ทฤษฎีการเกิดระบบสุริยะ ทฤษฎีเนบิวลา เป็นแนวความคิดของคานท์ และลาปลาซได้รวบรวมทฤษฎีที่ดีที่สุด ฮอยล์เสนอว่าแรกเริ่มมีก้อนก๊าซและฝุ่นหมุนรอบตัวเอง และยุบตัวลงที่ใจกลางเกิดดวงอาทิตย์ขึ้น ฝุ่นก๊าซที่เหลือจะแผ่แบนเป็นวงแหวนล้อมรอบโดยมีสนามแม่เหล็กเป็นเครื่องเชื่อมโยงต่อมาเม็ด ฝุ่นก่อตัวและใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในวงแหวน กลายเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ระบบ สุริยะประกอบด้วยดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ 9 ดวง มี 6 ทฤษฏีดังนี้ 1. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของบูฟง (Georges Louis leclere Buffon) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเมื่อพ.ศ. 2288 เสนอว่า มีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวง อาทิตย์มีขนาดใกล้เคียงกัน แล้วแรงดึงดูดระหว่างกันทำให้มวลส่วหนึ่งหลุดออกมากลายเป็นดาว เคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ 2. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของ ลาพลาส โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ลาพลาส (Pirer Simon Laplace) ได้ร่วมงานกับคานท์เมื่อพ.ศ.2349 เสนอว่า ระบบสุริยะเกิด มาจากมวลของกลุ่มก๊าซฝุ่นละอองหมอกควัน ซึ่งมีขนาดใหญ่และร้อนจัดรวมกลุ่มกันหมุนรอบ ตัวเองอย่างช้า ๆ ทำให้มีมวลขนาดใหญ่ขึ้นยุบตัวลง อัดกันแน่นมากขึ้น หมุนเร็วมากขึ้น ทำให้ มวลบางส่วนหลุดออกมาเป็นวงแหวนมีการหมุนจนหดตัวเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆใน ระบบสุริยะ จึงเรียกทฤษฏีของค่านท์และลาพลาสว่า "The Nebula Hypothesis"
3. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของเจมส์ ยีนส์ (Sir James Jeans) นักวิทยาศาสตร์ ชาวอังกฤษพ.ศ 2444 เสนอทฤษฎีว่าด้วยแรงดึงดูดระหว่างกัน (Tidal Theory หรือ Two - star) ก่อนหน้านั้นเมื่อพ.ศ. 2443 มีนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน 2 คน คือโทมัน แซมเบอร์ลิน (Thomas Chamberlin) และ เอฟ. อาร์. โมลตัน (F.R .Moulton) โดยใช้หลักการของ บูฟง และเชื่อว่าเนื้อ สารของดวงอาทิตย์ในตอนแรกนั้นน่าจะกระจายเป็นชิ้นเล็กๆก่อนแล้วมารวมกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้น และหลอมรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ 4. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของ เฟรด ฮอยล์ (Fred Hoyle) และ ฮานส์ อัลเฟน (Hans Alphen) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2493 เสนอทฤษฏีว่าด้วยกลุ่มเมฆหมอก (Interstellar Cloud Theory) โดยกล่าวว่าสนับสนุน คานท์และลาพลาส แต่เชื่อว่ามีดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นก่อน แล้วมีแสงสว่างภายหลัง ส่วนกลุ่มเมฆหมอกที่อยู่รอบดวงอาทิตย์ก็จะหมุนและถูกดูด จนอัดแน่นรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ 5.ทฤษฏีการเปล่งแสง (Supernova Theory) หรือดาวแฝด (Binary star) กล่าวว่า มีดวงอาทิตย์ 2 ดวงดึงดูดกันจนทำให้ดวงอาทิตย์อีกดวงเปล่งแสงมากขึ้นจนแตกเป็นชิ้นส่วน มากมาย และถูกแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ให้หมุนรอบจนรวมตัวกันแน่นเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ 6. ทฤษฏีเกี่ยวกับขนาดและความถ่วงจำเพาะของดาวเคราะห์(Explaning the Size and Density of planets) เสนอว่า มีสารคล้าย ๆ รูปจักรเกิดขึ้นรอบ ๆ เส้นศูนย์สูตรของดวง อาทิตย์และหมุนรอบดวงอาทิตย์เร็วขึ้นเรื่อยๆจนอัดแน่นทำให้มีความถ่วงจำเพาะมากขึ้นสะสม ต่าง ๆ มากขึ้นเช่น ไฮโดรเจน เป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรา รู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวอาทิตย์ในปีพ.ศ. 2549 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) มีมติรับคำนิยามทางวิทยาศาสตร์ของดาวเคราะห์ว่า วัตถุฟากฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์จะเป็นดาวเคราะห์ได้ต่อเมื่อ 1. มีมวลมากพอที่จะรักษาทรงกลมไว้ได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของตนเอง 2. ต้องไม่มีมวลมากจนถึงขนาดก่อให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลีย์ฟิวชั่น หรือปฏิกิริยาการ หลอมนิวเคลียส 3. ต้องไม่มีดาวเคราะห์อื่นร่วมใช้วงโคจร ซึ่งรวมไปถึงว่าต้องไม่มีดาวเคราะห์แรก เกิด (planetesimal) อื่นกำลังก่อตัวอยู่ในวงโคจร
ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ระดับกลาง ๆ ซึ่งเราไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้หากขาดพลังงาน จากดวงอาทิตย์ไป ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยสสารเป็นมวลกว่า 99.8%ของมวลระบบสุริยะ ซึ่งมวลระบบสุริยะที่เหลือส่วนใหญ่อยู่กับดาวพฤหัสบดี ดวงอาทิตย์มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจน (75%) และฮีเลียม (24%) นอกจากนั้น ยังมี ออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์กำเนิดจากเมฆฝุ่นแก๊สขนาดใหญ่ ซึ่งยุบตัวลงภายใต้ความโน้มถ่วงของ ตัวเอง ระหว่างที่เมฆฝุ่นแก๊สยุบตัวลงก็เกิดความร้อนและความดันมหาศาล และเมื่ออุณหภูมิ ที่ใจกลางดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจนถึง 1 ล้านองศาเซลเซียส จะเริ่มเกิดการจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิวชัน ซึ่งทำให้ดวงอาทิตย์ผลิตแสง ความร้อน และพลังงานได้ด้วยตัวมันเอง โดยพลังงาน จากใจกลางดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 50 ล้านปีในการเดินทางจากใจกลางถึงพื้นผิวดวง อาทิตย์ และใช้เวลาอีกราว 8 นาทีกว่าแสงจากดวงอาทิตย์จะเดินทางมาถึงโลก นักดาราศาสตร์ได้คำนวณไว้ว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี และจะ ยังคงแผ่พลังงานเช่นนี้ต่อไปอีก 5,000 ล้านปี ก่อนที่เชื้อเพลิงจะหมดลงและเผชิญกับการ
หมดอายุขัยอย่างสงบ ดวงอาทิตย์เป็นสถานที่ที่คุกรุ่นมาก อย่างที่คุณเห็นในอนิเมชันจากยาน SOHO และเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ในแต่ละวันแต่ละปี กิจกรรม ต่างๆบนดวงอาทิตย์นี้เป็นผลมาจากการโค้งงอและบิดตัวของเส้นแรงแม่เหล็กในชั้น บรรยากาศดวงอาทิตย์ ซึ่งส่งผลให้เกิดจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) และเปลวสุริยะ (Solar flares)
