The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ใบความรู้ ที่ 1 ทัศนศิลป์สากล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by acroniss3435, 2021-11-19 02:41:41

ใบความรู้ ที่ 1 ทัศนศิลป์สากล

ใบความรู้ ที่ 1 ทัศนศิลป์สากล

ใบความร้ทู ี่ 1
เรือ่ ง ทัศนศิลป์สากล

ความหมาย
การวเิ คราะหง์ านศิลปะ หมายถงึ การพจิ ารณาแยกแยะศึกษาองค์ประกอบของผลงานศลิ ปะออกเป็น

สว่ นๆ ทีละประเดน็ ทงั้ ในดา้ นทัศนธาตุ องคป์ ระกอบศลิ ป์ และความสมั พันธต์ ่างๆ ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการ
สร้างสรรคผ์ ลงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ มาประเมินผลงานศิลปะ แต่ละชิ้นว่ามีคุณคา่ ทางด้านความงาม ทางด้าน
สาระ และทางด้านอารมณ์ และความรสู้ กึ อยา่ งไร

การวิจารณ์งานศิลปะ หมายถึง การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นต่อผลงานทางศิลปะที่ศิลปิน
สร้างสรรค์ขึ้น โดยผู้วิจารณ์ให้ความคิดเห็นตามหลักเกณฑ์และหลักการของศิลปะ ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์
และสาระอื่นๆ ด้วยการตชิ มเพ่อื ให้ไดข้ อ้ คดิ นำไปปรับปรงุ พฒั นาผลงานศลิ ปะ หรอื ใชเ้ ปน็ ขอ้ มลู ในการประเมิน
ตดั สนิ ผลงาน เปรียบเทียบให้เห็นคณุ ค่าในผลงานศลิ ปะช้ินนั้น ๆ

คณุ สมบตั ิของนกั วิจารณ์
1. ควรมคี วามรเู้ ก่ียวกบั ศลิ ปะท้งั ศิลปะประจำชาตแิ ละศลิ ปะสากล
2. ควรมีความรูเ้ กีย่ วกับประวัติศาสตรศ์ ิลปะ
3. ควรมีความรเู้ กีย่ วกบั สุนทรยี ศาสตร์ ช่วยให้รแู้ ง่มุมของความงาม
4. ตอ้ งมีวิสัยทศั นก์ ว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอน่ื
5. กลา้ ท่จี ะแสดงออกท้ังทเี่ ป็นไปตามหลักวชิ าการและตามความรสู้ กึ และประสบการณ์

ทฤษฎกี ารสร้างงานศลิ ปะ จัดเปน็ 4 ลักษณะ ดงั น้ี
1. นิยมการเลียนแบบ (Imitationalism Theory) เป็นการเห็นความงามในธรรมชาติแล้วเลียนแบบไว้ให้
เหมือนทงั้ รปู รา่ ง รปู ทรง สสี ัน ฯลฯ
2. นิยมสร้างรูปทรงที่สวยงาม (Formalism Theory) เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ให้สวยงามด้วยทัศน
ธาตุ (เส้น รูปร่าง รปู ทรง สี น้ำหนัก พนื้ ผวิ บรเิ วณว่าง) และเทคนิควธิ ีการตา่ งๆ
3. นิยมแสดงอารมณ์ (Emotional Theory) เป็นการสร้างงานให้ดูมีความรู้สึกต่างๆ ทั้งที่เป็นอารมณ์อัน
เนื่องมาจากเร่ืองราวและอารมณ์ของศลิ ปนิ ที่ถา่ ยทอดลงไปในช้นิ งาน
4. นิยมแสดงจินตนาการ (Imagination Theory) เป็นงานที่แสดงภาพจินตนาการ แสดงความคิดฝันท่ี
แตกต่างไปจากธรรมชาติและสิ่งทพ่ี บเหน็ อยู่เปน็ ประจำ
แนวทางการวิเคราะห์และประเมนิ คุณค่าของงานศลิ ปะ

การวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะโดยท่ัวไปจะพจิ ารณาจาก 3 ด้าน ไดแ้ ก่
1. ดา้ นความงาม

เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านทักษะฝีมือ การใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ และการจัด
องค์ประกอบศิลป์ว่าผลงานชิ้นนี้แสดงออกทางความงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสมสวยงามและส่งผลต่อผู้ดู
ให้เกิดความชื่นชมในสุนทรียภาพเพียงใด ลักษณะการแสดงออกทางความงามของศิลปะจะมีหลากหลาย
แตกต่างกนั ออกไปตามรูปแบบของยุคสมยั ผู้วเิ คราะห์และประเมนิ คุณคา่ จึงต้องศึกษาใหม้ ีความรู้ ความเข้าใจ
ทางดา้ นศิลปะให้มากทสี่ ดุ
2. ด้านสาระ

การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะแต่ละชิ้นว่ามีลักษณะส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
ตลอดจนจุดประสงค์ต่างๆ ทางจิตวิทยาว่าให้สาระอะไรกับผู้ชมบา้ ง ซึ่งอาจเป็นสาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สังคม
ศาสนา การเมือง ปญั ญา ความคิด จินตนาการ และความฝัน
3. ด้านอารมณ์ความรูส้ ึก

เป็นการคิดวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกและส่ือ
ความหมายได้อย่างลึกซึ้งของผลงาน ซึ่งเป็นผลจากการใช้เทคนิคที่แสดงออกถึงความคิด พลัง ความรู้สึกใน
การสร้างสรรค์ของศลิ ปนิ ทเี่ ป็นผสู้ รา้ ง

ใบความรทู้ ่ี 1.2
เรอื่ ง ความงามตามธรรมชาติ

ธรรมชาติ (Natural) หมายถงึ ส่งิ ท่ปี รากฎให้เห็นตามวฏั จักรของระบบสุรยิ ะ โดยที่มนุษย์มิได้เป็นผู้
สรรคส์ ร้างขึน้ เชน่ กลางวนั กลางคนื เดอื นมืด เดอื นเพ็ญ ภูเขา นำ้ ตก ถือวา่ เป็นธรรมชาติ หรือปรากฎการณ์
ทางธรรมชาติ ดามความหมายทางพจนานุกรมของนักปราชญ์ทางศิลปได้ให้ความหมายอย่างกว้างขวางดงาม
แนวทางหรือทัศนะส่วนตัวไว้ดังนี้ คือ ศิลปะ (ART) คำนี้ ตามแนวสากล มาจากคำว่า ARII และ ARIE ซึ่งเป็น
คำที่นิยมใช้กันในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คำว่า ARII นั้น หมายถึง กลุ่มช่างฝีมือในศตวรรษที่ 14, 15 และ 16
ส่วนคำว่าARTE หมายถึง ฝีมือ ซึ่งรวมถึง ความรู้ของการใช้วัสดุของศิลปินด้วย เช่น การผสมสีสำหรับลงพื้น
การเขียนภาพสีน้ำมัน หรือการเตรียม และการใช้วัสคุอื่น ศิลปะ ดามความหมายของพจนานุกรมไทย ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถานสถาน พ.ศ. 2493 ได้อธิบายไว้ว่าศลิ ป (สิน ละ ป:) น. หมายถึง ฝีมือทางการชา่ ง การแสดง
ออกมาใหป้ รากฏขึน้ ได้อย่างน่าพ่ึงชม และเกดิ อารมณ์สะเทือนใจ ศาสตราจารยศ์ ิลปี พรี ะศรี ให้ความหมายไว้
ว่าศิลปะ หมายถึง งานที่ต้องใช้ความพยายามด้วฝีมือและความคิด เช่น ตัดเสื้อ สร้างเครื่องเรือน ปลูกต้นไม้
เป็นต้น และเมื่อกล่าวถึง งานทางวิจิตรศิลปั (Fine .Arts) หมายถึงงานอันเป็นความพากเพียรของมนุษย์
นอกจากต้องใช้ความพยายามด้วยมือ ด้วยความคิด แล้วต้องมีการพวยพุ่งแหง่ พุทธิปัญญาและจิดออกมาด้วย
(NTELLECTURL AND SPRITUAL EMANATION) ศิลปะ ตามความหมายของพจนากรกุ รมศัพท์ศิลปะอังกฤษ
ไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2530 ได้อธิบายไว้ว่า ARI ศิลปะ คือ ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่
แสดงออกในรูปลักษณ์ด่งๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ตาม
อัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ สนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์
ขนบธรรมเนยี มจารติ ประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา"

