The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัย รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by acroniss3435, 2023-02-14 23:14:43

วิจัย รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษา

วิจัย รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษา

วิจั วิ ย จั รูปแบบการพัฒพันาครู เพื่อ พื่ การจัดจัการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นขั้พื้น พื้ ฐานอย่า ย่ งมีคุ มี ณ คุ ภาพ นางวารณี วิชัวิย ชั ศิริ ผู้อำผู้ อำ นวยการ กศน.อำ เภอภูก ภู ามยาว กศน.อำ เภอภูก ภู ามยาว สังสักัด สำ นักนังาน กศน.จังจัหวัดวัพะเยา


ก คำนำ การจัดทำรายงานการวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอภูกามยาว โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ PDCA มาปรับใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ครู กศน.ตำบล จำนวน 4 คน และครูผู้สอนคนพิการ จำนวน 1 คน ให้สามารถจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างมีคุณภาพ เหมาะสม และสอดคล้องกับบริบท ในพื้นที่ รวมถึงเพื่อยกระดับคุณภาพของครูให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยในครั้งนี้ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา คณะครูบุคลากร รวมถึงผู้เรียน ผู้รับบริการและผู้ที่สนใจได้ศึกษา ทั้งนี้ขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านในการจัดทำวิจัย ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นางวารณี วิชัยศิริ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอภูกามยาว


ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ความเป็นมาของงานวิจัย 1 วัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 วิธีดำเนินการวิจัย 2 ขอบเขตของการวิจัย 2 กรอบแนวคิดในการวิจัย 4 นิยามศัพท์เฉพาะ 5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5 ผลการศึกษา 6 ตารางแสดงเครื่องมือ PDCA 7 ผลการประเมินการใช้รูปแบบพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบฯ 9 สรุปบทเรียนการดำเนินงานการใช้รูปแบบพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบฯ 11 ข้อเสนอแนะ 12 ภาคผนวก 13


รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว โดย นางวารณี วิชัยศิริ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ


1 ชื่องานวิจัย : รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว ชื่อผู้วิจัย : นางวารณี วิชัยศิริ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอภูกามยาว ความเป็นมาของงานวิจัย ด้วย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว สังกัด สำนักงาน กศน. เป็น หน่วยงานที่มีภารกิจในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตระหนักถึงความสำคัญของการ พัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ได้มุ่งมั่นขับเคลื่อนภารกิจหลักตามแผนพัฒนาประเทศ และนโยบายการจัดการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ และได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาครูผู้ทำหน้าที่จัดกิจกรรม และอำนวยการจัดการการ เรียนรู้ในแต่ละพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ในทุกมิติ ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาครูเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มี คุณภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น ซึ่งจะต้องหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทในแต่ละ พื้นที่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว จึงได้ศึกษารูปแบบการพัฒนาครู เพื่อการจัดการ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว ขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพของครูให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และคุณภาพของงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลยิ่งขึ้นไป


2 วัตถุประสงค์ในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1. ศึกษารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมี คุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว 2. ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภู กามยาว 3. ถอดบทเรียนการดำเนินงานการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอภูกามยาว วิธีดำเนินการวิจัย ดำเนินการวิจัย โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จัดเวทีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู และผู้บริหารสถานศึกษา การทำแบบสำรวจ และการทำแบบประเมิน ซึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับการสำรวจความพึงพอใจในการนำรูปแบบการขับเคลื่อนด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) รวมถึง การสำรวจความต้องการในด้านการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ของคณะครู เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของครูที่ สอดคล้องกับความต้องการที่สำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าความถี่ และค่าเฉลี่ย ขอบเขตของการวิจัย 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ภูกามยาว โดยการวิเคราะห์ SWOT และดำเนินการตามวงจรคุณภาพ (PDCA)


3 2. ขอบเขตด้านประชากรกลุ่มเป้าหมาย ประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1. ครู กศน. ตำบล จำนวน 4 คน 2. ครู ผู้สอนคนพิการ จำนวน 1 คน 3. ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ภูกามยาว 4. ขอบเขตด้านระยะเวลา ระยะเวลาในการดำเนินการ เดือน ตุลาคม 2564 ถึง เดือน กันยายน 2565 (ปีงบประมาณ 2565) 1. ศึกษารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมี คุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว เดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2564 2. ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว เดือน มกราคม - มิถุนายน 2565 3. ถอดบทเรียนการดำเนินงานการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอภูกามยาว เดือน กรกฎาคม – สิงหาคม 2565 นำผลที่ได้จากการวิจัยมาสรุป และจัดทำรายงานรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอก ระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอภูกามยาว เดือน กันยายน 2565


