The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน
ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี
โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วิจัยในชั้นเรียนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงิ

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน
ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี
โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets นางสาวสุมิตรา ผันอากาศ ครู กศน.ตำบล ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี กรมส่งเสริมการเรียนรู้


บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวสุมิตรา ผันอากาศ ปีการศึกษา 2566 ภาคเรียนที่ 1 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่อง ของเงิน 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา เรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ของ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการ เรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียน วิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพัก ข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบ าลพระมงกุฎเกล้า ภาคเรียนที่ 1 / 2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี จำนวน 44 คน และกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบ าลพระมงกุฎเกล้า ภาคเรียนที่ 1 / 2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน และแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงินสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.ได้สร้างแบบฝึกหัดออนไลน์ด้วย Liveworksheets จำนวน 3 ชุด ได้แก่ ประเภทของเงิน การฝากเงิน การประกันภัย และการลงทุน และ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี มีความพึงพอใจเฉลี่ยระดับมากต่อการเรียนเรื่อง ว่าด้วย เรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets


กิตติกรรมประกาศ การวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่อง ของเงิน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheet สำเร็จสมบูรณ์ได้โดยความ กรุณาเป็นอย่างยิ่งจากนางสาวนริสา เนื่องขันขวา ผู้อำนวยการ กศน.เขตหลักสี่ รักษาการมนตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สกร.เขตราชเทวี ที่ให้ความอนุเคราะห์องคความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำการวิจัยในชั้นเรียน ครั้งนี้ ขอขอบคุณนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี จำนวน 25 คน ที่ให้ความร่วมมือในการศึกษาค้นคว้าและทดลองครั้งนี้ สุดท้ายนี้ ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณทุกท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม และมีส่วนช่วยในการวิจัยฉบับนี้ สุมิตรา ผันอากาศ


สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ (ก) กิตติกรรมประกาศ (ข) สารบัญ (ค) สารบัญตาราง (จ) 1. บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญ 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 สมมุติฐานของการวิจัย 3 ความสำคัญของการวิจัย 3 ของเขตของการวิจัย 3 เนื้อหา 3 ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง 3 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 4 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 5 เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน 6 ความหมายของแบบฝึกทักษะ 7 ความสำคัญของแบบฝึกทักษะ 8 Liveworksheets 8 3. วิธีการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย 9 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 9 การเก็บรวบรวมข้อมูล 10 การวิเคราะห์ข้อมูล 10 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 11 4. ผลการดำเนินการวิจัย สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 12 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 12 5. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 15 ขอบเขตของการวิจัย 15


สารบัญ(ต่อ) เรื่อง หน้า เครื่องมือที่ใช้ในของการวิจัย 16 สรุปผลการวิจัย 16 อภิปรายผลการวิจัย 16 ข้อเสนอแนะ 17 บรรณานุกรม 18 ภาคผนวก 19


