The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ตอนที่ 1 สมุนไพรประคบ อบ อาบ นวด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by montiansawatchan2134, 2022-09-15 10:35:11

ตอนที่ 1 สมุนไพรประคบ อบ อาบ นวด

ตอนที่ 1 สมุนไพรประคบ อบ อาบ นวด

Keywords: ตอนที่ 1 สมุนไพรประคบ อบ อาบ นวด

สอื่ การสอนอเิ ลค็ ทรอนิกส์
โดย

นางธันยช์ นก พรมภกั ดี
เร่อื งที่ 8

สมุนไพรประคบ อบ อาบ นวด
ตอนท่ี 1

สมนุ ไพรประคบ อบ อาบ นวด

เรือ่ งท่ี 8
สมนุ ไพรประคบ อบ อาบ นวด

นางธนั ยช์ นก พรมภกั ดี

ตอนที่ 1
สมนุ ไพรประคบ อบ อาบ นวด

สมุนไพรประคบ อบ อาบ นวด เป็นสมุนไพรที่ใช้เยียวยารักษาในการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์พืน้ บ้านที่ใช้หลักการพื้นฐานคือ การสง่ ตวั ยาและความร้อนผา่ นทางระบบผวิ หนังและเย่ือบุ
รวมถึงผ่านลมหายใจสูดเข้าไป ความร้อนจะทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดการอักเสบ
ทำให้รูขุมขนเปิดกว้าง ช่วยระบายความร้อนและกำจัดของเสียออกจากร่างกาย จึงสามารถลดอาการ
บวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ ทำให้เลือดลมเดินสะดวกขึ้น ต่อมน้ำเหลือง
ที่ผิวหนังได้รับการกระตุ้นให้ทำงานภูมิคุ้มกันก็ดีขึ้น จึงทำให้รู้สึกโล่งสบายเนื้อ เบาตัว สมุนไพรหลัก
ที่นิยมใช้ในตำรับยาประคบ อบ อาบ นวด เช่น พลับพลึง กระดูกไก่ดำ มะกรูด มะขาม ตระไคร้
ไพร ฯลฯ ดงั รายละเอยี ดต่อไปนี้

1.1 สมนุ ไพรพลับพลงึ

ข้อมูลทั่วไปของสมนุ ไพรพลับพลงึ

พลับพลึง เป็นชื่อเรียกทีร่ ู้จักกันทั่วไป แต่มีชื่อเรียกอืน่ ตามท้องถ่ิน เช่น ว่านชน หมอกคัดตา
เก้าคำหล่อ ลิลัว ฯลฯ อยู่ในวงศ์ Amylidaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Crimum asiaticum L.
(ปรรณณวัชญ์ ไชยวัฒนนันทน์ และคณะ, 2563) มีลักษณะเป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว อวบน้ำ เรียงเวียน
รอบลำตน้ ดอกช่อ กลีบดอกสขี าว มกี ลนิ่ หอม ปลายเกสรสีแดง การขยายพันธุ์โดยใชห้ วั ใตด้ นิ

ภาพที่ 8.1 ลักษณะของต้นพลบั พลึง
ทมี่ า : ธนั ยช์ นก พรมภักดี (2562).

เรอ่ื งเลา่ จากหมอยาปราจีนเกย่ี วกับสรรพคณุ ของสมุนไพรพลับพลึง

หมอถาวร บุญสร้อย หมอยาพื้นบ้านจังหวัดปราจีนบุรีเล่าถึงสมุนไพรพลับพลึงว่า หากใคร
ไม่ทราบถึงสรรพคณุ ของพลับพลึงกจ็ ะมองว่าเป็นไม้ประดับธรรมดาในสายตาคนทัว่ ไป เพราะช่อดอก
เป็นสีขาว สวยงาม เหมาะสมกับเป็นไม้ดอกตกแต่งสวน แต่คนโบราณมองต้นพลับพลึงในความเช่ือ
ท่วี ่าใชไ้ ล่ผีท่มี ีฤทธ์ิเดชแรง ๆ หรอื แมแ้ ต่ผีฟ้า เวลาจะหักรา้ งถางพงบริเวณไหน กจ็ ะนำว่านชนไปปลูก
เพื่อไลผ่ ปี ่า ผีฟา้ ผปี ระจำตน้ ไม้ ไล่ความอัปมงคลท่ีอย่บู ริเวณนนั้ เวลาใช้ไล่ผีและส่ิงอัปมงคลจะนำใบ
ว่านชนสด ๆ ใบสม้ ป่อย ใบนอ้ ยโหน่ง มาซอยใส่ในขนั นำ้ มนต์เพอ่ื ไลส่ ิง่ อัปมงคลดว้ ย

สรรพคุณทางสมุนไพร พลับพลึงนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาเด็กในสมัยก่อนที่เป็นโรคซาง
หละ เขม่า หรือมีปัญหาปากลิ้น โดยใช้ใบพลับพลึง ไพล เมล็ดผักกาด น้ำมันงูเหลือม ว่านน้ำ ยา 5
สง่ิ น้ี เอาเสมอกัน ตำคลุ ีการเข้ากัน อนุ่ ไฟใหร้ ้อน หอ่ ผา้ ประทบั ชายโครง ให้เสมหะในโครงนัน้ เลอ่ื นลง
ไปอยู่ท้อง เป็นยาแก้พิษตานซางได้เป็นอย่างดี นอกจากน้ีคนโบราณนิยมนำใบพลับพลึงมารักษา
อาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ คลายเส้น แก้อาการฟกช้ำ ปวดบวม และใช้ใบประคบหน้าท้อง
คุณแม่หลังคลอดหรืออยู่ไฟ เพ่ือทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว พลับพลึงจะใช้เป็นยาภายนอก โดยนำใบมา
ลนไฟให้ตายน่ึงแลว้ พันตามอวัยวะที่เคล็ดยอก บวม หกั แพลง หรือใช้ทำเปน็ ยาประคบ ยาอบ ยาย่าง
แต่ไม่ใช้เปน็ ยากนิ เน่อื งจากมพี ษิ (ถาวร บญุ สรอ้ ย, 2561)

ภาพที่ 8.2 การใช้ใบพลบั พลึงในการทบั หม้อเกลือของผูห้ ญิงหลงั คลอด
ทม่ี า : ธนั ย์ชนก พรมภกั ดี (2562).