4 กรอบแนวคิดในการวิจัย รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมี คุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค SWOT Analysis ประเมินผลการใช้ รูปแบบการพัฒนาครู รูปแบบการพัฒนาครู ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA ถอดบทเรียนการดำเนินการ ใช้รูปแบบการพัฒนาครู รูปแบบการพัฒนาครู ผลที่ได้จากการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครู ประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วน ร่วม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง


5 นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ครู หมายถึง ผู้ทำหน้าที่จัดกิจกรรม หรือ อำนวยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา ใน ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมไปถึง นักศึกษาผู้พิการ ในแต่ละตำบลใน สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว 2. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว หมายถึง หน่วยงานการจัด การศึกษาให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอภูกามยาว ตามความหมาย พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ได้ให้ความหมาย การศึกษานอกระบบและการศึกตามอัธยาศัยในมาตรา 4 ไว้ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ.2551:3-4) 2.1 การศึกนอกระบบ หมายความว่า กิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย ตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้นและมีวิธีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ที่ มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษาหรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้ 2.2 การศึกษาตามอัธยาศัย หมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิติประจำวันของบุคคล ซึ่งบุคคล สามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่าต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และ ศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล 3. การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนด จุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลา ของการศึกษา การวัดและประเมินผล ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว 2. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว 3. สรุปบทเรียนการดำเนินงานการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ภูกามยาว


6 ผลการศึกษา พบว่า 1. การศึกษารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมี คุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว โดยการประชุมเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จัดเวทีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู และผู้บริหารสถานศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1.1 ร่วมทบทวนสำรวจศักยภาพตนเอง 1) การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) 2) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ โดยใช้เครื่องมือ SWOT Matrix หรือ TOWS Matrix 3) กำหนดกลยุทธ์ โครงการ / กิจกรรม เพื่อดำเนินการ 1.2 ร่วมกำหนดกิจกรรมการพัฒนา 1.3 ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ 1.4 ร่วมทบทวนกลไกการประกันคุณภาพ 1.5 ร่วมเสริมแรงเพิ่มพลัง 1.6 ร่วมกันเรียนรู้และต่อยอดการพัฒนา


ตาราง แสดงเครื่องมือ PDCA ที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อ กลไกการพัฒนารูปแบบ การปฏิบัติ ปัญหา/อุปสรรค ดำ Plan การเตรียมการ / การ วางแผนการในการใช้ รูปแบบ -การประชุมวางแผนการ ดำเนินงาน -การกำหนดผู้รับผิดชอบ -การสร้างความรู้ความเข้าใจ -การเตรียมกิจกรรมพัฒนา -การเตรียมสื่อ/อุปกรณ์ -วิทยากร -สิ่งอำนวยความสะดวก Do วิธีการ / องค์ประกอบ / การดำเนินกิจกรรม -เป็นไปตามแผน / กลยุทธ์ -เป็นไปตามองค์ประกอบ -เป็นไปตามวิธีการ / ขั้นตอน


7 การจัดการ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ การแก้ไขที่ ดำเนินการแล้ว ผลการดำเนินงาน/ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะ/ สรุปบทเรียน


ตาราง แสดงเครื่องมือ PDCA ที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจั กลไกการพัฒนารูปแบบ การปฏิบัติ ปัญหา/อุปสรรค ดำ Check การติดตาม / การ ตรวจสอบ -ตรวจสอบ / ประเมินผล การดำเนินกิจกรรม -สอดคล้องกับวัตถุประสงค์/ แผน/กลยุทธ์ Action การปรับปรุง และ รายงานผล -ถอดบทเรียน / ปรับแผน / วิธีดำเนินการ -Best Practice / Good Practice ที่มา : พัฒนาโดย ผู้วิจัย


8 จัดการ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ (ต่อ) การแก้ไขที่ ดำเนินการแล้ว ผลการดำเนินงาน/ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะ/ สรุปบทเรียน


