สื่อสำหรับผู้รับบริการ
การ
ส่งเสริม
สุขภาพ
นางสาวรัฏภรณ์ ภักดี
อาการมือเท้าชา
ความหมาย
อาการชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาท รับความรู้สึก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของ
ร่างกาย โดยเฉพาะที่นิ้ว มือ แขน เท้าหรือขา เป็นอาการที่มีความรู้สึกเจ็บ ปวด ร้อน หรือเย็นน้อยกว่า
ปกติหรือไม่มีความรู้สึกเลย บางคนอาจรู้สึกซ่าๆ ที่ปลายมือปลายเท้าหรือบริเวณอื่นหรือมีอาการเหมือน
มีอะไรยุบยิบๆ ตามปลายมือปลายเท้า แล้วก็หายไปหรือเป็นตลอด
นอนทับแขนตัวเอง หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ทำให้เกิดการกดทับเส้นเลือด เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และเกิด
อาการชา
ขาดวิตามินบี เพราะวิตามินบีช่วยบำรุง และซ่อมแซมระบบประสาทให้ทำงานได้ปกติ หากได้รับวิตามินบีน้อยเกินไป จะ
ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ และมีอาการมือเท้าชาได้
ป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง
ได้รับสารเคมี หรือยาบางชนิด เช่น ได้รับยากันชัก พิษจากโลหะหนักบางชนิด
อาการการถอนยา เช่น อาการถอนยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine)
ภาวะเครียด หรือวิตกกังกวล
อาการ
ชาเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งซีก เกิดจากเส้นประสาทมือถูกบีบรัด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
และไม่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เพียงพอ หรือพังผืดเสื่อมสภาพ และหนาขึ้นจนไปกดทับเส้น
ประสาทมือ ส่งผลให้มีอาการชา
ชานิ้วโป้ง ชี้ กลาง และมีอาการปวดมือ เกิดจากการเกร็งมืออยู่ท่าเดิมนานๆ ทำให้เส้นประสาทกดทับที่ฝ่ามือ
ชานิ้วก้อย เกิดจากเส้นประสาทบริเวณรักแร้อักเสบ เนื่องจากงอ และเกร็งข้อศอกเป็นเวลานาน
ชาปลายเท้าและปลายมือ เกิดจากปลายประสาทเสื่อม หรืออักเสบจากการขาดวิตามินบี หรือป่วยด้วยโรคบาง
โรค เช่น โรคมะเร็ง โรคไต หรือการได้รับสารพิษ
ชาปลายนิ้วมือเกือบทุกนิ้ว เกิดจากการใช้มือทำงานหนักมากเกินไป ทำให้เอ็นกดทับเส้นประสาทตรงข้อมือ มัก
มีอาการชาช่วงกลางคืน
ชานิ้วก้อย นิ้วนาง และสันมือ เกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อศอกถูกกดทับ ทำให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยง
บริเวณแขนท่อนล่างได้ไม่สะดวก
ชาง่ามนิ้วระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณต้นแขน
ชาทั้งแถบ เกิดจากกระดูกต้นคอกดทับเส้นประสาท หรือกระดูกต้นคอเสื่อม เป็นอาการที่อันตรายมาก ควรรีบ
ไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที
ชาหลังเท้าไปถึงหน้าแข้ง เกิดจากการนั่งไขว่ห้างนานๆ หรือนั่งพับเพียบ ทำให้เส้นประสาทบริเวณใต้เข่าด้าน
นอกถูกกดทับ ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดติดขัดจนเกิดอาการชา
ชาทั้งเท้าไปถึงสะโพก เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ควรรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะ
อาจเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตได้
ชาปลายเท้า ฝ่าเท้า ปลายนิ้ว เกิดจากเส้นประสาทถูกทำลายเสียหายหลายเส้น ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่ดื่มแอกอ
ฮอล์เป็นประจำ เพราะฤทธิ์แอลกอฮอล์เข้าไปทำลายเส้นประสาท
วิธีรักษาอาการมือเท้าชา
1. การรักษาเมื่ออาการไม่รุนแรง
กรณีที่อาการมือเท้าชาไม่รุนแรง เช่น มีอาการชาแปล็บๆ ซ่าๆ เป็นระยะ สามารถรักษาได้ด้วยการ
