้นส่วน

มากมีสถานะโสดจำนวน 302 คน (73.12%) สมรสจำนวน 104

คน (25.12%) หม้าย/หย่าร้าง 7 คน (1.69%) ซึ่งเป็นที่น่าสนใจ

ว่าผู้ฟังพอดแคสต์นั้นมีสถานะโสด และมากกว่าผู้ที่สถานะสมรส

และหม้าย/หย่าร้างเกือบสามเท่า

หม้าย/หย่าร้าง
1.69%

สมรส
25.12%

โสด
73.12%

17

ระดับการศึกษา

ในระดับการศึกษานั้นผู้ฟังพอดแคสต์ส่วนมากมีการศึกษาในระดับ

ปริญญาตรี จำนวน 262 คน (63.44%) ตามมาด้วยระดับสูงกว่า

ปริญญาตรี 113 คน (27.36%) ระดับปวช./ปวส./อนุปริญญา

33 คน (7.99%) และระดับมัธยมศึกษา 5 คน (1.21%) ส่วนใน

ระดับต่ำกว่ามัธยมนั้นไม่มี

ระดับปวช./ปวส./อนุปริญญา
7.99%

ระดับสูงกว่าปริญญาตรี
27.36%

ระดับปริญญาตรี
63.44%

18

อาชีพ

ในด้านการประกอบอาชีพนั้น ผู้ที่มีอาชีพพนักงานบริษัทมีจำนวน

คนในการฟังพอดแคสต์มากที่สุดถึง 167 คน (40.44%)
ตามมาด้วยข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 116 คน

(28.09%) ค้าข้าย/ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 62 คน (15.01%)

นักเรียน/นักศึกษาจำนวน 48 คน (11.62%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน

12 คน (2.91%) และอื่น ๆ 8 คน (1.94%)

นักเรียน/นักศึกษา พ่อบ้าน/แม่บ้าน
11.62% 2.91%

พนักงานบริษัท
40.44%

ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
15.01%

ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
28.09%

19

รายได้เฉลี่ย

ผู้ฟังพอดแคสต์ในไทยส่วนมากมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-

45,000 บาท จำนวน 128 คน (30.99%) ตามมาด้วยรายได้เฉลี่ย

ต่อเดือน 15,001-30,000 บาท จำนวน 111 คน (26.88%)
รายได้เฉลี่ย 45,001-60,000 บาท จำนวน 65 คน (15.74%)

รายได้เฉลี่ยไม่เกิน 15,000 บาท จำนวน 48 คน (11.62%)
รายได้เฉลี่ยมากกว่า 75,000 บาท จำนวน 44 คน (10.65%)
และรายได้เฉลี่ย 60,001-75,000 บาท จำนวน 17 คน (4.12%)

เป็นลำดับสุดท้าย

60,001-75,000 บ. ไม่เกิน 15,000 บ.
4.12% 11.62%

45.001-50,000 บ. 15,001-20,000 บ.
15.75% 26.88%

30,001-45,000 บ.
15.75%

20,001-30,000 บ.
30.99%

20

อันดับสถานที่ฟังพอดแคสต์
และค่าเฉลี่ยการฟังในแต่ละสถานที่:

อันดับที่ 1 :ฟังที่บ้าน เฉลี่ย 3.67
อันดับที่ 2 :ฟังในรถ เฉลี่ย 3.48
อันดับที่ 3 :ฟังระหว่างใช้งานบริการขนส่งสาธารณะ เฉลี่ย 3.14
อันดับที่ 4 :ฟังระหว่างเดินเล่น เฉลี่ย 2.75
อันดับที่ 5 :ฟังระหว่างออกกำลังกาย เฉลี่ย 2.72

21



23
ช่องทางในการฟังพอดแคสต์

ช่องทางในการฟังพอดแคสต์ของคนอเมริกาจากการ

เก็บข้อมูลทางสถิติจำนวน 2,021 คน ในช่วงเดือน

กุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2562 พบว่าชาวอเมริกาส่วนมาก

นิยมฟังพอดแคสต์ผ่าน Spotify (25%) เป็นอันดับ

ที่หนึ่ง ตามมาด้วย Apple Podcast (20%) และ

Google Podcast (16%) ซึ่งจากทั้งสามลำดับนี้

คิดเป็นทั้งหมด 66% จาก 100% ที่เป็นช่องทางเป็น

แอปพลิเคชันซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนอเมริกานิยมรับฟัง

