¤¿°|zÙ¥¡qÖÖwÙ®flº ÿĈîĆÖÜćîךĂöĎúĒúąÙúĆÜÙüćöøĎš ÖøöÖćøĒóì÷ŤĒñîĕì÷ĒúąÖćøĒóì÷ŤìćÜđúČĂÖ ÖøąìøüÜÿćíćøèÿč× ¤ |zÙ¥¡qÖÖwÙ®flº ÙĈĂíĉïć÷ÖúŠćüđÿšîÿĉï ĔîêĈøćēøÙîĉìćîÙĈÞĆîìŤĢĢ ĒúąĒñîîüéÙüęĈĔîÝćøċÖêĈøć÷ć üĆéøćßēĂøÿćøćöøćßüøüĉĀćø
ชุดการสังคายนาภูมิปญญาการนวดไทย: ๑ คําอธิบายกลาวเสนสิบในตําราโรคนิทานคําฉันท ๑๑ และแผนนวดคว่ําในจารึกตํารายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ส�านักงานข้อมูลและคลังความรู้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ค�ำอธิบายกล่าวเส้นสิบในต�ำราโรคนิทานค�ำฉันท์ ๑๑ และแผนนวดคว�่ำในจารึกต�ำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ที่ปรึกษา นายแพทย์สุเทพ วัชรปิยานันทน์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นายแพทย์ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก บรรณาธิการ ดร.รัชนี จันทร์เกษ อ.สุดารัตน์ สุวรรณพงศ์ ดร.ภก.ยงศักดิ์ ตันติปิฎก กองบรรณาธิการ ศรัณยา จันษร วนิดา ค�ำหงษา สมชาย ช้างแก้วมณี ซูไมยะ เด็งสาแม พิสิษฎ์พล นางาม ผู้ทรงคุณวุฒิและ นพ.ประพจน์ เภตรากาศ อ.สันติสุข โสภณสิริ อ.ถวิล อภัยนิคม ครูหมอนวดไทย สต.นิโรจน์ นิลสถิตย์ อ.ส�ำอาง เสาวมาลย์ อ.ธงชัย อ่อนน้อม อ.วิโรจน์ มณฑา อ.สนิท วงษ์กะวัน อ.กรกมล เอี่ยมธนะมาศ อ.ศุภณี เมธารินทร์ อ.สาวิตรี ศิริวุฒิ อ.ระวี รักษ์แก้ว จัดท�ำโดย ส�ำนักงานข้อมูลและคลังความรู้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข http://www.dtam.moph.go.th/ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ส�ำนักงานข้อมูลและคลังความรู้. ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ค�ำอธิบายกล่าวเส้นสิบในต�ำราโรคนิทานค�ำฉันท์ ๑๑ และแผนนวดคว�่ำในจารึกต�ำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร.--นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก, ๒๕๖๐. ๑๖๐ หน้า. -- (ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑). ๑. การนวด. I. ชื่อเรื่อง. 615.822 ISBN 978-616-11-3123-4 ประสานงาน ลภดา ศรีโคตร จุฑาพร ภูเวียง จินตนา ศรีสุวรรณ์ ออกแบบเนื้อหา ชนิสรา นาถนอม ออกแบบปก ชัยณรงค์ พาพลงาม จัดพิมพ์โดย กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พิมพ์ครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ จ�ำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม พิมพ์ที่ ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ในปัจจุบันองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนนั้น แม้มีอยู่มากมายหลากหลาย มีการปฏิบัติใช้รักษาผู้คนแล้วได้ผลมาแต่โบราณกาล แต่ด้วยเวลาที่ผันผ่านท�าให้องค์ความรู้เหล่านั้นบางส่วนก็มีความคลาดเคลื่อน ไม่เป็นระบบ และบางแห่งก็ไม่สามารถน�ามาต่อยอดความรู้เพื่อประโยชน์ทางวิชาการได้ ด้วยเล็งเห็นว่าความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยนั้นมีความส�าคัญต่อชาติและมีคุณค่า ทางด้านประวัติศาสตร์ วิทยาการ ความรู้เหล่านี้จึงควรได้รับการช�าระให้ทันสมัยและ ท�าให้เป็นระบบ ผ่านกระบวนการ “สังคายนา” ที่ต้องอาศัยการระดมสมอง รวบรวม ความรู้และประสบการณ์ในการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วน และน�าความรู้ที่ได้รับ การช�าระแล้วมาก่อประโยชน์และสร้างคุณค่าให้วงวิชาการแพทย์แผนไทยและประเทศชาติ ต่อไป โครงการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทยในต�าราการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ จึงด�าเนินการบนพื้นฐานของหลักการข้างต้น โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบ สารสนเทศองค์ความรู้ดิจิทัลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของประเทศไทย (TTDKL) ภายใต้การก�ากับดูแลของส�านักงานข้อมูลและคลังความรู้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก เพื่อการสังคายนาองค์ความรู้ด้านการนวดไทยและฤๅษีดัดตน เบื้องต้นที่อยู่ใน ต�าราแพทย์แผนไทยโบราณ และมีเป้าหมายในการสร้างต้นแบบการจัดการระบบภูมิปัญญา การนวดไทยที่ผ่านการถ่ายถอด ปริวรรต สังคายนา และพัฒนารหัสมาตรฐานภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทยของประเทศ (TTDKC) ที่มีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ รวมถึงมีการ บันทึกลงในระบบดิจิทัล และการสร้างเครือข่ายการสังคายนาการนวดไทยและฤๅษีดัดตน ของประเทศ ผ่านการด�าเนินงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน การนวดไทย ทั้งหมอนวดและหมอเวชกรรม ในการคัดเลือกและศึกษาวิเคราะห์ จัดจ�าแนก คํานํา
(4) องค์ความรู้ในคัมภีร์ ต�ำรา แผนนวด ศิลาจารึก และประติมากรรมฤๅษีดัดตน โดยได้ คัดเลือกแหล่งความรู้ที่ใช้ศึกษาวิเคราะห์ ๕ รายการ คือ ๑. กล่าวเส้นสิบ ในต�ำราโรคนิทานค�ำฉันท์ ๑๑ ๒. คัมภีร์แผนนวด ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ๓. คัมภีร์แผนนวด เล่ม ๑-๒ ในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒ ๔. จารึกต�ำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ๕. สมุดภาพโคลงฤๅษีดัดตน (โคลงภาพฤๅษีดัดตนต่างๆ ๘๐ รูป) โดยจัดท�ำเป็นหนังสือ ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย ๔ เล่ม ประกอบด้วย ๑ ค�ำอธิบายกล่าวเส้นสิบในต�ำราโรคนิทานค�ำฉันท์ ๑๑ และแผนนวดคว�่ำ ในจารึกต�ำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ๒ ค�ำอธิบายสมุดภาพโคลงฤๅษีดัดตน ๓ ค�ำอธิบายศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ๔ ค�ำอธิบายคัมภีร์แผนนวด เล่ม ๑-๒ ในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒ การสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทยในต�ำราการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ เป็นงาน การศึกษาร่วมกันของคณะอนุกรรมการและคณะท�ำงานฯ ครูหมอนวดไทย หมอเวชกรรมไทย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ตลอดระยะเวลา ๑ ปี ซึ่งประกอบด้วยส่วนของการจ�ำแนก ศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้ และส่วนของการสังคายนาภูมิปัญญาที่ได้จากต�ำรา กรมการเเพทย์ แผนไทยและการเเพทย์ทางเลือก ขอขอบคุณคณะอนุกรรมการ คณะท�ำงาน และวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ร่วมกันศึกษา วิพากษ์ และพัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการ สังคายนาให้มีความสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนไทยต่อไป นายแพทย์สุเทพ วัชรปิยานันทน์ อธิบดีกรมการเเพทย์แผนไทยและการเเพทย์ทางเลือก
การสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย ๑ ประกอบด้วย ค�าอธิบายกล่าวเส้นสิบใน ต�าราโรคนิทานค�าฉันท์ ๑๑ และแผนนวดคว�่าในจารึกต�ารายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ความหมาย การสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย หมายความว่า การสังเคราะห์ต�ารา คัมภีร์ จารึกที่เกี่ยวกับการนวดไทย ซึ่งปรากฏในแผนไทยมากกว่า ๑๐๐ ปี และได้มีการถ่ายทอด ความรู้สืบต่อกันมายาวนาน เพื่อให้ได้องค์ความรู้ท�าให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ตรงกันกับ ต้นฉบับเดิม เกิดกระบวนการตีความ วิเคราะห์ และสังเคราะห์สามารถน�าไปใช้ประโยชน์ ในการถ่ายทอด การรักษาต่อไปได้ในอนาคต การคัดเลือกต�ารา ๑. เป็นต�ารา คัมภีร์ จารึกที่เกี่ยวกับการนวดไทยดั้งเดิมก่อนที่การแพทย์ แผนปัจจุบันจะเข้ามามีอิทธิพลทางการรักษาโรค ๒. เป็นต�ารา คัมภีร์ จารึกการนวดที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักทฤษฎีเส้น ประธานสิบซึ่งเป็นทฤษฎีดั้งเดิมของวิชาการนวดไทย คณะท�างาน ด�าเนินการโดย “คณะท�างานเพื่อด�าเนินการสังคายนาภูมิปัญญาด้านการนวดไทย ในต�าราการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ” ตามค�าสั่งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ที่ ๗๘/๒๕๕๘ คําชี้แจงและหลักเกณฑ ในการสังคายนาภูมิปญญาการนวดไทย
(6) กระบวนการสังคายนา ๑. การศึกษาบริบทของความรู้ ๑.๑ การศึกษาองค์ความรู้ที่ปรากฏอยู่ในต�ำรา คัมภีร์ จารึก เพื่อช่วยให้เข้าใจ ถึงสภาพทางสังคม ตลอดจนการให้ความหมายต่อสุขภาพ และความเจ็บป่วยในยุคสมัยนั้น ที่อาจแตกต่างจากปัจจุบัน ๑.๒ การศึกษาประวัติศาสตร์ของต�ำรา คัมภีร์ จารึก ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยที่เกี่ยวข้อง ประวัติความเป็นมาของต�ำรา ความส�ำคัญของต�ำรา และประวัติ ผลงานของผู้แต่ง ผู้เรียบเรียง ผู้คัดลอก ผู้เขียนภาพ ๑.๓ การทบทวนวรรณกรรม ศึกษาการตีความเนื้อหาความรู้ของการศึกษา ก่อนหน้านี้ ๑.๔ ศึกษาเนื้อหาความรู้ โดยคณะท�ำงานร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ต�ำราฯ ซึ่งแบ่งวิธีการศึกษาหลัก ดังนี้ ๑) วิเคราะห์ภาพรวมเนื้อหา ๒) จ�ำแนกความรู้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน จัดเป็นกลุ่ม ชื่อโรค ลักษณะ อาการ สมมติฐานโรค ต�ำแหน่งจุดและแนวเส้นนวด ต�ำรายาที่เกี่ยวข้อง ๓) วิเคราะห์ความหมายของศัพท์เฉพาะ แหล่งที่มาของค�ำศัพท์และต�ำราที่ใช้ประกอบการค้นคว้าอ้างอิง การค้นหาความหมายของค�ำศัพท์เฉพาะจากต�ำราใช้หนังสืออ้างอิงประกอบ ดังนี้ ๑. พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระราชบรมราชูปถัมภ์; ๒๕๕๖. (๕๖๖ หน้า). ๒. ศัพท์เเพทย์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ประชาชน จ�ำกัด; ๒๕๔๖. (๒๖๒ หน้า). ๓. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรม ของชาติ. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว; ๒๕๕๔. (๑,๐๑๒ หน้า). ๔. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์; ๒๕๕๖. (๑,๔๘๔ หน้า).
