The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิชาการ Chem's talk ไตรมาส 3_2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Book, 2023-09-25 03:12:50

บทความวิชาการ Chem's talk ไตรมาส 3_2566

บทความวิชาการ Chem's talk ไตรมาส 3_2566

สวัสดีครับท่านผู้อ่านบทความวารสาร Chem’s talk ฉบับ ไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2566 ครั้งนี้ผมมีบทความน่าสนใจมาฝาก ทุกคนด้วยครับ สำหรับวารสารฉบับนี้มีบทความที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันหล่อลื่น และอันตรายจากอนุภาคสิ่งสกปรกขนาดเล็ก ในหัวข้อ “อนุภาคของแข็งในน้ำมันหล่อลื่น วายร้ายของเครื่องจักร” ซึ่งมาพร้อมกับบทบาทที่สำคัญในการวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่น และผลกระทบของอนุภาคที่ปนเปื้อนในน้ำมันหล่อลื่น บทความต่อมาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ในหัวข้อ “CryoDesalination” โดยที่หัวข้อนี้จะทำให้ทุกคนรู้จักกับเทคโนโลยีการแยกเกลือออกจากน้ำทะเลที่แตกต่างจากที่เราคุ้นเคย ในลำดับถัดไปพบกับหัวข้อ “อัปเดตระเบียบ กฟผ. ที่ 497 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเคมีภัณฑ์” ช่วยให้เราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการ บริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ซึ่งเป็นระเบียบที่อัปเดตใหม่ล่าสุดอีกด้วย และในหัวข้อสุดท้ายนั้นผมขอนำเสนอบทความที่ เกี่ยวกับเชื้อเพลิง และการตรวจรับเชื้อเพลิงดังกล่าว ภายใต้หัวข้อ “การตรวจรับน้ำมันเตาของโรงไฟฟ้ากระบี่และโรงไฟฟ้าบางปะกง” ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่ช่วยในผลิตไฟฟ้าจากสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน สุดท้ายก่อนจะจากกันช่วงนี้ก็มีโรคระบาดมากมาย อันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A ที่มีความรุนแรงไม่แพ้ Covid-19 ถึงอย่างนั้นการดูแลสุขภาพร่างกายก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ การออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอ และการนอนหลับที่เพียงพอก็สามารถป้องกันตัวเราจากเหล่าโรควายร้ายได้แล้ว แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ ณัฏฐ์คเณศ วุฒิกุลกรนันท์ บรรณาธิการ


12 อัปเดตระเบียบ กฟผ. ที่ 497 ที่ เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเคมีภัณฑ์ 21 การตรวจรับน้ำมันเตาของโรงไฟฟ้า กระบี่และโรงไฟฟ้าบางปะกง 01 อนุภาคของแข็งในน้ำมันหล่อลื่น วายร้ายของเครื่องจักร 06 CryoDesalination -ContentsJuly-September 2023


อนุภาคของแข็งในน้ำมันหล่อลื่น วายร้ายของเครื่องจักร ระบบหล่อลื่นที่มีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรม การผลิตต่าง ๆ นั้น การยืดอายุของเครื่องจักรให้ ยาวนาน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งนั่นก็คือ เรื่อง ความสะอาดของระบบหล่อลื่น โดยสามารถตรวจ ติดตามได้จากโปรแกรมการวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่น เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ รูปที่ 1 การติดตามการวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่น การวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่น เป็นการบ่งชี้สมรรถนะและสภาพของ เครื่องจักร โดยการประเมินคุณภาพของน้ำมัน หล่อลื่น จากรายการทดสอบ เช่น การหาค่าความ หนืด สิ่งปนเปื้อน โลหะสึกหรอ และคุณสมบัติทาง เคมีต่าง ๆ ของน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งการตรวจติดตาม คุณสมบัติเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอทำให้สามารถ วางแผนงานบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ก่อนที่จะเกิด ความเสียหายรุนแรงขึ้น รวมถึงช่วยประหยัด ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้ำมันหล่อลื่น และ ความสูญเสียโอกาสจากการหยุดเดินเครื่องจักรอีก ด้วย น้ำมันหล่อลื่นเปรียบเสมือนเลือดที่สูบฉีด ไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักร การวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่นช่วยทำให้เข้าใจสุขภาพ และประสิทธิภาพของน้ำมันหล่อลื่น รวมไปถึง อุปกรณ์ที่ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น การตรวจสอบ คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำมัน ตลอดจนสิ่งปนเปื้อน เศษโ ลหะสึกหรอ การเสื่อมสภาพของสารเติมแต่ง ทำให้ได้ข้อมูล เชิงลึกเพื่อนำไปใช้ประมวลผล ในการบำรุงรักษา เครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น การใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการตรวจ วิเคราะห์ เช่น Spectrometry การหาค่าความ หนืด และการหาจำนวนอนุภาคของแข็ง (Particle Counting) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำมัน เบื้องต้น ทำให้สามารถตรวจพบปัญหาได้ตั้งแต่ ช่วงแรก ๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์น้ำมัน สามารถช่วยบ่งบอกการสึกหรอ การเสื่อมสภาพ ของน้ำมันหล่อลื่น และการมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็น อันตรายซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายของอุปกรณ์ หรือประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรที่ลดลง โดยบทบาทที่สำคัญในการวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่น โดยรวมมี ดังนี้ 1. เพื่อให้ทราบว่าน้ำมันหล่อลื่นยังอยู่ในสภาพที่ พร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อให้ทราบถึงสถานะและสภาพเครื่องจักร - ทราบปัญหาเพื่อแก้ไขเครื่องจักร - ช่วยคาดการณ์ระยะเวลาที่จะเกิดความ เสียหายในระดับรุนแรง - ช่วยประเมินสภาพเครื่องจักรกล ก่อนที่ จะหยุดซ่อมใหญ่ 1


3. สนับสนุนแผนงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของงาน การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 4. สนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ทราบถึง สาเหตุที่แท้จริงของความเสียหาย 5. วางแผนและตัดสินใจซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ได้อย่างเหมาะสม 6. ผลการตรวจและวิเคราะห์ สามารถบ่งชี้ถึง ปัญหาต่าง ๆ ได้ล่วงหน้า 7. ผลการตรวจวิเคราะห์จะสะท้อนถึงสภาพการ ใช้งานของเครื่องจักร 8. สนับสนุนระบบการรับประกันเครื่องจักร รูปที่ 2ตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่น ในบทความนี้ จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของการตรวจวัดอนุภาคของแข็งที่ปะปนอยู่ใน น้ำมัน แม้ว่าอนุภาคจะมีขนาดเล็กเพียงใด ก็ยัง สามารถส่งผลเสียต่อระบบหล่อลื่นของเครื่องจักร ได้ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ ที่สามารถตรวจจับการมีอยู่ของปริมาณอนุภาค (Particle Counting) ที่อยู่ในน้ำมันหล่อลื่น ผลกระทบของอนุภาคที่ปนเปื้อนในน้ำมันหล่อลื่น สิ่งสำคัญประการหนึ่งของการวิเคราะห์ น้ำมันคือการวัดปริมาณอนุภาคที่ปนเปื้อน เนื่องจากแหล่งที่มาของอนุภาคสิ่งปนเปื้อนมาได้ จากหลากหลายที่ รวมถึงการสึกหรอที่เกิดขึ้นเป็น ปกติ การปนเปื้อนจากภายนอก และการสลายตัว ของสารเติมแต่งในน้ำมันหล่อลื่น อนุภาคที่ ปนเปื้อนเข้ามาในน้ำมันหล่อลื่นล้วนแล้วแต่ส่งผล ร้ายแรงกับเครื่องจักรทั้งสิ้น รูปที่ 3ความอันตรายของอนุภาคสิ่งสกปรก เมื่อกล่าวถึงอนุภาคสิ่งสกปรกในน้ำมัน ขนาดของอนุภาคที่ตรวจพบมีความสำคัญ อนุภาค ที่มีขนาดใหญ่จะถูกตรวจจับและกำจัดออกง่ายกว่า อนุภาคขนาดเล็กระดับไมครอนที่เป็นภัยร้ายแรง สร้างความเสียหายกับเครื่องจักรเป็นอย่างมาก นำไปสู่การสึกหรอ และการหยุดเดินเครื่องจักร อย่างกะทันหัน “ รู้หรือไม่ว่า อนุภาคสิ่งสกปรกเพียง 1 กรัม สามารถทำลายพื้นผิวของ เครื่องจักรออกมาได้ 4-10 กรัม แสดง ว่า ถ้าอนุภาคสิ่งสกปรกปริมาณมาก ขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งทำลายพื้นผิว เครื่องจักรมากขึ้น 4-10 เท่าตัว ” 2