ตำรับหมอยาปราจีน
ตำรบั ที่ 1 ยาประคบแกป้ วดเม่อื ย บำรงุ ผิว แกว้ ิงเวียน แก้เคล็ดขัดยอก

นำว่านชน ไพล ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย เกลือแกง ใบเปล้า ใบหนาด
การบูร ตำแลว้ นำไปทำเป็นยาประคบ
ตำรบั ท่ี 2 ยาประคบเสน้

นำเทียนดำ 1 บาท เกลือ 1 บาท อบเชย 2 บาท ใบพลับพลึง 8 บาท ใบมะขาม 12 บาท
ไพล 4 บาท ตำหอ่ ผา้ นึง่ ใหร้ ้อน ประคบเส้นตึงให้หยอ่ น
ตำรบั ท่ี 3 ยาประคบอาการมึนชาตามตัว ปาก คอ ไม่มแี รง

นำพลับพลึง หัวเตยสด บัวบก เปลือกไม้แดง ใบเอ็นอ่อน ใบเสนียด ไพล ขมิ้น ใส่เกลือ
เล็กนอ้ ย นำไปประคบบริเวณที่มึนชา ข้อปฏิบัติ คอื ห้ามกินผลไม้ เน้อื ไข่ หลังจากประคบแลว้ ให้เดิน

ภาพท่ี 8.3 ยาประคบจากใบพลับพลงึ
ทม่ี า : ธันย์ชนก พรมภักดี (2562).

ตำรับที่ 4 ยาประคบแม่หลงั คลอด (ทบั หมอ้ เกลือ)
นำหม้อดิน เกลือเม็ด ใบพลับพลึง 3 ใบ โดยเอาเกลือใส่ในหม้อดิน แล้วนำไปตั้งไฟให้ร้อน

ใช้ใบพลบั พลึง 3 ใบ รองทก่ี น้ หม้อ นำไปวางทหี่ น้าท้อง ช่วยให้มดลกู แหง้ เรว็ เขา้ อ่เู ร็ว เหมาะสำหรับ
คนเพ่งิ คลอดลูกใหม่
1.2 สมนุ ไพรกระดกู ไกด่ ำ

ข้อมูลทั่วไปของสมุนไพรกระดูกไก่ดำ
กระดูกไก่ดำ เป็นชื่อเรยี กที่รูจ้ กั กันทั่วไป แต่มีชื่อเรียกอื่นตามท้องถ่ิน เช่น บัวฮาดำ ขาไก่ดำ
ต๊ับส่งิ ดำ เฉยี งพรา้ มอญ บูฮาดำ ฯลฯ อย่ใู นวงศ์ ACANTHACEAE มชี ่ือทางวทิ ยาศาสตร์ คือ Justicia
gendarussa Burm. f. (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2556) มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม
ดอกช่อ กลีบดอกสีขาวอมเขียว ออกที่ปลายยอด ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ผลเป็นฝักยาวมีขนเมื่อแก่
แตกออก

ภาพที่ 8.4 ต้นกระดกู ไกด่ ำ
ทีม่ า : ธนั ย์ชนก พรมภักดี (2562).

เรือ่ งเลา่ จากหมอยาปราจีนเก่ยี วกับสรรพคณุ ของสมุนไพรกระดูกไก่ดำ

แม่หมอลำภู หอมกลิ่น หมอยาพื้นบ้านชั้นครูของจังหวัดปราจีนบุรี เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ
ในการใช้ต้นกระดูกไก่ดำในการรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท่านเล่าข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับต้น
กระดูกไก่ดำว่า เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่คนโบราณมีความเชื่อว่าถ้าบ้านไหนปลูกไว้จะช่วย ป้องกันภัย
อันตรายและนิยมใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น จัดเป็นดอกไม้บูชาพระ แต่งขัน 5 รับศีล ฯลฯ และหาก
บ้านไหนปลูกไว้จำนวนมากแสดงใหเ้ ห็นวา่ บา้ นนั้นเป็นบา้ นที่เกา่ แก่ โบราณของหม่บู า้ น

กระดูกไก่ดำไม่เพียงแต่เป็นตน้ ไม้ตามความเชื่อที่กล่าวมาข้างต้นเพียงอย่างเดียว ยังสามารถ
นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ ที่เด่นชัดที่สุดคือ การรักษาอาการช้ำใน แก้ข้อ
อักเสบ และแกป้ วด ซึ่งตน้ ตำรบั ยาคือหมอส่วน สมี ะพรกิ หมอยาผเู้ ฒ่าของอำเภอกบินทร์บุรีที่เป็นครู
ของแม่หมอลำพูเป็นผู้ใช้กระดูกไก่ดำเป็นทา่ นแรก โดยท่านใช้ใบของต้นกระดูกไก่ดำกับปูนาสดๆ ตำ
ด้วยกัน เติมเหล้าเล็กน้อย ถ้ามีไม่ครบทั้งสองอย่าง จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ การท่ีตาส่วนใช้คู่กับ
ปูนาสด ๆ จะช่วยรักษาอาการแก้ช้ำในเป็นอย่างดี หรือจะใช้โดยวิธีทั้งกินทั้งทาหรือใช้ทั้งต้นต้มกิน
กไ็ ด้ แม่หมอลำพู หอมกลนิ่ กล่าวอีกว่าหมอยาพืน้ บ้านส่วนใหญ่ก็จะใช้กระดกู ไก่ดำเป็นยาแก้ปวดข้อ
ข้ออักเสบ ข้อบวม ปวดหลัง ปวดเอว ปวดกระดูก ปวดบวมตามร่างกาย ปวดร่างกายเวลามีระดู
ปวดหวั มีทงั้ ใช้กระดกู ไกด่ ำตวั เดยี ว หรอื ใช้ร่วมกบั สมนุ ไพรตวั อน่ื ๆ ในรปู แบบของยาประคบ ยาพอก
ยาย่าง ยาน้ำมันนวด ยาดองเหล้าสำหรับนวด และใช้เป็นยากินในรูปแบบของยาต้มกับยาดอง
นอกจากนี้กระดูกไก่ดำยังใช้เป็นยาบำรุงรา่ งกาย โดยนำเอาทุกส่วนหรือทั้งห้ามาต้มอบไอน้ำ ต้มอาบ
แกห้ วดั ใหใ้ ชใ้ บมานวดชงนำ้ กิน แกล้ มจกุ เสียดในทอ้ งใช้ผงใบแห้งชงนำ้ กินหรอื เคย้ี วกินใบสด ๆ แกผ้ ด
ผื่นคัน ให้ตำใบผสมขมิ้นทา หรือจะนำมาทำเป็นยาอบก็ได้ สำหรับเด็กที่ร้องไห้งอแงใช้รากฝนให้เดก็
ดมหรอื ทาล้นิ กไ็ ด้ หรือจะนำมากินเป็นผกั สดคกู่ ับนำ้ พริก สม้ ตำ ก็ได้ (ลำภู หอมกลิ่น, 2561)