บทที่ 1 บทนํา ความเป็นมาและความสำคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 ได้บัญญัติในเรื่องแนวทางการจัดการศึกษาหมวด4 ตาม มาตรา 22 ไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และ ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดในกระบวนการเรียนรู้ ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความ สนใจและความถนัดของผู้เรียนคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยวิธีต่าง ๆตาม สติปัญญาและความสามารถของตนการจัดการศึกษามุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ความคิด ความสามารถ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาคนให้มีความสมดุล โดยยึดหลักผู้เรียน สำคัญที่สุด ( กระทรวงศึกษาธิการ.2542 : 23 ) การวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้การปฏิรูปการเรียนรู้ประสบความสำเร็จดังจะ เห็นได้จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บททางการศึกษาของไทย ได้ให้ ความสำคัญกับการวิจัยและกำหนดมาตรา หลายมาตราที่ชี้ให้เห็นว่าการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้กล่าวคือ มาตรา 24 (5) ระบุให้ใชการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถใช้การ วิจัยเพื่อศึกษาค้นคว้าหาคําตอบหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การวิจัยจึงสัมพันธ์กับกระบวนการเรียนรู้ซึ่งจะช่วย ฝึก กระบวนการคิด วิเคราะห์ หาเหตุผลในการตอบปัญหา และแก้ไขปัญหา มาตรา 30 ระบุให้ครูผู้สอนทำ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ผู้สอนนอกจากจัดกระบวนการเรียนการสอนแล้ว ยังใช้ การวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการรู้คําตอบพัฒนาควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการ กระบวนการจัดการเรียนการสอนและทำการวิจัยให้เป็นระบวนการเดียวกัน การเรียนการสอนศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวีส่วนใหญ่จัดผู้เรียนเป็นห้อง ๆ โดยให้ผู้เรียนเรียน คละกันทั้งเก่งและอ่อน ดังนั้นการปลูกฝังความมีระเบียบวินัย คุณธรรม ความซื่อสัตย์ความเป็นมนุษย์ ความ กตัญญู รักเกียรติภูมิแห่งตน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วม มีความรู้จักคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นกลุ่ม เคารพ สิทธิของผู้อื่น เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านสติปัญญา ความถนัด คุณธรรม จริยธรรม ความสามารถและประสบการณ์ จึงทำให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจ ในเรื่องที่เรียนแตกต่างกัน ถ้าครูสอน เร็วผู้เรียนที่เรียนอ่อนจะตามไม่ทันครู สอนซ้ำอธิบายมาก ๆ ผู้เรียนก็จะเกิดความเบื่อหน่าย การปลูกฝัง คุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นไปได้ยากครูผู้สอนต้องหาวิธีการสอนหลายๆอย่างเพื่อทำให้ผู้เรียนสนใจและมีเจคติที่ ดีต่อการเรียนการสอน ในการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้วิธีหนึ่งที่จะช่วยในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและยัง ปลูกฝังระเบียบวินัยคุณธรรมจริยธรรม ให้ดีขึ้นได้แก่การนําเอาวิธีการสอนมาให้ใช้เหมาะสมกับลักษณะวิชา กล่าวคือครูจะต้องหาวิธีการสอน ที่ได้ผลมาใช้กับนักเรียน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม ปัจจุบันการเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่างๆ ของโลกยุคโลกาภิวัฒน์มีผล ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรม ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ จึงท ำให้ นักศึกษามีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป


เมื่อพิจารณาเป้าหมายประการหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คือ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ดีเก่ง มีสุข ผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างผู้เรียนให้ไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยจะต้องคํานึงมาตรฐานคุณภาพ การจัดการเรียนรู้และบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการวิจัยให้เป็นกระบวนการเดียวกัน นั่น คือ ผู้สอนจะต้องจัดกระบวนการเรียนการสอน และใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทำการวิจัย เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา และนําผลการวิจัยมาใช้ปรับปรุง กระบวนการเรียนการสอนบางส่วนของผู้เรียน กระบวนการวิจัยจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเครื่องมือการ เรียนรู้ติดตัวไปตลอดชีวิต เพราะการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย จะฝึกให้ผู้เรียนค้นคว้าทดลองหรือศึกษาหา ความรู้อย่างมีแผนงานที่เป็นระบบน่าเชื่อถือได้ การเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 ซึ่งเป็นกลุ่มสาระพัฒนาสังคม บทที่1เรื่องว่าด้วยเรื่องเงิน มีมาตรฐาน การเรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนังถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต จึงเกิดปัญหาของการเรียนรู้วิชาการเงินเพื่อชีวิต 3คือ การขาดสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะ เรียนรู้ได้ไม่เหมือนกับสื่อต่างๆ ที่ได้พบเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ถูกสร้างมาให้น่าสนใจมากกว่า ซึ่ง ปัจจุบัน นักเรียนให้ความสนใจแต่สื่อสมัยปัจจุบันเสียมากกว่า โดยเฉพาะสื่อทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร (ICT : Information and Communication Technology) จึงเป็นสาเหตุให้การเรียนการสอนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่หลักสูตรได้กำหนดผลจึงท ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษาตั้งไว้ การใช้เทคโนโลยีด้านการเรียนการสอนมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลทำให้ไม่ว่า จะอยู่ณ มุมใด ของโลก ก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทันทีซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญและมีประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย ทั้ง ทางด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านธุรกิจการค้าและบริการ และ ทางด้านการศึกษาเทคโนโลยีด้าน IT สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่าง ดีเพราะเป็นแหล่งความรู้ที่มีข้อมูลมากมายมหาศาล ซึ่ง ข้อมูล เหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ได้การติดต่อสื่อสารดังกล่าว คือการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย หรือที่ เรียกว่า อินเตอร์เน็ต และ อินเตอร์เน็ตจึงกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในกระบวนการการเรียนการสอน ตลอดจนการ เรียนรู้ซึ่งสามารถใช้เป็นส่วนเสริมในการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ เนื่องจากกลุ่มนักศึกษา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวีอยู่ในช่วงวัยที่สร้างเนื้อสร้างตัวและต้อง ทำงานตามเวลา และบางกลุ่มไม่สามารถมาเรียนได้ครบทุกครั้ง ครูจึงจําเป็นจะต้องออกแบบการจัดการเรียน การสอนออนไลน์ให้กับนักศึกษา แต่มีนักศึกษาบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้ ซึ่งการเรียน ออนไลน์นั้นนักศึกษต้องได้ประโยชน์สูงสุด นักศึกษมีความสุข สนุกสนานกับการเรียน ครูจึงต้องมีเทคนิคการ สอน การออกแบบการเรียน และสื่อการสอนที่หลากหลาย โดยจากการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โค วิด 19 ที่ผ่านมาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 พบว่า นักศึกษาจำนวน 44 คนมีผลการเรียนต่ำกว่าระดับ 2 คิดเป็นร้อยละ19.41 ซึ่งน้อยกว่าค่าเป้าหมายของสถานศึกษากำหนดไว้ ซึ่งเป็นประเด็นที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษากำหนดไว้ดังนั้น ครูผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยได้ทำวิจัยเรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3


เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระ มงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets ขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อสร้างแบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets ว่าด้วยเรื่องของเงิน 2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขต ราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขต ราชเทวี สมมุติฐานของการวิจัย นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ที่ได้รับการ สอนโดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงขึ้น ความสำคัญของการวิจัย 1. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 ซึ่งเป็นกลุ่มสาระพัฒนา สังคม เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน เพิ่มขึ้น 2. ได้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ที่มีประสิทธิภาพ 3. สถานศึกษาสามารถนําแนวทางนี้ไปส่งเสริมให้ครูคนอื่น ๆ ได้นําไปพัฒนากลุ่มสาระอื่นๆได้ตาม มาตรฐานการเรียนรู้ ขอบเขตของการวิจัย 1. เนื้อหา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้เนื้อหาของกลุ่มสาระพัฒนาสังคมนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่ม บ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน 2. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ภาคเรียนที่ 1 / 2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี จำนวน 44 คน


กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ภาคเรียนที่ 1 / 2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี จำนวน 25 คน ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง 3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 3.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การสอนโดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่อง ของเงิน 3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน โดยใช้แบบฝึกหัดดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets


บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระ มงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheetsผู้ศึกษาได้ ค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยลำดับเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1. หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2. เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน 3. ความหมายของแบบฝึกทักษะ 4. ความสำคัญของแบบฝึกทักษะ 5. Liveworksheets หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 1) สาระการเรียนรู้ 5 สาระคือ ทักษะการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐาน การประกอบอาชีพ ทักษะการดำเนิน ชีวิต และการพัฒนาสังคม 2) จำนวนหน่วยกิตในแต่ละระดับ ดังนี้ 2.1) ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาบังคับ 36 หน่วยกิต และวิชา เลือกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต 2.2) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาบังคับ 40 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต 2.3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาบังคับ 44 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต 3) ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับละไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้ สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้ มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้ มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย


สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 3.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทางและ ตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ และศักยภาพของตนเอง มาตรฐานที่ 3.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในอาชีพที่ตัดสินใจเลือก มาตรฐานที่ 3.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการอาชีพอย่างมีคุณธรรม มาตรฐานที่ 3.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและ สามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริม สุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและสุนทรียภาพ สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าและสืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบ สุขของสังคม มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถ พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม เนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน เงินเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อหาสิ่งของหรือ บริการเพื่อให้สามารถดำรงชีพ หรือเพื่อความสะดวกสบาย เงินที่รู้จักกันส่วนใหญ่มี 2 ชนิด คือ ธนบัตรและ เหรียญกษาปณ์โดยในประเทศไทยใช้สกุลเงินบาท อย่างไรก็ดี หากต้องเดินทางหรือทำการค้าที่ต่างประเทศ ก็ จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินตราของประเทศอื่น ๆด้วย ซึ่งค่าของเงินในแต่ละประเทศจะไม่เท่ากัน จึงต้องมี การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นเพื่อเทียบราคาของเงินตราประเทศหนึ่งกับเงินตราของอีกประเทศหนึ่งเมื่อ ได้รับเงินจากแหล่งต่าง ๆ เช่น จากการประกอบอาชีพ สิ่งที่ควรทำคือแบ่งเงินบางส่วนไปเก็บออมเพื่อ วัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เป็นค่าใช้จ่ายหลังเกษียณหรือเลิกทำงาน แต่บางครั้งการเก็บออมเงิน