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอนุภาคขนาดเล็ก ▪ Abrasive Wear อนุภาคขนาดเล็กในน้ำมันหล่อลื่นสามารถ ทำหน้าที่เป็นสารขัดสี ช่วยเร่งให้อุปกรณ์เกิดการ สึกหรออย่างรวดเร็ว เช่น แบริ่ง เกียร์ และลูกสูบ เมื่ออนุภาคเหล่านี้หมุนเวียนอยู่ภายในเครื่องจักร ระหว่างที่เครื่องจักรเคลื่อนที่ไปนั้น อนุภาคจะ สามารถฝังตัวอยู่บนพื้นผิว เกิดแรงเสียดทาน เพิ่มขึ้น และทำให้พื้นผิวเสียหาย เมื่อเวลาผ่านไป การสึกหรอที่เกิดขึ้นนี้ อาจนำไปสู่การหยุด เดินเครื่อง และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่สูง ▪ Viscosity Loss อนุภาคขนาดเล็กยังส่งผลต่อความหนืด ของน้ำมันหล่อลื่นอีกด้วย ซึ่งความหนืดเป็นตัววัด ความต้านทานต่อการไหลของน้ำมัน และมี ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการหล่อลื่นเครื่องจักร เมื่อ น้ำมันถูกปนเปื้อนด้วยอนุภาคต่าง ๆ โครงสร้าง โมเลกุลของน้ำมันถูกทำลายได้ ทำให้ความหนืด ลดลง และความสามารถของน้ำมันในการทำหน้าที่ เป็นฟิล์มป้องกันการเสียดสีระหว่างพื้นผิวของ เครื่องจักรจะลดลง ทำให้เกิดการสัมผัสระหว่าง พื้นผิวเครื่องจักรมากขึ้น นำไปสู่การสึกหรอตามมา ▪ Clogging and Blockage อนุภาคยังสามารถสะสมในรอยแยกขนาด เล็ก ตัวกรอง และช่องว่างที่อยู่ภายในเครื่องจักร ทำให้เกิดการอุดตัน ซึ่งการอุดตันที่เกิดขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำมัน ทำให้ ประสิทธิภาพการไหลของน้ำมันไปยังส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรลดลง อาจส่งผลให้เกิดความร้อนสูง แรงเสียดทานเพิ่มมากขึ้น ทำให้อุปกรณ์ใน เครื่องจักรทำงานติดขัด การวิเคราะห์ Particle Count ในน้ำมันหล่อลื่น การวิเคราะห์ Particle Count ในน้ำมัน หล่อลื่นอย่างสม่ำเสมอ เป็นส่วนหนึ่งของการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับคุณภาพ น้ำมันหล่อลื่น โดยใช้หลักการวัดความเข้มข้นและ การกระจายขนาดของอนุภาค ทำให้ผู้ดูแล เครื่องจักรสามารถกำหนดระดับความสะอาดของ น้ำมัน และระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยใช้ “Renard series table” Renard series table หรือเรียกอีกชื่อว่า ISO4406:99 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวางใช้ในการจำแนกความสะอาดของ ระบบหล่อลื่น โดยเฉพาะน้ำมันไฮดรอลิค สารหล่อลื่น ที่ต้องการความสะอาดมากเป็นพิเศษ โดยตารางนี้จะจัดหมวดหมู่จำนวนและขนาด อนุภาคในตัวอย่างแต่ละตัวอย่าง ช่วยให้สามารถ วิเคราะห์ระดับการปนเปื้อนได้อย่างสม่ำเสมอ รูปที่ 4 ตัวอย่าง Renard series table 3


นอกจากนี้ ตารางนี้ยังช่วยในการกำหนด เป้าหมายความสะอาด และประเมินประสิทธิภาพ การกรอง และการรักษาความสะอาดของ น้ำมันหล่อลื่นที่เหมาะสมที่สุด เพื่อการทำงานที่มี ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนาน การ วิเคราะห์ Particle count ช่วยสร้างข้อมูลพื้นฐาน ตรวจจับการสึกหรอที่ผิดปกติ และประเมิน ประสิทธิภาพของระบบกรองน้ำมันอีกด้วย รูปที่ 4 Particle count การลดผลกระทบของอนุภาคขนาดเล็ก การกำจัดอนุภาค รวมถึงสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ ในน้ำมันหล่อลื่น คือการจัดการเพื่อลดผลกระทบที่ เป็นอันตรายของอนุภาคในเครื่องจักร โดยเป็น มาตรการเชิงรุก ได้แก่ ระบบการกรองที่มีประสิทธิภาพ การใช้ระบบกรองน้ำมันที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการกรองในระบบ offline และ Inline ต่างก็มี ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำจัดสิ่งปนเปื้อนและ อนุภาค ออกจากน้ำมันหล่อลื่น โดยตัวกรองที่มี ประสิทธิภาพสูงสามารถดักจับอนุภาคตามขนาดที่ กำหนด และช่วยป้องกันไม่ให้อนุภาคหมุนเวียนอยู่ ในเครื่องจักร ระบบกรองที่มีประสิทธิภาพมีบทบาท สำคัญในอุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่น โดยทำหน้าที่ กำจัดสิ่งปนเปื้อนและทำให้มั่นใจว่าน้ำมันหล่อลื่น สะอาดและมีคุณภาพสูง ระบบกรองเหล่านี้จะช่วย ป้องกันการสึกหรอ ลดแรงเสียดทาน และยืดอายุ การใช้งานของอุปกรณ์ในเครื่องจักร ด้วยการกำจัด อนุภาคสิ่งสกปรก และเศษอนุภาคต่าง ๆ ที่มีขนาด เล็กออกจากน้ำมัน ระบบการกรองจะช่วยรักษา ความหนืดในการหล่อลื่นอย่างเหมาะสม ช่วยให้ การทำงานของอุปกรณ์มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันการสะสมของสารปนเปื้อนที่เป็น อันตรายซึ่งอาจทำให้เกิดการกัดกร่อน การอุดตัน หรือการสึกหรอจากการเสียดสีทำให้ระบบมีความ น่าเชื่อถือ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา และลดเวลา การที่เครื่องจักรหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผนให้ น้อยที่สุด ถือเป็นส่วนสำคัญของแนวทางปฏิบัติใน การบำรุงรักษาเชิงรุก เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพ สูงสุดและยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้ ยาวนานที่สุด แนวทางปฏิบัติในการบำรุงรักษา การวิเคราะห์น้ำมัน และการวิเคราะห์ Particle Count เป็นประจำ เป็นการบำรุงรักษา เครื่องจักรที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยการตรวจสอบ ระดับอนุภาคเมื่อเวลาผ่านไป โดยสามารถตรวจจับ แนวโน้มที่ผิดปกติและหาวิธีดำเนินการที่เหมาะสม ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันอย่างทันท่วงที การเปลี่ยนไส้ กรอง การตรวจสอบสาเหตุการปนเปื้อนที่อาจจะ เกิดขึ้นได้ 4


