The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

1. หน.กศ ver2

1. หน.กศ ver2

Keywords: กศ

คมู่ ือแนวทางการปฏบิ ัติ
การจัดการอตั รากําลังตําแหนง
หวั หนากลุมกํากบั และพัฒนาเศรษฐกจิ การคา

(HR Sandbox Practice Guideline)

บทสรุปผบู้ รหิ าร

โครงการ Sandbox ด้านการจัดการอัตรากำลังตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ของ
สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ซึ่งมีภารกิจงานกำกับดูแล ราคาสินค้า และบริการ และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจการค้า
การตลาดซึ่งมีการลงปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาแก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและประชาชนในจังหวัด มี
วัตถุประสงค์หลัก คือ 1) การวางแผนอัตรากำลังของหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ของสำนักงาน
พาณิชย์จังหวัด(ระดับชำนาญการพิเศษ) ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกำลังคนในระยะ 3 ปี ซึ่งจะมีทั้งการ
เลื่อนจากตำแหน่งระดับชำนาญการ เป็น หัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า (ระดับชำนาญการพิเศษ)
และการโยกย้ายจากข้าราชการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มอื่นๆ (ระดับชำนาญการพิเศษ) ในสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
และขา้ ราชการระดบั ชำนาญการพิเศษในส่วนกลาง 2) การเตรยี มความพร้อมบคุ ลากรทีเ่ ป็นกลุม่ เปา้ หมาย(ข้าราชการ
ระดบั ชำนาญการและหวั หน้ากลุม่ อ่ืนๆในสำนักงานพาณชิ ย์จงั หวดั /ขา้ ราชการระดบั ชำนาญการพิเศษในส่วนกลาง ให้
มคี วามรู้ ทกั ษะ และสมรรถนะ ทีเ่ หมาะสมเพ่ือให้สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจ
การค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาจะมุ่งเน้นการเรียนรู้แบบนอกชั้นเรียน เช่น การเรียนรู้จาก
ประสบการณ์จริง การเรียนรู้จากการมอบหมายโครงการ เป็นต้น โดยจะมีการประเมินระหว่างและหลังการเรียนรู้
รวมไปถงึ การประยุกตใ์ ช้

คู่มือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 2

สารบญั หนา้

เร่อื ง 4
5
1. บทนำ 6
2. วตั ถปุ ระสงค์ 7
3. คำนยิ ามศพั ทเ์ ฉพาะ 8
4. คุณคา่ ของ HR Sand Box 8
5. กลุม่ เป้าหมาย 9
6. การเข้าถงึ และการสื่อสารกบั กลุม่ เปา้ หมาย 13
7. กระบวนการบรหิ าร Sandbox 14
8. ระยะเวลา 15
9. ทรพั ยากรพนั ธมติ รและเครือขา่ ย 15
10. ผลลัพธท์ ี่คาดหวัง 17
11. การบริหารความเสย่ี งใน Sandbox
12. แนวทางการขยายผล

ค่มู ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 3

บทนำ

คู่มือฉบับนี้คือแนวทาง (Guideline) ด้านการจัดการอัตรากำลังตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนา
เศรษฐกิจการค้า และการพัฒนาขา้ ราชการระดบั ชำนาญการเพื่อเตรยี มความพร้อมก่อนขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่ม
กำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ในลักษณะการทดลองในกระบะทราย (Sandbox) โดยจะทดสอบและพัฒนา
โครงการให้เป็นรูปธรรม ก่อนนำไปปรับปรุงแก้ไข จนสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง ซึ่งประกอบไปด้วยการ
วางแผน (Plan) การดำเนินการ (Do) การตรวจสอบและประเมิน (Check) การปรับปรุงและพัฒนาเพื่อการขยายผล
(Act) โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การวางแผนอัตรากำลังของหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า (ระดับ
ชำนาญการพิเศษ) ให้สอดคล้องกับการเปลีย่ นแปลงของกำลังคนในระยะ 3 ปี และการเตรียมความพรอ้ มข้าราชการ
ระดับชำนาญการให้มีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ เช่น กฎหมาย/ระเบียบที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ทักษะด้าน
กระบวนการคดิ การสรา้ งนวตั กรรม การแก้ปญั หา การเจรจาต่อรอง และภาวะผู้นำเชงิ วิสัยทศั น์ เปน็ ตน้ ให้สามารถ
ปฏบิ ัตงิ านในตำแหน่งหวั หนา้ กลุม่ กำกบั และพัฒนาเศรษฐกจิ การคา้ ไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธิภาพ ประสทิ ธผิ ล และบรรลุผล
สำเรจ็ ตามเปา้ หมายขององค์กร

