การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
จัดทำโดย
น.ส.อรัญญา คำภีระบุรี
เลขที่ 34
มัธยมศึกษาปีที่ 6/4
ส่ง
คุณครู กายทิพย์ แจ่มจันทร์
โรงเรียน ส่วนบุญโญปถัมภ์
ลำพูน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
คำนำ
e-bookเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็ นส่วนหนึ่งของ
วิชาการดำรงชีวิตและครอบครัว ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้
ในเรื่อง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และได้ศึกษา
อย่างเข้าใจเพื่อเป็ นประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า e-book เล่มนี้จะเป็นประโยชน์
กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหา
ข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิด
พลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และ
ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
จัดทำโดย
น.ส.อรัญญา คำภีระบุรี
สารบัญ
ประวัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 1
ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 2
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชคืออะไร 3
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4
ความเป็ นมาของเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 5
เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 6
ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 7-8
บรรณานุกรม
9
1
ประวัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเริ่มต้นในปี ค.ศ.1902 โดย
Haberlandt นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ทำการแยก
เซลล์พืชมาเลี้ยง เพื่อจะทำการศึกษาคุณสมบัติของเซลล์
แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จจนถึงระดับเซลล์มีการแบ่งตัว
เพียงแต่พบว่าเซลล์มีการขยายขนาดขึ้นเท่านั้น ในปี
ค.ศ.1930 ได้มีการพัฒนาการเลี้ยงเซลล์ที่แยกมาจากราก
ของพืชหลายชนิดโดยเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ ต่อมาในปี
ค.ศ. 1938 สามารถเพาะเลี้ยงอวัยวะ( Organ ) และ แคลลัส
( Callus ) ของพืชได้หลายชนิดและนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้มีการพัฒนาไปได้
อย่างกว้างขวาง และมีการค้นพบเทคนิคใหม่ๆอีกมากมาย ซึ่ง
สามารถทำการเพาะเลี้ยงพืชเซลล์เดี่ยวๆและโปรโตพลาสต์
ของพืชได้หลายชนิด รวมทั้งการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยี
ชีวภาพ เช่น การตัดต่อยีนส์ การถ่ายยีนส์ ฯลฯ เทคนิค การ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงมีบทบาทสำคัญต่อวิทยาการแขนง
อื่นๆ เช่น ชีวเคมี พันธุศาสตร์ การปรับปรุงพันธุ์พืช โรคพืช
และเภสัชศาสตร์ เป็นต้น
2
ความหมายของการเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนำเอาส่วน
ใดส่วนหนึ่งของพืชมาไม่ว่าจะเป็ นอวัยวะเนื้อเยื่อ
เซลล์หรือเซลล์ไ์ม่มีผนังมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงใน
สภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์และอยู่ในสภาพ
ควบคุมอุณหภูมิแสงและ ความชื้นเพื่อใหเ้ซลล์
พืชที่นำมาเพาะเลี้ยงนั้นปราศจากเชื้อที่มา
รบกวน และทำลายการเจริญเติมโตของพืช
3
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
คืออะไร
คือการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น อวัยวะ เนื้อเยื่อ
และเซลล์มาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยแร่
ธาตุ น้ำตาล ไวตามินและสารควบคลุมการเจริญเติบโต ใน
สภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์ โดยมีการควบคุมสภาพแวดล้อม
เช่น อุณหภูมิ แสง และความชื้น ส่วนต่างๆของพืชเหล่านี้
จะสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ โดยอาศัยคุณสมบัติ
พิเศษของเซลล์พืชที่สามรถเจริญเติบโต พัฒนาไปเป็นต้น
ใหม่ได้ หรือที่เรียกว่า โคลนนิ่ง
4
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
พืชประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอน
1.การเตรียมอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่ง
ประกอบด้วย สารกลุ่มอนินทรีย์ และสารกลุ่มอินทรีย์
2.การคัดเลือกเนื้อเยื่อพืช การเลือกเนื้อเยื่อที่ดีได้ส่วนที่
ถูกต้องจะทำให้เกิดการฟอกฆ่าเชื้อและการชักนำให้เกิด
ต้นประสบความสำเร็จสูง
3.การฟอกฆ่าเชื้อ เป็นการทำให้ชิ้นส่วนของพืชปลอดเชื้อ
โดยการใช้สารเคมี ได้แก่ยาระงับเชื้อ และยาทำลายเชื้อ
ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ส่วนประกอบที่สำคัญของจุลินทรีย์เสีย
ไป ก่อนที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในอาหาร
4เกิ.ดกตา้รนขจยะามยีคพัวนาธมุ์เเพยิ่ามวจ์วำัยน(วนjuv
ตe้นnพilืiชtทiี่)ได้สจาามกากราถรทชีั่กจนะำให้
ชักนำให้เกิดต้นจำนวนมากได้ง่าย โดยทำการเพาะเลี้ยง
ในอาหารที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มไซโตไคนิน