การควบคุมการปนเปื้อน การควบคุมแหล่งที่มาของการปนเปื้อน จากภายนอก เช่น ฝุ่น สิ่งสกปรก และน้ำ ถือเป็น สิ่งสำคัญในการป้องกันอนุภาคเข้าไปในระบบหล่อ ลื่น สามารถทำได้โดย ซีลอุปกรณ์ไม่ให้มีการรั่วซึม ดูแลอุปกรณ์ และรักษาสภาพแวดล้อมการทำงาน ให้สะอาดอยู่เสมอ ในระบบหล่อลื่นเครื่องจักรนั้น อนุภาค ขนาดเล็กสร้างผลกระทบที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ อนุภาคเหล่านี้แม้จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็ สามารถสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ ให้เกิด การสึกหรอเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพลดลง และนำไปสู่ มูลค่าการซ่อมแซมที่มหาศาล จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการ ควบคุมคุณภาพน้ำมันหล่อลื่นให้อยู่ในสภาพที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นการควบคุมความสะอาด ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ Particle Count เป็น แนวทางปฏิบัติในการบำรุงรักษา มาตรการเชิงรุก จากผลกระทบที่เป็นอันตรายของอนุภาคของแข็ง เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าเครื่องจักรมีประสิทธิภาพการ ทำงานที่เหมาะสมที่สุด และอายุการใช้งานที่ ยาวนาน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม กองเคมีวิเคราะห์นั้นได้ให้ความสำคัญ และมีการตรวจวิเคราะห์ในรายการทดสอบหา ปริมาณอนุภาคในน้ำมันหล่อลื่นหรือที่เราเรียกว่า Particle Counter ตาม ASTM D7596 โดยอ้างอิง เกณฑ์ควบคุม ตาม ASTM D4378 และ ASTM D6224 แต่ทั้งนี้การดูแลบำรุงรักษาน้ำมันหล่อลื่น ควรดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพในรายการ พื้นฐานอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้สามารถประเมิน คุณภาพน้ำมันโดยรวมนั้น ๆ ได้ หากท่านใดมีความ ประสงค์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ด้านงานวิเคราะห์ น้ำมันหล่อลื่น สามารถติดต่อได้ที่แผนกวิเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กองเคมีวิเคราะห์ ฝ่ายเคมี โทร. 05-721-6721 เอกสารอ้างอิง 1. Paul Farless, Noria Corporation. The Importance of Oil Analysis and Particle Counting. Machinery Lubrication 2. ASTM D7596-14 Standard Test Method for Automatic Particle Counting and Particle Shape Classification of Oils Using a Direct Imaging Integrated Tester 3. ASTM D4378-22 Standard Practice for InService Monitoring of Mineral Turbine Oil for Steam, Gas, and Combined Cycle Turbines 4. ASTM D6224-22 Standard Practice for InService Monitoring of Lubricating Oil for Auxiliary Power Plant Equipment ผู้เขียนบทความ : นางขนิษฐา คันซอทอง ตำแหน่ง หัวหน้าแผนกวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม แผนกวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กองเคมีวิเคราะห์ฝ่ายเคมี 5


CryoDesalination น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความจำเป็น อย่างมากในการดำรงชีวิต เป็นส่วนประกอบที่มีมาก ที่สุดในร่างกายของมนุษย์ เป็นส่วน ประกอบหลัก ของทั้งพืชบกและพืชน้ำ อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อกระบวนการเคมีของร่างกาย และการลำเลียง สารอาหารต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้น้ำยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การ คมนาคม และการท่องเที่ยว หลากหลายกิจกรรม ล้วนแต่มีน้ำเป็นส่วนสำคัญที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งน้ำ ที่เหมาะสมสำหรับที่จะใช้ในการอุปโภคและบริโภค ทั้งหลายนั้นโ ดยส่ว นมาก คือ “น้ำจืด” (Freshwater) เป็นที่ทราบกันดีว่าในโลกของเราร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดบนโลกประกอบไปด้วยน้ำ ซึ่งกว่า 97.5% เป็นน้ำเกลือ หรือ น้ำทะเล (Saltwater) อีก 2.5% ที่เหลือเป็นน้ำจืดแต่ใน 2.5% ของแหล่งน้ำจืดนี้ยังถูกแบ่งเป็นน้ำแข็งขั้วโลก ซึ่งเหลือเพียงประมาณ 1% เป็นแหล่งน้ำผิวดินตาม แม่น้ำลำคลองต่าง ๆ ที่เราจะสามารถนำมาใช้ ประโยชน์ได้ดังที่กล่าวมาข้างต้น ดังจะเห็นได้ว่าน้ำจืดมีความสำคัญเป็น ปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต มนุษย์ได้เล็งเห็นถึง ความมีจำกัดของทรัพยากรน้ำที่มีคุณค่า และมี แนวความคิดค้นหาวิธีการที่จะทำให้มนุษย์บนโลกมี น้ำใช้เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานอย่างไม่มี ขีดจำกัด จึงได้มีแนวความคิดขึ้นว่าจะมีวิธีการทำ อย่างไรที่สามารถทำน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดได้ เพราะ ด้วยปริมาณมหาศาลของน้ำทะเลบนโลกนับว่า สามารถเพิ่มปริมาณแหล่งน้ำจืดได้อย่างมีนัยสำคัญ หากสามารถนำน้ำทะเลมาผลิตเป็นน้ำจืดได้ เนื่องจากในหลายภูมิภาคทั่วโลกบางประเทศไม่มี แหล่งน้ำจืดที่เพียงพอ บางประเทศห้อมล้อมไปด้วย มหาสมุทร เทคโนโลยีการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล (Desalination) การแยกเกลือออกจากน้ำทะเล เป็น กระบวนการที่นำส่วนประกอบของแร่ธาตุออกจาก น้ำเกลือ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงน้ำทะเล น้ำเกลือถูก แยกเกลือและแร่ธาตุออกเพื่อผลิตน้ำที่เหมาะสม สำหรับการอุปโภคบริโภคของมนุษย์หรือการ ชลประทาน การทำน้ำจืดจากน้ำทะเลนั้นมีหลาย เทคโนโลยีที่เราคุ้นเคยและได้ยินอยู่บ่อยครั้ง ได้แก่ Reverse Osmosis, Thermal Desalination เป็น ต้น แต่นอกเหนือจากวิธีการที่กล่าวมานี้ยังมี กระบวนการที่อาศัยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของ การนำน้ำทะเลมาแยกเกลือออกโดยก าร แช่แข็ง ซึ่งจะได้น้ำแข็งที่มีแร่ธาตุหลงเหลืออยู่ ปริมาณน้อยและทำให้ละลายได้เป็นน้ำจืดเพื่อ นำมาใช้บริโภคได้ต่อไป เรียกวิธีการนั้นว่า CryoDesalination บ้างก็เรียกว่ากระบวนการ Freeze Desalination ห ร ื อ Freezing-melting Process 6


