พุ ทธศาสน
สุ ภาษิ ต
สจฺจํ เว อมตา วาจา.
[คำอ่าน : สัด-จัง, เว, อะ-มะ-ตา, วา-จา]
“คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย”
คำสัตย์ คือ คำจริง คำพูดที่
เป็นจริง คำพูดที่ไม่แปรผัน
เป็นอย่างอื่นไปได้ เช่น คำ
สอนของพระพุทธเจ้า ที่
พระองค์ตรัสไว้อย่างไรก็
เป็นอย่างนั้น ไม่แปรผันเป็น
อย่างอื่น
ที่ว่าคำสัตย์เป็นวาจาไม่ตาย
นั้น ก็เพราะว่าคำสัตย์เป็น
คำที่ไม่มีใครเปลี่ยนแปลง
ให้เป็นอย่างอื่นได้ ดังเช่น
คำสอนของพระพุทธเจ้าที่
กล่าวไว้ข้างต้นแล้วนั่นเอง
อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา
[คำอ่าน : อิด-ฉา, หิ, อะ-นัน-ตะ-โค-จะ-รา]
ความอยากได้ ไม่มีที่จบสิ้นเลย
ตัณหา ได้แก่ ความทะยานอยาก อยาก
ได้โน่นอยากได้นี่ อยากเป็นโน่นอยาก
เป็นนี่ อยากหลุดจากสภวาะโน่นนี่
ความอยากดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นในจิตใจ
ของสรรพสัตว์อยู่ตลอดเวลา ไม่เคย
พอ ไม่เคยสิ้นสุด เมื่อวานเกิดแล้ววันนี้
ก็เกิดอีก วันนี้เกิดแล้วพรุ่งนี้ก็จะเกิด
อีก
ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่า ตัณหา
คือความทะยานอยากนี้จะสิ้นสุดตรง
ไหน หรือจะจบลงเมื่อไหร่ แม้แต่แม่น้ำ
สายใหญ่ยังสามารถเต็มได้ด้วยน้ำฝน
ที่ตกลงมาอย่างไม่หยุดหย่อน แต่
ตัณหาในใจสรรพสัตว์นั้น ไม่มีวันเต็ม
อตฺตนา โจทยตฺตานํ.
[คำอ่าน : อัด-ตะ-นา, โจ-ทะ-ยัด-ตา-นัง]
“จงเตือนตนด้วยตนเอง”
การเตือนตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ดี และควร
กระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เรามี
สติสัมปชัญญะอยู่เสมอ ไม่ว่าจะทำ จะ
พูด จะคิด อะไรก็ตาม ถ้าเราคอยสอด
ส่องตัวเองอยู่เสมอ เราจะรู้เท่าทัน และ
ยับยั้งการกระทำที่เป็นโทษได้
หากเราคอยเพ่งโทษคนอื่น คอยจับผิด
คนอื่น เราก็จะเห็นโทษของคนอื่น เห็น
ความผิดพลาดของคนอื่น แต่เราจะไม่
ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการที่เห็น
ความผิดของคนอื่น มิหนำซ้ำยังจะก่อให้
เกิดความขัดเคือง เกิดปฏิฆะ ขึ้นมาในใจ
ของตนเองอีกด้วย เรียกได้ว่า เสียเวลา
โดยเปล่าประโยชน์
วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี.
[คำอ่าน : วิ-หัน-ยะ-ตี, จิด-ตะ-วะ-สา-นุ-วัด-ตี]
“ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมลำบาก”
ธรรมชาติของจิต ย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำ
อยู่เสมอ คือยินดีในสิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เหมือนน้ำ ถ้าปล่อยไว้
ตามธรรมดา ย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่
ตลอดเวลา ไม่มีทางเลยที่น้ำจะไหลขึ้น
สู่ที่สูงตามธรรมดาของตนเอง เว้นไว้
แต่จะใช้เครื่องสูบน้ำมาสูบมันขึ้นในที่
สูงเท่านั้น
บุคคลผู้ประพฤติตามอำนาจของจิต ก็
ย่อมประพฤติตามสิ่งที่น่าปรารถนา น่า
ใคร่ น่าพอใจ โดยไม่ได้คำนึงว่าสิ่งนั้น
จะต่ำหรือจะสูง จะดีหรือจะไม่ดี ขอให้
ได้ทำตามที่ปรารถนาเท่านั้นก็เป็น
อันว่าใช้ได้
ปฏิมํเสตมตฺตนา.
