The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by padayanang, 2021-05-09 03:08:42

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

สารบญั

พระราชบญั ญัติการศึกษาแหง่ ชาติ พุทธศักราช 2542 หมวด 4 แนวการจดั การศึกษา................ หนา้
ลักษณะกระบวนการเรียนรู้ท่พี งึ ประสงค์ ตามพระราชบญั ญตั ิการศึกษาแห่งชาติ พุทธศกั ราช 1

2542..................................................................................................................................... 3
การจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ท่เี น้นผูเ้ รียนเปน็ สาคัญ......................................................................... 5
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นของผเู้ รียน.............................................................................................. 45
การประเมินผลตามสภาพจรงิ ...................................................................................................... 56
พฤติกรรมของผ้เู รยี น................................................................................................................... 64

การจัดการเรยี นรทู้ ีเ่ น้นผ้เู รียนเปน็ สาคัญ

มณู ดีตรุษ

2.1 พระราชบัญญตั กิ ารศกึ ษาแหง่ ชาติ พทุ ธศักราช 2542 หมวด 4 แนวการจดั การศกึ ษา

สาระสาคัญ
สาระสาคัญในหมวด 4 แนวการจัดการศกึ ษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542 สาระของหมวดน้ีครอบคลุมหลัก สาระ และกระบวนการจัดการศึกษาท่ี
เปดิ กวา้ งใหแ้ นวทางการมสี ่วนร่วม สร้างสรรค์วสิ ยั ทัศนใ์ หม่ทางการเรียนการสอนท้ังภายในและ
ภายนอกสถานศึกษา สาระเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ตามหมวดน้ีเร่ิม
ต้งั แตม่ าตรา 22 ถงึ มาตรา 30 มสี าระสาคัญ 8 เร่ืองใหญๆ่ ดังนี้

หมวด 4 แนวการจัดการศกึ ษา

- หลกั การจัดการศึกษา (มาตรา 22)
- สาระการเรียนรู้ (มาตรา 23)
- กระบวนการเรยี นรู้ (มาตรา 24)
- บทบาทรฐั ในการสง่ เสริมแหลง่ เรยี นรู้ (มาตรา 25)
- การประเมินผลการเรียนรู้ (มาตรา 26)
- การพัฒนาหลกั สูตรระดับต่างๆ (มาตรา 27 และ 28)
- บทบาทของผู้มีสว่ นเกยี่ วข้อง (มาตรา 29)
- การวิจยั เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (มาตรา 30)

ผูเ้ รียนสาคญั ท่ีสดุ

ภาพประกอบท่ี 1 สาระสาคัญเกย่ี วกบั การจัดกิจกรรมการเรียนรทู้ เ่ี นน้ ผเู้ รยี นเป็นสาคญั
2.1.1 มาตรา 22 หลักการจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมี

ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผเู้ รียนมีความสาคัญท่ีสุด กระบวนการจัดการ
ศกึ ษาต้องส่งเสริมให้ผูเ้ รยี นสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

2.1.2 มาตรา 23 สาระการเรียนรู้ เน้นความสาคัญท้ังความรู้ คุณธรรม
กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ในเร่ืองเกี่ยวกับ
ตนเอง และความสัมพันธ์เกี่ยวกับตนเอง ตลอดจนประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย
การเมืองและการปกครอง ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมท้ังเรื่องการ
จดั การดา้ นคณิตศาสตร์ ดา้ นภาษา การประกอบอาชีพและการดารงชีวิตอย่างมีความสุข การใช้

2

และการบารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
การกีฬา ภูมปิ ัญญาไทย

2.1.3 มาตรา 24 กระบวนการเรียนรู้ ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้
สอดคลอ้ งกบั ความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างของผู้เรียน ฝกึ ทักษะกระบวนการคิด การ
จัดการ การเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ใช้ เพื่อปูองกันและแก้ไขปัญหา ให้ผู้เรียนเรียนรู้จาก
ประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทาได้ คิดเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝุรู้อย่างต่อเนื่อง
ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างสมดุล รวมท้ังปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะ
อันพงึ ประสงคใ์ นทกุ วิชา ผู้สอนสามารถจดั บรรยากาศ สภาพแวดลอ้ ม สอื่ การเรียน อานวยความ
สะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งผู้สอน
และผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อและแหล่งเรียนรู้ท่ีหลากหลาย พ่อแม่ ผู้ปกครอง และ
ชมุ ชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรใู้ หเ้ กดิ ขน้ึ ได้ทกุ เวลาทกุ สถานท่ี

2.1.4 มาตรา 25 บทบาทรัฐในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ โดยการส่งเสริมการ
ดาเนินงานและการจัดต้งั แหลง่ เรียนร้ตู ลอดชวี ติ ทกุ รปู แบบอยา่ งพอเพยี งและมปี ระสิทธิภาพ

2.1.5 มาตรา 26 การประเมินผลการเรยี นรู้พจิ ารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน
ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรมการเรียน การรว่ มกจิ กรรม และการทดลองควบค่กู นั ไปตามความ
เหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา และให้นาผลการประเมินดังกล่าวมาใช้
ประกอบการพิจารณาในการจดั สรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อโดยวธิ ที หี่ ลากหลาย

2.1.6 มาตรา 27 และ 28 การพัฒนาหลักสูตรแต่ละระดับที่เหมาะสมกับ
สภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครอบครัว
ชุมชน สงั คม และประเทศชาติ

หลักสูตรมลี กั ษณะหลากหลายตามความเหมาะสมของแต่ละระดับต้องมุ่งพัฒนา
คนให้มีความสมดุล ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อ
สังคม

2.1.7 มาตรา 29 บทบาทของผู้มีส่วนเก่ียวข้อง สถานศึกษาร่วมกับบุคคล
ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น จัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อ
ส่งเสริมความเขม้ แข็งของชุมชนรวมทงั้ หาวธิ กี ารแลกเปล่ียนประสบการณ์การพฒั นาระหวา่ งชมุ ชน

2.1.8 มาตรา 30 การวิจัยเพ่ือการพัฒนาการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาพัฒนา
กระบวนการเรียนการสอนทีม่ ปี ระสิทธิภาพและสง่ เสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัย เพือ่ พัฒนาการเรียนรู้
ทเ่ี หมาะสมกับผ้เู รียน

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เป็นบทบัญญัติท่ีให้ทิศทางใน
การปฏิรูปการเรียนรู้ท่ีชัดเจน แม้ว่าการปฏิรูปการเรียนรู้ของชาติเป็นงานท่ียากแต่เป็นภารกิจที่

3

ยิ่งใหญ่ท่ีมุ่งสัมฤทธิผล ท้ังทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ว่าฝุายนโยบาย สถานศึกษา หน่วยงานท่ี
เกีย่ วขอ้ งกบั การศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผูส้ อน ผู้เรียน ผู้บริหาร ชุมชน ต้องมีความเข้าใจ
ตรงกนั และเขา้ มามสี ่วนรว่ มในการปฏิรูป โดยมงุ่ หวังทจ่ี ะให้เห็นคนไทยมีคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์
เปน็ ท้งั คนดี คนเกง่ และมคี วามสุข

2.2 ลักษณะกระบวนการเรียนรู้ท่ีพึงประสงค์ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542

กระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ คือ กระบวนการทางปัญญาท่ีพัฒนาบุคคลอย่าง
ต่อเน่ืองตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานท่ี เป็นกระบวนการเรียนรู้ท่ีมีความสุข
บูรณาการเนื้อหาสาระตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้เก่ียวกับ
ตนเองและความสมั พันธข์ องตนเองกบั สังคม เน้อื หาการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน
ทันสมัย เน้นกระบวนการคิดและการปฏิบัติจริง ให้เรียนรู้ตามสภาพจริง สามารถนาไปใช้
ประโยชน์ไดอ้ ย่างกว้างไกล เปน็ กระบวนการทมี่ ที างเลือกและมีแหล่งเรียนรูท้ ่หี ลากหลาย นา่ สนใจ
เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีผู้เรียน ครูผู้สอน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝุายร่วมจัด
บรรยากาศใหเ้ อ้ือตอ่ การเรียนรู้ และมุ่งประโยชนข์ องผเู้ รยี นเป็นสาคญั เพอ่ื ใหผ้ ูเ้ รยี นเป็นคนดี คน
เกง่ และคนมคี วามสุข

หากมกี ารจดั กระบวนการเรียนรู้เชือ่ มโยงกันเปน็ องค์รวม หรือเรียกว่าบูรณาการตามที่
กล่าวข้างต้นน้ันแล้ว ย่อมส่งผลให้คนไทยที่เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข คุณสมบัติ 3
ประการ ตา่ งเปน็ ปัจจัยอาศยั ซึง่ กนั และกนั มิไดเ้ รียงลาดบั กอ่ นหลงั

จดุ หมายสาคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ การพัฒนาคุณภาพของคนไทยเพื่อการ
พัฒนาท่ีย่ังยืนของประเทศ ทุกฝุายต้องส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้เรียนได้มี
โอกาสได้คิด ไดท้ บทวน พิสูจน์ผลแลว้ นาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง พ่ึงพาตนเองได้ ใฝุหาความรู้
และใช้ความรู้ทางสรา้ งสรรค์เพอ่ื ประโยชน์ของส่วนรวม

ผทู้ รงคุณวุฒิด้านการเรยี นรู้ นักการศกึ ษา นักคิด ครอู าจารย์ ผู้บริหาร ผู้เรียน และ
ทุกฝุายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะผู้เรียน และลักษณะ
กระบวนการเรียนรู้ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 สรุปเป็น
สาระสาคัญ ดงั นี้

ลักษณะผเู้ รียนทีพ่ ึงประสงค์
ผูเ้ รียนทพี่ ึงประสงค์ คอื ผ้เู รียนเป็นคนดี คนเกง่ และคนมคี วามสขุ
คนดี คือ คนที่ดาเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีจิตใจท่ีดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม มี
คุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ทั้งทางด้านจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น มีความรับผิดชอบ มี

4

วินัย มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีเหตุผล รู้หน้าท่ี ซ่ือสัตย์ พากเพียร ขยัน มี
จิตใจเปน็ ประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็นและสิทธิของผู้อื่น มีความเสียสละ รักษาสิ่งแวดล้อม
สามารถอย่รู ว่ มกับผูอ้ น่ื อยา่ งมีความสุข

คนเก่ง คือ คนที่มีสมรรถภาพสูงในการดาเนินชีวิต โดยมีความสามารถด้านใดด้าน
หนงึ่ หรอื รอบดา้ น หรือมีความสามารถเฉพาะทาง เช่น ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ความสามารถทางดา้ นคณิตศาสตร์ ความสามารถในด้านอาชีพตามสาขา มีความคิดสร้างสรรค์ มี
ความสามารถดา้ นภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา มีภาวะผู้นา รู้จักตนเองควบคุมตนเองได้ เป็นต้น
เปน็ คนทันสมยั ทนั เหตกุ ารณ์ ทันโลก ทันเทคโนโลยี มีความเป็นไทย สามารถพัฒนาตนเองได้
เตม็ ศกั ยภาพและทาประโยชนใ์ หเ้ กิดแกต่ น สงั คม และประเทศชาติได้

คนมีความสุข คือ คนที่มีสุขภาพดีท้ังกาย และจิตใจ เป็นคนร่าเริงแจ่มใส ร่างกาย
แข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรักต่อสรรพสิ่ง มีอิสรภาพปลอดพ้นจากการตก
เป็นทาสของอบายมุข และสามารถดารงชีวติ ไดอ้ ยา่ งพอเพียงแก่อัตภาพ ไมเ่ กิดความเดอื ดร้อน

จากท่ีกล่าวมา สรุปได้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสาคัญท่ีสุด
ผูเ้ รยี นทุกคนสามารถเรียนร้แู ละพัฒนาตนเองได้ ดังนัน้ กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้
ผู้เรียนไดพ้ ัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศกั ยภาพ การจัดการศึกษาทั้งสามรูปแบบในหมวด 3
ต้องเน้นทั้งความรู้ คณุ ธรรม และกระบวนการเรยี นรู้ ในเร่ืองสาระความรู้ ใหบ้ รู ณาการความรู้
และทักษะด้านต่างๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละระดับการศึกษา ได้แก่ ด้านความรู้เก่ียวกับตนเอง
และความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านศาสนา ด้าน
ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ด้านภาษา
โดยเฉพาะการใชภ้ าษาไทย ด้านคณิตศาสตร์ ดา้ นการประกอบอาชพี และการดารงชีวิตอย่างมี
ความสุข ในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่สอดคล้องกับ
ความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน และความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมท้ังให้ฝึกทักษะ
กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ปูองกันและ
แก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างสมดุล
และปลูกฝงั คุณธรรม คา่ นิยมทดี่ ี คณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ในทุกวิชา นอกจากนั้น ในการจัด
กระบวนการเรียนรู้ยังต้องส่งเสริมให้ครูผู้สอน จัดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการ
เรยี นรู้ ใช้การวิจยั เปน็ สว่ นหนึ่งของกระบวนการเรยี นรู้ ครผู สู้ อนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อม
กันจากส่ือการเรียนรูแ้ ละแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดข้ึนได้ทุกเวลา ทุก
สถานท่ี มีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการดาเนินงาน
และการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ การประเมินผลผู้เรียน ให้สถานศึกษา
พิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วม

5

กิจกรรม และการทดสอบ ส่วนการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ ให้ใช้วิธีการที่หลากหลาย
และนาผลการประเมินผู้เรยี นมาใชป้ ระกอบด้วย

2.3 การจดั กจิ กรรมการเรยี นรูท้ เี่ น้นผูเ้ รียนเป็นสาคัญ

2.3.1 ความหมายของการจดั กิจกรรมการเรยี นร้ทู เ่ี นน้ ผู้เรียนเปน็ สาคัญ
การปฏริ ปู กระบวนการเรยี นรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ นับได้ว่าเป็นหัวใจสาคัญในการ
ปฏิรปู การศึกษาตามบทบญั ญตั ใิ นพระราชบัญญัติการศกึ ษาแห่งชาติ พุทธศกั ราช 2542 มาตรา 22
ซงึ่ ระบไุ ว้วา่ การศึกษาต้องยึดหลักวา่ ผู้เรยี นทุกคนมคี วามสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และ
ถอื วา่ ผเู้ รียนมคี วามสาคญั ทีส่ ดุ กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม
ธรรมชาตแิ ละเตม็ ศกั ยภาพ
การจดั การเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญที่สุด เป็นความคิดเชิงปรัชญาท่ีกาหนดไว้
ใน มาตรา 22 แหง่ พระราชบญั ญตั ิการศกึ ษาแหง่ ชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับ
ที่ 2) พทุ ธศกั ราช 2545 มคี วามหมายเดียวกบั การจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ
ยดึ ผเู้ รยี นเปน็ หลกั ซ่งึ มีนกั การศึกษาหลายท่านไดใ้ หค้ วามหมายไว้ ดงั นี้
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (2542) กล่าวว่า
การจดั การเรยี นการสอนทเ่ี น้นผู้เรยี นเป็นสาคญั หมายถึง การกาหนดจุดหมาย สาระกิจกรรม
แหล่งเรียนรู้ และการวัดประเมินผล ท่ีมุ่งพัฒนา “คน” และ “ชีวิต” ให้เกิดประสบการณ์การ
เรยี นรเู้ ต็มความสามารถสอดคล้องกับความถนดั ความสนใจ และความตอ้ งการของผู้เรียน

กิจกรรมการเรียนการสอนคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยส่งเสริมให้
ผู้เรยี นได้สัมผัสและสัมพันธก์ บั สง่ิ แวดลอ้ มทงั้ ท่ีเปน็ มนษุ ย์ ธรรมชาติ และเทคโนโลยี ผู้เรียนได้
ค้นคว้า ทดลองฝึกปฏิบัติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จนค้นพบสาระสาคัญของบทเรียน ได้ฝึกวิธีคิด
วเิ คราะห์ สร้างสรรคจ์ ินตนาการ และสามารถแสดงออกไดช้ ดั เจนมีเหตผุ ล

ครูมีบทบาทปลุกเร้าและเสริมแรงศิษย์ในทุกกิจกรรมให้ค้นพบคาตอบและ
แก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมท้ังการทางานเป็นกลุ่ม จัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม ความมีวินัย
รับผิดชอบในการทางาน ผเู้ รียนมโี อกาสฝึกการประเมนิ และปรับปรงุ ตนเอง ยอมรับผู้อ่ืน สร้าง
จิตสานึกในความเป็นพลเมอื งและเปน็ พลโลก

ระดับผู้เรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่ วนร่วมในการกาหนด
จุดมุ่งหมายกิจกรรม และวิธีการเรียนรู้ตามศักยภาพ ความต้องการ ความสนใจ และความ
ถนดั ของแต่ละคน

6

ระดับห้องเรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้คิดเองทาเอง ปฏิบัติเอง
และสรา้ งความรู้ดว้ ยตนเองในเร่ืองท่ีสอดคล้องกับการดารงชีวิต จากแหล่งเรียนรู้ท่ีหลากหลาย
มีสว่ นร่วมในการกาหนดจดุ มุ่งหมาย กจิ กรรม และวิธีการเรยี นรู้ สามารถเรยี นรู้กับผู้อื่นอย่างมี
ความสขุ มสี ่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้

ครเู ป็นผู้วางแผนขั้นต้น ทั้งเนื้อหาและวิธีการเรียนแก่ผู้เรียน จัดบรรยากาศให้
เออ้ื ต่อการเรียนรู้ และชว่ ยชแี้ นะแนวทางการแสวงหาความรทู้ ถ่ี กู ต้องใหแ้ กผ่ ู้เรยี นเป็นรายบุคคล

กระทรวงศึกษาธิการ (2547) กล่าวถึงความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนท่ีเน้น
ผู้เรียนเป็นสาคัญว่า หมายถึง การกาหนดจุดหมาย สาระ กิจกรรม แหล่งเรียนรู้ สื่อการ
เรยี น และการวัดผลประเมินผล ทมี่ ่งุ พัฒนา “คน” และ “ชีวติ ” ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้
เตม็ ความสามารถ สอดคล้องกบั ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรยี น กิจกรรม
การเรียนคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์กับ
สิ่งแวดล้อม ทั้งท่ีเป็นเพ่ือนมนุษย์ ธรรมชาติ และเทคโนโลยี ผู้เรียนได้ค้นคว้า ทดลองฝึก
ปฏิบตั ิ แลกเปล่ียนเรียนรูจ้ นคน้ พบสาระสาคญั ของบทเรียน ไดฝ้ ึกวธิ ีคดิ วิเคราะห์ สร้างสรรค์
จนิ ตนาการ และสามารถแสดงออกไดช้ ัดเจน มีเหตุผล ครูมีบทบาทปลุกเร้าและเสริมแรงศิษย์
ในทุกกิจกรรมให้ค้นพบคาตอบและแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมทั้งการร่วมทางานเป็นกลุ่ม จัด
กจิ กรรมปลกู ฝงั คณุ ธรรม ความมีวนิ ยั รบั ผดิ ชอบในการทางาน ผู้เรียนมีโอกาสฝึกการประเมิน
และปรับปรุงตนเอง ยอมรับผอู้ ื่น สร้างจติ สานกึ ในความเป็นพลเมอื งและเป็นพลโลก

กรมวิชาการ (2548) กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็น
แนวความคิดที่มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้จากการปฏิบัติ ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่
หลากหลาย ผู้สอนจะตอ้ งวางแผนการจดั กจิ กรรมเรียนร้โู ดยให้ผู้เรียนใช้แหล่งเรียนรู้และสื่อการ
เรียนร้ใู นการแสวงหาความรดู้ ้วยตนเอง โดยมคี รูเป็นผูใ้ ห้คาปรึกษา

กุลิดา ทัศนพิทักษ์ (2546) กล่าวไว้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนท่ีเน้นผู้เรียนเป็น
สาคญั หมายถงึ การจัดการสอนของครูที่มุ่งจัดกิจกรรมท่ีสอดคล้องเหมาะสมกับความสามารถ
และความสนใจของนกั เรยี น โดยใหน้ ักเรยี นได้รับการพัฒนาแบบองค์รวม ได้มีส่วนร่วมและลง
มอื ปฏบิ ตั จิ ริงจนเกิดการเรยี นรู้ คิดอยา่ งมรี ะบบ มวี จิ ารณญาณ อยู่ร่วมกับผอู้ น่ื อย่างมีความสุข

ชนาธิป พรกุล (2545) ให้ความหมายของการจดั กิจกรรมการเรียนท่ีเน้นผู้เรียนเป็น
สาคัญ คือ แนวการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และส่ิงประดิษฐ์ใหม่
โดยผา่ นกระบวนการคดิ ดว้ ยตนเอง ทาให้ผูเ้ รยี นไดเ้ รียนรู้ดว้ ยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิด
ความเข้าใจ สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อานวยความสะดวก จัด
ประสบการณก์ ารเรียนรู้ใหผ้ ูเ้ รียน การจดั การเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ต้องจัด
ให้สอดคล้องกบั ความสนใจ ความสามารถ และความถนัด เน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์

7

สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีสอน หลากหลายแหล่งการเรียนรู้ สามารถพัฒนาปัญญาอย่าง
หลากหลาย คือ พัฒนาพหุปัญญา รวมท้งั เน้นการใช้วิธกี ารวัดผลอย่างหลากหลาย

