The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nontiyaj, 2021-12-02 22:48:41

เอกสารอ่านประกอบ

เอกสาร ร.9

คำพอ่ สอน
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรสั ของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร

"... ผูท้ ีม่ งุ่ หวังความดแี ละความเจรญิ มนั่ คงในชีวิตจะต้องไม่ละเลยการศึกษา ความรูท้ จ่ี ะศกึ ษามี 3 ส่วน คอื
ความรู้วิชาการ ความร้ปู ฏิบตั กิ าร และความรู้คิดอ่านตามเหตุผลความเปน็ จริง อกี ประการหนงึ่ จะตอ้ งมีความ
จริงใจและบรสิ ทุ ธ์ใจไม่ว่าในงานในผูร้ ว่ มงานหรอื ในการรกั ษา ระเบียบแบบแผน ความดีงาม ความถูกตอ้ งทุก

อย่าง ประการทส่ี ามตอ้ งฝกึ ฝนให้มีความหนักแน่นทัง้ ภายในใจ ในคำพดู ..."
(๒๔ มกราคม ๒๕๓๐)

“หลกั ของคุณธรรม คอื การคิดดว้ ยจติ ใจทเี่ ป็นกลาง ก่อนจะพูดจะทำสง่ิ ไร จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อนเพือ่
รวบรวมสตใิ ห้ตง้ั ม่ัน และใหจ้ ิตสว่างแจ่มใส ซง่ึ เม่ือฝกึ หัดจนคุน้ เคยชำนาญแลว้ จะกระทำได้คล่องแคล่วชว่ ยให้
สามารถแสดงความรู้ ความคิด ในเร่ืองตา่ ง ๆ ให้ผฟู้ ังเขา้ ใจไดง้ า่ ย ได้ชัด ไมผ่ ิดทง้ั หลักวชิ าทงั้ หลักคุณธรรม”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัวในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๕

“ความจรงิ ใจต่อผอู้ ่ืนเปน็ คณุ ธรรมสำคัญมากสำหรบั ผทู้ ต่ี อ้ งการความสำเร็จและความเจริญ เพราะชว่ ยให้
สามารถขจดั ปดั เปา่ ปญั หาไดม้ ากมาย โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ ปญั หาอนั เกิดจากความกินแหนงแคลงใจและเอารัดเอา
เปรยี บกัน นอกจากนนั้ ยังทำใหไ้ ด้รบั ความเชือ่ ถอื ไวว้ างใจ และความรว่ มมอื สนับสนนุ จากทกุ คนทุกฝา่ ย ที่ถือม่ัน
ในเหตุผลและความดี ผมู้ ีความจริงใจจะทำการสิง่ ใดก็มกั สำเร็จได้โดยราบรืน่ ”

“งานทกุ อยา่ งมีบุคคลซงึ่ มีชีวิตจิตใจ มคี วามนึกคิดเปน็ ผู้กระทำ ถ้าผ้ทู ำมีจิตใจไม่พรอ้ มจะทำงานเช่น ไมศ่ รทั ธา
ในงาน ไมส่ นใจผกู พันกบั งาน ผลงานท่ที ำกย็ อ่ มบกพรอ่ ง
ไม่คงที่ ตอ่ เมื่อผู้ปฏิบตั ิมีศรทั ธา เขา้ ใจซงึ้ ถึงประโยชน์ของงาน พร้อมใจและพอใจที่จะขวนขวายปฏิบัตงิ านโดย
เต็มกำลังความสามารถ งานจงึ จะดำเนินไปได้โดยราบร่ืน และบรรลผุ ลตามท่มี ุ่งหมาย”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั ในพธิ ีพระราชทานปรญิ ญาบัตรของจฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๖

เรยี บเรียงโดย ห้องสมดุ ประชาชนอำเภอแม่ใจ

พระราชกรณยี กิจของในหลวงรชั การท่ี 9 ตลอดระยะเวลา 70 ปี
ทีท่ รงครองราชยเ์ ป็นประมุขแหง่ ราชอาณาจักรไทย สรปุ ได้ดงั นี้

มลู นิธิชัยพฒั นา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำรใิ ห้จดั ตั้ง “มูลนิธิชัยพัฒนา” โดย ทรง
ดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช
กมุ ารี เปน็ องคป์ ระธาน เพอ่ื สนบั สนนุ ช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนนิ งานพัฒนาตา่ งๆ ในกรณีทตี่ ้องถูก
จำกดั ดว้ ยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไมส่ ามารถดำเนนิ การได้ทนั ที จนเป็นเหตุให้
การแกไ้ ขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกบั สถานการณท์ จี่ ำเปน็ เรง่ ด่วนท่ีจะตอ้ งกระทำโดยเร็ว การท่มี ูลนิธิชัยพัฒนาเข้า
มาดำเนนิ การเชน่ นี้ ส่งผลใหป้ ระชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลนั โดยไม่ตกอย่ภู ายใต้ข้อจำกัดใดๆ
ทัง้ สิ้น อาจกล่าวไดว้ ่าการดำเนนิ งานของมลู นิธิชัยพฒั นาเปน็ การชว่ ยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ข้ึน