ดาวพุธ ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็ก ที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยากที่สุด ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือ ยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิว ดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของ อุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาว พุธมีแก่นดาวเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้ ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระ เจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธ มีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อ ว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน
ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เมื่อมองจากโลกในตอน กลางคืน ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าซึ่งสว่างรองลงมาจากดวงจันทร์ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ภายใน วงโคจรของโลก ทำให้เมื่อสังเกตแล้วจะไม่ปรากฏว่าห่างจากดวงอาทิตย์มากนักกล่าวคือ จะ เห็นในตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" หรือเห็นในตอนเช้ามืดทางทิศ ตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ช้ามากและหมุนรอบตัวเองช้าเช่นกัน โดยโคจรรอบ ดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 224.7 วันของโลก และหมุนรอบตัวเองครบบริบูรณ์โดยใช้เวลา 243 วันของโลก แต่มีความยาววันสุริยคติ 117 วันของโลก ด้วยเหตุนี้ ดาวศุกร์จึงจัดเป็นดาวที่ หมุนรอบตัวเองช้าที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากนี้ ดวงอาทิตย์บนดาวศุกร์จะขึ้นทางทิศตรงกัน ข้ามกับโลก คือ ขึ้นทางทิศตะวันตกและตกทางทิศตะวันออก ดาวศุกร์ไม่มีบริวารธรรมชาติ เช่นเดียวกับดาวพุธ ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน และมักกล่าวว่าเป็นดาวน้องสาวของโลก ด้วยเหตุที่มี ขนาดใกล้กัน มวลเกือบเท่ากัน อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เหมือนกัน และมีส่วนประกอบเป็นหิน เหมือนกัน อย่างไรก็ตามนั้น ดาวศุกร์มีลักษณะต่างจากโลกอย่างสุดขั้วในหลายด้าน อาทิ มี
ความหนาแน่นบรรยากาศสูงสุดในบรรดาดาวเคราะห์หินทั้งสี่ดวง ความดันบรรยากาศบนดาว ศุกร์มีค่าประมาณ 92 เท่าของความดันบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง ใน บรรยากาศนั้นก็ประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 96% อุณหภูมิเฉลี่ยบนดาวศุกร์มีค่า 737 K (464 °C; 867°F) ซึ่งสูงกว่าดาวพุธซึ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์มีเมฆซึ่งประกอบด้วย กรดซัลฟิวริก สะท้อนแสงได้ดีมาก จนไม่เห็นพื้นผิวในย่านแสงที่มองเห็น ในอดีตเชื่อว่า ดาว ศุกร์เคยมีมหาสมุทร แต่ต่อมามหาสมุทรระเหยเหือดแห้งไปอันเนื่องจาก ปรากฏการณ์เรือน กระจกแบบควบคุมไม่ได้ (runaway greenhouse effect) น้ำที่ระเหยไปนั้นเชื่อว่าอาจถูก สลายด้วยแสง และไฮโดรเจนจากน้ำก็ถูกนำออกไปในบรรยากาศโดยลมสุริยะการที่ดาวศุกร์มี ความสว่างมากนี้เอง ทำให้มนุษย์มีความสนใจใคร่รู้และจดบันทึกการโคจร นับแต่สองพันปี ก่อนคริสตกาล ครั้นพัฒนาการสำรวจอวกาศได้รุดหน้า มนุษย์ได้สนใจใคร่รู้และสำรวจดาวศุกร์ เป็นดาวแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยยานมารีเนอร์ 2 แปดปีต่อมายานเวเนรา 7 ก็ลงจอดยังผิว ดาวศุกร์ ถึงกระนั้น เนื่องจากดาวศุกร์มีเมฆหนาทึบ การสำรวจพื้นผิวในรายละเอียดก็ไม่ สามารถกระทำได้ดีนัก จนกระทั่งมียานมาเจลลัน สำรวจดาวศุกร์เมื่อ พ.ศ. 2534 ในปัจจุบันมี ความพยายามศึกษาความเป็นไปได้ของชีวิตบนดาวศุกร์ ซึ่งยังเป็นหัวข้อวิจัยที่มีการถกเถียงกัน อย่างมากอยู่ชื่อของดาวศุกร์ในภาษาอังกฤษ มีที่มาจากเทพีแห่งความรักในเทพปกรณัมโรมัน ส่วนในภาษาไทย มาจากเทพพระศุกร์ หรือศุกระ ผู้เป็นครูของมารและเป็นเทพแห่งความงาม สัญลักษณ์ของดาวศุกร์ในทางโหราศาสตร์และดาราศาสตร์สากล คือ ♀ อันเป็นสัญลักษณ์แทน เพศหญิง ส่วนในโหราศาสตร์ไทย ใช้๖ (เลขหกไทย)
ดาวโลก เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่ง เดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลก กำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศ โดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบแกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลกอันตรกิริยาความโน้ม ถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมี เสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลกโลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดใน ระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัด ผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น มหาสมุทรอีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีทะเลสาบ แม่น้ำ และแหล่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็น ส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายใน
ของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลว ชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐาน แผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรกสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้น บรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และ ประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ใน ประวัติศาสตร์ของโลก ความหลากหลายทางชีวภาพผ่านระยะการขยายยาวนาน แต่ถูก ขัดจังหวะบางครั้งด้วยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่กว่าร้อยละ 99 ของสปีชีส์ทั้งหมดที่เคยอยู่อาศัยบน โลกนั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว ประมาณการจำนวนสปีชีส์บนโลกปัจจุบันมีหลากหลายและสปีชีส์ส่วน ใหญ่ยังไม่มีผู้อธิบาย มนุษย์กว่า 7.6 พันล้านคนอาศัยอยู่บนโลกและอาศัยชีวมณฑลและ ทรัพยากรธรรมชาติของโลกเพื่อการอยู่รอด มนุษย์พัฒนาสังคมและวัฒนธรรมหลากหลาย ในทางการเมือง โลกมีรัฐเอกราชกว่า 200 รัฐ
ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองใน ระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับ ขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อดาว อังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุม อุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏ บนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่ง ความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบน ดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเน ริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของ ดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลาย คนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้
ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปล ความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิ ประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับ รวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งใน ระยะต้น ๆ ของอายุในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสอง ของดาว และที่ละติจูดกลางยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมี ที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดิน ส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิ เตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาว อังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรี คอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบน ดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็น องค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำ ให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ใน อดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณ นั้นโดยส่วนลงจอด ไวกิง โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิว ริออซิตีมีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโร เวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสี ออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวง จันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็น รายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กัน มากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก
ดาวพฤหัสบดี ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 ใหญ่ที่สุดใน ระบบสุริยะ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาว ยักษ์ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบ มวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวง อาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่าน ศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาว พฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จน กลายเป็นดาวฤกษ์ได้ ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาว พฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาด ใหญ่กว่าโลก
โดยทั่วไป ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในท้องฟ้า (รองจากดวง อาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งดาวอังคารก็ปรากฏสว่างกว่าดาว พฤหัสบดี) จึงเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ, ยูโรปา, แกนีมีด และคัลลิสโต โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ ค.ศ. 1610 เป็นการ ค้นพบวัตถุที่ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นครั้งแรกนับเป็นจุดที่สนับสนุนทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็น ศูนย์กลางที่เสนอโดยโคเปอร์นิคัส การออกมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ทำให้กาลิเลโอต้องเผชิญกับ การไต่สวน ดาวพฤหัสบดี หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10 ชั่วโมง
ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัส (อังกฤษ: Uranus หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50,724 กิโลเมตร นับได้ว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่3 ในระบบสุริยะของเรา ยูเรนัสถูกตั้งชื่อตามเทพ เจ้ายูเรนัส (Ouranos) ของกรีก สัญลักษณ์แทนดาวยูเรนัส คือ Uranus symbol (fixed width).svg หรือ สัญลักษณ์ดาราศาสตร์ดาวยูเรนัส (ส่วนใหญ่ใช้ในดาราศาสตร์) ชื่อไทย ของยูเรนัส คือ ดาวมฤตยูผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี วงแหวนจางๆโดยรอบ และเราก็ได้เห็นรายละเอียด ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน
ดาวเสาร์ ดาวเสาร์ (อังกฤษ: Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาว พฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ รองจาก ดาว พฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมี ความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้ง ชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียว ของเทพเจ้า ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผล จากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้น เช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มี ความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศ ชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วง
แหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบ เดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ว วงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุ ในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถ สังเกตได้จากโลก วงแหวน วงแหวนของดาวเสาร์ ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มี ขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาว เสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น
ดาวเนปจูน ดาวเนปจูน (อังกฤษ: Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้น ตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก : โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆). ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาว เนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและ ก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึง ดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะ ของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัสบดี) อยู่ค่อนมาทาง ซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ
ระบบสุริยะจักรวาล ระบบสุริยะ (อังกฤษ: Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่ โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์ บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับ วัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึงดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับ จากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาว เคราะห์น้อย ดาว เคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็น น้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจายขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดน ตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือ ย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่าง ดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจ กลางของแถบจานกระจายดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะเรียงลำดับจากใกล้ดวง อาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาว ยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีส ในแถบ ดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุ อีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัด ระดับ ไว้เป็นดาว เคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบๆ เรา เรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวง จันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบ ตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาว
ฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้ เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควร เรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจาก ไม่เกี่ยวข้องกับ คำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน ประวัติการค้นพบและตรวจสอบ นับเป็นเวลาหลายพันปีในอดีตกาลที่มนุษยชาติไม่เคยรับรู้มาก่อนว่ามีสิ่งที่เรียกว่า ระบบสุริยะ แต่เดิมมนุษย์นั้นเชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลที่อยู่นิ่ง มีดวงดาวต่าง ๆ โคจร ไปรอบ ๆ ผ่านไปบนท้องฟ้า แม้ว่านักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียชื่อ อารยภัฏ และนักปรัชญาชาวกรีก แอริสตาร์คัส เคยมีแนวคิดเกี่ยวกับการที่ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง จักรวาล และจัดลำดับจักรวาลเสียใหม่ แต่ผู้ที่สามารถคิดค้นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อ พิสูจน์แนวคิดนี้ได้สำเร็จเป็นคนแรกคือ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีผู้สืบ ทอดแนวทางการศึกษาของเขาต่อมา คือกาลิเลโอ กาลิเลอี โยฮันเนิส เค็พเพลอร์ และ ไอแซค นิวตัน พวกเขาพยายามทำความเข้าใจระบบทางฟิสิกส์และเสาะหาหลักฐานการพิสูจน์ยืนยัน ว่า โลกเคลื่อนไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างก็ดำเนินไปภายใต้กฎทาง ฟิสิกส์แบบเดียวกันนี้ ในยุคหลังต่อมาจึงเริ่มมีการสืบสวนค้นหาปรากฏการณ์ทางภูมิธรณีต่าง ๆ เช่น เทือกเขา แอ่งหิน ปรากฏการณ์สภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนตามฤดูกาล การศึกษา เกี่ยวกับเมฆ พายุทราย และยอดเขาน้ำแข็งบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ
การสำรวจยุคแรก การสำรวจระบบสุริยะในยุคแรกดำเนินไปได้โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ เพื่อช่วยนักดารา ศาสตร์จัดทำแผนภาพท้องฟ้าแสดงตำแหน่งของวัตถุที่จางเกินกว่าจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กาลิเลโอ กาลิเลอี คือผู้แรกที่ค้นพบรายละเอียดทางกายภาพของวัตถุในระบบสุริยะ เขาค้นพบว่าผิวดวงจันทร์นั้นขรุขระ ส่วนดวงอาทิตย์ก็มีจุดด่างดำ และดาวพฤหัสบดีมีดาว บริวารสี่ดวงโคจรไปรอบ ๆ คริสตียาน เฮยเคินส์ เจริญรอยตามกาลิเลโอโดยค้นพบไททัน ดวง จันทร์ของดาวเสาร์ รวมถึงวงแหวนของมันด้วย ในเวลาต่อมา จิโอวันนี โดเมนิโก กัสสินี ค้นพบ ดวงจันทร์ของดาวเสาร์เพิ่มอีก 4 ดวง ช่องว่างในวงแหวนของดาวเสาร์ รวมถึงจุดแดงใหญ่บน ดาวพฤหัสบดี ปี ค.ศ. 1705 เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ ค้นพบว่าดาวหางหลายดวงในบันทึกประวัติศาสตร์ที่ จริงเป็นดวงเดิมกลับมาปรากฏซ้ำ ถือเป็นการพบหลักฐานชิ้นแรกสำหรับการโคจรรอบดวง อาทิตย์ของวัตถุอื่นนอกเหนือจากดาวเคราะห์ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้จึงเริ่มมีการใช้คำว่า "ระบบสุริยะ" ขึ้นเป็นครั้งแรก ค.ศ. 1781 วิลเลียม เฮอร์เชล ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่คือ ดาวยูเรนัส โดยที่ในตอนแรกเขาคิดว่าเป็นดาวหาง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1801 จูเซปเป ปีอัซซี ค้นพบวัตถุโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาว พฤหัสบดี ในตอนแรกเขาคิดว่าเป็นดาวเคราะห์ แต่ต่อมาจึงมีการค้นพบวัตถุขนาดเล็กนับเป็น พันดวงในย่านอวกาศนั้น ซึ่งในเวลาต่อมาจึงเรียกวัตถุเหล่านั้นว่า ดาวเคราะห์น้อยไม่อาจระบุ ได้แน่ชัดว่า ระบบสุริยะถูก "ค้นพบ" เมื่อใดกันแน่ แต่การสังเกตการณ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สามรายการสามารถบรรยายลักษณะและตำแหน่งของระบบสุริยะในเอกภพได้อย่างไม่มี ข้อสงสัย รายการแรกเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1838 เมื่อฟรีดดริค เบสเซล สามารถวัดพารัลแลกซ์ ของดาวได้ เขาพบว่าตำแหน่งปรากฏของดาวเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของโลกที่โคจร ไปรอบดวงอาทิตย์ นี่ไม่เพียงเป็นข้อพิสูจน์ทางตรงต่อแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง จักรวาล แต่ยังได้เปิดเผยให้ทราบถึงระยะทางมหาศาลระหว่างระบบสุริยะของเรากับดวงดาว อื่นเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี ค.ศ. 1859 โรเบิร์ต บุนเซน และ กุสตาฟ เคอร์ชอฟฟ์ ได้ใช้สเปกโต รสโคปที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตรวจวัดค่าสเปกตรัมจากดวงอาทิตย์ และพบว่ามันประกอบด้วยธาตุ ชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่บนโลก นับเป็นครั้งแรกที่พบข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวโยงกันระหว่าง โลกกับสวรรค์หลังจากนั้น บาทหลวงแองเจโล เซคคี เปรียบเทียบรายละเอียดสเปกตรัมของ ดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์ดวงอื่น และพบว่ามันเหมือนกันทุกประการ ข้อเท็จจริงที่พบว่าดวง อาทิตย์ก็เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งนำไปสู่ข้อสมมุติฐานว่าดาวฤกษ์ดวงอื่นก็อาจมีระบบดาว เคราะห์ของมันเองเช่นกัน แม้ว่ากว่าจะค้นพบหลักฐานสำหรับข้อสมมุติฐานนี้จะต้องใช้เวลา ต่อมาอีกกว่า 140 ปีค.ศ. 1992 มีการค้นพบหลักฐานแรกที่ส่อถึงระบบดาวเคราะห์แห่งอื่น นอกเหนือจากระบบของเรา โคจรอยู่รอบดาวพัลซาร์ พีเอสอาร์ บี1257+12 สามปีต่อมาจึงพบ ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกคือ 51 เพกาซี บี โคจรรอบดาวฤกษ์ลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ ตราบจนถึงปี ค.ศ. 2008 มีการค้นพบระบบดาวเคราะห์อื่นแล้วกว่า 221 ระบบ
การสำรวจด้วยยานอวกาศ ยุคของการสำรวจอวกาศด้วยยานอวกาศเริ่มต้นขึ้นนับแต่สหภาพโซเวียตส่ง ดาวเทียมสปุตนิก 1 ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกเมื่อปี ค.ศ. 1957 โดยได้โคจรอยู่เป็นเวลา 1 ปี ต่อมา ยานเอกซ์พลอเรอร์ 6 ของสหรัฐอเมริกา ขึ้นสู่วงโคจรในปี 1959 และสามารถถ่ายภาพโลกจาก อวกาศได้เป็นครั้งแรกยานสำรวจลำแรกที่เดินทางไปถึงวัตถุอื่นในระบบสุริยะ คือยานลูนา 1 ซึ่งเดินทางผ่านดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 1959 ในตอนแรกตั้งใจกันว่าจะให้มันตกลงบนดวงจันทร์ แต่ยานพลาดเป้าหมายแล้วจึงกลายเป็นยานที่สร้างโดยมนุษย์ลำแรกที่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ ยานมาริเนอร์ 2 เป็นยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปถึงดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ คือไป เยือนดาวศุกร์ในปี ค.ศ. 1962 ต่อมายานมาริเนอร์ 4 ได้ไปถึงดาวอังคารในปี ค.ศ. 1965 และ มาริเนอร์ 10 ไปถึงดาวพุธในปี ค.ศ. 1974 ยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนวัตถุอื่นในระบบสุริยะได้คือยานลูนา 2 ของสหภาพโซ เวียต ซึ่งลงจอดบนดวงจันทร์ได้ในปี ค.ศ. 1959 หลังจากนั้นก็มียานลงจอดบนดาวอื่นได้มาก ขึ้นเรื่อย ๆ ยานเวเนรา 3 ลงจอดบนพื้นผิวดาวศุกร์ในปี 1966 ยานมาร์ส 3 ลงถึงพื้นดาว