ภาพท่ี 8.5 ตน้ กระดกู ไกด่ ำ
ท่ีมา : ธันยช์ นก พรมภกั ดี (2562).

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้กระดูกไก่ดำกับไพลในการลดอาการปวดของผู้ป่วย
พบว่าการนวดด้วยน้ำมันกระดูกไก่ดำและน้ำมันไพลต่างมีผลทำให้ระดับอาการปวดลดลง น้ำมัน
กระดูกไก่ดำสามารถใช้เป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อจากออฟฟิศซินโดรมแทน
นำ้ มนั ไพลได้ (อำพล บญุ เพยี ร และคณะ, 2562)

ตำรบั หมอยาปราจนี
ตำรบั ท่ี 1 ยานวดแก้ปวดเมอื่ ย

นำใบกระดูกไกด่ ำตำให้ละเอียด แช่กับเหลา้ พอท่วมยา หมกั ไว้อยา่ งน้อย 7 วนั คนบ่อย ๆ
จากนั้นนำมากรอง เป็นยาดองเหล้ากระดูกไก่ดำ นำมาทาบริเวณที่ปวด บวม หรือเค่ียวกับน้ำมัน
โดยใช้ใบกระดูกไกด่ ำ 2 สว่ น กับนำ้ มนั งาหรือนำ้ มันมะพร้าว 1 ส่วน นำมาทา ถู นวด

ภาพท่ี 8.6 น้ำมันนวดแก้ปวดเมื่อยจากสมุนไพรกระดูกไก่ดำ
ทมี่ า : ธนั ยช์ นก พรมภักดี (2562).

ตำรับท่ี 2 ยาเอ็น ยาแก้ขอ้ อักเสบ
นำใบกระดกู ไกด่ ำมาตำให้ละเอียด แชเ่ หล้ากนิ หรอื นำใบสัก 4-5 ใบมาตม้ นำ้ เคย่ี ว 3 แกว้

เอา 1 แก้ว กนิ วันละ 2 เวลา เช้า-เยน็ ทายาแชเ่ หลา้ ดว้ ย

ตำรับที่ 3 ยาย่างรักษาอาการชำ้ ใน ตกต้นไม้ ควายชน
นำใบหนาด ใบเปล้า ใบว่านชน ผีเสื้อขาว ผีเสื้อดำ กระดูกไก่ดำ กระดูกไก่ขาว ใบขมิ้นชนั

ใบว่านไพล สับใหล้ ะเอยี ด ทำเป็นยายา่ ง

ตำรับที่ 4 ยาแก้ไอ
นำกระดูกไก่ดำทั้งต้นและใบมาต้มกิน เป็นยาแก้ไอ หรือทำผงแห้งกิน นำใบมานวด ชงกับ

นำ้ ร้อนกิน หรอื ต้มกนิ รากหรอื ใบเผาไฟจนเป็นถ่าน เอาถา่ นมาแช่นำ้ กนิ

1.3 สมุนไพรมะกรูด

ขอ้ มูลท่ัวไปของสมนุ ไพรมะกรดู

มะกรูด เป็นชื่อเรียกที่รู้จักกันทั่วไป มีชื่อเรียกอื่นตามท้องถิ่น เช่น มะขุน มะขูด ส้มกรูด
ส้มมั่วผี หมากพูด ฯลฯ อยู่ในวงศ์ RUTACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Citrus hystrix DC. พืชชนิดนี้
เปน็ พชื ปลูกไดท้ ั่วไปในเอเชยี ตะวันออกและตะวนั ออกเฉียงใต้ (คณะอนุกรรมการจดั ทำตำราอ้างอิงยา
สมุนไพรไทย, 2563) มะกรูดมีลักษณะเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ใบประกอบมี 1 ใบ เรียงสลับ ดอกสีขาว
มีกลิ่นหอม ผลกลม ผิวขรุขระ ใบและเปลือกผลมีน้ำมันหอมระเหยมากจึงมีผู้คนกล่าวขานว่ามะกรูด
เป็น “อโรมาเธอราปีอย่างดขี องไทย”

ภาพที่ 8.7 ผลมะกรูด
ท่ีมา : ธนั ยช์ นก พรมภกั ดี (2562).

เรอื่ งเลา่ จากหมอยาปราจนี เก่ียวกับสรรพคุณของสมนุ ไพรมะกรดู
มะกรูดเป็นสมุนไพรท่ีหลายคนสรรหาวิธนี ำมาใช้ได้มากกวา่ พืชชนิดอื่นก็ว่าได้ เพราะเป็นยา
รักษาโรค ยากิน ยาประคบ อบ อาบ ไปจนถงึ ยาสระผม ยาไล่ยงุ ยาดบั กล่ินในที่ต่าง ๆ หรอื จะใช้เป็น
สมุนไพรก้นครัวทีห่ ลายคนรูจ้ ักและนำมาประกอบเป็นอาหารโดยเฉพาะใช้ผิวของผลมะกรูดใส่ในแกง
เผ็ดกะทิ แกงปา่ แกงหมูเทโพ แกงค่วั แกงเขียวหวาน แกงสม้ และใสใ่ บมะกรดู ลงไปในต้มยำ ต้มปลา
ตม้ เครื่องในวัว นำ้ ยาขนมจีน ยำพลา่ ผดั เผด็ ฯลฯ
แม่หมอลำภู หอมกลิ่น เล่าถึงสรรพคุณของมะกรูดวา่ เป็นยาสมุนไพรช้ันเย่ียมที่หมอยาทุกคน
กล่าวถึงและนำมาใช้ในตำรับยา เช่น ตำรับยาดม ยาลม ยาหม่อง เนื่องจากผิวมะกรูดและใบมะกรูด
มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ สรรพคุณยาไทยยกย่องมะกรูดไว้ว่า กำจัดลมร้ายนานา ในสมัยก่อนมะกรูด
มีบทบาทมากในการใช้เป็นยาในชีวิตประจำวันพอ ๆ กับใสใ่ นอาหาร โดยเฉพาะในการแกล้ ม หมอยา
พนื้ บา้ นจึงนำมะกรูดมาทำเปน็ ยาหม่องนำ้ ใชด้ มแกล้ มวงิ เวียน นอกจากเปน็ ยาดมแลว้ หมอยาพืน้ บ้าน
ยังใช้มะกรูด เป็นยารม ทั้งรมแห้ง เช่น การรมตาของคุณยายทีบ่ างเดชะหรือการต้มรมที่นิยมเรียกว่า
ยาอบไอน้ำ โดยเฉพาะในการแก้อาการเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปวดหัว วิงเวียน ไมเกรน ในส่วน
ของยาประคบ ยาอาบ กน็ ยิ มใส่ใบมะกรูดลงไป