มูลนิธิโครงการหลวง

เมือ่ ปพี ทุ ธศกั ราช 2512 พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั รัชกาลที่ 9 เสดจ็ พระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวติ
ของชาวเขาที่ บ้านดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจน รับส่ังถามว่า
นอกจากฝิ่นขายแล้ว เขามีรายได้จากพืชชนิดอื่นอีกหรือเปล่า ทำให้ทรงทราบว่า นอกจากฝิ่นแล้ว เขายังเก็บท้อ
พื้นเมืองขาย แม้ว่าลูกจะเล็กก็ตาม แต่ก็ยังได้เงินเท่าๆ กัน โดยที่ทรงทราบว่า สถานีทดลองดอยปุย ซึ่งเป็นสถานี
ทดลองไม้ผลเขตหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองได้ ให้
คน้ คว้าหาพันธุ์ท้อท่ีเหมาะสมสำหรับบา้ นเรา เพอื่ ให้ไดท้ อ้ ผลใหญ่ หวานฉ่ำ ทท่ี ำรายได้สูงไม่แพ้ฝ่ินโดยพระราชทาน
เงินจำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับจัดหาที่ดินสำหรับดำเนินงานวิจัยไม้ผลเขตหนาว
เพม่ิ เตมิ จากสถานี วจิ ัยดอยปยุ ซ่งึ มพี ืน้ ที่คบั แคบ ซง่ึ เรียกพื้นทน่ี ี้วา่ สวนสองแสน ต่อมาทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ตั้ง
โครงการหลวงขนึ้ เมอื่ พ.ศ. 2512 เร่มิ ตน้ โครงการหลวงเปน็ โครงการสว่ นพระองค์ โดยมหี มอ่ มเจา้ ภีศเดช รัชนี เป็น
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุ
เคราะห์ชาวเขา” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวาย สำหรับเป็น
งบประมาณดำเนินงานต่างๆ และพระราชทานมีเป้าหมายสำหรับการดำเนินงาน คือ 1. ช่วยชาวเขาเพ่ือ
มนุษยธรรม 2. ชว่ ยชาวไทยโดยลดการทำลายทรพั ยากรธรรมชาติ คือ ปา่ ไมแ้ ละตน้ น้ำลำธาร 3. กำจดั การปลูกฝิ่น 4.
รกั ษาดนิ และใชพ้ น้ื ทีใ่ ห้ถูกต้อง คอื ให้ปา่ อยู่ส่วนท่ีเปน็ ป่า และทำไร่ ทำสวน ในสว่ นทค่ี วรเพาะปลูก อย่าสองส่วนน้ี
รุกล้ำซ่งึ กนั และกัน

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มุ่งเน้นการดำเนินงานโดยยึดแนวพระราชดำริเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจ
พอเพียง” ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้

ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติ มีการศกึ ษาวิจยั เกยี่ วกบั การแปรรปู ผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศ
เพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วย
กระบวนการผลิตที่ง่าย แต่มีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยดำเนินการภายใต้กระบวนการทาง
วทิ ยาศาสตร์ท่ีมีการศึกษา ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลและผลการศกึ ษา เพอ่ื เผยแพรอ่ งค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร และ
ประชาชน

โครงการหลวงอ่างขาง

พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 9 พรอ้ มดว้ ยสมเดจ็ พระนางเจา้ พระบรมราชินีนาถ ไดเ้ สด็จพระราช
ดำเนนิ เยยี่ มราษฎรทห่ี มบู่ ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชยี งใหม่ และได้เสดจ็ ผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่า
ชาวเขาส่วนใหญ่ที่อาศยั อยู่บริเวณนี้ทำการปลูกฝิน่ แตย่ งั ยากจน ท้งั ยงั ทำลายทรัพยากรป่าไม้ตน้ น้ำลำธารท่ีเป็นแหล่ง
สำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่นของประเทศได้ จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มี
ภูมอิ ากาศหนาวเยน็ มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มปี ่าไม้อยู่เลยและสภาพพนื้ ที่ไม่ลาดชนั นัก ประกอบกบั พระองค์ทรงทราบ
ว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาวของ
มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตรไ์ ด้ทดลองวิธตี ิดตา ตอ่ ก่ิงกับทอ้ ฝร่ัง จึงสละพระราชทรัพยส์ ่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท
เพื่อซื้อที่ดินและไร่จากชาวเขาในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็น
โครงการส่วนพระองค์ เมอ่ื พ.ศ. 2512 โดยทรงแตง่ ต้งั ให้ หมอ่ มเจ้าภีศเดช รชั นี เปน็ ผรู้ ับสนองพระบรมราชโองการ
ในตำแหนง่ ประธานมลู นิธโิ ครงการหลวง ใช้เป็นสถานวี ิจัยและทดลองปลกู พืชเมืองหนาวชนดิ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล
ผัก ไม้ดอก เมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ฯ ไดพ้ ระราชทานนามว่า “สถานเี กษตรหลวงอา่ งขาง”

