The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by naiteera, 2020-05-21 07:44:57

หน่วยที่ 2

การใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

หนว่ ยที่ 2
การใชโ้ ปรแกรมระบบปฏิบัตกิ าร

การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดทำสารสนเทศนั้น โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องต้องใช้
จัดทำสารสนเทศจะไม่สามารถใช้งานได้เลย หากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นขาดโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซ่ึง
คอมพิวเตอร์จะต้องมีการจัดเตรียมระบบปฏิบัติการให้เสร็จสิ้นก่อนจึงจะทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ ในปัจจุบันมี
ระบบปฏิบัติการหลากหลายแบบ แตล่ ะแบบถกู สร้างขึน้ มาใหผ้ ูใ้ ช้งานสามารถใชง้ านไดง้ ่าย

2.1 หลกั การของระบบปฏบิ ัติการ

2.1.1 ความสำคัญของระบบปฏิบัตกิ าร
ระบบปฏบิ ัตกิ าร (Operating System) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟตแ์ วร์ประเภทหนึ่งท่ีทำหน้าท่ีเป็น
ตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป มีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่อง
คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการทำงานของซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์
เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบ
เครือข่าย การส่งสัญญาณเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้อง
ขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์หลาย ๆ ตัว
ทำงานพร้อม ๆ กัน ระบบปฏิบัติการช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตัวเอง แค่
เรยี กใช้บรกิ ารจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำใหก้ ารพฒั นาซอฟตแ์ วร์ทำได้ง่ายขึ้น
ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการไม่ได้ถูกจำกัดเพียงใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น อุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ทันสมัยต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นเกม เครื่องซักผ้า ก็มี
ระบบปฏิบัติการทอ่ี อกแบบมาเฉพาะในการควบคุมการทำงานเชน่ กนั
2.1.2 หน้าทขี่ องระบบปฏิบตั ิการ
หน้าทีข่ องระบบปฏิบตั ิการแบ่งออกเปน็ 2 หน้าท่ี ดังนี้

1.) หน้าที่หลัก คือ จัดการทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล
หน่วยความจำ อุปกรณอ์ ินพตุ -เอาตพ์ ุต อปุ กรณส์ ่อื สาร และขอ้ มลู

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวชิ าเทคนิคคอมพวิ เตอร์ วชิ า คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพอ่ื งานอาชีพ (20001-2001)
เรียบเรยี งโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลยั เทคนิคชุมพร

ภาพท่ี 2.1 ระบบปฏบิ ัตกิ ารทำงานเป็นตวั กลางระหว่างผใู้ ชก้ บั ฮารด์ แวร์
2.) หนา้ ทรี่ อง ประกอบดว้ ย

(1) เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้ (User Interface) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ
ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ได้ ซึ่งการติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้อาจอยู่ในรูปของตัวอักษร (Text
Command) หรือรปู ภาพ (Graphic User Interface: GUI)

(2) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้ ในองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีผู้ใช้
คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 คน และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล
เปน็ ตน้

(3) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ระบบปฏิบัติการจะอนุญาตให้ผู้ใช้แต่ละ
คนมีสิทธใิ์ ช้ขอ้ มลู นน้ั ๆ และช่วยจดั ควิ ของผู้ใชใ้ นการเข้าถึงข้อมลู เพอ่ื ใหข้ ้อมูลนน้ั มคี วามถกู ตอ้ งแมน่ ยำ

(4) แก้ไขการทำงานของระบบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเกิด
ความผิดพลาดในขณะทำงานอยู่ ระบบปฏิบัติการจะทำการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพอยู่
เสมอ

(5) ช่วยให้หน่วยอินพุต-เอาต์พุตทำงานได้คล่องตัว ในการติดต่อระหว่าง
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุตต่าง ๆ ต้องอาศัยระบบปฏิบัติการเพื่อให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้
ถูกต้องและสอดคล้องกนั

2

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพวิ เตอร์ สาขาวิชาเทคนคิ คอมพวิ เตอร์ วิชา คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพื่องานอาชีพ (20001-2001)
เรยี บเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลัยเทคนิคชมุ พร

2.2 ระบบปฏิบัติการทไ่ี ดร้ บั ความนยิ ม

ปัจจุบันมีระบบปฏิบัติการทีไ่ ดร้ บั ความนิยมใช้อย่างแพรห่ ลายในเครือ่ งไมโครคอมพิวเตอร์หรือเครื่อง
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีทั้งระบบเปิดและระบบปิด เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows)
ระบบปฏิบตั กิ ารลนิ ุกซ์ (Linux) ระบบปฏบิ ตั ิการแมค (Mac) ดังตอ่ ไปน้ี

2.2.1 ดอส (DOS : Disk Operating System) ระบบปฏิบัติการดอสเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมาก
ในหมู่ผู้ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาประมาณ ค.ศ.1980 (พ.ศ.
2523) การทำงานจะใช้วิธีการพิมพ์ชุดคำสั่งแบบบรรทัดคำสั่ง (Command Line) การใช้คำส่ังให้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ทำงานตามจุดประสงค์ของผ้ใู ช้นัน้ จะต้องป้อนข้อมูลลงไปทีละบรรทัด

