The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่ทรงครองราชย์เป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย สรุปได้ดังนี้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nontiyaj, 2021-10-07 03:39:38

งานของพ่อ ศาสตร์พระราชา

พระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่ทรงครองราชย์เป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย สรุปได้ดังนี้

พระราชกรณยี กจิ ของในหลวงรชั การท่ี 9 ตลอดระยะเวลา 70 ปี ท่ที รงครองราชย์เปน็ ประมขุ แห่งราชอาณาจกั รไทย สรปุ ไดด้ งั น้ี

มลู นิธิชยั พัฒนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 9 พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง “มูลนิธิชัยพัฒนา” โดย ทรงดำรงตำแหน่งเป็น
นายกกติ ตมิ ศักด์ิ และทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพ่ือสนับสนุน
ช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเง่ือนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือ
งบประมาณท่ีระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็น
เร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว การท่ีมูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็ว
ฉบั พลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆ ท้ังสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา
เกิดความสมบรู ณข์ ึน้

มลู นิธิโครงการหลวง

เม่ือปีพุทธศักราช 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวติ ของชาวเขาท่ี บ้าน
ดอยปยุ ใกล้พระตำหนกั ภูพิงคราชนิเวศน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝ่นิ แตย่ ากจน รบั สัง่ ถามว่านอกจากฝิน่ ขายแล้ว เขามีรายไดจ้ ากพืช
ชนิดอื่นอีกหรือเปล่า ทำใหท้ รงทราบว่า นอกจากฝ่ินแล้ว เขายงั เกบ็ ท้อพื้นเมืองขาย แม้ว่าลกู จะเล็กก็ตาม แตก่ ย็ ังไดเ้ งินเทา่ ๆ กนั โดย
ท่ที รงทราบว่า สถานีทดลองดอยปยุ ซึ่งเป็นสถานีทดลองไม้ผลเขตหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไดน้ ำกิ่งพนั ธุท์ ้อลกู ใหญ่มาต่อ
กับต้นตอท้อพ้ืนเมืองได้ ให้ค้นคว้าหาพันธ์ุท้อที่เหมาะสมสำหรับบ้านเรา เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำ ท่ีทำรายได้สูงไม่แพ้ฝิ่นโดย

พระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับจัดหาท่ีดนิ สำหรบั ดำเนินงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวเพิ่มเติม
จากสถานี วิจัยดอยปุยซ่ึงมีพื้นที่คับแคบ ซ่ึงเรียกพ้ืนท่ีนี้ว่า สวนสองแสน ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้น
เม่ือ พ.ศ. 2512 เร่ิมต้นโครงการหลวงเป็นโครงการส่วนพระองค์ โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราช โองการใน
ตำแหน่งผู้อำนวยการ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วน
พระองค์ รวมกับเงนิ ท่ีมีผู้ทูลเกล้าฯถวาย สำหรับเป็นงบประมาณดำเนินงานต่างๆ และพระราชทานมีเป้าหมายสำหรับการดำเนินงาน
คอื 1. ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม 2. ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรพั ยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร 3. กำจัดการปลูก
ฝน่ิ 4. รักษาดิน และใช้พ้ืนท่ีให้ถกู ต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูก อย่าสองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกัน
และกัน

โครงการสว่ นพระองค์สวนจติ รลดา

โครงการสว่ นพระองค์สวนจิตรลดา มุ่งเนน้ การดำเนนิ งานโดยยึดแนวพระราชดำริเกีย่ วกบั “เศรษฐกิจพอเพยี ง” ซึง่ ให้ความสำคัญ
กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ให้เกษตรกรสามารถพ่ึงตนเองได้ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มี
การศกึ ษาวิจัยเก่ียวกบั การแปรรูปผลผลติ ทางการเกษตรภายในประเทศ เพ่ือลดการนำเข้าสนิ คา้ จากตา่ งประเทศ และการนำวสั ดเุ หลือใช้
ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสดุ ด้วยกระบวนการผลิตที่งา่ ย แต่มีประสิทธภิ าพ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยดำเนินการ
ภายใต้กระบวนการทางวิทยาศาสตรท์ ่ีมีการศึกษา ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลและผลการศึกษา เพ่อื เผยแพรอ่ งค์ความรู้ให้แกเ่ กษตรกร
และประชาชน