โครงการปลูกป่าถาวร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู วั ภูมพิ ลอดุลยเดชไดท้ รงพระราชทานพระราชดำริเปน็ อเนกประการ ในการทำนุ
บำรุงสิง่ แวดล้อม และทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ ทรงพระราชทานพระราชดำรกิ ารพฒั นาด้านต่างๆ ควบคู่กับการ
อนุรักษ์เสมอ ด้วยการทรงจัดการใชท้ รัพยากรส่ิงแวดล้อมใหเ้ กิดประโยชนแ์ ก่พสกนิกรมากที่สดุ ประกอบกบั สมเด็จ
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ ีนาถ ทรงห่วงใยปัญหาปา่ ไม้ท่ีถกู บกุ รุกทำลาย และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หา
มาตรการยับยัง้ การทำลายป่า และเร่งฟื้นฟูสภาพต้นน้ำ ลำธาร โดยให้พิจารณาปัญหาการขาดแคลนนำ้ เป็นปัญหา
ใหญ่ของชาติที่จะต้องเร่งแก้ไขโดยเร่งด่วนที่สุด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้น้อมอัญเชิญพระราชกระแสของ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมาเป็นแนวทางในการดำเนินการฟ้ืนฟสู ภาพป่าไม้ เพื่อให้สภาพป่าที่เสื่อม
โทรมได้กลบั คนื สภาพโดยรวดเรว็ โดยไดห้ ารือท้ังภาครัฐและภาคเอกชนที่จะให้คนในชาติทุกหมู่เหลา่ ทุกสาขาอาชีพ
ได้ร่วมกันปลูกป่าสนองพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราช
สักการะเนอื่ งในวโรกาสทพ่ี ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ทรงครองราชย์ปีท่ี 50 ในปี พ.ศ. 2539 กระทรวงเกษตรและ

สหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรง
ครองราชยป์ ีท่ี 50

โครงการแกม้ ลิง

เปน็ แนวคดิ ในพระราชดำรขิ องพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัว รชั กาลที่ 9 เพอ่ื แกป้ ัญหาอทุ กภยั โดยพระองค์
ทรงตระหนักถึงความรนุ แรงของอุทกภัยท่เี กดิ ข้ึนในกรุงเทพมหานคร เม่ือปี พ.ศ.2538 จึงมพี ระราชดำริ “โครงการ
แก้มลงิ ” ข้ึน เม่ือวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ โดยใหจ้ ัดหาสถานท่เี ก็บกักนำ้ ตามจุดตา่ งๆ ในกรุงเทพมหานคร
เพอ่ื รองรบั นำ้ ฝนไว้ชวั่ คราว เม่อื ถงึ เวลาท่ีคลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายนำ้ จากส่วนท่ีกกั เก็บไว้ออกไป จงึ
สามารถลดปญั หาน้ำทว่ มได้ ทง้ั น้ี นอกจากโครงการแกม้ ลิงจะมขี น้ึ เพ่ือช่วยระบายน้ำ ลดความรุนแรงของปญั หานำ้
ท่วมในพนื้ ท่ีกรุงเทพมหานครและบริเวณใกลเ้ คียงแล้ว ยงั เปน็ การช่วยอนรุ ักษน์ ้ำและส่งิ แวดล้อมอกี ดว้ ย โดยน้ำที่ถกู
กกั เก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คคู ลอง จะไปบำบดั น้ำเนา่ เสยี ใหเ้ จือจางลง และในที่สุดน้ำเหลา่ น้ีจะผลักดนั นำ้ เสียใหร้ ะบาย
ออกไปได้

โครงการฝนหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัว รชั กาลท่ี 9 ในปี พ.ศ ๒๔๙๕ เม่อื คราวเสด็จพระราชดำเนนิ เยี่ยมพสกนิกรใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาด แคลนน้ำ
อุปโภค บริโภค และการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทาน โครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” ให้กับ
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกลุ ไปดำเนนิ การต่อมา ไดเ้ กิดเป็นโครงการค้นควา้ ทดลอง ปฏิบัตกิ ารฝนเทียมหรือฝนหลวงขน้ึ ใน
สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราช
กฤษฎีกา ก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็น
หน่วยงานรองรับโครงการ พระราชดำริ “ฝนหลวง” ต่อไป