ความเป็นมาของ Freeze Desalination ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2493 ได้เริ่มมีการนำ น้ำเกลือหรือน้ำทะเลมาผ่านการระเหย (Evaporation) และ การควบแน่น (Condensation) ซึ่ง สามารถผลิตได้เป็นน้ำจืดและได้อีกส่วนเป็น น้ำเกลือเข้มข้นหรือเรียกว่า “Concentrated brine” น้ำเกลือเข้มข้นส่วนนี้ถูกนำกลับคืนสู่ท้อง ทะเลหรือมหาสมุทรต่อไป ต่อมาช่วงต้นปีพ.ศ. 2498 ได้นำกระบวน การ CryoDesalination มาใช้ในการแยกเกลือออก จากน้ำทะเล มีหน่วยการผลิตเกิดขึ้นในระดับการ ทดลอง (Pilot Plant) หลายหน่วย ซึ่ง Pilot Plant ตัวอย่างที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จนั้นอยู่ที่เมือง Wrightsville Beach, North Carolina ประ เ ท ศ สหรัฐอเมริกา Pilot Plant นี้สามารถจ่ายน้ำให้กับ เมือง Wrightsville Beach ด้วยกำลังการผลิต 15,000 GPD หรือประมาณ 2.37 m3 /hr แต่เนื่อง ด้วยปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตบางส่วนจึงทำ ให้ Pilot Plant นี้ดำเนินการผลิตได้เพียง 2 ปี ไม่ สามารถไปต่อได้ในระดับ Full-scale plant ซึ่ง การศึกษาเรื่อง CryoDesalination นั้นมีหลาย ประเทศให้ความสนใจและปัจจุบันได้มีการถูกจด สิทธิบัตรไปบ้างแล้ว ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และยังมีบางประเทศที่อยู่ใน ระหว่างรอขึ้นทะเบียนจดสิทธิบัตรอย่าง แคนาดา และเม็กซิโก เป็นต้น รูปที่ 1 Pilot Plant located near Houston, Texas, USA CryoDesalination คืออะไร? CryoDesalination อาศัยปรากฏก ารณ์ ธรรมชาติเมื่อน้ำเกลือถูกแช่แข็ง (Freezing) จะให้ ผลลัพธ์เป็น Salt-free ice แยกชั้นกับน้ำเกลือเข้มข้น โดยเมื่อนำน้ำแข็งมาละลายจะได้น้ำจืด หรือ Freshwater เป็นผลผลิตจากกระบวนการ ดังนั้นอาจกล่าว ได้ว่า CryoDesalination ประกอบด้วยกระบวนการ หลัก ๆ 2 ขั้นตอน คือ 1. Freeze desalination process 2. Ice-brine separation method อธิบายกระบวนการ แสดงดังแผนภาพ รูปที่ 2 แผนภาพกระบวนการ CryoDesalination 7


ข้อดีของกระบวนการ CryoDesalination จากบทความที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการ CryoDesalination ได้แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่เป็น ด้านดีหลายด้าน ได้แก่ • เป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน • ไม่มีข้อจำกัดเรื่องความเข้มข้นของเกลือทั้ง ด้านน้ำป้อนและน้ำปล่อยทิ้ง • สภาวะการกัดกร่อนในระบบน้อย • เป็นระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • ค่าใช้จ่ายในด้านการลงทุนและค่า บำรุงรักษาไม่สูง องค์ประกอบสำคัญในกระบวนการ ตามที่ได้กล่าวดังข้างต้นกระบวนการ CryoDesalination นั้นคือ Freeze Desalination และ Separation process ดังนั้นองค์ประกอบที่ สำคัญต่อกระบวนการเพื่อใช้ในขั้นตอนการ Freezing และ Separation ก็คือ Coolant และ สารที่ชื่อว่า Cryosol เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่าง ง่ายผู้เขียนจึงขออธิบายหน้าที่ของสารทั้ง 2 ดังนี้ “Coolant” หรือ Refrigerant คือ สาร ทำความเย็นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้น้ำเกลือฟอร์มตัว เป็นผลึกน้ำแข็งได้เป็น salt-free ice ลอยอยู่ ในชั้นของน้ำเกลือเข้มข้น สารทำความเย็นที่มัก ถูกนำมาใช้ในกระบวนการได้แก่ Propane และ Butane นอกจากนี้ Coolant ที่ใช ้ใน กระบวนการนั้นก็ยังสามารถนำมาหมุนเวียน กลับมาใช้ใหม่ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “No Chemical required” รูปที่ 3 การใช้สารทำความเย็นในลักษณะการสัมผัส โดยตรงทำให้เกิดการฟอร์มตัวเป็นน้ำแข็ง “Cryosol” เป็นสารที่ไม่ละลายรวมกับน้ำ และเป็น Food grade oil ทำหน้าที่พยุงน้ำแข็งเป็น ส่วนสำคัญที่ช่วยให้ชั้นน้ำแข็งแยกออกจากชั้น น้ำเกลือเข้มข้นเพื่อนำไปเข้าสู่ขั้นตอนการแยก น้ำแข็งในกระบวนการถัดไปได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รูปที่ 4 การแยกชั้นของน้ำแข็งและน้ำเกลือเข้มข้น กระบวนการ CryoDesalination เป็นอย่างไร? กระบวนการ CryoDesalination พื้นฐาน นั้นสามารถอธิบายเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย Process Flow Schematic โดยเส้นต่าง ๆ แสดง รายละเอียดดังนี้ 8


รูปที่ 5 กระบวนการ CryoDesalination จากแผนภาพอธิบายได้ว่าสารละลายเกลือ หรือน้ำทะเลถูกนำมาแลกเปลี่ยนความร้อนกับ Freshwater ท ี ่ เ ป ็ น Outgoing product จ า ก กระบวนการเพื่อลดอุณหภูมิก่อนที่น้ำทะเลจะเข้าสู่ Crystallizer ซึ่งเป็นส่วนที่เกิดขั้นตอนการผสม ระหว่าง liquid propane กับน้ำทะเลและมีการ ฟอร์มตัวของน้ำแข็งเกิดขึ้นโดยที่ liquid propane ก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นไอและออกไปเข้าสู่ กระบวนการบีบอัดความดัน (Compressed) และ กลั่นตัว (Condensed) กลับสู่สถานะของเหลวเพื่อ นำมาหมุนเวียนใช้ในกระบวนการต่อไป น้ำแข็ง (Ice) และน้ำเกลือเข้มข้น (Brine) ที่ออกจาก Crystallizer จะมีลักษณะเป็น “Slurry” หรือ Ice-brine slurry โดย Cryosol จะถูกนำมาใช้ ในระบบเพื่อทำหน้าที่พยุง slurry เตรียมนำไปแยก ที่ Separation Column ในขั้นตอนถัดไป สาร cryosol สามารถแยกระหว่างน้ำแข็งและน้ำเกลือ เข้มข้นได้ทั้งนี้อาศัยหลักการความแตกต่างของ ความหนาแน่น จากแผนภาพจะเห็นได้ว่าน้ำเกลือ เข้มข้นจะถูกปล่อยออกที่ด้านล่างของ separation column น้ำแข็งและ cryosol ถูกแยกออกไปทาง ด้านบนผ่านเข้าสู่ Propane Condenser/ Ice Melter ซึ่งบริเวณนี้จะมีน้ำแข็งที่ละลายโดยมี cryosol พยุงไว้ cryosol มีคุณสมบัติไม่ละลายรวม กับน้ำและถูกนำไปแยกออกที่ decanter และ cryosol ที่แยกออกมาถูกนำกลับเข้าถังเก็บสามารถ นำกลับไปใช้ได้ใหม่ ในส่วนของน้ำจืดที่ผลิตได้จะถูก นำไปปรับปรุงคุณภาพเพิ่มเติม เช่น ผ่าน Activated carbon, polishing cartridge เ พื่ อ นำไปใช้งานต่อไป LNG Process and Win-Win situation ถึงแม้ว่ากระบวนการ CryoDesalination นั้น เป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องใช้ สารเคมีสิ้นเปลือง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ ในขั้นตอนการทำความเย็นนั้นต้องใช้พลังงานจาก สารทำความเย็นเพื่อทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็น น้ำแข็ง ซึ่งมีหลายบทความได้กล่าวถึงกระบวนการ ที่จะสามารถเกื้อหนุนกันได้นั่นคือ LNG Vaporizers Process หรือ Gasification Process 9


