The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนอาชีพสู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by padayanang, 2022-05-24 10:49:45

การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนอาชีพสู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย

การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนอาชีพสู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย

1 ชื่อเรอ่ื ง การประเมินโครงการจัดการเรียนรูห้ ลักสตู รวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0
ของวทิ ยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จงั หวดั เลย

2 ชอ่ื ผู้ประเมนิ นายมณู ดตี รุษ

3 ความเปน็ มาและความสาคัญ

การศึกษามีความสาคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์เพราะการศึกษาเป็นเคร่ืองมือในการพัฒนา
มนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ เสริมสร้างสติปัญญา พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สร้างทัศนคติท่ี
ถูกต้องในการประกอบชีพท่ีสุจริต และเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพของประเทศชาติซึ่งจะส่งผลต่อการ
พัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน การศึกษาพัฒนามนุษย์ให้มีทักษะพื้นฐานท่ีจาเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจท่ีดีงาม
มีความพร้อมท่ีจะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมท่ีจะประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้
คนเจรญิ งอกงาม ทั้งทางปญั ญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเปน็ ความจาเป็นของชีวิตอกี ประการ
หนึ่งนอกเหนือจากความจาเป็นด้านท่ีอยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็น
ปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุกๆ ด้านของชีวิต และเป็นปัจจัยที่สาคัญท่ีสุดของชีวิต ในโลกที่มีกระแสความ
เปล่ียนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยา่ งรวดเรว็ และสง่ ผลกระทบให้วิถชี ีวิตต้องเปล่ียนแปลง
อย่างรวดเร็ว การศึกษาจึงยิ่งมีบทบาทและความจาเป็นมากข้ึนด้วยในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้
รองรับต่อการเปลย่ี นแปลง และใหส้ ามารถดารงตนอยูใ่ นสงั คมไดอ้ ยา่ งมคี วามสุข

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนด้านอาชีวศึกษาเพิ่มมากข้ึน เพื่อ
รองรับการจา้ งงานทัง้ ภาคธุรกิจบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงกล่มุ อาชีพ
ทีเ่ ป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ท่กี าลังขยายตัวในทุกภาคส่วน กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานท่ี
ผลิตกาลังคน จาเป็นอย่างย่ิงต้องเร่งประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ ให้นักเรียนหันมาสนใจเรยี นทางด้าน
อาชีพ ซึ่งมีตลาดรองรับมากขึ้น แต่เนื่องจากสภาพปัจจุบัน ค่านิยมของผู้ปกครองและผู้เรียนมุ่งท่ีจะเรียน
ทางด้านสามัญเพ่ือเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา ส่งผลให้ขาดกาลังคนในภาคแรงงานเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงมี
นโยบายให้มีการจัดการศึกษาหลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาควบคูกันไป เพื่อให้ผู้สาเร็จ
การศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านสามัญและอาชีพ และสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้
ทันที การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพถือเป็นอีกเส้นทางหนึ่งท่ีสอดคล้องและสัมพันธ์กับ
ตลาดแรงงาน สามารถผลิตกาลังคนในระดับฝีมือที่ได้มาตรฐาน สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พนื้ ฐาน (สพฐ.) และสานักงานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา (สอศ.) ได้ตระหนักถึงความสาคัญดังกล่าว จึง
จาเป็นต้องจัดการอาชีวศึกษาอย่างหลากหลาย เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพให้แก่
ประชาชนวัยเรียนและวัยทางานตามความถนัดและความสนใจ และเข้าเรียนอาชีวศึกษาง่ายขึ้น ด้วยการ
ขยายวิชาชีพและกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบการจัดการอาชีวศึกษาได้อย่างท่ัวถึง อันเป็นทางเลือกสาหรับ

2

ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีความประสงค์จะเรียนควบคู่กันไปท้ังการศึกษาทางสามัญและทางวิชาชีพ โดย
จัดใหม้ ีหอ้ งเรียนอาชีพร่วมกัน มกี ารดาเนินการ 2 รูปแบบ คือ รปู แบบที่ 1 การจัดหลักสตู รวิชาชีพระยะสั้น
เพ่ือให้ผู้เรียนเรียนรู้และสามารถทาได้ หรือประกอบอาชีพได้ และรูปแบบที่ 2 การจัดการเรียนรู้อาชีพท่ี
จัดเป็นหน่วยการเรียน โดยกาหนดให้เรียนในรายวิชาพ้ืนฐาน หรือวิชาเลือก ซึ่งผู้เรียนสามารถนับและเก็บ
หน่วยกิต เพื่อนาไปศึกษาต่อในสายอาชีพท้ังระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตร
วิชาชพี ชั้นสงู

การจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เป็นรูปแบบหน่ึงในการพัฒนากาลังคนในด้าน
วิชาชีพ เพ่ือพัฒนาทักษะเฉพาะด้านให้แก่ประชาชน โดยกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพระยะส้ันมี
วัตถุประสงค์เพ่ือมุ่งเน้นผลิตผู้มีสมรรถนะเฉพาะทางในการประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพเดิม อาชีพเสริม
หรือเปล่ียนอาชีพใหม่ ในลักษณะของการศึกษาตลอดชีวิต โดยเป็นการจัดการศึกษา และฝึกอบรมอาชีพ
โดยจดั แบบเปิด หรอื ยดื หยุน่ เพ่อื ใหไ้ ดห้ นว่ ยสมรรถนะของอาชพี

ปัจจุบันวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ได้จัดการเรียนรู้ในระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และนอกจากน้ันได้จัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
ให้แก่ประชาชนท่ีมีความต้องการ และนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พืน้ ฐาน ผ้ปู ระเมินจงึ เห็นความจาเป็นท่ีจะตอ้ งมีการประเมินโครงการฝึกอบรมหลกั สตู รวชิ าชีพระยะสัน้ ที่จัด
การศกึ ษาใหก้ บั นักเรยี นในโรงเรยี นสังกดั สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้นื ฐานดงั กลา่ ว