ทิศนา แขมมณี (2545) กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนท่ียึดผู้เรียนเป็น
ศูนยก์ ลาง หมายถึง การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนท่ีให้ผู้เรียนมีบทบาทหรือมีส่วน
ร่วมอย่างต่ืนตัว (Active Participation) ท้ังทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
ในกิจกรรมหรือกระบวนการเรียนรู้โดยมีบทบาทดังกล่าวมากกว่าผู้สอน คาว่า ผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลาง หมายถึง การให้ผู้เรียนเป็นจุดสนใจ หรือเป็นสิ่งท่ีสาคัญที่สุด หรือเป็นส่ิงที่ต้อง
คานึงถึงมากที่สุดในกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งจะมองเห็นเป็นรูปธรรมได้จากบทบาทการ
แสดงออกของผู้เรียนในกิจกรรมหรือกระบวนการเรียนรู้ ถ้าครูมีบทบาทมากในกระบวนการ
เรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนมีบทบาทน้อยกว่า ก็ถือว่าครูเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน
ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้มาก ผู้สอนมีบทบาทน้อยกว่า ก็แสดงว่า
ผู้เรยี นเป็นศูนย์กลางของการเรยี นการสอนน้นั

นาวี ทรพั ยห์ ่วง (2548) การจดั การเรียนร้ทู ี่เน้นผูเ้ รยี นเปน็ สาคญั หมายถึง การจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
ตามความสามารถและความสนใจของผ้เู รยี น

พิพัฒน์ พสุธารชาติ (2547) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมมากท่ีสุด
ด้วยความมงุ่ หวังที่จะทาใหผ้ เู้ รียนได้พฒั นากระบวนการคิดและสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมี
ปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมกับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกัน เพ่ือพัฒนากาย อารมณ์ สังคม และ
สติปัญญาในบรบิ ททม่ี ีอยู่ และเกิดขึ้นตามสภาพจริง และพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ที่จะคิด
วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ วางแผน และตัดสินใจแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพ่ือการเรียนรู้
ตลอดชีวิตทจ่ี ะช่วยทาใหค้ ุณภาพของชีวติ ดีขนึ้

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2545) ได้กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
คือ แนวทางการจดั การเรยี นการสอนทเี่ นน้ ให้ผู้เรยี นสร้างความรใู้ หม่ และสง่ิ ประดิษฐ์ใหม่ โดย
การใช้กระบวนการทางปญั ญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุม่ ) และ
ให้ผู้เรียนมปี ฏสิ ัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยครูมี
บทบาทเปน็ ผอู้ านวยความสะดวกจดั ประสบการณ์การเรยี นรู้ใหผ้ เู้ รยี น การจัดการเรียนการสอน
ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัด เน้น
การบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีสอน หลากหลายแหล่งความรู้
สามารถพฒั นาปัญญาอย่างหลากหลาย คือพัฒนาพหปุ ญั ญารวมทงั้ เน้นการใช้วิธีการวัดผลอย่าง
หลากหลายวิธี

8

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2548) กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็น
สาคญั หมายถึง แนวการจัดการเรยี นการสอนทีเ่ น้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ และสิ่งประดิษฐ์
ใหมโ่ ดยใชก้ ระบวนการทางปญั ญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม)
และใหผ้ ู้เรยี นมปี ฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดย
ครมู ีบทบาทเป็นผอู้ านวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรยี นร้ใู หแ้ ก่ผู้เรียน

พุทธชาด ทองกร (2546) กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
หมายถึง กระบวนการจัดการเรยี นรทู้ คี่ านึงถึงผู้เรยี นโดยมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมใน
การทากิจกรรม ใหผ้ เู้ รยี นไดล้ งมือปฏบิ ตั ิ คิดค้น สรา้ งความรู้ในส่ิงที่ตนชอบ ถนัด สอดคล้อง
กับวถิ ีชีวติ อยา่ งกระตอื รอื รน้ ด้วยความรับผิดชอบ และมีความสุขกับการเรียนรู้ โดยมีครูผู้สอน
คอยอานวยความสะดวกใหค้ าแนะนา และเอาใจใส่อยา่ งใกลช้ ิด

รวีวรรณ โพธิ์วงั , นงเยาว์ ภูแ่ กว้ , อาพร จิตรใจ และบูรชัย ศิริมหาสาคร (2548)
กล่าวถงึ การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางไว้ว่า มีการปฏิบัติหลากหลายแนวทาง ซึ่งสรุป
เปน็ ความหมายเชิงปฏบิ ตั ิการ ดงั น้ี

1 เป็นกระบวนการเรียนรู้ท่ีผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง พัฒนา
กระบวนการคิดวิเคราะห์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความ
ถนัด ความสนใจด้วยวิธีการกระบวนการและใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายท้ังในและนอก
หอ้ งเรยี น ผ้เู รยี นมผี ลการเรียนร้ไู ด้ตามมาตรฐานตามทีห่ ลักสูตรกาหนด มีความรู้สึกช่ืนชมยินดี
ในผลการปฏิบัติของตน สามารถนาความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน
สังคม และส่วนรวม

2 เปน็ กระบวนการเรยี นรู้ท่ีผู้จัดหรือครูผู้สอนดาเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียน
ตามความแตกต่าง ความสามารถทางด้านปัญญา วิธีการเรียนรู้ โดยบูรณาการคุณธรรม
คา่ นิยมอันพึงประสงค์ วางแผนการจัดกจิ กรรม และประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบให้
ผเู้ รยี นได้พัฒนาสติปัญญา อารมณ์และทักษะการปฏบิ ตั ิ สง่ เสริม สนับสนุนการนาความรู้ไปใช้
ในแหลง่ ความรทู้ ี่หลากหลายและเชือ่ มโยงกบั ชีวิตจริง และมกี ารวัดผลประเมนิ ผลตามสภาพจริง

3 เปน็ กระบวนการจดั การเรียนรูท้ ่ีผูส้ นบั สนนุ การเรียนรู้มีส่วนร่วม โดยส่งเสริม
ใหส้ ถานศึกษาจดั ทาสาระของหลักสูตรใหส้ อดคล้องกบั ปัญหา และความต้องการของผู้เรียน หา
วิธีการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสถานศึกษาให้พัฒนากระบวนการ
เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมให้ครูผู้สอนทาวิจัยในช้ันเรียน เพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ให้
เหมาะสมกับผเู้ รียน และสนบั สนนุ ด้านทรัพยากรการลงทนุ เพื่อการศึกษา พร้อมดูแลตรวจสอบ
กระบวนการจดั การศกึ ษาใหผ้ ู้เรียนเกิดการเรียนร้ตู ลอดชวี ิต

9

รุ่ง แก้วแดง (2546) กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนมีความสาคัญท่ีสุด
หมายถึง การจัดการศึกษาต้องให้ความสาคัญกับผู้เรียนมากกว่าอาคารสถานที่ หรือแม้แต่
บุคลากรอนื่ ๆ ซ่งึ ผเู้ รียนเข้ามาในโรงเรียนเพ่ือเรียนรู้ ส่วนครูมีหน้าท่ีอานวยความสะดวกให้แก่
ผู้เรียนได้เรียนรู้ หรือเปน็ ผจู้ ดั การเรียนรู้ใหก้ บั ผ้เู รียน เดมิ ครูเป็นผู้บอกและเป็นผู้ผูกขาดความรู้
ผู้เรียนได้แต่ทาและจา โรงเรียนจึงกลายเป็นโรงสอน แต่ถ้าครูเปล่ียนมาส่งเสริมให้ผู้เรียนได้
เรยี นรู้ และกจิ กรรมการเรยี นก็เปน็ ไปเพ่ือการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนก็จะเป็นท่ีเรียนรู้ของ
ผู้เรยี นอยา่ งแท้จรงิ ฉะนัน้ ผเู้ รียนสาคัญทสี่ ดุ จงึ หมายถงึ ผเู้ รียนได้เรียนมากกวา่ ท่ีครูได้สอน

วรภัทร์ ภู่เจริญ (2546) กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ หมายถึง
กจิ กรรมใดก็แล้วแตท่ ผ่ี ู้สอนกระทา โดยคิดว่าทาไปแล้วเด็กได้อะไร มุ่งความต้ังใจทุกอย่างไปท่ี
ผเู้ รียนเพื่อผลประโยชนข์ องผเู้ รียนและต้องสอนให้เหมาะกับลกั ษณะการเรียนรูข้ องแต่ละคน

อาภรณ์ ใจเทีย่ ง (2546) กล่าวไวว้ ่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียน
เป็นสาคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีการต่างๆ อย่างหลากหลาย ที่ผู้เรียนมีบทบาท
สาคัญในการเรียนรู้ ได้คิด ค้นคว้า ได้ปฏิบัติและมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่ม เพ่ือให้เกิดการเรียนรู้
อย่างแทจ้ ริง และสามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชวี ิตจรงิ

สรปุ ไดว้ า่ การจัดกจิ กรรมการเรียนทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็นสาคัญ หมายถึง กระบวนการ
จัดการเรียนรู้ท่ีเน้นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีบทบาทหรือ มี
ส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้กระบวนการทาง
ปญั ญา และกระบวนการทางสังคม โดยเน้นใหผ้ ้เู รียนสามารถคดิ คน้ สร้าง และสรุปข้อความรู้
ด้วยตนเอง และนาข้อความรู้น้ันไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์
ใหมโ่ ดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่
ผเู้ รียน ด้วยวธิ กี ารทหี่ ลากหลาย เน้นการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดความเข้าใจ ผู้เรียนได้
พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
ผู้เรียนสามารถนาวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ทุกฝุายมีส่วนร่วมในทุกข้ันตอนเพื่อพัฒนา
ผู้เรยี น โดยมคี รูผสู้ อนคอยอานวยความสะดวกให้คาแนะนา และเอาใจใส่อย่างใกลช้ ิด

2.3.2 ปรัชญาการศกึ ษาทเี่ ป็นพ้ืนฐาน แนวคิดของการจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียน
เป็นสาคญั

ทฤษฎกี ารเรยี นร้เู ป็นพน้ื ฐานที่มีความสาคัญ เพ่ือความเข้าใจเก่ียวกับการเรียนการ
สอน ซ่ึงทฤษฎกี ารเรยี นรู้นี้จะเปน็ หลักของการสอนและวิธีสอนซึ่งครูผู้สอนจาเป็นจะต้องศึกษา
และทาความเข้าใจ ทั้งน้ีก็เพ่ือท่ีจะได้นาเอาความคิดไปใช้ในการออกแบบวางแผนจัดการเรียน

10

การสอนให้สอดคล้องกับวุฒิภาวะ ความพร้อม ตลอดจนความแตกต่างระหว่างบุคคลของ
ผ้เู รียน ทฤษฎกี ารเรยี นร้ทู สี่ าคัญๆ ครูควรรู้ มีดงั นี้ (ปรียาพร วงศอ์ นุตรโรจน์, 2546)

1 ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เน้นพฤติกรรมของมนุษย์ แม้จะเน้นกระบวนการ
ภายในแต่กพ็ ิจารณาพฤตกิ รรมท่ีแสดงออก

1.1 ทฤษฎีการวางเง่ือนไขของพาฟลอฟ (Pavlov, 1929) ส่ิงเร้าที่เป็นกลาง
จะเกิดขนึ้ พรอ้ มๆ กับสิ่งเร้าทีท่ าให้เกิดกรยิ าสะท้อนอย่างหน่ึงหลายๆ ครั้ง สิ่งเร้าท่ีเป็นกลางจะ
ทาให้เกดิ กริยาสะทอ้ นอยา่ งน้ันดว้ ย การเรียนรขู้ องส่ิงมีชวี ิตเกดิ จากการวางเงอ่ื นไข

1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน (Watson, 1968) ได้นาทฤษฎีของ
พาฟลอฟมาใช้และนามาทดลองกับคน โดยมีความรู้สึกและอารมณ์มาเก่ียวข้อง อารมณ์ที่
เกดิ ขนึ้ เช่น อารมณก์ ลัว ซ่งึ มผี ลต่อสง่ิ เร้าบางอยา่ งตามธรรมชาติอยแู่ ล้ว ก็จะทาให้กลัวส่ิงเร้า
อน่ื ๆ ได้ด้วย เขาไดท้ ดลองกับบุตรชาย ด้วยการนาหนูสีขาวมาให้เด็กเล่นคู่กับเสียงดัง จนเกิด
ความกลวั และมีผลตอ่ ความกลวั ในสตั วท์ ่คี ล้ายคลึงกันในลักษณะการนาหลักการเรียนรู้การวาง
เงื่อนไขมาใชก้ ็คือต้องสรา้ งความชอบในสง่ิ ท่เี รียนเพ่ือเป็นการปรับปรุงพฤตกิ รรม

1.3 ทฤษฎีการเรยี นรกู้ ารวางเงื่อนไขด้วยการกระทาของสกินเนอร์ (Skinner,
1950) เขาทาการทดลองกับหนูและนกพิราบ พบว่าการเรียนรู้เกิดจากผู้เรียนเป็นผู้กระทาโดย
การมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่ิงเร้าและการตอบสนอง และการกระทาใดถ้าได้รับการ
เสรมิ แรงแนวโนม้ จะกระทาพฤตกิ รรมน้นั อีก

กฎแห่งการเรียนรู้ที่ได้จากการทดลองของสกินเนอร์ ก็คือ กฎแห่งการ
เสรมิ แรง โดยมี 2 เรอื่ ง คือ

1 ตารางกาหนดการเสริมแรง (Schedule of Reinforcement) เป็น
การใช้กฏเกณฑ์บางอย่าง เช่น เวลา พฤตกิ รรมเปน็ ตัวกาหนดการเสรมิ แรง

2 อัตราการตอบสนอง (Response Rate) เป็นการตอบสนองที่เกิด
จากการเสริมแรงต่างๆ ซ่ึงจะเกิดข้ึนมากน้อยและนานคงทนถาวรเพียงใด ย่อมแล้วแต่ตาราง
กาหนดการเสริมแรงน้นั ๆ

การเสริมแรงตามหลักการของสกินเนอร์ สรุปได้ว่า ระยะแรกของ
การศกึ ษานนั้ ต้องให้รางวัลตอบสนองทกุ ครง้ั การเรยี นรู้จะเรว็ และดาเนินไปอย่างได้ผลเป็นที่น่า
พอใจ แต่เม่ือเกิดการเรียนรู้แล้วควรจะเว้นการเสริมแรง แน่นอนเสีย หันมาใช้การเสริมแรง
เปน็ ระยะ ทั้งนเี้ พื่อเปน็ การช่วยให้ผเู้ รยี นได้ปรบั ตวั เขา้ กับสถานท่ีเป็นจริงของเหตุการณ์ปัจจุบัน
ในชวี ิตจริงเป็นการตอบสนองของบคุ คลไม่จาเปน็ ตอ้ งไดร้ บั การเสรมิ แรงทกุ คร้งั

1.4 ทฤษฎีของฮัลล์ (Hull, 1942) เป็นทฤษฎีการวางเง่ือนไขโดยอาศัยการ
ต่อเนือ่ งระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยเขาเชื่อว่า พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดจากแรงขับ

11

คือ ความหวิ ความกระหายกับอุปนสิ ยั ของบุคคลนัน้ เม่อื ได้รับการเสริมแรง เขียนเป็นสมการ
ดังน้ี

พฤตกิ รรม (Behavior) = แรงขับ (Drive) x นิสัย (Habit)
การเรียนรู้จะเพ่ิมเม่ือได้รับการเสริมแรง แต่ในบางครั้งอัตราการเพิ่มจะ
ลดลงแม้การเรียนรู้จะดาเนินการไปเร่ือยๆ ทั้งน้ีก็เพราะมีตัวแปรอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง โดย
เฉพาะตวั แปรทม่ี อี ิทธิพลตอ่ การเรยี นรู้ เชน่ ความพร้อม ความสนใจ ความถนดั เป็นต้น
1.5 ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Concepted Theory)
ธอรน์ ไดค์ไดท้ ดลองเก่ียวกับการเรยี นรู้ โดยการเนน้ ส่ิงเร้าและการตอบสนอง ใช้การลองผิดลอง
ถูก เขาใช้แมวท่ีหิวใส่ในหีบกล และดูการหาทางออกจากหีบกลของแมว เขาค้นพบว่า การ
เรียนรเู้ กิดจากความสัมพนั ธ์เชอ่ื มโยงระหว่างส่งิ เร้าและการตอบสนอง โดยมีส่ิงภายนอกเป็นตัว
เสริมแรง
ธอร์นไดคไ์ ด้คน้ พบกฎ 3 ข้อ ในการเรยี นรู้ คือ
1 กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) กฎน้ี กล่าวถึงสภาพความ
พร้อมของผู้เรยี น ทงั้ ทางร่างกายและจิตใจ ความพร้อมทางร่างกายหมายถึง ความพร้อมทาง
วุฒภิ าวะ สว่ นความพรอ้ มทางจิตใจ หมายถึง ความพร้อมท่ีเกิดจากความพึงพอใจ ซ่ึงต้องมีท้ัง
สองอยา่ งประกอบกัน
2 กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) กฎนี้ กล่าวถึงการสร้างความ
มนั่ คงของการเชอื่ มโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองท่ีถูกต้อง โดยการฝึกหัดซ้าบ่อยๆ ย่อม
ทาใหเ้ กิดการเรยี นรไู้ ดน้ านและคงทนถาวร โดยกฎข้อยอ่ ยอกี 2 ขอ้ คือ กฎแห่งการนาไปใช้ทา
ให้การเรียนรู้ถาวร และกฎแหง่ การไม่ได้ใช้ทาให้เกดิ การลืม
3 กฎแห่งผลท่ีได้รับ (Law of Affect) กฎนี้ กล่าวถึงผลท่ีได้รับ เม่ือ
แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ ถา้ ผูเ้ รยี นพอใจก็แสดงพฤตกิ รรมนั้นอกี หากไม่พอใจก็ไม่อยากเรียน
ซ่งึ ตรงกบั ลกั ษณะการเสริมแรง
1.6 ทฤษฎกี ารเรยี นรู้ของบลมู (Bloom, 1976) ซ่ึงเช่ือว่า การเรียนการสอน
ทป่ี ระสบความสาเรจ็ และมีประสิทธิภาพน้ัน ผู้สอนจะต้องกาหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน
เพอ่ื ให้ผ้สู อนกาหนดและจัดกิจกรรมการเรียน รวมท้ังวัดผลประเมินผลได้ถูกต้อง และบลูมได้
แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศยั ทฤษฎกี ารเรียนรูแ้ ละจิตวิทยาพ้ืนฐานว่า มนุษย์จะเกิดการ
เรียนรู้ใน 3 ด้าน คือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนาหลักการน้ีจาแนก
เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษา เรียกว่า Taxonomy of Educational Objectives (Bloom,
1976 อ้างถงึ ใน ศุภลกั ษณ์ จิรธนรัตร์, 2550)

12

1 ด้านพทุ ธิพสิ ยั (Cognitive Domain) เป็นจุดประสงค์ในดา้ นเชาวน์
ปัญญา หรือดา้ นความรู้ ความคิด ซง่ึ ประกอบดว้ ย ความสามารถท่ซี ับซอ้ น จากนอ้ ยไปหา
มาก ดงั น้ี

1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถใน การจดจา
ประสบการณ์ตา่ งๆ และระลึกเร่ืองราวนน้ั ๆ ออกมาไดถ้ กู ตอ้ งแมน่ ยา

1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอก
ใจความสาคัญของเรือ่ งราวโดยการแปลความหลัก ตคี วามได้ สรุปใจความสาคัญได้

1.3 การนาความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถใน
การนาหลักการ กฏเกณฑ์ และวิธีดาเนินการต่างๆ ของเรื่องท่ีได้รู้มานาไปใช้แก้ปัญหาใน
สถานการณใ์ หมไ่ ด้

1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะ
เรอ่ื งราวที่สมบรู ณ์ใหก้ ระจายออกเปน็ สว่ นย่อยๆ ได้อยา่ งชดั เจน

1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสาน
ส่วนยอ่ ยเข้าเปน็ เรื่องราวเดยี วกนั โดยปรับปรงุ ของเกา่ ให้ดขี นึ้ และมีคณุ ภาพสูงขึ้น

1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัย
หรือตัดสินกระทาสิ่งหน่ึงส่ิงใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์ คือ มาตรฐานใน
การวัดทกี่ าหนดไว้

2 ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นจุดประสงค์ด้านความรู้สึก
ได้แก่ ความสนใจ คา่ นิยม คณุ คา่ ฯลฯ มขี ้ันตอนของพฤติกรรมตามลาดบั ขั้น ดังน้ี

2.1 การรับรู้ (Receiving of Attending) เป็นการท่ีผู้เรียนจะได้รับ
ผลประโยชน์จากสภาพแวดล้อม เชน่ คน ส่ิงของ ผลงาน ข้อมลู หรอื อะไรก็ตาม แล้วได้การ
เรียนรู้และเข้าใจถึงส่ิงนั้นได้ การรับรู้นี้จะมี 3 ข้ัน คือ ความตระหนัก ความเต็มใจที่จะรับรู้
และการควบคมุ หรือเลือกใหค้ วามสนใจ

2.2 การตอบสนอง (Responsing) เป็นปฏิกิริยาท่ีผู้เรียนมีต่อส่ิงเร้า
โดยมพี ฤตกิ รรมการตอบสนอง ซ่ึงแบ่งเปน็ 3 ระดบั คอื การยอมรับการตอบสนอง ความเต็ม
ใจทีต่ อบสนอง และพอใจในการตอบสนอง

2.3 การสร้างคุณค่า (Value) เป็นการสร้างคุณค่าเก่ียวกับส่ิงใดสิ่ง
หนึง่ โดยมพี ฤติกรรมดงั นี้ คอื การยอมรับคณุ ค่า การนิยมในคณุ ค่า และการผูกพันในคุณค่า