เปลี่ยนท่าทาง หรือสะบัดข้อมือสักพัก ก็จะช่วยให้อาการชาทุเลาลง และหายไปในที่สุด แต่หากมีอาการ
ชาแบบนี้บ่อยๆ อาจรักษาด้วยการรับประทานวิตามินบีเสริม และให้ยาต้านการอักเสบเส้นประสาท และ
เส้นเอ็น ซึ่งจะช่วยบำรุง และซ่อมแซมเส้นประสาทให้กลับมาทำงานได้ปกติ
2. การรักษาเมื่ออาการรุนแรงและต่อเนื่อง
สำหรับผู้ที่มีอาการมือเท้าชาแบบบรุนแรง และต่อเนื่อง แม้จะสะบัดมือ หรือเปลี่ยนท่าทางแล้ว
อาการชาก็ยังไม่ทุเลาลง การรักษาเริ่มแรก แพทย์จะให้ยาต้านการอักเสบเส้นประสาทก่อน และเฝ้าดูผล
การรักษาหากอาการยังไม่ดีขึ้นก็จะรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะผ่าตัดเอ็นที่กดรัดเส้นประสาทนั้นออก
3. การรักษาตามอาการ
หากอาการมือเท้าชา มีสาเหตุมาจากโรคร้ายบางโรค การรักษาจะต้องรักษาตามอาการที่เป็นอยู่
พร้อมกับรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุไปด้วย เพื่อบรรเทาอาการให้ค่อยๆ ทุเลาลง และไม่รุนแรงกว่าเดิม
การป้องกันอาการมือเท้าชา
รับประทานวิตามินบีอย่างเพียงพอ เพราะวิตามินบีมีส่วนช่วยในการทำงานของปลายประสาท ป้องกันการเกิดอาการมือเท้าชา
อย่านอนทับแขน หรืออยู่ท่าเดิมนานๆ เพราะจะทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกจนก่อให้เกิดอาการชา
ในที่สุด
รับประทานผักผลไม้ที่มีประโยชน์ เพราะผักผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก นอกจากจะช่วย
ลดการเกิดอาการมือเท้าชาแล้ว ยังช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย
ดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคที่เป็นสาเหตุโดยเฉพาะโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการมือเท้าชา เช่น โรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์
อาหารที่เสริมวิตามินบี
วิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) เป็นวิตามินบีสำหรับบำรุงร่างกายและระบบประสาท ซึ่งประกอบด้วยวิตามินบี
จำนวนหลายชนิด ในปัจจุบันถูกผลิตออกมาในรูปแบบแคปซูลเสริมอาหาร เพื่อให้รับประทานง่าย และช่วยเสริมแร่ธาตุใน
ส่วนที่ร่างกายมีไม่เพียงพอ ยกตัวอย่าง เช่น
วิตามินบี 1 มีประโยชน์ต่อระบบประสาท และช่วยบำรุงสมอง รวมทั้งเสริมสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย
อาหารที่พบวิตามินบี 1 ได้แก่ เนื้อหมู นมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ธัญพืช เมล็ดทานตะวัน ถั่ว งา
วิตามินบี 2 ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยลดอาการปวดหัวจากไมเกรน มีประโยชน์ต่อระบบการย่อยอาหาร
หารที่พบวิตามินบี 2 ได้แก่ ไข่ไก่ เนื้อวัว เครื่องในสัตว์ บรอกโคลี เห็ด ผักโขม
วิตามินบี 3 มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมของร่างกาย ช่วยให้สมองและระบบประสาททำงานดีขึ้น
อาหารที่พบวิตามินบี 3 ได้แก่ เนื้อปลาทูน่า ปลาแซลมอน เนื้อไก่ ข้าวกล้อง ถั่วลิสง
วิตามินบี 12 เสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง บำรุงประสาท ปรับสมดุลทางอารมณ์ ชะลอโรคสมองเสื่อม
อาหารที่พบวิตามินบี 12 ได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลา ตับ ไข่ โยเกิร์ต นม ชีส
ภาวะเครียด
ควมหมาย
ความเครียด (Stress) คือ ภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก ที่ถูกบีบคั้น หรือกดดัน
ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีวิธีการปรับตัวให้ผ่านพ้นไปได้
สาเหตุของความเครียดเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ
ปัจจัยภายนอก เช่น เรื่องงาน การหย่าร้าง ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ การย้ายบ้าน เป็นต้น
ปัจจัยภายใน โดยที่บางคนมีนิสัยคิดมาก ชอบวิตกกังวลในเรื่องเล็กน้อย หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุลทำให้เกิด
อารมณ์เครียดและเศร้าง่าย
ปัจจัยเสี่ยง
เกิดได้ทั้งจากกรรมพันธุ์ที่ทำให้ระบบประสาทเกิดความเครียดง่ายหรือพ่อแม่มีนิสัยเครียด กังวลง่าย ลูกก็เรียนรู้
นิสัยจากพ่อแม่ รวมถึงคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เครียด เช่น ทำงานที่กดดัน มีปัญหาในครอบครัว
อายุที่เสี่ยงต่อการเกิดความเครียดได้ง่าย คือช่วงที่เป็นรอยต่อ จากเด็กไปสู่วัยรุ่น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทาง
ฮอร์โมนมีการปรับตัวในสังคม และในช่วงของวัยใกล้หมดประจำเดือน (menopause) ของผู้หญิง รวมถึงผู้ชาย
วัยทองที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นกัน ถึงแม้อาการน้อยกว่าผู้หญิง แต่ก็ทำให้มีอารมณ์หงุดหงิด วิตก
กังวลและโกรธง่ายเช่นกัน
อาการ
ปวดหัว ปวดตามร่างกาย
ลำไส้ทำงานปั่ นป่วน มีปัญหาการย่อยอาหาร ท้องเสีย
ใจสั่นง่าย เหงื่อออก
อ่อนล้า ไม่อยากทำอะไร
ความดันโลหิตสูง
ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
โรคหัวใจ
โกรธ หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย
ไม่มีสมาธิ
รู้สึกซึมเศร้า
รู้สึกวิตกกังวล
ภาวะแทรกซ้อนของความเครียด
โรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ ผู้ป่วยโรคเครียดบางรายอาจมีอาการของโรคนานกว่า 1 เดือน โดยอาการ
เครียดจะรุนแรงขึ้นและทำให้ดำเนินชีวิตตามปกติได้ยาก ซึ่งอาการดังกล่าวจะทำให้ป่วยเป็นโรคเครียดหลังเกิด
เหตุสะเทือนขวัญ ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงไม่ทำให้อาการของโรคแย่ลง
ทั้งนี้ ผู้ป่วยภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญร้อยละ 50 รักษาให้หายได้ภายใน 6 เดือน ในขณะที่ผู้ป่วยราย
อื่ นอาจประสบภาวะดังกล่าวนานหลายปี
ปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ ผู้ป่วยโรคเครียดที่ไม่ได้รับการรักษา และมีอาการของโรคเรื้อรังอาจมีปัญหาสุขภาพจิต
อื่น ๆ ได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือบุคลิกภาพแปรปรวน
การรักษาภาวะเครียด
ปรึกษาแพทย์ การปรึกษาจิตแพทย์ถือเป็นวิธีรักษาโรคเครียดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดอาการ
รุนแรงและเป็นมานาน โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยจัดการอาการ
ของโรคที่เกิดขึ้นได้
บำบัดความคิดและพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดความวิตกกังวลและอาการไม่ดีขึ้น จะได้รับการรักษาด้วยวิธีบำบัดความคิด
และพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy: CBT) การบำบัดความคิดและพฤติกรรมเป็นวิธีจิตบำบัดที่มีแนวคิดว่าความ
คิดบางอย่างของผู้ป่วยส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยโรคเครียดอาจได้รับการบำบัดระยะสั้น โดยแพทย์จะพูดคุยเกี่ยวกับความ
รู้สึกและความคิดของผู้ป่วย รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าความคิดบางอย่างนั้นไม่ถูกต้อง และปรับทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อสิ่ง
ต่าง ๆ ให้มองทุกอย่างได้ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง
ใช้ยารักษา แพทย์อาจจ่ายยารักษาโรคเครียดให้แก่ผู้ป่วยบางราย โดยผู้ป่วยมักจะได้รับการรักษาด้วยยาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อ