ภาพท่ี 8.8 มะกรดู ในการใชเ้ ป็นยาอบ ยานวด
ทม่ี า : ธันย์ชนก พรมภักดี (2562).

มะกรูดยงั ใชเ้ ปน็ สว่ นผสมของยากนิ แก้ในกองลมของหมอยาพน้ื บา้ นหลากหลายตำรับ เพราะ
การจะไปซ้อื เครื่องยาทม่ี ีกลิ่นหอม เชน่ เทียนและโกฐ ทีส่ ่วนใหญน่ ำเข้าจากจีนและอินเดียคงเป็นเรื่อง
ลำบาก ที่บ้านดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี มียาตำรับดั้งเดิมของชุมชนชื่ อยา
สังหารวาโย ของหมอทุเรียน นำภา แก้ลมได้ดี แก้ลมทราง 12 จำพวก โดยนำเอามะกรูดมานึ่งให้สุก
เอาไส้ออกเสียให้หมด แล้วใส่กระเทียม เกลือ พริกไทย ยาดำ มหาหิงคุ์ เอาไปนึ่ง แล้วนำไปตำเป็น
ลกู กลอนแกป้ ระจลุ ม แกท้ ้องข้ึน

นอกจากการใชป้ ระโยชนน์ ้ำมนั หอมระเหยจากใบและผิวของมะกรดู แล้ว ผลมะกรดู ใช้เป็นยา
บำรุงเลือด ฟอกเลือดในสตรี ขับลมในลำไส้ ขับระดู ใช้เป็นยาบำรุงประจำเดือน ยาสระผม ฯลฯ
โดยเฉพาะเป็นยาดองสำหรับสตรีหลังคลอด เพราะความเปร้ียวของมะกรูดจะช่วยคุมเชื้อในการดอง
เพื่อสกัดเอาตัวยาออกโดยไม่ต้องใช้เหล้า ยาดองน้ำมะกรูดจึงเป็นยาสตรีที่แพร่หลายที่สุด ก่อนท่ี
การแพทยแ์ ผนปัจจุบนั จะเข้ามา ซ่งึ มีสตู รแตกต่างกนั ไปในแต่ละชุมชนและหมอยาแต่ละคน

ภาพที่ 8.9 ยาสระผมมะกรดู
ทีม่ า : ธนั ยช์ นก พรมภกั ดี (2562).

ตำรับหมอยาปราจนี

ตำรบั ที่ 1 ยาอบแก้วิงเวียน
ใบมะกรดู ใบมะนาว หัวไพลหั่น นำไปตม้ ใชเ้ ปน็ ยาอบ

ตำรับที่ 2 ยาอบหลังคลอด
ใบส้มป่อย ข่า ใบตะไคร้ ใบมะขามเปียก ไพลเหลืองหรือไพลดำ ลูกมะกรูดฝาน ใบมะดัน

นำมาอบใชก้ ับคนทคี่ ลอดลกู เปน็ ยาคลายเสน้ ถ้าไมใ่ ช่คนคลอดลกู ก็อบได้ ทำใหผ้ วิ สวย

ตำรบั ท่ี 3 ยาอบสมุนไพร คลายเครียด
ลูกมะกรูดอ่อนและแก่ เปราะหอม ว่านน้ำ เปล้าใหญ่ เปล้าเล็ก ไพล ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย

ใบหนาด ว่านหอมแดง ตะไคร้หอม เตยหอม ใบเล็บครุฑลวกน้ำข้าว นำยาทั้งหมดตากให้แห้ง นำมา
ต้มอบ การตากสมุนไพรให้แห้งช่วยให้หอมมากกว่าสด และเก็บได้นานกว่า หากเพิ่มพิมเสน การบูร
เลก็ น้อยจะช่วยให้หอม ซึมซาบผวิ หนงั ไดเ้ ร็ว

ตำรบั ท่ี 4 ยาประคบแก้มึน ชา
นำผิวมะกรูด เปลือกกุ่ม เปลือกก่าม ใบส้มป่อย ว่านนางคำ ใบหนาด ใบมะขาม การบูร

หนกั อย่างละ 1 บาท ตำ นึง่ ให้สกุ จมุ่ น้ำส้มสายชู ประคบท่มี ึน ชา

ตำรับท่ี 5 ยาอบแม่หลังคลอด
นำต้นตะไคร้ ใบตะไคร้ ใบมะกรูด ลูกมะกรูด ใบหนาด ใบเปล้า ใบข่า ทั้งหมดต้มใส่หม้อ

ให้เดอื ด แลว้ ใช้เป็นยาอบ

ตำรับท่ี 6 แก้ปวดเมอ่ื ย แก้เคลด็ ขดั ยอก แกว้ ิงเวียน
ไพล ขมิน้ ชนั ผวิ มะกรดู ใบมะขาม ใบสม้ ป่อย เกลือแกง การบูร ใบเปล้า ใบหนาด วา่ นชน