คมู่ ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 4

วัตถปุ ระสงค์

วตั ถปุ ระสงคข์ องคมู่ ือแนวปฏิบัติ HR Sandbox

1. เป็นโครงการตน้ แบบของการจดั การอตั รากำลังตำแหนง่ หัวหน้ากลมุ่ กำกับและพัฒนา
เศรษฐกจิ การค้า และการพฒั นาขา้ ราชการทจี่ ะดำรงตำแหนง่ หัวหน้ากลมุ่ กำกับและพัฒนา
เศรษฐกจิ การค้า เพ่อื ศกึ ษาขอ้ ดแี ละข้อจำกัดกอ่ นนำไปขยายผลในองคก์ ร

2. เป็นแนวทางในการบริหารโครงการ HR Sandbox ใหส้ ามารถนำไปประยกุ ตใ์ ชอ้ ยา่ งเป็น
รูปธรรม

3. เป็นเครื่องมือในทีใ่ หห้ นว่ ยงานรับผดิ ชอบด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบคุ คลเข้าใจ
ภารกิจ บทบาทและหนา้ ทอี่ ยา่ งชดั เจน เพ่อื ทำให้โครงการบรรลุผลสำเร็จ

4. เป็นแหลง่ การเรยี นรู้เพอ่ื การพฒั นาแนวทางการจัดการอตั รากำลงั ตำแหนง่ หัวหน้ากลุ่ม
กำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และการพฒั นาขา้ ราชการทีจ่ ะดำรงตำแหน่งดังกลา่ ว

ค่มู ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 5

คำนิยามศัพท์เฉพาะ

คำนยิ ามศัพทเ์ ฉพาะมี ดงั น้ี
1. คณุ คา่ ของ HR Sand Box หมายถงึ โครงการตน้ แบบนี้มีคุณค่าหรือมปี ระโยชน์ต่อองค์กร และบุคลากร
ในดา้ นใดบ้าง
2. กลุ่มเปา้ หมาย หมายถึง กลมุ่ นำรอ่ งในการทดลองในโครงการตน้ แบบ
3. การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย หมายถึง กลยุทธ์ในการสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึง
ชอ่ งทางในการเขา้ ถึงกลุม่ เป้าหมาย
4. กระบวนการและกิจกรรม หมายถึงกระบวนการที่จะทำให้โครงการต้นแบบให้บรรลุเป้าหมายโดย
ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน (Plan) การดำเนินการ (Do) การตรวจสอบและประเมิน (Check) การ
ปรบั ปรงุ และพัฒนาเพื่อการขยายผล (Act)
5. ระยะเวลา หมายถึง ระยะเวลาในการทดลองก่อนการปฏิบัติจริงซึ่งจะมีระยะเวลาระหว่าง 3-6 เดือน
แลว้ แตล่ กั ษณะโครงการ
6. ทรัพยากร หมายถึง ทรัพยากรทใี่ ช้ในการดำเนนิ การในโครงการต้นแบบ เช่น ทรัพยากรบคุ คล ทรัพยากร
ทางการเงิน เปน็ ต้น
7. พันธมิตรและเครือข่าย หมายถึง หุ้นส่วนในการดำเนินการให้โครงการ Sandbox บรรลุผลสำเร็จตาม
เป้าหมายโดยมีทั้งเครือขา่ ยภายในและภายนอกองค์กร
8. การประเมินผล หมายถึง วิธกี ารและเคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการประเมนิ ผล รวมไปถึงเปน็ เครื่องมอื ทจี่ ะนำไปใช้
ในการเป็นแนวทางในการพัฒนา Sandbox สกู่ ารปฏบิ ัตจิ ริง
9. การบริหารความเสี่ยง หมายถึง การวิเคราะห์และคาดการณ์ความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ
โครงการต้นแบบ เพ่อื เปน็ แนวทางในการลดความเส่ยี งท่ีจะเกิดขึน้
10. แนวทางการขยายผล หมายถึง การกำหนดทิศทางและเส้นทาง (Roadmap) สำหรับการขยายผลให้
เกิดการปฏิบตั จิ ริงและนำไปสคู่ วามสำเรจ็ ในท้ายทส่ี ุด