ภาพที่ 2.2 หนา้ จอของระบบปฏิบัติการดอส
2.2.2 วนิ โดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบตั ิการท่ีถูกพฒั นาต่อมาจากดอส โดยนำแบบกราฟิกมาใช้
เป็นหลักการในการสร้างเมนูคำสั่งหรือปุ่มคำสั่งการทำงานต่าง ๆ เข้ามาใช้แทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด
ระบบปฏบิ ัติการวินโดวส์แบ่งการทำงานออกเปน็ ส่วน ๆ และการปฏิบตั ิงานของวินโดวส์ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถ
ทำงานหลายงานพรอ้ มกันได้ รูปแบบของคำสั่งในการส่ังใหเ้ ครือ่ งคอมพวิ เตอร์ทำงานจะใช้รปู แบบของกราฟิก
โดยใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเลือกคำสั่งจากเมนูที่ได้จัดแบ่งเป็นหน้าต่างของคำสั่งแต่ละส่วน
แทนการใชว้ ิธกี ารพมิ พ์คำสั่งลงไปทลี ะบรรทัด จงึ ทำใหก้ ารใชง้ านบนระบบปฏิบตั ิการวนิ โดวส์ใช้งานง่าย ได้รับ
ความนิยมจากผใู้ ช้มากในปัจจุบนั

3

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยคี อมพวิ เตอร์ สาขาวชิ าเทคนคิ คอมพิวเตอร์ วชิ า คอมพิวเตอรแ์ ละสารสนเทศเพือ่ งานอาชพี (20001-2001)
เรียบเรยี งโดย นายธีระ โชคพระสมบตั ิ วิทยาลยั เทคนิคชมุ พร

ภาพที่ 2.3 หนา้ จอระบบปฏิบตั กิ ารวนิ โดวส์
(ท่มี า: https://betanews.com/wp-content/uploads/2020/04/Windows-20-16-1200x674.jpg)

2.2.3 ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นมานับตั้งแต่การนำไปใช้กับเครื่อง
มินคิ อมพวิ เตอร์ซง่ึ เป็นระบบปฏิบัติการท่ีเหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
และระบบปฏิบัติการยนู ิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการท่ีเป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open System) เป็นแนวคิดทีผ่ ้ใู ช้
ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับระบบใดระบบหนึ่ง หรือการใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน นอกจากน้ียังออกแบบมาเพ่ือ
การนำไปใช้งานในรูปแบบของมัลติยูสเซอร์ (Multi-User) คือ ผู้ใช้หลายคนสามารถทำงานพร้อมกันในเวลา
เดียวกันได้ และสามารถนำไปใช้กับการทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ที่เรียกว่ามัลติทาสกิ้ง (Multi-
Tasking) ปัจจุบันระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการใช้งานระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว
และระบบปฏิบตั กิ ารแบบเครือขา่ ย

ภาพที่ 2.4 ระบบปฏบิ ัติยนู ิกซ์ของบริษทั ซันไมโครซิสเต็ม
(ที่มา: https://cdn.arstechnica.net/wp-content/uploads/2009/06/opensolaris-start-here.png)

4

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคนคิ คอมพิวเตอร์ วชิ า คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพ่อื งานอาชีพ (20001-2001)
เรียบเรยี งโดย นายธีระ โชคพระสมบตั ิ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร

2.2.4 ลีนุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ตระกูลหนึ่งที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อเป็น
ระบบปฏิบัติการที่สามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความ
นิยมมากเนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ประเภทแจกฟรี (Freeware) นอกจากเป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ดาวน์โหลด
เพื่อนำไปใช้งานได้ฟรีแล้วยังเผยแพร่โค้ดคำสั่ง (Source Code) ของโปรแกรมต้นฉบับเพื่อให้ผู้ใช้สามารถ
นำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขระบบต่าง ๆ ได้ตามต้องการ ที่เรียกว่า “โอเพนซอร์ซ (Open Source)” จึงมีการ
ผลติ ออกมาหลายชอ่ื แตกตา่ งกนั ไป

ภาพท่ี 2.5 ระบบปฏบิ ตั กิ ารลินุกซ์
(ท่ีมา: https://fossbytes.com/wp-content/uploads/2020/01/ubuntu-yaru-theme-

after_light_dark.jpg)
2.2.5 แมคโอเอส (Mac OS) เปน็ ระบบปฏิบตั ิการสำหรับเคร่ืองไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอชของ
บริษัทแอปเปิ้ล เป็นเครอ่ื งไมโครคอมพวิ เตอรท์ นี่ ำมาใชก้ ับงานเฉพาะดา้ น ได้แก่ งานดา้ นกราฟกิ การออกแบบ
และสิ่งพิมพ์ จึงพบว่านิยมใช้ในสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ต่าง ๆ ระบบปฏิบัติการนี้จะสนับสนุนการใช้งานแบบ
กราฟกิ (GUI) เชน่ เดียวกับระบบปฏบิ ัติการวินโดวส์

ภาพที่ 2.6 ระบบปฏบิ ัตกิ ารแมคโอเอส
(ทม่ี า : https://blog.roblox.com/wp-content/uploads/2017/02/Mac-OS-X-10.5-Leopard.png)

5

เอกสารประกอบการเรยี น แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวชิ าเทคนิคคอมพิวเตอร์ วชิ า คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพ่อื งานอาชีพ (20001-2001)
เรียบเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลยั เทคนิคชมุ พร

นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ที่ออกแบบมาใช้งาน
เฉพาะกับอุปกรณ์นั้น ๆ เช่น ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) สำหรับใช้งานบนโทรศัพท์มือถือหรือ
แทป็ เลต็ ระบบไอโอเอส (iOS) สำหรับโทรศัพท์มือถอื ยี่ห้อไอโฟน เปน็ ตน้

ภาพที่ 2.7 ระบบปฏบิ ัตกิ ารไอโอเอส

ภาพที่ 2.8 ระบบปฏิบตั กิ ารแอนดรอยด์

2.3 ระบบปฏบิ ัตกิ าร Windows

ระบบปฏิบัติการมีอยู่อย่างหลากหลาย แต่ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ ระบบปฏิบัติการ Windows
รูปแบบการใช้งานของระบบปฏิบัติในยุคปัจจุบันจะใช้การสั่งการผ่านรูปภาพ โดยการใช้เมาส์ชี้และคลิกท่ี
รปู ภาพท่เี ป็นคำสง่ั นน้ั จงึ ทำใหง้ า่ ยตอ่ การใชง้ าน

ระบบปฏิบัติการ Windows 10 เป็นระบบปฏิบัติการจากบริษัทไมโครซอฟต์ ถูกออกแบบเพื่อใช้งาน
เพื่อให้ทำงานกับอุปกรณ์ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น สมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ต นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานกับ
เครอื่ งคอมพิวเตอร์ไดห้ ลายชนดิ

2.3.1 การเปิดใช้งาน Windows
เครื่องพีซีทีไ่ ด้รับการติดตั้งระบบปฏบิ ัติการ Windows 10 แล้ว เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีการ
บู๊ตระบบปฏิบัติการ (System Boot) จากนั้นหน้าจอภาพจะแสดงภาพ Lock Screen พร้อมด้วยวันเวลา
รวมถึงการแจ้งเตอื นตา่ ง ๆ ผ้ใู ชส้ ามารถเข้าใช้งาน Windows ได้ดงั น้ี

(1). คลกิ เมาส์ปมุ่ ซ้ายหรือกดปุ่ม Enter
(2). ใสร่ หสั ผ่านเพ่อื เขา้ ใช้ระบบ จากน้ันกดปุ่ม Enter

6

เอกสารประกอบการเรยี น แผนกวชิ าเทคโนโลยคี อมพวิ เตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพวิ เตอร์ วิชา คอมพิวเตอรแ์ ละสารสนเทศเพ่ืองานอาชพี (20001-2001)
เรยี บเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลัยเทคนิคชมุ พร

ภาพที่ 2.9 หน้าจอ Lock Screen ของ Windows 10

ภาพท่ี 2.10 หน้าจอใสร่ หสั ผา่ นในหน้า Login

ภาพท่ี 2.11 แสดงปุ่มคำสงั่ บนหน้าจอ Login

2.3.2 การปดิ การใช้งาน Windows

เมื่อใช้งานเสร็จแล้วและต้องการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนแรกคือผู้ใช้จะต้องออกจากระบบ

Windows ก่อน โดยการคลิกปุ่ม Power จะพบตวั เลอื กในการปิด Windows 10 ดงั นี้

- Sleep เป็นคำส่งั เพ่ือพกั การทำงานต่าง ๆ ไวช้ วั่ คราว แต่สามารถกลบั มาทำงานต่อได้อย่าง

รวดเร็ว โดยไม่ต้องเปิดเครื่องใหม่ เพียงเลื่อนเมาส์หรือกดปุ่มใด ๆ หรือหากไม่ได้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ใน

ระยะเวลาหนึ่ง เคร่ืองจะเขา้ สูโ่ หมด Sleep ให้เอง เพือ่ เป็นการประหยัดพลงั งาน

7

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพวิ เตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วชิ า คอมพิวเตอรแ์ ละสารสนเทศเพ่ืองานอาชพี (20001-2001)
เรยี บเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลยั เทคนิคชุมพร

- Shut Down เป็นคำสั่งปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ที่เปิดใช้งาน
ค้างอยู่ด้วย ดังนั้นจึงควรทำการบันทึกข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหายของงานก่อนทำการปิดเครื่อง และเมื่อ
ต้องการกลบั มาใชเ้ ครื่องอีกครงั้ ต้องทำการเปิดเครอ่ื งใหม่

- Restart เป็นคำสั่งปิดเครื่องเพื่อเปิดเครื่องใหม่โดยอัตโนมัติ มักใช้ในกรณีที่มีการลง
โปรแกรมใหมใ่ นเครอื่ งหรอื ตดิ ตง้ั อปุ กรณ์ใหม่ หรือในกรณที ีก่ ารทำงานของเคร่ืองมีปัญหาโดยไม่ทราบสาเหตุ

ภาพที่ 2.12 การปิดเคร่ืองคอมพิวเตอร์
2.3.3 หนา้ จอของ Windows 10
เด็สก์ทอปของ Windows 10 เป็นหน้าจอศูนย์กลางในการทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ เมื่อมีการ
เรียกใช้งานโปรแกรมใดก็ตาม โปรแกรมนั้นจะปรากฏอยู่บนเด็สก์ทอป ซึ่งเด็สก์ทอปจะประกอบด้วย
ส่วนประกอบต่าง ๆ คือ ไอคอน, ตัวชี้เมาส,์ ทาสก์บาร์, ปุ่มแอปพลิเคชันที่ตรึงไว้, ปุ่มสตาร์ท, พื้นที่แสดงการ
แจ้งเตือน