(7) ๕. ความหมาย/องค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการตีความ วิเคราะห์ และ สังเคราะห์ท�ำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ตรงกันกับต้นฉบับเดิม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการ นวดไทย และคณะท�ำงานเพื่อด�ำเนินการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย (คทง.) ๖. ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร; ๒๕๔๒. ๗. ต�ำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ๒๕๐๕. (๔๗๘ หน้า). ๘. ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร; ๒๕๔๒. ๙. จารึกต�ำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; ๒๕๕๘. (๔๕๒ หน้า). ๑๐. เวชศาสตร์วัณ์ณณา ต�ำราแบบเก่า เล่ม ๑ - เล่ม ๕. สุ่ม วรกิจพิศาล เรียบเรียง ตามต�ำราของท่าน พระยาประเสริฐสารทด�ำรง (หนู) บิดา. กรุงเทพฯ: พิศาลบรรณนิติ์; ๒๔๖๐. ๑๑. New Model English - Thai Thai - English Dictionary. สอ เสถบุตร. กรุงเทพฯ: พรีมา พับบลิชชิง; ๒๐๐๘. ที่มา: http://dictionary.sanook.com/search/dicten-th-sedthabut การเขียนอ้างอิงหนังสือค�ำศัพท์ การเขียนความหมายของค�ำศัพท์ (.../...) หมายถึง (ล�ำดับหนังสือที่ใช้อ้างอิง/ระบุ เลขหน้าของหนังสือ) โดยใช้หนังสืออ้างอิงตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑-๑๑ และระบุเลขหน้าไว้ เพื่อประโยชน์ต่อการค้นคว้าต่อไป (คทง.) หมายถึง ความหมายตามที่หนังสืออ้างอิงระบุไว้ในข้อ ๕
(8) ตัวอย่างเช่น ลมปะกัง โรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะมาก อาจจะปวดข้างเดียวหรือ ๒ ข้างก็ได้ บางต�ำราว่ามักเป็นเวลาเช้า ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ร่วมด้วย เช่น ตาพร่า วิงเวียน อาเจียน ลมตะกัง หรือสันนิบาต ลมปะกังก็เรียก (๑/น. ๓๙๖) (๑/น. ๓๙๖) หมายความว่า ค้นหาความหมายของค�ำศัพท์ได้จากหนังสือล�ำดับ ที่ ๑ คือ พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๓๙๖
หน้า ค�ำอธิบำยกล่ำวเส้นสิบในต�ำรำโรคนิทำนค�ำฉันท์ ๑๑ บทน�า ..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................๓ ส่วนที่ ๑ การจ�าแนก วิเคราะห์ ภูมิปัญญา “กล่าวเส้นสิบ” ในต�าราโรคนิทานค�าฉันท์ ๑๑ ..............................................................................................................................................................................................๕ ๑. ประวัติความเป็นมา ต�าราโรคนิทานค�าฉันท์ ๑๑ .....................................................................................................๖ ๒. ความส�าคัญของ “คัมภีร์โรคนิทาน” และ “กล่าวเส้นสิบ” .............................................................๗ ๓. ลักษณะและเนื้อหา ....................................................................................................................................................................................................................๑๐ ๔. การวิเคราะห์ จ�าแนก องค์ความรู้ภูมิปัญญาการนวดไทยใน “กล่าวเส้นสิบ” ........................................................................................................................................................................................................................................๑๑ ส่วนที่ ๒ การสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทยใน “กล่าวเส้นสิบ” ในต�าราโรคนิทานค�าฉันท์ ๑๑ .......................................................................................................................................................................................๖๕ สารบัญ
(10) แผนนวดคว�่ำในจารึกต�ำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร บทน�ำ.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................๑๐๕ ส่วนที่ ๑ การจ�ำแนก วิเคราะห์ แผนนวดใน “จารึกต�ำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร”...............................................................................................................๑๐๗ ๑. ประวัติความเป็นมา.............................................................................................................................................................................................................๑๐๘ ๒. คุณค่าและความส�ำคัญของ “จารึกต�ำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร”......................................................................................................๑๑๔ ๓. ลักษณะของจารึก....................................................................................................................................................................................................................๑๑๕ ๔. การศึกษาวิเคราะห์ แผนนวดในจารึกต�ำรายา วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร....................................................................................................................................................................๑๒๕ ส่วนที่ ๒ การสังคายนาแผนนวด แผ่นที่ ๔๕ จารึกแผนนวด ในจารึกต�ำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร...............................................................................................................๑๓๗ ภาคผนวก..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................๑๔๙ ๑. ค�ำสั่งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ ๕๙๕/๒๕๕๗...........................................................................................................................................................................................................................๑๕๑ ๒. ค�ำสั่งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ ๗๘/๒๕๕๘..................................................................................................................................................................................................................................๑๕๓ ๓. ประวัติย่อคณะท�ำงานสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทยฯ.......................................................๑๕๕ หน้า
สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ ๑ การจ�าแนกชื่อ โรคและอาการ ชื่อลม และชื่อสมุฏฐานโรคในเส้นอิทา ..................๔๔ ตารางที่ ๒ การจ�าแนกชื่อ โรคและอาการ ชื่อลม และชื่อสมุฏฐานโรคในเส้นปิงคลา ...............................................................................................................................................................๔๗ ตารางที่ ๓ การจ�าแนกชื่อ โรคและอาการ ชื่อลมในเส้น และชื่อสมุฏฐานโรคในเส้นสุมนา ......................................................................................................................................................................๔๙ ตารางที่ ๔ การจ�าแนกชื่อ โรคและอาการ ชื่อลมในเส้น และชื่อสมุฏฐานโรคในเส้นกาลทารี............................................................................................................................................................๕๒ ตารางที่ ๕ การจ�าแนกชื่อ โรคและอาการ ชื่อลม และชื่อสมุฏฐานโรคในเส้นสหัสรังสี...........................................................................................................................................................๕๓ ตารางที่ ๖ การจ�าแนกชื่อ โรคและอาการ ชื่อลม และชื่อสมุฏฐานโรคในเส้นทวารี ........................................................................................................................................................................๕๔ ตารางที่ ๗ การจ�าแนกชื่อ โรคและอาการ ชื่อลม และชื่อสมุฏฐานโรคในเส้นจันทภูสัง ..........................................................................................................................................................๕๕ ตารางที่ ๘ การจ�าแนกชื่อ โรคและอาการ ชื่อลม และชื่อสมุฏฐานโรคในเส้นรุช�า ..............................................................................................................................................................................๕๖ ตารางที่ ๙ การจ�าแนกชื่อ โรคและอาการ ชื่อลม และชื่อสมุฏฐานโรคในเส้นสิกขิณี..................................................................................................................................................................๕๗ ตารางที่ ๑๐ การจ�าแนกชื่อ โรคและอาการ ชื่อลม และชื่อสมุฏฐานโรคในเส้นสุขุมัง .....................................................................................................................................................................๕๘
(12) ตารางที่ ๑๑ แสดงค�าส�าคัญในศิลาจารึกฯ ทั้งหมด ๑๘ ค�า ..........................................................................................................๑๒๙ ตารางที่ ๑๒ การจ�าแนกชื่อ โรค อาการ เส้น ลม เรียงค�าตามอักษร ....................................................................๑๓๐ ตารางที่ ๑๓ ค�าอธิบายศัพท์ .......................................................................................................................................................................................................................................๑๓๑ ตารางที่ ๑๔ จุดนวดแก้อาการ ในแผนนวด จารึกต�ารายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร .....................................................................................................................๑๓๔ หน้า
คําอธิบายกลาวเสนสิบ ในตําราโรคนิทานคําฉันท ๑๑
คําอธิบายกลาวเสนสิบในตําราโรคนิทานคําฉันท ๑๑ 3 “กล่าวเส้นสิบ” ในต�าราโรคนิทานค�าฉันท์ ๑๑ เรียบเรียงโดย พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) อดีตเจ้าเมืองจันทบูร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาล ที่ ๒ เป็นต�าราที่มีคุณค่าและความส�าคัญต่อการเรียนการสอนวิชาแพทย์แผนไทย สืบเนื่อง ยาวนานจากบรรพชนมามากกว่า ๑๐๐ ปี ซึ่งองค์ความรู้ภูมิปัญญาการนวดไทยในกล่าว เส้นสิบนี้ มีเนื้อหาความรู้ประกอบด้วยแนวทางเดินเส้นประธานสิบ อาการที่เกิดใน เส้นประธาน วิธีการนวดรักษา วิธีการรักษาด้วยต�ารับยาสมุนไพร ตัวยาสมุนไพร และ การใช้คาถาในการรักษา เป็นต้น โดยมีวิธีการอธิบายที่ครบถ้วนลงตัว เหมาะสมกับ การเป็นบทเรียนการนวดไทย และการพัฒนาด้านวิชาการ เพื่อการเผยแพร่ความรู้ ให้นักศึกษา ประชาชนผู้สนใจได้สามารถเข้าถึงความรู้และน�าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ต่อไป การด�าเนินงานสังคายนาภูมิปัญญาด้านการนวดไทย ได้จัดการศึกษาวิเคราะห์และ จ�าแนกความรู้ที่มีอยู่มากมายในค�าฉันท์ “กล่าวเส้นสิบ” ๑๙๒ บท โดยแบ่งการศึกษาเป็น ๒ ส่วน ดังนี้ การจ�าแนก วิเคราะห์ “กล่าวเส้นสิบ” ใน ต�าราโรคนิทานค�าฉันท์ ๑๑ ประกอบ ด้วย ๑. ประวัติความเป็นมา ต�าราโรคนิทานค�าฉันท์ ๑๑ ๒. ความส�าคัญของคัมภีร์โรคนิทานและกล่าวเส้นสิบ ๓. ลักษณะทางเนื้อหาของ คัมภีร์โรคนิทาน และกล่าวเส้นสิบ ๔. การศึกษาวิเคราะห์ จ�าแนก องค์ความรู้ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาการนวดไทยใน “กล่าวเส้นสิบ” ๔.๑ เนื้อหาต้นฉบับที่ใช้ท�าการศึกษา “กล่าวเส้นสิบ” ๔.๒ การจ�าแนกความรู้ เรื่อง “เส้นสิบ” ในบทค�าฉันท์ “กล่าวเส้นสิบ” บทนํา
4 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๑) ความส�ำคัญของเส้นสิบ ๒) ว่าด้วยเส้นอิทา ๓) ว่าด้วยเส้นปิงคลา ๔) ว่าด้วยเส้นสุมนา ๕) ว่าด้วยเส้นกาลทารี ๖) ว่าด้วยเส้นสหัสรังษี ๗) ว่าด้วยเส้นทวารี ๘) ว่าด้วยเส้นจันทภูสัง ๙) ว่าด้วยเส้นรุช�ำ ๑๐) ว่าด้วยเส้นสิกขินี ๑๑) ว่าด้วยเส้นสุขุมัง ๔.๓ การจ�ำแนกวิเคราะห์ค�ำ ข้อความ องค์ความรู้ภูมิปัญญาการนวดไทยที่ ส�ำคัญใน “กล่าวเส้นสิบ” ๑) ทางเดินของเส้นประธาน ๒) การจัดกลุ่มค�ำชื่อโรคและอาการ ลม และสมุฏฐานโรค ๓) การนวดรักษาในกล่าวเส้นสิบ ๔) การรักษาด้วยเวทมนต์คาถา อนึ่ง การจ�ำเเนก วิเคราะห์ “กล่าวเส้นสิบ” ในต�ำราโรคนิทานค�ำฉันท์ ๑๑ ฉบับนี้ เป็นต�ำราที่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกต�ำราที่ใช้ศึกษา คือเป็นต�ำราที่ มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป และมีการเรียนการสอนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบ กับเล็งเห็นว่า “ต�ำราโรคนิทานค�ำฉันท์ ๑๑” เป็นต�ำราที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ด้าน การแพทย์แผนไทย ที่สามารถน�ำไปเรียนรู้และศึกษาเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา การด�ำเนินงานศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายอย่างยิ่งว่าจะสามารถจ�ำแนกหมวดหมู่ ของความรู้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาความรู้ใน “กล่าวเส้นสิบ” ได้อย่างเป็นระบบ และ สามารถพัฒนาการจัดท�ำระบบข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์และมีความทันสมัย สามารถน�ำไป ต่อยอดองค์ความรู้ภูมิปัญญา และสร้างคุณประโยชน์ทางวิชาการต่อวงการแพทย์แผนไทย สืบไป