โครงการหลวงอา่ งขาง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พรอ้ มด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินนี าถ ได้เสดจ็ พระราชดำเนนิ เยี่ยมราษฎรท่ี
หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชยี งใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาส่วนใหญ่ท่ีอาศัยอยู่บริเวณน้ีทำ
การปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ต้นน้ำลำธารท่ีเป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซ่ึงจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
ส่วนอ่ืนของประเทศได้ จงึ ทรงมีพระราชดำริวา่ พนื้ ทีน่ มี้ ีภูมิอากาศหนาวเย็น มีการปลูกฝน่ิ มาก ไม่มปี า่ ไม้อยู่เลยและสภาพพ้ืนท่ไี มล่ าดชัน
นัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝ่ินเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผล
เมืองหนาวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท
เพอื่ ซอ้ื ทด่ี นิ และไร่จากชาวเขาในบรเิ วณดอยอา่ งขางสว่ นหนง่ึ จากนั้นจงึ โปรดเกลา้ ฯ ต้ังโครงการหลวงขึน้ เปน็ โครงการสว่ นพระองค์ เม่ือ
พ.ศ. 2512 โดยทรงแตง่ ต้ังให้ หมอ่ มเจา้ ภีศเดช รัชนี เปน็ ผู้รบั สนองพระบรมราชโองการในตำแหนง่ ประธานมูลนธิ ิโครงการหลวง ใชเ้ ป็น
สถานวี ิจัยและทดลองปลกู พืชเมอื งหนาวชนดิ ตา่ งๆ ไมว่ ่าจะเป็นไมผ้ ล ผกั ไมด้ อก เมอื งหนาว เพือ่ เป็นตัวอย่างแกเ่ กษตรกรชาวเขาในการ
นำพืชเหล่านม้ี าเพาะปลูกเปน็ อาชพี ซ่ึงตอ่ มาพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั ฯ ได้พระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

โครงการปลกู ปา่ ถาวร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระราชทานพระราชดำริเป็นอเนกประการ ในการทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ ทรงพระราชทานพระราชดำริการพัฒนาดา้ นต่างๆ ควบคู่กับการอนุรักษ์เสมอ ด้วยการทรงจัดการใช้
ทรพั ยากรสงิ่ แวดล้อมให้เกดิ ประโยชนแ์ ก่พสกนิกรมากทีส่ ดุ ประกอบกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ทรงห่วงใยปัญหาป่าไม้

ท่ีถูกบุกรุกทำลาย และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หามาตรการยับยั้งการทำลายป่า และเร่งฟ้ืนฟูสภาพต้นน้ำ ลำธาร โดยให้
พจิ ารณาปัญหาการขาดแคลนนำ้ เป็นปญั หาใหญ่ของชาตทิ ี่จะตอ้ งเร่งแกไ้ ขโดยเรง่ ดว่ นท่สี ุด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นอ้ มอัญเชิญ
พระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมาเป็นแนวทางในการดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ เพ่ือให้สภาพป่าท่ีเสื่อม
โทรมได้กลับคืนสภาพโดยรวดเร็ว โดยได้หารอื ท้ังภาครฐั และภาคเอกชนที่จะให้คนในชาติทุกหมเู่ หล่า ทุกสาขาอาชพี ได้ร่วมกันปลูกป่า
สนองพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะเนื่องในวโรกาสที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ปีท่ี 50 ในปี พ.ศ. 2539 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวร
เฉลมิ พระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั เน่ืองในวโรกาสทรงครองราชยป์ ีที่ 50

โครงการแกม้ ลิง

เป็นแนวคดิ ในพระราชดำรขิ องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว รัชกาลท่ี 9 เพ่อื แก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองคท์ รงตระหนักถงึ ความ
รนุ แรงของอุทกภัยทเ่ี กดิ ข้นึ ในกรงุ เทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จงึ มพี ระราชดำริ “โครงการแกม้ ลงิ ” ขน้ึ เมอื่ วันที่ ๑๔ พฤศจกิ ายน
พ.ศ.๒๕๓๘ โดยใหจ้ ดั หาสถานทเี่ ก็บกกั น้ำตามจุดต่างๆ ในกรงุ เทพมหานคร เพอื่ รองรับน้ำฝนไวช้ วั่ คราว เม่ือถงึ เวลาทคี่ ลองพอจะระบาย
นำ้ ไดจ้ ึงค่อยระบายน้ำจากสว่ นทกี่ ักเกบ็ ไว้ออกไป จงึ สามารถลดปัญหานำ้ ทว่ มได้ ท้ังนี้ นอกจากโครงการแก้มลงิ จะมีขน้ึ เพอื่ ช่วยระบาย
นำ้ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำทว่ มในพนื้ ทีก่ รงุ เทพมหานครและบริเวณใกล้เคยี งแล้ว ยังเป็นการชว่ ยอนุรักษน์ ้ำและสงิ่ แวดลอ้ มอีกดว้ ย
โดยนำ้ ทีถ่ กู กกั เก็บไว้ เมื่อถูกระบายสคู่ คู ลอง จะไปบำบดั นำ้ เนา่ เสยี ให้เจอื จางลง และในท่สี ดุ น้ำเหล่านี้จะผลกั ดนั นำ้ เสียใหร้ ะบายออกไป
ได้

โครงการฝนหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 9 ในปี พ.ศ ๒๔๙๕ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเย่ียมพสกนิกรในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรท่ีขาด แคลนน้ำ อุปโภค บริโภค และ
การเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทาน โครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ
ตอ่ มา ได้เกดิ เปน็ โครงการคน้ คว้าทดลอง ปฏบิ ตั ิการฝนเทียมหรอื ฝนหลวงขนึ้ ในสังกดั สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เม่ือ
ปี ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกา ก่อต้ังสำนักงานปฏบิ ัติการฝนหลวง ข้ึนในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ในสังกัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพ่อื เปน็ หนว่ ยงานรองรับโครงการ พระราชดำริ “ฝนหลวง” ต่อไป

โครงการสารานุกรมไทยสำหรบั เยาวชน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชดำริว่า หนังสือประเภทสารานุกรมน้ัน บรรจุสรรพวิชาการอันเปน็ สาระไว้
ครบทุกแขนง เม่ือมีความต้องการ หรือพอใจจะเรียนรู้เร่ืองใด ก็สามารถค้นหา อ่านทราบโดยสะดวก นับว่า เป็นหนังสือท่ีมีประโยชน์
เก้ือกูลการศึกษา เพ่ิมพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชนอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในยามทีม่ ีปัญหาการขาดแคลนครู และที่เล่าเรยี นเช่น
ขณะนี้ หนังสือสารานุกรมจะช่วย คล่คี ลายให้บรรเทาเบาบางลงไดเ้ ป็นอย่างดี จึงมีพระราชดำรัสให้ตั้ง โครงการสารานุกรมไทยสำหรับ
เยาวชนฯ เพื่อดำเนินการสร้างหนังสือสารานุกรมฉบับใหม่อีกชุดหน่ึง มีความมุ่งหมายท่ีจะนำวิชาการแขนงต่างๆ ท่ีควรศึกษา ออก
เผยแพร่แก่เยาวชน ให้แพร่หลายท่ัวถึง เพื่อเยาวชนจักได้หาความรู้ ช่วยตัวเองได้ จากการอ่านหนังสือ และเพื่อให้ได้ประโยช น์อัน
กวา้ งขวางย่งิ ขน้ึ

โครงการแกล้งดนิ

แกล้งดนิ เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ภมู พิ ลอดลุ ยเดช เก่ียวกับการแกป้ ัญหาดินเปรย้ี ว หรอื ดินเปน็
กรด โดยมกี ารขังนำ้ ไวใ้ นพื้นท่ี จนกระทง่ั เกิดปฏิกริ ิยาเคมีทำให้ดนิ เปร้ียวจดั จนถงึ ทสี่ ดุ แลว้ จงึ ระบายนำ้ ออกและปรับสภาพฟ้นื ฟดู นิ
ดว้ ยปูนขาว จนกระท่ังดนิ มีสภาพดีพอทจี่ ะใช้ในการเพาะปลกู ได้

กงั หันชัยพัฒนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพน้ำเสียในพื้นท่ีหลายแห่งหลายคร้ัง ทรงตระหนักถึง
ความรุนแรงของปัญหาที่เกดิ ขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรทีต่ ้องเผชิญในเรอ่ื งดังกลา่ ว ไดพ้ ระราชทานพระราชดำรใิ นการแก้ไขปัญหา
นำ้ เสีย ดว้ ยการใช้เครือ่ งกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบส่งิ ประดษิ ฐท์ ่เี รยี บงา่ ย แต่มีประสิทธิภาพสงู ในการบำบัดน้ำเสยี ซึ่งเป็นท่ี
รู้จกั กนั ดีในชอื่ กังหันน้ำชยั พัฒนา และนำมาใชใ้ นการปรับปรุงคณุ ภาพนำ้ ตามสถานทต่ี า่ งๆ ทวั่ ทุกภมู ิภาค

แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพยี ง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นแนวคิดท่ี
ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพฒั นาขนั้ พื้นฐานท่ีต้ังอยู่บนทางสายกลาง และความไมป่ ระมาทซ่งึ คำนึงถึงความ
พอประมาณ ความมีเหตมุ ีผล การสร้างภมู ิคุม้ กันในตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรแู้ ละคุณธรรม เพอื่ เป็นพ้นื ฐานในการดำเนินชวิ ิต ซง่ึ ต้อง
มี “สติ ปัญญา และความเพยี ร” เปน็ ที่ตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่ความสขุ ในชีวิตทิ ี่แทจ้ รงิ


Click to View FlipBook Version