องคป์ ระกอบที่สำคัญในงานศิลปะ
1. รูปแบบ (FORM) ในงานศิลปะ หมายถึง รูปร่างลักษณะที่ศิลปินถ่ายทอดออกมาให้ปรากฏเป็น
รูปธรรมในงานศิลปะ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ1.1 รูปแบบธรรมชาติ (NATURAL FORM) ได้แก่ น้ำตก
ภูผา ต้นไม้ ลำธาร กลางวัน กลางคืน ท้องฟ้า ทะเล 1.2 รูปแบบเรขาคณิต (GEOMETRIC FORM) ได้แก่
สเี่ หลี่ยม สามเหลยี่ ม วงกลม ทรงกระบอก 1.3 รปู แบบนามธรรม (ABSTRACT FORM) ได้แก่ รูปแบบทศ่ี ิลปิน
ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง โดยอิสระ หรืออาจตัดทอน (DISTROTION) ธรรมชาติ ให้เหลือเป็นเพียงสัญลักษณ์
(SYMBOL) ที่สื่อความหมายเฉพาะตัวของศิลปินซ่ึงรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น ศิลปินสามารถที่จะเลือกสรร
นำมาสรา้ งเปน็ งานศิลปะ ตามความรสู้ ึกทป่ี ระทับใจหรอื พึงพอใจในสว่ นตวั ของศิลปนิ
2. เนื้อหา (CONTENT) หมายถึง การสะท้อนเรื่องราวลงไปในรูปแบบดังกล่าว เช่น กลางวัน
กลางคืน ความรัก การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และคุณค่าทางการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
เปน็ ตน้

3. เทคนิค (TECHNIQUE) หมายถงึ ขบวนการเลือกสรรวัสดุ ตลอดจนวธิ กี ารสร้างสรรค์ นำมาสร้าง
ศิลปะช้ินนนั้ ๆ เช่น สีน้ำมัน สีชอลก์ สีน้ำ ในงานจติ รกรรม หรือไม้ เหล็ก หนิ ในงานประติมากรรมเป็นตน้

4. สุนทรียศาสตร์(AESTHETICAL ELEMENTS) ซึ่งมี 3 อย่าง คือ ความงาม (BEAUTY) ความ
แปลกหูแปลกตา (PICTURESQUENESS) และความน่าทึ่ง (SUBLIMITY)ซึ่งศิลปกรรมชิ้นหนึ่งอาจมีทั้งความ
งามและความน่าทง่ึ ผสมกันก็ได้ เช่น พระพทุ ธรูปสมยั สโุ ขทัย อาจมที ้งั ความงามและความนา่ ทึง่ รวมอยู่ด้วยกัน
การท่คี นใดคนหน่ึงมสี ุนทรียะธาตุในความสำนึก เรียกวา่ มปี ระสบการณท์ างสุนทรียศาสตร์ (AESTHETHICAL
EXPERIENCE) ซึ่งจะต้องอาศัยการเพาะบ่มทั้งในด้านทฤษฎี ตลอดจนการให้ความสนใจเอาใจใส่รับรู้ต่อการ
เคลื่อนไหวของวงการศิลปะโดยสม่ำเสมอเช่น การชมนิทรรศการที่จัดขึ้นในหอศิลป เป็นต้นเมื่อกล่าวถึง งาน
ศิลปกรรมและองค์ประกอบ ที่สำคัญในงานศิลปะแล้วหากจะย้อนรอยจากความเป็นมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน
แลว้ พอจะแยกประเภทการสรา้ งสรรคข์ องศิลปนิ ออกไดเ้ ป็น 3 กลุม่ ดังน้ี

1. กลุ่มที่ยึดรูปธรรม (REALISTIC) หมายถึง กลุ่มที่ยึดรูปแบบที่เป็นจริงในธรรมชาติมาเป็น
หลักในการสร้างงานศิลปะ สร้างสรรค์ออกมาให้มีลักษณะคล้ายกับกล้องถ่ายภาพ หรือตัดทอนบางสิ่งออก
เพียงเล็กน้อย ซึ่งกลุ่มนี้ได้พยายามแก้ปัญหาให้กับผู้ดูที่ไม่มีประสบการณ์ทางศิลปะ และสามารถสื่อ
ความหมายระหว่างศิลปะกับผู้ดูไดง้ ่ายกวา่ การสรา้ งสรรคผ์ ลงานในลกั ษณะอื่นๆ

2. กลุ่มนามธรรม (ABSTRACT) หมายถึง กลุ่มที่ยึดแนวทางการสร้างงานที่ตรงข้ามกับกลุ่ม
รูปธรรม ซึ่งศิลปินกลุ่มน้ีมุ่งที่จะสร้างรูปทรง (FORM) ขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่อาศัยรูปทรงทางธรรมชาติ หรือหาก
นำธรรมชาติมาเป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ก็จะใช้วิธีลดตัดทอน (DISTORTION) จนในที่สุดจะเหลือแต่
โครงสรา้ งทีเ่ ป็นเพยี งสัญญาลักษณ์ และเชน่ งานศลิ ปะของ มอนเดยี น (MONDIAN)

3. กลุ่มกึ่งนามธรรม (SEMI-ABSTRACT) เป็นกลุ่มอยู่กึ่งกลางระหว่างกลุ่มรูปธรรม
(REALISTIC) และกลุ่มนามธรรม (ABSTRACT) หมายถึง กลุ่มที่สร้างงานทางศิลปะโดยใช้วิธีลดตัดทอน
(DISTORTION) รายละเอียดที่มีในธรรมชาตใิ ห้ปรากฏออกมาเป็นรูปแบบทางศิลปะ เพื่อผลทางองค์ประกอบ
(COMPOSITION) หรือผลของการแสดงออก แต่ยังมีโครงสร้างอันบ่งบอกถึงที่มาแต่ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นผลท่ีผู
เขียนไดกลาวนําในเบื้องตนจากการแบงกลุมการสรางสรรคของศิลปนทั้ง 3 กลุม ที่กลาวมาแลวนั้น มี

นักวิชาการทางศิลปะไดเปรียบเทียบเพื่อความเขาใจ คือ กลุมรูปธรรม (REALISTIC) เปรียบเสมือนการคัด
ลายมือแบบตัวบรรจง กลุ มนามธรรม (ABSTRACT) เปรียบเสมือนลายเซ็น กลุ มกึ่งนามธรรม
(SEMIABSTRACT) เปรียบเสมอื นลายมือหวัด

มนุษยกบั ศิลปะ
หากกลาวถึงผลงานศิลปะทําไมจะตองกลาวถงึ แตเพียงสิ่งที่มนุษยสรางข้ึนมาเทานั้น จอมปลวกรังผ้ึง

หรือรังนกกระจาบ ก็นาที่จะเปนสถาปตยกรรมชิ้นเยี่ยม ที่เกิดจากสัตวตางๆ เหลานั้น หากเราจะมาทําความ
เข้าใจถึงที่มาของการสรางก็พอจะแยกออกไดเปน 2 ประเด็น ประเด็นที่ 1 ทําไมจอมปลวก รังผึ้ง หรือรังนก
กระจาบสรางขึ้นมาจึงไมเรียกวางานศิลปะ ประเด็นที่ 2 ทําไมสิ่งที่มนุษยสรางสรรคขึ้นมาถึงเรียกวา เปน
ศลิ ปะ