รูปที่ 6 Combined CryoDesalination with LNG Unit ใ น ก ร ะ บ ว น ก า ร LNG Vaporizers Process มีพลังงานส่วนหนึ่งไม่ได้ถูกนำไปใช้ ประโยชน์ ซึ่งคือ ขั้นตอน LNG Re-gasification พบว่าพลังงานความเย็น (Cold Energy) จำนวน มหาศาลนั้นสูญเสียทิ้งออกไปจากระบบ พลังงานใน ส่วนนี้สามารถนำมาใช้ร่วมกับ CryoDesalination Process ได้ในขั้นตอนของการนำสารทำความเย็น กลับมาใช้งานใหม่ ซึ่งเป็นการได้ประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าทั้งในเรื่องของพลังงานและต้นทุนการ ดำเนินการ เราเรียกสถานการณ์นี้ว่า “Win-Win” โดยการ combined ทั้งในส่วนของ CryoDesalination Plant และLNG-Regasification Plant เข้ า ด้วยกันนั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายการลงทุนสำหรับ CryoDesalination Plant ลดลงได้เนื่องด้วยลด กระบวนการในส่วนของระบบบีบอัดความดันซึ่ง เป็นส่วนที่ค่าใช้จ่ายและการลงทุนสูงที่สุดใน กระบวนการ จากการรวมหน่วยการผลิตทั้งสอง หน่วยนั้นผลที่ได้คือกระบวนการไม่ยุ่งยากซับซ้อน การลงทุนไม่สูง ค่าบำรุงรักษาต่ำ และใช้แรงงานคน น้อย รูปที่ 7 Combined CryoDesalination with LNG Process CryoDesalination VS Other Process ได้มีการเปรียบเทียบกระบวนการ DeSalination แบบต่างๆ ถึงคุณสมบัติเด่นทั้งในด้าน กระบวนการ และการลงทุน โดยได้กล่าวถึงและสรุป ได้ดังนี้ • CryoDesalination ไม่ต้องการ Pressure สูงในการ Operate • ไม่ต้องใช้สารเคมีสิ้นเปลือง • การลงทุนไม่สูง • ค่าใช้จ่ายการลงทุนลดลงเมื่อ Plant Capacity ม ี ข น า ด ใ ห ญ ่ ข ึ ้ น โ ด ย เ มื่ อ เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายการลงทุนของ RO Plant • ไม่มีข้อจำกัดเรื่องของขนาดอุปกรณ์ใน ขณะที่ RO Plant ต้องการ vessels และ ท่อเพิ่มจำนวนตามขนาด plant ที่ใหญ่ขึ้น • การซ่อมบำรุงต่ำและใช้แรงงานคนในการ ปฏิบัติการน้อย • carbon footprint น้อยมากเมื่อเทียบกับ Thermal Desalination Plant และ RO Plant 10


• Thermal Desalination Plant ต้อ ง ใ ช้ ปริมาณ boiler water มากกว่าถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับพลังงานของการ Freezing • Thermal Desalination Plant จ ำ เ ป็ น ต้องเลือกใช้ alloys เฉพาะพิเศษเพื่อ ควบคุมในเรื่องของการกัดกร่อน บทสรุป CryoDesalination เป็นกระบวนการ แยกเกลือออกจากน้ำรูปแบบหนึ่งซึ่งอาศัยหลักการ จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของการแช่แข็งหรือ Freezing เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจจาก หลายๆประเทศและมีการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก CryoDesalination มีข้อดีหลายด้านและ เป็น Green Technology ที่น่าสนใจ การผลิตน้ำด้วยเทคโนโลยี CryoDesalination สามารถเป็นทางเลือกหนึ่งในกรณีที่เรามี แหล่งน้ำที่มีความเข้มข้นของเกลือสูง เช่น น้ำทะเล หรือน้ำกร่อย อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีนี้ยังไม่เป็นที่ แพร่หลายนักในประเทศไทยแต่ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่เราจะมองเห็นถึงความเป็นไปได้และอาจมีการ พัฒนาในอนาคตเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรม หรือ โรงไฟฟ้าต่าง ๆ ต่อไป เอกสารอ้างอิง 1) https://www.nectec.or.th/schoolnet/libr ary/create-web/10000/science/10000- 82.html 2) http://division.dwr.go.th/bwm/index.php /2019-12-17-06-02-42/2020-05-01-10-41- 19/59-2020-09-11-09-23-38 3) https://www.usbr.gov/research/dwpr/rep ortpdfs/report005.pdf 4) The Office of Saline (OSW) R&D Report No.416 – “Secondary Refrigerant Freezing Desalting Process” 5) http://cryodesalination.com/ ผู้เขียนบทความ : นางสาวสาลินี พรหมประยูร ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ ระดับ 7 แผนกตรวจประเมินงานเคมี กองเคมีคุณภาพ ฝ่ายเคมี 11


อัปเดตระเบียบ กฟผ. ที่ 497 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเคมีภัณฑ์ ตามที่ กฟผ. มีสัญญาการบริการในงาน เดินเครื่องและบำรุงรักษาระยะยาว Operation and Maintenance Agreement (OMA) แ ล ะ Power Plant Chemistry Service ให้กับโรงไฟฟ้า ทั้งภายใน กฟผ. และโรงไฟฟ้าเอกชน ซึ่งตาม สัญญาดังกล่าว ฝ่ายเคมีเป็นผู้ให้บริการด้าน เคมีภัณฑ์ที่ใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำในกระบวนการ ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีแผนกบริหารเคมีภัณฑ์ กองเคมีภัณฑ์ ฝ่ายเคมี เป็นผู้รับผิดชอบในการ จัดหาเคมีภัณฑ์ที่มีคุณภาพให้ทันต่อความต้องการ ใช้งานของโรงไฟฟ้า ซึ่งการจัดหาและดำเนินการ เบิกซื้อเคมีภัณฑ์ จะจัดซื้อภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 และ การจัดซื้อจัดจ้างที่ เกี่ยวกับพาณิชย์โดยตรง โดยมีข้อกำหนด และ ระเบียบของ กฟผ. ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 389 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ บริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง และ ระเบียบ กฟผ. ฉบับที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อจัด จ้าง และบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง สำหรับในฉบับนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ ระเบียบ กฟผ. ที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ซึ่ง จัดเป็นระเบียบที่อัปเดตใหม่ล่าสุด ที่ใช้บังคับเมื่อ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566 ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดซื้อเคมีภัณฑ์ของฝ่ายเคมี โดยมีการ ยกเลิกระเบียบ กฟผ. ฉบับที่ 356 ว่าด้วยการ จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการ พาณิชย์โดยตรง และที่แก้ไขเพิ่มเติม ความเป็นมาของการแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบ กฟผ. ที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อจัด จ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ โดยตรง มีการปรับปรุงแก้ไขจากระเบียบ กฟผ. ที่ 356 เพื่อให้ระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับพาณิชย์โดยตรง มีความ คล่องตัว และยกระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งาน โดย รองผู้ว่าการบริหาร (รวห.) ได้แต่งตั้ง “คณะทำงานปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง” เพื่อ ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติ โดยคณะทำงานฯ ได้ รวบรวมความเห็นจากทุกสายงานเพื่อนำมา พิจารณาปรับปรุงระเบียบปฏิบัติ สาระสำคัญที่แก้ไขเพิ่มเติม 1. ตัดข้อความที่กำหนดเกี่ยวกับการจัดซื้อจัด จ้างและบริหารเชื้อเพลิง เนื่องจากมีการ กำหนดระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและการ บริหารเชื้อเพลิงไว้เป็นการเฉพาะ 2. ขยายวงเงินผู้มีอำนาจอนุมัติแต่งตั้ง คณะกรรมการกำหนดราคากลาง 2.1 ผู้อำนวยการฝ่าย สำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง ที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 200 ล้านบาท (เดิม ไม่เกิน 100 ล้านบาท) 12