สวนที่ ๑ การจําแนก วิเคราะห ภูมิปญญา “กลาวเสนสิบ” ในตําราโรคนิทานคําฉันท ๑๑
6 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๑. ประวัติความเป็นมา ตำราโรคนิทานคำฉันท์๑๑ พระยาวิชยาธิบดี๑ (กล่อม) พระยาจันทบูร อดีตผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เป็นผู้เรียบเรียง “ต�ำรา โรคนิทาน” ค�ำฉันท์ ๑๑ โดยจารไว้บนใบลานผูกเป็นท่อน ต่อมา นายพันโทหม่อมเจ้าก�ำมสิทธิ์๒ ต�ำแหน่งผู้ช่วยเจ้ากรมแพทย์ แผนกยาไทย ได้ทดลองใช้ยาตามต�ำราโรคนิทานแล้วได้ผลดี จึงมีความประสงค์ที่จะพิมพ์ขึ้นไว้เพื่อให้เป็น สาธารณประโยชน์ ประกอบกับเห็นว่าต้นฉบับเดิมนั้นเก่าแก่มาก “...มักจะหายหกตกหล่น หาได้ก็ไม่ครบตามความประสงค์ ที่ได้ลอกไว้ก็มักตกหล่นท�ำให้เสียเนื้อความเดิมเสียบ้าง ก็มี ถ้ายิ่งนานยิ่งลอกต่อ ๆ กันไปก็จะยิ่งเลอะเทอะหนักเข้า…” นายพันโทหม่อมเจ้าก�ำมสิทธิ์ จึงได้รวบรวมเนื้อหาไว้ได้ครบบริบูรณ์ทุกผูก และ ตรวจทานแก้ไขข้อความที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องครบถ้วนมากขึ้น รวมทั้งได้เพิ่มเติมข้อความ ลงไป โดยคัดส่วนหนึ่งจากต�ำราศริรศาสตร์ของนายพันเอกพระยาด�ำรงแพทยาคุณ คือ ๑) หัวใจ ๒) ปอด ๓) ตับ ๔) ม้าม ๕) กระเพาะอาหารและล�ำไส้น้อย ๖) ล�ำไส้ใหญ่ ๗) ไต นอกจากนี้ยังได้เรียบเรียงให้เป็นค�ำฉันท์ ๑๑ ตามต�ำรับ เพื่อให้สอดคล้องกับ ต้นฉบับเดิม และเพื่อให้ “อ่านง่าย จ�ำง่าย” ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือแบบฝรั่งเผยแพร่ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ที่โรงพิมพ์บ�ำรุงนุกุลกิจ ๑ ตามท�ำเนียบในกฏหมายเก่า ต�ำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรี มีราชทินนามว่า “พระยาวิชชยาธิบดีศรีณรงค์ ฤาชัยอภัยพิริยะพาหา” เพิ่งจะมายกเลิกเสียเมื่อมีกฏหมายจัดการปกครองใหม่เป็นรูปจังหวัดและมณฑล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙. ที่มา - ท�ำเนียบพระยาจันทบุรี, http://www.chanthaboon.net/index.php?option=com_k2&view=item&layout= item&id=364&Itemid=682๒ เรียบเรียงจาก นายพันโทหม่อมเจ้าก�ำมสิทธิ์, ค�ำน�ำ ใน ต�ำราโรคนิทานค�ำฉันท์ ๑๑ แต่งโดย พระยา วิชยาธิบดี (กล่อม), พิมพ์ครั้งแรก เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, โรงพิมพ์บ�ำรุงนุกุลกิจ
คำ�อธิบายกล่าวเส้นสิบในตำ�ราโรคนิทานคำ�ฉันท์ ๑๑ 7 ๒. ความสำ คัญของ “คัมภีร์โรคนิทาน” และ “กล่าวเส้นสิบ” ๒.๑ ความสำคัญของ “คัมภีร์โรคนิทาน” “คัมภีร์โรคนิทาน” ปรากฏอยู่ในต�ำราหลายเล่มได้แก่ “ต�ำราพระโอสถพระนารายณ์” “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” “เวชวรรณา” “เวชศาสตร์ฉบับหลวง” รัชกาลที่ ๕ เป็นต้น โดยในเนื้อหาตอนแรกของคัมภีร์ “โรคนิทาน” ระบุนาม “ชีวกโกมารภัจ” เป็นผู้แต่ง ใน “ต�ำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” (พ.ศ. ๒๕๔๒) กล่าวไว้ว่า “โรคนิทาน” แปลว่า เหตุที่เกิดโรค พระคัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของพระคัมภีร์ ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค เป็นอีกคัมภีร์หนึ่งที่ออกนามว่า “โกมารภัจแพทย์” เป็น ผู้แต่ง...(น.๕๖๙) “...พิจารณาจากการวินิจฉัยโรคนั้น “ต�ำราพระโอสถพระนารายณ์” เชื่อว่า ร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน (ปถวีธาตุ) ธาตุน�้ำ (อาโปธาตุ) ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) และธาตุลม (วาโยธาตุ) โดยมีความเชื่อว่า ความเจ็บไข้ได้ป่วยเกิดจากสมุฏฐาน ๔ ประการ ที่ขาดสมดุลกัน อันได้แก่ หนึ่ง – ธาตุ ๔ ขาดความสมดุล สอง – ฤดูเดือนเป็นตัว ก�ำหนด สาม – อายุ และ สี่ – อิทธิพลของสุริยจักรวาล หรือความเป็นไปในรอบ ๑ วัน ๑ เดือน และ ๑ ปี ส่วนการรักษาด�ำเนินตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ให้รู้จัก สรรพคุณยา คือ สมุนไพร และรู้จักรสยาทั้ง ๙ รส” และใน“ต�ำราโรคนิทาน” ค�ำฉันท์ ๑๑ ของ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) กล่าวไว้ว่า ๏ หนึ่งเล่าจะกล่าวสาร โรคนิทานเป็นเค้ามูล สาธกเพื่อเกื้อกูล ในเรื่องธาตุติดต่อไป ๏ นิทานโกมาระพัจ เรียบเรียงจัดตกแต่งไว้ หวังสืบอนาคตไกล กุลบุตร์ได้เรียนวิชา ๏ จะให้รู้ซึ่งหมู่โรค แห่งฝูงโลกเกิดคิลาน์ กลัวจะน้อยร่อยวิทยา ด้วยพฤฒาผู้เฒ่าตาย
8 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๏ จะไต่ถามซึ่งกาละเม็ด ไม่สิ้นเสร็จโรคทั้งหลาย วิทยาก็เสื่อมคลาย เพราะเหตุนี้จึงกล่าวไว้ ๏ อาการสามสิบสอง จัดเปนกองสี่วิไสย มะหาภูตะรูปใน พระวิภังค์ชื่อปะระมัถ ๏ ยกออกบอกส�ำแดง ให้เห็นแจ้งกระจ่างชัด ตามคัมภีร์พระจัด ว่าธาตุดินยี่สิบกอง... อธิบายความว่า “โรคนิทาน” เป็นเนื้อหาว่าด้วยเรื่อง “ธาตุ” ท่านโกมาระพัจ เรียบเรียงไว้ เพื่อหวังให้ความรู้ทั้งหลายได้สืบทอดต่อกันไปถึงกุลบุตรอนุชนรุ่นหลัง ก่อนที่ ความรู้จะสูญหายไปหมดเพราะผู้รู้ย่อมแก่เฒ่าตายไป ความรู้ที่ได้กล่าวไว้ว่าด้วยเรื่องโรค มูลเหตุของความเจ็บป่วย อาการสามสิบสองในกองธาตุ ๔ หรือ มหาภูตรูป ได้อธิบาย ไว้ให้เข้าใจชัดแจ้งตามคัมภีร์ว่า ธาตุดิน (ปถวี) มี ๒๐ กอง ธาตุน�้ำ (อาโป) ๑๒ กอง ธาตุไฟ (เตโช) ๔ กอง ธาตุลม (วาโย) ๖ กอง ธาตุทั้ง ๔ กอง หล่อเลี้ยงร่างกายของ เราให้เป็นปกติ สดชื่น แข็งแรง แต่หากธาตุ ๔ วิบัติ ผิดปกติไปสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ร่างกาย หม่นหมอง ไม่สดชื่น แต่ก็ยังพอเยียวยาได้ ถ้าธาตุเสื่อมสูญวิบัติพร้อมกันถึง ๕ ถึง ๖ สิ่ง แล้วร่างกายก็เสื่อมโทรมดุจแก้วเกิดฟองไฝ จะเยียวยาแก้ไขยาก แม้ว่าโรคคลาย แล้วแต่สภาพร่างกายก็ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม ครั้นอายุ ๙๐ ขึ้นไปแล้ว ต่อให้ได้กินยาทิพย์ ก็เสียเปล่า อย่างไรก็ต้องตาย ยาก็จะช่วยได้เพียงทุเลาบรรเทาอาการได้บ้าง ฯลฯ ๒.๒ ความสำคัญของ “กล่าวเส้นสิบ” “กล่าวเส้นสิบ” ให้ความรู้เรื่อง “เส้นสิบ” ที่ชัดเจน มีความส�ำคัญต่อการเรียน การสอนแพทย์แผนไทย และหมอนวดไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ค�ำฉันท์ทุกบทของ กล่าวเส้นสิบ ให้มีความรู้ลึกซึ้ง ในเรื่องของ ชื่อเส้น ชื่อลม ทางเดินของเส้นประธานสิบ เหตุแห่งการเกิดโรค โรคและอาการที่เกิดในเส้น ลมในเส้นสิบ การรักษาโรคด้วยการนวด ด้วยการใช้ยา เป็นต้น