โครงการสารานกุ รมไทยสำหรบั เยาวชน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชดำริว่า หนังสือประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพ
วิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการ หรือพอใจจะเรียนรู้เรื่องใด ก็สามารถค้นหา อ่านทราบ
โดยสะดวก นับว่า เป็นหนังสือที่มีประโยชน์ เกื้อกูลการศึกษา เพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชนอย่างสำคญั
โดยเฉพาะในยามทีม่ ีปัญหาการขาดแคลนครู และท่ีเลา่ เรยี นเชน่ ขณะนี้ หนังสอื สารานุกรมจะชว่ ย คลีค่ ลายให้บรรเทา
เบาบางลงได้เป็นอย่างดี จึงมีพระราชดำรัสให้ตั้ง โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เพื่อดำเนินการสร้าง
หนังสือสารานุกรมฉบับใหม่อีกชุดหนึ่ง มีความมุ่งหมายที่จะนำวิชาการแขนงต่างๆ ที่ควรศึกษา ออกเผยแพร่แก่
เยาวชน ให้แพร่หลายทว่ั ถึง เพื่อเยาวชนจกั ไดห้ าความรู้ ช่วยตัวเองได้ จากการอา่ นหนงั สือ และเพื่อใหไ้ ด้ประโยชน์อัน
กวา้ งขวางย่ิงขึน้

โครงการแกลง้ ดนิ

แกลง้ ดนิ เปน็ แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัวภูมพิ ลอดุลยเดช เกีย่ วกบั การแก้ปัญหาดิน
เปรี้ยว หรอื ดนิ เป็นกรด โดยมีการขังน้ำไวใ้ นพื้นที่ จนกระทง่ั เกิดปฏิกิริยาเคมีทำใหด้ นิ เปรี้ยวจัด จนถงึ ท่สี ดุ แล้วจงึ
ระบายนำ้ ออกและปรบั สภาพฟ้นื ฟูดินดว้ ยปูนขาว จนกระท่งั ดนิ มีสภาพดพี อทจี่ ะใชใ้ นการเพาะปลกู ได้

กังหันชัยพฒั นา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ไดเ้ สด็จพระราชดำเนนิ ทอดพระเนตรสภาพนำ้ เสียในพื้นท่หี ลายแห่งหลายครั้ง
ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าว ได้
พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบ
สิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหันน้ำชัยพัฒนา และ
นำมาใชใ้ นการปรบั ปรงุ คุณภาพนำ้ ตามสถานที่ต่างๆ ทัว่ ทกุ ภูมภิ าค

แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี
ซึ่งเปน็ แนวคิดท่ตี ัง้ อยู่บนรากฐานของวฒั นธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาขนั้ พ้นื ฐานทตี่ ้ังอยู่บนทางสายกลาง และ
ความไม่ประมาทซึ่งคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้
และคุณธรรม เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินชิวิต ซึ่งต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” เป็นที่ตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่
ความสขุ ในชวี ิติทีแ่ ท้จริง

“ ศาสตร์พระราชา ส่กู ารพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ดว้ ยพระเมตตาและพระมหากรณุ าธิคณุ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู ัว รัชกาลที่ 9พระราชทานความ

ชว่ ยเหลือเพือ่ บำบัดทกุ ข์บำรุงสขุ ของพสกนิกรจงึ บังเกดิ โครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำริหลายพันโครงการทว่ั

ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโครงการดา้ นเกษตรกรรม การแพทยแ์ ละสาธารณสขุ การคมนาคม หรือการจัดการ

ทรพั ยากรธรรมชาติ ซ่งึ ตั้งอยบู่ นพืน้ ฐานของหลกั การทรงงานอนั ประเสรฐิ ดงั นี้

หลกั การทรงงาน ของในหลวงรัชกาลที่ 9
1. จะทำอะไรต้องศกึ ษาขอ้ มลู ใหเ้ ป็นระบบ ทรงศกึ ษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบจากข้อมูลเบื้องต้น

ท้งั เอกสาร แผนท่ี สอบถามจากเจา้ หนา้ ท่ี นักวิชาการ และราษฎรในพืน้ ทีใ่ ห้ได้รายละเอยี ดทถี่ ูกตอ้ ง
2. ระเบดิ จากภายใน จะทำการใดๆ ตอ้ งเร่ิมจากคนท่เี ก่ยี วขอ้ งเสียก่อน ตอ้ งสร้างความเขม้ แขง็ จากภายในให้

เกิดความเข้าใจและอยากทำ
3. แกป้ ญั หาจากจุดเล็ก ควรมองปัญหาภาพรวมก่อนเสมอ แตเ่ มอ่ื จะลงมือแกป้ ัญหาน้นั ควรมองในสงิ่ ท่คี น

มักจะมองขา้ ม แลว้ เริม่ แกป้ ัญหาจากจุดเลก็ ๆ เสยี ก่อน เม่อื สำเร็จแล้วจึงค่อยๆ ขยับขยายแก้ไปเรื่อยๆ ทีละจุด
4. ทำตามลำดับขัน้ เร่ิมต้นจากการลงมือทำในส่งิ ทจี่ ำเป็นกอ่ น เมอื่ สำเร็จแลว้ กเ็ ร่ิมลงมอื สง่ิ ทจ่ี ำเป็นลำดบั