จากประเด็นที่ 1 เราพอจะสามารถวิเคราะหถึงสาเหตุที่เราไมเรียกวา เปนผลงานศิลปะเพราะปลวก
ผึ้งและนกกระจาบสรางรงั หรือจอมปลวกขึน้ มาดวยเหตุผลของสัญชาตญาณท่ีตองการความปลอดภัย ซึ่งมีอยู
ในตัวของสัตวทุกชนิด ที่จําเปนตองสรางขึ้นมาเพื่อปองกันภัยจากสัตวรายตางๆ ตลอดจนภัยธรรมชาติ เชน
ฝนตกแดดออก เปนตน หรืออาจตองการความอบอุน สวนเหตผุ ลอีกประการหนึง่ คอื จอมปลวก รังผ้งึ หรือรัง
นกกระจาบนัน้ ไมมกี ารพัฒนาในเรื่องรูปแบบ ไมมีการสรางสรรคใหปรากฏรปู ลักษณแปลกใหมข้ึนมายังคงเป
นอยแู บบเดิมและตลอดไป จงึ ไมเรยี กวา เปนผลงานศลิ ปะ แตในทางปจจบุ นั หากมนษุ ยนํารังนกกระจาบหรือ
รังผึ้งมาจัดวางเพื่อประกอบกับแนวคิดสรางสรรคเฉพาะตน เราก็อาจจัดไดวา เปนงานศิลปะ เพราะเกิด
แรงจงู ใจภายในของศลิ ปน (Intrinsic Value) ท่เี ห็นคุณคาของความงามตามธรรมชาตินํามาเปนสอื่ ในการสราง
สรรค

ประเด็นที่ 2 ทําไมสิ่งที่มนุษยสรางสรรคขึ้นมาถึงเรียกวา ศิลปะ หากกลาวถึงประเด็นนี้ก็มีเหตุผลอยู
หลายประการซงึ่ พอจะกลาวถึงพอสังเขป ดังน้ี

1. มนษุ ยสรางงานศิลปะขึน้ มาโดยมีจุดประสงคหรือจดุ มุงหมายในการสราง เชน- ชาวอียปิ ต(EGYPT)
สรางมาสตาบา (MASTABA) ซึ่งมีรูปรางคลายมาหินสาํ หรับนง่ั เปนรูปส่ีเหลี่ยมแทงสงู ขางบนเปนพื้นท่ีราบ มุม
ทั้งสี่เอียงลาดมาที่ฐานเล็กนอย มาสตาบาสรางดวยหินขนาดใหญ เปนที่ฝงศพขุนนาง หรือผูร่ํารวยซึ่งตอมา
พัฒนามาเปนการสรางพรี ะมิด (PYRAMID) เพือ่ บรรจศุ พของกษัตรยิ หรอื ฟาโรห (PHARAOH) มกี ารอาบน้ำยา
ศพหรือรักษาศพไมใหเนาเปอยโดยทําเปนมมั มี่ (MUMMY) บรรจุไวภายใน เพื่อรอวิญญาณกลับคืนสูราง ตาม
ความเชื่อเรื่องการเกิดใหมของชาวอียิปตการกอสรางพุทธสถานเชน สรางวัด สรางพระอุโบสถ พระวิหาร
ศาลาการเปรียญ ในพุทธศาสนา มีจุดประสงคเพื่อใชเปนที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเปนที่พํานักของ
สงฆตลอดจนใชเปนท่เี ผยแพรศาสนา

2. มีการสรางเพื่อพัฒนารูปแบบโดยไมสิ้นสุด จะเห็นไดจาก มนุษยสมัยกอนประวัติศาสตร

(PREHISTORICAL PERIOD) ไดหลบภัยธรรมชาติ ตลอดจนสัตวรายเขาไปอาศัยอยูในถ้ํา เมื่อมีความเขาใจใน

ปรากฏการณ อันเกิดขึ้นจากธรรมชาติและประดิษฐเครื่องมือ เพื่อใชเปนที่อยูอาศัยจนในสมัยตอมา มีการ

พัฒนาการสรางรูปแบบอาคารบานเรือนในรูปแบบตางๆ ตามความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม และความ

เจริญทางเทคโนโลยีมีการใชคอนกรีตเสริมเหล็กและวัสดุสมัยใหมเขามาชวยในการกอสรางอาคาร บานเรือน

และสิ่งกอสรางตางๆ ตลอดจนมีการพัฒนารูปแบบทางสถาปตยกรรมใหกลมกลืนกับธรรมชาติแวดลอม เชน

สถาปตยกรรม “THE KAUF MANN HOUSE” ของแฟรงค ลอยด ไรท ทีร่ ัฐเพนซิลวาเนยี สหรัฐอเมริกา

3. ความตองการทางกายภาพที่เปนปฐมภูมิของมนุษยทุกเชื้อชาติและเผาพันธ เพื่อนํามาซึ่งความ

สะดวกสบายในการดําเนินชีวิตในสังคมปจจุบัน ดังจะเห็นไดจากเครื่องอุปโภค บริโภคตลอดจนเครื่องใชไม

สอยตางๆ ซง่ึ เปนผลติ ผลทีเ่ กิดจากความคดิ สรางสรรคของมนุษยทั้งสน้ิ ในทางศิลปะที่เชนเดยี วกับ ศิลปนจะไม

จําเจอยูกับงานศิลปะที่มีรูปแบบเกาๆ หรือสรางงานรูปแบบเดิมซ้ําๆ กันแตจะคิดคนรูปแบบ เนื้อหา หรือ

เทคนิคทแี่ ปลกใหมใหกับตัวเอง เพ่อื พัฒนาการสรางงานศิลปะรูปแบบเฉพาะตนอยางมลี ําดับข้ันตอน เพ่ืองาย

แกการเขาใจจงึ ขอใหผูอานทําความเขาใจเก่ียวกบั การสรางสรรคในทางศลิ ปะเสยี กอน

ศลิ ปะกับธรรมชาติ
ธรรมชาติ (Natural) หมายถงึ ส่ิงท่ีปรากฏให้เห็นตามวฏั จักรของระบบสุรยิ ะ โดยที่มนุษย์มิได้เป็นผู้

สรรค์สร้างขึ้น เช่น กลางวัน กลางคืน เดือนมืด คืนเดือนเพ็ญ ภูเขา น้ำตก ถือว่าเป็นธรรมชาติ หรือ
ปรากฏการณท์ างธรรมชาติ

ศิลปะ (Art) ตามความหมายทางพจนานุกรมและนักปราชญ์ทางศิลปได้ให้ความหมายอย่าง
กว้างขวางตามแนวทางหรือทัศนะส่วนตวั ไวด้ ังนี้ คือ ศลิ ปะ(ART) คำนี้ ตามแนวสากล มาจากคำวา่ ARTI และ
ARTE ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้กันในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คำว่า ARTI นั้น หมายถึง กลุ่มช่างฝีมือในศตวรรษที่ 14,
15 และ 16 ส่วนคำว่า ARTE หมายถึง ฝีมือ ซึ่งรวมถึง ความรู้ของการใช้วัสดุของศิลปินด้วย เช่น การผสมสี
สำหรับลงพื้น การเขียนภาพสีน้ำมัน หรือการเตรียม และการใช้วัสดุอื่นอีกศิลปะ และตามความหมายของ
พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ได้อธิบายไว้วา่ ศิลป (สิน ละ ปะ) น. หมายถึง ฝีมือ ฝีมือ
ทางการช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจศาสตราจารย์ศิลป พี
ระศรี ให้ความหมายของศิลปไว้ว่า ศิลป หมายถึง งานที่ต้องใช้ความพยายามด้วยฝีมือและความคิด เช่น ตัด
เสอื้ สรา้ งเครอื่ งเรือน ปลูกตน้ ไม้ เป็นตน้ และเมอ่ื กลา่ วถงึ งานทางวจิ ติ รศิลป์ (Fine Arts) หมายถงึ งานอนั เป็น
ความพากเพยี รของมนุษย์ นอกจากต้องใช้ความพยายามดว้ ยมือ ด้วยความคิด แล้วต้องมีการพวยพุ่งแห่งพุทธิ
ปัญญาและจิตออกมาด้วย (INTELLECTURL AND SPIRITUAL EMANATION)ศิลปะ ตามความหมายของ
พจนากรุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ ไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2530 ได้อธิบายไว้ว่า “ART ศิลปะ คือ ผล
แห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกในรูปลักษณ์ต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ
หรือความสะเทือนอารมณ์ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อ
ความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนยี มจารตี ประเพณี หรือความเช่ือในลทั ธศิ าสนา”