นำมาซอยให้ละเอยี ด แลว้ ไปหอ่ ผา้ หม้อนลิ ทำเป็นลกู ประคบ

1.4 สมนุ ไพรมะขาม
ข้อมูลทั่วไปของสมุนไพรมะขาม

มะขาม เปน็ ชอื่ เรียกทร่ี ู้จกั กนั ทวั่ ไป มีชอื่ เรยี กอืน่ ตามทอ้ งถน่ิ เช่น หมากแกง ตะลบู ม่วงโคล้ง
ขาม ฯลฯ อยู่ในวงศ์ FABACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Tamarindus indica L. พืชชนิดน้ีเป็นไม้
เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาและได้มีการขยายพันธุ์ไปยังพื้นที่เขตร้อนทั่วโลก (กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2556) มะขามมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ใบประกอบใบเล็กแบบ
ขนนกปลายคู่ ดอกชอ่ สีเหลืองออ่ น ผลเปน็ ฝัก การขยายพันธ์ุใช้วิธกี ารเพาะเมลด็

ภาพท่ี 8.10 ต้นมะขาม
ที่มา : ธันยช์ นก พรมภักดี (2562).

เร่อื งเล่าจากหมอยาปราจีนเก่ยี วกับสรรพคณุ ของสมนุ ไพรมะขาม
หมอสมศักดิ์ สามารถ หมอยาพื้นบ้านจังหวัดปราจีนบุรีเล่าว่า มะขามไม่ได้กำเนิดที่บ้านเรา
แต่จำได้ว่าต้ังแต่ตอนเด็ก ๆ แมจ่ ะนำมะขามมาแกะเมล็ดออกและนำเนื้อจากฝักมะขามมาเก็บใส่ขวด
โหลไว้สำหรบั ปรงุ อาหารให้มีรสเปรี้ยว เชน่ ผัดหม่ี ตม้ ยำ แกงส้ม ฯลฯ นอกจากเน้ือมะขามเปียกแล้ว
ใบมะขามอ่อนและฝกั มะขามอ่อนยังนำมาทำอาหารได้อีกดว้ ย ทอ่ี ร่อยมากคอื มะขามกรอก ซ่งึ จะเก็บ
ในช่วงที่มะขามแก่เต็มท่ี กำลังจะกลายเป็นมะขามเปียก กะเทาะเปลือกออก ไม่เปรี้ยวมาก จิ้มพริก
เกลือ รสชาติเปรย้ี ว เค็ม หวาน เผ็ดพอดี ๆ หรือจะเอามาแชอ่ ม่ิ ก็ได้
มะขามมีสรรพคุณทางยาหลายด้านที่หมอยาส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นตำรับยา เช่น มะขามเป็น
ยาแก้ท้องผูกที่ทุกคนรู้จกั ดี สามารถใช้ได้ท้ังเด็กและผู้ใหญ่ ใชก้ ง็ า่ ย เพยี งแค่เอามะขามมาจ้ิมเกลือกิน
แล้วดื่มน้ำมาก ๆ พอข้ามวันก็ถ่ายสะดวก แต่ในเด็กจะต้องต้มและปรงุ รสเค็มหวานสกั หน่อย แม่หลัง
คลอดตอ้ งกินน้ำมะขามเปยี กใสเ่ กลือเพื่อชว่ ยขับเลอื ดเสยี ขบั น้ำคาวปลา และชว่ ยระบาย แถมยังต้อง
อาบน้ำต้มใบมะขามเพื่อให้สบายตัวและสดชื่น ไม่มีน้ำนมก็เอากิ่งมะขามไปต้มกิน น้ำนมก็มา แม่ท่ี
เป็นฝ้าจะใชม้ ะขามล้างหน้าแทนสบู่ และใชอ้ าบน้ำเพอื่ ดบั กล่ินตวั ฯลฯ (สมศกั ด์ิ สามารถ, 2561)

ภาพท่ี 8.11 มะขามเปียกเปน็ ยาแก้ท้องผกู อย่างดี
ทม่ี า : ธันยช์ นก พรมภกั ดี (2562).

จุดเดน่ ของสมนุ ไพรมะขามคือใช้เปน็ ยาอาบ ยาอบได้ สว่ นของมะขามที่ใช้มากทส่ี ุดในการทำ
เป็นยา คอื ใบ เพราะเป็นสว่ นประกอบสำคญั ในตำรบั ของยาอาบ อบ ประคบ นวด เปน็ วิถีของผู้หญิง
สมยั ก่อน ตำรับยาเหล่านี้ผู้ชายส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก ส่ิงท่จี ะขาดไม่ได้เลยในยาเหล่านี้คือ สมุนไพรท่ีมี
รสเปรี้ยว เนื่องจากฤทธิ์ที่เป็นกรดอ่อน ๆ จะช่วยกำจัดคราบไคล ล้างสิ่งสกปรก ทำให้ตัวยาอื่น ๆ
แทรกซึมสัมผัสกบั ผิวหนงั ได้ดียิง่ ขึน้ ทั้งยังเพิ่มความต้านทานโรคใหแ้ ก่ผิวหนัง นอกจากรสเปรีย้ วแลว้
ใบมะขามยังมีรสฝาดอยู่ด้วย จึงช่วยกระชับรูขุมขนและลดการอักเสบ สมุนไพรรสเปรี้ยวที่นำมาใช้
แทนหรือใชร้ ่วมกับใบมะขามได้ เชน่ ใบสม้ ป่อย ใบสม้ ลม ใบส้มกบ ใบสม้ โมง (ชะมวง) ฯลฯ ในยาอบ
ยังสามารถใช้ความเปรีย้ วจากมดแดงได้ด้วย

ภาพที่ 8.12 การใช้ใบมะขามเปน็ ยาประคบ
ทีม่ า : ธันย์ชนก พรมภักดี (2562).