คมู่ ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 6

โครงสรา้ ง HR Sandbox

1. คุณคา่ ของ HR Sandbox

ประเด็น คณุ คา่ ทีน่ ำเสนอ (Proposition Value)

คุณคา่ ทีน่ ำเสนอ ระบบการจดั การอัตรากำลังของตำแหน่งหัวหน้ากลุม่ กำกับและพฒั นาเศรษฐกจิ การค้า ท่ีมี
คณุ ค่าที่มตี ่อองคก์ ร ประสิทธภิ าพและการเตรียมความพรอ้ มใหม้ ีความรู้ ทกั ษะ และสมรรถนะ สำหรับผู้ทีจ่ ะดำรง
ตำแหนง่ หัวหน้ากลมุ่ กำกบั และพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ซ่ึงไม่เคยผ่านงานดา้ น กศ. มาก่อน
คุณค่าทม่ี ตี อ่ บคุ ลากร 1.มีบคุ ลากรทีม่ ี ความรู้ ทกั ษะและสมรรถนะท่ีเหมาะสมกบั การดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับ
และพฒั นาเศรษฐกจิ การค้า
2.องคก์ รมแี นวปฏิบัติในการวางแผนอตั รากำลังและการพัฒนาสำหรับผู้ดำรงท่ีจะดำรงตำแหน่ง
หัวหน้ากลุม่ กำกับและพฒั นาเศรษฐกจิ การคา้
3. องค์กรสามารถบรรลุภารกิจ/เป้าหมายที่กำหนด
4. องคก์ ารมีภาพลกั ษณท์ ี่ดี สร้างความเชื่อมั่นใหก้ ับประชาชน และผมู้ สี ว่ นได้สว่ นเสยี
1. บุคลากรมีความพร้อมและความมั่นใจ ในการปฏิบัติงาน ตามบทบาทหน้าที่และความ

รับผิดชอบ

2. มีความพรอ้ มตามเส้นทางความก้าวหนา้ ในสายอาชพี

คมู่ ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 7

2. กลมุ่ เป้าหมาย

บุคลากรเป้าหมาย คือ ข้าราชการประเภทวิชาการระดับชำนาญการท่ีมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ

ตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้าได้ จำนวนไม่
เกนิ 25 คน

3. การเข้าถงึ และการสื่อสารกบั กล่มุ เปา้ หมาย

คมู่ ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 8

4. กระบวนการบรหิ าร Sandbox

กระบวนการบริหาร Sandbox ประกอบไปด้วย 4 ขนั้ ตอนดงั น้ี

ชั้นตอนที่ 1 การวางแผนการดำเนินการ (Plan) คือการกำหนดขอบเขตการดำเนินการและกิจกรรมที่สำคัญเพื่อให้
Sandbox บรรลผุ ลสำเร็จ โดยมีกจิ กรรมหลัก(Key Activities)ดงั น้ี
1.1 หน่วยงานดา้ นทรพั ยากรบคุ คลดำเนนิ การศึกษาตำแหน่งเปา้ หมาย เชน่ บทบาทหนา้ ท่ี ผลท่ีคาดหวัง
1.2 หน่วยงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคลสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่จะดำรงตำแหน่งหัวหนา้

กล่มุ กำกบั และพฒั นาเศรษฐกจิ การคา้ โดยเปน็ ตำแหนง่ ระดับชำนาญการและไม่เคยปฏิบัติงานทก่ี ล่มุ กศ.มาก่อน
1.3 หน่วยงานด้านทรัพยากรบุคคลจัดทำโครงการ Sandbox เพื่อนำเสนอผู้บริหารและแต่งตั้งคณะทำงานใน

โครงการต้นแบบนี้ โดยคณะทำงานจะต้องประกอบไปด้วย พาณิชย์จังหวัดที่เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับ
และพัฒนาเศรษฐกจิ การค้า มาก่อน ตัวแทนหน่วยงานดา้ นบรหิ ารทรัพยากรบุคคล ตวั แทนหน่วยงานด้านพัฒนา
ทรัพยากรบุคคล ตัวแทนหน่วยงานที่ดูแลและสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ตัวแทน
หน่วยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และตวั แทนหน่วยงานอ่ืนๆตามความจำเปน็
1.4 คณะทำงาน Sandbox ดำเนินการศึกษาและออกแบบโครงการต้นแบบ (Design) ตั้งแต่การกำหนดหลักเกณฑ์
การสรรหาบุคคลเปา้ หมาย กระบวนการพฒั นา การประเมินผล และการปรบั ปรงุ
1.5 คณะทำงานจัดทำแผนการดำเนินการทงั้ โครงการ Sandbox ตงั้ แต่เริม่ ต้นจนจบกระบวนการ ดงั นี้
(1) แผนการจัดการอัตรากำลังตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ต้องมีการเก็บข้อมูล

จำนวนอัตรากำลังตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ข้อมูลบุคลากรที่จะเกษียณอายุ
ราชการ และข้อมูลบุคลากรตำแหน่งชำนาญการที่มีคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับและ
พัฒนาเศรษฐกจิ การคา้ ในระยะ 3 ปี เพอ่ื วเิ คราะหข์ ้อมูลอตั รากำลังคนของตำแหนง่ ดงั กล่าว
(2) แผนการพัฒนาบุคลากรที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า จะต้องครอบคลุม
4 กลมุ่ หลักคอื
• กลุ่มที่ 1 ด้านทักษะและความรู้ที่อยู่ในตัวคน (Soft Skills) เช่น การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงรุก การ
คดิ ด้านนวตั กรรม และเทคนคิ การพูดในทส่ี าธารณะ เปน็ ต้น
• กลุ่มที่ 2 ด้านทักษะและความรู้ด้านการจัดการ (Management Skills) เช่น การบริหารจัดการข้อมูล,
การการบรหิ ารความขัดแยง้ การวเิ คราะหส์ ถานการณแ์ ละการคาดการณ์ลว่ งหนา้ (Forecasting) เป็นตน้
• กลุ่มที่ 3 ด้านความรู้และทักษะสำหรับการค้า (Trade Skills) อาทิ การส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ
ท้องถ่ิน/ชมุ ชน การคา้ ยคุ ใหม่ (New Economy) และ การค้าแบบ online and offline เปน็ ต้น

คู่มือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 9

• กล่มุ ที่ 4 กลุ่มดา้ นกฎหมาย (Law and Regulation Skills) เช่น พระราชบัญญัติวา่ ด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติมาตราช่ังตวงวัด แนวทางการควบคุมราคายา ค่าบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชน
เป็นต้น
1.6 กำหนดสัดส่วนการพัฒนาแบบห้องเรียนไม่เกินร้อยละ 20 (ทั้ง Online and On-site) และการพัฒนาแบบ

นอกช้ันเรยี นรอ้ ยละ 80

ขั้นตอนท่ี 2 การดำเนินการ คือ เมื่อมีแผนการจัดการอัตรากำลังตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจ
การคา้ และแผนการพัฒนาแลว้ จะต้องดำเนินการพัฒนาบุคลากรเป้าหมายตามเป้าหมาย วิธกี าร ระยะเวลา โดยมีท้ัง
การพัฒนาแบบในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ประกอบกันเพื่อให้กระบวนการพัฒนานั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมี
กิจกรรมหลกั (Key Activities) ดงั น้ี

ส่วนที่ 1 การกำหนดหน้าทแี่ ละความรับผดิ ชอบ
1.1 หน่วยงานดา้ นบริหารทรพั ยากรบุคคล (HRM)
- ดำเนนิ การจดั ทำฐานข้อมูลบคุ ลากรที่อยูใ่ นหลกั เกณฑ์เบอ้ื งต้น
- ดำเนินการคัดเลือกเบอื้ งตน้ เช่น การทดสอบ และสรุปผลนำเสนอกรรมการคัดเลือก
- คณะกรรมการคดั เลือกและสรุปผลการคดั เลือก รวมทั้งนำเสนอผู้บริหาร
1.2 หนว่ ยงานดา้ นพฒั นาทรัพยากรบุคคล (HRD)
- จดั ทำรายละเอยี ดโปรแกรมการพฒั นาและการประเมินผลก่อน ระหวา่ ง และหลงั การพัฒนา
- ประสานผทู้ เ่ี กย่ี วขอ้ ง เชน่ วทิ ยากร หน่วยงานเครอื ข่าย กลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น
1.3 ศูนยเ์ ทคโนโลยสี ารสนเทศ
- ประชุมกับ HRM&HRD เพ่อื กำหนดเทคโนโลยที ีจ่ ะนำมาใช้ในการคัดเลือกและพฒั นา

ส่วนที่ 2 การประสานงานเพ่ือการพฒั นา
2.1 การส่ือสารโครงการ Sandbox ไปยังกลมุ่ เป้าหมายทั้งช่องทาง Online and Offline
2.2 การรับสมัครและคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายไม่เกินจำนวน 25 คน ตามหลักเกณฑ์ที่