ไว้ใช้ยามฉุกเฉินอาจไม่เพียงพอที่จะรองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน จึงอาจต้องพิจารณาความจำเป็นในการทำ ประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงที่ไม่คาดคิดเช่น ประสบอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์นั้นบริษัท ประกันภัยจะเป็นผู้จ่ายสินไหมทดแทนให้ตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้ในกรมธรรม์ นอกจากการออมเงินที่ได้ ผลตอบแทนแล้ว การลงทุนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน ผู้ลงทุนจึง ควรมีความรู้ความเข้าใจเพื่อเลือกรูปแบบการลงทุนที่เหมาะกับตนเอง และสามารถรับความเสี่ยงได้ด้วยยุค สมัยปัจจุบันเปลี่ยนไป มีการนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกเพื่อให้ใช้เงินได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องพกพาเงินสด จำนวนมาก เช่น บัตรเดบิต และบัตรเครดิต ซึ่งแต่ละชนิดออกแบบมาเพื่อลักษณะการใช้งานที่ต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีช่องทางการชำระเงินที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น internet payment, mobile payment ที่ทำให้ การโอนเงิน ชำระเงินเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร นอกจากเงินจะมีบทบาท สำคัญต่อชีวิตประจำวันของทุกคน ยังเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบ ทั้งในด้านการลงทุน การผลิต และการจ้างงาน จึงมีผู้ให้บริการทางการเงินในระบบจำนวนมากซึ่งมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไปใน การตอบสนองระบบเศรษฐกิจในแต่ละด้าน โดยสถาบันการเงินมีทั้งที่รับฝากเงิน และไม่ได้รับฝากเงิน ซึ่ง ผู้ใช้บริการทางการเงินสามารถวางใจและเชื่อถือได้ เนื่องจากมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ความหมายของแบบฝึกทักษะ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 ( 2525. 2526 : 483 ) ได้ให้ความหมายของแบบฝึกไว้ว่า แบบฝึกหมายถึง แบบตัวอย่าง ปัญหา หรือคำสั่ง ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียนฝึกตอบ สุนันทา สุนทรประเสริฐ 2543 : 2 กล่าวว่า “เมื่อครูได้สอนเนื้อหา แนวคิด หรือหลักการเรื่องใดเรื่อง หนึ่งให้กับนักเรียน และนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นแล้ว ขั้นต่อไปครูจำเป็นต้องจัดกิจกรรมให้ นักเรียนได้ฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชํานาญ คล่องแคล่ว ถูกต้องแม่นยํา และรวดเร็ว หรือที่เรียกว่าฝึกฝนเพื่อให้ เกิดทักษะ” สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2543: 190 ) กล่าวว่า “แบบฝึกหัด เป็นสื่อการ เรียนประเภทหนึ่งสำหรับให้นักเรียนฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่หนังสือ เรียนจะมีแบบฝึกหัดอยู่ท้ายบทเรียน แบบฝึกหัดส่วนใหญ่จะจัดทำในรูปของแบบฝึกหัดหรือชุดฝึกซึ่งนักเรียน จะฝึกหัดเรียนด้วยตนเอง และจัดทำเป็นชุดเน้นพัฒนา หรือเสริมทักษะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง” สุนันทา สุนทรประเสริฐ ( 2543 : 2 ) กล่าวว่า “ความสำคัญของแบบฝึก หรือแบบฝึกหัด พอสรุปได้ ว่า แบบฝึกหรือแบบฝึกหัด คือสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่ง ที่ใช้ฝึกทักษะให้กับผู้เรียนหลังจากเรียนจบ เนื้อหาในช่วงหนึ่งๆ เพื่อฝึกฝนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งเกิดความชํานาญในเรื่องนั้นๆอย่างกว้างขวาง มากขึ้น” จากที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้ว่า แบบฝึก หมายถึง สื่อการสอนชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง ในการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียน จะมีแบบฝึกหัดเป็นกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกฝนและกิจกรรมควรมีรูปแบบที่ หลากหลายดังนั้นแบบฝึกหัดจึงมีความสำคัญต่อผู้เรียนเป็นอย่างมากในการช่วยเสริมสร้างทักษะให้กับผู้เรียน ได้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้รวดเร็วขึ้น ชัดเจนขึ้น กว้างขวางขึ้น ทำให้การสอนของครูและการเรียนของ นักเรียนประสบผลสำเร็จอย่างมีประสทธิ ิภาพ