ตำรับหมอยาปราจีน

ตำรบั ท่ี 1 ยาอาบหลงั คลอด
นำใบมะขาม 3-4 กำมือ ต้มกับน้ำ 1 กาใหญ่ ให้เดือดประมาณ 5 นาที เจือน้ำเย็นพออุ่น

นำไปให้แมห่ ลงั คลอดอาบ

ตำรบั ที่ 2 ยาประคบเสน้
นำใบมะขาม 12 บาท เทียนดำ 1 บาท อบเชย 2 บาท ไพล 4 บาท ใบพลับพลึง 8 บาท

เกลอื 1 บาท ตำห่อผ้า นึ่งใหร้ อ้ น ประคบเสน้ ตึงให้หยอ่ น

ตำรบั ที่ 3 ยาแกล้ มหน้ามืด ตาลาย
นำใบสม้ ป่อย ใบมะขาม ตม้ อาบ ต้มกิน

ตำรับที่ 4 ยาอาบแก้ตาน ซาง
นำใบมะขามต้มอาบแกผ้ ดผน่ื คนั ตาน ซาง ตามผิวหนงั ในเดก็ ท่ไี มแ่ ขง็ แรง

1.5 สมนุ ไพรตะไคร้

ขอ้ มูลทั่วไปของสมุนไพรตะไคร้

ตะไคร้ เป็นชื่อเรียกที่รู้จักกันทั่วไป มีชื่อเรียกอื่นตามท้องถิ่น เช่น ไคร จะไคร หัวซิงไคร
จ๊ักไคร ตะไคร้แดง ฯลฯ อยู่ในวงศ์ POACEAE มชี ื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cymbopogon nardus Rendle
พืชชนิดน้ีมีลักษณะทั่วไป คือ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าใตด้ ิน ขึ้นเป็นกอ ใบแหลม ตั้งขึ้น ทุกส่วน
มกี ลน่ิ หอม การขยายพันธุ์โดยใช้วธิ กี ารแยกกอ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม, 2556)
ตะไคร้มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย แต่ชนชาติที่ใช้ประโยชน์มากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นคนไทย สมัยก่อน
ทกุ บ้านจะปลูกไวใ้ สใ่ นอาหารและใช้เปน็ ยาสมุนไพร

ภาพท่ี 8.13 ตะไคร้
ท่ีมา : ธันย์ชนก พรมภกั ดี (2562)

เรอื่ งเลา่ จากหมอยาปราจนี เก่ียวกับสรรพคณุ ของสมุนไพรตะไคร้
หมอจรูญ อินทปัญญา หมอยาพื้นบ้านจังหวัดปราจีนบุรีเล่าถึงสมุนไพรตะไคร้ว่า ตั้งแต่คร้ัง
อดีตถึงปัจจุบันตะไคร้ถอื เป็นพืชคู่ครัวทีป่ ู่ย่าตายายใช้กนั มานาน เช่น ใช้ต้นสด ๆ มาใส่ต้มยำ ทำแกง
จะได้กลิ่นหอมแรงกว่าซื้อจากตลาด เพราะสดกว่า ใช้ตะไคร้เป็นเครื่องเทศดับกลิ่นคาวในอาหาร
จำพวกเนื้อได้หลายอย่าง ฯลฯ นอกจากนี้คนสมัยก่อนยังมีความเชื่อว่าตะไตร้ใช้ไล่ฝนได้ หากปีไหน
ฝนตกมาก ปีนนั้ ตะไคร้จะไม่งาม เวลามงี านบญุ เจ้าภาพภาวนาไม่ให้ฝนตก แตถ่ า้ จะให้อุ่นใจก็ต้องให้
สาวพรหมจรรย์ไปปกั ตะไคร้กลับหวั เพือ่ ไลฝ่ นให้ไปตกท่อี น่ื อันเป็นเคลด็ ทใี่ ชก้ นั ทัว่ ประเทศไทย
สรรพคุณดา้ นสมนุ ไพรตะไครถ้ ือวา่ เป็นพืชท่ีมีประโยชนใ์ นการทำเป็นยาไม่แพส้ มนุ ไพรในครัว
ชนิดอื่น ๆ เช่น แก้หวัด เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยทำให้มีฤทธิ์ร้อน ช่วยป้องกันหวัด โดยนำมาห่ัน
แล้วเคี้ยวกินสด ๆ ตะไคร้ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ จึงช่วยลดอาการบวม ลดความดัน ลดความอ้วน
และกำจัดพิษออกจากร่างกาย ตะไคร้เป็นยาไล่ลม ช่วยแก้ท้องอืดได้ดี วิธีใช้เหมือนกับการแก้หวัด
ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ในเด็กอ่อนต้องลดความเผ็ดร้อนโดยเอาไปย่างไฟหรือเผาให้เป็นขี้เถ้าก่อน
ถือเปน็ ยาสมุนไพรท่ปี ลอดภัย ฯลฯ (จรูญ อินทปญั ญา, 2561)

ภาพที่ 8.14 ตะไคร้เพื่อใช้เปน็ ยาอบ ประคบ นวด
ท่ีมา : ธนั ย์ชนก พรมภักดี (2562).

จุดเด่นของตะไคร้อีกประการหนึ่งคือใช้เป็นยาหลักในการประคบ เพราะมีฤทธิ์ของตัวยา
ที่ช่วยได้หลายระบบของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจโล่ง แก้หวัด ภูมิแพ้ ระบบ
กระดูกและกล้ามเนื้อ ช่วยแก้ปวด แก้อักเสบ แก้ปวดหลังปวดเอว ระบบผิวหนัง ช่วยในการขับเหงอื่
ชว่ ยแก้อักเสบ และระบบประสาทช่วยทำใหผ้ ่อนคลาย ฯลฯ

ตำรับหมอยาปราจนี

ตำรบั ที่ 1 ยาแก้ไอ เจ็บคอ เป็นตุม่ ในคอเด็กเลก็
นำหัวตะไคร้ย่างไฟอ่อน ๆ จนเหลืองเกรียม ฝนกับนำ้ มะนาวแทรกเกลือเลก็ น้อยแล้วนำมา

กวาดคอเด็ก วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ อาการไอ เจ็บคอรุนแรง
จะหายไป

ตำรบั ที่ 2 ยาอบแก้นอนไม่หลับ
นำตะไคร้ กะเพราแดง และข่า อย่างละ 3 ตน้ ตัดเป็นทอ่ น ๆ ใส่หม้อต้มให้เดือดเป็นไอน้ำ

ใชส้ ำหรบั อบในกระโจมประมาณ 15-20 นาที ชว่ ยขบั เหง่ือ เม่อื เหงอ่ื แห้งแลว้ จงึ อาบนำ้ ช่วยให้ตัวเบา
สดช่นื คลายเครียด หายปวดศรี ษะ นอนหลบั สบาย