ธรรมชาติ สามารถบอกถึงประสบการณ์ และส่ิงตา่ งๆ ทผ่ี ่านมาในอดีตได้ ซงึ่ ถือวา่ “ธรรมชาติ” เป็น
“ครู” ของมนุษย์

มนุษย์อาศัยธรรมชาติในการดำรงชีวิต ผลผลิตส่วนใหญ่ที่ใช้ในการดำรงชีวิตเกือบทั้งหมดก็มาจาก
ธรรมชาตทิ ัง้ สิน้ วสั ดจุ ากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาสรา้ งสรรค์ ประกอบด้วย พืช หิน กรวด ทราย ดนิ
องค์ประกอบที่สำคญั ในงานศิลปะ

1. รูปแบบ (FORM) หมายถึง รูปร่างลักษณะที่ศิลปินถ่ายทอดออกมาให้ปรากฏเป็นรูปธรรม แบ่ง
ออกไดเ้ ปน็ 3 ชนิด คอื

1.1 รูปแบบธรรมชาติ (NATURAL FORM) ได้แก่ น้า ภูผา ต้นไม้ ลำธาร กลางวัน กลางคืน
ท้องฟ้า ทะเล

1.2 รูปแบบเรขาคณิต (GEOMETRIC FORM) ได้แก่ สี่เหลียม สามเหลี่ยม วงกลม
ทรงกระบอก

1.3 รูปแบบนามธรรม (ABSTRACT FORM) ได้แก่ รูปแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเองโดยอิสระ
หรืออาจตัดทอน (DISTROTION) ธรรมชาติ ให้เหลือเป็นเพียงสัญลักษณ์ (SYMBOL) ที่สื่อความหมาย
เฉพาะตัวของศิลปนิ

2. เนื้อหา (CONTENT) หมายถึง การสะท้อนเรื่องราวลงไปในรูปแบบดังกล่าว เช่น กลางวัน
กลางคนื

3. เทคนคิ (TECHNIQUE) หมายถงึ ขบวนการเลือกสรรวสั ดุ ตลอดจนวิธีการสร้างสรรคน์ ำมาสรา้ ง
4. สุนทรียศาสตร์ (AESTHETICAL ELEMENTS) ซึ่งมี 3 อย่าง คือ ความงาม (BEAUTY) ความ
แปลกหูแปลกตา (PICTURESQUENESS) และความน่าทึง่ (SUBLIMITY) ศิลปกรรมช้ินหนึ่งอาจมที ั้งความงาม
และความนา่ ท่ึงผสมกันกไ็ ด้ เชน่ พระพุทธรูปสมยั สุโขทัย มที ้งั ความงามและความน่าทง่ึ ผสมกัน ซ่ึงจะแยก
5. จุด เส้น สี แสง เงา รูปร่าง รูปทรง

1) จุด ……………………………………… คือ องค์ประกอบท่ีเลก็ ท่สี ุด จุดเปน็ ส่งิ ทส่ี ามารถบอกตําแหน่ง
และทิศทางโดยการนำจุดมาเรียงต่อกนั ให้ เป็นเส้น เกิดนำ้ หนกั ทีใ่ หป้ ริมาตรแกร่ ูปทรง

การเกดิ ของจดุ จดุ สามารถเกดิ ข้ึนได้ 2 ลักษณะ คือ
1. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น จุดในลายของสัตว์ เปลือกหอย ผีเสื้อ แมลง พืช เปลือกไม้
ฯลฯ
2. เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่การจิ้ม กระแทก กด ด้วยวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆเช่น ปากกา
ดนิ สอ พู่กนั กงิ่ ไม้ และของปลายแหลม ทุกชนิด
2) เส้น หมายถึง จุดหลายๆ จุดที่เรียงชิดติดกันเป็นแนวยาว โดยการลากเส้นจากจุดหนึ่งไปยังอีก
จุดหนึง่ ทใ่ี ห้ความรู้สึกที่แตกต่างกนั ออกไป ได้ดงั น้ี
เสน้ ตั้ง ให้ความรสู้ กึ แข็งแรง สงู เด่น สงา่ งาม นา่ เกรงขาม
เส้นนอน ใหค้ วามรู้สกึ สงบราบเรยี บ กว้างขวาง การพักผ่อน หยดุ นิ่ง
เสน้ แนวเฉยี ง ใหค้ วามรสู้ กึ ไมป่ ลอดภัย ไม่มน่ั คง ไมห่ ยุดนิ่ง

เสน้ ตัดกนั ใหค้ วามรู้สกึ ประสานกัน แขง็ แรง
เสน้ โคง้ ให้ความรสู้ กึ อ่อนโยน นมุ่ นวล
เสน้ คด ใหค้ วามรสู้ กึ เคลอ่ื นไหว ไหลเล่อื น รา่ เรงิ ต่อเนื่อง
เสน้ ประ ใหค้ วามรู้สกึ ขาดหาย ลึกลบั ไม่สมบรณู ์ แสดงสว่ นทีม่ องไมเ่ ห็น
เส้นขด ใหค้ วามรู้สึกหมุนเวียนมึนงง
เส้นหยัก ใหค้ วามรู้สกึ ขัดแย้ง นา่ กลัว ต่นื เตน้ แปลกตา

3) สี
ทฤษฎสี ี หมายถงึ หลักวชิ าในเร่ืองของสีทส่ี ามารถมองเห็นได้ด้วยตา ไอแซก นวิ ตัน ได้ค้นพบว่าแสงสี

ขาวจาก ดวงอาทิตย์เมื่อหักเห ผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม (prism) แสงสีขาวจะ กระจายออกเป็นสีรุ้ง เรียกว่า
สเปคตรมั มี 7 สี ไดแ้ ก่ ม่วง คราม นำ้ เงิน เขยี ว เหลือง สม้ แดง

นักวิชาการสาขาต่าง ๆ ได้ศกึ ษาค้นคว้าเร่ืองสี จนเกดิ เป็นทฤษฎีสี ตามหลกั การของนักวิชาการสาขา
ต่าง ๆ เช่น แม่สีของนักฟิสิกส์ หรือ(แม่สีของแสง) (Spectrum Primaries) เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของ
คลืน่ แสง มี 3 สี คอื สเี ขยี ว สนี ำ้ เงนิ และสแี ดง

แม่สีของนักเคมี (Pigmentary Primaries) คือ สีที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและวงการศิลปะ (สีวัตถุ
ธาตุ) ประกอบด้วย
สขี ั้นท่ี 1 (Primary Color) คือ แม่สีพนื้ ฐาน มี 3 สี ได้แก่

1. สเี หลือง (Yellow)
2. สีแดง (Red)
3. สนี ้ำเงนิ (Blue)

สขี ั้นที่ 2 (Secondary color) คอื สที เี กดิ จากสขี ั้นที่ 1 หรือแม่สผี สมกนั ในอตั ราสว่ นทเ่ี ทา่ กัน จะทำให้เกิดสี
ใหม่ 3 สี ได้แก่