กำหนดในขน้ั ตอนท่ี 1
2.3 ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสถานที่ในการจัดการพัฒนา

แบบห้องเรียน ( On-site) และการเรยี นแบบ Online
2.4 ประสานงานหน่วยงานท่เี กี่ยวข้องกับการศึกษาดูงานและการทดลองปฏิบัติงานแบบ

เข้มข้น (Intensive Apprenticeship)
2.5 ประสานงานวิทยากรในกรณีท่ีตอ้ งมกี ารเรยี นแบบชัน้ เรียน

สว่ นท่ี 3 การพฒั นาตามแผน
3.1 ลงทะเบยี นการพฒั นาแบบ Online เชน่ การลงทะเบยี นผ่าน QR Code
3.2 แจ้งกลมุ่ เป้าหมายให้เข้ารับการพฒั นาตามโปรแกรมที่กำหนด
3.3 ดำเนนิ การปฐมนเิ ทศการพฒั นาเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับรวู้ ตั ถุประสงค์และผลทีค่ าดหวัง

คมู่ ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 10

3.4 ดำเนนิ การพฒั นาตามแผนการพฒั นาท้งั แบบชั้นเรยี นและนอกชน้ั เรียน
3.5 ติดตามและรวบรวมข้อมลู ท่ีผู้เขา้ พัฒนาได้รับมอบหมายทำโครงการ (Project Assignment)
ขนั้ ตอนท่ี 3 การตดิ ตามประเมนิ ผล โดยมกี จิ กรรมหลัก (Key Activities) ดงั น้ี
3.1 การกำหนดเป้าหมายในการประเมิน โดยเฉพาะผู้เรียนจะต้องประเมินก่อนและหลังการอบรม ได้แก่
ประเมินปฏิกริ ยิ า ระดับการเรยี นรู้ ประเมินพฤติกรรมและการประยุกต์ใช้ (การประเมินลักษณะนี้จะดำเนินการเป็น
2 ระยะคอื หลงั การพฒั นา 3 เดือน และ 6 เดือน) ซง่ึ การประเมินผลการพัฒนาบคุ ลากร มี 5 ระดบั ดงั นี้
1. ระดับปฏิกิริยา (Reaction) หมายถึง การวัดผลเพื่อให้ทราบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนามีปฏิกิริยาอย่างไรต่อ
ภาพรวมของการจัดการพัฒนา โดยการวดั มกั จะใช้เครื่องมอื เช่น แบบสอบถาม โดยมีข้อคำถาม เช่น ท่านมีความพงึ
พอใจต่อหลกั สตู รน้ีในระดับใด หรอื ทา่ นคดิ วา่ เนอ้ื หาของหลักสูตรมคี วามเหมาะสมอยา่ งไร โดยจะต้องประเมนิ ร้อยละ
100 ของทุกโครงการพฒั นา
2. ระดับการเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การวัดการเพิ่มขึ้นของความรู้ ความสามารถ ทั้งก่อนและหลังการ
พัฒนา วตั ถปุ ระสงค์ของการประเมินผลในระดับนี้คือ ตอ้ งการทราบว่าผู้ที่ไดร้ บั การพัฒนาตามโครงการ Sandbox มี
ความรู้และทักษะเพ่ิมข้นึ หลงั จากผ่านการพัฒนาหรือไม่ ท้งั น้ี หวั ข้อการพฒั นาบางหัวข้อไมส่ ามารถประเมินก่อนและ
หลังการพัฒนาได้เป็นรปู ธรรม เชน่ ภาวะผนู้ ำ
3. ระดับการประยุกต์ใช้ (Application) การประเมินในระดับนี้เป็นการประเมินว่าผู้ที่ผ่านการพัฒนามีการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะพฤติกรรมในการทำงาน (job behavior) อย่างไร ทั้งนี้ หัวข้อการพัฒนาบางหัวขอ้
ไม่สามารถประเมนิ การประยกุ ตใ์ ช้ไดใ้ นระยะเวลาอนั สัน้ เช่น ภาวะผู้นำ
4. ระดบั ผลลพั ธ์ (Result) เปน็ การประเมนิ ถึงผลสัมฤทธ์ิที่ได้รับจากการฝึกอบรมท่ีสง่ ผลต่อองค์การในภาพรวม
โดยผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวประกอบด้วยการทำงานขององค์การในภาพรวมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การลดต้นทุน
คา่ ใช้จ่ายขององค์การ อตั ราการรอ้ งเรียนลดลง คณุ คุณภาพของการให้บริการดีขน้ึ อย่างไรก็ตาม ผลสัมฤทธิ์ท่ีเกิดข้ึน
นี้อาจเกิดจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากการพัฒนาด้วยก็ได้ ซึ่งการประเมินในระดับผลลัพธ์น้ีจะเป็นการประเมินที่ยาก
ข้นึ ด้วย ทง้ั น้ี หัวข้อการพฒั นาบางหวั ข้อไม่สามารถประเมนิ การผลลัพธ์ในระยะเวลาอันส้นั นอกจากหัวข้อการพัฒนา
ทม่ี ุ่งเนน้ เรื่องเฉพาะทักษะ
5. ระดับการคืนทุน (Return on Investment) เป็นการประเมินโครงการ Sandbox คุ้มค่ามากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้ หัวข้อการพัฒนาบางหัวข้อไม่สามารถประเมินการการคืนทุน (Return on Investment) ได้ เพราะต้องวัดด้วย
การเงินเทา่ นนั้
สำหรบั โครงการน้ีอย่างน้อยตอ้ งประเมนิ ถงึ ระดบั 3 คือการประยุกต์ใช้