คำ�อธิบายกล่าวเส้นสิบในตำ�ราโรคนิทานคำ�ฉันท์ ๑๑ 9 ดังบทที่ ๑–๙ ได้พรรณนาถึงความส�ำคัญของเส้นสิบไว้ดังนี้ ๑. ๏ เส้นสิบท่านพรรณนา ในครรภาเปนนิไสย ล้อมสูญพระเมรุ์ไว้ สถิตย์ลึกสักสองนิ้ว ๒. ๏ ล้อมเปนจักร์ทราสูนย์ ดูไพบูลย์ไม่แพลงพลิ้ว ดุจสายบรรทัดทิว เปนแนวแถวทอดเรียงกัน ๓. ๏ เส้นซ้ายชื่ออิทา ข้างสูญหนาเปนฝ่ายจันทร์ ปิงคลาข้างขวานั้น อยู่ข้างสูญเรียกสุริยา ๔. ๏ กลางสูญเส้นแถวทอด ชิวหาตลอดเรียกสุมนา สามเรียงเคียงกันมา เปนธรรมดาส�ำหรับหมาย ๕. ๏ เส้นสามใครรู้ดี รู้วิธีเปนแลตาย ก�ำกับส�ำหรับกาย ทุกหญิงชายไม่เว้นเลย ๖. ๏ ท่านแพทย์ผู้ปัจฉา หมั่นศึกษาอย่าเพิกเฉย วิสาสะให้ค้นเคย สุดเล่ห์ลึกละเอียดนัก ๗. ๏ จงตรึกตรองในคลองเส้น ให้ชัดเจนแจ้งประจักษ์ ไต่ถามครูรู้กระหนัก วิธีลมก�ำเริบจร ๘. ๏ เส้นเอ็นย่อมเปนรู ลมเลือดชูให้ฟูฟอน ก�ำเริบมักรุมร้อน ให้ศุขทุกๆ ราตรี ๙. ๏ เมื่อสบายเลือดลมเสมอ จึงราเรอกระเษมสี ยังหะทัยให้เปรมปรี เพราะเส้นเอ็นไม่ก่อการ … สถาบันการเรียนการสอนการนวดไทยต่างๆ นิยมใช้ “กล่าวเส้นสิบ” เป็นบทเรียน สอนเรื่อง “เส้นประธานสิบ” สืบเนื่องกันมา มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา ได้คัด “กล่าวเส้นสิบ” จากต�ำราโรคนิทานค�ำฉันท์ ๑๑ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๕๘ เพื่อประกอบ การเรียนการสอนในวิชาการนวดไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ต่อมาภายหลังพิมพ์ไว้ใน “ต�ำรา การนวดไทย เล่ม ๑” และ “ต�ำราเส้นสิบ ฉบับอนุรักษ์” มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการ เรียนการสอนด้านการนวดไทยและการรักษาโรคด้วยการนวดไทยเป็นอย่างมาก
10 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๓. ลักษณะและเนื้อหา ๓.๑ ลักษณะ และเนื้อหาของ “ตำราโรคนิทาน” คำฉันท์ ๑๑ ต้นฉบับ “ต�ำราโรคนิทาน” ค�ำฉันท์ ๑๑ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) ท่านประพันธ์ เป็นค�ำฉันท์ ๑๑ จารบนใบลานผูกเป็นท่อนไว้ เนื้อหาของต�ำราฯ แต่งด้วยค�ำฉันท์ ๑๑ รวม ๒๑๖ หน้า แบ่งเป็น ๒๗ เรื่อง คือ ๑) กล่าวเกษา ๒) กล่าวโลมา ๓) กล่าว นักขา ๔) กล่าวทันตา ๕) กล่าวตะโจ ๖) กล่าวมังษัง ๗) กล่าวณะหารู ๘) กล่าวเส้น ปัตะฆาฏ ๙) กล่อนเส้นกล่อนต่างๆ ๑๐) กล่าวเส้นสิบ ๑๑) กล่าวด้วยอัฏฐิ ๑๒) กล่าวด้วย อัฏฐิมิญชัง ๑๓) กล่าวด้วยมัต์ตเกมัต์ถลุงคัง ๑๔) กล่าวด้วยวักกัง ๑๕) กล่าวด้วยหัทยัง ๑๖) กล่าวด้วยยะกะนัง ๑๗) กล่าวด้วยกิโลมะกัง ๑๘) กล่าวปิหะกัง ๑๙) กล่าวด้วย ปับผาสัง ๒๐) กล่าวอันตัง ๒๑) กล่าวอันตะคุนัง ๒๒) กล่าวอุท์ทริยัง ๒๓) กล่าว กะรีสัง ๒๓) กล่าวปิตัง ๒๕) กล่าวเสมหะ ๒๖) กล่าวบุพโพ ๒๗) กล่าวโลหิต นายพันโทหม่อมเจ้าก�ำมสิทธิ์ได้ตรวจทาน แก้ไข เพิ่มเติมตัวสะกดการันต์ และเพิ่มเติมข้อความในเนื้อหาเรื่อง ๑) หัวใจ ๒) ปอด ๓) ตับ ๔) ม้าม ๕) กระเพาะอาหาร และล�ำไส้น้อย ๖) ล�ำไส้ใหญ่ ๗) ไต โดยคัดความรู้มาจากต�ำราศริรศาสตร์ ของ นายพันเอก พระยาด�ำรงแพทยาคุณ หัวหน้ากรมแพทย์ทหารบก เรียบเรียงเป็นค�ำฉันท์ ตามแบบอย่างต้นฉบับเดิม
คำ�อธิบายกล่าวเส้นสิบในตำ�ราโรคนิทานคำ�ฉันท์ ๑๑ 11 ๓.๒ ลักษณะเนื้อหาของกล่าวเส้นสิบ เนื้อหากล่าวเส้นสิบ ประกอบด้วยค�ำฉันท์ ๑๑ จ�ำนวน ๑๙๖ บท เริ่มตั้งแต่หน้า ๗๘–๙๗ เป็นความรู้ที่อยู่ในเรื่อง “กล่าวณะหารู” (เส้นเอ็น) ความรู้เรื่อง กล่าวณะหารู ประกอบด้วย กล่าวเส้นปัตะฆาฏ กล่าวเส้นกล่อนต่างๆ และกล่าวเส้นสิบ “กล่าวเส้นสิบ” ว่าด้วย เรื่อง “เส้นสิบ” ได้แก่ ชื่อเส้น ทางเดินของเส้น โรค/อาการป่วยที่เกิดในเส้น สมุฏฐานโรค ลมประจ�ำเส้น ลมร้ายที่เกิดในเส้น การรักษา ด้วยการนวด การรักษาด้วยยา และการรักษาด้วยเวทย์มนต์คาถา เป็นต้น ๔. การวิเคราะห์จำแนก องค์ความรู้ภูมิปัญญาการนวดไทยใน “กล่าวเส้นสิบ” การด�ำเนินการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทยในต�ำราการแพทย์แผนไทย แห่งชาติ” ประกอบด้วย ๔.๑ เนื้อหาต้นฉบับที่ใช้ท�ำการศึกษา “กล่าวเส้นสิบ” ๔.๒ การจ�ำแนกความรู้เรื่อง “เส้นสิบ” ในบทค�ำฉันท์ “กล่าวเส้นสิบ” ๔.๓ การจ�ำแนก วิเคราะห์ ค�ำและข้อความองค์ความรู้ภูมิปัญญาการนวดไทยใน “กล่าวเส้นสิบ” พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) ได้ถ่ายทอดความรู้ “ต�ำราโรคนิทานค�ำฉันท์ ๑๑” ในรูปแบบการประพันธ์เป็นค�ำฉันท์ ๑๑ ได้อย่างเหมาะสม ท่านสามารถน�ำความรู้มา ร้อยเรียงให้ได้สัมผัสตามลักษณะฉันทลักษณ์อย่างมีวรรณศิลป์ ซึ่งมีบางวรรค บางค�ำ คณะท�ำงานได้ร่วมกันระดมความเห็นอย่างกว้างขวาง เพราะต้องวิเคราะห์ค�ำอย่าง ระมัดระวังอย่างมาก เพื่อความถูกต้องและแน่ใจว่าค�ำแต่ละค�ำที่ท่านประพันธ์ไว้นั้นท่าน ต้องการให้สัมผัสแบบกลอนพาไป หรือค�ำนั้นเป็นองค์ความรู้จริง
12 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๔.๑ เนื้อหาต้นฉบับที่ใช้ทำการศึกษา “กล่าวเส้นสิบ” การศึกษาองค์ความรู้ “กล่าวเส้นสิบ” ใช้เนื้อหาความรู้ จากต้นฉบับต�ำราโรคนิทาน ค�ำฉันท์ ๑๑ ของ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) อดีตเจ้าเมืองจันทบูร ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ซึ่งรวบรวมโดย นายพันโทหม่อมเจ้ามสิทธิ์ น�ำมาพิมพ์เป็นหนังสือแบบฝรั่ง ฉบับพิมพ์ครั้ง แรกเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ที่โรงพิมพ์บ�ำรุงนุกุลกิจ และจัดท�ำเป็นส�ำเนาดิจิทัล โดยร้านหนังสือท่าช้าง ความรู้ว่าด้วยเรื่อง “กล่าวเส้นสิบ” หน้าที่ ๗๘-๙๘
คําอธิบายกลาวเสนสิบในตําราโรคนิทานคําฉันท ๑๑ 13๑. ๏ ๒. ๏ ๓. ๏ ๔. ๏ ๕. ๏ ๖. ๏ ๗. ๏ ๘. ๏ ๙. ๏ ๑๐. ๏ ๑๑. ๏ ๑๒. ๏ ๑๓. ๏ ๑๔. ๏ ๑๕. ๏ ๑๖. ๏
14 ชุดการสังคายนาภูมิปญญาการนวดไทย: ๑๑๗. ๏ ๑๘. ๏ ๑๙. ๏ ๒๐. ๏ ๒๑. ๏ ๒๒. ๏ ๒๓. ๏ ๒๔. ๏ ๒๕. ๏ ๒๖. ๏๒๗. ๏ ๒๘. ๏ ๒๙. ๏ ๓๐. ๏ ๓๑. ๏ ๓๒. ๏ ๓๓. ๏ ๓๔. ๏ ๓๕. ๏
คําอธิบายกลาวเสนสิบในตําราโรคนิทานคําฉันท ๑๑ 15 ๓๖. ๏ ๓๗. ๏ ๓๘. ๏ ๓๙. ๏ ๔๐. ๏ ๔๑. ๏ ๔๒. ๏ ๔๓. ๏ ๔๔. ๏ ๔๕. ๏๔๖. ๏ ๔๗. ๏ ๔๘. ๏ ๔๙. ๏ ๕๐. ๏ ๕๑. ๏ ๕๒. ๏ ๕๓. ๏ ๕๔. ๏ ๕๕. ๏
16 ชุดการสังคายนาภูมิปญญาการนวดไทย: ๑๕๖. ๏ ๕๗. ๏ ๕๘. ๏ ๕๙. ๏ ๖๐. ๏ ๖๑. ๏ ๖๒. ๏ ๖๓. ๏ ๖๔. ๏ ๖๕. ๏๖๖. ๏ ๖๗. ๏ ๖๘. ๏ ๖๙. ๏ ๗๐. ๏ ๗๑. ๏ ๗๒. ๏ ๗๓. ๏ ๗๔. ๏ ๗๕. ๏