ตำรับที่ 3 ยาอบและอาบหลงั คลอด
นำใบส้มป่อย ข่า ใบตะไคร้ ใบมะขาม ไพล ลูกมะกรูด ใบมะดัน นำทั้งหมดมาต้มรวมกัน

แล้วนำมาอบหรืออาบ ช่วยให้ตัวหายบวม กำจัดกลิ่นตัว ช่วยทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง คนทั่วไปก็อบได้
ผิวจะสวย จติ ใจสบาย เบาเน้ือเบาตัว

1.6 สมุนไพรไพล
ขอ้ มูลทั่วไปของสมุนไพรไพล

ไพล เป็นชื่อเรียกที่รู้จักกันทั่วไป มีชื่อเรียกอื่นตามท้องถิ่น เช่น ปูลอย ปูเลย ว่านไฟ ฯลฯ
อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.
พืชชนดิ นี้มลี กั ษณะทวั่ ไป คือ เป็นไม้ลม้ ลกุ มลี ำต้นเป็นเหงา้ ใต้ดิน เม่อื ผา่ มสี เี หลอื ง ใบเดย่ี ว เรียงสลับ
ช่อดอกแทงจากเหงา้ ดอกสขี าวนวล (กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม, 2556)

ภาพที่ 8.15 ไพล
ทมี่ า : ธนั ย์ชนก พรมภักดี (2562).

เรอ่ื งเลา่ จากหมอยาปราจีนเกย่ี วกับสรรพคณุ ของสมุนไพรไพล
หมอลำภู หอมกลนิ่ หมอยาพื้นบา้ นจังหวัดปราจนี บรุ ีเล่าว่า ไพลเปน็ สมุนไพรท่ีทุกบ้านต้องมี
เพราะคนในสมัยก่อนมีความเชื่อว่าไพลสามารถนำมาไล่ผีปอบได้ โดยนำไปเหลาให้แหลมแล้วจี้ไป
ตามตัว ไมเ่ พียงความเชอ่ื เท่านั้น ไพลยังถกู ใชป้ ระโยชน์ในการเปน็ สมนุ ไพรรักษาอาการต่าง ๆ ได้เป็น
อย่างดี เช่น แก้วิงเวียน ง่วงนอน หน้ามืด ตาลาย เพราะไพลมีน้ำมันหอมระเหย ทำให้ร่างกายสดช่ืน

เหง้าไพลเป็นยาขับลม ขบั ประจำเดอื น มฤี ทธ์เิ ปน็ ยาระบายออ่ น ๆ แกบ้ ิด ถ้าใชเ้ ป็นยาภายนอก เหง้า
ไพลสดฝนทาแก้เคล็ด ยอก ฟกบวม เส้นตึง เหน็บชา และสมานแผลได้ ฯลฯ ไพลจึงเป็นยาแก้ฟกช้ำ
ดำเขียวของคนไทย ซึ่งในการทำลูกประคบจะขาดไพลไม่ได้ ในตำรับยาอบ ยาอาบ ยาย่าง ยานอน
จงึ มไี พลเป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่เสมอ (ลำภู หอมกล่นิ , 2561)

ภาพท่ี 8.16 ตำรบั ยาประคบท่ีมีไพลเป็นสมุนไพรหลกั
ทม่ี า : ธนั ยช์ นก พรมภักดี (2562).

จุดเด่นของไพลทส่ี ำคญั คอื “เป็นสมุนไพรคู่ใจแม่และเด็ก” กล่าวคือ ไพลเปน็ สมุนไพรที่ใช้กับ
แมห่ ลงั คลอดได้ดี ท้งั ในรูปแบบของยาตม้ กนิ ยาอบ ยาอาบ ยาประคบ เพ่อื แก้ปวดเมือ่ ย บำรงุ นำ้ นม
ทำให้แม่แข็งแรงและใช้เป็นยาแก้ท้องอืดและท้องเสียในเด็กได้ดี ไพลจึงเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่กับ
สังคมไทยมานาน อาจกล่าวได้ว่า คนไทยมีความชำนาญในการใช้ไพลในวิถีชีวิตมากกว่าชนชาติใด ๆ
โดยเฉพาะกบั โรคพนื้ ฐานใชใ้ นยาประคบ อบ อาบ นวด ยา่ ง นอน เมือ่ ใดทไ่ี ด้กล่นิ ไพลลอยมา ถามหา
คนไทยไดเ้ ลย รบั รองไมผ่ ดิ หวัง

ตำรบั หมอยาปราจนี

ตำรับที่ 1 ยาอบหลังคลอด
นำใบสม้ ป่อย ข่า ใบตะไคร้ ใบมะขามเปยี ก ไพลเหลอื ง ไพลดำ ลูกมะกรดู ใบมะดนั มาต้ม

รวมกัน แล้วนำมาอบ

ตำรบั ท่ี 2 น้ำมันไพล
นำนำ้ มันมะพรา้ วหรอื นำ้ มันพืช 1 แกว้ เทใสก่ ระทะ ตั้งไฟ พอน้ำมนั รอ้ นจดั ใส่เหง้าไพลสด

ท่ีห่ันไว้เปน็ ชน้ิ บาง ๆ จำนวน 2 แก้ว ลงไปทอด ลดไฟให้รอ้ นปานกลาง ทอดจนไพลกรอบเปล่ียนเป็น
สีน้ำตาลแก่ จะได้น้ำมันสีเหลืองใส จากนั้นช้อนเอาชิ้นไพลออก ตำกานพลู 1 ช้อนชาให้ป่น ใส่ลงไป
ทอดในน้ำมันต่อ แล้วลดไฟให้เหลือไฟอ่อน ตั้งไฟต่อสัก 10 นาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้
พอนำ้ มันอุ่น หายร้อน จึงผสมการบรู 1 ชอ้ นชา ลงในนำ้ มนั ถึงตรงน้ีกเ็ ทนำ้ มนั เกบ็ ไว้ในขวดท่ีมีฝาปิด
สนิท เพื่อป้องกันการระเหยของการบูร พอน้ำมันเย็นดีแล้วเขย่าให้ตัวยาเข้ากัน จะได้ยาน้ำมันนวด
อยา่ งดี

การใช้น้ำมันไพล ถ้าเป็นแผลช้ำ ให้ทาน้ำมันบาง ๆ วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ควรทำความ
สะอาดแผลก่อนทายา ถ้าแก้เคล็ด ช้ำบวม ควรทาน้ำมันให้ทั่วบริเวณที่มีอาการ แล้วใช้ฝ่ามือ
นวดเบา ๆ ทายาวันละ 3-5 คร้งั ถา้ อาการข้อบวมและเหนบ็ ชา หลังทายาจนทว่ั แลว้ ใช้ขวดใส่น้ำร้อน
ห่อด้วยผ้า ประคบบริเวณที่เป็นด้วย ทำวันละ 2 ครั้ง หรือเวลามีอาการปวดชาในส่วนที่เมื่อยขบ
ขดั ยอก

ภาพที่ 8.17 น้ำมันไพล
ท่มี า : https://sukkaphap-d.com.