3.2 การจัดทำฐานข้อมูลการพัฒนาบคุ ลากร การพัฒนาบุคลากรส่ิงที่สำคญั เมื่อจบกระบวนการพัฒนาจะต้อง
มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อจะนำข้อมูลการพัฒนามาใช้ในหลายมิติของการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น
นำมาใชพ้ ิจารณาเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้นโดยการเกบ็ ข้อมูลควรมรี ายการทจี ัดเกบ็ ดังนี้

• ชือ่ และนามสกลุ
• ตำแหน่ง
• สงั กัด
• หลกั สตู รทพี่ ัฒนา รายวชิ าท่ีพัฒนา

คูม่ ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 11

• วนั เดอื น ปี ทีพ่ ฒั นา
• ผลการประเมิน
• ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
ตวั อย่าง แบบเกบ็ รวบรวมข้อมลู การพัฒนาบุคลากร

ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการวางแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อให้การเตรียมความพร้อมก่อน
ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีกิจกรรมหลัก (Key
Activities) ดังนี้

4.1. การวเิ คราะห์โครงการในภาพรวมโดยการนำผลการประเมินมาวเิ คราะหโ์ ครงการในด้านต่างๆ ดังนี้
- การจัดทำข้อมลู หัวหนา้ กลุม่ กำกบั และพฒั นาเศรษฐกจิ การค้า ท่จี ะเกษียณอายุราชการ และ

ข้อมลู บุคลากรตำแหน่งชำนาญการทมี่ ีคุณสมบัติท่ีจะดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุม่ กำกบั และพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ใน
ระยะ 3 ปี มีความครบถ้วน และถูกต้อง มากน้อยเพยี งใด

- กระบวนการออกแบบโปรแกรมการพฒั นาน้นั ครอบคลุมและสนองตอบวตั ถปุ ระสงคม์ ากน้อยเพยี งใด
- หลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกกลมุ่ เป้าหมาย การพฒั นา การประเมินผลการพฒั นา
- เครอื่ งมือและเทคโนโลยที ใี่ ชใ้ นการพัฒนาและการประเมินผลมีความน่าเช่ือถือ และใช้งานงา่ ย
- กล่มุ เปา้ หมายมีความเขา้ ใจวตั ถปุ ระสงคแ์ ละเปา้ หมายโปรแกรมการพัฒนามากน้อยเพียงใด
4.2 การจัดทำข้อเสนอแนะเพ่ือการปรับปรุงและพฒั นาโครงการต้องครอบคลมุ ประเดน็ ดังนี้
4.2.1 ประโยชนท์ ไี่ ด้รบั จากโครงการ :

- มีแผนการจดั การอัตรากำลงั ตำแหน่ง หน.กศ. ทเี่ ปน็ ระบบ
- มบี คุ ลากรทีม่ ีศักยภาพ สามารถทดแทนบุคลากรทเี่ กษียณ ลาออก ย้าย เสยี ชวี ิต
- สามารถขบั เคล่ือนพนั ธกจิ ของหนว่ ยงานบรรลุเป้าหมาย
- สรา้ งขวญั กำลังใจให้แกผ่ ปู้ ฏบิ ัติงาน