การประเมินโครงการไม่ใช่เป็นการมุ่งตรวจสอบหรือจับผิดการทางาน หรือการดาเนินงาน
โครงการใดโครงการหน่ึง แต่การประเมินจะช่วยทาให้ข้อมูล (data) ที่มีอยู่ให้กลายเป็นสารสนเทศ
(information) ท่ีเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจแก่ผู้บริหารหรือผมู้ ีอานาจตัดสินใจ เพื่อนาไปสู่การปรบั ปรุง
พัฒนาโครงการ ขยายหรือยกเลิกโครงการ ดังนั้นการดาเนินงานในแต่ละโครงการจึงจาเป็นต้องอาศัย
สารสนเทศจากการประเมินเป็นข้อมูลสาคัญตลอดระยะเวลาในการดาเนินการ เพื่อให้ได้มาซ่ึงสารสนเทศ
ดังกล่าว เพื่อการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการพัฒนาโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นใน
ห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ให้มีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล โครงการนี้จึงสมควรได้รับการประเมินโครงการ เพื่อนาข้อมูลท่ีได้เพื่อเป็นประโยชน์ในการ
พัฒนาหรือปรับปรุง ผลการประเมินโครงการที่ได้จะเป็นข้อมูลสาคัญ เพ่ือพิจารณาถึงส่วนดี ส่วนบกพร่อง
และส่วนที่ควรปรับปรุงแก้ไขของการจัดการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพให้มี
ประสิทธิภาพดียิ่งข้ึน และรายละเอียดของการประเมินท่ีได้จากการประเมินโครงการน้ีสามารถใช้เป็น
แนวทางให้ผ้รู บั ผิดชอบได้ตดั สินใจในการปรบั ปรุงหลกั สตู รและวธิ กี ารจดั การเรียนรไู้ ดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง

3

4 วัตถปุ ระสงค์ของการประเมนิ

เพอื่ ประเมนิ โครงการจัดการเรยี นร้หู ลกั สูตรวชิ าชีพระยะส้นั ในหอ้ งเรียนอาชพี สูก่ ารศกึ ษา 4.0
ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ในด้านต่างๆ คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบ้ืองต้น ด้าน
กระบวนการ และดา้ นผลผลติ ของโครงการ

5 กรอบแนวคดิ การประเมนิ

ในการประเมินคร้ังน้ี ผู้ประเมินมุ่งศึกษา การประเมินจากเอกสาร ตารา และงานวิจัยที่
เก่ียวข้อง โดยใช้รูปแบบการประเมิน 4 ด้าน ตามแบบจาลองซิป (CIPP Model) ของแดเนียล แอล
สตัฟเฟิลบีม (Daniel L.Stufflebeam) ในการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะส้ันใน
ห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย เพราะเป็นรูปแบบการ
ประเมินที่ให้ความสนใจต่อการจัดโครงการ รูปแบบการประเมินซิปช่วยในการหาข้อมูลเพ่ือใช้ในการ
ตัดสินใจของผู้บริหารในการดาเนินโครงการ เพราะเป็นการประเมินอย่างมีระบบแบบแผนที่ชัดเจน และ
สามารถนาไปใช้ในการประเมินโครงการตา่ งๆ และรูปแบบการประเมนิ ซิปให้ความตอ่ เน่อื งในการเก็บข้อมูล
และทางเลือกท่ีเป็นประโยชน์ ข้อมูลการตัดสินใจ สรุปข้อเสนอแนะในการปรับปรุง โดยมีรูปแบบการ
ประเมนิ ดังน้ี

1 การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (context evaluation : C) เป็นการ
ประเมินให้ได้ข้อมูลสาคัญ เพ่ือช่วยในการกาหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ
เป็นการตรวจสอบว่าโครงการที่จะทาสนองปัญหาหรือความต้องการจาเป็นท่ีแท้จริงหรือไม่ วัตถุประสงค์
ของโครงการชัดเจน เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายขององค์การหรือไม่ เป็นโครงการท่มี ีความเป็นไปได้ใน
แงข่ องโอกาสที่จะไดร้ บั การสนับสนนุ จากองคก์ รต่างๆ หรอื ไม่ เป็นตน้

การประเมินสภาวะแวดล้อมจะช่วยในการตัดสินเก่ียวกับเรื่องใด โครงการควรจะทา
ในสภาพแวดลอ้ มใด ต้องการจะบรรลเุ ป้าหมายอะไร หรือตอ้ งการบรรลุวัตถปุ ระสงคเ์ ฉพาะอะไร เป็นตน้

2 การประเมินปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน (input evaluation : I) เป็นการประเมิน
เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความพอเพียงของทรัพยากรท่จี ะใช้ในการ
ดาเนินโครงการ เช่น งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เวลา รวมท้ังเทคโนโลยีและแผนการดาเนินงาน
เปน็ ตน้

การประเมินผลแบบนี้จะทาโดยใช้เอกสารหรืองานวิจัยท่ีมีผู้ทาไว้แล้ว หรือใช้วิธีการ
วิจัยนาร่องเชิงทดลอง (pilot experimental project) ตลอดจนอาจให้ผู้เชี่ยวชาญมาทางานให้ อย่างไรก็
ตาม การประเมินผลน้ีจะต้องสารวจส่ิงที่มีอยู่เดิมก่อนว่ามีอะไรบ้าง และตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการใด ใช้
แผนการดาเนินงานแบบไหน และตอ้ งใชท้ รัพยากรจากภายนอก หรอื ไม่