ต่อไป ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง
5. ภมู ิสังคม ภูมิศาสตร์ สงั คมศาสตร์ การพัฒนาใดๆ ตอ้ งคำนึงถึงสภาพภมู ิประเทศของบริเวณน้ันวา่ เป็น

อย่างไร และสงั คมวิทยาเกย่ี วกับลักษณะนิสยั ใจคอคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณใี นแตล่ ะท้องถนิ่ ทมี่ ีความแตกตา่ ง
6. ทำงานแบบองค์รวม โดยใชว้ ธิ คี ดิ อย่างองค์รวม คอื การมองส่งิ ตา่ งๆทเ่ี กิดอย่างเป็นระบบครบวงจร ทุกส่ิง

ทกุ อยา่ งมมี ิตเิ ช่อื มต่อกัน
7. ไมต่ ิดตำรา เมือ่ เราจะทำการใดนน้ั ควรทำงานอย่างยดื หยนุ่ กับสภาพและสถานการณต์ อ้ งโอบออ้ มต่อ

สภาพธรรมชาติ สง่ิ แวดลอ้ ม สงั คม และจิตวทิ ยาด้วย
8. รู้จักประหยัด เรยี บง่าย ได้ประโยชน์สงู สดุ ทรงใช้หลกั ในการแก้ปญั หาดว้ ยความเรียบง่ายและประหยัด

ทำได้เอง หาได้ในทอ้ งถ่ินและประยกุ ต์ใช้สงิ่ ท่ีมอี ยูใ่ นภูมิภาคน้นั มาแกไ้ ข ปรบั ปรงุ โดยไม่ต้องลงทุนสงู หรือใช้
เทคโนโลยมี ากนัก

9. ทำใหง้ า่ ย ทรงคดิ คน้ ดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไขงาน สอดคลอ้ งกบั สภาพความเปน็ อย่ขู องประชาชนและ
ระบบนิเวศโดยรวม

10. การมสี ว่ นรว่ ม ทรงเปดิ โอกาสให้สาธารณชน ประชาชนหรอื เจา้ หนา้ ท่ีทกุ ระดบั ได้มารว่ มแสดงความ
คดิ เหน็ คือ “การระดมสตปิ ญั ญาละประสบการณ์อันหลากหลายมาอำนวยการปฏบิ ัติบรหิ ารงานให้ประสบผลสำเร็จที่
สมบรู ณน์ ัน่ เอง”

11. ตอ้ งยึดประโยชนส์ ่วนรวม
12. บรกิ ารทจี่ ุดเดยี ว ทรงเนน้ เร่อื งรู้รักสามัคคีและการรว่ มมือร่วมแรงรว่ มใจกันดว้ ยการปรับลดช่องวา่ ง
ระหวา่ งหนว่ ยงานที่เกย่ี วขอ้ ง

13. ใชธ้ รรมชาติชว่ ยธรรมชาติ ทรงมองปัญหาธรรมชาติอย่างละเอยี ด โดยหากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติ
จะต้องใชธ้ รรมชาติเขา้ ช่วยเหลอื เราดว้ ย

14. ใชอ้ ธรรมปราบอธรรม ทรงนำความจรงิ ในเรื่องธรรมชาติและกฎเกณฑข์ องธรรมชาตมิ าเปน็ หลกั การ
แนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปญั หาและปรับปรุงสภาวะที่ไม่ปกติเขา้ สู่ระบบที่ปกติ 15. ปลูกป่าในใจคน
การจะทำการใดสำเร็จตอ้ งปลูกจติ สำนกึ ของคนเสียก่อน ต้องให้เหน็ คุณค่า เห็นประโยชน์กับสงิ่ ที่จะทำ….

16. ขาดทนุ คือกำไร “การให”้ และ “การเสียสละ” เปน็ การกระทำอันมผี ลเป็นกำไร คือความอยู่ดมี ีสุขของ
ราษฎร

17. การพึ่งพาตนเอง คอื การพัฒนาใหป้ ระชาชนสามารถอยู่ในสงั คมไดต้ ามสภาพแวดลอ้ มและสามารถ
พงึ่ ตนเองไดใ้ นทสี่ ุด

18. พออยพู่ อกนิ ใหป้ ระชาชนสามารถอยูอ่ ย่าง “พออยพู่ อกิน” ให้ได้เสยี กอ่ น แลว้ จงึ คอ่ ยขยับขยายให้มีขดี
สมรรถนะท่กี ้าวหน้าต่อไป

19. เศรษฐกจิ พอเพียง ทรงชแี้ นะแนวทางการดำเนนิ ชีวติ ให้ดำเนินไปบน “ทางสายกลาง” เพอ่ื ให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยไู่ ดอ้ ย่างมั่นคงและยั่งยนื ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลีย่ นแปลงตา่ งๆ