2.2 ผู้ช่วยผู้ว่าการ สำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง ที่มีราคาครั้งละเกิน 200 ล้านบาท (เดิม เกิน 100 ล้านบาท) 3. ปรับปรุงขั้นตอนการขออนุมัติราคากลาง ให้เสนอขออนุมัติพร้อมกับขั้นตอนการขอ ความเห็นชอบบันทึกการขอซื้อหรือขอจ้าง เพื่อให้เกิดความคล่องตัว 4. ขยายวงเงินผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบบันทึก การขอซื้อหรือการขอจ้างของหน่วยงาน ผู้ใช้งาน 4.1 ผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป สำหรับการจัดซื้อ จัดจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 100 ล้าน บาท (เดิม ไม่เกิน 50 ล้านบาท) 4.2 ผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไป สำหรับการจัดซื้อ จัดจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 200 ล้าน บาท (เดิม ไม่เกิน 100 ล้านบาท) 4.3 รองผู้ว่าการขึ้นไป สำหรับการจัดซื้อ จัดจ้างที่มีราคาครั้งละเกิน 200 ล้านบาท (เดิม เกิน 100 ล้านบาท) 5. ลดระยะเวลาการคำนวณราคาของผู้ประสงค์ จะเข้าเสนอราคาหลังปิดการให้หรือการขาย เอกสารประกวดราคาจนถึงก่อนวันรับซอง ประกวดราคา เป็นไม่น้อยกว่า 3 วัน (เดิม ไม่น้อยกว่า 7 วัน) 6. แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของคณะกรรมการ พิจารณาผลการสอบราคา คณะกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคา คณะกรรมการ จ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกหรือผู้ที่ทำหน้าที่ จ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ดังนี้ - ยกเลิกการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอ ราคา (รายชื่อผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่) 2 ระดับชั้น โดยให้ตรวจสอบเพียงชั้นเดียว ทั้งทางตรงและทางอ้อม - ยกเลิกการแจ้งผู้เสนอราคาที่ถูกตัดรายชื่อ เนื่องจากการมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือ การกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขัน ราคาอย่างเป็นธรรม ทำให้ลดขั้นตอน การอุทธรณ์ในขั้นตอนนี้ 7. ขยายวงเงินผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและ แต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง หรือ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง ในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น ดังนี้ 7.1 ผู้อำนวยการฝ่าย สำหรับการซื้อหรือ การจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 5 แสน บาท (เดิม ไม่เกิน 1 แสนบาท) 7.2 ผู้ช่วยผู้ว่าการ สำหรับการซื้อหรือการจ้าง ที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 7 แสนบาท (เดิม ไม่เกิน 2 แสนบาท) 8. ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างมี อำนาจสั่งยกเว้นเงื่อนไขการจะเรียกค่าเสียหาย และหรือค่าปรับกรณีส่งมอบล่าช้า สำหรับ การซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษจากบริษัทในเครือ กฟผ. ที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 5 ล้านบาท 9. ให้รองผู้ว่าการมีอำนาจประกาศผลการจัดซื้อ จัดจ้างโดยไม่ประกาศราคากรณีส่งผลกระทบ ต่อการแข่งขันในเชิงธุรกิจ 13


10. กรณีจัดซื้อจัดจ้างตามภารกิจของ PMO หรือ Project Management Office ให้ผู้มีอำนาจ อนุมัติการซื้อหรือการจ้างมีอำนาจกำหนด เงื่อนไขการปรับและการวางหลักประกัน สัญญานอกเหนือจากอัตราที่กำหนดใน ระเบียบ และมีอำนาจยกเว้นเงื่อนไขการปรับ และหรือการวางหลักประกันสัญญาสำหรับ สัญญาที่ กฟผ. จำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข สัญญาของผู้จำหน่าย ผู้ผลิต หรือผู้ให้บริการ หรือพิจารณาแล้วว่าจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ. และ ให้ผู้ช่วยผู้ว่าการมีอำนาจอนุมัติการ จ่ายเงินล่วงหน้านอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่ กำหนด 11. ให้คณะกรรมการตรวจรับหรือผู้ตรวจรับ มี หน้าที่ ดังนี้ 11.1จัดทำ “หนังสือแจ้งการเรียกค่าปรับ” และ “หนังสือแจ้งผู้ค้ำประกันกรณีลูกหนี้ ผิดนัด” เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุหรือ งานจ้างตามสัญญาแล้ว แต่ กฟผ. ยังไม่ได้ รับมอบ 11.2จัดทำ “หนังสือแจ้งสงวนสิทธิ์การเรียก ค่าปรับตามสัญญา” กรณีคู่สัญญาส่งมอบ พัสดุล่าช้ากว่ากำหนด 11.3คำนวณค่าปรับ กรณีส่งมอบล่าช้า และส่ง ให้หน่วยงานบัญชีเพื่อสอบทานการคำนวณ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเคมีภัณฑ์ ระเบียบ กฟผ. ที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อจัด จ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ โดยตรง มีการแยกเป็นหมวดทั้งสิ้น ๓๒ หมวด ดังนี้ หมวด ๑ ข้อกำหนดทั่วไป หมวด ๒ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและ ผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต หมวด ๓ ราคากลาง หมวด ๔ การคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของ ผู้ประกอบการหรือพัสดุ (Pre-Qualification : PQ) หมวด ๕ การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง หมวด ๖ การจัดทำบันทึกรายงานผลการพิจารณา หมวด ๗ การจัดซื้อหรือการจ้าง หมวด ๘ การจ้างที่ปรึกษา หมวด ๙ การจัดซื้อที่ดิน หมวด ๑๐ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ การเช่า สังหาริมทรัพย์ การเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์และลีสซิ่ง (Leasing) หมวด ๑๑ การประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง และ การประเมินและเปิดเผยสัมฤทธิ์ หมวด ๑๒ การอุทธรณ์ หมวด ๑๓ หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับ และ ผู้ควบคุมงาน หมวด ๑๔ การยกเลิกการสนองรับราคา หมวด ๑๕ คณะกรรมการบริหารสัญญา หมวด ๑๖ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา 14


หมวด ๑๗ การแจ้งการเรียกค่าปรับและการแจ้ง สงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับตามสัญญา หมวด ๑๘ การปรับกรณีส่งมอบล่าช้า หมวด ๑๙ อำนาจอนุมัติการงดหรือลดค่าปรับ หมวด ๒๐ การบอกเลิกสัญญา หมวด ๒๑ การรับ การคืน หลักประกันการเสนอ ราคาและหลักประกันสัญญา หมวด ๒๒ การควบคุมพัสดุ หมวด ๒๓ การจำหน่ายพัสดุ หมวด ๒๔ การขายพัสดุพร้อมให้บริการ หมวด ๒๕ การดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุคงเหลือจาก งานโครงการ หมวด ๒๖ การจำหน่ายที่ดิน หมวด ๒๗ การจ้างงานก่อสร้างโดยให้ผู้รับจ้าง ก่อสร้างรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเดิมและรับซื้อพัสดุที่ รื้อถอน หมวด ๒๘ การจ้างซ่อมทรัพย์สินที่มีความ จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่หรือชิ้นส่วนหรือการซื้อ ครุภัณฑ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ทดแทนของเดิม หมวด ๒๙ การให้หน่วยงานภายนอกยืมพัสดุ หมวด ๓๐ การยืมพัสดุจากหน่วยงานภายนอก หมวด ๓๑ การลงโทษผู้ทิ้งงาน หมวด ๓๒ การบริหารสัญญาการซื้อไฟฟ้า โดยระเบียบ กฟผ. ที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อจัด จ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ โดยตรง มี 2 หมวด ที่เกี่ยวข้องกับบันทึกเบิกซื้อ คือ 1. บันทึกกำหนดราคากลาง อ้างอิงระเบียบ กฟผ. ที่ 497 หมวด ๓ ข้อ ๑๒ (๔) แทน ระเบียบ กฟผ. ที่ 356 หมวด ๓ ข้อ ๘ (๔) รูปที่ 1 บันทึกกำหนดราคากลาง 2. บันทึกเบิกซื้อเคมีภัณฑ์ ส่ง กจฟธ. อ้างอิง ระเบียบ กฟผ. ที่ 497 หมวด ๗ ข้อ ๒๓ แทน ระเบียบ กฟผ. ที่ 356 หมวด ๖ ข้อ ๑๙ รูปที่ 2 บันทึกเบิกซื้อเคมีภัณฑ์ 15