ดังนั้นแบบฝึกจึงมีความสำคัญต่อผู้เรียนไม่น้อย ในการที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะให้กับผู้เรียนได้เกิด การเรียนรู้และเข้าใจได้เร็วขึ้น ชัดเจนขึ้น กว้างขวางขึ้น ทำให้การสอนของครู และการเรียนของนักเรียนประสบ ผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญของแบบฝึกทักษะ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2537) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกเสริม ทักษะ ดังนี้ 1. เป็นส่วนเพิ่มเติม หรือเสริมหนังสือเรียน 2. ช่วยเสริมทักษะการใช้ภาษาให้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องอาศัยการส่งเสริมและความเอาใจใส่จาก ครูผู้สอนด้วย 3. ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะการที่ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่เหมะสมกับ ความสามารถของเขาจะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จ 4. แบบฝึกช่วยเสริมทักษะทางภาษาคงทน 5. การให้นักเรียนทำแบบฝึก ช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นหรือจุดบกพร่องของนักเรียนได้ชัดเจน ซึ่งจะ ช่วยให้ครูดำเนินการปรับปรุง แก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ทันท่วงที 6. แบบฝึกที่จัดพิมพ์ไว้เรียบร้อยแล้ว จะช่วยให้ครูประหยัดแรงงาน และเวลาในการที่จะเตรียมการ สร้างแบบฝึกนักเรียนไม่ต้องเสียเวลาในการคัดลอกแบบฝึก ทําให้มีเวลาและโอกาสได้ฝึกฝนมากขึ้น Liveworksheets Liveworksheets คือ เว็บไซต์ที่ให้ครูหรือบุคคลที่สนใจสามารถสร้างใบงานแบบฝึกหัดออนไลน์และ ให้นักเรียนเข้ามา ทำใบงานออนไลน์ได้โดย ไม่ต้องพิมพ์เป็นกระดาษออกมา อีกทั้งยังสามารถตรวจคะแนน หรือส่งคําตอบให้ครูผ่านทางอีเมลและยังมีความสามารถอื่น ๆ อีกมากมายตัวอย่างรูปแบบใบงานใน Live worksheets เช่น - แบบให้นักเรียนเติมคําตอบเอง - แบบโยงหรือจับคู่คําตอบ - แบบเลือกตอบจริง/เท็จ - แบบลากคําตอบมาเติม - แบบทำเครื่องหมาย ✓ - แบบเลือกคําตอบจากตัวเลือก Liveworksheets มีข้อดีดังนี้ 1. ระบบตรวจคําตอบให้ทันทีนักเรียนรู้ผลทันทีสะดวกต่อการเก็บคะแนน 2. สามารถออกแบบให้น่ารัก ดึงดูดความสนใจโดยใช้ canva ออกแบบได้ 3. ใบงานมีความหลากหลาย ไม่จำเจ 4. สามารถนําใบงานของครูท่านอื่นมาปรับแก้ได้


บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการ เรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าโดย ลำดับ ดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การจัดกระทำข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ภาคเรียนที่ 1 / 2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี จำนวน 44 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ภาคเรียนที่ 1 / 2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี จำนวน 25 คน ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. นวัตกรรม แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ภาคเรียนที่ 1 / 2566 ศูนย์ส่งเสริม การเรียนรู้เขตราชเทวี ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 3 ชุด เวลา 3 ชั่วโมง ดังนี้ ชุดที่ 1 ประเภทของเงิน ชุดที่ 2 การฝากเงิน การประกันภัย และการลงทุน ชุดที่ 3 การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิ เลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ โดยใช้ทดสอบก่อนการใช้แบบฝึกหัดออน์ไลน์และหลัง เรียนใช้แบบฝึกหัดออนไลน์เสร็จสิ้นแล้วใช้แบบทดสอบชุดเดิมทดสอบหลังการใช้แบบฝึกหัดออน์ไลน์