4

3 การประเมินกระบวนการ (process evaluation : P) เป็นการประเมินระหว่างการ
ดาเนินงานโครงการจัดการเรียนร้หู ลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัย
การอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย เพ่ือหาข้อบกพร่องของการดาเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา
แก้ไข ปรับปรุง ให้การดาเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากข้ึน และเป็นการตรวจสอบกิจกรรม เวลา
ทรัพยากรท่ีใช้ในโครงการ ภาวะผู้นา การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการ โดยมีการบันทึกไว้เป็น
หลักฐานทุกข้ันตอน การประเมินกระบวนการนี้ จะเป็นประโยชน์อยา่ งมากต่อการค้นหาจดุ เด่น หรอื จุดแข็ง
(strengths) และจุดด้อย (weakness) ของนโยบาย/แผนงาน/โครงการ ท่ีไม่สามารถศึกษาได้ภายหลังจาก
ส้นิ สดุ โครงการแล้ว

การประเมินกระบวนการจะมีบทบาทสาคัญในเร่ืองการให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะๆ
เพอ่ื การตรวจสอบการดาเนนิ ของโครงการโดยทวั่ ไป การประเมินกระบวนการมีจุดมงุ่ หมาย คือ

3.1 เพ่ือการหาข้อบกพร่องของโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
ในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ในระหว่างท่ีมีการ
ปฏิบัติการ หรอื การดาเนินงานตามแผนน้ัน

3.2 เพ่ือหาข้อมูลต่างๆ ที่จะนามาใช้ในการตัดสินใจเก่ียวกับการดาเนินงานของ
โครงการ

3.3 เพ่อื การเกบ็ ข้อมูลต่างๆ ทไ่ี ด้จากการดาเนนิ งานของโครงการ
4 การประเมินผลผลิต (product evaluation : P) ประกอบด้วยการประเมิน 2 ด้าน
คือ

4.1 การประเมินผลผลิต (output) ได้แก่การดาเนินผลตามโครงการจัดการ
เรยี นรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสน้ั ในห้องเรยี นอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซา้ ย จังหวัด
เลย

4.2 ด้านผลกระทบ (impact) ประเมินเก่ียวกับความสาเร็จและคุณภาพของ
ผลผลิตตามความพอใจของผู้บรหิ าร ครู ผู้ปกครอง ผู้เรียน คณะกรรมการบรหิ ารสถานศึกษา ของวทิ ยาลัย
การอาชีพดา่ นซ้าย จังหวัดเลย

6 ขอบเขตของการประเมนิ

ในการประเมนิ ครั้งนี้ผปู้ ระเมินได้ศึกษา ดังน้ี
1.4.1 การประเมินผลโครงการจดั การเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะส้ันในห้องเรียนอาชีพ สู่

การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบ้ืองต้น
ด้านกระบวนการ และด้านผลผลติ

5

1.4.2 ประชากรเป้าหมายในการประเมินคร้ังน้ี คือ ครูผู้สอน และผู้เรียนในห้องเรียน
อาชพี

1.4.3 ระยะเวลาในการประเมิน ผู้ประเมินได้ใช้เวลาในการประเมินต้ังแต่เดือน เมษายน
พ.ศ. 2564-เดอื นมีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นเวลา 12 เดอื น

7 เอกสารและทฤษฎที ่ีเก่ียวขอ้ ง

การประเมินโครงการ หมายถึง กิจกรรมที่เป็นกระบวนการ การเก็บรวบรวมข้อมูลของการ
ดาเนินโครงการมาวิเคราะห์จุดเด่น-จุดด้อย ข้อเท็จจริง ถึงระดับความสาเร็จ ความผิดพลาด ปัญหา
อุปสรรค ผลกระทบต่อโครงการอย่างมีระบบ เช่ือถือได้ ในส่วนที่น่าจะไปเป็นแนวทางในการตัดสินใจ
เกยี่ วกับการดาเนินงาน การปรับปรงุ แก้ไขเพอ่ื ให้โครงการมปี ระสิทธภิ าพหรือจะยุติการดาเนนิ งานโครงการ
นั้นเสยี

การประเมินโครงการมีความสาคัญและจาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการได้มาซึ่งข้อมูลหรือ
สารสนเทศท่ีสามารถพิจารณาได้ว่าการดาเนินการตามโครงการบรรลุผลมากน้อยตามวัตถุประสงค์ของ
โครงการนั้นๆ มากน้อยเพียงใด และยงั สามารถท่ีจะพิจารณาได้ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการท่ีกาหนดไว้นั้น
มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการดาเนินการมากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลท่ีได้จากการประเมินโครงการ
จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดาเนินการของโครงการเพ่ือท่ีจะปรับปรุงโครงการให้มีประสทิ ธิภาพและ
ประสิทธผิ ลดยี ่ิงขึ้น