คําอธิบายกลาวเสนสิบในตําราโรคนิทานคําฉันท ๑๑ 17 ๗๖. ๏ ๗๗. ๏ ๗๘. ๏ ๗๙. ๏ ๘๐. ๏ ๘๑. ๏ ๘๒. ๏ ๘๓. ๏ ๘๔. ๏ ๘๕. ๏ ๘๖. ๏ ๘๗. ๏ ๘๘. ๏ ๘๙. ๏ ๙๐. ๏ ๙๑. ๏ ๙๒. ๏ ๙๓. ๏ ๙๔. ๏ ๙๕. ๏
18 ชุดการสังคายนาภูมิปญญาการนวดไทย: ๑๙๖. ๏ ๙๗. ๏ ๙๘. ๏ ๙๙. ๏ ๑๐๐. ๏ ๑๐๑. ๏ ๑๐๒. ๏ ๑๐๓. ๏ ๑๐๔. ๏ ๑๐๕. ๏๑๐๖. ๏ ๑๐๗. ๏ ๑๐๘. ๏ ๑๐๙. ๏ ๑๑๐. ๏ ๑๑๑. ๏ ๑๑๒. ๏ ๑๑๓. ๏ ๑๑๔. ๏
คําอธิบายกลาวเสนสิบในตําราโรคนิทานคําฉันท ๑๑ 19 ๑๑๕. ๏ ๑๑๖. ๏ ๑๑๗. ๏ ๑๑๘. ๏ ๑๑๙. ๏ ๑๒๐. ๏ ๑๒๑. ๏ ๑๒๒. ๏ ๑๒๓. ๏ ๑๒๔. ๏๑๒๕. ๏ ๑๒๖. ๏ ๑๒๗. ๏ ๑๒๘. ๏ ๑๒๙. ๏ ๑๓๐. ๏ ๑๓๑. ๏ ๑๓๒. ๏ ๑๓๓. ๏
20 ชุดการสังคายนาภูมิปญญาการนวดไทย: ๑๑๓๔. ๏ ๑๓๕. ๏ ๑๓๖. ๏ ๑๓๗. ๏ ๑๓๘. ๏ ๑๓๙. ๏ ๑๔๐. ๏ ๑๔๑. ๏ ๑๔๒. ๏๑๔๓. ๏ ๑๔๔. ๏ ๑๔๕. ๏ ๑๔๖. ๏ ๑๔๗. ๏ ๑๔๘. ๏ ๑๔๙. ๏ ๑๕๐. ๏ ๑๕๑. ๏
คําอธิบายกลาวเสนสิบในตําราโรคนิทานคําฉันท ๑๑ 21 ๑๕๒. ๏ ๑๕๓. ๏ ๑๕๔. ๏ ๑๕๕. ๏ ๑๕๖. ๏ ๑๕๗. ๏ ๑๕๘. ๏ ๑๕๙. ๏ ๑๖๐. ๏ ๑๖๑. ๏๑๖๒. ๏ ๑๖๓. ๏ ๑๖๔. ๏ ๑๖๕. ๏ ๑๖๖. ๏ ๑๖๗. ๏ ๑๖๘. ๏ ๑๖๙. ๏ ๑๗๐. ๏ ๑๗๑. ๏
22 ชุดการสังคายนาภูมิปญญาการนวดไทย: ๑๑๗๒. ๏ ๑๗๓. ๏ ๑๗๔. ๏ ๑๗๕. ๏ ๑๗๖. ๏ ๑๗๗. ๏ ๑๗๘. ๏ ๑๗๙. ๏ ๑๘๐. ๏ ๑๘๑. ๏๑๘๒. ๏ ๑๘๓. ๏ ๑๘๔. ๏ ๑๘๕. ๏ ๑๘๖. ๏ ๑๘๗. ๏ ๑๘๘. ๏ ๑๘๙. ๏ ๑๙๐. ๏
คําอธิบายกลาวเสนสิบในตําราโรคนิทานคําฉันท ๑๑ 23 ๑๙๑. ๏ ๑๙๒. ๏ ๑๙๓. ๏ ๑๙๔. ๏ ๑๙๕. ๏ ๑๙๖. ๏
24 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๔.๒ การจำแนกความรู้เรื่อง “เส้นสิบ” ในบทคำฉันท์ “กล่าวเส้นสิบ” องค์ความรู้เรื่องเส้นสิบพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) ได้ถ่ายทอดความรู้ไว้มีเนื้อหาที่ สามารถจัดหมวดความรู้ในแต่ละเส้น ได้อย่างชัดเจน มีดังนี้ ๑) ความส�ำคัญของเส้นสิบและการศึกษาเรื่องเส้นสิบให้เข้าใจถึงแนวทางเดิน ของเส้น และการก�ำเริบของลม ฯลฯ: บทที่ ๑-๙ ๑. ๏ เส้นสิบท่านพรรณนา ในครรภาเปนนิไสย ล้อมสูญพระเมรุ์ไว้ สถิตย์ลึกสักสองนิ้ว ๒. ๏ ล้อมเปนจักร์ทราสูนย์ ดูไพบูลย์ไม่แพลงพลิ้ว ดุจสายบรรทัดทิว เปนแนวแถวทอดเรียงกัน ๓. ๏ เส้นซ้ายชื่ออิทา ข้างสูญหนาเปนฝ่ายจันทร์ ปิงคลาข้างขวานั้น อยู่ข้างสูญเรียกสุริยา ๔. ๏ กลางสูญเส้นแถวทอด ชิวหาตลอดเรียกสุมนา สามเรียงเคียงกันมา เปนธรรมดาส�ำหรับหมาย ๕. ๏ เส้นสามใครรู้ดี รู้วิธีเปนแลตาย ก�ำกับส�ำหรับกาย ทุกหญิงชายไม่เว้นเลย ๖. ๏ ท่านแพทย์ผู้ปัจฉา หมั่นศึกษาอย่าเพิกเฉย วิสาสะให้ค้นเคย สุดเล่ห์ลึกละเอียดนัก ๗. ๏ จงตรึกตรองในคลองเส้น ให้ชัดเจนแจ้งประจักษ์ ไต่ถามครูรู้กระหนัก วิธีลมก�ำเริบจร ๘. ๏ เส้นเอ็นย่อมเปนรู ลมเลือดชูให้ฟูฟอน ก�ำเริบมักรุมร้อน ให้ศุขทุกๆ ราตรี ๙. ๏ เมื่อสบายเลือดลมเสมอ จึงราเรอกระเษมสี ยังหะทัยให้เปรมปรี เพราะเส้นเอ็นไม่ก่อการ
คำ�อธิบายกล่าวเส้นสิบในตำ�ราโรคนิทานคำ�ฉันท์ ๑๑ 25 ๒) ว่าด้วยเส้นอิทา ๒.๑ ทางเดินของเส้นอิทา: บทที่ ๑๐-๑๒ ๑๐. ๏ เกิดเปนเส้นอิทา ให้คิลาน์ก�ำเรีบราญ เส้นนี้วิถีผ่าน แต่นาภีพาดหัวเหน่า ๑๑. ๏ แล่นตลอดลงต้นขา เลี้ยวตลอดน่าสันหลังกล่าว แนบกระดูกสันหลังราว ผ่านขึ้นไปจนสุดเศียร ๑๒. ๏ แล้วเกี่ยวเลี้ยวตลบลง นาศิกตรงซ้ายจ�ำเนียร ประจ�ำลมสถิตย์เสถียร จันทะกาลาทุกราตรี ๒.๒ โรคและอาการที่เกิดในเส้นอิทา: บทที่ ๑๓-๑๗ ๑๓. ๏ เกิดโทษให้ปวดเศียร เปนพ้นเพียรอสุริยศรี ตามืดมัวอัคคี ชักปากเบี้ยวเจ็บสันหลัง ๑๔. ๏ บางเพื่อก�ำเดาปน ลมระคน โทษทุวัง กลายเปนลมปะกัง พิการรุมตัวร้อนนอน ๑๕. ๏ วิงเวียนซึ่งหน้าตา บางทีหนาโทษสังหรณ์ สันนิบาตก�ำเริบร้อน กลับไข้เศียรสุดก�ำลัง ๑๖. ๏ ล่วงเข้าถึงเจ็ดวัน มรณสัญไม่ทันสั่ง คลั่งพิษบ่อประทัง บางคาพย์ท้องเปนลมพะหิ ๑๗. ๏ ดังงูทับทาขบ เชื่อมสลบนอนมึนมิ เปนแพทย์จงตรองตริ เภทอิทาณะหาโร ๒.๓ วิธีนวดแก้ลมจันทร์ เส้นอิทา: บทที่ ๑๘-๑๙ ๑๘. ๏ อันกลายเปนลมจันทร์ โทษมหันต์ศุขุโม แพทย์ผู้ประเสริฐโถ ประจงจับเส้นอิทา ๑๙. ๏ นวดตามล�ำเนาแนว ให้หย่อนแล้วจึงวางยา ดังต�ำหรับบังคับมา แก้คิลาน์เส้นลมจันทร์
26 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๒.๔ ต�ำรับยาพอก แก้ศิลาน์เส้นลมจันทร์ลมขึ้นขบเบื้องสูง: บทที่ ๒๐-๒๓ ๒๐. ๏ ลมขึ้นขบเบื้องสูง แล่นปวดจูงถึงเศียรนั้น ให้นวดที่เจ็บพลัน แล้วประกอบยาฉะนี้มี ๒๑. ๏ เอายอดกุ่มน�้ำเจ็ด ยอดตะขบเด็ดเจ็ดยอดศรี เจ็ตมูลเจ็ดยอดดี อิกดองดึง ขิง กระเทียม ๒๒. ๏ พริกไทยใส่แต่พอ เข้าก้นหม้อเผาให้เกรียม ประสมบทละเอียดเอี่ยม เคล้าสุราเร่งพอกพลัน ๒๓. ๏ ลมจะโปงก็พอกหาย พวกลมร้ายปะกังขยัน วิเศษล�้ำคุณมะหันต์ ได้พอกแล้วหายมาหลาย ๒.๕ การรักษาลมปะกังด้วยมนต์คาถา ไสยศาสตร์: บทที่ ๒๔-๒๗ ๒๔. ๏ หนึ่งโสดปะกังลม ปวดเศียรซมมิไคร่หาย โบราณท่านบรรยาย เปนกาละเม็ดวิเศษมนต์ ๒๕. ๏ ท่านให้เอาเปลือกมะพร้าว มาถากท�ำเปนรูปคน เขียนชื่อผู้เจ็บดล ที่สูงรูปเปนส�ำคัญ ๒๖. ๏ บริก�ำซึ่งคาถา อธิถานผ่าด้วยฉับพลัน เข็มสักเศียรรูปนั้น ท�ำสามวันปะกังคลาย ๒๗. ๏ เอารูปไปทิ้งที่ ตะวันตกนี้เปนแยบคาย ต�ำหรับเคยท�ำหาย ซึ่งลมกลายร�ำเพพัด ๒.๖ ต�ำรับยาทา แก้ลมปะกังจากเส้นอิทา: บทที่ ๒๘-๓๐ ๒๘. ๏ ภาคหนึ่งเปนยาทา แก้วาตาปะกังจัด ปวดเศียรแสนสาหัด เอาพริก ขิง เมล็ดมะนาว ๒๙. ๏ ดีงูเหลือม เกลือร�ำ หัดบทท�ำแท่งยาวๆ มีดสับให้เลือดพราว เปนยางปลีที่เพรียงหู ๓๐. ๏ น�้ำมะนาวฝนกับยา สีทาเข้าแสบสักครู่ ปะกังร้ายมิอาจอยู่ อันตะระทานไม่นานนา
คำ�อธิบายกล่าวเส้นสิบในตำ�ราโรคนิทานคำ�ฉันท์ ๑๑ 27 ๒.๗ ต�ำรับยานัตถุ์ แก้ลมปะกัง: บทที่ ๓๑ ๓๑. ๏ ภาคหนึ่งยาน�้ำนัดถ์ วิเศษจัดมะหึมมา (ลูกคน) ทีสอ ว่านน�้ำหา ต�ำเอาน�้ำกรองนัดถ์หาย ๒.๘ การนวดรักษาอาการ ลมจันทร์ เส้นอิทา: บทที่ ๓๒-๓๓ ๓๒. ๏ ยาปะกังหวังย่อหยุด กล่าวเรื่องรุตธิบายขยาย ลมจันทร์พิการร้าย ชักปากเบี้ยวเสียวหน้าตา ๓๓. ๏ ให้นวดแก้ริมจะมูก เบื้องซ้ายถูกจงหนักหนา นวดท้องเส้นอิทา ไคลตามหลังทั้งสูงเศียร ๒.๙ ต�ำรับยาพอกแก้ปากเบี้ยว ปากชักลอย: บทที่ ๓๔-๓๖ ๓๔. ๏ ท�ำยาพอกปากเบี้ยว ชักหน้าเลี้ยวดังบังเหียน อย่าเกียดกลพากเพียร ใช่ลมนี้จะหายง่าย ๓๕. ๏ สรรพยาอย่าพึงแคลง ใบมะแว้งทั้งสองหมาย ใบเขือขื่น มะอึกราย ใบเจ็ตมูล ขมิ้นอ้อย ๓๖. ๏ ดินประสิวร�ำหัดบด หยดน�้ำส้มสาชูหน่อย พอกริมปากชักลอย จงเนืองๆ ก็เปลื้องหาย ๒.๑๐ ต�ำรับยากินแก้ลมอิทา เถาเอ็น เอ็นห่อ ชักปากเบี้ยว ลมอันพานไส้ ริดสีดวง จุกเสียด: บทที่ ๓๗-๕๐ ๓๗. ๏ หนึ่งโสดเปนยากิน เปนนิจสินสุดสบาย สรรพยาท่านบรรยาย หัศคุณเทศยี่สิบบาท ๓๘. ๏ มหาหิงค์สามต�ำลึง จงชั่งถึงอย่าได้ขาด บุก กลอย หัวกะดาษ เอาทั้งสองกับดองดึง ๓๙. ๏ อุตพิษ รากส้มกุ้ง ปรุงขิง แห้วหมู สะค้าน ขึง จิงจ้อ ชาพลูจึง สิ่งละต�ำลึงตรีกะตุก ๔๐. ๏ สมอไทยแต่เนื้อนา หนักเท่ายาทั้งหลายทุก ท�ำผงระคนคลุก ด้วยน�้ำผึ้ง เท่าพุดทรา