1. สสี ้ม (Orange) เกดิ จาก สแี ดง (Red) ผสมกับสีเหลอื ง (Yellow)
2. สีมว่ ง (Violet) เกดิ จาก สแี ดง (Red) ผสมกับสีนำ้ เงิน (Blue)
3. สีเขยี ว (Green) เกดิ จาก สเี หลอื ง (Yellow) ผสมกบั สนี ำ้ เงนิ (Blue)
สีข้ันท่ี 3 (Intermediate Color) คอื สีทเี่ กดิ จากการผสมกันระหว่างแม่สกี บั สีข้ันท่ี 2 จะเกดิ สีขัน้ ท่ี 3 ข้ึนอีก
6 สี ไดแ้ ก่
1. สนี ำ้ เงนิ ม่วง (Violet-blue) เกดิ จาก สนี ำ้ เงนิ (Blue) ผสมสีม่วง (Violet)
2. สเี ขยี วนำ้ เงนิ (Blue-green) เกิดจาก สนี ้ำเงนิ (Blue) ผสมสีเขียว (Green)
3. สเี หลืองเขยี ว (Green-yellow) เกดิ จาก สเี หลอื ง (Yellow) ผสมกบั สเี ขียว (Green)
4. สีส้มเหลือง (Yellow-orange) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสสี ม้ (Orange)

5. สแี ดงส้ม ( Orange-red) เกดิ จาก สีแดง (Red) ผสมกับสีส้ม (Orange)
6. สีมว่ งแดง ( Red-violet) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสมี ่วง (Violet)

คุณลักษณะของสีมี 3 ประการ คือ
1. สีแท้ หรือความเปน็ สี (Hue) หมายถงึ สีทอี่ ยใู่ นวงจรสีธรรมชาติ ทงั้ 12 สี

2. ความจัดของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรือความบริสูทธิ์ของสีใดสีหนึ่ง และสีที่ถูกผสม
ดว้ ยสดี ำจนหม่นลง ความจดั หรือความบริสทุ ธิจ์ ะลดลงความจดั ของสจี ะเรยี งลำดบั จากจัดท่สี ุด ไปจนหมน่ ทส่ี ุด
ได้หลายลำดับ ด้วยการค่อยๆ เพ่ิมปริมาณของสีดำที่ผสมเข้าไปทีละน้อยจนถึงลำดับที่ความจัดของสีมีน้อย
ท่ีสุดคือเกยี บเป็นสีดำ

3. น้ำหนุักของสี (Values) หมายถึง สีที่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สีทึบ (Darkness)
ของสีแต่ละสี สีทุกสีจะมีน้ำหนักในตัวเอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่ง สีนั่นจะสว่างขึ้น หรือมีน้ำหนัก
อ่อนลงถ้าเพ่ิมสีขาวเข้าไปทีละน้อย ๆ ตามลำดับเราจะได้น้ำหนักของที่เรียงลำดับจากแก่สุดไปจนถึงอ่อนสุด
นำ้ หนกั อ่อนแก่ของสี เกดิ จากการผสมด้วยสีขาว เทา และดำนำ้ หนักของสจี ะลดลงด้วยการ ใช้สเี ทาผสม (tint)
ซ่ึงจะทำให้ความเข้มของสีลดลง เกิดความรูส้ ึก ที่สงบ ราบเรียบ และน้ำหนักของสีจะเพ่มิ ขึน้ มากขน้ึ ด้วยการใช้

สีดำผสม (shade) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง เกิดความรู้สึกขรึม สีกลับ นอกจากนั้นนัำหนกั
ของสียังหมายถึงการเรียงลำดับน้ำหนักของสีแท้ด้วยกันเอง โดยเปรียบเทียบน้ำหนักอ่อนแก่กับสีขาว ดำเรา
สามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพสกี ับภาพขาวดำได้อย่างชัดเจนและเมื่อเรานำภาพสีที่เราเห็นว่ามีสีแดงอยหู่
ลายตา่ ต้งั แต่อ่อน กลาง แก่ ไปถ่ายเอกสารขาว - ดำ เมื่อนำมาดจู ะพบวา สีแดงจะมนี ำ้ หนักอ่อน แก่ต้ังแต่ขาว
เทา ดำ น้นั เปน็ เพราะวา่ สแี ดงมนี ้ำหนักของสีแตกตา่ งกนั น่ันเอง
สีทเ่ี ราเหน็ อยทู่ ุกวันนแ้ี บง่ เป็น 2 วรรณะ โดยแบง่ วงจรสีออกเป็น 2 ส่วน คอื

1) สีวรรณะร้อน (Warm Color) ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย สีเหลือง สีเหลือง
สม้ สีสม้ สีแดงส้ม สีแดง สีมว่ งแดง สีม่วง

2) สวี รรณะเยน็ (Cool Color) ให้ความรู้สึกเยน็ สงบ สบายตา ประกอบดว้ ย สเี หลอื ง สเี ขียวเหลือง
สีเขียว สีน้ำเงินเขยี ว สีน้ำเงิน สีม่วงนำ้ เงิน สีม่วง เราจะเห็นว่า สีเหลือง และสีม่วง เป็นสีที่อยู่ได้ท้ัง 2 วรรณะ
คอื สกี ลางท่เี ปน็ ได้ทั้งสรี ้อน และสีเย็น

4) รูปร่าง รูปทรง
เมื่อเรามองเหน็ ต้นไม้ เส้นรอบนอกของทรงพุ่มท่ีมีลกั ษณะ คดโค้ง หรือเส้นตั้ง ของลำต้น ซึ่งเป็นเส้น

รอบรปู ทต่ี ัดกับบริเวณว่าง สิง่ นั้น คอื รูปรา่ ง (form) มี ๒ มติ ิ (กวา้ งกบั ยาว) ส่วนเน้ือท่ภี ายในของทรงพุ่มหรือ
ทรงกระบอก ของลำต้นนนั้ เป็นรปู ทรง (shape) มี ๓ มติ ิ ให้ความรู้สึกเป็นกลมุ่ ก้อน มนี ำ้ หนัก มีเน้ือที่ภายใน
(กวา้ ง ยาว และลกึ )

– รปู ร่าง รูปทรงธรรมชาติ เปน็ รูปรา่ งทีเ่ กดิ ขึน้ ตามธรรมชาติ
– รูปร่าง รูปทรงเรขาคณิต เป็นรูปร่างที่ประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง เช่น รูปครึ่งวงกลม รูป
วงกลม รปู สามเหลีย่ ม รูปสีเ่ หล่ยี ม รูปหา้ เหลีย่ ม เป็นตน้
– รูปร่าง รูปทรงอิสระ เป็นรูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากรูปร่าง ธรรมชาติ และรูปร่าง
เรขาคณติ
5. มวลและปรมิ าตร (mass and volume)
มวล หมายถึง เนื้อทั้งหมดของสาร ถ้าเป็น พุ่มไม้ ก็คือ พื้นที่ภายในทรงพุ่มทั้งหมด มวลของหิน คือ
เนอ้ื ทีแ่ ขง็ แกรง่ ของหนิ