2.4 การจัดระบบคุณค่า (Organization) เป็นการท่ีผู้เรียนจะต้องมี
การคิดพิจารณาและรวบรวมคุณคา่ ภายหลังจากท่ีผู้เรียนได้สร้างค่านิยมย่อยๆ เกี่ยวกับเร่ืองราว

13

ส่ิงต่างๆ แลว้ ซง่ึ การจดั คุณค่าเป็นระบบแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การสร้างมโนภาพเก่ียวกับ
คุณคา่ เหลา่ นนั้ และการจัดระบบคุณคา่ เหล่านนั้ ให้เปน็ ระเบยี บ

2.5 การสร้างลักษณะนิสัย (Characterization) ในขั้นตอนนี้
ความรู้สึกและค่านิยมท่ีเกิดข้ึนมาในระดับก่อนหน้านี้จะกลายมาเป็นความประพฤติ คุณสมบัติ
คุณลักษณะของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลของการเรียนรู้ทางด้านจิตพิสัยที่สูงสุด พฤติกรรมท่ี
แสดงออกในระดับนี้ ได้แก่การมีหลักยึดในการตัดสินใจหรือพิจารณาสิ่งต่างๆ และการแสดง
ลกั ษณะนิสัย และคุณสมบัติของแต่ละบคุ คล

3 ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นการกระทาที่ใช้
ความสามารถที่แสดงออกทางกาย ซ่ึงแบ่งระดับพฤติกรรมทางด้านการปฏิบัติตามระดับความ
ซับซอ้ นของการกระทา 5 ระดับ คอื

3.1 การรบั รู้ (Perception) เปน็ การรับรเู้ ก่ียวกับจุดมุ่งหมายของการ
เรยี นอย่างชดั เจน สอดคลอ้ งสมั พนั ธก์ บั การปฏบิ ัตกิ ารเรียนของเขา

3.2 ความพร้อมในการปฏิบัติ (Set) เป็นความพร้อมในการกระทา
หรอื ประสบการณเ์ ฉพาะทง้ั ด้านรา่ งกาย ความคดิ และอารมณ์

3.3 การตอบสนองตามคาแนะนา (Guided Response) ผู้เรียนจะ
ตอบสนองหรือแสดงพฤตกิ รรมการยอมรบั ออกมาภายหลังไดร้ บั คาแนะนา

3.4 การปฏิบตั ไิ ด้ (Mechanism) ผเู้ รียนสามารถปฏบิ ัติงานได้เอง
3.5 การตอบสนองต่อสิ่งซับซ้อน (Complex Overt Response)
ผู้เรยี นสามารถกระทาหรอื ปฏิบัตใิ นส่ิงที่ซับซอ้ นไดโ้ ดยปราศจากความลังเลสับสน
ตามแนวคิดของบลูม สรุปได้ว่า ความสามารถของบุคคลเกิดจากการเรียนรู้
ประกอบด้วยพฤติกรรมท่ีสาคัญแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ
โดยแต่ละด้านประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยท่ีสามารถบ่งบอกชัดเจน โดยสามารถวัดและ
ตรวจสอบไดง้ า่ ย
2 ทฤษฎคี วามรคู้ วามเขา้ ใจหรือทฤษฎีปัญญา (Cognitive Theories) ทฤษฎีนี้
มองการเรียนรู้เป็นการรับรู้และหยั่งเห็น (Insight) พฤติกรรมนี้มีท้ังพฤติกรรมภายนอกและ
พฤติกรรมภายใน ซ่ึงเน้นในด้านความคิด การเรียนรู้เกิดจากการหย่ังเห็นโครงสร้างเป็นกลุ่มๆ
ของกระบวนการที่จะแก้ปญั หา แบ่งเปน็ ทฤษฎยี อ่ ยๆ ดงั น้ี
2.1 ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Theories) เป็นกลุ่มนักคิดชาวเยอรมัน
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 โดยมีผู้นากลุ่มคือ เวอร์ไธเมอร์ (Wertheimer) โคห์เลอร์ (Kohler)
คอฟฟ์กา (Koffka) และเลวิน (Lawin) ท้ังกลุ่มน้ีมีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการจัด
ประสบการณ์ทัง้ หลายทอ่ี ยู่กระจัดกระจายให้มารวมกนั เสยี กอ่ น แล้วจึงพจิ ารณาเปน็ ส่วนยอ่ ยไป

14

เกสตัลท์ (Gestalt) กล่าวถึง รูปแบบแผนและรวมมาเป็นส่วนรวม
เขาสรปุ จากแนวคิดน้ีว่า ส่วนรวมจะมคี า่ มากกวา่ ผลบวกของสว่ นย่อย ซ่งึ ทาให้เกิดการเรียนรู้ 2
ลักษณะ คอื

1 การรับรู้ เป็นการแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะรับ
สัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ หู ตา จมูก ล้ิน และผิวหนัง การรับรู้ท่ีมากท่ีสุด คือ ทางสายตา จะ
ประมาณรอ้ ยละ 75 ของการรบั รู้ทัง้ หมด

2 การหย่ังเห็น หมายถึง การเกิดความคิดข้ึนมาทันทีในขณะท่ี
ประสบปัญหา โดยมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอน เป็นแนวทางของสภาพการณ์
ใหม่ท่ีเกิดข้ึนโดยอาศัยความรู้ความเข้าใจที่เคยเรียนรู้มา เป็นการมองเห็นช่องทางในการ
แก้ปญั หาอยา่ งทนั ทที นั ใด

2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของทอลแมน (Tolman’s Sign Learning) ทฤษฎี
การเรียนรู้ของทอลแมน เป็นการเรียนรู้อย่างมีจุดมุ่งหมาย เขาคิดว่าความมุ่งหมายและความ
คาดหวงั มผี ลต่อการเรียนรู้ แนวความคิดของการเรียนรู้ คือ การให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างหรือ
เคร่ืองหมายข้ึน และโยงความสมั พันธ์ระหวา่ งเคร่อื งหมายและเปูาหมายเข้าด้วยกัน และการจะ
บรรลเุ ปูาหมายกด็ ว้ ยการกระทาของผ้เู รยี น

2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ (Bruner’s Theory of Learning)
บรูเนอร์มองเห็นว่า ความร้เู ปน็ กระบวนการ มใิ ชผ่ ลผลติ ครูควรสนใจวธิ ีการมากกว่าผลที่ได้รับ
ให้ผเู้ รียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ ท่ีใช้แสวงหาความรู้และให้เกิดการเรียนรู้ บรูเนอร์
พบวธิ กี ารจดั การเรียนการสอนท่ีเรยี กวา่ วธิ ีการแบบค้นพบและสืบสวนสอบสวน (Medthod of
Discovery and Inquiry) เขาคิดวา่ ความพร้อมของผู้เรียนสามารถจะกระทาได้ โดยไม่ต้องรอให้
เกิดความพรอ้ มตามธรรมชาตคิ วามสนใจของผูเ้ รียนเปน็ ส่ิงเสรมิ ให้เกดิ ความพร้อมในการเรียน

ทิศนา แขมมณี (2550) กล่าวถึง ทฤษฎีการเรียนรู้ สามารถจัดเป็นกลุ่ม
ใหญ่ๆ ไดด้ ังนี้

1 ทฤษฎกี ารเรยี นรกู้ ล่มุ พฤตกิ รรมนิยม (Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้
มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะท่ีเป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว การกระทาต่างๆ ของมนุษย์
เกิดจากอิทธิพลของส่ิงแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อส่ิงเร้า
การเรียนรู้เกิดจากการเช่ือมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความ
สนใจกับ “พฤติกรรม” มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
ทฤษฎกี ารเรียนรูใ้ นกลุ่มน้ี ประกอบดว้ ยแนวคิดสาคญั ๆ ดว้ ยกนั 3 แนว คือ

1.1 ทฤษฎีการเชือ่ มโยงของธอร์นไดค์
1.2 ทฤษฎกี ารวางเงอ่ื นไข

15

1.2.1 แบบอัตโนมัติ ของพาฟลอฟ และวัตสัน
1.2.2 แบบต่อเนอื่ ง ของกัทธรี
1.2.3 แบบวางเงอื่ นไข ของสกินเนอร์
1.3 ทฤษฎกี ารเรยี นรขู้ องฮัลล์
2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) กลุ่มพุทธินิยม หรือ
กลุม่ ความร้คู วามเข้าใจ หรอื กลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มน้ีเริ่ม
ขยายขอบเขตของความคดิ ทเ่ี นน้ ทางด้านพฤตกิ รรมออกไปสกู่ ระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็น
กระบวนการภายในของสมอง นักคดิ กล่มุ นีเ้ ช่อื ว่าการเรียนร้ขู องมนษุ ย์ไม่ใช่เรือ่ งของพฤติกรรมท่ี
เกดิ จากกระบวนการตอบสนองตอ่ สงิ่ เรา้ เพียงเท่านนั้ การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไป
กว่าน้ัน การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดท่ีเกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้าง
ความหมาย และความสัมพนั ธข์ องข้อมูลและการดงึ ข้อมูลออกมาใช้ในการกระทาและแก้ปัญหา
ต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจ
ให้กบั ตนเอง ทฤษฎีในกลุม่ นท้ี ่สี าคญั ๆ มี 5 ทฤษฎี คอื
2.1 ทฤษฎีเกสตัลท์ นักจิตวิทยาคนสาคัญของทฤษฎีน้ี คือ แมกซ์
เวอรไ์ ทม์เมอร์ วูลฟ์แกงค์ โคหเ์ ลอร์ คอฟฟ์กา และเคริ ์ท เลวนิ
2.2 ทฤษฎสี นาม นักจิตวทิ ยาคนสาคัญ คอื เคิร์ท เลวนิ
2.3 ทฤษฎเี คร่ืองหมาย ของทอลแมน
2.4 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา นักจิตวิทยาคนสาคัญ คือ
เพียเจต์ และ บรุนเนอร์
3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) นักคิดกลุ่ม
มนุษยนิยม ให้ความสาคัญของความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มี
ความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคล
ได้รบั อิสรภาพและเสรภี าพ มนุษย์จะพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ นักจิตวิทยา
คนสาคัญในกลุ่มนี้ คือ มาสโลว์ (Maslow) รอเจอร์ส (Rogers) โคม (Combs) โนลส์
(Knowles) แฟร์ (Faire) ลิลลิช (Lilich) และนลี (Neil)
4 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน ( Eclecticism) กานเย่เป็น
นักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมและพุทธินิยม อาศัย
ทฤษฎีและหลกั การท่หี ลากหลาย เน่ืองจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจ
ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องใช้ความคิดท่ีลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมากจาเป็นต้องใช้
ความสามารถในขั้นสูง กานเย่ได้จัดข้ันการเรียนรู้จากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการ
เรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยมและพทุ ธนิ ิยมเข้าด้วยกัน ทฤษฎีเป็นชุดของความคิดรวบยอดเชิง

16

นามธรรม ซึ่งถูกสรา้ งข้นึ มาใหอ้ ยใู่ นรูปของระบบความเชื่อหรือความเห็น เพื่อใช้อธิบายถึงกลุ่ม
ของปรากฏการณ์ ทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนจึงหมายถึงระบบความเชื่อหรือความเห็นซ่ึง
ถกู จดั เรียบเรยี งไว้ เพือ่ ใช้อธบิ ายปรากฏการณใ์ นการเรียนการสอน การให้ความหมายว่าทฤษฎี
เป็นระบบความเช่ือหรือความคิดเห็นนี้เอง ทาให้เห็นได้ว่า ทฤษฎีเป็นส่ิงที่นักวิชาการสร้างขึ้น
เพื่อทาความเข้าใจส่ิงใดสง่ิ หนึ่ง และแม้ว่าปรากฏการณ์นั้นจะเป็นส่ิงเดียวกัน แต่นักทฤษฎีอาจ
สร้างระบบความเช่ือหรือความเห็นในการทาความเข้าใจแตกต่างกันออกไป จนกระท่ังทาให้มี
ทฤษฎกี ารเรยี นการสอนเกิดขึ้นหลายทฤษฎี ทฤษฎีการเรียนการสอนที่นับว่าแพร่หลายมากมา
จากแนวคิดของนักจติ วิทยา 4 กล่มุ คือ กลมุ่ พฤติกรรมนิยม กลุ่มปัญญานิยม กลุ่มผสมผสาน
และกลุ่มประมวลสารสนเทศ

4.1 กลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยาพฤติกรรมนิย มศึกษา
พฤตกิ รรมทจ่ี ะสามารถสงั เกตภายนอกไดแ้ ละเน้นความสาคญั ของสงิ่ แวดลอ้ ม

4.2 กลุ่มปัญญานิยม นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมเน้นความสาคัญ
ของผู้เรยี น และศึกษาว่าเวลาท่กี ารเรยี นรเู้ กิดข้ึนมกี ารเปล่ยี นแปลงอะไรบา้ งในตัวบุคคล

4.3 กลมุ่ ผสมผสาน นกั จติ วิทยากลุ่มผสมผสานมองเห็นว่าในการทา
ความเขา้ ใจเกย่ี วกบั เร่อื งการเรยี นรนู้ นั้ ควรทจี่ ะได้พิจารณาแนวความคิดทงั้ จากกลุ่มความสัมพันธ์
เชื่อมโยงระหวา่ งส่ิงเรา้ กบั การตอบสนองและกล่มุ ที่เน้นความสาคัญของการคิดเพราะไม่มีทฤษฎี
ใดทฤษฎหี นงึ่ ที่จะอธบิ ายเก่ยี วกบั เรอื่ งของการเรยี นรไู้ ดท้ ุกทาง

4.4 กลุ่มประมวลสารสนเทศ นักจิตวิทยากลุ่มประมวลสารสนเทศ
มองการเรียนร้วู ่าเปน็ ผลเนื่องมาจากปฏิสมั พันธ์ระหวา่ งสง่ิ เรา้ จากส่ิงแวดล้อม ซึ่งหมายถึงข้อมูล
ท่ีจะต้องเรียนกับตัวผู้เรียน ซ่ึงหมายถึงผู้ที่อยู่ในกระบวนการเรียนการสอน ในเร่ืองของการ
เรียนการสอนนนั้ นักจิตวทิ ยากลมุ่ นี้ให้ความสนใจว่าจะมอี ะไรเกดิ ขึ้นในความคิดของนักเรียนใน
ขณะที่ครูสอน หรือในขณะที่ครูให้คิดคานวณ หรือในขณะท่ีกาลังอ่านหนังสือ หรือในขณะที่
ตอบคาถาม เปน็ ต้น

สรุปได้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ได้มีนักคิด นักจิตวิทยา และนักการศึกษาพยายามได้
จดั กลุ่มเพือ่ การศึกษา โดยเร่ิมตั้งแต่ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ท่ีเน้นพฤติกรรมของ
มนุษย์ การกระทาต่างๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมมนุษย์
เกดิ จากการตอบสนองต่อส่ิงเร้า ต่อมานักจิตวิทยาและนักการศึกษาเริ่มหันเหมาให้ความสนใจ
เกย่ี วกบั กระบวนการทางความคิดหรือสมอง ในการทาให้เกิดการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม
พุทธินิยมหรือปัญญานิยมจึงเกิดข้ึน โดยเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการทาง
ความคิดท่ีเกิดจากการสะสมข้อมูล และนาข้อมูลมาใช้ในการแก้ปัญหา และช่วงต่อมาได้มอง
การเรยี นรเู้ ป็นการรบั ร้แู ละหยง่ั เห็น การใหค้ วามสนใจในเร่ืองของจิตใจและความรู้สึกของมนุษย์

17

ทาให้เกิดทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยมข้ึนมา ซึ่งให้ความสาคัญของความเป็นมนุษย์ และ
มองมนษุ ย์ว่ามีคุณค่า ต่อมานักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้ผสมผสานแนวความคิดหลายแนว
เข้าด้วยกัน โดยอาศัยทฤษฎีและหลกั การทีห่ ลากหลาย เน่อื งจากความรมู้ ีหลายประเภท

2.3.3 หลักการจัดการเรยี นรู้ท่ีเนน้ ผ้เู รยี นเปน็ สาคัญ
ทิศนา แขมมณี (2550) กล่าวถึงแนวคิดเก่ียวกับการศึกษา ว่า ประเทศไทยและ
คนไทยมีโชคอนั มหาศาลท่ีมพี ระมหากษัตรยิ ผ์ ู้ทรงเปน็ ปราชญร์ อบดา้ นทั้งทางด้านการเมือง การ
ปกครอง การเกษตร การพัฒนาชมุ ชน การชลประทาน การศกึ ษา ภาษาและการดนตรี พระ
ราชดารัสและพระราชกรณียกิจเนื่องในวโรกาสต่างๆ ของพระองค์สะท้อนให้เห็นถึงแนว
พระราชดารแิ ละพระราชหฤทัยทมี่ คี วามสุขมุ รอบคอบ ลกึ ซึง้ และกวา้ งไกล สมควรท่ีพสกนิกร
จะนามาพิจารณาไตร่ตรองและนาไปใช้ให้เปน็ ประโยชนต์ อ่ ตนและประเทศชาติ
ทิศนา แขมมณี (2550) กล่าวถึงหลักการและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้โดยยึด
ผเู้ รียนเปน็ ศนู ยก์ ลางแบบต่างๆ โดยใช้จุดเนน้ ของการจัดการเรยี นรู้น้ันๆ เป็นเกณฑ์ ดังนี้

1 แบบเนน้ ตัวผเู้ รียน ประกอบดว้ ย
1.1 การจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ ผู้เรียนแต่ละคนมีภูมิหลัง

สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด แบบการเรียนรู้ ความสนใจ และความต้องการไม่
เหมอื นกนั การจดั การเรียนการสอนให้เหมาะกับภูมิหลังของผู้เรียน ลักษณะของผู้เรียน และ
สนองความตอ้ งการของผเู้ รยี นเปน็ รายบคุ คล จะชว่ ยให้ผเู้ รียนเกดิ การเรียนรูไ้ ด้ดี และพัฒนาไป
ตามความสามารถและศักยภาพของแต่ละบคุ คล

1.2 การจัดการเรียนรโู้ ดยผเู้ รียนนาตนเอง มีดังน้ี
1.2.1 การเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนนาตนเอง สามารถช่วยฝึกฝนให้ผู้เรียน

พงึ่ พาตนเอง และพฒั นาตนเองได้ การนาตนเองและพ่งึ พาตนเองจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจ
ภายใน ซ่ึงสามารถกระตุ้นความต้องการที่จะเรียนรู้ และช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมี
จดุ หมายอันจะสง่ ผลใหผ้ ู้เรียนเรยี นร้ไู ดด้ ี ไดม้ าก และจดจาไดน้ านข้นึ รวมทง้ั นาไปใชป้ ระโยชน์
ได้มากขน้ึ ดว้ ย

1.2.2 เนื่องจากผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน การให้ผู้เรียนนา
ตนเอง และเลือกวิธีการเรียนรเู้ องจะชว่ ยใหผ้ ู้เรียนสามารถเรยี นรูไ้ ด้ดี

2 แบบเน้นความรู้ ความสามารถ ประกอบด้วย
2.1 การจัดการเรียนรู้แบบจริง การเรียนรู้แบบนี้ได้มาจากแนวคิดของ

จอหน์ คารอล ผู้มองการเรียนรู้ว่ามีความสัมพันธ์กับเวลาที่ผู้เรียนได้รับรู้ในการเรียนรู้ คารอล
เชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หากผู้เรียนได้รับเวลาท่ีจะเรียนรู้
เร่อื งนน้ั ๆ อยา่ งเพยี งพอตามความต้องการของตน ซึ่งความต้องการนั้นย่อมขึ้นกับลักษณะของ

18

ผู้เรียน และลักษณะของการสอน ผู้เรียนท่ีมีความถนัดสูงจะใช้เวลาน้อยกว่าผู้เรียนที่มีความ
ถนัดต่ากว่า การสอนท่ีมีคุณภาพสูงจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าการสอนที่มี
คุณภาพต่า

2.2 การจัดการเรียนรแู้ บบรับประกันผล มดี งั น้ี
2.2.1 ผเู้ รยี นทุกคนมีศักยภาพในการเรยี นรู้และสามารถประสบผลสาเร็จ

ในการเรยี นรู้ได้ หากได้รบั ความช่วยเหลือตามปญั หาและความตอ้ งการของเขา
2.2.2 การที่ผู้สอนมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสามารถท่ีจะพิสูจน์ทดสอบได้

และแจง้ ให้ผเู้ รียนได้รับรคู้ วามคาดหวังของตน ผู้เรยี นจะเรยี นรู้อย่างมีเปูาหมายและจะพยายาม
ทจ่ี ะปฏบิ ตั ติ นใหไ้ ด้ตามความคาดหวัง

2.2.3 การทดสอบช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน
การช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามปัญหาความต้องการของเขา จะช่วยให้ผู้เรียนประสบ
ความสาเรจ็ ในการเรยี นร้ไู ด้

2.3 การจัดการเรยี นการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ มดี งั น้ี
2.3.1 การจดั หลักสตู รและการเรียนการสอนที่ยึดมโนทัศน์หรือความคิด

รวบยอดเป็นหลักเป็นการเน้นการเรียนรู้ความคิดเชิงนามธรรม ซ่ึงจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถถ่าย
โอนความรู้ไดม้ าก และยั่งยนื กว่าการเรยี นรรู้ ูปธรรม

2.3.2 การจัดการเรียนการสอนท่ียึดมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดจะ
ช่วยใหท้ ้ังผสู้ อนและผเู้ รยี นได้เรียนรู้กระบวนการในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ซ่ึงเป็น
กระบวนการทจี่ าเปน็ ในการเรียนรู้