20. ความซือ่ สตั ย์สุจรติ จริงใจตอ่ กันผทู้ มี่ ีความสุจรติ และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมคี วามรู้น้อย กย็ ่อมทำประโยชน์
ให้แกส่ ว่ นรวมไดม้ ากกว่าผู้ท่ีมีความรู้มาก แตไ่ ม่มีความสุจริต ไมม่ ีความบรสิ ุทธิใ์ จ

21. ทำงานอยา่ งมคี วามสขุ ทำงานตอ้ งมคี วามสุขดว้ ย ถ้าเราทำอยา่ งไมม่ คี วามสขุ เราจะแพ้ แต่ถ้าเรามี
ความสขุ เราจะชนะ

22. ความเพียร การเริ่มต้นทำงานหรอื ทำสง่ิ ใดน้ันอาจจะไม่ได้มีความพร้อม ต้องอาศยั ความอดทนและความ
มงุ่ ม่นั

23. รู้ รัก สามคั คี รู้ คอื ร้ปู ญั หาและรวู้ ธิ ีแก้ปญั หานน้ั รกั คอื เราต้องมีความรัก ที่จะลงมอื ทำ ลงมอื แกไ้ ข
ปญั หานัน้ สามัคคี คอื การแก้ไขปัญหาตา่ งๆ ต้องอาศยั ความรว่ มมือร่วมใจกนั

………………………………………………………………………………………………………

ศาสตร์พระราชาเกย่ี วกับ “เศรษฐกิจพอเพยี ง”
“เศรษฐกจิ พอเพยี ง คอื ปรัชญาทพี่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชแ้ี นวทางการดำเนินชวี ติ ใหแ้ กป่ วงชน

ชาวไทย เพ่ือมงุ่ ใหพ้ สกนกิ รได้ดำรงชวี ิตอย่ไู ดอ้ ยา่ งยง่ั ยนื มน่ั คง และปลอดภยั ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงตา่ งๆ ท่ี
เกิดขน้ึ ตามกระแสโลก”

หลกั แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
คอื การพฒั นาท่ีตง้ั อย่บู นพน้ื ฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนงึ ถึง ความพอประมาณ ความมี

เหตุผล การสร้างภูมคิ ุ้มกนั ที่ดีในตวั ตลอดจนใช้ความรูค้ วามรอบคอบ และคณุ ธรรม ประกอบการวางแผน การ
ตัดสินใจและการกระทำ

ความพอเพียงจะตอ้ งประกอบด้วย 3 คณุ ลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดงั นี้
1. ความพอประมาณ: หมายถึง ความพอดีที่ไมน่ ้อยเกนิ ไปและไมม่ ากเกนิ ไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผอู้ น่ื
2. ความมีเหตุผล: หมายถึง ต้องเปน็ ไปอย่างมเี หตุผลโดยพิจารณาจากเหตปุ ัจจยั ทเี่ กย่ี วขอ้ งตลอดจนคำนงึ ถึงผลท่ี

คาดว่าจะเกดิ ขน้ึ จากการกระทำน้นั ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภมู ิคุ้มกนั ทีด่ ีในตวั : หมายถงึ การเตรียมตัวให้พร้อมรบั ผลกระทบและการเปลยี่ นแปลง ที่จะเกดิ ข้นึ โดย

คำนงึ ถึงความเปน็ ไปได้ของสถานการณ์ ตา่ ง ๆ ที่คาดวา่ จะเกดิ ข้ึนในอนาคต
4. เงอื่ นไข : การตดั สนิ ใจและการดำเนนิ กจิ กรรมตา่ ง ๆ ใหอ้ ยใู่ นระดับพอเพยี งนั้นตอ้ งอาศยั ทงั้ ความรู้ และ
คณุ ธรรมเปน็ พืน้ ฐาน กลา่ วคือ
• เง่อื นไขความรู:้ ประกอบดว้ ย ความรอบรเู้ ก่ียวกับวิชาการตา่ ง ๆ อย่างรอบด้าน รอบคอบ
นำความรูเ้ หล่าน้นั มาพจิ ารณาให้เช่ือมโยงกัน เพ่ือการวางแผน และระมดั ระวงั ในขั้นปฏบิ ัติ
• เงื่อนไขคณุ ธรรม: มคี วามซ่ือสัตยส์ ุจรติ และมคี วามอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนนิ ชวี ติ

ศาสตร์พระราชาเก่ียวกบั “การอนุรกั ษท์ รัพยากรธรรมชาติ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีความสนพระราชหฤทัยและทรงตระหนักถึงความสำคัญของ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก ทรงพบว่าปัญหาป่าเสื่อมโทรม ได้ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาด้านอื่นๆ โยงใยถึง
ปัญหาทางสังคมเศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรม และระบบนิเวศของพื้นที่โดยรวมอีกดว้ ย พระองคจ์ ึงไดพ้ ระราชทาน
แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาโดยทรงบูรณาการงานพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องท้ังหมดเขา้ ด้วยกนั กับแนวพระราชดำริ
ดา้ นปา่ ไม้ โดยการปลกู ฝงั จติ สำนึกให้ชุมชนเห็นความสำคญั ของป่าไม้ ชว่ ยกันอนุรกั ษ์ ดูแลรักษาและใชป้ ระโยชน์จาก
ป่าอย่างถกู วิธี ดงั น้ี