คมู่ ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 12

อัตรากำลัง - สรา้ งความผูกพันในองค์กร
- มรี ปู แบบการพฒั นาบุคลากรระดบั หวั หนา้ งานอยา่ งเปน็ ระบบและยั่งยืน
4.2.2 ปัญหา อปุ สรรคที่เกิดขึน้ จากการดำเนนิ โครงการ :
- บุคลากรด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลอาจขาดความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์

- ประสิทธภิ าพของเคร่ืองมือ อาจทำให้การพัฒนาไม่ตรงกบั ความต้องการ
- การบริหารจัดการงบประมาณ
- กิจกรรมอะไรบา้ งที่ไม่สามารถจดั ได้เต็มรูปแบบ เน่ืองจากเหตุสดุ วิสัย
4.2.3 ข้อเสนอแนะก่อนการนำไปประยุกตใ์ ช้จริงในองคก์ ร

5. ระยะเวลา

คู่มือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 13

6. ทรพั ยากรและเครือข่าย

คู่มือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 14

7. ผลลัพธ์ท่ีคาดหวัง

ผลลัพธ์ที่มีต่อองค์กร : 1.องค์กรมีแนวปฏิบัติในการวางแผนอัตรากำลังและการพัฒนาสำหรับผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง
หน.กศ. ทีเ่ ป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ

2. การพัฒนาบุคลากรจะช่วยเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนลง เนื่องจากบุคลากรมีความ
เชี่ยวชาญในงานท่ที ำมากขึ้น ข้อผิดพลาดต่างๆ ก็จะลดลง การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ชว่ ยพัฒนาองค์กร
ให้สามารถขบั เคล่อื นองคก์ รในยคุ การเปลยี่ นแปลงท่ีมีพลวตั สูง

ผลลัพธ์ที่มตี อ่ ตัวบคุ ลากร : 1. บุคลากรมคี วามเช่ือม่ันตอ่ การบริหารทรพั ยากรขององคก์ รที่มคี วามโปร่งใสและเป็นระบบ
2. เมื่อบุคลากรมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงขึ้น โอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่

การงานกจ็ ะมากข้นึ ด้วย
3. การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องจะช่วยสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน สร้าง

ความผกู พันระหว่างบคุ ลากรกบั องค์กร เกดิ ความทุ่มเท และเอาใจใส่ในการทำงาน เพอ่ื บรรลุถึงผลสำเร็จขององคก์ ร

8. การบรหิ ารความเส่ยี งใน Sandbox

8.1 ปจั จยั ความเสี่ยง
1.ปัจจัยภายนอก เชน่ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย ฯลฯ
2.ปัจจัยภายใน เชน่ กลยุทธ์ กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในองค์กร ทักษะบคุ ลากร กระบวนงาน เปน็ ตน้

8.2 การประเมนิ ความเสีย่ ง (Risk Assessment)
การประเมนิ ความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการระบุความเส่ยี ง การวิเคราะห์ความเส่ยี งและจัดลำดบั ความ เสี่ยง

โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด ผลกระทบ และระดบั ของความเสี่ยงนัน้ ๆ
1) โอกาสท่ีจะเกดิ หมายถึง ความถ่หี รือโอกาสท่ีจะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง
2) ผลกระทบ หมายถงึ ขนาดความรุนแรงของความเสียหายท่จี ะเกดิ ขน้ึ หากเกดิ เหตกุ ารณ์ความเส่ยี ง
3) ระดับของความเสี่ยง หมายถงึ สถานะของความเส่ียงทไ่ี ด้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของแตล่ ะ ปจั จยั

เสีย่ งแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ สงู มาก สงู ปานกลาง และตำ่