2.3.3 การยึดมโนทศั นห์ รือความคดิ รวบยอดเป็นหลักจะช่วยให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้แบบองค์รวมและมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลความรู้ต่างๆ แทนที่จะเรียนรู้เพียง
ข้อเทจ็ จรงิ เท่าน้นั

2.3.4 การจัดการเรียนการสอนโดยยึดมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด
เป็นหลัก จาเป็นต้องใชว้ ธิ ีการและกระบวนการในการเรยี นการสอนทีซ่ บั ซอ้ นมากกว่าการเรียนรู้
ขอ้ มลู ขอ้ เทจ็ จรงิ ซง่ึ จะช่วยใหผ้ ู้สอนได้พัฒนาทักษะในการสอนและผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการ
เรียนร้ทู ่ีหลากหลายและซับซ้อนขน้ึ

3 แบบเนน้ ประสบการณ์ ประกอบดว้ ย
3.1 การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ ประสบการณ์เป็นแหล่งที่มา

ของการเรยี นรู้และเป็นพ้ืนฐานสาคัญของการเกิดความคิด ความรู้ และการกระทาต่างๆ การ
เรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนและมี
ความหมายต่อตน เน่ืองจากเป็นการเรียนรู้ท่ีเร่ิมจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน

19

จึงสามารถนาไปสู่การเรียนรู้เชิงนามธรรม อันจะส่งผลต่อการคิด การปฏิบัติหรือการกระทา
ใหม่ๆ ตอ่ ไป การทผ่ี ้เู รียนไดร้ ับประสบการณ์ตรง และค้นพบการเรยี นรู้ด้วยตนเองจะช่วยใหก้ าร
เรียนรู้น้ันมีความหมายต่อตนเองและจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกผูกพัน ความต้องการและ
ความรบั ผิดชอบทจี่ ะเรยี นรู้ตอ่ ไป

3.2 การจัดการเรียนรู้แบบใช้สังคม การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการ
เรียนร้จู ากรูปธรรมไปสู่นามธรรม อันจะช่วยใหผ้ ู้เรยี นเกดิ ความคิดความร้ใู หมด่ ้วยตนเองจึงทาให้
มคี วามหมายตอ่ ตนเอง และต้องการท่ีจะนาไปใช้ ประสบการณ์ในด้านการรับใช้สังคมนับเป็น
ประสบการณท์ ม่ี คี ุณคา่ สงู ต่อการเรียนรู้ การรับใช้สังคมตามความต้องการของชุมชนและสังคม
นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือสังคมโดยตรงแล้ว ประสบการณ์ท่ีผู้เรียนได้รับยังสามารถสร้าง
แรงจูงใจใหผ้ ูเ้ รยี นเกดิ จติ สานึกในการช่วยเหลือสังคม และสามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ และ
เจตคติของผู้เรียนได้อย่างดี การเรียนรู้ท่ีเกิดข้ึนเป็นการเรียนรู้จากความเป็นจริงตามสภาพที่
แทจ้ ริงจงึ เปน็ การเรยี นรูท้ ี่สามารถนาไปใชป้ ระโยชน์ในชีวติ และสังคมได้จรงิ

3.3 การจดั การเรยี นร้ตู ามสภาพจริง มีดงั น้ี
3.3.1 การเรยี นรู้เร่ืองใดๆ ก็ตามย่อมมีความสัมพันธ์กับบริบทของเร่ือง

น้ันๆ การเรียนรู้โดยคานงึ ถึงบรบิ ทแวดล้อม เป็นการเรียนรู้ท่ีสัมพันธ์กับความจริง จึงสามารถ
นาไปใช้ในชีวติ ประจาวันได้

3.3.2 สภาพการณจ์ ริง ปัญหาจรงิ เปน็ โลกแห่งความเป็นจริงซ่ึงทุกคน
จะต้องเผชิญ ดังนั้น การให้ผู้เรียนได้เผชิญกับสภาพจริง ปัญหาจริง จึงเป็นโอกาสที่ช่วยให้
ผู้เรยี นได้เรยี นรูค้ วามเปน็ จรงิ นัน้

3.3.3 การเรียนรคู้ วามเป็นจริง ของจรงิ เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย
เพราะสามารถนาไปใชไ้ ด้เปน็ ประโยชน์ตอ่ ผเู้ รยี น จงึ เป็นทก่ี ระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความใฝุรู้ อยาก
เรียนรู้

3.3.4 การให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาและแก้ปัญหาจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนา
ทกั ษะทีจ่ าเปน็ ต่อการดารงชีวติ จานวนมาก

4 แบบเนน้ ปญั หา ประกอบดว้ ย
4.1 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ปัญหาสามารถกระตุ้น

ให้ผู้เรียนเกิดภาวะสงสัย และความต้องการท่ีจะแสวงหาความรู้ เพ่ือขจัดความสงสัยดังกล่าว
การให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาจริงหรือสถานการณ์ปัญหาต่างๆ และร่วมกันคิดหาทางแก้ปัญหา
น้นั ๆ จะช่วยให้ผู้เรยี นเกดิ การเรยี นรู้อย่างมีความหมาย และสามารถพัฒนาทักษะกระบวนการ
ต่างๆ อนั เป็นทกั ษะท่จี าเป็นตอ่ การดารงชีวติ และการเรยี นรตู้ ลอดชวี ิต

20

4.2 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก การใช้โครงการหรือ
โครงงานในการสอนตัง้ อย่บู นพนื้ ฐานความเชอ่ื และหลักการตอ่ ไปน้ี

4.2.1 โครงการหรือโครงงานเป็นกิจกรรมท่ีมีบริบทจริงเช่ือมโยงอยู่
ดังนั้น การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจึงสัมพันธ์กับความเป็นจริง สามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง
จึงเปน็ การเรียนร้ทู ีเ่ ป็นประโยชนต์ อ่ ผู้เรยี น

4.2.2 การให้ผู้เรียนทาโครงการหรือโครงงาน เป็นการเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนไดเ้ ขา้ สกู่ ระบวนการสบื สวน ซ่ึงเป็นกระบวนการท่ีผู้เรียนต้องใช้ความคิดข้ันสูงท่ีซับซ้อน
ขึน้ ดังนั้นจึงเป็นช่องทางทดี่ ีในการพัฒนากระบวนการทางสตปิ ญั ญาของผู้เรยี น

4.2.3 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก การใช้
โครงการหรือโครงงานตงั้ อยบู่ นพนื้ ฐานความเชือ่ และหลกั การ ต่อไปน้ี

4.2.3.1 โครงการหรือโครงงาน เป็นกิจกรรมที่มีบริบทจริง
เช่ือมโยงอยู่ ดังน้นั การเรยี นรู้ทเี่ กดิ ข้ึนจึงสัมพันธ์กับความเป็นจริงสามารถนาไปประยุกต์ใช้ใน
ชีวติ จรงิ จงึ เป็นการเรยี นรู้ทเี่ ป็นประโยชน์ตอ่ ผู้เรียน

4.2.3.2 การให้ผู้เรียนทาโครงการหรือโครงงาน เป็นการเปิด
โอกาสให้ผเู้ รียนได้เข้าสูก่ ระบวนการสืบสวน (Process of Inquiry) ซ่ึงเป็นกระบวนการที่ผู้เรียน
ต้องการใช้การคิดข้ันสูงท่ีซับซ้อนขึ้น ดังนั้น จึงเป็นช่องทางที่ดีในการพัฒนากระบวนการทาง
สตปิ ัญญาของผู้เรียน

4.2.3.3 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลักช่วย
ให้ผู้เรียนได้ผลิตงานที่เป็นรูปธรรมออกมา ผลผลิตท่ีแสดงออกถึงความรู้ความคิดของผู้เรียนน้ี
สามารถนามาอภิปรายแลกเปล่ียนและวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งผลการวิจัยทางด้าน
สติปญั ญาและการเรียนรู้ได้ชี้ชัดว่าการเรียนรู้จะพัฒนาขึ้นหากความรู้และทักษะต่างๆ สามารถ
แสดงออกใหเ้ ห็นได้อยา่ งชดั เจน

4.2.3.4 การให้ผู้เรียนทาโครงการหรือโครงงาน นอกจากจะ
ชว่ ยใหผ้ ูเ้ รียนพัฒนาทักษะกระบวนการในการสืบสวนและการแก้ปัญหาแล้ว ยังสามารถช่วยดึง
ศักยภาพตา่ งๆ ที่มีอยใู่ นตวั ของผ้เู รยี นออกมาใชป้ ระโยชน์ดว้ ย

5 แบบเนน้ ทักษะกระบวนการ ประกอบดว้ ย
5.1 การจัดการเรยี นการสอนโดยเน้นกระบวนการสืบสวน การสืบสวนด้วย

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry) เป็นกระบวนการที่จาเป็นต่อการแสวงหา
และศึกษาข้อมูลต่างๆ คาถามทเ่ี หมาะสมสามารถนาผู้เรียนไปสกู่ ารค้นพบขอ้ ความร้ใู หมๆ่ ได้

5.2 การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด กระบวนการคิดเป็น
กระบวนการทางสติปัญญา ซ่ึงอาศัยส่ิงเร้า และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การฝึกทักษะการ

21

คิด การใชล้ กั ษณะการคดิ แบบต่างๆ รวมทัง้ กระบวนการคิดท่ีหลากหลายจะชว่ ยให้การคิดอย่าง
จงใจและอยา่ งมีเปาู หมายของผู้เรียนเปน็ ไปอยา่ งมีคุณภาพมากขนึ้

5.3 การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม
เป็นกระบวนการในการทางานร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนข้ึนไป โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกั น
และมีการดาเนนิ งานรว่ มกัน โดยผู้นากลมุ่ และสมาชกิ กลมุ่ ต่างก็ทาหน้าที่ของตนอย่างเหมาะสม
และมีกระบวนการทางานที่ดี จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางสังคมและขยายขอบเขตของการ
เรยี นรู้ใหก้ วา้ งขวางขน้ึ

5.4 การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัย กระบวนการวิจัย
เปน็ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ท่ีเช่ือถือได้
การให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการศึกษาหาความรู้ต่างๆ จะช่วยให้ผู้เรียนมีเครื่องมือใน
การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้
กระบวนการวิจยั จะชว่ ยใหผ้ ู้เรยี นเกิดการเรียนรู้ท่ีลกึ ซ้ึงและมีความหมายต่อตนเอง

5.5 การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียน
ทุกคนมีความสนใจใฝุรู้อยู่เป็นธรรมชาติ หากได้รับการส่งเสริมให้รับผิดชอบการเรียนรู้ของตน
และไดร้ ับการฝึกฝนทักษะทีจ่ าเป็นต่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ผ้เู รียนจะสามารถเรยี นรู้ใน
สิ่งท่ตี นสนใจไดต้ ลอดชีวติ

6 แบบเนน้ การบรู ณาการ ประกอบดว้ ย
6.1 ในธรรมชาติและชีวิตจริง ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความสัมพันธ์กัน การ

เรียนรู้ท่ีดีจึงควรมีลักษณะเช่นเดียวกัน ควรมีลักษณะเป็นองค์รวมไม่ใช่แบ่งเป็นท่อนหรือเป็น
แท่งทีแ่ ยกจากกัน ซง่ึ ทาให้การเรียนรไู้ ม่เชอ่ื มโยงสัมพันธ์กับชีวิตจริง และความเป็นจริงเป็นผล
ทาใหผ้ เู้ รยี นสามารถนาความรู้ไปประยุกตใ์ ชใ้ ห้เป็นประโยชน์ในชวี ติ จริงได้

6.2 การบรู ณาการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการท้ังทางด้านความรู้
ทกั ษะ และเจตคติไปพร้อมๆ กนั

6.3 การบรู ณาการช่วยเปิดโลกทัศน์ของทั้งผู้สอนและผู้เรียนให้กว้างขึ้น ไม่
จากดั อยแู่ ต่เฉพาะดา้ น เฉพาะทาง ช่วยใหก้ ารเรียนรู้น่าสนใจ น่าตื่นเต้น ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจ
ในการเรียนรู้ และมคี วามคดิ และมุมมองท่กี ว้าง

กระทรวงศึกษาธิการ (2546) กล่าวถึงหลักการและแนวคิดในการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้โดยยึดผู้เรยี นเปน็ สาคญั วา่ เป็นการเรยี นรตู้ ามแนวพุทธธรรมเน้น “คน” เป็นศูนย์กลาง
กระบวนการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการพัฒนา “คน” ท้ังในลักษณะท่ีเป็นปัจเจกชนและพัฒนา
กลุ่มคนให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ กระบวนการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญที่สุดควรคานึงถึง
ประเด็นสมองของมนุษย์มีศักยภาพสูงสุดในการพัฒนาการเรียนรู้สูงสุด ความหลากหลายของ

22

สติปัญญา การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ตรง เม่ือ “คน” มีความสาคัญท่ีสุดของการเรียนรู้
วิธีการฝึกอบรม จึงเป็นการพฒั นาองค์ประกอบของความเป็น “คน” การเรียนรู้ตามวิถีชีวิตไทย
แบบด้งั เดิม มลี ักษณะเป็นการสง่ั สอนรายบคุ คล เมื่ออยู่ในครอบครัว พอ่ แม่สอนลูกชายให้ขยัน
อา่ นออกเขยี นได้ สอนลูกหญิงใหท้ างานบ้านงานเรอื น รูจ้ ักรักนวลสงวนตัว เมื่อเตบิ โตขึ้นผู้ชาย
ไดบ้ วชเรยี นกบั พระท่วี ัดได้ฝกึ งานอาชีพ การทามาหากนิ สว่ นผหู้ ญิงมคี ุณสมบัติของกุลสตรีและ
ฝกึ งานอาชีพ กระบวนการเรียนรู้ตามวถิ ีวฒั นธรรมไทย

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญนั้น เป็นการเรียนรู้ท่ีมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่
ผู้เรียน สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ เกิดการเรียนรู้ท่ี
แท้จริง มีทักษะการแสวงหาความรู้นาความรู้ไปใช้ในชี วิตจริงได้ และจะทาให้ผู้เรียนมี
คุณลกั ษณะท่พี งึ ประสงค์ คือ เปน็ คนดี เกง่ มีความสุข ในการดาเนินการจัดการเรียนรู้ที่เน้น
ผู้เรยี นเปน็ สาคญั นัน้ ผูเ้ กยี่ วขอ้ งทุกฝาุ ย ทงั้ ท่ีเกี่ยวข้องกับการทางานของโรงเรียน/สถานศึกษา
และผู้เกี่ยวข้องอนื่ ตอ้ งดาเนินการอย่างประสานสอดคล้องกนั ต้องมีแนวคิด หลกั การ ที่ตรงกัน
และมีแนวทางการดาเนินงาน ทั้งการจัดการเรียนรู้และแนวทางในการสนับสนุน การจัดการ
เรยี นรูท้ ่เี น้นผูเ้ รียนเปน็ สาคัญ ดงั นี้

1 ผู้เรยี นทุกคนสามารถเรียนรู้และพฒั นาได้
2 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้
ความสามารถ และคุณธรรม
3 การเรียนรูเ้ กดิ ขึ้นได้ทุกที่ ทกุ เวลาและตอ่ เน่อื งตลอดชวี ิต
4 ผ้เู รยี นไดเ้ รยี นรูใ้ นส่ิงทีม่ ีความหมาย นาไปใชป้ ระโยชนไ์ ด้
5 ผเู้ รียนเรยี นร้จู ากการได้คดิ ปฏิบตั ิ และสรุปความรู้
ในการจัดการศึกษาน้ันผู้เรียนจะมีสัมฤทธิผลในการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อ ครูผู้สอนใช้
กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซ่ึง สุรางค์ โค้วตระกูล (2550) ได้กล่าวถึง
หลักการท่ีสาคัญหรือส่ิงท่ีมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ท้ังหมด 14 หลักการ และแบ่งเป็น 4 กลุ่ม
ดังตอ่ ไปน้ี
1 หลกั การกลุม่ ที่ 1 การรู้คิดและการตระหนักในการร้คู ิดของตนเอง (Cognitive
and Metacognitive) หลักการกลุ่มนป้ี ระกอบดว้ ย 6 หลักการ คือ

1.1 ธรรมชาตขิ องการเรยี นรู้จะต้องมผี เู้ รียนเป็นผกู้ ระทา (Active)
1.2 ผเู้ รยี นจะตอ้ งมเี ปาู หมายในการเรยี นรู้
1.3 ผเู้ รยี นสร้างความรู้โดยการเชื่อมโยงขอ้ มลู ขา่ วสารใหมก่ ับความรูเ้ ดมิ
1.4 ยทุ ธศาสตร์ในการคิดของผ้เู รยี นมีอิทธพิ ลต่อการเรียนรู้
1.5 การตรวจสอบปรับปรงุ การคดิ ใหเ้ หมาะสมกบั การแก้ปญั หา

23

1.6 สภาพแวดล้อมของการเรยี นรู้
2 หลักการกลุ่มท่ี 2 แรงจูงใจและเจตคติ (Motivation and Affective)
ประกอบ ด้วย 3 หลักการ คอื

2.1 แรงจงู ใจ ความมุ่งหวัง ความเชอื่ ความร้สู กึ ของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อการ
เรียนรู้

2.2 แรงจงู ใจภายในของผู้เรยี น
2.3 ความพยายามของผเู้ รยี น
3 หลักการกลุ่มท่ี 3 พัฒนาการสังคม (Developmental and Social)
ประกอบดว้ ย 2 หลักการ คอื
3.1 พฒั นาการทง้ั ทางรา่ งกาย เชาว์ปญั ญา อารมณ์และสังคม อาจเอ้ือหรือ
เปน็ อุปสรรคในการเรยี นรู้
3.2 ปฏิสมั พนั ธ์ทางสงั คมมคี วามสาคัญต่อการเรยี นรู้
4 หลกั การกลุ่มที่ 4 ความแตกต่างของบคุ คล (Individual Difference)
ประกอบด้วย 3 หลกั การ คอื
4.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคลและภายในตัวบุคคล ที่เน่ืองมาจาก
สงิ่ แวดล้อม และพันธกุ รรม
4.2 ความแตกต่างทางภูมหิ ลงั และวัฒนธรรมของผู้เรยี น
4.3 การใช้มาตรฐานในการวัดและประเมินผล รวมท้ังการวิเคราะห์ผลของ
การเรยี นรู้ทีเ่ หมาะสม
สรุปได้ว่า การใชห้ ลกั การทง้ั 14 หลกั การในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีผู้เรียน
เป็นศูนย์กลาง จะชว่ ยใหผ้ ูเ้ รยี นมสี ัมฤทธิผลในการเรยี นรทู้ กุ คน
บูรชัย ศิรมิ หาสาคร (2545) ได้เสนอหลักการ 3 และกระบวนการ 4 ของ Child
Center ไวด้ ังน้ี
1 หลกั การ 3 ของ Child Center
การสอนทีเ่ น้นผูเ้ รยี นเป็นศนู ยก์ ลางมาจากคาภาษาอังกฤษ 3 คา ว่า “Self - DO
- Enjoy” เมอื่ นาความหมายของ 3 คานี้มารวมกัน จะได้ความหมายของคาว่า Child Center
ซ่งึ แตล่ ะคามคี วามหมายดงั น้ี
Self มาจากคาว่า “Self Learning” คือ การเรียนรู้เร่ิมต้นท่ีตนเอง ครู
ต้องให้นักเรียนได้คิดเองทาเอง และแก้ปัญหาเองให้มากท่ีสุด โดยมีครูเป็นเพียงที่ปรึกษาให้
คาแนะนาเท่าท่ีจาเป็น ไม่ใจร้อนรีบบอกนักเรียนก่อน จนนักเรียนไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ด้วย
ตนเอง

24

Do มาจากคาว่า “Learning by Doing” คือ การเรียนรู้ที่ต้องควบคู่กับ
การปฏบิ ัติ ครูต้องใหน้ ักเรียนได้ลงมอื ปฏบิ ัติจริง เพื่อใหเ้ กดิ การเรยี นรจู้ ากการกระทา

Enjoy มาจากคาวา่ “Enjoy Learning” คือ การเรียนรู้ต้องควบคู่กับความ
สนุกสนาน เมอ่ื นกั เรียนไดเ้ รยี นรดู้ ้วยตนเอง ได้ลงมือทาเอง จะทาใหน้ ักเรียนมีความสุขกับการ
เรยี น ความสนกุ สนานทเี่ กดิ ขึ้นจากการเรียน เป็นแรงจงู ใจใฝุเรยี นรู้ทมี่ คี วามสาคญั สาหรบั เด็ก

2 กระบวนการ 4 ของ Child Center
กระบวนการ 4 ของ Child Center คือ กระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติของ
มนุษย์ 4 ข้ันตอน ตามทฤษฎี Learning How To Learn ของ David A. Kolb แห่ง MIT.
(สถาบนั เทคโนโลยีแห่งรัฐแมสซาซเู ซส) ซ่งึ มขี ้ันตอนดังนี้

2.1 ข้นั ประสบการณ์ (ทากิจกรรม) ใหน้ กั เรยี นทากิจกรรม (ซ่ึงอาจจะลองผิด
ลองถูก) เพ่ือให้เกิดประสบการณ์ตรงในเร่ืองท่ีเรียน ด้วยความเช่ือท่ีว่า วิธีการเรียนรู้ท่ีดีที่สุด
คือ การให้ผเู้ รียนลงมือทาในสิ่งน้นั

2.2 ข้ันสะท้อนความคิด (สร้างความรู้) ให้นักเรียนสร้างความรู้จาก
ประสบการณ์ โดยคิดทบทวนว่าเขาได้เรยี นร้อู ะไรบ้างจากสิง่ ท่เี ขาทา