วัตถปุ ระสงคใ์ นการประเมินโครงการเป็นกระบวนการทส่ี ามารถทาได้เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของ
โครงการ เพื่อให้ได้สารสนเทศท่ีสามารถใช้ในการพิจารณาการดาเนินงาน ซึ่งจะทาให้การดาเนินงานเป็นไป
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกนั ข้ามผลการประเมินจะไม่เกิดประโยชน์หากผลการดาเนินโครงการน้ัน
ไม่สามารถนาไปใช้ในเวลาท่ีเหมาะสม เช่น การประเมินผลเม่ือโครงการส้ินสุดลง ผู้ประเมินจะได้เฉพาะ
สารสนเทศตอนส้ินสุดโครงการเท่าน้ัน และถ้าผลการประเมินที่ได้จากโครงการท่ีไม่ประสบความสาเร็จ ผู้
ประเมินก็จะไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังไปยังช่วงเวลาท่ีดาเนินงาน จะได้เพียงความคิดเห็นของ
บุคคลที่เก่ียวข้องเท่าน้ัน ซ่ึงยากท่ีจะยืนยันความถูกต้องของข้อมูล นอกจากน้ีผู้ประเมินจะไม่ทราบว่าเกิด
อะไรขึ้นในระหว่างการดาเนินงาน โครงการจึงไม่ประสบความสาเร็จทาให้ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า
อะไรคือสาเหตุท่ีสาคัญ ส่ิงเหล่าน้ี ไม่เป็นผลดีต่อการดาเนินงานในปีถัดไป การประเมินผลโครงการเป็น
กระบวนการที่จะบ่งชี้ถึงคุณค่าหรือประสิทธิภาพของส่ิงท่ีจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
หรือผ้ทู ี่เก่ียวข้องกับโครงการ ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงถงึ ความรับผิดชอบต่อการบรรลผุ ลสาเร็จในการบริหาร
โครงการ สาหรับการประเมินผลโครงการโดยท่ัวไปมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อศึกษาว่า
วัตถุประสงค์ท่ีต้องการบรรลุนั้นยังเป็นวัตถุประสงค์ท่ียังมีความเหมาะสม และมีความสอดคล้องกับ
สถานการณ์อยู่หรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นการค้นหาวัตถุประสงค์ท่ีกาหนดเพื่อพิจารณาหลักการและเหตุผล

6

ของแผนงานท่ีต้องการบรรลุผลสาเร็จ และกาหนดแนวทางการแก้ไขความล้มเหลวของการปฏิบัติ รวมทั้ง
เพ่ืออานวยการโดยใช้เทคนิคสาหรับการเพ่ิมประสิทธิผลและเพ่ือเป็นพื้นฐานในการวิจัยเพื่อแสวงหาข้อมูล
สาหรับผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างเหมาะสมในการดาเนินโครงการยิ่งขึ้นในอนาคต ในด้าน
ประโยชน์ของการประเมินผลโครงการน้ันมีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น เพ่ือใช้ผลจากการประเมินผล
โครงการในการวางแผนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการจัดสรรทรัพยากรท่ีมีอยู่อย่างจากัดเพ่ือที่จะก่อให้เกิด
ผลประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ เพื่อให้ผู้บรหิ ารสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศ จากผลการประเมินโครงการใน
การวางแผนและตัดสินใจดาเนินโครงการในอนาคต และสามารถเพิ่มความรอบคอบในการตัดสินใจดาเนิน
โครงการในอนาคตได้อกี ด้วย ซ่ึงผลการประเมนิ โครงการสามารถนาผลสาเร็จมาสอู่ งค์การ และลดอุปสรรค
จากการดาเนินโครงการนาไปปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนี้การประเมินผลโครงการยัง
สามารถสร้างขวัญกาลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติ เนื่องจากการประเมินผลโครงการจะทาให้ผู้บริหารสามารถศึกษา
และวิเคราะห์เพ่ือการปรับปรุงงาน และแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมและวธิ ีการปฏิบัติใหม่ๆ มาใช้ปฏิบัติใน
คร้งั ตอ่ ไป

กระบวนการประเมนิ โครงการมขี ัน้ ตอนดังนี้
1) หลกั การเหตุผล และความสาคัญของการประเมินโครงการ
2) ประเมนิ โครงการเพ่ืออะไร : การกาหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
3) ประเมนิ อะไร : การวเิ คราะห์โครงการ
4) ประเมินไดอ้ ะไร : การออกแบบการประเมนิ
5) ขอ้ มลู ทต่ี อ้ งการมีอะไรบ้างหรือจะได้ขอ้ มูลเหล่านั้นด้วยวธิ ใี ด
6) จะแยกและยอ่ สรุปข้อมูลเพ่ือใหม้ ีความหมายได้อย่างไร : การวิเคราะหข์ อ้ มูล
7) ผลการประเมินเป็นอย่างไรจะให้ผมู้ ีหนา้ ท่ีตดั สินใจทราบได้อยา่ งไร : การเขียนรายงาน

และการรายงานผลการประเมนิ
การประเมินโครงการมีประโยชนใ์ นการกาหนดวัตถุประสงค์ และมาตรฐานของการดาเนินงาน

มีความชัดเจนทาให้องค์กรได้รับประโยชน์เต็มที่ ทาให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ เพราะโครงการเป็นส่วน
หน่ึงของแผน ดังนั้นเม่ือโครงการได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ดาเนินการไปดว้ ยดีช่วย
การแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบ (impact) ของโครงการ และทาให้โครงการมีข้อท่ีทาให้ความเสียหาย
น้อยลง ทาให้การควบคุมคุณภาพของงาน เพราะการประเมินโครงการเป็นการตรวจและควบคุมชนิดหน่ึง
ช่วยในการสร้างขวัญและกาลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการ ทาให้การวางแผนหรือการกาหนดนโยบาย
ของผู้บริหารและฝ่ายการเมอื งเปน็ สารสนเทศ ช่วยการตดั สินใจในการบริหารโครงการ

สรปุ แนวคดิ การประเมินโครงการแบบจาลองซิป ได้ดังน้ี
การประเมินบริบท หมายถึง การประเมินเก่ียวกับสิ่งที่จะเป็นส่วนสาคัญในการช่วยกาหนด

วัตถุประสงค์ของโครงการ เป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกโครงการ แต่มีผลต่อความสาเร็จหรือล้มเหลวของโครงการ
ได้แก่ ความต้องการของชุมชน และกลุ่มเป้าหมายที่จะรับบริการจากโครงการ จานวนประชากร กระแส