ปริมาตร (volume) คอื พน้ื ท่กี ินระวางในอากาศหรือบริเวณว่าง (space) ของวัตถตุ ่าง ๆ กำหนดเป็น
รูปทรงที่แสดงเป็น 3 มิติ การกำหนดมวลและปริมาตร มักจะถูกเรียกกลืนไปกับ เรื่องของเนื้อที่และปริมาณ
เชน่ ใชพ้ นั ธไ์ุ มใ้ นปริมาณทมี่ าก ๆ มาปลูกรวมกนั เพอ่ื สร้างเนื้อท่ี ดงั นั้นในการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงใน
พ้ืนท่ี จงึ ตอ้ งคำนงึ ถงึ ปรมิ าณของวตั ถแุ ละการใชเ้ น้อื ที่
6. ผิวสัมผัส (texture) หมายถึง ลักษณะพื้นผิวหน้าของวัตถุ เมื่อสัมผัสจับต้อง หรือมองเห็นแล้วรู้สึกได้ว่า
หยาบ ละเอียด เป็นมนั ขรขุ ระ เป็นเสน้ เป็นจดุ เปน็ กำมะหยี่ หรือพ้นื ผิวสัมผสั เรียบ สมำ่ เสมอ จะให้ลักษณะ
ผิวสัมผสั ละเอียด (Fine texture) ความรู้สกึ ตอ่ ลักษณะผิว

– ลกั ษณะผวิ ที่เรียบ จะให้ความรสู้ กึ ลื่น คล่องตวั รวดเรว็
– ส่วนลกั ษณะผวิ ทขี่ รขุ ระ หยาบ หรอื เน้นเสน้ สงู ต่ำ จะใหค้ วามรู้สกึ มัน่ คง แข็งแรง
7. ลวดลาย (pattern) ลวดลายในการจัดสวน เป็ฯการจัดตกแต่งพื้นผิว (surface) ด้วยลักษณะต่าง ๆ ให้
เหน็ เปน็ ลวดลายขึน้ อาจจะจัดโดยใชล้ กั ษณะซ้ำ ๆ กนั ของ จดุ เส้น สี หรอื รปู ร่างบนพ้ืนผิว เพ่ือปรุงแต่งพ้ืนผิว
ใหส้ วยงาม ผวิ พื้นในสวน ท่ีสามารถกำหนด ลวดลายลงไปได้ เชน่
– พน้ื ผวิ ทีใ่ หค้ วามรู้สึกออ่ นนุ่ม (sorf surface) ไดแ้ ก่ สนามหญ้า พื้นท่โี รยกรวด ทราย
– ผิวพ้นื ท่ใี ห้ความรูส้ ึกกระดา้ ง (hard surface) ได้แก่ พนื้ ซเิ มนต์ พื้นศิลาแลง พ้ืนอิฐ หรือพืน้ หินขดั
– พืน้ ผิวทใ่ี ห้ความรเู ้สึกค่อนข้างแข็ง (Semi-hard surface) ไดแ้ ก่ พ้ืนซิเมนตส์ ลับปหู ญา้
ประเภทการสรา้ งสรรคข์ องศลิ ปนิ ออกได้เป็น 3 กลมุ่ ดังนี้
1. กลุ่มที่ยึดรูปธรรม (REALISTIC) หมายถึง กลุ่มที่ยึดรูปแบบที่เป็นจริงในธรรมชาติมาเป็นหลักใน
การสร้าง งานศิลปะ 2. กลุ่มนามธรรม (ABSTRACT) หมายถึง กลุ่มที่ยึดแนวทางการสร้างงานที่ตรงข้ามกับ
กลุ่มรูปธรรม ซึ่งศิลปิน กลุ่มนี้มุ่งที่จะสร้างรูปทรง (FORM) 3. กลุ่มกึ่งนามธรรม (SEMI-ABSTRACT)
หมายถึง กลุม่ ทสี่ รา้ งงานทางศลิ ปะโดยใชว้ ธิ ีลดตัดทอน (DISTORTION) รายละเอียดทีม่ ีในธรรมชาติให้ปรากฏ
ออกมาเปน็ รปู แบบทางศลิ ปะ
ความคดิ สร้างสรรค์ การตกแตง่ ร่างกาย ทอ่ี ย่อู าศยั และผลิตภณั ฑ์
การออกแบบ เปน็ ส่วนหนงึ่ ของความคิดสร้างสรรค์ทางศลิ ปะของมนุษย์ ดงั น้ี
1. ออกแบบตกแตง่ ทีอ่ ยูอ่ าศยั ใช้หลกั องคป์ ระกอบศลิ ป์
2. ออกแบบให้กับรา่ งกาย โดยอาศัยหลกั การทางศลิ ปะ และความคิดสรา้ งสรรค์
3. ออกแบบผลิตภัณฑ์ รปู แบบที่แปลกใหมแ่ ละเปน็ จดุ สนใจในธรุ กจิ ดา้ นอตุ สาหกรรม
4. ออกแบบสำนักงานในและนอกสถานที่ทำงานที่ได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์ให้น่าทำงาน
สะดวกในการใช้สอย ซ่ึงแบ่งการออกแบบได้เป็น 2 ประเภท คือ
1 ออกแบบตกแต่งภายใน ได้แก่ การออกแบบตกแต่งภายในอาคาร ตกแต่งภายในบ้าน ภายใน
สำนักงาน ภายในอาคารสาธารณะ ภายในยานพาหนะ การออกแบบตกแตง่ หนา้ ร้านคา้
2 การออกแบบตกแต่งภายนอก ได้แก่ การออกแบบตกแต่งสวนและบริเวณภายนอกอาคาร การ
ออกแบบภมู ทิ ศั นใ์ นสว่ นพน้ื ท่ีสาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ ถนน สะพาน ฯลฯ

การวิพากษ์ วิจารณง์ านทศั นศิลป์สากล
หมายถึง การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นต่อผลงานทางศิลปะที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นไว้ โดยผู้

วจิ ารณใ์ ห้ความคดิ เหน็ ตามหลักเกณฑแ์ ละหลกั การของศิลปะ ทง้ั ในดา้ นสนุ ทรยี ศาสตรแ์ ละสาระอ่นื ๆ ด้วยการ
ตชิ มเพือ่ ให้ไดข้ ้อคิดนำไปปรับปรุงพฒั นาผลงานศิลปะ หรอื ใช้เป็นข้อมลู ในการประเมินตัดสนิ ผลงาน และเป็น
การฝกึ วิธีดู วธิ วี ิเคราะห์ คดิ เปรียบเทียบให้เห็นคุณค่าในผลงานศลิ ปะช้นิ น้ัน ๆ
คณุ สมบัติของนักวิจารณ์

1. มคี วามร้เู กี่ยวกับศิลปะท้งั ศิลปะประจำชาติและศลิ ปะสากล
2. มีความรเู้ ก่ียวกับประวตั ศิ าสตรศ์ ลิ ปะ
3. มีความรเู้ กีย่ วกบั สนุ ทรียศาสตร์
4. ตอ้ งมวี สิ ยั ทศั น์กว้างขวาง
5. กล้าทีจ่ ะแสดงออกตามหลกั วิชาการและตามความรู้สกึ และประสบการณ์
ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ
ผู้วิจารณ์งานทัศนศิลป์สากลควรมีความรู้ในเรื่อง ทฤษฎีการสร้างงานทัศนศิลป์สากล ซึ่งจั ดเป็น 4
ลกั ษณะ ดงั นี้
1. นิยมการเลียนแบบ (Imitationalism Theory) เป็นการเห็นความงามในธรรมชาติแล้ว
เลยี นแบบไวใ้ หเ้ หมอื นทง้ั รูปร่าง รปู ทรง สีสัน ฯลฯ
2. นิยมสร้างรูปทรงที่สวยงาม (Formalism Theory) เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ให้สวยงาม
ดว้ ยทัศนธาตุ (เสน้ รูปรา่ ง รปู ทรง สี นำ้ หนกั พ้นื ผิว บริเวณว่าง) และเทคนิควิธีการต่างๆ
3. นิยมแสดงอารมณ์ (Emotional Theory) เป็นการสร้างงานให้ดูมีความรู้สึกต่างๆ ทั้งที่เป็น
อารมณ์อนั เนื่องมาจากเรือ่ งราวและอารมณ์ของศลิ ปนิ ท่ีถา่ ยทอดลงไปในชน้ิ งาน
4. นิยมแสดงจินตนาการ (Imagination Theory) เป็นงานที่แสดงภาพจินตนาการ แสดงความคิด
ฝนั ทแ่ี ตกตา่ งไปจากธรรมชาติและส่งิ ที่พบเหน็ อยูเ่ ป็นประจำ
หลักการและวิธกี ารการวพิ ากษว์ ิจารณ์งานทัศนศลิ ปส์ ากล
1. ขนั้ ระบขุ ้อมลู ของผลงาน
เป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทของงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาด วัสดุ เทคนิค
วิธีการ สร้างเมอ่ื พ.ศ.ใด ปจั จบุ นั ตดิ ตัง้ อย่ทู ี่ไหน รูปแบบการสรา้ งสรรค์เป็นแบบใด
2. ขั้นพรรณนาผลงาน
เป็นการบันทึกข้อมูลจากการมองเห็นภาพผลงานในขั้นต้นว่าเป็นภาพอะไร เช่น ภาพคน ภาพสัตว์
ภาพทวิ ทศั น์ ภาพหุ่นนิ่ง เป็นต้น มเี ทคนคิ ในการสรา้ งสรรค์แบบใด