28 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๔๑. ๏ เพียรกินทุกเช้าเย็น แก้เถาเอ็นในครรภา เอ็นห่อเป็นโรคา ชักปากเบี้ยวเสียวตาแหก ๔๒. ๏ แก้ลมอันขบขัน ทั้งตัวนั้นคันยับแหลก ดุจมดตะนอยแถก ปวดเปนนิจก็เสื่อมหาย ๔๓. ๏ แก้ลมอันพานไส้ ริศสีดวงไซ้ก็กินคลาย แก้จุกเสียดได้สบาย คุณยานี้ดีหนักหนา ๔๔. ๏ หนึ่งโสดก�ำลังน้อย พึงกินถอยถ่อมลงมา เท่าเหล็ดพริกไทยรา มื้อสามเมล็ดวิเศษคลัน ๔๕. ๏ ร้อนนักให้แช่น�้ำ คุณเหลือล�้ำสุดร�ำพัน ผู้แพทย์พึงส�ำคัญ แก้วาตาอิทาหาย ๔๖. ๏ ภาคหนึ่งนามกร โลกาธิจรแก้ลมร้าย โอสถนี้ดีหลาย แก้ลมร้ายปากเบี้ยวสูญ ๔๗. ๏ อันยาทั้งสองขนาน แก้วิถานคุณมากมูล เร่งกินอย่าอาดูร แก้ลมชักปากเบี้ยวหนี ๔๘. ๏ อันโลกาธิจรยา ในต�ำราเบื้องต้นมี ค้นดูตามคัมภีร์ ในอ�ำมพฤกษ์เห็นองอาจ ๔๙. ๏ สรรพยากล่าวคุณไว้ ย่อมไพบูลดูสามารถ เส้นลมอันร้ายกาจ เร็ววินาศเสื่อมสูญดี ๕๐. ๏ เรื่องเส้นเอ็นอิทา ยุติกาตามคัมภีร์ จะยกย่องคลองวิถี เส้นปิงคะลาเบื้องขวาไป ๓) ว่าด้วยเส้นปิงคลา ๓.๑ ทางเดินเส้นปิงคลา: บทที่ ๕๑-๕๒ ๕๑. ๏ ปิงคะลาทีฆายาว กล่าวดังเส้นอิทาไซ้ จากครรภาขวาไป แล่นลงในหัวเหน่าขา ๕๒. ๏ เลี้ยวลอดตลอดหลัง สุดศรีสังลงนาศา ประจ�ำลมสูรย์กาลา ซีกข้างขวาเปนส�ำคัญ
คำ�อธิบายกล่าวเส้นสิบในตำ�ราโรคนิทานคำ�ฉันท์ ๑๑ 29 ๓.๒ โรคและอาการที่เกิดในเส้นปิงคลา: บทที่ ๕๓-๕๖ ๕๓. ๏ ปิงคะลาเมื่อวิกล หน้าตาตนแดงขึ้นพลัน ปวดเศียรรับสุริยัน แต่อุไทยไปจนเที่ยง ๕๔. ๏ ก่อพิษเปนลมปะกัง เหลือก�ำลังเจ็บสูงเพียง บางทีชักปากเอียง บางทีเลี่ยงเภทสันนิบาต ๕๕. ๏ บางทีเปนริศสีดวง น�้ำมูกล่วงไม่รู้ขาด ตึงนาศิกจามฉาด โทษสามารถเส้นปิงคะลา ๕๖. ๏ บ้างกลายเปนลมมหิ สิ้นสติไม่พูดจา ดังงูทับสมิงคลา ขบเอาหนาสลบตาย ๓.๓ การนวดรักษาอาการจากปิงคะลาเป็นเหตุ: บทที่ ๕๗-๖๒ ๕๗. ๏ ผิแพทย์จะเยียวยา โทษปิงคะลาจะให้หาย จงนวดคลึงไคลขยาย ที่เส้นร้ายปิงคะลา ๕๘. ๏ ซ้ายสูญทักขิณาวัด คัดให้หย่อนจึงผ่อนหา แก้ขม่อม ก�ำด้นมา ตามไรผม ตามหูศรี ๕๙. ๏ ทัดดอกไม้สองข้าง แก้โสตว่างท่านว่าดี กระหม่อมวาโยอักคี เกี่ยวเอาเส้นสูรย์ทะกะลา ๖๐. ๏ สันนิบาตลมปะกัง ที่หว่างคิ้วทั้งสองนา หน้าผากคลึงไคลหา ท้ายผมหลังทั้งไต้หู ๖๑. ๏ ให้แก้ทั้งสองข้าง ลมปะกังอ้างมักแฝงอยู่ ปากเบี้ยวเหมือนทั้งคู่ เส้นแฝงอยู่ชิดจะมูก ๖๒. ๏ เรื่องเส้นดังพรรณา นวดไคลหาคล�ำให้ถูก เส้นอ่อนหย่อนอย่าผูก จึงโอสถสะกดซ�้ำ ๓.๔ ยากินและยาพอกเส้นปิงคลา: บทที่ ๖๓ ๖๓. ๏ ยากินแลยาพอก ยาทานอกรุมกระหน�่ำ หมู่แพทย์พึงจดจ�ำ ยาอิทาแก้เหมือนกัน
30 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๔) ว่าด้วยเส้นสุมนา ๔.๑ ทางเดินเส้นสุมนา: บทที่ ๖๔-๖๕ ๖๔. ๏ ปิงคะลาชาจบเรื่อง น�ำต่อเนื่องสุมะนาพลัน ที่อยู่สุมะนานั้น ตรงกลางสูญนะนาภี ๖๕. ๏ แล่นเลยตรงขึ้นไป ขั้วหัวใจอุระนี้ แนบคอหอยวิถี ตลอดลิ้นสิ้นทุกเส้น ๔.๒ โรคและอาการที่เกิดในเส้นสุมนา: บทที่ ๖๖-๗๔ ๖๖. ๏ สุมะนาเมื่อวิการ พาลก่อโทษให้เคืองเข็ญ จับลิ้นไม่พรอดเปน เรียกชื่อว่าชิวหาสดม ๖๗. ๏ ลิ้นกะด้างคางแข็งนัก หนักอกใจเพราะพิษลม ให้เชื่อมมัวเมาซม บ้างเปนลมดาลตะคุณ ๖๘. ๏ จุกอกเอ็นเปนล�ำ เส้นที่ร�่ำเพราะลมหนุน สุมะนาเมื่อทารุณ วันอาทิตย์เปนเดิมที ๖๙. ๏ สุมะนาถ้าผุดจึง โทษนั้นถึงล้างชีวี ผิว่าแพทย์ผู้รู้ดี แก้สุมะนาให้พลันคลาย ๗๐. ๏ สุมะนาก็โทษลึก ย่อมโหมฮึกเปนลมร้าย เพราะดวงจิตระส�่ำระสาย จึงกลายเปนลมทะกรน ๗๑. ๏ บางทีเปนบาทจิตร์ เคริ้มจริตสติตน พูดพรอดมักอั้นอ้น มักหลงลืมจ�ำไม่ได้ ๗๒. ๏ สุมะนาเพื่อลมริ้ว ก็โทษหิวระหวยใจ แรงน้อยถอยถ่อมไป อาหารไซ้ก็คลายรศ ๗๓. ๏ ตีนมือเปรี้ยระทวยอ่อน นอนถอนใจระทวยทศ สรรพการเสื่อมสูญหมด ด้วยสุมะนาวิการใน ๗๔. ๏ สุมะนาก็โทษลม เข้ารุมรมจับหัวใจ สุมะนาใช่อื่นไกล เส้นดวงใจเราทั้งมวน
คำ�อธิบายกล่าวเส้นสิบในตำ�ราโรคนิทานคำ�ฉันท์ ๑๑ 31 ๔.๓ การรักษาอาการเส้นสุมนาด้วยการนวด: บทที่ ๗๕-๗๖ ๗๕. ๏ สุมะนาอาฌาการ อย่าหักหาญแต่พอควร หน่วงนานลมกลับหวน กลัดอกใจไม่สบาย ๗๖. ๏ น้าวหน่วงไคลคลึงผลัก อย่าหนักนักใช้ง่ายหาย เปนแพทย์รู้แยบคาย ดูอาชาอย่าพึงหมิ่น ๔.๔ รสยาที่ให้หลังการนวด รักษาอาการจากเส้นสุมะนาเป็นเหตุ: บทที่ ๗๗-๘๐ ๗๗. ๏ ครั้นเส้นหย่อนผ่อนหา แต่งหยูกยาต้มให้กิน รศยาอันมีกลิ่น ทั้งยาแท่งแลน�้ำกระสาย ๗๘. ๏ รศหอมจึงค่อยชื่น ฟื้นอารมณ์ได้ศุขสบาย เปนแพทย์อย่ามักง่าย โทษสุมะนาอย่าดูเบา ๗๙. ๏ สุมะนาถ้าเกิดลม รศยาขมประกอบเข้า กลิ่นหอมสุกขุมเอา อุ่นดวงจิตร์จะพลันหาย ๘๐. ๏ อย่าเย็นอย่าร้อนกล้า ยาจะพาระส�่ำระสาย ดูอาชาอย่ายักย้าย ตามค�ำภีร์บังคับมา ๔.๕ ต�ำรับยากินแก้สุมะนาพิการอาการต่างๆ บังเกิดเป็นชิวหาสดมภ์: บทที่ ๘๑-๘๘ ๘๑. ๏ แพทย์ใดจะใคร่แก้ สุมะนาแปลวิการา บังเกิดเข็ญเปนชิวหา พึงเอายาฉะนี้กิน ๘๒. ๏ ชมดเชียงสลึงหนึ่ง พิมเสนสลึงให้ชูกลิ่น กฤษนาหาประคิน สลึงเฟื้องตามต�ำรา ๘๓. ๏ แก่นสนนั้นหกสลึง ก�ำยานสองสลึงนา ขิง ดีปลี ทวีกว่า สิ่งละบาทอย่าขาดน�ำ ๘๔. ๏ กะล�ำภัก จันทน์ขาวหนา การะบูน เทียนด�ำข�ำ เจ็ตมูล ดองดึง ซ�้ำ สิ่งละสลึงจึงปรุงลง ๘๕. ๏ ตากต�ำท�ำระแนงย่อย น�้ำมะนาวพลอยมะงั่วคง กระสายบดปั้นบรรจง เม็ดมะกล�่ำตาหนูแท้
32 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๘๖. ๏ ตากลมในร่มแดด จะเผือดแผดรศยาแช ใส่ขวดผนึกแล อย่าให้รศกลิ่นระเหย ๘๗. ๏ แก้ไข้สั่นทั้งปวง วิบัติร่วงนะท่านเอ๋ย ชิวหาที่ตนเคย พรอดไม่ได้ใจระทด ๘๘. ๏ ละลายน�้ำดอกไม้เทศ สิบเก้าเม็ดดื่มให้หมด แก้โทษชิวหาหด กลับเหือดหายพูดได้ดี ๔.๖ วิธีท�ำน�้ำกระสายฝนยาต�ำรับยาสุมะนาพิการ–กินแก้ลม: บทที่ ๘๙-๙๐ ๘๙. ๏ หนึ่งแก้ซึ่งลมจับ หัวใจวับแรงไม่มี หิวโหยไม่สมประดี แก้สอึกห่างหายคลาย ๙๐. ๏ สิบเก้าเม็ดฝนกิน น�้ำดอกไม้สิ้นเปนกระสาย อยู่ดีๆ มิสบาย ด้วยน�้ำจันทน์จงฝนกิน ๔.๗ วิธีท�ำน�้ำกระสายฝนยาต�ำรับยาสุมะนาพิการ–กินแก้แปรี่ยวด�ำ: บทที่ ๙๑-๙๒ ๙๑. ๏ หนึ่งโสตแก้เปรี่ยวด�ำ น�้ำมะนาว กระเทียมกลิ่น ยาระคนฝนให้สิ้น สิบเก้าเม็ดวิเศษหาย ๙๒. ๏ ผิแพทย์พบยานี้ คุณวิธีประเสริฐหลาย เร่งท�ำเคยใช้หาย ควรค่าค�ำชั่งหนึ่งพลัน ๔.๘ ต�ำรับยากิน และประคบคาง แก้คางแข็ง ลิ้นหดพูดไม่ได้: บทที่ ๙๓-๙๕ ๙๓. ๏ หนึ่งโสดก็ยากิน คางแข็งสิ้นชิวหาอัน ลิ้นหดไม่จ�ำนัน เพราะสุมนาชิวหาสะดม ๙๔. ๏ ให้เอาซึ่งใบหนาด ทั้งผักคราดแลสารส้ม พรหมมิจงประสม ละลายน�้ำมะนาว น�้ำท่ากิน ๙๕. ๏ หนึ่งโสดประคบคาง อันแข็งกระด่างก็หายสิ้น ผู้แพทย์อย่าดูหมิ่น ว่ายานี้จะไม่หาย