1. การอนุรกั ษ์ป่าและสงิ่ แวดลอ้ ม

- การรักษาปา่ ต้นนำ้ พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริ “ทฤษฎีป่าเปียก” โดยทรงให้หาวิธีให้น้ำจากปา่
ไหลผ่านลึกลงในใต้ดินเพื่อรักษาหน้าดินให้มีความชื้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการสร้างแนวป้องกันไฟในระยะยาวได้ด้วย

- การจัดการเร่อื งน้ำและการสร้างความชมุ่ ชื้นในบรเิ วณพน้ื ท่อี นรุ ักษ์ โดยการกกั เก็บนำ้ ไว้บนท่สี งู ให้มากที่สุด
แล้วจา่ ยปันลดหลน่ั ลงมาดว้ ยการควบคุมและจัดการสภาวะการไหลของนำ้ ใหส้ ม่ำเสมอ ดว้ ยการสร้างฝายชะลอความ

ชุ่มช้นื หรือ Check Dam เพ่อื แผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปให้กวา้ งขวาง อันจะชว่ ยฟื้นฟสู ภาพป่าในบริเวณท่ีสูงให้
สมบูรณข์ ้ึนเป็นภูเขาของปา่ และน้ำในอนาคต

- การจ่ายปันน้ำ โดยการทำท่อส่งและลำเหมืองในการกระจายน้ำไปยังพื้นที่การเกษตร
ซ ึ ่ ง พ ร ะ อ ง ค ์ ท ร ง เ น ้ น ก า ร ใ ช ้ ว ั ส ด ุ ใ น พ ื ้ น ท ี ่ ท ี ่ ห า ง ่ า ย แ ล ะ ป ร ะ ห ย ั ด เ ป ็ น ห ลั ก

- การอนุรกั ษท์ รพั ยากรป่าไม้ (สตั วป์ ่าและอุทยาน) โดยจดั ใหม้ กี ารเพาะเลีย้ งขยายพนั ธ์ุสัตว์ป่าให้แพร่หลาย
รวมทั้งส่งเสริมให้ราษฎรเลี้ยงสัตว์ป่าเป็นอาชีพ และดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานหรืออุทยานแห่งชาติในพื้นที่ท่ี
เหมาะสม

- การรักษาป่าชายเลน โดยส่งเสริมการปลูกป่าไม้ชายเลนดว้ ยการอาศัยระบบน้ำข้ึนน้ำลงในการเติบโต อัน
เปน็ แนวป้องกนั ลมและป้องกนั การกัดเซาะชายฝั่งรวมทั้งเปน็ แหล่งอาศัยของสัตวน์ ำ้

2. การฟื้นฟสู ภาพปา่ และการปลูกป่า
“ปลกู ป่าในใจคน” โดยการทำความเข้าใจกับราษฎรให้ร้ถู งึ ประโยชน์ของปา่ และการอยู่รว่ มกบั ปา่ อยา่ งพ่งึ พา
อาศยั กนั ใหร้ าษฎรได้เข้ามามีสว่ นรว่ มในการปลกู ป่า ตลอดจนรจู้ กั นำพชื พรรณมาใชส้ อยอยา่ งถูกต้อง
“ปลูกป่า 3 อย่าง ใหป้ ระโยชน์ 4 อย่าง” ดว้ ยการจำแนกปา่ 3 อย่าง คอื ป่าไมใ้ ช้สอย ป่าไมก้ ิน และปา่ ไม้
เศรษฐกิจ ซงึ่ ชว่ ยอนุรกั ษ์ดนิ และต้นนำ้ ลำธารดว้ ย
“การปลูกปา่ ทดแทน” โดยการการปลูกป่าทดแทนป่าที่ถกู ทำลายตามไหล่เขาและในพ้นื ที่ป่าเส่ือมโทรม

3. การพัฒนาเพอ่ื ให้ชมุ ชนอย่รู ว่ มกับป่าอยา่ งย่งั ยนื
โดยเปลีย่ นราษฎรจากผู้บกุ รุกทำลายป่าใหก้ ลายมาเปน็ ผอู้ นรุ กั ษ์ทรพั ยากรปา่ สง่ เสรมิ ให้ทุกคนมีสว่ นรว่ มในกิจกรรม
การปลูกป่าและจัดการทรพั ยากรดว้ ยตนเอง ทรงแนะนำให้ตัง้ “ป่าไม้หม่บู า้ น” เพื่อใหร้ าษฎรเพาะต้นกล้าให้แก่
ราชการ และเสรมิ สรา้ งคุณธรรมและจิตสำนกึ เป็นปัจจัยอันสำคญั ทีจ่ ะช่วยให้ต้นน้ำลำธารยังคงอยู่