2.3 ข้ันทฤษฎี (สรุปความรู้เปน็ ความคิดรวบยอด)
2.3.1 ใหน้ กั เรยี นสรุปความรทู้ ่คี ้นพบจากการทากิจกรรม เป็นความคิด

รวบยอด (Concept) เปรยี บเทียบกบั ทฤษฎใี นบทเรยี น
2.3.2 ให้นกั เรียนสรปุ ทฤษฎเี องจากประสบการณ์
2.3.3 ครบู อกทฤษฎี (หรือเฉลยคาตอบ) ในกรณีนักเรียนสรุปทฤษฎีเอง

ไมไ่ ด้ หรือสรุปทฤษฎผี ดิ
2.4 ขั้นนาไปใช้ ให้นักเรียนนาความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้แก้ปัญหา

ในสถานการณจ์ าลองหรือในชวี ิตจริง
ธีระ รุญเจริญ (2545) กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ

วา่ ผ้จู ัดควรมคี วามเชื่อพ้นื ฐานในการเชอื่ ว่า ทกุ คนมีความแตกต่างกนั ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
และการเรยี นรู้เกดิ ไดท้ ุกที่ ทุกเวลา โดยการจัดน้ันต้องเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ มีคุณธรรม จัด
โดยใชก้ ระบวนการเรยี นรูแ้ ละการบรู ณาการตามความเหมาะสมของแตล่ ะระดบั การศกึ ษาด้วย

ทิศนา แขมมณี (2545) เสนอหลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็น
สาคญั ไว้ดงั นี้

1 การสร้างความรู้ (Construct) หมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดการ
สรา้ งสรรค์ (Constructivism) ท่เี ปิดโอกาสให้ผู้เรียนสรา้ งองค์ความรดู้ ว้ ยตนเอง

25

2 การปฏสิ มั พันธ์ (Interaction) หมายถงึ ผ้เู รียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน
เพื่อน สือ่ และสง่ิ แวดลอ้ มรอบตวั

3 การมีส่วนร่วมทางกาย (Physical Participation) หมายถึง ผู้เรียนมีโอกาส
เคลื่อนไหวรา่ งกายในการทากิจกรรมลักษณะตา่ งๆ

4 การเรียนรู้กระบวนการ (Process Learning) หมายถึง ผู้เรียนได้เรียนรู้
กระบวนการต่างๆ ซ่ึงเป็นทกั ษะทีจ่ าเปน็ ต่อการดารงชวี ิต

5 การนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Application) หมายถึง ผู้เรียนสามารถนา
ความรู้ไปใช้ไดใ้ นสถานการณ์ต่างๆ

นวลจิตต์ เชาวกรี ติพงศ์ (2545) เสนอหลักการสาคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยเน้นผู้เรยี นเปน็ สาคัญ ไว้ดงั น้ี

1 ด้านหลักสูตร เป็นการปฏิรูปหลักสูตรให้ต่อเนื่องเชื่อมโยง มีความสมดุลใน
เนื้อหา สาระท่ีเป็นวิชาการ วิชาชีพ และวิชาว่าด้วยความเป็นมนุษย์ และให้มีการบูรณาการ
เนื้อหาหลากหลายท่ีมปี ระโยชน์ตอ่ การดารงชวี ิต ไดแ้ ก่

1.1 เน้ือหาเกย่ี วกับตนเองและความสมั พนั ธ์ระหวา่ งตนเองกับสังคม
1.2 เน้ือหาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การบารุงรักษา ใช้ประโยชน์จาก
ธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม
1.3 เน้ือหาเกย่ี วกับศาสนา ศลิ ปวัฒนธรรม ภูมปิ ัญญาไทย
1.4 เน้ือหาความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และภาษา เน้นการใช้
ภาษาไทยอย่างถูกตอ้ ง
1.5 เนอ้ื หาความร้แู ละทักษะในการประกอบอาชีพและการดารงชีวิตอย่างมี
ความสุข
2 กระบวนการเรียนรู้ กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ทาให้ผู้เรียนทุกคนมี
ความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด กระบวนการ
จัดการเรียนรู้อย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิต ดังข้อมูลที่ระบุไว้ในสาระของพระราชบัญญัติการศึกษา
แหง่ ชาติ พุทธศักราช 2542 ไว้ดงั น้ี
2.1 มกี ารจดั เนื้อหาทสี่ อดคลอ้ งกบั ความสนใจ ความถนดั ของผเู้ รยี น
2.2 ให้มกี ารเรยี นรู้จากประสบการณแ์ ละฝกึ นสิ ยั รักการอา่ น
2.3 จัดใหม้ กี ารฝกึ ทักษะกระบวนการและการจดั การ
2.4 มีการผสมผสานเนื้อหาสาระด้านต่างๆ อย่างสมดุล และมีการปลูกฝัง
คุณธรรม
2.5 จดั การส่งเสรมิ บรรยากาศการเรียนเพื่อใหเ้ กดิ การเรียนรูแ้ ละรอบรู้

26

2.6 จัดให้มีการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทุกสถานท่ีและให้ชุมชนมีส่วนร่วมใน
การจัดการเรยี นร้ดู ้วย

3 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพ่ือให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้
โดยผู้เรียนเป็นสาคัญ จะต้องประเมินผู้เรียนตามสภาพจริงโดยการใช้วิธีการประเมินผู้เรียน
หลายๆ วิธี ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนและการร่วมกิจกรรม การใช้แฟูมสะสมงาน
การทดสอบ การสมั ภาษณ์ ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมีโอกาสแสดงผล
การเรียนรู้ได้หลายแบบ ไม่เพียงแต่ความสามารถทางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซ่ึงวัดได้โดย
แบบทดสอบเท่านั้น การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบน้ีแสดงให้เห็นความแตกต่างอันเกิด
จากผลการพัฒนาตนเองของผเู้ รียนในดา้ นตา่ งๆ ไดช้ ดั เจนมากขึ้น

การจดั กิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผ้เู รียนเปน็ สาคัญ เป็นการจัดการเรียนการสอนท่ี
ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคานึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดท่ีผู้เรียนควรจะ
ได้รบั และมีการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ท่ีเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสาคัญในการเรียนรู้ ได้มี
สว่ นร่วมในกิจกรรมการเรยี นรูอ้ ย่างตนื่ ตวั และไดใ้ ชก้ ระบวนการเรยี นรตู้ ่างๆ อันจะนาผู้เรียนไปสู่
การเกดิ การเรียนรู้ที่แทจ้ ริง (ทศิ นา แขมมณี, 2548)

หลักการจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญมีสาระสาคัญ 2 ประการ คือ การ
จัดการโดยคานึงถึงความแตกต่างของผู้อื่น และการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นาเอาส่ิงท่ีเรียนรู้ไป
ปฏบิ ตั ใิ นการดาเนินชีวติ เพ่อื พฒั นาตนเองไปสู่ศกั ยภาพสูงสดุ ทแี่ ต่ละคนจะมีและเป็นไปได้ โดย
ท่ีครูหรือผู้จัดการเรียนรู้ควรจะมีความเช่ือพื้นฐานอย่างน้อย 3 ประการ คือ เชื่อว่าทุกคนมี
ความแตกตา่ งกนั เช่ือวา่ ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ และเชอื่ ว่าการเรียนรู้เกดิ ได้ทุกทีท่ กุ เวลา

สรุปได้วา่ การจัดการเรียนรูท้ ่เี น้นผู้เรยี นเป็นสาคัญเป็นการจัดการให้ผู้เรียนเกิดการ
เรยี นรู้ เพือ่ ให้ผ้เู รียนแตล่ ะคนได้พัฒนาตนเอง ตามศักยภาพของแต่ละคน ซ่ึงผู้เรียนแต่ละคนมี
ความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด ครูผู้สอนจึงควรมีการจัดการ
เรียนรู้ที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน เพ่ือทาให้
ผู้ เรี ยน มีคุ ณ ลั ก ษณะ ที่ พึ ง ป ร ะ ส ง ค์ ตาม เจ ตน าร ม ณ์ ข อ ง พ ร ะ ร าช บัญ ญั ติ ก าร ศึ ก ษาแ ห่ง ชา ติ
พทุ ธศักราช 2542 คือ เป็นคนดี คนเกง่ มคี วามสุข ครูผู้สอนจึงจาเป็นอย่างย่ิงที่ต้องทาความ
เขา้ ใจและศึกษาข้อมูล อันเป็นความแตกตา่ งของผู้เรยี นแตล่ ะคน และหาวิธีการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ทเี่ หมาะสม เพอ่ื ใหผ้ ู้เรยี นเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละ
คนนนั้ ให้บรรลถุ ึงศักยภาพสงู สดุ ทมี่ ีอยู่ และผลจากการเรียนรู้นั้นผู้เรียนต้องสามารถนาเอาองค์
ความรู้ทไี่ ด้รับจากการเรยี นรู้นาไปสู่การปฏิบัตไิ ด้อยา่ งถูกตอ้ ง ดงั นัน้ หลักการจดั การเรียนรู้ท่ีเน้น
ผ้เู รยี นเปน็ สาคัญ จึงมสี าระทส่ี าคญั 2 ประการคือ การจัดการ โดยคานึงถึงความแตกต่างของ

27

ผู้เรียน และการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นาเอาส่ิงที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดาเนินชีวิต เพ่ือพัฒนา
ตนเองไปสูศ่ กั ยภาพสงู สุดทแี่ ต่ละคนจะมีและเป็นได้

2.3.4 รปู แบบการจัดการเรยี นรูท้ ่ีเน้นผูเ้ รียนเปน็ สาคัญ
รปู แบบการสอนทีน่ กั การศึกษาให้ความสนใจในปัจจุบันมีรูปแบบการสอนท่ีสามารถ
นาไปปฏิบัติได้โดยง่ายและสอดคล้องกับการดารงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความ
สนใจของผู้เรยี น โดยเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกข้ันตอนจนเกิดการเรียนรู้
ด้วยตนเอง จากการรวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลงานวิจัยจาแนกแบบการสอนเป็น 3
กลมุ่ ใหญ่ (อดศิ ร ประเสรฐิ สังข์, 2551, มนี าคม 25) ดงั น้ีคือ

1 กลมุ่ รูปแบบการสอนทเี่ น้นกระบวนการคิด จานวน 20 รปู แบบ คอื
1.1 การใช้กระบวนการแกป้ ัญหา
1.2 การเรียนรฉู้ ลาดรู้
1.3 การเรียนรู้ทเ่ี นน้ การพฒั นาคุณภาพความคดิ
1.4 การเรียนร้แู บบสรรค์สรา้ งความรู้
1.5 การสอนโดยใชช้ ุดการสอน
1.6 การสอนตามแนวพทุ ธวถิ ี
1.7 การสอนตามแนววฏั จกั รการเรยี นรู้
1.8 การสอนตามวธิ ีของเทนนีสัน
1.9 การสอนตามหลักการเรียนร้ขู องกาเย่
1.10 การสอนทเ่ี น้นทกั ษะกระบวนการ
1.11 การสอนแบบกระบวนการ
1.12 การสอนแบบโครงการ
1.13 การสอนแบบโครงงาน
1.14 การสอนแบบบูรณาการ
1.15 การสอนแบบรอบรู้
1.16 การสอนแบบศนู ย์การเรียน
1.17 การสอนแบบสบื สวนสอบสวน
1.18 การสอนแบบอุปนัย
1.19 การสอนแบบนิรนยั
1.20 การสอนแบบบุคคลหรอื การเรยี นดว้ ยตนเอง

2 กลมุ่ รูปแบบการสอนทเ่ี น้นการมีสว่ นร่วม จานวน 10 วิธี คอื
2.1 การเรยี นร้แู บบมีสว่ นร่วม

28

2.2 การสอนโดยใชก้ จิ กรรมกลุ่ม
2.3 การสอนท่ีเน้นการเรยี นแบบรว่ มมอื
2.4 การสอนแบบร่วมมือกนั เรยี นรู้
2.5 การสอนแบบกลมุ่ สมั พนั ธ์
2.6 การสอนแบบซินดเิ คท
2.7 การสอนแบบเพอื่ นช่วยเพ่ือน
2.8 การสอนแบบสเตด
2.9 กิจกรรมคิวซหี รอื กจิ กรรมกลุ่มสร้างคุณภาพ
2.10 การสอนแบบซิปปา
3 กลุ่มรูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนาพฤติกรรมและค่านิยม จานวน 7 วิธี
คอื
3.1 การใช้สถานการณจ์ าลอง
3.2 การทาคา่ นยิ มใหก้ ระจ่าง
3.3 การปรบั พฤตกิ รรม
3.4 การสรา้ งเสรมิ ลักษณะนสิ ัย
3.5 การสอนที่เน้นการพัฒนาศักยภาพ
3.6 การสอนแบบนาฏการ
3.7 การแสดงบทบาทสมมติ
รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญทั้งหมดนี้ ครูผู้สอน
สามารถเลอื กนาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยครูต้องเลือกให้เหมาะสม ตรงความต้องการของ
ผเู้ รยี นและเนื้อหาสาระของวชิ า
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542) กล่าวไว้ว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีเน้น
ผู้เรียนเป็นสาคัญ ว่า เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งท่ีได้รับความ
สนใจ และงา่ ยต่อการนาไปปฏบิ ตั ิ คอื CIPPA Model ซ่ึงมีรายละเอียดรปู แบบ ดังน้ี
C Construct คือ การใหผ้ ูเ้ รยี นสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการศึกษาค้นคว้า
หาข้อมลู ทาความเขา้ ใจ คดิ วเิ คราะห์ แปลความ ตคี วาม สรา้ งความหมาย สังเคราะห์ผู้สอน
และสรปุ เป็นขอ้ ความรู้
I Interaction คอื การใหผ้ ู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แลกเปล่ียน และเรียนรู้
ข้อมลู ความคิด ประสบการณซ์ ึ่งกนั และกนั
P Participation คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์
ปัญญาและสงั คม ในการเรยี นรใู้ หม้ ากทสี่ ดุ

29

P Process and Product คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ กระบวนการ และมี
ผลงานจากการเรียนรู้

A Application คือ การให้ผู้เรียนนาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์หรือใช้ใน
ชีวติ ประจาวัน

CIPPA Model นอกจากจะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยัง
สามารถนาไปใช้เป็นตัวช้ีวัด หรือเป็นเครื่องตรวจสอบกิจกรรมการเรียนการสอนได้ว่ากิจกรรม
นั้นผเู้ รยี นเป็นสาคญั หรือไม่

สาหรับการจัดกระบวนการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และท่ีแก้ไขปรับปรุง (ฉบับท่ี 2) พุทธศักราช 2545
หมวด 4 มาตรา 24 จาแนกเป็น 4 กลุ่มรูปแบบ ประกอบด้วย กลุ่มท่ี 1 รูปแบบการจัด
กระบวนการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิดและการจัดการ กลุ่มที่ 2 รูปแบบการจัด
กระบวนการเรยี นรู้แบบใช้ประสบการณ์จริง กลุ่มที่ 3 รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ
บรู ณาการ และกลมุ่ ที่ 4 รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้จากแหล่งวิทยาการซึ่งแต่ละกลุ่มมี
หลักการแนวคิด และรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ สรุปได้ดังนี้
(สานกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2547)

กลุ่มท่ี 1 รปู แบบการจดั กระบวนการเรียนรู้แบบการพัฒนากระบวนการคิดและ
การจัดการ

คุณลักษณะด้านปัญญา ความคิด เป็นลักษณะความสามารถทางสมองของ
บุคคลในการรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ท้ังในระดับความรู้ ความเข้าใจพ้ืนฐาน จนถึงความจริง ความ
เข้าใจตามความเป็นจริงอย่างลึกซ้ึง จนสามารถคิดวิเคราะห์เพ่ือตัดสินใจและกระทาส่ิงต่างๆ
อย่างเหมาะสมถูกต้อง ยืดหยุ่น หลากหลาย ครอบคลุม ครบถ้วนกับสถานการณ์นั้น ซึ่ง
ประกอบด้วยการคิดพ้ืนฐานและการคิดท่ีเป็นแกน นาไปสู่การคิดช้ันสูงที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน
ด้านสมอง ไดแ้ ก่ การคิดไตรต่ รอง (Reflective Thinking) การคดิ อย่างมีวิจารณญาณ (Critical
Thinking) และการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ซึ่งมีรูปแบบการจัดกระบวนการ
เรียนรู้ ดังน้ี

1 รูปแบบการจดั กระบวนการเรียนรู้ แบบการพัฒนากระบวนการคิดด้วย
การใชค้ าถามประกอบด้วย

แบบท่ี 1 การจัดการกระบวนการคิดโดยใช้คาถามของเบนจามิน บลูม
และเดอโบโน

แบบที่ 2 การพฒั นาความคิดด้วยวธิ ีต้ังคาถามโดยใชห้ มวกความคิด
แบบท่ี 3 การพัฒนาความคิดโดยใชค้ าถามสรา้ งสรรค์

Learning) 30
วิทยาศาสตร์
2 รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4 MAT’s

3 รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิด แบบ

4 รูปแบบการจดั กระบวนการเรยี นร้แู บบสง่ เสริมความคิดสร้างสรรค์
5 รูปแบบการจดั กระบวนการเรยี นรู้แบบโครงงาน
6 รูปแบบการจดั กระบวนการเรียนรดู้ ้วยวงจรพัฒนาคุณภาพแบบ PDCA

กลมุ่ ที่ 2 รปู แบบการจัดกระบวนการเรียนร้แู บบใช้ประสบการณจ์ ริง
การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เป็นการฝึกการปฏิบัติ
ใหท้ าไดค้ ิดเปน็ ทาเป็น รกั การอา่ นและเกิดการใฝุรู้อย่างต่อเน่ือง ครูผู้สอนต้องตระหนักว่าใน
ยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร วิทยาการเจริญก้าวหน้าและหลากหลาย การสื่อสารโทรคมนาคมที่
รวดเร็ว ครูผู้สอนจึงไม่ใช่แหล่งเรียนรู้เพียงแห่งเดียวของผู้เรียน และครูผู้สอนไม่สามารถ
ถ่ายทอดความรู้ และวทิ ยาการท่ีมีมากมายให้กับผู้เรียนได้ เช่น ก่อนครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยน
รปู แบบการจัดกระบวนการเรยี นรใู้ ห้ผูเ้ รียนไดเ้ รียนรู้จากการกระทา (Active Learning) ส่งเสริม
ให้ฝึกจากประสบการณ์ตรงจากแหล่งการเรียนรู้ ส่ือ เหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวท้ังท่ี
เป็นเพื่อนมนุษย์ ธรรมชาตแิ ละเทคโนโลยี ดว้ ยการร่วมทางานเปน็ กลมุ่ ศกึ ษา สงั เกต ค้นคว้า
ทดลอง ฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง เต็มความสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนค้นพบสาระสาคัญของ
บทเรียนได้ ฝึกวิธีคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ จินตนาการ สามารถแสดงออกได้
อย่างชดั เจน มีเหตุผล ครผู ู้สอนมบี ทบาทปลกุ เร้าและเสริมแรงให้ผู้เรียนได้ค้นพบคาตอบ และ
การแก้ปญั หาดว้ ยตนเอง หรอื ร่วมกันเปน็ กลมุ่ การเรยี นรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้เกิดความเช่ือม่ันใน
ตนเอง พ่งึ ตนเองได้ เป็นการเรียนรูท้ ่มี ีความหมายต่อชีวิตและความเป็นจริง ซ่ึงรูปแบบการจัด
กระบวนการเรียนรู้ทผี่ ู้เรียนได้รับอิสระและสามารถควบคมุ ทศิ ทางการจัดกิจกรรมได้ดี คอื

1 รปู แบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบประสบการณ์
2 รูปแบบการจดั กระบวนการเรยี นรูแ้ บบโครงงาน
3 รปู แบบการจดั กระบวนการเรียนรทู้ ี่เน้นการปฏบิ ตั ิ
4 รูปแบบการจดั กระบวนการเรยี นรแู้ บบร่วมมอื ร่วมใจ
5 รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้จากส่ือการเรยี นรู้
กล่มุ ที่ 3 รูปแบบการจดั กระบวนการเรยี นร้แู บบบรู ณาการ

31

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามทฤษฎี
พฤติกรรมนิยม ซ่ึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้รอบรู้ในสาระ
การเรียนรู้ที่เช่ือมโยงสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและสติปัญญา
โดยมุง่ หวงั ใหผ้ ูเ้ รียนสามารถปฏิบัติการสืบค้นแสวงหาข้อมูล รู้จักเลือกใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
รูจ้ ักการทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข รู้เขารู้เรา มีความรักธรรมชาติ มีความรับผิดชอบ
และเพ่มิ พนู คณุ ลกั ษณะการเปน็ ผใู้ ฝุรใู้ ฝุเรียน และมีคุณธรรม จริยธรรม ซ่ึงกลุ่มรูปแบบการจัด
กระบวนการเรยี นร้แู บบบูรณาการ สรปุ เปน็ แบบใหญๆ่ ได้ 2 แบบ ได้แก่

1 รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่สาระการเรียนรู้ แบ่ง
ออกเปน็ 2 ประเภท คอื บูรณาการภายในวิชากับบรู ณาการระหวา่ งวิชา และการจัดการเรียนรู้
แบบบรู ณาการระหว่างวชิ า ซึง่ แบ่งออกได้อกี เปน็ 4 แบบ ดังน้ี