คำ�อธิบายกล่าวเส้นสิบในตำ�ราโรคนิทานคำ�ฉันท์ ๑๑ 33 ๔.๙ ต�ำรับยากิน แก้วิงเวียน: บทที่ ๙๖-๙๘ ๙๖. ๏ หนึ่งโสดแก้วิงเวียน ดวงจิตร์เจียนจักวางวาย ซึมซมเพราะลมร้าย จงท�ำยาฉะนี้กิน ๙๗. ๏ เปลือกหอยทั้งห้าเผา เอาเทียนห้าอันหอมกลิ่น เจ็ตมูล ขิงแห้งชิ้น ชั่งเท่ากันท�ำผงพลัน ๙๘. ๏ ละลายเหล้าเอายาตรอก สักถ้วยจอกวิเศษขยัน ย่อมฟื้นคลายสบายครัน สิ้นโทษพลันในสุมะนา ๔.๑๐ ต�ำรับยากิน แก้ลิ้นหด คางแข็ง คลั่งไคล้: บทที่ ๙๙-๑๐๐ ๙๙. ๏ หนึ่งพะยารากขาวไซ้ ผิวไม้ไผ่ พรหมมิมา พิศนาศบดจุลนา น�้ำมะนาวฝนให้กิน ๑๐๐. ๏ แก้ลิ้นหด คางแข็ง อย่าคลางแคลงหายหมดสิ้น คลั่งไคล้แม้นได้กิน สิ้นสูญโทษดังกล่าวมา ๔.๑๑ ต�ำรับยากินแก้ลมบาทจิตร อันเกิดจากพิษม์ลมชิวหาสดมภ์ ดีเดือด ดีพลุ่ง ลมให้ตัวลายวิงเวียนให้จับหัวใจ: บทที่ ๑๐๑-๑๐๖ ๑๐๑. ๏ หนึ่งโสดแก้บาทจิตร์ เกิดเพื่อพิษม์ลมชิวหา ดีเดือด ดีพลุ่งมา แก้ลมกล้าให้ตัวลาย ๑๐๒. ๏ แก้ลมวิงเวียนให้ จับหัวใจก็เสื่อมหาย พิษม์กาฬอันร้อนร้าย ร้อนอกใจมิสะเบย ๑๐๓. ๏ เอาโกฎหัวบัว เขมา ขิงแห้งเรานะแพทย์เอ๋ย จันทน์ลูกดอกอย่าละเลย สิ่งละสลึงหนึ่งชั่งใส่ ๑๐๔. ๏ ยาด�ำอิกน�้ำตาล กรวดรศหวานเนยด้วยไซ้ เปลือกฟักเขียวพิกัดไว้ สิ่งละสามบาทอย่าขาดท�ำ ๑๐๕. ๏ ดีปลีบาทหนึ่งเอา เกลือสินเธาว์สี่เฟื้องข�ำ ดีจรเข้ งูเหลือมซ�้ำ สิ่งละเฟื้องอย่าเคืองขัด
34 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๑๐๖. ๏ ต�ำผงละลายน�้ำผึ้ง น�้ำร้อนพึงแก้วิบัติ น�้ำส้มสาชูจัด กินแล้วลมตรีสูญหาย ๔.๑๒ ต�ำรับยามูลจิตร์ แก้ลมร้ายบาทจิตร์ แก้ลมวิงเวียน ลิ้นกระด้างคางชิด แก้พิษโลหิต: บทที่ ๑๐๗-๑๑๒ ๑๐๗. ๏ มูลจิตร์นี้ดีอาจ คุณสามารถแก้ลมร้าย รศกลิ่นยาหอมคลาย แก้ลมร้ายบาทจิตร์ ๑๐๘. ๏ แก้ลมอันวิงเวียน มักหาวเหียนอันเนืองนิจ ลิ้นกระด้างคางชิด บ�ำรุงพิษม์โลหิตหาย ๑๐๙. ๏ ให้เอาลูกผักชี เจ็ตพังคี ดอกค�ำหมาย สมุลแว้ง ฝางเสนสาย อบเชย (เทศ) สิ่งละต�ำลึงยิ่ง ๑๑๐. ๏ โกฎห้า เทียนทั้งห้า ว่านเปราะหนาศักขี ขิง กระวาน กานพลู จริง กฤษนา กะล�ำภัก ๑๑๑. ๏ ลูกจันทน์แลดอกจันทน์ จันทน์สองนั้นจึงประจักษ์ ตรีกะตุกทั้งนี้หนัก สิ่งละสองสลึงจึงควรดี ๑๑๒. ๏ ท�ำแท่งสุราละลาย น�้ำกระสายเร่งภุญชี น�้ำส้มส้าขิงข่ามี ตามวิธีควรกินหาย ๔.๑๓ ต�ำรับยาอินทวิเชียน แก้ลมร้ายบาทจิตร์: บทที่ ๑๑๓-๑๒๕ ๑๑๓. ๏ หนึ่งโสดแพทย์พึงเพียร อินทวิเชียนต�ำราหมาย โบราณท่านบรรยาย แก้ลมร้ายบาทจิตร์ ๑๑๔. ๏ อบอับจับดวงใจ ให้หลงไหลคลุ้มคลั่งพิษม์ แน่นอกอาเจียนติด รากลมเปล่าให้หนาวร้อน ๑๑๕. ๏ อาหารกลืนขืนกิน แต่ได้กลิ่นกลับขย้อน แก้พิษม์โลหิตร้อน ให้ใคล้คลั่งทั้งตีขึ้น ๑๑๖. ๏ ลมสรรนิบาตวินาศหาย ลมทั้งหลายบ่อฝ่าฝืน โอสถนี้ดียั่งยืน แพทย์พึงท�ำตามต�ำรา
คำ�อธิบายกล่าวเส้นสิบในตำ�ราโรคนิทานคำ�ฉันท์ ๑๑ 35 ๑๑๗. ๏ ให้เอาโกฎน�้ำเต้า โกฎก้านพร้าว โกฎพุงปลา โกฎเชียง โกฎจุลา โกฎกัตกรา โกฎกระดูก ๑๑๘. ๏ เทียนด�ำ ขาว เปลือก แดง เยาวภานีทั้งห้าถูก ขอนดอก อ�ำพันผูก ทั้งกฤษณา กระล�ำภัก ๑๑๙. ๏ จันทน์ทั้งสอง สมุลแว้ง พิมเสนแรงชมดฝัก ก�ำยาน เปราะหอมหนัก ทั้งกานพลู ลูกกระวาน ๑๒๐. ๏ ใคร้เครือ หญ้านางดี ลูกผักชี ชะลูดกาน อบเชย อ�ำพันพาน เบ็ญกูลทั้งฝางเสน ๑๒๑. ๏ (ลูก) กระดอม ดอกสารพี พิกุลดีมลิเย็น บุญนาค จ�ำปาเปน กะดังงา ดอกค�ำไทย ๑๒๒. ๏ เลือดแรด (ดี) วัวเถื่อนหา ดีหมูป่า (ดี) งูเหลือมใส่ ชั่งควรประมวลไว้ ยาทั้งนี้เท่าๆ กัน ๑๒๓. ๏ บดด้วยน�้ำสรรพดี กระสายนี้วิเศษขยัน ท�ำแท่งละลายฉัน ตามโรคนั้นละลายกิน ๑๒๔. ๏ กระสายแพทย์ผู้ปราชญ์ ตามฉลาดตรองประคิน หอมเย็นหรือร้อนกลิ่น หวานเปลี้ยวฝาดตามบัญชา ๑๒๕. ๏ ควรแต่โรคสถานใด ดูคลึงคล้ายยักย้ายหา บังคับตามโรคา ประคินกินเอาแต่หาย ๔.๑๔ ต�ำรับยาแก้ลิ้นหดเพื่อลมร้าย: บทที่ ๑๒๖-๑๒๙ ๑๒๖. ๏ ภาคหนึ่งพึงก�ำหนด แก้ลิ้นหดเพื่อลมร้าย ดีปลี กระเทียมหมาย ลูกประค�ำควาย ลูกสวาสดิ์ ๑๒๗. ๏ มะขามเปียกอิกลูกจันทร์ พริกไทยนั้นเผ็ดร้ายกาด เกลือขั้วร�ำหัดขาด ใส่ถาดต�ำท�ำเปนผง ๑๒๘. ๏ ละลายน�้ำผึ้งกลืนกิน แก้โทษลิ้นหายมั่นคง ลมร้ายสิ้นพิศสง คงสุมะนาวิการหาย
36 ชุดการสังคายนาภูมิปัญญาการนวดไทย: ๑ ๑๒๙. ๏ สุมนากล่าวนิเทศ พอสังเกตหยุดธิบาย กล่าวกลับล�ำดับขยาย ในเส้นเอ็นชื่อทารี ๕) ว่าด้วยเส้นกาลทารี ๕.๑ ทางเดินของเส้นกาลทารี: บทที่ ๑๓๐-๑๓๕ ๑๓๐. ๏ อาจารย์ท่านพรรณนา แล่นออกมาแต่นาพี กลับแตกแยกเปนสี่ สองเส้นนี้ผ่านขึ้นไป ๑๓๑. ๏ ตามโครงสุดข้างละเส้น ร้อยขึ้นเปนสบักใน ทั้งซ้ายขวาตามนิสัย แล่นขึ้นไปก�ำด้นครัน ๑๓๒. ๏ ตลอดเศียรเวียนกระหลบ แล่นทวนทบจรจัล โดยหลังแขนทั้งสองนั้น ออกไปงันที่ข้อมือ ๑๓๓. ๏ แตกแยกเปนห้าแถว ตามแนวนิ้วให้ยึดถือ สองข้างทุกนิ้วมือ ให้ยึดถือท�ำต่างๆ ๑๓๔. ๏ สองเส้นเบื้องใต้นั้น แล่นผกผันลงเบื้องล่าง ตามหน้าขาสองข้าง วางลงไปหน้าแข้งพลัน ๑๓๕. ๏ หยุดพอเพียงข้อท้าว แตกออกเหล่าละห้าอัน เอ็นหนึ่งทั้งห้านั้น ทั้งสองข้างดังกล่าวมา ๕.๒ โรคและอาการที่เกิดในเส้นกาลทารี: บทที่ ๑๓๖-๑๔๐ ๑๓๖. ๏ อันเส้นการะทารี ทั้งสี่นี้เมื่อวิการ์ ก�ำเริบให้คิลาน์ ย่อมเย็นชา เหน็บทั้งตัว ๑๓๗. ๏ มักให้จับเย็นสะท้าน เพราะอาหารแสลงชั่ว ขนมจีนเข้าเหนียวถั่ว พอใจกินจึงเกิดเปน ๑๓๘. ๏ อาทิตย์จันทร์โทษนี้ การะทารีก�ำเริบเข็ญ บางทีก็กลายเห็น โทษสันนิบาตท�ำกะลี ๑๓๙. ๏ บางคาบกลับเปนลม เรียกนิยมหัสรังษี นอนแน่ไม่สมประดี รู้สึกกายไม่เปนเลย
คำ�อธิบายกล่าวเส้นสิบในตำ�ราโรคนิทานคำ�ฉันท์ ๑๑ 37 ๑๔๐. ๏ อาการเส้นทารี สิ้นเท่านี้นะท่านเอ๋ย อยูกยาไม่มีเลย สิ้นเรื่องราวกล่าวต่อไป ๕.๓ วิธีนวดแก้อาการในกาลทารี: บทที่ ๑๔๑ ๑๔๑. ๏ ผิจะแก้ก็แต่นวด ตรวจกดเส้นดังกล่าวไว้ ให้หย่อนผ่อนพักใจ จึงแก้ไขด้วยอยูกยา ๕.๔ วิธีให้ยาหลังนวดกาลทารี: บทที่ ๑๔๒ ๑๔๒. ๏ โอสถในปัถวี มาภุญชีทุกทิวา อาจบรรเทาเบาพาทา โทษมะหาก็ห่างหาย ๖) ว่าด้วยเส้นสหัสรังสี ๖.๑ ทางเดินของเส้นสหัสรังสี: บทที่ ๑๔๓-๑๔๕ ๑๔๓. ๏ หนึ่งหัสรังสีเอ็น อันเส้นนี้ท่านพิปราย ในอุทรข้างซ้ายหมาย แล่นลงไปโดยต้นขา ๑๔๔. ๏ ตลอดลงฝ่าเท้าเล่า แล่นผ่านเอานิ้วบาทา ต้นนิ้วสิ้นทั้งห้า ย้อนขึ้นมาข้างซ้ายพลัน ๑๔๕. ๏ ตลอดทอดเต้านมซ้าย แล่นผันผายข้างคอนั้น ลอดขากันไกลพลัน สุดเส้นนั้นเปนรากตา ๖.๒ โรคและอาการที่เกิดในเส้นสหัสรังสี: บทที่ ๑๔๖-๑๔๙ ๑๔๖. ๏ บังคับให้กลับกรอก หลับลืมออกเปนธรรมดา ประจ�ำตาข้างซ้ายหนา เมื่อวิกาก�ำเริบนั้น ๑๔๗. ๏ มักเปนลมจักขุนิวาต แลอัคคะนิวาตคุณพลัน เจ็บกระบอกจักขุผัน ย่อมวิงเวียนบ่อลืมแล ๑๔๘. ๏ อันโทษหัสรังษี เกิดกะลีฉนี้แท้ ทั้งนี้ก็เพราะกระแส กินสิ่งของอันมันหวาน