3. ขัน้ วเิ คราะห์
เปน็ การดลู ักษณะภาพรวมของผลงานวา่ จดั อยใู่ นประเภทใด พิจารณารปู แบบการถา่ ยทอดเป็นแบบ

ใด จำแนกทัศนธาตุและองคป์ ระกอบศลิ ป์ออกจากภาพรวมเป็นส่วนย่อยให้เห็นวม้ ีหลักการจัดภาพท่ีกลมกลืน
หรือขัดแยง้ อยา่ งไร

4. ข้นั ตีความ
เป็นการค้นหาความหมายของผลงานว่า ศิลปินหรือผู้สร้างสรค์ต้องการสื่อให้ผู้ชมผลงานได้รับรู้

เก่ยี วกบั อะไร เชน่ สภาพปัญหาในชมุ ชน สงั คม และภูมปิ ัญญาทอ้ งถ่ิน เป็นต้น
5. ขั้นประเมินผล
เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะชิ้นนั้นจากการพิจารณาทุกข้อในเบื้องต้น สรุปให้เห็น

ข้อดีและข้อด้อยในด้านเนื้อหาและเร่ืองราว หลกั ทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศลิ ป์ ทกั ษะ ฝีมือ และ
การถา่ ยทอดความงาม เพือ่ การพัฒนาหรอื ตัดสนิ ผลงานชิน้ นน้ั
ตัวอย่างการวเิ คราะหง์ านทัศนศลิ ป์สากล
1. ขน้ั ระบขุ อ้ มลู ของผลงาน

ประเภทงาน : จิตรกรรม
ชือ่ ผลงาน : <โมนาลิซา ( Mona Lisa )
ชื่อศิลปนิ : เลโอนารโ์ ด ดา วินชี ( Leonado da Vinci ) ศลิ ปนิ ชาวอิตาเลียน
ขนาดผลงาน : >77 x 53 ซม.
เทคนคิ วสั ดุ : สีน้ำมนั บนแผ่นไม้
ผลงานสร้างเมอื่ ปี : พ.ศ.2046 - 2049 ( ค.ศ.1503 - 1506 )
ปัจจุบันอยู่ที่ : พิพธิ ภัณฑล์ ฟู ว์ กรงุ ปารีส ประเทศฝรัง่ เศส
รปู แบบการสรา้ งสรรค์ : เป็นงานศิลปะตะวันตก การถา่ ยทอดรูปแบบเหมือนจริงตามลักษณะ

แบบอย่างของศลิ ปะสมัยฟื้นฟูศลิ ปวิทยาการ ( Renaissance )

2. ข้ันพรรณนาผลงาน

เปน็ ภาพเขียนคร่ึงตัว ( Portrait ) สุภาพสตรีผมยาวมผี ้าคลุม หวีผมแสกกลาง เสอ้ื คลุมด้วยสีดำเรียบ

เห็นใบหน้าเกือบตรง ลำตัวบิดเบี้ยวเล็กน้อย มือขวาวางคว่ำสัมผัสข้อมือซ้ายที่วงาราบอยู่บนที่วางแขนของ

เก้าอี้ เบื้องหลังเป็นภาพของทิวทัศน์สงบเงียบ บรรยากาศเร้นลับ ชวนฝัน ภาพส่วนขยายนัยน์ตาและรอยย้ิม

ของโมนาลซิ า ทีแ่ สดงออกถึง ความร้สู กึ ทีต่ อ้ งการคน้ หาบางส่งิ ซ่อนเลศนยั และปรศิ นาใหผ้ ดู้ บู ังเกิด

ความรู้สกึ และตัง้ คำถามวา่ โมนาลิซากำลงั คดิ อะไรอยู่

3. ขั้นวิเคราะห์ การวิเคราะห์งานทัศนศิลป์สากล ซึ่งเป็นงานจิตรกรรมที่มีคุณค่าในการแสดงออกทั้งในด้าน

ความงาม ด้านสาระ ด้านอารมณค์ วามรู้สกึ

ด้านความงาม เป็นภาพที่สร้างสรรค์โดยยึดทฤษฎีการเลียนแบบตามธรรมชาติ คือ การเลียนแบบ

ความ งามตั้งแต่รูปร่าง รูปทรง สีสัน และน้ำหนักแสงเงา เป็นภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเลโอนาร์โด ดา

วินชี ในการเขียนภาพผู้หญิง คือ นิยมเขียนคิ้วบางเลือนราง และมีรอยยิ้มมุมปากที่คล้าย ๆ กันกับภาพอื่น ๆ

ของเขา

เปน็ ภาพทม่ี เี อกลักษณใ์ นการจดั ภาพตามแบบอยา่ งของศิลปะสมยั ฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)

คือ มีบุคคลเป็นประธานของภาพและมีฉากหลังเปน็ ทิวทัศน์แสดงบรรยากาศตามจินตนาการ เพราะศิลปินใน

สมัยนั้นมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นศูนญ์กลางของจักรวาล เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ ยึดมั่นในเหตุผล คุณค่าของ

ความเป็นมนษุ ย์อย่ทู ่คี วามคดิ ความรู้ และความสามารถ

ด้านสาระ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายของคนชั้นสูงในสมัยนั้น ทั้งด้านเสื้อผ้า

เครื่องนุ่งห่ม และความนิยมในการไว้ผมยาวหวีแสกกลางตามสมัยนิยม ในแฟชั่นแบบฟลอเรนไทน์ในอิตาลี

นอกจากท่ีปรากฏให้เห็นในภาพโมนาลิซา ยังเห็นได้ในภาพอื่นๆ ของเขาอีก นอกจากนี้ ภาพโมนาลิซายัง

เป็นภาพที่เลโอนาร์โด ดา วินชี ถ่ายทอดบุคลิกของตนเองแฝงไว้ในใบหน้าของโมนาลิซา ซึ่งจะมีลักษณะเค้า

โครงรูปหนา้ ที่คล้ายกนั

ด้านอารมณค์ วามรู้สึก เป็นภาพท่ีแสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในของโมนาลิซาที่แฝงอยู่

ในท่าทาง และสะท้อนให้เห็นได้จากนัยน์ตาและรอยยิ้มปริศนา รวมทั้งความรู้สึกที่รับรู้ได้จากบรรยากาศใน

มา่ นหมอกของฉากหลัง

ดา้ นทศั นธาตุ พบว่า

เส้น แสดงการใช้เสน้ โค้งและเส้นลักษณะอน่ื ๆ ได้สัมพนั ธก์ ลมกลืนกัน ทั้งในสว่ นของใบหน้า เส้น

