หนังสืออิเล็กทรอน
ิกส์ ( E-book )
เรื่อง ยีน โครโมโซม และโครงสร้างพื้นฐานของดีเอนเอ
วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ( ว30103 )
ผู้จัดทำ นางสาวสิริยากร ธาตุวิสัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10
ครูผู้สอน นางสาวรัตนา หมู่โยธา
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมอุดรธานี
ยีน โครโมโซม และ
โครงสร้างพื้นฐาน
ของดีเอนเอ
ยีน ( GENE )
ยีน คือ หน่วยที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆใน
ร่างกายของสิ่งมีชีวิต ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ ไปสู่ลูก
หลาน ที่ปรากฏอยู่บนโครโมโซม (chromosome) โดย
โครโมโซม(chromosome) ประกอบด้วยดีเอ็นเอ
(DNA) ซึ่งในดีเอ็นเอ (DNA) มียีน (gene)อยู่ โดยทำ
หน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมี
ชีวิต สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนยีนแตกต่างกัน
ยีนเด่น คือ ยีนที่สามารถแสดงลักษณะนั้นออกมาได้ แม้มี
ยีนเพียงยีนเดียว เช่น ยีนผมหยิกอยู่คู่กับยีนผม
เหยียด แต่แสดงลักษณะผมหยิกออกมา แสดงว่า
ยีนผมหยิกเป็นยีนเด่น
ยีนด้อย คือ ยีนที่สามารถแสดงลักษณะให้ปรากฏออกมาได้ก็
ต่อเมื่อบนคู่ของโครโมโซมนั้น ปรากฏแต่ยีนด้อย เช่น
การแสดงออกของลักษณะผมเหยียด จะต้องมียีนผม
เหยียดบนโครโมโซมทั้งคู่
จีโนไทป์ คือ รูปแบบของยีน เช่น TT, Tt ,tt
( GENOTYPE )
ฟีโนไทป์ คือ ลักษณะที่ปรากฏซึ่งเป็นการ
แสดงออกของยีน เช่น ลักษณะสูง
( PHENOTYPE ) ลักษณะเตี้ย
โครโมโซม
( CHROMOSOME )
โครโมโซม (chromosome) เป็นที่อยู่ของหน่วย
พันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล
เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และผิว
การศึกษาลักษณะโครโมโซม จะต้องอาศัยการดูด้วย
กล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยายสูงๆ จึงจะสามารถ มอง
เห็นรายละเอียดของโครโมโซมได้
ลักษณะของโครโมโซม
โครโมโซมมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายบาง ๆ เรียกว่า
“โครมาติน (chromatin) ” ขดตัวอยู่ใน
นิวเคลียส เมื่อเซลล์เริ่มแบ่งตัว เส้นโครมาตินจะ
หดตัวสั้นเข้ามีลักษณะเป็นแท่ง จึงเรียกว่า
“โครโมโซม” แต่ละโครโมโซมประกอบด้วยแขน
สองข้างที่เรียกว่า “โครมาทิด (chromatid) ” ซึ่ง
แขนทั้งสองข้างจะมีจุดเชื่อมกัน เรียกว่า
“เซนโทรเมียร์ ( centromere)
โครงสร้างพื้นฐาน
ของดีเอนเอ
DNA เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์
(nucleotide) เรียงต่อกันมากมาย นิวคลีโอไทด์ มี 4 ชนิด ซึ่ง
เป็นฐานของ DNA คือ
1. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสอะดีนีน (adenine)
2. นิวคลีโอไทด์ทีมีเบสไทมีน (thymine)
3. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสไซโทซีน (cytosine)
4. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสกวานีน (guanine)
นิวคลีโอไทป์ประกอบด้วยหน่วย
ย่อย 3 หน่วย ดังนี้
น้ำ ต า ล ซี อ อ ก ซี ไ ร โ บ ส ไ น โ ต ร จี นั ส เ บ ส ห มู่ ฟ อ ส เ ฟ ต
คือ น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 ตัว และหมู่ไฮ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ หน่วยย่อยทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ น้ำตาลดีออกซีไรโบส
ดรอกซิล (-OH) ที่ตำแหน่งของคาร์บอน 1.เบสพิวรีน มี 2 ชนิด ได้แก่ ไนโตรจีนัสเบส และหมู่ฟอสเฟต จะมาต่อกันเป็น
ตำแหน่งที่ 2 ของน้ำตาลพบว่าอะตอม อะดีนีน (A) และกวานีน (G) นิวคลีโอไทด์แต่ละชนิด ซึ่งมี 4 ชนิด ได้แก่
ของออกซิเจนหายไปเหลือเพียง 2.เบสไพริมิดีน มี 2 ชนิด ได้แก่ 1.นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสอะดีนีน (adenine)
ไฮโดรเจนอะตอม จึงมีชื่อเรียกว่า ไทมีน (T) และไซโทซีน (C) 2. นิวคลีโอไทด์ทีมีเบสไทมีน (thymine)
น้ำตาลดีออกซีไรโบส 3. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสไซโทซีน (cytosine)
4. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสกวานีน (guanine)
อ้างอิงแหล่งที่มา
http://www.digitalschool.club/digitalschool/biology2_1_1/biology19_1/page_05.php
http://www.digitalschool.club/digitalschool/biology2_1_1/biology19_1/page_06.php
https://sites.google.com/site/ratnaphrnnonsida/yin-den-yin-dxy
http://www.satreephuket.ac.th/teacher_media/kru_tha/u3_2taitord_pdf.pdf
https://guru.sanook.com/6651/
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A1
%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A1#:~:text=%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8
%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%
E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87,%E0%
B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8
8%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94
THANK YOU!
FOR WATCHING