1.1 การบูรณาการแบบสอดแทรก เป็นการจัดการเรียนรู้ท่ีครูผู้สอนใน
กล่มุ สาระวิชาหนึ่งสอดแทรกสาระของกลุ่มอนื่ เข้าไปในการจดั การเรียนรู้ของตนเป็นการวางแผน
และดาเนินการจดั การเรยี นรู้โดยครผู ู้สอนคนเดยี ว

1.2 การบูรณาการแบบคู่ขนาน เป็นการจัดการเรียนรู้ท่ีครูผู้สอนต้ังแต่ 2
คนข้ึนไป สอนต่างกลุ่มสาระกัน ต่างคนต่างสอน แต่มาวางแผนการจัดการเรียนการสอน
ร่วมกัน โดยมุ่งสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกัน ระบุสิ่งที่ร่วมกันและตัดสินใจ
ร่วมกันว่าจะสอน หัวเร่ือง ความคิดรวบยอดปัญหาน้ันๆ อย่างไรในกลุ่มสาระของแต่ละคน
งานท่ีมอบหมายผู้เรียนแตกต่างกันไปตามลักษณะของแต่ละกลุ่มสาระ แต่อยู่ภายในหัวเร่ือง
ความคิดรวบยอด หรือปัญหาเดยี วกนั

1.3 การบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นการจัดการเรียนรู้คล้ายกับการ
บรู ณาการแบบคู่ขนานกล่าวคือ ครูผู้สอนตั้งแต่ 2 คนข้ึนไป สอนต่างกลุ่มสาระกัน ใช้หัวเรื่อง
ความคดิ รวบยอด หรือปัญหาเดียวกนั ต่างคนตา่ งดาเนินการจัดการเรียนรู้ แต่มีการมอบหมาย
โครงการหรือโครงงานร่วมกัน ครูผู้สอนทุกคนต้องวางแผนร่วมกัน สร้างโครงการร่วมกันและ
แบง่ โครงการย่อยใหผ้ ู้เรียนปฏบิ ตั ิในแต่ละกลมุ่ สาระการเรยี นรู้

1.4 การบูรณาการแบบข้ามวิชา เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนกลุ่ม
สาระต่างๆ จะมาร่วมกันจัดการเรียนรู้เป็นคณะ หรือทีมร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือกัน
กาหนดหวั เรื่อง ความคิดรวบยอด ปญั หาร่วมกัน แล้วดาเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนใน
กลมุ่ เดียวกนั

2 รูปแบบการจดั กระบวนการเรียนรู้แบบบรู ณาการสู่พหุปัญญา
การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบรู ณาการสู่พหุปัญญา มีแนวคิดมาจากทฤษฎี
ท่เี กี่ยวข้องกับการพฒั นาปัญญา เปน็ การจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้ทีเ่ ช่ือมโยงสาระการเรียนรู้ และ

32

กระบวนการเรียนร้ทู ่เี น้นศกั ยภาพการเรียนรู้ อันจะก่อให้เกิดปัญญาอย่างหลากหลายที่เรียกว่า
พหุปัญญา (Multiple Intelligence) เช่น ปัญญาทางด้านภาษาเพ่ือความเข้าใจในการส่ือสาร
ปัญญาทางด้านการใช้เหตุผล ปัญญาทางด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ปัญญาทางด้านความรัก
และความเข้าใจในธรรมชาติ เป็นตน้ การจัดกจิ กรรมการเรียนรู้มหี ลายลักษณะ ด้วยการศึกษา
วิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์ผู้เรียน จัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลและยึด
ผเู้ รียนเปน็ สาคัญ มุ่งใหผ้ เู้ รียนได้มสี ่วนรว่ มในการจดั กิจกรรม ฝกึ ทักษะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
และพัฒนาทกุ ๆ ดา้ น โดยการบูรณาการเชอ่ื มโยงการเรยี นรู้ใหส้ อดคล้องกบั การดารงชวี ติ จริง

กลมุ่ ท่ี 4 รูปแบบการจดั กระบวนการเรยี นรู้จากแหลง่ วทิ ยาการ
การจัดกระบวนการเรียนรู้จากแหล่งวิทยาการจะเกี่ยวข้องทั้งด้านบุคลากร
สถานท่ี ธรรมชาติ หน่วยงานองค์กร สถานประกอบการ ชุมชน และอื่นๆ ซ่ึงผู้เรียน
ครผู สู้ อนและผู้สนใจ สามารถศึกษาคน้ ควา้ ได้ แหล่งวทิ ยาการมีทัง้ อยใู่ นโรงเรยี น นอกโรงเรียน
ทง้ั ทีเ่ ปน็ ธรรมชาติ และท่มี นษุ ยส์ ร้างขน้ึ ปัจจบุ นั จะมงุ่ สู่การพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต (Internet) จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่มีการเช่ือมโยง
เครือข่ายข้อมูลอย่างมหาศาล ผู้เรียนสามารถฝึกตนเองให้เกิดทักษะการเรียนรู้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยการฝึกฝนการสืบขอ้ มูลจากแหลง่ วิทยาการ ฝึกทักษะการสังเกต ฝึกคิด ฝึก
พฒั นาการ เห็นคณุ คา่ ของความงามความสุนทรีย์ ความสาคัญของแหลง่ การเรียนรู้ ที่ผู้เรียนได้
ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ก่อให้เกิดความสามารถทางการเรียนรู้แบบองค์รวม ท้ังด้านความรู้
ด้านความคิด ด้านทักษะกระบวนการและคุณลักษณะนิสัย ซึมซับส่ิงท่ีดีงามจากภูมิปัญญา
หล่อหลอมจิตใจเกิดความรักความศรัทธาและหวงแหนทรัพยากรของประเทศชาติ ซึ่งรูปแบบ
การจัดกระบวนการเรยี นรจู้ ากแหล่งวทิ ยาการ ประกอบด้วย รูปแบบการจดั กระบวนการเรียนรู้
มดี ังน้ี

1 รูปแบบการจัดกระบวนการเรยี นรู้จากแหล่งเรยี นรู้ มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องคือ
ทฤษฎสี ร้างองคค์ วามรู้ และจากปรัชญากล่มุ สรา้ งสรรคค์ วามรนู้ ยิ ม (Constructivism)

2 รปู แบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบระบบนิเวศน์ในนาข้าว และแปลง
ผัก เปน็ การจัดการเรยี นรเู้ พ่ือนาความเขา้ ใจถึงความสัมพันธข์ ององคป์ ระกอบระบบนิเวศน์จนได้
แนวคดิ หลกั จากการบริหารศัตรูพืช โดยวธิ ผี สมผสานและแนวการอบรมเกษตรแบบมีส่วนร่วม
เพ่ือมงุ่ ใหผ้ ู้เรยี นเกดิ จิตสานกึ ในการอนุรกั ษ์สิ่งแวดลอ้ มทั้งในโรงเรยี นและชมุ ชน

สรุปได้ว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ของ
ครูผู้สอน จาแนกได้ออกเป็น 4 กลุ่มรูปแบบ คือ 1) กลุ่มรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้
แบบพัฒนากระบวนการคิดและการจัดการ 2) กลุ่มรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใช้
ประสบการณ์จริง 3) กลุ่มรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ และ 4) กลุ่ม

33

รูปแบบการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้จากแหล่งวิทยาการ ซ่ึงแต่ละกลุ่มรูปแบบจะ
ประกอบด้วยรูปแบบ และวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ซ่ึงครูผู้สอนต้อง
พจิ ารณาถงึ ความเหมาะสมของรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับลักษณะของ
สาระการเรยี นรแู้ ละสภาพของผู้เรยี น เพือ่ ใหผ้ เู้ รยี นเกดิ การเรยี นรู้ตามศักยภาพอยา่ งเต็มท่ี

2.3.5 แนวทางการจดั กจิ กรรมการเรียนร้ทู ่ีเน้นผเู้ รียนเป็นสาคญั
สุกรี เจริญสุข และคณะ (2545) กล่าวว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
ผเู้ รียนต้องจัดสภาพแวดลอ้ มและบรรยากาศทงั้ ในและนอกห้องเรียนให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้มี
สอ่ื การสอนเรา้ ใจของผูเ้ รียน การดาเนินกจิ กรรมอย่ใู นบรรยากาศความเป็นกัลยาณมิตร ผู้สอน
จะต้องให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแล ะความ
ตอ้ งการของท้องถิ่น โดยใช้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้อง
กับความต้องการของผู้เรียนท้องถ่ิน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม โดยเน้น
กระบวนการจดั การเรยี นรูโ้ ดยเน้นผเู้ รยี นเป็นสาคญั ดังน้ี

1 มกี ารจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายเหมาะสมกบั ผู้เรียน
2 กระตนุ้ ใหผ้ ู้เรยี นร้จู กั คดิ วเิ คราะหแ์ ละคิดสรา้ งสรรค์
3 กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้ แสวงหาคาตอบและสร้างองค์ความรู้
ด้วยตนเอง
4 นาภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยี และส่ือที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการ
จัดการเรียนการสอน
5 ฝกึ และส่งเสริมคุณธรรมและจรยิ ธรรมของผเู้ รยี น
6 ผู้เรียนไดร้ บั การพฒั นาสนุ ทรยี ภาพอยา่ งครบถว้ นทางดา้ นดนตรี ศิลปะ และ
กีฬา
7 ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยการทางานร่วมกับผู้อื่นและความรับผิดชอบ
ตอ่ กลุม่ รว่ มกัน
8 ประเมินพัฒนาผเู้ รียนด้วยวธิ ีการที่หลากหลายและตอ่ เนือ่ ง
9 จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรักสถานศึกษาของตนและมีความกระตือรือร้นในการ
เรียน
สิริพร ทิพย์คง (2545) กล่าวว่า แนวการจัดการเรียนรู้ท่ียึดผู้เรียนเป็นตัวตั้งหรือ
เปน็ สาคญั น้ี หมายถึง กระบวนทพ่ี ัฒนารา่ งกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมของ
ผู้เรียนเจริญงอกงาม โดยการสร้างให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมกระทา ผู้สอนทาหน้าท่ี
ร่วมวางแผนในกิจกรรมท่ีเหมาะสม กระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่งเสริมความคิด
และอานวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ตามความต้องการ ตามความ

34

สนใจ และเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน ดังน้ัน ในการจัดการเรียนรู้ท่ียึดผู้เรียนเป็ นสาคัญ
ผ้สู อนจงึ ควรคานงึ ถงึ ความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน และความแตกต่างของผู้เรียน การจัด
สาระการเรียนรู้จึงควรจัดให้มีอย่างหลากหลาย เพ่ือให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความ
สนใจ รูปแบบของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้
ร่วมกันทัง้ ชน้ั เรยี นเปน็ กลมุ่ ย่อยหรือเปน็ รายบุคคล สถานท่ีท่ีจัดก็ควรมีทั้งในห้องเรียนและนอก
ห้องเรียน บริเวณสถานศึกษา มีการจัดให้ผู้เรียนได้ไปศึกษาในแหล่งวิทยาการต่างๆ ท่ีอยู่ใน
ชุมชนหรือในท้องถิ่น จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและความเหมาะสมของผู้เรียน ได้ลงมือ
ปฏิบัติจรงิ ผสู้ อนควรฝึกใหผ้ ู้เรยี นคิดเปน็ ทาเป็น รู้จักบูรณาการความรู้ต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์
ความรู้ใหม่ รวมถึงการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมและลักษณะอันพึงประสงค์ ฝึกให้ผู้เรียนรู้จัก
ประเมนิ ผลงานและปรับปรงุ งาน ตลอดจนสามารถนาความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตและ
อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสขุ

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ (2545) กล่าวว่า แนวดาเนินการของครูผู้สอนใน
การจดั การเรียนรู้ท่เี น้นผเู้ รยี นเปน็ สาคัญ ประกอบด้วย

1 สารวจความสนใจ ความต้องการ และพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน อาจใช้
การซักถาม การสังเกต พูดคุยกัน หรอื อาจจะใหผ้ เู้ รียนทาแบบทดสอบกอ่ นเรียนกไ็ ด้

2 การเตรียมการ ผู้สอนควรจะต้องเร่ิมจากการศึกษาหลักสูตร และผลการ
เรยี นรู้ที่คาดหวงั ให้เขา้ ใจเสียก่อน เพ่ือการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่อง
และเชอื่ มโยงกัน หากเป็นไปได้ควรเช่ือมโยงและบูรณาการสาระการเรียนรู้แต่ละวิชาที่สัมพันธ์
เขา้ ดว้ ยกัน เพ่ือการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริง ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์
จริง ผู้สอนตอ้ งเปดิ โอกาสให้ผ้เู รียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากท่ีสุด และกิจกรรมการ
เรยี นรูจ้ ะต้องเหมาะสมตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนด้วย เน่ืองจากผู้สอน
เป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทาง ดังนั้น ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีส่ือการเรียนใน
ลกั ษณะตา่ งๆ ทจ่ี ะสามารถให้ผเู้ รียนเรยี นรู้ดว้ ยตนเองได้

3 การดาเนินกิจกรรมการเรียนรู้ อาจทาได้ดังนี้
ขนั้ นาเข้าสบู่ ทเรยี น ผู้สอนควรใช้คาถามหรือกิจกรรมที่ทาให้เกิดความสงสัย

ใคร่รู้ ขณะเดียวกัน ผู้สอนควรจะทาตัวเป็นเพื่อนท่ีดีของผู้เรียน สามารถช่วยเหลือเขาได้ทุก
เรอ่ื ง

ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้ ในขั้นนี้ ผู้สอนเป็นบุคคลที่สาคัญมากเพราะผู้สอน
จะต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการดารงชีวิต โดยใช้ส่ือและเทคนิควิธีสอนที่หลากหลายใน
ลกั ษณะองคร์ วมที่เหมาะสมกบั ความถนัดความสนใจของผ้เู รียน

35

ข้ันวิเคราะห์ อภิปรายผลงาน สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้
ซ่ึงผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายผล หรือผู้เรียนแลกเปล่ียนความรู้และประสบการณ์การ
เรียนรูก้ บั เพือ่ นๆ ผสู้ อนเพยี งแตค่ อยสังเกตและคอยชี้แนะ หรือให้ข้อมูลย้อนกลับที่ชัดเจนมาก
ขึ้น พร้อมกบั กระตนุ้ ให้ผเู้ รยี นสนใจคน้ หาความรตู้ อ่ ไป

4 การประเมินผล ผู้สอนต้องประเมินให้ครบทุกด้าน ท้ังด้านพุทธิพิสัย
จติ พสิ ยั และทักษะพิสัย ซ่ึงผู้สอนจาเป็นจะต้องเลือกใช้เทคนิค และเคร่ืองมือในการประเมินที่
หลากหลาย เหมาะสมกับวัตถุประสงคแ์ ละเกณฑ์การประเมิน

5 การสรุปและนาไปประยุกต์ใช้ เป็นข้ันตอนการตกผลึกของกระบวนการ
เรียนรู้รายบคุ คล กล่าวคอื ผ้เู รยี นจะมองส่ิงต่างๆ รอบตัวอย่างเป็นองคร์ วม เช่ือมโยง เกิดการ
คน้ พบตวั เอง มคี วามสามารถ มีจุดเด่นจุดด้อยทางด้านใด ซึ่งส่ิงต่างๆ เหล่านี้จะเกิดกับผู้เรียน
ได้หลงั จากทเ่ี ขาไดผ้ ่านกิจกรรมการเรียนรแู้ ละการแสดงออกตามกระบวนการเรียนรูด้ งั กล่าว

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ อาศัยแนวทางการจัดการเรียนรู้
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และท่ีแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2)
พุทธศักราช 2545 (หมวด 4) เป็นพ้ืนฐานในการศึกษา ค้นคว้า และพิจารณาเลือกใช้รูปแบบ
หรอื วิธีการจดั การเรียนรู้ไดต้ ามความเหมาะสม เทคนิค และวิธีการศกึ ษาคน้ คว้า ดังน้ี

1 การวิเคราะห์ผู้เรียน การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ช่วยให้
ครูผู้สอนมีข้อมูลที่สาคัญในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีเหมาะสม หลักการ
วิเคราะห์ผู้เรียนควรคานึงถึงองค์ประกอบท่ีสาคัญ 3 องค์ประกอบ คือ ธรรมชาติของผู้เรียน
ประสบการณ์ และพ้นื ฐานความรู้เดมิ

2 การใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ และการบูรณาการคุณธรรม ค่านิยมในการจัด
กิจกรรมการเรยี นรู้

3 การวิเคราะห์หลักสูตร เช่ือมโยงกับการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการ
เรียนร้ใู นสถานศกึ ษา

4 การออกแบบการเรียนรู้ตามสภาพจริง ให้สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตร
และเชื่อมโยงบูรณาการระหว่างกลุ่มรายวิชา โดยใช้ผลการเรียนรู้ท่ีกาหนดเป็นหลัก และใช้
กระบวนการวิจัยเป็นสว่ นหนงึ่ ของการจัดการเรยี นรเู้ พ่อื มงุ่ พัฒนาการเรยี นรขู้ องผู้เรยี น

5 การออกแบบการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือวัดท่ี
หลากหลาย เพ่ือสะท้อนภาพให้เห็นได้ชัดเจน และแน่นอนว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้านต่างๆ
อย่างไร ทาให้ได้ข้อมูลของผู้เรียนรอบด้านที่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพ่ือใช้ประกอบการ
ตดั สินผ้เู รียนได้อย่างถูกต้องและมปี ระสิทธิภาพ

36

กล่าวโดยสรุปได้ว่า แนวทางการจดั การเรยี นรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญนั้น ครูผู้สอน
ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับผู้เรียนและสาระการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์
ผู้เรียน วิเคราะห์หลักสูตร เพื่อนามาออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการวัดผล
ประเมินผล มีการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ท่ีหลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จัก
คิดวิเคราะหแ์ ละคิดสร้างสรรค์ รู้จักศึกษาหาความรู้ แสวงหาคาตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วย
ตนเอง

2.3.6 แนวทางการดาเนนิ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทีเ่ น้นผ้เู รียนเปน็ สาคญั
สุภรณ์ สถาพงศ์ (2545) ให้แนวคิดไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียน
สาคัญท่ีสุด ไม่ใช่วิธีการเรียนรู้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่เป็นกระบวนทัศน์ในการเรียนรู้ ซึ่งเอื้อให้
ผเู้ รียนเกดิ การเรยี นรจู้ ากการปฏิบัตขิ องตนเอง โดยใช้ทักษะการจัดการท่ีมีประสิทธิภาพท้ังของ
ครูผู้สอนและผู้เรียนกาหนดข้นั ตอน ไว้ดังน้ี

1 การปรับความคิดของผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องเข้าใจกระบวนการจัดการ
เรียนรู้และมีวิสัยทัศน์ในการจัดการเรียนรู้ที่เอ้ือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้บริหารต้อ ง
ทางานในลักษณะทีมงานท่ีรักและสามัคคีพร้อมใจกันผลักดันให้ขับเคล่ือนไปพร้อมกนั ทง้ั โรงเรยี น

2 ครูยึดหลักในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนทุกด้าน คือ
ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม พยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติของ
ตนเอง โดยครูควรจะมีลักษณะกัลยาณมิตร 7 ประการ ดงั น้ี

2.1 วางตนในฐานะท่ศี ิษย์ไวว้ างใจ
2.2 วางตนให้นา่ เคารพ
2.3 วางตนในฐานะผทู้ รงคณุ ความรู้
2.4 วางตนในฐานะทีป่ รึกษาทด่ี ี
2.5 วางตนในฐานะผู้ฟังทด่ี ี ฟังท้งั คาพดู และความรู้สกึ ของศษิ ย์
2.6 วางตนในฐานะผู้ทรงปัญญา สามารถอธิบายได้อย่างลึกซ้ึงให้ศิษย์
กระจา่ งได้
2.7 วางตนในฐานะแบบอยา่ งทด่ี ี เป็นแบบในการประพฤตปิ ฏิบตั ิ
กระบวนการจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ หมายถึง การกาหนด
จุดมุ่งหมายสาระกิจกรรม แหล่งเรียนรู้ ส่ือการสอน และการวัดผลประเมินผลที่มุ่งพัฒนา
“คน” และ “ชีวิต” ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ เต็มตามความสามารถสอดคล้องกับความ
ถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน กิจกรรมการเรียน คานึงถึงความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนสัมผัส และสัมพันธ์กับส่ิงแวดล้อม ท้ังที่เป็นเพ่ือนมนุษย์
ธรรมชาติ และเทคโนโลยี ผูเ้ รียนได้ค้นคว้า ทดลอง ฝึกปฏิบัติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนค้นพบ

37

สาระสาคัญของบทเรียน ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์จินตนาการและสามารถแสดงออกได้
ชัดเจนมีเหตุผล ครูมีบทบาท ปลุกเร้า และเสริมแรงในทุกกิจกรรมให้ค้นพบคาตอบ และ
แก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมท้ังการทางานเป็นกลุ่ม จัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม ความมีวินัย
รับผิดชอบในการทางาน ผู้เรียนมีโอกาสฝึก การประเมินและปรับปรุงตนเอง ยอมรับผู้อ่ืน
สรา้ งจติ สานึกในความเป็นพลเมืองและเป็นพลโลก การเรียนรู้เกิดข้ึนได้ทุกที่ทุกเวลา เกิดขึ้นได้
ในหลายๆ ระดับ ทัง้ ในตวั ผูเ้ รยี น ในห้องเรียนและนอกหอ้ งเรยี น โดยท่ีทุกฝาุ ยมีสว่ นร่วม