[คำอ่าน : ปะ-ติ-มัง-เส-ตะ-มัด-ตะ-นา]
“จงพิจารณาตนด้วยตนเอง”
การพิจารณา คือการเพ่ง
ให้รู้ชัดว่า สิ่งนั้น ๆ เป็น
อย่างไร ดีหรือไม่ดี
เป็นต้น
การพิจารณาตน หมายถึง
การเพ่งดูจิตของตนเอง
ให้รู้ชัดว่า สภาพจิตใจของ
เรานี้เป็นอย่างไร ดีหรือไม่
ดี เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
เป็นบุญหรือเป็นบาป ถูก
กิเลสครอบงำอยู่หรือไม่
เป็นต้น
จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
[คำอ่าน : จิด-ตัง, คุด-ตัง, สุ-ขา-วะ-หัง]
“จิตที่คุ้มครองดีแล้ว นำสุขมาให้”
จิตที่คุ้มครองดีแล้ว คือจิตที่ถูก
รักษาคุ้มครองไว้ไม่ให้หวั่นไหว
ไปตามอารมณ์ของโลก ในเมื่อ
ถูกอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นมาก
ระทบ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่น่า
ปรารถนา หรืออารมณ์ที่ไม่น่า
ปรารถนาก็ตาม
เมื่อบุคคลมีจิตอันคุ้มครอง
ดีแล้วดังที่กล่าวมา ตาเห็นรูปก็
ไม่ยินดียินร้าย หูได้ยินเสียง ก็
ไม่ยินดียินร้าย จมูกได้กลิ่น ก็ไม่
ยินดียินร้าย ลิ้นได้ลิ้มรส ก็ไม่
ยินดียินร้าย กายถูกต้องสัมผัส
ก็ไม่ยินดียินร้าย ใจรับรู้
ธรรมารมณ์ ก็ไม่ยินดียินร้าย
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา.
[คำอ่าน : กา-โล, คะ-สะ-ติ, พู-ตา-นิ,
สับ-พา-เน-วะ, สะ-หัด-ตะ-นา]
“กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์ พร้อมทั้งตัวเอง”
กาลเวลานั้นล่
วงเลยไปทุก
ขณะ และเป็นการล่วงเลยไป
โดยที่ไม่กลับมาจุดเดิมอีก เดิน
หน้าไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีวันหัน
หลังกลับ นั่นคือธรรมชาติของ
เวลา
และทุก ๆ ขณะที่เวลาเดินหน้า
ไป สรรพสัตว์ทุกชนิด ก็เข้าสู่
ความตายเข้าไปทุกขณะ
สิ่งของทั้งปวง ก็เข้าสู่ความ
คร่ำคร่าแตกสลายไปทุกขณะ
เช่นกัน พร้อมกันนี้ กาลเวลาก็
กลืนกินตัวเองเข้าไปทุกขณะ
ด้วยเช่นกัน
น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา.
[คำอ่าน : นะ, สัน-ถะ-วัง, กา-ปุ-ริ-เส-นะ, กะ-ยิ-
รา]
“ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว”
คนชั่ว ก็คือคนไม่ดี ในที่นี้หมาย
ถึงพาลชน คือบุคคลประเภทที่
ไม่ทำความดี ยินดีแต่ในเรื่องที่
ชั่ว ๆ ไม่ก่อประโยชน์ให้แก่
ตนเองและสังคม อยู่แบบรกโลก
ไม่สร้างประโยน์ในโลกนี้
ประโยชน์ในโลกหน้า และ
ประโยชน์อย่างยิ่งคือพระ
นิพพาน เช่นนี้คือคนชั่ว
ธรรมชาติของคนชั่วนั้น ย่อมจะ
สร้างแต่กรรมที่เป็นทุจริต ทำผิด
ศีลธรรม ผิดกฎหมายบ้านเมือง
สร้างความเดือดร้อนให้แก่
ตนเองและผู้อื่น
เด็กหญิง
พิชญาภา คำทะเนตร
ชั้น ม.3/9 เลขที่ 41