8

เอกสารประกอบการเรยี น แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคนคิ คอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอรแ์ ละสารสนเทศเพื่องานอาชีพ (20001-2001)
เรียบเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร

ภาพที่ 2.13 หน้าจอของระบบปฏบิ ตั กิ าร Windows 10
เมื่อผู้ใช้ได้ลงชื่อเข้าใช้ Windows 10 แล้ว พื้นที่หน้าจอที่ใช้ทำงานได้จะอยู่ที่เด็สก์ทอปซึ่งเป็น
ภาพรวมพ้ืนฐานของเคร่ืองคอมพวิ เตอร์ ผใู้ ชง้ านสามารถเปดิ ไฟลโ์ ฟลเดอร์และแอปพลเิ คชนั ท้ังหมดได้จากที่น่ี
จะเห็นไอคอนและทาสกบ์ าร์ท่ีด้านล่างของหน้าจอทีม่ ีไอคอนและปุ่มเรม่ิ ที่มมุ ซา้ ยสดุ
ในการเปิดแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมใด ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเปิดที่เมนู Start โดยการคลิก
เมาส์ท่ี บนแถบทาสก์บาร์ที่มุมล่างซ้ายของหน้าจอ ก็จะเปิดเมนูขึ้นมาแสดงไอคอนของแอปพลิเคชัน
ต่าง ๆ และแสดงไอคอนหลักในการทำงานกับโปรแกรม เช่น File Explorer, Settings และปุ่ม Power ที่ใช้
สำหรับเลอื กวธิ ปี ิดโปรแกรม หรอื รีสตาร์ท Windows ไดอ้ ีกดว้ ย

9

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวชิ าเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพื่องานอาชพี (20001-2001)
เรยี บเรยี งโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลยั เทคนิคชมุ พร

ภาพท่ี 2.14 คลกิ ที่ปุ่ม Start เพือ่ เริ่มใช้งาน Windows 10
หลังจากคลิกที่ปุ่มเมนู Start แล้ว รายชื่อของแอปพลิเคชันและเครื่องมือต่าง ๆ จะแสดงขึ้นมาในรูป
ของไอคอนบนแผ่นหรือไทล์ มองดูเหมือนการนำเอาแผ่นกระเบ้ืองมาปูไว้กับหน้าจอ Start ผู้ใช้สามารถใช้งาน
บนหน้าจอนี้ได้ด้วยการคลิกเมาสท์ ่ไี อคอนไดอ้ ย่างสะดวก

ภาพท่ี 2.15 หน้าจอ Start Screen
10

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยคี อมพวิ เตอร์ สาขาวชิ าเทคนคิ คอมพวิ เตอร์ วชิ า คอมพิวเตอรแ์ ละสารสนเทศเพื่องานอาชีพ (20001-2001)
เรยี บเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลยั เทคนิคชุมพร

2.4 การเปดิ ใช้งาน การติดต้ัง และการยกเลิกแอปพลิเคชนั

สิ่งสำคัญของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ การเปิดใช้งานได้ สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันหรือ
โปรแกรมได้ และสามารถยกเลกิ หรอื ถอนการตดิ ตัง้ ได้

2.4.1 การเปิดใช้งานแอปพลเิ คชัน
เมอ่ื ตอ้ งการเปดิ ใชง้ านโปรแกรมทต่ี ิดตง้ั ลงในเคร่ืองแล้ว สามารถเรยี กใช้งานได้ดังนี้

1). คลิกที่ แล้วคลิกชื่อโปรแกรมทต่ี ้องการใช้งานไดท้ นั ที โดยถา้ เปน็ โปรแกรมทใ่ี ช้เป็น
ประจำคลกิ ที่ Most used ไดท้ ันที

2). ถา้ ใน Most used ไมพ่ บโปรแกรมที่ต้องการใช้งาน ใหค้ ลิกตัวอกั ษรใดอักษรหน่ึง เพ่ือให้
แสดงตัวอักษรทงั้ หมด

3). คลิกทต่ี ัวอักษรทีเ่ ป็นอักษรตวั แรกของช่ือโปรแกรมที่ต้องการ
4). เลอื กคลิกท่ีโปรแกรมที่ตอ้ งการ

ภาพที่ 2.16 การเปดิ ใชง้ านโปรแกรม
2.4.2 การตดิ ตั้งแอปพลิเคชันผา่ น Microsoft Store
ระบบปฏิบัติการ Windows 10 จะมีแอปพลิเคชันคลังโปรแกรมชื่อว่า Microsoft Store ซึ่งเป็นท่ี
จัดเก็บรายละเอียดและตำแหน่งจัดเก็บของแอปพลิเคชันที่ ไมโครซอฟต์มั่นใจได้ว่าสามารถใช้ง าน บน
Windows 10 ได้อย่างปลอดภยั และมีคณุ ภาพ ผ้ใู ช้สามารถดาวนโ์ หลดมาตดิ ตัง้ ใชง้ านได้บน Windows 10 ดงั
ขนั้ ตอนต่อไปน้ี

1). คลิกเมาส์เข้าสู่หน้า Microsoft Store ซึ่งมีรูปแบบไอคอน เป็นกระเป๋าช้อปปิ้งอยู่
ในไทล์