วิธีการสร้างเครื่องมือ 1. การพัฒนาแบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่อง เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ผู้วิจัยได้ พัฒนาชุดแบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ดังนี้ 1.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 1.2 ศึกษาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สาระการพัฒนาสังคม 1.3 ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 1.4 ศึกษาค้นคว้า ตํารา วารสาร บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 และรายละเอียดวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางใน การสร้างชุดฝึกการเรียน 1.5 ศึกษาการสร้างแบบฝึกหัดออนไลน์ด้วย www.liveworksheets.com 1.6 สร้างแบบฝึกหัดออนไลน์ด้วย www.liveworksheets.com จำนวน 3 หน่วย ประกอบด้วย ประเภทของเงิน การฝากเงิน การประกันภัย และการลงทุน และ การชำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ 1.7 นําแบบฝึกหัดออนไลน์ มาใช้สอนจริง โดยใช้คู่กับแผนการจัดการเรียนรู้มาจัดกิจกรรม สอน ในขั้นสรุปบทเรียนของแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผน กับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ค้นคว้าได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1. ชี้แจงวัตถุประสงค์ 2. ทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลงรียกับกลุ่มตัวอย่าง 3. เริ่มดำเนินการสอน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกหัดออนไลน์ที่สร้างขึ้น ใช้ เวลาทั้งหมด จำนวน 6 ชั่วโมง โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ทั้งหมด จำนวน 3 ชุด 4. เมื่อทดลองใช้แบบฝึกหัดออนไลน์จนครบทั้ง 3 ชุดแล้ว ก็ทดสอบหลังเรียน โดยใช้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนชุดเดิม การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนําข้อมูลที่ได้มาหาความถี่แล้ววิเคราะห์ บรรยายเป็นความเรียงประกอบตาราง โดยเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ย ค่าร้อยละ ระหว่างการทดสอบครั้งแรกกับครั้งหลังของกลุ่ม ตัวอย่างและเปรียบเทียบคะแนนการแบบฝึกหัดออนไลน์กับคะแนนทดสอบหลังเรียน


สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ 1.หาค่าคะแนนเฉลี่ย คํานวณจากสูตร(บุญชม ศรีสะอาด.2545:105) เมื่อ 2. หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คํานวณจากสูตร(บุญชม ศรีสะอาด.2545:106) 3. คะแนนพัฒนาการ คํานวณจากสูตร(ศริชัย กาญจนวาสี.2552:266-267)


บทที่ 4 ผลการดำเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการ เรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล และเสนอผลการ วิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้นําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้การนําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นที่เข้าใจตรงกัน ได้กำหนดความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ นําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ N แทน จำนวนนักเรียน แทน คะแนนเฉลี่ย DS(%) แทน คะแนนร้อยละของพัฒนาการของนักเรียน(คิดเป็นร้อยละ) F แทน คะแนนเต็มของการวัดครั้งแรกและครั้งหลัง X แทน คะแนนของการวัดครั้งแรก Y แทน คะแนนของการวัดครั้งหลัง 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 2.1 การวิเคราะห์หาคะแนนพัฒนาการ โดยมีรายละเอียด ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ค่าคะแนนพัฒนาการของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี หลังจากเรียนด้วยแบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน เลขที่ คะแนนทดสอบ ก่อนเรียน(20) คะแนนทดสอบ หลังเรียน(20) คะแนนพัฒนาการ (%) 1 12 14 25.00 2 14 15 16.67 3 11 15 44.44 4 15 16 20.00 5 13 15 28.57 6 12 14 25.00 7 14 16 33.00 8 16 18 50.00