อังคารในปี 1971 (แต่การลงจอดที่สำเร็จจริง ๆ คือยานไวกิ้ง 1 ในปี 1976) ยานเนียร์ชูเมก เกอร์ไปถึงดาวเคราะห์น้อย 433 อีรอส ในปี 2001 และยานดีปอิมแพกต์ไปถึงดาวหางเทมเพล 1 ในปี 2005 ยานสำรวจลำแรกที่ไปถึงระบบสุริยะชั้นนอกคือยานไพโอเนียร์ 10 ที่เดินทางผ่าน ดาวพฤหัสบดีในปี ค.ศ. 1973 ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 ยานสำรวจอวกาศในโครงการวอยเอจ เจอร์จึงได้เริ่มต้นการเดินทางครั้งใหญ่ โดยเดินทางผ่านดาวพฤหัสบดีในปี 1979 ผ่านดาวเสาร์ ในปี 1980-1981 ยานวอยเอจเจอร์ 2 ได้เข้าใกล้ดาวยูเรนัสในปี 1986 และเข้าใกล้ดาวเนปจูน ในปี 1989 ปัจจุบันนี้ ยานสำรวจวอยเอจเจอร์ทั้ง 2 ลำได้เดินทางออกพ้นวงโคจรของดาว เนปจูนไปไกลแล้ว และมุ่งไปบนเส้นทางเพื่อค้นหาและศึกษากำแพงกระแทก เฮลิโอชีท และเฮ ลิโอพอส ข้อมูลล่าสุดจากองค์การนาซาแจ้งว่า ยานวอยเอจเจอร์ทั้ง 2 ลำได้เดินทางผ่าน กำแพงกระแทกไปแล้วที่ระยะห่างประมาณ 93 หน่วยดาราศาสตร์จากดวงอาทิตย์วันที่ 19 มกราคม 2006 นาซาส่งยานสำรวจแบบบินผ่าน นิวฮอไรซันส์ ขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งเป็นยานสำรวจ อวกาศแบบไร้คนขับลำแรกที่จะเดินทางไปสำรวจแถบไคเปอร์ ยานมีกำหนดบินผ่านดาวพลูโต ในเดือนกรกฎาคม 2015 จากนั้นจะเดินทางเข้าสู่แถบไคเปอร์เพื่อสำรวจวัตถุในพื้นที่นั้นต่อไป
วัตถุในระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีชนิดสเปกตรัม G2 มีมวลประมาณ 99.86% ของทั้งระบบ ดาวเคราะห์ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ดาวบริวาร คือ วัตถุที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็กอื่นๆ ที่ประกอบกัน เป็นวงแหวนโคจรรอบดาวเคราะห์ ขยะอวกาศที่โคจรรอบโลก เป็นชิ้นส่วนของจรวด ยาน อวกาศ หรือดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น
อื่น ๆ เช่น • ดาวเคราะห์น้อย คือ วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ ส่วนใหญ่มีวงโคจรไม่เกินวง โคจรของดาวพฤหัสบดี อาจแบ่งได้เป็นกลุ่มและวงศ์ ตามลักษณะวงโคจร ดาวบริวารดาวเคราะห์น้อย คือ ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อยที่มี ขนาดใหญ่กว่าหรืออาจมีขนาดพอๆ กัน • ดาวเคราะห์น้อยทรอย คือ ดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรอยู่ในแนววงโคจรของดาว พฤหัสบดีที่จุด L4 หรือ L5 อาจใช้ชื่อนี้สำหรับดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ที่จุดลากรางจ์ ของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ด้วย สะเก็ดดาว คือ ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเท่าก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น • ดาวหาง คือ วัตถุที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีวงโคจรที่มีความรีสูง โดย ปกติจะมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ภายในวงโคจรของดาวเคราะห์วงใน และมีจุด ไกลดวงอาทิตย์ที่สุดห่างไกลเลยวงโคจรของดาวพลูโต ดาวหางคาบสั้นมีวงโคจรใกล้ ดวงอาทิตย์มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มักสูญเสียน้ำแข็งไปหมด จนกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย ดาวหางที่มีวงโคจรเป็นรูปไฮเพอร์โบลา อาจมีกำเนิด จากภายนอกระบบสุริยะ • เซนทอร์ คือ วัตถุคล้ายดาวหางที่มีวงโคจรรีน้อยกว่าดาวหาง มักอยู่ในบริเวณ ระหว่างวงโคจรของดาวพฤหัสบดีและดาวเนปจูน • วัตถุทีเอ็นโอ คือ วัตถุที่มีกึ่งแกนเอกของวงโคจรเลยดาวเนปจูนออกไป • วัตถุแถบไคเปอร์ มีวงโคจรอยู่ระหว่าง 30 ถึง 50 หน่วยดาราศาสตร์ คาดว่าเป็นที่ กำเนิดของดาวหางคาบสั้น บางครั้งจัดดาวพลูโตเป็นวัตถุป ระเภทนี้ด้วย นอกเหนือจากการเป็นดาวเคราะห์ จึงเรียกชื่อวัตถุที่มีวงโคจรคล้ายดาวพลูโตว่าพลูติ โน
• วัตถุเมฆออร์ต คือ วัตถุที่คาดว่ามีวงโคจรอยู่ระหว่าง 50,000 ถึง 100,000 หน่วย ดาราศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นถิ่นกำเนิดของดาวหางคาบยาว • เซดนา วัตถุที่เพิ่งค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีสูงมาก ห่างดวงอาทิตย์ ระหว่าง 76-850 หน่วยดาราศาสตร์ ไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทใดได้ แม้ว่าผู้ค้นพบ ให้เหตุผลสนับสนุนว่ามันอาจเป็นส่วนหนึ่งของเมฆออร์ต ฝุ่นซึ่งกระจัดกระจายอยู่ ทั่วไปในระบบสุริยะ อาจเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์แสงจักรราศี ฝุ่นบางส่วนอาจ เป็นฝุ่นระหว่างดาวที่มาจากนอกระบบสุริยะ
การแบ่งประเภทของดาวเคราะห์ ในยุคก่อนมียานอวกาศ นักดาราศาสตร์จำแนกประเภทดาวเคราะห์ ตามลักษณะ ที่ได้จากการสังเกตการณ์ด้วยมุมมองจากโลก โดยใช้วงโคจรของโลกเป็นเกณฑ์ในการ แบ่งดาวเคราะห์ออกเป็นดาวเคราะห์วงในและดาวเคราะห์วงนอก ดาวเคราะห์วงใน (Inferior Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์ เราจึงมองเห็นเคราะห์จึงมองเห็นดาวเคราะห์ วงในอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกเวลาพลบค่ำหรือเหนือขอบฟ้าด้าน ทิศตะวันออกเวลารุ่งเช้าเท่านั้น โดยดาวพุธจะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 28° และดาว ศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 44° (Greatest elongation) ดังภาพที่ 1 เมื่อใช้กล้อง โทรทรรศน์ส่องดู ดาวเคราะห์ทั้งสองจะปรากฏให้เห็นเป็นเสี้ยวสว่างซึ่งมีขนาดเปลี่ยนไป ในแต่ละคืน ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากโลก และแสงเงาจากดวงอาทิตย์ ดังภาพที่ 2
ดาวเคราะห์วงนอก (Superior Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์ มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาว เคราะห์ชั้นนอกสามารถปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนในช่วงเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ ใกล้ดวงอาทิตย์เวลาขึ้นหรือตก เมื่อส่องดูด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นว่า ดาวเคราะห์ ชั้นนอกปรากฏให้เห็นเป็นวงค่อนข้างกลมและมีขนาดค่อนข้างคงที่ เนื่องจากอยู่ไกลจาก โลกมากว่าดวงอาทิตย์ จึงหันด้านที่สะท้อนแสงอาทิตย์เข้าสู่โลกเสมอ ในยุคอวกาศ นักดาราศาสตร์จำแนกประเภทดาวเคราะห์ ตามลักษณะทาง กายภาพซึ่งได้ข้อมูลมาจากยานอวกาศ ซึ่งแบ่งออกเป็นดาวเคราะห์ชั้นในและดาว เคราะห์ชั้นนอก
ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets) หรือ ดาวเคราะห์แข็ง (Terrestrial planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวเป็นของแข็ง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กและมีมวลน้อย เนื่องจากบรรยากาศที่ห่อหุ้ม ดาวถูกทำลายโดยรังสีคลื่นสั้นและอนุภาคพลังงานสูงที่มากับลมสุริยะ จึงเหลือแต่พื้นผิว ที่เป็นของแข็ง
ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets) หรือ ดาวเคราะห์แก๊ส (Giant Gas Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาแน่น ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่และมีมวลมาก เนื่องจากอยู่ ห่างไกลจากอิทธิพลของรังสีและลมสุริยะ บรรยากาศจึงสามารถคงอยู่ได้อย่างหนาแน่น ดาวเคราะห์ชั้นนอกมีมวลมากจึงมีแรงโน้มถ่วงสูง ทำให้ดึงดูดสสารทั้งหลายมาสะสมไว้ ภายใน และเป็นดวงจันทร์บริวาร สนามแรงโน้มถ่วงความเข้มสูงทำให้เกิดแรงไทดัลบน วัตถุที่เข้ามาใกล้ แล้วฃแตกสลายกลายเป็นวงแหวน หากพิจารณาโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์ชั้นนอกในภาพที่ 4 ซึ่งมี องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนดังเช่นดวงอาทิตย์ดังนั้นหากดาวเคราะห์แก๊ส สามารถสะสมมวลให้มากพอที่จะกดดันให้ใจกลางของดาวมีึอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคล วิน ก็จะสามารถฟิวชันไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียมเกิดเป็นดาวฤกษ์ และหากนำ บรรยากาศที่หนาแน่นด้วยแก๊สไฮโดรเจนนี้ออกไป ดาวเคราะห์ชั้นนอกก็จะมีสภาพเป็น ดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่มีพื้นผิวเป็นของแข็งดังเช่นดาวเคราะห์ชั้นในนั่นเอง
ทฤษฎีการเกิดระบบสุริยะ ทฤษฎีเนบิวลา เป็นแนวความคิดของคานท์ และลาปลาซได้รวบรวมทฤษฎีที่ดีที่สุด ฮอยล์เสนอว่าแรกเริ่มมีก้อนก๊าซและฝุ่นหมุนรอบตัวเอง และยุบตัวลงที่ใจกลางเกิดดวงอาทิตย์ขึ้น ฝุ่นก๊าซที่เหลือจะแผ่แบนเป็นวงแหวนล้อมรอบโดยมีสนามแม่เหล็กเป็นเครื่องเชื่อมโยงต่อมาเม็ด ฝุ่นก่อตัวและใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในวงแหวน กลายเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ระบบ สุริยะประกอบด้วยดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ 9 ดวง มี 6 ทฤษฏีดังนี้ 1. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของบูฟง (Georges Louis leclere Buffon) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเมื่อพ.ศ. 2288 เสนอว่า มีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวง อาทิตย์มีขนาดใกล้เคียงกัน แล้วแรงดึงดูดระหว่างกันทำให้มวลส่วหนึ่งหลุดออกมากลายเป็นดาว เคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ 2. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของ ลาพลาส โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ลาพลาส (Pirer Simon Laplace) ได้ร่วมงานกับคานท์เมื่อพ.ศ.2349 เสนอว่า ระบบสุริยะเกิด มาจากมวลของกลุ่มก๊าซฝุ่นละอองหมอกควัน ซึ่งมีขนาดใหญ่และร้อนจัดรวมกลุ่มกันหมุนรอบ ตัวเองอย่างช้า ๆ ทำให้มีมวลขนาดใหญ่ขึ้นยุบตัวลง อัดกันแน่นมากขึ้น หมุนเร็วมากขึ้น ทำให้ มวลบางส่วนหลุดออกมาเป็นวงแหวนมีการหมุนจนหดตัวเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆใน ระบบสุริยะ จึงเรียกทฤษฏีของค่านท์และลาพลาสว่า "The Nebula Hypothesis"
3. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของเจมส์ ยีนส์ (Sir James Jeans) นักวิทยาศาสตร์ ชาวอังกฤษพ.ศ 2444 เสนอทฤษฎีว่าด้วยแรงดึงดูดระหว่างกัน (Tidal Theory หรือ Two - star) ก่อนหน้านั้นเมื่อพ.ศ. 2443 มีนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน 2 คน คือโทมัน แซมเบอร์ลิน (Thomas Chamberlin) และ เอฟ. อาร์. โมลตัน (F.R .Moulton) โดยใช้หลักการของ บูฟง และเชื่อว่าเนื้อ สารของดวงอาทิตย์ในตอนแรกนั้นน่าจะกระจายเป็นชิ้นเล็กๆก่อนแล้วมารวมกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้น และหลอมรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ 4. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของ เฟรด ฮอยล์ (Fred Hoyle) และ ฮานส์ อัลเฟน (Hans Alphen) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2493 เสนอทฤษฏีว่าด้วยกลุ่มเมฆหมอก (Interstellar Cloud Theory) โดยกล่าวว่าสนับสนุน คานท์และลาพลาส แต่เชื่อว่ามีดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นก่อน แล้วมีแสงสว่างภายหลัง ส่วนกลุ่มเมฆหมอกที่อยู่รอบดวงอาทิตย์ก็จะหมุนและถูกดูด จนอัดแน่นรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ 5.ทฤษฏีการเปล่งแสง (Supernova Theory) หรือดาวแฝด (Binary star) กล่าวว่า มีดวงอาทิตย์ 2 ดวงดึงดูดกันจนทำให้ดวงอาทิตย์อีกดวงเปล่งแสงมากขึ้นจนแตกเป็นชิ้นส่วน มากมาย และถูกแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ให้หมุนรอบจนรวมตัวกันแน่นเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ 6. ทฤษฏีเกี่ยวกับขนาดและความถ่วงจำเพาะของดาวเคราะห์(Explaning the Size and Density of planets) เสนอว่า มีสารคล้าย ๆ รูปจักรเกิดขึ้นรอบ ๆ เส้นศูนย์สูตรของดวง อาทิตย์และหมุนรอบดวงอาทิตย์เร็วขึ้นเรื่อยๆจนอัดแน่นทำให้มีความถ่วงจำเพาะมากขึ้นสะสม ต่าง ๆ มากขึ้นเช่น ไฮโดรเจน เป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรา รู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวอาทิตย์ในปีพ.ศ. 2549 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) มีมติรับคำนิยามทางวิทยาศาสตร์ของดาวเคราะห์ว่า วัตถุฟากฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์จะเป็นดาวเคราะห์ได้ต่อเมื่อ 1. มีมวลมากพอที่จะรักษาทรงกลมไว้ได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของตนเอง 2. ต้องไม่มีมวลมากจนถึงขนาดก่อให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลีย์ฟิวชั่น หรือปฏิกิริยาการ หลอมนิวเคลียส 3. ต้องไม่มีดาวเคราะห์อื่นร่วมใช้วงโคจร ซึ่งรวมไปถึงว่าต้องไม่มีดาวเคราะห์แรก เกิด (planetesimal) อื่นกำลังก่อตัวอยู่ในวงโคจร
ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ระดับกลาง ๆ ซึ่งเราไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้หากขาดพลังงาน จากดวงอาทิตย์ไป ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยสสารเป็นมวลกว่า 99.8%ของมวลระบบสุริยะ ซึ่งมวลระบบสุริยะที่เหลือส่วนใหญ่อยู่กับดาวพฤหัสบดี ดวงอาทิตย์มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจน (75%) และฮีเลียม (24%) นอกจากนั้น ยังมี ออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์กำเนิดจากเมฆฝุ่นแก๊สขนาดใหญ่ ซึ่งยุบตัวลงภายใต้ความโน้มถ่วงของ ตัวเอง ระหว่างที่เมฆฝุ่นแก๊สยุบตัวลงก็เกิดความร้อนและความดันมหาศาล และเมื่ออุณหภูมิ ที่ใจกลางดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจนถึง 1 ล้านองศาเซลเซียส จะเริ่มเกิดการจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิวชัน ซึ่งทำให้ดวงอาทิตย์ผลิตแสง ความร้อน และพลังงานได้ด้วยตัวมันเอง โดยพลังงาน จากใจกลางดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 50 ล้านปีในการเดินทางจากใจกลางถึงพื้นผิวดวง อาทิตย์ และใช้เวลาอีกราว 8 นาทีกว่าแสงจากดวงอาทิตย์จะเดินทางมาถึงโลก นักดาราศาสตร์ได้คำนวณไว้ว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี และจะ ยังคงแผ่พลังงานเช่นนี้ต่อไปอีก 5,000 ล้านปี ก่อนที่เชื้อเพลิงจะหมดลงและเผชิญกับการ
หมดอายุขัยอย่างสงบ ดวงอาทิตย์เป็นสถานที่ที่คุกรุ่นมาก อย่างที่คุณเห็นในอนิเมชันจากยาน SOHO และเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ในแต่ละวันแต่ละปี กิจกรรม ต่างๆบนดวงอาทิตย์นี้เป็นผลมาจากการโค้งงอและบิดตัวของเส้นแรงแม่เหล็กในชั้น บรรยากาศดวงอาทิตย์ ซึ่งส่งผลให้เกิดจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) และเปลวสุริยะ (Solar flares)
ดาวพุธ ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็ก ที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยากที่สุด ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือ ยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิว ดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของ อุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาว พุธมีแก่นดาวเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้ ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระ เจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธ มีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อ ว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน
ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เมื่อมองจากโลกในตอน กลางคืน ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าซึ่งสว่างรองลงมาจากดวงจันทร์ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ภายใน วงโคจรของโลก ทำให้เมื่อสังเกตแล้วจะไม่ปรากฏว่าห่างจากดวงอาทิตย์มากนักกล่าวคือ จะ เห็นในตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" หรือเห็นในตอนเช้ามืดทางทิศ ตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ช้ามากและหมุนรอบตัวเองช้าเช่นกัน โดยโคจรรอบ ดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 224.7 วันของโลก และหมุนรอบตัวเองครบบริบูรณ์โดยใช้เวลา 243 วันของโลก แต่มีความยาววันสุริยคติ 117 วันของโลก ด้วยเหตุนี้ ดาวศุกร์จึงจัดเป็นดาวที่ หมุนรอบตัวเองช้าที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากนี้ ดวงอาทิตย์บนดาวศุกร์จะขึ้นทางทิศตรงกัน ข้ามกับโลก คือ ขึ้นทางทิศตะวันตกและตกทางทิศตะวันออก ดาวศุกร์ไม่มีบริวารธรรมชาติ เช่นเดียวกับดาวพุธ ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน และมักกล่าวว่าเป็นดาวน้องสาวของโลก ด้วยเหตุที่มี ขนาดใกล้กัน มวลเกือบเท่ากัน อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เหมือนกัน และมีส่วนประกอบเป็นหิน เหมือนกัน อย่างไรก็ตามนั้น ดาวศุกร์มีลักษณะต่างจากโลกอย่างสุดขั้วในหลายด้าน อาทิ มี
ความหนาแน่นบรรยากาศสูงสุดในบรรดาดาวเคราะห์หินทั้งสี่ดวง ความดันบรรยากาศบนดาว ศุกร์มีค่าประมาณ 92 เท่าของความดันบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง ใน บรรยากาศนั้นก็ประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 96% อุณหภูมิเฉลี่ยบนดาวศุกร์มีค่า 737 K (464 °C; 867°F) ซึ่งสูงกว่าดาวพุธซึ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์มีเมฆซึ่งประกอบด้วย กรดซัลฟิวริก สะท้อนแสงได้ดีมาก จนไม่เห็นพื้นผิวในย่านแสงที่มองเห็น ในอดีตเชื่อว่า ดาว ศุกร์เคยมีมหาสมุทร แต่ต่อมามหาสมุทรระเหยเหือดแห้งไปอันเนื่องจาก ปรากฏการณ์เรือน กระจกแบบควบคุมไม่ได้ (runaway greenhouse effect) น้ำที่ระเหยไปนั้นเชื่อว่าอาจถูก สลายด้วยแสง และไฮโดรเจนจากน้ำก็ถูกนำออกไปในบรรยากาศโดยลมสุริยะการที่ดาวศุกร์มี ความสว่างมากนี้เอง ทำให้มนุษย์มีความสนใจใคร่รู้และจดบันทึกการโคจร นับแต่สองพันปี ก่อนคริสตกาล ครั้นพัฒนาการสำรวจอวกาศได้รุดหน้า มนุษย์ได้สนใจใคร่รู้และสำรวจดาวศุกร์ เป็นดาวแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยยานมารีเนอร์ 2 แปดปีต่อมายานเวเนรา 7 ก็ลงจอดยังผิว ดาวศุกร์ ถึงกระนั้น เนื่องจากดาวศุกร์มีเมฆหนาทึบ การสำรวจพื้นผิวในรายละเอียดก็ไม่ สามารถกระทำได้ดีนัก จนกระทั่งมียานมาเจลลัน สำรวจดาวศุกร์เมื่อ พ.ศ. 2534 ในปัจจุบันมี ความพยายามศึกษาความเป็นไปได้ของชีวิตบนดาวศุกร์ ซึ่งยังเป็นหัวข้อวิจัยที่มีการถกเถียงกัน อย่างมากอยู่ชื่อของดาวศุกร์ในภาษาอังกฤษ มีที่มาจากเทพีแห่งความรักในเทพปกรณัมโรมัน ส่วนในภาษาไทย มาจากเทพพระศุกร์ หรือศุกระ ผู้เป็นครูของมารและเป็นเทพแห่งความงาม สัญลักษณ์ของดาวศุกร์ในทางโหราศาสตร์และดาราศาสตร์สากล คือ ♀ อันเป็นสัญลักษณ์แทน เพศหญิง ส่วนในโหราศาสตร์ไทย ใช้๖ (เลขหกไทย)
ดาวโลก เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่ง เดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลก กำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศ โดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบแกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลกอันตรกิริยาความโน้ม ถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมี เสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลกโลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดใน ระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัด ผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น มหาสมุทรอีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีทะเลสาบ แม่น้ำ และแหล่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็น ส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายใน
ของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลว ชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐาน แผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรกสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้น บรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และ ประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ใน ประวัติศาสตร์ของโลก ความหลากหลายทางชีวภาพผ่านระยะการขยายยาวนาน แต่ถูก ขัดจังหวะบางครั้งด้วยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่กว่าร้อยละ 99 ของสปีชีส์ทั้งหมดที่เคยอยู่อาศัยบน โลกนั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว ประมาณการจำนวนสปีชีส์บนโลกปัจจุบันมีหลากหลายและสปีชีส์ส่วน ใหญ่ยังไม่มีผู้อธิบาย มนุษย์กว่า 7.6 พันล้านคนอาศัยอยู่บนโลกและอาศัยชีวมณฑลและ ทรัพยากรธรรมชาติของโลกเพื่อการอยู่รอด มนุษย์พัฒนาสังคมและวัฒนธรรมหลากหลาย ในทางการเมือง โลกมีรัฐเอกราชกว่า 200 รัฐ
ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองใน ระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับ ขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อดาว อังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุม อุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏ บนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่ง ความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบน ดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเน ริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของ ดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลาย คนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้
ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปล ความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิ ประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับ รวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งใน ระยะต้น ๆ ของอายุในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสอง ของดาว และที่ละติจูดกลางยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมี ที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดิน ส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิ เตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาว อังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรี คอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบน ดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็น องค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำ ให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ใน อดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณ นั้นโดยส่วนลงจอด ไวกิง โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิว ริออซิตีมีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโร เวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสี ออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวง จันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็น รายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กัน มากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก
ดาวพฤหัสบดี ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 ใหญ่ที่สุดใน ระบบสุริยะ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาว ยักษ์ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบ มวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวง อาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่าน ศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาว พฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จน กลายเป็นดาวฤกษ์ได้ ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาว พฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาด ใหญ่กว่าโลก
โดยทั่วไป ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในท้องฟ้า (รองจากดวง อาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งดาวอังคารก็ปรากฏสว่างกว่าดาว พฤหัสบดี) จึงเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ, ยูโรปา, แกนีมีด และคัลลิสโต โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ ค.ศ. 1610 เป็นการ ค้นพบวัตถุที่ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นครั้งแรกนับเป็นจุดที่สนับสนุนทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็น ศูนย์กลางที่เสนอโดยโคเปอร์นิคัส การออกมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ทำให้กาลิเลโอต้องเผชิญกับ การไต่สวน ดาวพฤหัสบดี หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10 ชั่วโมง
ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัส (อังกฤษ: Uranus หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50,724 กิโลเมตร นับได้ว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่3 ในระบบสุริยะของเรา ยูเรนัสถูกตั้งชื่อตามเทพ เจ้ายูเรนัส (Ouranos) ของกรีก สัญลักษณ์แทนดาวยูเรนัส คือ Uranus symbol (fixed width).svg หรือ สัญลักษณ์ดาราศาสตร์ดาวยูเรนัส (ส่วนใหญ่ใช้ในดาราศาสตร์) ชื่อไทย ของยูเรนัส คือ ดาวมฤตยูผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี วงแหวนจางๆโดยรอบ และเราก็ได้เห็นรายละเอียด ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน
ดาวเสาร์ ดาวเสาร์ (อังกฤษ: Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาว พฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ รองจาก ดาว พฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมี ความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้ง ชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียว ของเทพเจ้า ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผล จากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้น เช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มี ความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศ ชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วง
แหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบ เดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ว วงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุ ในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถ สังเกตได้จากโลก วงแหวน วงแหวนของดาวเสาร์ ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มี ขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาว เสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น