7

ทิศทางของสังคมและการเมือง สภาพเศรษฐกิจ และปัญหาของชุมชน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงาน
ระดับบนและหนว่ ยงานที่เก่ียวขอ้ ง การประเมินปัจจัยนาเข้าของโครงการ หมายถึง การประเมินทรัพยากร
ที่จาเป็นสาหรับการนามาใช้ในการดาเนินโครงการกาลังคนหรือจานวนบุคคลที่ต้องใช้งบประมาณแหล่ง
เงินทุนสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาคารสถานที่ เครื่องมือและครุภัณฑ์การประเมินปัจจัยนาเข้าจะช่วย
ในการพิจารณาตัดสินใจว่าโครงการน้ันๆ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติท่ีจะทาให้
วตั ถุประสงค์ของโครงการบรรลุผลสาเร็จหรือไม่ และชว่ ยให้เกิดการวางแผนการจัดกจิ กรรมของโครงการได้
อย่างเหมาะสม การประเมินกระบวนการดาเนินงานของโครงการ เป็นการประเมินเกี่ยวกับวิธีการจัด
กิจกรรมของโครงการ การนาปัจจัยเข้ามาให้เหมาะสมมากน้อยเพียงไรเป็นไปตามลาดับข้ันตอนหรือไม่
กิจกรรมท่ีจัดขึ้นจะก่อให้เกิดการบรรลุวตั ถุประสงค์ของโครงการหรือมีอุปสรรคใดๆ เกดิ ขึ้นเพื่อจะได้นาผล
การประเมินมาปรับปรุงกระบวนการดาเนินงานให้รัดกุมมีประสิทธิภาพมากข้ึน การประเมินผลผลิตของ
โครงการ เปน็ การประเมนิ เกี่ยวกบั วิธกี ารจัดกิจกรรมของโครงการ การนาปัจจัยเข้ามาใช้เหมาะสมมากน้อย
เพียงไร เป็นไปตามลาดับขั้นตอนหรือไม่ กิจกรรมท่ีจัดขึ้นจะก่อให้เกิดการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
หรือมีอุปสรรคใดๆ เกิดข้ึน ผลที่ได้รับทั้งหมดจากการดาเนินโครงการได้ผลมากน้อยเพียงใด เป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ของโครงการท่ีกาหนดไว้หรือไม่ การประเมินผลผลิตจะมีการนาไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์
มาตรฐานท่ีกาหนดไว้ที่จะเป็นตัวบ่งช้ีความสาเร็จหรือล้มเหลวของโครงการ เพื่อที่จะได้นาผลประเมินมา
ปรับปรุงกระบวนการดาเนินงานให้รัดกุมมีประสิทธิภาพมากข้ึน หรือเพ่ือการตัดสินใจปรับปรุงขยาย
โครงการนาไปใชต้ อ่ เนื่องตอ่ ไป และเพือ่ ล้มเลกิ โครงการ

8 วธิ ดี าเนินการประเมิน

8.1 ประชากรและกล่มุ ตวั อย่าง
ประชากร
การประเมินครั้งนี้ผู้ประเมินได้ศึกษากับประชากรโดยศึกษาจากผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะ

สน้ั ในหอ้ งเรยี นอาชพี ประจาปีการศกึ ษา 2564 จานวน 255 คน และครูผ้สู อน 12 คน
กลมุ่ ตวั อย่าง
ผู้ประเมินได้ดาเนินการคดั เลอื กกลุ่มตัวอยา่ งจากประชากรท้ังหมด เนื่องด้วยกลุ่มประชากรใน

แต่ละปีการศึกษามีจานวนไมม่ ากเกินไป
8.2 เครื่องมือทีใ่ ชใ้ นการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือท่ีใช้ในการประเมินและเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน

ประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ เก่ียวกับความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน ท่ีสร้างตามกรอบการ
ประเมิน 4 ดา้ น คอื

8

- ด้านบริบท สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน เกี่ยวกับโครงการ เช่น หลักการและ
เหตผุ ล วัตถปุ ระสงค์ เป้าหมาย กจิ กรรม วิธดี าเนนิ การ หลักสตู ร เป็นต้น

- ด้านปัจจัยเบ้ืองต้น สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน เกี่ยวกับ งบประมาณ วัสดุ
อปุ กรณ์ บคุ ลากรท่ีเกยี่ วข้อง อาคารสถานท่ี ระยะเวลา ส่อื การสอน เป็นตน้

- ด้านกระบวนการ สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน เก่ียวกับการดาเนิน
โครงการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การนิเทศ กากับ ติดตาม การวัดผลและการประเมินผล
ระยะเวลาในการดาเนินการ เป็นตน้

- ด้านผลผลิต สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน เก่ียวกับความรู้
ความสามารถของผูเ้ รียนทไ่ี ด้รบั หลังการเรียนการสอน

8.3 การวเิ คราะหข์ ้อมูลและการแปลผลข้อมูล
นาแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาตรวจหาความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแต่ละฉบับ แล้ว

ดาเนินการจัดทาตามขน้ั ตอน ทาการบันทึกคาตอบในแบบสอบถาม เพื่อประเมินผล โดยโปรแกรมสาเร็จรูป
SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) สาหรับแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า
(rating scale) มีเกณฑก์ ารให้คะแนน ดงั น้ี