ระดับผู้เรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกาหนด
จุดมุ่งหมาย กิจกรรม และวิธีการเรียนรู้ ได้คิดเอง ปฏิบัติเอง ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง รวมท้ัง
ร่วมประเมินผล การพัฒนาการเรียนรู้ ตามศักยภาพ ความต้องการ ความสนใจ ความถนัด
ของแต่ละคน ระดบั หอ้ งเรยี นเปน็ กระบวนการเรยี นรูท้ ผี่ เู้ รยี นมที กั ษะ ดงั นี้

1 ได้คิดเอง ทาเอง ปฏิบัติเอง และสร้างความรู้ด้วยตนเอง ในเร่ืองท่ี
สอดคลอ้ งกบั การดารงชีวติ จากแหล่งความรูท้ ี่หลากหลาย

2 การมีส่วนร่วมในการกาหนดจุดมุ่งหมายกิจกรรม และวิธีการเรียนรู้
สามารถเรียนร้กู ับผู้อ่ืนอยา่ งมคี วามสุข

3 มีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้ ครูเป็นผู้วางแผน
ขั้นต้นทัง้ เนอ้ื หาและวธิ ีการแก่ผูเ้ รยี น จดั บรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้และช่วยชี้แนะแนวทาง
การแสวงหาความรทู้ ่ถี กู ต้องให้แกผ่ ้เู รียนเปน็ รายบุคคล

การจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับห้องเรียนน้ี ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัด
กระบวนการเรียนรู้ นอกจากครูและผู้เรียนแล้ว ผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนอย่างสาคัญ คือ
ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรสนับสนุนการสอน ตลอดจนการจัดสื่อการเรียนการสอน การ
สรา้ งบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวผ้เู รียน

ระดับนอกห้องเรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ท่ีเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและ
ชุมชนมสี ่วนรว่ มในการวางแผนการเรียนการสอน โดยคานึงถึงศักยภาพและความต้องการของ
ผู้เรียนให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายที่สอดคล้องกับการดารงชีวิตใน
ครอบครัว ชุมชนและท้องถ่ิน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการ
สอนทกุ ขั้นตอน

ระดับนอกห้องเรียนนี้ นอกจากจะมีส่วนร่วมใน 2 ระดับที่กล่าวมา รวมถึง
ฝาุ ยนโยบาย ผ้บู ริหาร พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนและฝุายสนับสนุนอื่นๆ กล่าวโดยสรุป การ
จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็นกระบวนการเรียนรู้ท่ีมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่
ผเู้ รยี น

กระบวนการเรียนรู้

38

1 การสารวจความตอ้ งการ
1.1 สารวจความตอ้ งการ/ความสนใจของผเู้ รยี น
1.2 สารวจพืน้ ฐานความรเู้ ดมิ

ขั้นแรกควรศึกษาธรรมชาติและกาหนดความต้องการของผู้เรียน โดยการ
ซกั ถาม สงั เกต สมั ภาษณ์ พดู คุย หรอื ทาแบบทดสอบก่อนเรียน เพ่ือสร้างกระตุ้นความสนใจ
สารวจความสนใจ และพ้ืนฐานความรู้เดิมของผู้เรียนรายบุคคล รวมทั้งศึกษาพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พุทธศกั ราช 2542 ในมาตรา 22 เปน็ แนวสาหรับการดาเนนิ การ

2 การเตรยี มการ
2.1 ครเู ตรียมเก่ียวกบั สาระการเรยี นรู้และองค์ประกอบอื่นๆ ท่ีเอื้อต่อการ

เรียนรู้
2.2 วางแผนการเรียนการสอน

ครตู ้องเตรียมศกึ ษาเน้ือหาวิชาในหลักสูตร และจุดประสงค์ของการเรียนรู้ให้
เขา้ ใจอยา่ งถ่องแทว้ า่ หลักสูตรต้องการอะไร มีจุดประสงค์ของการเรียนรู้อย่างไร และทาไมจึง
ตอ้ งการอย่างน้ัน เพอ่ื การวางแผนจัดกระบวนการเรียนรู้ได้มีความต่อเน่ือง เช่ือมโยงกัน และ
หากเปน็ ไปได้ควรเช่อื มโยงและบูรณาการสาระการเรียนร้แู ต่ละวิชาทีส่ ัมพนั ธ์กันเข้าด้วยกัน เพ่ือ
การจดั กจิ กรรมการเรียนรูไ้ ดส้ อดคล้องกับวิถีชีวิตจริง และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์
จริงให้มากท่ีสุด ทั้งน้ีครูต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม กาหนดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม
ความสนใจและความถนัด และความสนใจรายบุคคล เนื่องจากครูไม่ใช่ผู้บอกผู้สอนอย่างเดียว
ครจู งึ ต้องเตรียมแหล่งข้อมูล ทั้งท่ีเป็นส่ือการเรียน ใบความรู้ ใบงาน และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
หรือศูนย์การเรียนรดู้ ้วยตนเองท่ีมีขอ้ มูล ความรู้ที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษา ค้นคว้าตามความ
ตอ้ งการ การสารวจแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เชน่ หอ้ งสมุดประชาชน พิพิธภณั ฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์
สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์กีฬาและ
นนั ทนาการ เป็นต้น

3 การดาเนินกจิ กรรมการเรยี นรู้ เช่น
3.1 ขั้นนาเขา้ สบู่ ทเรียน
ขนั้ นี้ ครูควรใชป้ ระเดน็ คาถามสถานการณ์หรือกิจกรรมที่กระตุ้น หรือท้า

ทายให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยใคร่รู้ ครูควรเป็นกัลยาณมิตรของผู้เรียนและทาให้ผู้เรียนรู้สึกว่า
ครูคอื เพ่ือนที่ช่วยเหลือเขาได้ในทุกเร่ือง ครูต้องรู้จักผู้เรียนรายบุคคลเป็นอย่างดี เพ่ือใช้ความ
ถนดั ความสนใจ ลีลาการเรียนรขู้ องผู้เรียนเปน็ จดุ กระต้นุ ศักยภาพของแต่ละบุคคล และดึงดูด
ให้ผู้เรยี นเข้ามามีส่วนร่วมอยา่ งกระตอื รอื รน้ และเต็มใจ

39

3.2 ขัน้ การจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้
ครูเป็นบุคคลที่สาคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้ผู้เรียน
สามารถพฒั นาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ มุ่งจัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศที่สอดคล้อง
กับการดารงชีวติ โดยใช้ส่ือท่ีหลากหลายในลักษณะขององค์รวม ที่เหมาะสมกับความสามารถ
ในการเรียนรู้ และความสนใจของผเู้ รียน คานึงถึงการใช้สมองทุกส่วน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
เสนอกิจกรรมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน สรุปความรู้ด้วยตนเอง รวมท้ังให้ผู้เรียนมี
ปฏิสัมพันธ์ ท้ังสมาชิกภายในกลุ่มและสมาชิกระหว่างกลุ่ม เพ่ือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการ
แสวงหาความรู้
การเรียนการสอนไม่จาเป็นต้องจากัดตัวอยู่ในพื้นท่ีห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าใน
อาคารเปน็ ท่เี รียนเสมอไป เพราะจะเป็นการกระทาให้ผเู้ รียนร้สู ึกเครียดกับบรรยากาศ พยายาม
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน ประเภททุ่งนา ฟูากว้าง กลางปุา
ก้อนกรวด หิน ทราย ดอกไม้ สายลม และวสั ดุธรรมชาติใหม้ าก เดก็ ๆ จะไดเ้ คลื่อนไหวอย่าง
สนกุ สนานและเรยี นรู้ไปพร้อมกนั
3.3 ข้ันวิเคราะห์ อภิปรายผลงาน/องค์ความรู้ท่ีสรุปได้จากกิจกรรมการ
เรียนรู้
อภิปรายผลงาน/องค์ความรู้ท่ีสรุปได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ ครูและ
ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายผลที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนรู้ แลกเปล่ียนประสบการณ์โดยเน้นให้
ผู้เรียนเกิดการค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง ครูเป็นผู้สังเกต เพ่ือให้ข้อมูลย้อนกลับให้องค์
ความรู้ที่ได้รบั ชดั เจนเปน็ การเสรมิ แรงและแรงกระตุน้ ใหผ้ เู้ รียนสนใจการค้นหาความรตู้ ่อไป
4 การประเมนิ ผล
การประเมินผลสาเร็จของการจดั กระบวนการเรียนรทู้ ีเ่ น้นผู้เรียนเป็นสาคัญนั้น
เป็นการประเมินซ่ึงมุง่ เนน้ ผลที่เกดิ ขน้ึ กบั ผเู้ รียนเปน็ สาคัญ โดยครูจะต้องศึกษามาตรา 26 ของ
พระราชบญั ญตั กิ ารศกึ ษาแห่งชาติ พทุ ธศักราช 2542 ในสาระและจุดเน้นการประเมินเกี่ยวกับ
พัฒนาการเรียนของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม
การเรยี นรู้ และการทดสอบเพือ่ พฒั นา และค้นหาศักยภาพ จุดเด่น จุดด้อยของผู้เรียน และ
ตรวจสอบว่ากระบวนการเรียนรู้ได้พัฒนาผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ กาหนดไว้หรือไม่
อกี ทงั้ ผลการเรยี นของผู้เรยี นจะเปน็ ตัวบ่งชป้ี ระสทิ ธภิ าพการสอนของครูดว้ ย ดงั นน้ั การวัดและ
ประเมินผลการเรยี นรูท้ ี่เนน้ ผเู้ รียนเป็นสาคญั ตอ้ งวดั และประเมนิ ให้ครอบคลมุ ทกุ ดา้ น ท้ังในส่วน
ของกระบวนการและผลงาน ท้ังด้านความรู้ ด้านความรู้สึก และทักษะการแสดงออกทุกด้าน
และประเมินตามสภาพจริง ซึ่งในการประเมินผลสามารถประเมินระหว่างการเรียนการสอน
และประเมินสรปุ รวมโดยมีขัน้ ตอนในการประเมิน ดังนี้

40

4.1 กาหนดวัตถปุ ระสงค์และเปูาหมายในการประเมิน
4.2 พจิ ารณาขอบเขต วิธีการและสิง่ ทจี่ ะประเมนิ ตัวอย่างเช่น

4.2.1 ประเมินพัฒนาการด้านศิลปะและดนตรี คณิตศาสตร์
ภาษาไทย วทิ ยาศาสตร์ พัฒนาการทางรา่ งกาย พฒั นาการของบคุ ลิกภาพ เป็นต้น

4.2.2 ขอบเขตที่จะประเมิน เช่น ด้านความรู้ ทักษะ ความรู้สึก
และคุณลกั ษณะ เป็นตน้

4.3 พิจาณากาหนดองค์ประกอบ และผู้ประเมินว่ามีใครบ้างที่จะเป็นผู้
ประเมนิ เช่น นักเรียนประเมินตนเอง เพื่อนนักเรียน ครูประจาช้ัน ชุมชน หรือผู้เกี่ยวข้อง
เป็นตน้

4.4 เลือกใช้เทคนิคและเคร่ืองมือในการประเมินหลากหลาย เหมาะสม
กับวัตถุประสงค์ และเกณฑ์ในการประเมิน เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การบันทึก
พฤตกิ รรม แบบสารวจความคิดเหน็ บนั ทึกจากผ้ทู ่เี กย่ี วข้อง แฟมู สะสมผลงาน ฯลฯ

4.5 กาหนดเวลาและสถานทท่ี ี่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างนักเรียน
ทากจิ กรรมระหว่างการทางานกล่มุ โครงการ วันใดวันหน่ึงของสัปดาห์ เหตุการณ์ งานพิเศษ
ฯลฯ

4.6 วิเคราะห์ผลและจดั การขอ้ มูลการประเมิน
4.6.1 รายการกระบวนการ
4.6.2 แฟูมสะสมผลงาน
4.6.3 การบนั ทึกขอ้ มลู

4.7 สรุปผลการประเมินเพื่อพัฒนา และปรับปรุงข้อบกพร่องการเรียนรู้
และพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอน ในกรณีท่ีเป็นการประเมินสรุป
รวมเพ่ือพิจารณาตัดสินการเล่ือนชั้นโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กาหนด ให้นาผลการประเมิน
ระหวา่ งเรียนมาประกอบการพจิ ารณาดว้ ย

5 การสรปุ และนาไปประยุกต์ใช้
เป็นข้นั การตกผลึกของกระบวนการเรียนรู้รายบุคคล กล่าวคือ ผู้เรียนแต่ละ
คนจะเกิดการมองส่ิงตา่ งๆ อยา่ งเป็นองค์รวม มองอย่างเชื่อมโยง หย่ังรู้ เกิดการค้นพบตัวเอง
ว่า มีความสามารถ มีจุดเด่นจุดด้อยทางด้านใด ซ่ึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
หลงั จากทีเ่ ขาได้ผา่ นกจิ กรรมการเรยี นรู้ และการแสดงออกตามกระบวนการดงั กล่าวข้างต้น ซ่ึง
พจิ ารณาไดจ้ ากการหาข้อสรุปจากบทเรียน โดยมีครเู ป็นผชู้ แ้ี นะเพิ่มเติม การแลกเปล่ียนวิธีการ
เรียนรู้ การสะท้อนความคิด การแสดงผลงาน การจัดนิทรรศการ การแสดงออกในลักษณะ

41

ละคร การนาข้อค้นพบ การปรับปรุงตนเองในสถานการณ์ต่างๆ การเคารพสิทธิผู้อื่น
ตลอดจนการสรา้ งสรรคใ์ หม่ๆ ทีจ่ ะเกิดประโยชน์ตอ่ สงั คม ชุมชน และการดารงชวี ิตประจาวัน

กล่าวโดยสรุป แนวทางการดาเนินการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
ครผู สู้ อนจะต้องมีความรู้ความสามารถในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังน้ัน
ครูผู้สอนจึงต้องดาเนนิ การโดยการสารวจความตอ้ งการ ความสนใจ และพนื้ ฐานความรู้เดิมของ
ผู้เรียน การวิเคราะห์หลักสูตร เป็นการวางแผนการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับสาระการ
เรยี นรแู้ ละสภาพของผูเ้ รียน การดาเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วน
ร่วมในการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้ เพ่ือการสรา้ งองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตลอดถึงการประเมินผล
เพื่อปรบั ปรุงขอ้ บกพรอ่ งการจัดการเรยี นรู้

2.3.7 พฤตกิ รรมการจัดกิจกรรมการเรียนร้ทู ่เี นน้ ผ้เู รียนเปน็ สาคัญ
พฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญมีฐานความคิดมาจาก
ปรัชญาการศกึ ษา และแนวคดิ ดา้ นจติ วทิ ยาการเรียนรู้ ซึง่ ปรชั ญาการศึกษาท่ีเป็นพ้ืนฐานสาคัญ
ได้แก่ ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism) การศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน สิ่งที่เรียนรู้
ควรเป็นประโยชน์ สอดคล้องกบั ชวี ติ ประจาวนั และสงั คมของผู้เรยี นให้มากท่สี ดุ ส่งเสริมความ
เป็นประชาธิปไตย ทั้งใน และนอกห้องเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง และสังคมเพ่ือน
ผู้เรียนจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructions)
การศึกษาจะต้องเปน็ ไปเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ตระหนักในบทบาทหน้าท่ีของตนท่ีมีต่อสังคม เน้น
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทางสังคม และการศึกษาต้องเป็นไปเพ่ือการปรับปรุง
พัฒนา และสร้างสรรค์สังคมท่ีดี และเหมาะสมกว่าเดิม ปรัชญาอัตถนิยม (Existentialism)
มุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีสิทธิเสรีภาพ เปิดโอกาสให้เลือกเรียนตามความถนัด และความ
สนใจ และปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ (Buddhistic Philosophy of Education)
ต้องอาศัยหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ในการอธิบายเรื่องของชีวิต และ
ปรากฏการณ์ต่างๆ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทาเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง และมีการประยุกต์
หลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
(วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2542) สาหรับแนวคิดด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มพฤติกรรม
นิยม (Behaviorism) เช่ือว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้น เม่ือมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการ
ตอบสนอง พฤติกรรมจะมีความถ่ีมากขน้ึ หากได้รบั การเสรมิ แรง กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
การเรียนรู้ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด รู้จักใช้เหตุผล มีเจตคติที่ดีต่อสิ่งท่ีเรียน และได้ลงมือ
กระทาดว้ ยตนเอง และกลุม่ คอนสตรคั ติวิสซึม (Constructivism) การเรียนรู้เป็นกระบวนการท่ี
เกิดข้ึนภายในบุคคล บุคคลเป็นผู้สร้างความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างส่ิงท่ีพบเห็นกับความรู้
เดมิ เกดิ เปน็ โครงสร้างทางปัญญา (วฒั นาพร ระงับทุกข์, 2542)

42

จากปรัชญาการศึกษาและแนวคิดด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ส่งผลให้ครูผู้สอนมี
พฤตกิ รรมการสอนท่เี น้นผู้เรยี นเปน็ สาคัญ มกี ารพฒั นาอยา่ งตอ่ เน่อื ง โดยนกั จติ วทิ ยาการศึกษา
ท่ีเช่ือในศกั ยภาพ และความสามารถทมี่ ีอยใู่ นมนษุ ย์ทุกคน เชอ่ื ว่ามนุษย์จะศึกษาค้นคว้าในสิ่งท่ี
ตนเองสนใจ และใฝุรู้ ให้ความสาคัญกับการให้เสรีภาพในการเรียนรู้ สนับสนุน ส่งเสริม ใน
การค้นควา้ หาความหมาย และสาระสาคัญในชีวิตของเขาเอง มีเสรีภาพในการตัดสินใจ เม่ือ
เผชิญกับปัญหา ลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามวิธีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความสามารถ และ
ความถนดั ของตนเอง นบั ไดว้ า่ ครูผ้สู อนเปน็ ผู้มบี ทบาทสาคญั ในการพัฒนาพฤตกิ รรมการสอนตน
ใหก้ ารจดั กิจกรรมการเรยี นรู้มคี ุณภาพ คณุ ภาพของการสอนเป็นเร่ืองของการชี้แนะ (Cues) แก่
ผู้เรยี น ซ่งึ เปน็ การใหผ้ ู้เรยี นทราบว่า ส่งิ ทีเ่ รียนคอื อะไร ผูเ้ รียนควรทาอะไร การมสี ่วนร่วมของ
ผู้เรยี นในกิจกรรมการเรยี น การเสรมิ แรง ทั้งทางบวก และทางลบ และการให้ข้อมูลย้อนกลับ
และการแกไ้ ขข้อบกพร่อง

ความหมายของพฤติกรรมการสอนทเี่ น้นผู้เรียนเป็นสาคญั
การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ บางแนวความคดิ จะใหค้ วามสาคัญกับสาเหตุภายใน
ตัวบคุ คล เช่น ชีววิทยา และพันธุกรรม แต่บางแนวคิดจะให้ความสาคัญกับสาเหตุภายในตัว
บุคคลเช่นเดียวกัน แต่ให้ความสาคัญกับกระบวนการของจิต การรับรู้ตนเองและการรับรู้
สง่ิ แวดล้อมหรือความรู้สกึ ขัดแย้งทเี่ กิดจากพลงั จิตไร้สานกึ ในส่วนของนักวชิ าการด้านพฤติกรรม
มนุษย์อีกกลุ่มหนึ่ง กลับให้ความสาคัญกับสาเหตุภายนอกตัวมนุษย์ บริบททางสังคม และมุ่ง
ศกึ ษาพฤติกรรมมนษุ ยใ์ นวฒั นธรรมต่างๆ (Goldstein & Russo อา้ งถงึ ใน เมธาวี อดุ มธรรมานุ-
ภาพ, รตั นา ประเสริฐสม และเรียม ศรีทอง, 2544) ในส่วนพฤติกรรมการสอน หมายถึง การ
แสดงออกของครูในสภาพการเรยี นการสอนที่เกิดขึ้นต่อเน่ืองกัน ภายในห้องเรียนทั้งพฤติกรรม
ทางวาจา (Verbal Behavior) และพฤติกรรมอื่นท่ีไม่ใช่พฤติกรรมทางวาจา (Non - Verbal
Behavior) เปน็ สง่ิ ที่มีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ท้ังน้ีเพราะพฤติกรรมการ
สอนของครู และพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนนั้น เป็นกิจกรรมที่ต่อเน่ืองสัมพันธ์กันอย่าง
ใกล้ชดิ ดังนน้ั พฤตกิ รรมการเรียนทีด่ หี รือไมด่ ี จึงข้นึ อยู่กับพฤติกรรมการสอนของครเู ป็นสาคญั
ปรชั ญาการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ สนับสนุนให้ผู้เรียนทุก
คนได้พัฒนาตามศักยภาพ และความสนใจของตนเอง เรียนรู้จากหลายสถานการณ์ทั้งใน และ
นอกห้องเรียน โดยเฉพาะอย่างยง่ิ ตัวครผู สู้ อนเองตอ้ งปรับพฤติกรรมการสอนของตนเพ่ือเน้นให้
ผเู้ รียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้มากกวา่ การเรียนรู้แบบท่องจา ดังที่ สุทธิพร คล้ายเมืองปัก
(2543) ได้กล่าวถึงการปรับเปล่ียนพฤติกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนที่เน้น
ผู้เรียนเปน็ สาคญั ไวด้ ังน้ี

1 จัดสภาพการณ์หรือสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนด้วยการใช้ส่ือหรือ
เคร่ืองมือ เพื่อเสรมิ การเรยี นรู้ทีห่ ลากหลาย

43

2 วางแผนในการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนสาหรับผู้เรียนแต่ละคนโดยเน้นท่ี
ความสนใจ อยากรู้ อยากเรยี นของผู้เรียน และควรคานึงถงึ ความแตกต่างระหวา่ งบคุ คล