9 2. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว 2.1 การพัฒนาครู 2.1.1 กระบวนการพัฒนาครู 1) การวางแผน (Plan) พบว่า การวางแผนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.5 แยกเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านการประชุมวางแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.0 ด้านการกำหนดผู้รับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.4 ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 ด้านการเตรียมกิจกรรมพัฒนา อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 ด้านการเตรียมสื่อ/อุปกรณ์ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยนเท่ากับ 4.6 ด้านวิทยากร อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.4 2) การดำเนินการ (Do) พบว่า การดำเนินการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.7 แยกเป็นรายด้าน ดังนี้ เป็นไปตามแผน / กลยุทธ์ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 เป็นไป ตามองค์ประกอบ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 และเป็นไปตามวิธีการ / ขั้นตอน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 3) การติดตาม ตรวจสอบ (Check) พบว่า การติดตาม ตรวจสอบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 แยกเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านตรวจสอบ / ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับ มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 และด้านสอดคล้องกับวัตถุประสงค์/แผน/กลยุทธ์ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.6 4) การปรับปรุง การรายงานผล (Action) พบว่า การปรับปรุง การรายงานผล โดยภาพรวมอยู่ ในระดับปานกลาง คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.9 แยกเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านถอดบทเรียน / ปรับแผน /ปรับ วิธีดำเนินการ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.8 และด้านBest Practice / Good Practice อยู่ใน ระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.0 2.1.2 ปัจจัย / เงื่อนไขที่เอื้อต่อความสำเร็จของการใช้รูปแบบพัฒนาครู 1) ครูพบว่า โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 แยกได้ดังนี้ ด้านมีความรู้ / ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 ด้านเจตคติอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 ด้านคุณลักษณะที่เอื้อต่อความพร้อมรับการ เปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 และด้านการใฝ่รู้อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8


10 2) ผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 แยกได้ดังนี้ พบว่า ด้านวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 ด้านความตั้งใจ / มุ่งมั่น / ความพยายาม อยู่ใน ระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.0 ด้านภาวะผู้นำในส่วนของการจูงใจ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.0 ด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 ด้านการประสานงาน อยู่ใน ระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 ด้านการตัดสินใจ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 ด้านการเป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 ด้านความรู้สู่ความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.0 และด้านเจตคติ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.0 3) กรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.3 แยกได้ ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 และด้านความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.0 4) ชุมชน / ปราชญ์ชาวบ้าน พบกว่า โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.4 แยกได้ดังนี้ด้านการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 และด้านการสนับสนุนช่วยเหลือทาง วิชาการ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 5) บริบทการทำงาน พบกว่า โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 แยกได้ดังนี้ นโยบาย / โครงสร้าง / แผนงาน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 ด้านวัฒนธรรมองค์กร อยู่ในระดับ มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8ด้านความสัมพันธ์ของคนในองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุดคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.0 และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 6) แหล่งเรียนรู้ในชุมชน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 แยกได้ ดังนี้ จำนวนแหล่งเรียนรู้ในชุมชน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 และด้านการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ใน ชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.8


11 3. สรุปบทเรียนการดำเนินงานการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ภูกามยาว 3.1 การทำงานเป็นกลุ่ม เมื่อนำวงจรคุณภาพ PDCA มาปรับใช้ในกระบวนการขับเคลื่อนและพัฒนาครูเพื่อการจัดการ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คณะครูของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอภูกามยาวเกิดวัฒนธรรมการทำงานเป็นกลุ่ม ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยเป้าหมายเดียวกัน รวม ไปถึง การเรียนรู้การดำเนินงานจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ที่แตกต่างระหว่างการทำงาน ร่วมกัน 3.2 การเรียนรู้ร่วมกัน เมื่อนำวงจรคุณภาพ PDCA มาปรับใช้ในกระบวนการขับเคลื่อนและพัฒนาครูเพื่อการจัดการ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คณะครูของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอภูกามยาว เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นวงจรการจัดการความรู้ (KM) กล่าวคือ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานร่วมกัน 3.3 กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เมื่อนำวงจรคุณภาพ PDCA มาปรับใช้ในกระบวนการขับเคลื่อนและพัฒนาครูเพื่อการจัดการ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คณะครูของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอภูกามยาวเกิดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ร่วมกัน 3.4 กลไกการประกันคุณภาพในฐานะเครื่องมือสำคัญของการพัฒนา เมื่อนำวงจรคุณภาพ PDCA มาปรับใช้ในกระบวนการขับเคลื่อนและพัฒนาครูเพื่อการจัดการ การศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คณะครูของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอภูกามยาว เกิดกระบวนการดำเนินงานตามกลไกการประกันคุณภาพตามวงจรคุณภาพ PDCA ซึ่งถือเป็น เครื่องมือสำคัญในการพัฒนางานในทุกมิติ


12 4. ข้อเสนอแนะ 4.1 ระดับนโยบาย 1) บุคลากรในหน่วยงานสามารถประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในการขับเคลื่อนงานสู่คุณภาพที่สูงขึ้น เพื่อ นำไปสู่การขับเคลื่อนทั้งองค์กร 2) การนำกระบวนการ PDCA ปรับใช้ในการจัดกิจกรรม / อำนวยการ จัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน สามารถ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพที่ดี 4.2 ระดับปฏิบัติการ 1) การนำวงจรคุณภาพ PDCA มาปรับใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน จะทำให้เกิดความรอบคอบ มีการ ไตร่ตรอง มีการวางแผนก่อนการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้จริง ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ ดำเนินงาน 2) การนำวงจรคุณภาพ PDCA มาปรับใช้ในการดำเนินงาน สามารถแก้ปัญหา หรือ พัฒนา ได้ตรงจุด 4.3 การเผยแพร่ขยายผล 1) ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ควรได้รับความรู้อย่างต่อเนื่อง