บรรเทาอาการปวดของร่างกาย ปัญหาการนอนหลับ หรืออาการซึมเศร้า โดยยาที่ใช้รักษาโรคเครียด ได้แก่
เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-Blocker)ยานี้จะช่วยบรรเทาอาการป่วยทางร่างกายซึ่งเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนความเครียดออก
มา เช่น อาการหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยรับประทานเมื่อเกิดอาการป่วย เนื่องจากเบต้า บล็อกเกอร์ไม่จัดอยู่ในกลุ่มยาระงับประสาท
จึงไม่ก่อให้เกิดอาการง่วง ส่งผลต่อการทำงานต่าง ๆ หรือทำให้ผู้ป่วยเสพติด
ไดอะซีแพม (Diazepam) ยาตัวนี้จัดอยู่ในกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiapines) ซึ่งเป็นยาระงับประสาท แพทย์ไม่นิยม
นำมาใช้รักษาผู้ป่วย เว้นแต่บางกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาไดอะซีแพม ซึ่งจะใช้รักษาเป็นระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ ยา
ไดอะซีแพมอาจทำให้ผู้ป่วยเสพติดยา และประสิทธิภาพในการรักษาเสื่อมลงหากผู้ป่วยใช้ยาดังกล่าวเป็นเวลานาน
6 เทคนิคเติมพลัง
วัยกลางคน
1. เติมพลังใจ
โดยการฝึกมองโลกในแง่ดี เมื่อเรามีทัศนคติที่ดี ทุกอย่างก็จะดีตามไป
ด้วย สร้างกำลังใจให้ตัวเองและผู้อื่น จะทำให้เรามีความสุขและสนุกกับ
การทำงาน
2. เติมพลังกาย
โดยการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที การรับ
ประทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียง
พอ ซึ่งการที่เรามีสุขภาพกายดี จะส่งผลให้สมองทำงานได้
อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีการเรียนรู้และมีความจำที่
3. เติมพลังสติ
การมีสติต่อทุกเรื่องราว จะทำให้เรามีการตัดสินใจที่ดี รู้จักที่จะทำหรือ
พูดในเวลาที่เหมาะสม สามารถลงมือทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีสมาธิ ตลอด
จนหาวิธีผ่อนคลายความเครียด และ มีการจัดการกับความเครียดได้
4. เติมพลังความคิด
มีหลักคิดในการดำเนินชีวิตและการทำงาน โดยใช้แนวคิด “คิดเป็น คิดดี คิด
ให้” มีความคิดยืดหยุ่น สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ เรียนรู้และ
เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่นตามความสามารถ รวม
ทั้งหาโอกาสทำประโยชน์ต่อสังคม
5. เติมพลังในการปรับตัว
รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ สามารถปรับตัวได้กับ
สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี และ
สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
6. เติมพลังชีวิต
การที่เราได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ซึ่งความชอบของคนเรานั้นแตกต่างกัน
การได้ทำในสิ่งที่ชอบหรือกิจกรรมที่ชอบ จึงเปรียบเสมือนการเติมเต็มกำไร
ให้กับชีวิต เช่น การทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัว การไปท่องเที่ยว อ่าน
หนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ ฯลฯ จะทำให้เราสามารถกลับมาทำงาน
ได้อย่างสดชื่น และเป็นการสร้างสมดุลให้กับชีวิตอีกด้วย
หายใจเข้า – หายใจออก
เพิ่มพลังปอดให้แข็งแรง
ขั้นตอนการหายใจ
สังเกตการณ์หายใจของตัวเอง : นั่งผ่อนคลายบนเก้าอี้ที่เพียงพอจะทำให้เกิดการขยับช่องท้อง หลับตาแล้ว
โฟกัสลมเย็นที่ผ่านลงคอและลมอุ่นขณะหายใจออกเอามือวางไว้บริเวณท้อง หายใจเข้าลึกและช้าให้ท้องป่องออกค้าง
ไว้ 2-3 วินาที หายใจออกช้าๆท้องราบลง ทำซ้ำ 9 ครั้ง
Deep breathing exercise