5.การชักนำรากพืช ต้นพืชที่ได้จากการเพิ่มจำนวนต้น
สามารถชักนำให้เกิดรากในอาหารที่มีสารควบคุมการ
เจริญเติบโตกลุ่มออกซิน ซึ่งจะส่งเสริมการเกิดรากและ
ยับยั้งการเกิดยอด6.การย้ายออกปลูก ซึ่งต้องการปรับ
สภาพของต้นพืชให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมภายนอก
ประมาณ 2-4 สัปดาห์ จะทำให้ลดเปอร์เซนต์ของการตาย
ของต้นพืชเนื่องจากการย้ายปลูก
5
ความเป็นมาของเทคนิค
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ค.ศ.1920GottiebHaberlandtประสบความสำเร็จในการ
เลี้ยงเซลล์พืชบนอาหารสังเคราะห์ได้
ค.ศ.1930ได้มีการเลี้ยงเซลล์ที่แยกมาจากรากพืชหลาย
ชนิดในสภาพปลอดเชื้อ
ค.ศ.1938สามารถเลี้ยงอวัยวะพืชได้หลายชนิด
ปั จจุบันสามารถเลี้ยงเซลล์เดี่ยวโปรโต
พลาสต์(protoplast)และมีการนำมาประยุคใช้ในสาขา
ต่างๆ
6
เทคนิค
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย Gottlieb
Haberlandt นักพันธุศาสตร์ชาวออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1902 เทคนิค
ดังกล่าวถูกพัฒนามาตลอดช่วงต้นศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มจากการ
เพาะเลี้ยงบางส่วนของพืช เช่น เอมบริโอ และเนื้อเยื่อเจริญบริเวณ
ปลายยอดและปลายราก ขณะที่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่าง
แท้จริงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1934 โดย Roger J. Gautheret สามารถ
เพาะต้น Sycamore บนอาหารสังเคราะห์สูตร Knop's solution
แข็งที่เติมน้ำตาลและวุ้นที่ได้จากสาหร่าย อย่างไรก็ตามในช่วงแรก
ของการพัฒนากลับพบปั ญหาในการทำให้เนื้อเยื่อพืชมีการพัฒนา
เป็นยอด ราก หรือลำต้นตามต้องการ จึงเริ่มนำสารควบคุมการ
เจริญเติบโตพืชมาใช้โดยตอนแรกมีการใช้น้ำมะพร้าวมาผสมกับ
อาหารสังเคราะห์ ต่อมาจึงเริ่มปรับใช้สารสังเคราะห์ในการชักนำให้
เนื้อเยื่อพืชมีการเจริญและพัฒนาเป็นต้นอย่างสมบูรณ์ หลังจากที่มี
การปรับใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชมาใช้ ก็มีการปรับปรุง
อาหารสังเคราะห์ โดยการศึกษาคุณสมบัติของธาตุอาหารพืชหลายๆ
ชนิด สูตรที่เป็นที่นิยมกันได้แก่ Murashige and Skoog (MSO)
ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้นต้องทำภายใต้สภาพปลอดเชื้อ โดย
ทำงานในตู้ปลอดเชื้อที่มีการกรองผ่านแผ่นกรองเฮป้า เพื่อป้องกัน
ไม่ให้เกิดการปนเปื้ อนจากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในอากาศไปเจริญ
เติบโตบนอาหารเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อจะมีการเจริญเติบโตบนอาหาร
สังเคราะห์ในภาชนะปิด ภายในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและแสง
อาหารเพาะเลี้ยงอาจมีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชและ
วิตามินบางชนิด
7
ประโยชน์ของ การเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อพืช
1.เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว
โดยอาศัยอาหารสูตรที่สามารถเพิ่มจำนวนต้นเป็ นทวีคูณ
2.เพื่อเป็นการผลิตพืชที่ปราศจากโรค ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อ
รา และเชื้อไวรัส เพราะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจะใช้ส่วนที่เป็น
เนื้อเยื่อที่เจริญที่อยู่ที่บริเวณปลายยอดของลำต้นและเนื้อเยื่อคัพภะ
(Embryo) ซึ่งถือว่าปลอดจากเชื้อไวรัสมากที่สุด
3.เพื่อเป้นการปรับปรุงพันธุ์พืช โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์
แล้วคัดเลือกเอาสารพันธุ์ที่ดีไว้ ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้สารเคมี การ
ฉายรังสี การติดต่อยีนส์ และการย้ายยีนส์
4.เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน โดยการเพาะเลี้ยงในอาหารที่มี
เงื่อนไขต่างๆ เช่น การสร้างพันธุ์ต้านทานต่อสารพิษของโรค
ต้านทานต่อแมลง ต้านทานต่อยากำจัดวัชพืช ฯลฯ
8
ประโยชน์ของ การเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อพืช
5.เพื่อการผลิตพันธุ์พืชทนทาน โดยการคัดสายพันธุ์ทนทานจากการจัด
เงื่อนไขของอาหารและสภาวะแวดล้อม เช่น การคัดสายพันธุ์พืชทนเค็ม
สายพันธุ์ทนต่อดินเปรี้ยว เป็นต้น
6.เพื่อการผลิตยาและสารเคมีจากพืช พืชบางชนิดมีคุณสมบัติทางยาแต่
บางครั้งปริมาณยาที่สกัดอยู่ในเนื้อสารมีปริมาณน้อย จึงต้องมีการปรับ
สภาพแวดล้อมและอาหารที่เหมาะสม ก็อาจชักนำให้เกิดการสังเคราะห์
สารที่เราต้องการได้มากขึ้น
7.เพื่อการศึกษาทางชีวเคมีและสรีรวิทยาของพืช
8.เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืช ซึ่งปัจจุบันนี้มีพืชหลายชนิดสูญพันธุ์ไป
เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง วิธีการเก็บรักษาพืชพรรณต่างๆ ไว้
ในหลอดทดลองจะทำให้พืชมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ามาก ทำให้
ประหยัดเวลา แรงงาน และอาหาร จนกว่าเมื่อใดเราต้องการพืชชนิดนั้นๆ
จึงนำมาขยายเพิ่มจำนวนได้
9
บรรณานุกรม
https://sites.google.com
http://www.satriwit3.ac.th