5 หมายถงึ ระดับความคดิ เห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ มากทส่ี ดุ
4 หมายถงึ ระดบั ความคดิ เหน็ ของผตู้ อบแบบสอบถามต่อโครงการฯ มาก
3 หมายถงึ ระดับความคิดเหน็ ของผตู้ อบแบบสอบถามต่อโครงการฯ ปานกลาง
2 หมายถึง ระดบั ความคิดเหน็ ของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ น้อย
1 หมายถงึ ระดบั ความคิดเห็นของผตู้ อบแบบสอบถามต่อโครงการฯ น้อยท่ีสุด
การหาค่าเฉลี่ยของแต่ละระดับ โดยการแปลความหมายของค่าเฉลี่ยโดยกาหนดช่วงค่าเฉลี่ย
ของระดบั ความคิดเหน็ เพ่อื แปลผลตามเกณฑ์ของเบสท์ (Best, 1981) มรี ายละเอียดดังนี้
4.50-5.00 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะส้ันในด้านนั้นๆ มาก
ทีส่ ุด
3.50-4.49 หมายถึง ความคิดเหน็ ต่อการจัดการเรยี นรูว้ ิชาชพี ระยะส้ันในด้านน้นั ๆ มาก
2.50-3.49 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะส้ันในด้านน้ันๆ ปาน
กลาง
1.50-2.49 หมายถึง ความคิดเหน็ ตอ่ การจัดการเรยี นรู้วิชาชีพระยะส้นั ในดา้ นนัน้ ๆ นอ้ ย
1.00-1.49 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะส้ันในด้านน้ันๆ น้อย
ท่สี ุด
คา่ พารามิเตอรท์ ใี่ ชใ้ นการวเิ คราะหข์ อ้ มลู คอื คา่ ร้อยละ คา่ เฉล่ีย และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน

9

9 ผลการประเมิน

9.1 ผลการประเมินโครงการจดั การเรยี นรูข้ องครผู สู้ อน
9.1.1 ขอ้ มูลท่ัวไปของครูผสู้ อน
ข้อมูลทั่วไปของครูผู้สอนท่ีเป็นกลุ่มตัวอย่าง จากการประเมินพบว่าเป็นเพศชายจานวน 8

คน คิดเป็นร้อยละ 66.66 เป็นเพศหญิง จานวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 33.34 ส่วนอายุ อยู่ระหว่าง 40–49
ปี จานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 83.34 และอายุต่ากว่า 30 ปี จานวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 16.66 ส่วน
วฒุ กิ ารศกึ ษาอยู่ในระดับปริญญาตรที ง้ั หมด

9.1.2 ผลการประเมินดา้ นบริบท
จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะส้ันในห้องเรียนอาชีพ สู่

การศึกษา 4.0 ตามความคดิ เห็นของครูผสู้ อน ในด้านบริบท พบว่า ครูผ้สู อนมคี วามคิดเห็นอยู่ในระดบั มาก
ท่ีสุด เม่ือพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากท่ีสุด 7 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับ
มาก 3 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากท่ีสุดเป็นลาดับที่ 1 คือ เป้าหมายของโครงการมีความ
เป็นไปได้ อยู่ในระดับมากท่ีสุด รองลงมาคือ เน้ือหาวิชามีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน อยู่ใน
ระดบั มากที่สุด และวิธีการดาเนินโครงการสามารถทจ่ี ะปฏิบัติได้จริง อยู่ในระดับมากทีส่ ุด ส่วนข้อทม่ี ีความ
คิดเหน็ อยู่ในระดับน้อยท่ีสุด คือ การกาหนดระยะเวลาในการดาเนินโครงการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับ
มาก

9.1.3 การประเมนิ ด้านปัจจยั เบือ้ งตน้
จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะส้ันในห้องเรียนอาชีพ สู่

การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ใน
ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ใน
ระดับมาก 8 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากท่ีสุดเป็นลาดับท่ี 1 คือ ผู้มีส่วนเก่ียวข้องของ
โครงการมีศักยภาพในการดาเนินการในแต่ละกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ
บุคลากรท่ีร่วมดาเนินโครงการมีความรู้ความสามารถในการดาเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อท่ี
มีความคิดเห็นอยู่ในระดบั นอ้ ยทส่ี ุด คอื วสั ดอุ ุปกรณม์ คี วามเพียงพอในการดาเนินโครงการ อยใู่ นระดับมาก

9.1.4 การประเมนิ ด้านกระบวนการ
จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่

การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านกระบวนการ พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ใน
ระดับมากที่สดุ เม่ือพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคดิ เหน็ อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ข้อ และความคดิ เห็นอยู่
ในระดับมาก 4 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากท่ีสุดเป็นลาดับท่ี 1 คือ กิจกรรมท่ีปฏิบัติในแต่
ละขั้นตอนสอดคล้องกับเป้าหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ระยะเวลาในการดาเนินการในแต่ละ
กิจกรรมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับหลักสูตรที่

10

กาหนด อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการวางแผนในการดาเนินงานในแต่ละกิจกรรมอย่างเหมาะสม อยู่ใน
ระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ มีการนิเทศ กากับ ติดตามการดาเนินงาน
ในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีการวัดผล ประเมินผลผู้เรียน เพ่ือพัฒนาคุณภาพอย่าง
ต่อเน่ือง อยู่ในระดับมาก การบริหารจัดการโครงการมีความชัดเจน เป็นระบบ อยู่ในระดับมาก และ
บุคลากรทเ่ี กย่ี วข้องให้ความรว่ มมือในการดาเนนิ กจิ กรรม อย่ใู นระดับมาก

9.1.5 การประเมินด้านผลผลติ
จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่

การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านผลผลิต พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นในระดับมาก
เม่ือพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคดิ เห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ และความคิดเห็นอยใู่ นระดับมาก 6
ขอ้ และข้อท่มี ีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลาดับท่ี 1 คอื มีการวัดและประเมินผลการจัดการเรียน
การสอนตามท่ีกาหนดในแผนการจัดการเรียนการสอนทุกขั้นตอน อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้เรียนมีความ
พร้อมในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ี
หลากหลายโดยสอดคล้องกับผู้เรียนทุกคน อยู่ในระดับมากที่สุด และใช้สื่ออุปกรณ์ประกอบกิจกรรมการ
เรียนรู้ที่เหมาะสม ได้ประโยชน์คุ้มคา่ อยใู่ นระดับมากทสี่ ดุ ส่วนขอ้ ทม่ี ีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยทสี่ ุด คือ
ผู้เรียนมีปฏิสมั พนั ธท์ ่ดี ตี อ่ ครผู สู้ อน และเพอื่ นนักเรียน อยู่ในระดบั มาก

9.1.6 ผลการประเมนิ ในภาพรวม
จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่

การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในภาพรวม พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับอยู่ในระดับมากท่ีสุด 2 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 2
ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากท่ีสุดเป็นลาดับที่ 1 คือ ด้านบริบท อยู่ในระดับมากท่ีสุด
รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากท่ีสดุ ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ ด้าน
ปัจจยั เบื้องตน้ อยใู่ นระดบั มาก

9.2 ผลการประเมนิ โครงการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
9.2.1 ขอ้ มลู ท่ัวไปของผู้เรียน
ข้อมูลท่ัวไปของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จากการประเมินพบว่าเป็นเพศชาย จานวน 83

คน คิดเป็นรอ้ ยละ 53.50 เป็นเพศหญิง จานวน 72 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 46.50 สว่ นใหญ่อายุระหว่าง 13-14
ปี จานวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 80.60 และอายุระหว่าง 15-16 ปี จานวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 19.40
ส่วนวุฒิการศึกษาที่กาลังศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จานวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ
71.00 และอยใู่ นระดับประถมศึกษาปีท่ี 1–6 จานวน 45 คน คิดเปน็ ร้อยละ 29.00

11

9.2.2 ผลการประเมนิ ด้านกระบวนการ
จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะส้ันในห้องเรียนอาชีพ สู่

การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้เรียน ในด้านกระบวนการ พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นในระดับมาก
เม่ือพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากท่ีสุด 5 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
15 ข้อ และขอ้ ทม่ี คี วามคดิ เห็นอยู่ในระดบั มากที่สดุ เป็นลาดบั ท่ี 1 คือ ครูผสู้ อนไมแ่ สดงการหาประโยชน์อัน
เป็นอามิสสินจ้างจากผู้เรียนในการปฏิบัติหน้าท่ีตามปกติ ซึ่งอยู่ในด้านจรรยาบรรณ อยู่ในระดับมากท่ีสุด
รองลงมาคือ ครูผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ทั้งกาย วาจา ใจ ซึ่งอยู่ในด้านจรรยาบรรณ
อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อท่ีมีความคิดเห็นอยู่ในระดับต่าสุดคือ ครูผู้สอนมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถ
นากจิ กรรมที่น่าสนใจมาใช้ในกิจกรรมการเรยี นการสอน ซ่ึงอยู่ในดา้ นความรูค้ วามสามารถ อยใู่ นระดบั มาก

9.2.3 ผลการประเมินดา้ นผลผลิต
จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะส้ันในห้องเรียนอาชีพ สู่

การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้เรียน ในด้านผลผลิต พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นในระดับมาก เม่ือ
พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยใู่ นระดับมากท่ีสุด 2 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 8 ข้อ
และขอ้ ที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากท่ีสุดเป็นลาดับที่ 1 คือ ผู้เรยี นสามารถนาความรู้และทักษะที่ได้จาก
การเรียนรู้ไปปฏิบัติงานได้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มีระยะเวลาจัดการเรียนการสอนที่ความ
เหมาะสมกับหัวข้อและเน้ือหาวิชา อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นในระดับน้อยสุด คือ
เนื้อหาวชิ าทเ่ี ขา้ รบั การเรยี นรู้ตอบสนองความจาเปน็ ในการประกอบอาชพี อยู่ในระดับมาก

9.2.4 ผลการประเมนิ ในภาพรวม
จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่

การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้เรียน ในภาพรวม พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นในระดับมาก เม่ือ
พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ข้อ และข้อท่ีมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
ท่ีสดุ เป็นลาดบั ที่ 1 คือ ด้านกระบวนการ อยใู่ นระดับมาก รองลงมา คอื ดา้ นผลผลิต อยู่ในระดบั มาก

9.3 การประเมนิ โครงการของครผู สู้ อน และผูเ้ รียน ในภาพรวม
จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่

การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน ในภาพรวม พบว่า ครูผู้สอน และผู้เรียนมีความ
คิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อ และอยู่ใน
ระดับมาก 3 ข้อ และข้อท่ีมคี วามคิดเหน็ อยู่ในระดับมากทสี่ ดุ เป็นลาดับที่ 1 คอื ด้านบริบท อยใู่ นระดบั มาก
ที่สุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นในระดับน้อยท่ีสุด คือ ด้าน
ปจั จัยเบอ้ื งต้น อยู่ในระดบั มาก

12

10 ขอ้ เสนอแนะ

จากการประเมนิ พบสิง่ ที่เป็นประโยชน์เป็นแนวทางสาหรับวิทยาลยั การอาชีพดา่ นซา้ ย ดังนี้คอื
10.1 ขอ้ เสนอแนะในการนาผลการประเมนิ ไปใช้
10.1.1 ผู้ท่ีรับผิดชอบในการจัดทาหลักสูตรวิชาชีพระยะส้ัน ของวิทยาลัยการ

อาชพี ดา่ นซา้ ยควรมกี ารจัดการเรียนรูห้ ลักสูตรวิชาชีพระยะสัน้ หลักสตู รอืน่ ๆ ให้แก่นักเรยี นสังกัดสานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้นื ฐานต่อไป