3 ครูพฒั นาตนเอง เพือ่ ใหม้ วี สิ ยั ทัศน์กว้างไกล ไมว่ า่ เปน็ การอา่ นเพื่อการศึกษา
เข้ารับการประชุม อบรมสัมมนา หรือสนทนาเพ่ือแลกเปล่ียนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมงาน
แล้วนามาปรับประยุกต์ใช้ในการทากิจกรรมการเรยี นการสอนของตน

4 เปลี่ยนจากผู้สอนมาเป็นผู้จัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ โดยการส่งเสริม
และพัฒนาผูเ้ รียนให้รู้จักการเรียนรูว้ ิธีท่จี ะเรียน (Learn How to Learn) เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียน
เกิดความอยากเรียนรู้ ช้แี นะแหล่งข้อมลู และเป็นผู้คอยให้คาปรึกษา เมื่อผู้เรียนพบกับปัญหา
ท่ไี ม่สามารถแก้ไขเองได้

5 ให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการเรียนรู้ ท้ังด้านความคิด จิตใจ การแสดงออกใน
กรอบของความถกู ตอ้ ง และให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การทางานร่วมกัน
เปน็ กลุม่ สารวจ สัมภาษณ์ นาเสนอข้อมูลด้วยการรายงานอภิปราย อีกทั้งการฝึกปฏิบัติจริง
ด้วยตนเอง โดยคานึงถงึ เนอื้ หาสาระ และจดุ ประสงค์การเรียนรู้เปน็ เกณฑ์

6 ใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ยึดติดกับวิธีใดวิธีหนึ่ง
เพราะไม่มีวิธีการสอนเพียงวิธีเดียวที่ดีท่ีสุดในโลก ดังน้ันจึงควรพิจารณาแบบจาลองการจัด
กิจกรรมการเรยี นการสอนใหเ้ หมาะสมกับเน้ือหาสาระการเรียนรู้ และสถานการณ์ท่เี หมาะสม

7 เป็นผู้ประเมินโดยครูผู้สอน และผู้เรียนจะเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้าง
กฎเกณฑ์การประเมินในแบบจาลองต่างๆ ร่วมกัน ท้ังน้ีเพ่ือความก้าวหน้าของผู้เรียน และให้
ผูเ้ รียนได้ทราบผลการเรียนรูข้ องตนเองอยา่ งตอ่ เน่อื ง และสมา่ เสมอ

ธารง บวั ศรี (2543) ไดก้ ล่าวถงึ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
ไว้ 2 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง
ไดพ้ ฒั นากระบวนการคดิ มอี สิ ระในการเรยี นรู้ตามความถนัด และความสนใจ สามารถค้นพบ
ข้อมูลความรตู้ า่ งๆ ดว้ ยตนเอง โดยใช้วิธีการ และแหล่งเรียนรู้ อย่างหลากหลาย สามารถนา
ความรูป้ ระสบการณไ์ ปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของตน และสังคมส่วนรวมได้ ด้านผู้สอน หรือผู้
จัดกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ใดๆ ท่ีต้องคานึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคล และเคารพในศักดิ์ศรีสิทธิหน้าท่ีของผู้เรียน มีการวางแผนการจัด
กิจกรรมการเรียนรอู้ ย่างเป็นระบบ และต้องเน้นประโยชนส์ งู สดุ ของผู้เรียนเปน็ สาคญั

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยนิ ดีสขุ (2548) กลา่ วว่า การเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็นแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ และ
สงิ่ ประดิษฐใ์ หม่ โดยการใชก้ ระบวนการคดิ กระบวนการทางสังคม กระบวนการกลุ่ม และให้
ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งครูมี
บทบาทเป็นผ้อู านวยความสะดวก จดั ประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน โดย

44

เน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอน หลากหลายแหล่ง
ความรู้ พัฒนาปัญญาไดอ้ ย่างหลากหลาย รวมท้ังเน้นการใช้วธิ กี ารวดั ผลอยา่ งหลากหลาย

สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาแหง่ ชาติ (2542) กาหนดตัวบ่งช้ี การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ โดยกาหนดพฤติกรรมการสอนของครูระหว่างดาเนินการ
สอนไว้ ดังตอ่ ไปนี้

1 ครูสรา้ งสมั พันธ์ท่ีดี
2 ครใู ชแ้ หล่งเรยี นรูห้ ลากหลาย
3 ครูใชส้ ่ือการสอนที่สอดคลอ้ งกบั วัย บทเรยี น วิธกี ารสอน
4 ครูแสดงความเมตตาต่อเดก็ อยา่ งทัว่ ถึง
5 ครูจัดกจิ กรรมใหเ้ ดก็ สมั พนั ธ์กบั ธรรมชาติ
6 ครเู ปิดโอกาสให้เดก็ แสดงออก
7 ครูจัดสง่ิ แวดล้อมและบรรยากาศท่แี จม่ ใส
8 ครสู ร้างความรสู้ ึกท่ีดีต่อตนเองและผูอ้ ่ืน
9 ครูประเมนิ พัฒนาการของเดก็ โดยรวมและต่อเน่ือง
10 ครูสร้างปฏสิ มั พันธร์ ะหวา่ งครกู ับนักเรยี น นักเรียนกับกลมุ่
11 ครจู ัดกิจกรรมกระตุ้นความคิด จินตนาการ การแสดงออก
12 ครูสรา้ งส่ิงแวดลอ้ มและใช้สื่อกระตุน้ การเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง
13 ครเู ชื่อมโยงประสบการณก์ ับชีวติ จริง
14 ครูใชภ้ าษาชดั เจนถูกต้อง
15 ครูใช้เทคนคิ การตัง้ คาถาม สนทนา อธิบาย
16 ครปู ลุกเรา้ ความสนใจใฝุรู้
17 ครสู ่งเสริมความคงทนและการถ่ายโอนการเรยี นรู้
18 ครจู ัดกิจกรรมเน้นการฝึกปฏิบตั ิ
19 ครฝู ึกการถาม - ตอบตรงประเด็น
20 ครูสร้างสถานการณ์ตัวอย่าง ปัญหาสถานการณ์ที่เหมาะสมกับวัยและ
กระต้นุ ความคดิ
21 ครูกระตุ้นใหน้ กั เรยี นหาคาตอบ สาธิตตามข้นั ตอน
22 ครใู ชต้ วั อยา่ งการกาหนดสิง่ ทต่ี อ้ งปฏบิ ัติ
23 ครูใชเ้ ทคนิคการแบง่ งานและการทางานกลมุ่
24 ครูบอกเลา่ และอธิบายให้เดก็ เกิดแรงดลใจ
25 ครใู ชส้ ่อื และจดั ส่ิงแวดล้อม สร้างสรรค์ เสียง รูปร่าง และการเคลอ่ื นไหว

45

26 ครูแสดงต้นแบบทด่ี ี
27 ครูฝกึ การปฏบิ ัตซิ า้ ๆ
28 ครูส่งเสรมิ การคน้ พบวธิ กี ารของตนเอง เสริมแรง และเสริมความสามารถ
29 ครจู ดั สถานการณ์ใหเ้ ดก็ ไดแ้ สดงออก
30 ครรู ับฟังความคิดเหน็ และการแสดงออกของนักเรียน
31 ครจู ดั สถานการณจ์ าลองใหน้ กั เรียนใชห้ ลกั คณุ ธรรมแกป้ ัญหา
32 ครูจัดกจิ กรรม เกม และเพลงแฝงสาระ และแงค่ ดิ ทางคณุ ธรรม
33 ครฝู กึ ฝนมารยาท และการใช้วาจาตามวฒั นธรรมไทย
34 ครสู ังเกตการทางานของนกั เรียน
35 ครฝู ึกการทางานท่ีละเอียดประณตี
36 ครูสังเกตรปู แบบและวธิ กี ารแสดงออกของนักเรียน
37 ครสู ังเกตปญั หาของนักเรยี น และแนวทางแกไ้ ข
38 ครูเอาใจใสน่ กั เรียนเปน็ รายบุคคล
39 ครจู ดั กิจกรรมการเรียนรนู้ อกสถานที่
จากเอกสาร และแนวคิดท่ีเก่ียวข้อง สรุปได้ว่า พฤติกรรมการจัดกิจกรรมการ
เรยี นรู้ที่เน้นผูเ้ รียนเปน็ สาคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับผู้เรียนตาม
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษาค้นคว้า
ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ตามความถนัด ความสนใจ ด้วยวิธีการ
ศึกษาจากแหล่งเรยี นรทู้ หี่ ลากหลาย เช่อื มโยงกบั ชีวติ จริงทั้งใน และนอกหอ้ งเรียน มีการวัดผล
ประเมินผลตามสภาพจริง ทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานหลักสูตรที่กาหนด
ครูผู้สอนต้องปรับพฤติกรรมของตน เพ่อื เน้นให้ผูเ้ รียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้มากกว่าการ
เรียนรู้แบบทอ่ งจา ตอ้ งเปน็ ผู้อานวยความสะดวก จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความสนใจ
ของผู้เรยี น วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเนน้ ถึงความแตกตา่ งระหวา่ งบุคคล

2.4 ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นของผเู้ รยี น

2.4.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสามารถของผู้เรียนในด้านต่างๆ ซึ่งเกิดจากที่
ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน โดยครูผู้สอนต้องศึกษา
แนวทางในการวดั ผลประเมนิ ผล การสร้างเครอื่ งมือวัดใหม้ ีคณุ ภาพนนั้ ได้มีผใู้ ห้ความหมายของ
ผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนไว้ ดงั น้ี

46

สมพร เชือ้ พนั ธ์ (2547) สรปุ วา่ ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นวชิ าคณิตศาสตร์ หมายถึง
ความสามารถ ความสาเรจ็ และสมรรถภาพดา้ นต่างๆ ของผูเ้ รียนท่ีได้จากการเรยี นรู้อันเป็นผลมา
จากการเรียนการสอน การฝึกฝนหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซ่ึงสามารถวัดได้จากการ
ทดสอบด้วยวิธกี ารต่างๆ

ปราณี กองจินดา (2549) กล่าวไว้ว่า ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน หมายถึง
ความสามารถหรอื ผลสาเร็จทไ่ี ด้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปล่ียนแปลงพฤติกรรม
และประสบการณ์เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จาแนก
ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นไวต้ ามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกตา่ งกนั

ไอแซงค์ อาโนลด์ และไมลี (อ้างถึงใน ปริยทิพย์ บุญคง, 2546) ให้ความหมาย
ของคาว่า ผลสัมฤทธ์ิ หมายถึง ขนาดของความสาเร็จที่ได้จากการทางานที่ต้องอาศัยความ
พยายามอย่างมาก ซ่งึ เปน็ ผลมาจากการกระทาทตี่ ้องอาศัยทั้งความสามารถทั้งทางร่างกายและ
ทางสตปิ ัญญา ดังน้นั ผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนจงึ เป็นขนาดของความสาเร็จท่ีได้จากการเรียนโดย
อาศยั ความสามารถเฉพาะตัวบุคคล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอาจได้จากกระบวนการที่ไม่
ต้องอาศัยการทดสอบ เชน่ การสังเกต หรือการตรวจการบ้าน หรืออาจได้ในรูปของเกรดจาก
โรงเรยี น ซ่ึงตอ้ งอาศัยกระบวนการทซ่ี ับซอ้ น และระยะเวลานานพอสมควร หรืออาจได้จากการวัด
แบบวัดผลสัมฤทธิท์ างการเรียนท่ัวไป

พมิ พนั ธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดสี ขุ (2548) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หมายถึง ขนาดของความสาเร็จที่ไดจ้ ากกระบวนการเรยี นการสอน

สทุ ธภา บุญแซม (2553) กล่าวว่า ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี น หมายถึง ผลที่เกิดจาก
กระบวนการเรียนการสอนท่ีจะทาให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสามารถวัดได้
โดยการแสดงออกทง้ั 3 ดา้ น คือ ด้านพุทธิพสิ ัย ด้านจติ พสิ ัย และดา้ นทกั ษะพสิ ยั

สรุ ชัย ขวญั เมอื ง (2532 : 232) ได้ใหค้ วามหมาย ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนไว้ว่า หมายถงึ
ความรู้ที่ไดร้ ับจากการสอนหรอื ทักษะทีไ่ ด้พัฒนาข้ึนมาตามลาดับขั้นในวชิ าต่างๆ ท่ีได้เรยี น
มาแล้วในสถานศกึ ษา และการทค่ี รทู ราบวา่ เดก็ ไดม้ คี วามรหู้ รือทกั ษะวชิ าต่างๆ เพ่มิ ข้นึ เพยี งใด
ก็จาเปน็ ท่จี ะตอ้ งอาศัยเครอื่ งมอื ในการวดั ผลการศึกษาเข้ามาช่วย สาหรับเครอื่ งมือท่ีสามารถ
ใช้ได้งา่ ยและสะดวกทส่ี ุด ได้แก่ การทดสอบซึง่ เราอาจทดสอบโดยใชแ้ บบทดสอบหรอื ทดสอบ
ด้านการปฏบิ ัติ

บุญชม ศรีสะอาด (2537: 68) ได้ให้ความหมาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี น หมายถึง ผลที่
เกดิ ขน้ึ จากการค้นคว้า การอบรม การส่ังสอน หรือประสบการณ์ต่างๆ รวมถึงความร้สู กึ ค่านิยม
จริยธรรมตา่ งๆ ท่เี ปน็ ผลมาจาการฝึกสอน

47

ศริ ิชยั กาญจนวาสี(2544 : 124-125) ได้ให้ความหมาย ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนว่า
หมายถงึ การที่ผู้เรยี นเกิดการเรียนรเู้ มอ่ื มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณ หรอื คุณภาพของความรู้
ความสามารถ พฤติกรรมหรอื ลักษณะจติ ใจ ถา้ การเปลย่ี นแปลงเป็นไปในทศิ ทางทพี่ ึงประสงค์
ตามจดุ มุ่งหมายอนั เปน็ ผลมาจากประสบการณ์การเรยี นการสอนท่คี รผู สู้ อนจัดข้นึ เพื่อการเรียนรู้
นั้นสงิ่ ทีม่ ่งุ วัดจึงเป็นส่ิงท่ีผเู้ รยี นได้เรยี นรู้ภายใต้สถานการณท์ ีก่ าหนดขนึ้ ซ่งึ อาจเปน็ ความรู้ หรือ
ทักษะบางอย่าง (สว่ นใหญจ่ ะเน้นทกั ษะทางสมอง หรือความคดิ ) อันบ่งบอกถงึ สถานภาพของ
การเรยี นรูท้ ผี่ า่ นมา หรือสภาพการเรยี นรู้ที่บคุ ลน้ันไดร้ บั

สมหวงั พธิ ยิ านุวฒั น์ (2547 : 71) ไดใ้ ห้ความหมาย ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวา่ หมายถึง
ผลท่ีเกิดจากการสอนหรอื กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤตกิ รรม ซ่ึงแสดงออกมา 3 ดา้ น ไดแ้ ก่
ดา้ นพุทธพิ ิสยั ดา้ นจิตพิสัย และดา้ นทกั ษะพสิ ัย

ดังน้ันจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดจากกระบวนการ
เรียนรทู้ จี่ ะทาใหผ้ ู้เรียนเกิดการเปล่ียนแปลงพฤติกรรม และสามารถวัดได้โดยการแสดงออกมา
ท้ัง 3 ดา้ น คือ ดา้ นพทุ ธิพสิ ยั ดา้ นจิตพิสยั และด้านทักษะพิสยั

2.4.2 องคป์ ระกอบทม่ี ีอทิ ธพิ ลตอ่ ผลสัมฤทธท์ิ างการเรียน
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สิ่งที่ครูผู้สอนต้องการ คือ ทาให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ในส่ิงท่ีเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้มากที่สุด ซึ่งองค์ประกอบที่มีอิทธิ พลต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมีหลายประการ กล่าวคือ ตัวแปรท่ีมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียนไม่ไดข้ ้ึนอยกู่ บั สติปญั ญาเพียงอยา่ งเดยี ว แตจ่ ะข้ึนอยูก่ บั ตัวแปรอื่นๆ ดังนี้

1 พฤติกรรมดา้ นความรู้ ความคดิ หมายถึง ความสามารถท้ังหลายของผู้เรียน
ซง่ึ ประกอบด้วยความถนัดและพ้นื ฐานเดิมของผูเ้ รยี น

2 คุณลักษณะด้านจิตพิสัย หมายถึง สภาพการณ์หรือแรงจูงใจที่จะทาให้
ผเู้ รยี น เกดิ การเรียนรู้ใหม่ ไดแ้ ก่ ความสนใจ ทศั นคตติ ่อเนื้อหาวิชาที่เรียนในสถานศึกษาและ
ระบบการเรียนรู้ ความคดิ เหน็ เกีย่ วกับตนเอง ลกั ษณะบคุ ลิกภาพ

3 คุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การได้รับการแนะนา การมีส่วน
รว่ มในกจิ กรรมการเรยี นรู้ การเสรมิ แรงจากครูผูส้ อน การแก้ไขขอ้ ผิดพลาด และรู้ผลว่าตนเอง
กระทาไดถ้ กู ตอ้ งหรอื ไม่

ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เป็นเรื่องที่นักวิชาการให้ความสนใจมาโดยตลอดจึง
พยายามศึกษาองค์ประกอบท่ีมีส่วนสัมพันธ์กับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของผู้เรียนเพ่ือเป็น
แนวทางในการส่งเสริมการใช้ความสามารถและศักยภาพมีอยู่ในตนเองให้เกิดการเรียนรู้ให้มาก
ที่สุด มีผู้กลา่ วถึงองคป์ ระกอบท่ีมีอิทธิพลตอ่ ผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนดังน้ี

48

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (อ้างถึงใน น้าเพชร สินทอง, 2541) ได้
กล่าวถงึ องคป์ ระกอบต่างๆ ทีม่ ีอิทธพิ ลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ว่า ต้ังแต่เด็กเกิดมา และ
เจริญเติบโตในครอบครวั จนกระทั่งเข้าสู่วัยเรียน ได้แก่ คุณลักษณะของนักเรียน คุณภาพการ
จัดการเรยี นในโรงเรยี น ความสามารถตดิ ตัวมาแตก่ าเนิดและภมู หิ ลังของครอบครัว

สุภาพรรณ โคตรจรัส (อา้ งถงึ ใน น้าเพชร สนิ ทอง, 2541) กลา่ วว่าองค์ประกอบที่มี
อทิ ธิพลต่อผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นนนั้ แบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท คือ

องค์ประกอบด้านคุณลักษณะเดียวกับตัวผู้เรียน ได้แก่ เชาวน์ปัญญา ความ
ถนดั ความรู้พ้ืนฐานหรือความรู้เดิมของผู้เรียน และอารมณ์ เป็นแรงจูงใจความสนใจ ทัศนคติ
และนสิ ัยในการเรียน ความนกึ คิดเกี่ยวกบั ตนเอง ตลอดจนการปรับตวั และบคุ ลกิ ภาพอืน่ ๆ

องค์ประกอบทางสภาพแวดลอ้ ม สิ่งแวดลอ้ มทางครอบครวั ฐานะทางเศรษฐกิจ
ท่ีอย่อู าศยั ความคาดหวงั ของบดิ ามารดา

Prescott (อ้างถึงใน น้าเพชร สนิ ทอง, 2541) ไดก้ ลา่ วถึง องค์ประกอบท่ีมีอิทธิพล
ตอ่ ผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี น พอสรปุ ได้ดังน้ี

องค์ประกอบทางร่างกายได้แก่ การเจริญเติบโตของร่างกาย สุขภาพ
ขอ้ บกพร่อง และลกั ษณะท่าทางของร่างกาย

องค์ประกอบทางความรัก ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบิดา มารดา
ความสัมพันธร์ ะหว่างบิดา มารดากับบุตร ความสัมพนั ธ์ระหว่างบตุ รและสมาชิกในครอบครัว

องค์ประกอบทางวัฒนธรรมและส่ิงแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความ
เป็นอยู่ของครอบครัว สภาพแวดลอ้ ม การอบรมเลีย้ งดูของผู้ปกครอง และฐานะทางเศรษฐกิจ

องคป์ ระกอบด้านความสัมพันธ์กับเพอ่ื นๆ ในวยั เดียวกัน
องค์ประกอบทางการพัฒนาแห่งตน ได้แก่ ด้านสติปัญญา ด้านความ
สนใจ ดา้ นเจตคติและแรงจงู ใจ
องคป์ ระกอบทางดา้ นการปรับตัว คอื การปรบั ตัวและการแสดงอารมณ์
Gagne (อ้างถึงใน น้าเพชร สินทอง, 2541) ได้กล่าวว่า อิทธิพลที่มีผลต่อการ
เรียนรู้ ได้แก่ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ตามที่ยอมรับกันว่า สติปัญญาของคนได้รับการ
ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม แต่ยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นแทรกเข้ามาเก่ียวข้อง
ด้วย เช่น ประสบการณ์การเรียนรู้ ความสนใจ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมท่ีเป็นบุคคลท่ีได้รับจาก
การเรียนรู้ สังคมและเศรษฐกจิ
จากแนวคิดต่างๆ สรุปได้ว่า องค์ประกอบท่ีมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของผู้เรยี นจะตอ้ งประกอบด้วย ตวั ผเู้ รียน เช่น เชาวน์ปัญญา ความถนัด ความรู้พื้นฐานทาง
อารมณ์ แรงจงู ใจ ทศั นคติ ความสนใจ บุคลิกภาพ และองค์ประกอบทางด้านแวดล้อม เช่น


Click to View FlipBook Version