คมู่ ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 15

8.3 กระบวนการบริหารจดั การความเสี่ยงโครงการ Sandbox
ขนั้ ตอนท่ี 1 การค้นหาและระบุขอ้ มูลความเส่ยี งของงานโครงการ ทป่ี ระกอบดว้ ยเหตกุ ารณ์ความ
เสยี่ งและปจั จยั ความเส่ยี ง
ขัน้ ตอนท่ี 2 นำเอาเหตุการณ์ความเสี่ยงปละปจั จยั ความเสย่ี งท่ีไดจ้ ากการคน้ หามาวเิ คราะหแ์ ละ
ประเมินเพอ่ื การจดั ระดบั ของความเส่ียงตามมิติของโอกาสท่ีจะเกิดและความรนุ แรง
ของผลกระทบทมี่ าจากเหตุการณค์ วามเสยี่ ง
ขั้นตอนท่ี 3 นำเอาปจั จัยความเสย่ี งทเ่ี ปน็ ตน้ เหตใุ ห้เกดิ เหตุการณ์ความเสย่ี งมาพจิ ารณาหาแนว
ทางการจดั การและตอบโตก้ ับปัจจยั ความเส่ียงดว้ ยเครื่องมอื วิธีการ แผนงานที่เหมาะสม
และเพียงพอ
ขน้ั ตอนที่ 4 กำกับ ติดตาม เฝ้าระวัง ตรวจนับผลการดำเนินงานบริหารจัดการกับปัจจัยความเสี่ยงของ
โครงการที่เกิดจริงเทียบกับแนวทางที่จัดวางไว้ล่วงหน้าในขั้นตอนที่ 3 เพื่อประเมิน
ประสิทธภิ าพและประสิทธิผลของการบริหารจดั การกับปัจจยั ความเสยี่ ง
ขัน้ ตอนท่ี 5 นำผลการทบทวนการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลไปเป็นข้อมลู ประกอบการ
ปรบั ปรุงกระบวนการบริหารความเส่ยี งของงานโครงการต่อไป

ตัวอยา่ งแบบฟอร์มการวิเคราะห์และจดั การความเส่ียง

คู่มือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 16

9. แนวทางการขยายผล

วิธกี ารท่ีจะขยายผลโครงการ Sandbox ใหป้ ระสบความสำเรจ็ ต้องคำนึงถงึ ปัจจัยดังต่อไปนี้
1.พัฒนาโครงการใหม้ ปี ระสิทธิภาพและสอดคลอ้ งกับเง่ือนไขหรือสภาพแวดล้อมองค์กร โดยจะต้องพจิ ารณาจาก ผล
การประเมนิ ใน Sandbox เช่น วัตถปุ ระสงค์ กระบวนการ เคร่ืองมือและเทคโนโลยี เปน็ ต้น รวมไปถึงพิจารณาปจั จยั
ความเสยี่ งตา่ งๆ เชน่ งบประมาณ กระบวนงาน เปน็ ต้น รวมไปถงึ การเก็บรวบรวมข้อมลู จากกลุ่มเป้าหมายใหมก่ ่อน
การขยายผลเพื่อให้ข้าใจความตอ้ งการท่แี จรงิ
2.สร้างความตระหนักและความสำคญั ของโครงการ จะต้องคำนงึ ถึงประโยชนแ์ ละผลลพั ธท์ อี่ งค์กรและกลุม่ เปา้ หมาย
ไดร้ บั คืออะไร โดยเพิม่ ช่องทางการสอื่ สารให้หลากหลาย การทำให้โครงการ Sandbox เป็นทีร่ จู้ กั มากขน้ึ จะช่วยให้
การขยายงานงา่ ยขน้ึ ตามไปด้วย ดังนัน้ การเพม่ิ ช่องทางการสือ่ สารจะเป็นส่วนช่วยใหเ้ ข้าถึงลูกลุม่ เป้าหมายใหม่ๆมาก
ขนึ้ โดยสามารถทำได้หลากหลายวธิ ี ตวั อย่างเช่น การใช้เครอ่ื งมือการส่ือสารท่เี หมาะสมกบั กล่มุ เป้าหมาย
3.การใช้ประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมายเดิมในการสื่อสารทำความเข้าใจกบั กลมุ่ เปา้ หมายใหมเ่ พื่อให้กลมุ่ เป้าหมาย
ใหมม่ คี วามเข้าใจและเช่อื ม่นั
4.การขยายผลโครงการ Sandbox ต้องดำเนินการแบบมีขั้นตอน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 คือการเริ่มงาน
(Kick Off) ใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน ระยะที่ 2 คือการปฏิบัติการเชิงรุก (Proactive Operation) ใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี
และระยะที่ 3 คอื ขยายงานทัว่ ท้ังองค์กร (Organization Wide) ใชเ้ วลาไม่เกนิ 2 ปี

แบบฟอร์มการกำหนดแนวทางการขยายผล

--------------------------------------------------------------------------

คมู่ ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 17

ค่มู ือแนวปฏิบตั ิ HR Sand Box กระทรวงพาณิชย์ I หนา้ 18


Click to View FlipBook Version