10.1.2 ครูผู้สอนท่ีจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ของวิทยาลัยการ
อาชีพด่านซ้ายควรท่ีจะต้องจดั หาอุปกรณ์ วัสดุฝึกให้เพียงพอ เพื่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในรุ่น
ตอ่ ๆ ไป

10.1.3 ผูด้ าเนินการจดั การเรียนรตู้ ามโครงการจัดการเรยี นรูห้ ลักสูตรวชิ าชีพระยะ
สั้นควรมีการเสนอของบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์และซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี เอกสารท่ี
แจกใหน้ ักเรียนควรมีคุณภาพ เพื่อผลดใี นการจัดการเรียนรู้ในรนุ่ ต่อๆ ไป

10.1.4 ผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย ควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อ
จัดการซ่อมแซมวัสดุ อุปกรณ์จัดการเรียนรู้ให้อยู่ในสภาพท่ีดีพร้อมใช้งานได้ เพื่อการจัดการเรียนรู้ในรุ่น
ตอ่ ๆ ไปท่มี ีประสิทธภิ าพยิ่งขึน้

10.2 ข้อเสนอแนะเพอื่ การประเมนิ ครัง้ ต่อไป
10.2.1 ควรมีการประเมินผลผลิตของโครงการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรวิชาชีพ

ระยะสั้น เกย่ี วกับสภาพการนาความรูไ้ ปประยุกตใ์ ช้ จากนกั เรยี น
10.2.2 ควรมีการประเมินผลหลักสูตรวิชาชีพระยะส้ัน หลักสูตรอ่ืนๆ ท่ีจัดการ

เรยี นรใู้ นวทิ ยาลยั การอาชพี ดา่ นซา้ ย
10.2.3 หลังจากเสร็จสน้ิ การจดั การเรียนร้คู วรมีการตดิ ตามผลและประเมินผล โดย

วจิ ยั เชิงคณุ ภาพ หลงั การจัดการเรียนรู้

11 เอกสารอ้างองิ

กิตตมิ า ปรีดีดลิ ก. (2532). การบรหิ ารและการนิเทศการศกึ ษาเบอ้ื งต้น. กรงุ เทพมหานคร : อกั ษรบัณฑติ
จาเนียร สุขหลาย และคณะ. (2540). แบบจาลอง CIPP. รวมบทความทางการประเมินโครงการ.

กรงุ เทพมหานคร : จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั .
ทวีป ศิรริ ศั ม.ี (2544). การวางแผนพฒั นาและการประเมนิ โครงการ.
ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒ นาคุณ ธรรมจริยธรรมและค่านิยมจ ากทฤษฏีสู่การปฏิบัติ.

กรงุ เทพมหานคร : ม.ป.ท..

13

_______. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพ่ือการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพค์ ร้ังที่ 5. กรงุ เทพฯ : ดา่ นสุทธาการพมิ พ์.

นวรัตน์ สุวรรณผ่อง. (2542). การประเมินผลและการเขียนแผนงาน/โครงการด้านสาธารณสุข.
กรงุ เทพมหานคร : คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์.

นิศา ชโู ต. (2541). การประเมนิ โครงการ. กรงุ เทพมหานคร : เฟรมโปรดกั ชัน่ .
ประชมุ รอดประเสรฐิ . (2535). การบริหารโครงการ. กรงุ เทพฯ : มหาวทิ ยาลัยบรู พา.
ปรยี าพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2542). การจดั และการบริหารอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
ปุระชัย เป่ยี มสมบรู ณ์. (2530). การประเมนิ ผลหลักและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : การพิมพ์พระนคร.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์คร้ังท่ี 7.

กรงุ เทพมหานคร : สานกั ทดสอบทางการศกึ ษาและจติ วิทยา มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวโิ รฒ.
รตั นะ บัวสนธ์. (2540). การประเมนิ โครงการการวิจัยเชิงประเมิน. กรงุ เทพฯ : ตน้ อ้อ แกรมม.่ี
วัลลภ กันทรัพย์. (2541). แนวคิดเก่ียวกับการพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : กรมการ

ศาสนา.
สมคิด พรมจุ้ย. (2542). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งท่ี 2. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.
สมบูรณ์ ตนั ยะ. (2545). การประเมินทางการศกึ ษา. กรุงเทพมหานคร : สุวริ ยิ าสาสน์ .
สมหวงั พธิ ิยานวุ ัฒน์ และคณะ. (2544). รวมบทความทางการประเมินโครงการชุดรวมบทความ. เล่มท่ี 4
พมิ พค์ รั้งที่ 6. กรงุ เทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.
สาราญ มีแจ้ง. (2544). การประเมินโครงการทางการศึกษา. กรงุ เทพมหานคร : นชิ นิ แอดเวอรไ์ ทซ่ิงกรุป๊
สุชาติ ประสิทธ์ิรัฐสินธ์ุ. (2541). การประเมินโครงการ : หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร :

เลี่ยงเชีย่ ง.
สุภรณ์ สถาพงศ์. (2545). การเรยี นร้ทู ่ีเนน้ ผเู้ รียนเปน็ สาคญั . วารสารวิชาการ.
สุวิมล ติรกานันท์. (2545). การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์คร้ังที่ 4. กรุงเทพฯ :

ศูนยส์ ่งเสริมวิชาการ.
อาภรณ์ ใจเท่ียง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พมิ พ์ครั้งที่ 3. กรงุ เทพฯ : ท.ี พี.พริน้ .
Best, J. W. (1981). Research in Education. New Jersey : Prentice Hall
Stufflebeam, D. L. (1990). Systematic evaluation. Boston : Kluwep ijhoffPublishing.


Click to View FlipBook Version