ศาสตรพ์ ระราชาเกย่ี วกับ “ดนิ ”

สำหรับเกษตรกรแล้วทุกอย่างลว้ นเริ่มจาก “ดิน” ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติทีม่ ีความสำคัญตอ่ ความคงอยู่
ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด หากดินไม่ดีก็ไปต่อไม่ได้ และยังเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญเคียงคู่กับ “น้ำ” ในการทำ
เกษตรกรรม ด้วยทรงเห็นว่าดินเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการสร้างความสมดุลให้กบั สภาพแวดล้อม พระองค์ท่าน
ทรงรเิ ริม่ โครงการพลิกฟ้นื ผืนดนิ ทเ่ี ส่ือมโทรม เพือ่ ให้ผนื ดนิ กลับมามีสภาพท่ีดีและสามารถใชเ้ พาะปลูกทำการเกษตร
ได้อยา่ งมีคณุ ภาพซ่งึ ลว้ นแต่นำประโยชนส์ ขุ มาสเู่ กษตรกรท่ัวประเทศ

ยกมาเปน็ ตัวอยา่ งพอสงั เขปดงั ต่อไปน้ี

“ทฤษฎีแกล้งดิน” เริ่มจากวิธีการแกล้งดินให้เปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไปเพื่อเร่ง
ปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรต์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา
ทำใหด้ นิ เปน็ กรดจัดจนถงึ ขนั้ “แกลง้ ดินให้เปร้ียวสุดขดี ” จนกระทัง่ ถงึ จดุ ที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึง
หาวิธกี ารปรับปรงุ ดนิ ดงั กลา่ วให้สามารถปลกู พืชได้

“หญา้ แฝก”เป็นวัชพืชทีม่ ีคุณสมบัติพิเศษคอื ชว่ ยปอ้ งกันการชะลา้ งพงั ทลายของหนา้ ดิน กักเก็บความชมุ่ ชนื้
ใต้ดนิ นอกจากนห้ี ญ้าแฝกยังชว่ ยกรองน้ำเสยี ให้กลายเปน็ น้ำใส และยงั ใช้เปน็ กำแพงสเี ขียวกันไฟปา่ ลุกลามเพราะแม้
ในฤดแู ลง้ หญ้าแฝกก็ยงั คงเขยี วชอ่มุ ไวไ้ ด้ ปจั จุบนั ประเทศไทยกลายเปน็ ศนู ยก์ ลางของการใชเ้ ทคนิคและวิชาการหญา้
แฝกท่ีประสบผลสำเร็จและมคี วามก้าวหน้ามากที่สดุ ในโลกปัจจุบนั นีด้ ้วย

“การห่มดนิ ” เพื่อใหด้ ินมีความชมุ่ ชื้น จุลินทรีย์ทำงานไดด้ ี อนั จะสง่ ผลให้ดนิ บริเวณนนั้ ทำการเกษตรได้อยา่ ง
มปี ระสทิ ธิภาพ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและพัฒนาทรัพยากรดินให้เกดิ แร่ธาตุ เชน่ ใช้ฟางและเศษใบไมม้ า
หม่ ดนิ หรอื วัสดุอืน่ ตามที่หาได้ตามสภาพท่ัวไปของพืน้ ที่ การใชพ้ รมใยปาลม์ เปน็ ผ้าหม่ ดิน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปฏิบัติพระราช
กรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินมาอย่างต่อเนื่องยาวนานสร้างคุณูปการหลายหลากจนเป็นที่ประจักษ์อย่าง
กว้างขวางภายในประเทศและยังได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ โดยทางองค์การอาหารและเกษตรแห่ง
สหประชาชาติ (FAO) เทดิ พระเกียรตพิ ระองค์ท่านโดยกำหนดใหว้ นั ท่ี 5 ธันวาคมของทุกปี ซ่ึงตรงกบั วนั คล้ายวันพระ
ราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู ิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เปน็ “วันดนิ โลก”
(World Soil Day) นอกจากนี้ยังประกาศให้ ปี 2558 เป็น “ปีดินสากล” หรือ International Year of Soils นับได้
ว่าพระเกียรติยศที่นานาชาติให้การยกย่องสรรเสริญนี้ล้วนแต่มาจากพระราชจริยวัตรดา้ นการพัฒนา ดังความหมาย
ของพระนาม “ภมู พิ ลอดลุ ยเดช” ที่สมเดจ็ พระศรีนครนิ ทราบรมราชชนนี เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระบรมชน
กาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ รไว้ว่า “อันที่จริงเธอกช็ ือ่ ภมู ิพล ทแ่ี ปลวา่ กำลังของแผน่ ดนิ ”
โดยแทจ้ ริง


Click to View FlipBook Version