13 ภาคผนวก


14 ตารางผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอภูกามยาว ระดับคะแนนเฉลี่ย ระดับ 5 5.00 = มากที่สุด ระดับ 4 4.00 – 4.99 = มาก ระดับ 3 3.00 – 3.99 = ปานกลาง ระดับ 2 2.00 – 2.99 = น้อย ระดับ 1 1.00 – 1.99 = น้อยที่สุด ด้านการพัฒนาครู ประเด็นการพิจารณา เกณฑ์ประเมิน ค่าเฉลี่ย 1. กระบวนการพัฒนาครู 1.1 ด้านการวางแผน (Plan) 1.1.1 การประชุมวางแผนการดำเนินงาน 5.0 1.1.2 การกำหนดผู้รับผิดชอบ 4.4 1.1.3 การสร้างความรู้ความเข้าใจ 4.6 1.1.4 การเตรียมกิจกรรมพัฒนา 4.2 1.1.5 การเตรียมสื่อ/อุปกรณ์ 4.6 1.1.6 วิทยากร 4.6 1.1.7 สิ่งอำนวยความสะดวก 4.4 รวม 4.5 1.2 ด้านการดำเนินการ (Do) 1.2.1 เป็นไปตามแผน / กลยุทธ์ 4.8 1.2.2 เป็นไปตามองค์ประกอบ 4.6 1.2.3 เป็นไปตามวิธีการ / ขั้นตอน 4.6 รวม 4.7


15 ประเด็นการพิจารณา เกณฑ์ประเมิน ค่าเฉลี่ย 1.3 ด้านการติดตาม ตรวจสอบ (Check) 1.3.1 ตรวจสอบ / ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม 4.6 1.3.2 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์/แผน/กลยุทธ์ 4.6 รวม 4.6 1.4 ด้านการปรับปรุง การรายงานผล (Action) 1.4.1 ถอดบทเรียน / ปรับแผน /ปรับวิธีดำเนินการ 3.8 1.4.2 Best Practice / Good Practice 4.0 รวม 3.9 2. ปัจจัย / เงื่อนไขที่เอื้อต่อความสำเร็จของการใช้รูปแบบพัฒนา ครู 2.1 ครู 2.1.1 มีความรู้ / ความเข้าใจ 4.8 2.1.2 เจตคติ 4.6 2.1.3 การมีส่วนร่วม 4.8 2.1.4 คุณลักษณะที่เอื้อต่อความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 4.2 2.1.5 การใฝ่รู้ 4.8 รวม 4.6 2.2 ผู้บริหารสถานศึกษา 2.2.1 วิสัยทัศน์ 4.8 2.2.2 ความตั้งใจ / มุ่งมั่น / ความพยายาม 5.0 2.2.3 ภาวะผู้นำในส่วนของการจูงใจ 5.0 2.2.4 การสื่อสาร 4.6 2.2.5 การประสานงาน 4.8 2.2.6 การตัดสินใจ 4.8 2.2.7 การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 4.6 2.2.8 ความรู้สู่ความสำเร็จ 5.0


16 ประเด็นการพิจารณา เกณฑ์ประเมิน ค่าเฉลี่ย 2.2.9 เจตคติ 5.0 รวม 4.8 2.3 กรรมการสถานศึกษา 2.3.1 การมีส่วนร่วม 4.6 2.3.2 ความรู้ความเข้าใจ 4.0 รวม 4.3 2.4 ชุมชน / ปราชญ์ชาวบ้าน 2.4.1 การมีส่วนร่วม 4.6 2.4.2 การสนับสนุนช่วยเหลือทางวิชาการ 4.2 รวม 4.4 2.5 บริบทการทำงาน 2.5.1 นโยบาย / โครงสร้าง / แผนงาน 4.8 2.5.2 วัฒนธรรมองค์กร 4.8 2.5.3 ความสัมพันธ์ของคนในองค์กร 5.0 2.5.4 สิ่งอำนวยความสะดวก 4.6 รวม 4.8 2.6 แหล่งเรียนรู้ในชุมชน 2.6.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 4.6 2.6.2 การเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 3.8 รวม 4.2 รวมค่าเฉลี่ย 4.48


16


Click to View FlipBook Version