The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

pdf_20221128_104635_0000

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by newchucherd3335, 2022-12-06 02:39:16

กลไก

pdf_20221128_104635_0000

กลไกราคา
ในระบบ
เศรษฐกิจ

PRICE MECHANISM

เ ด็ ก ห ญิ ง พั ท ธ นั น ท์ ชู เ ชิ ด ม . 3 / 2 เ ล ข ที่ 2 4

"ตลาด"
MARKET

หมายถึง การตกลงซื้อขายสินค้าหรือบริการ
ไม่ใช่เฉพาะสถานที่ที่มีกิจกรรมการซื้อขายเกิด
ขึ้น
แต่หมายถึงตัวกิจกรรมการแลกเปลี่ยนซื้อขาย
ที่อาจเกิดขึ้นที่ใดก็ได้
ไม่จำเป็นว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องเจอหน้ากัน
ตลาดมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 3 ส่วน คือ

1. สินค้า/ บริการที่ซื้อขาย
2. อุปสงค์ และ
3. อุปทาน

1

ตลาดมีกลไก
ทำงานอย่างไร ?

จะต้องมีการนิยามสินค้า/บริการที่ซื้อขาย
ในตลาดที่ถูกต้องชัดเจนเสียก่อน

เพราะหากเราไม่ทราบว่าสินค้า/บริการ
ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนนั้น คืออะไร
เราจะตอบไม่ได้ว่าผู้ขายและผู้ซื้อคือใครบ้าง

2

"อุปสงค์"
DEMAND

หากใช้ภาษาง่ายๆ ก็คือ ความอยากซื้อสินค้า
และมีกำลังพอที่จะซื้อสินค้านั้นได้จริงๆ
แต่ถ้าให้อธิบายตรงตามวิชาเศรษฐศาสตร์
อุปสงค์จะหมายถึงจำนวนของสินค้าที่ผู้บริโภค
อยากจะซื้อและมีกำลังซื้อได้ในราคาใดราคาหนึ่ง
ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
(at a given price at a given time)

3

กฎของอุปสงค์
LAW OF DEMAND

คือปริมาณความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภค
หรือเรียกอีกอย่างว่าปริมาณอุปสงค์
(Quantity Demanded)

ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา
เมื่อปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลนั้นคงที่

อธิบายง่าย ๆ คือ เมื่อสินค้ามีมูลค่า
และราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคก็จะมีแนวโน้ม

ที่ต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นน้อยลง

4

"อุปทาน"
SUPPLY

คือ ความอยากจะขายสินค้านั้น
และสามารถขายสินค้านั้นได้จริง ๆ
(ผลิตได้จริง)ถ้าอธิบายตามวิชาเศรษฐศาสตร์
อุปทานจะหมายถึงจำนวนของสินค้า
ที่ผู้ขายอยากจะขายและสามารถขายได้ในราคา
ใดราคาหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

5

กฎของอุปทาน
LAW OF SUPPLY

คือปริมาณสินค้าที่ต้องการขาย
หรือปริมาณอุปทาน (Quantity Supplied)
ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับราคา เมื่อ

ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลนั้นคงที่
อธิบายง่าย ๆ คือ เมื่อใดที่ราคาสินค้า
มีการดีดตัวสูงขึ้น ทางฝั่ งผู้ขายเองก็มีแนวโน้ม
ที่จะต้องการขายสินค้าชนิดนั้น ๆ มากขึ้นเช่นกัน

6

"ความสัมพันธ์
ของอุปสงค์
และอุปทาน"

คือ การที่ตลาดนั้นมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ดุลยภาพ
(Equilibrium)หรือความสมดุลของตลาด
หมายความว่ามีปริมาณของอุปสงค์
และอุปทานที่เท่ากันจะเรียกราคา
ที่อยู่ในภาวะดุลยภาพนี้ว่า “ราคาดุลยภาพ” และ
ปริมาณสินค้าเรียกว่า “ปริมาณดุลยภาพ”
หากมีปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน
ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้า(อุปสงค์ส่วนเกิน)
แต่ถ้ามีปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์
ก็จะเกิดสินค้าล้นตลาด (อุปทานส่วนเกิน)

7

Equilibrium

8

กฎของอุปสงค์และอุปทานนั้น
อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคา และ
ปริมาณสินค้า เมื่อปัจจัยอื่น ๆ คงที่ แต่ถ้ามีปัจจัย

ที่เข้ามาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งอุปสงค์หรืออุปทาน
ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าปัจจัยที่จะมากำหนด
อุปสงค์หลัก ๆ นั้นมีทั้ง รายได้ ราคาของสินค้า
รสนิยม จำนวนผู้ซื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่ง
ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับกฎของ
อุปสงค์และอุปทานคือ ความยืดหยุ่น (Elasticity)

ซึ่งตามหลักทฤษฎีของอุปสงค์และอุปทานนั้น
ความยืดหยุ่นคือ การวัดการเปลี่ยนแปลง

ของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อปัจจัยที่เข้ามา
มีส่วนในการกำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน

กรณีที่พบได้บ่อยคือความยืดหยุ่นในเรื่องของราคา
ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์

หรืออุปทานที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงของราคา
จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่าอุปสงค์และอุปทานนั้น

มีการเปลี่ยนแปลงร่วมกันแบบแปรผันตรง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นหลายอย่าง

ไม่ว่าจะเป็นความต้องการ ความขาดแคลน
กระแสความนิยม ฯลฯ ที่ทำให้เกิดการทำงานของ
อุปสงค์และอุปทานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั่นเอง

9

PRICE MECHANISM

เ ด็ ก ห ญิ ง พั ท ธ นั น ท์ ชู เ ชิ ด ม . 3 / 2 เ ล ข ที่ 2 4


Click to View FlipBook Version