ตำรับที่ 3 แก้เด็กท้องเสีย
นำหวั ไพลเจาะรู เอาเกลอื ใส่ในรู นำไปหมกไฟ นำมาแช่นำ้ ให้เดก็ กนิ

ตำรับที่ 4 ยารักษาไฟลวก
ฝนไพลหรอื ผสมกะทกรกดว้ ยก็ได้ ใช้น้ำเกลอื เปน็ น้ำกระสายยาทา

ตำรับท่ี 5 ยาประคบประดงเหนบ็ ชา
นำหวั ไพลต้นและใบอัคคีทวารตำใหล้ ะเอียด ห่อด้วยผา้ หม้อนิล

ตำรับที่ 6 ยาอบแก้วิงเวยี น หนา้ มดื ตาลาย
นำหวั และใบของไพล ใบมะกรูด ใบมะนาว ใช้เปน็ ยาอบ

สรุป สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยประคบ อบ อาบ นวด และหมอยาพื้นบ้านนิยมนำมาใช้ทำ
เป็นตำรับยา ได้แก่ พลับพลึง มีสรรพคุณ เช่น บรรเทาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ คลายเส้น
แก้อาการฟกช้ำ ปวดบวม และใช้ใบประคบหน้าท้องคุณแม่หลังคลอด ฯลฯ กระดูกไก่ดำ มีสรรพคุณ
เช่น รักษาอาการช้ำใน แก้ข้ออักเสบ และแก้ปวด ฯลฯ มะกรูด มีสรรพคุณ เช่น รักษาอาการปวดหัว
วิงเวียน ไมเกรน ใช้เป็นยาบำรุงเลือด ฟอกเลือดในสตรี ฯลฯ มะขาม มีสรรพคุณ เช่น ขับเลือดเสีย
ขับน้ำคาวปลา ยาระบาย กระชับรูขุมขน ลดการอักเสบของผิวหนัง ฯลฯ ตระไคร้ มีสรรพคุณ เช่น
แก้หวัด ขับปัสสาวะ เป็นยาไล่ลม ช่วยแก้ท้องอืด ฯลฯ ไพร มีสรรพคุณ เช่น แก้วิงเวียน หน้ามืด
ตาลาย ถา้ ใชเ้ ป็นยาภายนอก เหงา้ ไพลสดฝนทาแก้เคลด็ ยอก ฟกช้ำ บวม เหนบ็ ชา สมานแผล ฯลฯ

บรรณานุกรม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม. (2556). ฐานขอ้ มลู พรรณไมส้ มุนไพรกระดกู ไกด่ ำ.
สบื ค้น กนั ยายน 21, 2562, จาก http://www.qsbg.org.
. (2556). ฐานข้อมลู พรรณไมส้ มุนไพรมะขาม. สืบคน้ กันยายน 21, 2562,
จาก http://www.qsbg.org.
. (2556). ฐานข้อมูลพรรณไม้สมุนไพรไพล. สืบคน้ กนั ยายน 21, 2562,
จาก http://www.qsbg.org.
. (2556). ฐานข้อมูลพรรณไมส้ มุนไพรมะขาม. สบื ค้น กันยายน 21, 2562,
จาก http://www.qsbg.org.

คณะอนกุ รรมการจดั ทำตำราอ้างอิงยาสมุนไพรไทย (2563, พฤษภาคม-สงิ หาคม). มะกรดู .
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลอื ก, 15(2), 251-262.

จรูญ อินทปญั ญา. (2561, เมษายน 17). บา้ นเลขท่ี 501 หมู่ท่ี 1 ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี
จงั หวัดปราจีนบุร.ี สัมภาษณ์.

ถาวร บุญสร้อย. (2561, เมษายน 19). บ้านเลขที่ 41/3 หม่ทู ี่ 8 ตำบลกบนิ ทร์ อำเภอกบินทรบ์ รุ ี
จังหวัดปราจนี บรุ ี. สัมภาษณ์.

ปรรณณวชั ญ์ ไชยวัฒนนันทน์ และคณะ. (2563, กันยายน-ธันวาคม). ฤทธิ์ตา้ นการอกั เสบ
และบรรเทาอาการปวดของสมนุ ไพรท่ใี ช้ในการทบั หม้อเกลือ . วารสารการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก, 18(3), 455-469.

ลำภู หอมกล่ิน. (2561, เมษายน 20). บา้ นเลขท่ี 106 หมู่ท่ี 1 ตำบลไมเ้ คด็ อำเภอเมอื งปราจนี บรุ ี
จงั หวดั ปราจนี บุร.ี สมั ภาษณ.์

สมศักด์ิ สามารถ. (2561, เมษายน 20). บา้ นเลขท่ี 94 หม่ทู ่ี 7 ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ
จังหวดั ปราจีนบุร.ี สมั ภาษณ์.

อำพล บญุ เพยี ร และคณะ. (2562, มกราคม-เมษายน). ผลของการนวดด้วยน้ำมนั กระดูกไก่ดำ
และน้ำมันไพลต่ออาการปวดกล้ามเน้ือ คอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรม. วารสาร
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลอื ก, 17(1), 95-105.

Sukkaphap d. all rights reserved. (2558). “น้ำมนั ไพล” สมุนไพรไทยมากสรรพคุณ ประโยชน์
ดีไมใ่ ช่นอ้ ย. สืบคน้ กนั ยายน 21, 2562, จาก https://sukkaphap-d.com.


Click to View FlipBook Version