2). ในแต่ละแคตตาล็อกจะมชี ื่อบอกไว้อย่างชดั เจน และมีรายละเอยี ด ได้แก่ All Stars (ดาว
ที่แอปพลเิ คชันได้), Top Free (แอปพลเิ คชันฟรีที่ถูกดาวนโ์ หลดมากท่ีสดุ ), New Releases (แอปพลิเคชันมา

11

เอกสารประกอบการเรยี น แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพวิ เตอร์ สาขาวิชาเทคนคิ คอมพวิ เตอร์ วชิ า คอมพิวเตอรแ์ ละสารสนเทศเพือ่ งานอาชีพ (20001-2001)
เรียบเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร

ใหม่), Popular Now (ยอดนิยมในตอนน้ี), Top Paid (ถูกซื้อมากที่สุด) ให้เลือกแอปพลเิ คชนั จากแคตตาลอ็ ก

ที่ต้องการ

3). หลังจากเลือกแล้วแอปพลิเคชันจะถูกดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของเจ้าของแอปพลิชันมา

ติดตัง้ ไวใ้ น Windows 10

นอกจากการเลือกติดตั้งแอปพลิเคชันจากการเลือกผ่านแคตตาล็อกแล้ว ยังจะเลือกแอปพลิเคชันที่

ต้องการด้วยการค้นหาชื่อของแอปพลิเคชนั ดังตวั อย่างในภาพที่ 2.17 เป็นการติดต้ังแอปพลเิ คชนั Tuber เพ่ือ

ใชด้ าวนโ์ หลดไฟล์วิดีโอจากยูทูบ (YouTube Video Downloader HDR).

2.4.3 การเรียกใชแ้ อปพลิเคชัน

หลังจากติดตั้งแอปพลิเคชันลงในเครื่องเรียบร้อยแล้ว คอมพิวเตอร์จะให้เรียกใช้งานในครั้งแรกทันที

โ ด ย ใ ห ้ ค ล ิ ก ท่ี จะใชง้ านแอปพลิชันน้ันได้ทนั ที

สำหรับการเรียกใช้ภายหลังที่ปิดการติดตั้งแอปพลิเคชัน จะทำได้ตามที่ได้อธิบายมาแล้วในหัวข้อ

2.4.1

2.4.4 การยกเลิกการติดตง้ั แอปพลเิ คชัน

ในกรณีที่ต้องการถอนการติดตั้งแอปพลิเคชันออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้คลิกที่ปุ่ม

จากน้ันคลกิ เมาส์ขวาท่ีแอปพลเิ คชนั นัน้ เลือกคำส่งั Uninstall ตามท่ีแสดงในภาพที่ 2.19

12

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพวิ เตอร์ สาขาวชิ าเทคนคิ คอมพิวเตอร์ วชิ า คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพื่องานอาชีพ (20001-2001)
เรยี บเรยี งโดย นายธีระ โชคพระสมบตั ิ วิทยาลัยเทคนิคชมุ พร

ภาพท่ี 2.17 การติดตัง้ แอปพลิเคชนั ดว้ ยการค้นหาชอ่ื ภาพที่ 2.18 การเรยี กใช้แอปพลเิ คชันทันที
13

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยคี อมพวิ เตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพือ่ งานอาชพี (20001-2001)
เรยี บเรยี งโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลยั เทคนิคชุมพร

ภาพที่ 2.19 การถอนแอปพลิเคชนั Tuber

2.5 การตงั้ ค่าการใชง้ านส่วนตวั ดว้ ย Lock Screen

ประโยชน์ของ Lock Screen นอกเหนือไปจากการป้องกันไม่ให้ผู้อื่น ผ่านเข้ามาใช้งานวินโดวส์ได้
อย่างง่าย ๆ แล้ว ยังมีข้อดีตรงที่สามาถกำหนดแอปพลิเคชันที่แสดงรายละเอียดข้อมูลของแอปพลิเคชันให้
ทราบในทันทจี าก Lock Screen โดยท่ไี ม่ตอ้ งเสยี เวลา Sign in เข้ามาสรู่ ะบบ แล้วมาสง่ั ตรวจสอบอีกครัง้

2.5.1 การปรับพืน้ หลงั ให้กับหนา้ จอ Lock Screen
ความสวยงามของหนา้ จอวินโดวส์ เปน็ สง่ิ หนึ่งท่ีผู้ใชต้ อ้ งการกำหนดขน้ึ เอง พน้ื หลังหรอื Background
ของ Lock Screen จะกำหนดรูปแบบไดด้ ังน้ี

1). คลกิ ขวาเมาส์ท่ี Desktop จากน้ันเลือก Personalize
2). คลกิ เมาสท์ ่ี Background เลอื กภาพสำหรับพืน้ หลังให้กบั Lock Screen
3). หากตอ้ งการเลือกไฟล์ภาพเพม่ิ เติม โดยการเลือกไปที่ Browse เลือกภาพทีต่ อ้ งการ
4). จากนน้ั คลิกเลือกท่ี Choose picture

14

เอกสารประกอบการเรยี น แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคนคิ คอมพวิ เตอร์ วิชา คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพือ่ งานอาชพี (20001-2001)
เรยี บเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร

ภาพที่ 2.20 การปรับภาพพ้ืนหลงั
2.5.2 การกำหนดแอปพลเิ คชนั แสดงหน้าจอ Lock Screen
หลังจากเลือกภาพพื้นหลังแลว้ ต่อไปจะเป็นการเลอื กให้แอปพลเิ คชันตัวใดตัวหนง่ึ แสดงรายงานข้อมูล
บนหน้าจอ Lock Screen โดยกำหนดที่รายการ Lock Screen จะเห็นรายการแอปพลิเคชันที่ถูกเลือกไว้ใช้
แล้ว เช่น Mail, Weather เป็นต้น ถ้าต้องการเพิ่มแอปพลิเคชันเข้าไปให้เลือกที่ปุ่มบวก (+) จากนั้นให้เลือก
แอปพลิเคชันที่ตอ้ งการ ในทางตรงกนั ข้าม หากไมต่ ้องการให้แอปพลิเคชนั ตัวไหนแสดงข้อมลู อีก ใหเ้ ลือกไปท่ี
ไอคอนของแอปพลเิ คชันนนั้ จากน้ันเลอื กไปตรง None

ภาพท่ี 2.21 การเลือกแอปพลิเคชันแสดงบน Lock Screen
15

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพวิ เตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วชิ า คอมพิวเตอรแ์ ละสารสนเทศเพอื่ งานอาชพี (20001-2001)
เรยี บเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลยั เทคนิคชุมพร

2.5.3 การตัง้ ค่า Lock Screen
เมื่อไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลาหนึ่ง ผู้ใช้สามารถตั้งค่าให้กับ Lock Screen โดยคลิกที่
Screen timeout setting เพื่อกำหนดเวลาปิดหน้าจอ หรือเลือกคำสั่ง Screen saver setting เพื่อตั้งค่า
แสดงภาพเคลอื่ นไหว

ภาพที่ 2.22 กำหนดค่าเวลาแสดงหน้าจอและภาพเคลื่อนไหวรกั ษาหน้าจอ

2.6 การใช้ File Explorer

2.6.1 ไฟล์ โฟลเดอร์ และไอคอน
หน่วยการจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์คือ ไฟล์ (File) ซึ่งเป็นข้อมูลต่าง ๆ ที่โปรแกรมสร้างขึ้นหรือ
ใชง้ าน และถูกบนั ทกึ เก็บไวเ้ ป็น โดยมีชือ่ และนามสกลุ ทจี่ ะบอกให้รู้วา่ เปน็ ขอ้ มลู ชนดิ ใด ใช้กบั โปรแกรมชนดิ ใด
โดยแต่ละไฟลจ์ ะมีรูปสญั ลกั ษณ์ประจำตัวพร้อมชื่อกำกบั เรียกว่า ไอคอน และการที่เครื่องคอมพิวเตอร์มไี ฟล์
ต่างกันจำนวนมาก ทั้งไฟล์ข้อมูล และไฟล์โปรแกรมอาจมีจำนวนนับพัน ถ้าผู้ใช้เก็บไฟล์ทั้งหมดไว้ที่เดียวกัน
จะทำให้การค้นหาข้อมูลที่ต้องการทำได้ยากมาก ด้วยเหตุนี้จึงต้องแบ่งเก็บไฟล์ไวในโฟลเดอร์เดียวกัน ซ่ึง
โฟลเดอร์จะทำหนา้ ที่เสมอื นเป็นแฟม้ ข้อมูลที่ใช้เก็บเอกสารท่ีมีความเก่ยี วข้องกนั
ถ้าจัดเก็บไฟล์ไว้ในโฟลเดอร์แล้ว และพบว่าไฟล์มากเกินไป ทำให้การค้นหายังเป็นไปได้อย่างยาก ก็
สามารถแบ่งข้อมูลไปจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ย่อยในโฟลเดอร์นั้นอีก โดยต้องสร้างโฟลเดอร์ไว้ในโฟลเดอร์
ดงั กลา่ ว ลกั ษณะการเกบ็ ข้อมลู เชน่ น้จี ะดคู ล้ายกับโครงสร้างต้นไม้ทม่ี ีการจัดเก็บข้อมูลเปน็ ลำดบั ชัน้

16

เอกสารประกอบการเรยี น แผนกวชิ าเทคโนโลยคี อมพวิ เตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพวิ เตอร์ วชิ า คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพื่องานอาชพี (20001-2001)
เรียบเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร

ภาพที่ 2.23 การจัดเกบ็ ขอ้ มูลเปน็ ไฟลแ์ ละโฟลเดอร์
2.6.2 การเรยี กใช้งาน File Explorer
File Explorer เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการไฟล์ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 ช่วยให้ผู้ใช้
สามารถจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ในรปู แบบต่าง ๆ ได้ เช่น การเปิด การคน้ หา การคัดลอก การย้าย การสร้าง
การลบ การบีบอัดไฟล์ การแชร์ รวมไปถึงการสั่งพิมพ์งานด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งาน File Explorer
ดว้ ยการคลกิ ท่ีป่มุ Start จากนั้นคลิกที่ File Explorer หนา้ จอ File Explorer จะแสดงขึ้น ดงั ภาพท่ี 2.24

ภาพท่ี 2.24 การเปดิ File Explorer
2.6.3 การเปดิ เอกสารในโฟลเดอร์
เมอื่ ตอ้ งการเปดิ ดเู อกสารในโฟลเดอรท์ เ่ี ก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้ดงั น้ี

1). คลิกเมาส์เลือกโฟลเดอร์ที่จัดเก็บไฟล์เอกสาร ซึ่งจะแสดงข้อมูลของเอกสารนั้นทางด้าน
ขวามือ