พอดแคสต์ผ่านอุปกรณ์ที่สมาร์ทโฟนที่สามารถพกพา

ได้สะดวกสบาย และง่ายต่อการรับฟังพอดแคสต์ใน

Overcast Pocket Casts Spotify
3.8% 3.8% 15.9%

Stitcher Apple Podcast
3.8% 12.7%

Radio Public
3.8%

Podcast Addict
4.5%

Deezer
4.5%

Turn In Google Podcast
5.1% 10.2%

NPR One
5.7%

Audible Pandora
6.4% 9.6%

Website (Stream)
7%

ข้อมูลจาก: Reuters Institute for the Study of Journalism: eMarketer

ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่าสาเหตุที่กระแสการฟังพอดแคสต์

เริ่มเป็นที่นิยมในประเทศไทย ก็มาจากการที่คนไทยมี

ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนมากยิ่ง

ขึ้น และแอปพลิเคชันในประเทศไทยที่สามารถอัปโหลด

ไฟล์เสียงที่มีความยาวระดับหนึ่งได้ ในอนาคตก็จะกลาย

เป็นแอปพลิเคชันหรือช่องทางยอดนิยมของผู้คนใน

การฟังพอดแคสต์ โดยจะยกตัวอย่าง เช่น

YouTube, Spotify, Joox, Soundcloud, และ

Facebook เป็นต้น

24

25

รายการและประเภท

พอดแคสต์ยอดนิยม

ในประเทศไทย

จัดอันดับใน Spotify ปี ค.ศ. 2021

5 รายการพอดแคสต์ยอดนิยม
1. The Standard Podcast
2. คำนี้ดี
3. ความสุขโดยสังเกต
4. The Secret Sauce
5. Mission to The Moon Podcast

5 ประเภทพอดแคสต์ยอดนิยม
1. Education
2. Lifestyle & Health
3. Arts & Entertainment
4. Stories
5. Society & Culture

26

บรรณานุกรม

Byron Ricks. (2017). Create your own podcast.
https://web.archive.org/web/20151225095312/http://windo

ws.microsoft.com/en-au/windows-vista/create-your-own-

podcast-what-you-need-to-know-to-be-a-podcaster

Cambridge Dictionary. (n.d.). Podcast.
https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/podcast

DataReportal. (2021a). DIGITAL 2021 APRIL GLOBAL
STATSHOT REPORT. https://datareportal.com/reports/
digital-2021-april-global-statshot?rq=podcast

DataReportal. (2021b). DIGITAL 2021 OCTOBER GLOBAL
STATSHOT REPORT. https://datareportal.com/reports/
digital-2021-october-global-statshot?rq=podcast

DataReportal. (2022). DIGITAL 2022: GLOBAL OVERVIEW
REPORT. https://datareportal.com/reports/digital-2022-

global-overview-report

International podcast day (n.d.). PODCASTING
HISTORICAL TIMELINE AND MILESTONES.
https://internationalpodcastday.com/podcasting-history/

Marie Charlotte Götting. (2022). Most commonly used
apps for listening to podcasts among podcast listeners in

the United States in 2019 and 2020.
https://www.statista.com/statistics/943537/podc
ast-listening-apps-us/

27

Online Etymology Dictionary. (n.d.). Podcast.
https://www.etymonline.com/word/podcast#etymonline_v

_36252

Oxford Learner’s Dictionaries. (n.d.). Podcast.
https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/e

nglish/podcast

The Britannica Dictionary. (n.d.). Podcast.
https://www.britannica.com/dictionary/podcast

The Standdard. (2017.). ทำความรู้จัก THE STANDARD Podcast
เพื่อนคนใหม่ที่จะช่วยเปิดโลกด้วยการฟัง!.

https://thestandard.co/culture-tv-and-radio-the-standard-

podcast/

กมลรัตน์ กิจถาวรรัตน์. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการใช้
พอดแคสต์ในประเทศไทย. [สารนิพนธ์ ระดับปริญญาการจัดการมหา

บัณฑิต]. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). Spotify เปิดโผ 'ศิลปินไทย' -'เพลงไทย'และ
Podcast ที่มียอดสตรีมสูงสุด.
https://www.bangkokbiznews.com/tech/910516

ชนินทร เพ็ญสูตร. (2561). พอดแคสต์ สื่อทางเลือกใหม่: กรณีศึกษาเปรียบ
เทียบระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย. วารสารวิชาการ กสทช ประจำปี

2561, 272-289

อาลี ปรียากร. (2560). การศึกษาแนวทางการผลิตรายการกระจายเสียงเพื่อ
เผยแพร่ผ่านรูปแบบรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์

ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์

28

pod·cast
/ˈpädˌkast/


Click to View FlipBook Version