เลขที่ คะแนนทดสอบ ก่อนเรียน(20) คะแนนทดสอบ หลังเรียน(20) คะแนนพัฒนาการ (%) 9 12 15 37.50 10 14 16 33.33 11 11 14 33.33 12 10 15 50.00 13 13 16 42.89 14 14 17 50.00 15 11 15 44.44 16 14 16 33.33 17 12 15 37.50 18 12 14 25.00 19 13 16 42.86 20 11 14 33.33 21 11 14 33.33 22 13 16 42.86 23 14 16 33.33 24 13 17 57.14 25 14 15 16.67 เฉลี่ยรวม 12.76 15.36 36.58 จากตารางที่ 1พบว่าคะแนนพัฒนาของนักศึกษาแต่ละคนมีคะแนนพัฒนาการเพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ย คะแนนพัฒนาการของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎ เกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวีหลังจากเรียนด้วยแบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่า ด้วยเรื่องของเงิน คือร้อยละ 36.58 2.2 การวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจต่อการเรียนของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่ม บ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวีหลังจากเรียนด้วย แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ระดับความพึงพอใจต่อการเรียนของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี หลังจากเรียนด้วยแบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน


หัวข้อประเมิน S.D. แปลผล 1. ครูมีการเตรียมการสอนอย่างดี 3.32 0.76 มากที่สุด 2. กิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียน การสอน 3.23 0.79 มากที่สุด 3. ครูส่งเสริมให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และรายบุคคล 3.43 0.70 มากที่สุด 4. กิจกรรมการเรียนสนุกและน่าสนใจโดยใช้ liveworksheets 3.50 0.63 มากที่สุด 5. นักศึกษาเข้าใจผ่านแบบฝึกหัด liveworksheets 3.43 0.69 มากที่สุด 6. ครูใช้วิธีการสอนและใช้สื่ออย่างหลากหลาย 3.36 0.76 มากที่สุด 7. ครูตั้งใจสอน ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ อํานวยความสะดวกแก่ นักศึกษาในการทำกิจกรรม 3.39 0.77 มากที่สุด 8. นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุข 3.41 0.69 มากที่สุด เฉลี่ยรวม 3.38 0.72 มากที่สุด จากตารางที่ 2 พบว่าระดับความพึงพอใจต่อการเรียนของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่ม บ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี หลังจากเรียนด้วย แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมากที่สุด( = 3.38 ,S.D.=0.72) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ กิจกรรมการ เรียนสนุกและน่าสนใจโดยใช้liveworksheets ( = 3.50 ,S.D.=0.63) รองลงมาได้แก่ นักศึกษาเข้าใจผ่าน แบบฝึกหัด liveworksheets ( = 3.43 ,S.D.=0.69) และครูส่งเสริมให้นักศึกษาทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม และ รายบุคคล( = 3.43 ,S.D.=0.70) ตามลำดับ


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมกา เรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets ผู้วิจัยได้สรุป อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ ตามรายละเอียดต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อสร้างแบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets ว่าด้วยเรื่องของเงิน 2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขต ราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขต ราชเทวี ขอบเขตของการวิจัย 1. เนื้อหา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้เนื้อหาของกลุ่มสาระพัฒนาสังคมนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่ม บ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน 2. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ภาคเรียนที่ 1 / 2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี จำนวน 44 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ภาคเรียนที่ 1 / 2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี จำนวน 25 คน ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง 3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 3.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การสอนโดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่อง ของเงิน 3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน โดยใช้แบบฝึกหัดดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. นวัตกรรม แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ภาคเรียนที่ 1 / 2566 ศูนย์ส่งเสริม การเรียนรู้เขตราชเทวี ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 3 ชุด เวลา 3 ชั่วโมง ดังนี้ ชุดที่ 1 ประเภทของเงิน ชุดที่ 2 การฝากเงิน การประกันภัย และการลงทุน ชุดที่ 3 การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิ เลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ โดยใช้ทดสอบก่อนการใช้แบบฝึกหัดออนไลน์และหลัง เรียนใช้แบบฝึกหัดออนไลน์เสร็จสิ้นแล้วใช้แบบทดสอบชุดเดิมทดสอบหลังการใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1.ได้สร้างแบบฝึกหัดออนไลน์ด้วย Liveworksheets จํานวน 3 ชุด ได้แก่ ประเภทของเงิน การฝาก เงิน การประกันภัย และการลงทุน และการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ของนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนพัฒนาการ คือร้อย ละ 36.58 3. ระดับความพึงพอใจของของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีความพึงพอใจเฉลี่ยระดับมากที่สุดต่อการเรียน เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน โดยใช้ แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่านLiveworksheets อภิปรายผลการศึกษา รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ของ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์ส่งเสริมการ เรียนรู้เขตราชเทวี โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets มีข้อค้นพบที่นํามาอภิปรายผลได้ ดังนี้ 1.นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีคะแนน พัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนคือร้อยละ 36.58 ของเรื่องว่าด้วยเรื่องของ เงิน แสดงว่านักศึกษาที่เรียนด้วยแบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets สามารถพัฒนาทักษะทางการ