2). ดบั เบล้ิ คลกิ ทไ่ี ฟลเ์ อกสารนน้ั โปรแกรมทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั ไฟลน์ น้ั จะเปดิ เอกสารนน้ั ๆ ขน้ึ มา
17

เอกสารประกอบการเรยี น แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพวิ เตอร์ สาขาวชิ าเทคนิคคอมพิวเตอร์ วชิ า คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพ่ืองานอาชีพ (20001-2001)
เรยี บเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบตั ิ วิทยาลยั เทคนิคชุมพร

ภาพท่ี 2.25 การเปิดไฟลเ์ อกสารในโฟลเดอร์
นอกจากนย้ี ังยังสามารถเปดิ ไฟลไ์ ด้ดว้ ยการคลกิ ขวาทีไ่ ฟล์เอกสารน้นั และเลือกคำสัง่ Open with…
และเลอื กโปรแกรมท่ีใชใ้ นการเปิดไฟล์เอกสารน้นั
2.6.4 การค้นหาไฟล์
หากต้องการค้นหาไฟล์ในโฟลเดอร์ใด ๆ ที่ผู้ใช้ไม่ทราบตำแหน่ง สามารถทำได้ด้วยการค้นหาผ่าน
เครื่องมือค้นหาของ Windows 10 ซึ่งจะทำให้ประหยัดเวลาในการค้นหา โดยจะแสดงช่อง Search อยู่ทาง
ขวามือด้านบนของหนา้ ต่าง File Explorer สามารถทำดงั น้ี

1). คลิกเลือกตำแหน่งที่ต้องการค้นหา ซึ่งอาจจะเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ (This PC), ไดรฟ์
(drive), หรือโฟลเดอร์

2). พิมพช์ ่อื ไฟล์ทีต่ อ้ งการค้นหา โดยจะพมิ พ์ช่อื เต็มหรือบางส่วนของช่ือกไ็ ด้
3). คลิกท่ี โปรแกรมคน้ หาจะแสดงชอ่ื ไฟล์ทีต่ รงกับที่ค้นหา
การกำหนดรูปแบบการคน้ หา
เมื่อเลือกการค้นหาใน File Explorer จะมีแท็บพิเศษขึ้นมา คือ แท็บ Search เพื่อช่วยในการ
กำหนดคา่ ในการค้นหา มีรายละเอียดดงั นี้

ภาพที่ 2.26 รูปแบบการค้นหา
18

เอกสารประกอบการเรยี น แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพวิ เตอร์ วชิ า คอมพิวเตอรแ์ ละสารสนเทศเพอ่ื งานอาชีพ (20001-2001)
เรียบเรยี งโดย นายธีระ โชคพระสมบตั ิ วิทยาลยั เทคนิคชมุ พร

- กลุ่มคำส่ัง Location กำหนดการคน้ หา ประกอบดว้ ย Current folder คน้ หาในโฟลเดอร์ปัจจุบัน,
All subfolders ให้ค้นหาทุกโฟลเดอร์รวมทั้งโฟลเดอร์ย่อยด้วย, Search again in ค้นหาอีกครั้งจาก
Homegroup, Libraries, Sticky Notes, Internet

- กลุ่มคำสั่ง Refine กำหนดการกรองข้อมูล ได้แก่ Date modified วันที่แก้ไข (เลือกเป็น Today,
Yesterday, This week, Last week, Last month, This year, Last year), Kind คลิกเลือกประเภทของ
ไฟล,์ Size คลกิ เลือกคน้ หาตามขนาดของไฟล,์ Other properties เลือกคณุ สมบัตอิ ่ืน ๆ

- กลุ่มคำสั่ง Option กำหนดตัวเลือกในการค้นหา ได้แก่ Recent searches แสดงการค้นหาก่อน
หนา้ นี,้ Advanced options กำหนดการคน้ หาข้ันสงู , Save search บนั ทกึ การค้นหา, Option file location
เปิดตำแหน่งไฟลท์ ค่ี ้นหาเจอ

ภาพที่ 2.27 การค้นหาไฟล์เอกสาร
2.7 การคัดลอก ย้ายไฟล์และโฟลเดอร์

หากต้องการเปล่ยี นตำแหน่งจัดเก็บไฟล์ข้อมูลบนเคร่ืองคอมพิวเตอร์ หรือสำเนาไฟล์ สามารถใชก้ าร
ลากและวาง (drag and drop) หรือผ่านเครื่องมอื ทีท่ ลู บาร์กไ็ ด้

2.7.1 การคดั ลอกหรอื ย้ายด้วยการลากไปวาง
มีขนั้ ตอนในการย้ายดว้ ยการลากไฟล์ไปวางในตำแหนง่ ปลายทาง ดังน้ี

1). เลือกโฟลเดอร์ท่ีมีไฟลท์ ต่ี ้องการยา้ ย (move)
2). คลกิ เลือกไฟล์ทีต่ ้องการย้าย
3). คลิกเลือกโฟลเดอรป์ ลายทางที่ต้องการย้ายไฟลไ์ ปไว้

19

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยคี อมพิวเตอร์ สาขาวชิ าเทคนิคคอมพิวเตอร์ วชิ า คอมพิวเตอรแ์ ละสารสนเทศเพือ่ งานอาชีพ (20001-2001)
เรียบเรียงโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลยั เทคนิคชมุ พร