ผม ผา้ คลุม รอยยบั ของผ้า นวิ้ มือ แนวเสน้ ของทางเดิน และสายนำ้ ลำธารของฉากหลัง

รูปรา่ ง รูปทรง แสดงรูปรา่ ง รูปทรง ลกั ษณะธรรมชาติของคน และทิวทศั นไ์ ด้อย่างสวยงาม

สี แสดงภาพสีสว่ นรวมเป็นโทนสีนำ้ ตาลอมเขียวและดำ เพ่ือใช้เปน็ สัญลกั ษณใ์ นการส่อื ความ

หมาย สนี ้ำตาลหมายถงึ ธรรมชาตหิ รือโลก สีนำ้ ตาลออกดำหมายถึงความสุขุม ความลึกลับซ่อนเร้น

และสีเขยี วหมายถึงชีวติ ขนาด สัดสว่ น แสดงขนาดของคนได้เหมาะสมกบั ขนาดภาพ และแสดงสัดส่วนทาง

กายวิภาคไดถ้ ูกต้อง งดงามตามธรรมชาติ

แสงเงา แสดงการใช้แสงเงาทกี่ ลมกลืนเหมือนธรรมชาติ แสงเงาสว่ นรวมของภาพมีน้ำหนกั เขม้ มืด
บริเวณใบหนา้ และมือใหแ้ สงสวา่ งมาก และมีนำ้ หนักเงาอ่อน

บริเวณวา่ ง แสดงบรเิ วณวา่ งรอบตัวโมนาลิซาเป็นทวิ ทัศน์อยู่ฉากหลัง นอกจากจะทำพให้ภาพดูโปร่ง
ตาไม่ทบึ ตันเกนิ ไป ยังทำให้ภาพมรี ะยะใกลไ้ กล มีมติ ติ นื้ ลกึ และเหมือนจริง

ลักษณะผิว แสดงการใช้ลักษณะผิวในส่วนของใบหน้าและมือด้วยการเกลี่ยสีให้นุ่มนาลสอดคล้อง
สมวัยและเหมือนจริง โดยเฉพาะมอื ขวาให้ความรสู้ ึกเหมือนมเี ลือดเน้อื จริงๆ
ดา้ นองค์ประกอบศิลป์
เอกภาพ การจัดภาพโดยรวมมคี วามเปน็ เอกภาพดว้ ยเส้น รปู ร่าง รูปทรง สี แสงเงาทส่ี ัมพนั ธ์กลมกลนื

กนั ท้ังรูปคนและธรรมชาติ ทำให้ทงั้ ภาพดูเป็นอนั หน่ึงอนั เดียวกัน
ดลุ ยภาพ แสดงภาพโมนาลิซาตรงแกนกลาง วางท่าอยู่ในแนวรปู สามเหลีย่ ม จดั วางทิวทศั นไ์ ว้ในบรเิ วณวา่ ง

มลี กั ษณะของดุลยภาพแบบซา้ ยขวาเท่ากนั ซง่ึ ให้ความรสู้ ึกสงบทางกายภาพ
จดุ เดน่ แสดงจดั เดน่ อย่บู นใบหน้า มีดวงตาท่ใี หค้ วามรสู้ กึ เหมอื นมองผูด้ ูผลงานอยตู่ ลอดเวลาและรอยยิ้ม

ท่ีเป็นปรศิ นา
ความกลมกลืน แสดงการจัดภาพของส่วนประกอบตา่ งๆ ทางทัศนธาตุ ท้ังรูปแบบของเส้น รปู ร่าง รปู ทรง สี

ขนาด สดั ส่วน แสงเงา บริเวณวา่ ง และพนื้ ผวิ ไดอ้ ย่างสัมพนั ธก์ ลมกลืนกันทั้งเทคนคิ วธิ กี ารสร้าง
สรรค์ ซงึ่ สอดประสานกบั อารมณ์ ความรู้สึกของภาพไดอ้ ยา่ งงดงาม
ความขดั แยง้ แสดงความขดั แย้งในด้านนำ้ หนกั สี แสงเงา สว่ นรวมของภาพมคี วามเข้มคล้ำ ตา่ งกบั สว่ นใบ
หนา้ ทใ่ี ช้นำ้ หนกั สี สงเงาออ่ นกวา่ แต่มีผลดคี อื ช่วยส่งเสริมบริเวณส่วนใบหน้าให้มคี วามเจดิ จ้า
เดน่ ชัด และงดงามยงิ่ ขนึ้
4. ขนั้ ตคี วาม
เป็นงานจิตรกรรมภาพเหมือน (Portrait) ที่มีชื่อเสียงมาก เป็นภาพของหญิงสาวในทา่ น่ัง แต่งกายตาม
สมัยนยิ มในแฟช่ันแบบฟลอเรนไทน์ในอิตาลี เบ้ืองหลงั เป็นภาพทวิ ทศั นภ์ ูเขาท่ดี ูนุ่มเบา แสดงออกทางอารมณ์
ความรู้สึกบนใบหน้า โดยเฉพาะแววตาและรอยยิ้มที่เป็นปริศนา ไม่สามารถจะบอกได้ว่าเธอกำลังยิ้ม หัวเราะ
ร้องไห้ หรือเธอต้องการบอกอะไรบางอย่างกันแน่ ผูท้ ไ่ี ดช้ มภาพนจี้ ะเกิดจินตนาการในการสร้างความรู้สึกหรือ
อารมณ์เข้าไปในภาพดว้ ย
5. ขน้ั ประเมนิ ผล หลักทัศนธาตุและหลักการจดั องค์ประกอบศลิ ป์
ศิลปินนำหลักทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบศิลป์มาใช้ให้เกิดความสัมพันธ์กันทั้งในส่วนประธาน
และส่วนรองของภาพ ทำให้ผลงานมีเอกภาพ ดุลยภาพ จุดเด่น ความกลมกลืนและความขัดแยง้ ไดง้ ดงามตาม
กรรมวธิ กี ารจัดองค์ประกอบศิลป์แบบศลิ ปะสมัยฟืน้ ฟูศลิ ปวิทยาการ (Renaissance)
ทักษะฝมี อื และการถ่ายทอดความงาม
จิตรกรมีทักษะและความสามารถในการเขียนภ่าพเหมือนจริง และพัฒนากรรมวิธีการแก้ปัญหาระยะ
ตื้นลึกของภาพโดยใช้เทคนิคภาพสีหม่น (Sfumato) ทำให้ฉากหลังดูนุม่ เบา และใช้โทนสหี นักกับตัวนางแบบ

นอกจากนี้จิตรกรยังนำหลัก ทัศนมิติเชิงอากาศ (Aerial Perspective) มาใช้ในการแก้ปัญหาระยะตื้นลึก คือ
การทำให้ภาพดเู หมือนกบั มองผา่ นปริมาณอากาศ สีของสิ่งที่อยู่ในระยะไกลดูจางลงเป็นลำดับ ซึ่งจะข้ึนอยู่กับ
ปรมิ าณความชืน้ ในอากาศ สแี ละเส้นรอบนอกของสิ่งท่ีอยู่ระยะไกลในภาพทวิ ทัศน์จะมคี วามชัดเจนน้อยกว่าสิ่ง
ที่อยู่ในระยะใกล้ ทำให้ภาพดูมีระยะตื้นลึก ซึ่งปรากฏในส่วนฉากหลังของโมนาลิซา จัดเป็นภาพที่แสดงระยะ
ต้ืนลกึ และบรรยากาศยามหมอกลงจดั ไดอ้ ยา่ งน่าชม

ใบงานที่ 1 ใหนักศึกษาตอบคําถามตอไปนี้

1. อธบิ ายความหมายของ “ธรรมชาติ”
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
2. องคประกอบทางศิลปะประกอบดวยอะไรบาง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
3. เหตใุ ดมนุษยถึงเปนผูสรางงานศิลปะเทานัน้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..


Click to View FlipBook Version