เรื่องว่าด้วยเรื่องของเงิน ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อาจเป็นเพราะรูปแบบวิธีการของแบบฝึกหัด ออนไลน์มีความเหมาะสมกับระดับของนักศึกษาจากสาเหตุดังกล่าวทำให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้น และส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มบ้านพัก ข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีความพึงพอใจเฉลี่ยระดับมากที่สุดต่อการเรียนเรื่องว่าด้วยเรื่องของ เงิน โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ผ่าน Liveworksheets 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง ว่าด้วยเรื่องของเงิน โดยรวมในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะ 1.ข้อเสนอแนะในการสร้าง แบบฝึกหัดออนไลน์ 1.2 ควรคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างแบบฝึกหัดออนไลน์และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ต้อง สอดคล้องสัมพันธ์กัน 1.3 แบบฝึกหัดออนไลน์ที่สร้างขึ้นต้องสามารถพัฒนาการเรียนของผู้เรียนได้จริง 1.4 แบบฝึกหัดออนไลน์ต้องน่าสนใจ ใส่รูปภาพ สีสันที่สดใสประกอบ เพื่อให้นักศึกษาอยาก สัมผัส อยากฝึก 1.5 ควรใช้แบบฝึกหัดออนไลน์ในทุกหน่วยการเรียนวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3


บรรณานุกรม นิตยา ฤทธิโยธี. ลักษณะของแบบฝึก.ไม่ปรากฏโรงพิมพ์, 2520.40 - 41 ประทีป แสงเปี่ยมสุข.ประโยชน์ของแบบฝึก.ไม่ปรากฏโรงพิมพ์, 2538 ไพบูลย์ เทวรักษ์.กฎการฝึกหัด.ไม่ปรากฏโรงพิมพ์, 2540 ไพรัตน์ สุวรรณแสน.ลักษณะของแบบฝึกที่ดี.( จิรพา จันทะเวียง. 2542 : 43 ; อ้างอิงจากไพรัตน์สุวรรณแสน.ม.ป.ป. ) สุนันทา สุนทรประเสริฐ. การผลิตนวัตกรรมการเรียน การสอน การสร้างแบบฝึก. ไม่ปรากฏโรงพิมพ์, 2544. สุนันทา สุนทรประเสริฐ. การผลิตปฎิรูปการเรียนรู้ปฏิรูปการศึกษา. ไม่ปรากฏโรงพิมพ์, 2544. วัญญา วิศาลาภรณ์ .คุณประโยชน์ของแบบฝึก. ไม่ปรากฏโรงพิมพ์, 2533 : 23 วรสุดา บุญไวโรจน์ ( อ้างถึงใน สุนันทา สุนทรประเสริฐ2543 : 9-10 ) ,ลักษณะของแบบฝึกที่ดี. ไม่ปรากฏโรงพิมพ์, 2536:37 วิชาการ , กรม. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว , 2545. วิชาการ กรม. คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว , 2545 อดุลย์ บุญปลื้ม.(2539). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคํา สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกที่จัดคําเป็นกลุ่มคําและแบบฝึกที่จัดคําคละคํา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.


ภาคผนวก


แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อน-หลังเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน


แบบทดสอบหลังเรียน


แบบฝึกหัดออนไลน์ แบบฝึกหัดออนไลน์ ชุดที่ 1 เรื่องประเภทของเงิน


แบบฝึกหัดออนไลน์ ชุดที่ 2 เรื่องการฝากเงิน การประกันภัย และการลงทุน


แบบฝึกหัดออนไลน์ ชุดที่ 3 เรื่องการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์


ภาพประกอบการจัดการเรียนการสอน


ประวัติย่อของผู้วิจัย ชื่อ นางสาวสุมิตรา ผันอากาศ วันเดือนปีเกิด 17 มิถุนายน 2534 ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 901/1403 คอนโดยูนิโอจรัญ3 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600 ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี สถานที่ทำงานปัจจุบัน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตราชเทวี ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2547 มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสตรีศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2550 มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ดพ.ศ. 2551 พ.ศ. 2553 ปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร


Click to View FlipBook Version