หมวด ๓ ราคากลาง การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบนี้ ให้มีการ จัดทำราคากลางและเผยแพร่ไว้ในระบบเครือข่าย สารสนเทศของ กฟผ. และของกรมบัญชีกลางด้วย การจัดซื้อจัดจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 50 ล้านบาทให้หน่วยงานผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนดราคา กลาง ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างที่มีราคาครั้งละเกิน 50 ล้านบาท ให้มีคณะกรรมการกำหนดราคากลาง และ เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนด ราคากลาง ดังนี้ - ราคาครั้งละไม่เกิน 200 ล้านบาท อนุมัติโดย ผู้อำนวยการฝ่าย (เดิม ไม่เกิน 100 ล้าน) - ราคาครั้งละเกิน 200 ล้านบาท อนุมัติโดย ผู้ช่วยผู้ว่าการ (เดิม เกิน 100 ล้าน) ตารางที่ 1 ผู้มีอำนาจอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้าง องค์ประกอบของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง - คณะกรรมการกำหนดราคากลางจะต้องมี จำนวนอย่างน้อย 3 คน - คณะกรรมการกำหนดราคากลาง ให้มี ผู้ปฏิบัติงานระดับ 8 ขึ้นไปอย่างน้อย 1 คน - คณะกรรมการกำหนดราคากลางจะต้องมี จำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ ที่ได้แต่งตั้งไว้ จึงจะดำเนินการตามที่กำหนด ไว้ได้ หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของ กฟผ. เป็นสำคัญ 1. ราคาตามหลักเกณฑ์ที่รองผู้ว่าการประกาศกำหนด 2. ราคาตามมาตรฐานที่สำนักงบประมาณกำหนด 3. ราคาตามที่หน่วยงานกลางอื่นกำหนด 4. ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด 5. ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะ เวลา 2 ปีงบประมาณ หน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง 1. คำนวณราคากลางงานซื้อหรืองานจ้างหรืองาน จ้างที่ปรึกษา ตามเอกสารกำหนดขอบเขตของ งาน (Terms of Reference : TOR) และตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนด แล้วเสนอขออนุมัติราคา กลางไปพร้อมกับขั้นตอนขอผู้มีอำนาจอนุมัติให้ ความเห็นชอบบันทึกการขอซื้อหรือการขอจ้าง และสำเนาให้ผู้มีอำนาจอนุมัติแต่งตั้ง คณะกรรมการกำหนดราคากลางเพื่อทราบ ก่อน ส่งหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างดำเนินการต่อไป 2. ชี้แจงกรณีที่ผลการจัดซื้อจัดจ้างมีราคาแตกต่าง จากราคากลางตั้งแต่ร้อยละ 15 ขึ้นไป ให้ คณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้าง ทราบ โดยใช้ราคากลางเป็นฐานการคำนวณ 3. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อคำนวณราคากลางได้ ตามที่เห็นสมควร ต ำแหน่ง วงเงิน (บำท) ผู้อ ำนวยกำรฝ่ำย ไม่เกิน 200 ล้ำนบำท (เดิม 100 ล้ำนบำท) ผู้ช่วยผู้ว่ำกำร เกิน 200 ล้ำนบำท (เดิม 100 ล้ำนบำท) 16


หมวด ๗ การซื้อหรือการจ้าง การขอซื้อหรือการขอจ้างให้หน่วยงาน ผู้ใช้งานดำเนินการจัดทำบันทึกการขอซื้อ หรือ การขอจ้าง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง 2.ขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณ ลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือแบบรูปรายการ งานก่อสร้างที่จะซื้อหรือจ้าง แล้วแต่กรณี 3.ราคากลางของพัสดุที่จะจัดซื้อหรืองานจ้าง (ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) 4.วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงิน งบประมาณที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น (ที่ รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) ถ้าไม่มีวงเงิน ดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อ หรือจ้างในครั้งนั้น 5.กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้ งานนั้นแล้วเสร็จ 6.วิธีที่จะซื้อหรือจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือ จ้างโดยวิธีนั้น 7. หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอตาม ข้อ ๓๕ ตามระเบียบ กฟผ. ที่ 497 8.ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) กรณีการขอซื้อหรือการขอจ้างที่มีวงเงินไม่ เกิน 500,000 บาท จะกำหนดรายละเอียดใน การขอซื้อหรือการขอจ้างเฉพาะรายการที่ กำหนดใน 1., 2., 3., และ 4. ก็ได้ ข้อ ๓๕ ตามระเบียบ กฟผ. ที่ 497 ที่กล่าวถึง ข้างต้นนั้น มีรายละเอียดการพิจารณาคัดเลือก ข้อเสนอโดยวิธีประกวดราคา สอบราคา หรือ การเสนอราคาที่มีผู้เข้าร่วมเสนอราคาตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ให้ดำเนินการโดยพิจารณาถึง ประโยชน์ของ กฟผ. และวัตถุประสงค์ของการ ใช้งานเป็นสำคัญ โดยให้คำนึงถึงเกณฑ์ราคา และพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วย ดังต่อไปนี้ (1) ประสิทธิภาพและอายุการใช้งาน (2) ต้นทุนราคาพัสดุและค่าใช้จ่ายที่สำคัญตลอด อายุการใช้งาน (3) ค่าความสูญเสียพลังงานไฟฟ้า (4) มาตรฐานของสินค้าหรือบริการ (5) บริการหลังการขาย (6) พัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (7) การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เสนอราคา (8) ข้อเสนอด้านเทคนิคหรือข้อเสนออื่นในกรณีที่ กำหนดให้มีการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคหรือ ข้อเสนออื่นก่อนตามวรรคท้าย (9) เกณฑ์อื่นตามที่รองผู้ว่าการกำหนด การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ กรณีใช้เกณฑ์ ราคา ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้ที่เสนอราคา เปรียบเทียบต่ำสุดโดยพิจารณาราคาที่เสนอ ประกอบกับราคาที่คำนวณได้จากเกณฑ์อื่น ๆ ข้างต้น ในกรณีที่ไม่อาจกำหนดราคาที่คำนวณ ได้จากเกณฑ์อื่นประกอบให้ใช้ราคาที่เสนอใน การพิจารณาคัดเลือก 17


กรณีใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น ให้ เลือกใช้อย่างน้อยเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งหรือหลาย เกณฑ์ข้างต้นได้ ประกอบกับเกณฑ์ราคา และ ต้องกำหนดน้ำหนักของแต่ละเกณฑ์ให้ชัดเจน รวมทั้งการให้คะแนนพร้อมด้วยเหตุผลของ การให้คะแนนในแต่ละเกณฑ์ เมื่อพิจารณา เลือกข้อเสนอประกอบกับเกณฑ์ที่ใช้ในการ พิจารณาแล้ว การพิจารณาเลือกข้อเสนอให้ จัดเรียงลำดับตามคะแนน ข้อเสนอใดที่มี คะแนนสูงสุดให้ซื้อหรือจ้างกับผู้เสนอรายนั้น ทั้งนี้ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างประกาศเกณฑ์ที่ ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกและน้ำหนักของแต่ ละเกณฑ์ไว้ในเอกสารสอบราคาหรือเอกสาร ประกวดราคา แล้วแต่กรณีด้วย อำนาจอนุมัติการเบิกซื้อหรือขอจ้าง 1. หัวหน้าแผนกขึ้นไปของหน่วยงานผู้ใช้งาน ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 5,000,000 บาท 2. หัวหน้ากองขึ้นไปของหน่วยงานผู้ใช้งาน ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 20,000,000 บาท 3.ผู้อำนวยการฝ่ายของหน่วยงานผู้ใช้งาน ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 100,000,000 บาท (เดิม ครั้งละไม่เกิน 50,000,000 บาท) 4.ผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไป ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 200,000,000 บาท (เดิม ครั้งละไม่เกิน 100,000,000 บาท) 5.รองผู้ว่าการขึ้นไป ภายในวงเงินครั้งละเกิน 200,000,000 บาท (เดิม ครั้งละเกิน 100,000,000 บาท) ตารางที่ 2อำนาจอนุมัติการเบิกซื้อหรือขอจ้าง กรณีการซื้อการจ้างโดยวิธีพิเศษซึ่งมีวงเงิน เกิน 500,000 บาท จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ผู้มีอำนาจในข้อ 3., 4., 5. แล้วแต่กรณี และเมื่อ ได้รับอนุมัติการซื้อหรือการจ้างแล้ว ให้ส่งหน่วยงาน จัดหาดำเนินการต่อไป การซื้อหรือการจ้างในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น การซื้อหรือการจ้างในกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจ ดำเนินการตามปกติได้ทัน หากล่าช้าจะเกิดความ เสียหายแก่งาน ถ้าการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้นมีราคา ครั้งละไม่เกิน 1,000,000 บาท ให้หน่วยงานผู้ใช้งาน หรือหน่วยงานจัดหาหรือผู้ปฏิบัติงานที่มีความ จำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวดำเนินการซื้อหรือจ้างไปก่อน ได้ แล้วรีบจัดทำรายงานการซื้อหรือการจ้างกรณี จำเป็นเร่งด่วนเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาให้ ความเห็นชอบและตั้งผู้ตรวจรับพัสดุหรือผู้ตรวจรับ งานจ้าง (ถ้าตรวจรับได้) 1. หัวหน้ากองขึ้นไปของหน่วยงานผู้ใช้งาน ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท 2.ผู้อำนวยการฝ่ายของหน่วยงานผู้ใช้งาน ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 500,000 บาท (เดิม ครั้งละไม่เกิน 100,000 บาท) ต ำแหน่ง วงเงิน (บำท) หัวหน้ำแผนก ไม่เกิน 5 ล้ำนบำท หัวหน้ำกอง ไม่เกิน 20 ล้ำนบำท ผู้อ ำนวยกำรฝ่ำย ไม่เกิน 100 ล้ำนบำท (เดิม 50 ล้ำนบำท) ผู้ช่วยผู้ว่ำกำร ไม่เกิน 200 ล้ำนบำท (เดิม 100 ล้ำนบำท) รองผู้ว่ำกำร เกิน 200 ล้ำนบำท (เดิม 100 ล้ำนบำท) 18


3.ผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไป ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 700,000 บาท (เดิม ครั้งละไม่เกิน 200,000 บาท) 4.รองผู้ว่าการขึ้นไป ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 1,000,000 บาท ตารางที่ 3 การซื้อหรือการจ้างในกรณีฉุกเฉินจำเป็น ซึ่งในการทำบันทึกสำหรับการจัดซื้อ เคมีภัณฑ์ของแผนกบริหารเคมีภัณฑ์ กองเคมีภัณฑ์ ฝ่ายเคมีเพื่อดำเนินการเบิกซื้อเคมีภัณฑ์ให้แก่ โรงไฟฟ้า มีทั้งสิ้น 4 ฉบับ คือ 1. บันทึกเบิกซื้อเคมีภัณฑ์ 2. บันทึกขออนุมัติซื้อเคมีภัณฑ์ 3. บันทึกกำหนดราคากลาง 4. บันทึกเบิกซื้อเคมีภัณฑ์ ส่ง กจฟธ. โดยมี 2 บันทึก คือ บันทึกกำหนดราคากลาง และบันทึกเบิกซื้อเคมีภัณฑ์ ส่ง กจฟธ. ตามที่กล่าวมา ข้างต้น ที่อ้างอิงกับระเบียบ กฟผ. ที่ 497 จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า ระเบียบ กฟผ. ที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่ เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ฉบับล่าสุดนั้น มีการ เปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานการจัดหา เคมีภัณฑ์ของแผนกบริหารเคมีภัณฑ์ กองเคมีภัณฑ์ ฝ่ายเคมี ดังนี้ ตารางที่ 4 การเปลี่ยนแปลงขยายวงเงินผู้มีอำนาจ อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ตารางที่ 5 การเปลี่ยนแปลงขยายวงเงินผู้มีอำนาจ ให้ความเห็นชอบบันทึกการขอซื้อหรือการขอจ้าง ตารางที่ 6 การเปลี่ยนแปลงขยายวงเงินผู้มีอำนาจ ให้ความเห็นชอบและแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุหรือ งานจ้าง หรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรืองาน จ้างในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความ วิชาการฉบับนี้ จะช่วยให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจ เกี่ยวกับระเบียบ กฟผ. ที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ โดยตรง ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเคมีภัณฑ์เพิ่มมาก ขึ้น แล้วพบกันใหม่ ในวารสาร Chem’s Talk ฉบับหน้าค่ะ เอกสารอ้างอิง 1. พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหาร พัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 2. ระเบียบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๓๕๖ ว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ต ำแหน่ง วงเงิน (บำท) หัวหน้ำกอง ไม่เกิน 1 หมื่นบำท ผู้อ ำนวยกำรฝ่ำย ไม่เกิน 5 แสนบำท (เดิม 1 แสนบำท) ผู้ช่วยผู้ว่ำกำร ไม่เกิน 7 แสนบำท (เดิม 2 แสนบำท) รองผู้ว่ำกำร ไม่เกิน 1 ล้ำนบำท ต ำแหน่ง วงเงิน (บำท) ผู้อ ำนวยกำรฝ่ำย ไม่เกิน 200 ล้ำนบำท (เดิม 100 ล้ำนบำท) ผู้ช่วยผู้ว่ำกำร เกิน 200 ล้ำนบำท (เดิม 100 ล้ำนบำท) ต ำแหน่ง วงเงิน (บำท) ผู้อ ำนวยกำรฝ่ำย ไม่เกิน 100 ล้ำนบำท (เดิม 50 ล้ำนบำท) ผู้ช่วยผู้ว่ำกำร ไม่เกิน 200 ล้ำนบำท (เดิม 100 ล้ำนบำท) ต ำแหน่ง วงเงิน (บำท) ผู้อ ำนวยกำรฝ่ำย ไม่เกิน 5 แสนบำท (เดิม 1 แสนบำท) ผู้ช่วยผู้ว่ำกำร ไม่เกิน 7 แสนบำท (เดิม 2 แสนบำท) 19


3. ระเบียบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๔๙๗ ว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง 4. ข้อบังคับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๓๘๙ ว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ผู้เขียนบทความ : นางสาววิภาวี อนันต์โชคดี ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ ระดับ 5 แผนกบริหารเคมีภัณฑ์ กองเคมีภัณฑ์ ฝ่ายเคมี 20


Click to View FlipBook Version