4). คลิกเมาส์ค้างที่ไฟล์ท่ีต้องการยา้ ยแลว้ ลากเมาส์ไปยงั โฟลเดอร์ปลายทาง ปล่อยเมาส์ ไฟล์
จะถูกย้ายไปยงั ตำแหนง่ ใหม่

ภาพท่ี 2.28 การย้ายตำแหน่งเกบ็ ไฟล์และการคัดลอกไฟล์
ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นเป็นการย้ายไฟล์จากโฟลเดอร์ต้นทางไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ปลายทาง จะ
สังเกตเห็นว่ามคี ำว่า Move to … อยู่ในระหว่างที่ลากเมาส์ แต่หากต้องการคัดลอกไฟล์ ในข้ันตอนที่ 4 ให้กด
ปมุ่ Control แล้วลากเมาสไ์ ปยงั โฟลเดอรป์ ลายทาง จะสงั เกตเหน็ คำวา่ Copy to …

20

เอกสารประกอบการเรียน แผนกวชิ าเทคโนโลยคี อมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพวิ เตอร์ วชิ า คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพือ่ งานอาชพี (20001-2001)
เรียบเรยี งโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร

2.7.2 การคัดลอกหรอื ยา้ ยดว้ ยคำสัง่
ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 มีคำสั่งสำหรับใชเ้ พ่ือคดลอกหรือย้ายไฟล์ มวี ธิ ีการใชง้ านคำสง่ั ดังน้ี

1). คลกิ เลอื กไฟล์ที่ต้องการจะคัดลอกหรือยา้ ยไปในตำแหนง่ ใหม่
2). เลือกคำสั่งบนทูลบาร์ โดยเลือกใช้คำสั่ง Copy (หรือใช้ Control + c) เพื่อคัดลอก หรือ
คำส่งั Cut (หรอื Control + x) เพือ่ ยา้ ย
3). เลอื กตำแหน่งใหม่สำหรับวางไฟล์
4). บนทูลบาร์คลกิ คำสัง่ Paste (หรอื ใช้ Control + v) เพื่อว่างไฟล์

ภาพที่ 2.29 การใช้คำส่ังในการคัดลอกหรือย้ายไฟล์

21

เอกสารประกอบการเรยี น แผนกวชิ าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคนคิ คอมพิวเตอร์ วชิ า คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพ่อื งานอาชพี (20001-2001)
เรียบเรยี งโดย นายธีระ โชคพระสมบตั ิ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร

2.7.3 การลบไฟล์หรือโฟลเดอร์
ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หากไม่ใช้งานก็สามารถลบทิ้งได้ โดยกำหนดให้ลบแล้ว
ไฟอยใู่ น Recycle Bin หรอื ลบแบบถาวรไมส่ ามารถเรียกกลับมาได้อกี ดงั นี้

1). คลกิ เลอื กไฟลห์ รือโฟลเดอร์ทีต่ อ้ งการลบ
2). คลิกปุ่ม Delete จากนั้นไฟล์ที่เลือกจะย้ายไปอยู่ใน Recycle Bin แต่ถ้าต้องการกำหนด
ออปชันให้กบั Recycle Bin จะทำไดด้ งั น้ี

- Recycle ลบแลว้ ยา้ ยไฟลห์ รือโฟลเดอร์ไปไว้ใน Recycle Bin
- Permanently delete ลบแบบถาวร ไม่สามารถนำกลบั มาได้
- Show recycle confirmation เมอื่ ลบแล้ว ให้แสดงหนา้ ตา่ งยืนยันกอ่ นลบ

ภาพท่ี 2.30 การลบไฟล์
นอกจากการใช้คำสั่งบนทูลบาร์เพื่อลบไฟลห์ รือโฟลเดอรแ์ ล้ว ยังสามารถใช้ปุ่ม Delete บนคีย์บอร์ด
แทนคำส่งั บนทูลบารก์ ็ได้เช่นกัน
2.7.4 การสร้างโฟลเดอร์
หากตอ้ งการสร้างโฟลเดอร์เพื่อใชส้ ำหรับเกบ็ ไฟล์ท่ีเกี่ยวข้องกันหรือเป็นประเภทเดียวกัน เพ่ือสะดวก
ในการคน้ หาภายหลัง สามารถทำได้ดงั นี้

1). เลอื กตำแหน่งทตี่ อ้ งการสร้างโฟลเดอร์
2). คลิกปมุ่ New folder บนทูลบาร์ จากนัน้ ตัง้ ช่อื ให้กบั โฟลเดอร์ทส่ี รา้ งขึ้นใหม่

22

เอกสารประกอบการเรยี น แผนกวชิ าเทคโนโลยคี อมพวิ เตอร์ สาขาวชิ าเทคนคิ คอมพวิ เตอร์ วิชา คอมพวิ เตอรแ์ ละสารสนเทศเพอ่ื งานอาชีพ (20001-2001)
เรียบเรยี งโดย นายธีระ โชคพระสมบัติ วิทยาลัยเทคนิคชมุ พร

ภาพท่ี 2.31 การสรา้ งโฟลเดอรใ์ หม่
นอกจากการใช้คำสั่งบนทูลบาร์แล้ว ผู้ใช้ยังสามารถเรียกใช้คำสั่งบนพื้นที่ทำงานของโปรแกรมด้วย
วิธีการคลิกเมาสข์ วา เพื่อเรียกคำสั่งใน Popup ดงั ในภาพที่ 2.32

ภาพท่ี 2.32 คำส่งั จากเมนู Popup

23


Click to View FlipBook Version